ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
ขอเชิญร่วมสร้างมัสยิด
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ขอเชิญท่านบริจาคสมทบทุน
โครงการก่อสร้างอาคาร
มัสยิดอนุรักษ์



โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

ชื่อบัญชี
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ธนาคาร
กรุงไทย สาขาย่อยประเวศ
ประเภท กระแสรายวัน
เลขที่ 188 – 6 – 00316 – 5

>>>..ร่วมบริจาคคลิ๊ก!..<<<

ญะซากุมุ้ลลอฮุคอยร็อน


เมนูหลัก
 หน้าแรก(ข่าวสาร) :
 หน้าแรก
 ค้นหา
 หัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ
 สำหรับสมาชิก :
 รายนามสมาชิก
 เข้าสู่ระบบ(สมัครสมาชิก!)
 ร่วมด้วยช่วยกัน :
 แนะนำบอกต่อ
 กระดานเสวนา
 
 สถิติของผู้เข้าชม :
 ยอดฮิตติดอันดับ
 แบบสำรวจ
 คู่มือและเอกสาร :
 ถาม-ตอบ
 วารสารประจำเวบ
 บริการอื่นๆ :
 ติดต่อลงโฆษณา
 ติดต่อเรา
 ห้องแสดงภาพ
 ดาวน์โหลด
 Mozaks_News

 เมนูทั่วไป :
เนตคุณแรงแค่ไหน!
ล้อเลียนการเมือง
เพิ่มเว็บนี้ใน Favourites !
เมล์ด่วนสายตรง
22:37:47
วัน : 29-03-2024
GMT : +0700

สาระวิชาการ
วิชาการ :
ศรัทธาและยึดมั่น
อัลฮะดีษ
จริยธรรมอิสลาม
ประเพณีและความเชื่อ
ประวัติศาสตร์อิสลาม
เหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน
อุลูมุ้ลฮะดีษ
ตัฟซีรอัลกุรอาน
คอลัมน์ประจำ :
บทความทั่วไป
ตรรกวิทยา

ดาวน์โหลด

  1: ถาม-ตอบ
ดาวน์โหลด 297 ครั้ง

  2: ขุดโคตรชีอะ
ดาวน์โหลด 183 ครั้ง

  3: การทำแทน
ดาวน์โหลด 108 ครั้ง

  4: ศรัทธาแบบอิสลาม
ดาวน์โหลด 207 ครั้ง

  5: สัญญาณวันสิ้นโลก
ดาวน์โหลด 245 ครั้ง

  6: หลักยึดมั่น
ดาวน์โหลด 146 ครั้ง

..ดูทั้งหมด..

เว็บไซต์อนุรักษ์ซุนนะห์

เผยข้อเท็จจริงลัทธิชีอะห์:





แนวร่วมต่อต้านรอฟิเฏาะ

ภาษาอาหรับ

www.d-sunnah.net
www.fnoor.com
www.albrhan.com
www.wylsh.com
www.khominy.com
http://dhr12.com
www.albainah.net
www.ansar.org
www.almanhaj.com
www.almhdi.com

ภาษาอังกฤษ

www.ahlelbayt.com


หนังสือใหม่
ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์
ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


ข่าวสาร
หนังสือพิมพ์ไทย :
ไทยรัฐ
เดลินิวส์
กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวสด
ผู้จัดการออนไลน์
มติชน
ประชาไทย
ไทยนิวส์
ศูนย์ข่าวอิศรา
หนังสือพิมพ์อาหรับ :
الاهرام
الجمهورية
الوطن
القبس
البيان
الاتحاد
الرأي العام
الشرق الأوسط
السياسة
دار الخليج
ตำราศาสนาภาษาอาหรับ :
almeshkat
almaktba
kribani
sahab
internet radio
จส.100
คลื่นประชาธิปไตย


บทความเรื่อง ฟิร๊อก กลุ่มแนวคิดบิดเบือน
ตอนชีอะห์อิหม่ามสิบสอง

อย่าให้กะลิมะห์ชะฮาดะห์ของผู้ใดมาล่อลวงเรา
อิสลามไม่มีนิกาย
ข้อแตกต่างด้านโครงสร้างศาสนาของซุนนะห์กับชีอะฮ์
อัลกุรอานและฮะดีษตามความเชื่อของชีอะฮ์
อายะห์อัลกุรอานที่ขาดหาย
"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ครอบครัวและวงศ์วานของท่านนบี
ภรรยาของนบีคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์"
ฮะดีษซะก่อลัยน์ สิ่งหนักทั้งสอง
ใครคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ที่ระบุในซูเราะห์อัลอะห์ซาบ อายะห์ที่ 33
ฮะดีษกิซาอ์
ท่านอาลีและครอบครัว จากซูเราะห์อัซชุอะรออ์ อายะห์ที่ 23
"อิมามะห์"การศรัทธาต่ออิหม่าม
คำสั่งแต่งตั้งอิหม่าม
หลักฐานแต่งตั้งอิหม่าม จากซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 55
อายะห์"อัตตับลีฆ" ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 67
มุบาฮะละห์
ฮะดีษ "มันซีละห์" เปรียบท่านนบีกับอาลีดั่งมูซากับฮารูณ
ละครฉากนี้ที่ "ฆ่อดีรคุม"
คำตอบจากท่านอาลี
อาลีช่วยด้วย !!
อาลี หรือ เยซู
นครแห่งความรู้
ฮุเซนมาจากฉันและฉันก็มาจากฮุเซน
ศอฮาบะห์ในมุมมองของชีอะห์
"อัศฮาบีย์" ประชาชาติของฉัน
ชีอะห์ใส่ร้ายศอฮาบะห์ว่าเป็นมุนาฟิก
พฤหัสบดีวิปโยค
จุดยืนของท่านอาลีที่มีต่อท่านอบูบักร์และท่านอุมัร
เมื่อท่านอาลีประณามและสาปแช่งชีอะฮ์

รายงานความคืบหน้าการนัดสนทนาระหว่างซุนนะห์กับชีอะฮ์


 อะมานะฮฺ ตอนที่ 7 (จบ)

จริยธรรมอิสลาม

الأَمَانَةُ تِجَاهَ المُجْتَمَعِ ( الأُمَّة )
5. อะมานะฮฺต่อสังคมโดยทั่วไป

สังคมเปรียบประหนึ่งเรือนร่างเดียวกัน การที่จะรักษาร่างกายไว้ก็จำเป็นต้องรักษาอวัยวะทุกส่วน ดังนั้น มุสลิมทุกคนจึงมีหน้าที่ในการร่วมมือพัฒนาและปกป้องสังคมของเขา ให้ยืนหยัดอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับหลักศรัทธาและจริยธรรม ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้กล่าวไว้ว่า

( كُلُّكُمْ رَاعٍِ وَكُلُّكُمْ مَسْئُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ ، فَالإِمَامُ رَاعٍِ وَهُوَ مَسْئُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ ، وَالرَّجُلُ رَاعٍِ فِيْ أَهْلِهِ ، وَهُوَ مَسْئُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ ، وَالمَرْأَةُ رَاعِيَةٌ فِيْ بَيْتِ زَوْجِهَا وَهِيَ مَسْئُوْلَةٌ عَنْ رَعِيَّتِهَا ، وَالخَادِمُ رَاعٍ فِيْ مَالِ سَيِّدِهِ، وَهُوَ مَسْئُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ ، وَالرَّجُلُ رَاعٍ فِيْ مَالِ أَبِيْهِ وَهُوَ مَسْئُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ ، فَكُلُّكُمْ رَاعٍ وَكُلُّكُمْ مَسْئُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ )

ความว่า “ทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบ และทุกคนในหมู่พวกท่านต้องถูกสอบสวนต่อความรับผิดชอบของเขา ผู้นำเป็นผู้รับผิดชอบและต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา สามีเป็นผู้รับผิดชอบในครอบครัวของเขา และเขาต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา ภรรยาเป็นผู้รับผิดชอบในครอบครัวของสามีของนาง และนางต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของนาง และผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในทรัพย์สินของผู้จ้าง และเขาต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา และชายคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบในทรัพย์สมบัติของบิดาของเขาและเขาต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา ดังนั้น ทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบ และทุกคนต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา” (บันทึกโดย อิมามบุคอรียฺและมุสลิม)

หะดีษดังกล่าว ท่านนะบี ได้อธิบายถึงบรรทัดฐานแห่งความรับผิดชอบในสังคม ให้เห็นว่า อะมานะฮฺหรือความรับผิดชอบนั้นมิใช่เพียงแต่ความรับผิดชอบต่อตนเองเท่านั้น หากเป็นภารกิจต่อสังคมโดยทั่วไปในทุกตำแหน่ง ทุกระดับทุกยศทุกวัยและทุกสภาพ แต่เราจะสังเกตว่า ความรับผิดชอบหรืออะมานะฮฺจะเพิ่มขึ้นเมื่ออยู่ในตำแหน่งสูงขึ้น อันเนื่องจากตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้นจะขยายความรับผิดชอบ และขอบเขตแห่งการดูแลให้เพิ่มขึ้น ดังนั้น ความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงานหนึ่ง จึงไม่เหมือนความรับผิดชอบของรัฐมนตรีกระทรวงหนึ่ง และความรับผิดชอบของผู้มีทรัพย์สินจำนวนน้อย ก็ไม่เหมือนความรับผิดชอบของผู้มั่งคั่งร่ำรวย และความรับผิดชอบของผู้มีบุตรหลานน้อย ไม่เหมือนความรับผิดชอบของผู้มีบุตรหลานมากมาย

เราสามารถแยกประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมเป็น 2 ประการ

• ประการแรก ความรับผิดชอบของผู้นำ
ศาสนาอิสลามถือว่า ผู้นำนั้นเป็นตำแหน่งอันทรงเกียรติยิ่ง ที่สังคมต้องมอบหมายการเชื่อฟังและความเคารพอย่างเต็มที่ จนกระทั่งถือว่าการเชื่อฟังผู้นำนั้นประหนึ่งการเชื่อฟังอัลลอฮฺและร่อซูล โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดก็คือ เชื่อฟังในสิ่งที่สอดคล้องกับหลักการศาสนา ตราบใดผู้นำได้ใช้หรือปกครองสังคมในสิ่งที่ค้านกับหลักการศาสนา เขาก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับการเชื่อฟังจากสังคมด้วยประการทั้งปวง เพราะการรักษาหลักการศาสนานั้น เป็นบรรทัดฐานที่ทำให้ตำแหน่งของผู้นำนั้นมีเกียรติยิ่ง แต่ถ้าหากตำแหน่งดังกล่าวมีบทบาทในการทำลายหลักการ ก็จำเป็นต้องรักษาหลักการเพื่อเป็นการรักษาเกียรติแห่งตำแหน่งนั่นเอง ดังที่ท่านนะบี กล่าวไว้ว่า

( لا طَاعَةَ لأَحَدٍ فِيْ مَعْصِيَةِ اللهِ ، إِنَّمَا الطَّاعَةُ فِيْ المَعْرُوْفِ )

ความว่า “ไม่มีการเชื่อฟังสำหรับคนหนึ่งคนใดในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ แท้จริงนั้น การเชื่อฟังในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)

และท่านได้กล่าวไว้อีกว่า

( لا طَاعَةَ لِمَنْ لَمْ يُطِعِ اللهَ )

ความว่า “ไม่มีการเชื่อฟังแก่ผู้ที่ไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยอิมามอะหมัด)

เพราะฉะนั้น ผู้นำทุกคนที่มีตำแหน่งหน้าที่ในการดูแลสังคม ไม่ว่าจะกว้างขวางหรือไม่ ก็จำเป็น ต้องคำนึงถึงหลักการศาสนา อันเป็นบรรทัดฐานแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งตำแหน่งของผู้นำนั้นเป็นตำแหน่งแห่งการรับใช้ศาสนา โดยสังคมเป็นผู้มอบหมายตำแหน่งนั้นแก่เขา ซึ่งผู้นำต้องตระหนักถึงข้อบังคับที่อัลอิสลามได้กำหนดไว้สำหรับผู้ทำหน้า ที่รับใช้สังคม นั่นก็คือ การทำหน้าที่อย่างสุจริตและแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยไม่ให้ผล ประโยชน์นั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหรือพรรคพวกของเขา และให้ปฏิบัติความยุติธรรมอย่างสุดความสามารถในทุกกรณี ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสไว้ว่า

﴿ إِنَّ اللهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تُؤَدُّوْا الأَمَانَاتِ إِلَى أَهْلِهَا وَإِذَا حَكَمْتُمْ بَيْنَ النَّاسِ أَنْ تَحْكُمُوْا بِالعَدْلِ إِنَّ اللهَ نِعِمَّا يَعِظُكُمْ بِهِ إِنَّ اللهَ كَانَ سَمِيْعَاً بَصِيْرَاً ﴾

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าจะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮฺทรงแนะนำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริงๆ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น” (อันนิซาอฺ 58)

ดังนั้น ผู้นำจึงมีหน้าที่รักษาสิทธิส่วนรวมของสังคมและสิทธิส่วนบุคคลด้วยเช่นเดียวกัน ทฤษฎีที่เน้นสิทธิส่วนตัวก็เป็นทฤษฎีแห่งสังคมทุนนิยม และทฤษฎีที่เน้นในสิทธิส่วนรวมเป็นทฤษฎีแห่งคอมมิว- นิสต์หรือสังคมนิยม แต่ศาสนาอัลอิสลามให้เกียรติทั้งในสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิส่วนรวมโดยเสมอภาค อันเป็นแนวทางที่ยอดเยี่ยมในการปกครองสังคม ซึ่งต้องการฟื้นฟูในทุกระดับ จนถึงระดับผู้นำสูงสุดของประชาชาติอิสลาม(ค่อลีฟะฮฺ) ที่ต้องมีภารกิจในการฟื้นฟูระบอบอิสลามอันสูงส่ง สังคมมักจะมองว่าผู้นำเป็นผู้ที่ต้องรักษาสิทธิส่วนรวม แต่ค่อนข้างจะไม่ตระหนักในหน้าที่ของผู้นำที่ต้องรักษาสิทธิส่วนบุคคล อาทิเช่น การรักษาทรัพย์สินของสมาชิกในสังคม โดยไม่ยึดทรัพย์สินของบุคคลมาเป็นสิทธิของส่วนรวม โดยปราศจากหลักการและเหตุผล ในสมัยท่านค่อลีฟะฮฺอุสมาน อิบนุอัฟฟาน ท่านมีโครงการจะขยายมัสยิดนะบะวียฺ จึงขออนุญาตจากประชาชนในการซื้อที่ดินบริเวณมัสยิดก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้าง ทั้งๆที่เป็นมัสยิดของนะบี อันเป็นการแสดงถึงมาตรฐานในการรักษาทรัพย์สมบัติส่วนตัวของสมาชิกในสังคมและ เป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้อื่นโดยไร้เหตุผล

อนึ่ง ผู้นำก็ยังมีหน้าที่รักษาสิทธิส่วนรวมมิให้เป็นของส่วนตัว โดยต้องแยกแยะระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวของผู้นำ และทรัพย์สินส่วนรวมของสังคม ท่านนะบีมุฮัมมัด จึงไม่ยอมรับซะกาตและถือว่าซะกาตนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับนะบีมุฮัมมัดและลูก หลานของท่าน เพื่อแยกแยะระหว่างซะกาตที่เป็นสิทธิส่วนรวม และหน้าที่ของท่านในการแจกซะกาต

• ประการที่ 2 การรักษาอะมานะฮฺต่อบุคคล
ซึ่งเป็นมารยาทที่ศาสนาได้สรรเสริญและให้เกียรติอย่างเต็มที่ อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า

﴿ إِنَّ اللهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تُؤَدُّوْا الأَمَانَاتِ إِلَى أَهْلِهَا ﴾

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน” (อันนิซาอฺ 58)

และท่านนะบี ได้กล่าวว่า

( أَدِّ الأَمَانَةََ إِلَى مَنِ ائْتَمَنَكَ وَلا تَخُنْ مَنْ خَانَكَ )

ความว่า “ท่านจงมอบคืนอะมานะฮฺให้แก่ผู้ที่ไว้วางใจท่าน และท่านอย่าทรยศผู้ที่ทรยศท่าน” (บันทึกโดยอบูดาวู้ดและติรมีซียฺ)

ถึงแม้ว่าผู้ที่ฝากอะมานะฮฺกับเราจะเป็นคนต่าง ศาสนิกหรือจะเป็นศัตรูอิสลามก็ตาม เพราะการรักษา อะมานะฮฺนั้นถือเป็นจริยธรรมแห่งความเป็นมุสลิม อิสลามจึงไม่เปิดโอกาสที่จะยกเว้นหรือบกพร่องไม่ว่าในกรณีใดๆ มุอฺมินที่มีอะมานะฮฺ ก็คือมุอฺมินที่มีความรับผิดชอบใน 5 ประการที่อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้ และผู้ที่ขาดอะมานะฮฺในบางส่วนที่ระบุข้างต้น ก็จะขาดอีมาน(ความศรัทธา)ในส่วนนั้น เพราะท่านนะบี ได้กล่าวว่า

(لا إِيْمَانَ لِمَنْ لا أَمَانَةَ لَهُ وَلا دِيْنَ لِمَنْ لا عَهْدَ لَهُ)

ความว่า “ไม่มีอีมานสำหรับคนที่ไม่มีอะมานะฮฺ และไม่มีศาสนาสำหรับคนที่ไม่รักษาสัญญา” (บันทึกโดยอิมามอะหมัดและอิบนุฮิบบาน)

สุดท้ายนี้ ขอสรุปหน้าที่(อะมานะฮฺ)ของมุสลิมต่อสังคม ในวาระดังต่อไปนี้

1) “ตำแหน่ง” มิใช่กรอบที่จะบังคับให้เราปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคม หากเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะเอื้ออำนวยให้ช่วยเหลือสังคม แต่ทุกคนถึงแม้ว่าจะปราศ จากตำแหน่งก็มีภารกิจและความรับผิดชอบต่อสังคมโดยทั่วไป จึงต้องตระหนักในหน้าที่นี้ โดยไม่ยึดถือตำแหน่งเป็นเป้าหมายในการทำงานให้กับสังคม 2) รักษาอะมานะฮฺส่วนบุคคลเหมือนกับการรักษาอะมานะฮฺต่อส่วนรวม และเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องปฏิบัติอะมานะฮฺให้เป็นมาตรฐานเดียว โดยไม่เลือกปฏิบัติหรือใช้ความสุจริตกับพรรคพวกเพื่อนฝูงเครือญาติหรือผู้มีอำนาจบารมีเท่านั้น เพราะการรักษาอะมานะฮฺเป็นคุณลักษณะที่ต้องปรากฏอย่างสม่ำเสมอ ในทุกสถานการณ์และทุกเหตุการณ์ 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ส่วนรวมซึ่งต้องรักษาไว้ แต่ถ้าหากว่าผลประโยชน์ดังกล่าวขัดกับหลักการของศาสนา ก็เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นความรับผิดชอบ(อะมานะฮฺ) ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่ให้ค้านกับหลักการศาสนา

จบบริบูรณ์


จากหนังสือ..อะมานะฮฺคืออะไร โดย..เชคริฎอ อะหมัด สมะดี



 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม จริยธรรมอิสลาม
· เสนอข่าวโดย วิทยากร


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด จริยธรรมอิสลาม:
ต้อนรับเดือนรอมฎอนอย่างไร?


คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 5
จำนวนผู้ลงคะแนน: 3


โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่


ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์


หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

จริยธรรมอิสลาม

News ©







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.18 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ