ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
หลวงกฤษฎาวินิจ มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: Jan 10, 2004 ตอบ: 27 ที่อยู่: thailand
|
ตอบ: Tue Jun 01, 2004 12:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จีจี้อยู่ไหน
หา!! เธอไม่อยู่เหรอเนี้ย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
รอยยา มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/02/2004 ตอบ: 78
|
ตอบ: Tue Jun 01, 2004 8:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ไม่อยู่หรอกคะ คุณหลวง
กระทู้นี้ไม่น่าตื่นเต้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Tue Jun 01, 2004 11:11 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ในทำนองเดียวกัน หากเขาตามทัศนะอิมามอะหฺมัดในเรื่อง เอาเราะฮฺ คือถือว่าสองทวาร
เป็นเอาเราะฮฺ แล้วเขาไม่ตามท่านในเรื่องบ้วนปากและล้างจมูก [ขณะอาบน้ำนมาช]
หรือไม่อ่าน บิสมิลลาฮฺ สิ่งเหล่านี้อิมามอะฮฺมัดมีทัศนะว่าเป็นวาญิบ การทำอย่างนี้นมาช
ของเขาก็ไช้ได้
หมายความว่าเอาเราะฮฺเขาตามฮัมบาลี ส่วนการอาบน้ำนมาชเขาตามทัศนะผู้อื่น นมาชนั้น
ใช้ได้ เท่าที่ผู้รู้มีทัศนะว่าการทำตัลฟิกฺดังกล่าวคือ กระทำคละกันดังตัวอย่างข้างต้น
เป็นที่อนุมัติก็เพราะถือว่า เป็นคนละประเด็น หรือในอรับเรียกว่า คนละกอฎิยะฮฺ
ในหนังสือ ฟะตะวา ของชัยคฺ หะสะนัยนฺ หน้า 79 กล่าวว่า
# ผู้อาบน้ำนมาชตามหะนะฟี แล้วใช้นมาชตามชาฟิอีได้ หรือกับกันก็ได้ ดังนั้น
การทำคละกัน [ตัลฟิกฺ] ดังกล่าวเป็นที่อนุญาติ เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน # |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Tue Jun 01, 2004 11:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หมายถึงการทำวูฎูอฺเป็นเรื่องหนึ่ง และการอ่านนมาชเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งหมดนี้เป็น
การกระทำที่รู้ล่วงหน้าว่ามัชฮับนั้นๆเขามีทัศนะไว้ว่าอย่างไร ทีนี้ลองมาพิจารณาดูว่าหาก
กระทำไปโดยไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อนว่ามัซฮับไดบอกไว้ว่าทำได้ ต่อเมื่อกระทำไปแล้วจึงได้รู้ว่า
อิมามหนึ่งบอกว่าได้ อันนี้จะไช้ได้ไหม เช่น การนมาชที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺซึ่งสามารถจะนมาช
รวม เวลาบ่ายกับอัศรฺ ได้ในเวลาบ่าย [ญะมะอฺตักดีม] ตามทัศนะหะนะฟีมีคนหนึ่งไม่รู้มา
ก่อน ไปนมาชรวมกันคนอื่นที่เขานมาชรวม เมื่อได้นมาชแล้วก็มารู้ว่าทัศนะชาฟิอีว่าทำไม่ได้
ส่วนหะนะฟีบอกว่าได้ แล้วเขาก็ถือเอาตามมัซฮับหะนะฟี โดยที่การกระทำลุล่วงไปแล้วเช่นนี้
ตามข้อเขียนในหนังสือ อัต ตุหฺฟะฮฺ ซึ่งเป็นหนังสือฟิกฮฺมัซฮับชาฟิอีก็ระบุว่าใช้ได้เช่นกัน
การนมาชก็เศาะฮฺด้วย โดยยกตัวอย่างว่า คนๆหนึ่งทำวูฎูอฺเสร็จแล้ว บังเอิญมือไปกระทบ
อวัยวะเพศแล้วเขาก็ไปนมาช เมื่อนมาชแล้วเขารู้ภายหลังว่า ทัศนะของหะนะฟีนั้น กระทบ
อวัยวะเพศไม่ทำให้เสียวูฎูอฺ เขาก็ถือตามอย่างนี้นมาชของเขาถือว่าใช้ได้ แม้จะรู้ภายหลัง
การกระทำก็ตาม จากตัวอย่างดังกล่าว เขาจึงได้ระบุไว้ว่า |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Tue Jun 01, 2004 11:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
# มันเป็นที่ชัดเจนว่า อนุญาติให้ตักลีดหลังการกระทำไปแล้วได้
ข้อสรุปจากเรื่องตักลีดและตัลฟิกฺ ที่ได้กล่าวมาก็คือ ใครจะตามมัซฮับไดๆย่อมมีสิทธิทำได้
เมื่อมัซฮับนั้นๆมีแนวทางตาม กุรฺอานและซุนนะฮฺ ส่วนศาสนาไม่มีตัวบทบังคับว่าต้องตาม
หรือทำแบบคละกัน เอาทัศนะอิมามนี้นิด อิมามโน้นหน่อย บรรดาผู้รู้ก็บอกว่าทำได้
ดังตัวอย่างที่ยกมาอ้าง
ทำไมผู้รู้จึงบอกว่าทำได้ อันนี้ก็เพราะว่าท่านเหล่านั้นตระหนักดีว่า ทุกคนมีอิสระในการเลือก
ตามมัซฮับ[ทัศนะ] ที่ถูกต้องซึ่งมีตัวบทเป็นหลักฐาน ทั้งนี้โดยที่ได้คำนึงถึงเจตนารมณ์
ของอัล กุรฺอาน ในซูเราะฮฺ อัล หัจญ์ อายะฮฺที่78 และอายะฮฺที่ 185 ซูเราะฮฺ
อัล บะเกาะเราะฮฺ ว่า
### 22:78 เราไม่ได้กำหนดเรื่องศาสนาให้เป็นความลำบากแก่เจ้า
### 2: 185 อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวก พระองค์ไม่ต้องการความลำบากกับสูเจ้า |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Thu Jun 03, 2004 9:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การที่มัซฮับทั้งสี่เป็นที่นิยมของคนทั่วไป สืบเนื่องมาจากการเมืองในยุคก่อนๆ เช่น
ในประเทศใดที่ผู้นำนิยมทัศนะอิมามหนึ่งโดยเฉพาะ มัซฮับนั้นย่อมจะต้องใช้ผู้นิยมมัซฮับเดียวกับผู้นำแต่มีข้อเสียอยู่ ซึ่งใด้ปรากฎมาแล้วในอดีต คือ เกิดความคลั่งไคล้หรือในภาษา อรับเรียกว่า ตะอัสศุบ โดยยึดถือว่ามัซฮับที่ตนยึดถืออยู่นั้นมีความสมบูรณ์ถูกต้องฝ่ายเดียว
ฝ่านอื่นไม่ดีไม่สมบูรณ์พอ ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดความยุ่งยากมาตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน
มีการถกเถียงกัน ถึงกับปะทะกันด้วยกำลังก็มีในอดีตเคยปรากฎมาแล้วในประเทศชามหรือ
สิเนีย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือหะนะฟีแล้วผู้ปกครองได้แต่งตั้งผู้พิพากษา[กอฎี] ที่นับถือ
ชาฟิอี เข้าประจำตำแหน่ง ประชาชนไม่พอใจถึงกับเดินขบวนต่อต้านและขับไล่กัน
ซึ่งเรื่องอย่างนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นแต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว เพราะความคลั่งไคล้ดังกล่างนั่นเอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Thu Jun 03, 2004 9:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถ้าจะกลับไปหาตัวบทอย่างจริงจังจาก กุรอานหรือหะดีษ ก็อาจจะไม่มีเรื่องดังกล่าวขึ้น
หรือได้ทำความเข้าใจต่อเจตนารมณ์ ของอิมามต่างๆก็คงจะรู้ความจริงว่า อิมามแต่ละคน
มิได้มีเจตนาจะตั้งตนเป็นใหญ่ให้ใครๆมายึดถือทัศนะของท่านราวกับว่า คำพูดทุกคำต้องถูก
ต้องเสมอ หรือถูกต้องที่สุด ตรงกันข้าม แต่ละอิมามเพียงค้นคว้าและพยายามดึงหุก่มออกมา
จากตัวบท และจากหลักการที่วางไว้ เพื่อนำออกมาเสนอแก่สังคมเท่านั้น จึงเห็นได้ว่าแต่ละท่านต่างก็ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เช่น อิมามชาฟิอียกย่องให้เกียรติอิมามหะนะฟี โดยกล่าวว่า
# คนทั่วไปเป็นหนี้บุญคุณอยู่มากจากทัศนะของท่าน อบูหะนีฟะฮฺ#
อิมามแต่ละคนไม่เคยบังคับใครว่าต้องยึดทัศนะของท่านเท่านั้น ห้ามยึดถือของอิมามอื่น
และไม่เคยมีอิมามใดอ้างว่าทัศนะของท่านนั้นถูกต้องที่สุด |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Thu Jun 03, 2004 9:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อิมามมาลิกีเป็นบุคคลคนหนึ่งที่คัดค้านในการที่จะนำทัศนะของท่านไปบังคับประชาชน
ยึดถือปฎิบัติโดยไม่ให้ไปเอาของผู้อื่น เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว คือ เคาะลีฟะฮฺ ฮารูน
อัรฺ เราะชีด ได้ให้ท่านมาลิกีรวบรวมหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง เป็นหะดีษที่เกี่ยวกับการปฎิบัติ
ศาสนะกิจ เมื่ท่านมาลิกีทำเสร็จก็ให้ชื่อว่า มุวัฎเฎาะ หนังสือนี้ท่านฮารูนพอใจมาก
ถึงกับตั้งใจจะนำมาแขวนที่กะอฺบะฮฺ แล้วออกคำสั่งให้มุสลิมทุกคนยึดถือปฎิบัติตามนั้นอัน
เดียว เมื่ออิมามมาลิกีทราบเรื่องเข้า ท่านคัดค้านทันที โดยให้เหตุผลว่า เท่าที่ท่านรวบรวม
มานี้เป็นไปตามความสามารถของท่านเท่าที่จะกระทำได้ มิได้หมายความว่า ท่านได้รวบรวม
หะดีษที่ถูกต้องไว้ทั้งหมดก็หาไม่ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
bushra มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 31/05/2004 ตอบ: 4 ที่อยู่: ดุบัย
|
ตอบ: Fri Jun 04, 2004 2:33 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เนื้อหายอดเยี่ยมมากจะรออ่านทุกวันค่ะ
ขอบคุณบังที่นำเรื่องทีดีมาให้
นอกจากเรื่องตัฟสีรอัลกุรอาน ประวัติท่านศาดาต่าง ประวัติบรรดาศอหาบะฮฺแล้ว
เรือ่งอิมามทั้งสี่น่าติดตามเรียนรู้จริง
เรื่องแนวความคิดเรื่องฟิกบุชรอรู้น้อยมาก
ขอขอบคุณอีกครั้ง _________________ ร่วมใจศรัทธา |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Jun 05, 2004 10:40 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อัสสะลามมุอะลัยกุม คุณ bushra เรื่อง 4อิมามนั้น เป็นหนังสือเก่า ที่พิมพ์ไปต้องประคองไป
กลัวจะขาด พิมพ์ครั้งที่ 3 พศ2521 เรื่องประวัติ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ซึ่งเป็น ประวัติที่ใช้เฉพาะท่านเป็นหะดีษที่เราจะนำมาทำไม่ได้
และฟิกฺ ก็จะพิมพ์ในอันดับต่อไป อินชาอัลลอฮฺ
วัสสะลาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sun Jun 06, 2004 8:50 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เพราะอาจมีหะดีษที่ถูกต้องอยู่อีกแต่ท่านไม่รู้ หรือไม่ได้เก็บรวบรวมไว้ในหนังสือก็ได้ ดังนั้น การที่จะยึดถือหนังสือ มุวัฎเฎาะ ว่าเป็นตำราสมบูรณ์แบบถูกต้องที่สุดย่อมเป็นไปไม่ได้
นี่คือเหตุผลของอิมามมาลิกีเอง ทั้งนี้เพราะตัวท่านเองตระหนักดีว่า เท่าที่รวบรวมหนังสือนี้ขึ้น
มามิได้หมายความว่าได้รวบรวมหะดีษที่ถูกต้องไว้ทั้งหมดก็หาไม่ ดังนั้น ความสมบูรณ์
ในทุกอย่างจึงไม่ไช่ลักษณะของหนังสือเล่มนี้ ไม่มีทางที่จะเอาไปบังคับให้ผู้อื่นต้องยึดปฎิบัติ
เพียงทัศนะของท่านฝ่ายเดียว เพราะผู้อื่นอาจจำหะดีษที่ถูกต้องไว้ซึ่งท่านไม่ได้นำมา
ไว้ในหนังสือของท่านก็ได้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sun Jun 06, 2004 8:51 am ชื่อกระทู้: |
|
|
จากรายละเอียดดังกล่าว จึงพอสรุปได้ว่า อิมามแต่ละท่านไม่เคยระบุว่าทัศนะของท่านถูกต้องที่สุด ของผู้อื่นไม่ดีพอหรือสู้ไม่ได้ก็หาไม่ เพียงแต่อิมามนั้นใช้อิจญ์ติฮาดนำหุก่มออกมาเสนอ
แก่สังคม เป็นการกระทำไปตามภูมิรู้โดยแท้ และเมื่อท่านหนึ่งเห็นไปทางหนึ่ง ท่านอื่นๆอาจ
อิจญ์ฮาดไปเป็นอีกทางหนึ่งก็ได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงทราบว่าบางอิมามได้พูดไว้อย่างกว่างๆว่า
# เมื่อหะดีษหนึ่งถูกต้อง หะดีษนั้นคือทัศนะของฉัน #
หรือได้กล่าวว่า
# หากท่านเห็นว่าทัศนะของฉันค้านกับตัวบทแล้ว ให้ทิ้งทัศนะของฉันเสีย #
เหล่านี้เป็นต้น [ดูรายละเอียดในหนังสือ สี่อิมาม ของ ซัยคฺ ชัรฺบาศีย์] |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sun Jun 06, 2004 8:53 am ชื่อกระทู้: |
|
|
แม้จะได้มีคำพูดชัดๆดังกล่าวก็ตาม แต่บรรดาผู้ตักลีดมัซฮับในสมัยก่อนก็ยังทึกทักว่า
มัซฮับนี้ถูกต้อง จึงได้มีเรื่องราวระหว่างผู้ตักลีดเกิดขึ้นมาอย่างรุนแรง ก่อความแตกแยก
ขึ้นมาในสังคม ทั้งๆ ที่ความจริงจากปากคำของแต่ละอิมามก็บอกชัดแล้วว่า
แต่ละอิมามเขายกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ผู้ตักลีดว่านมาชร่วมกันเป็นอิมามและเป็นมะอฺมูมกันไม่ได้ หรือนับถืออิมามชาฟิอี จะไปนมาชเป็นมะอฺมูมผู้นับถือหะนะฟีไม่ได้ มันกลายเป็น
ว่าการนมาชที่เขาทำไปนั้นไม่เป็นการนมาชเพื่อการภักดีต่อ อัลลอฮฺ การกระทำดังกล่าว
ค่อนข้างจะเสี่ยงต่ออันตรายอยู่มาก จะเห็นได้จากตำราบางเล่มระบุว่า ผู้ทำวุฎูอฺ ตามชาฟิอี
เมื่อไปกระทบผู้หญิงแล้วไม่ทำวุฎูอฺใหม่โดยยึดตามทัศนะหะนะฟี ที่ว่ากระทบผู้หญิง
ไม่เสียวุฎูอฺ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sun Jun 06, 2004 8:55 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เมื่อไปนมาชเข้า นมาชนั้นไม่เศาะหฺ ไช้ไม่ได้ เหตุผลก็คือ วุฎูอฺอันนั้นหะนะฟีว่าไม่เศาะหฺ
เพราะการเช็ดศีรษะไม่เช็ดถึงหนึ่งในสี่ของศีรษะ ตกลงไม่มีอิมามใดยอมรับนมาชของเขา
ก็เลยเป็นเรื่องติดอยู่แค่มัซฮับนั้น มัซฮับนี้ โดยไม่คำนึงถึงว่าตัวบทจาก กุรอาน และ หะดีษ
ว่าไว้อย่างไรและการทำอิบาดะฮฺ นั้น ทำเพื่อใคร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sun Jun 06, 2004 8:56 am ชื่อกระทู้: |
|
|
มัซฮับเป็นเพียงแนวทัศนะของบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอความคิดออกมาอย่างอิสระ
ตามขอบเขตแห่งหลักการของศาสนา ซึ่งท่านเหล่านั้น แม้จะเป็นศิษย์เป็นอาจารย์
ซึ่งกันและกัน ก็ไม่เคยได้บังคับกันเลยว่าผู้เป็นศิษย์จะต้องยึดถือทัศนะของอาจารย์
เช่น อิมามชาฟิอีก็เป็นศิษย์ของท่านอิมามมาลิกี แต่แนวความคิดบางเรื่องไปคนละแนว
ท่านอิมามฮัมบาลีก็เป็นศิษย์ของท่านชาฟิอี แต่แนวความคิดของท่านก็แตกต่างกับ
ของชาฟิอี ไม่ปรากฎเลยว่า ท่านอิมามมาลิกีตำหนิชาฟิอี ว่าเป็นผู้เนรคุณอาจารย์
ไม่เอาอย่างครู และในทำนองเดียวกันท่านอิมามชาฟิอี ก็ไม่เคยด่าว่าท่านฮัมบาลี
ว่าเป็นศิษย์ไม่ตามครู ไม่ยึดถือแนวทางของครูที่เคยอบรมแนะนำให้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|