ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Tue Jun 15, 2004 9:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อันที่จริงเรื่องการแตกต่างทางทัศนะนั้นย่มมีอยู่เป็นของธรรมดา ถ้าจะดูทัศนะของตัว
อิมามแท้ๆ ก็จะเห็นว่าไม่มีมากนัก
แต่ที่มีข้อขัดแย้งกันมากมายจนน่าเกลียดนั้นเกิดจากอุละมาอฺ ในยุคหลังที่พยายามกะเทาะ
กิ่งก้านสาขาให้มากมายออกไป พร้อมทั้งออกความเห็นไว้ แล้วอ้างมัซฮับที่ตนสังกัด
ซึ่งตัวอิมามที่ตนนับถือท่านไม่รู้เห็นด้วย เช่นอุละมาอฺมัซฮับมาลิกีกล่าวว่า
ผู้นมาชคนไดลืมสิ่งที่เป็นสุนัต 3 ครั้งขึ้นไปแล้วจงใจไม่สุญูด ซะวีฮฺก่อนให้สลาม
ถือว่านมาชนั้นใช้ไม่ได้
เรื่องแปลกอย่างนี้ดูเหมือนอุละมาอฺมาลิกีฝ่ายเดียวที่ว่าไว้ ที่ว่าแปลกก็เพราะตามที่รู้กันทั่วไป
นั้น นมาชใดที่ทำไม่ครบชะรัฎ [เงื่อนไข] ย่อมใช้ไม่ได้ แต่นี่เพียงเรื่องขาดสุนัตไปบ้าง
แทนที่จะใช้ได้ กลับถือว่าใช้ไม่ได้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Tue Jun 15, 2004 9:52 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เรื่องทำนองนี้ ท่านอิมามนะวะวีได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล มัจญ์มูอฺ เหมือนกันว่า
หากผู้นมาชทิ้งสุนัตมุอักกัตฺโดยไม่เจตนา ก็ให้สุญูดซะฮฺวี [สุญูดแทนสิ่งที่ลืมทำ]
ถ้าเขาจงใจทิ้งสุนัตมุอักกัตฺ อุละมาอฺมีทัศนะไว้สองทาง ซึ่งเป็นที่รู้กันแพร่หลาย คือ
1 ผู้นั้นไม่ต้องสุญูดซะฮฺวี เพราะสุญูดซะฮฺวีถูกกำหนดขึ้นในกรณีที่มีการลืมบางสิ่ง
และผู้จงใจไม่กระทำถือว่าไม่ใช่ผู้ลืม
2 มีทัศนะว่าเขาต้องสุญูดซะฮฺวี
หมายถึงว่า ทัศนะที่สองนี้จำต้องสุญูดซะฮฺวี แม้ว่าผู้ทำจงใจทิ้งสุนัตมุอักกัตฺก็ตาม
ถ้าไม่สุญูด นมาชนั้นก็ใช้ไม่ได้ เมื่อดูหลักฐานที่เป็นตัวบทก็คงไม่พบแน่ๆ
ในเรื่องนี้เจ้าของทัศนะจึงหันไปกว้าการกิยาสมาใช้ กิยาสแบบที่ว่า เอาลา คือผู้หลงลืม
ยังต้องทำสุญูดซะฮฺวี ดังนั้น ผู้จงใจไม่ทำ ต้องมีภาระที่ต้องสุญูดซะฮฺวียิ่งกว่า
เพราะสุญูดซะฮฺวีถูกกำหนดขึ้นสำหรับผู้ลืม ดังนั้น ผู้จงใจทิ้ง จะต้องสุญูดยิ่งกว่า [ผู้ที่ลืมเสียอีก]
กิยาส เอาลา ตามหลักวิชาก็มีอยู่ แต่มิได้ใช้ใน กรณีที่เป็นบทลงโทษ [อัล หุดูด]
หรือข้อผ่อนผัน [อัล รุค็อชฺ] หรือข้อที่เป็นตะอับบุดี [สิ่งที่ให้กระทำ แต่ไม่เกี่ยวกับเหตุผล] |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Thu Jun 17, 2004 9:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
กุรฺอานมีบทบัญญัติ ไว้ในซูเราะฮฺ อัน นิสาอฺ อายะฮฺที่ 59 ว่า
4: 59 ศรัทธาชนทั้งหลาย จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ จงเชื่อฟังรอซูล และผู้ปกครองของพวกสูเจ้า
หากสูเจ้าทั้งหลายขัดแย้งกันในสิ่งหนึ่ง ก็จงกลับไปหาอัลลอฮฺและรอซูลเถิด
มาตรแม้นว่าสูเจ้าทั้งหลายศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสุดท้าย อันนี้เป็นเป้าหมายที่ดียิ่ง ##
ท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนว่า
ท่านทั้งหลายจงยึดมั่นต่อซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของบรรดาเคาะลีฟะฮฺ ผู้ได้รับทางนำ
ที่อยู่หลังจากฉัน จงยึดเหนี่ยวไว้อย่างมั่นคง ท่านทั้งหลายจงระวังกิจการใหม่ๆ
เพราะสิ่งประดิษใหม่ๆ[ในศาสนา] ทุกอย่างเป็นสิ่งหลงใหล หะดีษ อบูดาวูด และติรมิซี
และอีกตอนหนึ่ง ท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สอนไว้ว่า
สิ่งที่อัลลอฮฺ ทรงอนุมัติไว้ในคัมภีร์เป็นสิ่งหะลาล สิ่งที่พระองค์ทรงห้ามเป็นสิ่งหะรอม
และสิ่งที่ไม่พูดถึงอันเป็นสิ่งผ่อนผันก็จงรับไว้ อัลลอฮฺไม่ทรงลืมสิ่งใด
และพระผู้อภิบาลของเจ้าไม่ลืมสิ่งใดเลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Thu Jun 17, 2004 9:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ปัญหาศาสนาที่ขัดแย้งกันมีมาก และที่แตกต่างกันก็มีไม่น้อยเลย ได้นำมาเสนอไว้
แก่ท่านผู้อ่านแล้วเป็นบางส่วน อย่างไรก็ดี หลักการของอิสลามมีระบุไว้ว่า หากมีข้อขัดแย้ง
เกิดขึ้นก็จงกลับไปหาคำตัดสินหรือข้อชี้ขาดจากกุรฺอาน หรือหะดีษของรอซูล
หรือแบบฉบับของบรรดาเคาะลีฟะฮฺ ผู้ได้รับทางนำแล้ว
จริงอยู่ ตัวบทหรือแบบฉบับของรอซูลก็ดี ของเคาะลีฟะฮฺก็ดี ไม่อาจมีครบถ้วนทุกอย่าง
ทุกเรื่อง แต่เท่าที่มีอยู่ก็พอจะมาเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆได้บ้าง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Thu Jun 17, 2004 9:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แต่มาสมัยหลัง บรรดานักฟิกเกาะฮฺ พยายามแข่งขันกัน สรรหาเรื่องแปลกๆมาประมวล
ไว้ในหนังสือฟิกฮฺ พร้อมทั้งวางหุกุมไว้เสียด้วย ด้วยเหตุนี้ในหนังสือฟิกฮฺบางเล่มจึงมีปัญหา
ที่ประหลาด แม้ว่าสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ก็นำมาประมวลไว้ ทั้งๆที่อุละมาอฺคนสำคัญๆ
ได้ระบุไว้ว่า ควรระบุหุกุมในปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ควรระบุหุกุมในปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้น
จะทำให้ศาสนาของอัลลอฮฺ เกิดเลอะเทละ แต่ดูเหมือนว่า อุละมาอฺหรือนักฟิกเกาะฮฺรุ่นหลังๆ
จะไม่สนใจนำคำพูดของอุละมาอฺ คนสำคัญๆมาคิด เช่น
อิมามเฑาะซาลี พูดไว้ว่า
เราทั้งหลายกลายมาเป็นคนที่อยู่ในยุคของคนอาลิม ที่มั่วอยู่กับปัญหาย่อยที่ถกเถียงกัน
แถมยังทึกทักว่าเป็นเรื่องที่ได้ผลบุญ แต่ที่จริงเป็นเรื่องที่คนยุคก่อนๆต่างเกลียด
/ดู อิหฺยาอฺ อุลูมมุดดิน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Jun 18, 2004 8:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จากที่ว่ามานี้จึงเห็นได้ว่า อุละมาอฺนั้นมีอยู่หลายชนิด อุละมาอฺจริงนั้นมีแยะ
แล้วอุละมาอฺเก๊ก็มีมาก ถ้าเราประกาศลอยๆว่าต้องเชื่ออุละมาอฺ ต้องตามอุละมาอฺ
แล้วใครจะแยกแยะได้ว่าอุละมาอฺ อย่างไหนตามได้ อย่างไหนตามได้
หรือถ้าจะถือว่าอุละมาอฺ ที่เขาเขียนหนังสือฟิกเกาะฮฺ ได้คนนั้นแหละเราต้องตาม
เพราะถือว่าเขาต้องรู้ดีกว่าเรา นักฟิกเกะฮฺทำหนัวสือได้ทั้งสิ้น แล้วผู้มีสติปัญญา
จะยอมเชื่ออุละมาอฺ แบบไหนหรือ ใช้สามัญสำนึกก็พอ ไม่ต้องใช้หลักวิชาการอะไรมาก
ส่วนผู้ผ่านการเล่าเรียนมาบ้างก็อาจใช้หลักวิชาไล่เบี้ยก็จะสามารถตัดสินได้ทันที
ทั้งนี้ก็เพราะว่าหุก่มฟิกเกาะฮฺ นั้นต้องมีตัวบทของปัญหาปลีกย่อยมายืนยัน
เป็นหลักฐานจึงจะเชื่อถือได้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Jun 18, 2004 8:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
## คนส่วนใหญ่คือใคร ##
มีหะดีษ บทหนึ่งข้อความว่า
ประชากรของฉันจะไม่ลงความเห็นพ้องกันในเรื่องแหลวไหล
ถ้าท่านทั่งหลายพบการขัดแย้งกันขึ้น ก็จงยึดฝ่ายข้างมาก
หะดีษนี้ ท่านครูนำมาอ้างเป็นหลักฐานว่า ในเรื่องที่เราเคยทำบุญให้คนตาย อ่านอิซีกุโบร์นั้น
ตามมัซฮับชาฟิอีระบุว่า ผลบุญไปถึงผู้ตาย ปู่ย่า ตายาย ก็เคยทำกันมานานแล้ว ผู้รู้สมัยพ่อ
หรือสมัยปู่ของเราก็ทำกันมา แม้กระทั้งในปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้คนนิยมทำกันเยอาะแยะ
นี่ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่า คนส่วนมากเขาทำกัน เราก็ต้องทำตามด้วยจึงจะถูก
เพราะท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งว่า ให้เราตามคนส่วนมาก ดังข้อความ
ที่ปรากฎชัดอยู่ใน อัล หะดีษ ที่กล่าวมาข้างต้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Jun 18, 2004 8:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การที่ต้องนำหะดีษบทนี้มาเขียนถึง ก็เนื่องจากเห็นว่าท่านครูบางคนออกจะมักง่ายเอามากๆ
ในการอ้างหะดีษ ชอบแต่จะอ้างหะดีษเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แทนที่จะอ้างเพื่อประโยชน์
แก่หลักการของ อัล อิสลาม อันนี้ส่อให้เห็นว่า ท่านครูประเภทนี้ได้กระทำตนไม่เหมาะสม
กับที่เป็นนักวิชาการที่ควรค่าแก่การได้รับการยกย่อง และให้ความนับถือ
การอ้างหะดีษบทนี้ ควรอย่างยิ่งที่จะได้พิจารณาถึงประเด็นต่างๆให้รอบคอบเสียก่อนว่า |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Jun 18, 2004 9:16 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1 ที่ว่าคนส่วนใหญ่ซึ่งเราจะต้องตามนั้น เป็นคนระดับไหน
2 จะคิดเฉพาะคนส่วนใหญ่ในเมืองไทยนี้เท่านั้นหรือ
3 คำว่า คนส่วนใหญ่ นั้นได้ข้ออธิบายความจากอัล กุรอานไหม
4 ถ้าจะถือเอาข้อความนี้ไปปฎิบัติจริง จะยอมทำตาม[ทุกกรณี]ไหม
5 ฐานะของอัล หะดีษบทนี้เป็นอย่างไร กล่าวในเรื่องได
ถ้าท่านครูดังกล่าว ได้ใช้ความรอบคอบหยิบยกเอาประเด็นต่างๆเหล่านี้ขึ้นมาพินิจพิจารณา
อย่างคนมีสติ ก็อาจจะมีความยับยั้งชั่งใจไม่แสดง ภูมิต่ำ ออกมาให้เห็นอย่างแน่นอน
ตามข้อเท็จจริง การที่ท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งให้ยึดถือปฎิบัติตาม
คนส่วนมาก ท่านมิได้ระบุไว้อย่างจำเพาะเจาะจงว่าให้คิดคำนวณเอาจากปริมาณคนส่วนมาก
ในเมืองหรือ กรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ตามคำอ้างของบรรดาท่านครูส่อให้เห็นว่า
ให้ยึดถือเอาจำนวนคนส่วนมากเฉพาะในประเทศไทย เพราะเขาชอบ อีซีกุโบร์กันมากเอาการ
จึงน่าคิดว่า นัยของหะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
มีความหมายกินอยู่ในวงจำกัดแคบๆเช่นนี้เท่านั้นละหรือ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Jun 19, 2004 11:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อัล หะดีษบอกว่า
หากเห็นการขัดแย้ง ก็ให้ยึดถือคนส่วนมาก
แต่ อัลกุรอานบอกว่า
หากเกิดขัดแย้งกัน ให้ยึดถือกุรอานและหะดีษของนบีฯ
หะดีษ กับ กุรอาน ขัดกันหรือ
ตามหะดีษบอกว่า
หากเห็นการขัดแย้ง ก็ให้ยึดถือคนส่วนมาก
แต่ กุรอานบอกว่า
หากท่านเชื่อคนส่วนมาก จะทำให้ท่านหันเหออกนอกทางของ อัลลอฮฺ
หะดีษ กับ กุรอาน มิขัดกันหรือ
หะดีษ กับ กุรอานทั้งสองดังกล่าวมิได้ขัดกันเลย
ทั้งนี้เพราะคำที่ว่า คนส่วนมาก นั้น ท่านอิมามสุญูฎีได้อธิบายไว้ว่า
หมายถึงคนส่วนใหญ่ที่ยึดถือแนวทางอันเที่ยงตรง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Jun 19, 2004 11:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อันแนวทางที่เที่ยงตรง [อัล มุสตะกีม] นั้นจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจาก กุรอาน และอัล หะดีษ
ดังนั้น หะดีษ คนส่วนใหญ่ จึงมีข้อความว่า
ถ้าพบการขัดแย้ง ก็ให้ถือตามคนส่วนใหญ่ที่อยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรงอันได้แก่
กุรอานและหะดีษ
หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าพบการขัดแย้ง ก็ให้ยึดกุรอานและหะดีษ นั่นเอง
ซึ่งก็เป็นความหมายตรงกับ อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัน นิสาอฺ อายะฮฺที่59
แต่ถ้ามองกันในมุมกลับของหะดีษ คนส่วนใหญ่ ก็จะได้ความหมายว่า
คนกลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้อยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง เชื่อไม่ได้
ซึ่งอันนี้ก็ตรงกับความหมายใน กุรอาน สูเราะฮฺ อัล อันอาม อายะฮฺที่115 ว่า
6 / 115 หากท่านเชื่อคนส่วนมาก จะทำให้ท่านหันเหออกนอกทางของอัลลอฮฺ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Jun 19, 2004 11:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
นอกจากนี้ ท่าน นบี ศ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังสอนให้ยึดถือตามคนส่วนมากที่
ยึดหลักที่ถูกต้องไว้อีกตอนหนึ่ง จาก อัล บุคอรี กิตาบ อัล ฟิตัน คือ
ท่านฮุซัยฟะฮฺได้ถามท่าน นบีฯว่า ท่านจะให้ข้าพเจ้าทำอย่างไร หากข้าพเจ้าประสบ
เหตุการณ์อย่างนั้น ท่าน นบีฯตอบว่า ให้ยึดตามมุสลิมส่วนใหญ่ [ญะมาอะตัลมุสลิมีน]
และผู้นำของเขา
ฮุซัยฟะฮฺ ถามต่อไปว่า ถ้าไม่มีส่วนใหญ่[ญะมาอะฮฺ] ไม่มีอิมามจะทำอย่างไร
นบีฯตอบว่า ให้ปลีกตัวออกจากพวกต่างๆทั้งหมด แม้ท่านจะงับรากต้นไม้จนตายก็ตาม
คำอธิบายแจกแจงอย่างนี้ หากท่านครูของเราค้นคว้ากันบ้าง ก็คงจะได้ข้อมูลต่างๆออกมา
ในรูปของวิชาการจาก อัล กุรอานและอัล หะดีษ แล้วก็คงจะไม่หยิบยกเอา หะดีษคนส่วนใหญ่
มาอ้างเป็นหลักฐานในเรื่องทำบุญ ทำอีซีกุโบร์ ซึ่งที่มาของอีซีกุโบร์นั้น
จะหาความเข้าใจและรายละเอียดได้ในหน้า 52/ 55 ของหนังสือเล่มนี้ก็ย่อมจะได้รับความเข้าใจ
ดีขึ้น [อินชาอัลลอฮฺ จะได้นำมาเขียนในกระทู้ใหม่] |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Jun 19, 2004 11:49 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ทุกคนอ้างว่าต้องตามอุละมาอฺ แม้ผู้อ้างหะดีษ คนส่วนใหญ่ เองก็เถอะ
แต่ปัญหามีอยู่ว่า ได้ตามกันอย่างจริงๆหรือตามกันแต่ปากเท่านั้น ถ้าตามอุละมาอฺกันจริง
ก็ขอให้ปฎิบัติตามคำอธิบายที่อุละมาอฺอธิบายหะดีษ คนส่วนใหญ่ ไว้ในตำรา
ในหนังสือ อิบนุ มาญะฮฺ เล่ม2 หน้า 1303 หะดีษเลขที่ 3950 อิมามสุญูฎี
ได้อธบายหะดีษ คนส่วนใหญ่ และในนี้ระบุว่า
หะดีษนี้ ส่อให้เห็นว่า ควรทำตามทัศนะคนส่วนใหญ่ [ญุมฮูร์]
หมายความว่า อย่าไปทำตามคนส่วนน้อย ถ้าเช่นนั้นรายละเอียดต่อไปนี้
ผู้อ้าง คนส่วนใหญ่ อ้างอุละมาอฺคงยอมปฎิบัติ เช่น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Jun 21, 2004 10:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
## การกล่าวถ้อยคำเนียต อุศ็อลลี
มาลิกี ถือว่า ไม่ไช่บัญญัติในเรื่องนมาช
หะนะฟี ถือว่า การกล่าวถ้อยคำเป็นบิดอะฮฺ
ชาฟิอี ถือว่าเป็นสุนัต
หะนะฟีกับมาลิกี ไม่ให้ทำ
ชาฟิอีให้ทำ
อันนี้เมื่อถือคนส่วนใหญ่ ก็ควรตามส่วนใหญ่ตามหพดีษบอก
## เวลาของการเนียตอยู่ตรงไหน
หะนะฟี มาลิกี ฮัมบาลี มีความเห็นตรงกันว่า อนุญาตให้เนียตก่อนตักเบรฺเข้านมาช แต่
ชาฟิอี มัซฮับเดียว บอกว่า ต้องเนียตพร้อมกับตักเบรฺเข้านมาชจึงจะใช้ได้
เมื่อพูดว่าต้องตามส่วนมาก จะทำตามจริงๆไหม
## การนมาชตะรอวีฮฺ
ชาฟิอี เพียงมัซฮับเดียว ถือว่าต้องให้ สลาม ทุกๆ 2 ร็อกอะฮฺ มิเช่นนั้นใช้ไม่ได้ ส่วน
หะนะฟี มาลิกี และ ฮัมบาลี ถือว่า นมาชให้ครบเสียก่อน แล้วให้สลามก็ใช้ได้
จะทำตามส่วนมากกันไหม
## จำนวนผู้นมาชวันศุกร์
ชาฟิอี มัซฮับเดียว ถือว่าต้องครบ 40 คน จึงจะทำนมาชได้
หะนะฟี มาลิกี ถือว่าไม่ต้องครบ 40 คนก็ทำนมาชได้
จะถือตามส่วนมากกันไหม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Jun 21, 2004 10:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
## การเชิญเคาะฎีบ ด้วยคำว่า มะอาศิร็อลมุสลีมีนฯ
มาลิกี ถือว่าเป็นบิดอะฮฺที่น่าเกลียด ไม่อนุมัติให้ทำ
หะนะฟี ถือว่าเป็นสิ่งน่าเกลียดที่ต้องห้าม
ชาฟิอี มัซฮับเดียว ถือว่าเป็นของดีที่ศาสนาไม่ได้ห้าม
จะยอมถือตามส่วนใหญ่ไหม
บางคนคิดอ่านใช้คำพูดต่อหน้าเคาะฎีบ โดยเริ่มด้วยประโยคว่า อินนัลลอฮะ วะมลาอิกะตะฮู
ยุศ็อลลูนะ อะลันนบี และเพิ่มเติมข้อความอีกยือยาว เมื่อผู้อะซาน กล่าวเสร็จ
เขากล่าวเมื่ออิมามกำลังพูด ถ้าท่านบอกกับอีกคนหนึ่งว่า จงฟัง แท้จริง
ท่านทำให้การฟังเสียเปล่าไป แล้วที่สุดเขาพูดเองว่า อันสิตู ท่านทั้งหลายจงฟัง
ทั้งหมดดังกล่าวเป็นบิดอะฮฺ ไม่มีความจำเป็นต้องทำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเองไม่รู้
ความหมายของหะดีษเลยใช้ให้คนอื่นทำ แต่ตัวเองพูด ไม่ทราบว่ามีเหตุผลอันไดที่ต้อง
มีการเพิ่มเติมสิ่งซึ่งหลักศาสนามิได้สั่งให้กระทำ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|