ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 16, 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 17, 2014 5:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามมุอะลัยกุมวะเราะมะตุ้ลลอฮุวะบะร่อกาตุฮ
มีมัสอะละห์ หนึ่ง อยากจะถามผู้รู้หน่อยครับ
คือ อยากทราบว่า ภรรยาสามารถจ่ายซะกาตให้ สามีได้ไหม ?
อาทิเช่น ภรรยาขายของแล้วมีเงินเก้บ(เงินเก็บส่วนตัว)ซึ้งเงินเก็บนี้มีจำนวนครบตามศาสนากำหนดที่จะต้องจ่ายซะกาต ภรรยาสามารถจ่ายให้สามีได้ไหมครับ เนื้องจากภรรยารู้ว่า สามีมีหนี่สินต้องชดใช่
ก้อเรยจะจ่ายซะกาตให้กับสามี เพื่อที่ให้สามีนำเงินตรงนี้ไปใช่หนี้..
..................
ตอบ

อัลหัมดุลิลละฮ
หากสามีเป็นคนนยากจน ภรรยาก็สามารถให้ซะกาตแก่สามีได้
فعن زينب الثقفية امرأة عبد الله بن مسعود أن النبي صلى الله عليه وسلم أمر النساء بالصدقة ، فسألت النبي صلى الله عليه وسلم فقالت : يا رسول الله إنك أمرت بالصدقة وكان عندي حلي فأردت أن أتصدق به ، فزعم ابن مسعود أنه وولده أحق مَنْ تصدَّقْتُ به عليهم ، فقال النبي صلى الله عليه وسلم : " صدق ابن مسعود زوجك وولدك أحق من تصدقت به عليهم
รายงานจากซัยหนับ อัษษะเกาะฟียะฮ ภรรยาของอับดุลลอฮ บิน มัสอูด ว่า แท้จริงนบี ศอ็ลฯ ได้สั่งให้บรรดาผู้หญิง บริจาคทาน(หมายถึงซะกาต) แล้วนางถามท่านนบี ศอ็ลฯว่า โอ้รซูลุลลอฮ แท้จริงท่าน สั่งให้บริจากทาน และดิฉันก็มีเครื่องประดับที่จะต้องบริจาค และ อิบนุมัสอูดอ้างว่า เขาและลูกของเขา นั้นควรมีสิทธิ์ จะได้มากกว่า ผู้ที่ดิฉันจะบริจาดด้วยมัน แล้วนบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า “อิบนุมัสอูดนั้นพูดถูก ,สามีของเธอและลูกของเธอ มีสิทธิ์มากกว่าใครอื่นที่เธอจะบริจาคให้พวกเขา – มุตตะฟักอะลัยฮ
และการข้างต้นเป็นทัศนะของอิหม่ามชาฟิอีด้วย

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Wed Jan 21, 2015 10:42 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 17, 2014 5:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มื่อคำสอนของสี่มัซฮับถูกสัมปทานด้วยอะชาอิเราะฮบางกลุ่ม
คณะบุคคลบางกลุ่ม ห้ามไม่ให้วะฮบีย์นำคำสอน สี่มัซฮับ มาอ้างเป็นหลักฐาน ซึ่งไม่ปรากฏว่าพวกเขาได้จดลิขสิทธิ์สี่มัซฮับทั้งแต่เมื่อไร โดยเขาบอกว่า
พวกเราอะลุสสุนนะฮ์วัลยะมาอะฮ์ มีมัศฮับทั้ง 4 ให้ยึดถือตามการวินิจฉัยหลักฐานกิตาบุลเลาะฮ์และซุนนะฮ์
แต่พวกท่าน วะฮาบี(สายใหม่)พวกท่านก็มีอิหม่ามทั้ง 4 ของท่าน แล้วทำไมพวกท่าน วะฮาบี ต้องมาเอาอุลามาอ์ของพวกเราอ้างอิงวิชาการด้วย ไม่เข้าใจ หรือว่า เกลียดปลาไหล กิน น้ำแกง ?
“”””””””””””””””””””
ชี้แจง
ขอเรียนว่า เท่าที่รู้มา ไม่เคยปรากฏคำสอนของปราชญ์คนใดในโลกนี้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่ห้ามเอา คำสอนของพวกเขามาอ้างอิง แต่ที่พวกเขาสอนคือ ให้ตามกิตาบุลลอฮ สุนนะฮนบี ส่วนคำพูดหรือทัศนะของพวกเขานั้น หากไม่ตรงกับอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮพวกเขาห้ามนำมาอ้าง
เช่น
หนึ่ง . อิหม่ามอบูหะนีฟะฮ กล่าวว่า
لا يحل لأحد أن يأخذ بقولنا ما لم يعلم من أين أخذناه
ไม่อนุญาตแก่บุคคลใดนำคำพูดของเรา สิ่งซึ่งเขาไม่รู้ว่าเราได้เอามันมาจากใหน - หาชิยะฮอิบนุอาบิดีน เล่ม 6 หน้า 293
สอง . อิหม่ามหม่ามมาลิก กล่าวว่า
إنما أنا بشر أخطأ وأصيب فانظروا في رأيي, فكل ما وافق الكتاب والسنة فخذوا به, وكل ما لم يوافق الكتاب والسنة فاتركوه
ความจริง ฉันเป็นมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง มีผิด มีถูก ดังนั้นจงพิจารณษในความเห็นของฉัน แล้วทุกสิ่งที่สอดคล้องกับคัมภีร์(อัลกุรอ่าน)และอัสสุนนะฮ ,พวกท่านจงเอามัน และทุกสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับคัมภีร์และอัสสุนนะฮ พวกท่านจงทิ้งมันเสีย"- บันทึกโดย อิบนุอับดุลบีร ใน อัลญาเมียะ เล่ม เล่ม 2 หน้า 32
สาม . อิหม่ามชาฟิอี กล่าวว่า
كل ما قلت فكان عن النبي خلاف قولي مما يصح فحديث النبي أولى فلا تقلدوني
ทุกสิ่งที่ฉันพูด ปรากฏว่า สิ่งที่เศาะเฮียะรายงานจากนบี ขัดแย้งกับคำพูดของฉัน ดังนั้นหะดิษนบีย่อมดีกว่า อย่าเชื่อตามฉัน - บันทึกโดยอบูหาติม ในอาดาบุชชาฟิอีวะมะนสกิบุฮู หน้า 68 ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง
สี่. อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า
رأي الأوزاعي ورأي مالك ورأي سفيان, كله رأي, وهو عندي سواء, وإنما الحجة في الآثار
ความเห็นของอัลเอาซาอีย์,ความเห็นของมาลิก,ความเห็นของซุฟยาน ทั้งหมดนั้น คือ ความเห็น และในทัศนะของฉัน มันเท่าเทียมกัน (ไม่มีใครเหนือกว่าใคร) และความจริง หลักฐานนั้น อยู่ในบรรดาหะดิษ - รายงานโดย อับดุลบิร ในอัลญาเมียะ เล่ม 2 หน้า 149 ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะ
........
เพราะฉะนั้น คนกลุ่มนี้ ไปอ้างสิทธิสัมปทาน มัซฮับ โดยการอ้างปราศจากหลักฐาน นอกจาก นอกจากความนึกคิด และความอวิชาของตนมาเป็นข้ออ้าง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Oct 14, 2014 12:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คนต่อต้านซุนนะฮ ไม่ควรจะได้ชื่อว่าผู้ศรัทธา

อิหม่ามอัชชันกิฏีย์(ร.ฮ) อธิบายว่า

قَوْلُهُ تَعَالَى : فَلَا وَرَبِّكَ لَا يُؤْمِنُونَ حَتَّى يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ ثُمَّ لَا يَجِدُوا فِي أَنْفُسِهِمْ حَرَجًا مِمَّا قَضَيْتَ وَيُسَلِّمُوا تَسْلِيمًا أَقْسَمَ تَعَالَى فِي هَذِهِ الْآيَةِ الْكَرِيمَةِ بِنَفْسِهِ الْكَرِيمَةِ الْمُقَدِّسَةِ ، أَنَّهُ لَا يُؤْمِنُ أَحَدٌ حَتَّى يُحَكِّمَ رَسُولَهُ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - فِي جَمِيعِ الْأُمُورِ ، ثُمَّ يَنْقَادَ لِمَا حَكَمَ بِهِ ظَاهِرًا وَبَاطِنًا وَيُسَلِّمَهُ تَسْلِيمًا كُلِّيًّا مِنْ غَيْرِ مُمَانَعَةٍ وَلَا مُدَافَعَةٍ وَلَا مُنَازَعَةٍ ، وَبَيَّنَ فِي آيَةٍ أُخْرَى أَنَّ قَوْلَ الْمُؤْمِنِينَ مَحْصُورٌ فِي هَذَا التَّسْلِيمِ الْكُلِّيِّ ، وَالِانْقِيَادِ التَّامِّ ظَاهِرًا وَبَاطِنًا لِمَا حَكَمَ بِهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، وَهِيَ قَوْلُهُ تَعَالَى : إِنَّمَا كَانَ قَوْلَ الْمُؤْمِنِينَ إِذَا دُعُوا إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ لِيَحْكُمَ بَيْنَهُمْ أَنْ يَقُولُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا الْآيَةَ [ 24 \ 51 ]
อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า

فَلاَ وَرَبِّكَ لاَ يُؤْمِنُونَ حَتَّىَ يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ ثُمَّ لاَ يَجِدُواْ فِي أَنفُسِهِمْ حَرَجًا مِّمَّا قَضَيْتَ وَيُسَلِّمُواْ تَسْلِيمًا

มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขาแล้วพวกเขาไม่พบความ คับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขาจากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินใจ และพวกเขายอมจำนนด้วยดี
อัลลอฮ ตะอาลา ได้สาบานในอายะฮอันทรงเกียรตินี้ ด้วยตัวของพระองค์เอง อันทรงเกียรติ อันบริสุทธิ์ ว่า แท้จริง คนหนึ่งคนใด จะไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ศรัทธา จนกว่า เขาจะให้รอซูล ของพระองค์ ศอ็ลฯ ตัดสิน ในทุกๆเรื่อง หลังจากนั้น เขาจะเชื่อฟัง สิ่งที่รอซูลตัดสิน ด้วยมัน ทั้งการแสดงออกภายนอกและภายใน และเขาจะยอมจำนน ทั้งหมด โดยปราศจากการขัดขวาง ,ต่อต้านและโต้แย้ง และ ทรงอธิบายในอายะฮอื่น ว่า “คำพูดของบรรดาผู้ศรัทธานั้น ถูกจำกัดอยู่ในการยอมจำนนนี้ทั้งหมด(หมายถึงโดยสิ้นเชิงไม่มีข้อแม้) และเป็นการเชื่อฟังที่สมบูรณ์ โดยสภาพที่แสดงออกภายนอกและภายใน ต่อสิ่งที่ รซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ได้ตัดสินด้วยมัน และมันคือ คำตรัสของอัลลอฮที่ว่า

إِنَّمَا كَانَ قَوْلَ الْمُؤْمِنِينَ إِذَا دُعُوا إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ لِيَحْكُمَ بَيْنَهُمْ أَنْ يَقُولُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا

ความว่า “แท้จริงแล้วคำพูดของบรรดาผู้ศรัทธานั้น เมื่อพวกเขาถูกเรียกสู่อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์เพื่อตัดสินระหว่างพวกเขาแล้วไซร้ พวกเขาก็จะกล่าวว่า ‘เราได้ฟังและเราได้ทำตามแล้ว’- จนจบอายะฮ (อัน-นูร : 51)
- ดูตัฟสีร อัฎวาอุลบะยาน เล่ม 1 หน้า 246

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Oct 17, 2014 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1.- ชายหญิงที่ทำซินาแล้วท้องสามารถแต่งงานได้หรือไม่ ? มีทัศนะที่อนุญาติหรือไม่ ?
ตอบ
ชายและหญิงที่ผิดประเวณี หากเป็นรัฐที่ปกครองด้วยชะรีอัตอิสลาม ทั้งสองจะต้องได้รับโทษตามความผิดที่เขาทั้งสองกระทำจหากไม่เคยแต่งงานมาก่อน ก็มีโทษ ถูกโบย 100 ครั้ง แต่ถ้าผ่านการแต่งงานมาแล้ว โทษถูกประหารชีวิตสถานเดียว ส่วนกรณี การนิกะหหญิงซีนา มีทัศนะดังนี้
القول الأول : يجوز نكاح الحامل من الزنى ولا تشترط توبتها من الزنى وهو مذهب الشافعية وبه قال أبو حنيفة وابن حزم إلا أنهما جوزا العقد دون الوطء حتى تضع الحمل(2)
ทัศนะแรก : อนุญาต นิกะห หญิงมีครรภ์ อันเนื่องมาจากการฃีนา และไม่กำหนดเงื่อนไขว่านางจะต้องเตาบัตจากการฃีนา และมันคือทัศนะของ ปราชณ์มัฃฮับชาฟิอียะฮ และอบูหะนีฟะฮ และอิบนุหัซมิน ได้กล่าวด้วยทัศนะนี้ เว้นแต่ว่าเขาทั้งสอง มีทัศนะอนุญาตให้ทำการอะกัดนิกะหได้ โดยไม่อนุญาตให้ร่วมเพศ จนกว่า นางคลอดเสียก่อน
القول الثاني : لا يجوز نكاحها قبل وضع الحمل لا من الزاني نفسه ولا من غيره وهو مذهب المالكية والحنابلة وأبي يوسف من الحنفية(3) واشترط الحنابلة لجواز نكاح الحامل بعد وضع حملها التوبة من الزنى(
ทัศนะที่สอง : ไม่อนุญาตให้ทำการนิกะหนาง ก่อนคลอด ไม่ว่าจะเป็นชายชู้ และไม่ว่าจะอื่นจากชายชู้ก็ตาม มันคือทัศนะของ ปราชณ์มัชฮับมาลิกียะฮ ,อัลหะนาบะละฮ และอบูยูฃูบ จากมัฃฮับหะนะฟียะฮ และ ปราชณ์มัฃฮับ อัลหะนาบะละฮ มีเงื่อนไขว่า อนุญาตให้นิกะห หญิงตั้งครรภ์นั้น หลังจากที่นางคลอดและทำการเตาบัตจากความผิดฃีนานั้น

2.- ลูก ผญ. ที่เกิดมาสามารถแต่งงานกับพ่อตนเองได้หรือไม่ (คุ้นๆว่าเคยอ่านทัศนะของอิม่ามชาฟีอี)
...........
ตอบ
ลูกที่เกิดจากการซีนา ก็เกิดจากอสุจิของผู้เป็นพ่อ เพียงแต่เป็นลูกนอกการสมรส(นิกะหฺ)ตามหลักศาสนาอิสลาม
อิบนุอุษัยมีนกล่าวว่า
أما بنت الزاني فتدخل في عموم قوله تعالى: {{وَبَنَاتُكُمْ}} لكنها بنت قدراً وليست بنتاً شرعاً، ولذلك لا ترث ولكنها حرام؛ لأن باب النكاح أحوط من باب الميراث، فهي لا ترث؛ لأنها لا تنسب إليه، ولكنها حرام عليه.
สำหรับ บุตรสาวของชายผู้เป็นชู้ ก็เข้าอยู่ในความหมายกว้างๆ ของคำตรัสของพระองค์ผู้ทรงสูงส่งที่ว่า (และบรรดาบุตรสาวของพวกเจ้า) เพียงแต่ว่า นาง คือ บุตรสาวที่เกิด โดยกฎสภาวะ ไม่ใช่บุตรสาวตามหลักศาสนาบัญญัติ และเพราะดังกล่าวนั้น นางไม่สืบทอดมรดก แต่นาง เป็นต้องห้าม(สำหรับพ่อของนาง) เพราะแท้จริง เรื่องการนิกะหฺนั้น ย่อมต้องรอบคอบยิ่งกว่า เรื่องการสืบทอดมรดก ดังนั้น นางจึง ไม่สืบทอดมรดก เพราะนางไม่ได้สืบเชื้อสายกับเขา(กับพ่อที่เป็นชายชู้) แต่นางเป็นที่ต้องห้ามบนเขา
وقال بعض أهل العلم: إنها ليست حراماً، لكنه قول ضعيف، وكيف لا تكون حراماً على الزاني وقد خُلِقت من مائه، وإذا كان الرضاع من لبن الزوج مؤثراً في التحريم، فهذا من باب أولى." ( الشرح الممتع 12/53
และ นักวิชาการบางส่วน กล่าวว่า “แท้จริงนางไม่เป็นที่ต้องห้าม แต่ เป็นทัศนะที่อ่อน(เฎาะอีฟ) นางจะไม่ต้องห้ามแก่ชาย(ผู้เป็นพ่อ)ที่เป็นชายชู้ได้อย่างไรเล่า ทั้งๆที่นางถูกกำเนิดมาจากน้ำอสุจิของเขา และเมื่อการดื่มนมร่วม กับสามี ถูกทำให้มีผลต่อการต้องห้าม(นิกะห) ดังนั้นกรณีนี้ ย่อมสมควรยิ่งกว่า – อัรชัรหุอัลมุมตะอฺ 12/53
.........
เพราะฉะนั้น ถึงแม้บุตรสาวจากการซีนา จะไม่สามารถสืบเชื้อสายพ่อผู้ทำการซินาได้ แต่นางก็เป็นที่ต้องห้ามแต่งงานกับพ่อ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Nov 04, 2014 10:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


อาชาอิเราะฮเจ้าของบทความอ้างว่า
หลักอะกีดะฮ์ที่จริงของอะลิสสุนนะฮ์นั้น ท่านนาบี(ซ.ล.)ของเราทรงกล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์ว่า
انت الظاهر فليس فوقك شيء وانت الباطل فليس دونك شيء
“ พระองค์อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้ที่ประจักชัดแจ้ง ไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือพระองค์ และพระองค์ก็ทรงเป็นผู้ที่เร้นลับ #และไม่มีสิ่งใดอยู่ใต้พระองค์ ”
หะดีษรายงานโดยท่านอิหม่ามมุสลิม 7046
จากหะดีษตรงนี้ท่านอิหม่ามบัยฮากีย์กล่าวว่า
وإذا لم يكن فوقه شيء ولا دونك شيء لم يكن في مكان
“ เมื่อไม่มีสิ่งอยู่เหนือพระองค์และก็ไม่มีสิ่งใดอยู่ใต้พระองค์แล้ว แน่นอนพระองค์ก็ต้องไม่มีสถานที่ ”
หนังสือ อัลอัสมาอุ วัศศิฟาตุ หน้าที่ 400
“”””””””””””””””””””””””””’
ขอชี้แจงดังนี้

คำว่า الظَّاهِرُ อัซซอฮีร เป็นพระนามหนึ่งจาก ของอัลลอฮ แปลว่าผู้ทรงประจักษ์ หรือ ผู้ทรงเปิดเผย
คำว่า الْبَاطِنُอัลบาฏิน เป็นพระนามหนึ่งจากพระนาม ทั้ง ๙๙ ของอัลลอฮ แปลว่า ผู้ทรงเร้นลับ
ดังที่อัลลอฮตาอาลาตรัสว่า
هُوَ الْأَوَّلُ وَالْآخِرُ وَالظَّاهِرُ وَالْبَاطِنُ ۖ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ
พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย และทรงเปิดเผยและทรงเร้นลับ และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
อบนุญะรีร ปราชญตัฟสีรยุคสะลัฟอธิบายว่า
وَقَوْلُهُ : ( وَالظَّاهِرُ ) يَقُولُ : وَهُوَ الظَّاهِرُ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ دُونَهُ ، وَهُوَ الْعَالِي فَوْقَ كُلِّ شَيْءٍ ، فَلَا شَيْءَ أَعْلَى مِنْهُ . ( وَالْبَاطِنُ ) يَقُولُ : وَهُوَ الْبَاطِنُ جَمِيعَ الْأَشْيَاءِ ، فَلَا شَيْءَ أَقْرَبَ إِلَى شَيْءٍ مِنْهُ ، كَمَا قَالَ : ( وَنَحْنُ أَقْرَبُ إِلَيْهِ مِنْ حَبْلِ الْوَرِيدِ ) .
และคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (และทรงเปิดเผย) หมายความว่า “และพระองค์ผู้ทรงเปิดเผย บนทุกสิ่งอื่นจากพระองค์และพระองค์ทรงสูง เหนือทุกสิ่ง ไม่มีสิ่งใดๆสูงกว่าพระองค์ (และทรงเร้นลับ) หมายความว่า พระองค์ คือ ผู้ทรงเร้นลับ แก่บรรดาสิ่งต่างๆทั้งหมด ,ไม่มีสิ่งใด ใกล้ชิดสิ่งใดๆยิ่งกว่าพระองค์ ดังที่ทรงตรัสว่า (และเรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก) – ดูตัฟสีรอัฏฏอบรีย์ ๒๓/๑๖๙
อิหม่ามอิบนุกะษีร กล่าวว่า
وَقَالَ الْبُخَارِيُّ : قَالَ يَحْيَى : الظَّاهِرُ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ عِلْمًا وَالْبَاطِنُ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ عِلْمًا
และอัลบุคอรีย์ กล่าวว่า “ยะหยา กล่าวว่า “ ผู้ทรงเปิดเผย คือ บนทุกสิ่ง(ที่เปิดเผยนั้น)พระองค์ทรงรู้ และผู้ทรงเร้นลับ คือ บนทุกสิ่ง(ที่เร้นลับนั้น) พระองค์ทรงรู้
- ดูตัฟสีร อิบนุกะษีร ๘/๖

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ อธิบายว่า
وَالظَّاهِرُ} قَالَ: فَوْقَ كُلِّ شَيْءٍ {وَالْبَاطِنُ} قَالَ: أَقْرَبُ مِنْ كُلِّ شَيْءٍ؛ وَإِنَّمَا نَعْنِي بِالْقُرْبِ بِعِلْمِهِ وَقُدْرَتِهِ وَهُوَ فَوْقَ عَرْشِهِ
และ อัซซอฮีร(الظاهر ) คือ อยู่เหนือทุกสิ่ง และ อัลบาฏิน (الباطن ) คือ ใกล้ชิดทุกๆสิ่ง ความจริงเราหมายถึง ใกล้ชิดด้วยความรู้และอำนาจของพระองค์ และพระองค์ อยู่เหนืออะรัช ของพระองค์ – มัจญมัวะฟะตาวา ๕/๔๙๘

คำว่า
فليس دونك شيء
อาชาอิเราะ แปลบิดเบือนว่า ไม่มีสิ่งใดอยู่ใต้พระองค์ท่าน
เป็นการแปลเพื่อปฏิเสธว่า อัลลอฮไม่ได้อยู่เบื่องบน นะอูซุบิลละฮ
ความจริงความหมายของมันคือ
ومعنى قوله صلى الله عليه وسلم ;فليس دونك شيء; أي فليس شيء أقرب إلى شيء منه ,
ความหมายของคำพูดนบี ศอ็ลฯ ที่ว่า (ไม่มีสิ่งใดอื่นจากพระองค์ท่าน) หมายถึง ไม่มีสิ่งใด ใกล้ชิด สิ่งใดๆยิ่งกว่าพระองค์
ดังคำอธิบายอิบนุญะรีรที่ว่า
( وَالْبَاطِنُ ) يَقُولُ : وَهُوَ الْبَاطِنُ جَمِيعَ الْأَشْيَاءِ ، فَلَا شَيْءَ أَقْرَبَ إِلَى شَيْءٍ مِنْهُ
และ(الباطن) หมายความว่า พระองค์ คือ ผู้ทรงเร้นลับ แก่บรรดาสิ่งต่างๆทั้งหมด ,ไม่มีสิ่งใด ใกล้ชิดสิ่งใดๆยิ่งกว่าพระองค์
..................
อาชาอิเราะฮบางกลุ่มพยายามสุดๆที่จะนำเอาหลักฐานมาชงเพื่อให้เข้ากับความเชื่อตัวเองในการปฏิเสธการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Nov 23, 2014 9:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิบนุตัยมียะฮ ปกป้องแนวทางสะลัฟ ตามคำรายงานของอิหม่ามอัลมักริซีย์


ในขณะที่มีนักวิชาการส่วนหนึ่งที่เป็นปราชญ์อาชาอิเราะฮยุคหลัง พวกซูฟีย์ และ ชีอะฮรอฟีเฎาะฮ โจมตี กล่าวหาใส่ร้าย ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ แต่ก็มีบรรดานักวิชาการที่มีชื่อเสียงมากมายหลายคน ที่ชมเชยท่านอิบนุตัยมียะฮ ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ อิหม่าม ตะกียุดดีน อัลมักรีซีย์ (ฮ.ศ764- 845)

อิหม่ามตะกียุดดีน อัลมักรีซีย์ (ฮ.ศ764- 845) กล่าวว่า

فكان هذا هو السبب في اشتهار مذهب الأشعريِّ وانتشاره في أمصار الإسلام، بحيث نُسِيَ غيره من المذاهب، وجُهِل؛ حتى لم يبق اليوم مذهب يخالفه، إلَّا أن يكون مذهب الحنابلة أتباع الإمام أبي عبد الله أحمد بن محمد بن حنبل رضي الله عنه، فإنهم كانوا على ما كان عليه السلف، لا يرون تأويل ما ورد من الصفات، إلى أن كان بعد السبعمائة من سني الهجرة، اشتهر بدمشق وأعمالها تقيُّ الدين أبو العباس أحمد بن عبد الحكم بن عبد السلام بن تيمية الحرَّانيُّ، فتصدَّى للانتصار لمذهب السلف وبالغ في الردِّ على مذهب الأشاعرة، وصدع بالنكير عليهم وعلى الرافضة، وعلى الصوفيةاهـ
ดังนั้น เขาผู้นี้(หมายถึง ศอลาอุดดีย อัยยูบีย) คือ สาเหตุ ในการที่ทำให้มัซฮับอัลอัชอะรีย์ มีชื่อเสียง และการแพร่กระจากของมัน ไปในเมืองต่างๆของอิสลาม โดยที่ มัซฮับต่างๆอื่นจากมัซฮับอัชอะรีย์ ได้ถูกลืมเลือน และไม่เป็นที่รู้ จนกระทั่งมัซฮับที่แตกต่างจากมัซฮับอัชอะรีย์ ไม่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ยกเว้นมัซฮับ อัลหะนาบะฮละฮ ที่ปฏิบัติตาม อิหม่ามอบีอับดุลลอฮ อะหมัด บิน มุหัมหมัด บิน หัมบัล (ร.ฎ) เพราะแท้จริงพวกเขา(มัซฮับอัลหะนาบะฮละฮ) อยู่บน สิ่ง(แนวทาง)ที่ชาวสลัฟได้ยืนยัดอยู่บนมัน พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการตีความ สิ่งที่ มีมาจาก บรรดาสิฟาต (อัลลอฮ) จนกระทั้ง ปี ฮ.ศ 700 ตะกียุดดีน อบูลอับบาส อะหมัด บิน อับดุลหะกัม บิน อับดุสสลาม บิน ตัยมียะฮ อัลหัรรอนีย์ และ บรรดาผลงานของพวกเขา (ของพวกมัซฮับอัลหะนาบะฮละฮ) มีชื่อเสียงเลื่องลือใน เมื่อง ดะมัสกัซ แล้วเขาได้ทำการตอบโต้(มัซฮับตีความ) เพือสนับสนุน ส่งเสริมมัซฮับสะลัฟ และ ต่อต้านมัซฮับ อัลอะชาอิเราะฮ อย่างรุนแรง และ เขาได้แสดงการคัดค้าน พวกเขา(อะชาอิเราะฮ) ,รอฟิเฎาะ และพวกซูฟีย์ - อัลมะวาอิซ วัลเอียะติบัร เล่ม 4 หน้า 192
.................

จากการอธิบายของอิหม่ามอัลมักริซีย์ข้างต้น สรุปดังนี้
1. สุลต่าน เศาะลาฮุดดีน อัยยูบีย์ เป็นบุคคลที่ทำให้ มัซฮับอาชาอิเราะฮแพร่หลายไปตามเมืองอิสลามต่างๆ จนมัซฮับอื่นๆถูกลืมเลือน
2. มัซฮับที่ยังคงเข้มแข็งยืนหยัดอยู่ได้ คือ มัซฮับอัลหะนาบะฮ ของอิหม่ามอะหมัด ที่ดำเนินอยู่บนแนวทางสะลัฟ ไม่ตีความบรรดาคุณลักษณะสิฟาตอัลลอฮ
3. พอถึงปี ฮ.ศ 700 ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ ได้ทำการเผยแพร่มัซฮับอัลหะนาบะฮ จนเป็นที่เลื่องเลือแพร่หลายในดามัสกัส
4. อิหม่ามอิบนุตัยมียะฮ ทำการตอบโต้ เพื่อ ปกป้องสนับสนุนแนวทางสลัฟ และต่อต้านมัซฮับอาชาอิเราะฮอย่างรุนแรง
5. อิหม่ามอิบนุตัยมียะฮ แสดงการต่อต้าน อะชาอิเราะฮ ,ชีอะฮรอฟิเฎาะฮและพวกซูฟีย อย่างเปิดเผย
6. คำพูดอิหม่ามอัลมักริซีย์ ข้างต้นเป็นการยืนยันว่าอิบนุตัยมียะฮ ปกป้องแนวทางสะลัฟ ตามที่มัซฮับอัลหะนาบะละฮดำเนินอยู่บนมัน
สำหรับ มัซฮับอะชาอิเราะฮที่ตีความนั้น เป็น อาชาอิเราะฮยุคหลัง ที่ยึดแนวคิด การนำตรรกวิทยาและปรัชญา มาอธิบายสิฟาต ไม่ใช่ มัซฮับเดิมๆของอบูหะซันอัลอัชอะรีย์
เพราะ มัซฮับของอิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ นั้นยึดอะกีดะฮตามมัซฮับอิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล ดังที่ท่านได้ยืนยันว่า

قولنا الذي نقول به وديانتنا التي ندين بها التمسك بكتاب الله ربنا عز و جل وبسنة نبينا محمد صلى الله عليه وسلم وما روى عن السادة الصحابة والتابعين وأئمة الحديث ونحن بذلك معتصمون وبما كان يقول به أبو عبد الله أحمد بن محمد بن حنبل - نضر الله وجهه ورفع درجته وأجزل مثوبته


และทัศนะของเรา ที่เรา เรากล่าวด้วยมัน บรรดาความเชื่อมันของเรา ที่เรานักถือศาสนาด้วยมัน คือ การยึดถือ ต่อ คัมภีร์ของอัลลอฮ พระเจ้าของเราผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง และด้วยสุนนะฮของนบีของเรา มุหัมหมัด ศอ็ลฯ และสิ่งที่รายงานจาก บรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ ,ตาบิอีน และ บรรดาอิหม่ามนักหะดิษ และด้วยดังกล่าวนั้น เราคือผู้ที่ยึดถือ และด้วยสิ่งที่ อบูอับดุลลอฮ อะหมัด บิน มุหัมหมัด บิน หัมบัล ได้กล่าวเอาไว้ด้วยมัน ,ขออัลลอฮได้โปรดประทานให้ใบหน้าของเขามีรัศมี , โปรดยกฐานะและประทานผลบุญอันมากมายแก่เขาด้วยเถิด – อัลอิบานะฮ หน้า 8-9
.............
จากคำพูดของ อิหม่ามอัลอัชอะรีย์ ข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า อิหม่ามอบูหะซันอัลอัชอะรีย์ มีทัศนะเรื่องอะกีดะฮ ตามอัลกุรอ่าน ,อัสสุนนะฮ ,เหล่าเศาะหาบะฮ ,ตาบิอีน ,อิหม่ามอะลุลหะดิษ และสิ่งที่อิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล ได้ กล่าวเอาไว้
และจากรายละเอียดข้างต้น คือ สาเหตุที่ทำให้ กลุ่มอาชาอิเราะฮยุคหลัง ,กลุ่มชีอะฮและซูฟีย์ เป็นศัครู กับชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ และ พยายามทำลายอิบนุตัยมียะฮอย่างแข็งขัน จนถึงปัจจุบัน เพราะท่านได้ปกป้องยืนหยัดอยู่บนแนวทางสะลัฟ ที่ขัดกับความเชื่อ ของกลุ่มคนสาม 3 จำพวกดังกล่าว

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Dec 16, 2014 9:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หะดิษการลูบหน้าหลังจากดุอา

عن عمر بن
الخطاب قال : ( كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا مدَّ يديه في الدعاء لا
يردهما حتى يمسح بهما وجهه
ราบงานจาก อุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ
กล่าวว่า ปรากฏว่า “เมื่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ได้ยื่นสองมือของท่านทั้งสองในการขอดุอา ท่านจะไม่เอามือทั้งสองของท่านกลับลงมา
จนกว่าท่านได้เอามือทั้งสองลูบใบหน้าของท่านเสียก่อน
หะดิษเป็นหะดิษเฎาะอีฟ
ดังคำวิจารณ์และแหล่งอ้างอิงข้างล่าง
أما حديث عمر
بن الخطاب - رضي الله عنه - فأخرجه الترمذي ( 3386 ) ، وعبد بن حميد في ( المنتخب
) ( 39 ) ، وأبو محمد الجوهري في ( حديث أبي الفضل الزهري ) ( جـ 5/ ق 97 / 1 ) ،
والطبراني في ( الأوسط ) ( جـ 2/ ق 142/ 1 ) ، والحاكم ( 1/ 536 ) من طريق حماد بن
عيسى ثنا حنظلة بن أبي سفيان ، عن سالم ، عن أبيه ، عن عمر بن الخطاب قال : ( كان
رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا مدَّ يديه في الدعاء لا يردهما حتى يمسح بهما
وجهه ) .
قال الترمذي :
( هذا حديث غريب لا نعرفه إلا من حديث حماد بن عيسى ، وهو قليل الحديث ، وقد حدَّث
عنه الناس ) .
وقال الطبراني
: ( لا يُروى هذا الحديث عن عمر إلا بهذا الإسناد ، تفرد به حماد بن عيسى
) .
قلتُ : وهو
ضعيفٌ ، ضعفه أحمد وأبو حاتم والدارقطني وغيرهما ، وقال ابن حبان والحاكم : ( يروي
أحاديث موضوعة عن ابن جريج وغيره ) ، ولذلك قال الذهبي في ( سير النبلاء ) ( 16 /
67 ) : ( أخرجه الحاكم في ( مستدركه ) ، فلم يُصب ، وحماد ضعيف ) ، وقال العراقي
في ( المغني ) ( 1/ 305 ) : ( سكت عليه الحاكم وهو ضعيفٌ )
.
أما حديث
السائب بن خلاد فأخرجه الطبراني في ( الكبير ) ( جـ 7 رقم 6625 ) من طريق عمرو بن
خالد الحراني ثنا ابن لهيعة ، قال : سمعتُ حفص بن هاشم بن عتبة بن أبي وقاص يذكر
أن خلاد بن السائب حدثه عن أبيه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان إذا دعا رفع
راحتيه إلى وجهه .
قال الهيثمي
في ( المجمع ) ( 10 / 169 ) : ( فيه حفص بن هاشم بن عتبة وهو مجهول ) ، واضطرب ابن
لهيعة في سنده ومتنه ، فرواه يحيى بن إسحاق عنه عن حبان بن واسع عن خلاد بن السائب
الأنصاري أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان إذا دعا جعل باطن كفيه إلى وجهه ،
أخرجه أحمد ( 4/ 56 ) ، فلم يذكر ( السائب بن خلاد ) في إسناده ، ورواه قتيبة بن
سعيد قال : ثنا ابن لهيعة ، عن حفص بن هاشم بن عتبة بن أبي وقاص ، عن السائب بن
يزيد عن أبيه أن النبي صلى الله عليه وسلم كان إذا دعا فرفع يديه مسح وجهه بيديه
.
أخرجه أبو
داود ( 1492 ) ، والفريابي في ( كتاب الذكر ) - كما في ( النكت الظراف ) ( 9 / 106
، 107 ) للحافظ - والطبراني في ( الكبير ) ( جـ 22 رقم 631 ) من طريق قتيبة ، فصار
الحديث من ( مسند يزيد بن سعيد الكندي ) ، والحديث مضطربٌ وضعيف من كل وجوهه ،
وقال الحافظ في ( أمالي الأذكار ) : ( فيه ابن لهيعة ، وشيخه مجهولٌ ) ، فالصواب
أنه لا يصح حديث إلى النبي صلى الله عليه وسلم في هذا الباب ، وتسامح الحافظ ابن
حجر ، فقال في ( بلوغ المرام ) ( ص284 ) : ( مجموع هذه الأحاديث يقضي بأنه حديث
حسنٌ ) ، أما مذاهب العلماء في ذلك فقال ابن نصر في ( قيام الليل ) : ( ورأيت
إسحاق يستحسن العمل بهذه الأحاديث ، وأما أحمد بن حنبل فحدثني أبو داود قال : سمعت
أحمد وسُئل عن الرجل يمسح وجهه بيديه إذا فرغ في الوتر ؟ فقال : لم أسمع فيه شيئًا
، ورأيت أحمد لا يفعله ، وسُئل مالك عن الرجل يمسح بكفيه وجهه عند الدعاء ؟ فأنكر
ذلك وقال : ما علمتُ ، وسُئل عبد الله - يعني ابن المبارك - عن الرجل يبسط يديه
فيدعو ، ثم يمسح بهما وجهه ؟ فقال : كره ذلك سفيان - يعني : الثوري ) . ا هـ
.
وكذلك أنكره
البيهقي في ( رسالته إلى أبي محمد الجويني ) ( 2/ 286 ) ( مجموعة الرسائل المنيرية
) ، ولم يثبت حديثًا واحدًا فيها
.....
ในกรณีลูบหน้า ไม่อยู่ในประเด็นเรื่องบิดอะฮ แต่อยู่ในประเด็นการเห็นต่างในเรื่องการให้น้ำหนักหะดิษ เหตุนี้นักวิชาการที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติในสิ่งที่ชัดเจน
เขาจะไม่ลูบหน้า 9 นาที · ถูกใจ

ในอัลอิลัลฯ ของ อิบนุอบีหาติม รายงานว่า

وَسئل أبو
زرعة عَنْ حديث رَوَاهُ أَبُو مُوسَى مُحَمَّدُ بْنُ الْمُثَنَّى ، عَنْ حَمَّادِ
بْنِ عِيسَى الْجُهَنِيِّ ، عَنْ حَنْظَلَةَ بْنِ أَبِي سُفْيَانَ ، قَالَ :
سَمِعْتُ سَالِمَ بْنَ عَبْدِ اللَّهِ ، يُحَدِّثُ عَنْ أَبِيهِ عَبْدِ اللَّهِ
بْنِ عُمَرَ ، عَنْ أَبِيهِ " أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ
وَسَلَّمَ كَانَ إِذَا مَدَّ يَدَيْهِ فِي الدُّعَاءِ لَمْ يَرُدَّهُمَا حَتَّى يَمْسَحَ
بِهِمَا وَجْهَهُ . قَالَ أَبُو زُرْعَةَ : هُوَ حَدِيثٌ مُنْكَرٌ ، أَخَافُ أَنْ
لا يَكُونَ لَهُ أَصْلٌ .
ผมขอแปลเฉพาะตัวบท อีกครั้ง
แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ยื่นสองมือของท่านทั้งสองในการขอดุอา
ท่านจะไม่เอามือทั้งสองของท่านกลับลงมา
จนกว่าท่านได้เอามือทั้งสองลูบใบหน้าของท่านเสียก่อน"
ในตอนท้าย อบูซุรอะฮ วิจารณ์ว่า
هُوَ حَدِيثٌ
مُنْكَرٌ ، أَخَافُ أَنْ لا يَكُونَ لَهُ أَصْلٌ
มันคือหะดิษมุงกัร ข้าพเจ้าเกรงว่า มันไม่มีที่มา
– ดู อัลอิลัล ของอิบนุอบีหาติม หะดิษหมายเลข ๒๐๕๘
เรื่อง การลูบหน้าด้วยมือทั้งสอง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Dec 16, 2014 10:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แด่ผู้ปฏิเสธการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ จะกี่หลักฐานหรือท่านจึงจะยอมรับ

ยังคงมีกลุ่มคนพยายามถามหาหลักฐานการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ พร้อมกับยืนกระต่ายขาเดียวว่า ทรงไม่มีสถานที่ โดยไม่ยอมรับฟังอะไรเลย หลับหู หลับตา ใส่ร้าย โจมตี ผู้ที่เชื่อว่า พระเจ้าอยู่เบื้องสูงว่ามีอะกีดะฮยิว ตลอดเวลา
เช็คมุหัมหมัด บิน เคาะลีล บิน ฮะรอช

وَأَمَّا قَوْلُهُ سُبْحَانَهُ : إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ ؛ فَهُوَ صَرِيحٌ أَيْضًا فِي صُعُودِ أَقْوَالِ الْعِبَادِ وَأَعْمَالِهِمْ إِلَى اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ ، يَصْعَدُ بِهَا الْكِرَامُ الْكَاتِبُونَ كُلَّ يَوْمٍ عَقِبَ صَلَاةِ الْعَصْرِ ، وَعَقِبَ صَلَاةِ الْفَجْرِ ؛ كَمَا جَاءَ فِي الْحَدِيثِ : فَيَعْرُجُ الَّذِينَ بَاتُوا فِيكُمْ ، فَيَسْأَلُهُمْ رَبُّهُمْ وَهُوَ أَعْلَمُ : كَيْفَ تَرَكْتُمْ عِبَادِي ؟ فَيَقُولُونَ : يَا رَبَّنَا ! أَتَيْنَاهُمْ وَهُمْ يُصَلُّونَ ، وَتَرَكْنَاهُمْ وَهُمْ يُصَلُّونَ .

สำหรับ คำตรัสของอัลลอฮ (ซ.บ) ที่ว่า “คำพูดที่ดี ขึ้นไปยังพระองค์” มันคือ หลักฐานที่ชัดเจน อีกเช่นกัน ในการที่บรรดาคำพูดของบ่าวและการงานของพวกเขา ขึ้นไปยังอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง ,มลาอิกะฮอัลกิรอมุลกาติบูน นำมัน(บรรดาคำพูดที่ดีและการงานของบ่าว) ขึ้นไป ทุกวัน หลังละหมาดอัศริและหลังละหมาดฟัจญัร ดังที่ปรากฏมาในหะดิษ ว่า “และบรรดา(มลาอิกะฮ)ที่พักตอนกลางคืนในหมู่พวกท่าน แล้วพระเจ้าของพวกเขา ถามพวกเขา ทั้งๆที่ทรงรู้ยิ่ง ว่า “พวกเจ้าทิ้งบ่าวของข้ามา ในสภาพที่เป็นอย่างไร? พวกเขากล่าวตอบว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา พวกเราไปยังพวกเขา โดยที่พวกเขากำลังละหมาด และพวกเราทิ้งพวกเขามาในสภาพ ที่พวกเขากำลังละหมาด – ดู ชัรหอะกิดะฮ อัลวาสิฏียะ หน้า ๑๗๗
............................
ข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า อัลลอฮทรงอยู่เบื้องสูง เพราะ
๑. บรรดาคำพูดและการงานที่ดี ถูกนำขึ้นไปยังอัลลอฮ
๒. บรรดามลาอิกะฮที่มีหน้าที่รายงานการกระทำของมนุษย์ในตอนกลางวันและกลางคืน ขึ้นไปรายงานแก่อัลลอฮ และอัลลอฮทรงถามเกี่ยวกับบ่าวของพระองค์ โดยที่ทรงรู้ยิ่ง ว่า พวกเขาเป็นอย่างไร
มันเป็นการลำบากยิ่งนักที่จะส่องแสงสว่างให้คนที่ไม่ยอมลืมตาดูแสงสว่าง ทั้งนี้ เพราะความจริง จะมีผลต่อผู้ที่แสวงหาความจริงเท่านั้น
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Dec 16, 2014 2:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หะดิษเกี่ยวกับการลูบหน้าหลังการขอดุอา

عن محمد بن كعب القرظي عن ابن عباس
أن الرسول صلى الله عليه وسلم قال سلوا الله ببطون أكفكم ولا تسألوه بظهورها فإذا
فرغتم فامسحوا بها وجوهكم

รายงานจากมุหัมหมัด บิน กะอับ อัลกอรซีย์
จากอิบนิอับบาส ว่า แท้จริง ท่านรซูลุ้ลลอฮ
ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจงขอต่ออัลลอฮ
ด้วยฝ่ามือของพวกท่าน และพวกท่านอย่าขอต่อพระองค์ ด้วยหลังมือของพวกท่าน
แล้วเมื่อพวกท่าน เสร็จ(จากการขอดุอา)แล้ว ก็จงใช้มันลูบหน้า ของพวกท่าน. -
รายงานโดยอบีดาวูด

มาดูคำวิจารณ์หะดิษนี้

อบูดาวูดกล่าวว่า

روي
هذا الحديث من غير وجه عن محمد بن كعب كلها واهية وهذا الطريق أمثلها وهو ضعيف
أيضاً .

หะดิษนี้ได้ถูกรายงาน จากกระแสรายงานอื่น จากมุหัมหมัด บิน กะอับ
ซึ่งทั้งหมดนั้น หลักฐานอ่อน และกระแสรายงานนี้ ก็ในทำนองเดียวกัน และมันคือ
หะดิษเฎาะอีฟ อีกเช่นกัน - เอานุ้ลมะอฺบูด เล่ม 4 หน้า 251


ทีนี้มาดูต่อ

عن عمر بن الخطاب - رضي الله عنه -، قال: كان رسول الله -
صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - إذا رفع يديْهِ في الدعاءِ لم يحطَّهما حتى
يمسحَ بهما وجْهَه
รายงานจากอุมัร บุตร อัลคอ็ฏฏอบ (ร.ฎ)กล่าวว่า
ปรากฏว่าท่านรซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
เมื่อท่านได้ยกมือของท่านในการขอดุอา ท่านจะไม่วางมันทั้งสองลง จนกว่า
จะลูบหน้าด้วยมันทั้งสอง

วิจารณ์

حديث منكر وقال احمد بن حنبل وابو
حاتم والدراقطني حماد ضعيف

เป็นหะดิษมุงกัร(หะดิษที่ถูกปฎิเสธ
ในการนำมาอ้างอิง) และอิหม่ามอะหมัด ,อบูหาติม และ อัดดารุ้ลกุฎนีย์ กล่าวว่า
หะมาด(หะมาด บิน อีซา ผู้รายงานคนหนึ่ง) หลักฐานออ่น (เฎาะอีฟ) -
อัลอิละลิ้ลมุตะนาฮิยะฮ เล่ม 2 หน้า 306-307


เพิ่มเติม

كان رسول الله صلي الله عليه وسلم إذا رفع يديه في الدعاء لم
يردهما حتى يمسح بهما وجهه" (الترمذي 5-464

ปรากฏว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ
ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมือท่านได้ยกมือทั้งสองของท่าน ในการขอดุอา
ท่านจะไม่ดึงมันทั้งสองกลับ จนกว่าท่านจะลูบหน้าของท่านด้วยมือทั้งสอง - รายงานโดย
อัตติรมิซีย์

วิจารณ์

قال يحيى بن معين : هو حديث منكر ، وقال أحمد
بن حنبل وأبو حاتم والدراقطني : حماد ضعيف

ยะหยา บิน มุอัยยิน กล่าวว่า
"เป็นหะดิษมุงกัร (ถูกปฏิเสธ)และอะหมัด บิน หัมบัล อบูหาติม และ อัดดารุ้ลกุฏนีย์
กล่าวว่า ?หะมาด( หมายถึง หะมาด บุตรอีซา) นั้น หลักฐานอ่อน(เฎาะอีฟgreat ดู
อัลอิละลิลมุตะนาฮียะฮ เล่ม 2 หน้า 357 หะดิษหมายเลข
1406

อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า

إسناده ضعيف

สายสืบของมันเฎาะอีฟ

? ดู คุลาเศาะตุลอะหกาม หะดิษหมายเลข 1522
เล่ม 1 หน้า 461-462

หะดิษข้างต้นเฎาะอิฟ ดู
والحديث ضعفه الألباني في
إرواء الغليل رقم ( 433 ) ، وفي ضعيف الترمذي رقم ( 3386 ) 5 / 463 ، وفي ضعيف
الجامع رقم ( 4412

.............
عن محمد بن كعب القرظي عن ابن عباس رضي
الله عنهما أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال سلوا الله ببطون كفوفكم ولا تسألوه
بظهورها فإذا فرغتم فامسحوا بها وجوهكم قال أبو داود روى هذا الحديث من غير وجه عن
محمد بن كعب كلها واهية هذا متنها وهو ضعيف أيضا
รายงานจากมุหัมหมัด บิน กะอับ
อัลกอรซีย์ จากอิบนิอับบาส (ร.ฎ) ว่า แท้จริง ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอลฯ กล่าวว่า
"พวกท่านจงขอต่ออัลลอฮ ด้วยฝ่ามือของพวกท่าน และอย่าขอพระองค์ด้วย
หลังมือแล้วเมื่อเสร็จจากดุอา ก็จงลูบหน้าของพวกท่าน ด้วยมัน ,อบูดาวูด กล่าวว่า
ได้มีการรายงานหะดิษนี้ จากสายรายงานอื่น จากมุหัมหมัด บิน กะอฺอับ
ซึ่งสานรายงานทั้งหมดนั้นอ่อนหลักฐาน นี้คือ ตัวบทของมัน มันก็เฎาะอีฟอีกเช่นกัน ดู
อัลมัจญมัวะ ของอิหม่ามนะวาวีย์ เล่ม 3 หน้า 462-463

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Dec 23, 2014 10:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมาลิด


สัยยิดอาลี
ฟิกรีย์ กล่าวว่า
لم يكن في سنة العرب
أن يحتفلوا بتاريخ ميلاد لأحد منهم، ولم تجر بذلك سنة المسلمين فيما سلف، والثابت
في كتب التاريخ وغيرها أن عادة الاحتفال بمولد النبي صلى الله عليه وسلم من
العادات المحدثة)
ไม่ปรากฏกฎในแบบอย่างของชาวอาหรับ ว่า พวกเขาเฉลิมฉลอง วันเกิดคนหนึ่งคนใด
จากพวกเขา และ สุนนะฮของบรรดามุสลิม
ในยุคที่ผ่านมา ไม่ได้ดำเนินด้วยดังกล่าวนั้น และที่ยืนยัน ในตำราประวัติศาสตร์
และอื่นจากมัน คือ แท้จริง ประเพณีเฉลิมฉลองวันเกิดนบี ศอ็ลฯ นั้น
เป็นส่วนหนึ่งจากประเพณีที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ – อัลมุหาฎิรอต อัลฟิกรียะฮ หน้า
128

เช็คมุหัมหมัด อับดุสสลาม อัชชะกียรีย์ (ร.ฮ)
กล่าวว่า
فاتخاذ مولده موسماً
والاحتفال به بدعة منكرة، وضلالة لم يرد بها شرع ولا عقل، ولو كان في هذا خير كيف
يغفل عنه أبو بكر وعمر وعثمان وعلي وسائر الصحابة والتابعون وتابعوهم والأئمة
وأتباعهم
การยึดเอาวันเกิด
เป็นเทศกาลและเฉลิมฉลอง ด้วยมันนั้น เป็นบิดอะฮที่ถูกห้าม และเป็นการลุ่มหลง ไม่ปรากศาสนบัญญัติ ด้วยมัน และไม่มีเหตุผล และถ้าหากในกิจกรรมนี้ มีความดี ทำไมอบูบักร์ ,อุมัร,อุษมาน ,อาลี ,บรรดาเศาะหาบะฮอื่นๆ ,ตาบิอีน ,บรรดาผู้เจริญรอยตามพวกเขา ,บรรดาอิหม่ามและบรรดาผู้ที่ตามพวกเขา จึงละเลยมัน – ดูอัสสุนัน
วัลมุบตะดะอาต หน้า 138
........
ถ้าเมาลิดดีจริง จึงเป็นคำถามขึ้นมาว่า “ทำไม่เคาะละฟะฮทั้งสี่
,บรรดาเศาะหาบะฮและอิหม่ามสีจึงได้ละเลย

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jan 15, 2015 11:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักฐานที่ถูกนำมาอ้างอุตริบิดอะฮ มาทำคำสอนศาสนา

อายะฮเต็มๆ
ثُمَّ قَفَّيْنَا عَلَى آثَارِهِم بِرُسُلِنَا وَقَفَّيْنَا بِعِيسَى ابْنِ مَرْيَمَ وَآتَيْنَاهُ الْإِنجِيلَ وَجَعَلْنَا فِي قُلُوبِ الَّذِينَ اتَّبَعُوهُ رَأْفَةً وَرَحْمَةً وَرَهْبَانِيَّةً ابْتَدَعُوهَا مَا كَتَبْنَاهَا عَلَيْهِمْ إِلَّا ابْتِغَاء رِضْوَانِ اللَّهِ فَمَا رَعَوْهَا حَقَّ رِعَايَتِهَا فَآتَيْنَا الَّذِينَ آمَنُوا مِنْهُمْ أَجْرَهُمْ وَكَثِيرٌ مِّنْهُمْ فَاسِقُونَ แล้วเราก็ได้ส่งบรรดาร่อซูลของเราติดตามร่องรอยของพวกเขา และเราได้ส่งอีซาอิบนฺ มัรยัม ตามมา และเราได้ประทานอินญีลให้แก่เขา และเราได้บันดาลความสงสารและความเมตตาให้เกิดขึ้นในจิตใจของบรรดาผู้ที่เชื่อฟังปฏิบัติตามเขา ส่วนการถือสันโดษนั้น เรามิได้บัญญัติมันขึ้นมาแก่พวกเขา (เว้นแต่) พวกเขาประดิษฐ์มันขึ้นมา เพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ แต่พวกเขามิได้เอาใจใส่เท่าที่ควรจะกระทำมัน กระนั้นก็ดีเราก็ได้ประทานรางวัลของพวกเขาแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเขา แต่ส่วนมากของพวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน


อิบนุกะษีร อธิบายว่า
وَقَوْلُهُ : ( فَمَا رَعَوْهَا حَقَّ رِعَايَتِهَا ) أَيْ : فَمَا قَامُوا بِمَا الْتَزَمُوهُ حَقَّ الْقِيَامِ . وَهَذَا ذَمٌّ لَهُمْ مِنْ وَجْهَيْنِ ، أَحَدُهُمَا : فِي الِابْتِدَاعِ فِي دِينِ اللَّهِ مَا لَمْ يَأْمُرْ بِهِ اللَّهُ . وَالثَّانِي : فِي عَدَمِ قِيَامِهِمْ بِمَا الْتَزَمُوهُ مِمَّا زَعَمُوا أَنَّهُ قُرْبَةٌ يُقَرِّبُهُمْ إِلَى اللَّهِ ، عَزَّ وَجَلَّ
และคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (แต่พวกเขามิได้เอาใจใส่เท่าที่ควรจะกระทำมัน) หมายถึง พวกเขาไม่ปฏิบัติ ด้วยสิ่งที่พวกเขาได้กำหนดให้มันเป็นสิ่งจำเป็นขึ้นมา ด้วยการปฏิบัติอย่างจริงจัง และนี้คือ การตำหนิพวกเขา อันเนื่องมาจาก เหตุผล 2 ประการคือ
1. ในกรณีอุตริบิดอะฮขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮมิได้สั่งด้วยมัน
2. ในกรณีที่พวกเขาไม่ปฏิบัติ ในสิ่งที่พวกเขาได้กำหนดมันขึ้นมาให้เป็นสิ่งจำเป็น จากสิ่งที่พวกเขาอ้างว่า แท้จริงมันคือ การแสดงการใกล้ชิด (อิบาดะฮ) ที่ทำให้พวกเขาใกล้ชิดต่ออัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง - ดูอิบนุกะษีร เล่ม 8 หน้า 29
...................
ประเด็นข้างต้นไม่ใช่หลักฐานอนุญาตให้อุตริบิดอะฮในชาริอัตนบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ เพราะท่านนบี ศอ็ลฯ ได้เตือนเรื่องการอุตริบิดอะฮในศาสนา
ว่า
وإياكم ومحدثات الأمور فإن كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة
((พวกท่านพึงระวังบรรดากิจการ(ศาสนา)ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ แท้จริงทุกสิ่งที่ประดิษฐขึ้นใหม่นั้นเป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮเป็นการหลงผิด))

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 19, 2015 9:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักนิติศาสตร์อิสลามระหว่างอิบาดะฮ กับ อาดะฮ

ปัญหาอีกประการหนึ่ง ที่เป็นมูลเหตุ การอุตริพิธีกรรมทางศาสนา เพิ่มเติมขึ้นมา โดยอ้างว่าเป็นคำสอนศาสนา กำหนดหุกุมสิ่งนั้นขึ้นมาว่า “เป็นสุนัต ส่งเสริมให้ทำ เป็นสิ่งที่ดี ได้รับผลบุญ ตอบแทน โดยมีการการัตตีว่าจะได้บุญ ทั้งๆที่ไม่มีคำส่งจากอัลลอฮ ผู้ทรงประทานผลบุญ และรอซูล ของพระองค์ ผู้มีหน้าที่การันตีว่า สิ่งใดได้บุญ สิ่งใด เป็นบาป
ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ) ได้กล่าวถึง หลักการของอิบาดะฮและอาดะฮว่า

أَنَّ تَصَرُّفَاتِ الْعِبَادِ مِنَ الْأَقْوَالِ وَالْأَفْعَالِ نَوْعَانِ : عِبَادَاتٌ يَصْلُحُ بِهَا دِينُهُمْ ، وَعَادَاتٌ يَحْتَاجُونَ إِلَيْهَا فِي دُنْيَاهُمْ ، فَبِاسْتِقْرَاءِ أُصُولِ الشَّرِيعَةِ نَعْلَمُ أَنَّ الْعِبَادَاتِ الَّتِي أَوْجَبَهَا اللَّهُ أَوْ أَحَبَّهَا لَا يَثْبُتُ الْأَمْرُ بِهَا إِلَّا بِالشَّرْعِ

แท้จริง การดำเนินงานของบรรดาบ่าว จากบรรดาคำพูดและการกระทำนั้น มี 2 ประเภทคือ
1. บรรดาอิบาดาต ทีศาสนาของพวกเขาจะดีได้ด้วยมัน
2. บรรดาอาดาต ที่พวกเขามีความจำเป็นต่อมัน ในทางโลกของพวกเขา

ดังนั้น ด้วยการสืบค้นบรรดารากฐานของชะรีอัต เราจะรู้ว่า แท้จริง บรรดาอิบาดาต ที่ อัลลอฮได้กำหนดให้เป็นวาญิบ หรือ ทรงโปรดปราณมันนั้น คำสั่งจะไม่ได้รับการยืนยันด้วยมัน นอกจากด้วยบทบัญญัติ

وَأَمَّا الْعَادَاتُ فَهِيَ مَا اعْتَادَهُ النَّاسُ فِي دُنْيَاهُمْ مِمَّا يَحْتَاجُونَ إِلَيْهِ ، وَالْأَصْلُ فِيهِ عَدَمُ الْحَظْرِ ، فَلَا يُحْظَرُ مِنْهُ إِلَّا مَا حَظَرَهُ اللَّهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَالَى . وَذَلِكَ ؛ لِأَنَّ الْأَمْرَ وَالنَّهْيَ هُمَا شَرْعُ اللَّهِ ، وَالْعِبَادَةُ لَا بُدَّ أَنْ يَكُونَ مَأْمُورًا بِهَا ، فَمَا لَمْ يَثْبُتْ أَنَّهُ مَأْمُورٌ بِهِ كَيْفَ يُحْكَمُ عَلَيْهِ بِأَنَّهُ [عِبَادَةٌ ؟ ! وَمَا لَمْ يَثْبُتْ مِنَ الْعِبَادَاتِ أَنَّهُ مَنْهِيٌّ عَنْهُ كَيْفَ يُحْكَمُ عَلَى أَنَّهُ مَحْظُورٌ

สำหรับ เรื่องอาดาต คือ สิ่งที่บรรดามนุษย์ ได้ปฏิบัติมันเป็นธรรมเนียม ใน ทางดุนยาของพวกเขา จากสิ่งที่เขามีความจำเป็นต่อมัน และรากฐาน ในมันนั้น ไม่ห้าม ดังนั้นเขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน นอกจาก สิ่งที่อัลลอฮ ซ.บ. ทรงห้ามมันไว้ และดังกล่าวนั้น เพราะแท้จริง คำสั่งใช้ และคำสั่งห้าม ทั้งสองคือ บทบัญญัติของอัลลอฮ และ อิบาดะฮนั้น จำเป็นจะต้อง เป็นสิ่งที่ถูกสั่งใช้ ด้วยมัน ดังนั้นสิ่งใด ไม่ปรากฏยืนยัน ว่า มันคือสิ่งที่ถูกสั่งใช้ ด้วยมัน มันจะถูกตัดสินว่า คือ อิบาดะฮได้อย่างไร ? และ สิ่งที่ไม่ปรากฏยืนยันจากอิบาดาต ว่า ถูกห้ามจากมัน มันจะถูกตัดสินว่า เป็นสิ่งถูกห้ามได้อย่างไร

وَلِهَذَا كَانَ أحمد وَغَيْرُهُ مِنْ فُقَهَاءِ أَهْلِ الْحَدِيثِ يَقُولُونَ : إِنَّ الْأَصْلَ فِي الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيفُ ، فَلَا يُشْرَعُ مِنْهَا إِلَّا مَا شَرَعَهُ اللَّهُ ، وَإِلَّا دَخَلْنَا فِي مَعْنَى قَوْلِهِ تَعَالَى : ( أَمْ لَهُمْ شُرَكَاءُ شَرَعُوا لَهُمْ مِنَ الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ ) [الشُّورَى

และ เพราะเหตุนี้ ปรากฏว่า อะหมัด และคนอื่นจากเขา จากบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม(ฟุเกาะฮาอ)ที่เป็นนักหะดิษ พวกเขาจึงกล่าวว่า
และแท้จริงรากฐาน(หลักการ) ในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง (อัตเตากีฟ)ดังนั้นมันจะไม่ถูกบัญญัติ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮตะอาลาได้บัญญัติมัน และถ้าไม่เช่นนั้นเราก็จะเข้าอยู่ในความหมายของคำตรัสพระองค์ที่ว่า “หรือพวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขาสิ่งซึ่งอัลลอฮมิได้ทรงอนุญาตด้วยมัน- อัชชูรอ/21

وَالْعَادَاتُ الْأَصْلُ فِيهَا الْعَفْوُ ، فَلَا يُحْظَرُ مِنْهَا إِلَّا مَا حَرَّمَهُ ، وَإِلَّا دَخَلْنَا فِي مَعْنَى قَوْلِهِ : ( قُلْ أَرَأَيْتُمْ مَا أَنْزَلَ اللَّهُ لَكُمْ مِنْ رِزْقٍ فَجَعَلْتُمْ مِنْهُ حَرَامًا وَحَلَالًا

และบรรดาอาดาตนั้น รากฐาน ในมันนั้น คือ การอนุญาต เขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน นอกจากสิ่งที่ พระองค์ได้ห้ามมันเอาไว้ ถ้าไม่เช่นนั้น เราจะเข้าอยู่ใน ความหมายของคำตรัสอัลลอฮที่ว่า
จงกล่าวเถิด "พวกท่านเห็นไหมเครื่องยังชีพที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่พวกท่าน แล้วพวกท่านได้ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วนเป็นที่อนุมัติ จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺ ทรงอนุมัติให้แก่พวกท่าน หรือพวกท่านปั้นแต่งให้แก่อัลลอฮฺกันแน่ –ยูนุส759 - ดู อัล-เกาะวาอีดอันนูรอนียะฮ หน้า 163-164
...............
สรุป คือ
1.หลักการในเรื่องอิบาดะฮ
إِنَّ الْأَصْلَ فِي الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيفُ ، فَلَا يُشْرَعُ مِنْهَا إِلَّا مَا شَرَعَهُ اللَّهُ
แท้จริงรากฐาน(หลักการ) ในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง (อัตเตากีฟ)ดังนั้นมันจะไม่ถูกบัญญัติ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮตะอาลาได้บัญญัติมัน ไว้เท่านั้น
2.หลักการในเรื่อง กิจกรรมทางโลก
وَالْعَادَاتُ الْأَصْلُ فِيهَا الْعَفْوُ ، فَلَا يُحْظَرُ مِنْهَا إِلَّا مَا حَرَّمَهُ ،
และบรรดาอาดาตนั้น รากฐาน ในมันนั้น คือ การอนุญาต เขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน นอกจากสิ่งที่ พระองค์ได้ห้ามมันเอาไว้เท่านั้น
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดัม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 19, 2015 9:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มุบาฮะละฮ

อิบนุกอ็ยยิม กล่าวว่า

" السُّنَّة فى مجادلة أهل الباطل إذا قامت عليهم حُجَّةُ اللهِ ولم يرجعوا ، بل أصرُّوا على العناد أن يدعوَهم إلى المباهلة ، وقد أمر اللهُ سبحانه بذلك رسولَه ، ولم يقل : إنَّ ذلك ليس لأُمتك مِن بعدك " انتهى من"زاد المعاد" (3 /643

อัสสุนนะฮ ในกรณีพิพาทกับอะฮลุลบาฏิล เมื่อหลักฐานของอัลลอฮได้ยืนยันแก่พวกเขาแล้ว โดยที่พวกเขาไม่ยอมกลับตัว ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังคงดื้อรั้น ต่อไป ก็ให้เรียกร้องพวกเขาให้มาสู่อัลมุบาฮะละฮ และแท้จริงอัลลอฮ ซุบฯได้บัญชาแก่รอซูลของพระองค์ด้วยดังกล่าวนั้น และพระองค์ไม่ได้ตรัสว่า แท้จริงดังกล่าวนั้น ไม่อนุญาตแก่อุมมะฮของเจ้าหลังจากเจ้า -ซาดุลมะอาด 3/643

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jan 27, 2015 3:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีท่านผู้รู้บางกลุ่มได้ฟัตวา ว่า อิหม่ามบุคอรี สังกัดมัซฮับชาฟิอี ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร มาดูข้อเท็จจริงต่อไปนี้

คำถาม

وَسُئِلَ أَيْضًا - رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ - هَلْ الْبُخَارِيُّ، وَمُسْلِمٌ، وَأَبُو داود، والترمذي، والنسائي، وَابْنُ ماجه، وَأَبُو داود الطيالسي، والدارمي، وَالْبَزَّارُ، والدارقطني، والبيهقي، وَابْنُ خزيمة، وَأَبُو يَعْلَى الْمُوصِلِيُّ هَلْ كَانَ هَؤُلَاءِ مُجْتَهِدِينَ لَمْ يُقَلِّدُوا أَحَدًا مِنْ الْأَئِمَّةِ، أَمْ كَانُوا مُقَلِّدِينَ ؟ وَهَلْ كَانَ مِنْ هَؤُلَاءِ أَحَدٌ يَنْتَسِبُ إلَى مَذْهَبِ أَبِي حَنِيفَةَ ؟ .....

ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ(ร.ฎ) ถูกถามว่า “ อัลบุคอรี ,มุสลิม ,อบูดาวูด ,อัตติรมิซีย์ , อัลนะสาอีย์ ,อิบนุมายะฮ ,อัดดาริมีย์ ,อัลบัซซาร ,อัดดารุลกุฏนีย์ ,อัลบัยฮะกีย์ ,อิบนุคุซัยมะฮ ,อบุลยะอฺลา อัลมูศิลีย์ ว่า พวกเขาเหล่านี้ เป็นมุจญตะฮิด ไม่ตักลิดตามคนหนึ่งคนจากบรรดาอิหม่าม หรือว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ตักลิดตาม? และ มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเหล่านี้ สังกัดมัซฮับอบีหะนีฟะฮบ้าง ?


คำตอบ

فَأَجَابَ : الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ . أَمَّا الْبُخَارِيُّ وَأَبُو داود فَإِمَامَانِ فِي الْفِقْهِ مِنْ أَهْلِ الِاجْتِهَادِ .
وَأَمَّا مُسْلِمٌ والترمذي والنسائي وَابْنُ ماجه وَابْنُ خزيمة وَأَبُو يَعْلَى وَالْبَزَّارُ وَنَحْوُهُمْ ؛ فَهُمْ عَلَى مَذْهَبِ أَهْلِ الْحَدِيثِ لَيْسُوا مُقَلِّدِينَ لِوَاحِدِ بِعَيْنِهِ مِنْ الْعُلَمَاءِ وَلَا هُمْ مِنْ الْأَئِمَّةِ الْمُجْتَهِدِينَ عَلَى الْإِطْلَاقِ بَلْ هُمْ يَمِيلُونَ إلَى قَوْلِ أَئِمَّةِ الْحَدِيثِ كَالشَّافِعِيِّ وَأَحْمَد وَإِسْحَاقَ وَأَبِي عُبَيْدٍ وَأَمْثَالِهِمْ، وَمِنْهُمْ مَنْ لَهُ اخْتِصَاصٌ بِبَعْضِ الْأَئِمَّةِ كَاخْتِصَاصِ أَبِي داود وَنَحْوِهِ بِأَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلٍ وَهُمْ إلَى مَذَاهِبِ أَهْلِ الْحِجَازِ - كَمَالِكِ وَأَمْثَالِهِ - أَمْيَلُ مِنْهُمْ إلَى مَذَاهِبِ أَهْلِ الْعِرَاقِ - كَأَبِي حَنِيفَةَ وَالثَّوْرِيِّ –

เขาตอบว่า “บรรดาการสรรเสริญ เป็นสิทธิของอัลลอฮ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก
สำหรับ บุคอรี และอบูดาวูด คือ ทั้งสองเป็นอิหม่ามใน ด้านฟิกฮ เป็นส่วนหนึ่งจากนักอิจญติฮาด (หมายถึงมุจญตะฮิด)

สำหรับ มุสลิม , อัตติรมิซีย์ , อัลนะสาอีย์ ,อิบนุมายะฮ ,อิบนุคุซัยมะฮ ,อบูยะอฺลา ,อัลบัซซาร และ ที่เหมือนกับพวกเขา ,พวกเขา อบู่บนมัซฮับ นักหะดิษ พวกเขาไม่ใช่ผู้ตักลิดตาม คนหนึ่งคนใดจากบรรดาอุลามาอฺเป็นการเฉพาะเจาะจง และพวกเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาอิหม่ามมุจญตะฮิด โดยเอกเทศ(มุฏลัก) แต่ทว่า พวกเขาเอนเอียงไปสู่ ทัศนะของ อิหม่ามหะดิษ เช่น ชาฟิอี ,อะหมัด,อิสหาก,อบีอุบัยดฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ในระดับเหมือนกับพวกเขา และส่วนหนึ่งจากพวกเขา คือ ผู้ที่ เจาะจง ด้วบบรรดาอิหม่ามบางคน เช่น การเจาะจงของอบูดาวูด และ ผู้ที่ทำนองเดียวกับเขา ด้วยมัซฮับ อะหมัด บิน หัมบัล และ พวกเขาเอนเอียงไปสู่บรรดามัซฮับอะฮลุลฮิญาซ เช่น มาลิกและบรรดาผู้ที่อยู่ระดับเหมือนกับเขา และส่วนหนึ่งจากพวกเขา เอนเอียงไปสู่บรรดามัซฮับ อะฮลุลอิรอ็ก เช่น อบีหะนีฟะฮและอัษเษารีย - ดู มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 20 หน้า 40

>>>>>>>>

จากคำตอบของอิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ)ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า อิหม่ามบุคอรี เป็นมุจญตะฮีดในทางฟิกฮท่านหนึ่ง ไม่ได้ผูกขาดมัซฮับหนึ่งมัซฮับใดเป็นการเฉพาะ

والله أعلم بالصواب

........................
อะสัน หมัดอะดั้ม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jan 28, 2015 6:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การกล่าวคำเนียตมีหลักฐานจริงหรือ ภาค 1
ได้มีผู้อ้างว่า
การกล่าวอุซ่อลลีก่อนจะตักบิรนั้นสุนัต โดยอ้างหลักฐาน *จากหะดิษ
انما الاعمال بالنيات
*เมื่อท่านนาบีได้อ่านหะดิษนี้ ท่านและซอหาบัตก็อ่านไม่ดังแต่ก้ไม่เบาเกินไป
……………….
ชี้แจง
การกล่าวอ้างหะดิษข้างต้นนั้น เป็นการบิดเบือนหะดิษ เพราะหะดิษข้างต้น เป็นการกล่าวถึงเจตนาในการกระทำ ว่า มนุษย์จะได้รับผลตอบแทน ตามที่เขาเจตนา อันหมายถึง ถ้าเจตนาดี เพื่ออัลลอฮเขาก็ได้ผลบุญ หากมีเจตนาไม่ดีก็ได้บาปเป็นผลตอบแทน
หะดิษเต็มๆมีอยู่ว่า
عَنْ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ، قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ : إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى ، فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيبُهَا أَوِ امْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى مَا هَاجَرَ إِلَيْهِ . رَوَاهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

รายงานจากท่านอุมัร อิบนุลคอตตอบ รอดิยั้ลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงกิจการงานทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาและแท้จริงสำหรับทุกคนนั้น เขาก็จะได้รับในสิ่งที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้ ดังนั้นผู้ใดที่การอพยพของเขา(มีเจตนา)เพื่ออัลลอฮ์และศาสนทูต(รอซูล)ของพระองค์ ก็ถือว่าการอพยพของเขานั้นมีขึ้นเพื่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์(เพื่อแสวงความพอพระทัยจากอัลลอฮ์) และผู้ใดที่การอพยพของเขาเพื่อโลกนี้( ทรัพย์สินเงินทอง หรือเพื่อความสุขทางโลกเพียงอย่างเดียว ) หรือเพื่อสตรีที่เขาต้องการจะสมรสด้วย ดังนั้นการอพยพของเขานั้นจึงนำไปสู่สิ่งที่เขาตั้งเป้าหมายเอาไว้ – รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม
>>>>>>>>
ความมุ่งหมายของหะดิษ คือ ให้ทำความดีโดยมีเจตนาเพื่ออัลลอฮ
มาดูคำอธิบายหะดิษ เรื่อง บิดอะฮ ของอิบนุเราะญับ (ร.ฮ) ดังนี้
مَنْ أَحْدَثَ فِي دِينِنَا مَا لَيْسَ فِيهِ فَهُوَ رَدٌّ "
ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ได้อยู่ในมัน มันถูกปฏิเสธ (ไม่ถูกรับ)
. وَهَذَا الْحَدِيثُ أَصْلٌ عَظِيمٌ مِنْ أُصُولِ الْإِسْلَامِ ، وَهُوَ كَالْمِيزَانِ لِلْأَعْمَالِ فِي ظَاهِرِهَا كَمَا أَنَّ حَدِيثَ : الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ مِيزَانٌ لِلْأَعْمَالِ فِي بَاطِنِهَا ، فَكَمَا أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ لَا يُرَادُ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ تَعَالَى فَلَيْسَ لِعَامِلِهِ فِيهِ ثَوَابٌ ، فَكَذَلِكَ كُلُّ عَمَلٍ لَا يَكُونُ عَلَيْهِ أَمْرُ اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، فَهُوَ مَرْدُودٌ عَلَى عَامِلِهِ ، وَكُلُّ مَنْ أَحْدَثَ فِي الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ، فَلَيْسَ مِنَ الدِّينِ فِي شَيْءٍ
และหะดิษนี้คือ รากฐานอันสำคัญ จากบรรดารากฐานอิสลาม และมันคือ ตราชู สำหรับ(ชั่ง)บรรดาการงาน ที่แสดงออกมาภายนอก และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น
และในทำนองเดียวกัน ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันก็ถูกตี กลับไปหาผู้กระทำมัน (คือไม่ถูกรับ) และ ทุกคนที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรอซูล ของพระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้น มันก็ไม่ใช่ศาสนาแต่ประการใดเลย - ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176
..........
สรุปจากคำอธิบายของอิบนุเราะญับคือ
หนึ่ง- หะดิษที่ว่า “ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ได้อยู่ในมัน มันถูกปฏิเสธ
เป็นหลักการที่เป็นเครืองวัด การกระทำที่แสดงออกทางกาย ว่า ตรงกับสิ่งที่อัลอฮหรือนบีสั่งหรือไม่
สอง – หะดิษที่ว่า
إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ
“แท้จริงบรรดาการงานขึ้นอยู่กับการเจตนา
เป็นหลักการที่ใช้วัดการกระทำทางใจ คือ การเนียต หรือเจตนา ว่า เพื่ออัลลอฮหรือไม่
อิบนุเราะญับ กล่าวว่า
كَمَا أَنَّ حَدِيثَ : الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ مِيزَانٌ لِلْأَعْمَالِ فِي بَاطِنِهَا ، فَكَمَا أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ لَا يُرَادُ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ تَعَالَى فَلَيْسَ لِعَامِلِهِ فِيهِ ثَوَابٌ
และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น- ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176

َالَ الْفَضْلُ بْنُ زِيَادٍ : سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ - يَعْنِي أَحْمَدَ - عَنِ النِّيَّةِ فِي الْعَمَلِ ، قُلْتُ كَيْفَ النِّيَّةُ ؟ قَالَ : يُعَالِجُ نَفْسَهُ ، إِذَا أَرَادَ عَمَلًا لَا يُرِيدُ بِهِ النَّاسَ
อัลฟาฎีล บิน ซียาดกล่าวว่า “ขาพเจ้าถามอบูอับดุลลอฮ – หมายถึงอิหม่ามอะหมัด- เกี่ยวกับการเนียตในการประกอบอะมั้ล ,ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ เนียตนั้นเป็นอย่างไร? เขา(อิหม่ามอะหมัด)กล่าวว่า “ เขาลงมือปฏิบัติแก่ตัวเขา เมื่อเขาต้องการกระทำ โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อมนุษย์ด้วยมัน – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม หน้า 63
وقال ابن عجلان : لا يصلح العمل إلا بثلاث : التقوى لله ، والنية الحسنة ، والإصابة
อิบนุอัจญลาน กล่าวว่า “ การงาน(อะมั้ล)นั้น จะดีไม่ได้ นอกจาก(ต้องประกอบ)ด้วยสามประการ คือ
(1) การยำเกรงต่ออัลลอฮ
(2) การเจตนาที่ดี
(3) ความถูกต้อง -
– ดูญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ของ อิบนุเราะญับ หน้า 63
>>>>>>
จึงสรุปว่า การอ้างว่าหะดิษที่ว่า
إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ
คือ หลักฐานสุนัตให้กล่าวอุศอ็ลลี ก่อนการตักบีรนั้น เป็นการเจตนาบิดเบือน ความมุ่งหมายของหะดิษ
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม

หะดิษที่เขานำมาอ้างอิงนั้น มันไม่เกี่ยวและไม่ได้สนับสนุน การกล่าวคำเนียต นะครับ หะดิษนี้ สอนเรื่อง การเจตนา(เนียต)ในอิบาดะฮและสิ่งดีงามต่างๆ ว่า ทำอะไร ทำสิ่งใด และจุดประสงค์ในการเนียต ว่า การทำเพื่ออัลลอฮ หรือ เพื่อใคร ซึ่งสาเหตุของหะดิษนี้ โปรดดูข้างล่างนี้

وقال الحافظ ابن حجر في الفتح (1/16) :
ورواه الطبراني من طريق أخرى عن الأعمش بلفظ : كان فينا رجل خطب امرأة يقال لها أم قيس فأبت أن تتزوجه حتى يهاجر فهاجر فتزوجها ، فكنا نسميه مهاجر أم قيس

และท่านอัล-ฮาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวเอาไว้ในฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 16 ว่า

?และรายงานโดย อัฏฏอ็บรอนีย์ จากสายายงานอื่น จากอัลอะอมัช ด้วยสำนวนที่ว่า ? ปรากฏว่าในหมู่พวกเรานั้น มีชายคนหนึ่ง ได้สู่ขอ หญิงนางหนึ่ง เรียกกันว่า ?อุมมุกอ็ยส? แล้วนางก็ไม่ยอม ที่จะสมรสกับเขา จนกว่า เขาจะ ฮิจญเราะฮ (อพยพจากมักกะฮไปยังนครมะดีนะฮ) แล้วเขาก็ได้ทำการอิจญเราะฮ แล้วก็ได้สมรสกับนาง พวกเราเลยขนานนามเขาผู้นี้ว่า ?ผู้อพยพของอุมมุกอ็ยส?

ท่านอิหม่ามสะยูฏีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

حديث " إنما الأعمال بالنيات " سببه أن رجلا هاجر من مكة إلى المدينة لا يريد بذلك الهجرة بل ليتزوج امرأة يقال لها : أم قيس ، فسمي مهاجر أم قيس

หะดิษ ที่ว่า ?แท้จริงบรรดาการงานต่างนั้น ขึ้นอยู่กับการเจตนา? สาเหตุของมันคือ การทีมีชายคนหนึ่ง ได้อพยพจากนครมักกะ ไปยังนครมะดีนะฮ การอพยพดังกล่าวนั้น เขาไม่ได้มีจุดประสงค์ใด แต่ทว่า เพื่อต้อง การที่จะสมรสกับผู้หญิงนางหนึ่ง ที่เรียกกันว่า ?อุมมุกอ็ยส? แล้วเขาผู้นี้ถูกขนานนามว่า ?ผู้อพยพของอุมมุกอ็ยส?
- ดู ตัดรีบุรรอวีย ฟี ชัรหิ -ตักรีบีนนะวาวีย์ เล่ม 2 หน้า 929
............................
การที่คนเราจะทำอะไร เจตนาหรือ เนียต ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อยู่แล้ว และเนียตนั้น เป็นงานของ หัวใจ ไม่ใช่งานของปาก และเป้าหมายของการเนียตนั้นสำสำคัญที่สุด คือ ทำเพื่อใคร หะดิษนี้ ไม่ได้สนับสนุนการกล่าวคำเนียตแต่ประการใด

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 16, 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 17 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.39 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ