ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - อัล-อะชาอีเราะกับ สิฟัตอัลอิสติวาอฺ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
อัล-อะชาอีเราะกับ สิฟัตอัลอิสติวาอฺ
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 25, 2014 11:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาชาอิเราะฮ บางคนอ้าง
ท่านอัซซะฟารีนีย์ ปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ กล่าวว่า
فَمَذْهَبُ السَّلَفِ فِي آيَاتِ الصِّفَاتِ أَنَّهَا لاَ تُؤَوَّلُ ، وَلاَ تُفَسَّرُ بَلْ يَجِبُ الإِيْمَانُ بِهَا ، وَتَفْوِيْضُ مَعْنَاهَا الْمُرَادِ مِنْهَا إِلَى اللهِ تَعَالَى
“ดังนั้นมัซฮับสะลัฟเกี่ยวกับบรรดาอายะฮ์ศิฟาต คือจะไม่ถูกตีความ ไม่ถูกอธิบาย แต่จำเป็นต้องศรัทธาเชื่อและมอบหมาย(การู้)ความหมายของบรรดาศิฟาตที่เป็นจุดหมายที่แท้จริงไปยังอัลลอฮฺตะอาลา” อัซซะฟารีนีย์, ละวามิอฺ อัลอันวาร อัลบะฮียะฮ์, เล่ม 1, หน้า 219.
...........................................
จากสิ่งที่อาชาอิเราะฮอ้าง สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในเรื่อง อายะฮและหะดิษเกี่ยวกับสิฟาตนั้น กลุ่มอาชาอิเราะฮไม่ได้เดินตามแนวสะลัฟ เพราะ สะลัฟ พวกเขาไม่ตีความ (ตะอวีล) แต่อาชาอิเราะฮตีความตามแนวทางของนักวิภาษนิยมหรืออะฮลุลกะลามยุคหลัง ที่ใช้เหตุผลอธิบายหลักฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุผลทางปัญญา
ส่วนคำว่า “มอบหมายความหมายนั้น “ ไม่ใช่ไม่ให้รู้ความหมายหรือแปลความหมายตามความเข้าใจของ แม่ทัพอารีฟีน เพราะสะลัฟเขารู้ความหมายตามภาษา แต่ไม่รู้รูปแบบวิธีการ(กัยฟียะฮ)ว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น
อบูบักร์ บิน อัลอะเราะบีย์ อัลอัชอะรีย์ กล่าวว่า

وذهب مالك رحمه الله أن كل حديث منها معلوم المعنى ولذلك قال للذي سأله الاستواء معلوم والكيفية مجهولة

มาลิก ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้ให้ทัศนะว่า “ทุกหะดิษจากมัน (จากหะดิษที่เกี่ยวกับสิฟัตอัลลอฮ) ความหมายเป็นที่รู้กัน เพราะเหตุนั้น เขา(มาลิก) กล่าวแก่ผู้ที่ถามเขา ว่า “การประทับนั้นเป็นที่รู้กัน และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน – ดู อาริเฎาะฮอัลอะหวะซีย์ เล่ม 3 หน้า 166
…..

คำพูดของอิหม่ามมาลิก แสดงบอกถึง การรับรองความหมาย และการมอบหมาย(تفويض )รูปแบบวิธีการ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 25, 2014 11:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาชาอิเราะฮ กล่าวว่า

ท่านอัซซะฟารีนีย์ ปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ กล่าวว่า
فَمَذْهَبُ السَّلَفِ فِي آيَاتِ الصِّفَاتِ أَنَّهَا لاَ تُؤَوَّلُ ، وَلاَ تُفَسَّرُ بَلْ يَجِبُ الإِيْمَانُ بِهَا ، وَتَفْوِيْضُ مَعْنَاهَا الْمُرَادِ مِنْهَا إِلَى اللهِ تَعَالَى
“ดังนั้นมัซฮับสะลัฟเกี่ยวกับบรรดาอายะฮ์ศิฟาต คือจะไม่ถูกตีความ ไม่ถูกอธิบาย แต่จำเป็นต้องศรัทธาเชื่อและมอบหมาย(การู้)ความหมายของบรรดาศิฟาตที่เป็นจุดหมายที่แท้จริงไปยังอัลลอฮฺตะอาลา” อัซซะฟารีนีย์, ละวามิอฺ อัลอันวาร อัลบะฮียะฮ์, เล่ม 1, หน้า 219.
……………..
ชี้แจง

คำพูดอัสสะฟารีนีย์ข้างต้น ไม่ได้สนับสนุนทัศนะของ อะชาอีเราะฮ เพราะเขายืนยันว่า “สะลัฟไม่ตีความ”
ส่วนคำว่า “
وَتَفْوِيْضُ مَعْنَاهَا الْمُرَادِ مِنْهَا إِلَى اللهِ تَعَالَى
มอบหมายความหมายของบรรดาศิฟาตที่เป็นจุดหมายที่แท้จริงไปยังอัลลอฮฺตะอาลา
การมอบหมายความหมาย โดยไม่รู้ความหมายของสิฟาตนั้น ไม่ใช่แนวทางสะลัฟ แนวทางสะลัฟคือ การยืนยันความหมาย และรู้ความหมาย และมอบหมายความรู้กี่ยวกับรูปแบบวิธีการ(กัยฟียะฮ)ของสิฟัต แก่อัลลอฮ
ตัวอย่างเช่น การอธิบายของอิบนุญะรีร ปราชญ์ตัฟสีรยุคสะลัฟต่อไปนี้ ซึ่งท่านอธิบายความหมาย “อัลอิสติวาอฺ”ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้เลือกความหมายที่ว่า
ว่า
وأوْلى المعاني بقول الله جل ثناؤه:"ثم استوى إلى السماء فسوَّاهن"، علا عليهن وارتفع،
บรรดาความหมายที่ดีที่สุด จากคำตรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า “หลังจากพระองค์ทรงอิสติวาสู่ฟากฟ้า แล้วพระองค์ก็ทรงสร้างมัน” คือ พระองค์ทรงอยู่สูงเหนือมันและสูง (เหนือมัน) -
และ และอัลอิสติวาอฺในซูเราะฮ์ฏอฮา อายะฮ์ที่ 5 ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ ได้ให้ความหมายว่า

وَقَوْله : { الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش اسْتَوَى } يَقُول تَعَالَى ذكْره : الرَّحْمَن عَلَى عَرْشه ارْتَفَعَ وَعَلَا และคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ หมายถึง อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป - ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฏอฮา
แสดงให้เห็นว่า สะลัฟเขารู้ความหมายของ คำว่า “อิสติวา อิลัสสะมาอฺ และ อิสตะวา อะลัลอัชชิ คือ
ارْتَفَعَ وَعَلَ
เพราะฉะนั้น การที่บอกว่า สะลัฟไม่รู้ความหมายนั้น เป็นการโกหก ให้แก่สะลัฟ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sat Jan 31, 2015 8:18 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 25, 2014 11:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ในเศาะเหียะบุคอรี กิตาบุตเตาฮีด อิหม่ามบุคอรีกล่าวว่า

بَاب وَكَانَ عَرْشُهُ عَلَى الْمَاءِ وَهُوَ رَبُّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ قَالَ أَبُو الْعَالِيَةِ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاءِ ارْتَفَعَ فَسَوَّاهُنَّ خَلَقَهُنَّ وَقَالَ مُجَاهِدٌ اسْتَوَى عَلَا عَلَى الْعَرْشِ
"
บทว่าด้วยคำตรัสของอัลลอฮ (และอะรัชนั้นอยู่บนน้ำ) (และพระเจ้าแห่งอะรัชอันยิ่งใหญ่) อบูอัลอาลียะฮ กล่าวว่า (ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า) หมายถึง ทรงขึ้นไป (และได้ทำให้มันสมบูรณ์) หมายถึง ทรงสร้างมัน และมุญฮิด กล่าวว่า คำว่า(อิสตะวา) หมายถึง ทรงอยู่สูงเหนือบัลลังค์ ( อะรัช) - ดูเศาะเฮียะบุคอรี เล่ม 6 หน้า 2699 หะดิษหมายเลข 6982
................แสดงว่า อบูอาลิยะฮและมุญาฮิด ซึ่งเป็นปราชญ์ยุคสะลัฟ เขารู้ความหมายคำว่า "อิสติวา"เขาทั้งสองจึงอธิบายความหมาย ส่วนที่แม่ทัพอ้างว่าสะลัฟไม่รู้ความหมายนั้น "โกหก"ครับ

และคนที่อ้างว่า สะลัฟ ไม่อธิบายความหมายสิฟัต เป็นการโกหกเช่นกัน อิหม่ามติรมิซีย์ ยืนยันว่า สะลัฟ อธิบายความหมายสิฟัต และพวกญะมียะฮ อธิบายความหมายสิฟัต ที่ไม่ตรงกับการอธบายของสะลัฟ ดังที่ท่านอิหม่ามติรมิซีย์กล่าวว่า
فتأولت الجهمية هذه الآيات ففسروها على غير ما فسر أهل العلم وقالوا إن الله لم يخلق آدم بيده وقالوا إن معنى اليد هاهنا القوة
ทว่าพวกญะฮฺมียะฮฺได้ทำการตีความบรรดาโองการเหล่านี้(หมายถึงอายาตสีฟาต) และพวกเขาได้ทำการอธิบายบนอื่นจากสิ่งที่บรรดานักวิชาการ ได้ทำการอธิบายเอาไว้ พวกเขากล่าวว่าแท้จริงอัลลอฮฺตะอาลามิได้สร้างอาดัมมาจากพระหัตถ์ของพระองค์ แต่พวกเขากล่าวว่า พระหัตถ์นั้นหมายถึงอำนาจ - หนังสือ สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม 3 หน้าที่ 50-51
...........
ท่านอิหม่ามอัตติรมิซีย์ เป็นปราชญ์ยุคสะลัฟ ได้ยืนยันว่า พวกยะฮมียะฮ อธิบายอายาตสิฟาต ไม่ตรงกับสิ่งที่นักวิชาการสะลัฟ อธิบายไว้ เช่น สิฟัต ยะดุน (มือ) พวกญะฮมียะฮ ตีความว่า “อำนาจ ....


อิบนุกุตัยบะฮ (ฮ.ศ 213-276) ปราชญ์ยุคสะลัฟกล่าวว่า
ولم ينزل الله "شيئاً" من القرآن إلا لينفع به عباده، ويدل به على معنىً أراده
และอัลลอฮ จะไม่ทรงประทานสิ่งใดๆ จากอัลกุรอ่านลงมา นอกจาก เพื่อให้บ่าวของพระองค์ได้รับประโยชน์ด้วยมัน และ แสดงบอกถึงความหมาย ที่พระองค์ต้องการด้วยมัน – ดู มุชกิลุลกุรอ่าน หน้า 98-99
............

เพราะฉะนั้น การที่อ้างว่า อายะฮ อัลกุรอ่านที่กล่าวถึงสิฟาตอัลลอฮ ไม่มีใครรู้ความหมาย คือ นบี ก็ไมรู้ เหล่าเศาะหาบะฮก็ไม่รู้ บรรดาปราชญ์ยุคสะลัฟทั้งหลายก็ไม่รู้ การอ้างแบบนี้ เป็นการโกหก ..


ชาวสะลัฟเขารู้และเขาอธิบายความอายะสิฟัต มาดูหลักฐาน ยืนยันเพิ่มเติม
บะชีร บิน อุมัร อัซซะฮรอนีย์ ปราชญ์ยุคสะลัฟ (ฮ.ศ 209) กล่าวว่า
سمعت غير واحد من المفسرين يقول : {الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى}: ارتفع
ข้าพเจ้า ได้ยิน บรรดานักตัฟสีร(นักอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน)หลายท่าน กล่าวว่า (พระเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงอิสตะวา เหนืออะรัช ) หมายถึง สูง (เหนืออะรัช ) - ดูที่มา
مسند إسحاق بن راهويه (ت. 238 هـ) كما في اتحاف الخيرة المهرة للبوصيري (ج1 ص186)، والمطالب العالية لابن حجر (ج12 ص570)، فالإسناد صحيح؛ ورواها اللالكائي في شرح أصول اعتقاد أهل السنة والجماعة بسنده عن إسحاق بن راهويه (ج3 ص396
....... คำว่า " อิรตะฟะอะ " คำนี้ เป็นความอธิบาย คำว่า อิสตะวา อะลา " แสดงว่าสะลัฟรู้ความหมาย เขาจึงอธิบายความหมาย ถ้าไม่รู้ และต้องมอบหมายความรู้เกี่ยวกับความหมาย แก่อัลลอฮ แล้วพวกเขาอธิบายได้อย่างไร .

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sat Jan 31, 2015 8:20 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jun 06, 2014 10:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


Zeeham Assiyamee ท่านอิหม่ามอัซซัจญาจญฺ (ฮ.ศ. 241-311) ซึ่งเป็นปราชญ์ยุคสะลัฟได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า
فَقَالَ: (عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى) ، وَقَالُوْا مَعْنَى (اِسْتَوَى) : اِسْتَوْلَى , وَاللَّهُ أَعْلَمُ
“อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า “พระองค์ทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์ และพวกเขากล่าวว่า ความหมาย อิสตะวา คือ อิสเตาลา(ปกครองโดยไม่มีการแย่งชิง)วัลลอฮุอะลัม” ตัฟซีร มะอานี อัลกุรอาน เล่ม 3 หน้า 229. ท่านอิหม่าม อับดุลลอฮ์ บิน
………………………………
ชี้แจง
ข้างต้น ไม่ใช่ทัศนะของของ อิหม่ามอัซซัจญาจญ์ เพราะท่านได้ใช้คำพูด ว่า พวกเขากล่าวว่า “ ความหมาย(อิสติวาอฺ) คือ การครอบครอง
คำว่า พวกเขากล่าวว่า “ เป็นสำนวนอ่อน (ศิเฆาะฮอัตตัมรีฎ) ซึ่งเป็นไปได้ว่า เป็นการรายงานจาก กลุ่มมุอตะซิละฮ
ความหมายคำว่า “อิสเตาลา اِسْتَوْلَى “ปกครองโดยไม่แย่งชิง (ดังที่อารีฟีนแปล) เพราะความหมายนี้ไม่ใช่ความหมายในทัศนะสะลัฟแต่เป็นความหมายตามทัศนะ “มุฮตะซิละฮ”

ดังที เช็คอับดุลกอเดร อัลญัยลานีย์ว่า

ولا على معنى العلو والرفعة كما قالت الأشعرية ، ولا معنى الاستيلاء والغلبة كما قالت المعتزلة ،

และมันก็ไม่ได้หมายความว่า อุลูวว์ (ความสูงส่ง) ดังที่พวกอัชอะรียะฮฺ(อะชาอิเราะฮฺ)ได้กล่าวไว้ และมันก็ไม่ได้แปลว่า อิสติลาอ์ (การพิชิต) หรือ ฆอลาบะฮฺ (การสถาปนาอำนาจ) ดังที่พวกมุอฺตะสิละฮฺได้กล่าวแต่อย่างใด - เชคอับดุลกอดีรญีลานี หนังสือ ฆุนยะตุตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 73
อบูมันศูร อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า

زعمتِ المعتزلةُ أن استوى بمعنى استولى مستدلين بقول الشاعر: (قد استوى بشر على العراق) وهذا تأويل باطل
พวกมุอฺตะซิละฮ เข้าใจว่า คำว่า "อิสตะวา" มีความหมายว่า "ครอบครอง" โดยพวกเขาอ้างหลักฐานคำกล่าวของนักกวีที่ว่า "มุนุษย์ได้ครอบครองอิรัก" นี่คือ การตีความที่ไม่ถูกต้อง" * อุศูลุดดีน หน้า 112
......... เพราะฉะนั้นที่อ้างว่าการตึความ"อิสติวาอ"ว่า "ความหมายครอบครองโดยไม่แย่งชิงนั้น ไม่ใช่ทัศนะของอิหม่ามอัซซัจญาจญ์ แต่ท่านบอกว่า พวกเขากล่าว ซึ่งไม่ระบุว่าใคร คุณ Zeeham Assiyamee ไปลอกมา โดยไม่เข้าใจสิ่งที่ลอกมา
30 นาทีที่แล้ว · ที่ถูกแก้ไข · ถูกใจ

Zeeham Assiyamee อ้างว่า
. ท่านอิหม่าม อับดุลลอฮ์ บิน ยะห์ยา อิบนุ อัลมุบาร็อก อัลยะซีดีย์ ซึ่งเป็นปราชญ์ภาษาอาหรับและตัฟซีรในยุคสะลัฟ (เสียชีวิต ปี 237 ฮ.ศ.) ได้กล่าวไว้ในตัฟซีร ของท่านว่า
على العرش استوى: استولى
“พระองค์ทรง อิสตะวา เหนือบัลลังก์: คือ อิสเตาลา (ปกครอง)” ฆ่อรีบุลกุรอาน วะ ตัฟซีรุฮู หน้า 113
……….
ชี้แจง
ข้างต้นเป็นการอ้าง ของ Zeeham Assiyamee โดยไม่เข้าใจอะกีดะฮที่แท้จริงของ อิบนุอัลมุบารอ็ก ลอกเขามา ทั้งคนเขียนและคนคัดลอก พอถูกใจก็เอามาอ้าง โดยไม่รู้ว่าอะกีดะฮ ของอิบนุอัลมุบารอ็กเป็นอย่างไร
อับดุลลอฮ บิน อัล-มุบาร็อก กล่าวว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือชั้นฟ้าที่เจ็ด

صح عن علي بن الحسن بن شقيق قال قلت لعبد الله بن المبارك كيف نعرف ربنا عزوجل قال في السماء السابعة على عرشه ولا نقول كما تقول الجهمية إنه هاهنا في الأرض فقيل هذا لأحمد بن حنبل فقال هكذا هو عندنا

รับรองเศาะฮีหฺจากอลี บิน อัล-หะสัน บิน ชากิก เขากล่าวว่า “ฉันกล่าวกับอับดุลลอฮ บิน อัล-มุบาร็อก ว่า เราจะรู้จักพระผู้เป็นเจ้าของเราได้อย่างไร?” อิบนุล มุบาร็อก ตอบว่า “พระเจ้าของเราอยู่บนชั้นฟ้าที่เจ็ด เหนืออรัชของพระองค์ เราจะไม่กล่าวเช่นที่พวกญะฮฺมียะฮฺเชื่อว่า อัลลอฮทรงอยู่ที่นี่ หมายถึง บนหน้าแผ่นดิน” หลังจากนั้น มีผู้ถามถึงความเห็นของอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอิบนุล มุบาร็อก ตอบว่า “เช่นนั้นแหล่ะ เขาก็มีความเห็นเหมือนเรา

อับดุลลอฮ บิน อัล-มุบาร็อก กล่าวว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือชั้นฟ้าที่เจ็ด

صح عن علي بن الحسن بن شقيق قال قلت لعبد الله بن المبارك كيف نعرف ربنا عزوجل قال في السماء السابعة على عرشه ولا نقول كما تقول الجهمية إنه هاهنا في الأرض فقيل هذا لأحمد بن حنبل فقال هكذا هو عندنا

รับรองเศาะฮีหฺจากอลี บิน อัล-หะสัน บิน ชากิก เขากล่าวว่า “ฉันกล่าวกับอับดุลลอฮ บิน อัล-มุบาร็อก ว่า เราจะรู้จักพระผู้เป็นเจ้าของเราได้อย่างไร?” อิบนุล มุบาร็อก ตอบว่า “พระเจ้าของเราอยู่บนชั้นฟ้าที่เจ็ด เหนืออรัชของพระองค์ เราจะไม่กล่าวเช่นที่พวกญะฮฺมียะฮฺเชื่อว่า อัลลอฮทรงอยู่ที่นี่ หมายถึง บนหน้าแผ่นดิน” หลังจากนั้น มีผู้ถามถึงความเห็นของอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอิบนุล มุบาร็อก ตอบว่า “เช่นนั้นแหล่ะ เขาก็มีความเห็นเหมือนเรา”-
ดู อัล-อุลูว ลิล อะลิยยิล ฆ็อฟฟาร หน้า 149 รายงานนี้ได้รับการรับรองเศาะฮีหฺโดย อิบนุตัยมียะฮฺ ใน อัล-หะมะวียะฮฺ และอิบนุล ก็อยยิม ในอัล-ญุยูช. ดู มุคตะศ็อร อัล-อุลูวฺ หน้า 152

……………….
คุณ Zeeham Assiyamee ,ซุนนะฮคอร์ และอารีฟีน พยานยามตีความ คำว่า อิสติวาอฺเพื่อปฏิเสธ การอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ ต่างกับ อับดุลลลอฮ บิน อัลมุบารอ็ก ที่ย่อมรับ ว่าอัลลอฮ อยู่เบื้องสูง อยู่บนฟ้า เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่าเป็นการอ้างอ้างคนผิดที่ เพราะเป็นอุลามาอฺที่มีอะกีดะฮต่างกับตัวเอง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.11 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ