asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Jun 25, 2012 3:43 pm ชื่อกระทู้: เมื่อเมื่อตามสุนนะฮกลายเป็นของแปลก |
|
|
ในสังคมมุสลิมของเรา เรามักจะเจอปัญหาต่อไปนี้บ่อยคือ ใครปฏิบัติตามสุนนะฮ มักจะถูกมองว่า แปลกแยก ,และเป็นผู้ที่แปลก ไม่เหมือนคนอื่น ทั้งนี้เพราะพวกเขาไม่ได้รับความรู้และข้อเท็จจริงในสิ่งดังกล่าว
ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
بَدَأَ الإِسْلامُ غَرِيبًا ، وَسَيَعُودُ كَمَا بَدَأَ غَرِيبًا ، فَطُوبَى لِلْغُرَبَاءِ
"อิสลามนั้นเริ่มมาในสภาพที่แปลก และมันจะกลับมาใหม่ในสภาพที่แปลก(เหมือนเมื่อตอนแรกเริ่ม) ดังนั้น ขอความจำเริญจงมีแด่ อัลฆุเราะบาอ์ ...( ผู้ที่ถูกหาว่าแปลกทั้งหลาย") - รายงานโดยมุสลิม
روى عبد الله بن المبارك في كتابه "الزهد" عن عبد الله بن عمرو بن العاص قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم طوبى للغرباء قيل ومن الغرباء يا رسول الله؟ قال ناس صالحون قليل في ناس سوء كثير، ومن يعصيهم أكثر ممن يطيعهم
อับดุ้ลลอฮ บุตร อัลมุบารอ็ก ได้รายงานไว้ในหนังสือของท่าน "อัซซุฮ"ว่า รายงานจากอับดุ้ลลอฮ บุตร อัมริน บุตร อัลอาศ กล่าวว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า " ขอความจำเริญจงมีแด่ อัลฆุเราะบาอ์ " มีผู้กล่าวว่า "และอัลฆุเราะบาอฺ คือ ผู้ใด โอ้ทานรซูลลุ้ลลอฮ? ท่านกล่าวตอบว่า " บรรดาคนดีที่มีจำนวนน้อย ที่อยู่ในท่ามกลางคนชั่วที่เป็นคนหมู่มาก และ ผู้ที่ฝ่าฝืน พวกเขา มากกว่า ผู้ที่เชื่อฟังพวกเขา - ซิลซิละฮ อัลอะหาดิษุษเศาะฮีหะฮ หะดิษหมายเลข 1619
มีคำอธิบายว่า
فهو غريب في دينه لفساد أديانهم، غريب في تمسكه بالسنة لتمسكهم بالبدع، غريب في اعتقاده لفساد عقائدهم، غريب في صلاته لسوء صلاتهم، غريب في طريقه لضلال وفساد طرقهم"
แล้วเขาคือ คนแปลกหน้าในศาสนาของเขา เพราะศาสนาของพวกเขาเหล่านั้นผิดพลาด ,เขาเป็นคนแปลกหน้าในการที่เขายึดถืออัสสุนนะฮ เพราะพวกเขาเหล่านั้น ยึดถือ บิดอะฮ, เขาเป็นคนแปลกหน้าในหลักความเชื่อของเขา เพราะหลักความเชื่อของพวกเขาเหล่านั้นผิดพลาด .เขาเป็นคนแปลกหน้าในละหมาดของเขา เพราะการละหมาดของพวกเขาเหล่านั้นไม่ถูกต้อง ,เขาเป็นคนแปลกหน้า ในแนวทางของเขา เพราะแนวทางของพวกเขาเหล่านั้น หลงผิดและผิดพลาด - มัดรอญุสสาลิกีน เล่ม 3 หน้า 194
คำอธิบายข้างต้นสรุปได้ว่า
1. เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่ยึดถือศาสนาแบบผิดๆ คนที่ปฏิบัติถูกต้อง ก็จะกลายเป็นคนแปลก
2. เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่ทำบิดอะฮ คนที่ดำเนินตามสุนนะฮ ก็จะกลายเป็นคนแปลก
3. เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่มีหลักความเชื่อผิดพลาด คนที่มีความความเชื่อ(อะกีดะฮ)ที่ถูกต้องก็จะกลายเป็นคนแปลก
4. เมื่อคนในสังคมส่วนใหญ่ปฏิบัติละหมาดไม่ถูกต้อง คนที่ละหมาดถูกต้อง ก็จะกลายเป็นคนแปลก
ตัวอย่าง สิ่งที่สังคมมักมองว่าแปลก
1. การอาบน้ำละหมาดในระหว่างอาบน้ำญะนาบะฮ เพราะคนในสังคมส่วนใหญ่อาบน้ำละหมาดหลังจากเสร็จจากอาบน้ำญะนาบะฮ ทั้งๆที่มี
รายงานจากอะอีฉะฮ เราะดิยัลลอฮุอันฮูว่า
أن النبيَّ صلى الله عليه وسلم كان إذا اغتسل من الجنابة، يبدأ فيغسل يديه، ثم يفرغ بيمينه على شماله، فيغسل فرجه، ثم يتوضأ وضوءه للصلاة، ثم يأخذُ الماء، فيدخل أصابعه في أصول الشّعرِ، حتى إذا رأى أنْ قد استبرأ ، حفن على رأسه ثلاث حَفنات، ثم أفاض على سائر جسده. رواه البخاري، ومسلم
แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เมื่อท่านอาบน้ำญะนาบะฮ ท่านจะเริ่มล้างมือของท่านทั้งสองก่อน หลังจากนั้น ท่านจะวักน้ำด้วยมือขวา ใส่ลงในมือซ้าย แล้วท่านล้างอวัยวะเพศของท่าน หลังจากนั้นท่านอาบน้ำละหมาด เหมือนการอาบน้ำละหมาด เพื่อละหมาด หลังจากนั้น เสร็จจากนั้นท่านได้วักน้ำแล้วเอาบรรดานิ้วมือของท่านเสยเข้าไปใต้รากผม จนกระทั้งเมื่อเห็นว่าน้ำทั่วศีรษะแล้ว ท่านก็รดน้ำลงบนศีรษะ 3 ครั้ง หลังจากนั้นท่านก็รดน้ำลงบนร่างกายของท่านจนทั่ว รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม
2. ผู้หญิงละหมาดญะนาซะฮ ถูกมองว่า เป็นเรื่องแปลก และ เป็นการละหมาดของพวกวะฮบีย์
ท่านอิหม่ามนะวาวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
إذا حضرت النساء مع الرجال لصلاة الجنازة ، صّلَّين مقتديات بالإمام ، وكان صفهن خلف صف الرجال ، كما في صلاتهن مع الرجال في الصلاة المكتوبة ، هكذا قال الشافعية.( المجموع شرح المهذب للنووي : 4/170
เมื่อบรรดาผู้หญิงมาละหมาดญะนาซะฮ พร้อมกับผู้ชาย ก็ให้พวกนาง เป็นผู้ตามอิหม่าม และให้แถวของพวกนางอยู่หลังแถวของบรรดาผู้ชาย เหมือนในละหมาดของพวกนางพร้อมกับบรรดาผู้ชายในละหมาดฟัรดู นักวิชาการแนวชะฟิอียะฮได้กล่าวไว้เช่นนี้ ดู อัลมัจญมัวะ ชัรหุลมุหัซซับ ของอิหม่ามนะวาวีย เล่ม 4 หน้า 170
ท่านสัยยิดสาบิก (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
يجوز للمرأة، أن تصلي على الجنازة مثل الرجل؛ سواء صلت منفردة، أو صلت مع الجماعة، فقد انتظر عمر أم عبد الله، حتى صلت عَلى عتبة. وأمرت عائشة، أن يؤتى بسعد بن أبي وقاص؛ لتصلي عليه(1
อนุญาตให้ผู้หญิงละหมาดญะนาซะฮได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ไม่ว่านางจะละหมาดคนเดียวหรือละหมาดพร้อมกับหมู่คณะ ก็ตาม แท้จริง ท่านอุมัร เคยรอให้อุมมิอับดิลละฮ จนนางละหมาดให้แก่อุตบะฮเสร็จ และท่านหญิงอาอีฉะฮ เคยใช้ให้นำศพสะอัด บิน อบี วักกอศมา เพื่อที่นางจะละหมาดญะนาซะฮ ให้แก่เขาด้วย (1)
وقال النووي: وينبغي أن تسن لهن الجماعة، كما في غيرها. وبه قال الحسن بن صالح، وسفيان الثوري، وأحمد، والأحناف. وقال مالك: يصلين فرادى
และอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า ซุนนะฮให้พวกนางละหมาดญะนาซะฮร่วมกัน เหมือนในละหมาดอื่น ,อัลหะซัน บิน ศอลิห์,อัษเษารีย์,อะหมัดและกลุ่มหะนะฟีย์ ก็ได้ถือตามนี้ และ มาลิก กล่าวว่า พวกนางต้องต่างคนต่างทำ ดู หนังสือ ฟิกฮอัสสุนนะฮ เล่ม 1 หน้า 451
3. ลูบศีรษะครั้งเดียวและลูบทั่วศีรษะในการอาบน้ำละหมาด กลายเป็นสิ่งแปลก
มาดูฟัตวาอัลลุจญนะฮอัดดาอิมะฮฯ เล่ม 5 หน้า 277 กล่าวว่า
الواجب مسح جميع الرأس في الوضوء ؛ لقوله تعالى : ( وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ ) ولما أخرجه البخاري ومسلم عن عبد الله بن زيد بن عاصم رضي الله عنهما في صفة الوضوء قال : ( ومَسَحَ رسول الله صلى الله عليه وسلم بِرَأْسِهِ فَأَقْبَلَ بِيَدَيْهِ وَأَدْبَرَ ) , وفي لفظ لهما : ( بدأ بمقدم رأسه حتى ذهب بهما إلى قفاه , ثم ردهما إلى المكان الذي بدأ منه ) " انتهى
วาญิบต้องลูบทั้งหมดของศีรษะ ในการอาบน้ำละหมาด เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
(และพวกเจ้าจงลูบศีรษะของพวกเจ้า ) และสิ่งที่บุคอรีและมุสลิม ได้บันทึกจากอับดุลลอฮ บิน เซด บิน อาศิม เราะดิยัลลอฮุอันฮู ใน ลักษณะการอาบน้ำละหมาด โดยกล่าวว่า
ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ลูบศีรษะของท่าน โดยลูบไปข้างหน้าและกลับมาทางด้านหลัง) และในสำนวนของทั้งสอง(บุคอรีและมุสลิม) ระบุว่า(โดยเริ่มลูบจากด้านหน้าของศีรษะของท่าน พาไปทางท้ายทอยทั้งสองของท่านแล้วลูบกลับมาที่เดิม
....................
4. ผู้หญิงละหมาดวันศุกร์ กลายเป็นเรื่องแปลก และ กลายเป็นพวกวะฮบีย์โดยไม่รู้ตัว
ما حكم أداء المرأة لصلاة الجمعة ، وهل تكون قبل أو بعد صلاة الرجال أو معهم ؟
لا تجب الجمعة على المرأة لكن إذا صلت المرأة مع الإمام صلاة الجمعة فصلاتها صحيحة ، وإذا صلت في بيتها فإنها تصلي ظهراً أربعاً ، ويكون بعد دخول الوقت ، أي بعد زوال الشمس ، ولا يجوز أن تصلي الجمعة لما تقدم
ผู้หญิงละหมาดญุมอัต มีหุกุมว่าอย่างไร? พวกนางจะละหมาดก่อนหรือ หลังจากผู้ชาย หรือว่า ละหมาดพร้อมกัน?
ตอบ
การละหมาดญุมอัตไม่วาญิบแก่ผู้หญิง แต่ว่า เมื่อผู้หญิงละหมาดญุมอัตพร้อมกับอิหม่าม การละหมาดของนางก็ใช้ได้ และเมื่อนางละหมาดที่บ้านของนาง ก็ให้นางละหมาดซุฮรีสี่รอกาอัต และให้ละหมาดหลังจากเข้าเวลาแล้ว หมายถึง หลังจากตะวันคล้อย และไม่อนุญาตให้นางละหมาดญุมอัต เนื่องจากสิ่งที่กล่าวมาแล้ว ดู ฟะตาวา อัลลุจญนะฮอัดดาอิมะฮฯ เล่ม 8 หน้า 212 ฟัตวาหมายเลข 4147
....................... _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|