ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) (สนทนาเชิงวิชาการ)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) (สนทนาเชิงวิชาการ)
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 15, 16, 17  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Thu May 11, 2006 12:19 am    ชื่อกระทู้: เมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) (สนทนาเชิงวิชาการ) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ผู้ศรัทธาทั้งหลาย

ปัญหาต่าง ๆ ที่ทบถมสังคมมุสลิมในปัจจุบันนี้มีมากมายและยังความอันตราย โดยที่ไม่ตัองสาธยายให้ยืดยาว และไม่มีสิ่งใดที่จะมาป้องกันปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ นอกจากประการเดียวเท่านั้น คือ การที่บรรดามุสลิมีนมีความสมัครสมานสามัคคีกันและทอดสะพานความรักความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน นี้คือสิ่งเดียวที่สามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ การทอดสะพานแห่งความรักและความสมานฉันท์ให้มีอยู่ในบรรดาหัวใจของพวกเขานั้น จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากเงื่อนไขประการเดียว ก็คือ หัวใจของพวกเขาต้องมีความรักต่ออัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) และดังกล่าวนั้น ทำให้เกิดความรักต่อร่อซูลุลเลาะฮฺของพระองค์ ดังนั้น เมื่อความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ได้งอกเงยและสุกงอมอยู่ในหัวใจของพวกเขา แน่นอน ความรักก็จะคงอยู่ ในศักยภาพของมนุษย์ที่เสมือนกับลำต้นของต้นไม้ใหญ่ ที่มีกิ่งก้านสาขาแตกออกจากมันมากมาย ซึ่งเปรียบเสมือนกับความรักของมุสลิมที่มีให้กับพี่น้องมุสลิมด้วยกัน จนกระทั่งเป็นเหมือนเครือค่ายแห่งความรักอาทร ที่เจริญงอกงามในระหว่างพวกเขา

สำหรับความรักต่ออัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) นั้น พวกท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินคำตรัสของอัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ความว่า

{وَمِنَ النّاسِ مَنْ يَتَّخِذُ مِنْ دُونِ اللَّهِ أَنْداداً يُحِبُّونَهُمْ كَحُبِّ اللَّهِ وَالَّذِينَ آمَنُوا أَشَدُّ حُبّاً لِلَّهِ}

ความว่า “ และบางส่วนจากมนุษย์ มีผู้ที่ยึดเอาอื่นจากอัลเลาะฮฺมาเป็นคู่เคียง (กับพระองค์) พวกเขารักสิ่งเหล่านั้น ประดุจเดียวกันเขารักอัลเลาะฮฺ และบรรดาผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ย่อมมีความรักอันลึกซึ้งที่สุดต่ออัลเลาะฮฺ” อัลบะกอเราะฮฺ 165 ความหมายของอายะฮฺนี้ มีความชัดเจนโดยไม่ต้องตีความแต่อย่างไร

สำหรับความรักต่อร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.) คือความรักที่แตกออกมาจากความรักต่ออัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งการมีความรักต่ออัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) นั้นจะมีไม่ได้นอกจากต้องรักร่อซูลของพระองค์ด้วย รายงานจากท่านอับดุลเลาะฮฺ อิบนุ อับบาส ท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

( أحبو الله بما يغذوكم به من نعمه، وأحبوني لحب ا لله إياي )

“ พวกท่านจงรักอัลเลาะฮฺ ด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้กับพวกท่าน จากบรรดาสิ่งอำนวยสุขต่าง ๆ ของพระองค์ และพวกท่านจงรักฉันเนื่องจากความรักของอัลเลาะฮฺที่มีต่อฉัน” รายงานโดยท่าน อัตติรมิซีย์ และอัลฮากิม

ดังนั้น การดำเนินชีวิตในสังคมอยู่ดำรงอยู่ไม่ได้ นอกจากการดำรงชีวิตนั้นต้องอยู่บนพื้นที่มีความรักต่ออัลเลาะฮฺ และร่อซูลของพระองค์

ความรักต่อร่อซูลุลเลาะฮฺ (ซ.ล.) นั้น ก็เสมือนความรักต่ออัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ที่มันโชติช่วงอยู่ในห้วงหัวใจของเขา แล้วความรักนั้น ก็จะผลักดันให้เขาปฏิบัติและดำเนินตาม โดยที่ความจริงนั้น ความรักไม่ใช่เป็นการเจริญรอยตาม เสมือนกับที่บางคนเข้าใจ แต่ความรักที่โชติช่วงอยู่ในหัวใจนั้น เป็นแรงผลักดันให้เขาเจริญรอยตาม ตามอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) และเจริญรอยตามร่อซูลของพระองค์ (ซ.ล.) ซึ่งถ้าหากความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ คือการน้องตามเพียงอย่างเดียว ตามที่บางคนเคยเข้าใจแล้ว แน่นอน พวกมุนาฟิกีนก็ย่อมเป็นผู้ที่รักอัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ด้วย พวกมุนาฟิกกีนในสมัยร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)นั้นก็เจริญรอยตามเหมือนกับบรรดาซอฮาบะฮฺท่านอื่น ๆ ซึ่งพยายามปกปิดความมุนาฟิกของพวกเขา ด้วยการเจริญรอยตาม คือพวกเขาถือศีลอดพร้อมกับบรรดาผู้ถือศีลอด ละหมาดพร้อมกับบรรดาผู้ทำละหมาด และออกซะกาตพร้อมกับบรรดาผู้ออกซะกาต ยิ่งกว่านั้น บางครั้งพวกเขายังออกรบพร้อมกับนักรบทั้งหลาย ดังนั้น หากความรักคือการตามแล้วล่ะก็ พวกมุนาฟิกีนย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่รักอัลเลาะฮฺและรักร่อซูลุลเลาะฮฺด้วยเช่นกัน โดยที่สติปัญญาย่อมไม่เชื่อสิ่งดังกล่าวนี้

แล้วอะไรคือความแตกต่างระหว่างเราและบรรดาซอฮาบะฮฺ (ร.ฏ.) ? ซึ่งเป็นความแตกต่างอันเป็นปัญหาที่มาครอบงำเราและต้องทนทุกข์กันในปัจจุบันนี้ ท่านทั้งหลายพึงทราบเถิด ความแตกต่างอันเดียวนั้นก็คือ บรรดาหัวใจของบรรดาซอฮาบะฮฺของร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)นั้น เต็มเปรี่ยมไปด้วยความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ แต่หัวใจของพวกเรา ส่วนมากจะเต็มเปรี่ยมไปด้วยความรักที่มีต่อ ดุนยา ความปารถนาและสิ่งเพลิดเพลินของมัน

โดยที่ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างเราและบรรดาซอฮาบะฮฺของร่อซูลุลเลาะฮฺ ในเรื่องของการรับรู้จากแก่นแท้ของอีมาน ยิ่งกว่านั้น บางครั้งเราอาจจะมีหลักฐานต่าง ๆ ในเชิงวิชาการเกี่ยวกับหลักยึดมั่นต่างๆ ของอิสลาม มากกว่าสิ่งที่พวกเขามีอยู่ เช่นสิ่งที่เราได้ประพันธ์เป็นหนังสือและกล่าวหลักฐานต่าง ๆ ในเชิงวิชาการที่ยืนยันการมีอัลเลาะฮฺ ยืนยันถึงการเป็นนบี และยืนยันว่าอัลกุรอานนั้น คือพจนาจของอัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ซึ่งบางครั้ง บรรดาซอฮาบะฮ์อาจจะไม่มี แน่นอนว่าการรับรู้ทางด้านสติปัญญาระหว่างเราและพวกเขานั้นเท่าเทียมกัน และบางครั้งเราก็เหมือนกับพวกเขาในด้านการเจริญรอยตาม ในมัสยิดของเราก็มีคนมาละหมาด ทำการร่อกั๊วะ ทำการซุญูด มีผู้ไปทำฮัจญฺทวีคูณขึ้นทุกปี ซึ่งบางครั้ง อาจจะมีจำนวนมากว่ายุคสมัยก่อน ๆ แต่อะไรคือความแตกต่างระหว่างเรากับบรรดาซอฮาบะฮฺ ? ฉันใคร่อยากจะบอกกับพวกท่านว่า ข้อแตกต่างระหว่างเรากับพวกเขาเหล่านั้นก็คือ บรรดาหัวใจของพวกเขานั้น เต็มไปด้วยความรักต่ออัลเลาะฮฺและบรรดาร่อซูลของพระองค์ แต่บรรดาหัวใจของเรานั้น ส่วนมากจะเต็มไปด้วยความรักต่อดุนยา และสิ่งที่เพลิดเพลินของมัน นี่คือ ความแตกต่างระหว่างเรากับพวกเขา

ความรัก เป็นสภาพหนึ่งของหัวใจ ไม่เพียงเท่านั้น ความรักยังเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่โชติช่วงอยู่หัวใจ ที่จะผลักดันผู้มีความรักนี้ไปยังการน้อมตาม เหมือนกับที่บรรดาอุลามาอฺกล่าวไว้ว่า ความรักนั้น คือความรู้สึกที่บริสุทธิ์ แปลกน่าประทับใจ เมื่อมันมีอำนาจเหนือจิตใจแล้ว มันจะทำให้ผู้ที่อยู่ไกลได้ใกล้ชิด ทำให้เหล็กอ่อนนวล และทำให้สิ่งที่ยาก เป็นสิ่งที่ง่ายดาย

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย นี้คือสิ่งที่เราขาดหายไป แต่ในขณะเดียวกัน บรรดามุสลิมมีนในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีผู้รักอัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ไม่น้อยไปกว่าบรรดาซอฮาบะฮฺเลย แต่ในปัจจุบันนี้ พวกเขามีน้อยเหลือเกิน

ผู้ที่มีความรักต่อร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)นั้น เขาต้องรู้สึกรักที่โชติช่วงอยู่ในศักยาภาพของเขาขณะที่กลิ่นไอของการรำลึกถึงร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)มาถึง การรำลึกถึงร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)ไม่ใช่จำกัดเพียงแค่วันหรือเดือนที่ท่านประสูติเท่านั้น แต่การรำลึกถึงท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)มันคงผูกพันธิ์อยู่ในความรู้สึกของเราเสมอ อาจมีบางคนคิดว่า บรรดาซอฮาบะฮฺไม่เคยเฉลิมฉลองการรำลึกของท่านร่อซูลหลังจากที่ท่านเสียชีวิต และพวกเขาคิดว่า บรรดาตาบิอีนก็ไม่เคยเฉลิมฉลอง บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อซอฮาบะฮฺคนใดคนหนึ่งได้เดินผ่านต้นไม้ ที่นบีเคยนอนพักใต้ร่มเงาของมัน พวกเขาก็จะหยุดเดินโดยที่ความรู้สึกได้หวนรำลึกถึงท่านนบี เมื่อพวกเขาเดินทางผ่านสถานที่ ที่นบีเคยหยุดพักเพื่อออกไปทำสงคราม หรือกลับจากสงคราม หรือพวกเขาเดินทางผ่านแผ่นดินหุดัยบียะฮฺ ซึ่งเป็นสถานที่ท่านนบีทำการตกลงประณีประนอมสงบศึกกับชาวมักกะฮฺ พวกเขาก็จะมีความรู้สึกรำลึกและคิดถึงท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.) ดังนั้น การรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้จำกัดเพียงวันที่ท่านนบีประสุติเท่านั้น ทุก ๆ สิ่งที่เกี่ยวข้อง ผูกพันธุ์กับร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)นั้น สมควรจะทำนำมากล่าว นำมาพูดกันเพื่อเป็นการรำลึกถึงท่าน

หากมีคนกล่าวแก่ฉันว่า อะไรคือหลักฐานตามหลักศาสนาที่ชี้ถึงการบัญญัติการร่วมรำลึกถึงนบีมุหัมมัด (ซ.ล.) ? ฉันขอตอบว่า ศาสนาทั้งหมดนี้แหละ คือหลักฐานต่อสิ่งดังกล่าว ฉันขอกล่าวคำพูดที่ละเอียดลออไปกว่านั้น ก็คือ ทุก ๆ เรื่องและเอกลักษณ์ต่าง ๆ ของศาสนา ย่อมเป็นสิ่งที่รำลึก การตอวาฟรอบบัยดุลเลาะฮฺนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่รำลึกอันยิ่งใหญ่ การละหมาดที่ มะกอมอิบรอฮีม

{وَاتَّخِذُوا مِنْ مَقامِ إِبْراهِيمَ مُصَلَّىً}

“ และพวกท่านทั้งหลายจงเอาบางส่วนของที่ยืน(มะกอมนบี)อิบรอฮีม เป็นสถานที่ละหมาดเถิด” อัลบะกาเราะฮฺ 125

เหตุใดที่ท่านนบี(ซ.ล.)ถูกบัญชาใช้จากการอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ให้ทำการรำลึกถึง นบีอิบรอฮีม (อ.) ก็เนื่องจากนบีอิบรอฮีม ได้ทำการสร้างบัยตุลเลาะฮฺร่วมกับบุตรของท่าน คือนบีอิสมาอีล (อ.) “ และพวกท่านทั้งหลายจงเอาบางส่วนของที่ยืน(มะกอมนบี)อิบรอฮีม เป็นสถานที่ละหมาดเถิด “ อัลบะกอเราะฮฺ 125 การสะแอระหว่างซอฟาและมัรวะฮฺนั้น มันเป็นการปฏิบัติที่อยู่ในการหวนรำลึกอันยิ่งใหญ่ ศาสนาทั้งหมด คือการรำลึก ไม่ว่าจะเป็นการยืนละหมาด ร่อกั๊วะ สุยูด การอ่านอัลกุรอาน เข้าเฝ้าอิบาดะฮฺต่ออัลเลาะฮฺ ทั้งหมดนี้เป็นการรำลึก

ใช่แล้ว จะเป็นการรำลึกใดเล่าที่ฉันจะกระทำมัน เมื่อฉันได้ทำการอิบาดะฮฺเข้าเฝ้าอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ในขณะที่ทำการสุยูดต่อพระองค์ ซึ่งมันเป็นการหวนรำลึกอันศักดิ์สิทธิ์ต่อสัญญาตั้งแต่เดิมว่า

{وَإِذْ أَخَذَ رَبُّكَ مِنْ بَنِي آدَمَ مِنْ ظُهُورِهِمْ ذُرِّيَّتَهُمْ وَأَشْهَدَهُمْ عَلَى أَنْفُسِهِمْ أَلَسْتُ بِرَبِّكُمْ قالُوا بَلَى شَهِدْنا أَنْ تَقُولُوا يَوْمَ الْقِيامَةِ إِنّا كُنّا عَنْ هَذا غافِلِينَ}

“ และ (เจ้าจงรำลึกเถิด) เมื่อองค์อภิบาลของเจ้าได้ดลบันดาลให้เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ได้ออกมาจาก(กระดูก)หลังของพวกเขา และทรงบันดาลให้พวกเขาเป็นสักขีพยานด้วยตัวของพวกเขาเอง ว่า “ข้าไม่ใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ ?”พวกเขาตอบว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ พวกเราขอเป็นพยาน (ยืนยันว่าพระองค์คือพระเจ้าของเราโดยแท้จริง ) “ เพื่อ(ป้องกันมิให้)พวกเจ้าทั้งหลายกล่าว(แก้ตัว)ในวันชาติหน้าว่า “ แท้จริงพวกเราได้ละเลยต่อสิ่งนี้ (ความยอมรับในเอกภาพของพระองค์)” อัลอะอฺรอฟ 172

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ความรักต่อร่อซูลุลเลาะฮฺ (ซ.ล.) ไม่ใช่เป็นการตามเพียงเท่านั้น แต่ความรักต่อร่อซูลุลเลาะฮฺ (ซ.ล.) ต่างหากที่เป็นแรงผลักดันและชักนำไปสู่การเจริญรอยตาม ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ท่านได้อะไรบ้างหรือ ? เมื่อเดือนร่อบิอุลเอาวัลกำลังจะผ่านไป ซึ่งเป็นเดือนที่ท่านนบีได้ประสูติ และเป็นเดือนที่กลิ่นไอแห่งการหวนรำลึกสมควรจะมีขึ้น โดยการคิดถึงท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งดังกล่าวนั้นย่อมเป็นอิบาดะฮฺและการสร้างความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)

ในขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการอพยพและอาศัยอยู่ที่นครมะดีนะฮฺ ท่านได้ทราบว่า พวกยิวได้ทำการถือศีลอดกันในวันอาชูรออฺ คือวันที่ 10 เดือนมุหัรรอม ท่านนีบถามว่า เพราะเหตุใดพวกเขาจึงถือศีลอด ? พวกเขากล่าวว่า เพราะวันอาชูรออฺนั้น เป็นวันที่อัลเลาะฮฺทรงให้นบีมูซารอดพ้นจากฟิรอูน ดังนั้น เราจึงรวมตัวกันทำการถือศีลอดเพื่อรำลึกถึงวันดังกล่าวนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)จึงกล่าวไว้ในฮาดิษซอเฮี๊ยะหฺว่า “ ดว้ยกับมูซานั้น เราย่อมเหมาะสมยิ่งกว่าพวกเขา (ที่จะกระทำสิ่งดังกล่าว )” นบี(ซ.ล.) จึงใช้บรรดาซอฮาบะฮฺทำการถือศีลอดในวันนั้น และใช้ผู้ที่ทำสิ่งที่เสียศีลอดแล้ว ให้ทำการ อิมาซาก งดการกินการดืมในวันนั้น และดังกล่าวนี้ย่อมเป็นหลักฐานหนึ่ง

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การรวมตัวกันเพื่อรำลึกถึงนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.)นั้น มีวิวัฒนาการ ออกเป็นหลายรูปแบบ ตามแต่ยุคสมัย ดังนั้น การรวมตัวทำเมาลิดระลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ใช่จำกัดรูปแบบเพียงแค่การจัดงานเมาลิดเพื่อรำลึกถึงนบี(ซ.ล.)เพียงเท่านั้น แต่ปกคลุมถึงรูปแบบอื่นๆ ด้วย แต่ที่สำคัญก็คือ มนุษย์ต้องทำการรวมตัวเพื่อรำลึกถึงผู้เป็นที่รัก คือท่านนบี(ซ.ล.) และนี่คือข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องสงสัยแต่ประการใด

ผมขอเรียนกับพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า มนุษย์นั้นมีอยู่สองประเภท บุคคลประเภทที่หนึ่ง คนที่อิมานต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ กับการอิมานด้วยสติปัญญาและเหตุผล จากนั้นเขาได้ทำให้หัวใจของเขาเต็มไปด้วยความรักดุนยา รักกับนัฟซูอารมณ์ตัวเอง บุคคลประเภทนี้จะไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมได้กล่าวพูดไป ส่วนบุคคลประเภทที่สองนั้น เขาทำให้อิมานของเขาที่ได้มาด้วยสติปัญญานั้น มีความรัก และทำให้หัวใจของเขาเต็มไปด้วยความรักต่ออัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) และรักต่อร่อซูลของพระองค์ มีซอฮาบะฮฺท่านหนึ่งที่ความซูบผอมได้ย่างกายมายังท่านนบี(ซ.ล.) ท่านนบี(ซ.ล.)จึงถามถึงสาเหตุดังกล่าว ซอฮาบะฮฺผู้นั้นตอบว่า “ แท้จริง สิ่งที่ทำให้ฉันผอมลงไปนั้น คือการที่ฉันรู้ว่า มนุษย์ในวันกิยามะฮฺ เมื่อพวกเขาได้ยืนต่อเบื้อหน้าพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ต่อไปท่านก็จะมีตำแหน่งฐานันดรที่เหนือกว่าฉัน โดยที่คนหนึ่งคนใดที่เหมือนกับฉัน ก็จะไม่สามารถไปถึงตำแหน่งนั้นได้เลย เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันก็จะถูกปิดกั้นจากท่าน ทั้งที่ในวันนี้ ฉันไม่สามารถอดทนได้เลย หากฉันไม่ได้เห็นท่านสักเวลาหนึ่งในแต่ละวัน แล้วจะให้ฉันทำอย่างไรดี ?” ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวแก่เขาว่า “ท่านจะได้อยู่พร้อมกับคนที่ท่านรัก” มีซอฮาบะฮฺอีกท่านหนึ่งได้ถามนบี(ซ.ล.)เกี่ยวกับวันกิยามะฮฺ ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ท่านได้เตรียมอะไรไว้บ้างสำหรับมัน” เขากล่าวว่า “ สำหรับฉันแล้ว ฉันไม่ได้เตรียมการละหมาดและการถือศีลอดอะไรเอาไว้มากมายนัก แต่ฉันรักอัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์” ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)จึงกล่าวว่า “ท่านจะได้อยู่พร้อมกับคนที่ท่านรัก”

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เราหวังว่า เราจะเป็นผู้ที่สัจจริงในความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ และเราต้องครอบครองบรรดาหัวใจที่เป็นสักขีพยานในความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ และนี้คือข้อเท็จจริงที่เราสมควรทราบ โดยที่ปัญหาของเรานั้นมีมากมาย ที่ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้นอกจากการมีความรัก เอื้ออาทรที่เป็นเสมือนดังกิ่งก้านสาขาของลำต้นไม้ใหญ่แห่งความรักอันหนึ่งเดียว ก็คือความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์

wassalam

นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Thu May 11, 2006 12:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พี่น้องชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

salam

มันคงถึงเวลาแล้วที่เราจะตอบสนองคำเรียกร้องจากบรรดาผู้ที่อ่าน เกี่ยวกับการสนทนาเรื่อง “เมาลิดของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)” อนึ่ง หลังจากที่เราได้ทำการศึกษาการสนทนาในเวปไซท์ที่ผ่านมาจากเวปต่างๆนั้น เราจะพบว่า วะฮาบีย์ มีความเลยเถิดในเรื่องหุกุ่มการทำเมาลิดท่านนบี(ซ.ล.) โดยกล่าวหาพี่น้องมุสลิมผู้ทำเมาลิดนบีที่ไม่ได้อยู่แนวทางของวะฮาบีย์ ถึงกับลงนรก บิดอะฮ์ลุ่มหลง หยิบยกประเคนนรกให้กับบรรดามุสลิมีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมได้ฟังการปราศรัยจากเวปมุรีด โดย มุรีด ทิมะเสน กล่าวว่า “คนทำเมาลิด เลียนแบบชีอะฮ์ เลียนแบบคริสต์ เฮปปี้เบริดเดย์นบี แบบไม่มีเทียนเป่าเค๊ก คนเมาลิดต้องไปเตาบะฮ์ เนื่องจากเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ ตกนรก นบีและบรรดาซอฮาบะฮ์ไม่เคย เป็นต้น (ถ่ายทอดแบบสรุป)” ผมได้ฟังแล้วก็รู้สึกละเหี่ยใจ กอปรกับท่านผู้อ่านขอให้ทำการสนทนาชี้แจง ผมจึงจำเป็นต้องเปิดกระทู้การสนทนาในเชิงวิชาการเกี่ยวกับเรื่องเมาลิดกับกลุ่มวะฮาบีย์ปัจจุบัน ดังนั้น ผมจึงขอให้วะฮาบีย์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ทั้งหลาย ร่วมกันทำการสนทนาได้เลยครับ

wassalam

อัล-ฟารูก

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Thu May 11, 2006 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า

وكدلك مايحدثه بعض الناس إما مضاهاة للنصارى فى ميلاد عيد عيسى عليه السلام وإما محبة
النبى صلى الله عليه وسلم وتعظيما له ، والله قد يثيبهم على هدا المحبة والإجتهاد

“เช่นเดียวกับสิ่งดังกล่าว คือสิ่งที่ส่วนหนึ่งจากบรรดามนุษย์ได้กระทำขึ้นมากกับมัน ซึ่งบางทีมันอาจคล้ายกับพวกนะซอรอ ในการฉลองวันเกิดนบีอีซา อะลัยฮิสลาม และบางทีมันเป็นการแสดงออกซึ่งความรักต่อท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และทำการให้เกียตริแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)จะให้ผลบุญตอบแทนกับพวกเขา ต่อความรักและการวินิจฉัยนี้” ดู หนังสืออิกติฏออฺ อัศศิรอฏ อัลมุสตะกีม หน้า 266 ตีพิมพห์ ดารุลหะดิษ

จากนั้นไม่กี่บรรทัด ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวอีกว่า

فإن هدا لم يفعله السلف مع قيام المقتضى له وعدم المانع منه ولو كان خيرا محضا أو راجحا لكان السلف رضي الله عنهم أحق به منا

“ดังนั้น แท้จริงอันนี้ สะลัฟไม่ได้เคยกระทำมัน พร้อมทั้งมีนัยยะ(เหตุผล)ให้กระทำมัน และก็ไม่มีสิ่งใดมาห้าม และหากว่ามันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดจริงๆ แน่นอนว่า สะลัฟ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม) เหมาะสมยิ่งกล่าวเราด้วยกับมัน” ดู หนังสืออิกติฏออฺ อัศศิรอฏ อัลมุสตะกีม หน้า 266

ซึ่งความหมายของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ก็คือ การฉลองทำเมาลิดนบีนั้น นัยยะเหตุผลให้กระทำได้ ก็คือ เพื่อแสดงถึงความรักและการให้เกียตริท่านนบี(ซ.ล.) และไม่มีสิ่งใดมาห้ามในการทำเมาลิด หากแม้นว่าสะลัฟไม่เคยกระทำมาก่อน ซึ่งดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดสามารถปฏิเสธได้

การอนุมานหรือการคาดการณ์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่ว่า “ซึ่งบางทีมันอาจคล้ายกับนะซอรอ” นั้น เป็นการคาดการณ์ที่ไม่มีน้ำหนัก เนื่องจากมันเป็นการคาดการณ์ที่ไม่ตรงกับเจตนาความเป็นจริงของผู้ที่กระทำฉลองเมาลิดแก่ท่านนบี(ซ.ล.) แต่การคาดการณ์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่กล่าวว่า “บางทีมันเป็นการแสดงออกซึ่งความรักต่อท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และทำการให้เกียตริแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” ย่อมมีน้ำหนักมากกว่า เนื่องจากท่านอิบนุตัยมียะฮ์ให้การย้ำและยอมรับเกี่ยวกับเรื่องเมาลิดว่า

فتعظيم المولد وإتخاه موسما قد يفعله بعض الناس ويكون له فيه أجر عظيم لحسن قصده وتعظيم لرسول الله صلى الله عليه وسلم

“ดังนั้น การให้เกียตริการทำเมาลิดและทำมันเป็นเทศกาลนั้น บางส่วนของมนุษย์ได้กระทำมัน และให้กับบางส่วนเกี่ยวกับเมาลิดนั้น ย่อมมีผลตอบแทนทิ่ยิ่งใหญ่ เพราะมีเจตนาเป้าหมายที่ดีในการทำเมาลิดและเป็นการให้เกียตริแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” ดู หนังสืออิกติฏออฺ อัศศิรอฏ อัลมุสตะกีม หน้า 267 , และมัจญะมั๊วะ ฟะตาวา ของอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 23 หน้า 134

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวเช่นกันว่า

وقد روى فى الملائكة السيارين الدين يتتبعون مجالس الدكر الحديث المعروف فلو أن قوما إجتمعوا بعض الليالى على صلاة تطوع من غير أن يتخدوا دلك عادة راتبة تشبه السنة الراتبة لم يكره ...وكدلك القول فى ليلة المولد وغيرها

“แท้จริงได้ถูกรายงาน กับหะดิษที่รู้กัน เกี่ยวกับบรรดามะลาอิกะฮ์ที่เดินทางตะเวนติดตามบรรดาสถานที่มีการซิกิร ดังนั้น หากว่าชนกลุ่มหนึ่งได้ทำการรรวมตัวกันในบางคืนเพื่อทำละหมาดสุนัต โดยที่ไม่ทำให้มันเป็นปกติประจำ ที่คล้ายกับละหมาดสุนัตประจำ ก็ถือว่าไม่มักโระฮ์...และเช่นเดียวกันนี้ กับทัศนะคำกล่าวเกี่ยวกับคำคืนของเมาลิดและอื่นๆจากมัน” ดู มัจญะมั๊วะ ฟะตาวา ของอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 23 หน้า 132



นั่นคือทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่มีต่อการทำเมาลิดท่านนบี(ซ.ล.) แล้ววะฮาบีย์ระดับอาจารย์นักปราศรัยพูดได้อย่างไรว่า การทำเมาลิดเป็นบาปบิดอะฮ์ตกนรก ต้องกลับไปเตาบะฮ์ ซุบหานัลลอฮ์ !!! และหนังสือ เมาลิด ของ อ.มุรีด ทิมะเสน จะถูกสังคยานาชี้แจงอีกครั้ง โดยนักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ แล้วนำเสนอลงในเวปนักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ อินชาอัลเลาะฮ์


และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ คำอ้างอิงจากท่านอิบนุตัยมียะฮ์นี้ ถูกวะฮาบีย์ตีพิมพ์บิดเบือนตัดทอนถ้อยคำ ซึ่งเราไม่อยากนำมาชี้แจงตอกย้ำ เพราะอาจจะทำให้เกิดการไม่พอใจ

และจากหลักฐานทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์นั้น มันเป็นเพียงการนำเสนอเพื่อเป็นบทนำ ในการเข้าใจสู่การสนทนาในเชิงวิชาการ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 11, 2006 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
อยากจะเรียนและขอร้องน้อง al-farook และ สหาย ก่อนที่จะนำเสนอต่อไปคือ
1. ต้องนำเสนอด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่แอบแฝงความอคติ
2. ไม่ควรดูถูกฝ่ายที่มีทัศนะตรงกันข้ามกับตน โดย ตั้งฉายา ตัวเองว่าชาวอะฮลุสสุนนะฮ และเรียกฝ่ายตรงข้ามว่า พวกวะฮบีย์ เพราะ มุสลิมทุกคน ไม่มีแนวทางอื่น นอกจากแนวทางของ อะฮลุสสุนนะฮ วัล ญะมาอะฮ ส่วนใครจะยึดมั่นมากน้อยแค่ใหนนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
3. การตั้งฉายาว่า "วะฮบีย์" แก่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อต้องการให้สังคมที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เข้าใจว่า พวกนี้ นับถือลัทธิใหม่ ไม่ตามแนวทางที่ถูกต้อง นั้น เป็นวิธีเดิมๆของคนในอดีต ที่ใช้ยุยงให้ชาวบ้านจงเกลียดจงชัง ผู้ที่มีทัศนะตรงกันข้ามกับตัวเอง น้อง al-farook เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นปัญญาชน และเป็นนักศึกษาปริญญาโท ไม่ควรจะขุดคำนี้มาทำลายคนอื่นอีก
4. เรื่อง การจัดเมาลิดนั้น คือความคิดเห็นล้วนๆ ในยุคของท่านนบี และ เหล่าสาวก ไม่ปรากฏ กิจกรรมอันนี้ และเว็บนี้ ตั้งขึ้นมา เพื่อเผยแผ่ คำสอนตาม กิตาบุ้ลลอฮและอัสสุนนะฮ ดังนั้น
สิ่งใดก็ตามที่ขัดต่อเจตนารมณ์นี้ เราไม่ส่งเสริม เพราะฉะนั้น หากท่านคิดว่า มีคำสอนในเรื่องนี้ในศาสนาอิสลาม ก็ให้นำเสนอหลักฐาน โดย ไม่มีการพูดเหยียดหยาม จาบจ้วง และประนามผู้ที่ไม่เห็นด้วย
......................
จึงเรียนผู้ที่จะนำเสนอในเรื่องนี้ทราบโดยทั่วกัน
.............
บังอะสัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 11, 2006 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านอาจารย์ มุรีด ทิมะเสน ได้สรุปข้อเขียนของท่านเกี่ยวกับเมาลิดดังนี้
การทำเมาลิดไม่ปรากฎในสมัยท่านนบีมุฮัมมัด สมัยคอลีฟะฮฺ อบูบักรฺ คอลีฟะฮฺอุมัร คอลีฟะฮฺอุสมาน คอลีฟะฮฺอาลี สมัยตาบีอีน สมัยของอิมามฮานาฟี อิมามมาลีกี อิมามชาฟีอียฺ และอิมามฮัมบาลี
การทำเมาลิดไม่มีแบบอย่างมาจากสมัยสลัฟซอและฮฺ (ชนรุ่นก่อนที่ดี) คือ 3 ศตวรรษแรกของอิสลาม
การทำเมาลิดไม่ใช่ซุนนะฮฺ หรือสุนัต
นักวิชาการแนวสลัฟ ถือว่าบิดอะฮฺมีบิดอะฮฺเดียว และกิจที่เป็นบิดอะฮฺ ถือเป็นโมฆะ ไม่มีการแบ่งเป็นบิดอะฮฺหะซะนะฮฺ และบิดอะฮฺกอบีหะฮฺ หรือการแบ่งบิดอะฮฺออกเป็น 5 ประเภทตามการแบ่งของท่านอิซซุดดีน อิบนิ อับดิสสลาม นักวิชาการในมัซฮับชาฟีอียฺ
การทำเมาลิดเกิดจากการริเริ่มของกลุ่มชีอะฮฺ อิสมาอีลียะฮฺ
บทสดุดีสรรเสริญ ท่านนบีมุฮัมมัด ที่อ่านกันในการทำเมาลิดเป็นการริเริ่มและการประพันธ์ ของชาว ฏอรีกัต ซูฟียะฮฺ
นักวิชาการแนวสลัฟ มีทัศนะว่า กิจใดก็ตามในเมื่อไม่มีแบบอย่างมาจากท่านร่อซูล เช่น การจัดงานเมาลิด วันเกิด วันตาย วันครบรอบอายุ ถือว่าเป็นบิดอะฮฺที่ไม่ชอบด้วยบัญญัติศาสนา
http://muslimthai.com/contentFront.php?option=content&category=13&id=379

..................

จึงขอให้ผู้อ่านพิจารณาเองว่า สิ่งที่ท่านกล่าวนั้น มันเกินจากความเป็นจริงหรือไม่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Thu May 11, 2006 11:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สิ่งที่บังอะสันอ้างอิงแบบสรุป จากหนังสือเมาลิดของ มุรีด ทิมมะเสนนั้น เป็นหลักการหุกุ่มผู้อื่นด้วยความคิดเห็นแบบล้วนๆเช่นเดียว โดยที่ไม่มีตัวบทจาก อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ของท่านนบี อิจญฺมาอ์ และสะละฟุศศอลิหฺมาระบุว่าเมาลิดรำลึกนบี(ซ.ล.)นั้น หะรอม บิดอะฮ์ ตกนรก !!!
_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Thu May 11, 2006 11:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam ท่านผู้อ่านที่เคารพ

อ้างอิงจากบังอะสัน

"ท่านอาจารย์ มุรีด ทิมะเสน ได้สรุปข้อเขียนของท่านเกี่ยวกับเมาลิดดังนี้
การทำเมาลิดไม่ปรากฎในสมัยท่านนบีมุฮัมมัด สมัยคอลีฟะฮฺ อบูบักรฺ คอลีฟะฮฺอุมัร คอลีฟะฮฺอุสมาน คอลีฟะฮฺอาลี สมัยตาบีอีน สมัยของอิมามฮานาฟี อิมามมาลีกี อิมามชาฟีอียฺ และอิมามฮัมบาลี
การทำเมาลิดไม่มีแบบอย่างมาจากสมัยสลัฟซอและฮฺ (ชนรุ่นก่อนที่ดี) คือ 3 ศตวรรษแรกของอิสลาม"


วิจารณ์

มุรีด ทิมมะเสนอ้างอย่างนั้น ผมไม่ว่าอะไรหรอกครับ แต่เมื่ออ้างตามที่ทัศนะของตนจะเอา แล้วไปหุกุ่มผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ตามทัศนะของตนว่า ให้ไปเตาบอะฮ์ เป็นการกระทำบิดอะฮ์ ตกนรก ตามที่ มุรีดได้ปราศัยนั้น ผมขอค้านครับ เนื่องจากการอ้าง ท่านนบีและสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำ มาหุกุ่มบิดอะฮ์ เป็นการกระทำที่ชั่ว ตกนรก นั้น เป็นหลักการที่อ่อนมากเลยทีเดียว และยิ่งไปกว่านั้น มันก็เป็นแค่ความคิดเห็นเช่นเดียวกัน

ประการแรกที่ทั้งสองฝ่ายตรงกันก็คือ วะฮาบีย์ไม่มีหลักฐานในการห้ามทำเมาลิดนบีเป็นการเฉพาะ และการอ้างของวะฮาบีย์ในการกล่าวหาบิดอะฮ์เมาลิด ล้วนแต่เป็นความคิดและความเห็นทั้งสิ้นเช่นเดียว

พี่น้องซุนนะฮ์วะฮาบีย์มักจะอ้างว่า "ท่านนบีไม่เคยทำ บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่เคยทำ และสะลัฟไม่เคยทำ" ซุนนะฮ์วะฮาบีย์ก็เลยเอาหลักการนี้ มาหุกุ่มหะรอม บิดอะฮ์ในเรื่องของศาสนา โดยไม่ลืมหูลืมตาว่าอะไรเป็นหลักการที่สอดคล้องกับศาสนาและอะไรที่ขัดแย้งกับศาสนา คำพูดนั้นถูกแต่เป้าหมายที่นำมาใช้นั้นผิด

ดังนั้น การที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)หรือสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ไม่ใช่เป็น"หลักฐาน" ( دليل ) แต่มันชี้ถึง"การไม่มีหลักฐาน" ( عدم دليل ) หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)และสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ไม่ใช่เป็น"หลักฐาน" (دليل ) ว่าห้ามทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) แต่มันบ่งถึง "การไม่มีหลักฐาน" ( عدم دليل ) หรือ "หลักฐานในเชิงไม่มีและไม่รู้ว่ามีหุกุ่มมาระบุ" ( الدليل العدمى )ในการห้ามเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) ดังนั้น หลักฐานที่ชี้ถึงการห้าม ( دليل التحريم ) นั้น คือการมีตัวบทหลักฐานที่บ่งถึงการต้องห้าม(النهى) กับการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือมีการตำหนิจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ในการกระทำสิ่งหนึ่ง และหากว่ามีตัวบทมาระบุห้าม ก็ย่อมไม่มีข้อกังขาใดๆอย่างแน่นอน

ดังนั้น การหลักการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งการกระทำนั้นหรือท่านนบี(ซ.ล.)และสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้กระทำ มาเป็นหลักฐาน(دليل)ในศาสนา เพื่อทำการตำหนิ ทำการหุกุ่มหะรอม ทำการกล่าวหาบิดอะฮ์ตกนรก และนำมากล่าวหาเป็นการกระทำที่ชั่วนั้น ย่อมเป็นหลักการที่โง่เขลาอย่างชัดเจนกับหลักการหุกุ่มของศาสนาและหลักพื้นฐานของฟิกห์ที่บรรดานักปราชญ์มุจญฺฮิดแห่งโลกอิสลามได้วางหลักการวินิจฉัยหุกุ่มเอาไว้ ฉะนั้น การสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำย่อมไม่ใช่หลักฐาน แต่มันบ่งถึง ไม่มีหลักฐาน และหลักฐานหนึ่งจะสามารถบ่งถึงการห้ามและตำหนิได้นั้น ก็ด้วยสิ่งที่อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ทรงบัญญัติห้ามและสิ่งที่ท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้ห้ามไว้ในซุนนะฮ์ที่ซอฮิหฺของท่าน

ดังนั้น ประเด็นเมาลิดนี้ มันอยู่ในเรื่องของการ "ทิ้งการกระทำ" ( الترك ) ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งกับสิ่ง - คือไม่เคยกระทำมัน - หรือสะละฟุศศอลิหฺไม่เคยกระทำมัน โดยที่ "ไม่มี" หะดิษ หรือ ร่องรอย มารายงานระบุห้ามจากการกระทำกับสิ่งที่ถูกทิ้งการกระทำดังกล่าว ที่ให้ความเข้าใจถึงหะรอมหรือมักโระฮ์

บรรดาผู้รู้ยุคหลังๆบางท่านเลยเถิดในการอ้างหลักฐานที่คลุมเคลือเช่นนี้ โดยทำการหุกุ่มหะรอม หรือกล่าวหาบิดอะฮ์ลุ่มหลงในเรื่องของศาสนา ด้วยคำกล่าวที่ว่า นบีไม่เคยทำอย่างนั้น หรือไม่ได้รับการยืนยันว่านบี(ซ.ล.)กระทำอย่างนั้น เป็นต้น

อุลามาอ์บางส่วนกล่าวไว้ว่า

الترك ليس بحجة فى شرعنا
لا يقتضى منعا ولا إيجابا
فمن ابتغى حظرا لترك نبينا
ورأه حكما صادقا وصوابا
قد ضل عن نهج لأدلة كلها
بل أخطأ الحكم الصحيح وخابا

"การทิ้ง(นบีไม่ได้ทำ)ไม่ใช่เป็นหลักฐานในชาริอัตของเรา"
"มันไม่ได้ใช้นัยยะถึงห้ามหรือจำเป็น"
"ดังนั้น ผู้ใดปราถนา (หุกุ่ม) ห้ามเพราะนบีของเราไม่ได้ทำ"
"โดยเขาเห็นว่ามันเป็นหุกุ่มที่จริงและถูกต้อง"
"แน่แท้แล้ว เขาย่อมหลงจากวิถีทางของ(การอ้าง)บรรดาหลักฐานทั้งหมด"
"ยิ่งไปกว่านั้น เขาก็ผิดพลาดกับหุกุ่มที่ถูกต้องและเขาก็สิ้นหวัง"
ดู หนังสือ อัตตะหฺซีร มินัลอิฆติยาร ของชัยค์ อับดุลหัยฺ อัลอัมรอวีย์และชัยค์อับดุลกะรีม มุร๊อด หน้า 75

ท่านชัยค์ อัลฆุมารีย์กล่าวว่า "การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือบรรดาสะละฟุสซอและหฺละทิ้งไม่ได้กระทำมัน โดยไม่มีหะดิษ หรือคำกล่าวรายงาน มาระบุห้ามจากสิ่งที่ถูกทิ้งนั้น หรือไม่มีหลักฐานมาห้ามมัน หรือให้ละทิ้งมันไป" (ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 12 ของท่าน ชัยค์ อัลฆุมารีย์ )

ดังนั้น การทิ้งการกระทำนี้ มีหลายประเภท อาธิ เช่น

1. ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งมันนั้น เพราะมีสิ่งที่มาหักห้ามตามอุปนิสัยตามธรรมชาติ หรือมีอุปนิสัยที่ไม่ชอบ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งการกินเนื้อ ฏ๊อบ เมื่อมันได้ถูกนำมาให้แก่ท่าน ซึ่งในหะดิษนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ถูกถามว่า "มันเป็นสิ่งที่ต้องห้ามหรือ ? ท่านนบี(ซ.ล.)ตอบว่า "ไม่หรอก" ดังนั้น ดังกล่าวถึงชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ไม่ถือว่า เป็นการหะรอมห้ามกับมัน

2. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งนั้น เพราะว่าได้ลืมมัน ซึ่งเสมือนการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ลืมในละหมาด โดยท่านได้ละทิ้งสิ่งหนึ่ง ท่านจึงถูกถามว่า "มีสิ่งใดเกิดขึ้นในละหมาดหรือ?" ท่านนบี(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า "แท้จริง ฉันนั้นก็เป็นมนุษย์ ฉันลืมเหมือนกับที่พวกท่านลืม ดังนั้น เมื่อฉันลืม พวกท่านก็จงเตือนฉัน"

ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งสิ่งหนึ่งจากละหมาด พวกเขาก็ไม่คิดว่าเลยว่ามันเป็นหุกุ่มใดหุกุ่มหนึ่ง แต่พวกเขากลับไปทบทวนถามกับท่านนบี(ซ.ล.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) ก็ทำการตอบกับพวกเขา ด้วยกับสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นหุกุ่มใดๆขึ้นมา

3. การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการกระทำนั้น เพราะเกรงว่า จะเป็นฟัรดู เหนือประชาชาติของท่าน เช่นท่านได้ทิ้งละหมาดญะมาอะฮ์ ตะรอวิหฺ ในขณะที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำาการรวมตัวกันละหมาด เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นฟัรดูเหนือพวกเขา

4. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งการกระทำ ก็เพราะเกรงถึงฟิตนะฮ์ที่จะเกิดขึ้นได้ อาธิเช่น ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการรื้นถอนบัยตุลลอฮ โดยนำมาสร้างไว้ที่ฐานของท่านนบี(ซ.ล.)อิบรอฮีม(ซ.ล.) เสมือนที่ได้ระบุไว้ในซอฮิหฺบุคอรีย์และมุสลิม ดังนั้น การละทิ้งการดังกล่าวนั้น เพื่อถนอมน้ำใจของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ๆ จากชาวมักกะฮ์

5. บางครั้ง ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้ง เนื่องจากสาเหตุที่เฉพาะสำหรับท่าน เช่นท่านนบี(ซ.ล.) ทิ้งการรับประทานหัวหอม และสิ่งที่มีกลิ่นไม่ดี เนื่องจากเกรงว่าจะสร้างความเดือนร้อนแก่มะลาอิกะฮ์ ในขณะที่รับวะหฺยุ โดยที่ไม่มีผู้ใดกล่าวว่า การรับประทานหัวหอมนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม เพราะว่านบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการรับประทานมัน

จากตัวอย่างที่เราได้กล่าวมานั้น เราจะเห็นว่า การที่ท่านนบีได้ทิ้ง หรือ ไม่ได้กระทำสิ่งหนึ่งนั้น ไม่ได้ชี้ถึงว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม

ท่าน อบู อัลฟัฏลฺ อัลฆุมารีย์ กล่าวว่า " การละทิ้งการกระทำเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีหลักฐานมาระบุว่าสิ่งที่ถูกทิ้งนั้นหะรอม ย่อมไม่เป็นหลักฐานชี้ว่าสิ่งนั้น เป้นสิ่งที่หะรอม แต่จุดมุ่งหมายนั้นก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาติให้ละทิ้งการกระทำได้ และสำหรับการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำ ที่เป็นสิ่งที่หะรอมนั้น ไม่ได้เข้าใจว่า เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งมัน แต่เป็นเพราะว่า มีหลักฐานมาระบุถึงการห้ามต่างหาก " ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 15

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า "การทิ้ง" (ไม่ได้กระทำ) มีสองประเภทใหญ่ๆ คือ

1. การทิ้งที่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك مقصود ) ซึ่งอุลามาอ์อุซูลให้สำนวนเรียกว่า "การทิ้งเชิงการมี" ( الترك الوجودى ) คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งการกระทำกับสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เคยมีการกระทำมันมาแล้ว หรือท่านนบี(ซ.ล.)ได้หยุดกระทำกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่ท่านนบี(ซ.ล.)กระทำได้

2. การทิ้ง(การกระทำ)ที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك غير مقصود ) ซึ่งอุลามาอ์อุซูลให้สำนวนเรียกว่า"การทิ้งเชิงไม่มี" ( الترك العدمى ) คือ สิ่งที่ท่านนบีไม่เคยกระทำและไม่เคยกล่าวมัน โดยที่ไม่ได้นำเสนอหุกุ่มออกมา เนื่องจากไม่มีความต้องการหรือมีนัยยะให้กับการหุกุ่มสิ่งดังกล่าว
ดังนั้น ในความเป็นแล้ว การทิ้งการกระทำที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك غير مقصود ) นั้น ย่อมไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็น"หลักฐาน"( دليل ) ได้ ทั้งในแง่ของหลักการศาสนา

ในแง่หลักการของศาสนาก็คือ คำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ที่ว่า

وما أتاكم الرسول فخدوه وما نهاكم عنه فأنتهوا

"สิ่งใดที่รอซูลนำมากับพวกท่านนั้น พวกท่านจงเอามัน และสิ่งใดที่ร่อซูลห้ามกับพวกท่านจากมันนั้น พวกท่านจงยุติ" อัลหัชรฺ 7

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า

فإدا نهيتكم عن شيء فأجتنبوه ، وإدا أمرتكم بأمر فأتوا منه ما أستطعتم

"ดังนั้น เมื่อฉันห้ามพวกท่านจากสิ่งหนึ่ง พวกท่านก็จงห่างไกลมัน และเมื่อฉันใช้พวกท่านด้วยกับสิ่งหนึ่ง พวกท่านก็จงทำมันเท่าที่พวกท่านสามารถ" รายงานโดยบุคคอรีย์และมุสลิม
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า

الحلال ما أحل الله فى كتابه ، والحرام ما حرم الله فى كتابه ، وما سكت عنه فهو مما عفا عنه

"หะล้าลก็คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุมัติไว้ในคำภีร์ของพระองค์ และหะรอมก็คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงห้ามไว้ในคำภีร์ของพระองค์ และสิ่งที่พระองค์ไม่นิ่งจากมัน ก็คือสิ่งที่พระองค์ผ่อนปรนให้" รายงานโดยท่านติรมีซีย์

ท่านผู้อ่านลองพิเคราะห์ถึง สถานะภาพของผู้คนในปัจจุบัน ท่านจะพบว่าการกระทำหรือไม่กระทำของพวกเขานั้น อยู่หลักการใหญ่ๆเกี่ยวกับหลัก "การใช้" ( أمر ) และหลัก "การห้าม" ( نهى ) ดังนั้น เมื่อเรื่องหนึ่งที่ไม่มี "การใช้" ให้กระทำ หรือไม่มี "การห้าม" ให้กระทำ ก็ย่อมจะหุกุ่ม "หะรอม" ไม่ได้ แต่สมควรอยู่ในกรอบของ มุบาหฺ อนุญาติให้กระทำได้ หรืออยู่ในกรอบของสิ่งที่ไม่มีหุกุ่มาระบุแล้วก็นำไปวางบนมาตรฐานของหุกุ่มศาสนา

จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เราสามารถสรุปได้ดังนี้

1. บรรดานักปราชญ์อิสลาม ให้คำนิยามของ ซุนนะฮ์ ว่า "คือสิ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้พูด กระทำ และยอมรับ" บรรดานักปราชญ์ไม่ได้นำการ "ทิ้งของท่านนบี" หรือ "การไม่ได้ทำ" ของท่านนบี(ซ.ล.) เข้าไปอยู่ในคำว่าซุนนะฮ์ เนื่องจากว่ามันไม่ใช่ "หลักฐาน" ( دليل )

2. หุกุ่มนั้น คือ (คิฏ๊อบ) คำบัญชาของอัลเลาะฮ์ บรรดานักปราชญ์อุซูลกล่าวว่า หุกุ่มก็คือ สิ่งที่ หลักฐานจากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อัลอิจญฺมาอ์ และกิยาส มาบ่งชี้ถึงมัน โดยที่การทิ้งหรือการไม่ได้กระทำนั้น ก็ไม่ใช่หนึ่งจาก สี่ หลักฐานมากล่าวมา ดังนั้น การที่ไม่ได้กระทำ จึงไม่ใช่ "หลักฐาน" ที่จะนำมาอ้าง

3. การทิ้ง ก็คือ การที่ไม่ได้กระทำ และการที่ไม่ได้กระทำ ก็หมายถึง การที่ไม่มี"หลักฐาน" ( دليل ) มาระบุ ดังนั้น การทิ้งหรือการไม่ได้กระทำนั้น ย่อมไม่ชี้ถึงหะรอม นอกจากมีหลักฐานมาบ่งชี้ชัดว่าหะรอม จากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ และกิยาส

ดังนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.) โดยอ้างหะรอมว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นคำอ้างที่ฟังไม่ขึ้นโดยหลักการของศาสนา

การทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) แม้ไม่ได้เกิดรูปแบบปรากฏการกระทำขึ้นในสมัยของบรรดาซอฮาบะฮ์ แต่บรรดาซอฮาบะฮ์เองก็ทำการำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)อยู่เสมอ หัวใจของบรรดาซอฮาบะฮ์ล้วนแต่คำนึงถึงท่านนบี(ซ.ล.)ในทุกการตัดสินใจและการเคลื่อนไหวของพวกเขา ดังนั้น หัวใจของพวกเขาจึงตื่นตัวอยู่เสมอด้วยการรำลึกถึงแบบฉบับบุคลิคภาพของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ท่านอิบนุอับบาส(ร.ฏ.)กล่าวว่า"หากฉันไม่รำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)สักช่วงเวลาเดียว มันเหมือนกับว่าฉันไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากมุสลิมีน" (อ้างจากคำกล่าวของชัยค์ด๊อกเตอร์ที่สอนผมกับวิชาตะเซาวุฟ) ฉะนั้น ความรักที่มีต่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ระหว่างบรรดาซอฮาบะฮ์กับเรานั้น ย่อมห่างใกลกันเหลือเกิน บรรดาซอฮาบะฮ์จึงไม่จำเป็นมากนักที่จะต้องมาทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบีเหมือนกับพวกเรา สถานะภาพปัจจุบัน อิหม่านของมุสลิมทั่วไปยิ่งถดถอย การส่งเสริมตอกย้ำให้มีการรำลึกถึงท่านนบี ด้วยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่นเมาลิดนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นสิ่งที่บิดอะฮ์ลุ่มหลงถึงกับลงนรกตามทัศนะของวะอาบีย์หรอกครับ


และการกล่าวว่า ซอฮาบะฮ์ไม่ได้ทำนั้น เป็นหลักการบัญญัติที่ "ห้าม" ย่อมไม่ใช่หลักการของศะละฟุศศอลิหฺและไม่ใช่เป็นหลักฐานของหลักวิชานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกห์) และการกล่าวว่า "หากสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ดี บรรดาสะละฟุศศอลิหฺย่อมกระทำมาก่อนเรา" ซึ่งคำกล่าวนี้ ไม่ใช่เป็นหลักฐานของศาสนาตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ที่มาบ่งชี้ว่ามันเป็นสิ่งที่"หะรอม" ต้องห้าม หรือบิดอะฮ์ตกนรก ซึ่งหลักการนี้ ไม่ใช่หลักการของสะละฟุศศอลิหฺ แต่เป็นหลักการของวะฮาบีย์!!!

ดังนั้น หากว่าประเด็นหนึ่ง หรือปัญหาหนึ่ง ที่สะละฟุศศอลิหฺ(หรือผู้ที่อยู่ก่อนจากเขา)นั้นไม่ได้กระทำไว้ เป็นหลักฐาน ที่ชี้ว่า ไม่มีบทบัญญัติในศาสนาแล้ว แน่นอนว่า บรรดานักปราชญ์ตาบิอีน ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้นิ่งเฉยไม่ได้กระทำและกล่าวกับมัน และแน่นอนว่า บรรดานักปราชญ์ตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้มีสิทธิ์ที่จะพูดและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่บรรดานักปราชญ์ตาบิอีนได้นิ่งเฉยไม่ได้กระทำและกล่าวกับมัน ซึ่งหลักการนี้ ขัดแย้งกับคำกล่าวและหลักการของท่านอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล ท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อุซุลุลฟิกห์ของท่านว่า

قال أبو داود: قال أحمد بن حنبل:... فإذا وجدت عن رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم لم أعدل إلى غيره، فإذا لم أجد... فعن الخلفاء الأربعة... فإذا لم أجد فعن أصحابه الأكابر فالأكابر... فإذا لم أجد فعن التابعين وتابع التابعين“، ولو كان عدم الرواية حجة على عدم المشروعية لكان ينبغي للتابعين أن يقولوا لو كان خيراً لسبقنا إليه الصحابة، وكان ينبغي لأتباعهم أن يقولوا: لو كان خير لسبقنا إليه التابعون

" ท่านอบู ดาวูด กล่าวว่า ท่าน อะหฺมัด บิน หัมบัลกล่าวว่า เมื่อฉันพบ(หลักฐาน) จากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ฉันก็ไม่เคยผินไปยังผู้อื่นจากท่านร่อซูล และเมื่อฉันไม่พบ ก็เอาจากบรรดาคอลิฟะฮ์ทั้ง 4 และเมื่อฉันไม่พบ ก็จากบรรดาซอฮาบะฮ์ผู้อวุโส และอวุโสถัดๆไป และเมื่อฉันไม่พบอีก ก็เอาจากตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน และถ้าหากว่าการไม่มีการรายงานมานั้น เป็นหลักฐานว่าไม่มีบทบัญญัติในศาสนา แน่นอนว่า เป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอีน โดยการกล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมทำกระทำล่วงหน้ามันมาก่อนแล้ว และเป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอิตตาบิอีน กล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมกระทำล่วงหน้ามันมาก่อนแล้ว (ตาบิอีนไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเพราะมันไม่ใช่หลักฐาน)" ดู หนังสือ มุเซาวะดะฮ์ อาลิ ตัยมียะฮ์ หน้า 336

จากสิ่งที่ผมได้อ้างอิงมานั้น ย่อมชี้ให้เห็นว่า หากมีไม่มีสายรายงานมาระบุ บรรดาตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้เอาคำกล่าวที่ว่า" บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมทำกระทำล่วงหน้าไปยังมันก่อนแล้ว และเป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอิตตาบิอีน กล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมกระทำล่วงหน้าไปยังมันก่อนแล้ว" มาเป็นหลักการและหลักฐาน ในการห้ามหรือหุกุ่มหะรอมสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย

และหลักการของท่านอิมามอะหฺมัดนี้ ก็อิงจากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ซึ่งรายงานโดยท่าน อัลนะซาอีย์ ไว้ในสุนันของท่าน ในหะดิษที่ 5397 ว่า

فإن جاء أمر ليس في كتاب الله، ولا قضى به نبيه صلى الله عليه وآله وسلم، ولا قضى به الصالحون، فليجتهد رأيه

ท่านอิบนุมัสอูดกล่าวว่า "หากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีระบุไว้ใน กิตาบุลเลาะฮ์ และท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" (เช่นการกิยาส)

ดังนั้น หากการไม่มีรายงานมาระบุ เป็นหลักฐานที่ว่า ไม่มีบทบัญญัติในศาสนานั้น แน่นอนว่า ท่านอิบนุมัสอูดก็กล่าวไม่ได้ว่า "ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" แต่ท่านอิบนุมัสอูด สมควรกล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี บรรดาผู้มีคุณธรรมก็ต้องกระทำล่วงหน้ามันมาก่อน(จากท่านอิบนุมัสอูด)แล้ว ดังนั้น จึงไม่อนุญาติให้ทำการวินิจฉัย แต่ท่านอิบนุมัสอูดไม่ได้กล่าวอย่างนั้น และไม่มีสะละฟุศศอลิหฺ ให้คำพูดดังกล่าวมาเป็นหลักฐานหุกุ่มเกี่ยวศาสนาในนิติศาสตร์อิสลาม

และที่ผมได้กล่าวนำเสนอมาทั้งหมดนี้ ก็คือการสนทนานำเสนอในเชิงวิชาการ ที่ยืนยันว่า การกล่าวหาหุกุ่มว่าการทำเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ตกนรกหรือเป็นการกระทำที่ชั่ว เพราะว่าท่านนบีและสะสะฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ย่อมเป็นหลักการที่ไร้น้ำหนักครับ - รายงานละเอียดนั้นโปรดติดตามต่อไปครับ อินชาอัลเลาะฮ์ - วัลฮุอะอฺลัม


wassalam

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Thu May 11, 2006 11:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

มุรีด ทิมมะเสน กล่าวว่า "นักวิชาการแนวสลัฟ ถือว่าบิดอะฮฺมีบิดอะฮฺเดียว และกิจที่เป็นบิดอะฮฺ ถือเป็นโมฆะ ไม่มีการแบ่งเป็นบิดอะฮฺหะซะนะฮฺ และบิดอะฮฺกอบีหะฮฺ หรือการแบ่งบิดอะฮฺออกเป็น 5 ประเภทตามการแบ่งของท่านอิซซุดดีน อิบนิ อับดิสสลาม นักวิชาการในมัซฮับชาฟีอียฺ"

ตอบ

การที่ มุรีด ทิมมะเสน อ้างว่า นแวทางสะลัฟ ถือว่าบิดอะฮ์มีบิดอะฮ์เดียวนั้น เป็นการแอบอ้างเพื่อเก็บเกี่ยวความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนทั่วไป การที่บรรดาซอฮาบะฮ์บางท่านกล่าวคำว่า "บิดอะฮ์" เพียวๆนั้น ไม่ใช่ชี้ถึงว่า พวกเขาคิดว่า บิดอะฮ์มีประเภทเดียว แต่ชี้ให้เห็นว่า การกล่าวคำว่า "บิดอะฮ์" อย่างเดียวโดยไม่มีอะไรต่อท้ายนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่กล่าวแบบ ( مطلق ) ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าเป็น"บิดอะฮ์"ที่ลุ่มหลงเท่านั้นเอง ไม่ใช่ชี้ถึงว่า บิดอะฮ์มีประเภทเดียว แล้วนำไปแอบอ้างว่าสะลัฟเชื่อว่าบิดอะฮ์มีประเภทเดียว ทั้งที่สะลัฟอย่าง ท่านอุมัร(ร.ฏ.) ท่านอิบนุอุมัร (ร.ฏ.) ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ และบรรดานักปราชญ์แห่งโลกอิสลามส่วนมาก มีทัศนะว่า บิดอะฮ์นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท แล้วมุรีด ทิมมะเสน บอกไปได้อย่างไรว่า สะลัฟถือว่าบิดอะฮ์มีบิดอะฮ์เดียว ซุบหานัลลอฮ์ !!!



นิยามบิดอะฮ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์
บรรดาอุลามาอ์ ได้จำกัดคำนิยามคำว่า "บิดอะฮ์" ไว้มากมาย
1. อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท
(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง
(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ
ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่าنعمت البدعة هذه"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้" หมายความว่า"การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

ท่านอบู นุอัยม์ ได้นำเสนอรายงานอื่นอีก ไว้ในหนังสือ หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 9 หน้า 113 ว่า "ท่านอิมามอัช-อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ ดังนั้น สิ่งที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรญเสริญ และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ และอิมามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับ ละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมฏอนที่ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

2. ท่านอิบนุ หัซมิน (ร.ห.) เสียชีวิตปี 456 ฮ.ศ.

ท่านอิบนุ หัซมินกล่าวว่า "บิดอะฮ์ในศาสนานั้น คือทุกสิ่งที่ไม่เคยมีระบุมาในอัลกุรอานและจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) นอกจากบิดอะฮ์ที่เจ้าของผู้กระทำจะถูกตอบแทน และได้รับการผ่อนปรนให้ ด้วยสิ่งที่เขามีเจตนาในการกระทำความดีงาม ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือ สิ่งที่จะได้รับผลตอบแทน ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีโดยที่มันมีรากฐานเดิมที่อนุมัติให้กระทำได้ ซึ่งเสมือนกับสิ่งที่รายงานจากท่านอุมัร (ร.ฏ.) ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
คือสิ่งที่เป็นการปฏิบัติความดีงามและมีตัวบทกล่าวไว้ ในความหมายที่ครอบคลุมถึงการส่งเสริม(สุนัต)ให้กระทำ ถึงหากแม้นว่า การปฏิบัตินั้น จะไม่ได้ถูกำหนดไว้ในตัวบทก็ตาม และส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือสิ่งที่ถูกตำหนิและผู้ปฏิบัติตาม ก็จะไม่ได้รับการผ่อนปรน ก็คือสิ่งที่มีหลักฐานมายืนยันว่ามันใช้ไม่ได้และผู้ที่ปฏิบัติก็ยังคงยืนกรานด้วยกับการกระทำมัน

3. อิมาม อัลอิซฺซุดดีน บิน อับดุสลาม เสียชีวิตปี 660 ฮ.ศ.

ท่านกล่าวว่า "บิดอะฮ์คือสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และมันก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์
และแนวทางในการทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่างๆของชาริอะฮ์ (قواعد الشريعة) ดังนั้น บิดอะฮ์ที่เข้าไปอยู่หลักการต่างๆที่วายิบ ก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่างๆที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์
ตัวอย่างบิดอะฮ์วายิบ เช่น
(1) การศึกษาวิชานะฮู (ไวยกรณ์ภาษาอาหรับ) เพื่อให้เข้าใจคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) และดังกล่าวนี้ คือสิ่งที่จำเป็น(วายิบ) เนื่องจากการรักษาไว้ซึ่งหลักชาริอะฮ์นั้น เป็นสิ่งที่วายิบ และการปกปักษ์รักษาหลักชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ นอกจากด้วยการรู้จักหรือศึกษาสิ่งดังกล่าว และสิ่งที่วายิบจะไม่สมบูรณ์นอกจากด้วยกับมันนั้น แน่นอน สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่วายิบด้วย
(2) การจดจำถ้อยคำที่เข้าใจยากทางภาษาอาหรับที่มีมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์
(3) การประพันธ์วิชาอุซูลุลฟิกห์ (วิชาที่ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์รากฐานของหลักวิชาฟิกห์)
(4) การพิจารณาและวิจารณ์นักรายงาน เพื่อแยกแยะระหว่างสิ่งที่ซอเฮี๊ยะหฺออกจากสิ่งที่ฏออีฟ
ดังนั้น กฏเกนฑ์ต่างๆของหลักชะรีอะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า การปกปักษ์รักษาไว้ซึ่งชะรีอะฮ์นั้น เป็นฟัรฏูกิฟายะฮ์ในสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากสิ่งที่เป็นอยู่ ฉะนั้น การปกปักษ์รักษาหลักการของชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่หะรอม
(1) มัซฮับอัลก่อดะรียะฮ์
(2) มัซฮับอัลญับรียะฮ์
(3) มัซฮับอัลมัรญิอะฮ์
(4) มัซฮับอัล-มุยัสซิมะฮ์ !!!
และการป้องกันและโต้ตอบพวกเขาเหล่านั้น เป็นบิดอะฮ์ที่วายิบ

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่สุนัติ
(1) สร้างสถานที่สาธารณูประโยชน์
(2) สร้างสถาบันการศึกษา
(3) สร้างเขื่อน
(4) ทุกความดีที่ไม่มีในสมัยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)
(5) การละหมาดตะรอวิหฺ
(6) การกล่าวในเรื่องความละเอียดละออของวิชาตะเซาวุฟ
(7) การพูดถกในการชุมนุม เพื่อการอ้างหลักฐานในประเด็นต่างๆ หากมีเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)

ตัวอย่างบิดอะฮ์มักโระฮ์
(1) การตบแต่งประดับประดามัสยิดให้สวยงาม
(2) การประดับประดาลวดลายอัล-กุรอาน
(3) การอ่านท่วงทำนวงอัล-กุรอานโดยที่ทำให้เปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆจากหลักภาษาอาหรับ แต่คำกล่าวที่ถูกต้องที่สุดนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม

ตัวอย่างบิดอะฮ์มะบาห์
(1) การจับมือหลังจากละหมาดซุบห์ และอัสริ
(2) การทำอาหารและเครื่องดื่มที่มีหลากหลายรสชาติ หลากหลายเครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย การสวมเสื้อคลุม ทำให้แขนเสื้อกว้าง โดยที่บางส่วนจากสิ่งที่ได้กล่าวมานั้น มีความเห็นที่ขัดแย้งกัน บางอุลามาอ์กล่าวว่า บางส่วนนั้นเป็นบิดอะฮ์ที่มักโระฮ์ และบางอุลามาอ์กล่าวว่า มันเป็นซุนนะฮ์ที่ได้ปฏิบัติกันในสมัยท่าน ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และยุคสมัยหลังจากนั้น....(ดู หนังสือ ก่อวาอิด อัลอะห์กาม ยุซฺ 2 หน้า 172 - 174)

คำนิยามของ อิมาม ซุลฏอน อัลอุละมาอ์ อิซซุดดีน บิน อับดุสลามนี้ เป็นคำนิยามในเชิงการวินิจฉัยที่พาดพิงไปยังบรรดาหุกุ่ม (ทั้ง 5 ) ตามหลักการศาสนา คือเป็นคำนิยามที่มีความรัดกุมยิ่งในประเด็นดังกล่าว

4. หุจญฺตุลอิสลาม อิมาม อัลฆ่อซาลีย์ (505 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์กล่าวว่า "บิดอะฮ์มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ หมายถึง บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับซุนนะฮ์เดิม และเกือบจะนำไปสู่การเปลื่ยนแปลงซุนนะฮ์ และ(2)บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีตัวอย่างมาแล้ว"
ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์ ได้กล่าวอีกเช่นว่า " สิ่งที่ถูกกล่าวว่า มันคือสิ่งที่ถูกทำขึ้นหลังจากร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)นั้น คือไม่ใช่เป็นทุกสิ่งๆ(ที่เกิดขึ้นมาใหม่)จะเป็นสิ่งต้องห้าม แต่สิ่งที่ต้องห้ามนั้น คือ บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งหรือค้านกับซุนนะฮ์ที่ได้ยืนยันไว้แล้ว" (ดู หนังสือ เอี๊ยะหฺยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 1 หน้า 276)

5. อิมาม อัล-มุหัดดิษ อิบนุ อัล-เญาซีย์ อัลหัมบาลีย์ (598 ฮ.ศ.)

ท่านอิบนุ อัล-เญาซีย์ กล่าวว่า "บิดอะฮ์ คือสำนวนหนึ่ง จากการกระทำที่ไม่เคยมีมาก่อน แล้วก็ทำมันขึ้นมา และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ทำขึ้นมาไหม่นั้น มันค้านกับหลักชาริอะฮ์ และทำให้เกิดการเพิ่งเติมและตัดทอน ดังนั้น สิ่งที่ได้ทำขึ้นมาไหม่ โดยไม่ขัดแย้งกับหลักชาริอะฮ์และไม่ทำให้เกิดการเพิ่มเติมและตัดทอนแล้ว สะลัฟส่วนมากรักเกียจมัน และพวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงจากทุกๆคนที่ทำบิดอะฮ์ หากแม้ว่าสิ่งนั้น จะเป็นสิ่งที่อนุญาติสักทีก็ตาม เพื่อที่จะรักษาไว้หลักการเดิม ก็คือ การเจริญรอยตาม
ท่านเซดฺ บิน ษาบิต กล่าว กับท่านอบูบักรและท่านอุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ในขณะที่ทั้งสองกล่าวแก่เขา ว่า "ท่านจงรวบรวมอัลกุรอาน" (ท่านเซดฺ บิน ษาบิต จึงกล่าวว่า) ท่านทั้งสองจะกระทำการสิ่งหนึ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่เคยกระทำกระนั้นหรือ ? "
หลังจากนั้น ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ กล่าวว่า "แท้จริงกลุ่มซอฮาละฮ์นั้น ได้ระวังทุกๆบิดอะฮ์ หากแม้ว่ามันจะไม่เป็นไรก็ตาม เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ทำสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยที่บรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยไม่ขัดแย้งกับหลักชะรีอะฮ์ และไม่ค้านพร้อมกับชะรีอะฮ์นั้น พวกเขามีความเห็นว่า ให้กระทำมันได้ และถือว่าไม่เป็นไร เช่น การที่ท่านอุมัรได้รวบรวมผู้คนทำการละหมาดตะรอวิหฺในเดือนร่อมาฏอน และกล่าวว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
(ดู หนังสือ ตัลบีส อิสลีส หน้า 7)

6. อิมาม อบู ชามะฮ์ อับดุรเราะห์มาน บิน อิสมาอีล อัลมุก๊อดดิซีย์ อัชขาฟิอีย์ (665 ฮ.ศ.)
ท่านอบู ชามะฮ์ กล่าวว่า " สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ (แล้วท่าน อบู ชามะฮ์ ก็อ้างอิงคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จากนั้น ท่านอบู ชามะฮ์กล่าวว่า ) ฉันขอกล่าวว่า แท้จริง มันก็เป็นอย่างเช่นดังกล่าว เพราะท่านนบี(ซ.ล.) ส่งเสริมให้มีการละหมาดสุนัตในเดือนร่อมะฏอน โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กระทำที่มัสยิด โดยที่ซอฮาบะฮ์บางส่วนได้ทำการละหมาดตามท่านนบีเพียงไม่กี่คืน หลังจากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการละหมาดดังกล่าวแบบญะมาอะฮ์ โดยท่านนบี(ซ.ล.)ให้เหตุผลว่าดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะถูกฟัรดูเหนือพวกเขา ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้เสียชีวิต การกระทำดังกล่าวก็ยุติลง ช่วงหลังจากนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์จึงลงมติให้ทำการละหมาด(ตะรอวิหฺ)ในเดือนรอมาฏอนที่มัสยิดแบบญะมาอะฮ์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูเอกลักษณ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้ และได้ส่งเสริมให้กระทำมัน วัลลอฮุอะลัม
ดังนั้น บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ และหวังผลบุญ และมีการหวังผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี โดยที่บิดอะฮ์นั้น ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่างๆของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)

ท่านอบู ชามะฮ์ ได้ให้คำนิยามของบิดอะฮ์ที่ดี จากคำพูดของท่านที่ว่า "จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้" ซึ่งหมายถึงผู้ที่คำพูดของเขานั้น ถูกตอบรับในเรื่องการอิจญฺมาอ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่ถูกตอบรับด้วยกับคำพูดของเขา ก็ถูกคัดออกไป เช่นคำกล่าวของอิบนุตัยมียะฮ์ และผู้ที่มีแนวทางเดียวกับเขา ดังนั้น จึงไม่อนุญาติกับผู้ที่คัดค้านคำกล่าวนี้ เนื่องจากมันเป็นการแหวกมติของประชาชาติอิสลาม และการแหวกมติของประชาชาติอิสลามนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม

7. ท่าน อิบนุ อัล-อะษีร

ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า "บิดอะฮ์ มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ และบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ดังนั้น สิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูล(ซ.ล.) ทรงใช้นั้น ย่อมอยู่ในกรอบของการตำหนิและปฏิเสธ และสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การครอบคลุมสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้และส่งเสริม หรือสิ่งที่ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เรียกร้องและส่งเสริม ก็ย่อมอยู่ในกรอบแห่งการสรรญเสริญ" จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร ทำการยกตัวอย่างบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า " บิดอะฮ์(จากคำกล่าวของท่านอุมัรนี้) แก่นแท้แล้ว คือซุนนะฮ์ เพราะท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
فعليكم بسنتى وسنة الخلفاء الراشدين
"จำเป็นบนพวกท่าน ด้วยซุนนะฮ์ของฉัน และซุนนะฮ์ของบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรม"
และท่านร่อซุล กล่าวอีกว่า
إقتدوا بالذين من بعدى أبى بكر وعمر
" และพวกเจ้าจงดำเนินตาม ด้วยกับทั้งสองหลังจากฉัน(เสียชีวิตแล้ว) คือ อบูบักรและอุมัร"
และหากเราได้ดำเนินตามความหมายตามนี้ ก็สามารถตีความ อีกหะดิษหนึ่งที่ว่า
(كل محدثة بدعة)
"ทุกสิ่งที่ทำขึ้นใหม่นั้นเป็นบิดอะฮ์"
คือ แท้จริง ท่านร่อซูล(ซ.ล.)หมายถึง ทุกๆสิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐาน(อุซูล)ต่างๆของชะริอะฮ์และไม่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ " (ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ ฟี ฆ่อรีบ อัลหะดีษ เล่ม 1 หน้า 106 - 107)

8. อัลหาฟิซฺ อิมาม มั๊วะหฺยุดดีน อันนะวาวีย์ (ร.ฏ.) (676 ฮ.ศ.)
ท่านอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวว่า " คำว่า بَدَعَ คือ บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนาแล้ว หมายถึง ทำให้เกิดขึ้นใหม่กับสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และ บิดอะฮ์ ก็แบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ ท่านชัยค์ อิมาม ผู้ซึ่งถูกลงมติถึงความเป็น ผู้นำและความมีเกียตริ และมีความแน่นแฟ้นและปราดเปรื่องในหลากหลายวิชาการ คือ อบู มุหัมมัด อับดุลอะซีซฺ บิน อับดุสสลาม (ร่อฮิมะหุลเลาะฮ์ วะ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวไว้ ในตอนท้ายหนังสือ ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ว่า " และบิดอะฮ์ก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์
และแนวทางในการทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่างๆของชาริอะฮ์ (قواعد الشريعة) ดังนั้น บิดอะฮ์ที่เข้าไปอยู่หลักการต่างๆที่วายิบ ก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่างๆที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์......(จากนั้นอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวต่อว่า " อัลบัยอะกีย์ ได้รายงาน โดยสายรายงานของเขา ไว้ใน หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ จากอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) ว่า
สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท
(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง
(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ
ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
หมายความว่า"การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " ( ดู หนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลู้เฆาะฮ์ ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 3 หน้า 22 - 23)

นั่นคือทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมาก ที่กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีทั้งบิดอะฮ์ ที่ถูกตำหนิ และบิดอะฮ์ที่ถูกสรรญเสริญ หรือแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็น 5 ประเภทโดยเอาไปวางอยู่บนหลักการของหุกุ่ม 5 และข้อควรทราบเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ก็คือ หากเราไปอ่านพบอุลามาอ์สะลัฟปและคอลัฟที่กล่าวถึงคำว่า "บิดอะฮ์" เฉยๆ คือกล่าวแบบมุฏลัก ( مطلق ) โดยไม่มีข้อแม้หรือคำที่มาจำกัดคุณลักษณะมาต่อท้าย นั่นก็ย่อมหมายถึง บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงหรือบิดอะฮ์หะรอมที่ถูกตำหนิที่ส่วนมากเขาใช้กัน แต่หากว่าเป็นบิดอะฮ์ที่กล่าวแบบมุก๊อยยัด ( مقيد ) คือมีคำที่มาจำกัดต่อท้าย ก็ย่อมไม่ใช่หมายถึงบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง เช่นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ บิดอะฮ์มุบาห์ บิดอะฮ์มักโระฮ์ เป็นต้น

การที่สะลัฟบางท่านกล่าวคำว่า"บิดอะฮ์" แบบ มุฏลัก นั้น ไม่ใช่หมายถึง ไม่มีการแบ่งบิดอะฮ์ แต่หมายถึง การเรียกแบบ มุฏลัก ไม่มีอะไรต่อท้ายนั้น ส่วนมากแล้วหมายถึง "บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง" ดังนั้น การกล่าวของสะลัฟในรูปแบบมุฏลัก ไม่ได้ชี้ถึงการแบ่งบิดอะฮ์ แต่มันชี้ถึง ความหมายในการเรียกคำว่า"บิดอะฮ์"เท่านั้น

ตัวอย่างจากคำกล่าวของสะลัฟ

เช่นคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ที่ว่า

اتبعوا ولا تبتدعوا فقد كفيتم

" พวกท่านจงเจริญตาม และพวกท่านอย่าอุตริบิดอะฮ์ขึ้นมา เพราะพวกท่านเพียงพอแล้ว" ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัลซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 88
ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า

ما أتى على الناس عام إلا أحدثوا فيه بدعة، وأماتوا فيه سنة حتى تحي البدع وتموت السنن

" ปีหนึ่งจะไม่ผ่านผู้คนไป นอกจากพวกเขาจะอุตริบิดอะฮ์หนึ่งขึ้นมา และพวกเขาก็ทำให้ตายกับหนึ่งซุนนะฮ์ จนกระทั้งบรรดาบิดอะฮ์นั้นฟื้นขึ้นมาและบรรดาซุนนะฮ์ได้ตายลงไป" ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัลซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 88

อิหม่ามมาลิก บุตร อะนัสกล่าวว่า

من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة فقد زعم أن محمدا صلى الله عليه وسلم خان الرسالة، لأن الله يقول: (اليَومَ أكْمَلْتُ لَكُم دِينَكُمْ) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم دينا

"ผู้ใดอุตริบิดอะฮหนึ่งขึ้นมาในอิสลาม โดยเห็นว่ามันดี แน่นอนเขาย่อมอ้างว่า แท้จริงมุหัมหมัด ศอลฯ นั้น ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นแห่งพระเจ้า เพราะว่าอัลลอฮทรงกล่าวว่า (วันนี้เราได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว) แล้ว สิ่งใดในวันนั้นไม่เป็นศาสนา ดังนั้นในปัจจุบันนี้ก็ไม่เป็นศาสนา" โปรดดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 149

ดังนั้น คำกล่าวของซอฮาบะฮ์เกี่ยวกับบิดอะฮ์นั้น ก็คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในความหมายแบบมุฏลัก (مطلق ) ที่อยู่ในความหมายประเภทบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงเท่านั้น

และเช่นเดียวกับคำกล่าวของอิมามมาลิก เพราะบิดอะฮ์ที่อิมามมาลิกกล่าวนั้น คือบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาจากศาสนา หากผู้ใดเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี เขาย่อมอ้างว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นของอัลเลาะฮ์ และบรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกีย์ ก็ไม่ได้เข้าใจว่า บิดอะฮ์ ที่อิมามมาลิกกล่าวไว้นั้น รวมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ที่มาจากบิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัต หรือบิดอะฮ์มุบาห์แต่อย่างใด ดังนั้นท่านผู้อ่านพึงพิจารณาให้ดีไว้ใน ณ ที่นี้ด้วย

ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าว วิจารณ์คำกล่าวท่านอุมัร(ร.ฏ.) ที่ว่า نعمت البدعة هذه ดังนี้

البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح

ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และในทางศาสนา ใช้เรียกแบบเฉยๆ( مطلق ) คือ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับอัสสุนนะฮ ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และ(คำกล่าว)ที่ประณีตแน่แฟ้นนั้น คือ แท้จริง บิดอะฮ์นั้น หากมันมีมา จากสิ่งที่อยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดี ในหลักศาสนา มันก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และหากว่ามันมีมา จากสิ่งที่อยู่ภายใต้สิ่งที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือ(บิดอะฮ์)ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(จากบิดอะฮ์ทั้งสอง) มันก็มาจาก ประเภทที่มุบาห์" ( ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253)


ท่านชัยค์ ด๊อกเตอร์ อลี ญุมอะฮ์ ได้กล่าวหลังจากอธิบายคำนิยามบิดอะฮ์ตามหลักภาษา แล้วก็กล่าวคำนิยามตามหลักศาสนาว่า

(คำนิยาม)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนา

ที่นั่นมี สองแนวทางของบรรดาอุลามาอ์ ในการให้คำนิยามของคำ"บิดอะฮ์ตามหลักศาสนา"
หนทางที่ 1. คือแนวทางของท่าน อิซซุดดีน บิน อับดุสลาม โดยที่ท่านได้พิจารณาว่า แท้จริงสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นบิดอะฮ์ และท่านได้แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นหุกุ่มต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า "(บิดอะฮ์คือ)การกระทำที่ไม่เป็นที่รู้กันในสมัยของท่านร่อซุลเลาะฮ์(ซ.ล.) คือมันแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์.....(โปรดอ่านเพิ่มตามจากคำนิยามของ อิบนุ อับดุสลามที่ได้นำเสนอมาแล้วข้างต้น)" (ดู ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ฟี มะซอลิหฺ อัลอะนาม เล่ม 2 หน้า 204)

ท่านอิมาม อันนะวะวีย์ ได้สนับสนุนกับความหมายดังกล่าวว่า "ทุกๆการกระทำที่ไม่เคยมีในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) เรียกว่าบิดอะฮ์ แต่ส่วนหนึ่งจากมันนั้น มีสิ่งที่ดี (หะสะนะฮ์) และส่วนหนึ่งจากมันก็มีสิ่งที่ยัดแย้งกับดังกล่าว" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 394)

หนทางที่ 2. คือทำความเข้าใจความหมายของบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา(ของแนวทางแรก)นั้น ให้เฉพาะเจาะจงเข้าไปอยู่ใน(บิดอะฮ์ตาม)หลักภาษา และทำ(การจำกัด)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนาให้อยู่ในความหมายที่ถูกตำหนิเท่านั้น คือ(อุลามาอ์ที่อยู่หนทางนี้)จะไม่เรียก บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัติ บิดอะฮ์มุบาหฺ และบิดอะฮ์มักโระฮ์ (ท่านอิบนุอับดุสลาม) ว่า "เป็นบิดอะฮ์" และส่วนหนึ่งจากผู้ที่อยู่ในแนวทางนี้ คือ ท่าน อิบนุร่อญับ (ร.ห.) และท่านอิบนุรอญับ ได้อธิบายความหมายดังกล่าวว่า " จุดมุ่งหมายด้วยกับบิดอะฮ์นั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่มาจากสิ่งที่ไม่มีรากฐานจากหลักศาสนาที่บ่งชี้บนมัน แต่สำหรับสิ่งที่มีรากฐานให้กับมัน จากหลักศาสนาที่บ่งชี้บนมันนั้น ก็ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ แต่หากว่า มันเป็นบิดอะฮ์ตามหลักภาษา" (ดู ญาเมี๊ยะอฺ อัลอุลูม วะ อัลหิกัม หน้า 223 )

และในความเป็นจริงแล้ว สองหนทางนี้ ได้มีความเห็นสอดคล้องกันใน แก่นแท้ของความเข้าใจจากคำว่า"บิดอะฮ์" (คือสอดคล้องในด้าน การกระทำใดที่ไม่มีรากฐานเดิมตามหลักศาสนา ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิตามทัศนะของอิบนุรอญับ และเป็นบิดอะฮ์หะรอมตามทัศนะของท่านอิซซุดดีนบินอับดุสลาม) แต่ความแตกต่างกัน อยู่ตรงที่ แนวทางการวินิจฉัยที่เข้าไปสู่ความเข้าใจที่ตรงกัน คือ แท้จริง บิดอะฮ์อันถูกตำหนิ ที่เป็นการกระทำจะได้รับบาปนั้น คือบิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานในศาสนาที่บ่งชี้บนมัน ซึ่งมันก็คือ จุดมุ่งหมายจากคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่ว่า "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" (ทั้งหมดนี้ อ้างอิงจาก หนังสือ อัลบะยาน หน้าที่ 204 - 205 ฟัตวาที่ 50)

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ในความเป็นจริงแล้ว คือซุนนะฮ์ และบนการอธิบายตามนัยนี้ ก็ถูกตีความ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น บิดอะฮ์" นั้น บนสิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ อัลบะยาน ลิมา ยัชฆ่อลุ อัลอัซฮาน หน้า 206 ฟัตวาที่ 50)

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตามทัศนะของท่าน อิบนุ ร่อญับ ก็คือบิดอะฮ์ตามหลักภาษาที่มีรากฐานที่มาจากหลักการของศาสนา เนื่องจากท่านอิบนุหาญิบได้จำกัดบิดอะฮ์ตามหลักศาสนาไว้เพียง บิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น คืออยู่ในรูปแบบสรุป(الإجمالى) และบิดอะฮ์ตามหลักภาษาที่มีรากฐานที่มาจากหลักการศาสนา ก็คือ ซุนนะฮ์ ตามทัศนะของอิบนุรอญับนั่นเอง

แต่ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนใหญ่ แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นสองประเภทตามที่ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวไว้ และบรรดาอุลามาอ์ก็ทำการเอา บิดอะฮ์สองประเภทของอิมามชาฟิอีย์นี้ มาวินิจฉัยโดยวางบนมาตรฐานของฮุกุ่ม 5 ก็จึงแบ่งออกเป็นแบบรายละเอียด (التفصيلى) เป็น 5 ประเภท ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนใหญ่ คือบิดอะฮ์ที่ไม่ขัดกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจมาอ์ และมีรากฐานจากหลักการของศาสนา ฉะนั้น หากบิดอะฮ์อยู่บนพื้นฐานของศาสนา หรืออยู่ภายใต้หลักการของศาสนาไม่ว่าจะมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบ ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ตามหลักศาสนา ซึ่งหากมันอยู่บนพื้นฐานที่หะรอมตามหลักศาสนา ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม(หลงผิด) หากมันอยู่บนพื้นฐานที่วายิบ หรือสุนัตตามหลักศาสนา ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ดี (แต่ท่านอิบนุร่อญิบบอกว่ามันเป็นซุนนะฮ์)

ดังนั้น ทั้งสองแนวทาง ถือว่า ดี ทั้งหมด โดยที่มีทัศนะตรงกันว่า "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีรากฐานจากหลักศาสนา ย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้ แม้การเรียกชื่อจะต่างกันก็ตาม"

ดังนั้น ในเรื่องการกล่าวหาบิดอะฮ์นั้น รายละเอียด เราได้สนทนาพูดกันมามากมายแล้วครับ และผลลัพธ์ที่ออกมานั้น มันชัดเจนแล้ว อัลหัมดุลิลลาห์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri May 12, 2006 1:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

มุรีด ทิมมะเสนกล่าวว่า "การทำเมาลิดไม่ใช่ซุนนะฮฺ หรือสุนัต"

วิจารณ์

การกล่าวโต้แย้งว่า"การทำเมาลิดไม่ใช่สุนัต" นั้น เพื่อที่จะบอกให้ผู้อ่านที่รู้เท่าไม่ถึงการว่า "ทำไปทำไม ไม่ได้ผลบุญอะไร" ซึ่งคำพูดอย่างนี้ ถือว่าพูดถูกต้อง แต่เป้าหมายของคำพูดนั้นผิด
การกระทำนั้น ย่อมอยู่ในหุกุ่ม 5 คือ วายิบ สุนัต หะรอม มักโระฮ์ และมุบาห์ ดังนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ใช่เป็นสิ่งที่วายิบและไม่ใช่เป็นสิ่งสุนัต แต่มันเป็นสิ่งที่ อนุญาติ ( جائز ) หรือ มุบาห์ ( مباح ) ซึ่งทัศนะของเราที่กล่าวว่าการทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.) "มุบาห์" (อนุญาติ) นั้น เพราะว่าไม่มีตัวบทมาบ่งชี้ถึงการห้ามทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.)

เป็นที่ทราบกันดีว่า การกระทำสิ่งที่ "มุบาห์" นั้น ผู้กระทำจะไม่ได้รับผลบุญและไม่ได้รับโทษ แต่การกระทำสิ่งที่มุบาห์นั้น หากว่ามันอยู่พร้อมกับการเจตนา(เหนียต)เพื่อการฏออัต เช่นในทำการเมาลิด มีการซิกรุลเลาะฮ์ การซ่อลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) การเล่าชีวประวัติของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) มีการซอดาเกาะฮ์(เช่นเลี้ยงอาหาร) นั่นก็ย่อมถือว่าเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ เป็นการสร้างความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์(ซ.ล.) ด้วยสาเหตุของการเหนียต ดังนั้น ผู้ที่ทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ก็จะได้รับผลบุญดังกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัย - อินชาอัลเลาะฮ์ -

มีหะดิษซอฮิหฺที่รายงานว่า ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า

وفى بضع أحدكم صدقة قالوا : يا رسول الله أيأتى أحدنا شهوته ويكون فيها أجر؟ قال : أرأيتم لو وضعها فى حرام ، أكان عليه وزر؟ فكدا إدا وضعها فى الحلال كان له أجر

"และเกี่ยวกับอวัยวะเพศคนใดจากพวกท่านนั้น เป็นศอดาเกาะฮ์ บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวว่า โอ้ รอซูลุลเลาะฮ์ คนหนึ่งคนใดจากพวกเราได้สนองอารมณ์ความใคร่ของเขา โดยที่ในการสนองอารมณ์ความใคร่มีผลบุญตอบแทนหรือ? ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า พวกท่านจงบอกซิว่า หากเขาได้เอามันไปวางในสิ่งที่หะรอม(เช่นซินา) มันย่อมเป็นบาปต่อเขาไหม? ดังนั้น เช่นเดียวกันนี้ เมื่อเขาได้เอามันไปวางไว้ในสิ่งที่หะลาล(เช่นที่ภรรยาของเขา) แน่นอน ผลบุญการตอบแทนก็มีให้แก่เขา" รายงานโดยมุสลิม

โปรดพิจารณาครับท่านผู้อ่านที่เคารพ ขนาดอารมณ์ความใคร่ที่นำไปใช้อย่างถูกต้องยังได้รับผลบุญ แล้วการทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.) ด้วยอารมณ์แห่งความรักที่มีต่อท่านนั้น มันจะได้รับโทษไฟนรก เพราะถูกกล่าวหาว่าทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงหรืออย่างไร???

ดังนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.)นั้น เราไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่คืนเมาลิดและเอี๊ยะติก๊อตว่ามันเป็นคืนที่เฉพาะเจาะจงในการในการทำเมาลิด เนื่องจากว่ามันเป็นอุตริกรรมในศาสนา เนื่องจากการรำลึกถึงท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.)นั้น ต้องทำกันทุกวันทุกเวลา ฉะนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) จึงทำได้ทุกวัน เนื่องจากเมาลิดนบี(ซ.ล.) ก็คือการอ่านเล่าประวัติศาสตร์ของท่านนบี(ซ.ล.) การซ่อลาวาตให้มากๆ โดยไม่ได้เจาะจงในวันใดวันหนึ่ง แต่ว่า การกระทำในเดือนที่ท่านนบีประสูตนั้น มันเป็นแรงผลักดันที่มีน้ำหนักกว่า ที่จะทำให้บรรดามุสลิมมารวมตัวกัน เพื่อแสงความรักต่อท่านร่อซูลลุลเลาะฮ์ ซอลาวาต รับฟังประวัติศาสตร์ของท่านนบี(ซ.ล.) เพื่อให้เขามีความผูกพันธ์ถึงเหตุการณ์ในอดีตอันน่าประทับใจโดยสร้างความรักอันลุกโชติช่วงอยู่ในหัวใจของเราจากบรรดาประวัติของท่านนบี(ซ.ล.)


ดังนั้น ผู้ที่กล่าวหาว่า พวกเราเชื่อว่าการทำเมาลิดเป็นสุนัตินั้น ถือว่าเป็นคำกล่าวของคนไม่เข้าใจศาสนาครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Fri May 12, 2006 2:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทราบว่า al-farook เป็นนักศึกาาปริญญาโทในอียิปต์ แต่ไม่รู้ว่าที่ท่านศึกษานั้นเกี่ยวกับเรื่องศาสนาโดยตรงหรือเปล่า เพราะติดตามการเสนอมาก็หลายกระทู้ ยังไม่เห็นความพยายามในการฟื้นฟูซุนนะฮฺของท่านนาบีเลย แต่กลับพยายามอย่างยิ่งยวดในการฟื้นฟูและป้องสิ่งที่ไม่มีในคำสอนหลายเรื่อง เหมือนกำลังเป็นทนายแก้ต่างให้พิธีกรรมที่กลุ่ม บดอ ชอบทำกลายเป็นความชอบธรรม พร้อมกับโจมตีผู้ดำเนินตามแนวซุนนะฮฺด้วยการให้ข้อหาวะฮาบีย์

สิ่งที่ผมเห็นอาจคาดเคลื่อน แต่ที่ปรากฏเป็นเช่นนี้แล

ผมยังไม่เห็นว่าท่านแสดงบทบาทของผู้ได้รับมรดกทางความรู้จากท่านนาบีเลย ทำไมท่านไม่ออกมาปกป้องซุนนะฮ์ของท่านนาบีเล่า ทั้งที่ท่านก็ยอมรับว่า เมาลิดไม่ใช่ซุนนะฮ์ และไม่มีแบบอย่างมาจากคนยุคแรก

หัวข้อกระทู้ที่ตั้งไว้ ฟังดูก็สวยหรูว่า เมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) (สนทนาเชิงวิชาการ) แต่เอาเข้าจริงก็เข้ารอยเดิมคือ ฟื้นฟูและปกป้องสิ่งที่ไม่ในคำสอน และโจมตีผู้ดำเนินตามแนวซุนนะฮฺ เช่นท่าน อ.มุรีด ทิมะเสน เป็นต้น ผมว่าท่าน webmaster ควรพิจารณาสักหน่อย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Fri May 12, 2006 2:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หัวข้อว่า เมาลิดรำลึกท่านนบี (ซล) และวงเล็บท้ายประโยคว่า สนทนาเชิงวิชาการ ผมว่ามันทะแม่งซะแล้วครับท่าน เพราะเปิดฉากมา al-farook ก็สาดแข้งถล่มผู้ไม่ทำเมาลิดว่า

ถ้าหากความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ คือการน้องตามเพียงอย่างเดียว ตามที่บางคนเคยเข้าใจแล้ว แน่นอน พวกมุนาฟิกีนก็ย่อมเป็นผู้ที่รักอัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ด้วย พวกมุนาฟิกกีนในสมัยร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)นั้นก็เจริญรอยตามเหมือนกับบรรดาซอฮาบะฮฺท่านอื่น ๆ ซึ่งพยายามปกปิดความมุนาฟิกของพวกเขา ด้วยการเจริญรอยตาม

สะอึกไหมละพี่น้อง วันนี้การเจริญรอยตามอย่างเดียวไม่พองั้นรึ เดี๋ยวจะไปเหมือนมุนาฟีกีน ต้องให้ต่างจากมุนาฟีกีนด้วยการทำเมาลิดหรือ นี่เอาวิชาการอะไรมาละ al-farook เอ๋ย ถึงพูดได้เพียงนี้ ถ้าเช่นนั้นแล้วคนในยุคต้นๆ และผู้เจริญรอยตามทั้งหมด คงหนีไม่พ้นข้อหา มุนาฟีกีน โดยเฉพาะท่านอิหม่ามชาฟีอี ที่ท่านก็รักนาบี แต่ท่านก็ไม่ได้ทำเมาลิด แล้วพวกท่านยังจะกล่าวหน้าชื่นตาบานอีกหรือว่า ฉันตามอิหม่ามชาฟีอี

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri May 12, 2006 3:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อะดีลครับ ทำไมคุณชอบยกคำอ้างอิงจากผมเพียงบางส่วนล่ะครับ เก่งจริงก็ยกมาให้หมดซิ เท่าที่ผมสังเกต คุณจะยกอ้างอิงคำพูดของผมเป็นท่อนๆเท่าที่คุณจะเอาเท่านั้น แล้วก็มาเข้าใจเอง แล้วก็มาตีโพยตีพายแบบไร้สติ นั่งคือตัวคุณ สิ่งที่ผมนำเสนอนั้น ที่สมบูรณ์มีดังนี้

ความรักต่อร่อซูลุลเลาะฮฺ (ซ.ล.) นั้น ก็เสมือนความรักต่ออัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ที่มันโชติช่วงอยู่ในห้วงหัวใจของเขา แล้วความรักนั้น ก็จะผลักดันให้เขาปฏิบัติและดำเนินตาม โดยที่ความจริงนั้น ความรักไม่ใช่เป็นการเจริญรอยตาม เสมือนกับที่บางคนเข้าใจ แต่ความรักที่โชติช่วงอยู่ในหัวใจนั้น เป็นแรงผลักดันให้เขาเจริญรอยตาม ตามอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) และเจริญรอยตามร่อซูลของพระองค์ (ซ.ล.) ซึ่งถ้าหากความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ คือการน้องตามเพียงอย่างเดียว ตามที่บางคนเคยเข้าใจแล้ว แน่นอน พวกมุนาฟิกีนก็ย่อมเป็นผู้ที่รักอัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ด้วย พวกมุนาฟิกกีนในสมัยร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)นั้นก็เจริญรอยตามเหมือนกับบรรดาซอฮาบะฮฺท่านอื่น ๆ ซึ่งพยายามปกปิดความมุนาฟิกของพวกเขา ด้วยการเจริญรอยตาม คือพวกเขาถือศีลอดพร้อมกับบรรดาผู้ถือศีลอด ละหมาดพร้อมกับบรรดาผู้ทำละหมาด และออกซะกาตพร้อมกับบรรดาผู้ออกซะกาต ยิ่งกว่านั้น บางครั้งพวกเขายังออกรบพร้อมกับนักรบทั้งหลาย ดังนั้น หากความรักคือการตามแล้วล่ะก็ พวกมุนาฟิกีนย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่รักอัลเลาะฮฺและรักร่อซูลุลเลาะฮฺด้วยเช่นกัน โดยที่สติปัญญาย่อมไม่เชื่อสิ่งดังกล่าวนี้


อะดีลครับ ปัจจุบันอาจมีมุนาฟิกมากมายที่อ้างตนว่าตามซุนนะฮ์และบางทีก็อ้างตามอะฮ์ลิลบัยค์ อุปนิสัยของมุนาฟิกนั้น มักจะอ้างตนว่าตามซุนนะฮ์เพื่อโปรโมทโฆษานาแนวทางของตนเองก็เป็นได้นะครับ แต่เอ...อะดีลนี้มันชอบอ้างหรือเปล่าหว่า..??? น่าคิด??

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Fri May 12, 2006 3:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

al-farook กล่าวว่า

แล้วอะไรคือความแตกต่างระหว่างเราและบรรดาซอฮาบะฮฺ (ร.ฏ.) ? ซึ่งเป็นความแตกต่างอันเป็นปัญหาที่มาครอบงำเราและต้องทนทุกข์กันในปัจจุบันนี้ ท่านทั้งหลายพึงทราบเถิด ความแตกต่างอันเดียวนั้นก็คือ บรรดาหัวใจของบรรดาซอฮาบะฮฺของร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)นั้น เต็มเปรี่ยมไปด้วยความรักต่ออัลเลาะฮฺและร่อซูลของพระองค์ แต่หัวใจของพวกเรา ส่วนมากจะเต็มเปรี่ยมไปด้วยความรักที่มีต่อ ดุนยา ความปารถนาและสิ่งเพลิดเพลินของมัน

ใช่ครับ...หัวใจของซอฮาบะฮฺเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักที่มีต่อท่านร่อซูล ถึงขนาดตายแทนได้เลย

แต่ถ้าเราจะรักท่านรอซูลก็ควรเอาเยี่ยงอย่างซอฮาบะฮ์ไม่ใช่หรือ แต่ทำไมเราถึงไปเอาเยี่ยงอย่างของคนอื่นมาแสดงความรักด้วยเล่า หรือว่าสุดยอดในของความรักต้องแบบอย่างที่เราทำ ไม่ใช่แบบอย่างของซอฮาบะฮฺใช่ไหม

อัลลอฮ์ ตะอาลากล่าวว่า

บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญีรีนจากมักกะฮฺ) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศ้อรมะดีนะฮฺ) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้นอัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย (9/11 ความหมายโดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ)



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Fri May 12, 2006 3:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณ al-farook

คุณยกหลักฐานของผู้ที่แสดงความรักได้ยอดเยี่ยมยิ่งกว่าซอฮาบะฮ์ให้ผมดูซิครับ คุณกำลังอยู่ที่นี่ นี่น่า ผมจะรอดู

หลักฐานนะครับ
.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri May 12, 2006 3:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากอะดีล

สะอึกไหมละพี่น้อง วันนี้การเจริญรอยตามอย่างเดียวไม่พองั้นรึ เดี๋ยวจะไปเหมือนมุนาฟีกีน ต้องให้ต่างจากมุนาฟีกีนด้วยการทำเมาลิดหรือ นี่เอาวิชาการอะไรมาละ al-farook เอ๋ย ถึงพูดได้เพียงนี้ ถ้าเช่นนั้นแล้วคนในยุคต้นๆ และผู้เจริญรอยตามทั้งหมด คงหนีไม่พ้นข้อหา มุนาฟีกีน

วิจารณ์

ก็ความเข้าใจแบบคุณจะเอาอย่างนี้นี่แหละ ที่อาจจะทำให้ความมุนาฟิกของคุณมีอยู่ก็เป็นได้นะครับ นักปราชญ์อุซูลแห่งโลกอิสลามกล่าวหลักการหนึ่งไว้ว่า الوسائل لها حكم المقاصد "บรรดาสื่อนั้น ให้กับมันแล้ว คือหุกุ่มจากบรรดาเป้าหมายเจตนา" คือ สื่อในการกระทำของมสลิมนั้น หุกุ่มของมันคือบรรดาเจตนาความตั้งใจ ทำการเมาลิดเป็นสิ่งที่อนุญาติ(ยาอิซ) แต่การเล่าประวัติศาสตร์ของท่านนบี(ซ.ล.) การซ่อลาวาต การซิกรุลเลาะฮ์ การเลี้ยงอาหารเป็นทานซอดาเกาะฮ์ ก็เป็นสื่อหนึ่งที่ทำให้เราเพิ่มตอกย้ำในการรักท่านนบี(ซ.ล.) ดังนั้น "การทำเมาลิดเป็นสื่อหนึ่งที่ทำให้เรารักนบี(ซ.ล.) ไม่ใช่การไม่ทำเมาลิดนบี(ซ.ล.)เป็นการไม่รักท่านนบี(ซ.ล.)" เข้าใจเปล่าอะดีล??

การทำเมาลิดนบีไม่ใช่เป็นการแบ่งแยกความเป็นมุนาฟิกหรือไม่ใช่มุนาฟิก (เข้าใจหน่อยต่ะอะดีล) แต่ความรักต่อท่านนบี(ซ.ล.)ต่างหากล่ะ ที่แบ่งแยกความเป็นมุนาฟิกและมุอฺมิน ดังนั้น ผู้เจริญรอยตามต้นๆนั้น พวกเขาไม่ใช่เจริญรอยตามอย่างเดียว แต่พวกเขามีความรักอย่างยิ่งต่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ซึ่งเป็นไปไม่ได้หรอกที่พวกเขาจะทำละหมาด ซะกาต ถือศีลอด ฯลฯ โดยที่จิตใจของเขาว่างเปล่าจากความรักอันลึกซึ้งต่อท่านนบี(ซ.ล.)

ดังนั้น คนในปัจจุบันชอบอ้างตนว่าตามซุนนะฮ์นบี(ซ.ล.)นั้น พวกเรายังไม่ปักใจเชื่อหรอก เพราะเพียงลมปากที่อ้างออกมานั้น มุนาฟิกมันก็พูดได้ แบบนี้อะดีลถนัดหรือเปล่าเนี่ย ? !

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 15, 16, 17  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 17

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.16 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ