ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 15, 2004 12:08 pm ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
##มรดกกะเทย
กะเทย คือ ผู้ที่มีอวัยวะเพศชายและหญีงอยู่ หรือไม่มีอวัยวะเพศอยู่เลย
ข้อชี้ขาดในการแบ่งมรดกกะเทย
ถ้าหากว่า สภาพของเขาบ่งบอกว่าเป็นผู้ชาย กล่าวคือ มีเครา มีหนวด ปัสสาวะ
ออกทางอวัยวะเพศชาย ก็แบ่งมรดกให้แก่เขาในฐานะผู้ชาย แต่ถ้าสภาพของเขาบ่งบอกว่า
เป็นผู้หญิงคือ มีหน้าอกเต่งตึงออกมา มีเลือดประจำเดือน ปัสสาวะออกทางอวัยวะเพศหญิง
ก็แบ่งมรดกให้แก่เขาในฐานะผู้หญิง แต่ถ้าหากว่า ไม่มีสิ่งใดส่อแสดงเพศของเขาเลย หรือมี
ทั้งสองอย่างรวมกัน เช่น มีหนวดมีเครา มีหน้าอกเต่งตึง มีรอบเดือน และปัสสาวะออกมา
ทางช่องของสองเพศ นี่คือสิ่งแสดงถึงการเป็นกะเทยอย่างแท้จริง
##วิธีการแบ่งมรดกกะเทย
กะเทยได้รับมรดกส่วนน้อยที่สุดจากมรดกที่แบ่งกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง คือให้
จัดการแบ่งมรดกโดยสมมุติว่ากะเทยเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าหากว่าได้มีการแบ่งกันแล้ว
ส่วนของใครได้น้อยก็เอาส่วนนั้นให้กะเทย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 15, 2004 12:09 pm ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
##มรดกทารกในครรภ์
สำหรับทารกในครรภ์นั้น ถ้าหากว่า เป็นความประสงค์ของผู้รับมรดกอื่นทั้งหมด
ก็ประวิงเวลาในการแบ่งมรดกไว้จนกว่าทารกนั้นจะคลอดออกมา แต่ถ้าหากว่า
ผู้รับมรดกอื่นมีความต้องการที่จะรีบรับมรดก แล้วจัดการแบ่งมรดกตามสิทธิที่บุตรในครรภ์ได้รับ
ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง แต่ถ้าหากว่า ผู้รับมรดกอื่นมีความต้องการรีบรับมรดก
ก็สามารถแบ่งได้ทันที โดยให้กันส่วนของทารกในครรภ์เอาไว้ก่อน ในฐานะผู้ชาย คือ
สมมุติว่าทารกที่คลอดออกมาเป็นผู้ชาย เขาก็จะได้รับสิมธิส่วนนั้นไป แต่ถ้าทารกคลอดออกมา
เป็นหญิง ก็แบ่งส่วนที่เป็นสิทธิของเขาออกไป ส่วนที่เหลือก็ให้นำมาแบ่งแก่ผู้มีสิทธิอื่นที่จะได้รับ
##มรดกของผู้ตายหมู่
ผู้ที่ตายหมู่ ไม่ว่าจะจมน้ำตาย ตึกถล่ม แผ่นดินไหว เพลิงไหม้ ฯลฯ ตามบัญญัติ
ศาสนาแล้ว ไม่มีการสืบทรดกระหว่างผู้ตาย แตให้ทายาทโดยธรรมของแต่ละฝ่าย
สืบมรดกของผูตายได้ทันที |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 15, 2004 12:11 pm ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
##มรดกของผู้สาปสูญ
คนสาปสูญคือ ผู้ที่หายไปโดยไร้ร่องรอย ไม่มีผู้ใดรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน ยังมีชีวิตอยู่
หรือตายไปแล้ว มรดกคนสาปสูญมี 2กรณีคือ
1 . การรับมรดกจากคนสาปสูญ เมื่อมีการตัดสินโดยตุลาการว่า
บุคคลสาปสูญได้ตายไปแล้ว แนวมัซฮับต่างๆมีความเห็นดังนี้
ก. มัซฮับฮานะฟีกล่าวว่า ถือว่าบุคคลสาปสูญถึงแก่ความตาย ถ้าหากเขาหายไป90ปี
ข. มัซฮับมาลิกีเห็นว่า ให้นับอายุของเขา ถ้าหากว่าเขาอายุได้ 70 ปี
แล้วเขายังไม่ปรากฎตัวก็ถือว่า เขาตายแล้ว
ค. มัซฮับชาฟิอียฺถือว่า ถ้าเขาอายุได้ 90 แล้วยังไม่ปรากฎตัว ก็ถือว่าเขาตายไปแล้ว
ง. มัซฮับฮัมบาลียฺมีความเห็นว่า ให้นับอายุเขาให้ได้ 90 ปี แล้วเขายังไม่ปรากฎตัว
ก็ถือว่า เขาตายไปแล้ว หรือให้ตุลาการนิติบัญญัติเป็นผู้ชี้ขาด
โดยพิจารณากรณีแวดล้อมและมูลเหตุต่างๆ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 15, 2004 12:14 pm ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
ได้มีการพิสูจน์อย่างแน่ชัดว่า คนสาปสูญได้ตายไปแล้ว ก็ให้นำเอาทรัพย์ของเขา
มาแบ่งกันระหว่างทายาทโดยธรรม ซึ่งยังคงมีชีวิตอยู่ขณะนั้น แต่ถ้าทายาทโดยธรรม
ผู้ใดตายก่อนหน้านี้ เขาก็ไม่มีสิทธิในมรดกของคนสาปสูญ หรือถ้าทายาทโดยธรรมคนใด
เข้ารับอิสลามก่อนการแบ่งมรดกเขาก็มีสิทธิในมรดก และถ้าทายาทโดยธรรมคนใด
สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมก่อนการแบ่งมรดก เขาก็ไม่มีสิทธิในมรดก
แต่ถ้าหากว่ายังไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่า คนสาปสูญนั้นได้ถึงแก่ความตายแล้ว
ก็ให้เอาทรัพย์มรดกของเขาวะกัฟเช่งอายัด โดยจะไม่นำมาแบ่งเป็นมรดก
จนกว่าจะได้พิสูจน์ทราบอย่างแน่ชัดว่า เขาได้ตายไปแล้ว
2. การแบ่งมรดกของคนสาปสูญ
ส่วนแบ่งจากมรดกผู้สาปสูญ ให้วะกัฟเชิงอายัดไว้จนกว่าเขาจะกลับมา
ก็มอบส่วนมรดกให้แก่เขา และถ้าพิสูจน์ทราบว่าเขาได้ตายไปแล้ว หรือตุลาการนิติบัญญัติ
ได้ชี้ขาดว่า เขาตายไปแล้ว ก็ให้นำเอาส่วนมรดกของเขาแบ่งให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิในมรดกของเขา
#ยังมีต่ออินชาอัลลอฮฺ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Nov 20, 2004 8:40 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
##พินัยกรรม
พินัยกรรมคือ คำสั่งยกทรัพย์สินหรือแบ่งทรัพย์สินของตนหรือวางข้อกำหนด
เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนอันจะให้มีผลเมื่อตนตายแล้ว
หลักฐานทางบัญญัติเกี่ยวกับพินัยกรรม
พินัยกรรมเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) ในยุคแรกของอิสลาม ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
การทำพินัยกรรมให้แก่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และบรรดาญาติที่ใกล้ชิดโดยชอบธรรมนั้น
ได้ถูกกำหนดขึ้นแก่พวกเจ้าแล้ว เมื่อความตายได้มายังคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้า
หากเขาได้ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ ทั้งนี้เป็นหน้าที่แกผู้ยำเกรงทั้งหลาย(อัล บะเกาะเราะฮฺ.180)
ต่อมาอายะฮฺนี้ก็ได้ถูกยกเลิกด้วยอายะฮฺที่บัญญัติเกี่ยวกับมรดก จึงทำให้พินัยกรรม
เป็นสิ่งที่ชอบให้ปฎิบัติ โดยอยู่ในอัตรา 1ใน3 ของมรดกหลังจากที่ได้ใช้จ่ายไปในการ
จัดการศพและชำระหนี้สินเรียบร้อยแล้ว
ท่านซะอดฺ อิบนิอบีวักก๊อส รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านร่อซูล ได้มาเยี่ยมฉันเนื่องจาก
การเจ็บป่วยของฉัน ฉันกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ฉันได้เจ็บป่วยลงดังที่ท่านเห็นแล้ว
ฉันเป็นผู้มีทรัพย์สิน และไม่มีผู้ใดรับมรดกต่อจากฉันนอกจากลูกสาวของฉันเท่านั้น
ฉันจะทำซอดาเกาะฮฺ 2ใน3 จากทรัพย์สินของฉันได้หรือไม่ ท่านนบีกล่าวว่า ไม่ได้
ฉันกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นก็ครึ่งหนึ่ง ท่านนบีกล่าวว่า ไม่ได้ ฉันกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นก็ 1ใน3
ท่านนบีกล่าวว่า 1ใน3 หนึ่งในสามนี่ก็มากแล้ว ท่านทิ้งทายาทของท่านมีฐานะย่อมดีกว่า
ที่ท่านจะปล่อยพวกเขาขัดสนคอยแต่ขอจากมนุษย์ (รายงานโดยนักบันทึกหะดีษ) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Nov 20, 2004 8:41 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
##หลักการทำพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมจะต้องอยู่ในหลักการดังนี้
1. คำสั่งตามพินัยกรรม จะต้องมีความแน่นอนชัดเจน เช่น ทำพินัยกรรมยกที่ดิน
ตามโฉนดเลขที่....เนื้อที่...ไร่... หรือให้เงินจำนวน...บาทฯลฯ และคำสั่งในพินัยกรรม
จะต้องไม่ใช้ให้ปฎิบัติหรือไม่มอบสิ่งของที่ขัดต่อบัญญัติอิสลาม ดังนั้น สิ่งที่ศาสนาบัญญัติ
ไม่อนุญาติให้ใช้ประโยชน์ ก็ห้ามมิให้ทำพินัยกรรมยกให้ ขาย ให้ครอบครองกรรมสิทธิ์
เพราะการใช้ประโยชน์ต่อสิ่งดังกล่าวถือว่า เป็นการต้องห้ามตามบัญญัติศาสนา
เช่น การเลี้ยงสุนัขไว้ดูเล่น การมอบสุราให้กัน การเลี้ยงสุกร ฯลฯ
สิ่งที่มอบตามพินัยกรรมไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัตถุหรือมีตัวตน อาจจะเป็นการใช้ประโยชน์
ในสิ่งของเป็นการชั่วคราวหรือใช้ถาวรก็ได้ เช่น การให้อาศัยอยู่ในบ้าน
การใช้ที่ดินในการเพาะปลูก แต่ไม่มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Nov 20, 2004 8:43 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
2. ผู้ทำพินัยกรรม จะต้องเป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพสินที่ทำพินัยกรรม
โดยสมบูรณ์ชอบธรรม ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องบรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปะชัญญะ
ทำพินัยกรรมโดยเต็มใจมิได้ถูกบังคับ ถ้าหากว่า ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เยาว์
วิกลจริตหรือปัญญาอ่อน หรือถูกบังคับ หรือประสาทไม่อยู่ในสภาพปรกติ
การทำพินัยกรรมของเขาก็ใช้ไม่ได้
3. ผู้รับพินัยกรรม
1. จะต้องเจาะจงให้ชัดเจนแน่นอน มิใช่กล่าวเพียงลอยๆ ว่ามอบที่ดินผืนหนึ่ง
ให้แก่ชายคนหนึ่ง ตามนัยนี้ไม่อาจจะจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้
2. ผู้รับพินัยกรรมจะต้องมีชีวิตอยู่หลังจากที่เจ้าพินัยกรรมตายไป แต่ถ้าหากว่า
รับพินัยกรรมตายไปก่อนเจ้าพินัยกรรม หรือเจ้าพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่บุตรในท้อง
ของนาง ก. แต่นาง ก. มิได้ตั้งครรภ์ พินัยกรรมดังกล่าวถือว่าเป็นโมฆะ
3. ผู้รับพินัยกรรมจะต้องไม่ใช่ฆาตกร หรือผู้จ้าง วาน วางแผน ร่วมมือฆ่า เจ้าพินัยกรรม
ถ้าหากว่า คนหนึ่งได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินให้แก่อีกคนหนึ่ง แต่ต่อมาผู้รับพินัยกรรม
ได้สังหารเจ้าพินัยกรรม ในกรณีนี้ถือว่า พินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Nov 20, 2004 8:44 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
3. สิ่งที่มอบให้ตามพินัยกรรม
สิ่งที่สามารถมอบให้ตามพินัยกรรมได้จะต้องมีลักษณะดังนี้คือ
1. ทุกสิ่งที่เป็นมรดกสามารถมอบตามพินัยกรรมได้ ดังนั้น สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นมรดก
จึงไม่สามารถมอบตามพินัยกรรมได้ เช่น ซากสัตว์ เลือด สุรา สุกร ฯลฯ
2. สิ่งที่มอบตามพินัยกรรมจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์และชอบธรรมของ
เจ้าของพินัยกรรม
3. สิ่งที่เจ้าพินัยกรรมระบุมอบให้แก่ผู้รับพินัยกรรมจะต้องอยู่ในอัตรา 1 ใน 3
ของทรัพย์สินที่ผู้ตายทิ้งไว้ หลังจากที่ได้หักค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ
และชำระหนี้สินของผู้ตายเรียบร้อยแล้ว |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Sat Nov 20, 2004 8:46 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
4. สาระแห่งพินัยกรรม
พินัยกรรมจะเป็นคำพูดหรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเครื่องหมานใดซึ่งเป็นที่
เข้าใจกัน ดังนั้นสาระแห่งพินัยกรรมจะต้องมีความชัดเจน เจาะจง แน่นอน รัดกุม และระบุ
รายละเอียดต่างๆ โดยครบถ้วน ถ้าพินัยกรรมที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เจ้าพินัยกรรม
จะต้องลงชื่อ ต่อหน้าพยานซึ่งเป็นชาย 2คน หรือถ้ามีผู้ชาย 1คน ก็ให้เขาหาผู้หญิงอีก 2คน
ลงชื่อเป็นพยาน พร้อมกันนั้นเจ้าพินัยกรรมจะต้องระบุถึงสภาพของเขาในการทำพินัยกรรมว่า
เป็นไปโดยเต็มใจ ไม่มีผู้ใดบังคับขู่เข็ญ เขามีสุขภาพสมบูรณ์ สติสัมปะชัณณะเป็นปรกติเป็นต้น
สำหรับพินัยกรรมที่เป็นคำพูด ก็จะต้องมีพยานรับรู้เช่นเดียวกับพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 22, 2004 8:49 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
การทำพินัยกรรมให้แก่ทายาท
บรรดานักปราชญ์มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมให้แก่ทายาท
นักปราชญ์ส่วนใหญ่กล่าวว่า การทำพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะโดยสิ้นเชิง
เพราะท่านร่อซูล กล่าวว่า
แท้จริง อัลลอฮฺ ได้ทรงประทานให้ผู้มีสิทธิทุกคนซึ่งสิทธิของเขา ดังนั้นจึง
ไม่มีการทำพินัยกรรมให้แก่ผู้มีสิทธิในมรดก
(รายงานโดยนักบันทึกหะดีษทั้ง 5 นอกจากอันนะซาอียฺ)
นักปราชน์บางท่านมีความเห็นว่า อนุญาติให้ทำพินัยกรรมให้แก่ทายาทได้ ถ้าหากว่า
บรรดาทายาทยินยอมให้ทำเช่นนั้นได้ ท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า
ท่านร่อซูล กล่าวว่า
ไม่อนุญาติให้ทำพินัยกรรมให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิในทรดก เว้นแต่ทายาทจะมีความประสงค์เช่นนั้น
รายงานโดย อัดดารุกุฎนียฺ โดยเป็นหะดีษฮะซัน
ถือว่า การทำพินัยกรรมเป็นสิ่งที่ชอบให้ปฎิบัติในการคืนสิทธิให้แก่ผู้อื่น
ให้ใช้หนี้สินและให้จัดการให้เป็นไปตามในการมอบทรัพย์สินให้แก่เด็ก |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 22, 2004 8:51 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
ผู้รับผิดชอบต่อพินัยกรรม
ผู้รับผิดชอบต่อการปฎิบัติตามพินัยกรรมจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. จะต้องเป็นมุสลิม ไม่อนุญาติให้มุสลิมมอบความรับผิดชอบในการทำให้เป็นไปตาม
พินัยกรรมแก่ผู้ที่มิใช่มุสลิม เพราะพินัยกรรมเป็นความรับผิดชอบตามบัญญัติศาสนา
ผู้ปฎิบัติให้เป็นไปตามพินัยกรรมจะต้องมีความซื่อสัตย์ ดังนั้น ผู้ที่มิใช่มุสลิมจึงไม่เหมาะสม
ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบให้ปฎิบัติไปตามพินัยกรรม
2. จะต้องบรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปะชัญญะ จึงไม่อนุญาติให้เด็กเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการปฎิบัติเพื่อให้เป็นไปตามพินัยกรรม เพราะตัวของเขาเองก็ตกอยู่ภายใต้การดูแล
ของผู้อื่น แล้วจะทำหน้าที่รับผิดชอบต่อภารำสำคัญนี้ได้อย่างไร
ผู้วิกลจริดก็เช่นเดียวกับเด็ก เพราะเขาไม่มีความสามารถที่จะจัดการกับตัวเองได้
และจะไปจัดการให้แก่ผู้อื่นได้อย่างไร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 22, 2004 8:53 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
3. เป็นอิสระชน ผู้ที่เป็นทาสไม่มีความสามารถที่จะจัดการกับตัวของเขาเอง และทรัพย์สิน
ของเขา เพราะทั้งตัวเขาและทรัพย์สินของเขาเป็นสิทธิของผู้เป็นนาย
4. เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริด ไม่อนุญาติให้ผู้ที่เป็นทุจริดชนหรือผู้ที่ไม่อยู่ในลักษณะของ
สุจริดชนเป็นผู้รับผิดชอบให้ปฎิบัติตามพินัยกรรม
5. ผู้รับผิดชอบต่อพินัยกรรมจะต้องไม่เป็นศัตรูกับผู้รับพินัยกรรม เพราะอาจจะ
ก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ผู้รับพินัยกรรม ในกรณีนี้ อนุญาติให้ผู้หญิงเป็นผู้ที่รับผิดชอบ
ในการปฎิบัติให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ ถ้าหากว่า นางมีความเหมาะสมกว่าผู้อื่น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 22, 2004 8:55 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
การยกให้โดยเสน่หา
การยกให้โดยเสน่หาหมายถึง การมอบทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ให้โดยเต็มใจ
ในขณะที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ โดยปราศจากค่าตอบแทนใดๆ
การยกทรัพย์สินให้โดยเสน่หาเป็นการกระทำที่ชอบด้วยบัญญัติศาสนา
อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
และสูเจ้าทั้งหลายจงช่วยเหลือกันในการทำความดีและความยำเกรง
ท่านร่อซูล ได้ส่งของขวัญไปให้แก่ เนกุส แล้วท่านได้กล่าวกับนางอุมมุสะละมะฮฺ
ว่า ฉันอยากจะเห็นเนกุส เว้นแต่ว่า เขาได้ตายไปแล้ว ฉันไม่เห็นว่าของขวัญของฉัน
จะเป็นเช่นใด นอกจากจะถูกส่งคืนเท่านั้น บันทึกโดย อะหฺมัด
เงื่อนไขที่ทำให้การยกให้โดยเสน่หาถูกต้อง
1 ทรัพย์สินที่ยกให้จะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ยกให้โดยสมบูรณ์ชอบธรรม
2 ผู้ให้ได้มอบให้โดยเต็มใจ ปราศจากการถูกบังคับข่มขู่
3 สิ่งที่มอบให้สามารถครอบครองได้ ซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนได้
4 ผู้รับจะต้องครอบครองกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์
5 การให้จะต้องเป็นเด็ดขาด ไม่มีการตั้งเงื่อนไข หรือเป็นไปเพียงชั่วคราว
6 การให้จะต้องไม่มีสิ่งแลกเปลี่ยน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 22, 2004 8:58 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
การยกทรัพย์สินให้บุตร
จำเป็นที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมอบทรัพย์สินให้แก่บุตรหลานของตน
โดยเท่าเทียมกันจะมากน้อยกว่ากันไม่ได้
ท่านนัวะอฺมาน อิบนิ บะชีร กล่าวว่า บิดาของท่านได้นำท่านไปหาท่าน ร่อซูล
แล้วกล่าวว่า ฉันได้ให้เด็กรับใช้คนหนึ่งแก่ลูกชายของฉันคนนี้ ท่านร่อซูลกล่าวว่า
ท่านได้ให้แก่ลูกๆของท่าน ทุกคนเช่นเดียวกับลูกชายคนนี้ของท่านหรือปล่าว
พ่อของฉันกล่าวว่า เปล่า ท่านนบีกล่าวว่า ท่านจงเอาเด็กรับใช้ของท่าน
กลับคืนไปเถิด ( หะดีษนี้บันทึกโดย บุคอรียฺและมุสลิม)
ท่านร่อซูล กล่าวว่า
พวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺ และจงให้ความเท่าเทียมกันแก่ลูกๆของพวกท่าน
บันทึกโดย มุสลิม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
ตอบ: Mon Nov 22, 2004 9:00 am ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้: มรดกอิสลาม |
|
|
การยกให้จะสมบูรณ์เมื่อได้ครอบครองกรรมสิทธิ์
การยกให้จะไม่สมบูรณ์และยังไม่ถือว่าเป็นการยกให้จนกว่าได้มีการครอบครอง
กรรมสิทธิ์โดยเรียบร้อย อิมามมาลิกได้รายงานไว้ในหนังสือ มุวัฎเฎาะอฺ
จากนางอาอิชะฮฺว่า ท่านอบูบักร อัซซิดดีก ได้มอบหญ้าฝรั่นให้แก่นาง20วะสัก
จากทรัพย์สินของท่านในป่า เมื่อท่านอบูบักร จะถึงแก่กรรม ท่านจึงกล่าวว่า
โอ้ลูกสาวของฉัน ฉันได้มอบหญ้าฝรั่นให้แก่เจ้า20วะสัก ถ้าหากว่าเจ้าถือครอง
กรรมสิทธิ์ในมัน มันก็จะเป็นของเจ้า แต่ทว่าวันนี้ มันได้เป็นทรัพย์สินมรดก
ของบรรดาทายาทโดยธรรม ดังนั้น พวกท่านจงจัดแบ่งกันตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ๑
ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่า นางอาอิชะฮฺยังมิได้ครองกรรมสิทธิ์ในหญ้าฝรั่น
ท่านอุมัร อิบนุลค้อฎฎอบ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
การยกให้โดยเสน่หาไม่สมบูรณ์จนกว่าผู้รับให้จะได้ครอบครองกรรมสิทธิ์โดยเรียบร้อย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|