ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - วอนผู้รู้ตอบปัญหาคาใจเรื่อง “นมาซวันศุกร์”
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
วอนผู้รู้ตอบปัญหาคาใจเรื่อง “นมาซวันศุกร์”

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Abd.salam
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/09/2008
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Sun Oct 05, 2008 3:56 pm    ชื่อกระทู้: วอนผู้รู้ตอบปัญหาคาใจเรื่อง “นมาซวันศุกร์” ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation คือมันเป็นอย่างนี้นะครับ ที่มัสญิดหมู่บ้านผมมีผู้รู้ท่านหนึ่งสอนว่าการนมาซวันศุกร์(ญุมุอะฮฺ)นั้น
1.ต้องมีผู้เข้าร่วมนมาซฯจำนวน 40 คนขึ้นไป
2.จำนวนผู้เข้าร่วมนมาซทุกคนต้องนมาซถูกต้องหมด หากมีคนหนึ่งคนใดในญุมุอะฮฺ นมาซเสียหรือนมาซบกพร่องไม่ถูกต้องตามรุก่น เขาผู้นั้นจะทำให้นมาซของคนอื่นเสียไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมนมาซมีจำนวน 40 คน 39 คนให้สลามนมาซเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว ยังเหลือนาย ก. อยู่คนเดียวที่ยังนมาซไม่เสร็จเพราะอ่านตะชาฮุดช้า แต่นาย ก. นั้นอ่านตะชาฮุดยังไม่ทันเสร็จทนไม่ไหวผายลมเสียก่อนที่จะให้สลาม การเสียนมาซของนาย ก. นี้ได้ทำให้นมาซญุมุอะฮฺของคนอื่นอีก 39 คนเสียไปด้วยเท่ากับว่านมาซฯนั้นศูนย์เปล่า(เค้าบอกว่าฟาล์ว) หรือนาย ข. อ่าน อัล-ฟาติฮะอฺ ไม่ถูกต้องตามหลักการตัญวีจ การนมาซของนาย ข. จะทำให้นมาซของคนอื่นๆฟาล์วไปด้วย
3.การนมาซญุมุอะฮฺนั้นแตกต่างจากนมาซญามาอะฮฺอื่นๆ กล่าวคือการนมาซญุมุอะฮฺวาญิบที่ให้มะมูมตามอิหม่าม(นมาซเป็นญะมาอะฮฺ)เฉพาะรอกาอะฮฺแรกเท่านั้น ส่วนในรอกะอะฮฺที่สองนั้นไม่วาญิบที่จะต้องตามอิหม่าม ใครจะนมาซเสร็จก่อนเสร็จหลังอิหม่ามก็ได้ไม่เป็นไร(ต่างคนต่างนมาซ)
ทั้งหมดที่เค้าสอนเค้าบอกว่านักปราชญ์สอนไว้
เมื่อนักปราชญ์สอนไว้อย่างนั้นก็ว่าไป แต่ผมอยากรู้ว่าที่อัลลอฮฺบอกที่ท่านนบี Solallah สอนนั้นมันเป็นอย่างไร วอนผู้รู้ช่วยชี้แจงด้วยหลักการที่มาจากกิตาบุลลอฮฺและอัซซุนนะฮฺด้วยเถิดครับ Rolling Eyes
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Oct 05, 2008 9:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Question
เงื่อนไขที่ว่า ต้องครบ 40 คนจึงสามารถทำละหมาดญุมอัตได้นั้น เป็นเงื่อนไขที่ถูกกำหนดขึ้นจากความเห็นของนักวิชาการโดยอ้างบางหะดิษ ซึ่งอิหม่ามอัชเชากานีย์ได้ตอบโต้ประเด็นนี้ มาดูรายละเอียดข้างล่าง

อิหม่ามอัชเชากานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وأجيب عن ذلك بأنه لا دلالة في الحديث على اشتراط الأربعين لأن هذه واقعة عين وذلك أن الجمعة فرضت على النبي صلى اللَّه عليه وآله وسلم وهو بمكة قبل الهجرة كما أخرجه الطبراني عن ابن عباس فلم يتمكن من إقامتها هنالك من أجل الكفار فلما هاجر من هاجر من أصحابه إلى المدينة كتب إليهم يأمرهم أن يجمعوا فجمعوا واتفق أن عدتهم إذا كانت أربعين وليس فيه ما يدل على أن من دون الأربعين لا تنعقد بهم الجمعة‏

และข้าพเจ้าขอตอบเกี่ยวกับ ดังกล่าว เพราะว่า ในหะดิษ ไม่ได้เป็นหลักฐาน ที่บ่งบอกถึงการกำหนดเงื่อนไข 40 คน เพราะในกรณีนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะ และดังกล่าวนั้น เพราะว่า การละหมาดญุมอัต ถูกกำหนดให้เป็นฟัรดู แก่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่ท่านอยู่ที่นครมักกะฮ ก่อนการฮิจญเราะฮ ดังที่ปรากฏหะดิษรายงานโดย อัฏฏอ็บรอนีย์ จากอิบนิอับบาส แล้วไม่สามารถที่จะทำการละหมาดญุมอัต ณ ที่นั้นได้ เนื่องจากพวกกุฟุร (ขัดขวาง) แล้วเมื่อ ได้อพยพ ผู้ที่อพยพ จากบรรดาสาวกของท่าน ไปยังนครมะดีนะฮ ท่านได้ทำบันทึกมายังพวกเขา โดยใช้ให้พวกเขา ละหมาดญุมอัต แล้วพวกเขาก็ได้ละหมาดญุมอัต และสอดคล้องกับจำนวนของพวกเขาเวลานั้น ปรากฏว่ามี 40 คน และในนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นหลักฐาน ที่แสดงบอกว่า น้อยกว่า 40 คน ละหมาดญุมอัตใช้ไม่ได้ - นัยลุ้ลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 275

...............
ดูเพิ่มเติมจาก
http://www.azsunnah.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=201

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Aug 17, 2012 6:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

عَنْ عَائِشَةَ ، قَالَتْ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : " كُلُّ شَرْطٍ لَيْسَ فِي كِتَابِ اللَّهِ فَهُوَ بَاطِلٌ , وَإِنْ كَانَ مِائَةَ شَرْطٍ "

. จากอาอีฉะฮ กล่าวว่า "รซูลุลลอฮ สอ็ลฯกล่าวว่า ทุกเงื่อนไข ที่ไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ มันเป็นโมฆะ และมีจะมีสักร้อยเงื่อนไขก็ตาม-ดูสายรายงานข้างล่

(1) عائشة بنت عبد الله

| (2) عروة بن الزبير

| | (3) هشام بن عروة

| | | (4) جرير بن عبد الحميد

| | | | (5) إسحاق بن إبراهيم

| | | | | (6) الكتاب: مسند إسحاق بن راهويه [الحكم: إسناده متصل، رجاله ثقات، على شرط الإمام مسلم، رجاله رجال الإمام البخاري

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Feb 12, 2014 2:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านสัยยิด สาบิก (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

لا خلاف بين العلماء في، أن الجماعة شرط من شروط صحة الجمعة؛ لحديث طارق بن شهاب، أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: "الجمعة حق واجب، على كل مسلم في جماعة". واختلفوا في العدد، الذي تنعقد به الجمعة إلى خمسة عشر مذهباً، ذكرها الحافظ في "الفتح"، والرأي الراجح، أنها تصح باثنين فأكثر؛ لقول رسول اللّه صلى الله عليه وسلم: "الاثنان فما فوقهما جماعة". قال الشوكاني: وقد انعقدت سائر الصلوات بهما بالإجماع، والجمعة صلاة، فلا تختص بحكم يخالف غيرها، إلا بدليل، ولا دليل على اعتبار عدد فيها، زائد على المعتبر في غيرها، وقد قال عبد الحق: إنه لا يثبت في عدد الجمعة حديث. وكذلك قال السيوطي: لم يثبت في شيء من الأحاديث تعيين عدد مخصوص، انتهى.
وممن ذهب إلى هذا، الطبري، وداود، والنخعي، وابن حزم

ไม่มีการขัดแย้งกันระหว่างนักวิชาการ ว่า การละหมาดรวมกัน (ญะมาอะฮ)นั้น เป็นเงื่อนไขหนึ่งจากบรรดาเงื่อนไขที่ถือว่าการละหมาดญุมอัตนั้นใช้ได้ เพราะมีหะดิษที่รายงานโดยฎอริก อิบนิ ชิฮาบ ว่าท่านนบี กล่าวว่า " การละหมาดวันศุกร์นั้นเป็นหน้าที่ มุสลิมทุกคน โดยละหมาดรวมกัน" และพวกเขามีความเห็นขัดแย้งกันในจำนวนที่ถือว่าละหมาดญุมอัตใช้ได้ โดยมีถึง 15 ทัศนะด้วยกัน อัลหาฟิซ ได้กล่าวมันไว้ในฟัตหุ้ลบารีย์ว่า " ทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ การละหมาดในวันศุกร์นั้น จะใช้ได้อย่างน้อยด้วยการละหมาดร่วมกันสองคนหรือมากกว่านั้น เพราะท่านรซูลุ้ลลอฮ กล่าวว่า "สองคนและเกินกว่าสองคนขึ้นไป ถือว่าเป็นญะมาอะฮแล้ว"
,อัชเชากานีย์ กล่าวไว้ว่า "การละหมาดทั่วๆไป ใช้เป็นญะมาอะฮได้ด้วยการละหมาดสองคน ด้วยมติของบรรดานักวิชาการ และการละหมาดวันศุกร์นั้น เป็นการละหมาดอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่มีข้อชี้ขาดโดยเฉพาะที่มามีความแตกต่างจากละหมาดอื่นจากมัน นอกจากจะต้องมีหลักฐานบ่งบอกถึงการพิจารณาจำนวนในละหมาดญุมอัต ที่เพิ่มเติมจากสิ่งที่ถูกพิจารณาในละหมาดอื่นจากมัน และแท้จริง อับดุลหัก กล่าวว่า " ไม่มีหะดิษสักบทหนึ่งที่ยืนยันถึงจำนวนที่ใช้ได้ของละหมาดญุมอัต และเช่นเดียวกัน อัสสะญูฏีย์ ได้กล่าวว่า "ไม่มีหลักฐานอันใดจากบรรดาหะดิษ ที่เจาะจงจำนวนที่แน่นอนเลย, ผู้มีความเห็นเช่นเดียวกันนี้ได้แก่ อัฏฏอ็บรีย์,ดาวูด,อันนะเคาะอีย์และอิบนุหัซมิน - ฟิกอัสสุนนะฮ ของ สัยยิดสาบิก เล่ม 1 เรื่อง ละหมาดญุมอัต

1. จากญาบีร บิน อับดุลลอฮ กล่าวว่า

مضت السنة أنّ في كل أربعين فما فوقها جمعة

ตามสุนนะฮที่ผ่านมานั้น แท้จริงในทุกๆสี่สิบคนและมากกว่านั้น ให้ละหมาดญุมอัต"(1)
...............

(1)سنن البيهقي الكبرى (3/177)، الدارقطني (2/3
วิจารณ์หะดิษข้างต้น

وأمّا أثر جابر ففيه عبد العزيز بن عبد الرحمن القرشي ضعيف جدًا

หะดิษญาบีร ในสายรายงานของหะดิษ มีผู้รายงานคนหนึ่งชื่อ อับดุลอะซีซ บิน อับดุรเราะห์มาน อัลกุรชีย์ เฏาะอีฟเป็นอย่างมาก (2)
....................
(2) المجروحين لابن حبان (2/138)، ونصب الراية (2/918) للزيلعي، والدراية لابن حجر (1/216)، والتلخيص الحبير (2/55)، والإرواء (3/69).

2. อุบัยดุลลอฮ บิน อับดุลลอฮ บิน อุตบะฮ กล่าวว่า

كل قرية فيها أربعون رجلاً فعليهم جمعة

ทุกหมู่บ้านที่มีคนสี่สิบคน จำเป็นเหนือพวกเขาต้องทำญุมอัต"(3)
..........
(3) الأم (1/32

วิจารณ์หะดิษข้างต้น

وأمّا قول عبيد الله بن عبد الله بن عتبة، ففيه إبراهيم بن محمد بن أبي يحيى، وهو متروك الحديث

และสำหรับคำพูดของอุบัยดุลลอฮ บิน อับดุลลอฮ บิน อุตบะฮ นั้นในสายรายงาน มีผู้รายงานชื่อ อิบรอฮีม บิน มุหัมหมัด บิน อบียะหยา เขาเป็นผู้ที่หะดิษถูกทิ้ง(คือ หะดิษที่เขารายงานจะไม่เป็นที่ยอมรับ) (4)
......

(4) تهذيب الكمال (2/184)، التقريب (ص: 115

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 18, 2014 2:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิหม่ามอัสสะญูฏีย์ ปราชญ์มัซฮับ ชาฟิอี ได้กล่าวถึง ทัศนะเกี่ยวกับจำนวนคนที่ทำให้ละหมาดวันศุกร์ใช้ได้ มี ถึง 14 ทัศนะ และท่านได้กล่าวถึงทัศนะที่ 14 ว่า

الرَّابِعَ عَشَرَ : جَمْعٌ كَثِيرٌ بِغَيْرِ قَيْدٍ ، وَهَذَا مَذْهَبُ مالك ، فَالْمَشْهُورُ مِنْ مَذْهَبِهِ أَنَّهُ لَا يُشْتَرَطُ عَدَدٌ مُعَيَّنٌ ، بَلْ تُشْتَرَطُ جَمَاعَةٌ تَسْكُنُ بِهِمْ قَرْيَةٌ ، وَيَقَعُ بَيْنَهُمُ الْبَيْعُ وَلَا تَنْعَقِدُ بِالثَّلَاثَةِ وَالْأَرْبَعَةِ وَنَحْوِهِمْ . قَالَ الْحَافِظُ ابن حجر فِي شَرْحِ الْبُخَارِيِّ : وَلَعَلَّ هَذَا الْمَذْهَبَ أَرْجَحُ الْمَذَاهِبِ مِنْ حَيْثُ الدَّلِيلُ ، وَأَقُولُ : هُوَ كَذَلِكَ ؛ لِأَنَّهُ لَمْ يَثْبُتْ فِي شَيْءٍ مِنَ الْأَحَادِيثِ تَعْيِينُ عَدَدٍ مَخْصُوصٍ

ทัศนะที่สิบสี่ คือ คนจำนวนมาก โดยไม่จำกัด และนี้คือ มัซฮับมาลิก และที่แพร่หลายจากมัซฮับของเขาคือ
จำนวนที่เฉพาะเจาะจงไม่ถูกกำหนดให้เป็นเงื่อนไข แต่ทว่า เงือนไขที่ถูกกำหนดคือ หมู่คณะที่อยู่อาศัยเป็นหมู่บ้าน และมีการซื้อขายในระหว่างพวกเขา และ มันจะไม่ถูกนับว่าใช้ได้ ด้วนคนสามคน ,สี่คนหรือ ในทำนองนั้น ,อัลหาฟิซอิบนุหะญัร ได้กล่าวไว้ ใน การอธิบายหะดิษบุคอรี(หมายถึง หนังสือฟัตหุลบารีย์) ว่า หวังว่าทัศนะนี้ เป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก ในแง่ของหลักฐาน และข้าพเจ้า (อิหม่ามสะยูฏีย์) ก็กล่าว(หมายถึงมีทัศนะ)ว่า มันเป็นเช่นดังกล่าวนั้น เพราะ ไม่มีบรรดาหะดิษใดๆ ยืนยัน การเจาะจงจำนวนที่ถูกเฉพาะเอาไว้เลย – ดู อัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา ของอิหม่ามสะยูฎีย์ บทว่าด้วยเรื่อง ละหมาดญุมอัต หน้า 76

............อัลหาฟิซอิบนุหะญัร และอิหม่ามสะยูฏีย์ เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่า ไม่มีเงื่อนไขเจาะจงจำนวนคนที่ทำให้ละหมาดวันศุกร์ใช้ได้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 18, 2014 3:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การอ้างว่า ทัศนะว่า ต้องมีเงื่อนไขว่า 40 คน การละหมาดวันศุกร์
จึงใช้ได้ หะดิษนี้ เอามาเป็นหลักฐานไม่ได้ จากญาบีร บิน อับดุลลอฮ กล่าวว่า

مضت السنة أنّ في كل أربعين فما فوقها جمعة

ตามสุนนะฮที่ผ่านมานั้น แท้จริงในทุกๆสี่สิบคนและมากกว่านั้น ให้ละหมาดญุมอัต"
เช็คร็อมลีย์ ปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า
( قَوْلُهُ : وَلِقَوْلِ جَابِرٍ مَضَتْ ) رَوَاهُ الدَّارَقُطْنِيّ وَالْبَيْهَقِيُّ وَفِيهِ عَبْدُ الْعَزِيزِ ، قَالَ الدَّارَقُطْنِيّ : مُنْكَرُ الْحَدِيثِ ، وَقَالَ الْبَيْهَقِيُّ : هَذَا الْحَدِيثُ لَا يُحْتَجُّ بِمِثْلِهِ ، وَحَدِيثُ إذَا اجْتَمَعَ أَرْبَعُونَ رَجُلًا إلَخْ أَوْرَدَهُ صَاحِبُ التَّتِمَّةِ وَلَا أَصْلَ لَهُ ، وَحَدِيثُ لَا جُمُعَةَ إلَّا بِأَرْبَعِينَ لَا أَصْلَ لَهُ

คำพูดที่ของเขาว่า (เพราะญาบีร กล่าวว่า ตามสุนนะฮที่ผ่านมา...) รายงานโดย อัดดารุลกุฏนีย์ และอัลบัยฮะกีย์ ในสายรายงาน มี (ผู้รายงานชื่อ)อับดุลหะซีซ อัดดารุลกุฏนีย์ กล่าวว่า “มุงกะรุลหะดิษ(หะดิษที่ถูกคัดค้าน)
อัลบัยฮะกีย์ กล่าวว่า “หะดิษนี้ นำมาเป็นหลักฐาน ด้วยหะดิษที่เหมือนกับมันไม่ได้ และหะดิษที่ว่า เมื่อมีจำนวนคน
40 คนร่วมกัน..จนจบหะดิษ ที่เจ้าของหนังสือ อัตตะติมมะฮได้รายงานมันนั้น และไม่มีที่มาสำหรับมัน (คือ เป็นหะดิษไม่มีที่มา)และหะดิษ ที่ว่า การละหมาดญุมอัตจะใช้ไม่ได้ นอกจาก ด้วยจำนวน 40 คนนั้น เป็นหะดิษไม่มีที่มา – นิฮายะฮอัลมุหตาจญ อิลาชัรหอัลมินฮาจญ เล่ม 2 หน้า 305
..........
สรุปว่า ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะสักบทเดียว ที่อ้างว่า ต้อง มีจำนวน 40 คนเท่านั้นจึงจะละหมาดวันศุกร์ได้ แม้แต่หะดืษเดียว หะดิษที่ระบุในหนังสือ อัลอุม ของอิหม่ามชาฟิอี ก็เป็นหะดิษเฎาะอีฟ แต่ การยึดติดกับมัซฮับ ของคนบางกลุ่ม ก็ยังยอมกอดหะดิษเฎาะอีฟเอาไว้ไม่ให้หลุดไปได้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.10 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ