ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เปิดโปงหลักฐานจริงหรือหลักฐานเท็จ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เปิดโปงหลักฐานจริงหรือหลักฐานเท็จ
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 12, 13, 14  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Tue Mar 10, 2009 6:15 pm    ชื่อกระทู้: 9 ทรรศนะ. ต่อ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม

9. อิมามนะวาวีย์ รอหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวไว้ในหนังสือ อธิบายหนังสือหะดีษมุสลิม ของท่านว่า

"แท้จริงการบริจาคทานแทนผู้ตาย จะยังประโยชน์แก่ผู้ตาย และผลบุญของการบริจาคแทนนี้ไปถึงเขา ดังกล่าวถือเป็นมติเอกฉันท์ว่า ผลบุญของการขอดุอาอฺ และการชดใช้หนี้ให้กับผู้ตายจะถึงผู้ตาย เนื่องจากมีตัวบทระบุถึงเรื่องดังที่กล่าวมาทั้งหมด การทำหัจญ์ให้กับคนตาย ถือว่าถูกต้องหากเป็นหัจญ์ที่เป็นฟรัฎูของเขา และเช่นเดียวกันหากผู้ตายได้สั่งเสียให้ไว้ทำหัจญ์ซุนนะฮฺตามทรรศนะที่ถูกต้องที่สุดของเรา(มัซฮับชาฟีอีย์) อุลามะอฺมีทรรศนะที่แตกต่างกันถึงข้อปฏิบัติที่ถูกต้องในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตโดยที่เขายังติดค้างการถือศีลอด ทรรศนะที่มีน้ำหนักคือให้ถือศีลอดแทนได้ เพราะมีตัวบทหะดีษที่ถูกต้องยืนยันในเรื่องดังกล่าว ตามทรรศนะที่มัชฮูร(คำกล่าวที่เรื่องลือจากคำพูดทั้งสอง แต่การขัดแย้งไม่รุนแรง)ในมัซฮับของเรา การอ่านอัลกรุอานผลบุญของมันจะไม่ถึงผู้ตาย แต่ตามทรรศนะอุลามะอฺบางกลุ่มจากมัซฮับชาฟีอีย์ ถือว่า ผลบุญของการอ่านอัลกุรอานถึงผู้ตาย ซึ่งเป็นทรรศนะของอิมาม อะห์หมัด อิบนุ ฮัมบัล ส่วนผลบุญการนามซ และการกระทำใดๆที่เข้าข่ายเชื่อฟังอัลลอฮฺนั้น ในทรรศนะของเรา และทรรศนะของอุลามะอฺส่วนใหญ่ ผลบุญการกระทำดังกล่าวไม่ถึงผู้ตาย ส่วนทรรศนะของอิมามอะห์หมัด ผลบุญทั้งหมดถึงผู้ตายเช่นเดียวกับการทำหัจญ์" ชัลหุ้ลนะวาวีย์ อะลา ซอหีหฺมุสลิม เล่ม3 หน้าที่ 444 อธิบายหะดีษหมายเลข 1672

นี่คือตัวอย่างจากทรรศนะอุลามะอฺอะฮลุซซุนนะฮฺระดับแนวหน้าต่อเรื่องดังกล่าว จึงเป็นข้อมูลให้เห็นว่ามันเป็นปัญหาขัดแย้งที่มีมาแต่เดิม

ที่สำคัญคือหลังจากนี้ จะได้นำทรรศนะจากอุลามะอฺร่วมสมัยระดับแนวหน้า เช่น ชัยค์ บินบาส และ ชัยค์อุษัยมีน และ ชัยค์ซอแลห์ อาลชัยค์ ซึ่งเปนนักวิชาที่ถูกยอมรับจากอะฮฺลุซซุนนะฮฺทั่วโลก เพื่อพี่น้องจะให้เห็นความเชื่อมต่อจากความรู้ที่มีมาก่อน และการให้น้ำหนักต่างๆในทรรศนะของท่านเหล่านั้น

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Mar 10, 2009 9:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาดูทัศนะของนักวิชาการด้านตัฟสีรอัลกุรอ่านในกรณีการอุทิศผลบุญให้ผู้อื่น เช่น การอุทิศผลบุญการอ่านอัลกุรอ่านให้แก่คนตาย

1. อิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อธิบายว่า

وَأَن لَّيْسَ لِلإِنسَـٰنِ إِلاَّ مَا سَعَىٰ } أي: كما لا يحمل عليه وزر غيره، كذلك لا يحصل من الأجر إلا ما كسب هو لنفسه، ومن هذه الآية الكريمة استنبط الشافعي رحمه الله ومن اتبعه: أن القراءة لا يصل إهداء ثوابها إلى الموتى؛ لأنه ليس من عملهم ولا كسبهم، ولهذا لم يندب إليه رسول الله صلى الله عليه وسلم أمته، ولا حثهم عليه، ولا أرشدهم إليه بنص ولا إيماء، ولم ينقل ذلك عن أحد من الصحابة رضي الله عنهم، ولو كان خيراً، لسبقونا إليه، وباب القربات يقتصر فيه على النصوص، ولا يتصرف فيه بأنواع الأقيسة والآراء، فأما الدعاء والصدقة، فذاك مجمع على وصولهما، ومنصوص من الشارع عليهما

( และมนุษย์จะไม่ได้รับ นอกจากสิ่งที่เขาได้ขนขวายไว้เท่านั้น) หมายถึง ดังที่จะไม่ถูกให้แบกรับภาระความผิดของคนอื่นจากเขา ในทำนองเดียวกันนั้น เขาจะไม่ได้รับ ผลตอบแทน นอกจากสิ่งที่เขาเองได้ขนขวายให้แก่ตัวเขาเท่านั้น และจากอายะออันทรงเกียรตินี้ อิหม่ามชาฟิอีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)และผู้ที่ปฏิบัติตามท่าน ได้วิเคราะห์ว่า แท้จริงการอ่านนั้น การอุทิศผลบุญของมัน นั้นไม่ถึง ผู้ตาย เพราะมันไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากการกระทำและการขนขวายของพวกเขา และเพราะเหตุนี้ รซูลุลลอฮศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้เรียกร้องและส่งเสริมอุมมะฮของท่าน และไม่ได้แนะนำพวกเขา ด้วยตัวบทหรือด้วยการชี้แนะเป็นนัยๆก็ไม่มี และดังกล่าวนั้น ไม่ได้ถูกรายงานมาจากคนหนึ่งคนใด จากบรรดาเศาะหาบะฮ(ขออัลลอฮประทานความความโปรดปรานแก่พวกเขา) และถ้าหากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่นอน พวกเขาคงทำล่วงหน้ามาก่อนพวกเราแล้ว และ เรื่อง กุรบาต(อิบาดาต)นั้น จะจำกัดอยู่บนตัวบท(อัลกุรอ่านและหะดิษ)ในมัน และจะหันไปหาการกิยาสและความคิดเห็นใดๆไม่ได้ แล้วสำหรับ การอ่านดุอา และ การบริจาคทาน ดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ได้รับมติ (อิจญมาอฺ) บนการถึง(ผู้ตาย)ของมันทั้งสอง และเป็นสิ่งที่มีตัวบทจากผู้บัญญัติศาสนบัญญัติ บนมันทั้งสอง – ตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบายอายะฮที่39 ซูเราะฮอัลนัจม์

.........
อินชาอัลลอฮมีต่อ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Mar 10, 2009 9:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. อิหม่ามอัชเชากานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อธิบายว่า

والمعنى ليس له إلا أجر سعيه وجزاء عمله ولا ينفع أحداً عمل أحد.. وهذا العموم مخصص بمثل قوله سبحانه ( ألحقنا بهم ذرياتهم ) وبمثل ما ورد في شفاعة الأنبياء والملائكة للعباد ومشروعية دعاء الأحياء للأموات ونحو ذلك ولم يصب من قال: إن هذه الآية منسوخة بمثل هذه الأمور فان الخاص لا ينسخ العام بل يخصه فكل ما قام الدليل على أن الانسان ينتفع به وهو من غير سعيه كان مخصصا لما في هذه الآية من العموم
และความหมายคือ มนุษย์จะไม่ได้รับนอกจากผลบุญที่เขาขวนขวาย และการตอบแทนจากการกระทำของเขาเท่านั้น และการกระทำ
ของ บุคคลหนึ่งย่อมไม่ก่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น และนี่คือการที่ระบุไว้กว้างๆ ที่ถูกจำกัดเฉพาะ ด้วยคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ
ซุบฮานะฮู วะตะอาลาที่ว่า “ เราให้ลูกหลานของพวกเขาได้อยู่ร่วมกับพวกเขา” และเช่นสิ่งที่มีรายงานว่าบรรดานบี และบรรดามลาอิกะฮฺ
ได้ให้การช่วยเหลือ (ชะฟาอะฮ) แก่บ่าวของอัลลอฮ และมีบัญญัติใช้ให้คนเป็นขอดุอาให้แก่คนที่ตายและในทำนองนั้น

ดังนั้น ผู้ที่กล่าวว่าอายะฮนี้ถูกยกเลิกด้วยสิ่งเหล่านี้นั้นย่อมไม่ถูกต้อง เพราะอายะฮที่มีความหมายจำกัดความ (الخاص ) ย่อมไม่
สามารถมายกเลิกอายะฮฺที่มีความหมายแบบกว้างๆ(العام )ได้ แต่จะจำกัดความหมายให้แคบลงเท่านั้น ดังนั้นทุกสิ่งที่มีหลักฐานว่า
มนุษย์จะได้รับประโยชน์ ทั้งที่ตนเองไม่ได้ขวนขวายไว้ ก็ถือเป็นการจำกัด (หรือยกเว้น) หลักการที่อายะฮฺนี้ระบุไว้แบบกว้างๆ(العموم )

- ดู ฟัตหุ้ลเกาะดีร เล่ม 5 หน้า 114

3. ท่านมุหัมหมัด รอชีด ริฎอ ได้อรรถาธิบาย ตัวบทแห่งอัลกุรอ่าน ในช่วงท้ายของอายะฮที่ว่า

وَلاَ تَكْسِبُ كُلُّ نَفْسٍ إِلاَّ عَلَيْهَا وَلاَ تَزِرُ وَازِرَةٌ وِزْرَ أُخْرَى

"และแต่ละชีวิตนั้นจะไม่แสวงหาสิ่งใด นอกจากจะเป็นภาระแก่ชีวิตนั้นเองเท่านั้น และไม่มีผู้แบกภาระคนใดจะแบกภาระของผู้อื่นได้แล้ว
ยังพระเจ้าของพวกเจ้านั้น – อันอันอาม/164 โดยกล่าวว่า

إن كل ما جرت به العادة من قراءة القرآن والاذكار واهداء ثوابها إلى الأموات واستئجار القراء وحبس الأوقاف على ذلك بدع غير مشروعة ومثلها ما يسمونه اسقاط الصلاة ولو كان لها أصل في الدين لما جهلها السلف ولو علموها لما أهملوا العمل بها

"แท้จริงทุกสิ่งที่เป็นไปตามประเพณีจากการอ่านอัลกุรอ่าน , การซิกรุลลอฮ และอุทิศผลบุญของมันให้แก่ผู้ตาย และว่าจ้าง บรรดา
บรรดานักอ่านอัลกุรอ่าน และ การบริจาคถาวรวัตถุ ในกิจการดังกล่าวนั้น เป็นบิดอะฮฺไม่มีบัญญัติใช้ให้กระทำ และในทำนองเดียวกัน
นั้นคือสิ่งที่เรียกว่า “การไถ่บาปการทิ้งละหมาด” และถ้าหากปรากฏว่า มันมีที่มาในศาสนาแน่นอนชนยุคสลัฟจะต้องรู้มัน และถ้าหาก
พวกเขารู้มัน แน่นอนพวกเขาจะไม่ละเลยเพิกเฉยในการนำมันมาปฏิบัติ – ตัฟสีรอัล-มะนาร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 164 ซูเราะฮฺอันอันอาม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Tue Mar 10, 2009 10:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม อาจารย์อะซัน และ อาจารย์ อบูซุเบร

ผมขออนุญาติเรียกว่าอาจารย์นะครับ เพราะเป็นผู้มีความรู้อีกคนที่เข้าเยี่ยมเราในเวป
แห่งนี้

ที่อาจารย์ทั้งสองคุยกันเรื่องนี้ ไม่ใช่ประเด็นซ้อนทับกับเรื่องการอ่านกุรอ่านในกุโบร์
ที่อาจารย์ปราโมชย์ กำลังคุยกับ อาจารย์ อัชอะรีย์ ถูกต้องหรือไม่ครับ

ผมถามเพื่อให้ผู้อ่าน แยกประเด็นให้ถูกต้อง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Wed Mar 11, 2009 12:04 am    ชื่อกระทู้: ทรรศนะจากกิบาร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม
และ วะอลัยกุมุสลาม คุณอับดุลลอฮฺ

(ผมขออนุญาติเรียกว่าอาจารย์นะครับ เพราะเป็นผู้มีความรู้อีกคนที่เข้าเยี่ยมเราในเวป
แห่งนี้ )
---------------------------------------------------
ขออัลลอฮฺตอบแทนแก่การให้เกียตรของคุณต่อผม และขออภัยต่อพระองค์อย่าได้เอาผิดแก่ข้าพระองค์จากสิ่งที่เขาพี่น้องขอข้าพระองค์ได้กล่าวถึงตัวข้าพระองค์ ขออัลลอฮฺนำทางเราทั้งหลายทางที่เที่ยงตรง

เรียกชื่อผมเฉยๆจะดีมากครับ ...ญะซากัลลอฮฺ

ใช่ครับขอยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับประเดนของเวปสติวเดนท์แต่อย่างใด

ประเดนที่นำเสนอคือข้อมูลเพื่อที่ให้เห็นว่ามัสอะฮฺดังกล่าวขัดแย้งกันอย่างไร หรือใครบ้างครับ

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Wed Mar 11, 2009 12:34 am    ชื่อกระทู้: ทรรศนะของกิบาร กุรุนนี้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม

ต่อนะครับหลังจากนี้เพื่อให้พี่น้องเหนว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ขัดแย้งในการปฏิบัตกันมานมนาน ขึ้นอยู่ว่าใครให้น้ำหนักอย่างไร ซึ่งก็ล่วงเลยมาถึงปี 1400 และยังไม่ลงตัวเหมือนเดิมดังที่จะเสนอครับ

1.อัลลามะอฺ ชัยค์อิบนุ บาซ รอหิมะฮุ้ลลอฮฺ ได้ให้คำฟัตวาเกี่ยวกับการอานกรุอานให้กับคนตาย ดังนี้(ส่วนหนึ่งจากฟัตวา)

คำตอบ * การอานอัลกรุอานให้กับคนตาย ไม่มีที่มาที่สามารถยืนยันได้ และไม่สามารถถือเป็นบทบัญญัติของศาสนา ตามบทบัญญัติของศาสนาให้อ่านอัลกรุอานระหว่างคนที่มีชีวิต เพื่อพวกเขาจะได้รับประโยชน์ และคิดใค่รครวญคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และใต่รตรองใช้สติปัญญา สำหรับการอ่านกรุอานให้คนตายที่หลุมศพจะก่อนฝังหรือหลัง หรือจะอ่านที่ใดก็ตาม แล้วมอบผลบุญให้กับคนตายนั้น เราไม่ทราบว่ามีตัวบทหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้" จนกระทั้งถึงคำพูดท่านชัยค์ที่ว่า"ดังนั้นจึงไม่มีหลักฐานใดๆในเรื่องนี้ตามที่เรารู้มาว่ามีหลักฐานที่เปนบทบัญญัตให้อ่านอัลกรุอานแก่ผู้ตาย ฉะนั้นสมควรที่คงหลักการเดิมไว้ เนื่องจากอิบาดะฮฺจะต้องตั้งอยู่บนหลักฐาน "เตากีย์ฟีย์ยะฮฺ" (ยึดติดกับตัวบทโดยไม่มีการกิยาส) ดังนั้นท่านอย่าได้กระทำดังกล่าวให้กับผู้ตาย ซึ่งตรงกันข้ามกับการบริจาคทานให้กับผู้ที่ตาย หรือขอดุอาอฺให้กับบรรดาผู้ตาย หรือทำหัจญ์ อุมเราะฮฺ หรือชดใช้หนี้ให้กับเขา เนื่องจากเรื่องดังกล่าวยังประโยชน์แก่พวกเขา(ผู้ตาย)เพราะมีตัวบทหลักฐานในเรื่องดังกล่าว"
มัจญ์มัวะฟัตวา อิบนุ บาซ เล่ม13 หน้า95-96

2.อัลลามะอฺ มุหัมหมัด อิบนุ ซอและห์ อัลอุษัยมีน รอหิมะฮุ้ลลอฮฺ ได้ให้ทรรศนะไว้ เมื่อถูฏถามประเดนอ่านอัลกรุอานให้กับวิญญาณของผู้ตาย (ดังที่เคยเสนอไปในตอนต้น)

อินชาอัลลอฮฺจะมาต่อนะครับ

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Mr.shot
บุคคลทั่วไป






ตอบตอบ: Wed Mar 11, 2009 9:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่าช้าซิซูเบร กำลังเพลิน Wink
กลับไปข้างบน
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Wed Mar 11, 2009 10:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พรั่นพรือ น้องบ่าวช็อต

ให้เกียรติ อาจารย์บ้าง เพี้ยนขั้นเทพนะเรา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Mr.shot
บุคคลทั่วไป






ตอบตอบ: Thu Mar 12, 2009 12:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้าว ดับจิตที่ร้ากกกกกก.. ทำไมหัวทั่งว่าเค้าแบบนี้อ่ะ เค้าไม่ให้เกียตรครูตรงไหนเหรอ
กลับไปข้างบน
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Thu Mar 12, 2009 10:44 pm    ชื่อกระทู้: ทรรศนะร่วมสมัย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม
(ต่อนะครับ)

2.อัลลามะอฺ มุหัมหมัด อิบนุ ซอและห์ อัลอุษัยมีน รอหิมะฮุ้ลลอฮฺ ได้ให้ทรรศนะไว้ เมื่อถูกถามประเดนอ่านอัลกรุอานให้กับวิญญาณของผู้ตาย?

ตอบ- "การอ่านอัลกรุอานให้กับวิญญาณของผู้ตายนั้น หมายถึงการอ่านอัลกรุอานโดยที่เขาต้องการให้ผลบุญของเขาเป็นของผู้ตาย คนหนึ่งคนใดในบรรดาผู้เสียชีวิตที่เป็นมุสลิม ปัญหานี้เป็นปัญหาที่บรรดาผู้รู้มีทรรศนะที่แตกต่างกัน 2 ทรรศนะดังนี้

1. ทรรศนะที่1- ไมถือว่าถูกบัญญัติไว้ในศาสนา และผู้ที่เสียชีวิตจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆกับอัลกรุอานสภาพดังกล่าว

2. ทรรศนะที่ 2- ถือว่ามีประโยชน์แก่ผู้ตายในเรื่องดังกล่าว และเป็นที่อนุญาติให้บุคคลใดที่การอ่านอัลกรุอานด้วยกับการตั้งเจตนาว่าให้กับชายคนนั้นหญิงคนนี้จากบรรดามุสลิมทั้งหลาย ไม่ว่าผู้ทีอ่านให้จะเป็นญาติใก้ลชิดของเขาหรือไม่ใช่ญาติใก้ลชิดของเขาก็ตาม

ส่วนทรรศนะที่แข็งแรง คือ ทรรศนะที่ 2 นี้ เนื่องจากมีการปรากฎในชนิดของอิบาดะฮฺที่อนุญาติให้เปลี่ยนไปให้ผู้ตายได้ ดังเช่นหะดีษของซะอฺด์ อิบนุ อุบาดะฮ์ รอฎิยัลลอฮุ อันฮฺ ที่เขาได้บริจาคสวนให้แก่แม่ของเขา และเช่นเดียวกันของชายคนหนึ่งที่กล่างแก่ท่านนบีย์ศอลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะซัลลัม "แท้จริงแม่ของฉันได้เสียชีวิตอย่างกระทันหัน และฉันคิดว่าหากนางพูดได้ นางก็จะบริจาคทาน ฉันจะบริจาคทานแทนนางได้หรือไม่?" ท่านนบีย์ศอลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะซัลลัม ตอบว่า "ได้" นี้กรณีที่เกิดขึ้นกัลบุคคลที่แสดงให้รู้ว่าชนิดของอิบาดะฮฺต่างๆ สามารถปฎิบัติให้กับบุคคลหนึ่งบุลคลใดในบรรดามุสลิมได้ และมันก็เป็นไปตามทำนองดังกล่าว แต่ในทางประเสริฐที่สุดในเรื่องนี้ คือการขอดุอาอฺให้กับผู้ตายโดยที่ท่านทำการงานที่ดีให้กับตัวของท่านเอง " (แล้วได้อธิบายหะดีษการงานของมนุษย์ถูกตัดขาดเพื่อะธิบายเรื่องดังกล่าว) ในส่วนท้ายท่านได้แนะนำไว้ว่า

"ส่วนสิ่งที่บางคนได้กระทำกันจากการอ่านอัลกรุอาน หลังจากได้มีการเสียชรวิตด้วยสินจ้าง เช่นการทีผู้อ่านพากันมาอ่านอัลกรุอานเพื่อเอาค่าจ้างเพื่อที่จะมอบผลบุญให้แก่ผู้เสียชีวิต แท้จริงสิ่งนี้เป็นอุตริกรรม และผลบุญนั้นไม่ถึงผู้ตาย เพราะเนื่องจากว่าแท้จริงผู้อ่านอัลกรุอานมาเพื่อเอาค่าจ้างจากการอ่าน เพื่อสินจ้างในดุนยานี้ และใครอิบาดะฮฺเพื่อดุนยาแท้จริงสำหรับเขาไม่มีโชคผลใดๆจากมันในอาคิเราะฮฺ"แล้วจึงยกอายะฮฺกรุอ่านซูเราะห์ ฮูด อายะฮฺ 15-16
ความว่า" ผู้ใดปราถณาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และความเพริศแพร้วของมัน เราจะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบครัน ซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกริดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด / ชนเหล่านั้น พวกเขาจะไม่ได้รับการตอบแทนอันใดในโลกอาคิเราะฮฺ นอกจากไฟนรก และสิ่งที่พวกเขาปฎิบัติไว้ในดุนยาก็จะไร้ผล และสิ่งที่พวกเขากระทำไว้ก็จะสูญเสียไป"

มัจญ์มัวะอฺฟัตวา วะรอซะเอล อัลอัลลามะอฺ อิบนุ อุษัยมีน เล่ม2 หน้าที่ 237-238
ฟตัวาเลขที่ 385 และท่านได้ฟัตวาในทำนองเดียวกันในฟัตวาเลขที่ 361 เล่มที่ 2 หน้า240 เนื่องจากท่านเห็นว่าเป็นสิ่งที่อนุญาติให้กระทำ แต่ไม่อยู่ในระดับขั้นที่ส่งเสริม
*(เป็นบางส่วนจากฟัตวาที่เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึง)

3. ชัยค์ ซอและห์ อาล อัชชัยค์ หะฟิซอฮุลลอฮฺ ได้ให้ทรรศนะไว้เกี่ยวกับการมอบผลบุญการทำอิบาดะฮฺให้ผู้ตายดังนี้( ขอคราวหน้านะครับ)

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Fri Mar 13, 2009 2:17 pm    ชื่อกระทู้: ทรรศนะร่วมสมัย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม

อัลหัมดุลิลาวันนี้วันศุกร์ ชุโกรขออัลลอฮฺที่ทำให้ผมจัดสรรเวลาได้..เรื่องที่จะต้องคุย และนำเสนอกันมีอีกหลายเรื่องเนื่องจากเห็นบังอะซันเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ความเข้าใจในอัลกรุอ่าน อายะฮฺเหล่านั้น อินชาอัลลอฮฺจะได้นำมาเสนอหลังจากประเดนนี้จบ(ต่อนะครับ)

3. ชัยค์ ซอและห์ อาล อัชชัยค์ หะฟิซอฮุลลอฮฺ ได้ให้ทรรศนะไว้เกี่ยวกับการมอบผลบุญการทำอิบาดะฮฺให้ผู้ตายดังนี้ (เข้าประเด็นที่รูปแบบที่2เลยนะคัรบ)
*รูปแบบที่1 คือเริ่มเจตนามอบผลบุญให้กับผู้ตายตั้งแต่เริ่มอิบาดะฮฺเป็นรูปแบบที่ท่านเองไม่เห็นด้วย เฉพาะในประเด็นที่มีอุลามะอฺมีทรรศนะแตกต่างกัน เช่น การนามซ, แต่สำหรับการขอดุอาอฺ และบริจาคไม่เป็รไรเพราะมีตัวบท และเป็นประเดนที่อุลามะอฺเห็นพ้องกัน.

" ในรูปแบบที่2 คือ การที่บุคคลหนึ่งได้เริ่มทำอิบาดะฮฺให้กับตัวเขาเองก่อนตั้งแต่ต้นหลังจากทำอิบาดะอฺเสร็จเขาก็มอบผลบุญการกระทำอิบาดะฮฺดังกล่าว รูปแบบนี้จึงแตกต่างจากรูปแบบที่หนึ่ง คือเริ่มทำอิบาดะฮฺให้กับตัวเอง เขานมาซให้ตัวเอง เขาอ่านอัลกรุอานให้ตัวเอง เขาทำอุมเราะฮฺให้ตัวเอง เขาถือศีลอดให้ตัวเอง และเช่นเดียวกัน เขากระทำการงานใดๆก็ตาม เขาทำการซิกรฺ หลังจากที่เขาเสร็จจากการอิบาดะฮฺดังกล่าว เขากล่าวว่า "โอ้อัลลอฮฺ โปรดทำได้ผลบุญดังกล่าวของฉันนี้ให้พ่อแม่ฉัน ให้นาย ก. นาย ข. ใครก็ได้ การกระทำในรูปแบบดังกล่าวตามอะศอลเดิมไม่มีข้อห้ามแต่ประการใด เนื่องจากการทำอิบาดะฮฺได้เกิดขึ้นอย่างถูกต้องแล้ว โดยเขากล่าวว่าผลบุญดังกล่าวหากพระองค์ทรงรับมัน และได้ผลบุญ ดังนั้นเมื่อเป็นผลบุญของฉันแน่นนอน มันก็ถูกมอบให้แก่ผู้อื่นจากฉัน หมายถึงเป็นการขอดุอาอฺจากอัลลอฮฺตะอาลาให้พระองค์ทรงรับ และขอต่อพระองค์ทรงทำให้ผลบุญดังกล่าวให้กับชายคนหนึ่ง หรือ หญิงคนหนึ่งได้มีส่วนร่วมในผลบุญนั้น

"และสิ่งนี่แหละ คือการจำแนกรูปแบบดังกล่าว(คือในประเดนที่ซุนนะฮฺคุงเคยถามว่า เนียตตอนทำ หรือ ทำไปแล้วมอบให้) ไม่มีสิ่งใดโต้กลับได้ ไม่ว่าจะมองในแง่ของหลักฐานจากอัซซุนนะฮฺ หรือในแง่จากคำกล่าวของสลัฟ พวกเขาห้ามเรื่องดังกล่าวในช่วงเริ่มอิบาดะฮฺ แต่พวกเขา หรือ อะอิมมะฮฺ หรือบรรดาผู้ที่รู้จักกันว่าคือชนสลัฟ พวกเขาไม่ได้ห้ามการมอบผลบุญให้กับคนตาย"

"สิ่งนี้คือสิ่งที่แสดงถึงข้อแตกต่างระหว่างช่วงเริ่มต้น และการมอบผลบุญได้ถูกเจาะจงในประเดนนี้ เพราะเนื่องจากการมอบผลบุญหลังจากเสร็จสิ้นการทำอิบาดะฮฺแล้วไม่ถือว่าเป็น ตะอับบุด แต่มันเป็นเรื่องของการเอื้อเฟื้อในคุณธรรมความดี"

"ด้วยเหตุนี้ อะอิมมะฮฺ ซุนนะฮฺ ระดับมุหักกิกีน(ระดับกลั่นกรอง)ในเรื่องซุนนะฮฺและตอบโต้บิดอะฮฺ พวกเขาจึงมีทรรศนะว่า อนุญาติให้ทำการมอบผลบุญได้เช่น อิมามอะห์หมัด-อิบนุ ตัยมีย์ยะฮฺ-อิบนุกอยยิม- และกลุ่มหนึ่งของอุลามะอฺชั้นนำในด้านดะอฺวะฮฺ ดังเช่นท่านชัยค์ มุหัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ และคณะ"

ชัรห์ อัลอะกีย์ดะฮฺ ฮัฎหาวีย์ยะฮฺ ของ ชัยค์ซอและห์ อาล อัชชัยค์ หน้า 588

ดังกล่าวคือตัวอย่างทรรศนะของบรรดาอุลามะฮฺชั้นแนวหน้าจากชาวอุลลุซซุนนะฮฺทั้งยุคก่อน และหลังเพื่อจะได้เห็นประเดน และประเภทของมัสอะละฮฺนี้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากอะฮลุซซุนนะฮฺ บรรดาผู้ยืนหยัด หรือ ฎออิฟะฮฺมันซูเราะฮ์นั้นมิได้เพิ่งเกิดขึ้นใน 5-10นี้ หรือเกิดที่ประเทศไทยเท่านั้น เมื่อเราเข้าใจสายธารที่เชื่อมโยงความรู้ยุคต่อยุค และรู้ว่าใครเป็นผู้รู้ในยุคนี้ ก็จะเป็นการง่ายต่อการเข้าถึงในข้อวินิจฉัยในมัสอะละฮฺต่างๆ..

(วันนี้แค่นี้ก่อนนะครับ ต่อจากนี้จะเป็นการสรุปประเดน และต่อด้วย วิเคราะห์ประเด็นของกลุ่มที่ปฎิเสธการได้รับประโยชน์ของคนตายอย่างสิ้นเชิงยกเว้น 3 อย่าง)

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
maliksn
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/10/2008
ตอบ: 164


ตอบตอบ: Fri Mar 13, 2009 9:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation
ผมว่า ของที่อัลลอฮ์สั่ง รอซู้ลใช้ ทำให้ครบกันก่อนดีกว่าครับ ไม่ต้องไปขวนขวายกับของที่นบีไม่เคยทำเป็นตัวอย่างไว้หรอก(เรื่องอีบาดัต) ดูมันจะง่ายซะกว่า ต้องมานั่งข่มตาหลับ ขับตานอน หาทัศนะ มาเห็นด้วยกับเรื่องอุตริ

ทัศนะที่เห็นด้วย ก็ต้องมาจากคนที่นิยมทำอุตริอยู่แล้ว เป็นธรรมดา

พี่น้องว่ามั้ย พวกทำบิดอะนี่แปลก กล้าทำนอกคำสั่งของอัลลอฮ์แบบ ไม่ค่อยกลัวนรกกันเท่าไหร่
สงสัยเวลาอ่านเรื่องนรก สวรรค์ คงเลือกอ่านแต่เรื่องสวรรค์ เรื่องนรกคงไม่ค่อยกล้าแตะ เลยไม่ค่อยสำนึกเท่าไหร่ เวลาจะทำบิดอะฮ์ ว่าการลงโทษมันหนักแค่ไหน
Exclamation


__________________________________

ท่านรสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า “ทุกๆบิดอะฮฺนั้นหลงผิดและออกนอกลู่นอกทาง” บันทึกโดยอบูดาวูด(ลำดับที่ 4607), อัต-ติรฺมิซีย์(ลำดับที่2676) อิบนุ หะญัรฺ รับรองไว้ว่าเศาะฮิ้หฺ ในตัครีจ อะหะดีษ อิบนุล-ฮาญิบ (1-137)
และตัวท่าน(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวไว้อีกว่า “...และทุกๆบิดอะฮฺนั้นหลงผิด และทุกๆความหลงผิดนั้นอยู่ในนรก” บันทึกโดยอัน-นาสาอีย์(1/224) จากญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ และท่านเชคุล-อิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺกล่าวว่าเศาะฮิ้หฺ ในมัจญ์มูอฺ อัล-ฟัตวา (3/58)
ท่านรสูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ยังห้ามไม่ให้เราไปเป็นมิตร, สนับสนุนหรือคุยกับคนที่ทำบิดอะฮฺ ดังที่หะดีษกล่าวว่า “ใครก็ตามที่ทำบิดอะฮฺหรือปรองดองกับผู้ที่ทำบิดอะฮฺ คำสาปแช่งจากอัลลอฮฺ, บรรดามลาอิกะฮฺของพระองค์ และมนุษชาติทั้งปวง จะตกอยู่ที่เขา” บันทึกโดยบุคอรีย์(12/41)และมุสลิม (9/140)
ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد

"ผู้ใดประกอบการงานใดที่ไม่มีคำสั่งของเราบนมัน นั้นมันถูกปฏิเสธ" – รายงานโดยมุสลิม


อารีฟีน แสงวิมาน (al-azhary) ผู้ไม่ห้ามปรามเรื่องอากีดะแก่ครู (กอเซ็ม โมฮัมหมัดอาลี)
ขนาดอากีดะครูมันเองยังเอาไม่รอด แต่จะไปถล่มอากีดะคนอื่น?
Sad


อารีฟีน แสงวิมาน (al-azhary) เรียนอยู่ใกล้ประเทศอิสราเอลซะเปล่า แต่ไม่ไปช่วยเหลือพี่น้องที่ปาเลสไตน์ Sad


salafyah บันทึก:
ใครรู้จัก อัลอัซอารี เเห่งเวปบิดอะสติวเด้นมั้ง
มีคนฝากมาให้ช่วยไปบอกเค้าว่า.....
คุณนูรีฮัน มาเลเซีย ไม่มีวันให้อภัย เเกเค้าคนนั้นตราบใด
คุณอัลอัซอารี ไม่ยอมบอกกล่าวสิ่งที่เค้าได้ตั้งข้อฟิตนะที่ร้ายเเรงให้คุณนูรีฮัน มาเลเซีย
เเละตราบใดที่ไม่ยอมขอมาอัฟจากคุณนูรีฮัน

เป็นฮักกุลอาดัมไปตลอดชีวิตเลย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Fri Mar 13, 2009 11:44 pm    ชื่อกระทู้: ความรู้ไม่ช่วยอะรัย? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อสัลามุอลัยกุม

เหนข้อความของน้องซุนนะฮฺ์คุง..ยอมรับว่าผิดหวังนิดหน่อย ความรู้ไม่ได้ช่วยอะรัยเลย
ขอให้ซุนนะฮฺคุงศึกษาไปเรื่อยๆด้วยความมุ่งมั่นในความจริงนะครับ

ข้อความซุนนะฮฺคุงที่ว่า
"ผมว่า ของที่อัลลอฮ์สั่ง รอซู้ลใช้ ทำให้ครบกันก่อนดีกว่าครับ ไม่ ต้องไปขวนขวายกับของที่นบีไม่เคยทำเป็นตัวอย่างไว้หรอก(เรื่องอีบาดัต) ดูมันจะง่ายซะกว่า ต้องมานั่งข่มตาหลับ ขับตานอน หาทัศนะ มาเห็นด้วยกับเรื่องอุตริ "

ซุนนะฮฺคุงจะรู้ได้ยังงัยว่าของที่อัลลอฮฺสั่ง ร่อซุลใช้คืออะรัย บังเชื่อว่าซุนนะฮฺคุงจะต้องตอบว่า "ก้ออัลกรุอาน และหะดีษงัย" นั่นแหละซุนนะฮฺคุงจะเข้าใจ 2 อย่างนี้ให้เหมือนเป้าหมาย และความหมายที่มีมาได้อย่างรัย การกลับไปหา2สิ่งมันมีเส้นทาง ที่ผ่านมา 1400 กว่าปีเค้ามีทางกลับ แล้วซุนนะฮฺคุงมีทางกลับไปอย่างรัย หรือ ตอนนี้ซุนนะฮฺคุงออกทรรศนะของตัวเอง..แร้วตั้งตัวเองเปนผู้วินิจฉัยศาสนาแบบเวปสติวเดนท์?(แล้วซุนนะฮฺคุงจำอัลกรุอานหมดยังครับ?)

ข้อความซุนนะฮฺคุงที่ว่า
"ทัศนะที่เห็นด้วย ก็ต้องมาจากคนที่นิยมทำอุตริอยู่แล้ว เป็นธรรมดา "

ทั้งๆที่ซุนนะฮฺคุงเพิ่งอาจข้อความข้างบนผ่านมาเนี่ยนะที่ว่า

"ด้วยเหตุนี้ อะอิมมะฮฺ ซุนนะฮฺ ระดับมุหักกิกีน(ระดับกลั่นกรอง)ในเรื่องซุนนะฮฺและตอบโต้บิดอะฮฺ พวกเขาจึงมีทรรศนะว่า อนุญาติให้ทำการมอบผลบุญได้เช่น อิมามอะห์หมัด-อิบนุ ตัยมีย์ยะฮฺ-อิบนุกอยยิม- และกลุ่มหนึ่งของอุลามะอฺชั้นนำในด้านดะอฺวะฮฺ ดังเช่นท่านชัยค์ มุหัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ และคณะ"

ตกลงใครเหนไม่เหมือนซุนนะฮิคุง คือพวกนิยมอุตริกรรม ไม่เว้นแม้แต่อะอิมมะฮฺของอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วะอยาซุบิลลาฮฺ

ไว้มาเสนอต่อ...ครับ

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Sat Mar 14, 2009 7:56 am    ชื่อกระทู้: ขอมอัฟซุนนะฮฺคุงครับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม..ก่อนอื่นขอมอัฟซุนนะฮฺคุง..เพราะบังเริ่มเวียนหัวแร้ว..ใครเปนใคร..

งั้นฝากให้คุน maliksn ก่อน

ข้อความmaliksn ที่ว่า
"ผมว่า ของที่อัลลอฮ์สั่ง รอซู้ลใช้ ทำให้ครบกันก่อนดีกว่าครับ ไม่ ต้องไปขวนขวายกับของที่นบีไม่เคยทำเป็นตัวอย่างไว้หรอก(เรื่องอีบาดัต) ดูมันจะง่ายซะกว่า ต้องมานั่งข่มตาหลับ ขับตานอน หาทัศนะ มาเห็นด้วยกับเรื่องอุตริ "

maliksn จะรู้ได้ยังงัยว่าของที่อัลลอฮฺสั่ง ร่อซุลใช้คืออะรัย บังเชื่อว่าmaliksn จะต้องตอบว่า "ก้ออัลกรุอาน และหะดีษงัย" นั่นแหละซุนนะฮฺคุงจะเข้าใจ 2 อย่างนี้ให้เหมือนเป้าหมาย และความหมายที่มีมาได้อย่างรัย การกลับไปหา2สิ่งมันมีเส้นทาง ที่ผ่านมา 1400 กว่าปีเค้ามีทางกลับ แล้วmaliksn มีทางกลับไปอย่างรัย หรือ ตอนนี้maliksn ออกทรรศนะของตัวเอง..แร้วตั้งตัวเองเปนผู้วินิจฉัยศาสนาแบบ เวปสติวเดนท์?(แล้วซุนนะฮฺคุงจำอัลกรุอานหมดยังครับ?)

ข้อความmaliksn ที่ว่า
"ทัศนะที่เห็นด้วย ก็ต้องมาจากคนที่นิยมทำอุตริอยู่แล้ว เป็นธรรมดา "

ทั้งๆที่maliksn เพิ่งอาจข้อความข้างบนผ่านมาเนี่ยนะที่ว่า

"ด้วยเหตุนี้ อะอิมมะฮฺ ซุนนะฮฺ ระดับมุหักกิกีน(ระดับกลั่นกรอง)ในเรื่องซุนนะฮฺและตอบโต้บิดอะฮฺ พวกเขาจึงมีทรรศนะว่า อนุญาติให้ทำการมอบผลบุญได้เช่น อิมามอะห์หมัด-อิบนุ ตัยมีย์ยะฮฺ-อิบนุกอยยิม- และกลุ่มหนึ่งของอุลามะอฺชั้นนำในด้านดะอฺวะฮฺ ดังเช่นท่านชัยค์ มุหัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ และคณะ"

ตกลงใครเหนไม่เหมือนmaliksn คือพวกนิยมอุตริกรรม ไม่เว้นแม้แต่อะอิมมะฮฺของอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วะอยาซุบิลลาฮฺ ระวังจะเป็นพวกแหกกรอบซะเองนะครับ

ไว้มาเสนอต่อ...ครับ

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Sat Mar 14, 2009 12:55 pm    ชื่อกระทู้: บทสรุป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม

ตอนนี้มาถึงช่วงท้ายของประเด็นหวงัว่าผู้ร่วมสนทาทุกคนจะได้ติดตามตั้งแต่ต้นเพื่อเป็นฐานรองรับบทสรุป ซึ่งส่วนหนึ่งบังอะซันได้อธิบายไปแล้ว และส่วนเสริมผมได้นำเสนอไว้ช่วงท้ายประเด็น

ทรรศนะของอุลามะอฺที่ได้กล่าวถึงการอ่านให้กับผู้ตายหากดูโดยรวมแล้วแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่
และถ้ามองในรายละเอียดจะเห็นเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

ทรรศนะที่ 1

-ให้อ่านอัลกรุอานระหว่างคนมีชีวิต เพื่อความเป็นศิริมงคล และความเมตตาจากอัลลอฮฺ แต่ให้ขอดุอาอฺให้กับผู้ตายเพื่อหวังว่าการอ่านอัลกรุอานนั้นจะทำให้ดุอาอฺมีโอกาศถูกตอบรับ และไม่อนุญาติให้อ่านอัลกรุอานโดยยก หรือ มอบผลบุญให้แก่ผู้ตาย นี้เป็นทรรศนะของอิมามชาฟีญ์อี์ย และ อิมามมาลิก รอฮิมะฮุมัลลอฮฺ และบางส่วนจากอุลามะอฺ เช่นเดียวกันนี้เป็นทรรศนะของชัยค์ อิบนุบาซ รอฮิมะฮุลล้ลอฮฺ และคณะกรรมการรถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการ และชี้ขาดปัญหาศาสนาของประเทศซาอุดิอารเบีย.

ทรรศนะที่ 2.1

-อนุญาติให้อ่านอัลกรุอานแก่ผู้ตาย และมอบผลบุญให้กับผู้ตายซึ่งเท่ากับเปนการบริจาคทาน แต่ใในทางดีเลิศควรใช้การขอดุอาอฺ และบริจาคทานที่เป็นทรัพย์สิน การปลดปล่อยทาส การทำหัจญ์ และอุมเราะฮฺ นี้เป็นทรรศนะของอิบนุ ตัยมีย์ยะฮฺ- อิบนุกอยยิม และเช่นเดียวกันนี้เป็นทรรศนะของชัยค์ อิบนุ อุษัยมีน รอหิมะฮุลลอฮฺ เนื่องจากชนสลัฟในยุคศตวรรษที่ดีเลิศทำอิบาดะฮฺตามรูปแบบที่ถูกบัญญัติไว้ ทั้งภาคฟัรฎฺ และซุนนะฮ์ และพวกเขาต่างพากันขอดุอาอฺให้กับพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งที่มีชิวิต และไม่มีชีวิตซึ่งตามที่ประพฤติปฎิบัติกันมาพวกเขาจะไม่ใช้การมอบผลบุญให้กับผู้ตายของพวกเขา

ทรรศนะที่ 2.2

-อนุญาติให้อ่านอัลกุรอานให้แก่ผู้ตายได้ และมอบผลบุญให้กับผู้ตายได้ เช่นเดียวกับการประกอบคุณธรรมความดีอื่นๆที่เป็ยการกรุบะฮฺต่ออัลลอฮฺ และมอบผลบุญนั้นแก่ผู้ตาย นี้เป็นทรรศนะส่วนให่ญของบรรดาอุลามะอฺ เนื่องจากเป็นทรรศนะของมัซฮับหะนะฟีย์ - ฮัมบะลีย์ -และอุลามะอฺส่วนมากจากมัซฮับชาฟิอีย์ และบางส่วนจากมัซฮับมาลิกีย์

จึงจำเป็นแก่มุสลิมทุกคนจะต้องให้เกียตร์กับทรรศนะของอุลามะฮฺของอะฮฺลุซซุนนะฮฺทั้งหมด เนื่องจากพวกเขาได้นำเสนอในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชาติตามแนวทางการวินิจฉัยของแต่ละท่านซึ่งล้วนตั้งอยู่บนบรรทัดฐานแห่งอิสลาม ซึ่งในประเด็นที่เปิดให้มีการวินิจฉัยย่อมทำให้เกิดทรรศนะที่แตกต่างกันเสมอ

อนึ่งเพื่อความเข้าใจต่อรูปแบบการคิลาฟจึงขอนำเสนอดังนี้
-การตอบโต้ระหว่างอะฮฺลุซซุนนะฮฺกับกลุ่มบิดอะฮฺ เรียกว่า คิลาฟตุฎอดดีย์ หรือ คิลาฟบนอุศูล อะกีย์ดะฮฺ เพราะอยู่ในประเดนว่า ยอมรับ หรือ ปฎิเสธ ในประเด็นดังกล่าวหากมีการปฏิเสธแบบสุดโต่งแน่นอนย่อมเข้าข่ายในการคิลาฟบนอะกีย์ดะฮฺ ซึ่งต้องหักล้าง ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมาม อัฎฎอหาวีย์ ได้นำประเดนนี้เข้ามาในหนังสือของท่าน ส่วนความขัดแย้งระหว่างอะฮฺลุซซุนนะฮฺด้วยกันเองในประเดนนี้ล้วนตั้งอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน คือ การยอมรับว่าคนได้ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ดีงามของคนมีชีวิตได้กระทำ เช่น ดุอาอฺ และการบริจากทานด้วยทรัพย์เป้ฯต้น แต่มีทรรศนะที่แต่งต่างกันในบางประเภทของอิบาดะฮฺ เช่นอิบาดะฮฺที่กระทำด้วยกายล้วยๆซึ่งเป็นการขัดแย้งในประเดนย่อย จึงเปิดช่องทางให้มีการวินิจฉัย ภายใต้กฎเกณฑ์ และเงื่อนไขของหลักนิติศาสตร์อิสลาม จึงเรียกข้อโต้แย้งนี้ว่า " อัตตัรเญียะห์" (การให้น้ำหนักระหว่างทรรศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นความขัดแย้งในข้อปลีกย่อยต่างๆของทรรศนะ เรียกว่า คิลาฟตะเนาวุอีย์ หรือ คิลาฟฟุรัวะอฺ แนวการปฎิบัติ และเนื่องจากเป็นข้อปลีกย่อยที่มุฟตีย์นั้นจะเลือกเห็นด้วยกับทรรศนะใดก็จะใช้เป็นบรรทัดฐานในการฟัตวานั้น แต่จะต้องไม่ขัดกับมติเอกฉันท์ของอุลามะอฺ ซึ่งการมีความรู้ในสถานะภาพหลักเกณฑ์ของอิจมาอฺเป็นเงื่อนไขของมุฟตีย์อยู่แร้ว แต่เนื่องด้วยกลุ่มบิดอะฮฺไม่คำนึงถึงหลักอิจมาอฺ เพราะมีพื้นฐานด้านอะกีย์ดะฮฺที่แตกต่างกัน

หวังว่าการนำเสนอครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺจะทำให้เราอยู่ด้วยสถานะภาพของอะฮฺลุซซุนนะฮฺอย่างแท้จริง

ขออัลลอฺได้โปรดประทานทางนำแก่เรา ซึ่งทางที่ได้รับความสำเรจมาแล้ว ไม่ใช่ทางของบรรดาผู้ที่ถูกกริ้ว และหลงผิด ขอต่อพรองค์ประทานความสันติสุขแก่นบีย์ของเรา มุหัมมัก ศอลลัลอฮู อัลยฮิ วะศัลลัม และวงศ์วาน และซอหะบะฮฺของท่าน

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 12, 13, 14  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 14

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.22 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ