asan บันทึก "แปลและเรียบเรียง โดย อะสัน หมัดอะดั้ม
متى يقبل الله عمل العبد ؟ وما هي الشروط في العمل كي يكون صالحاً مقبولاً عند الله ؟
เมื่อไหร่ที่อัลลอฮทรงรับการงานของบ่าว? และอะไรคือ เงื่อนไข ในการงาน เพื่อให้มันเป็นการงานที่ดี ที่อัลลอฮทรงรับ?
الحمد لله
وبعد : فإن العمل لا يكون عبادة إلا إذا كمل فيه شيئان وهما : كمال الحب مع كمال الذل قال الله تعالى ( والذين آمنوا أشد حبا لله ) البقرة/165 ، وقال سبحانه ( إن الذين هم من خشية ربهم مشفقون ) المؤمنون/57 ، وقد جمع الله بين ذلك في قوله ( إِنَّهُمْ كَانُوا يُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ وَيَدْعُونَنَا رَغَباً وَرَهَباً وَكَانُوا لَنَا خَاشِعِينَ) الأنبياء/ من الآية90
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮแท้จริง การงานนั้น จะไม่เป็นอิบาดะฮ นอกจากเมื่อมันสมบูรณ์ ไปด้วยสองประการ และสองประการนั้นคือ ความรักที่สมบูรณ์ พร้อมกับความน้อมถ่อมตนที่สมบูรณ์ ,อัลลอฮผู้ทรงสูงส่งตรัสว่า
والذين آمنوا أشد حبا لله ) البقرة/165
แต่บรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นผู้ที่รักอัลลอฮ์มากยิ่งกว่า – อัลบะเกาะเราะฮ/165และอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
إن الذين هم من خشية ربهم مشفقون ) المؤمنون/57
แท้จริงบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้มีจิตใจยำเกรงเนื่องจากความกลัวต่อพระเจ้าของพวกเขา – อัลมุอฺมินูน/57และแท้จริงอัลลอฮ ได้รวมระหว่าง(สองประการ)ดังกล่าวนั้น ในคำตรัสของพระองค์ ที่ว่า
إِنَّهُمْ كَانُوا يُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ وَيَدْعُونَنَا رَغَباً وَرَهَباً وَكَانُوا لَنَا خَاشِعِينَ
แท้จริงพวกเขาแข่งขันกันในการทำความดีและพวกเขาวิงวอนเราด้วยความหวัง และความเกรงกลัวและพวกเขาเป็นผู้ถ่อมตัวต่อเรา – อัลอัมบิยาอฺ/90
فإذا علم هذا فليعلم أن العبادة لا تقبل إلا من المسلم الموحد كما قال تعالى ( وَقَدِمْنَا إِلَى مَا عَمِلُوا مِنْ عَمَلٍ فَجَعَلْنَاهُ هَبَاءً مَنْثُوراً) الفرقان/23
ดังนั้น เมื่อเขารู้สิ่งนี้แล้ว เขาพึงรู้เถิดว่า แท้จริง อิบาดะฮนั้น จะไม่ถูกรับ เว้นแต่ มาจากมุสลิมที่ศรัทธาในเอกภาพของอัลลอฮ(อัลมุวะหิด)เท่านั้น ดังที่อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า
وَقَدِمْنَا إِلَى مَا عَمِلُوا مِنْ عَمَلٍ فَجَعَلْنَاهُ هَبَاءً مَنْثُوراً) الفرقان/23
และเรามุ่งสู่ส่วนหนึ่งของการงานที่พวกเขาได้ปฏิบัติไป แล้วเราจะทำให้มันไร้คุณค่ากลายเป็นละอองผุ่นที่ปลิวว่อน – อัลฟุรกอน/23
وفي صحيح مسلم ( 214 ) عن عائشة رضي الله عنها قَالَتْ : قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ ابْنُ جُدْعَانَ كَانَ فِي الْجَاهِلِيَّةِ يَصِلُ الرَّحِمَ وَيُطْعِمُ الْمِسْكِينَ فَهَلْ ذَاكَ نَافِعُهُ قَالَ لَا يَنْفَعُهُ إِنَّهُ لَمْ يَقُلْ يَوْمًا رَبِّ اغْفِرْ لِي خَطِيئَتِي يَوْمَ الدِّينِ" يعني أنه لم يكن يؤمن بالبعث ، ويعمل وهو يرجو لقاء الله
ในเศาะเฮียะมุสลิม (หะดิษหมายเลข 214) รายงานจากท่านหญิงอาอีฉะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า “ฉันได้กล่าวว่า โอ้รซูลุลลอฮ, อิบนุญุซอาน ในสมัยญาฮิลียะฮ ปรากฏว่าเขา ติดต่อสัมพันธ์กับพี่น้องร่วมสายเลือด และจ่ายอาหารแก่คนยากจน การกระทำดังกล่าวนั้น มีประโยชน์ต่อเขาไหม? ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “ มันไม่มีประโยชน์ต่อเขา เพราะแท้จริงเขาไม่เคยกล่าวสักวันเดียวว่า “โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ ได้โปรดอภัยความผิดของข้าพระองค์ในวันแห่งวันตอบแทนด้วยเถิด” หมายถึง เขา ไม่ได้ศรัทธาต่อวันแห่งการฟื้นคืนชีพ และไม่ประกอบการงาน โดยที่เขาหวังจะพบกับอัลลอฮ
ثم إن المسلم لا تقبل منه العبادة إلا إذا تحقق فيها شرطان أساسيان الأول : إخلاص النية لله تعالى : وهو أن يكون مراد العبد بجميع أقواله وأعماله الظاهرة والباطنة ابتغاء وجه الله تعالى دون غيره الثاني : موافقة الشرع الذي أمر الله تعالى أن لا يعبد إلا به ، وذلك يكون بمتابعة النبي صلى الله عليه وسلم فيما جاء به ، وترك مخالفته ، وعدم إحداث عبادة جديدة أو هيئة جديدة في العبادة لم تثبت عنه عليه الصلاة والسلام والدليل على هذين الشرطين قوله تعالى : ( فَمَنْ كَانَ يَرْجُوا لِقَاءَ رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلاً صَالِحاً وَلا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدا ً) الكهف/من الآية110
แท้จริง มุสลิม นั้น การอิบาดะฮจะไม่ถูกรับจากเขา นอกจาก เมื่อ เงื่อนไขที่เป็นรากฐานสองประการให้การรับรอง คือ
ประการที่หนึ่ง คือ เจตนาบริสุทธิ์ เพื่ออัลลอฮ ตะอาลา โดยที่ ความประสงค์ของบ่าว ด้วยบรรดาคำพูดและการกระทำของเขา ที่ปรากฏภายนอกและภายในใจ เพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮตะอาลา เท่านั้น ไม่ได้เพื่ออื่นจากพระองค์.
ประการที่สอง คือ การงานนั้นจะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติที่อัลลอฮตะอาลา ได้ทรงบัญชา ว่าเขาจะไม่เคารพภักดีนอกจากกับพระองค์เท่านั้น และการงานนั้น จะต้องปฏิบัติตามนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในสิ่งที่ท่านได้นำมันมา และละทิ้งการขัดแย้งต่อท่านนบี และไม่ประดิษฐ์อิบาดะฮใหม่ขึ้นมา หรือ รูปแบบใหม่ในอิบาดะฮ์ ที่ไม่ปรากฏยืนยันจากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
قال ابن كثير رحمه الله : " ( فمن كان يرجوا لقاء ربه ) أي ثوابه وجزاءه الصالح ( فليعمل عملا صالحا ) أي ما كان موافقا لشرع الله ( ولا يشرك بعبادة ربه أحدا ) وهو الذي يراد به وجه الله وحده لا شريك له وهذان ركنا العمل المتقبل لابد أن يكون خالصا لله صوابا على شريعة رسول الله صلى الله عليه وسلم
อิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าว(อธิบายอายะฮ)ที่ว่า (แล้วผู้ใด หวังที่จะพบกับพระเจ้าของเขา) หมายถึง หวัง ผลบุญและการตอบแทนที่ดีของพระองค์ (จงประกอบการงานที่ดี) หมายถึง สิ่งที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของอัลลอฮ (และเขาไม่นำบุคคลใดมาหุ้นส่วนในการอิบาดะฮต่อพระเจ้าของเขา) โดยที่เขามี จุดประสงค์ในการอิบาดะฮนั้นเพื่ออัลลอฮพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆต่อพระองค์ และนี้คือ หลักการสองประการ ของการงานที่ถูกรับ ซึ่งมันจะต้อง มีความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ และมันตรงกับชะรีอัตของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม .
เช็ค มุหัมหมัด ศอลิห์อัลมุนัจญิดالشيخ محمد صالح المنجد
http://www.islamqa.com/ar/ref/13830
"