ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - การตัฟวีฎสิฟัต ที่แท้จริงเป็นอย่างไร
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
การตัฟวีฎสิฟัต ที่แท้จริงเป็นอย่างไร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Apr 17, 2012 7:32 pm    ชื่อกระทู้: การตัฟวีฎสิฟัต ที่แท้จริงเป็นอย่างไร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำว่า ً” التفويض คือ

إثبات اللفظ ومعناه الذي يدل عليه ، ثم تفويض علم كيفيته إلى الله ، فنثبت لله تعالى أسماءه الحسنى ، وصفاته العلى ، ونعرف معانيها ونؤمن بها ، غير أننا لا نعلم كيفيتها

คือ การรับรองถ้อยคำและความหมายที่ได้แสดงบอกไว้ หลังจากนั้น คือ การมอบหมายความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวิธีการของมัน ไปยังอัลลอฮ และรับรองบรรดาพระนามของพระองค์ที่สวยงามและบรรดาคุณลักษณะของพระองค์ อันสูงส่ง แก่อัลลอฮ และเรารู้บรรดาความหมายของมันและเราศรัทธามัน โดยที่เราไม่รู้รูปแบบวิธีการของมันว่าเป็นอย่างไร
เช็คอับดุรรอซซาก อัลอะฟีฟีย์ กล่าวว่า

مذهب السلف هو التفويض في كيفية الصفات لا في المعنى

มัซฮับสะลัฟ คือ การมอบหมาย ในเรื่องรูปแบบวิธีการของบรรดาสิฟาต ไม่ได้มอบหมายในความหมาย – ฟะตะวาเช็คอะฟีฟีย หน้า 104


อิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวถึง أصحاب التجهيل (อัศหาบุตตัจญฮีล)ว่า

والصنف الثالث: أصحاب التجهيل: الذين قالوا: نصوص الصفات ألفاظ لا تعقل معانيها، ولا ندري ما أراد الله ورسوله منها. ولكن نقرأها ألفاظاً لا معاني لها، ونعلم أن لها تأويلاً لا يعلمه إلا الله. وهي عندنا بمنزلة كهيعص

และมนุษย์ประเภทที่สาม คือ อัศหาบุตตัจญฮีล คือ บรรดาผู้ที่กล่าวว่า “ ตัวบทของสิฟัตนั้น เป็น คำต่างๆ เราไม่เข้าใจบรรดาความหมายของมัน และเราไม่รู้ สิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ มีจุดประสงค์จากมัน แต่เราอ่านมัน เป็นคำต่างๆ โดยไม่มีความหมายของมัน และเรารู้ว่า การอธิบายของมันไม่มีใครรู้ นอกจากอัลลอฮ และในทัศนะของพวกเรา มัน อยู่ในฐานะ เหมือนกับ กาฟ ,ฮา,ยา,อัยน์ ศอด -
-อัศเศาวาอิก อัลมุรสะละฮ เล่ม 2 หน้า 422

อบูบักร์ บิน อัลอะเราะบีย์ อัลอัชอะรีย์ กล่าวว่า

وذهب مالك رحمه الله أن كل حديث منها معلوم المعنى ولذلك قال للذي سأله الاستواء معلوم والكيفية مجهولة

มาลิก ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้ให้ทัศนะว่า “ทุกหะดิษจากมัน (จากหะดิษที่เกี่ยวกับสิฟัตอัลลอฮ) ความหมายเป็นที่รู้กัน เพราะเหตุนั้น เขา(มาลิก) กล่าวแก่ผู้ที่ถามเขา ว่า “การประทับนั้นเป็นที่รู้กัน และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน – ดู อาริเฎาะฮอัลอะหวะซีย์ เล่ม 3 หน้า 166
…..

คำพูดของอิหม่ามมาลิก แสดงบอกถึง การรับรองความหมาย และการมอบหมาย(تفويض )รูปแบบวิธีการ
อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

คำพูดสะลัฟที่ว่า

أمروها بلا كيف

ปล่อยมันให้ผ่านไปโดยไม่อธิบายรูปแบบวิธีการ

อัลมุบาเราะกาฟูรีย์ อธิบายว่า

بصيغة الأمر من الامرار أي أجردها على ظاهرها ولا تعرضوا لها بتأويل ولا تحريف بل فوضوا الكيف إلى الله سبحانه وتعالى

ด้วยสำนวนของคำสั่ง ที่มาจากรากศัพท์คำว่า อัลอิมรอรุ หมายถึง ปล่อยมันให้คงอยู่ตามที่มันได้ปรากฏ และพวกท่านอย่าแสดงมันด้วยการตีความ(ตะวีล)และเปลี่ยนแปลง แต่ทว่า จงมอบหมายรูปแบบวิธีการ แก่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา – ตุหฟะตุลอะหวะซีย เล่ม 3 หน้า 267

........................

จากรายละเอียดข้างต้นสรุปว่า การมอบหมายสิฟัตที่ถูกต้องคือ การรับรองความหมายและการมอบหมายรูปแบบวิธีการ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sun Dec 07, 2014 9:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Apr 26, 2012 3:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความหมายของการตัฟวีฎ (เพิ่มเติม)

التفويض في أسماء الله تعالى وصفاته له معنيان :

การมอบหมายในบรรดาพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮนั้น มี 2 ความหมาย


الأول : معنى صحيح ، وهو إثبات اللفظ ومعناه الذي يدل عليه ، ثم تفويض علم كيفيته إلى الله ، فنثبت لله تعالى أسماءه الحسنى ، وصفاته العلى ، ونعرف معانيها ونؤمن بها ، غير أننا لا نعلم كيفيتها .

1. ความหมายที่ถูกต้อง(เศาะเฮียะ) คือ การรับรองถ้อยคำและความหมายที่แสดงบอกถึงมัน หลังจากนั้น มอบหมายความรู้เกียวกับรูปแบบวิธีการ ไปยังอัลลอฮ แล้วเรารับรองบรรดาพระนามอันสวยงามและบรรดาคุณลักษณะอันสูงส่งให้แก่อัลลอฮผู้ทรงสูงส่ง และเรารู้ความหมายของมันและศรัทธาด้วยมัน โดยที่เราไม่รู้ว่า รูปแบบวิธีการของมันเป็นอย่างไร


فنؤمن بأن الله تعالى قد استوى على العرش ، استواء حقيقيا يليق بجلاله سبحانه ، ليس كاستواء البشر ، ولكن كيفية الاستواء مجهولة بالنسبة لنا ؛ ولذا ، فإننا نفوض كيفيته إلى الله ، كما قال الإمام مالك وغيره لما سئل عن الاستواء : "الاستواء معلوم ، والكيف مجهول" .

แล้วเราศรัทธา ว่าอัลลอฮตะอาลา ทรงประทับเหนือบัลลังค์(อะรัช) เป็นการประทับจริง ที่เหมาะสมกับความยื่งใหญ่และความบริสุทธ์ของพระองค์ ไม่เหมือนกับการประทับของมนุษย์ แต่ว่า รูปแบบวิธีการประทับเป็นอย่างไรนั้น สำหรับเรา ไม่เป็นที่รู้กัน และเพราะเหตุนี้ เราจึงมอบหมาย(ความรู้เกี่ยวกับ)รูปแบบวิธีการของมัน ไปยังอัลลอฮ ดังที่อิหม่ามมาลิก และคนอื่นจากเขากล่าวต่อสิ่งที่ถูกถามเกี่ยวกับอัลอิสติวาอฺว่า “การประทับนั้น เป็นที่รู้กัน และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน
انظر : "مجموع الفتاوى" لشيخ الإسلام (3/25) .
ดู มัจญมัวะอัลฟะตาวา ของชัยคุลอิสลาม เล่ม 3 หน้า 23

وهذا هو مذهب أهل السنة والجماعة : إثبات صفات الله تعالى ، إثباتاً بلا تمثيل ولا تكييف ، قال الله تعالى : (لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ

และนี้คือ มัซฮับอะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ คือ การรับรองบรรดาสิฟาตของอัลลอฮตะอาลา เป็นการรับรอง โดยไม่มีการเปรียบเทียบ(กับมัคลูค) และไม่มีการอธิบายรูปแบบวิธีการ ,อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า “ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ คือ ผู้ทรงได้ยิน ทรงเห็นยิ่ง)

قال ابن عبد البر رحمه الله
" أهل السنة مجمعون على الإقرار بالصفات الواردة في الكتاب والسنة وحملها على الحقيقة لا على المجاز ، إلا أنهم لم يكيفوا شيئا من ذلك " .
"العلو للعلي الغفار" (ص 250)

อิบนุอับดุลบัร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า “ ชาวสุนนะฮ พวกเขาทั้งหลายมีมติร่วมกันบนการรับรองบรรดาคุณลักษณะ(สิฟาต) ที่มีมาในอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ และถือมันตามความหมายจริง ไม่ใช่การอุปมา นอกจากว่า พวกเขาไม่อธิบายรูปแบบวิธีการสิ่งใดๆจากมันเท่านั้น – ดู อัลอะลู ลิลอะลียุลฆอฟฟาร หน้า 250

والمعنى الثاني للتفويض - وهو معنى باطل - : إثبات اللفظ من غير معرفة معناه

2. ความหมายที่สองของอัตตัฎวีฟ คือ ความหมายที่ ไม่ถูกต้อง หมายถึง การรับรองถ้อยคำ โดยไม่รู้จักความหมายของมัน

http://www.ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=206706

สรุปคือ ความหมายที่ถูกต้องของการตัฟวีฎสิฟาตคือ รับรองถ้อยคำและความหมายของคำนั้น แล้วมอบหมายความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวิธีการของมันแก่อัลลอฮ เพราะไม่มีผู้ใดรู้นอกจากอัลลอฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Tue Mar 31, 2015 10:16 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 29, 2012 8:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


เช็คศอลิห อัลเฝาซาน (ขออัลลอฮโปรดป้กป้องรักษาเขาด้วยเถิด) กล่าวว่า

"السلف لم يكن مذهبهم التفويض ، وإنما مذهبهم الإيمان بهذه النصوص كما جاءت ، وإثبات معانيها التي تدلُّ عليها على حقيقتها ووضعها اللغوي ، مع نفي التَّشبيه عنها ؛ كما قال تعالى : (لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ) الشورى/ 11" انتهى .

สะลัฟนั้น มัซฮับ(แนวทาง)ของพวกเขาไม่ใช่การ ตัฟวีฎ ความจริงมัซฮับของพวกเขาคือ การศรัทธา ด้วยบรรดาตัวบทเหล่านี้ (ตัวบทเกี่ยวกับสิฟัต) ตามที่มันได้มีมา และรับรองความหมายของมัน ที่แสดงบอกถึงมันบนความจริงของมัน และการกำหนดมัน ในรูปของภาษาคำพูด พร้อมกับปฏิเสธการคล้ายคลึง(กับมัคลูค)จากคำนั้น ดังที่อัลลอฮ ตะอาลาตรัสว่า “ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ ทรงเป็นผู้ได้ยินและเป็นทรงเห็น) – อัชชูรอ/11 - المنتقى من فتاوى الفوزان" (25/1) .


เช็คเฝาซาน กล่าวว่า “สะลัฟนั้น มัซฮับ(แนวทาง)ของพวกเขาไม่ใช่การ ตัฟวีฎ หมายถึง การตัฟวีฎ ทั้งความหมายและรูปแบบวิธีการ คือ ไม่แปลความหมาย ไม่อธิบาย ความจริงการตัฟวีฎของสะลัฟคือ การเชื่อในความหมายของคำว่า อิสติวาอฺ “เป็นความหมายจริง ไม่ใช่อุปมา ส่วนรูปแบบวิธีการเป็นอย่างไรนั้น มอบความรู้นั้นแก่อัลลอฮ เพราะพระองค์ตรัสว่า ““ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ ทรงเป็นผู้ได้ยินและเป็นทรงเห็น”

ยกตัวอย่างเช่น อิหม่ามอัดดารีมีย์ (ฮ.ศ.280) กล่าวว่า

أخبرنا الله في كتابه أنه ذو سمع، وبصر، ويدين، ووجه، ونفس، وعلم، وكلام، وأنه فوق عرشه فوق سماواته، فآمنا بجميع ما وصف به نفسه كما وصفه بلا كيف) اهـ.

อัลลอฮทรงบอกเราในคัมภีร์ของพระองค์ว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ได้ยิน ,ทรงเป็นผู้เห็น ,ทรงมีสองมือ,ใบหน้า .ทรงมีตัวตน, ทรงรู้ ,ทรงพูด และแท้จริง พระองค์ทรงอยู่เหนือบัลลังค์ของพระองค์ เหนือบรรดาชั้นฟ้าของพระองค์ ดังนั้นเราศรัทธา ทั้งหมดสิ่งที่ทรงพรรณนาคุณลักษณะให้แก่ตัวของพระองค์ด้วยมัน เหมือนกับที่ทรงพรรณนาคุณลักษณะไว้ โดยไม่อธิบายรูปแบบวิธีการว่าเป็นอย่างไร – อัรรอด อะลัลมะรีสีย์ เล่ม 1 หน้า 428

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jun 15, 2014 9:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อะชาอิเราะฮกลุ่มหนึ่งอ้างว่า
ด้วยเหตุนี้ท่านอิหม่ามอัลลักกอนีย์ (ร.ฮ.) ถึงได้กล่าวไว้ใน “เยาฮะร่อตุดเตาฮีด” ว่า

وكل نص أوهم التشبيها *** أوله أو فوض ورم تنزيها

“ ทุกตัวบท(จากอัลกุรอ่านและอัลหะดีษ)ที่ทำให้คลุมเคลือกับการคล้ายคลึง(กับมัคโล๊ค)ท่านก็จงทำการตีความมัน หรือไม่ก็มอบหมายและเจตนามั่นกับความบริสุทธิ์(ต่ออัลอฮ์)
…………….
ข้างต้น เป็นตำราอะกีดะฮอะชาอิเราะแนวการใช้เหตุผล มีชื่อเต็มว่า
إتحاف المريد في شرح جوهرة التوحيد وشرح السنوسية
เจ้าของหนังสือข้างต้น มีชื่อเต็มคือ
الإمام إبراهيم اللقاني
หรือ
إبراهيم بن إبراهيم بن حسن اللقاني، أبو الإمداد، برهان الدين المالكي
เป็นยุคหลัง เสียชีวิต ปี ฮ.ศ 1041
การมอบหมายความหมายโดยเข้าใจว่า ความหมายของสิฟัตไม่มีใครู้นั้น เป็นความเข้าใจของพวก อัตตัจญฮีล
อิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวถึง أصحاب التجهيل (อัศหาบุตตัจญฮีล)ว่า

والصنف الثالث: أصحاب التجهيل: الذين قالوا: نصوص الصفات ألفاظ لا تعقل معانيها، ولا ندري ما أراد الله ورسوله منها. ولكن نقرأها ألفاظاً لا معاني لها، ونعلم أن لها تأويلاً لا يعلمه إلا الله. وهي عندنا بمنزلة كهيعص

และมนุษย์ประเภทที่สาม คือ อัศหาบุตตัจญฮีล คือ บรรดาผู้ที่กล่าวว่า “ ตัวบทของสิฟัตนั้น เป็น คำต่างๆ เราไม่เข้าใจบรรดาความหมายของมัน และเราไม่รู้ สิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ มีจุดประสงค์จากมัน แต่เราอ่านมัน เป็นคำต่างๆ โดยไม่มีความหมายของมัน และเรารู้ว่า การอธิบายของมันไม่มีใครรู้ นอกจากอัลลอฮ และในทัศนะของพวกเรา มัน อยู่ในฐานะ เหมือนกับ กาฟ ,ฮา,ยา,อัยน์ ศอด -
-อัศเศาวาอิก อัลมุรสะละฮ เล่ม 2 หน้า 422


ใครคือ อัศหาบุตตัจญฮีล


พวกอัศหาบุตตัจญฮีลนี้ เข้าใจว่า นบี ศอ็ลฯ และมลาอิกะฮไม่รู้ความหมายสิฟาต
อิหม่ามอิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

وَأَمَا الصِّنْفُ الثَّالِثُ وَهُمْ أَهْلُ التَّجْهِيلِ فَهُمْ كَثِيرٌ
مِنْ الْمُنْتَسِبِينَ إِلَى السُّنَّةِ وَاِتِّبَاعِ السَّلَفِ . يَقُولُونَ : إِنَّ الرَّسُولَ صَلَّى اللَّهُ عَلَيه وَسَلَّمَ لَمْ يَعْرِفْ مَعَانِي مَا أَنْزَلَ اللَّهُ إِلَيه مِنْ آيَاتِ الصِّفَاتِ وَلَا جِبْرِيلُ يَعْرِفُ
مَعَانِي الْآيَاتِ وَلَا السَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ عَرَفُوا ذَلِكَ . وَكَذَلِكَ قَوْلُهُمْ فِي أَحَادِيثِ الصِّفَاتِ : إِنَّ مَعْنَاهَا لَا يَعْلَمُهُ إلّا اللَّهُ مَعَ أَنْ الرَّسُولَ تَكَلَّمَ بِهَا ابْتِدَاءً فَعَلَى
قَوْلِهِمْ تَكَلَّمَ بِكَلاَمِ لَا يَعْرِفُ مَعْنَاهُ .)[ مَجْمُوعَ الْفَتَاوَى 5 / 35


สำหรับบุคคลประเภทที่สาม พวกเขาคือ อัศหาบุตตัจญฮีล” พวกเขามีจำนวนมาก จากบรรดาผู้ที่อ้างอิงตัวเองว่าตาม อัสสุนนะฮและ อ้างตัวเองว่าปฏิบัติตามสะลัฟ พวกเขากล่าวว่า “แท้จริงรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ไม่รู้จักบรรดาความหมาย สิ่งที่อัลลอฮได้ประทานลงมาแก่ท่าน จากบรรดาอายาตสิฟาต(อายะฮเกียวสิฟัตอัลลอฮ) และญิบรีล ก็ไม่รู้ บรรดาความหมายอายาตสิฟาต และบรรดา บรรพชนผู้ทรงธรรมยุคก่อน(สะลัฟ)ก็ไม่รู้ความหมายดังกล่าว และในทำนองดังกล่าวนั้น คำพูดของพวกเขาเกี่ยวกับสิฟาตคือ แท้จริง ความหมายของมัน ไมมีผู้ใดรู้ มันนอกจากอัลลอฮ แม้ว่า แท้จริงรอซูลุลลอฮ ได้พูดด้วยมันเป็นคนแรกก็ตาม ดังนั้น บนคำพูดของพวกเขา คือ การพูด ด้วยคำพูด โดยที่ความหมายของมันจะไม่ถูกรู้จัก – มัจญมัวะอัลฟะตาวา 5/35
ดูเอาเถิดพี่น้อง ว่า อันตรายแค่ใหน กับความเชื่อว่า ไม่มีใครรู้ความหมายอายะฮสิฟาตนอกจากอัลลอฮ เราแค่นำมากล่าวเท่านั้นแต่ไม่รู้ความหมาย นะอูซุบิลละฮ

อะฮลุตตัจญฮีล คือ ผู้ที่กล่าวหาว่าไม่มีใครรู้ความหมายอายาตสิฟาต วัตตัฎลีล คือ ผู้ที่ทำให้ผู้อื่นหลุ่มหลง
อิบนุอะบิลอิซ อัดดะมัชกีย์อัลหะนะฟีย์ ได้กล่าวถึงแก่นแท้ของพวก อัศหาบุตตัจญฮีลวัตตัฎลีลว่า
وَأَمَّا أَهْلُ التَّجْهِيلِ وَالتَّضْلِيلِ ، الَّذِينَ حَقِيقَةُ قَوْلِهِمْ : إِنَّ الْأَنْبِيَاءَ وَأَتْبَاعَ الْأَنْبِيَاءِ جَاهِلُونَ ضَالُّونَ ، لَا يَعْرِفُونَ مَا أَرَادَ اللَّهُ بِمَا وَصَفَ بِهِ نَفْسَهُ مِنَ الْآيَاتِ وَأَقْوَالِ الْأَنْبِيَاءِ ! وَيَقُولُونَ : يَجُوزُ أَنْ يَكُونَ لِلنَّصِّ تَأْوِيلٌ لَا يَعْلَمُهُ إِلَّا اللَّهُ ، لَا يَعْلَمُهُ جَبْرَائِيلُ وَلَا مُحَمَّدٌ وَلَا غَيْرُهُ مِنَ الْأَنْبِيَاءِ ، فَضْلًا عَنِ الصَّحَابَةِ وَالتَّابِعِينَ لَهُمْ بِإِحْسَانٍ ، وَأَنَّ مُحَمَّدًا صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَقْرَأُ : الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى [ طه : 5 ] . إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ [ فَاطِرٍ : 10 ] . مَا مَنَعَكَ أَنْ تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ [ ص : 75 ]
[وَهُوَ لَا يَعْرِفُ مَعَانِيَ هَذِهِ الْآيَاتِ ! بَلْ مَعْنَاهَا الَّذِي دَلَّتْ عَلَيْهِ لَا يَعْرِفُهُ إِلَّا اللَّهُ تَعَالَى ! ! وَيَظُنُّونَ أَنَّ هَذِهِ طَرِيقَةُ السَّلَفِ
และสำหรับอะฮลุตตัจญฮีล วัตตัฎลีล บรรดาผู้ซึ่ง แก่นแท้คำพูดของพวกเขาคือ (อ้างว่า) แท้จริงบรรดานบี ,บรรดาผู้ที่ตามบรรดานบี พวกเขาโง่ และลุ่มหลง พวกเขาไม่รู้ สิ่งที่อัลลอฮ มุ่งหมาย ด้วยสิ่ง ที่พระองค์ทรงพรรณนาคุณลักษณะ แก่พระองค์เองด้วยมัน จากบรรดาอายะฮและบรรดาคำพูดของบรรดานบี และพวกเขากล่าวว่า อนุญาต ให้ตีความตัวบท ที่ไม่มีใครรู้ มันนอกจากอัลลอฮ ได้ ,ญิบรีล ,มุหัมหมัด,และคนอื่นจากเขา จากบรรดานบี ก็ไม่รู้มัน (ไม่รู้ความหมายของมัน) ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาเศาะหาบะฮ และบรรดาผู้เจริญรอยตามพวกเขา ด้วยความดีงาม และแท้จริงมุหัมหมัด ศอ็ลฯ อ่านอายะฮที่ว่า

الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى [ طه : 5 ]

พระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงสถิตเหนือบัลลังค์ – ฏอฮา/5

. إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ [ فَاطِرٍ : 10 ]

คำกล่าวที่ดีจะ (ถูกพา) ขึ้นสู่พระองค์ – ฟาฏีร/10

مَا مَنَعَكَ أَنْ تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ [ ص : 75

“อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยมือทั้งสองของข้า ?- ศอด/75
โดยที่เขา(นบีมุหัมหมัด) ไม่รู้จักความหมายอายะฮเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้น ความหมายของมัน ที่แสดงบอกแก่เขา(มุหัมหมัด) เขาไม่รู้จักมัน นอกจากอัลลอฮเท่านั้น และพวกเขา (หมายถึงอะฮลุตตัจญฮีล) เข้าใจว่า นี้คือ แนวทางสะลัฟ – ชัรหุอะกีดะฮอัฏเฏาะหาวียะฮ 2/75
................
พวกอะฮลุตตัจญฮีล เข้าใจว่า บรรดาอายะฮต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิฟาตอัลลอฮ ไม่มีใครรู้ความหมาย นอกจากอัลลอฮ แม้แต่นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ เองก็ไม่รู้ ความหมายและ นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ แค่อ่านมันเท่านั้น แต่ไม่รู้ความหมาย นอกจากอัลลอฮ
แล้วพวกเขาเข้าใจว่า นี้คือแนวสะลัฟ นี่แหละอันตราย เพราะถึงขนาดว่า ใครแปลอายัตสิฟาต ก็กล่าวหาวะฮ เป็นพวกมีอะกีดะฮหลุ่มหลง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Dec 11, 2014 3:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การอ้างว่า อะชาอิเราะฮ มี ๒ ทัศนะนั้น เป็นการล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง เพราะข้อเท็จจริงต่อไปนี้
๑. ทัศนะการตีความ ไม่ใช่ทัศนะของ อิหม่ามมัซฮับอาชาอิเราะฮ แต่เป็นทัศนะอาชาอิเราะฮยุคหลัง

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ) กล่าวว่า
و الأشعري وأئمة أصحابه ك أبي الحسن الطبري و أبي عبد الله بن مجاهد الباهلي و القاضي أبي بكر متفقون على إثبات الصفات الخبرية التي ذكرت في القرآن كالاستواء والوجه واليد وإبطال تأويلها وليس له في ذلك قولان أصلا ولم يذكر أحد عن الأشعري في ذلك قولين أصلا بل جميع من يحكي المقالات من أتباعه وغيرهم يذكر أن ذلك قوله ولكن لأتباعه في ذلك قولان.

อัลอัชอะรีย์ และบรรดาอิหม่ามของบรรดาปราชญ์มัซฮับอัลอัชอะรีย์ เช่น อบีหะซัน อัฏฏอ็บรีย์ ,อบีอับดุลลอฮ บิน มุญาฮิด อัลบาฮิลีย์ และอัลกอฎีย์ อบีบักรฺ พวกเขาเห็นฟ้องกัน บนการยืนยันบรรดาสิฟาตอัลเคาะบะรียะฮ ที่ถูกระบุในอัลกุรอ่าน เช่น อัลอิสติวาอฺ (การสถิต) ,วัจญ (ใบหน้า) และยัด (มือ) (และพวกเขาเห็นฟ้องกันบน)การเป็นโมฆะของการตะวีล(การตีความ) และเขา(อบูหะซันอัลอัชอะรีย) ไม่ได้มี สองทัศนะ มาแต่เดิม และไม่มี คนหนึ่งคนใด กล่าวในเรื่องดังกล่าวถึง สองทัศนะ เป็นรากฐาน จาก อัลอัชอะรีย์ แต่ทว่า ทั้งหมด ของผู้ที่รายงานบรรดาคำพูด ล้วนมาจาก ผู้ที่ปฏิบัติตามเขา และอื่นจากพวกเขา ระบุว่า ดังกล่าวนั้นคือ ทัศนะของเขา แต่ว่า สองทัศนะในดังกล่าวนั้น เป็นของบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามเขา - ดัรอุตะอารุฎอัลอักลิ วัล นักลิ ๑/๒๔๑

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Dec 11, 2014 3:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การอ้างว่า อาชาอิเราะฮมี สองทัศนะ คือ มอบหมาย(ตัฟวีฎ)และตีความ(ตะวีล)นั้น ไม่ใช่ทัศนะของอิหม่ามอบูหะซันอัลอัชอะรีย์ อิหม่ามมัซฮับอาชาอิเราะฮ แต่ เป็น ทัศนะของบรรดาสานุศิษย์ของอิหม่ามอัชอะรีย์
أن أول من اشتهر عنه نفي الصفات الخبرية، وتأويلها أبو المعالي الجويني ت 478هـ حيث أولها في كتاب (الإرشاد)، ثم رجع عنه وحرم تأويلها في (الرسالة النظامية
บุคคลแรก ที่ปฏิเสธบรรดาสิฟาต อัลเคาะบะรียะฮ และการตีความมัน ได้เป็นที่เลืองลือจากเขาคือ อบุลมะอาลีอัลญุวัยนีย์ (ฮ.ศ ๗๔๓) โดยเขาได้ตีความมัน ในหนังสือ อัลอิรชาด ต่อ มาเขาได้กลับตัวจากมัน และได้ห้ามตีความมัน ใน “อัรริสาละฮ อัลนิซอมียะฮ” – ที่มาได้อ้างแล้ว
อบุลมะอาลีย์ อัลญุวัยนีย์ ได้ฉายาว่า อิหม่ามอัลหะเราะมัยนฺ
การอ้างว่า อาชาอิเราะฮ มีสองทัศนะ ในเรื่อง สิฟาตเคาะบะรียะฮ นั้น เป็นทัศนะของอาชาอิเราะฮยุคหลังบางส่วน แต่ยังมีสานุศิษย์ ของอิหม่ามอบูหะซันอัลอัชอะรีย์ ที่ไม่ตีความ ยกตัวอย่างเช่น

อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า
قال الإمام أبو الحسن علي بن مهدي الطبري تلميذ الأشعري في كتاب مشكل الآيات له في باب قوله الرحمن على العرش استوى أعلم أن الله في السماء فوق كل شيء مستو على عرشه بمعنى أنه عال عليه ومعنى الإستواء الإعتلاء كما تقول العرب إستويت على ظهر الدابة

อบูหะซัน อาลี บิน อัลมะฮดี อัฏฏอ็บรย์ ศิษย์ของอัลอัชอะรีย์ (ฮ.ศ ๓๘๐) กล่าวไว้ใน หนังสือ มุชกิล อัล-อายาต ในบทว่าด้วยเรื่อง คำตรัสของพระองค์ที่ว่า
الرحمن على العرش استوى
พระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงสถิตเหนือบัลลังค์
ว่า
اعلم أن الله في السماء، فوق كل شيء، مستو على عرشه، بمعنى أنه عال عليه، ومعنى الاستواء الاعتلاء، كما تقول العرب: استويت على ظهر الدابة،
จงทราบไว้เถิดว่า แท้จริง อัลลอฮทรงอยู่บนฟ้า ,เหนือทุกๆสิ่ง ทรงสถิต บน อะรัชของพระองค์ ด้วยความหมาย ว่าแท้จริง พระองค์ทรง อยู่สูง เหนือมัน และความหมายคำว่า “อิสติวาอฺ คือ อัลเอียะติลาอฺ (สูง) ดังเช่น อาหรับ กล่าวว่า “ฉันอยูบน หลังสัตว์พาหนะ ....

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Dec 14, 2014 4:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านอัตติมีซีย์
เป็นอุลามาอฺสะลัฟ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ สุนันของท่านว่า ในหัวข้อ
بَاب مَا جَاءَ فِي
خُلُودِ أَهْلِ الْجَنَّةِ وَأَهْلِ النَّارِ
โดยเขากล่าวว่า
.
قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ . - وَقَدْ رُوِيَ عَنِ
النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم رِوَايَاتٌ كَثِيرَةٌ مِثْلُ هَذَا مَا يُذْكَرُ
فِيهِ أَمْرُ الرُّؤْيَةِ أَنَّ النَّاسَ يَرَوْنَ رَبَّهُمْ وَذِكْرُ الْقَدَمِ
وَمَا أَشْبَهَ هَذِهِ الأَشْيَاءَ وَالْمَذْهَبُ فِي هَذَا عِنْدَ أَهْلِ
الْعِلْمِ مِنَ الأَئِمَّةِ مِثْلِ سُفْيَانَ الثَّوْرِيِّ وَمَالِكِ بْنِ أَنَسٍ
وَابْنِ الْمُبَارَكِ وَابْنِ عُيَيْنَةَ وَوَكِيعٍ وَغَيْرِهِمْ أَنَّهُمْ
رَوَوْا هَذِهِ الأَشْيَاءَ ثُمَّ قَالُوا تُرْوَى هَذِهِ الأَحَادِيثُ وَنُؤْمِنُ
بِهَا وَلاَ يُقَالُ كَيْفَ وَهَذَا الَّذِي اخْتَارَهُ أَهْلُ الْحَدِيثِ أَنْ
تُرْوَى هَذِهِ الأَشْيَاءُ كَمَا جَاءَتْ وَيُؤْمَنُ بِهَا وَلاَ تُفَسَّرُ وَلاَ
تُتَوَهَّمُ وَلاَ يُقَالُ كَيْفَ وَهَذَا أَمْرُ أَهْلِ الْعِلْمِ الَّذِي
اخْتَارُوهُ وَذَهَبُوا إِلَيْهِ . وَمَعْنَى قَوْلِهِ فِي الْحَدِيثِ "
فَيُعَرِّفُهُمْ نَفْسَهُ " . يَعْنِي يَتَجَلَّى لَهُمْ
อบูมูซา (หมายถึงอิหม่ามอัตติรมิซีย์เอง)
กล่าวว่า นี้คือ หะดิษ หะซัน เศาะเฮียะ และแท้จริงมันได้ถูกรายงานจาก นบี ศอ็ลฯ
บรรดารายงานต่างๆมากมาย เหมือนกับรายงานนี้ คือ สิ่งที่ เรื่องการเห็นอัลลอฮ (อัรรุอยะฮ)
ได้ถูกระบุไว้ในมันว่า “แท้จริงมนุษย์
พวกเขาจะได้เห็นพระเจ้าของเขา และ “อัลเกาะดัม
(เท้าของอัลลอฮ)ถูกระบุเอาไว้ และสิ่งที่คล้ายครึงกับบรรดาสิ่งต่างๆเหล่านี้ และในประเด็นนี้ ตามทัศนะของนักวิชาการจากบรรดานักปราชญ์
อย่างเช่น ท่านซุฟยาน อัษเษารีย์ , ท่านมาลิดบินอะนัส , ท่านอิบนุอัลมุบาร๊อก
, ท่านอิบนุอุยัยนะฮ์ , ท่านวะเกี๊ยะอฺ , และท่านอื่นๆ ว่า แท้จริงพวกเขาได้รายงานบรรดาสิ่งต่างๆเหล่านี้
หลังจากนั้นพวกเขาก็กล่าวว่า บรรดาหะดิษเหล่าวนี้ได้ถูกรายงาน โดยเราศรัทธาด้วยกับมัน
และไม่ถูกกล่าวว่ามีรูปแบบวิธีการเป็นอย่างไร และนี้ก็คือสิ่งที่นักวิชาการหะดิษได้เลือกเฟ้นมัน
โดยการรายงานประการต่างๆเหล่านี้ เสมือนกับที่มันได้มีมา และถูกศรัทธาด้วยกับมัน
โดยไม่ถูกอธิบาย ,ไม่คิดจินตนาการ และไม่ถูกกล่าวว่ามีรูปแบบวิธีการอย่างไร และนี้คือสิ่งที่นักวิชาการ(สะลัฟ)ได้เลือกและได้ให้ทัศนะไปยังมัน"และความหมายคำพูดนบี
ศอ็ลฯ ในหะดิษ พวกเขารู้จักจุดมุ่งหมายของมัน หมายถึงพวกเขา ได้รับการเปิดเผยให้รู้ - ดู
สุนัน อัตติรมีซีย์ เล่ม 4 หน้า 692
..............
อิหม่ามติรมิซีย์ ได้ระบุ บรรดาหะดิษ ต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึง
การเห็นอัลลอฮ หรือ เท้าของออัลลอฮ และบรรดาหะดิษที่คล้ายคลึงกัน แนวทางสะลัฟ ว่า พวกเขา เชื่อตามตัวบทที่ได้รายงานมา
โดย ไม่นึกมโนภาพ ว่าเป็นอย่างนั้น
อย่างนี้ ไม่อธิบายรูปแบบว่าเป็นอย่างไร

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.24 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ