asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Sep 04, 2014 9:26 am ชื่อกระทู้: วะลียุลลอฮคือใคร |
|
|
วะลียุลลอฮ คือ ผู้ทีศรัทธา และยำเกรงต่ออัลลออ
أَلا إِنَّ أَوْلِيَاء اللّهِ لاَ خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلاَ هُمْ يَحْزَنُونَ ۞الَّذِينَ آمَنُواْ وَكَانُواْ يَتَّقُونَ
พึงทราบเถิดว่า แท้จริงบรรดาคนรักของอัลลอฮฺนั้น พวกเขาจะไม่ประสบความหวาดกลัวใด ๆ และพวกเขาไม่มีความเศร้าโศก۞ คือบรรดาผู้ศรัทธาและมีความยำเกรง۞
อิบนุญะรีร นักตัฟสีรยุคสะลัฟ ได้กล่าวถึงทัศนะต่างที่ให้ความหมายคำว่าวะลียุลลอฮ แล้วท่านได้ยืนยันว่า
قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ : وَالصَّوَابُ مِنَ الْقَوْلِ فِي ذَلِكَ أَنْ يُقَالَ : " الْوَلِيُّ " أَعْنِي " وَلِيَّ اللَّهِ " هُوَ مِنْ كَانَ بِالصِّفَةِ الَّتِي وَصَفَهُ اللَّهُ بِهَا ، وَهُوَ الَّذِي آمَنَ وَاتَّقَى ، كَمَا قَالَ اللَّهُ ( الَّذِينَ آمَنُوا وَكَانُوا يَتَّقُونَ ) .
อบูยะอฟัร กล่าวว่า และที่ถูกต้องจากทัศนะดังกล่าวนั้นคือ คำว่า วะลี ที่ถูกกล่าวถึง ข้าพเจ้าหมายถึง วะลียุลลอฮ นั้น คือ ผู้ที่มีคุณลักษณะ ด้วยคุณลักษณะที่อัลลอฮ ได้บอกคุณลักษณะแก่เขาด้วยมัน ดังที่อัลลอฮตรัสว่า
۞ คือบรรดาผู้ศรัทธาและมีความยำเกรง۞ ดู ตัฟสีร อัฏฏอบรีย์ เล่ม ๑๕ หน้า ๑๒๓
................
เพราะฉะนั้น วะลียุลลอฮ ไม่ใช่ คนที่เดินบนน้ำได้ ,หรือ คนที่เหาะเหินเดินอากาศได้ หรือแสดงอภินิหารต่างๆได้ แต่หมายถึงคนที่ ศรัทธาและยำเกรงต่ออัลลอฮ -
วะลียุลลอฮ และวะลียุเราะซูลุลลอฮ
إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُواْ الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاَةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ
แท้จริงผู้ที่เป็นมิตรของพวกเจ้านั้น คืออัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาตและขณะเดียวกันพวกเขาก็เป็นผู้นอบน้อม- อัล-มาอิดะฮฺ :55
........................
ผู้ที่เป็นวะลียุลลอฮ และรอซูล คือ ผู้ที่ดำรงการละหมาด ,จ่ายซะกาต โดยที่เป็นผู้นอบน้อม
وقوله : ( الذين يقيمون الصلاة ويؤتون الزكاة [ وهم راكعون ] ) أي : المؤمنون المتصفون بهذه الصفات ، من إقام الصلاة التي هي أكبر أركان الإسلام ، وهي له وحده لا شريك له ، وإيتاء الزكاة التي هي حق المخلوقين ومساعدة للمحتاجين من الضعفاء والمساكين
คำครัสของพระองค์ที่ว่า (ที่ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาตและขณะเดียวกันพวกเขาก็เป็นผู้นอบน้อม) หมายถึง บรรดาผู้ศรัทธา ที่มีคุณลักษณะ ด้วยบรรดาคุณลักษณะเหล่านี้ จากการดำรงละหมาด ที่เป็นหลักการสำคัญของบรรดาหลักการอิสลาม และ มัน (การละหมาดนั้น) เพื่ออัลลอฮ เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆแก่พระองค์ และ การจ่ายซะกาต ที่เป็นสิทธิ ของบรรดามัคลูค และเป็นการช่วยเหลือบรรดาผู้ที่มีความจำเป็น จากบรรดาคนที่อ่อนแอและคนขัดสน- ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร 3/138
อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
و ;أولياء الله; هم المؤمنون المتقون، سواء سمي أحدهم فقيراً أو صوفياً أو فقيهاً أو عالماً أو تاجراً أو جندياً أو صانعاً أو أميراً أو حاكماً أو غير ذلك"/." اهـ
และบรรดาวาลียุลลอฮ พวกเขาคือ บรรดาผู้ศรัทธา ที่มีความยำเกรง ไม่ว่าพวกเขาจะถูกเรียกว่า ฟะกีร (คนจน) ,ซูฟีย์ ,ฟะกีฮ(อุลามาอฺฟิกอฺ) ,ผู้รู้ ,พ่อค้า ,ทหาร ,นักประดิษฐ์ ,ผู้นำ ,ผู้พิพากษา หรืออื่นจากนั้นก็ตาม -ดู
مجموع فتاوي ابن تيمية - كتاب التصوف "ج5 ص3
คำว่า วะลียุลลอฮ หรือ คนที่อัลลอฮทรงรักนั้น คือ บรรดาผู้ศรัทธาและยำเกรงต่ออัลลอฮ
อิบนุอุษัยมีน กล่าวไว้ว่า
ويجب على جميع المسلمين أن يَزِنوا أعمال مَن يدَّعي الولاية بما جاء في الكتاب والسنة ، فإن وافق الكتاب والسنَّة : فإنه يُرجى أن يكون من أولياء الله ، وإن خالف الكتاب والسنَّة : فليس من أولياء الله ، وقد ذكر الله في كتابه ميزاناً قسطاً عدلاً في معرفة أولياء الله حيث قال : { ألا إن أولياء الله لا خوف عليهم ولا هم يحزنون . الذين آمنوا وكانوا يتقون } ، فمَن كان مؤمناً تقيّاً كان لله وليّاً ، ومَن لم يكن كذلك فليس بولي لله ،
วาญิบแก่บรรดามุสลิมทั้งหลาย จะต้องชั่งบรรดาการกระทำของผู้ที่อ้างว่า เป็นวะลี ด้วยสิ่งที่มาจากอัลกิตาบ(อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ดังนั้น ถ้าเขาปฏิบัติสอดคล้องกับ อัลกิตาบ(อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ แท้จริง หวังว่าเขาจะเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาวาลียุลลอฮ ได้ และถ้า เขาปฏิบัติขัดแย้งกับ อัลกิตาบ(อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ เขาผู้นั้นก็ไม่ใช่วะลียุลลอฮ และแท้จริง อัลลอฮได้กล่าว ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ ที่เป็นตาชั่ง ที่เป็นธรรมและยุติธรรม ในการรู้จักบรรดาวะลียุลลอฮ โดยพระองค์ตรัสว่า
أَلا إِنَّ أَوْلِيَاء اللّهِ لاَ خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلاَ هُمْ يَحْزَنُونَ ۞الَّذِينَ آمَنُواْ وَكَانُواْ يَتَّقُونَ ۞ُ
พึงทราบเถิดว่า แท้จริงบรรดาคนรักของอัลลอฮฺนั้น พวกเขาจะไม่ประสบความหวาดกลัวใด ๆ และพวกเขาไม่มีความเศร้าโศก۞ คือบรรดาผู้ศรัทธาและมีความยำเกรง۞
ดังนั้นผู้ใด เป็นผู้ศรัทธา ที่มีความยำเกรง เขาก็เป็นวะลี ของอัลลอฮ และผู้ใดไม่เป็นเช่นดังกล่าว เขาก็ไม่ใช่ วะลียุลลอฮ
فتاوى مهمَّة " ( ص 83 ، 84 )
อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
وليس من شرط ولي الله أن يكون معصوما لا يغلط ولا يخطئ؛
และ ไม่ใช่เงื่อนไขของผู้เป็นวะลียุลลอฮ นั้นคือ มะอศูม (ผู้ได้รับการปกป้องจากความผิด) ไม่ทำความผิด ไม่ผิดพลาด ..
- อัลฟัรกุ บัยนะเอาลิยาอิรเราะหมาน วะเอาลิยาอิชชัยฏอน หน้า 121
อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
وَلَا يَجُوزُ لِوَلِيِّ اللَّهِ أَنْ يَعْتَمِدَ عَلَى مَا يُلْقَى إلَيْهِ فِي قَلْبِهِ إلَّا أَنْ يَكُونَ مُوَافِقًا [ لِلشَّرْعِ ] وَعَلَى مَا يَقَعُ لَهُ مِمَّا يَرَاهُ إلْهَامًا وَمُحَادَثَةً وَخِطَابًا مِنْ الْحَقِّ ; بَلْ يَجِبُ عَلَيْهِ أَنْ يَعْرِضَ ذَلِكَ جَمِيعَهُ عَلَى مَا جَاءَ بِهِمُحَمَّدٌ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَإِنْ وَافَقَهُ قَبْلَهُ وَإِنْ خَالَفَهُ لَمْ يَقْبَلْهُ وَإِنْ لَمْ يَعْلَمْ أَمُوَافِقٌ هُوَ أَمْ مُخَالِفٌ ؟ تَوَقَّفَ فِيهِ .
ไม่อนุญาตให้วะลียุลลอฮ ยึด บนสิ่งที่ ถูกถ่ายทอดมายังเขา ในหัวใจของเขา นอกจาก มันจะต้องสอดคล้องกับชะรีอัต และ(ไม่อนุญาตให้เขายึด) บนความจริง ที่เกิดขึ้นแก่เขา จากสิ่งที่เขาเห็นมัน เป็นการดลใจ ,การสนทนาและการพูดคุย แต่ทว่า จำเป็นแก่เขาจะต้อง นำทั้งหมดดังกล่าว มาเสนอ (หมายถึงนำมาเทียบ)บนสิ่งที่นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ นำมา ถ้ามันสอดคล้อง ก็รับมัน และถ้า ไม่ตรงกับมัน เขาจะไม่รับ มัน และถ้าไม่รู้ว่า สอดคล้องกัน หรือขัดแย้งกัน ก็จงรอ ไว้ก่อน
- ดู มัจญมัวะ ตาวา 11/204
สรุป
หนึ่ง -ไม่อนุญาตให้วะลียุลลอฮ ยึดสิ่งที่ได้รับการเรียนรู้มา เว้นแต่สิ่งนั้น ตรงกับ ศาสนบัญญัติ
สอง ไม่อนุญาตให้วะลียุลลอฮ ยึด สิ่งที่เป็นจริง ที่เขาเห็น ไม่ว่าจะเป็นการดลใจ ,การสนทนา และการพูดคุยใดๆ แต่เขาจะต้องนำไปตรวจสอบกับคำสอนที่นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯนำมา หากตรงกันก็ให้รับ หากไม่ตรง อย่ารับ
สาม- ถ้าตรวจสอบไม่ได้ว่า ตรงกับกับคำสอนนบี หรือไม่ ก็รอไว้ก่อน
การกำหนดขั้นต่าง เพื่อที่จะบรรลุ ขั้นเป็นวะลียุลลอฮ โดยไม่ปรากฏในอัลกุรอ่านและสุนนะฮนั้น คือ อุตริกรรมที่มาจากกลุ่มซูฟีย์ฏอรีกัตบางกลุ่ม
เพราะผู้ที่จะได้ชื่อว่า เป็นวะลียุลลออนั้น คือ
หนึ่ง - ผู้ที่ ศรัทธาต่ออัลลออ และมีความยำเกรงต่ออัลลอฮ
ألا إن أولياء الله لا خوف عليهم ولا هم يحزنون(٦٢)
พึงทราบเถิด ! แท้จริง บรรดาคนที่อัลลอฮ์รักนั้น ไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ แก่พวกเขาและพวกเขาจะไม่เศร้าโศกเสียใจ
الذين أمنوا وكانوا يتقون
คือบรรดาผู้ศรัทธา และพวกเขามีความยำเกรง
สอง ผู้เป็นที่รักของอัลลอฮ นั้น เขาไม่ตกอยู่ในชิริกและบิดอะฮ
الله ولىُ الذين أمنوا يخرجهم من الظلمات الى النور }البقرة٢٥٧]
และอัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ที่ศรัทธา โดยทรงนำพวกเขาออกจากบรรดาความมืดสู่แสงสว่าง
อิบนุญะรีร ได้กล่าวถึง คำอธิบายของเกาะตาดะฮว่า
عَنْ قَتَادَةَ قَوْلَهُ : " اللَّهُ وَلِيُّ الَّذِينَ آمَنُوا يُخْرِجُهُمْ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ " يَقُولُ : مِنَ الضَّلَالَةِ إِلَى الْهُدَى "
จากเกาะตาดะฮ เกี่ยวกับคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า และอัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ที่ศรัทธา โดยทรงนำพวกเขาออกจากบรรดาความมืดสู่แสงสว่าง เขากล่าวว่า หมายถึงออกจากการลุ่มหลงไปสู่ทางนำ ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ ๕/๒๔๕
เพราะทุก บิดอะฮ คือ การลุ่มหลง เพราะฉะนั้น การอ้างเป็นวะลียุลลอฮ แต่อุตริบิดอะฮ ผู้นั้นคือ วะลียุชชัยฏอน
ดั่งที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า :
((وإياكم ومحدثات الأمور فإن كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة))
[ رواه أبوداود : 3607 والترمذي : 2676]
ความว่า : และพวกเจ้าจงระวังสิ่งใหม่ในศาสนา เพราะว่าทุกๆบิดอะฮฺนั้นคือความหลงผิด
(รางานโดย อะบูดาวุด: 4607 และติรมีซีย์ : 2676
วาลียุลลอฮ ที่ซูฟีเฏาะริกัตเชื่อ คือ สามารถสื่อกับท่านนบีได้ ทั้งๆที่นบีได้เสียชีวิติไปแล้ว นี้คือ การอุปโลกน์ความเชื่อ ซึ่งไม่มีในอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ยกตัวอย่าง เช่น อิบนุอะฏออิลละฮอัสอิสกันดารียะฮ กล่าวว่า
وأخبرني بعض أصحابنا قال لما رجع الشيخ أبوالحسن من الحج، أتى إلى الشيخ الإمام عز الدين بن عبدالسلام قبل أن يأتي منزله، فقال له الرسول صلى الله عليه وسلم يسلم عليك قال فاستصغر الشيخ عز الدين نفسه أن يكون أهلاً لذلك
ส่วนหนึ่งของบรรดาสหายของเรา(หมายปราชญ์ซูฟีย์สายอัชชาซัลลียะฮ) ได้บอกข้าพเจ้าว่า เมื่อเช็คอะบุลหะซัล กลับจากทำฮัจญ ,เขาได้มาหา เช็คอิหม่ามอิซซุดดีน บิน อับดุสสะลาม ก่อนที่จะมายังบ้านของเขา แล้วเขา(เช็คอบุลหะซัน)ได้กล่าวแก่เขา(แก่เช็คอิหม่ามอิซซุดดีน)ว่า รซูลลุลอฮ สอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ฝากสล่ามถึงท่าน เขา (ผู้รายงาน) ได้กล่าวว่า แล้วเช็ค อิซซุดดีน ได้ แสดงความนอบน้อม ต่อการที่เขาได้เป็นเจ้าของ (สะล่าม)ดังกล่าว ดู ละฏออิฟ อัลมะนั้น ของอิบนุอะฏออิลละฮ หน้า 49 มักตับอัลกอฮิเราะฮ
.............
ข้างต้น อิบนุอะฏออิลลอฮ บอกว่า ได้รับการบอกเล่าจากปราชญ์ซูฟีย์ เฏาะรีกัตสายอัซซาซัลลียะฮ ด้วยกัน ว่า อบูลหะซัน (หมายถึงอบูอะซัลอัซซาซัลลี ผู้นำซุฟีสายเฏาะรีกัตอัซซาซัลลียะฮ) ได้กลับจากการทำฮัจญ แล้วไปหาเช็ค อิหม่ามอิซซุดดีน บิน อับดิสสลาม ว่า รซูลลุลลอฮ สอ็ลฯ ได้ฝากสล่ามถึงเขา
จึงเป็นที่กังขาว่า เช็คอบูลอัลหะซัน ปราชญ์ซูฟีย์ ได้พบกับรซูลุลลอฮได้อย่างไร จึงได้รับฝากสล่ามจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ไปบอกแก่ อิซซุดดีน บิน อับดุสสลาม และอะบุลหะซัน ซูฟีย์เฏาะรีกัตเชื่อว่า "เป็นวาลียุลลอฮ
อิบนุอัลเญาซีย์ กล่าวว่า
ومن العباد من يرى ضوءاً أو نوراً في السماء، فإن كان في رمضان قال: رأيت ليلة القدر، وإن كان في غيره قال: فتحت لي أبواب السماء، وقد يتفق له الشيء الذي يطلبه، فيظن ذلك كرامة، وربما كان اختباراً، وربما كان من خدع إبليس، والعاقل لا يساكن شيئاً من هذا، ولو كان كرامة
และส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ทำอิบาดะฮ คือ ผู้ที่เห็น แสงสว่าง หรือ รัศมี บนฟากฟ้า แล้วถ้าปรากฏว่าเขาอยู่ในช่วงเราะมะฎอน เขาก็กลาวว่า ฉันเห็น ลัยละตุลเกาะดัร และหากเขา อยู่ในช่วงอื่นจากเดือนเราะมะฎอน เขาก็จะกล่าวว่า บรรดาประตูฟากฟ้าถูกเปิดให้แก่ฉัน และแท้จริง สิ่งที่เขาต้องการมัน ได้บังเอิญเกิดขึ้นแก่เขา แล้วเขาเข้าใจว่า ดังกล่าวนั้น คือ กะรอมัต(การเกิดปฏิหารย์) และบางที มันคือ การทดสอบ (จากอัลลอฮ) และบางที มันเป็นส่วนหนึ่งจากหลอกลวงของอิบลิส (ของชัยฏอน) และผู้ที่มีปัญญานั้น เขาจะไม่อาศัยสิ่งใดๆจากสิ่งนี้ และแม้มันเป็น กะรอมัต(สิ่งปฏิหารย์)ก็ตาม ดู ตัลบิส อิบลิส ของอิบนเญาซีย์ บทที 11 หน้า 529
................
ท่านอิบนุเญาซีย์ ชี้แจงว่า นักทำอิบาดะฮบางคน เมื่อเห็นแสงสว่างบนฟ้า หากอยู่ในช่วงเดือนเราะมะฏอน ก็จะอ้างว่าเห็น ลัยละตุลเกาะดัร แต่ถ้าไม่ใช่เดือนเราะมะฎอน ก็จะอ้างว่า ประตูฟากฟ้า เปิดให้เขา ซึ่งก็เข้าทางที่เขาต้องการมัน และเข้าใจว่ามันคือ กะรอมัต หรือ ปฏิหารย์ เกิดขึ้นกับเขา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อาจจะเป็นการทดสอบจากอัลลอฮหรือการหลอกลวงของชัยฏอนก็ได้ คนที่มีสติปัญญา เขาจะไม่อ่อนไหวก็สิ่งเหล่านี้
ในกลุ่มที่อ้างว่า เป็นปราชญ์ ซูฟีย์ ก็จะอ้างว่า ตนคือวะลียุลลอฮ อ้างตนว่าเป็นวาลียุลลอฮ หรือ ชาวบ้านก็เข้าใจว่าเป็นวาลียุลลอฮ แล้วตะอัศศุบ บูชา กับคนๆนี้ มันก็เข้าทางของชัยฏอนที่จะให้มนุษย์ทำชิริก ก็เหมือนบางคน เห็นคนตายกลับมาบ้าน ความจริงมันคือชัยฏอน เพราะคนตายไม่สามารถกลับมาได้เป็นต้น _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|