ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 10:31 am    ชื่อกระทู้: ข้อมูลของอะสัน หมัดอะดั้มใน facebook ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

15. สามีขี้เหนียว

สามีขี้เนียวใครประสบก็น่าสงสาร ส่วนใหญ่รู้ว่าเขาขี้เหนียวหลังจากแต่งงาน หมดช่วงข้าวใหม่ปลามัน ช่วงก่อนแต่งงาน ทำตัวเป็นคนใจกว้าง น้องจะเอาอะไรบอกบังได้นะจ้ะ.. หลังแต่งงาน ไฟของความใจกว้าง ใจใหญ่ เริ่มค่อยๆริบรี่ ค่ากับข้าว ค่าเสื้อผ้าลูก เมีย ค่าใช้จ่ายในบ้าน ไม่ค่อยถามภรรยา ทำเฉย บางคนกับเพื่อนฝูง หรือ กับสาวแก่ แม่หมาย ทำใจกว้าง จะกินอะไร บังแกชอบเป็นเจ้ามืออยู่เรื่อย แต่เวลากลับบ้าน กลับมือเปล่า หรือ ไม่ก็ซื้อปลาขี้แตกไปฝากลูกเมีย
ปัญหาข้างตนสร้างความนักใจแก่ภรรยา เวลาขอเงิน ก็บอกว่าไม่ค่อยมี อยากจะหย่าก็กลัวเป็นหม้าย กลืนไม่เข้า คายไม่ออก จะขโมยเงินสามีก็กลัวบาป สามียิ่งแก่ยิ่งขี้เหนียว ละหมาดเคร่ง แต่ลืมคำสั่งอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาที่ว่า

وَعَلَى الْمَوْلُودِ لَهُ رِزْقُهُنَّ وَكِسْوَتُهُنَّ بِالْمَعْرُوفِ [البقرة:233

และหน้าที่ของพ่อเด็กนั้นคือปัจจัยยังชีพของพวกนางและเครื่องนุ่งห่มของพวกนางโดยชอบธรรม – อัลบะเกาะเราะฮ/233
ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นแล้วในสมัยนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือ มีผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อว่า ฮินดุน นางได้ร้องทุกข์ต่อท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าสามีของนาง คือ อบูซุฟยาน เป็นคนขี้เหนียว โดยนางกล่าวว่า

إنَّ أَبَا سُفْيَانَ رَجُلٌ شَحِيحٌ ، وَلَيْسَ يُعْطِينِي مِنْ النَّفَقَةِ مَا يَكْفِينِي وَوَلَدِي . فَقَالَ : خُذِي مَا يَكْفِيك وَوَلَدَك بِالْمَعْرُوفِ

แท้จริงอบูซุฟยาน เป็นชายขี้เหนียว โดยที่เขาไม่มอบค่าเลี้ยงดูแก่ดิฉัน สิ่งซึ่งทำให้เพียงพอต่อดิฉันและลูกดีฉัน ,ท่านรซูลลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ เธอจงเอาสิ่งที่พอเพียงสำหรับเธอและลูกของเธอ โดยชอบธรรม – รายงานโดยบุคอรี
ท่านอุบนุกุดามะฮ กล่าวว่า

وَجُمْلَتُهُ أَنَّ الزَّوْجَ إذَا لَمْ يَدْفَعْ إلَى امْرَأَتِهِ مَا يَجِبُ لَهَا عَلَيْهِ مِنْ النَّفَقَةِ وَالْكِسْوَةِ ، أَوْ دَفَعَ إلَيْهَا أَقَلَّ مِنْ كِفَايَتِهَا ، فَلَهَا أَنْ تَأْخُذَ مِنْ مَالِهِ الْوَاجِبَ أَوْ تَمَامَهُ ، بِإِذْنِهِ وَبِغَيْرِ إذْنِهِ ; بِدَلِيلِ قَوْلِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِهِنْدٍ : { خُذِي مَا يَكْفِيك وَوَلَدَك بِالْمَعْرُوفِ } . وَهَذَا إذْنٌ لَهَا فِي الْأَخْذِ مِنْ مَالِهِ بِغَيْرِ إذْنِهِ


สรุป คือ สามีเมื่อเขาไม่มอบแก่ภรรยาของเขา สิ่งซึ่งจำเป็นเหนือเขาจากการจ่ายค่าเลี้ยงดูและเสื้อผ้าให้แก่นาง หรือ มอบให้นาง น้อยกว่าความพอเพียงของนาง (หมายถึงไม่พอใช้จ่าย) ก็อนุญาตให้นางเอาจากทรัพย์สินของเขา(สามี) ทีจำเป็นหรือ ให้ครบถ้วนสิ่งที่วาญิบ โดยการอนุญาตของเขาหรือ โดยที่เขาไม่อนุญาต ด้วยหลักฐานคำพูดนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า (เธอจงเอาสิ่งที่พอเพียงสำหรับเธอและลูกของเธอ โดยชอบธรรม) และ นี้คือ การอนุญาตให้แก่นาง ในการเอาทรัพย์สินสามี โดยที่เขาไม่ได้อนุญาต – ดูอัลมุฆนีย์ เล่ม 8 หน้า 161

สรุปว่า ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้แก้ปัญหาให้แก่ภรรยาในกรณีสามีเป็นคนขี้เหนียวแล้ว และภรรยาก็ต้องปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์ คือ เอาเฉพาะเท่าที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น และจะต้องลองขอสามีก่อน ก่อนที่จะใช้กรณีนี้ เป็นทางเลือกนะครับ
.............

ด้วยสล่ามและดุอา

อะสัน หมัดอะดั้ม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 10:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

16. รวยที่แท้จริง อยู่ที่ใจ


عَنْ أَبِي ذَرٍّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ، عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ : " يَا أَبَا ذَرٍّ ، أَتَرَى كَثْرَةَ الْمَالِ هُوَ الْغِنَى ؟ " قُلْتُ : نَعَمْ . قَالَ : " وَتَرَى أَنَّ قِلَّةَ الْمَالِ هُوَ الْفَقْرُ ؟ " قُلْتُ : نَعَمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ . قَالَ : " لَيْسَ كَذَلِكَ إِنَّمَا الْغِنَى غِنَى الْقَلْبِ ، وَالْفَقْرُ فَقْرُ الْقَلْبِ
.
รายงานจากอบีซัรริน(ร.ฎ) จาก ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า “โอ้อบีซัรริน ทรัพย์สินมาก ท่านเห็นว่าร่ำรวยใช่ไหม? ข้าพเจ้ากล่าวตอบว่า “ครับ” ท่านนบีกล่าวว่า “ทรัพย์สินน้อย ท่านเห็นว่าอยากจนใช่ไหม? ข้าเจ้ากล่าวตอบว่า “ครับ โอ้ท่านรซูลุลลอฮ ,ท่านนบี กล่าวว่า “ ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก ความจริงความร่ำรวย คือ ความร่ำรวยของหัวใจ และ ความยากจน คือ ความอยากจนของหัวใจ – รายงานโดยอัลหากิม ในอัลมุสตัดรอ็ก หะดิษหมายเลข 3293
..........
ถ้าใจรู้จักพอ ถึง ทรัพย์น้อยก็เป็นสุข ถ้าใจไม่รู้จักพอ ถึงทรัพย์มาก ก็เป็นทุกข์

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Apr 24, 2012 12:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

17. ใครคือ ดำใหญ่

Amraam Borsu

{ อะฮฺลีซุนนะฮฺวาลญามาอะฮฺ ... อัลญามาอะฮฺ คือ ชนกลุ่มใหญ่ นบีกล่าวว่า "อุมมะฮฺของฉันจะไม่ทำการลงมติบนความหลงผิด" แสดงว่าการลงมตินี่นะครับ จะเป็นชนกลุ่มน้อยไม่ได้ ต้องเป็นชนกลุ่มมาก หรือทั้งหมด นั่นจะถือว่าเป็นการอิจตีมาอฺเป็นการลงมติ ... }


http://www.facebook.com/groups/215151975220125/
………..

ไปเจอมา มีคนอ้างว่า อะชาอีเราะฮ ท่านนบีรับรองว่าไม่หลงผิด ขอชี้แจงดังนี้
ข้ออ้างข้างต้นคงจะเอามาจากหะดิษอะนัส บิน มาลิกที่ว่า ที่ว่า


سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ إِنَّ أُمَّتِي لَا تَجْتَمِعُ عَلَى ضَلَالَةٍ فَإِذَا رَأَيْتُمْ اخْتِلَافًا فَعَلَيْكُمْ بِالسَّوَادِ الْأَعْظَمِ

ข้าพเจ้าได้ยินรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ อุมมะฮของฉันจะไม่รวมกันบนการหลงผิด ดังนั้น เมื่อพวกท่านเห็นการขัดแย้งกัน พวกท่านจงปฏิบัติตาม หมู่คณะส่วนใหญ่ – อิบนุมาญะฮ

ท่านอัสสะนะดีย์ กล่าวว่า

وَفِي الزَّوَائِدِ فِي إِسْنَادِهِ أَبُو خَلَفٍ الْأَعْمَى وَاسْمُهُ حَازِمُ بْنُ عَطَاءٍ وَهُوَ ضَعِيفٌ وَقَدْ جَاءَ الْحَدِيثُ بِطُرُقٍ فِي كُلِّهَا نَظَرٌ قَالَهُ شَيْخُنَا الْعِرَاقِيُّ فِي تَخْرِيجِ أَحَادِيثِ الْبَيْضَاوِيِّ .

และระบุในหนังสือ อัซซะวาอิด ว่าในสายรายงานของมัน มีผู้รายงานชื่อว่า อบูคอ็ลฟิ อัลอะอฺมา โดยที่ชื่อของเขาคือ หาซิม บิน อะฏออฺ เขาเป็นผู้ที่หลักฐานอ่อน(เฎาะอีฟ) และ หะดิษนี้ได้มีมาด้วยหลายสายรายงาน ในมันทั้งหมดนั้น ต้องพิจารณาให้รอบคอบ อาจารย์ของเรา อัลอิรอกีย์ ได้กล่าวมันเอาไว้ใน ตัคริญิ อะหาดิษ อัลบัยฎอวีย์ – ดู หาชิยะฮอัสสะนะดีย์ หะดิษหมายเลข 3950 بَاب السَّوَادِ الْأَعْظَمِ
อย่างไรก็ตาม เรามาดูว่า “ดำใหญ่ หรือ หมู่คณะส่วนใหญ่ คือใคร

อิสหาก บิน รอฮะวียะฮ กล่าวว่า

لو سألت الجهال عن السواد الأعظم لقالوا جماعة الناس، ولا يعلمون أن الجماعة عالم متمسك بأثر النبي صلى الله عليه وسلم وطريقه فمن كان معه وتبعه فهو الجماعة

ถ้าท่านถามบรรดาพวกโง่เขลา เกี่ยวกับความหมายคำว่า “ดำใหญ่” พวกเขาก็จะกล่าวว่า “ คือ หมู่คณะของผู้คน(ทั่วไป) และพวกเขาไม่รู้ว่า แท้จริง หมู่คณะ นั้น คือ ผู้รู้ที่ยึดถือ ด้วยร่องรอยของนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแนวทางของท่านนบี ดังนั้น ผู้ใด อยู่พร้อมกับนบีและปฏิบัติตามท่าน เขาคือ หมู่คณะ(อัลญะมาอะฮ” - บันทึกโดย อบูนะอีม ใน อัลหุลลียะฮ เล่ม 9 หน้า 239
อิหม่ามอิบนุกอ็ยยิม ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน กล่าวว่า

واعلم أن الإجماع والحجة والسواد الأعظم هو العالم صاحب الحق , وإن كان وحده وإن خالفه أهل الأرض

พึงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริง การลงมติ (อัลอิจญมะอฺ) หลักฐาน และหมู่คณะส่วนใหญ่ คือ ผู้รู้ ที่เป็นผู้อยู่บนความถูกต้อง แม้ว่าเขา เพียงคนเดียวก็ตาม และแม้ชาวโลกจะแตกต่าง(เห็นต่าง)กับเขาก็ตาม – ดู เอียะลามุลมุวักกิอีน เล่ม 3 หน้า 398
………..

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Apr 24, 2012 8:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

18. เมื่ออิบนุตัยมียะฮชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทัศนะอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์

อิหม่ามอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

فَمَنْ قَالَ : إنَّ الْأَشْعَرِيَّ كَانَ يَنْفِيهَا وَأَنَّ لَهُ فِي تَأْوِيلِهَا قَوْلَيْنِ : فَقَدْ افْتَرَى عَلَيْهِ ؛ وَلَكِنْ هَذَا فِعْلُ طَائِفَةٍ مِنْ مُتَأَخِّرِي أَصْحَابِهِ كَأَبِي الْمَعَالِي وَنَحْوِهِ ؛ فَإِنَّ هَؤُلَاءِ أَدْخَلُوا فِي مَذْهَبِهِ أَشْيَاءَ مِنْ أُصُولِ الْمُعْتَزِلَةِ

ดังนั้นผู้ใดก็ตามกล่าวว่า แท้จริง (อบูหะซัน)อัลอัชอะรี เขาได้ปฏิเสธมัน( หมายถึงปฏิเสธสิฟัตเคาะบะรียะฮ เช่น คำว่ามือ เป็นต้น) และ (กล่าวว่า)ในการตะวีลมัน เขามีสองทัศนะ (คือ ตัฟวีฎ และตะวีล) แน่นอนเขาผู้นั้น กุความเท็จให้แก่เขา (แก่อบูหะซันอัลอัชอะรี) แต่ว่า สิ่งนี้ คือ การกระทำของคนกลุ่มหนึ่งจากบรรดาศานุศิษย์ของเขารุ่นหลัง เช่น อบีอัลมุอาลา เป็นต้น เพราะแท้จริงพวกเขา ได้นำเอาสิ่งต่างๆจากรากฐานอะกีดะฮมุอตะซิละฮ เข้าในมัซฮับของเขา(ของอบูหะซัน) – อัลฟะตาวา เล่ม 12 หน้า 203
.......

อิบนุตัยมียะฮ ได้บอกว่า อิหม่ามอบูหะซันเอง ไม่ได้ปฏิเสธ ความหมายตามที่ปรากฏตามตัวบท ของบรรดาสิฟัตเคาะบะรียะฮ เช่น คำว่า มือ ,ใบหน้า ,ประทับ, เสด็จลงมา เป็นต้น และความจริง อิหม่ามอบูหะซัน ไม่มีสองทัศนะ คือ การตีความ(ตะวีล) และการมอบหมาย(ตัฎวีฟ) คนที่อ้างที่อ้างว่า อัลอัชอะรีมีสองทัศนะ หมายถึงทัศนะที่ตะวีล และทัศนะที่ตัฎวีฟ คือ คนที่กุความเท็จให้แก่ท่านอบูหะซัน ความจริง คนที่กล่าวว่า มีสองทัศนะข้างต้น คือ บรรดาศานุศิษของเขายุคหลัง เช่น อบีอัลมะอาลา เป็นต้น โดยพวกเขาได้เอาแนวคิดบางประการของมุอฺตะซิละฮมาใส่ในแนวคิด(มัซฮับ)ของท่านอบูหะซัน

ท่านอิบนุตัยมียะฮกล่าวต่อไปว่า

وَأَمَّا الْأَشْعَرِيُّ نَفْسُهُ وَأَئِمَّةُ أَصْحَابِهِ فَلَمْ يَخْتَلِفْ قَوْلُهُمْ فِي إثْبَاتِ الصِّفَاتِ الْخَبَرِيَّةِ وَفِي الرَّدِّ عَلَى مَنْ يَتَأَوَّلُهَا كَمَنْ يَقُولُ : اسْتَوَى بِمَعْنَى اسْتَوْلَى . وَهَذَا مَذْكُورٌ فِي كُتُبِهِ كُلِّهَا كَ " الْمُوجَزِ الْكَبِيرِ

สำหรับ อัลอัชอะรีย์เอง และบรรดาสานุศิษย์ของเขาระดับแนวหน้า ทัศนะของพวกเขาไม่ได้ขัดแย้งกัน ในการรับรอง บรรดาสิฟัตเคาะบะรียะฮ และ(ไม่ได้ขัดแย้งกัน)ในการคัดค้านผู้ที่ตีความมัน เช่น ผู้ที่กล่าวว่า คำว่า “อิสติวาอฺ หมายถึง การครอบครอง เป็นต้น และนี้คือ ที่ถูกระบุไว้ในบรรดาตำราของเขา (ของอบูหะซัน อัลอัชอะรีย) ทั้งหมด เช่น หนังสือ อัลมูญิซ อัลกะบีร...
– อัลฟะตาวา เล่ม 12 หน้า 203
…………….

การเปิดโปงข้อเท็จจริงของอิบนุตัยมียะฮ แบบนี้กระมัง จึงสร้างความโกรธแค้นให้กับอะชาอีเราะฮ และพยายามทำลายท่านทุกรูปแบบในปัจจุบัน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Apr 26, 2012 3:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

19.من هم أهل السنة والجماعة؟
ใครคือ อะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ

أهل السنة والجماعة هم الذين تمسكوا بالسنة، واجتمعوا عليها، ولم يلتفتوا إلى سواها، لا في الأمور العلمية العقدية، ولا في الأمور العملية الحكمية، ولهذا سموا أهل السنة، لأنهم متمسكون بها، وسموا أهل الجماعة، لأنهم مجتمعون عليها .

อะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮคือ บรรดาผู้ที่ยึดถือสุนนะฮและพวกเขามีมติบนมัน โดยที่พวกเขาไม่หันไปสู่สิ่งอื่นจากมัน ไม่ว่าในเรื่องความรู้ที่เกี่ยวกับอะกีดะฮ และ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามหุกุมก็ตาม และเพราะเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกชื่อว่า “ชาวสุนนะฮ” เพราะว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ยึดถือมัน และพวกเขาถูกเรียกชื่อว่า “ชาวญะมาอะฮ” เพราะพวกเขามีมติบนมัน (บนสุนนะฮ)


وإذا تأملت أحوال أهل البدعة وجدتهم مختلفين فيما هم عليه من المنهاج العقدي أو العملي، مما يدل على أنهم بعيدون عن السنة بقدر ما أحدثوا من البدعة .

และเมื่อท่านสังเกตบรรดาสภาพของชาวบิดอะฮ ท่านจะพบว่า พวกเขามีความแตกต่างในสิ่งที่พวกเขายืนหยัดอยู่บนมัน จากแนวทางที่เกี่ยวกับหลักยึดมั่น (อะกีดะฮ)หรือ เกี่ยวกับการปฏิบัติ จากสิ่งที่แสดงบอกว่าพวกเขาห่างใกลจากสุนนะฮ ตามปริมาณสิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่จากบิดอะฮ
-เช็คอิบนุอุษัยมีน (ขออัลลอฮเมตตาต่อเขาด้วยเถิด
الشيخ ابن عثيمين رحمة الله عليه
http://www.nourallah.com/fatawa.asp?c=2&id=1091

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Apr 28, 2012 9:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

20. เขาว่า”วาฮาบีย์ไม่ใช่อะฮลุสสุนนะฮนะ

Al-katsir Aswj เขาฟันธงว่า
สิ่งที่เรามั่นใจแน่นอน ว่า วาฮาบีย์ นั้น ไม่นับว่าเป็น อะฮฺลีซุนนะฮฺ วา ญามาอัฮฺ
หนึ่งก็คือ การที่พวกเขาไม่เชื่อของการมีอยู่ ของ คิลาฟียะฮฺ

(คิลาฟียะฮฺ คือ ความแตกต่างของข้อสรุปทางศาสนาในประเด็นปลีกย่อย ของ อุลามาอฺใหญ่ แต่ละท่าน ซึ่ง อิสลาม อนุญาตให้มีได้)
http://www.facebook.com/groups/215151975220125/314870041914984/?notif_t=group_activity
…..
เข้าไปอ่านพบในห้อง อ้า...ซ่า...อีเราะฮ ฉบับไม่ยอมใคร เลยอยากจะเขียนชี้แจง น้องคนนี้สักนิดว่า
คิลาฟียะฮ คือ อะไร คนพูดเข้าใจจริงหรือเปล่า ที่นี้มาดูนะหลาน Al-katsir Aswj

คิลาฟฟียะฮ หมายถึง ประเด็นที่นักวิชาการหรือคนทั่วไปมีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องคำสอนศาสนา

คิลาฟียะฮ มี 2 ลักษณะดังนี้น

1. คิลาฟียะฮในเรื่อง การเข้าใจในตัวบท
2. คิลาฟิยะฮ กับ ข้อเท็จจริงหรือขัดแย้งกับตัวบทที่เศาะเฮียะ

1. ข้อแรกคือ มีตัวบทจากอัลกุรอ่านและหะดิษ แต่มีมุมมอง และความเข้าใจต่างกัน
และไม่สามารถหักล้างกันได้ แบบนี้ ควรเปิดใจให้กว้างไม่ตำหนิซึ่งกันและกัน
อิบนุกอ็ยยิมกล่าวว่า

ووقوع الاختلاف بين الناس أمرٌ ضروري لا بدَّ منه لتفاوت إرادتهم وأفهامهم وقُوى إدراكهم، ولكن المذموم بغي بعضهم على بعض وعدوانه، وإلَّا فإذا كان الاختلاف على وجهٍ لا يؤدِّي إلى التباين والتحزُّب، وكلٌّ من المختلفين قصدُه طاعة الله ورسوله لم يَضُرَّ ذلك الاختلاف فإنه أمرٌ لا بدَّ منه في النشأة الإنسانية .اهـ

การขัดแย้งระหว่างมนุษย์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะความต้องการ,ความเข้าใจ และความสามารถแห่งการรับรู้ของพวกเขามีความแตกต่างกัน แต่ที่ถูกตำหนิคือ การละเมิดซึ่งกันและกันและการเป็นศัตรูกันและกันของเขา นอกจากว่า เมื่อปรากฏว่าการขัดแย้ง บนทางหนึ่งทางใด และไม่ได้นำไปสู่ความความชัดเจนและข้อสรุป และบรรดาผู้ที่ขัดแย้ง(เห็นต่าง)ทุกคน ก็มีเจตนาเพื่อภักดีต่ออัลลอฮและรอซูลของพระองค์ การขัดแย้งดังกล่าวนั้น ก็ไม่มีผลเสียใดๆ เพราะมันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ –อัศเศาะวาอิกอัลมุรสะละฮ เล่ม 2 หน้า 519

2. ข้อที่สอง หมายถึง การเอาความคิดเห็นมาขัดแย้งตัวบท หรือเอาความเห็นมาขัดแย้งกับข้อเท็จจริง แบบนี้ ยอมไม่ได้ เช่นเอาบิดอะฮมาหักล้างสิ่งที่มีตัวบทจากซุนนะฮ เป็นต้น

ข้อที่สองนี้ หากมีความอิคลาศ เขาไม่ควรจะมีทิฐิ มานะ หากพบว่าตนเองไม่มีหลักฐานก็ควรจะทิ้งมันเสีย แล้วกลับมาหาหลักฐาที่ถูกต้อง

อิหม่ามชาฟิอีกล่าวว่า

ما ناظرتُ أحدًا إلَّا قلتُ: اللَّهمَّ أجرِ الحقَّ على قلبِهِ ولسانه، فإن كان الحقُّ معي اتَّبعني، وإذا كان الحقُّ معه اتَّبعتُه .اهـ

ฉันไม่ได้โต้แย้งกับคนใด นอกจากฉันจะกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ จงนำไปสู่ความถูกต้อง ดังนั้น ถ้าหากปรากฏว่า ความถูกต้องอยู่กับฉัน เขาผู้นั้นก็ปฏิบัติตามฉัน และเมื่อปรากฏว่า ความถูกต้องอยู่พร้อมกับเขา ฉันก็จะปฏิบัติตามเขา – เกาะวาอิดอัลอะหกาม เล่ม 2 หน้า 176
แต่..เท่าที่เห็น พอไม่มีหลักฐานก็อ้างความเห็น อ้างอิหม่าม อ้างมัซฮับมั่วไปหมด นี้คือปัญหา และตัวอย่างของปัญหา ก็คือ คนที่กล่าวหาว่า “คนอื่นไม่รู้ปัญหาคิลาฟียะฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Apr 28, 2012 3:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

21. เขาว่า “ถ้าไม่มีบิดอะฮ ละหมาดตะรอเวียะญะมาอะฮไม่คลอด

Ven Halens กล่าวว่า ถ้าไม่มีบิดอะห์ซุนนะ แน่นอนจะไม่การละหมาดตาราแวหเป็นยามาอัต เพราะท่านอูมัร(รด)ได้กล่าวในเรื่องละหมาดตาราแวหเปนยามาอัตว่า บิดอะห์ที่ดีที่สุดคือ"อันนี้ (เมากูฟ)
http://www.facebook.com/groups/215151975220125/

เข้าไปอ่านพบมาจากห้องเจ้าเก่า ไม่แอบอ้าง เลยขอชี้แจงสักนิด เพื่อจะได้เข้าใจกัน
ละหมาดตะรอเวียะฮ เป็นญามาอะฮนั้น เป็นซุนนะฮนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นะครับ ใช่บิดอะฮซุนนะฮ แค่คำว่า “บิดอะฮซุนนะฮ” ชื่อมันพิกลๆ พิลึกกึกกือ เสียแล้ว เพราะซุนนะฮ เป็นศัตรูกับบิดอะฮ แล้วมีที่ใหน เอาบิดอะฮมารวมกับสุนนะฮ แล้วเรียกว่า “บิดอะฮซุนนะฮ”

มาดูหลักฐาน

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ละหมาดตะรอเวียะ กับบรรดาเศาะหาบะฮอยู่สามคืน ต่อมาท่านไม่ออกมาละหมาดร่วมกับเหล่าเศาะหาบะฮ โดยแจ้งเหตุผลว่า

ولكني خشيت أن تُفرض عليكم صلاة الليل فتعجزوا عنها

แต่ฉันเกรงว่า การละหมาดยามค่ำคืน(หมายถึงละหมาดตะรอเวียะ) จะถูกบัญญัติให้เป็นข้อบังคับแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านไม่สามารถจะปฏิบัติมันได้ – ดู หะดิษมุสลิม หมายเลข 1271

ทั้งนี้เพราะช่วงที่นบีมีชีวิตอยู่ เป็นช่วงเวลาแห่งการประทานอัลกุรอ่าน แล้วพอท่านนบีสิ้นชีวิต การเกรงว่าจะมีบัญญัติเพิ่มเติมนั้น ก็หมดไป ในสมัยของท่านเคาะลิฟะฮอบูบักร ท่านสาละวนอยู่กับการปราบปรามพวกขบถต่อศาสนา จึงไม่มีเวลามาจัดระเบียบเรื่องการละหมาดญะมาอะฮตะรอเวียะ พอมาในสมัยของท่านเคาะลิฟะฮอุมัร ท่านจึงมาริเริ่มทำการจัดละหมาดญะมาอะฮตะรอเวียะใหม่ อีก แล้ว ท่านกล่าวว่า “นี้คือบิดอะฮที่ดี

ท่านอุมัร หมายถึงการริเริ่มที่ดี เพราะท่านมาเห็นคนละหมาดกันกระจัดกระจาย ท่านจึงจัดให้มีอิหม่ามนำละหมาด แล้ววันหนึ่งท่านออกมาเห็นพวกเขาละหมาดตามที่ท่านจัดระเบียบไว้ ท่านปลื้มมาก ถึงกล่าวคำนี้ออกมา

จะเป็นบิดอะฮได้อย่างไร ในเมื่อท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมส่งเสริมให้ทำ ดังหลักฐาน

และรายงานโดย อัตติรมิซีย์ (806)จาก อบีซัรริน (ร.ฏ)กล่าวว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


عَنْ أَبِي ذَرٍّ رضي الله عنه قَالَ : قال رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( مَنْ قَامَ مَعَ الإِمَامِ –يعني في صلاة التراويح- حَتَّى يَنْصَرِفَ كُتِبَ لَهُ قِيَامُ لَيْلَةٍ

“ผู้ใดละหมาดพร้อมกับอิหม่าม – หมายถึง ละหมาดตะรอเวียะ – จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการบันทึก เท่ากับการละหมาดทั้งคืน
…………………
สรุปว่า ละหมาดตะรอเวียะญะมาอะฮ ไม่ใช่บิดอะฮ ไม่ว่าจะเป็นบิดฮที่ถูกตั้งชื่อให้รื่นหูแค่ใหนก็ตาม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Apr 28, 2012 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

อิบนุเราะญับ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وأما ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية فمن ذلك قول عمر رضي الله عنه لما جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد وخرج ورآهم يصلون كذلك فقال نعمت البدعة

สำหรับสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของชาวสะลัฟ จากการเห็นดีบิดฮะฮบางส่วน ความจริง ดังกล่าวนั้น อยู่ในความหมายบิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา แล้ส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือคำพูดของอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ขณะที่เขาได้รวบรวมผู้คน ในการละหมาดกิยามุเราะมะฏอน(ละหมาดตะรอเวียะ) โดยตามอิหม่ามคนเดียวกันในมัสญิด และเขาได้ออกมาได้เห็นพวกนั้นละหมาด ดังเช่นดังกล่าว แล้วเขากล่าวว่า “ช่างเป็นบิดอะฮที่ดี”
……………..

แล้วท่านอิบนุเราะฮญับกล่าวอีกตอนหนึ่งว่า


... ومراده أن هذا الفعل لم يكن على هذا الوجه قبل هذا الوقت ولكن له أصل في الشريعة يرجع إليها فمنها أن النبي صلى الله عليه وسلم كان يحث على قيام رمضان ويرغب فيه وكان الناس في زمنه يقومون في المسجد جماعات متفرقة ووحدانا وهو صلى الله عليه وسلم صلى بأصحابه في رمضان ليلة ثم امتنع من ذلك معللا بأنه خشي أن يكتب عليهم فيعجزوا عن القيام به وهذا قد أمن بعده صلى الله عليه وسلم .

ความหมายของมันคือ การกระทำแบบนี้ ไม่ปรากฏก่อนหน้านี้ แต่ว่า มันมีรากฐานในศาสนบัญญัติ ที่กลับไปหามันได้ แล้วส่วนหนึ่งจากมันคือ แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้ละหมาดในค่ำคืนเราะมะฎอนและกระตุ้นให้ปฏิบัติมัน และปรากฏว่าประชาชนในสมัยของท่านนบี ได้ละหมาดในมัสญิด เป็นหมู่คณะ แยกเป็นกลุ่มๆ และละหมาดคนเดียว โดยที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ ของท่านได้ละหมาด ตอนกลางคืนในเดือนเราะมะฎอน ต่อมาท่านนบีได้หยุดจากการกระทำดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า เกรงว่ามันจะถูกบัญญัติให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาแล้วพวกเขาไม่สามารถที่จะดำรงการปฏิบัติมันได้ และกรณีนี้ (กรณีเกรงจะถูกบัญญัติ) มันปลอดภัย หลังจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เสียชีวิต –ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม เล่ม 1 หน้า 266-267
...............

เพราะฉะนั้น การอ้างว่า ท่านอุมัร ทำบิดอะฮหะสะนะฮ ถือว่าตกไป แต่ยังมีคนอ้างกันอยู่บ่อย
สว่นเรื่องจำนวนเราะกะอัตละหมาดตะรอเวียะนั้น จะทำสิบเอ็ดรวมกับละหมาดวิตรฺ หรือทำยี่สิบสามรวมทั้งละหมาดวิตร
ประเด็นนี้ มันไม่เกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ และมีหลักฐานว่ามีผู้ทำในยุคของท่านอุมัร
เช็คบินบาซ กล่าวว่า

صلاة التراويح إحدى عشرة أو ثلاث عشرة ركعة، يسلم من كل ثنتين ويوتر بواحدة أفضل، تأسيا بالنبي صلى الله عليه وسلم ، ومن صلاها عشرين أو أكثر فلا بأس

ละหมาดตะรอเวียะ สิบเอ็ดเราะกาอัตหรือ สิบสามเรากะอัต กล่าวสล่ามทุกๆสองเราะกะอัต และละหมาดวิตรฺ หนึ่งเราะกะอัต นั้นประเสริฐกว่า เพราะเป็นการปฏิบัติตามแบบอย่างนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และผู้ใดละหมาดมัน(ละหมาดตะรอเวียะ) ยี่สิบ หรือมากกว่านั้น ก็ไม่เป็นไร - ฟะตาวาคณะกรรมการถาวรฯ เล่ม 9 หน้า 224
..............................

แต่โดยส่วนตัว สิบเอ็ดเราะกะฮอัต รวมทั้งละหมาดวิตร เป็นสิ่งที่มั่นใจที่สุด และมีหลักฐานชัดเจนว่านบีทำ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Apr 28, 2012 9:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

عن السّائب بن يزيد أنه قال: أمر عمر بن الخطاب أبيَّ بن كعب وتميماً الدّاريَّ أن يقوما للنّاس بإحدى عشرة ركعة. قال: وقد كان القارئُ يقرأ بالمئين، حتّى كُنّا نعتمد على العصِيّ من طول القيام،

จากอัสสาอิบ บิน เซด ว่า เขากล่าวว่า “ ท่านอุมัร บิน อัลคอฏฏอบ สั่งให้อุบัยบิน กะอับ และตะมีม อัดดารีย์ นำประชาชนละหมาด 11 เราะกะอัต และเขากล่าวว่า “ ผู้อ่าน(หมายถึงอิหม่าม อ่านสองร้อยอายะฮ จนกระทั่งพวกเราต้องยันกับไม้เท้า เนื่องจากยืนนาน .... ดู อัลมุวัฏฏออฺ ของอิหม่ามมาลิก เล่ม 1 หน้า 115

อีกหะดิษหนึ่ง

عن السّائب ابن يزيد، قال: ;كانوا يقومون على عهد عمر بن الخطاب في رمضان عشرين ركعة ، ولكن كانوا يقرؤون بالمائتين في ركعة حتى كانوا يتوكئون على عِصيِّهم من شدّة القيام

จากอัสสาอิบ บิน เซด ว่า เขากล่าวว่า “พวกเราละหมาดในเดือนเราะมะฏอน ในสมัยอุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ จำนวน 20 เราะกะอัต แต่ว่า พวกเขาอ่านสองรอ้ยอายะฮในหนึ่งเราะกาอัต จนกระทั้งพวกเขายันบนไม้เท้าของพวกเขา เนื่องจากยืนนาน
- ดู อัลมัจญมัวะ ของอิหม่ามนะวาวีย เล่ม 4 หน้า 32 ,นัศบุอัรรอยะฮ เล่ม 2 หน้า 154

ท่านอิบนุอับดุลบีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

يحتمل أن يكون القيام في أول ما عمل به عمر بإحدى عشر ركعة، ثم خفّف عليهم طول القيام، ونقلهم إلى إحدى وعشرين ركعة، يخفّفون فيها القراءة، ويزيدون في الركوع والسجود

เป็นไปได้ว่า การละหมาดย่ามค่ำคืน ในช่วงแรกนั้น ท่านอุมัร ปฏิบัติด้วยมัน 11 เราะกะอัต ต่อมาได้ผ่อนปรนการยืนนาน แก่พวกเขา (ให้สั้นลง) และให้พวกเขาเลื่อนไปทำ 20 เราะกะอัต ใหพวกเขาอ่านสั้นๆ และให้พวกเขาเพิ่มในการรุกัวะและสุญูดให้นานๆ –อัลอิซติซกาซ เล่ม 5 หน้า 154 และท่านอัลบัยฮะกีย์ ก็กล่าวสรุปในทำนองเดียวกัน ในสุนันของท่าน เล่ม 2หน้า 496
......................

นี้คือ ตามที่ปรากฏในยุคอุมัร ทางที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด คือ กลับไปดูความชัดเจนที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ปฏิบัติ ขอแนะนำเพียงแค่นี้แหละครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 1:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

22. กรณีนิกะห์ชุบฮาต

لصحيح من أقوال العلماء أن الولد لا يثبت نسبه للواطئ إلا إذا كان الوطء مستنداً إلى نكاح صحيح أو فاسد أو نكاح شبهة أو ملك يمين أو شبهة ملك يمين ، فيثبت نسبه إلى الواطئ ويتوارثان ، أما إن كان الوطء زنا فلا يلحق الولد الزاني ، ولا يثبت نسبه إليه ، وعلى ذلك لا يرثه " . انتهى

และที่ถูกต้องจากบรรดาคำพูดของนักวิชาการ ว่าแท้จริง ลูกนั้น การสืบสกุลของเขาแก่ผู้ที่ร่วมประเวณี(พ่อ) จะไม่ถูกรับรอง นอกจากเมื่อปรากฏว่าการร่วมประเวณีนั้น เกี่ยวข้องกับการนิกะฮที่ถูกต้อง หรือนิกะห์ที่ไม่ถูกต้อง(เช่นนิกะหขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น) หรือ นิกะหฺชุบฮาตหรือ การครอบครองในฐานะทาส หรือ การชุบฮาตของการครอบครองในฐานทาส ดังนั้น การสืบสกุลของเขา กับผู้ที่ร่วมประเวณี(หมายถึงชายผู้ร่วมประเวณี )จะได้รับการรับรองและและทั้งสองนั้น จะสืบทอดมรดกกันได้ ,สำหรับถ้าหากการร่วมประเวณีนั้น เป็นผิดประเวณี(ซีนา) ลูกก็จะไม่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ซีนาและการสืบสกุลของเขากับผู้นั้นก็จะไม่ถูกรับรอง และบนเหตุดังกล่าวนั้น เขาจะสืบมรดกเขาผู้นั้นไม่ได้
فتاوى اللجنة الدائمة " ( 20 / 387 )

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 1:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

23. ความหมายของคำว่า"หิกมะอ"

Sulaiman Mad-ahlee
“จงเรียกร้องสู่แนวทางของพระเจ้าของสูเจ้าด้วยวิทยปัญญาและการตักเตือนที่ดี ....." (อัลกุรอาน 16:125)
พี่น้องช่วยอธิบายหน่อยว่า"วิทยปัญญา(หิมะฮ์)"ในที่นี้ คืออะไรครับเคยได้ยินผู้รู้พูดถึงอายะฮ์นี้น่าสนใจมากแต่จับใจความไม่ค่อยได้


ตอบ


ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ

จงเรียกร้องสู่แนวทางของพระเจ้าของสูเจ้าด้วยวิทยปัญญาและการตักเตือนที่ดี ....." (อัลกุรอาน 16:125

อิบนุกะษีร กล่าวว่า

بِالْحِكْمَةِ ) ด้วยวิทยปัญญา

قَالَ ابْنُ جَرِيرٍ : وَهُوَ مَا أَنْزَلَهُ عَلَيْهِ مِنَ الْكِتَابِ وَالسُّنَّةِ

อิบนุญะรีร กล่าวว่า “คือ สิ่งที่พระองค์ทรงประทานมันลงมาแก่เขา จากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร

อิหม่ามอัลบัฆวีย์อธิบายว่า

( ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ ) بِالْقُرْآنِ

จงเรียกร้องสู่แนวทางของพระเจ้าของสูเจ้าด้วยวิทยปัญญา หมายถึง ด้วยอัลกุรอ่าน – ดูตัฟสีรอัลบัฆวีย์

อิหม่ามอัชเชากานีย์ อธิบายว่า

بِالْحِكْمَةِ أَيْ بِالْمَقَالَةِ الْمُحْكَمَةِ الصَّحِيحَةِ

ด้วยวิทยปัญญา หมายถึงด้วยคำพูดที่ชัดเจนถูกต้อง- ดูตัฟสีรฟัตหุลเกาะดีร

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 1:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

24. บริจาคเกินหนึ่งในสามของทรัพย์สิน

อิหมามอัชเชากานีย์ ได้อธิบายหะดิษ อะนัส บิน มาลิก เกี่ยวกับเรื่องอบูฏอ็ลหะฮ ว่า

وَفِيهِ جَوَازُ التَّصَدُّقِ مِنْ الْحَيِّ فِي غَيْرِ مَرَضِ الْمَوْتِ بِأَكْثَرَ مِنْ ثُلُثِ مَالِهِ , لأَنَّهُ صلى الله عليه وسلم لَمْ يَسْتَفْصِلْ أَبَا طَلْحَةَ عَنْ قَدْرِ مَا تَصَدَّقَ بِهِ وَقَالَ لِسَعْدِ بْنِ أَبِي وَقَّاصٍ فِي مَرَضِهِ : " الثُّلُثُ كَثِيرٌ

"อนุญาตให้คนที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้อยู่ในอาการป่วยตาย(ป่วยหนักที่คาดว่าจะเสียชีวิต)บริจาคเกินหนึ่งในสามของทรัพย์สิน เพราะนบี ศอ็ลฯ ไม่ได้ขอให้อบูฏอ็ลหะฮแยกปริมาณสิ่งที่เขาบริจาคด้วยมัน และ ท่านนบีกล่าวกับสะอีด บิน อบีวักกอศในขณะเขาป่วยว่า "หนึ่งในสามก็มากแล้ว" - นัยลุลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 36

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 03, 2012 2:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

25. ละหมาดตะฮียะตุลมัสญิด


คำถาม


คำถามสั้นๆน่ะครับ...
ถ้าเราไปถึงมัสยิดตอนที่เค้าอาซานเสร็จแล้ว เราควรละหมาดซุนนะฮ์เคารพมัสยิด หรือ ละหมาดซุนนะฮ์ก่อนเวลาละหมาดฟัรดู ( เช่น ก่อนอีซา ) ดีครับ

ตอบ


فإنه يسن لمن دخل المسجد ألا يجلس حتى يصلي ركعتين قبل جلوسه، لما روى أبو قتادة قال قال رسول الله صلى الله عليه وسلم :"إذا دخل أحدكم المسجد فلا يجلس حتى يصلي ركعتين" متفق عليه.
فإذا جلس قبل الصلاة سن له أن يقوم فيصلي ركعتين ، لما روى جابر قال: جاء سليك الغطفاني ورسول الله صلى الله عليه وسلم يخطب فجلس فقال: "يا سليك، قم فاركع ركعتين وتجوز فيهما" رواه مسلم. فإذا دخل المسجد وصلى السنة الراتبة أجزأته عن تحية المسجد، لأن المقصود أن يصلي ركعتين قبل أن يجلس . والله أعلم


แท้จริงสุนัตให้ผู้ที่เข้ามัสญิด เขาอย่าได้นั่งจนกว่าเขาจะได้ละหมาดสองเราะกาอัตก่อนการนั่งของเขา เพราะสิ่งที่อบูเกาะตาดะฮได้รายงานว่า “รซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กล่าวว่า “เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านเข้ามัสยิด เขาจงอย่านั่ง จนกว่าเขาจะได้ละหมาดสองเราะกะอัตเสียก่อน – มุตตะฟักอะลัยฮิ
ดังนั้น เมื่อเขานั่ง ก่อนละหมาด ก็สุนัตให้เขาลุกขึ้นมาแล้วละหมาดสองเราะกะอัต ดังสิ่งที่ญาบีรได้รายงาน เขากล่าวว่า “สุลัยกะ อัลฆอฏฟานีย์ ได้มา ในขณะที่ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กำลังอ่านคุตบะฮ แล้วเขา(สุลัยกะ)ก็ได้นั่งลง ท่านรซูลจึงกล่าวว่า “โอ้สุลัยกฺ จงลุกขึ้น แล้วจงละหมาดสองเราะกะอัต และท่านจงปฏิบัติสั้นๆในมันทั้งสอง – รายงานโดยมุสลิม
ดังนั้น เมื่อเขาเข้ามัสยิด และได้ละหมาดสุนัตรอติบะฮ(หมายถึงสุนัตที่ควบคู่กับละหมาดฟัรดู) ก็พอเพียงแก่เขาแล้วโดยไม่ต้องละหมาดตะฮียะฮตุลมัสยิด เพราะจุดประสงค์นั้นคือ การที่เขาละหมาดสองเราะกะอัต ก่อนที่จะนั่งลง – วัลลอฮุอะอฺลัม
http://www.islamweb.net/fatwa/index.php?page=showfatwa&Option=FatwaId&Id=1229

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed May 09, 2012 10:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

26. สิ่งที่ไม่ปรากฏนบี Solallah ห้าม


Arsan Hatyai คุณบอกว่านบี ไม่ทำเมาลิด แต่ท่านนบีห้ามไหม ว่า พวกเจ้าห้ามทำเมาลิด
.....
ตอบ

อาร์ซัน หาดใหญ่..เอ๋ย.. เมื่อเมื่อนบีไม่ทำ ท่านก็จะทำ นั้น ลอยกระทงท่านนบีไม่ทำ แต่ไม่มีหะดิษเฉพาะที่ห้ามการลอยกระทง นั้นแสดงว่า มุสลิมสามารถจัดงานลอยกระทงได้ใช่ไหมครับ ท่านเข่าใจเจตนารมณ์ของอายะฮข้างล่างไหม (เห็นบางที่เขาพิมพ์ลงไวนิล เป็นพื้นหลังเวทีเมาลิดด้วย)


อัลลอฮตรัสว่า

لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ

โดยแน่นอน ในร่อซูลของอัลลอฮฺมีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว- อัลอะซาบ/21

ท่านอิบนุกะษีรอะธิบายว่า

هَذِهِ الْآيَةُ الْكَرِيمَةُ أَصْلٌ كَبِيرٌ فِي التَّأَسِّي بِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي أَقْوَالِهِ وَأَفْعَالِهِ وَأَحْوَالِهِ

อายะฮอันทรงเกียรตินี้ เป็นรากฐานสำคัญในการยึดเอารซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ มาเป็นแบบอย่าง ในบรรดาคำพูด,การกระทำและสภาพการณ์ทั้งหลายของท่านนบี – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร

มีหลักอุศูลุลฟิกฮอยู่ว่า

إذا تَرَكَ الرسول صلى الله عليه وسلم فعل عبادة من العبادات مع كون موجبها وسببها المقتضي لها قائمًا ثابتًا ، والمانع منها منتفيًا ؛ فإن فعلها بدعة

เมื่อรซูลุลลอฮ ศอลฯ ได้ละทิ้งการกระทำอิบาดะฮใดๆจากบรรดาอิบาดะฮ ทั้งๆที่ สาเหตุ และเหตุผล ที่ต้องการให้กระทำมัน ดำรงอยู่แน่นอน และอุปสรรค์ที่จะมาปฏิเสธมันไม่มี ดังนั้นการกระทำนั้น เป็นบิดอะฮ
......

คือ สิ่งนั้นมีเหตุผลในการทำในสมัยนบี และไม่มีอุปสรรค์ใดมาขัดขวาง แต่ปรากฏว่านบีไม่ทำ เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นคือบิดอะฮ และท่านนบี ศอลฯ ได้ห้ามไม่ให้ทำบิดอะฮ ท่านบอกว่าหลงผิด ..นี้แหละคือหลักฐานนบีห้ามครับ คุณอาร์ซานหาดใหญ่

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 10, 2012 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

27. ชี้แจงกรณีผู้อ้างคำพูดอิหม่ามชาฟิอีว่า แม้ชาวสะลัฟไม่ทำ ก็ไม่เป็นบิดอะฮ

เขาอ้างว่าท่านอิหม่ามชาฟิอีกล่าวว่า

كل ما له مستند من الشرع فليس ببدعة فلو لم يعمل به السلف

"ทุกๆสิ่งที่มีสิ่งที่อิงถึงหลักศาสนา มันย่อมไม่เป็นบิดอะฮ์(ที่ลุ่มหลง) ถึงแม้นว่า สะลัฟไม่เคยปฏิบัติด้วยกับมันก็ตาม" ดู หนังสือ อิตกอน อัลซ๊อนอะฮ์ ฟี ตะหฺกีก มะอฺนา บิดอะฮ์ ของท่าน มุหัดดิษ ชัยค์ อัลฆุมารีย์ หน้า 14 ตีพิพม์ มัตตักอัลกอฮิเราะฮ์ ปี ฮ.ศ. 1426 - ค.ศ. 2005
………………….

ข้างต้น ข้อความเต็มๆ ดังนี้

قال الامام الشافعي: "كل ما له مستند من الشرع، فليس ببدعة ولو لم يعمل به السلف، لأن تركهم للعمل به، قد يكون لعذر قام لهم في الوقت، أو لِما هو أفضل منه، أو لعله لم يبلغ جميعهم علم به" اهـ

ทุกๆสิ่งที่มีสิ่งที่อิงถึงหลักศาสนา มันย่อมไม่เป็นบิดอะฮ์(ที่ลุ่มหลง) ถึงแม้นว่า สะลัฟไม่เคยปฏิบัติด้วยกับมันก็ตาม เพราะการที่พวกเขาละทิ้งการปฏิบัติมัน บางที่เนื่องมีอุปสรรค์ประสบกับพวกเขาในเวลานั้น หรือเพราะมีสิ่งที่ประเสริฐกว่านั้น หรือบางที ความรู้เกี่ยวกับมันไม่ได้ถึงไปยังพวกเขาทั้งหมด
.............

การอ้างว่าเป็นคำพูดของอิหม่ามชาฟิอีย์ข้างต้น อับดุลลอฮ อัลฆุมารีย์ ไม่ได้ระบุที่มาของคำพูดว่าเอามาจากใหน และใครเป็นผู้รายงานคำพูดนี้ ซึ่ง เป็นไปได้ว่า เป็นอุปโลกน์คำพูดให้แก่ท่านอิหม่ามชาฟิอี เพราะฉะนั้นคำพูดข้างต้นไม่มีน้ำหนักในการนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิง

และคำพูดของอิหม่ามชาฟิอีย์ที่เชื่อถือได้ คือ

الْمُحْدَثَاتُ مِنَ الأُمُورِ ضَرْبَانِ : أَحَدُهُمَا : مَا أُحْدِثَ يُخَالِفُ كِتَابًا , أَوْ سَنَةً , أَوْ أَثَرًا , أَوْ إِجْمَاعًا , فَهَذِهِ لَبِدْعَةُ الضَّلالَةِ . وَالثَّانِيةُ : مَا أُحْدِثَ مِنَ الْخَيْرِ لا خِلافَ فِيهِ لِوَاحِدٍ مِنْ هَذَا , فَهَذِهِ مُحْدَثَةٌ غَيْرُ مَذْمُومَةٍ

บรรดาสิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่นั้น มี 2 ประเภทคือ 1. สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ขัดแย้งกับอัลกุรอ่าน หรือ สุนนะฮ หรือ อะษัร หรือ อิจญมาอฺ ดังนั้นกรณีนี้ เป็นบิดอะฮที่หลงผิด 2. ความดีที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ไม่ขัดแย้งในมัน แก่ประการหนึ่งประการใดจากนี้ กรณีนี้ เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ที่ไม่ถูกตำหนิ – ดู อัสสุนันกุบรอ เล่ม 1 หน้า 206

อิบนุเราะญับ กล่าวว่า

ومراد الشافعي - رحمه الله - ما ذكرناه مِنْ قبلُ : أنَّ البدعة المذمومة ما ليس لها أصل منَ الشريعة يُرجع إليه ، وهي البدعةُ في إطلاق الشرع ، وأما البدعة المحمودة فما وافق السنة ، يعني : ما كان لها أصلٌ مِنَ السنة يُرجع إليه ، وإنَّما هي بدعةٌ لغةً لا شرعاً ؛ لموافقتها السنة

และจุดประสงค์ของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 28
ความจริงแล้วประเด็นนี้ เราต้องพิจารณาดู สุนนะฮของท่านนบี เป็นหลัก ไม่ใช่คำพูดของท่านอิหม่ามชาฟิอี เป็นหลัก

และข้างล่างท่านอิบนุตัยมียะฮ อธิบายคำพูดอิหม่ามชาฟิอีย์ในสุนันกุรอ สอดคล้องกับคำพูดอิบนุเราะญะคือ

ท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวหลักมัซฮับของอิมามชาฟิอีไว้ใน มัจญฺมั๊วะอฺ อัลฟะตาวา ว่า

ومن هنا يعرف ضلال من ابتدع طريقاً أو اعتقاداً زعم أن الايمان لا يتم إلا به، مع العلم بأن الرسول لم يذكره، وما خالف النصوص فهو بدعة باتفاق المسلمين، وما لم يعلم أنه خالفها فقد لا يسمى بدعة، قال الشافعي ـ رحمه الله ـ: البدعة بدعتان: بدعة خالفت كتاباً وسنة وإجماعاً وأثراً عن بعض [أصحاب] رسول الله صلى الله عليه وسلّم، فهذه بدعة ضلالة. وبدعة لم تخالف شيئاً من ذلك، فهذه قد تكون حسنة لقول عمر: نعمت البدعة هذه! هذا الكلام أو نحوه رواه البيهقي بإسناده الصحيح في المدخل

"จาก ณ ที่นี้ จึงรู้ถึง ความลุ่มหลง ของผู้ที่ได้อุตริ หนทางหนึ่ง หรือหลักการยึดมั่นหนึ่ง แล้วอ้างว่า การศรัทธานั้น จะไม่สมบูรณ์ นอกจากด้วยกับมัน พร้อมกับรู้ว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ไม่ได้กล่าวมันเอาไว้ และสิ่งที่ขัดแยังกับ บรรดาตัวบท มันย่อมเป็นบิดอะฮ์ ด้วยมติของบรรดามุสลิมีน และสิ่งที่ไม่ทราบว่า มันขัดกับบรรดาตัวบท แท้จริงแล้ว มันย่อมไม่ถูกเรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ ท่าน อิมาม อัชชาฟิอีย์ (ร.ห.) กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีสองประเภท คือบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ มติปวงปราชน์ และสิ่งรายงานจากบรรดาซออาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น มันนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง และ(สอง)บิดอะฮ์ที่ไม่เคยทราบเลยว่า มันขัดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากดังกล่าวนั้น ดังนี้นั้น มันย่อมบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะคำกล่าวของ ท่านอุมัร ที่ว่า "บิดอะฮ์ที่ดี คือ อันนี้" คำกล่าวนี้ หรือเหมือนกับคำกล่าวนี้ ได้รายงานโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานของเขาที่ซอฮิหฺ ไว้ในหนังสือ อัลมัดค๊อล" ดู เล่ม 20 หน้า 159 ตีพิมพ์ ดารฺ อาลัม อัลกุตุบ
……….
ขอเรียนว่า และในทัศนะของ ท่านอิบนิตัยมียะฮนั้น ท่านได้ กล่าวว่า


ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة"

และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ) ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น “บิดอะฮหะสะนะฮ” - มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ