asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jun 23, 2012 7:50 pm ชื่อกระทู้: การเดินทางของมุสลิมะฮโดยไม่มีมะหรอม |
|
|
ก่อนอื่นต้องเรียนให้ทราบว่า สำหรับผู้หญิงนั้น หน้าที่ของนาง คือ การอยู่กับบ้าน หากนางไม่มีสามีหรือผู้อุปการะ สังคมมุสลิมจะต้องรับภาระเลี้ยงดูนาง แล้วเมื่อนางมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางใกล นางก็จะต้องมีมะหรอม เดินทางไปด้วย ดังหะดิษที่เคยกล่าวแล้วคือ
ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า
لايحل لامرأة تؤمن بالله واليوم الآخر أن تسافر ثلاثاً إلا ومعها ذو محرم منها"
ไม่อนุญาตแก่สตรีใด ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮและวันสุดท้าย เดินทางสามวัน นอกจากมีมะหฺรอมของนางเดินทางพร้อมกับนางด้วย
رواه البخاري (2-468) ومسلم (1338).
หมายเหตุ คำว่า สามวัน ของการเดินทาง แต่จะพักกี่วัน กี่เดือน อันนี้ หะดิษไม่ระบุเอาไว้
ในรายงานของมุสลิม ระบุว่า ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมะฮ เดินทาง ระยะทางหนึ่งคืน นนอกจากจะต้องมีผู้ชายที่เป็นมะหรอมของนางเดินทางไปพร้อมกับนางด้วย
"لا يحل لامرأة تؤمن بالله واليوم الآخر أن تسافر مسيرة يوم وليلة وليس معها حرمة" رواه البخاري
ไม่อนุญาตแก่สตรี ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮและวันสุดท้าย เดินทางระยะทาง หนึ่งวันและหนึ่งคืน โดยไม่มีมะหรอมเดินทางพร้อมกับนาง รายงานโดย บุคอรี
......................................................
ประเด็นที่นักวิชาการมีทัศนะไม่ตรงกัน คือ หากการเดินทางนั้นปลอดภัย จะอนุญาตไหม
- มัซฮับหัมบะลี หะนะฟี และ ซอฮิรียะฮ นั้น ไม่อนุญาต แม้ว่าการเดินทางนั้น จะไกล้หรือไกลก็ตาม
فأخذ هؤلاء وهم الحنابلة والأحناف والظاهرية. بالمنع من سفر المرأة دون محرم سواء قرب السفر أم بعد، شابة كانت المرأة أم عجوزاً، معها رفقة من النساء أم لا
- ส่วนมัซฮับชาฟิอี และ มะลีกี นั้น อนุญาต ให้เดินทางโดยไม่มีมะหรอมได้ หากการเดินทางนั้นปลอดภัย และมีเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วย
وذهب الشافعية والمالكية إلى أنه يجوز لها أن تسافر بدون محرم إذا أمنت الطريق بوجود رفقة من نساء أو نحو ذلك.
ก. การเดินทางระยะสั้น
أن يكون السفر قصيراً ، فمذهب الحنفية جوازه من غير اشتراط محرم ـ
การเดินทางระยะสั้น มัซฮับหะนะฟียะฮ ถือว่าอนุญาต โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขเรื่องมะหรอม
: "بدائع الصنائع" (2/124) ، و"حاشية ابن عابدين" (2/464،465) ـ
ข. การเดินทางใกล
قال ابن الملقن في : "الإعلام" (6/82) : "قال القاضي عياض : واتفق العلماء على أنه ليس لها أن تخرج في غير الحج والعمرة إلا مع ذي محرم إلا الهجرة من دار الحرب"أ.هـ. وكذا حكاه النووي في : "شرح مسلم" (9/148) عن عياض
อิบนุมุลักกิน กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-เอียะลาม (6/124) ว่า อัล-กอฎี อิยาฎ กล่าวว่า บรรดานักวิชาการมีมติว่า ไม่อนุญาตแก่นางออกไป ในกรณีอื่นจากการทำฮัจญและอุมเราะฮ นอกจาก ต้องพร้อมกับมีมะหรอม(เดินทางไปด้วย) ยกเว้น กรณีอพยพจากเมืองของกาเฟรหัรบี (กาเฟรที่ทำสงครามกับมุสลิม) - และในทำนองเดียวกัน ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ได้รายงานเอาไว้ใน ชัรหุมุสลิม (9/148)จากท่านอิยาฎ
أخرج البخاري (رقم 3006) ومسلم (رقم : 1341) عن ابن عباس رضي الله عنه قال : سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يخطب بقول : "لا يَخْلُونَّ رجل بامرأة إلا ومعها ذو محرم ، ولا تُسافِر امرأة إلا مع ذي مَحْرم" فقام رجل فقال : يا رسول الله إن امرأتي خرجتْ حَاجَّة وإني اكتُتبتُ في غزوة كذا وكذا . قال : انطلق فحُجّ مع امرأتك" . قال أبو العباس القرطبي في: "المفهم" (3/453) : " قوله : صلى الله عليه وسلم للرجل : "انطلق فحج مع امرأتك" هو فَسْخ لما كان التزم من المُضِيّ للجهاد . ويدل على تأكُّد أمر صيانة النساء في الأسفار" أ.هـ
บันทึกโดย บุคอรี (หะดิษ หมายเลข 3006)และมุสลิม(หะดิษหมายเลข 1341) จากอิบนิอับบัส (ร.ฏ) กล่าวว่า ข้าพเจ้า ได้ยินท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวสุนทรพจน์ โดย กล่าวว่า ผู้ชายจะไม่อยู่ตามลำพังกับสตรี นอกจากต้องมีมะหรอมอยู่พร้อมกับนาง และ สตรีจะไม่เดินทาง นอกจาก ต้องพร้อมกับมะหฺรอม แล้วชายคนหนึ่งลุกขึ้นกล่าวว่า โอ้ ท่านรซูลุลลอฮ แท้จริงภรรยาของข้าพเจ้าประสงค์จะออกไปทำฮัจญ โดยที่ตัวข้าพเจ้าถูกบันทึก(ถูกเกณฑ์)ให้ออกไปทำสงคราม อย่างนั้น อย่างนี้ ท่านรอซูลกล่าวว่าท่านจงออกไปทำฮัจญกับภรรยาของท่านเถิด
อบูลอับบัส อัลกุฏุบีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ อัลมุฟฮัม (4/453) ว่า คำพูดของท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า ท่านจงออกไปทำฮัจญกับภรรยาของท่านเถิด คือ การยกเลิก หน้าที่จำเป็นจากการออกไปทำการสงคราม(ในทางของอัลลอฮ และแสดงให้เห็นถึง การเน้นหนักเรื่อง การดูแลบรรดาสตรี ในระหว่างเดินทาง _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|