ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Jul 22, 2005 11:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จากหนังสือ หลักศรัทธาอิสลาม
อับดุลมะญิด อัซซินดานีย์ เรียบเรียง
อ.ฮะซัน นาคนาวา แปล
หนังสือเล่มนี้ แจกฟรี โปรดให้คนอื่นอ่านด้วย
และจงช่วยกันพิมพ์แจก
นี่คือข้อความของหนังสือดังกล่าวซึ่งไม่มีการ
ตัดทอนหรือเพิ่มเติมในเนื้อหาแต่อย่างใด
ส่วนว่าแจกที่ไหนผมก็ไม่ทราบแต่หนังสือเล่มนี้
ได้มีการฝากกันมาหลายทอดกว่าจะถึงผม
ซึ่งก็เป็นเวลานานแล้ว
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Aug 01, 2005 9:01 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เรื่อง อิสลามมีอะไรเสนอท่าน ยังไม่จบ
ผมกำลังหาหนังสือที่เหมาะสม เพื่อจะนำมาให้ผู้ที่สนใจได้อ่าน
ซึ่งก็เป็นความจริงที่บางคำนั้นจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง บ้าง
เพื่อให้สำนวนได้ใจความที่ถูกต้องและเหมาะสม
ส่วนที่จำเป็นต้องตัดนั้นก็คือ ส่วนที่กล่าวถึงศาสนิกอื่น
เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน
จะสังเกตุว่าสิ่งนี้ผมพยายามออกห่างและไม่นำมาเสนอ
ส่วนที่ว่า ไม่มีการตัดทอนหรือเพิ่มเติม นั้นหมายถึงข้อความ
ที่เป็นสีแดงข้างบน
ที่สุด ขอขอบคุณ ท่านผู้เรียบเรียง และผู้แปล
ยาซาอฺ กุมุลลอฮุค๊อยรอน
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Sep 24, 2005 9:23 am ชื่อกระทู้: |
|
|
" " " ความสำคัญของ ดุอาอฺ คำวิงวอน และการซิกรุลลอฮฺ " " "
อาอฺ คำวิงวอน คือคำกล่าวนอบน้อมต่ออัลลอฮฺ เพื่อพระองค์จะได้ทรงประทานความดี
หรือยับยั้งสิ่งที่ชั่วร้ายต่างๆ บรรดาอันบิยาอฺทุกท่าน ได้กล่าววิงวอนต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
และพระองค์ก็ได้ทรงตอบสนองคำวิงวอนของท่านเหล่านั้น
ปรากฎจากตัวบทในอัลกุรอาน และอัลหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า
อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้บัญญัติให้วิงวอนขอต่อพระองค์ และท่านก็ได้วิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ
ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เช่นกัน
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ายังมีละหมาดอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ศ่อลาตุลอิสติสก็ออฺ" แปลว่าละหมาดขอฝน
คือการวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงประทานฝนลงมา
ดังนั้น จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การวิงวอนนั้นมีความสำคัญประการใด เพราะในความหมายของคำวิงวอน
นั้นมีเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกีบเอกภาพของอัลลอฮฺอยู่หลายเรื่อง และยังเกี่ยวข้องกับอุปนิสัยของผู้ศรัทธาอีกด้วย
ส่วนที่ว่าเกี่ยวกับเอกภาพของอัลลอฮินั้น ก็เพราะว่าในคำวิงวอนนั้น ทำให้จิตใจรู้สึกนึกคิดถึงเอกภาพของ
การเป็นพระผู้เป็นเจ้า หมายถึงผู้วิงวอน เมื่อเขาวิงวอน เขาจะวิงวอนต่อพระองค์โดยเฉพาะ เขารู้สึกว่า
ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว ไม่มีผู้ใดที่จะเป็นผู้บริหารจักรวาลได้นอกจากพระองค์
พระองค์เป็นผู้ทรงสร้าง และพระองค์มีอำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sun Sep 25, 2005 9:10 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ยังมีความหมายเป็นอย่างอื่นอีกในคำวิงวอน นั่นก็คือ ความหมายของการมอบตน
โดยสิ้นเชิงต่ออัลลอฮฺ ซึ่งหมายถึงการมีความรู้สึกที่ว่า สาเหตุต่างๆตามปกตินั้น
แม้ว่าจะถูกยึดถือก็ไม่อาจที่จะทำให้ซึ่งผลสำเร็จของกิจการได้ หากแต่จะต้องมีการ
มอบหมายและไว้วางใจในอัลลอฮฺ เพราะการวิงวอนนั้นเป็นประเภทหนึ่งของการมอบหมาย
และการไว้วางใจในอัลลอฮฺนั่นเอง
นอกจากนี้การวิงวอนยังทำให้จิตใจสบาย ธรรมดามนุษย์นั้น ต้องประสบกับความลำบาก
และมีความเจ็บปวดล้อมอยู่รอบด้าน ดังนั้น เขาจึงไม่พบผู้เป็นที่พึ่งอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ
เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่า ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น
ท่านอดทนต่อความลำบากและความแร้นแค้นอย่างมาก
ในทำนองเดียวกับบรรดาอันบิยาอฺในสมัยก่อนๆ ท่าน นบี ก็ได้เคยอดทนต่อความยากลำบากมาแล้ว
ในภาวะคับขัน ท่านเหล่านั้นได้หันไปหาอัลลอฮฺ และการหันไปหาพระองคืนั้นก็เป็นความปลื้มปิติ
เป็นความสบายอกสบายใจ และเป็นการศรัทธาอย่างแท้จริงอย่างหนึ่งอีกด้วย
การดุอาอฺ วิงวอนนั้น จะถูกตอบสนองแก่ผู้ที่ยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเท่านั้น
ฉะนั้นจึงจำเป็นแก่เราที่จะต้องตระหนักไว้อย่างมากว่า การรับการวิงวอนนั้น ขึ้นอยู่กับการยำเกรง
ต่ออัลลอฮฺและการศรัทธาต่อพระองค์ และตามหลักการสรัทธาที่ถูกต้องนั้น เมื่อมนุษย์หันไป
พึ่งอัลลอฮฺ จำเป็นที่เขาจะต้องพอใจในการตัดสินของพระองค์ เพราะการวิงวอนก็เป็นส่วนหนึ่ง
ของการตัดสิน และการตอบสนองคำวิงวอนก็ทำให้การตัดสินของเขานั้นสมบูรณ์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Oct 01, 2005 9:56 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงตัดสินและทรงกำหนดสภาวะให้เราต่อพระองค์
และพระองค์ทรงตัดสินและทรงกำหนดสภาวะ ในการที่พระองค์จะทรงสนองตอบคำวิงวอน
พระองค์ทรงมีอิสระที่จะกระทำสิ่งใดก็ได้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์
นักปราชน์ได้ให้ความกระจ่างแจ้งแก่ความหมายเช่นนี้เพิ่มขึ้น โดยกล่าวว่า การตอบรับคำวิงวอน
นั้นขึ้นอยู่กับพระประสงค์ ฉะนั้นพระองค์จึงทรงให้มีความหวังในการตอบรับโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
ดังต่อไปนี้ " " บางที่พระองค์ก็ทรงให้เขา(ผู้ขอ) ได้รับอย่างรีบด่วนตามคำวิงวอน
บางที่พระองค์ก็ทรงสะสมไว้ให้เขา และบางทีพระองค์ก็ทรงระงับยับยั้งการตอบสนองไว้โดย
มิให้เขาได้รับความชั่วร้ายดังที่ประสบกับคนอื่นๆ " "
สำหรับความสำคัญของการซิกรุลลอฮฺนั้น มีโองการของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
และหะดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มากมาย ณ ที่นี้เราจะนำมาเพียงสี่หะดีษ
ดังต่อไปนี้
1 . จากอบีอัดดัรดาอฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
" " ฉันจะบอกให้พวกท่านเอาไหม? ถึงการงานที่ดียิ่งของพวกท่าน ซึ่งบริสุทธิ์ยิ่ง ณ พระผู้เป็นเจ้าของ
พวกท่าน สูงส่งยิ่งในตำแหน่งของพวกท่าน ดียิ่งสำหรับพวกท่านกว่าการบริจาคทองและเงิน
และดียิ่งสำหรับพวกท่านกว่าการเข้าประจันบานกับศัตรูของพวกท่าน โดยพวกท่านฆ่าฟันต้นคอพวกเขา
และพวกเขาฆ่าฟันต้นคอของพวกท่าน ? บรรดาสาวกกล่าวว่า เอาซิครับท่านร่อซูลลุลลอฮฺ
แล้วท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็กล่าวว่าสิ่งนั้นคือ ซิกรุลลอฮฺ(การรำลึกนึกถึงอัลลอฮฺ) " "
บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ และอิบนุมาญะฮฺ และอัลฮากิม กล่าวว่า มีสายสืบที่ถูกต้อง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Oct 15, 2005 7:11 am ชื่อกระทู้: |
|
|
2 . อะบูฮุรอยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวธซัลลัม กล่าวว่า
" บรรดามุฟัรริดูนได้ล้ำหน้าไปแล้ว บรรดาสาวกก็ถามขึ้นว่า ใครเล่าคือมุฟัรริดูน
ท่านร่อซูลุลลอฮฺ? ท่านกล่าวว่า คือ บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺมากๆที่เป็นชาย และบรรดาผู้รำลึก
นึกถึงอัลลอฮฺมากๆที่เป็นหญิง " บันทึกโดย มุสลิม
3 . อับดุลลอฮฺ อิบนุ บิชรฺ กล่าวว่า แท้จริงมีชายคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮฺ
แท้จริงบัญญัติต่างๆของการศรัทธาได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายแก่ฉัน กรุณาบอกฉันถึงสิ่งหนึ่ง
เพื่อให้ฉันยึดมั่นต่อสิ่งนั้น ท่านร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า " ลิ้นของท่านยังคงเปียกอยู่ด้วยการรำลึก
นึกถึงอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา "
อัตติรมิซียฺ เป็นผู้บันทึก และกล่าวว่า เป็นหะดีษฮะซัน
4 . จากอบีมูซา อัลอัซอะรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ จาก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
" อุปมาผู้ที่รำลึกนึกถึงพระผู้เป็นเจ้าของเขา กับผู้ที่ไม่รำลึกนึกถึงพระผู้เป็นเจ้าของเขา
อุปมัยคนเป็นกับคนตาย " บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Thu Mar 30, 2006 10:06 am ชื่อกระทู้: |
|
|
จากหนังสือ บิสมิลลาฮฺ เล่มที่หนึ่ง โดย อาจารย์ ชาฟิอี นภากร
ท่านชัยคฺ อบู อัมรฺ กล่าวว่า ผู้ที่ถือชาฟิอีนั้น หากไปพบหะดีษที่แตกต่างกับมัซฮับของเขาละก็
หากเขาเป็นนักอิจญติฮาดทั่วไป หรืออิจญฮาดในบทใดบทหนึ่ง หรือใน(มัสอะละฮฺ) ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
ก็ให้ปฎิบัติตามหะดีษได้ตามอิสระ หากเขาไม่ใช่นักค้นคว้า และรู้สึกลำบากใจที่จะละทิ้งหะดีษ
หาเหตุผลไม่ได้ว่าที่ต้องค้านเพราะเหตุใด? ก็ให้เขาปฎิบัติตามหะดีษไป ถ้าหากมีอิมามอื่นๆนอกจาก
อิมามชาฟิอี เขายึดถือปฎิบัติ (จากหนังสือ อัล มัจญ์มูอฺ ของนวาวี เล่ม 1 หน้า 105)
นับเป็นข้อเสนอแนะของอุละมาอฺที่มีคุณค่ามาก !!
" " แท้จริง ท่านไม่ทำให้คนตายได้ยิน " "
" " และท่านไม่ทำให้คนในสุสานได้ยิน " "
ข้อความข้างบนนี้เป็นความหมายของ อัล กุรอาน ข้อความแรกอยู่ในซูเราะฮฺ อัน นัมลฺ อายะฮฺที่80 และ
ซูเราะฮฺ อัร รูม อายะที่52 ส่วนข้อความหลังปรากฎอยู่ในซูเราะฮฺ ฟาฎิร อายะฮฺที่22
บทบัญญัติดังกล่าว เคยมีผู้หยิบยกเอามาอ้างเกี่ยวกับเรื่องตัลกีน สอนคนตาย
ฝ่ายหนึ่งว่า " กุรอานบ่งชัดว่า ผู้ตายไม่ได้ยิน "
อีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่า " ข้อความนี้แหละส่อให้เห็นว่า ผู้ตายได้ยิน "
ที่กล่าวว่า ผู้ตายสามารถได้ยินนั้นก็เพราะ อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสกับท่าน นบีมุฮัมมัด ว่า
" ท่านนั้นไม่สามารถทำให้ผู้ตายได้ยิน " ดังนั้น ในมุมกลับของบัญญัตินี้ก็ส่อให้เห็นอยู่แล้วว่า
อัลลอฮฺต่างหากที่ทรงบันดาลให้ผู้ตายไปแล้วสามารถได้ยินได้
แต่ทว่า หากจะได้พิจารณาเอาตามตำรา หรือคำของอุละมาอฺแล้ว จะปรากฎว่ามันกลายเป็นคนละเรื่องกันไป
เพราะข้อความทั้งสองบัญญัติดังกล่าวนั้น หาได้พูดเกี่ยวกับคนตายแต่ประการใดไม่ แต่เป็นเรื่องที่พูดกับคนเป็นๆ
ในเชิงเปรียบเทียบ อีกทั้งข้อความหมายของบัญญัติที่ปรากฎอยู่ก่อนและหลังของบัญญัติทั้งสองนี้ก็บ่งชัดอยู่ว่า
เป็นเรื่องเกี่ยวกับพวกปฎิเสธความจริง
ในตัฟสีรฺ อัด ดุรฺรุลมันษูรฺ ของท่านอิมามสุยูฎี เล่ม 5 หน้า 115 อรรถาธิบายไว้ว่า
" อินนะกะ ลาตุสมิอุลเมาตา ท่านเกาะตาดะฮฺกล่าวว่า " อันนี้เป็นข้อเปรียบเทียบที่อัลลอฮฺทรงเปรียบพวกปฎิเสธความจริงว่า
เมื่อคนตายมิได้ยิน กาฟิรฺก็ไม่ได้ยินเช่นเดียวกับคนตายเหมือนกัน "
( ยังมีต่อ อินชาอัลลอฮฺ ) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Thu Mar 30, 2006 10:48 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ หน้า 157 อธิบายว่า
" มีบันทึกใน อัล บุคอรียฺ มุสลิม นสาอี อิบนุ มาณะฮฺ และอิบนุ มัรดะวัยฮฺ รายงานจาก อิบนุ อุมัรฺ กล่าวว่า
ท่านนบี ได้ยืนอยู่ ณ ทุ่งบัดรฺแล้วพูดว่า " ท่านทั้งหลายพบแล้วใช่ไหมว่า สิ่งที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้เป็นความจริง
และท่านนบี กล่าวว่า " ขณะที่เขาทั้งหลาย(ผู้ตายในสงครามบัดรฺ) ได้ยินสิ่งที่ฉันพูด "
เมื่อมีผู้กล่าวถึงเรื่องนี้แก่ท่านหญิง อาอิชะฮฺ ท่านหญิงอาอิชะฮฺค้านว่า ไม่ใช่เช่นนั้น
ที่ถูกท่านนบี พูดว่า ขณะนี้เขาทั้งหลายรู้แล้วว่า สิ่งที่ฉันเคยบอกแก่พวกเขาทั้งหลายนั้น เป็นความจริง "
จะเห็นได้ว่า ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ติงแก่ผู้รายงานว่า ท่านนบีมิได้พูดว่า
" พวกเขาได้ยิน "
แต่ท่านพูดว่า
" พวกเขารู้แล้ว "
ในหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า 249 อธิบายว่า
" รายงานจากอบู ศอลิฮฺ(ซอและ) จากอิบนุ อับบาสเกี่ยวกับข้อความกุรอานที่ว่า
" แท้จริง ท่านไม่ทำให้คนตายได้ยิน
" และท่านไม่ทำให้คนในสุสานได้ยิน
นั้นหมายถึงการเปรียบเทียบว่า กุฟฟารฺนั้นไม่ได้ยิน จากเกาะตาดะฮฺเกี่ยวกับข้อความกุรอานที่ว่า
" และท่านไม่ทำให้คนในสุสานได้ยิน
นั้นเช่นเดียวกับกาเฟร ซึ่งเขาไม่ได้ยิน และไม่รับประโยชน์จากสิ่งที่เขาได้ฟัง
(ยังมีต่อ อินชาอัลลอฮฺ) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|