ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Nov 26, 2004 8:27 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ท่านอุสมาน อิบนิอัฟฟาน .อับดุลลอฮฺ อิบนิอุมัร .อับดุลลอฮฺ อิบนิอับบาส
ท่านอนัส นางอาอิชะฮฺ ต่างมีความเห็นตรงกันว่า จำเป็นจะต้องครอบครองกรรมสิทธิ์
ในของที่ให้และการครอบครองกรรมสิทธิ์ในของให้จะไม่ถูกต้องนอกจากจะได้รับ
อนุญาติจากผู้ให้ เพราะผู้ให้คือ สาเหตุแห่งการถ่ายทอดกรรมสิทธิ์
ถ้าหากว่าเขาครอบครองกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ก็คือว่าการยกให้นั้นสมบูรณ์ชอบธรรม
แต่ถ้าหากว่ายังไม่มีการรับมอบของให้ โดยถูกต้องตามศาสนบัญญัติ
ก็ถือว่ายังไม่เป็นการให้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Nov 26, 2004 8:29 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การเอาของที่ยกให้กลับคืน
ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่นเอาทรัพย์สินที่ให้กลับคืน ดังที่ท่านอิบนิ อับบาส
ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านร่อซูล กล่าวว่า
ผู้ที่เอาของให้กลับคืน เหมือนกับผู้ที่กลืนอาเจียรของเขากลับคืนอีกครั้งหนึ่ง
อิมามบุคอรียฺรายงานตัวบทหะดีษว่า ไม่ใช่สำหรับเราในการทำชั่วเยี่ยงเดียวกับความชั่ว
ของผู้ที่เอาของให้กลับคืน ซึ่งเป็นเสมือนสุนัขที่อาเจียรแล้วมันก็กลืนอาเจียร
ของมันอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่ผู้ที่เป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เพราะท่านรอซูล ฯ กล่าวว่า
ไม่อนุญาตให้ คนหนึ่งที่ยกทรัพย์สินให้จะเอามันกลับคืน นอกจากพ่อที่ได้ให้แก่ลูกของเขา
บันทึกโดย อบู ดาวูด และบุคคลอื่นๆ ติรมีซียฺกล่าวว่า เป็นหะดีษหะซันซ่อเฮียหฺ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Nov 26, 2004 8:30 am ชื่อกระทู้: |
|
|
มรดกของลูกซินา
ลูกซินาหมายถึง ผู้ที่เกิดมาจากพ่อแม่ที่มิได้แต่งงานกันโดยถูกต้องตามบัญญัติอิสลาม
แต่ถ้าหากฝ่ายชายยอมรับว่าเด็กที่เกิดมาเป็นลูกของเขาโดยถูกต้อง
มิได้เกิดจากการแต่งงานโดยไม่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาในกรณีนี้ก็ถือว่า
เด็กผู้นั้นเป็นบุตรของเขาตามบัญญัติศาสนา โดยมีสิทธิเช่นเดียวกับบุตรคนอื่นๆของเขา
แต่ถ้าฝ่ายชายไม่ยอมรับว่า เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรของเขา หรือยอมรับว่าเด็กที่เกิดมานั้น
เป็นผลเนื่องมาจากการทำซินา ในกรณีนี้ก็ไม่ถือว่า เด็กผู้นั้นเป็นบุตรของเขา
โดยถูกต้องตามบัญญัติศาสนา และไม่อนุญาตให้มีการสืบทอดมรดกกันในระหว่าง
เด็กผู้นั้นกับพ่อของเขาและไม่อนุญาตให้รับมรดกจากญาติใกล้ชิดของพ่อของเขาด้วย
และถือว่า เด็กผู้นั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับพ่อแม่ของเขาทางด้านสายเลือดด้วย
เขามีสิทธิที่จะได้รับมรดกจากฝ่ายแม่และญาติทางฝ่ายแม่เท่านั้น
และมีความผูกพันทางด้านสายเลือดทางแม่และญาติฝ่ายแม่เท่านั้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Nov 26, 2004 8:31 am ชื่อกระทู้: |
|
|
มรดกของเด็กที่แม่ถูกปรักปรำว่าทำซินา
การปรักปรำว่าทำซินา ตามบัญญัติศาสนาหมายถึง
สามีได้ปรักปรำว่าภรรยาของเขาทำซินา
และไม่ยอมรับว่า เด็กที่เกิดจากภรรยาของเขาว่าเป็นลูกของเขา
โดยที่เขาจะต้องกล่าวปฎิญาณ 4 ครั้ง ต่อหน้าตุลาการนิติบัญญัติ
โดยปรักปรำว่า ภรรยาของเขาทำซินา และเขาเป็นผู้ที่พูดจริง
ในครั้งที่ 5 เขาจะต้องกล่าวว่า ขออัลลอฮฺทรงลงโทษเขา ถ้าหากว่าเขาพูดโกหก
ฝ่ายภรรยาก็จะต้องกล่าวปฎิญาณ 4 ครั้ง ต่อหน้าตุลาการนิติบัญญัติ
และกล่าวว่าผู้เป็นสามีพูดโกหกที่กล่าวหานางว่าทำซินา
และในครั้งที่ 5 นางจะต้องกล่าวว่า ขออัลลอฮฺได้ทรงโกรธกริ้วนาง
ถ้าหากว่าสามีของนางพูดความจริง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Nov 26, 2004 8:34 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เมื่อได้มีการปรักปรำกันตามบัญญัติศาสนาแล้ว ผู้เป็นสามีก็จะพ้นจากการลงโทษ
โดยกล่าวหาว่าภรรยาทำซินา แต่ไม่มีพยาน 4 คน มายืนยันอัตราการลงโทษ
ในกรณีนี้คือ เฆี่ยน 80 ที่ ตามที่ระบุอยู่ในคัมภีร์ อัลกุรอาน ขณะเดียวกันภรรยาก็
บริสุทธิจากการถูกปรักปรำว่าทำซินา พร้อมกันนี้ตุลาการนิติบัญญัติจะตัดสินให้
แยกกันระหว่างสามีภรรยาคู่นั้น ฝ่ายสามีก็ไม่ต้องยอมรับว่า
เด็กที่เกิดมานั้นเป็นลูกของเขา
เด็กที่เกิดมาจากหญิงที่ถูกปรักปรำว่าทำซินา จะไม่มีสิทธิในมรดกฝ่ายพ่อ
และมรดกของญาติฝ่ายพ่อ เพราะหลักศาสนาถือว่าไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือด
ระหว่างคนทั้งสอง แต่ให้สืบมรดกกันระหว่างเขากับแม่ของเขาและญาติฝ่ายแม่เท่านั้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Fri Nov 26, 2004 8:36 am ชื่อกระทู้: |
|
|
กะลาละฮฺ
กะลาละฮฺหมายถึง ผู้ตายที่ไม่มีทายาทในการรับมรดก ไม่ว่าจะเป็นทายาท
ทางด้านสายเลือด เช่น ลูกชาย ลูกสาว ลูกชายของลูกชาย ลูกสาวของลูกชาย
หรือทายาททางสายโลหิต ที่อยู่ต่ำลงไปและทายาททางด้านผู้ให้กำเนิด
เช่น พ่อ แม่ ปู่ หรือทายาททางด้านผู้ให้กำเนิดที่อยู่ระดับสูงขึ้นไปแต่ผู้มีสิทธิ
ในการรับมรดกของเขาได้แก่ พี่น้องชายหญิงพ่อแม่เดียวกันหรือ
พี่น้องชายหญิงพ่อเดียวกัน หรือพี่น้องชายหญิงแม่เดียวกัน หรือลูกของพี่น้องชายเป็นต้น
ข้อควรจำ
พี่น้องชายร่วมพ่อได้รับมรดกในเมื่อไม่มีพี่น้องชายร่วมพ่อแม่
ลูกชายของพี่น้องชายพ่อเดียวกันได้รับมรดกในเมื่อไม่มีลูกชายของพี่น้องชาย
พ่อแม่เดียวกันรับมรดก ถ้าไม่มีลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อแม่รับมรดก
ลุงอาพ่อแม่กับผู้ตาย ถ้าไม่มี ลุงอาพ่อเดียวกับพ่อผู้ตาย ถ้าไม่มี
ลูกชายของลุงอาพ่อแม่เดียวกับพ่อของผู้ตาย
ถ้าไม่มี ลูกชายของลุงอาพ่อเดียวกับพ่อของผู้ตาย
ยังมีต่ออินชาอัลลอฮฺ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 29, 2004 3:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
วะกั๊ฟ
วะกั๊ฟหมายถึงทรัพย์ที่เป็นถาวรวัตถุมอบเป็นศาสนสมบัติเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
หรือผลประโยชน์ไปใช้ในศาสนากุศล อันมีผลห้ามนำทรัพย์นั้นไปจำหน่าย
จ่าย โอน หรือมอบให้
หลักฐานเกี่ยวกับการทำวะกั๊ฟ
การทำวะกั๊ฟเป็นการกระทำที่ชอบด้วยบัญญัติศาสนา ดังที่อัลลอฮฺตรัสความว่า
และพวกเจ้าจงทำความดีเถิด เพื่อว่า พวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ
ท่านอุมัร อิบนุลค้อฎฎอบ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รับที่ดิน ณ ตำบลคอยบัร เป็นกรรมสิทธิ์ผืนหนึ่ง
ท่านจึงไปหาท่านร่อซูล แล้วกล่าวว่า ท่านร่อซูล ฉันได้รับที่ดินผืนหนึ่งในคอยบัร
และไม่ได้ทรัพย์ที่มีค่าอื่นอีกเลย แล้วท่านจะใช้ให้ฉันทำอย่างไรกับที่ดินผืนนี้
ท่านร่อซูลกล่าวว่า
ถ้าหากว่าท่านประสงค์ก็จงระงับสิทธิ์ในที่ดินผืนนี้ไว้ แล้วนำผลประโยชน์มาบริจากเป็นทาน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 29, 2004 3:16 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ท่านอุมัรกล่าวว่า ท่านไม่ขาย ไม่ให้ ไม่ทิ้งเป็นมรดก และได้บริจากผลประโยชน์
จากที่ดินผืนนั้นแก่ผู้ยากจน ญาติใกล้ชิดที่ขัดสน ในการไถ่ทาส ในหนทาง
ของอัลลอฮฺ ผู้เดินทาง ผู้มาเยือน และไม่มีความผิดแต่อย่างใดสำหรับผู้ดูแล
ผืนดินนั้นจะบริโภคส่วนที่เป็นประโยชน์โดยดีจากผืนดินนั้น
และรับประทานจากทรัพย์สินดังกล่าวโดยไม่นำไปลงทุน (บันทึกโดย นักบันทึกหะดีษ)
จากถ้อยคำที่ท่านร่อซูล ได้กล่าวแก่ท่านอุมัรว่า ให้บริจากผลประโยชน์ของที่ดินผืนนั้น
โดนไม่ให้ขายหรือถ่ายทอดเป็นมรดก หรือมอบให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หา จึงทำให้เข้าใจว่า
การนำเอาทรัพย์สินวะกั๊ฟมาถือเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว หรือนำไปขาย จำหน่าย
จ่าย แจก เป็นการทำบาปใหญ่ เพราะทรัพย์วะกั๊ฟถือได้ว่าเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 29, 2004 3:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หลักการทำวะกั๊ฟ
หลักการที่เกี่ยวข้องกับการทำวะกั๊ฟได้แก่
1 ผู้ทำวะกั๊ฟ
2 สิ่งที่ทำวะกั๊ฟ
3 ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากสิ่งวะกั๊ฟ เช่น โรงเรียน มัสยิด โรงพยาบาล
เด็กกำพร้า คนยากจน ทายาทที่อยู่ในเงื่อนไขวะกั๊ฟ
4 คำเสนอสนอง
เงื่อนไขของสิ่งที่ทำวะกั๊ฟคือ
1 จะต้องเป็นทรัพย์สินที่มีตัวตน ขนาด ปริมาณ รูปร่างที่แน่นอน โดยสามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยที่ตัวของทรัพย์สินนั้นไม่สูญสลาย ดังนั้น สิ่งที่สูญสลาย
เนื่องจากการใช้ประโยชน์ จึงนำมาทำวะกั๊ฟไม่ได้
2 ผู้ทำวะกั๊ฟจะต้องมีจุดประสงค์ในการทำความดี เพื่อให้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ
3 ผู้รับประโยชน์จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจนแน่นอน เช่น มอบผลประโยชน์ให้แก่
มัสยิดฟิรเดาส์ หรือโรงเรียนธรรมวิทยา หรือทายาทผู้ยากจน หรือผู้ยากจนโดนทั่วไป ฯลฯ
4 การทำวะกั๊ฟจะต้องเป็นการถาวร มิใช่เป็นการชั่วคราว และไม่มีการตั้งเงื่อนไขใดๆ
เกี่ยวกับเวลา นอกจากการตั้งเงื่อนไขเช่นว่า ถ้าตายแล้วให้ที่ดินนั้นเป็นทรัพย์วะกั๊ฟ
5 ผู้ทำวะกั๊ฟจะต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะทำวะกั๊ฟโดยสมบูรณ์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 29, 2004 3:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถ้อยคำวะกั๊ฟ
จำเป็นที่ผู้ทำวะกั๊ฟจะต้องกล่าวถ้อยคำออกมาให้ชัดเจนในสิ่งที่ต้องการทำวะกั๊ฟ
เช่น ข้าพเจ้าทำวะกั๊ฟที่ดิน 1 ไร่ ตามโฉนดเลขที่.....ริมถนน....ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างมัสยิดฯลฯ
เมื่อได้ลั้นวาจาเช่นนั้น หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ถือว่า การทำวะกั๊ฟ
ดังกล่าวมีความสมบูรณ์มีผลทางปฎิบัติ จะกลับคำพูดหรือเอากลับคืนหรือยกเลิกไม่ได้
อย่างเด็ดขาด และไม่อนุญาติให้ขายทรัพย์สินวะกั๊ฟ นอกจากว่าไม่สามารถใช้ประโยชน์
ในสิ่งนั้นได้อีก หรือไม่มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ ในกรณีนี้ให้นำทรัพย์สิน
วะกั๊ฟนั้นขายและเอาเงินที่ได้ไปซื้อสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้วทำวะกั๊ฟต่อไปอีก
หรือจะนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ดีกว่าเป็นประโยชน์มากกว่าโดยคงทรัพย์ใหม่
เป็นสิ่งวะกั๊ฟก็ได้ เพราะบรรดาซ่อฮาบะฮฺของท่านร่อซูลมีความเห็นว่า
อนุญาติให้แลกเปลี่ยนทรัพย์วะกั๊ฟด้วยกับทรัพย์สินที่ดีกว่าได้
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
อับดุรเราะฮ์มาน มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/02/2006 ตอบ: 56
|
ตอบ: Thu Jul 27, 2006 11:08 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตกลง นี่เรื่อง"มรดกอิสลาม" หรือเรื่อง "ว่าด้วยมรดกในอิสลาม" อักษรขาดหายความหมายเปลี่ยนนะแช |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|