ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Jan 28, 2015 6:56 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การกล่าวคำเนียตมีหลักฐานจริงหรือ ภาค 2
มีผู้อ้างหลักฐานต่อไปนี้ เป็นหลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียต โดยอ้างว่า
*และเมื่อท่านนาบีจะทำอุมเราะท่านนาบีก็พูดดังว่า
لبيك عمرة وحج
..............
ชี้แจง
ไม่ใช่การกล่าวคำเนียต แต่อย่างใด มาดูฟัตวาของอิบนุอุษัยมีนในเรื่องนี้
الحمد لله
"إذا قال في النسك : لبيك حجاً ، لبيك عمرة ، ليس هذا من باب ابتداء النية ، لأنه قد نوى من قبل ، ولهذا لا يشرع أن نقول : اللهم إني أريد العمرة ، اللهم إني أريد الحج ، بل انو بقلبك ولب بلسانك ، وأما التكلم بالنية في غير الحج والعمرة فهذا أمر معلوم أنه ليس بمشروع ، فلا يسن للإنسان إذا أراد أن يتوضأ أن يقول : اللهم إني أريد أن أتوضأ ، اللهم إني نويت أن أتوضأ أو بالصلاة : اللهم إني أريد أن أصلى ، اللهم إني نويت أن أصلى . كل هذا غير مشروع ، وخير الهدي هدي محمد صلى الله عليه وسلم" انتهى .
อัลหัมดุลิลละฮ
เมื่อเขากล่าว ในการประกอบพิธีหัจญ์ว่า ลับบัยกะหัจญัน,ลับบัยกะอุมเราะตัน กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องการเริ่มต้นการเนียต เพราะเขาได้เนียตมาก่อนแล้ว และเพราะเหตุนี้ ไม่มีบัญญัติให้เรากล่าวว่า โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการทำหัจญ์,โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการทำอุมเราะฮ แต่ทว่า จงเนียตด้วยใจของท่าน และจงกล่าวตัลบียะฮด้วยวาจาของท่าน และสำหรับการกล่าวคำเนียต ในอื่นจากหัจญและอุมเราะฮนั้น นี้เป็นสิ่งที่รู้กันว่าไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ ดังนั้นจึงไม่สุนัตให้ผู้คน กล่าวว่า โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการจะเอาเอาน้ำละหมาด, โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์เจตนาจะเอาน้ำละหมาด เมื่อเขาต้องการอาบน้ำละหมาด หรือ กล่าวเกี่ยวกับละหมาดว่า โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการจะละหมาด ,โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์เจตนาจะละหมาด ทั้งหมดนี้ ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ และ ทางนำที่ดีนั้น คือ ทางนำของมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มัจญมัวะฟะตาวาอิบนุอุษัยมีน เล่ม 22 หน้า 20
มีรายงานว่า
وَصَحَّ عَنِ ابْنِ عُمَرَ أَنَّهُ سَمِعَ رَجُلًا عِنْدَ إِحْرَامِهِ يَقُولُ : اللَّهُمَّ إِنِّي أُرِيدُ الْحَجَّ أَوِ الْعُمْرَةَ ، فَقَالَ لَهُ : أَتُعْلِمُ النَّاسَ ؟ أَوَ لَيْسَ اللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِكَ
และ มีรายงานเศาะเฮียะ จากอิบนุอุมัร (ร.ฎ) ว่าเขาได้ยิน ชายคนหนึ่ง กล่าวขณะครองเอียะรอมว่า "โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ ต้องการที่จะทำฮัจญ หรืออุมะเราะฮ ,เขา(อิบนุอุมัร)จึงได้กล่าวแก่เขาว่า "ท่านจะบอก บรรดาผู้คนให้รู้หรือ?หรือว่า อัลลอฮไม่รู้สิ่งที่อยู่ในใจของท่าน? -ดู ญามิอุลอุลูม วัลฮิกัม ของอิบนุเราะญับ เล่ม 1 หน้า 59
وَقَالَ أَبُو دَاوُدَ : قُلْتُ لِأَحْمَدَ : أَتَقُولُ قَبْلَ التَّكْبِيرِ - يَعْنِي فِي الصَّلَاةِ - شَيْئًا ؟ قَالَ : لَا . وَهَذَا قَدْ يَدْخُلُ فِيهِ أَنَّهُ لَا يَتَلَفَّظُ بِالنِّيَّةِ . وَاللَّهُ أَعْلَمُ .
และอบูดาวูด กล่าวว่า "ข้าพเจ้า กล่าวแก่อะหมัดว่า ท่านกล่าวสิ่งใดบ้างก่อน การตักบีร หมายถึงในละหมาด เขา(อิหม่ามอะหมัด)ตอบว่า "ไม่" และนี้ บางที่อยู่ในความหมายที่ว่า ไม่มีการกล่าวคำเนียตเป็นถ้อยคำ -วัลลอฮุอะลัม
ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ) ได้กล่าวอีกว่า - ที่มาอ้างแล้ว
محل النية القلب دون اللسان باتفاق أئمة المسلمين في جميع العبادات : الصلاة والطهارة والزكاة والحج والصيام والعتق والجهاد وغير ذلك . ولو تكلم بلسانه بخلاف ما نوى في قلبه كان الاعتبار بما نوى بقلبه لا باللفظ ولو تكلم بلسانه ولم تحصل النية في قلبه لم يجزئ ذلك باتفاق أئمة المسلمين
ที่ของการเนียตคือ หัวใจ ไม่ใช่ลิ้น ด้วยมติของบรรดาผู้นำมุสลิม ในเรื่องทั้งหมดของอิบาดะฮ เช่น การละหมาด,การทำความสะอาด,การจ่ายซะกาต,การทำหัจญ์,การถือศีลอด,การปลดปล่อยทาส,การญิฮาด และอื่นจากนั้น และถ้าหากว่า เขาพูดด้วยวาจาของเขา ขัดแย้ง(ไม่ตรง) กับสิ่งที่ได้เนียต ในหัวใจของเขา การพิจารณา ก็เป็นไปตามสิ่งที่เขาได้เนียต ด้วยใจของเขา ไม่ใช่ด้วย คำกล่าว และแม้เขาจะกล่าวโดยวาจาของเขา โดยที่ไม่เกิดการเนียตในใจของเขา ดังกล่าวนั้น ย่อมใช้ไม่ได้ โดยมติของบรรดาอิหม่ามของบรรดามุสลิม ดูมัจญมัวะอัลฟะตาวา 1/ 218
.........
เพราะฉะนั้น การเอาคำที่ใช้ในการกล่าวตัลบีฮ เวลาทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ มาเป็นหลักฐาน ให้กล่าวคำเนียต เช่นกล่าวคำว่าอุศอ็ลลี.......ก่อนตักบีรนั้น เป็นการอ้างที่ไม่ถูกต้อง
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Jan 28, 2015 6:58 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การกล่าวคำเนียตมีหลักฐานจริงหรือ ภาค 3
มีคนอ้างว่า ที่นบี ศอ็ลฯกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียตคือ
فاني اذن صائم
ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด
........
ชี้แจง
ข้างต้น เป็นการบิดเบือนหะดิษ อ้างว่าเป็นหลักฐานการกล่าวคำเนียต
มาดูข้อเท็จจริงหะดิษข้างต้นที่ถูกนำมาอ้างว่านบี ศอ็ลฯกล่าวคำเนียตในการถือศีลอด
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ มารดาของศรัทธาชน ได้เล่าว่า:
دَخَلَ عَلَيَّ النَّبِيُّ ذَاتَ يَوْمٍ فَقَالَ هَلْ : عِنْدَكُمْ شَيْءٌ؟، فَقُلْنَا : لَا، قَالَ : فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ;، ثُمَّ أَتَانَا يَوْمًا آخَرَ، فَقُلْنَا : يَا رَسُولَ اللهِ أُهْدِيَ لَنَا حَيْسٌ، فَقَالَ : أَرِينِيهِ فَلَقَدْ أَصْبَحْتُ صَائِمًا فَأَكَلَ.
ความว่า: ในวันหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้ามาหาฉัน แล้วกล่าวว่า พวกท่านมีอะไรให้ฉันรับประทานไหม ?
พวกเราตอบว่า ไม่มี แล้วท่านก็กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด
หลังจากนั้นท่านก็ได้มาหาพวกเราอีกวันหนึ่ง พวกเราก็กล่าวแก่ท่านว่า โอ้เราะสูลุลลอฮฺ มีคนมอบอิทผาลัมกวนให้แก่พวกเรา ท่านกล่าวว่า ไหนให้ฉันดูหน่อยซิ แท้จริง เช้านี้ฉันถือศีลอด แล้วท่านก็กิน. (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่: 1154)
.
คำว่า فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด
เป็นประโยคสนทนาระหว่างท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กับท่านหญิงอาอีฉะฮ หลงจากท่านนบี ถามว่า พวกท่านมีอะไรให้ฉันรับประทานไหม ? ท่านหญิงอาอีฉะฮตอบว่า ไม่มี เลยท่านนบี ศอ็ล บอกกับท่านหญิงอาอีฉะฮว่า
فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด
ข้อความข้างต้น ไม่ใช่การกล่าวคำเนียต ไม่มีเศาะหาบะฮ หรืออิหม่ามมุจญตะฮิดคนใด เอาคำว่า
فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ
มาเป็นหลักฐานว่า มีสุนัตให้กล่าวคำเนียตเวลาจะถือศีลอด การนำหะดิษนี้มาอ้าง เป็นการใช้หะดิษผิดที่ ส่อไปในทางบิดเบือนข้อเท็จจริงของหะดิษ
หะดิษบทนี้ ท่านอิหม่ามมุสลิม ได้จัดอยู่ในหัวเรื่องที่ว่า
بَاب جَوَازِ صَوْمِ النَّافِلَةِ بِنِيَّةٍ مِنَ النَّهَارِ
บทว่าด้วยเรื่อง การอนุญาตให้ถือศีลอดสุนัต ด้วยการเนียตในตอนกลางวัน
..............
ผู้อ่านที่เคารพ เรียนเถอะครับ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน แล้วจะจนใจเอง
การบิดเบือนคำสอนศาสนา มีให้พบอีกมากมาย โปรดระวัง
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Jan 28, 2015 11:21 am ชื่อกระทู้: |
|
|
Ibnu Mansur ผมความรู้น้อยจิงๆแต่ก่อนอื่นขอถามอีกนิดคำว่ากลับไปยังอ.ล.และรอซู้ลมันหมายถึงยังไงค่ะ
>>>>>
เป็นคำถามที่ดีมากๆ ขอตอบต่อไปนี้
อิบนุญะรีร ปราชญยุคสะลัฟอธิบายว่า
حَدَّثَنَا أَبُو كُرَيْبٍ قَالَ : حَدَّثَنَا ابْنُ إِدْرِيسَ قَالَ : أَخْبَرَنَا لَيْثٌ ، عَنْ مُجَاهِدٍ فِي قَوْلِهِ : فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ قَالَ : فَإِنْ تَنَازَعَ الْعُلَمَاءُ رُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ . قَالَ يَقُولُ : فَرُدُّوهُ إِلَى كِتَابِ اللَّهِ وَسُنَّةِ رَسُولِهِ
อบูกุรัยบ ได้เล่าเรา โดยเขากล่าวว่า อิบนุอิดริส ได้เล่าเรา โดยเขากล่าวว่า ลัยษุน ได้บอกเรา ว่ารายงานจากมุญาฮิด ในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮ์ และเราะสูล) เขา(มุญาฮิด)กล่าวว่า เมื่อบรรดานักปราชญ์ ขัดแย้งกัน ก็จงนำมัน กลับไปยังอัลลอฮและรอซูล .เขากล่าวว่า หมายถึง พวกเจ้าจงนำมัน(นำประเด็นขัดแย้ง) ไปยังคัมภีร์ของอัลลอฮ และสุนนะฮ ของรอซูลของพระองค์ ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย ๘/๕๐๕
>>>>
กล่าวคือ ประเด็นใดก็ตามที่อุลามาอฺหรือบรรดาผู้รู้ขัดแย้งหรือมีความเห็นต่างกัน ก็ให้เอาประเด็นนั้นไปให้อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮตัดสิน อันใหนตรงกับคำสอนหรือหลักฐานที่มีในอัลกุรอ่าน หรือมีในหะดิษ ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง นี่คือกติกา ที่เป็นข้อสรุป แต่ถ้าคิดเอาชนะกัน และกลัวเสียหน้า ปัญหาก็ไม่จบ เพราะไม่ยอมรับกติกาของอัลลอฮ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Feb 03, 2015 11:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การแบ่งเตาฮีดเป็นสามประเภทมีมานานแล้ว การแบ่งประเภทของเตาฮีดออกเป็น 3 ประเภทนั้น มีปรากฏอยู่ในหนังสือของ ท่านอิบนุ บัฏเฏาะฮฺ อัล-อัคบะรีย์ (304-387) ตามประวัติแล้วท่านคือสานุศิษย์ของท่านอบุล กอซิม อัล-บะฆอวีย์ เคียงคู่กับศิษย์อีกท่านหนึ่งคือ อบู นุอัยมฺ อัล-อัสบะฮะนีย์
ท่านอิมาม อิบนุ บัฏเฏาะฮฺอัล-อัคบารีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า
الإبانة عن شريعة الفرقة الناجية
เล่ม ที่ 2 หน้า 172-173 ความว่า
وذلك أن أصل الإيمان بالله الذي يجب على الخلق اعتقاده في إثبات الإيمان به ثلاثة أشياء: أحدها: أن يعتقد العبد ربانيته؛ ليكون بذلك مبايناً لمذهب أهل التعطيل الذين لا يثبتون صانعاً. والثاني: أن يعتقد وحدانيته؛ ليكون بذلك مبايناً لأهل الشرك الذين أقروا بالصانع وأشركوا معه في العبادة غيره. والثالث: أن يعتقده موصوفاً بالصفات التي لا يجوز إلا أن يكون موصوفاً بها من العلم والقدرة والحكمة وسائر ما وصف به نفسه في كتابه.
และด้วยเหตุนี้นี่คือรากฐานของการศรัทธาในพระองค์อัลลอฮฺซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ)เหนือสรรพสิ่ง(ทั้งปวง)ในการยืนยันต่อการศรัทธาต่อพระองค์ด้วยกับสิ่งสามประการนี้
ประการแรก : คือการที่บรรดาบ่าวของพระองค์ศรัทธาใน ร็อบบานียะฮฺ ของพระองค์(หมายถึงศรัทธาในการเป็นพระเจ้าเหนือมัคลูกทั้งปวงของพระองค์) ดังนั้นด้วยกับสิ่งนี้พระองค์จึงบริสุทธิ์จากแนวทางของผู้ที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระองค์ซึ่งพวกเขาไม่ได้ทำการยืนยันต่อ(การเป็น)ผู้สร้าง(ของพระองค์)
ประการที่สอง : คือการที่เขา(มนุษย์)ศรัทธาในความเป็น วะฮฺดานียะฮฺ (ความเป็นเอกะ)ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงบริสุทธิ์จากบรรดาผู้ที่ตั้งภาคีซึ่งทำการยืนยันต่อผู้สร้างแต่ทว่าได้ทำการตั้งภาคีด้วยการเคารพสักการะสิ่งอื่น
ประการที่สาม : คือการที่มนุษย์ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกกล่าวถึงพระองค์ด้วยคุณลักษณะ(ศิฟาต)ซึ่งไม่เป็นที่อนุมัติ(ที่จะพาดพิงพระองค์ถึงด้วยศิฟาตหนึ่งใด)เว้นแต่คุณลักษณะที่ได้ถูกแจกแจงไว้ ดังเช่น อิลมฺ(ความรู้), กุดเราะฮฺ(อำนาจ),ฮิกมะฮฺ(วิทยญาณ) และทั้งปวงจากสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกล่าวถึงพระองค์เองในคัมภีร์อัลกุรอาน
สรุปแล้วการแบ่งประเภทเตาอีดของท่านอิบนุ บัฏเฏาะฮฺ นั้นคือ การแบ่งเตาฮีดที่ได้ถูกเล่าเรียนกันในวิชาเตาฮีดในยุคสมัยของเราซึ่งประกอบไปด้วยสามส่วนคือ
1) ร็อบบานียะฮฺ หมายถึงการศรัทาต่อการเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์อัลลอฮฺซึ่งเป็นแก่นเนื้อหาเดียวกันกับ เตาฮีดรุบูบียะฮฺ
2) เตาฮีดวะฮฺดานียะฮฺ หมายถึงการไม่กระทำการตั้งภาคีต่อพระองค์ภาคส่วนนี้ผูกพันธ์อยู่กับพฤติกรรมของมนุษย์อันเป็นเนื้อหาเดียวกันกับเตาฮีดอัลอิบาดะฮฺหรืออุลูฮียะฮฺ
3) คือการศรัทธาต่อคุณลักษณะของพระองค์ที่ได้ถูกระบุไว้ในอัลกุรอานอันไพโรจน์ของพระองค์อันเป็นเนื้อหาเดียวกันกับเตาฮีดอัล-อัสมาอ์วัศศิฟาต _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Mar 06, 2015 1:06 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ตอบประเด็นหะดิษญารียะฮ
Baksutra Rambulan ฮาดีษนี้เท่าที่ผมจำได้มันอยู่ใน บทที่ว่าด้วยเรื่องการห้ามพูดในขณะละหมาด ไม่ได้อยู่ในเรื่องอากีดะ ทำไมถึงได้นำมาเปนหลักฐานได้ ช่วยอุธิบายหน่อยครับครู
>>>>>>
หะดิษญารียะฮ มีเนื้อหาเรื่องนี้ ก็จริง แต่ต้องดู สาระของ หะดิษสอนและให้บทเรียนเรื่องใด บ้าง ไม่ใช่ดูที่หัวข้อที่นักวิชาการตั้งเป็นหลักตายตัว
ใช่ครับใน เศาะเฮียะมุสลิม ใช้หัวเรื่องว่า
باب تحريم الكلام في الصلاة ونسخ ما كان من إباحته
บทว่าด้วยเรื่อง ห้ามพูดในละหมาด และ ยกเลิกสิ่ง ที่เป็นส่วนหนึ่งจากการอนุญาตของมัน
ในสุนัน อบีดาวูด ได้ตั้งหัวเรื่องว่า
بَاب فِي الرَّقَبَةِ الْمُؤْمِنَةِ
บทว่าด้วยเรื่อง เกี่ยวกับทาสหญิงผู้ศรัทธา -ดูหะดิษหมายเลข 3282
ในหนังสือ อัลอุม ของ อิหม่ามชาฟิอี เล่ม 5 หน้า 298 ตั้งหัวข้อว่า
باب أعتقها فإنها مؤمنة
เรื่อง จงปล่อยน่างให้เป็นอิสระชน เพราะแท้จริงนางคือ หญิงผู้ศรัทธา
คุณบอกว่า ไม่ได้อยู่ในเรื่อง อะกีดะฮ คุณเอาอะไรมาวัดว่ อะไรเรื่อง อะกีดะฮ อะไรไม่ใช่อะกีดะฮ ครับ
คุณมาดูที่นักวิชาการอธิบายข้างล่าง
อิหม่ามอัศศอบูนีย์ ได้กล่าวถึงอะกีดะฮของอิหม่ามชาฟิอีว่า
وإنما احتج الشافعي رحمة الله عليه على المخالفين في قولهم بجواز إعتاق الرقبة الكافرة في الكفارة بهذا الخبر؛ لاعتقاده أن الله سبحانه فوق خلقه، وفوق سبع سماواته على عرشه، كما معتقد المسلمين من أهل السنة والجماعة، سلَفِهم وخلفِهم؛ إذ كان رحمه الله لا يرو خبرًا صحيحًا ثم لا يقول به.
และความจริง อัชชาฟิอี (ร.ฮ) ได้อ้างหลักฐาน ตอบโต้บรรดาผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งในทัศนะของพวกเขา (ที่อ้างว่า) อนุญาตให้ปล่อยท่านหญิงที่เป็นกาเฟร ในสภาพที่เป็นกาเฟร ด้วยหะดิษนี้(หมายถึงหะดิษญารียะฮ ที่ตอบนบีว่าอัลลอฮอยู่บนฟ้า) เพราะ อะกีดะฮของเขา(หมายถึงชาฟิอี)เชื่อว่า แท้จริงอัลลอฮ( ซ.บ) ทรงอยู่เหนื่อมัคลูคของพระองค์ และเหนือ บรรดาฟากฟ้าทั้งเจ็ดของพระองค์ ดังที่เป็นหลักความเชื่อของบรรดามุสลิม จากอะฮลุสสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ ยุคสะลัฟและยุคเคาะลัฟ เพราะ ปรากฏว่าเขา(หมายถึงอิหม่ามชาฟิอี) เขาจะไม่รายงานหะดิษที่เศาะเอียะใดๆ แล้วต่อมาเขาไม่นำมากล่าวด้วยมัน
عقيدة السلف وأصحاب الحديث للصابوني ص118 و189]
หมายถึง อิหม่ามชาฟิอีได้อ้างหะดิษญารียะฮ เป็นหลักฐานตอบโต้ บรรดาผู้ที่อ้างว่า อนุญาตให้ปล่อยทาสหญิงที่เป็นกาเฟร ในสภาพที่เป็นกาเฟรได้ สำหรับทัศนะของอิหม่ามชาฟิอีนั้น อนุญาตปล่อยทาสหญิงที่เป็นกาเฟรได้ ก็ต่อเมื่อนางรับอิสลาม โดยที่อิหม่ามชาฟิอีได้อ้างหลักฐานจากหะดิษญารียะฮ คือ ท่านนบี ถามทาสหญิงคนนั้นว่า อัลลอฮอยู่ที่ใหน ?นางตอบว่า อัลลอฮ อยู่บนฟ้า แล้วนบีรับรองว่านางเป็นมุสลิม แล้วนบีบอกให้ปล่อยนางเป็นอิสระ และอัศศอบูนีย์ ยืนยันว่า "อิหม่ามชาฟิอีนั้น ไม่เคยปรากฏว่า เมื่อท่านรายงานหะดิษเศาะเฮียะ แล้วท่านไม่นำมันมาอ้างเป็นหลักฐาน
แบบนี้ไม่ใช่เรื่องอะกีดะฮหรือครับ
อิบนุอับดิลบัร(ร.ฮ) กล่าวว่า
أَمَّا قَوْلُهُ فِي هَذَا الْحَدِيثِ لِلْجَارِيَةِ : أَيْنَ اللَّهُ ؟ ، فَعَلَى ذَلِكَ جَمَاعَةُ أَهْلِ السُّنَّةِ ، وَهُمْ أَهْلُ الْحَدِيثِ ، وَرُوَاتُهُ الْمُتَفَقِّهُونَ فِيهِ ، وَسَائِرُ نَقَلَتِهِ ، كُلُّهُمْ يَقُولُ مَا قَالَ اللَّهُ تَعَالَى فِي كِتَابِهِ : الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى [ طه : 5 ] وَأَنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ فِي السَّمَاءِ وَعِلْمَهُ فِي كُلِّ مَكَانٍ
สำหรับคำพูดของท่านนบี ในหะดิษนี้ แก่ทาสหญิง ที่ว่า อัลลอฮอยู่ใหน? คณะหนึ่งของอะฮลุสสุนนะฮ (มีทัศนะ) อยู่บนดังกล่าวนั้น และพวกเขา คือ นักหะดิษ และบรรดาผู้รายงานมัน ที่เข้าใจ ในมัน และบรรดาผู้รายงานมันคนอื่นๆ ทั้งหมด พวกเขากล่าว สิ่งที่อัลลอฮตาอาลา ตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า พระเจ้าผู้ทรงเมตตาสถิต เหนือบัลลังค์ ฏอฮา/5 และแท้จริง อัลลอฮ ผู้ทรง สูงส่งและทรงเลิศยิ่ง นั้นอยู่บนฟ้า และความรู้ของพระองค์ อยู่ในทุกๆสถานที่ อัลอัสติซกาซ เล่ม 23 หน้า 165
>>>>>>
ข้างต้น เป็นการยืนยันหะดิษญารียะฮ ว่า บ่งบอกว่าอัลลอฮ อยู่บนฟ้า อยู่อย่างไรนั้น เราไม่รู้ และ การที่บางคนอ้างว่า หมายถึง ตำแหน่งของคำว่า สูงส่ง ไม่ใช่อยู่เบื้องสูง เป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Mon Mar 23, 2015 7:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun Mar 08, 2015 3:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ประเด็นการลูบศีรษะในการอาบน้ำละหมาด
ในกรณีลูบศีรษะบางส่วนนั้น อิบนุกอ็ยยิม (ร.ฮ) กล่าวว่า
لَمْ يَصِحَّ عَنْهُ صلى الله عليه وسلم فِي حَدِيثٍ وَاحِدٍ أَنَّهُ اقْتَصَرَ عَلَى مَسْحِ بَعْضِ رَأْسِهِ أَلْبَتَّةَ , وَلَكِنْ كَانَ إذَا مَسَحَ بِنَاصِيَتِهِ أَكْمَلَ عَلَى الْعِمَامَةِ
ไม่มีหะดิษที่เศาะเอียะ จากท่านนบี ศอ็ลฯ สักบทเดียวว่า ท่านนบี จำกัด การลูบบางส่วนของศีรษะ เลย แต่ว่า เมื่อปรากฏว่า ท่านได้ลูบบนกระหม่อมของท่าน ท่านก็ทำให้สมบูรณ์ ด้วยการลูบบนผ้าโพกศีรษะ ซาดุลมะอาด 1/193
อิบนุอับดุลบัร (ร.ฮ)กล่าวว่า
اختلف الفقهاء فيمن مسح بعض الرأس ، فقال مالك : الفرض مسح جميع الرأس ، وإن ترك شيئا منه كان كمن ترك غسل شيء من وجهه ، هذا هو المعروف من مذهب مالك ، وهو قول ابن علية ، قال ابن علية : قد أمر الله بمسح الرأس في الوضوء كما أمر مسح الوجه في التيمم ، وأمر بغسله في الوضوء ، وقد أجمعوا أنه لا يجوز غسل بعض الوجه في الوضوء ولا مسح بعضه في التيمم ، فكذلك مسح الرأس " انتهى .
บรรดานักวิชาการฟิกฮ ในผู้ที่มีทัศนะลูบศีรษะทั้งหมด นั้น, มาลิก กล่าวว่า ฟัรดู (จำเป็น) ลูบศีรษะ ทั้งหมด และหากละทิ้งสิ่งใดๆจากมัน(ศีรษะ) ก็เหมือนกับ ผู้ที่ทิ้งการล้างสิ่งใดๆจากใบหน้าของเขา ,นี้คือ เป็นที่รู้จัก จากมัซฮับมาลิก และมันคือ ทัศนะของอิบนุอะลียะฮ ,อิบนุอะลียะฮกล่าวว่า แท้จริง อัลลอฮสั่งให้ลูบ ศีรษะ ในการอาบน้ำละหมาด ดังเช่น ทรงสั่งให้ลูบใบหน้าในการทำตะยัมมุม และทรงสั่งให้ล้างมัน ในการอาบน้ำละหมาด และแท้จริง พวกเขามีมติ ว่า ไม่อนุญาตให้ล้างบางส่วนของใบหน้า ในการอาบน้ำละหมาด และและลูบบางส่วนของมันในการทำตะยัมมุม ดังนั้นในทำนองเดียวกัน นั้น คือการลูบศีรษะ อัตตัมฮีด 20/114
>>>>>>>>
1. การเช็ดศีรษะบางส่วนมีประเด็นคิลาฟ นักวิชาการส่วนหนึ่งว่า เป็นวาญิบ ถ้าละทิ้งสว่นใดของศีรษะ ก็เหมือนกับการละทิ้งการล้างใบหน้าบางส่วน ก็คือ ไม่เศาะหรือใช้ไม่ได้นั้นเอง
2. การลูบศีรษะทั้งหมดไม่มีการคิลาฟ และมีหะดิษยืนยันชัดเจน
เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ผูกขาดกับมัซฮับ ก็สามารถเลือกทัศนะที่ปลอดภัย ได้ นี้คือ การตามมัซฮับแบบไม่ปิดตาตาม
มาดูการอธิบายของ อิบนุกะษีร ในอายะฮเกี่ยวกับการลูบศีรษะ
وَقَوْلُهُ : ( وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ ) اخْتَلَفُوا فِي هَذِهِ " الْبَاءِ " هَلْ هِيَ لِلْإِلْصَاقِ ، وَهُوَ الْأَظْهَرُ أَوْ لِلتَّبْعِيضِ؟ وَفِيهِ نَظَرٌ عَلَى قَوْلَيْنِ . وَمِنَ الْأُصُولِيِّينَ مَنْ قَالَ : هَذَا مُجْمَلٌ فَلْيُرْجَعْ فِي بَيَانِهِ إِلَى السُّنَّةِ ، وَقَدْ ثَبَتَ فِي الصَّحِيحَيْنِ مِنْ طَرِيقِ مَالِكٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ يَحْيَى الْمَازِنِيِّ عَنْ أَبِيهِ ، أَنَّ رَجُلًا قَالَ لِعَبْدِ اللَّهِ بْنِ زَيْدِ بْنِ عَاصِمٍ - وَهُوَ جَدُّ عَمْرِو بْنِ يَحْيَى ، وَكَانَ مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - : هَلْ تَسْتَطِيعُ أَنْ تُرِيَنِي كَيْفَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَوَضَّأُ؟ فَقَالَ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ زَيْدٍ : نَعَمْ ، فَدَعَا بِوُضُوءٍ ، فَأَفْرَغَ عَلَى يَدَيْهِ ، فَغَسَلَ يَدَيْهِ مَرَّتَيْنِ مَرَّتَيْنِ ، ثُمَّ مَضْمَضَ وَاسْتَنْشَقَ ثَلَاثًا ، وَغَسَلَ وَجْهَهُ ثَلَاثًا ، ثُمَّ غَسَلَ يَدَيْهِ مَرَّتَيْنِ مَرَّتَيْنِ إِلَى الْمِرْفَقَيْنِ ، ثُمَّ مَسَحَ بِيَدَيْهِ ، فَأَقْبَلَ بِهِمَا وَأَدْبَرَ ، بَدَأَ بِمُقَدَّمِ رَأْسِهِ ثُمَّ ذَهَبَ بِهِمَا إِلَى قَفَاهُ ، ثُمَّ رَدَّهُمَا حَتَّى رَجَعَ إِلَى الْمَكَانِ الَّذِي بَدَأَ مِنْهُ ، ثُمَّ غَسَلَ رِجْلَيْهِ .
คำตรัสของอัลลอฮที่ว่า (และพวกเจ้าจงลูบศีรษะของพวกเข้า) พวกเขา(หมายถึงนักวิชาการ)มีความเห็นขัดแย้ง ใน อักษรบาอฺ นี้ ว่า มันคือ บาอฺลิลอิลศอก( หมายถึงลูบให้ทั่ว) มันคือทัศนะที่ชัดเจนที่สุด หรือว่า บาอฺลิตตับอีฎ(หมายถึงบางส่วน) ชัดเจนที่สุด? ในมัน มีการพิจารณา บน สองทัศนะ และส่วนหนึ่งจากบรรดานักอุศูล (นักวิชาการเกี่ยวหลักนิติศาสตร์อิสลาม) คือผู้ที่กล่าวว่า อยายะฮนี้กล่าวโดยสรุป จงกลับไปดูการอธิบายของมันในอัสสุนนะฮ และแท้จริงได้มีรายงานยืนยันจาก เศาะเฮียะบุคอรี และมุสลิม จากสายรายงานของ มาลิก บิน อัมริน บิน ยะหยาอัลมะซีนีย์ จากบิดาของเขาว่า แท้จริงมีชายคนหนึ่ง กล่าวกับ อับดุลลอฮ บิน เซด บิน อาศิม โดยที่เขาเป็นปู่ของ อัมริน บิน ยะหยา และเขาเป็นส่วนหนึ่ง จากบรรดาสาวกของรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ (โดยกล่าวว่า) ท่านมีความสามารถไหมที่จะให้ข้าพเจ้าได้เห็นว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ อาบน้ำละหมาดอย่างไร ? อับดุลลอฮ บิน เซด ตอบว่า ครับ
หลังจากนั้น เขาได้เรียกให้นำน้ำมาอาบน้ำละหมาดโดยเขา(อับดุลลอฮ)ได้รินน้ำจากภาชนะลงบนมือทั้งสอง แล้วเขา ก็ล้างมือทั้งสองของเขา สองครั้ง สองครั้ง จากนั้นเขา ก็บ้วนปากและสูดน้ำเข้าจมูกและสั่งออก สามครั้ง แล้วเขาล้างใบหน้าของเขา สามครั้ง และ ล้างมือทั้งสองจนถึงข้อศอกอีก สองครั้ง สองครั้ง หลังจากนั้น เขา ลูบ(ศีรษะของเขา)ด้วยมือของเขา โดยลูบไปข้างหน้าและกลับมาทางด้านหลัง โดยเริ่มลูบจากด้านหน้าของศีรษะของเขา พาไปทางท้ายทอยทั้งสองของเขาแล้วลูบกลับมาที่เดิม แล้วจึงล้างเท้าทั้งสองข้างของเขา ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 3 หน้า 50
>>>>>>>>
อิบนุกะษีรบอกว่า นักวิชาการด้านอุศูลุลฟิกฮ ส่วนหนึ่ง บอกว่า อายะฮที่ว่า พวกเจ้าจงลูบศีรษะของพวกเจ้า เป็นข้อความที่สรุป ดังนั้นให้กลับไปดูคำอธิบายของสุนนะฮนบี ศอ็ลฯ แล้วก็ได้ระบุหะดิษวิธีอาบน้ำละหมาดของท่านนบี ศอ็ลฯ สาธิตโดย อัมริน บิน เซด
ข้อความตอนหนึ่งระบุการลูบศีรษะว่า
، ثُمَّ مَسَحَ بِيَدَيْهِ ، فَأَقْبَلَ بِهِمَا وَأَدْبَرَ ، بَدَأَ بِمُقَدَّمِ رَأْسِهِ ثُمَّ ذَهَبَ بِهِمَا إِلَى قَفَاهُ ، ثُمَّ رَدَّهُمَا حَتَّى رَجَعَ إِلَى الْمَكَانِ الَّذِي بَدَأَ مِنْهُ
ครั้ง หลังจากนั้น เขา ลูบ(ศีรษะของเขา)ด้วยมือของเขา โดยลูบไปข้างหน้าและกลับมาทางด้านหลัง โดยเริ่มลูบจากด้านหน้าของศีรษะของเขา พาไปทางท้ายทอยทั้งสองของเขาแล้วลูบกลับมาที่เดิม >>>คนที่ไม่ผูกติดแน่นกับมัซฮับ เขามีอิสระในการเลือกทัศนะที่สอดกล้องกับสุนนะฮนบี ? _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun Mar 15, 2015 10:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หลักการของมัซฮับอิหม่ามชาฟิอี ในการให้ยึดอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ เป็นหลักฐาน
อิหม่ามชาฟิอี (ร.ฮ) กล่าวว่า
وَاَمَّااَنْ نُخَالِفَ حَدِيْثًا عَنْ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثَابِتًا عَنْهُ فَاَرْجُوْا اَنْ لاَ يُؤْخَذُ ذَلِكَ عَلَيْنَا اِنْ شَآءَ اللهُ وَلَيْسَ ذَلِكَ ِلاَحَدٍ وَلَكِنْ قَدْ يَجْهَلُ الرَّجُلُ السُّنَّةَ فَيَكُوْنُ لَهُ قَوْلٌ يُخَالَفُهَا لاَ اَنَّهُ عَمَدَ خِلاَفهَا وَقَدْ يَغْفلُ وَيُخْطِىءُ فِى التَّاْوِيْلِ.
และสำหรับ การที่เราขัดแย้งหะดิษใด จากรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ที่ยืนยันแน่นอนจากท่าน ข้าพเจ้าหวังว่า เราจะไม่ถูกเอาผิด ดังกล่าว อินชาอัลลอฮ
ดังกล่าวนั้น ไม่อนุญาตแก่คนหนึ่งคนใด ยกเว้นในกรณีเขาไมรู้ อัสสุนนะฮ แล้วปรากฏว่า คำพูดใดๆของเขาขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ โดยเขาไม่ได้เจตนา ขัดแย้งมัน และ บางทีเขาพลั้งเผลอ และบางที่เขาผิดพลาดในการอธิบายมัน ....... ดู อัรริสาละฮ หน้า 595
จากคำพูดของอิหม่ามชาฟิอี ท่านบอกว่า ไม่อนุญาตให้บุคคลใด ขัดแย้งกับสุนนะฮนบี ยกเว้นในกรณี เขาไม่รู้ แล้วแสดงทัศนะใดออกมาขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ โดยไม่เจตนา อันเนื่องมาจากการเผลอตัว หรืออธิบายผิดพลาด
อบูชามะฮ ปราชญ์มัซฮับชาฟิอีกล่าวว่า
فالواجب على العالم فيما يَرِدُ عليه من الوقائع وما يُسألُ عنهُ من الشرائعِ : الرجوعُ إلى ما دلَّ عليهِ كتابُ اللهِ المنزَّلُ، وما صحَّ عن نبيّه الصادق المُرْسَل، وما كان عليه أصحابهُ ومَن بعدَهم مِن الصدر الأول، فما وافق ذلك؛ أذِنَ فيه وأَمَرَ، وما خالفه؛ نهى عنه وزَجَرَ، فيكون بذلك قد آمَنَ واتَّبَعَ، ولا يستَحْسِنُ؛ فإنَّ (مَن استحسن فقد شَرَعَ).
วาญิบ เหนื่อผู้มีความรู้ ต่อสิงต่างๆที่เกิดขึ้น บนเขา และสิ่งที่เขาถูกถามจากมัน เกียวกับบรรดาบทบัญญัติ คือ การกลับไปยังสิ่งที่ คัมภีร์ของอัลลอฮที่ถูกประทานลงมา ได้แสดงบอกบนมัน และสิ่ง(หะดิษ)ที่เศาะเฮียะจากนบี ของพระองค์ ผู้มีสัจจะ และผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรอซูล และสิ่งที่บรรดาเศาะหาบะฮของท่านนบี และผู้ทีอยู่ยุคหลังจากเขาในยุคแรกได้ยืนหยัดอยู่บนมัน ดังนั้น สิ่งใด สอดคล้อง ดังกล่าวนั้น เขาก็ได้รับอนุญาตและถูกสั่ง ในมัน และสิ่งใดขัดแย้ง มัน เขาก็ถูกห้ามและถูกเตือนให้ระวังจากมัน แล้วด้วยดังกล่าวนั้น เขาได้ศรัทธาและปฏิบัติตาม และเขาอย่าได้ พูดว่าดีตามความคิดเห็น เพราะแท้จริง ผู้ใด พูดว่าดีตามความคิดเห็น แน่นอนเขาได้บัญญัติ บทบัญญัติศาสนา(ขึ้นใหม่) - ดู อัลบาอิษ อะลาอิงกะริลบิดอิ วัล อะหาดิษ ของอบูชามะฮ หน้า 50
จากคำพูดข้องต้นสรุปว่า
1. ให้ผู้รู้นำประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นและที่มีผู้ถามไปตรวจสอบกับอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ
2. ถ้าสิ่งนั้นตรงกับอัลกุรอ่นและอัสสุนนะฮ ถือว่าเป็นสิ่งอนุญาตและเป็นคำสั่งใช้
3. ถ้าสิ่งนั้นขัดแย้งกับอัลกุรอ่นและอัสสุนนะฮ ถือว่าเป็นสิ่งถูกห้ามและเป็นสิ่งที่เตือนให้ระวัง
จะมีสักกี่คน ผู้รู้ที่อ้างว่าตามมัซฮับชาฟิอี ปฏิบัติตามหลักการข้างต้น _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Mar 23, 2015 7:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เขาอ้างว่า
ซึ่งท่านเป็น อุลามาอฺซะลัฟ ปราชน์ท่านสำคัญของโลกอิสลาม ท่านกล่าวว่า
" إنه تعالى كان ولا مكان فخلق المكان وهو على صفة الأزلية كما كان قبل خلقه المكان لا يجوز عليه التغيير في ذاته ولا التبديل في صفاته "
แท้จริงอัลเลาะฮฺ ตะอาลา ทรงมีมา(แต่เดิม)แล้ว โดยที่ไม่มีสถานที่ จากนั้นอัลเลาะฮฺทรงสร้างสถานที่ โดยที่พระองค์อยู่บนคุณลักษณะเดิม เสมือนกับที่พระองค์ทรงมีก่อนสร้างสถานที่ ไม่อนุญาตเปลี่ยนแปลงซาตของพระองค์ และคุณลักษณะของพระองค์ดู อิตหาฟ อัสสาดะฮฺ อัลมุตตะกีน เล่ม 2 หน้า 24
>>>>>>>>>>>
ข้างต้น มีผู้อ้างว่าเป็นคำพูดอิหม่ามชาฟีอี ซึ่งเป็นการแอบอ้าง เพราะเป็นคำพูดที่ไม่มีสายรายงานสืบไปถึงอิหม่ามชาฟีอีย์
อิหม่ามอัศศอบูนีย์ ได้กล่าวถึงอะกีดะฮของอิหม่ามชาฟิอีว่า
وإنما احتج الشافعي رحمة الله عليه على المخالفين في قولهم بجواز إعتاق الرقبة الكافرة في الكفارة بهذا الخبر؛ لاعتقاده أن الله سبحانه فوق خلقه، وفوق سبع سماواته على عرشه، كما معتقد المسلمين من أهل السنة والجماعة، سلَفِهم وخلفِهم؛ إذ كان رحمه الله لا يرو خبرًا صحيحًا ثم لا يقول به.
และความจริง อัชชาฟิอี (ร.ฮ) ได้อ้างหลักฐาน ตอบโต้บรรดาผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งในทัศนะของพวกเขา (ที่อ้างว่า) อนุญาตให้ปล่อยท่านหญิงที่เป็นกาเฟร ในสภาพที่เป็นกาเฟร ได้ ด้วยหะดิษนี้(หมายถึงหะดิษญารียะฮ ที่ตอบนบีว่าอัลลอฮอยู่บนฟ้า) เพราะ อะกีดะฮของเขา(หมายถึงชาฟิอี)เชื่อว่า แท้จริงอัลลอฮ( ซ.บ) ทรงอยู่เหนื่อมัคลูคของพระองค์ และเหนือ บรรดาฟากฟ้าทั้งเจ็ดของพระองค์ ดังที่เป็นหลักความเชื่อของบรรดามุสลิม จากอะฮลุสสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ ยุคสะลัฟและยุคเคาะลัฟ เพราะ ปรากฏว่าเขา(หมายถึงอิหม่ามชาฟิอี) เขาจะไม่รายงานหะดิษที่เศาะเอียะใดๆ แล้วต่อมาเขาไม่นำมากล่าวด้วยมัน
عقيدة السلف وأصحاب الحديث للصابوني ص118 و189]
หมายถึง อิหม่ามชาฟิอีได้อ้างหะดิษญารียะฮ เป็นหลักฐานตอบโต้บรรดาผู้ที่อ้างว่า อนุญาตให้ปล่อยทาสหญิงที่เป็นกาเฟร ในสภาพที่เป็นกาเฟรได้ สำหรับทัศนะของอิหม่ามชาฟิอีนั้น อนุญาตปล่อยทาสหญิงที่เป็นกาเฟรได้ ก็ต่อเมื่อนางรับอิสลาม โดยที่อิหม่ามชาฟิอีได้อ้างหลักฐานจากหะดิษญารียะฮ คือ ท่านนบี ถามทาสหญิงคนนั้นว่า อัลลอฮอยู่ที่ใหน ?นางตอบว่า อัลลอฮ อยู่บนฟ้า แล้วนบีรับรองว่านางเป็นมุสลิม แล้วนบีบอกให้ปล่อยนางเป็นอิสระ และอัศศอบูนีย์ ยืนยันว่า "อิหม่ามชาฟิอีนั้น ไม่เคยปรากฏว่า เมื่อท่านรายงานหะดิษเศาะเฮียะ แล้วท่านไม่นำมันมาอ้างเป็นหลักฐาน กล่าวคือ ที่อิหม่ามชาฟิอี นำเอาหะดิษญารียะฮ ที่นางบอกว่า อัลลอฮอยู่บนฟ้า มาเป็นหลักฐาน แสดงว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะในทัศนะอิหม่ามชาฟิอี
ด้วยอคติ หลับหูหลับตาว่า ให้ร้ายคนที่ยืนยันสิฟาตอิสติวาอฺของอัลลอฮ ว่า ให้สถานที่แก่อัลลอฮ โดยไม่แยแสว่า เขาอธิบายอย่างไร คำว่า สถานที่สำหรับอัลลอฮ หมายถึงอะไร ไม่สนใจ บิดเบือนกล่าวหาลูกเดียว วัลอิยาซุบิลละฮ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun Mar 29, 2015 9:21 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ห้ามละหมาดญะนาซะฮโดยสวมรองเท้าที่กุโบร์จริงหรือ
เนื่องด้วยมีคนกล่าวหาว่าพี่น้องมุสลิม ที่เขาฉายาว่าวะฮบีย์ละหมาดญะนาซะฮ โดยใส่ร้องเท้า
ย่ำดินกุโบร์ที่เป็นน่ายิสละหมาดใช้ไม่ได้ เพราะมัษฮับของอิหม่ามชาฟีอี การสวมใส่รองเท้าที่เปลื่อนน่ายิสถือว่าเป็นการแบกน่ายิส ละหมาดโดยไม่ถอดรองเท้าแบบในภาพนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ !
>>>>>>>>>>>>>
จึงขอชี้แจง เพื่อให้เขาใจตรงกันดังนี้
ก่อนอื่นขอชี้แจงว่า ความจริงหากรองเท้าสะอาด เราสามารถใส่ร้องเท้าละหมาดได้ ไม่ว่าละหมาดอะไรก็ตาม
อัสสะฟารีนีย์ กล่าวว่า
وَقَدْ ثَبَتَ فِي الصَّحِيحَيْنِ عَنْ أَنَسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ { رَأَيْت رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُصَلِّي فِي نَعْلَيْهِ }
และแท้จริง ได้ปรากฏรายงานยืนยันในเศาะเศาะเฮียะบุคอรีและมุสลิมจากอะนัส (ร.ฎ) โดยเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็นรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ละหมาด สวมใส่รองเท้าทั้งสองของท่าน
อัสสะฟารีนีย์ ได้กล่าวอีกว่า
وَفِي السُّنَنِ أَيْضًا { أَنَّهُ صَلَّى فِي نَعْلِهِ ، وَصَلَّى أَصْحَابُهُ فِي نِعَالِهِمْ ، فَخَلَعَ نَعْلَيْهِ ، فَخَلَعُوا نِعَالَهُمْ ، فَلَمَّا سَلَّمَ قَالَ : لِمَ خَلَعْتُمْ نِعَالَكُمْ ؟ قَالُوا : رَأَيْنَاك خَلَعْت نَعْلَيْك فَخَلَعْنَا نِعَالَنَا ، فَقَالَ : إنَّ جِبْرِيلَ أَتَانِي فَأَخْبَرَنِي أَنَّ فِيهِمَا أَذًى فَإِذَا أَتَى أَحَدُكُمْ الْمَسْجِدَ فَلْيَنْظُرْ فِي نَعْلَيْهِ فَإِنْ كَانَ فِيهِمَا أَذًى فَلْيَدْلُكْهُمَا بِالتُّرَابِ فَإِنَّ التُّرَابَ لَهُمَا طَهُورٌ }
และปรากฏในอัสสุนันอีกเช่นกันว่า (แท้จริงนบี ศอ็ลฯ ละหมาด ดดยสวมใส่รองเท้าของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮ ของท่านได้ละหมาดโดยสวมใส่รองเท้าของพวกเขา แล้ว ท่านนบี ได้ถอนรองเท้าทั้งสองของท่าน แล้วพวกเขา(เศาะหาบะฮ) ถอดรองเท้าของพวกเขาด้วย แล้วเมื่อท่านบี ให้สล่าม (จากการละหมาด) ท่านได้กล่าวว่า ทำไมพวกท่านจึงถอดรองเท้าของพวกท่าน ? พวกเขากล่าวตอบว่า พวกเราเห็นท่านถอดรองเท้าทั้งสองของท่าน พวกเราจึงถอดรองเท้าของพวกเราด้วย แล้วท่านนบี กล่าวว่า แท้จริงญิบรีล ได้มายังฉัน แล้วบอกฉันว่า ในรองเท้าทั้งสอง มีสิ่งสกปรก ดังนั้น เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านไปมัสยิด ก็จงดูที่รองเท้าทั้งสองของเขา หากปรากฏว่าในมันทั้งสองมีสิ่งสกปรก ก็จงเช็ดมันทั้งสอง กับดิน เพราะแท้จริง ดินนั้น คือ สิ่งทำความสะอาดสำหรับมันทั้งสอง )
..
และอัสสะฟารีนีย์ อธิบายว่า
فَصَلَاةُ الرَّجُلِ لِلْفَرْضِ وَالتَّطَوُّعِ وَالْجِنَازَةِ فِي الْحَضَرِ وَالسَّفَرِ فِي نَعْلَيْهِ مِنْ سُنَّةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ .
การละหมาด ฟัรดู ,ละหมาดสุนัต และ ละหมาดญะนาซะฮ ของบุคคล ในยามอยู่ที่บ้าน และในยามเดินทาง โดยสวมรองเท้าของเขานั้น เป็นส่วนหนึ่งจากสุนนะฮของรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ
وَسَوَاءٌ كَانَ يَمْشِي بِهِمَا فِي طُرُقَاتِ الْمَدِينَةِ الَّتِي فِي الْأَسْوَاقِ أَوْ غَيْرِهِمَا فَإِنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأَصْحَابَهُ كَانُوا يَمْشُونَ فِي طُرُقَاتِ الْمَدِينَةِ وَغَيْرِهَا بِنِعَالِهِمْ وَيُصَلُّونَ فِيهَا .
และไม่ว่า เขาจะเดิน ด้วยมันทั้งสอง(ด้วยรองเท้าทั้งสอง) บน บรรดาหนทางในเมือง ที่มีบรรดาตลาด หรือ อื่นจากมันทั้งสอง เพราะแท้จริง นบี ศอ็ลฯ และบรรดา สาวกของท่าน พวกเขาเดิน บนบรรดาถนน มะดีนะฮและอื่นจากมัน ด้วยบรรดารองเท้าของพวกเขา และพวกเขาละหมาด ในมัน (หมายถึงละหมาดโดยสวมรองเท้า) ดู ฆิซาอุลอัลบาบ ของ อัสสะฟารีนีย์ เล่ม 2 หน้า 302
>>>>>>>>>>
จะเห็นได้ว่า การละหมาด โดยสวมรองเท้าที่สะอาดจากนะญิสนั้น ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรดู,ละหมาดสุนัตและ ละหมาดญะนาซะฮ นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ มีแบบอย่าง(สุนนะฮ)จากท่านนบี ศอ็ลฯ
การอ้างว่า พื้นดินกุโบร์ เป็นนะยิสนั้น เป็นการอ้างโดยไม่มีหลักฐาน เพราะถ้าเป็นนะยิส ท่านนบี ศอ็ลฯ จะไม่ละหมาดญะนาซะฮ ที่กุโบร์แน่นอน เพราะการละหมาดญะนาซะฮที่กุโบร์นั้น ต้องยืนบนพื้นดินกุโบร์ ไม่ว่าจะใส่รองเท้าหรือไม่ก็ตาม ส่วนการห้ามละหมาดฟัรดูที่กุโบร์นั้น เป็นการป้องกัน การอิบาดะฮต่อกุบูร และการยึดเอากุบูรเป็นมัสยิดเท่านั้น
ท่านนบี ศอ็ลฯ เคยละหมาดญะนาซะฮที่กุโบร์ ดังหะดิษ โดยอิหม่ามอัตติรมิซีย์ ว่า
حَدَّثَنَا الشَّعْبِيُّ أَخْبَرَنِي مَنْ رَأَى النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَرَأَى قَبْرًا مُنْتَبِذًا فَصَفَّ أَصْحَابَهُ خَلْفَهُ فَصَلَّى عَلَيْهِ فَقِيلَ لَهُ مَنْ أَخْبَرَكَهُ فَقَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ قَالَ وَفِي الْبَاب عَنْ أَنَسٍ وَبُرَيْدَةَ وَيَزِيدَ بْنِ ثَابِتٍ وَأَبِي هُرَيْرَةَ وَعَامِرِ بْنِ رَبِيعَةَ وَأَبِي قَتَادَةَ وَسَهْلِ بْنِ حُنَيْفٍ قَالَ أَبُو عِيسَى حَدِيثُ ابْنِ عَبَّاسٍ حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ وَالْعَمَلُ عَلَى هَذَا عِنْدَ أَكْثَرِ أَهْلِ الْعِلْمِ مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَغَيْرِهِمْ وَهُوَ قَوْلُ الشَّافِعِيِّ وَأَحْمَدَ وَإِسْحَقَ
อัชชะอฺบีย์ ได้เล่าเรา ว่า ผู้ที่เห็นนบี ศอ็ลฯ ได้บอกเราว่า และนบี สอ็ลฯ ได้เห็นหลุมศพหนึ่ง ถูกแยกอยู่ตามลำพัง แล้วท่านได้ให้บรรดาสาวกของท่านเข้าแถว ตามหลังท่าน แล้วละหมาดญะนาซะฮ ให้เขา แล้วมีผู้กล่าวแก่เขาว่า ใครบอกมันแก่ท่าน ? เขา(อัชชะอบีย) กล่าวว่า อิบนุอับบาส เขา(อิหม่ามอัตติรมิซีย) กล่าวว่า ในเรื่องนี้ รายงานจาก อะนัส ,บุรัยดะฮ ,ยะซีด บิน ษาบีต ,อบีฮุรัยเราะฮ ,อามีร บิน เราะบีอะฮ ,อบีเกาะตาดะฮ และ สะฮิล บิน หุนัยฟฺ ,อบูอีซา (หมายถึงอิหม่ามติรมิซีย์) กล่าวว่า หะดิษอิบนุอับบาส เป็นหะดิษ หะซัน เศาะเฮียะ และ นักวิชาการส่วนมาก จากบรรดาเศาะหะบะฮนบี ศอ็ลฯ และอื่นจากพวกเขา ปฏิบัติตามหะดิษนี้ และมันคือ ทัศนะของ ชาฟิอี ,อะหมัด และอิสหาก ตุหฟะตุลอะหวะซีย์ เรื่อง بَاب مَا جَاءَ فِي الصَّلَاةِ عَلَى الْقَبْرِ อธิบายหะดิษ หมายเลข 1037
>>>>
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Apr 02, 2015 9:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จำนวนรอกอัตละหมาดตารอเวียะที่นบี ปฏิบัติ
อิหม่ามอัชเชากานีย์ ได้ระบุ 2 หะดิษต่อไปนี้ไว้ในเรื่อง ละหมาดตะรอเวียะ โดยตั้งชื่อเรื่องว่า
باب صلاة التراويح
แล้วท่านได้ระบุหะดิษต่อไปนี้ไว้ในเรื่องนี้ โดยกล่าวว่า
، وَأَمَّا الْعَدَدُ الثَّابِتُ عَنْهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي صَلَاتِهِ فِي رَمَضَانَ ، فَأَخْرَجَ الْبُخَارِيُّ وَغَيْرُهُ عَنْ عَائِشَةَ أَنَّهَا قَالَتْ { مَا كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَزِيدُ فِي رَمَضَانَ وَلَا فِي غَيْرِهِ عَلَى إحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً } .
และสำหรับจำนวนรอ็กอะฮ ที่ยืนยันรายงานจาก ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการละหมาดของท่านในเดือนเราะมะฏอน ,อัลบุคอรีย์และคนอื่นจากเขา ได้รายงานจาก อาอีฉะฮว่า นางกล่าวว่า ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในหรือนอกรอมฎอนเกินกว่า 11 ร๊อกอะฮ์
และอีกหะดิษที่อิหม่ามเชากานีย์ ระบุคือ
وَأَخْرَجَ ابْنُ حِبَّانَ فِي صَحِيحِهِ مِنْ حَدِيثِ جَابِرٍ { أَنَّهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ صَلَّى بِهِمْ ثَمَانِ رَكَعَاتٍ ثُمَّ أَوْتَرَ } .
อิบนุหิบบาน ได้บันทึกในเศาะเฮียะของเขา จากหะดิษญาบีรว่า แท้จริง ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดกับพวกเขา 8 รอ็กอะฮ หลังจากนั้น ท่านได้ละหมาดวิตร - ดู นัยลุลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 66
>>>>>>>>>>>
โต๊ะครูน้ำล้นแก้วบางคน ที่อ้างว่า 8 รอ็กอะฮ ไม่ใช่ละหมาดตะรอเวียะ แล้วไปถ่ายทอดโกหกชาวบ้าน วัลอิยาซุบิลละฮ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Apr 02, 2015 11:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
คุณตาชั่งอ้างว่า
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร กล่าวอธิบายว่า
أحدها: يحتمل أن يكون المخوف افتراض قيام الليل، بمعنى جعل التهجد في المسجد جماعة شرطا في صحة التنفل بالليل
"หนึ่ง ตีความได้ว่า สิ่งที่หวั่นเกรงนั้นคือ จะมีการกำหนดฟัรดูกับการละหมาดกิยามุลลัยล์ ที่อยู่ในความหมายของการทำตะฮัจญุดในมัสยิดแบบญะมาอะฮ์มาเป็นเงื่อนไขในการเซาะฮ์(ใช้ได้)ในการละหมาดสุนัตยามค่ำคืน"
وأقوى هذه الأجوبة الثلاثة في نظري الأول، والله سبحانه وتعالى أعلم بالصواب
"คำตอบทั้งสามที่มีน้ำหนักที่สุดในทัศนะของฉันนี้ คือ อันแรก วัลลอฮุซุบหานะฮูวะตะอาลาอะละมุบิสซ่อวาบ" ( ฟัตหุลบารีย์ อธิบายหะดิษที่ 1129)
ดังนั้น ผมจึงไม่รู้ว่าการละหมาดดังกล่าวนั้นเป็นตะรอวิห์ด้วยหรือเปล่า?
>>>>>>>>>>>>
ชี้แจง
คุณตาชั่งครับ คำว่า يحتمل หรือ อาการนามคือ เอียะตมาล หมายถึง การคาดคะเน ,ความเป็นไปได้ การอ้างสิ่งที่คาดเดา ว่าเป็นไปได้ มาเป็นหลักฐานยืนยันหุกุมได้หรือครับ คุณตาชั่ง
อีกประการหนึ่งคือ การละหมาดตะฮัจญุด นั้น ในเดือนเราะมะฏอน ก็เป็นละหมาดตารอเวียะ
เช็คบินบาซ กล่าวว่า
أما التراويح : فهي تطلق عند العلماء على قيام الليل في رمضان أول الليل ، مع مراعاة التخفيف وعدم الإطالة ، ويجوز أن تسمى تهجدا ، وأن تسمى قياما لليل ، ولا مشاحة في ذلك ، والله الموفق "
สำหรับ ละหมาดตะรอเวียะนั้น ในทัศนะนักวิชาการ มันถูกให้หมายถึง การละหมาดกิยามุลลัยลฺ(ละหมาดยามค่ำคืน) ในเดือนเราะมะฎอน ในช่วงแรกของกลางคืน พร้อมกับ ให้ละหมาดสั้นๆ และไม่อ่านยาวๆ และอนุญาตให้เรียกว่า ตะฮัจญุด และให้เรียกว่า กิยามุลลัยลฺ ก็ได้ และไม่ได้มีความแตกต่างในดังกล่าว วัลลอฮุลมุวัฟฟิก
"فتاوى الشيخ ابن باز" (11/ 317
ในหะดิษเรียก เรียกการละหมาดในยามคำคือเดือนเราะมาฏอนว่า กิยามุเราะมะฏอน ดังหะดิษ
ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า
مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَلَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ
ผู้ใดยืน(นมาซยามค่ำคืน)ในเดือนรอมะฎอน ด้วยความศรัทธาและแสวงหาผลบุญจากอัลลอฮ์ เขาก็จะถูกอภัยโทษให้ในบาป(เล็ก)ของเขาที่ผ่านมาแล้ว
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิมและท่านอื่นๆ โดยรายงานมาจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.) ...
คำว่า قَامَ رَمَضَانَ กับคำว่า قِيَامُ رَمَضَانَ มีที่มาจากรากศัพท์เดียวกันและมีความหมายอย่างเดียวกัน .. คือ การยืนนมาซยามค่ำคืนในเดือนรอมะฎอน ...
ส่วน ชื่อคำว่า ละหมาดตะรอเวียะ เป็นการเรียก ในยุคหลัง
และอัลหาฟิซ อิบนุหะญัร กล่าว ถึงหะดิษที่นบีละหมาดกิยามุเราะมะฎอน กับเหล่าเศาะหาบะฮ ว่า
، وَلَمْ أَرَ فِي شَيْءٍ مِنْ طُرُقِهِ بَيَانَ عَدَدِ صَلَاتِهِ فِي تِلْكَ اللَّيَالِي ، لَكِنْ رَوَى ابْنُ خُزَيْمَةَ ، وَابْنُ حِبَّانَ مِنْ حَدِيثِ جَابِرٍ ، قَالَ : صَلَّى بِنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي رَمَضَانَ ثَمَانِ رَكَعَاتٍ ، ثُمَّ أَوْتَرَ
และข้าพเจ้า ไม่พบ ในสิ่งใดๆจากบรรดาสายรายงานของมัน อธิบายจำนวนเราะกะอัตของการละหมาดของท่านนบี ในคืนดังกล่าวนั้น แต่ อิบนุคุซัยมะฮ ,อิบนุหิบบาน ได้รายงานจากญาบีร ว่า เขากล่าวว่า รซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ได้ละหมาดกับพวกเราในเดือนเราะมะฏอน 8 รอ็กอะฮ หลังจากนั้น ท่านได้ละหมาด วิตร فتح الباري : 3 / 12
>>>>>>>>
ท่านอัลหาฟิซอิบนุหะญัร ระบุเองว่า ท่านนบี ศอ็ล ฯ ละหมาดในเดือนเราะมะฏอน กับ เศาะหาบะฮ 8 รอ็กอัต และหลังจากนั้น ก็ละหมาดวิตรฺ ถ้า ละหมาดนั้น ไม่ใช่กิยามุเราะมะฎอน หรือละหมาดตะรอเวียะ แล้วมีละหมาดอะไรอีกหรือ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Apr 03, 2015 12:49 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อัลญะมาอะฮ คืออะไร
Ibnu Sabeel ฮาดิษที่รับรองความถูกต้อง(หรือสัจธรรม)และผู้ที่อยู่บนความถูกต้อง คือกลุ่มญามาอะห์
1لاتجتمع أمتي على الخطإ
..لم يكن الله ليجمع هذه الأمة على الخطإ .. ما رآه المسلمون حسنا فهو عند الله حسن وما رآه المسلمون قبيحا فهو عند الله قبيح .. من فارق الجماعة مات ميتة جاهلية .. من فارق الجماعة قيد شبر فقد خلع ربقة الإسلام من عنقه .. من شذ شذ في النار .. عليكم بالجماعة فإن الذئب يأكل القاصية من الغنم ..
ฮาดิษเหล่านี้เป็นأحاديث آحاد ซึ่งบ่งชี้บนความหมายที่ซอเฮียะ ท่านอีหม่ามأبو إسحاق الشيرازيกล่าวในหนังสือالتبصرةว่าهذا تواتر من جهة المعنى ولايجوز أن تكون هذه الأخبار على كثرتها كلها كذبا ไม่อนุญาตไห้ฮาดิษจำนวนมากเหล่านี้ทั่งหมดถูกกล่าวหาว่าเป็นฮาดิษเท็ด
......................
ชี้แจง
คุณ อิบนุสะบีล ก็มาสไตล์เดิม คือ ไม่ยอมแปลหลักฐานที่อ้าง เอาหลักฐานมาปนกัน ไม่แยก และแปลความหมาย พร้อมระบุที่มา
ผมไม่มีเวลามานั่งแปล ให้คุณ แต่ขอชี้แจงว่า
ในหะดิษใดก็ตามที่บอกว่าให้ยึดหมูคณะ นั้น หมายถึงหมู่คณะของนักวิชาการหรืออุลามาอฺที่อยู่บนความถูกต้อง ไม่ได้หมายถึง คนส่วนใหญ่คือมาตรฐานความถูกต้อง มาดูคำอธิบาย
อัลมาลา อาลี อัลกอรีย์ กล่าวว่า
الحديث يدل على أن اجتماع المسلمين حق ، والمراد إجماع العلماء ، ولا عبرة بإجماع العوام ؛ لأنه لا يكون عن علم
หะดิษที่แสดงบอกว่า มติของบรรดามุสลิมีน คือ ความถูกต้องนั้น คือ มติของบรรดานักปราชญ์ และไม่มีการพิจารณาใด กับมติของคนทั่วไป (คนอาวาม) เพราะมันไม่ได้มาจากความรู้ -
"مرقاة المفاتيح" (2 / 61
อิหม่ามชาฏิบีย์ กล่าวว่า
ولا خلاف أنه لا اعتبار بإجماع العوام
และไม่มีความเห็นขัดแย้ง (ของนักวิชาการ)ว่า ไม่มีการพิจารณาใดๆ เกี่ยวกับ มติของคนทั่วไป(คนอาวาม)
"الاعتصام" (1 / 354)
อบูชามะฮ อัลมุกอ็ดดิสีย์ กล่าวว่า
حيث جاء الأمر بلزوم الجماعة فالمراد به لزوم الحق واتباعه ، وإن كان المتمسك بالحق قليلاً والمخالف كثيراً ؛ لأن الحق الذي كانت عليه الجماعة الأولى من النبي صلى الله عليه وسلم وأصحابه رضي الله عنهم ، ولا نظر إلى كثرة أهل الباطل بعدهم ". انتهى "الباعث على إنكار البدع والحوادث" صـ 22.
โดยที่ คำสั่งได้มีมา ให้ยึดมั่น กับ อัลญะมาอะฮ(หมู่คณะ)นั้น หมายถึง ให้ยึดมั่นความถูกต้อง และปฏิบัติตามมัน และ หากคนที่ยึดถือความถูกต้องมีจำนวนน้อยและผู้ที่เห็นต่างมีจำนวนมากก็ตาม เพราะ แท้จริง ความถูกต้อง คือ สิ่งที่ หมู่คณะ(อัลญะมาอะฮ) จากนบี ศอ็ลฯ และบรรดาสาวกของท่าน(ร.ฎ) ได้ยืนหยัดอยู่บนมัน และ ไม่มีการพิจารณา จำนวนมากของผู้ที่อยู่บนความเท็จหลังจากพวกเขา
"الباعث على إنكار البدع والحوادث" صـ 22
>>>>
คำว่า อัลญะมาอะฮ หมายถึงญะมาอะฮที่อยู่บนความถูกต้อง ตามที่นบี ศอ็ลฯ และ เหล่าเศาะหาบะฮ ได้ยืนหยัดอยู่บนสิ่งนั้น ไม่ใช่คนหมู่มากของคนอาวาม หรือคนที่อยู่บนความเท็จ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Apr 14, 2015 8:43 am ชื่อกระทู้: |
|
|
มุมมองของอิหม่ามชาฟิอี เกี่ยวกับวิชากาลาม
วิชากาลามคือ วิชาที่เป็นแขนงหนึ่งจากวิชาตรรกวิทยา ที่ อธิบายอะกีดะฮ ด้วยปัญญา
อิบนุกะษีร (ร.ฮ) ได้กล่าวเกี่ยวกับชีวประวัติของอิหม่ามชาฟิอี (ร.ฮ) ว่า
قال: لأن يلقى الله العبد بكل ذنب ما خلا الشرك بالله خير له من أن يلقاه بشئ من الأهواء ,وفي رواية خير من أن يلقاه بعلم الكلام, وقال: لو علم الناس ما في الكلام من الأهواء لفروا منه كما يفرون من الأسد, وقال: حكمي في أهل الكلام أن يضربوا بالجريد، ويطاف بهم في القبائل وينادى عليهم هذا جزاء من ترك الكتاب والسنة وأقبل على الكلام) البداية والنهاية :10/ 277.
เขา(อิหม่ามชาฟิอี)กล่าวว่า แท้จริง การที่บ่าวพบกับอัลลอฮ (ในวันกิยามะฮ) ด้วยบาปใดๆ อื่นจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ ย่อมเป็นการดีสำหรับเขา ยิ่งกว่า การที่เขาพบกับพระองค์ ด้วยสิ่งใดๆจากการตามอารมณ์ และในรายงานหนึ่ง ระบุว่า ดีกว่า เขาพบกับพระองค์ ด้วยวิชากาลาม และเขา(อิหม่ามชาฟิอี) กล่าวว่า หากมนุษย์รู้ สิ่งที่อยู่ในวิชากาลาม จากการตามอารมณ์ เขาจะหนีจากมัน เหมือนกับพวกเขาหนีจาก สิงห์โต และ เขา(อิหม่ามชาฟิอี)กล่าวว่า คำตัดสินของฉันเกี่ยวกับนักวิภาษวิทยา นั้นคือ ให้หวดด้วยก้านอินผลัม และรองเท้า แล้วจับแห่รอบวงศาคณาญาติและชนเผ่าต่างๆ โดยให้ประกาศว่า นี่คือรางวัลของผู้ละทิ้งอัลกุรอานและซุนนะห์แล้วไปรับเอาวิชากะลาม- ดู อัลบิดายะฮ วัลนิฮายะฮ เล่ม 10 หน้า 277
والله أعلم بالصواب _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Mar 10, 2016 11:37 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อบูละฮับถูกลดย่อนโทษเนื่องจากปลื้มปิติกับการกำเนิดนบีจริงหรือ
มีท่านหนึ่งจากกลุ่มซูฟียฏอรีกัต ได้หลักฐานเพื่อส่งเสริมการเฉลิมฉลองวันเกิดนบี ศอ็ลฯ หรือที่เรียกว่า "การทำเมาลิด" โดยอ้างหลักฐานต่อไปนี้
ท่าน อีหม่าม อัล-ฮาฟิซ ชัมซุดดีน บิน นาศีรุดดีน อัล-ดิมัชกีย์
(เสียชีวิต ฮ.ศ. 842 )ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านว่า
قد صح أن أبا لهب يخفف عنه عذاب النار في مثل يوم الاثنين لإعتاقه ثويبة سرورًا بميلاد النبي
ความว่า
แท้จริงนั้น มีสายรายงานที่เชื่อถือได้ ระบุว่า อาบูลาฮับ(ลุงคนหนึ่งของท่านนบี-ผู้แปล)ได้ถูกลดหย่อนโทษทัณฑ์ของไฟนรก ในวันจันทร์
อันเนื่องมาจากท่าน ได้ปลดปล่อยทาสหญิงชื่อว่า นาง ซุวัยบะฮฺ ให้เป็นไท เพราะความปลื้มปิติที่ ท่าน นบี ได้ถือกำเนิด
จากนั้น ท่านอีหม่าม ชัมซุดดีน ก็ได้กล่าวลำนำโคลงกลอนขึ้นว่า
إذا كان هـذا كافرًا جـاء ذمـه وتبت يـداه في الجحـيم مخـلدًا
أتى أنـه في يـوم الاثنين دائـمًا يخفف عنه للسـرور بأحــمدا
فما الظن بالعبد الذي طول عمره بأحمد مسرورٌ ومات موحـــدًا
ความว่า
เมื่อ(อาบูลาฮับ)คนนี้ เป็นกาฟิรที่ได้รับการประณามไว้ในอัล-กุรอ่าน...
สองมือของเขาได้พินาศและชั่วนิจนิรันดร์ในอเวจี ญะฮีม....
มีปรากฏหลักฐานว่าในทุกๆวันจันทร์นั้นจะได้รับการลดหย่อนโทษทัณฑ์..อันเนื่องจากความปรีดาที่ องค์ศาสดา ได้กำเนิดมา...
ฉะนั้นจะคาดการอย่างไรกับการที่บ่าวคนหนึ่งได้ มีความปลื้ม ปิติ
กับการถือกำเนิดของท่าน ศาสดา ตลอดชั่วชีวิตของเขา
ทั้งๆที่เขาได้ตายอย่างผู้ศรัทธา
(ดูเนื้อหาทั้งหมดได้ใน مورد الصادي في مولد الهادي )
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ขอชี้แจงดังนี้
หลักฐานข้างต้น เอามาเป็นหลักฐานไม่ได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1.ขัดแย้งกับอัลกุรอ่าน เพราะอัลกุรอ่านระบุว่าผู้ที่ตายในสภาพกาเฟรจะไม่ถูกลดย่อนโทษ
อัลลอฮตาอาลาตรัสว่า
وَالَّذِينَ كَفَرُوا لَهُمْ نَارُ جَهَنَّمَ لَا يُقْضَى عَلَيْهِمْ فَيَمُوتُوا وَلَا يُخَفَّفُ عَنْهُمْ مِنْ عَذَابِهَا كَذَلِكَ نَجْزِي كُلَّ كَفُورٍ
ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา พวกเขาจะได้รับไฟนรกญะฮันนัม (เป็นการตอบแทน) จะไม่ถูกตัดสินลงโทษให้พวกเขาตายเพื่อที่พวกเขาจะได้ตาย และการลงโทษของมันก็จะไม่ถูกลดหย่อนแก่พวกเขา เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนแก่ทุกผู้เนรคุณ (ปฏิเสธศรัทธา ฟาฏีร/36
อัลหาฟิซอิบนุหะญัร (ร.ฮ)กล่าวว่า
وقد أجمع العقلاء من أهل الإسلام فضلاً عن علماء الأصول على عدم رد ظاهر النص القرآني في مثل هذا المنام.
แท้จริงบรรดาผู้ที่มีความเข้าใจจากชาวอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดานักวิชาการด้านหลักนิติศาสตร์อิสลาม ได้มีมติว่า ไม่มีการปฏิเสธตัวบทที่ปรากฏแห่งอัลกุรอ่าน ในกรณีเช่นความฝันนี้ - ดูฟัตหุลบารีย์ 9/48
คือ จะเอาความฝันไปค้านตัวบทที่ปรากฏในอัลกุรอ่านไม่ได้
ทั้งนี้ เพราะในรายงานหะดิษอ้างว่ามีคนฝันเห็นว่า อบูละฮับถูกลดย่อนโทษ ด้วยเหตุแสดงความปิติยินดีกับการกำเนิดนบีมุหัมหมัดโดยการปลดปล่อยทาสชื่อว่า ษุวัยบะฮ
ในตัวบทหะดิษระบุว่า
قَالَ عُرْوَةُ وثُوَيْبَةُ مَوْلَاةٌ لِأَبِي لَهَبٍ كَانَ أَبُو لَهَبٍ أَعْتَقَهَا فَأَرْضَعَتْ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَلَمَّا مَاتَ أَبُو لَهَبٍ أُرِيَهُ بَعْضُ أَهْلِهِ بِشَرِّ حِيبَةٍ قَالَ لَهُ مَاذَا لَقِيتَ قَالَ أَبُو لَهَبٍ لَمْ أَلْقَ بَعْدَكُمْ غَيْرَ أَنِّي سُقِيتُ فِي هَذِهِ بِعَتَاقَتِي ثُوَيْبَةَ
และอุรวะฮ กล่าวว่า "และษุวัยบะฮ คือทาสหญิงของอบีละฮับ ปรากฏว่าอบูละฮับได้ปลดปล่อยนางให้เป็นอิสระ แล้วท่านนบี ศอ็ลฯก็ได้ถูกกำเนิดมา แล้วเมื่ออบูละฮับเสียชีวิต ,ส่วนหนึ่งของครอบครัวเขาได้ถูกให้ฝันเห็นเขา อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ ,แล้วเขาผู้นั้นได้กล่าวแก่เขา(อบูละฮับ)ว่า" ท่านได้พบกับอะไรบ้าง(หลังจากได้เสียชีวิต)? อบูละฮับกล่าวตอบว่า "ฉันไม่ได้พบกับ(ความโปรดปราน)อะไรเลยหลังจากที่จากพวกท่านมา อื่นจาก ฉันได้รับน้ำดื่ม ในที่นี้ ด้วยสาเหตุได้ทำการปลดปล่อยษุวัยบะฮให้เป็นอิสระ - รายงานโดยบุคอรี
นี่คือความฝัน ของคนๆหนึ่งไม่ได้ระบุชื่อว่าใคร คนใด และการที่คนๆหนึ่งฝัน ไม่มีผลที่จะเอามาเป็นหลักฐานทางศาสนา
อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า
لَوْ كَانَتْ لَيْلَةُ الثَّلَاثِينَ مِنْ شَعْبَانَ ، وَلَمْ يَرَ النَّاسُ الْهِلَالَ ، فَرَأَى إنْسَانٌ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي الْمَنَامِ فَقَالَ لَهُ : اللَّيْلَةُ أَوَّلُ رَمَضَانَ لَمْ يَصِحَّ الصَّوْمُ بِهَذَا الْمَنَامِ لَا لِصَاحِبِ الْمَنَامِ وَلَا لِغَيْرِهِ
ถ้าหากว่า ปรากฏคืน 30 ของเดือนชะอฺบาน และบรรดาผู้คน ไม่เห็นจันทร์เสี้ยว แล้ว มีคนๆหนึ่งฝันเห็นท่านนบี ศอ็ลฯ แล้วนบี ได้กล่าวแก่เขาว่า "คือคืนแรกของเดือนเราะมะฎอน" (อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า) การถือศีลอดด้วยความฝันนี้ ใช้ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ฝัน หรือคนอื่นจากเขา (ก็ใช้ไม่ได้) - ดูอัลมัจญมัวะ 6/292
2.ความฝันของบุคคลเอามาเป็นหลักฐานทางศาสนาไม่ได้
อัลหาฟีซ อิบนหะญัร กล่าวว่า
أن النائم لو رأى النبي صلى الله عليه وسلم يأمره بشيء هل يجب عليه امتثاله ولا بد ؟ أو لا بد أن يعرضه على الشرع الظاهر فالثاني هو المعتمد كما تقدم
แท้จริงหากเขาฝันเห็นนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สั่งให้เขาทำสิ่งใด จำเป็นเขาจะต้องปฏิบัติตามมันหรือไม่และจำเป็นหรือไม่ ? หรือ จำเป็นจะต้องนำมันมาเสนอบนศาสนาบัญญัติที่ปรากฏอยู่ ดังนั้น ทัศนะที่สอง คือ ทัศนะที่ได้รับการยอมรับดังที่ได้ถูกนำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้ว ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 12 หน้า 486
.....
กล่าวคือ จะต้องนำคำสั่งที่เป็นความฝันนั้นว่าตรงตามที่มีบัญญัติไว้หรือไม่
3. เหตุการณ์ที่อบีละฮับปล่อยทาสษุวัยบะฮให้เป็นอิสระนั้น ไม่ใช่เนื่องจากปลื้มปิติยินดีกับการเกิดนบี แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากนั้นหลายปี และนักวิชาการมีความเห็นต่างกันในกรณีของเวลาที่อบูละฮับ ปล่อยนางให้เป็นอิสระ
อิบนุอับดิลบัร (ร.ฮ)กล่าวว่า
وأعتقها أبو لهب بعدما هاجر النبيُّ صلى الله عليه وسلم إلى المدينة
อบูละฮับ ได้ปลดปล่อยนางให้เป็นอิสระ หลังจากที่ท่านนบี ศอ็ลฯ อพยพไปยังนครมะดีนะฮ -อัลอิสตีอาบ ฟี มะอริฟะฮอัลอัศหาบ 1/55
เพราะฉะนั้น การเอาข้ออ้างที่กาเฟรคนหนึ่ง จากครอบครัวของอบูละฮับ ฝันเห็นอบูละฮับได้รับการลดย่อนโทษในนรกมาเป็นหลักฐานทำเมาลิดนั้นย่อมไม่มีน้ำหนักแม้ต่น้อย
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม
10/3/59 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Jun 14, 2019 10:14 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ศาสนาห้ามสตรีตามไปส่งมัยยิตที่ กุโบร์
บ้านเราเวลามีการตาย ทั้งสาวแก่ แม่หม้าย สาวไม่แก่ ไปส่งมัยยิตที่กุโบร์เต็มไปหมด บางคนส่งแค่รั่วกุโบร์ บางคนเข้าไปในกุโบร์ปะปนกับผู้ชาย น่าอนาถหนัก ถ้าใครห้ามคงโกรธ และแปลก..ไม่มีโต๊ะอิหม่ามสอนเลยหรือเรื่องนี้
ไม่รู้หรือว่า ท่านนบี ศ็อลฯ ได้ห้ามสตรีไปส่งมัยยิตที่กุโบร์ เพราะเป็นเรื่องของผู้ชาย
عن أم عطية رضي الله عنها قالت: (نُهِينَا عَنِ اتِّبَاعِ الجَنَائِزِ، وَلَمْ يُعْزَمْ عَلَيْنَا
รายงานจากท่านอุมมุ อะฏียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา นางได้กล่าวว่า
พวกเราถูกห้ามมิให้ตามไปส่งคนตาย และไม่ได้ถูกห้ามอย่างเด็ดขาด บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ
การไปส่งมัยยิตของสตรี ณ กุโบร ์ นักวิชาการ มี 2 ทัศนะคือ
القول الأول: يُكْرَه للمرأةِ اتِّباعُ الجِنازة، وهو مَذهَب الشَّافعيَّة (1) ، والحَنابِلَة (2) ، وقولُ بَعضِ السَّلَف
ทัศนะที่หนึ่ง : การตามไปส่งญะนาซะฮ สำหรับสตรีนั้น เป็นมักรูฮ(น่ารังเกีจ) คือ มัซฮับชาฟิอียะฮ ,อัลหะนาบะละฮ และบางส่วนของปาชญ์ยุคสะลัฟ
القول الثاني: يَحْرُم عليهِنَّ اتِّباعُ الجِنازة، وهو مذهَبُ الحَنفيَّة (6) ، وهو قولُ ابنِ بازٍ (7) ، وابنِ عُثيمين
ทัศนะที่สอง : การติดตามไปส่งญะนาซะฮ เป็นสิ่งต้องห้ามแก่ บรรดาพวกนาง และ คือ มัซฮับหะนะฟียะฮ และคือทัศนะของ อิบนุบาซและอิบนุอุษัยมีน
https://dorar.net/
/%D8%A7%D9%84%D9%85%D8%B7%D9%84%D8%A8-%D
...........
เพราะฉะนั้น บรรดาพี่น้องที่เป็นสตรี ไม่ควรไปส่งมัยยิตที่กุโบร์เพราะมีหลักฐานห้าม แสดงว่าไม่ได้ผลบุญ ต่างกับผู้ชายจะได้ผลบุญ เพราะเป็นหน้าที่พวกเขา
ส่วนละหมาดญะนาซะฮพร้อมกับผู้ชายที่บ้านหรือที่มัสยิดนั้นสามารถกระทำได้เพราะท่านอาอีฉะฮ(ร.ฎ)เคยปฏิบัติ
อะสัน หมัดอะดั้ม
13/6/62 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|