ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
fat มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 19/09/2012 ตอบ: 8 ที่อยู่: ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล
|
ตอบ: Wed Sep 19, 2012 11:12 am ชื่อกระทู้: ขอคำอธิบาย |
|
|
ขอคำอธิบายเรื่อง
1. ดุอาอฺกูนูตในละหมาดซุบฮฺ ทำไมถึงไม่มี (ตอนนี้ผมไม่ได้อ่านกูนูต) แต่ต้องการคำอธิบายเพื่อที่จะอธิบายคนอื่นให้ถูกต้อง
2. ดุอาอฺหลังละหมาด หากทำในสิ่งที่นบีทำหมดแล้วสามารถยกมือขอดุอาอฺเพิ่มเติมได้หรือไม่ และขอดุอาอฺร่วมกับภรรยาได้หรือ (เป็นอิหม่ามภรรยา) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Sep 20, 2012 12:07 am ชื่อกระทู้: Re: ขอคำอธิบาย |
|
|
fat บันทึก: | ขอคำอธิบายเรื่อง
1. ดุอาอฺกูนูตในละหมาดซุบฮฺ ทำไมถึงไม่มี (ตอนนี้ผมไม่ได้อ่านกูนูต) แต่ต้องการคำอธิบายเพื่อที่จะอธิบายคนอื่นให้ถูกต้อง
|
[b]]ตอบ
عَنْ أَبِي مَالِكٍ الْأَشْجَعِيِّ قَالَ قُلْتُ لِأَبِي يَا أَبَةِ إِنَّكَ قَدْ صَلَّيْتَ خَلْفَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأَبِي بَكْرٍ وَعُمَرَ وَعُثْمَانَ وَعَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ هَا هُنَا بِالْكُوفَةِ نَحْوًا مِنْ خَمْسِ سِنِينَ أَكَانُوا يَقْنُتُونَ قَالَ أَيْ بُنَيَّ مُحْدَثٌ قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ وَالْعَمَلُ عَلَيْهِ عِنْدَ أَكْثَرِ أَهْلِ الْعِلْمِ وَقَالَ سُفْيَانُ الثَّوْرِيُّ إِنْ قَنَتَ فِي الْفَجْرِ فَحَسَنٌ وَإِنْ لَمْ يَقْنُتْ فَحَسَنٌ وَاخْتَارَ أَنْ لَا يَقْنُتَ وَلَمْ يَرَ ابْنُ الْمُبَارَكِ الْقُنُوتَ فِي الْفَجْرِ
รายงานจากอบีมาลิก อัลอัชญะอีย์ กล่าวว่า ฉันได้กล่าวแก่บิดาของฉันว่า โอ้บิดาของฉัน ความจริงท่านเคยละหมาดตามหลังรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ,อบีบักร์ ,อุมัร ,อุษมานและอาลี ทีเมืองกุฟะฮ ประมาณ 5 ปี พวกเขาอ่านดุอากุนูตไหม? เขา(บิดาของฉัน)กล่าวว่า โอ้ลูกเอ๋ย มันเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่(บิดอะฮ)
อบูอีซา กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน เศาะเฮียะ นักวิชาการส่วนมากปฏิบัติตามหะดิษนี้ และ ซูฟยานอัษเษารีย์ กล่าวว่า
หากเขาอ่านกุนูตในละหมาดฟัจญร์ ก็เป็นการดี และถ้าไม่อ่านกุนูต ก็เป็นการดี และเขา(ซุฟยาน) เลือกที่จะไม่อ่านกุนูต และอิบนุอัลมุบารอ็กไม่เห็นว่า ให้อ่านกุนูตในละหมาดฟัจญร์(ซูบฮี)
อัลมุบาเราะกาฟูรีย์(محمد بن عبد الرحمن بن عبد الرحيم المباركفوري) กล่าวว่า
وَقَدْ تَقَدَّمَ أَنَّ الْقَوْلَ الرَّاجِحَ هُوَ أَنَّ الْقُنُوتَ مُخْتَصٌّ بِالنَّوَازِلِ ، وَأَنَّهُ يَنْبَغِي عِنْدَ نُزُولِ النَّازِلَةِ أَنْ لَا تُخَصَّ بِهِ صَلَاةٌ دُونَ صَلَاةٍ
และได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า แท้จริงทัศนะที่มีน้ำหนัก คือ การอ่านกุนูตนั้น เฉพาะกับเคราะห์ร้ายเกิดขึ้น(กับมุสลิม) และแท้จริงสมควรที่จะอ่านเวลาเคราะห์ร้ายเกิดขึ้น ไม่จำกัดละหมาดหนึ่งโดยไม่อ่านในละหมาดอื่น
- ดูตัวะฟะตุลอะหวะซีย์ เรื่อง باب ما جاء في ترك القنوت
fat บันทึก: | ขอคำอธิบายเรื่อง
1. ดุอาอฺกูนูตในละหมาดซุบฮฺ ทำไมถึงไม่มี (ตอนนี้ผมไม่ได้อ่านกูนูต) แต่ต้องการคำอธิบายเพื่อที่จะอธิบายคนอื่นให้ถูกต้อง
|
ตอบ
السؤال
هل يذكر الحديث أن الدعاء بعد الصلاة مستجاب، وأن رفع اليدين من السنة ؟ وكيف نقول لشخص يرفع يديه بعد الصلاة بأن النبي - صلى الله عليه وسلم - لم يرفع يديه بعد الصلاة ؟
ถาม
มีหะดิษถูกระบุไว้หรือไม่ว่า การอ่านดุอาหลังละหมาด เป็นสิ่งที่ถูกตอบรับ และการยกมือทั้งสองเป็นสุนนะฮ ? เราจะกล่าวอย่างไรดี สำหรับผู้ที่ยกมือทังสองของเขา หลังจากละหมาด โดยที่ท่านนบี ไม่ได้ยกมือทั้งสองของท่านหลังจากละหมาด?
الجواب
لا يوجد حديث أن الدعاء بعد الصلاة مستجاب، بل الدعاء في صلب الصلاة أولى من الدعاء بعدها، ولا يشرع رفع اليدين إذا دعا بعد الصلاة الفريضة أو النافلة؛ لعدم ورود ذلك ، وهو أمر تعبدي توقيفي ، لا يفعل إلا بنص، والله أعلم.
ตอบ
ไม่พบหะดิษบทใดเลยที่ว่า การอ่านดุอาหลังจากละหมาดนั้น เป็นสิ่งที่ถูกตอบรับ แต่ทว่า การอ่านดุอาในละหมาด ย่อมดีกว่า การอ่านดุอาหลังละหมาด และไม่มีบัญญัติใช้ให้ยกมือทั้งสอง เมื่อขอดุอาหลังจากละหมาดฟัรดูและละหมาดอาสา เพราะดังกล่าวนั้นไม่มีรายงาน ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ อิบาดะฮ ที่เกียวกับการหยุดอยู่ที่คำสั่ง เขาอย่าได้กระทำ นอกจาก ด้วยหลักฐานเท่านั้น
والله أعلم
http://www.islamtoday.net/pen/show_question_content.cfm?id=4176[/b] _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Fri Sep 21, 2012 6:01 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมสรุปมาจากลิงก์นี้ครับ http://www.islamweb.net/fatwa/index.php?page=showfatwa&Option=FatwaId&Id=5340
السؤال
ما حكم رفع اليد بالدعاء بعد كل صلاة فريضه بعد الانتهاء من التسبيح؟ وهل ينكر على من يفعل ذلك بشكل دائم؟ وهل هناك خلاف بين أهل العلم في هذه المسأله؟ وجزاكم الله خيرا
الإجابــة
والحاصل بعد هذا كله أن الدعاء دبر الصلوات بعد الفراغ من الذكر المشروع مشروع ثابت، وأن رفع اليدين في الدعاء أيضاً مشروع ثابت، وعليه فمن دعا بعد كل صلاة ورفع يديه حال الدعاء لا ينكر عليه فعله، ولو داوم على ذلك، وما روي عن بعض أهل العلم من كراهة ذلك مرجوح بما تقدم من الأدلة وأقوال أهل العلم.
ถาม อะไรคือข้อชี้ขาดทางศาสนาเกี่ยวกับการยกมือขณะดุอาหลังละหมาดฟัรดู หลังจากเสร็จจากการกล่าวตัสเบียะห์แล้ว ? และจะต้องแสดงการปฏิเสธต่อผู้กระทำเช่นนั้นทุกรูปแบบใช่ไหม ? และเรื่องดังกล่าวมีความเห็นแตกต่างกันในหมู่ผู้รู้หรือไม่ ? ขออัลลอฮ์โปรดตอบแทนความดีแก่พวกท่าน
ตอบ ..................................... โดยสรุปคือ หลังจากนำเสนอเรื่องดังกล่าวมาทั้งหมด การดุอาหลังละหมาดฟัรดู หลังเสร็จจากการซิกรุ้ลลอฮ์ที่มีบัญญัติไว้ เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติที่แข็งแรง และการยกมือในการดุอาก็เป็นส่ิงที่ถูกบัญญัติที่แข็งแรง และเมื่อดำเนินตามที่กล่าวมานี้ ผู้ใดที่ดุอาหลังละหมาดและยกมือขณะดุอา การกระทำของเขาจะไม่ถูกปฏิเสธ แม้ว่าเขาจะทำเช่นนั้นเป็นประจำก็ตาม และสิ่งที่ถูกรายงานจากนักวิชาการบางท่านที่รังเกียจการกระทำเช่นนั้น ถือว่าอ่อนแอ เนื่องจากหลักฐานต่างๆและถ้อยคำจากหมู่่นักวิชาการที่นำเสนอไว้ก่อนนี้
หากท่านใดต้องการละเอียด ลิงก์ไปที่เว๊ปนั้นนะครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Fri Sep 21, 2012 6:27 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมสรุปมาจากลิงก์นี้ครับ http://www.islamweb.net/fatwa/index.php?page=showfatwa&Option=FatwaId&Id=18064
السؤال
هل يجوز القنوت في صلاة الفجر ، وأنا سمعت جوازه في النوازل وإذا نزلت في المسلمين نازلة فيقنت في جميع الصلوات فكيف يقنت في صلاة العصر ؟ أرجو الإجابة بسرعة وجزاكم الله خيراً.
الإجابــة
فمذهب الشافعية والمالكية هو مشروعية القنوت في الفجر، وقد استدلوا بأدلة كثيرة ذكرها الإمام النووي رحمه الله في المجموع، وقال: مذهبنا أنه يستحب القنوت فيها سواء نزلت نازلة أو لم تنزل، وبهذا قال أكثر السلف ومن بعدهم أو كثير منهم، وممن قال به أبو بكر الصديق وعمر بن الخطاب وعثمان بن عفان وعلي وابن عباس والبراء بن عازب رضي الله عنهم. رواه البيهقي بأسانيد صحيحة. وقال به من التابعين فمن بعدهم خلائق، وهو مذهب ابن أبي ليلي والحسن بن صالح ومالك وداود وقال عبد الله بن مسعود وأصحابه وأبو حنيفة وأصحابه وسفيان الثوري وأحمد : لا قنوت في الصبح. انتهى.
ถาม การกุหนูตในละหมาดซุบห์เป็นสิ่งอนุญาตหรือไม่ ? ผมได้ยินมาว่ามันเป็นส่ิงอนุญาตในยามมีภัยพิบัติ เมื่อเกิดภัยพิบัติกับมุสลิม ให้กุหนูตในทุกการละหมาด แล้วจะกุหนูตในละหมาดอัศร์อย่างไร? ผมหวังว่าจะตอบอย่างเร่งด่วน ขออัลลอฮ์โปรดตอบแทนความดีแก่พวกท่าน
ตอบ มัซฮับซาฟีอี มัซฮับมาลิกี ถือว่าการกุหนูตในละหมาดซุบห์เป็นส่ิงถูกบัญญัติ โดยพวกเขามีหลักฐานมากมายมายืนยัน ซึ่งอิหม่ามนะวาวีกล่าวไว้ในหนังสืออัลมัจมั๊วะอ์ และเขากล่าวว่า "มัซฮับของเรา การกุหนูตในละหมาดซุบห์เป็นสุนัต ไม่ว่าจะเกิดภัยพิบัติหรือไม่ก็ตาม และชาวสะลัฟจำนวนมากกล่าวเช่นนั้น ชนยุคหลังจากพวกเขาหรือจำนวนมากจากพวกเขาก็เช่นกัน ส่วนหนึ่งจากผู้กล่าวเช่นนั้นคือ อบูบักร์อัศศิดดีก อุมัรบุตรอัลคอตตอบ อุสมานบุตรอัฟฟาน อะลี อิบน์อับบาส อัลบัรรออ์บุตรอาซิบ (ขออัลลอฮ์โปรดพึงพอพระหทัยพวกเขาทุกคน) ทั้งหมดนี้รายงานโดยอัลบัยฮากี โดยมีสายรายงานที่ถูกต้องมากมาย และกล่าวเช่นนี้อีกจำนวนมากมายจากยุคตาบิอีนและชนยุคหลังจากพวกเขา และมันคือแนวทางของอบีลัยลา อัลหะซันบุตรซอและห์ มาลิก และดาวูด
ท่านอับดุลลอฮ์บุตรมัสอู๊ดและลูกศิษย์ของเขา อบูหะนีฟะฮ์และลูกศิษย์ของเขา ซุฟยานอัสเซารี และอะห์มัด กล่าวว่า ไม่มีกุหนูตในละหมาดซุบห์ จบ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
fat มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 19/09/2012 ตอบ: 8 ที่อยู่: ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล
|
ตอบ: Fri Sep 21, 2012 9:33 am ชื่อกระทู้: ขอคำอธิบาย |
|
|
เมื่อมีหลายทัศนะ หลายๆคนที่มีความรู้น้อย ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าฮาดีษไหน ซอเฮี็ยะ ฮาดิษไหนไม่ซอเฮี๊ยะ แล้วเราจะปฏิบัติอย่างไร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Sep 21, 2012 10:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณ อับดุฮ ครับ คุณช่วยนำหลักฐานต่อไปนี้ได้ไหม
๑. หลักฐานที่นบี ยกมือดุอาหลังเสร็จละหมาดฟัรดู โดยหันหลังให้แก่มะมูม แล้วมะมูม แต่ละคนกล่าวอามีน
๒. มีใหมหลักฐานที่เศาะเฮียะ ที่นบีและเหล่าเคาะลิฟะฮทั้งสี่ อ่านกุนูตในละหมาดศุบฮิเป็นประจำ
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน เพราะคุณคัดมาบางส่วนของฟัตวา แล้วที่เหลือโยนไปให้ผู้อ่านอ่านเอาเอง ทั้งๆที่ผู้อ่านไม่ได้เหมือนคุณทุกคน _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Sat Sep 22, 2012 8:03 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมต้องขอโทษท่านที่อ่านภาษาอาหรับไม่ได้ด้วยครับ ส่วนการสับสนนั้นมันมีบ่อเกิดจากหลายสาเหตุครับ หากคุณอะสันคิดว่าการนำเสนอแบบผมมันคลุมเครือ เพราะเหมือนมีการตัดต่อ(ซึ่งผมไม่เคยทำอย่างนั้น) ผมขออนุญาตนำคำตอบจากเว๊ปอาจารย์อาลี เสือสมิง มาถ่ายทอดตรงนี้ เพราะเป็นภาษาไทย เข้าใจได้ทันที
http://www.alisuasaming.com/qa/index.php?topic=152.0
มีรายละเอียดดังนี้
อาจารย์ครับ การยกมือขอดุอาหลังละหมาดฟัรดูมีสุนนะให้ยกมือรึป่าวครับเห็นอุลามาในซาอุดี้เค้าฟัตวาว่าไม่มีการยกมือขอดุอาหลังละหมาดฟัรดู
1 มัสยิด ฮารอมเค้าก็ปฏิบัตกันอยู่ใช่รึป่าวครับ คือไม่ยกมือหลังละหมาดฟัรดู
2 ยกมือกับไม่ยกมืออันไหนคือซุนนะครับหลังละหมาดฟัรดูเนียผมจะได้เลือกปฏิบัตตามซุนนะครับเห็นที่มัสยิดแถวบ้าน
พออีม่ามยกมือมะมูมก็ยกตามกันแล้วกล่าวอามีน มีซุนนะรึป่าวถ้าไม่มีผมจะได้ไม่ทำครับเพราะผมอยากตามซุนนะครับ
3 แล้วฮะดีษที่บอกว่าให้อ่านกูนูตในซุบฮิอะมันดออีฟจริงป่าวครับ ที่รายงานโดยท่านอนัส บิน มาลิก อ่ะครับ
และหากมันดออีฟ แสดงว่า นบีไม่ได้อ่าน หรอครับ แล้วถ้าเราทำตามที่มัสยิดเค้าโดยการยกมืออ่านกูนูตเราทำผิดรึป่าวครับ
4 แล้วสุนนะ นบี เนีย อ่านกูนูตในนมาซ ซุบฮิ รึปาวครับ ไม่ถามว่าเป็นบิดอะมั้ยแต่ถามว่า สุนนะนบียกมืออ่านหรือไม่
ยกมืออ่านครับ อัลลอฮุมมะดีนี ทำนองนี้อ่ะครับ
5 แล้วกูนูตในละหมาดวิเตร ละครับ รอ่กะอัตสุดท้าย ตามสุนนะเนียยกมืออ่านรึป่าวครับที่มีสำนวนว่า อัลลอฮุมมาดินี ฟีมันฮาดัย อ่ะครับ การยกมือกลับไม่ยกอันไหนดีกว่าครับ และที่ไกล้เคียงสุนนะที่สุด ในกูนูตในนมาซวิเตร ยกมืออ่านหรือไม่ยกมือ อ่าน ชัดเจนหน่อยน่ะครับ จะได้ปฏิบัตได้ถูกต้องครับ เพราะอยากจะตามสุนนะจริงๆอ่ะครับ ญาซากัลลอฮุคอยรอนครับ
6 อยากทราบว่า ถ้ามีหลักฐานจากสุนนะแล้ว เนีย การกิยาสทีอุลามา บอกใว้เราไม่ต้องเอาหรอครับ เช่น การจ่ายซะกาตฟิตเราะเป็นเงินอ่ะครับ เป็นการกิยาสของ อบูฮานีฟะ ไม่มีตัวบทหรอครับ และการกล่าวอุซอลลี เป็นการกิยาสของอีม่ามชาฟีอี ไม่มีตัวบทใช่มั้ยครับ
เราต้องเลือกตามสุนนะใช่มั้ยครับอาจารย์ผมคิดถูกมั้ยครับ
7 การตัดสินปัญหาศาสนาเค้าตัดสินกันยังไงครับ ตอบด้วยน่ะครับ ทัศนะของอาจารย์อ่ะครับตัดสินยังไงหรอครับ
อยากให้เรียงลำดับให้ดูหน่อยอ่ะครับ เช่น กุรอ่าน ซุนนะ การกระทำของซอฮาบะ อิจมา กิยาส ทำนองนี้เป็นต้นครับ
8 แล้วทัศน่ะของ อะฮลิซซุนนะวัลญามะอ่ะ เค้าตัดสิน ยังไง ครับ ที่ชัดเจนที่สุดอ่ะครับ ถ้ามีแบบจากนบี เลือกทำตามนบีใช่มั้ยครับ
ขอบคุณอาจารย์ที่สุดครับ จะได้หายข้องใจซะที่ครับ
บันทึกการเข้า
อ.อาลี เสือสมิง
Global Moderator
Hero Member
กระทู้: 502
Re: ไม่ถามแล้วว่าเป็นบิดอะรึป่าวแต่ถามว่ามีแบบอย่างจากร่อซู้ล ซ ล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2008, 08:31:30 PM »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد ....؛
คุณฮัซซาน ถามมาถึง 8 ข้อ เต็มหน้าพอดีเฉพาะคำถาม หากจะตอบโดยละเอียดคงเขียนหนังสือได้เล่มหนึ่งทีเดียว! เอาเป็นว่าขอเลือกตอบโดยไม่เรียงลำดับข้อแล้วกัน
8. ถูกต้องครับ! อะฮฺลิซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺจะตัดสินตามตัวบทเป็นอันดับแรกในกรณีที่มีตัวบทชัดเจนและถูกต้อง และเมื่อมีแบบจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)รายงานมาอย่างชัดเจนและถูกต้องก็ต้องเลือกแบบที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวหรือกระทำเอาไว้ครับ
แต่ต้องเข้าใจว่า บางกรณีท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ก็กระทำเอาไว้ให้เป็นแบบมากกว่าหนึ่งแบบก็มี เช่น วิธีการละหมาดวิตร์ สำนวนการอ่านดุอาอฺอิฟติตาฮฺ สำนวนการตัสบีฮฺในละหมาด การนั่งตะชะฮฺฮุดแบบอิฟติรอชฺหรือตะวัรรุก การตักบีรในละหมาดญะนาซะฮฺ เป็นต้น
บางกรณีท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)กล่าวเอาไว้ (ซุนนะฮฺ เกาลียะฮฺ) แต่นักวิชาการระดับมุจตะฮิดหรือชนรุ่นซอฮาบะฮฺอธิบายความเข้าใจจากตัวบทด้วยมุมมองที่แตกต่างกันก็มีหรือมีมุมมองต่อสถานภาพของหะดีษที่รายงานมาแตกต่างกันอันเป็นผลให้การให้น้ำหนักในประเด็นนั้น ๆ แตกต่างกันก็มี
กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อมีตัวบทระบุมาแล้วทำไมนักวิชาการจึงมีมุมมองต่างกัน เรื่องนี้กลับไปยังสาเหตุใหญ่ ๆ 4 ประการ คือ
1. การมีความเห็นต่างกันว่า ตัวบทนั้นเป็นที่ยืนยันในการเป็นหลักฐานหรือไม่? รวมถึงการที่ตัวบทนั้น ๆ ไปถึงอิหม่ามท่านนี้และไปไม่ถึงอิหม่ามท่านนั้นด้วย เป็นต้น
2. การมีความเข้าใจตัวบทต่างกัน
3. การมีความแตกต่างของวิธีการรวมหลักฐานและการให้น้ำหนักระหว่างบรรดาตัวบทที่ขัดกัน
4. การมีความแตกต่างกันในบรรดากฎมูลฐานและที่มาของการวินิจฉัย (แหล่งอ้างอิง)
7. การตัดสินปัญหาศาสนามีกฎระเบียบและคุณสมบัติของผู้ทำหน้าที่ตัดสินปัญหาศาสนาที่นักวิชาการระบุเอาไว้ เรียกว่า (อาดาบุ้ลมุฟตีย์ วัล มุสตัฟตีย์) ผมมิใช่มุฟตีย์หรือผู้ตัดสิน (หรือผู้วินิจฉัยปัญหา) แต่เป็นคนกลางที่ถ่ายทอด (นักฺล์) คำวินิจฉัยของนักวิชาการที่มีระบุเอาไว้ในตำรับตำราอ้างอิงเท่านั้น ยกเว้นบางประเด็นข้อปัญหาที่ไม่สามารถค้นหาจากตำราอ้างอิงได้ ก็จะตอบตามความเห็นความเข้าใจซึ่งเป็นไปตามภูมิความรู้ที่ร่ำเรียนมา
หากผิดพลาด ผมก็ต้องรับผิดชอบเอาเองถึงผลที่จะตามมา ซึ่งก็ต้องบอกตามตรงว่า อาจจะผิดและแย้งกับความเห็นของผู้รู้ท่านอื่นก็ได้ การที่ผมเปิดกระดานถามตอบในเว็บไซด์นี้ ผมก็ต้องเตรียมใจเอาไว้แล้วต่อความรับผิดชอบทางวิชาการ มีเจตนาในการสร้างความเข้าใจอันดีแก่ผู้เข้ามาใช้บริการ มิได้มีเจตนาเพื่อโอ้อวดภูมิความรู้และทำเพื่อชื่อเสียงหรือหาแนวร่วมแต่อย่างใด พระองค์อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน
ส่วนตัวอย่างที่ถามมาในการเรียงลำดับการตอบปัญหาศาสนานั้น อาทิเช่น ข้อชี้ขาดว่าด้วยการบัญญัติการอะซาน
อัลกุรอาน : ซูเราะห์อัลญุมุอะฮฺ อายะฮฺที่ 9 (ตัวบท)
ซุนนะฮฺ : ตัวบท) ความหมาย เมื่อการละหมาดมาถึง คนหนึ่งในหมู่พวกท่านจงทำการอะซานให้แก่พวกท่าน... (รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม)
อิจญ์มาอฺ : ถ่ายทอดการอิจญ์มาอฺจากการระบุของนักวิชาการ
(ส่วนกิย๊าสนั้น เมื่อมีตัวบทระบุมาชัดเจนเด็ดขาดก็จะไม่มีการกิย๊าส เพราะ (لاقياس مع النص) อย่างนี้ เป็นต้น) หลังจากนั้นอาจจะมีการนำเสนอมุมมองของนักวิชาการที่มีต่อคำสั่งในตัวบทประกอบด้วยก็ได้ เช่น การอะซานในวันศุกร์ช่วงใดที่จำต้องละทิ้งการซื้อขาย การซื้อขายในขณะช่วงเวลานั้นใช้ได้หรือไม่? และห้ามตั้งแต่เวลาไหนถึงไหน สำนวนที่ระบุในหะดีษว่า จงทำการอะซาน บ่งว่ามีข้อชี้ขาดอย่างไร? เป็นต้น
ส่วนการกิย๊าส ซึ่งหมายถึง การผนวกเรื่องที่ไม่มีตัวบทระบุถึงฮุ่ก่มตามหลักชัรอีย์ของเรื่องนั้นเข้าไปยังเรื่องที่มีตัวบทระบุถึงฮุก่มของมัน เนื่องจากทั้งสองเรื่องร่วมกันในเหตุผลของฮุก่มนั้น (อัลลุมะอฺ , ชีรอซีย์ 51/มิรอาตุ้ลอุซู้ล 2/275 , เราเฎาะฮฺ อันนาซิร 2/227 , อุซูลลุลฟิกฮิ ; ซะกียุดดีน ชะอฺบาน 59) ก็จะถูกนำมาใช้ในกรณี
เช่น มีคำถามมาว่า การดื่ม 4x100 มีข้อชี้ขาดอย่างไร? ก็ต้องพิจารณาว่า 4x100 ไม่มีตัวบทกำหนดข้อชี้ขาดเอาไว้ แต่มีตัวบทเด็ดขาดกำหนดห้ามสุรายาเมาในคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษ เราก็ต้องหาเหตุผล (อิลละฮฺ) ของการห้ามสุรายาเมา ซึ่งก็คือการทำให้มึนเมา (อิสก๊ารฺ) เพราะมันก่อให้เกิดความเสียหายทางศาสนาและทางโลกทั้งในส่วนตัวของผู้ดื่มสุรายาเมาและผู้อื่น เมื่อพิจารณาก็พบว่า การทำให้มึนเมานั้น มีอยู่จริงในการดื่ม 4x100 ดังนั้น 4x100 จึงถูกผนวกเข้ากับสุรายาเมาในการห้ามดื่มหรือเสพย์เช่นกัน สุรายาเมาจึงเป็นฐาน (อัศลฺ) 4X100 ถือเป็นหน่วยย่อย (ฟัรอฺ) และข้อชี้ขาด คือ เป็นที่ต้องห้าม (ตะฮฺรีม) และเหตุผล (อิลละฮฺ) ที่ร่วมกันระหว่างทั้งสองคือ การทำให้มึนเมา เป็นต้น
6. ถ้ามีหลักฐานจากซุนนะฮฺชัดเจน ถูกต้อง และเด็ดขาดจะใช้การกิย๊าสไม่ได้ เพราะถือตามกฎนิติศาสตร์ที่ว่า (لاَقِيَاسَ مع النَّصِّ) ส่วนการที่อุละมะอฺกิย๊าสนั้น จะกิย๊าสในประเด็นปัญหาที่ไม่มีตัวบทระบุถึงข้อชี้ขาดของสิ่งนั้น (غَيْرُ مَنْصُوْصٍ عليه)
ส่วนที่ยกตัวอย่างเรื่องการจ่ายฟิตเราะฮฺเป็นเงินนั้น จะว่าเป็นการกิย๊าสก็ไม่ถูกนัก เพราะนักวิชาการที่อนุญาตเรื่องดังกล่าวพิจารณาจากเป้าหมายของตัวบทที่ว่า จงทำให้พวกเขา-คนยากจน-พอเพียงในวันนี้ (อีด) การทำให้พอเพียงเกิดขึ้นจริงได้ด้วยการออกค่าที่ตีจากอาหาร (กีมะฮฺ) ดู ฟิกฮุซซิยาม ; ยูซุฟ อัลก็อรฎอวีย์ เล่มที่ 2 หน้า 1002-1004)
กรณีการกล่าวอุซอลลีก็มิใช่การกิย๊าสของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฎ.) หากแต่เป็นความเข้าใจของอบู อับดิลลาฮฺ อัซซุบัยรีย์ ซึ่งเจ้าของตำราอัลฮาวีย์ กล่าวว่า : บุคคลผู้นี้กล่าวว่า จะใช้ไม่ได้จนกว่าผู้ละหมาดจะรวมระหว่างการเหนียตของหัวใจและการเปล่งวาจาของลิ้น โดยมีเหตุผลว่า อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฎ.) กล่าวไว้ในเรื่องฮัจญ์ว่า : เมื่อเขาเหนียตฮัจญ์หรืออุมเราะฮฺก็ถือว่าใช้ได้ ถึงแม้ว่า จะไม่เปล่งวาจาออกมา
(อบูอับดิลลาฮฺ อ้างว่า) ฮัจญ์ไม่เหมือนกับการละหมาดซึ่งการละหมาดจะใช้ไม่ได้นอกจากต้องเปล่งวาจาออกมา บรรดานักวิชาการในมัซฮับอัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า : ผู้ที่กล่าวนี้ (คืออบู อับดิลลาฮฺ) ผิดพลาดแล้ว เป้าหมายของอัชชาฟิอีย์ที่ว่าให้เปล่งวาจาในละหมาดมิใช่สิ่งนี้ หากแต่หมายถึงการกล่าวตักบีร่อตุ้ลเอียะฮฺรอม (อัลมัจญมูอฺ เล่มที่ 3 หน้า 241)
3. หะดีษที่รายงานจากท่านอนัส อิบนุ มาลิก (ร.ฎ.) นั้น เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ นักท่องจำหะดีษกลุ่มหนึ่งได้รายงานและชี้ขาดว่า เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ ส่วนหนึ่งจากนักวิชาการที่ระบุว่า เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ คือ อัลฮาฟิซฺ อบู อับดิลลาฮฺ มุฮำมัด อิบนุ อะลี อัลบะละคี่ย์ , อัลฮากิม อบู อับดิลลาฮฺ ในหลายที่จากบรรดาตำราของท่าน และอัลบัยหะกีย์ ตลอดจนอัดดาร่อกุฏนีย์ ก็รายงานเอาไว้ด้วยบรรดาสายรายงานที่ซ่อฮีฮฺ
ส่วนหะดีษของท่านอะนัสอีกบทหนึ่งและหะดีษของท่านอบี ฮุรอยเราะฮฺที่ระบุว่า ต่อมาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ละทิ้งการดุอาอฺนั้น นักวิชาการฝ่ายอัชชาฟิอีย์ตอบว่า หมายถึง ละทิ้งการดุอาอฺสาปแช่งต่อบรรดากุฟฟ๊ารเหล่านั้นเท่านั้น มิได้หมายถึง ละทิ้งการกุหนูตทั้งหมด หรือละทิ้งการกุหนูตในละหมาดอื่นนอกจากศุบฮิ ทั้งนี้เพราะหะดีษของอะนัส (ร.ฎ.) ที่ระบุว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังคงกุหนูตในศุบฮิจนกระทั่งท่านจากโลกนี้ไป เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺที่ชัดเจน ก็จำเป็นต้องรวมหะดีษทั้งสองรายงานเข้าด้วยกัน (ดูรายละเอียดในอัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุล มุฮัซซับ , อิหม่ามอันนะวาวีย์ เล่มที่ 3 หน้า 483-485) ดังนั้นการละหมาดตามอิหม่ามที่อ่านกุหนูตจึงไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่อย่างใด
4. ถ้าถือตามนักวิชาการและชาวสะลัฟส่วนใหญ่ เช่น ท่านอบูบักร , อุมัร , อุสมาน , อะลี , อิบนุ อับบาส , อัลบะรออฺ และตาบิอีน ซึ่งอาศัยตัวบทจากข้อที่ 3 ก็ถือว่าเป็นซุนนะฮฺให้กุหนูตในละหมาดศุบฮิ ส่วนการยกมือในขณะดุอาอฺกุหนูตนั้นก็มีหลักฐานที่รายงานโดย อัลบัยหะกีย์ ด้วยสายรายงานที่ซ่อฮีฮฺหรือฮะซัน จากท่านอะนัส (ร.ฎ.) ว่าท่านอะนัสเห็นร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ยกมือทั้งสอง และซ่อฮาบะฮฺจำนวนหนึ่งก็ยกมือในการกุหนูต เช่น ท่านอุมัร (ร.ฎ.) ซึ่งท่านอัลบัยหะกีย์ระบุว่า ซ่อฮีฮฺ (อ้างแล้ว เล่มที่ 3 หน้า 479) ฉะนั้นในมัซฮับอัชชาฟิอีย์ จึงระบุทัศนะที่ถูกต้อง (ซ่อฮีฮฺ) เอาไว้ว่า มีซุนนะฮฺให้ยกมือทั้งสองโดยไม่ต้องลูบหน้าเมื่อดุอาอฺ (กุหนูต) จบ (อ้างแล้ว เล่มที่ 3 หน้า 480)
5. การกุหนูตในละหมาดวิตฺร์ ก็เช่นกัน มีซุนนะฮฺให้ยกมือดังรายละเอียดที่กล่าวมาแล้วในข้อที่ 4 ส่วนการอ่านดุอาอฺกุหนูตด้วยสำนวนเฉพาะนั้น ทัศนะที่ถูกต้องไม่มีสำนวนที่เจาะจงเฉพาะ ขอดุอาอฺใดก็ได้ ส่วนสำนวน อัลลอฮุมมะฮฺดินีฯ นั้นมีรายงานชัดเจนจากท่านอัลหะซัน อิบนุ อะลี (ร.ฎ.) ว่าท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้สอนดุอาอฺสำนวนนี้ให้กับท่าน รายงานโดย อบูดาวูด อัตติรมิซีย์ อันนะซาอีย์ และท่านอื่น ๆ ด้วยสายรายงานที่ซ่อฮีฮฺ แต่อัตติรมิซีย์กล่าวว่า นี่เป็นหะดีษฮะซัน (อ้างแล้ว เล่มที่ 3 หน้า 476)
2. การยกมือขณะขอดุอาอฺมีรายงานระบุในซุนนะฮฺของท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อย่างมากมาย นักวิชาการระบุว่าถึงขั้นมุตะวาติรมะอฺนา ทั้งนี้เมื่อละหมาดเสร็จแล้วมีซุนนะฮฺให้กล่าวคำซิกรุ้ลลอฮฺที่มีรายงานมา หลังจากนั้นก็มีซุนนะฮฺให้กล่าวคำซ่อละหวาต เมื่อซ่อละหวาตแล้วจะขอดุอาอฺหลังละหมาดได้ตามประสงค์ และเมื่อจะขอดุอาอฺก็มีซุนนะฮฺให้ยกมือ ส่วนจะไม่ยกมือก็ไม่เป็นอะไร เพราะเป็นซุนนะฮฺเท่านั้น ถ้าเราจะขอดุอาอฺตามอิหม่ามก็ได้ โดยให้เรากล่าวอามีน
ส่วนฟัตวาของชัยค์ บิน บ๊าซฺ (ร.ฮ.) นั้นท่านแยกระหว่างละหมาดฟัรฎูกับละหมาดซุนนะฮฺ โดยสรุปว่า การขอดุอาอฺหลังละหมาดฟัรฎู นั้นไม่มีบัญญัติให้ยกมือ ส่วนหลังละหมาดซุนนะฮฺ ท่านระบุว่าไม่ทราบว่ามีข้อห้ามในการยกมือในการขอดุอาอฺ โดยถือตามนัยกว้าง ๆ ของหลักฐาน ซึ่งการแยกระหว่างหลังละหมาดฟัรฎูกับหลังละหมาดซุนนะฮฺไม่น่าจะถูกต้องนักเพราะถ้าหลังละหมาดฟัรฎูไม่มีบัญญัติให้ยกมือ หลังละหมาดซุนนะฮฺก็น่าจะไม่มีบัญญัติเหมือนกัน และถ้าหากอาศัยนัยกว้าง ๆ ของหลักฐานมารับรองการยกมือหลังละหมาดซุนนะฮฺ ก็น่าจะใช้นัยกว้าง ๆ นั้นมารับรองการยกมือหลังละหมาดฟัรฎูด้วย (ดูมัจญมูอฺ ฟะตาวา , ชัยค์ บินบ๊าซฺ เล่มที่ 11/180-181)
1. การกระทำของผู้คนที่มัสญิดฮะรอมนั้นไม่เป็นหลักฐานทางวิชาการในการชี้ขาดปัญหาศาสนา เพราะผู้คนที่มาร่วมละหมาดนั้น มีความหลากหลาย อิหม่ามมัสญิดฮะรอมอาจจะไม่ยกมือขอดุอาอฺหลังละหมาด แต่คนที่มาร่วมละหมาดอาจจะยกมือขอดุอาอฺกันเป็นจำนวนมากก็ได้
(والله أعلم)
อีกอันครับ
http://www.alisuasaming.com/qa/index.php?topic=957.0
มีรายละเอียดดังนี้
นักศึกษา
บุคคลทั่วไป
จะเอายังไงดี (กุนุตในละหมาดซุบฮฺ)
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2009, 10:28:03 PM »
อาจารย์ครับผมอยากทราบรายละเอียด เกี่ยวกับกุนุตซุบฮิหน่อยอ่ะครับ ว่าทัศนะใหนมีน้ำหนัก และถ้าทำผิดหรือไม่และถ้าไม่ทำผิดหรือไม่ครับ อาจเป็นคำถามน่าเบื่อ แต่รบกวนอาจารย์หน่อยนะครับ จะได้เข้าใจหลักฐานของทั้งสองฝ่าย
ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2009, 10:57:01 AM โดย admin »
บันทึกการเข้า
อ.อาลี เสือสมิง
Global Moderator
Hero Member
กระทู้: 502
Re: จะเอายังไงดี (กุนุตในละหมาดซุบฮฺ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2009, 07:38:10 AM »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛
ตามมัซฮับอัชชาฟีอีย์ ถือว่า ส่งเสริมให้กุหนูตในละหมาดซุบฮิไม่ว่าจะมีภัยพิบัติลงมาหรือไม่ก็ตาม และตามนี้ชาวสะลัฟส่วนใหญ่และชนรุ่นถัดมาหรือส่วนใหญ่จากชนรุ่นหลังสะลัฟกล่าวเอาไว้ ส่วนหนึ่งคือ อบูบักร, อุมัร, อุสมาน, อะลี อิบนุ อับบาส, อัลบะรออฺ, อิบนุ อาซิบ (ร.ฎ.) โดยอัลบัยหะกีย์ได้รายงานเอาไว้ด้วยสายรายงานที่ถูกต้องและชนรุ่นตาบิอีนและผู้คนรุ่นหลังพวกเขาเป็นอันมากได้กล่าวเอาไว้ และเป็นมัซฮับของอิบนุ อบีลัยลา, อัลหะซัน อิบนุ ซอลิฮฺ, มาลิกและดาวูด, อับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอู๊ดและสานุศิษย์ของท่านตลอดจนอบูฮะนีฟะฮฺและสานุศิษย์ของท่าน
-----------------------------------------------------------
และซุฟยานอัซเซารีย์และอะฮฺหมัดกล่าวว่า : ไม่มีกุหนูตในการละหมาดซุบฮิ อะฮฺหมัดกล่าวว่า : ยกเว้นผู้เป็นอิหม่ามให้ทำการกุหนูตเมื่อมีการส่งกองทัพออกไปทำศึก อิสหากกล่าวว่า : ให้กุหนูตเฉพาะมีภัยพิบัติลงมาเท่านั้น โดยฝ่ายที่ระบุว่า ไม่มีการกุหนูตในละหมาดซุบฮิ อ้างหลักฐานจากฮะดีษของอะนัส (ร.ฎ.) ที่ว่า แท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ทำการกุหนูตเป็นเวลา 1 เดือนหลังการรุ่กัวอฺโดยขอดุอาอฺสาปแช่งกลุ่มชนหนึ่งจากชาวอาหรับ ต่อมาท่านก็ละทิ้ง (การกุหนูต) รายงานโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
และในซ่อฮีฮฺของทั้งสองมีรายงานจากอบีฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) ว่า : แท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กุหนูตหลังการรุ่กัวอฺในการละหมาดของท่านเป็นเวลา 1 เดือนโดยขอดุอาอฺแก่นายก. นายข. ต่อมาท่านได้ละทิ้งการขอดุอาอฺแก่พวกเขา และรายงานจากสะอฺด์ อิบนุ ฏอริก กล่าวว่า : ฉันได้กล่าวกับบิดาของฉันว่า พ่อจ๋า! พ่อเคยละหมาดข้างหลังท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อบูบักร, อุมัร, อุสมาน และอะลี พวกเขาเคยกุหนูตในละหมาดฟัจร์หรือไม่? พ่อของฉันกล่าวว่า : โอ้ลูกเอ๋ย นั่นนะเป็นอุตริกรรม! อันนะซาอีย์และอัตติรมิซีย์รายงานเอาไว้ และอัตติรมิซีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษหะซันซ่อฮีฮฺ
และมีรายงานจากอิบนุมัสอู๊ด (ร.ฎ.) ว่า : ท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) มิได้กุหนูตในสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากการละหมาดของท่านเลยและมีรายงานจากอบีมุค็อลลัดฺ กล่าวว่า : ฉันเคยละหมาดพร้อมกับอิบนุอุมัร (ร.ฎ.) ในการละหมาดซุบฮิ อิบนุ อุมัรมิได้กุหนูต ฉันจึงกล่าวกับเขาว่า : ฉันไม่เห็นท่านทำการกุหนูต? อิบนุ อุมัรกล่าวว่า : ฉันมิได้จดจำมันจากคนหนึ่งคนใดจากสหายของเรา และอิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) กล่าวว่า : การกุหนูตในซุบฮิเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) และมีรายงานจากอุมมุสล่ามะฮฺจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่าท่านนบีห้ามจากการกุหนูตในซุบฮิ รายงานโดยอัลบัยหะกีย์
-----------------------------------------------------------
แต่ฝ่ายอัชชาฟิอีย์อ้างหลักฐานจากหะดีษของท่านอะนัส (ร.ฎ.) แท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กุหนูตเป็นเวลา 1 เดือน โดยขอดุอาอฺสาปแช่งพวกเขา ต่อมาท่านก็ละทิ้ง ส่วนในการละหมาดซุบฮินั้น ท่านยังคงทำการกุหนูตอยู่จวบจนกระทั่งท่านจากโลกนี้ไป เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺที่รายงานโดยนักท่องจำหะดีษกลุ่มหนึ่งและพวกเขาถือว่าเป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ ส่วนหนึ่งจากผู้ที่ระบุว่าเป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ คือ อัลฮาฟิซฺ อบูอับดิลลาฮฺ มุฮำหมัด อิบนุ อะลี อัลบะละคีย์และอัลฮากิม อบู อับดิลลาฮฺในหลาย ๆ ที่จากตำรับตำราของเขา และอัลบัยหะกีย์ ตลอดจนอัดดาร่อกุฏนีย์ ได้รายงานหะดีษบทนี้เอาไว้จากสายรายงานต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
และรายงานจากอัลเอาวามฺ อิบนุ ฮัมซะฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้ถามอบูอุสมานถึงการกุหนูตในซุบฮิ เขากล่าวว่า : หลังการรุ่กัวอฺ ฉันถามว่า : จากผู้ใดเล่า? เขากล่าวว่า : จากอบูบักร อุมัร และอุสมาน (ร.ฎ.) รายงานโดยอัลบัยหะกีย์และเขากล่าวว่า : นี่เป็นสายรายงานที่ดีและอัลบัยหะกีย์ได้รายงานจากอุมัรอีกหลายกระแสรายงาน ...
ส่วนคำตอบจากหะดีษของอะนัสและอบูฮุรอยเราะฮฺในคำกล่าวที่ว่า ต่อมาท่านนบีก็ละทิ้งมัน นั้นหมายถึง การละทิ้งการขอดุอาอฺสาปแช่งพวกกุฟฟ๊ารเหล่านั้นเท่านั้น มิได้หมายถึงละทิ้งการกุหนูตทั้งหมดหรือละทิ้งการกุหนูตในเวลาอื่นนอกจากการละหมาดซุบฮิ การตีความนี้เป็นสิ่งที่จำต้องเจาะจงเช่นนั้น เพราะหะดีษของท่านอะนัสในคำกล่าวที่ว่า : ท่านนบียังคงกุหนูตในซุบฮิจวบจนกระทั่งท่านจากโลกนี้ไป เป็นสิ่งที่ถูกต้องชัดเจน จึงจำเป็นต้องรวมนัยทั้งสองเอาไว้ ซึ่งอัลบัยหะกีย์ได้รายงานจากอับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ มะฮฺดีย์ว่า : อันที่จริงท่านนบีละทิ้งเพียงการสาปแช่งเท่านั้น ซึ่งสายรายงานของอบูฮุรอยเราะฮฺที่กล่าวมาก่อน (ต่อมาท่านก็ละทิ้งการขอดุอาอฺแก่พวกเขา) มาสร้างความชัดเจนให้กับการตีความนี้
ส่วนหะดีษของสะอฺด์ อิบนุ ตอริก นั้นตอบได้ว่า การรายงานของบรรดาผู้ที่ยืนยันการกุหนูตเอาไว้นั้นพวกเขาได้ให้ความรู้เพิ่มเติมและพวกเขามีจำนวนมากกว่า จึงจำเป็นต้องพิจารณาการรายงานของพวกเขาก่อน และหะดีษของอิบนุมัสอู๊ดนั้นตอบได้ว่า เป็นหะดีษอ่อนมาก ๆ เพราะมาจากรายงานของมุฮำหมัด อิบนุ ญาบิร อัสสะฮฺมีย์ (อัสสุฮัยมี่ย์) ซึ่งอ่อนมากและเป็นมัตรู๊ก อีกทั้งรายงานนั้นเป็นการปฏิเสธ แต่รายงานของอะนัสเป็นการยืนยัน จึงต้องพิจารณารายงานของอะนัสก่อนเพราะเป็นการเพิ่มเติมความรู้
และหะดีษของอิบนอุมัรนั้นตอบได้ว่า อิบนุอุมัรมิได้จดจำหรือเขาหลงลืมไป แต่อะนัสจดจำตลอดจนอัลบะรออฺ อิบนุ อาซิบก็จดจำเอาไว้ (ว่านบีกุหนูต) คนที่จดจำจึงต้องถูกพิจารณาก่อน ส่วนหะดีษของอิบนุอับบาสนั้นตอบได้ว่า เป็นหะดีษอ่อนมาก ๆ อัลบัยหะกีย์ได้รายงานเอาไว้จากการรายงานของอบีลัยลา อัลกูฟีย์และอัลบัยหะกีย์กล่าวว่า : หะดีษนี้ไม่ซ่อฮีฮฺ และอบูลัยลานั้นมัตรู๊ก และเราได้รายงานจากอิบนุอับบาสว่า อิบนุอับบาสได้กุหนูตในละหมาดซุบฮิ
และหะดีษของอุมมุสล่ามะฮฺนั้นตอบได้ว่าเป็นหะดีษอ่อนเพราะเป็นรายงานจากมุฮำหมัด อิบนุ ยะอฺลา จากอัมบะซะฮฺ อิบนุ อับดิรเราะฮฺมานจากอับดิลลาฮฺ อิบนุ นาฟิอฺ จากบิดาของเขาจากอุมมุสล่ามะฮฺ อัดดาร่อกุฏนีย์กล่าวว่า : ทั้ง 3 คนนั้นอ่อนหลักฐาน และการรับฟังของนาฟิอฺจากอุมมุสล่ามะฮฺนั้นไม่ถูกต้อง วัลลอฮุอะอฺลัม (กิตาบอัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ ; อันนะวาวีย์ เล่มที่ 3 หน้า 483-485)
-----------------------------------------------------------
อ่านรายละเอียดดูแล้วก็ลองชั่งใจดูว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน ส่วนที่ถามว่า ถ้าทำผิดหรือไม่และไม่ทำผิดหรือไม่ ตอบได้เลยว่า ไม่มีผิดทั้งสองกรณีเพราะการกุหนูตในละหมาดซุบฮิเป็นเพียงซุนนะฮฺ (อับอ๊าฎ) มิใช่สิ่งที่เป็นวาญิบหรือรุ่ก่นของการละหมาด!
والله أعلم بالصواب |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Sep 22, 2012 10:59 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณ อับดุฮ ครับ คุณช่วยนำหลักฐานต่อไปนี้ได้ไหม
๑. หลักฐานที่นบี ยกมือดุอาหลังเสร็จละหมาดฟัรดู โดยหันหลังให้แก่มะมูม แล้วมะมูม แต่ละคนกล่าวอามีน
๒. มีใหมหลักฐานที่เศาะเฮียะ ที่นบีและเหล่าเคาะลิฟะฮทั้งสี่ อ่านกุนูตในละหมาดศุบฮิเป็นประจำ
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน เพราะคุณคัดมาบางส่วนของฟัตวา แล้วที่เหลือโยนไปให้ผู้อ่านอ่านเอาเอง ทั้งๆที่ผู้อ่านไม่ได้เหมือนคุณทุกคน
.........ข้างต้นที่ผมต้องการ คือ ต้องการสิ่งที่เป็นสุนนะฮ ไม่ใช่ความเห็นของอ.อาลี เสือสมิง ครับ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Mon Sep 24, 2012 9:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมว่า อ.อาลีเค้าถ่ายทอดซุนนะฮ์ทั้งสองเรื่องแล้วนะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Sep 29, 2012 1:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
abdooh บันทึก: | ผมว่า อ.อาลีเค้าถ่ายทอดซุนนะฮ์ทั้งสองเรื่องแล้วนะ |
ผมถามคุณยังไม่ได้ตอบ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Sun Sep 30, 2012 7:42 am ชื่อกระทู้: |
|
|
จากคุณอะสัน
๒. มีใหมหลักฐานที่เศาะเฮียะ ที่นบีและเหล่าเคาะลิฟะฮทั้งสี่ อ่านกุนูตในละหมาดศุบฮิเป็นประจำ
ถ่ายทอดโดย อซอาลี
หะดีษของท่านอะนัส (ร.ฎ.) แท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กุหนูตเป็นเวลา 1 เดือน โดยขอดุอาอฺสาปแช่งพวกเขา ต่อมาท่านก็ละทิ้ง ส่วนในการละหมาดซุบฮินั้น ท่านยังคงทำการกุหนูตอยู่จวบจนกระทั่งท่านจากโลกนี้ไป เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺที่รายงานโดยนักท่องจำหะดีษกลุ่มหนึ่งและพวกเขาถือว่าเป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ ส่วนหนึ่งจากผู้ที่ระบุว่าเป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ คือ อัลฮาฟิซฺ อบูอับดิลลาฮฺ มุฮำหมัด อิบนุ อะลี อัลบะละคีย์และอัลฮากิม อบู อับดิลลาฮฺในหลาย ๆ ที่จากตำรับตำราของเขา และอัลบัยหะกีย์ ตลอดจนอัดดาร่อกุฏนีย์ ได้รายงานหะดีษบทนี้เอาไว้จากสายรายงานต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
3. หะดีษที่รายงานจากท่านอนัส อิบนุ มาลิก (ร.ฎ.) นั้น เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ นักท่องจำหะดีษกลุ่มหนึ่งได้รายงานและชี้ขาดว่า เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ ส่วนหนึ่งจากนักวิชาการที่ระบุว่า เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺ คือ อัลฮาฟิซฺ อบู อับดิลลาฮฺ มุฮำมัด อิบนุ อะลี อัลบะละคี่ย์ , อัลฮากิม อบู อับดิลลาฮฺ ในหลายที่จากบรรดาตำราของท่าน และอัลบัยหะกีย์ ตลอดจนอัดดาร่อกุฏนีย์ ก็รายงานเอาไว้ด้วยบรรดาสายรายงานที่ซ่อฮีฮฺ
ส่วนหะดีษของท่านอะนัสอีกบทหนึ่งและหะดีษของท่านอบี ฮุรอยเราะฮฺที่ระบุว่า ต่อมาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ละทิ้งการดุอาอฺนั้น นักวิชาการฝ่ายอัชชาฟิอีย์ตอบว่า หมายถึง ละทิ้งการดุอาอฺสาปแช่งต่อบรรดากุฟฟ๊ารเหล่านั้นเท่านั้น มิได้หมายถึง ละทิ้งการกุหนูตทั้งหมด หรือละทิ้งการกุหนูตในละหมาดอื่นนอกจากศุบฮิ ทั้งนี้เพราะหะดีษของอะนัส (ร.ฎ.) ที่ระบุว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังคงกุหนูตในศุบฮิจนกระทั่งท่านจากโลกนี้ไป เป็นหะดีษซ่อฮีฮฺที่ชัดเจน ก็จำเป็นต้องรวมหะดีษทั้งสองรายงานเข้าด้วยกัน (ดูรายละเอียดในอัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุล มุฮัซซับ , อิหม่ามอันนะวาวีย์ เล่มที่ 3 หน้า 483-485) ดังนั้นการละหมาดตามอิหม่ามที่อ่านกุหนูตจึงไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่อย่างใด
4. ถ้าถือตามนักวิชาการและชาวสะลัฟส่วนใหญ่ เช่น ท่านอบูบักร , อุมัร , อุสมาน , อะลี , อิบนุ อับบาส , อัลบะรออฺ และตาบิอีน ซึ่งอาศัยตัวบทจากข้อที่ 3 ก็ถือว่าเป็นซุนนะฮฺให้กุหนูตในละหมาดศุบฮิ ส่วนการยกมือในขณะดุอาอฺกุหนูตนั้นก็มีหลักฐานที่รายงานโดย อัลบัยหะกีย์ ด้วยสายรายงานที่ซ่อฮีฮฺหรือฮะซัน จากท่านอะนัส (ร.ฎ.) ว่าท่านอะนัสเห็นร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ยกมือทั้งสอง และซ่อฮาบะฮฺจำนวนหนึ่งก็ยกมือในการกุหนูต เช่น ท่านอุมัร (ร.ฎ.) ซึ่งท่านอัลบัยหะกีย์ระบุว่า ซ่อฮีฮฺ (อ้างแล้ว เล่มที่ 3 หน้า 479) ฉะนั้นในมัซฮับอัชชาฟิอีย์ จึงระบุทัศนะที่ถูกต้อง (ซ่อฮีฮฺ) เอาไว้ว่า มีซุนนะฮฺให้ยกมือทั้งสองโดยไม่ต้องลูบหน้าเมื่อดุอาอฺ (กุหนูต) จบ (อ้างแล้ว เล่มที่ 3 หน้า 480)
จากคุณอะสัน
๑. หลักฐานที่นบี ยกมือดุอาหลังเสร็จละหมาดฟัรดู โดยหันหลังให้แก่มะมูม แล้วมะมูม แต่ละคนกล่าวอามีน
ถ่ายทอดโดย อ.อาลี
2. การยกมือขณะขอดุอาอฺมีรายงานระบุในซุนนะฮฺของท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อย่างมากมาย นักวิชาการระบุว่าถึงขั้นมุตะวาติรมะอฺนา ทั้งนี้เมื่อละหมาดเสร็จแล้วมีซุนนะฮฺให้กล่าวคำซิกรุ้ลลอฮฺที่มีรายงานมา หลังจากนั้นก็มีซุนนะฮฺให้กล่าวคำซ่อละหวาต เมื่อซ่อละหวาตแล้วจะขอดุอาอฺหลังละหมาดได้ตามประสงค์ และเมื่อจะขอดุอาอฺก็มีซุนนะฮฺให้ยกมือ ส่วนจะไม่ยกมือก็ไม่เป็นอะไร เพราะเป็นซุนนะฮฺเท่านั้น ถ้าเราจะขอดุอาอฺตามอิหม่ามก็ได้ โดยให้เรากล่าวอามีน
ส่วนฟัตวาของชัยค์ บิน บ๊าซฺ (ร.ฮ.) นั้นท่านแยกระหว่างละหมาดฟัรฎูกับละหมาดซุนนะฮฺ โดยสรุปว่า การขอดุอาอฺหลังละหมาดฟัรฎู นั้นไม่มีบัญญัติให้ยกมือ ส่วนหลังละหมาดซุนนะฮฺ ท่านระบุว่าไม่ทราบว่ามีข้อห้ามในการยกมือในการขอดุอาอฺ โดยถือตามนัยกว้าง ๆ ของหลักฐาน ซึ่งการแยกระหว่างหลังละหมาดฟัรฎูกับหลังละหมาดซุนนะฮฺไม่น่าจะถูกต้องนักเพราะถ้าหลังละหมาดฟัรฎูไม่มีบัญญัติให้ยกมือ หลังละหมาดซุนนะฮฺก็น่าจะไม่มีบัญญัติเหมือนกัน และถ้าหากอาศัยนัยกว้าง ๆ ของหลักฐานมารับรองการยกมือหลังละหมาดซุนนะฮฺ ก็น่าจะใช้นัยกว้าง ๆ นั้นมารับรองการยกมือหลังละหมาดฟัรฎูด้วย (ดูมัจญมูอฺ ฟะตาวา , ชัยค์ บินบ๊าซฺ เล่มที่ 11/180-181) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun Sep 30, 2012 9:07 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
[b]ความจริงหะดิษข้างต้น เราได้วิจารณ์ไปแล้ว ไม่ว่า จะเป็น อ. มุรีด ,อ.ปราโมทย์ , นักวิชาการเว็บอิกเราะฮ และผมในเว็บอัสสุนนะฮ ว่าหะดิษบทนี้เฎาะอีฟ แต่..ความมีทิฐิ เลยไม่ยอมรับ
หะดิษที่รายงานจากท่านอะนัส ขัดแย้งกันเอง บ้างก็ว่า ท่านนบี ศอลฯ อ่านกุนูต เพียงเดือนเดียว บ้างก็บอกว่า อ่านเฉพาะมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น บ้างก็บอกว่า อ่านตลอด หะดิษแบบนี้เขาไม่เอามาเป็นหลักฐานหรอกครับ
عَنْ أَنَسٍ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَنَتَ شَهْرًا يَدْعُو عَلَى قَاتِلِي أَصْحَابِهِ بِبِئْرِ مَعُونَةَ ، ثُمَّ تَرَكَ ، فَأَمَّا الصُّبْحُ فَلَمْ يَزَلْ يَقْنُتُ حَتَّى فَارَقَ الدُّنْيَا . وَأَوَّلُ الْحَدِيثِ فِي الصَّحِيحَيْنِ ، وَلَوْ صَحَّ هَذَا لَكَانَ قَاطِعًا لِلنَّزِاعِ وَلَكِنَّهُ مِنْ طَرِيقِ أَبِي جَعْفَرٍ الرَّازِيِّ ، قَالَ فِيهِ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ أَحْمَدَ : لَيْسَ بِالْقَوِيِّ : وَقَالَ عَلِيُّ بْنُ الْمَدِينِيِّ : يَخْلِطُ ، وَقَالَ أَبُو زُرْعَةَ : يَهِمُ كَثِيرًا ، وَقَالَ عَمْرُو بْنُ عَلِيٍّ الْفَلَّاسُ : صَدُوقٌ سَيِّئُ الْحِفْظِ ، وَقَالَ ابْنُ مَعِينٍ : ثِقَةٌ لَكِنَّهُ يُخْطِئُ ، وَقَالَ الدَّوْرِيُّ : ثِقَةٌ لَكِنَّهُ يَغْلَطُ وَحَكَى السَّاجِيُّ أَنَّهُ قَالَ : صَدُوقٌ لَيْسَ بِالْمُتْقِنِ ، وَقَدْ وَثَّقَهُ غَيْرُ وَاحِدٍ ، وَلِحَدِيثِهِ هَذَا شَاهِدٌ وَلَكِنَّ فِي إِسْنَادِهِ عَمْرَو بْنَ عُبَيْدٍ وَلَيْسَ بِحُجَّةٍ . قَالَ الْحَافِظُ : وَيُعَكِّرُ عَلَى هَذَا مَا رَوَاهُ الْخَطِيبُ مِنْ طَرِيقِ قَيْسِ بْنِ الرَّبِيعِ عَنْ عَاصِمِ بْنِ سُلَيْمَانَ ، قُلْنَا لِأَنَسٍ : إِنَّ قَوْمًا يَزْعُمُونَ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَمْ يَزَلْ يَقْنُتُ فِي الْفَجْرِ ، قَالَ : كَذَبُوا إِنَّمَا قَنَتَ شَهْرًا وَاحِدًا يَدْعُو عَلَى حَيٍّ مِنْ أَحْيَاءِ الْمُشْرِكِينَ ، وَقِيسٌ وَإِنْ كَانَ ضَعِيفًا لَكِنَّهُ لَمْ يُتَّهَمْ بِكَذِبٍ . وَرَوَى ابْنُ خُزَيْمَةَ فِي صَحِيحِهِ مِنْ طَرِيقِ سَعِيدٍ عَنْ قَتَادَةَ عَنْ أَنَسٍ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَمْ يَقْنُتْ إِلَّا إِذَا دَعَا لِقَوْمٍ أَوْ دَعَا فَاخْتَلَفَتِ الْأَحَادِيثُ عَنْ أَنَسٍ وَاضْطَرَبَتْ فَلَا يَقُومُ لِمِثْلِ هَذَا حُجَّةٌ ، انْتَهَى
รายงานจากอะนัส ว่า แท้จริง นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านกุนูตหนึ่งเดือน ดุอาสาปแช่งบรรดาผู้ที่สังหารบรรดาสาวกของท่านที่บ่อมะอูนะฮ ต่อมาท่านก็ได้ละทิ้ง สำหรับละหมาดศุบฮินั้น ท่านคงอ่านต่อไปจนกระทั้งจากโลกนี้
และในตอนแรกของหะดิษ ปรากฏในเศาะเฮียะบุคอรีและมุสลิม และถ้าหากหะดิษนี้เศาะเฮียะ ก็ตัดปัญหาการขัดแย้งไปได้ แต่...มันเป็นหะดิษจากสายรายงานของ อบียะอฺฟัร อัรรอซีย์ ท่านอับดุลลอฮ บิน อะหมัด กล่าวว่า ในตัวเขาผู้นี้ หลักฐานไม่แข็งแรง . อาลี บิน อัลมะดีนีย์ กล่าวว่า เขาสบสน และ อบูซะรออะฮ ล่าวว่า เขาผิดพลาดเป็นอย่างมาก และ อัมรุน บิน อาลี อัลฟัลลาส กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ แต่ความจำแย่มากๆ ,อิบนุมุอีน กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ แต่ ผิดพลาด และอัดเดารีย์ กล่าวว่า เชื่อถือได้ แต่ เขาผิดพลาด และอัสสาฮีย์ เล่าว่า แท้จริงเขา(อบียะอฺฟัร) เชื่อถือได้ แต่ขาดความประณีต และแท้จริงมีหลายคน ระมัดระวังสิ่งที่เขารายงาน และหะดิษของเขา บทนี้ มี หะดิษ(บทอื่นสนับสนุน) แต่ ในสายรายมีผู้รายงานชื่อ อัมริน บิน อุบัยดิ เอามาเป็นหลักฐานไม่ได้ และอัลหาฟิซ กล่าวว่า และสิ่งที่ทำให้ดิษบทนี้ดำมืดเข้าไปอีก คือ หะดิษที่รายงานโดย อัลเคาะฏีบ จากสายรายงานของ กัยส์ บิน อัรรอเบียะ จาก อาศิม บิน สุลัยมาน มีใจความ
ว่า พวกเรา กล่าวแก่ท่านอะนัสว่า คนกลุ่มหนึ่ง เข้าใจว่า ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านกุนูตเป็นประจำในละหมาดฟัจญรฺ (ละหมาดซุบฮิ) ท่านอะนัสกล่าวว่า พวกเขาโกหก ความจริง ท่านอ่านกุนูต เพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น โดยดุอาสาปแช่งกลุ่มชนหนึ่ง จากกลุ่มชนมุชริกีน และ (ผู้รายงานที่ชื่อว่า) กัยสฺ แม้เขาจะเป็นผู้ที่หลักฐานอ่อน แต่ ไม่เคยได้รับการตำหนิว่าเป็นคนโกหก และมีรายงานจาก อิบนุคุซัยมะฮ ในเศาะเฮียะของท่าน จากสายรายงาน สะอีด จากกอตาดะฮ จาก อะนัส ว่า แท้จริง ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไม่อ่านกุนูต นอกจากเพื่อดุอาให้แก่กลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง หรือ ดุอา(สาปแช่ง กลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งเท่านั้น, ดังนั้น บรรดาหะดิษที่รายงานจากอะนัส ขัดแย้งกันเอง และมีความสับสน หะดิษลักษณะนี้เอามาเป็นหลักฐานอ้างอิงไม่ได้ ดู ตุหฟะตุลอะหวะซีย์ ชัรหุอัตติรมิซีย์ บทว่าด้วย การอ่านกุนูตในละหมาดฟัจญัร หน้า 362 [/b]
........ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Mon Oct 01, 2012 9:22 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เอาอีกแล้ว กับการใช้มุขกล่าวหา "ใช้ทิฐิ" คุณลุ่มหลงกับสิ่งที่คุณเลือก โดยไม่มองความเป็นจริง ขออัลลอฮ์ซ.บ.โปรดชี้ทางนำที่ถูกต้องให้คุณด้วย
นี่คือลิงก์ ที่วิจารณ์เกี่ยวกับท่าน อบูยะฟัรอัรรอซีย์
http://www.islamweb.net/newlibrary/display_book.php?idfrom=1241&idto=1241&bk_no=60&ID=1142
مسألة: الجزء السابع التحليل الموضوعي
أبو جعفر الرازي ( 4 )
عيسى بن ماهان ، عالم الري يقال : إنه ولد بالبصرة ، وكان يتجر إلى الري ، ويقيم به .
ولد في حدود التسعين في حياة بقايا الصحابة .
حدث عن : عطاء بن أبي رباح ، وعمرو بن دينار ، وقتادة ، والربيع بن أنس ، وجماعة . [ ص: 347 ]
حدث عنه : ابنه عبد الله ، وأبو أحمد الزبيري ، وعبد الله بن داود الخريبي ، وعبيد الله بن موسى ، وخلف بن الوليد ، ويحيى بن أبي بكير ، وعلي بن الجعد ، وعدة .
قال يحيى بن معين : ثقة .
وقال أبو حاتم : ثقة صدوق .
وقال أحمد بن حنبل والنسائي وغيرهما : ليس بالقوي .
وقال أبو زرعة : يهم كثيرا . وقال ابن المديني : هو عيسى بن أبي عيسى ، ثقة ، كان يخلط . وقال مرة : يكتب حديثه ، إلا أنه يخطئ .
وقال حنبل ، عن أحمد : صالح الحديث .
وروى عبد الله بن علي بن المديني ، عن أبيه ، قال : هو نحو موسى بن عبيدة .
وروى محمد بن عثمان بن أبي شيبة ، عن ابن المديني ، قال : كان عندنا ثقة .
وقال عمرو بن علي : فيه ضعف .
وقال الساجي : صدوق ، ليس بمتقن .
قال عبد الرحمن بن عبد الله الدشتكي : سمعت أبا جعفر يقول : لم أكتب عن الزهري ; لأنه كان يخضب بالسواد . ثم قال الدشتكي : زامل أبو جعفر الرازي المهدي ، ولبس السواد قلت : زامل المهدي إلى مكة . [ ص: 348 ] ومما تفرد به حديث : " القنوت " .
قال ابن حبان : أصله من مرو ، انتقل إلى الري ، كان ممن يتفرد بالمناكير عن المشاهير . قلت : توفي في حدود سنة ستين ومائة أنبأني علي بن أحمد وطائفة ، قالوا : أنبأنا عمر بن محمد ، أنبأنا عبد الوهاب الحافظ ، أنبأنا أبو محمد بن هزارمرد ، أنبأنا ابن حبابة ، حدثنا أبو القاسم البغوي ، حدثنا علي ، أنبأنا أبو جعفر الرازي ، عن عاصم بن أبي النجود ، عن أبي صالح ، عن أبي هريرة ، قال : قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - لأن يمتلئ جوف أحدكم قيحا خير له من أن يمتلئ شعرا [ ص: 349 ] وبه : أخبرنا أبو جعفر الرازي ، عن قتادة ، عن سعيد بن المسيب ، قال : إذا رفع رأسه من آخر سجدة ، ثم أحدث فقد تمت صلاته .
أخبرنا أبو جعفر ، عن قتادة : قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - : إن أعظم الناس خطبا يوم القيامة أكثرهم خوضا في الباطل .
ดูเถิดครับว่า นักวิชาการหะดีษวิจารณ์เกี่ยวกับ อบูยะฟัรอัรรอซีย์อย่างไร
ขอโทษผู้อ่านภาษาอาหรับไม่ได้ด้วยนะครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Oct 01, 2012 11:14 am ชื่อกระทู้: |
|
|
โตะครูครับ แปลมาด้วยซิครับ ผมไม่มีเวลามานั่งแปลของท่านนะครับ ท่านไม่ม่แปลผู้อ่านรู้ได้อย่างไรว่าของท่านมีน้ำหนัก
และ ยะอฺฟัรรอซีย์ ที่ท่านนำมาก็มีปัญหาเรื่องความเชื่อถือไม่ใช่หรือ
ท่านอิบนุก๊อยยิมกล่าวว่า
المقصود أن أبا جعفر الرازى صاحب مناكير لا يحتج بما تفرد به أحد من أهل الحديث البتة
หมายความว่า " จุดมุ่งหมายก็คือ แท้จริง อบูญะอฺฟัร อัรรอซีย์ เป็นผู้ที่มีบรรดาหะดิษมุงกัร โดยที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ ด้วยสิ่งที่รายงานคนเดียวจากนักหะดิษเด็ดขาด
ท่านครูอับดุฮมาอ่านคำวิจารณ์ เกี่ยวกับ ยะอฺฟัร รอซีย์ข้างล่าง
--------------------------------------------------------------------------------
ما زال رسول الله صلى الله عليه وسلم يقنت في صلاة الغداة حتى فارق الدنيا .
قال الألباني في السلسلة الضعيفة و الموضوعة ( 3/284 ) منكر أخرجه عبد الرزاق في المصنف ( 3/110/4964 ) و ابن أبي شيبة ( 2/312 ) - مختصرا - و الطحاوي في شرح المعاني ( 1/143 ) و الدارقطني ( ص 178 ) و الحاكم في الأربعين و عنه البيهقي ( 2/201 ) و كذا البغوي في شرح السنة ( 3/123/639 ) و ابن الجوزي في الواهية ( 1/444 - 445 ) و أحمد ( 3/162 ) من طريق أبي جعفر الرازي عن الربيع بن أنس قال : كنت جالسا عند # أنس بن مالك # , فقيل له : إنما قنت رسول الله شهرا , فقال : فذكره . و قال البغوي : قال الحاكم : إسناده حسن .و قال البيهقي : قال أبو عبد الله : هذا إسناد صحيح سنده , ثقة رواته , و الربيع بن أنس تابعي معروف .. و أقره !و تعقبه ابن التركماني بقوله : كيف يكون سنده صحيحا و راويه عن الربيع أبو جعفر عيسى بن ماهان الرازي متكلم فيه , قال ابن حنبل و النسائي : ليس بالقوي , و قال أبو زرعة : يهم كثيرا , و قال أبو زرعة : يهم كثيرا , و قال الفلاس : سييء الحفظ , و قال ابن حبان : يحدث بالمناكير عن المشاهير .و قال ابن القيم في زاد المعاد ( 1/99 ) : فأبو جعفر قد ضعفه أحمد و غيره , و قال ابن المديني : كان يخلط . و قال أبو زرعة : كان يهم كثيرا .. و قال لي شيخنا ابن تيمية قدس الله روحه : و هذا الإسناد نفسه هو إسناد حديث : *( و إذ أخذ ربك من بني آدم من ظهورهم )* حديث أبي بن كعب الطويل , و فيه : و كان روح عيسى عليه السلام من تلك الأرواح التي أخذ عليها العهد و الميثاق في زمن آدم , فأرسل تلك الروح إلى مريم عليها السلام حين انتبذت من أهلها مكانا شرقيا فأرسله الله في صورة بشر فتمثل لها بشرا سويا , قال : فحملت الذي يخاطبها فدخل من فيها . و هذا غلط محض , فإن الذي أرسل إليها الملك الذي قال لها : *( إنما أنا رسول ربك لأهب لك غلاما زكيا )* . و لم يكن الذي خاطبها بهذا هو عيسى ابن مريم , هذا محال . و المقصود أن أبا جعفر صاحب مناكير لا يحتج بما تفرد به أحد من أهل الحديث البتة .و قال الحافظ ابن حجر في التقريب : صدوق سييء الحفظ الحفظ خصوصا عن مغيرة .و قال الزيلعي في نصب الراية ( 2/132 ) بعد أن خرج الحديث : و ضعفه ابن الجوزي في التحقيق , و في العلل المتناهية و قال #1607;ذا حديث لا يصح , فإن أبا جعفر الرازي و اسمه عيسى بن ماهان قال ابن المديني : كان يخلط ... .
قلت أوردت كلام الشيخ رحمه الله و بارك فى عمله و أهله فى أبى جعفر الرازى لأن البعض قد يجد الشيخ يحسن الحديث
http://www.ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=257600 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Mon Oct 08, 2012 5:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมแปลกใจมากครับที่คุณอะสันให้ผมดูคำวิจารณ์ แต่คุณอะสันไม่ถ่ายทอดตามลิงก์นั้นมาทั้งหมด เหมือนหมกเม็ดที่ตนไม่ชอบ ที่ทำให้ทัศนะตรงข้ามแข็งแรง
หากคุณอะสันไม่เป็นอย่างนั้น และอยากให้ผู่อ่านได้รับความรู้ที่แท้จริง โปรดแปลส่วนที่่คุณไม่ยอมถ่ายทอดมาจากลิงก์ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับ อบูยะฟัรอัรรอซีย์ด้วยครับ เห็นแปลแต่ที่ตนชอบอย่างเดียว
فهذه الرواية الوحيدة الصريحة فى مد الوليمة ثلاثة أيام و يرويها عن حميد أبو جعفر الرازى عيسى بن أبى عيسى و نجد فى تهذيب الكمال باختصار....
قال أحمد 1 ليس بقوى فى الحديث
2صالح الحديث
قال يحيى 1 ثقة
2 يكتب حديثه و لكنه يخطىء
3 صالح
4 ثقة و يغلط عن مغيرة
قال ابن المدينى ثقة
قال أبو زرعة شيخ يهم كثيرا
قال أبو حاتم ثقة صدوق صالح الحديث
قال النسائى ليس بالقوى |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|