ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 3)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 3)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Fri Mar 24, 2006 11:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam คุณซุกกรี
ที่คุณพูดว่า....ผมขอ ยอมรับน้ำใจ คุณอยากรู้ และคุณมูอำมัดมากครับ ที่ไม่ได้ตอบโด้อะไรรุนแรง แม้ว่าอาจารย์หะสันจะด่าว่า คำหยาบเหยียดหยามหรือเปรียบเทียบ กับสัตว์เดรัจฉานสักเพียงใด คุณก็ซอบัซร์ได้และให้อภัยเสมอ
อัลหัมดูลิ้ลลาห์...คุณชุกกรี คือ..ผมนั้นก็ต้องใช้ความอททนสูงมากครับและอายุก็เกือบ36 ปีแล้ว
คุณคงอายุช่วงวัยรุน อยู่เลย ขี้โมโห เรื่องยังนี้มัรนต้องฝึกครับ ดูอจ.อัลฟารุก น้องอัลอัชฮารีย์ ซิครับ อายุยังไม่ถึง 30 ปี แต่น้อยมากครับที่แสดงอาการ โมโห และพาลเดือดดาล อย่าพูดถึงเรื่องนั้นอีกเลยครับ คุณชุกกรี คงสบายนะครับ ผมไม่บังคับจิตใจคุณนะครับและถ้าคุณทำใจได้วันไหนก็เชิญมาร่วมเสวนาเหมือนเดิม พวกเรารออยู่ครับ....


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บังฮะซันกล่าวว่า
นี้แหละครับคือ ปัญหา เพราะแทนที่จะเอาหลักฐานจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ คุณกลับอ้างตัวบุคคลมาเป็นข้ออ้าง ถ้าอย่างนั้น อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮมันจะมีความหมายอะไร การกล่าวอุศอ็ลลีนั้น ท่านเอาหลักฐานมาจากใหน ถ้าไม่มีหลักฐาน แล้วเราคิดว่า ความเห็นคือ ศาสนาทั้งหมดอย่างนั้นหรือ ดังนั้น ที่คุณตามท่านอิหม่ามนะวาวีย์ คุณตามหลักฐาน หรือ ตามอิหม่ามนะวาวีย์ ผมก็ตามอิหม่ามนะวาวีย์ หากท่านอ้างอิงหลักฐาน แต่ถ้าไม่มี ต่อให้มีความรู้มากกว่าท่านผมไม่จำเป็นต้องตามท่าน และ ไม่คิดว่า ความคิดเห็นของท่านนั้น คือ ศาสนาที่วาญิบต้องตาม การอิจญติฮาดย่อมมีผิด มีถูก เราไม่ถือว่าท่านมีความผิด แต่..คนที่ตามโดยยึดตัวบุคคล โดยไม่คำนึงว่า ศาสนามีบัญญัติไว้หรือไม่ย่อมผิดแน่นอน

ตอบ...เอายังงั้นหรือครับบังฮะซัน...

สงสัย.ต้องมีคาถามเพิ่มขึ้นอีกแล้ว....และคงต้องกลับไปตั้งเงื่อนไขอย่างเดิมอีกแล้วกระมัง...

------ผมอยากถามบังฮะซันว่า ...

1.ในแนวทางของบังตกลงว่า..จะยอมรับแบบอย่างการกระทำต่างๆ..จากชนสลัฟหรือไม่

2.ในแนวทางของบังนั้น จะยึดถือคำวินิจฉัยตัวบท หรือให้ความหมายฯลฯจากชนสลัฟหรือบรรดาอุลามะหรือไม่

3.ในแนวทางของบังจะยอมรับการกิยาสหรือการอนุมานจากตัวบทอัลกรุอ่านหรืออัลฮาดิสหรือไม่

4.ในแนวทางของบังจะยอมรับการิกยาสเหล่านั้นที่มาจากบรรดาอีหม่ามและลูกศิษย์ของทั้ง 4 หรือไม่

5.ในแนวทางของบังมีอะไร..เป็นมาตรฐานในการตั้งเงื่อนไข....

ที่ถามมานี้ เพียงต้องการให้การเสวนาดำเนินไปตรงเป้าหมายเท่านั้นครับ...และบางเวลาการนำเสนอยังไม่ทันจบแต่กลับโดนประท้วงหรือเบรคเสียก่อนจากฝ่ายต่างทัศนะ โดยที่ยังไม่ได้ฟังรายละเอียดเสียก่อน....ไม่งั้นคงจะพูดกันไม่รู้เรื่อง...อีกตามเคย...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Mar 24, 2006 3:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณ konyakroo ครับ ผมไม่มีเวลามาเล่นสำนวนอีกแล้วนะครับ ผมพูดถึง คำว่า"การกล่าวอุศอ็ลลีอยู่ คุณ บอกว่า เป็นสุนัต คุณก็เอาหลักฐานจาก อัลกุรอ่าน อัสสุนนะฮ หรือ การกระทำของเคาะลิฟะฮทั้งสี่มายืนยัน หากมี ก็จบ หากไม่มี คุณอ้างเหตุผมมาจากใหน อ้างเพราะมาจากอิหม่ามนะวาวีย์ ที่มีความรู้อย่างนั้นหรือ คือ หมายความว่า ถ้ามีความรู้ระดับอิหม่ามนะวาวี สิ่งที่ออกมาจากปากท่านก็เป็นศาสนาหมดใช่ใหม คุณก็อธิบายมาแค่นี้แหละ เอาเป็นเรื่องๆไป ไม่ต้องใช้หลักอุศูลุ้ลฟิกอีกต่อไป มันเสียเวลามาเยอะแล้ว แต่..ถ้าไม่ยินดีจะคุยกับผมแบบนี้ ผมก็จะไม่เข้ามายุ่งให้เสียเวลา
ขอย้ำอีกครั้ง การกล่าวคำเนียต เช่น อุศอ็ลลี นั้นมีแบบอย่างจากท่านนบีและเหล่าเศาะหาบะฮหรือไม่ ถ้าคุณบอกว่า ไม่มี ก็จบ คนอ่านก็จะเป็นตุลาการเอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Mar 24, 2006 5:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

al-farook กล่าวว่า
บังฮะซัน
มาแล้วหรือครับอย่าเพิ่งบ่นหรือเบื่อไปเลยครับ
กลับมาคุยกับเรื่องเดิมทีบังยังไม่เข้าใจกันดีกว่าครับ
..........
ตอบ
ถ้าจะสนทนา โดยมารยาท แล้วไม่ควรจะกล่าวดูถูก คู่สนทนา ควรจะคุยกันด้วยหลักฐาน และหลักฐานไม่ใช่ความคิดเห็นอย่างเดียว


วิจารณ์

ความจริงบังคนอยากรู้กล่าวคำนั้นนะครับ ไม่ใช่ผม แต่ผมก็ยินดีครับ หากคำพูดของ บังคนอยากรู้ เสมือนกับคำพูดของผมด้วย ในทัศนะของบังอะสัน ดังนั้น ผมขอไปละหมาดญุมอะฮ์ก่อน แล้วจะเข้ามานะครับ อินชาอัลเลาะฮ์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Mar 24, 2006 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

แต่ถ้าไม่มี ต่อให้มีความรู้มากกว่าท่านผมไม่จำเป็นต้องตามท่าน และ ไม่คิดว่า ความคิดเห็นของท่านนั้น คือ ศาสนาที่วาญิบต้องตาม

วิจารณ์

บังอะสันครับ สิ่งที่เราจะนำเสนอนี้ เราไม่ได้มีเจตนาให้บังอะสันต้องมาตามพวกเขาเลยแม้แต่น้อย และการอ้างหลักฐานของเรา ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างอิง ตามหลักอุศูล ที่เป็นการเฉพาะของแนวทางพี่น้องวะฮาบีย์ หรือ ตามเงื่อนไขที่บังอะสันได้กำหนดให้แก่พวกเรา แต่การนำเสนอต่อไปนี้ เพียงเพื่อให้บังอะสันทราบเท่านั้นเองว่า เรามีหลักการเช่นนี้ โดยที่ผมไม่ปราถนาให้บังอะสันตามทัศนะของเรา และบังอะสันสมควรตระหนักให้เสมอว่า การสนทนากับเรานี้ ไม่ใช่เราทำการสนทนาอ้างหลักฐาน เพื่อให้บังอะสันหรือพี่น้องวะฮาบีย์ต้องมาตามทัศนะของมัซฮับทั้งสี่ แต่เราต้องการนำเสนอหลักการของเรา การอ้างหลักฐานของเราที่อยู่ในหลักการของศาสนา (ไม่ใช่ต้องอยู่ในการหลักของแนวทางวะฮาบีย์) เพื่อให้บังอะสันและพี่น้องวะฮาบีย์ทราบถึงเจตนารมณ์แนวทางของเราเท่านั้นเอง

และการสนทนาของเรานั้น มันไม่ใช่เป็นประเด็นเรื่องวายิบ ต้องกระทำ ดังนั้น เมื่อบังอะสันทำการสนทนาโต้ตอบ บังอะสันสมควรที่จะทำการโต้ตอบโดยเชื่อว่า "เราถือว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่วายิบ" ดังนั้น บังอะสันจะมาพูดว่า เราต้องเชื่อ ต้องตาม ความเห็นของอิมาม อันนะวาวีย์ นั้น ไม่ได้ เพราะบางทีมันเป็นเรื่องสุนัติที่ไม่จำเป็นต้องตาม ดังนั้นเราจึงไม่เคยเรียกร้องให้บังอะสันต้องมาตามการวินิจฉัยของอุลามาอ์ ซึ่งเหมือนกับที่เราเอง ก็ไม่จำเป็นต้องไปการวินิจฉัย ของท่าน อิบนุก๊อยยิม ที่กล่าวว่ามันเป็นบิดอะฮ์ ซึ่งนั่นคือทัศนะของท่านอิบนุก๊อยยิม บังอะสันจะเลือกตามก็ไม่เป็นไรครับ แต่ผมจะเลือกตามทัศนะของอิมามอันนะวาวีย์ และบรรดาอุลามาอ์มัซฮับทั้งสี่ ก็ไม่เป็นโทษแต่ประการใด ? ตราบใดที่ ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้บอกระบุเอาไว้ว่า "การกล่าวคำเหนียตนั้น เป็นบิดอะฮ์" ก็ไม่มีอุลามาอ์ท่านใดที่ถืออภิสิทธิ์มาบอกว่า "การกล่าวคำเหนียตนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทรงห้าม" แต่หากมีอุลามาอ์ท่านหนึ่งเขากล่าวว่าเพราะท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำ นั่นก็ย่อมเป็นเรื่องการวินิจฉัยของอุลามาอ์เท่านั้นเอง โดยอ้างหลักฐานว่าท่านนบี(ซ.ล.)เคยทำ (แต่ก็เคยห้ามด้วย) ดังนั้น ผู้ใดกล่าวว่า "ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ห้ามการกล่าวคำเหนียต " แน่นอนว่า เขาย่อมโกหกใส่ท่านนบี(ซ.ล.)

ดังนั้น การอนุญาติให้ทำการกล่าวคำเหนียตได้ หรือว่าไม่อนุญาติให้กล่าวคำเหนียตเพราะเป็นบิดอะฮ์นั้น ทั้งหมด เป็นเรื่องการวินิจฉัยเท่านั้น ซึ่งเราทั้งหลายสามารถเลือกตามได้ตามสะดวกครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Mar 24, 2006 8:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

[color=blue]ท่านอิบนุกอ็ยยิม กล่าวว่า[/color]
"ปรากฏว่า ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านจะละหมาด ท่านกล่าวว่า"อัลลอฮุอักบัร" โดยไม่ได้กล่าวสิ่งใดก่อนหน้านั้น และไม่ได้กล่าวคำเนียตแต่อย่างใด ไม่ได้กล่าวคำว่า"อุศอ็ลลีลิลละอ อย่างนั้น อย่างนี้ มุสตักบิลัลกิบลัต อัรบะอะเราะกะอาต อิมามัน หรือ มะมูมัน และท่านไม่ได้กล่าวคำว่า "อะดาอัน" ไม่ได้กล่าวคำว่า"เกาะฏออ" และไม่ได้กล่าวคำว่า"ฟัรดุลวักติ" และนี้คือ บิดอะฮสิบประการ ที่ไม่มีคนใดรายงานจากท่านบี เลย จะด้วยสายสืบที่เศาะเฮียะก็ไม่มี หะดิษเฏาะอีฟก็ไม่มี หะดิษมุสนัดก็ไม่มี หะดิษมุรสัลก็ไม่มี แม้สักประโยคเดียวก็ไม่มี ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีรายงานจากคนหนึ่งคนใดจากเหล่าเศาะหาบะฮ ไม่คนใดจากบรรดาตาบิอีน เห็นดีและ ไม่มีอิหม่ามคนใดจากอิหม่ามทั้งสี่ (เห็นว่าดี) - ซาดุลมะอาด เล่ม 1 หน้า 201
...........
ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้หมายความว่า ตะอัศศุบกับอิบนุกอ็ยยิม แต่ ..เมื่อไม่มีบัญญัติไว้ มันจะเป็นสุนัต ได้อย่างไร เราต้องการเดินตามแนวทางสลัฟมิใช่หรือ...........

วิจารณ์

ตอนนี้ ปัญหาของเราในการสนทนากับบังอะสันนั้น ก็คือ เราไม่ทราบได้แน่นอนว่า หลักการในการอ้างหลักฐานของบังอะสันเป็นอย่างไรกันแน่ เพราะบางครั้งบังอะสันบอกว่า เอาอัลกุรอานและซุนนะฮ์ บางครั้ง ก็บอก เพิ่มมาว่า เอาค่อลิฟะฮ์ทั้งสี่ด้วย บางครั้งก็บอกเพิ่มมาอีกว่า เอาบรรดาซอฮาบะฮ์ บางครั้งทีบอกว่า เอาตามแนวทางของสะลัฟ แต่ในขณะเดียวกัน บังอะสันก็เอาความเห็นจากอุลามาอ์ยุคหลังจากสะลัฟ เช่น ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ท่านอิบนุก๊อยยิม ท่านบินบาซฺ ท่านอุษัยมีน ท่านซอลิหฺ อัลเฟาซาน ที่มาจากบรรดาอุลามาอ์วะฮาบีย์ทั้งหลาย จนกระทั้งบางครั้ง บังอะสันยึดคำพูดของอุลามาอ์ปัจจุบัน โดยกล่าวกับเราว่า การคิดว่าอุลามาอ์ยุคก่อนเก่งกว่า อุลามาอ์ยุคปัจจุบันนั้น เป็นความคิดที่โบราณ !!! แต่ในบางประเด็น บังอะสันพยายามคาดคั้นให้เรายึดแนวทางของอุลามาอ์ยุคก่อน!!

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงลำบากใจ ในการสนทนากับอะสัน ที่มีหลักการไม่แน่นอนครับ

อย่างเช่นบังอะสันกล่าวว่า " ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้หมายความว่า ตะอัศศุบกับอิบนุกอ็ยยิม แต่ ..เมื่อไม่มีบัญญัติไว้ มันจะเป็นสุนัต ได้อย่างไร เราต้องการเดินตามแนวทางสลัฟมิใช่หรือ..." เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมอยากจะถามบังอะสันว่า นี่คือหลักการจริงๆ ของบังอะสันหรือเปล่า? โดยที่ท่านอิบนุก๊อยยิม ก็ได้เคยกล่าวไว้ในเรื่อง การอ่านตัลกีน ว่า

" หะดิษนี้ (คือหะดิษของท่านอบูอุมามะฮ์) หากแม้ว่า ไม่ได้รับการยืนยัน (ว่าซอฮิหฺ) แต่การอ่านตัลกีนนั้น ได้มีการปฏิบัติต่อเนื่องกันมา ในทุกยุค ทุกสมัย โดยที่ไม่มีการตำหนิ ซึ่งถือว่า เป็นการเพียงพอด้วยการปฏิบัติด้วยมันแล้ว " (ดู หนังสือ อัร-รั๊วะหฺ ของท่าน อิบนุก๊อยยิม หน้า 39 )

จากคำกล่าวของท่านอิบนุก๊อยยิมนี้ ผมไม่ทราบว่า บังอะสันจะใช้หลักการและมาตรฐานใดของบังอะสัน มาหลีกเลี่ยงในสิ่งที่ตนเองไม่เห็นด้วย ทั้งที่มันก็เป็นการกระทำของสะลัฟมิใช่หรือ..." (เรื่องตัลกีนนี้ ผมจะมานำเสนอภายหลังครับ อินชาอัลเลาะฮ์)

ดังนั้น ผมอยากถามบังอะสันในมาตรฐานการตามสะลัฟสักนิดว่า การที่เราตามรูปแบบการวินิจฉัยจของสะละฟุศศอลิหฺนั้น ถือว่าเป็นการตามสะลัฟหรือไม่ ?? บังอะสันก็น่าจะให้เกียตริโดยการตอบพวกเราบ้าง ไม่ใช่ทำตนให้คลุมเคลือในหลักการ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Mar 24, 2006 9:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[align=center]การกล่าวคำเหนียต


การกล่าวอุซ๊อลลีย์ เป็นการเรียกของคนเมืองไทยบ้านเรา แต่ภาษาอาหรับเขาเรียกว่า التلفظ بالنية (การกล่าวคำเหนียต) ดังนั้น ผมจะไม่ขอเรียกว่า การกล่าวอุซ๊อลลีย์ แต่ผมจะใช้คำว่า "การกล่าวคำเหนียต" ซึ่งเป็นการใช้ศัพท์ตามหลักวิชาการฟิกห์ และผมอยากทำความเข้าใจว่า การกล่าวคำเหนียตนี้ ไม่ใช่เป็นการกระทำที่อยู่ในละหมาด แต่เป็นการกระทำที่อยู่นอกละหมาด หรือก่อนจะเริ่มเข้ากระทำละหมาดด้วยการตักบีร และมีพี่น้องวะฮาบีย์บางคนกล่าวว่า "การกล่าวคำเหนียตในละหมาดนั้น เป็นบิดอะฮ์" ซึ่งหากใช้คำว่า ในละหมาด นั้น ผมเองก็ขอบอกว่า มันบิดอะฮ์ และทำให้เสียละหมาด อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ประเด็นที่เราพูดนี้ คือการกล่าวคำเหนียตก่อนจากละหมาดครับ

การกล่าวคำเหนียต ก่อนจากละหมาด หรือก่อนจากตักบีร่อตุลเอี๊ยะหฺรอม ถือว่าเป็นสุนัต ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ว่า

إنما الأعمال بالنيات

"แท้จริง บรรดาการปฏิบัตินั้น ด้วยการเหนียต"


จากหะดิษนี้ ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กล่าวว่า พวกท่านจงกล่าวคำเหนียตให้ดัง และเช่นเดียวกัน ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้กล่าวว่า พวกท่านจงเหนียตค่อยๆในใจ ดังนั้น ผู้ใดที่ทำการเหนียตในใจของเขาในขณะที่ทำการตักบีร่อตุลเอี๊ยะหฺรอม โดยไม่ได้กล่าวคำเหนียตของเขาออกมานั้น แน่นอนว่า การละหมาดของเขาย่อมใช้ได้ และผู้ใดที่ทำการกล่าวคำเหนียตก่อนจากการตักบีรเล็กน้อยนั้น แน่นอนว่า การละหมาดของเขาย่อมใช้ได้เช่นเดียวกัน

ซึ่งแตกต่างกับมัซฮับของวะฮาบีย์ ที่กล่าวว่า การกล่าวคำเหนียตนี้ เป็นสิ่งที่หะรอม เป็นบิดอะฮ์ที่น่าตำหนิและลุ่มหลง ทำแล้วตกนรก โดยพวกเขาอ้างว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำ หรือ ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการกระทำดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็นการอ้างหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากการที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กระทำ หรือทิ้งการกระทำนั้น ย่อมไม่ชี้ถึงหะรอม ต้องห้าม เนื่องจากสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งและเป็นสิ่งที่ต้องห้ามนั้น คือต้องมีหลักฐานที่มาระบุห้ามเป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งเราก็ได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้แล้ว ในภาคที่ 2 อัลหัมดุลิลลาห์

ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตจะเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงไปได้อย่างไร? ในเมื่อมีหลักฐานยืนยันว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการกล่าวคำเหนียตในบางส่วนของอิบาดะฮ์ต่างๆ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวคำเหนียตโดยให้บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ยิน ในขณะทำเอี๊ยะหฺรอมฮัจญฺว่า

لبيك بعمرة وحج

"ข้าพเจ้าได้สนองต่อพระองค์ ด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" (ดู ซ่อฮิหฺ มุสลิม เล่ม 2 หน้า 915 หะดิษที่ 215)


และวันหนึ่ง ท่านนบี(ซ.ล.) ได้เข้าไปหาท่านหญิงอาอิชะฮ์(ร.ฏ.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวโดยต้องการรับประทานอาหารว่า " ณ ที่พวกเธอนั้น มีสิ่งใด(ที่จะรับประทาน)บ้างใหม? ท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าว" ไม่มี" ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า

فإنى إذن صائم

"แท้จริง งั้น ฉันก็ทำการถือศีลอด" (ดู ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 2 หน้า 809 หะดิษที่ 170)


ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ (ร.ฏ.) (ผู้ที่พี่น้องวะฮาบีย์ เบื่อหน่ายในทัศนะของท่าน) กล่าวว่า " ในหะดิษนี้ เป็นหลักฐาน ให้กับมัซฮับของนักปราชญ์ส่วนมาก ที่ว่า การถือศีลอดสุนัตนั้น อนุญาติให้ทำการเหนียตตอนกลางวัน ก่อนจากดวงอาทิตย์คล้อยได้ " ( ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺ มุสลิม เล่ม 8 หน้า 35)
เราขอกล่าวว่า การกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า

فإنى إذن صائم
"แท้จริง งั้น ฉันก็ทำการถือศีลอด"


ก็คือ การเหนียตถือศีลอด ตามความเห็นของนักปราชน์นั่นเอง คือ ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวออกมา โดยเจตนาทำการถือศีลอด

เมื่อท่านผู้อ่านได้เข้าใจสิ่งดังกล่าวมาแล้วนั้น เราก็จะพบว่า บรรดานักปราชญ์ได้ทำการเอา "การกล่าวคำเหนียตก่อนตักบีรร่อตุลเอี๊ยะหฺรอมนั้น ไปกิยาส(เทียบเคียง) กับการกล่าวคำเหนียตในฮัจญฺ และการถือศีลอด โดยมีเหตุผลร่วมกันที่ว่า ทั้งหมดนั้น เป็นอิบาดะฮ์ ที่จำเป็นต้องมีการเหนียต"

ท่าน ชัยค์ อับดุรเราะหฺมาน อัล-ญะซาอิรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือฟิกห์มัซฮับทั้ง 4 ว่า

" สุนัตให้ทำการกล่าวคำเหนียตด้วยลิ้นของเขา(ผู้ที่ทำละหมาด) เช่น เขาได้กล่าวด้วยลิ้นของเขาว่า "ฉันละหมาดฟัรดูซุฮฺริ " เป็นต้น เพราะสิ่งดังกล่าวนั้น สามารถย้ำเตือนให้กับหัวใจ แต่หากเขาพลาดลิ้น ไปกล่าวว่า ฉันทำละหมาดอัสริ ก็ถือว่าไม่เป็นโทษแต่ประการใด เนื่องจากท่านทราบดีแล้วว่า สิ่งที่ถูกพิจารณาในการเหนียตนั้น คือเจตนาที่อยู่ในหัวใจ และการกล่าวคำเหนียตด้วยกับลิ้นเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นการเหนียต แต่มันจะช่วยให้หัวใจมีการตื่นตัว (พร้อมในการทำการเหนียต) ดังนั้น การพลาดลิ้น ย่อมไม่มีโทษใดๆ ตราบใดที่การเหนียตในหัวใจนั้น มีความถูกต้อง และนี้ก็คือ หุกุ่ม ที่มีความสอดคล้องกันตามทัศนะของ มัซฮับชาฟิอีย์ยะฮ์ และมัซฮับหัมบาลีย์ (ว่าการกล่าวคำเหนียตเป็นสุนัต)

ส่วนมัซฮับของมาลิกีย์นั้น พวกเขากล่าวว่า " การกล่าวคำเหนียตนั้น ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในละหมาด นอกจากเสียว่า ผู้ที่กระทำการละหมาด มีหัวใจที่ขาดสมาธิ ดังกล่าวนี้ มัซฮับมาลิกีย์ จึงกล่าวว่า การกล่าวคำเหนียตนี้ ไม่ต้องทำดีกว่าสำหรับผู้ที่จิตใจมีสมาธิแล้ว และถือว่า เป็นสุนัต สำหรับผู้ที่จิตใจยังขาดสมาธิ(ในการเหนียต) "

สำหรับมัซฮับหะนะฟีย์นั้น พวกเขากล่าวว่า " การกล่าวคำเหนียตเป็นบิดอะฮ์ แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี หากทำไปเพื่อป้องกัน ความลังเล(วิสวัส)ขาดสมาธิ(ในการเหนียต) " ( ดู อัลฟิกหฺ อะลา อัลมะซาฮิบ อัลอัรบะอะฮ์ เล่ม 1 หน้า 171 ตีพิมพ์ ดารุลหะดิษ ไคโร )

จากสิ่งที่กล่าวมานี้ เราขอกล่าวว่า การเหนียตเจตนาทำอิบาดะฮ์ด้วยจิตใจที่มีสมาธินั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาปราถนาต้องการ และการกล่าวคำเหนียตก็เป็นตัวช่วยย้ำเตือนจิตใจให้มีสมาธิในการเหนียต ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมเช่นเดียวกัน ดังที่หลักการหนึ่งระบุไว้ว่า

ما لا يتم المطلوب الشرعى الا به فهو مطلوب شرعا

" สิ่งหนึ่ง ที่ถูกใช้ตามหลักศาสนาจะไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ด้วยกับมันนั้น แน่นอนว่า สิ่งนั้นย่อมถูกใช้ตามหลักศาสนาด้วยเช่นกัน"

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีคนถามว่า การกล่าวคำเหนียตเป็นวายิบหรือไม่ ? เราขอตอบว่า "ไม่วายิบ" จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่สำหรับผู้ที่ละหมาดโดยจิตใจยัง(วิสวัส) ว้าวุ่น ขาดสมาธิ ก็สมควรกล่าวคำเหนียตครับ

ข้อควรทราบ

การกล่าวคำเหนียตนั้น ไม่จำเป็นต้องกล่าวด้วยภาษาอาหรับเสมอไป เช่นกล่าวว่า "อุซ๊อลลี ฟัรฏ๊อซซุฮฺร..." แต่อนุญาติให้เรากล่าวเป็นภาษาไทยก่อนตักบีรเล็กน้อยว่า "ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูซุฮฺริ" ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว และก็ย่อมเป็นการดีอย่างยิ่ง เนื่องจากการเหนียตในใจของเรานั้น ก็เป็นภาษาไทยอยู่แล้ว และท่านผู้อ่านพึงทราบเถิดว่า การกล่าวคำเหนียต ไม่ใช่เป็นการกระทำในละหมาด แต่เป็นการกระทำก่อนละหมาด ดังนั้น ผู้ใดที่ทำการกล่าวคำเหนียตในละหมาด ก็ย่อมทำให้เสียละหมาดอย่างแน่นอน

พี่น้องวะฮาบีย์ทั้งหลายครับ สิ่งที่เราได้นำเสนอไปนั้น เพื่อที่จะให้พวกท่าน รู้ถึงหลักการของเรา ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะให้พวกท่านมาทำเหมือนกับเราเลยแม้แต่น้อย อนึ่ง เรื่องการกล่าวคำเหนียตนี้ มันเป็นเพียงประเด็นข้อปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆ ที่บรรดาปวงปราชน์มัซฮับทั้งสี่ได้ทำการวินิจฉัยเอาไว้ และการวินิจฉัยของพวกเขาเหล่านั้น ได้เน้นถึงเป้าหมายและเจตนารมณ์ของศาสนาในการทำอิบาดะฮ์ ซึ่งหากประเด็นข้อปลีกย่อยที่อยู่ในเชิงการวินิจฉัยของปวงปราชญ์นี้ ไปขัดแย้งกับทัศนะของพี่น้องวะฮาบีย์แล้ว การมีจิตใจกว้างขวาง ย่อมเป็นอุปนิสัยและแบบฉบับของสะละฟุศศอลิหฺ ชนผู้มีภูมิธรรม วัลลอฮุ อะลัม .
[/align]
_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Mar 24, 2006 10:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง al-farook กล่าวว่า
ดังนั้น ผู้ใดกล่าวว่า "ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ห้ามการกล่าวคำเหนียต " แน่นอนว่า เขาย่อมโกหกใส่ท่านนบี(ซ.ล.)
...........
ตอบ

คำพูดของน้อง ทำให้รู้สึกว่า บังไม่ควรจะมาหมกหมุนกับการโต้ตอบผ่านจอ ให้มากนัก เพราะเราเข้าใจ ไปคนละทางจริงๆ น้องเข้าใจว่า เรื่อง อิบาดะฮ ถ้านบีไม่ห้าม ถ้าเห็นว่าดีก็ถือว่าคิดขึ้นเองได้ ส่วนบังอะสันนั้น เชื่อว่า เรื่องอิบาดะฮในอิสลาม ต้องมาจากคำสอนของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์เท่านั้น (รวมถึงแบบอย่างขอเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน) กล่าวคือ ต้องดูคำสั่งของอัลลอฮและอัสสุนนะฮ เป็นบรรทัดฐาน ดังหลักการที่ว่า

والعبادة مبناها على التوقيف والاتباع لا على الهوى والابتداع

และการอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่า รอคำสั่ง และปฏิบัติตาม ไม่ใช่ การใช้ความเห็นตามอารมณ์และ การอุตริขึ้นมาใหม่
كتاب الفتاوى الكبرى، الجزء 1،
صفحة 351
ถ้าอย่างนั้น ก็ขอจบเพียงแค่นี้ ขอให้โชคดี
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 4:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

คำพูดของน้อง ทำให้รู้สึกว่า บังไม่ควรจะมาหมกหมุนกับการโต้ตอบผ่านจอ ให้มากนัก เพราะเราเข้าใจ ไปคนละทางจริงๆ น้องเข้าใจว่า เรื่อง อิบาดะฮ ถ้านบีไม่ห้าม ถ้าเห็นว่าดีก็ถือว่าคิดขึ้นเองได้

วิจารณ์

ไม่ใช่ครับอะสัน ผมไม่ได้คิดและเชื่อเอาเองว่า "เรื่องอิบาดะฮ์นั้น ถ้านบีไม่ห้าม หรือว่า เห็นดีก็ถือว่าคิดขึ้นเองได้" เรื่องอิบาดะฮ์นี้ เป็นเรื่องสำคัญ ผมคิดเอง เออเองไม่ได้หรอกครับ แต่ประเด็นที่ผมนำเสนอมานั้น มันเป็นการวินิจฉัยจากบรรดาปวงปราชญ์ นักมุจญฺฮิด ที่ทำการกิยาสและอิงไปยังคำไปการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) และพวกเขาได้วินิจฉัยโดยผ่านทางเจตนารมณ์และเป้าหมายของศาสนา โดยไม่ได้มีเจตนาจะสร้างความเสื่อมเสียให้กับศาสนาเลยแแม้แต่น้อย และพวกเขาไม่ได้วินิจฉัยสิ่งใดที่เป็นบิดอะฮ์และตามอมารมณ์โดยเรียกร้องเราสู่นรกเลย หากบังอะสันบอกว่ามันเป็นการกิยาส ย่อมไม่ได้ เราเองก็ได้อธิบายไปอย่างครบถ้วนแล้วในภาค 2 หากบังอะสันบอกว่า อิบาดะฮ์ต้องหยุดอยู่ที่คำสั่งเท่านั้น เราก็ได้อธิบายไปครบถ้วนแล้วในภาคที่สอง และพร้อมที่จะนำเสนอทบทวนได้อีกทุกเวลา ดังนั้น สิ่งที่ผมได้นำเสนอมานั้น ไม่ใช่คิดหุกุ่มเอาเองได้ แต่มันมีการอ้างอิงจากการวินิจฉัยของบรรดานักปราชญ์แทบทั้งสิ้น

และสิ่งที่บังอะสันเข้าใจนั้น ผมก็ไม่ได้ไปตำหนิในแนวทางของบังอะสันเลย คือให้เราเลือกเอา ใครไปบอกว่า หากไม่กล่าวคำเหนียต(หรืออุซ๊อลลีย์)นั้นไม่ได้ แบบนี้ผมขอตำหนิและเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่ไม่วายิบแต่ประการใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนบ้านเราบางคน ที่เข้าใจว่า ต้อง่กล่าวอุศ๊อลลีย์ หากไม่กล่าวแล้วแบ่งแยกพวก อันนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง และในทางตรงกันข้าม การกล่าวว่าผู้กล่าวคำเหนียตนั้น ทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงถึงกับลงนรกนั้น ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งเช่นเดียว การที่ต่างฝ่ายต่างเข้าใจในเรื่องศาสนาหรือเจตนารมณ์ของชาริอัตอิสลามนั้น เรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอย่าแน่นอน แต่สำหรับตัวผมเองนั้น ผมจะไม่ค่อยกล่าวคำเหนียตสักเท่าไหร่ นอกจากว่า เวลาที่ผมเหนื่อยว้าวุ่นเกี่ยวกับภาระส่วนตัว เครียดกับการสอบการอ่านตำราที่ยากๆ หรืออ่านหนังสือไม่ทันในการสอบ ผมจะไม่ค่อยมีสมาธิมากนัก ผมก็จะทำการกล่าวคำเหนียต แต่ในยามปรกติ ยามที่จิตใจสงบนิ่ง ผมก็ไม่ทำการอ่านคำเหนียต เนื่องจากว่า การกล่าวคำเหนียตนั้น มันเป็นเพียงสุนัต ตามทัศนะที่ผมเลือกปฏิบัติครับ

ประเด็นในวันต่อไปก็เป็นเรื่องกาอ่านตัลกีนครับบังอะสัน บังอะสันจะอ้างอิงหลักฐานใดตามทัศนะของบัง ก็โปรดนำเสนอมาก่อนได้นะครับ หากรอผมนำเสนอก็อาจจะรอนานไม่ทันใจก็เป็นได้ แล้วผมจะทำการสนทนานำเสนอต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

แต่สำหรับประเด็นเรื่องการกล่าวคำเหนียตนี้ หากมีผู้ใดที่ต้องการจะชี้แจงเพิ่มเติมหรือจะสนทนาคัดค้าน โปรดสนทนาได้ต่อเรื่อยๆ เพราะยังไม่จบนะครับ เผื่อเราจะได้แนวคิดหรือหลักฐานอื่นๆมานำเสนอครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 10:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง al-farook กล่าวว่า
การอ้างหลักฐานของเราที่อยู่ในหลักการของศาสนา (ไม่ใช่ต้องอยู่ในการหลักของแนวทางวะฮาบีย์) เพื่อให้บังอะสันและพี่น้องวะฮาบีย์ทราบถึงเจตนารมณ์แนวทางของเราเท่านั้นเอง
...................................
ตอบ
ที่น้องพูดเช่นนี้ หมายความว่า แนวทางของผู้ที่น้องตั้งฉายาว่า “พวกวะฮบีย์”นั้น ไม่ได้อยู่ในหลักการศาสนา เอาเถอะ..ไม่เป็นไร แนวทางของเราเกี่ยวกับเรื่องบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง อิบาดะฮ นั้น เราได้กล่าวไว้แล้วว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة ، قال تعالى : { أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

หลักเดิมในเรื่องอิบาดาตนั้น แท้จริงมันเป็น ข้อห้าม เว้นแต่สิ่งที่มีหลักฐานบ่งบอกว่ามัน มีบัญญัติใช้ให้กระทำ อัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสว่า” หรือ พวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา สิ่งซึ่งอัลลอฮมิทรงอนุญาต – อัชชูรอ/21
เกี่ยวประเด็นนี้รายละเอียด ก็ได้เคยนำเสนอไปแล้ว บังขอให้ผู้อ่านพิจารณาก็แล้วกันว่า มันเป็นหลักการศาสนาหรือไม่ และไม่ได้บังคับให้น้อง อัล-ฟารุกมาเชื่อตาม
..............

น้อง al-farook กล่าวว่า
บังอะสันยึดคำพูดของอุลามาอ์ปัจจุบัน โดยกล่าวกับเราว่า การคิดว่าอุลามาอ์ยุคก่อนเก่งกว่า อุลามาอ์ยุคปัจจุบันนั้น เป็นความคิดที่โบราณ !!! แต่ในบางประเด็น บังอะสันพยายามคาดคั้นให้เรายึดแนวทางของอุลามาอ์ยุคก่อน!!
.................
ตอบ
ประเด็นนี้ ก็เคยบอกแล้วว่า บังไม่ได้ยึดเอาอุลามาอ เก่า- ใหม่ เป็นบรรทัดฐาน แต่ดูว่า เขาใช้อะไรเป็นหลักฐานมาสนับสนุนทัศนะของเขา และเคยบอกแล้วว่า การตามอุลามาอ ไม่เหมือนการตามท่านรอซูล การตามอุลามาอ ต้องมีหลักฐาน ดังที่อิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า
[ليس لأحد دون الرسول صلى الله عليه وسلم أن يقول إلا بالاستدلال. ولا يقول بما استحسن، فإن القول بما استحسن شيء يحدثه لا على مثال سبق] ص (25) الرسالة

ไม่อนุญาตให้บุคคลใดอื่นจากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อการที่เขาจะกล่าวอ้าง เว้นแต่ต้อง อ้างอิงหลักฐาน และเขาจะไม่กล่าวด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดี แท้จริง การกล่าวอ้าง ด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดีนั้น คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน - อัรริสาละฮ หน้า 25
และท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไว้อีกว่า
ولو جاز لأحد الاستحسان في الدين لجاز ذلك لأهل العقول من غير أهل العلم ولجاز أن يشرع في الدين في كل باب وأن يخرج كل أحد لنفسه شرعاً

และถ้าหากว่า อนุญาตให้คนใดก็ได้ เห็นดี(คือคิดการบิดอะฮตามที่ตนเห็นว่าดี) ในศาสนา แน่นอน เรื่องดังกล่าว ย่อมอนุญาตให้ ผู้ที่มีความฉลาด ที่ไม่ใช่ผู้มีความรู้ บัญญัติศาสนาขึ้นมาในทุกเรื่อง โดยทุกๆคนจะออกบัญญัตขึ้นมาให้แก่ตัวเอง-
ดูอิรชาดุ้ลฟุหูล หน้า 240

ท่านอิบนุหัซมิน(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
[الحق حق وإن استقبحه الناس، والباطل باطل وإن استحسنه الناس، فصح أن الاستحسان شهوة، واتباعُ للهوى وضلال، وبالله تعالى نعوذ من الخذلان] (196/2) من الإحكام في أصول الأحكام

ความจริง คือ ความจริง แม้ว่า ผู้คนจะเห็นว่า ไม่ดีก็ตาม และ ความเท็จ คือ ความเท็จ แม้ว่าผู้ คนจะเห็น ว่าดีก็ตาม ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ การ คิดเห็นว่าดี นั้น คือ ตัณหา คือ การตามอารมณ์ และเป็นการหลงผิด เราขอความคุ้มต่ออัลลอฮ ให้พ้นจากความผิดหวังทั้งหลายด้วยเถิด - อัลอะหกาม ฟีอุศูลุ้ลอะหกาม เล่ม 2 หน้า 196
.............................................
บังอะสัน มีจุดยืนของบังอย่างนี้ น้องว่า ไม่ใช่หลักการอิสลามก็ไม่เป็นไร อินชาอัลลอฮ วันนี้ต้องเดินทางไปบรรยา สองแห่ง กลับดึก แล้วจะมาตอบ การที่น้องอ้างหลักฐานเรื่อง การกล่าวคำเนียต ซึ่งบังนึกไม่ถึงว่า ทำไมน้องจึงอ้างหลักฐานอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ขอให้เราผูกมิตรกันไว้เถิดนะครับ ถึงแม้จะทัศนะแตกต่างก็ตาม


wassalam
ปล. สำหรับน้อง konyakroo หากยังทำใจไม่ได้ และคิดว่า บังอะสัน ไม่น่านับถือ ก็ขอร้อง อย่าได้มาตอบข้อความของบังอะสันเลยนะครับ ปล่อยให้บังสนทนากับน้องอัลฟารุกและน้องอัลอัชอารีย์ก็แล้วกัน ส่วนบังนั้นอโหสิ ครับ ขอร้องครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam อจ.อัล-ฟารุก
salam บังฮะซัน

ผมจะต้องทำใจอะไรละกับบังละครับ และผมไม่หนีไปไหนหรอกครับอย่ากลัวนักเลย
เพียงแต่นั่งเก็บข้อมูลของบัง เท่านั้น

Crying or Very sad อย่าว่าแต่..อจอัลฟารุกเลยครับ ที่สับสนกับจุดยืนของ บัง ผมเองก็ยังงงๆอยู่เลย

อะไรกันครับ จะไม่ยึดถืออุลามะเอาเลยหรือครับ เห็นบังว่านับถือตามชนสลัฟ ที่เวลาคำพูดชนสลัฟคำใดสอดคล้องกับตน ผมเห็นบังยกเอาๆ ที่เวลาคำพูดใดขัดแย้งกับแนวทางตนแล้วตัดทิ้ง แล้วคำพูดของอิหม่ามชาฟีอี (รฮ) ที่สนับสนุนให้เราๆท่านเอาแบบอย่างบรรดาผู้ที่มีความรู้มากกว่าเรา บังไม่เห็นยกมาบ้าง..

และคำพูดของ ซอฮาบะฮ์ อัรรอซีดีน อย่างท่านอุสมาน(รด)ที่ท่านกล่าวตักเตือนเรานักหนาว่า
ในวันปรโลก นั้น 3 คนต่อไปนี่เท่านนั้นที่จะช่วยเราได้
1บรรดานบี 2บรรดาอุลามะ 3 บรรดาผู้ตายชะฮีด
บังแอบเอาไปทิ้งตรงไหนอีกละ

อะไรกัน...บัง...กับ..แค่การอ่านนำอูซอลลี ซึ่งหมายถึง..การเน้นย้ำว่า ตัวกูนั้น กำลังจะทำอะไรอยู่กับใคร เพื่อใคร...เมื่อไหร่...เพื่อให้มีความหนักเน้นกับการนมัสการพระเจ้าผู้ปรีชาญาณ ที่มอง เราดู ถึงขนาดเป็นบิดอะเชียวหรือ ...มาชาอัลลออ์..


---------ขอถาม นิดถ้างั้น ทุกอย่างก่อนที่จะทำอีบาดะ เราก็จะทำอะไรสักอย่างไม่ไดเเลยหรือบัง----

แม้กระทั่ง สั่งให้จัดแถว เพื่อเป็นระเบียบก่อนละหมาด หรือ ไอกระแอมก็ไม่ได้หรือทุกๆอย่างที่ยังไม่ได้เข้าในรูก่นละหมาดถือว่า บิดอะฮ์หมดหรือครับบัง
ก็บังเคยบอกไม่ใชหรือว่า รูกนของละหมาดเริ่ม..ด้วยการตักบีร แล้วจบด้วยสลาม

แล้วการกระทำก่อนที่เข้าละหมาดเพื่อ อย่างน้อยได้ทบทวนตัวเองว่า เรา หรือตัวกูนี้กำลังจะทำอะไร กับใคร ที่ไหน ให้ใคร จะไม่ได้หรือครับ แต่ถ้าใครมีสามาธิดีพอก็ไม่ว่ากัน ถือว่าคุณนั้นสุดยอดที่มีสมาธิดี..มั่นคงไม่วอกแวกหรือเลอะเลือนสะลึมสะลือ หรือกำลังจะ..เบรอ.ๆ..
Crying or Very sad เรื่องอย่างนี้มันไม่ใช่จะคิดเก็บแล้วจะเพิ่มเติมกันอย่างมักง่ายได้ซะเมื่อไหร่ละ ทุกอย่างนั้นมันมีตัวอย่างมาทั้งนั้น การเหนียตก่อนละหมาดนั้น ถ้าจะไปเปรียบเทียบ(กิยาส)กับการเหนียดถือศีลอด หรือเหนียทำฮัจย์นั้น ท่านนบีก็เคยเหนียตทั้ง2 อย่าง และก็ไม่เห็นแตกต่างกันอย่างได

แล้วถ้าอุลามะในแนวทางอัชชาฟีอี(รฮ)นำแนะแบบผิดๆจริงแล้ว บรรดาอุลามะในสายอื่น
ทำไมเขาไม่คัดค้านและกล่าวหาว่าทำไม่ได้ละครับบังฮะซัน...ฮิๆๆๆๆ

wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 11:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างข้อความจากบังอะสัน

ที่น้องพูดเช่นนี้ หมายความว่า แนวทางของผู้ที่น้องตั้งฉายาว่า “พวกวะฮบีย์”นั้น ไม่ได้อยู่ในหลักการศาสนา เอาเถอะ..ไม่เป็นไร

วิจารณ์

คำว่า "แนวทางของวะฮาบีย์" นั้น ไม่ใช่หมายความว่า เป็นแนวทางอิสลาม หรือ ไม่ใช่แนวทางอิสลาม แต่เป็นการเรียกแนวทางในหลักการหรือการยึดวิธีการอ้างหลักฐาน มันก็เหมือนกับที่เราพูดว่า นี่ แนวทาง(มัซฮับ) หะนะฟีย์ นี่คือ แนวทาง(มัซฮับ)ของมาลิกีย์ ซึ่งในขณะเดียวกันนั้น เราก็ไม่ได้หมายความว่า แนวทางของหะนะฟีย์และมาลิกีย์ ไม่ใช่แนวทางของอิสลาม

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 11:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างข้อความจากบังอะสัน
กล่าวคือ ต้องดูคำสั่งของอัลลอฮและอัสสุนนะฮ เป็นบรรทัดฐาน ดังหลักการที่ว่า

والعبادة مبناها على التوقيف والاتباع لا على الهوى والابتداع

และการอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่า รอคำสั่ง และปฏิบัติตาม ไม่ใช่ การใช้ความเห็นตามอารมณ์และ การอุตริขึ้นมาใหม่
كتاب الفتاوى الكبرى، الجزء 1،
صفحة 351

และบังอะสันพูดอีกว่า
แนวทางของเราเกี่ยวกับเรื่องบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง อิบาดะฮ นั้น เราได้กล่าวไว้แล้วว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة ، قال تعالى : { أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

หลักเดิมในเรื่องอิบาดาตนั้น แท้จริงมันเป็น ข้อห้าม เว้นแต่สิ่งที่มีหลักฐานบ่งบอกว่ามัน มีบัญญัติใช้ให้กระทำ อัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสว่า” หรือ พวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา สิ่งซึ่งอัลลอฮมิทรงอนุญาต – อัชชูรอ/21
เกี่ยวประเด็นนี้รายละเอียด ก็ได้เคยนำเสนอไปแล้ว บังขอให้ผู้อ่านพิจารณาก็แล้วกันว่า มันเป็นหลักการศาสนาหรือไม่ และไม่ได้บังคับให้น้อง อัล-ฟารุกมาเชื่อตาม


วิจารณ์

แน่นอนครับบังอะสัน เรื่องหลักการและหลักวินิจฉัยนี้ เราไม่บังคับกันให้ดำเนินตาม แต่บังอะสันก็ยังคงยกมาเพื่อจะให้ผู้อ่านพิจารณา ดังนั้น มันจึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ ผมจะต้องยกมาชี้แจงให้ผู้อ่านพิจารณาด้วยอีกครั้ง โดยที่ผมไม่ได้บังคับให้บังอะสันมาเชื่อตาม (การนำเสนอต่อไปนี้ เป็นการทบทวนสิ่งที่พวกเราได้นำเสนอมา หากมีการพาดพิงและผมได้ตัดข้อความที่พาดพิงไม่หมด ก็ขอมะอัฟไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ)

ผมขอยกอ้างความเข้าใจหลักการก่อนจากนั้นของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ที่บังอะสันชื่นชอบมากกว่าความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ สักนิด เพื่อขจัดความบิดบังซ่อนเร้นต่อผู้อ่าน คือดังนี้

لا ريب أن الأذكار والدعوات من أفضل العبادات والعبادات مبناها علي التوقيف والاتباع لا علي الهوى والابتداع

"ไม่ต้องสงสัยว่า แท้จริง บรรดาซิกิร และบรรดาดุอาอ์นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาอิบาดะฮ์ที่เลอเลิศ และบรรดาอิบาดะฮ์นั้น โครงสร้างของมัน ต้องอยู๋บนคำสั่ง และทำการปฏิบัติตาม ไม่ใช่ปฏิบัติตามอารมณ์ และ การอุตริขึ้นมาใหม่" ฟัตวา กุบรอ เล่ม 1 หน้า 351 ของอิบนุตัยมียะฮ์

คำว่า التوقيف นี้หมายถึง "ต้องเป็นการสอนสั่งจากท่านนบี(ซ.ล.)โดยจะเพิ่มมันขึ้นมาไม่ได้ นอกจากต้องมีหลักฐานจากท่านนบี(ซ.ล.)"

บังอะสันครับ พอเวลาพูดล่ะพูด บอกว่า ต้องเอาอัลกุรอานและซุนนะฮ์มาเป็นมาตรฐาน แต่เวลาพูดกันจริงๆ บังอะสันกลับเอาความเห็นจาก"หลักการ" ของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ มาเต็มๆ และยังไม่พอ บังอะสันยังยึดมั่นมันด้วยฟันกราม โดยบังอะสันพูดว่า "เรื่องอิบาดะฮ์ ต้อง อยู่ภายใต้หลักการ(ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์)ที่ว่า ..." หลักการของซอฮาบะฮ์ในเรื่องการปฏิบัติอิบาดะฮ์นั้น บังอะสันไม่สน แต่พอคำกล่าวของอิบนุตัยมียะฮ์ละก็ บังอะสันบอกว่า "ต้องกระทำ" ผมไม่ทราบว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ไปมีความสำคัญมากกว่าบรรดาซอฮาบะฮ์ตั้งแต่เมื่อไหร่ จนกระทั้งบังอะสันยึดหลักการของเขาซ่ะสุดโต่ง โดยไม่ยอมฟังใคร แม้กระทั้งหลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์นั้น มันไม่ได้อยู่ตามหลักความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ ท่านอิบนุอุมัร(ร.ฏ.) ได้เพิ่มตะชะฮุด โดยไม่ได้รอและไม่มีคำสั่งจากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านอิบนุอุมัรได้ ทำการเพิ่ม การกล่าวตัลบียะฮ์ ว่า لبيك وسعديك ، والخير بيديك لبيك (รายงานโดยมุสลิม) โดยไม่ได้มีหลักฐานจากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านอิบนุมัสอูดทำการเพิ่มตะชะฮุด โดยไม่ได้รอและไม่มีคำสั่งจากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านบิลาล(ร.ฏ.) ได้ทำการคิดวินิจฉัยอิบาดะฮ์โดยการละหมาด 2 ร่อกะอัต หลังอาบน้ำละหมาด โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้สั่งสอนให้กระทำ และ โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ยังไม่ได้ให้การยอมรับ อัลเลาะฮ์ก็รับรองให้เข้าสวรรค์เสียแล้ว ซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งได้ กล่าวซิกิรหนึ่งขึ้นมาในละหมาดโดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้สั่งไม่ได้สอนไว้ ท่านนบี(ซ.ล.)ยังไม่ทันยอมรับเลย บรรดามะลาอิกะฮ์ ก็แย่งกันบันทึกเสียแล้ว ท่านค่อบีบ ได้คิดอิจญฺฮาดขึ้นมาเอง กับการละหมาดสองรอกะอัต ก่อนถูกสั่งสังหาร โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้สอนสั่งให้กระทำ ใหนละครับ บังอะสัน หลักการที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์บอกว่า "อิบาดะฮ์ ต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่า รอคำสั่ง และปฏิบัติตาม" ทั้งที่ซอฮาบะฮ์คือบุคคลที่เข้าใจหลักการศาสนาของอัลเลาะอ์ และคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)มากกว่าผู้อื่นจากพวกเขา และบรรดาซอฮาบะฮ็ก็ไม่ได้เข้าใจเหมือนกับหลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ แต่บังอะสันกลับยึดติดมันซ่ะเหนียวแน่น แต่ความเข้าใจของซอฮาบะฮ์นั้น บังอะสันกลับละเลย ไม่ยอมใส่ใจ เพราะท่านอิบนุตัยมียะฮ์ คือคนในดวงใจของบังอะสัน.........แต่ซอฮาบะฮ์ฉันไม่ขอสนใจ ว่างั้นเถอะ

ดังนั้น หลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่บังอะสันยึดมันด้วยฟันกรามนี้ กลับไปหุกุ่มบรรดาซอฮาบะฮ์โดยทางอ้อมอย่างไม่ได้สงสัย และวะฮาบีย์ทั้งหลาย หนึ่งในนั้นคือ บังอะสัน ก็นำหลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ที่ไม่ใช่สะลัฟ ได้บัญญัติ มันขึ้นมา แล้วก็นำมาหุกุ่มที่น้องมุสลิม ว่าทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ตกนรก อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

"หรือว่าให้กับพวกเขา มีบรรดาผู้ร่วมกัน บัญญัติ ให้กับพวกเขา จากเรื่องศาสนา กับสิ่งที่อัลเลาะฮ์มิได้ทรงอนุญาติกับมันกระนั้นหรือ?"

แล้วการบัญญัติหลัการ ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ที่ขัดกับความเป็นจริง และขัดกับเข้าใจของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น มันเข้าอยู่ในอายะฮ์นี้หรือเปล่าครับบังอะสัน ?

อย่างผมได้กล่าวกับบังอะสันไปแล้ว ถึงการอนุญาติให้ทำการอ่านดุอาอ์หลังการอ่านตะชะฮุด ตามที่เราเลือกจะอ่านตามที่เราต้องการจะขอ ท่านอิบนุมัสอูด ได้รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ว่า

ثم يتخير بعد من الدعاء

"หลังจากนั้น ให้เขาเลือก ขอดุอาอ์ หลังจากตะชะฮุด" (รายงานโดยบุคคอรีย์ และ มุสลิม)
หากผมจะถามบังอะสันว่า หากมีคนหนึ่งได้ทำการ อ่านดุอาอ์หนึ่งที่เขาได้แต่งขึ้นตามที่เขาต้องการ หรือประทับใจ หลังตะชะฮุด เป็นประจำ โดยคำสั่งของท่านนบี(ซ.ล.)แบบกว้างๆนี้ เขาย่อมเป็นผู้ที่ทำบิดอะฮ์หรือไม่ ? บังอะสันก็ต้องตอบว่า ไม่ เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้สั่งไว้อย่างนั้นแบบกว้างๆ ผมก็ขอกล่าวว่า บังอะสัน การดุอาอ์นั้น เป็นเรื่อง อิบาดะฮ์ ต้อง علي التوقيف ได้รับคำสั่งจากท่านนบี(ซ.ล.) โดยท่านนบี(ซ.ล.) ได้บัญญัติกล่าวดุอาอ์นั้นไว้ให้เจริญตามแก่เรา ตาม القاعدة หลักการของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ของบังอะสัน แต่บังอะสันก็บอกย้ำว่า เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้บอกไว้แบบกว้างๆ ซึ่งเราสามารถกำหนดดุอาอ์ขึ้นมาได้ ผมก็ขอกล่าวว่า เมื่อคำสั่งอยู่ในรูปแบบที่กว้างๆนี้ แล้วทำไมวะฮาบีย์และบังอะสันถึง ได้หุกุ่มกับพวกเรา ที่ทำการกระทำอิบาดะฮ์ในรูปกว้างๆ ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้บอกเอาไว้ ซึ่งมันจะอยู่ในประเด็นข้อปลีกย่อยที่เราจะนำมากล่าวต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

ดังนั้น สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ใช้เราแบบ التوقيف บอกคำสั่งเจาะจงเอาไว้ เราก็จะทำตามที่ท่านร่อซูลได้ทำมันเอาไว้ แต่หากท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการออกคำสั่งแบบ الإطلاق กว้างๆเอาไว้ เราก็จะทำมันในรูปแบบกว้างๆ ตามที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้เปิดโอกาศแก่เรา

ดังนั้น หลักฐานของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่มาสนับสนุน หลักการ ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ทที่ได้ บัญญัติขึ้นมาเองในศาสนา นั้น มันไม่ได้ตรงความเป็นจริง ที่ท่านนบี(ซ.ล.) เข้าใจ เช่น มีบรรดาซอฮาบะฮ์ ได้กระทำอิบาดะฮ์ ที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ใช้ แต่ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้ปฏิเสธ และตำหนิว่า " ทำไม ท่านไม่ปฏิบัติ แต่สิ่งที่ฉันได้สั่งไว้เท่านั้น ทำไมถึงทำขึ้นมาเอง " แต่ท่านนบี(ซ.ล.)กลับให้การยอมรับ และก่อนจากท่านนบี(ซ.ล.) จะให้การยอมรับนั้น บรรดามะลาอิกะฮ์แย่งกันบันทึกคุณงามความดีนั้นแล้ว และอัลเลาะฮ์ก็รับรองซอฮาบะฮ์ว่าได้เข้าสวรรค์ก่อนที่ท่านนบี(ซ.ล.) ยอมรับเสียอีก สาเหตุที่ซอฮาบะฮ์ทำอย่างเป็นอย่างนั้น ผมก็อธิบายไปแล้ว และก็ไม่ได้ถูกหักล้าง

หลังจากท่านนบี(ซ.ล.)เสียชีวิตแล้วนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์บางท่านได้ทำการเพิ่ม ตะชะฮุด บางท่านทำการเพิ่มการอ่านตัลบียะฮ์ฮัจญี โดยไม่ได้เข้าใจว่า "ทุกสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง" คือบรรดาซอฮาบะฮ์ไม่ได้เข้าใจตามที่พี่น้องวะฮาบีย์เข้าใจ

และ อัล-กออิดะฮ์ " หลักเดิมของอิบาะฮ์นั้นห้าม " นั้น บรรดาซอฮาบะฮ์ ก็ไม่ได้มีความเข้าใจเหมือนกับบังอะสันและพี่น้องวะฮาบีย์ ซึ่งหากเรายึดหลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่ได้ บัญญัติขึ้นมาเองในศาสนา หรือหลักการเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ที่พี่น้องวะฮาบีย์เข้าใจนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์ถูกหุกุ่มโดยทางอ้อมจากแนวทางวะฮาบีย์อย่างไม่ต้องสงสัย ซุบหานัลลอฮ์ !!


أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

"หรือว่าให้กับพวกเขา มีบรรดาผู้ร่วมกัน บัญญัติ ให้กับพวกเขา จากเรื่องศาสนา กับสิ่งที่อัลเลาะฮ์มิได้ทรงอนุญาติกับมันกระนั้นหรือ?"

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 11:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

เรื่อง เรื่องศาสนา หมายถึง กิจการทางศาสนาที่เกี่ยวการประกอบศาสนกิจ (อิบาดะฮ) มีหลักอยู่ว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة ، قال تعالى : { أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

หลักเดิมในเรื่องอิบาดะฮนั้น มันถูกห้ามมิให้กระทำ นอกจากสิ่งที่มีลักฐาน แสดงบอกว่า มีบัญญัติใช้ให้กระทำ ดังที่อัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสว่า “ หรือพวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา สิ่งซึ่งอัลลอฮมีทรงอนุญาต ด้วยมัน

วิจารณ์

หลักการนี้ คือเรื่องอิบาดะฮ์หลักๆ เช่นการละหมาด เพิ่มเป็น 6 เวลาไม่ได้ ทำฮัจญฺในเดือนอื่นจาก เดือนฮัจยีไม่ได้ ถือศีลอดวายิบอื่นจากเดือนร่อมาดอนไม่ได้ แน่เรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(หรือซุนนะฮ์หะสะนะฮ์)นั้น ก็อยู่ภายใต้กรอบและหลักฐานของศาสนาเช่นเดียวกัน ดังนั้น หลักการที่บังอะสันอ้างอิงมานั้น มันอยู่ในประเด็นของบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ที่ไม่มีรากฐานและหลักฐานมาจากศาสนา ไม่ใช่บิดอะฮฺหะสะนะฮ์ที่อยู่ในกรอบของหลักการและหลักฐานของศาสนา บังอะสันลองมาเข้าใจการกระทำของซอฮาบะฮ์ ว่ามันขัดกับหลักการของบังอะสันที่อ้างอิงมาหรือเปล่า?
ท่านอบูดาวูด ได้นำเสนอรายงาน จากท่าน อิบนุอุมัร ซึ่งท่านอิบนุอุมัรได้รายงาน การอ่านตะชะฮุด ของท่านนบี(ซ.ล.) ว่า

التحيات لله الصلوات الطيبات السلام عليك أيها النبى ورحمة الله وبركاته - قال إبن عمر : زدت فيها : ( وبركاته وأشهد أن محمدا عبده ورسوله

ดู หนังสืออธิบายสุนันของท่านอบีดาวูด ที่ชื่อว่า บัซฺลุลมัจญฺฮูด เล่ม 5 หน้า 293 - 294

ท่านผู้อ่านโปรดทำความเข้าใจกับเราดังนี้ครับ "ท่านอิบนุอุมัร(ขอโปรดพระองค์อัลเลาะฮ์ทรงพึงพอพระทัยต่อเขาและบิดดาของเขาและประทานความพึงพอพระทัยต่อเขาและบิดาของเขาด้วยเถิด) ได้ทำการรายงาน การอ่านตะฮียาตของท่านนบี(ซ.ล.)ซึ่งมันเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ แต่ท่านอิบนุอุมัร ผู้ที่เป็นซอฮาบะฮ์ที่เคร่งครัดในการเจริญรอยตามท่านนบี(ซ.ล.)อย่างมากท่านหนึ่งจากบรรดาซอฮาบะฮ์ แต่ท่านอิบนุอุมัร ก็ทำการเพิ่มเรื่องอิบาดะฮ์มาจากตัวท่านเอง เช่นท่านอุมัรกล่าวว่า "ฉันเพิ่มในตะฮียาดกับคำว่า "วะบะรอกาตุฮู" และฉันเพิ่มคำว่า "วะหฺดะฮู ลา ชะรีกะละฮ์" ซึ่งเพิ่มเข้ามา โดยที่ไม่มีหลักฐานที่นบีสั่งใช้ การกระทำของท่านอิบนุอุมัรนี้

1. เป็นการเพิ่มเติมศาสนาและวางบทบัญญัติขึ้นมาใหม่ไหมครับ?

2. มันเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงเพราะท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำไหมครับ?

3. แล้วมันเป็นการเพิ่มเติมที่เป็นการกระทำขึ้นมาใหม่ไหมครับ?

4. แล้วสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่นั้น ภาษาอาหรับเขาเรียกว่า "บิดอะฮ์" ไหมครับ?

5. แล้วทำไมท่านอิบนุอุมันจึงเพิ่มมันขึ้นมาเอง หรือว่ามันเป็นกระทำขึ้นมา"ที่ดี" เพราะอยู่ในกรอบศาสนา?

และนั่นคือความเข้าใจของท่านอิบนุอุมัรนั้น ก็คือ สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำ ก็ย่อมไม่ถือว่าหะรอม นั่นคือความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ ไม่ใช่ความเข้าใจของอุลามาอ์พี่น้องวะฮาบีย์!!!

ดังนั้น หลักการ القاعدة ที่บังอะสันยกมานั้น กรุณาอย่าลามปามถึงเรื่อง "บิดอะฮ์หะสะนะฮ์" (หากบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงนั้นไม่เป็นไร) ซึ่งหากบังอะสันเอาหลักการนั้น รวมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์แล้ว ท่านอิบนุอุมัร โดนเต็มๆเลยครับ วัลอิยาซุบิลลาห์ (ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตาและพึงพอพระทัยแด่ท่านอิบนุอุมัร และบิดาของท่าน คือท่านซัยยิดินาอุมัรด้วยเถิด และโปรดให้ทั้งสองพ้นจากหลักการโดยทางอ้อมของพี่น้องวะฮาบีย์ด้วยเถิด ยาร๊อบ)

อ้างจากบังอะสัน

มาดูหลักการในเรื่องอิบาดะฮ

أن العبادات مبناها على الشرع والاتباع، لا على الرأي والاستحسان والابتداع

แท้จริง การอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บน บทบัญญัติ และการปฏิบัติตาม ไม่ใช่ความเห็น ไม่ใช่คิดว่าดี และไม่ใช่การอุตริขึ้นมาใหม่

วิจารณ์

บังอะสันครับ บรรดาซอฮาบะฮ์มีเป็นแสนก็จริง แต่ซอฮาบะฮ์ที่อยู่ในระดับ ผู้วินิจฉัยได้นั้น มีประมาณ 130 คน (เกล็ดความรู้ครับ ผู้อ่านสมควรจำ) แล้วการวินิจฉัยของซอฮาบะฮ์ กับอิบาดะฮ์ที่อัลกุรอานและซุนนะฮ์ไม่ได้บอกไว้นั้น ก็คือสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ยอมรับด้วย ซอฮาบะฮ์บางท่าน กระทำอิบาดะฮ์ขึ้นมาเองโดยอ่านซิกิรในละหมาด และท่านนบี(ซ.ล.)ยังไม่ทันให้การยอมรับเลย บรรดามะลาอิกะฮ์ก็แย่งกันบันทึกความดีเสียแล้ว ท่านบิลาล ได้ทำการกำหนดเวลาละหมาด สองร่อกะอัต เป็นประจำหลังอาบน้ำละหมาด และนบี(ซ.ล.)ยังไม่ให้การยอมรับเลย แต่อัลเลาะฮ์รับรองได้เข้าสวรรค์เสียแล้ว ท่านค่อบีบ ได้ทำการทำละหมาดสองร่อกะอัต ก่อนถูกประหาร ขึ้นมาเอง ท่านอิบนุอุมัร ได้ทำการเพิ่มเติมการอ่านตะชะฮุด ท่านอิบนุ มัสอูด ได้ทำการเพิ่มเติมตะชะฮุดขึ้นมาเอง แล้วแบบนี้ พวกเขาได้ชื่อว่าเป็นพวกที่ตั้งภาคี และกำหนดศาสนาขึ้นมาเองหรือไม่? และเป็นอิบาดะฮ์ที่มมุษย์คิดขึ้นมาเองหรือไม่? มาชาอัลเลาะฮ์.... ดูเหมือนว่าหลักการของบังอะสันจะดี ที่ยกอายะฮ์ที่ถูกประทานแก่พวกกาเฟร มาอ้างพาดพิงกับเรา แต่เหมือนว่า จะโดนกับซอฮาบะฮ์เต็มๆ วัลอิยาซุบิลลาห์ !! หรือว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่เข้าใจ อายะฮ์ดังกล่าวนั้น ถึงต้องเพิ่มในสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ใช้ หรือว่า ซอฮาบะฮ์ อย่างท่าน ค่อบีบ ท่านอิบนุอุมัร ท่านอิบนุมัสอูดได้ทำอิบาดะฮ์ โดย ไม่ได้อยู่ บนหลักศาสนา على الشرع ไม่ได้อยู่บนการเจริญรอยตาม الاتباع แต่พวกเขาทำอิบาดะฮ์ขึ้นมา โดยใช้ความเห็น الرأي และคิดเองว่ามันเป็นสิงที่ดี الاستحسان หรือว่า ทำการอุตริกรรม الابتداع ในสิ่งที่ อัลกุรอานและซุนนะฮ์ไม่ใด้ใช้ ???

" รายงานจาก ท่านอัชชะอฺบีย์ เขากล่าวว่า ท่านอิบนุมัสอูด ได้กล่าวหลังจากอ่าน السلام عليك أيها النبي ورحمة الله وبركاته‏ (โดยเพิ่ม) ว่า السلام علينا من ربنا‏ " รายงานโดยท่าน อัฏฏ๊อบรอนีย์ ไว้ใน มั๊วะญัมอัลกะบีร และบรรดานักรายงานของท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์นั้น เป็นนักรายรายที่ซอเฮี๊ยะหฺ (ดู มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน อัลฮัยษะมีย์ หะดิษที่ 2863)

บังอะสันครับ ท่านอิบนุมัสอูดเพิ่มด้วยครับ และอย่าลืมผ่านด่าน ในกรณีของท่านอิบนุมัสอูดด้วยนะครับ แค่ซอฮาบะฮ์คนเดียวก็เพียงพอสำหรับความเข้าใจชองเราแล้วล่ะครับ ฮ่า ฮ้า


และที่สำคัญ พวกเขาไม่เข้าใจคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า "ทุกๆบิดอะฮ์(ในศาสนา) นั้นลุ่มหลง" ดอกหรือ? ถึงได้อุตริทำอิบาดะฮ์ขึ้นมา หรือว่า การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาใหม่ที่อยู่ในหลักการศาสนาทั่วไป คือสิ่งที่ดีและกระทำตามความเข้าใจของซอฮาบะฮ์

แล้วหลักการของบังอะสันที่ยกมานั้น เอาความเห็นมาจากใคร ? และเป็นหลักการของซอฮาบะฮ์หรือไม่? และความเข้าใจของซอฮาบะฮ์จริงๆนั้น มันเป็นอย่างไร? ซึ่งผมก็ได้อธิบายไปแล้ว เกี่ยวกับเรื่อง ซุนนะฮ์ ตักรีรียะฮ์ อัลหัมดุลิลลาห์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 11:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านผู้อ่านครับ บังอะสันคิดว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือ การทำกระเพิ่มเติมศาสนา คิดว่ามันเป็นการกระทำอิบาดะฮ์ที่ไม่มี أصل ที่มา จึงทำการฮุกุ่ม กับบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เกี่ยวกับอิบาดะฮ์ ที่สะลัฟได้แบ่งไว้ อย่างวอดวาย ว่ามัน เป็น "บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง" โดยยึด القاعدة จากบรรดาอุลามาอ์ที่ว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة

"แรกฐานเดิมในเรื่องอิบาดะฮนั้น มันถูกห้ามมิให้กระทำ นอกจากสิ่งที่มีลักฐาน แสดงบอกว่า มีบัญญัติใช้"

หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งจากอุลามาอ์ที่ว่า

الأصل في العبادة التوقف أو التحريم

"แรกฐานเดิมในเรื่องอิบาดะฮ์นั้น คือการหยุด หรือห้าม (ปฏิบัติจนกระทั้งมีหลักฐานที่มาบัญญัติ)"

แล้วบังอะสัน ก็เข้าใจ ไปว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็รวมอยู่ใน อิบาดะฮ์ที่ไม่มีที่มา หรือหลักฐานมาบัญญัติ จึงหุกุ่มมันเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงทั้งหมด ทั้งที่บรรดาซอฮาบะฮ์ที่ยึดมั่นและเคร่งครัดในการเจริญรอยตามท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างบังวะฮาบียและบังอะสัน แล้วความเข้าใจอย่างถูกต้องการ القاعدة นี้นั้น มันคืออะไรกัน ซึ่งความจริงแล้ว ความหมายของมันก็คือ

أنه لا يجوز التقرب إلى الله تعالى بعمل ليس له مستند شرعي.

"ไม่อนุญาติให้ทำการสร้างความใกล้ชิด ต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ด้วยการปฏิบัติ ที่ไม่มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา"

แต่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา หากเราทำการตรวจสอบที่มาในหลักวิชาการฟิกห์นั้น คือ

หลักฐานที่มา ตามหลักของศาสนา มี อยู่ 2 ประเภท

1. مستند إجمالى หลักฐานที่มาแบบสรุป คือ

هو: الأحكام الشرعية الأصليَّة المكتَسَبة من أدِلتها الإجمالية

คือ บรรดาหุกุ่มต่างๆของศาสนา ที่เป็นรากฐานที่ถูกนำมาจาก บรรดาหลักฐาน(ของหุกุ่มต่างๆ)แบบสรุป

เช่นอนุญาติให้ทำการส่งเสริม ให้มีวโรกาศต่างๆในการกระทำคุณงามความดี ที่ได้รับมาจาก การส่งเสริมการกระทำคุณงามความดี ของท่านร่อซูล(ซ.ล.) ในคือ ลัยละตุลเกาะดัร เนื่องจากเป็นคืนที่อัลกุรอานได้ประทานลงมา การเฉลิมฉลองส่งเสริมให้กระทำคุณงามความดี เนื่องในวโรกาศวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยการถือศีลอดในวันจันทร์ การเฉลิมฉลองส่งเสริมให้มีการกระทำคุณงามความดี เนื่องในวโรกาศวันที่ท่านบีมูซา อะลัยฮิสลาม ได้รอดพ้นจากเงื้อมมือของฟิรอูน ด้วยการถือศีลอดในวัน อาชูรออ์ พร้อมกับการที่ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้ห้ามให้เราในการเฉลิมฉลองส่งเสริมในการกระทำความดี ด้วยวโรกาศอื่นๆ นอกเสียจากมันเป็นการส่งเสริมในสิ่งที่เป็นภัยพิบัติที่ขัดกับหลักศาสนา และนบี(ซ.ล.)ก็ไม่ได้กล่าวว่า วายิบ ต้องทำการส่งเสริมในการกระทำความดี ด้วยการเฉลิมฉลองวโรกาศดังกล่าว ด้วย

2. مستند تفصيلي หลักฐานที่มาแบบรายละเอียด

هو: الأحكام الشرعية الفرعيَّة المكتسبة من أدلتها التفصيلية

คือ บรรดาหุกุ่มของศาสนาในข้อปลีกย่อยที่ได้รับมาจาก บรรดาหลักฐานที่อยู่ในเชิงรายละเอียด
เช่น หุกุ่มของบรรดาอิบาดะฮ์ต่างๆ ที่ศาสนาได้ระบุไว้เป็นการเฉพาะมันแล้ว เช่นการละหมาดต่างๆ การถือศีลอด ทำฮัจญี ซะกาต การเชือดสัตว์ และอื่นๆ

ดังนั้น เรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ จึงไม่คัดค้านขัด القاعدة ที่บังอะสันว่ามาเลย แต่ยิ่งไปกว่านั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์กลับเข้าไปอยู่ภายใต้ القاعدة ดังกล่าว ด้วยสาเหตุ 2 ประการ

1. ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งเสริมให้ ริเริ่มการกระทำขึ้นมา ก็แนวทางที่ดี ที่สอดคล้องและไม่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ริ่เริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน ผลตอบแทนของมัน ก็มีให้แก่เขา และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ริเริ่ม(อุตริ)ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน จากหลักเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)

และท่านนบี(ซ.ล.) ก็สั่งห้ามให้ริเริ่มกระทำขึ้นมาใหม่กับสิ่งที่เลว ดังที่ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า

كل بدعة ضلالة

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

หมายถึง ทุกบิดอะฮ์ ที่ขัดกับหลักศาสนานั้น ย่อม ลุ่มหลง และประเด็นของหะดิษเหล่านี้ เราก็ได้อธิบายรายละเอียดไปแล้ว อัลฮัมดุลิลลาห์

2. บิดอะฮ์ที่วางอยู่บนหลักการของหุกุ่มศาสนา หากบิดอะฮ์นั้น อยู่ในหุกุ่มวายิบ ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่วายิบ และบิดอะฮ์ที่อยู่ในมาตรฐานของหะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม.....(ซึ่งเราได้นำเสนอไปแล้ว)

ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า

ท่าน อัล-บัซฺซฺาร ได้รายงานจาก อบี อัดดัรดาอ์ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า

وما أحل الله فى كتابه فهو حلال وما حرم فهو حرام ، وما سكت عته فهو عفو ، فأقبلوا من الله عافيته ، فإن الله لم يكن لينسى شيئا ، ثم تلا ( وما كان ربك نسيا)
قال البزار : إسناده صالح، وصصه الحاكم

"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุมัต (คือ สิ่งวายิบ สุนัติ และมุบะฮ์) ในคำภีร์ของพระองค์นั้น คือสิ่งที่หะลาล (จนถึงวันกิยามะฮ์) และสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม (คือ หะรอม และมุกโระฮ์ ด้วยหนทางแบบสรุป หรือรายละเอียด) นั้น คือสิ่งที่ห้าม (จนถึงวันกิยามะฮ์) และสิ่งที่พระองค์ทรงนิ่งจากมัน (คือสิ่งที่ ยาอิซฺ อนุญาติให้กระทำได้) ย่อมเป็นการอนุโลมให้ ดังนั้น พวกท่านตอบรับการผ่อนปรนของพระองค์เถิด เพราะแท้จริงแล้ว อัลเลาะฮ์ไม่ทรงเคยลืมเลย จากนั้นท่านร่อซูลได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า "และพระผู้อภิบาลของเจ้านั้น ไม่ทรงลืม" ท่านอัล-บัซฺซฺารกล่าวว่า หะดิษนี้ ดี และท่านหะกิมถือว่า หะดิษนี้ซอฮิหฺ

ข้อควรระวัง

บังอะสัน โปรดอย่าสับสนระหว่าง การจำกัด คุณลักษณะของอิบาดะฮ์ تحديد الوصف และการจำกัดของขนาดของอิบาดะฮ์ تحديد المقدار ในเรื่องของอิบาดะฮ์ เพราะหลักการศาสนาได้จำกัด คุณลักษณะของอิบาดะฮ์ เช่น การละหมาด คือ เริ่มด้วยการตักบีร และ จบด้วยการให้สลาม ด้วยมีบรรดา ลักษณะและรุกุ่นต่างๆของการละหมาด แต่หลักการของศาสนาก็ไม่ได้ จำกัด บรรดาอะมัลที่อยู่ในความหมายแบบกว้างๆ ที่อนุญาติให้กระทำได้ เช่น การอ่านอัลกุรอาน การกล่าวสรรญเสริญอัลเลาะฮ์ และการกล่าวซิกรุลเลาะฮ์ เป็นต้น และเฉกเช่นเดียวกัน คือ หลักศาสนา ได้จำกัดบรรดาละหมาดฟัรดู ด้วยบรรดาร่อกะอัตต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว และได้จัดกำเวลาของละหมาดห้าเวลาไว้พร้อมสรรพ และได้กำหนดการละหมาดสุนัตร่อวาติบหลังละหมาดห้าเวลาแล้ว แต่ว่า หลักศาสนา ไม่ได้จำกัด จำนวนหรือขนาดของอิบาดะฮ์ที่เป็นสุนัต ที่สมัครใจกระทำ และไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 11:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างถึงบังอะสัน

ท่านอิบนุหัซมิน(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

[الحق حق وإن استقبحه الناس، والباطل باطل وإن استحسنه الناس، فصح أن الاستحسان شهوة، واتباعُ للهوى وضلال، وبالله تعالى نعوذ من الخذلان] (196/2) من الإحكام في أصول الأحكام

ความจริง คือ ความจริง แม้ว่า ผู้คนจะเห็นว่า ไม่ดีก็ตาม และ ความเท็จ คือ ความเท็จ แม้ว่าผู้ คนจะเห็น ว่าดีก็ตาม ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ การ คิดเห็นว่าดี นั้น คือ ตัณหา คือ การตามอารมณ์ และเป็นการหลงผิด เราขอความคุ้มต่ออัลลอฮ ให้พ้นจากความผิดหวังทั้งหลายด้วยเถิด - อัลอะหกาม ฟีอุศูลุ้ลอะหกาม เล่ม 2 หน้า 196

วิจารณ์

คำว่าเห็นดีตรงนี้ คือหลัก "อิสติหฺซาน" ไม่ใช่ว่า อะไรที่นักปราชญ์มุจญฮิดเห็นด้วยโดยอยู่บนพื้นฐานของศาสนาล้ว จะเป็นการตามอารมณ์นัฟซู ก็หาไม่ครับ ท่านอิบนุหัซฺมินนี้ เป็นที่ทราบดีว่า ท่านไม่ปฏิเสธการอิสติหฺซาน ปฏิเสธในเรื่องการกิยาส ซึ่งมันเป็นมัซฮับอัซซอฮิรีย์ แต่ท่านได้อ้างเหตุผลโดยสนับสนุนทัศนะของท่านเท่านั้น โดยไม่ลามปามไปกล่าวหามัซฮับอื่นๆ ที่ไม่ใช่อยู่ในแนวทางของตนว่า ทำบิดอะฮ์และกระทำตามอารมณ์ การมีทัศนะใดทัศนะหนึ่ง ที่ปฏิบัติตามและยึดมั่นหลักการโดยจำกัดอยู่ในบุคคลที่อยู่ในทัศนะนั้นๆ ย่อมไม่ใช่มีปัญหาแต่ประการใด และย่อมไม่สร้างความแตกแยกในประชาชาติอิสลาม แต่การยึดทัศนะของตน แล้วไปลามหุกุ่มทัศนะอื่นๆนั้น ย่อมไม่เป็นหลักการและแบบอย่างของสะละฟุสศอลิหฺ และเป็นการสร้างความแตกแยกในประชาชาติอิสลาม และในสังคมบ้านเราด้วย


อ้างถึงบังอะสัน

และเคยบอกแล้วว่า การตามอุลามาอ ไม่เหมือนการตามท่านรอซูล การตามอุลามาอ ต้องมีหลักฐาน ดังที่อิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า
[ليس لأحد دون الرسول صلى الله عليه وسلم أن يقول إلا بالاستدلال. ولا يقول بما استحسن، فإن القول بما استحسن شيء يحدثه لا على مثال سبق] ص (25) الرسالة

ไม่อนุญาตให้บุคคลใดอื่นจากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อการที่เขาจะกล่าวอ้าง เว้นแต่ต้อง อ้างอิงหลักฐาน และเขาจะไม่กล่าวด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดี แท้จริง การกล่าวอ้าง ด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดีนั้น คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน - อัรริสาละฮ หน้า 25

วิจารณ์

การตามอุลามาอ์มุจญฺฮิดนั้น ย่อมไม่หลายสถานะภาพการณ์ เช่นคนมุก๊อลลิด ที่ตามบรรดาอุลามาอ์โดยไม่รู้หลักฐาน ซึ่งดังกล่าว ก็เป็นการตามอนุญาติ ตามทัศนะที่อิมามมาลิกและอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวเอาไว้ (ซึ่งเราได้ทำการชี้แจงแล้วในเรื่องมัซฮับ ในภาคที่ 1 ผู้ใดต้องการจะทราบโปรดกับไปทบทวน)

อิมามอัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า"ไม่อนุญาตให้บุคคลใดอื่นจากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อการที่เขาจะกล่าวอ้าง เว้นแต่ต้อง อ้างอิงหลักฐาน "

คำกล่าวของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์นี้ มีความถูกต้อง แต่ไม่ตรงเป้าหมายของแนวทางพี่น้องวะฮาบีย์ อันดับแรกเราต้องเข้าใจเป้าหมายและเจตนารมณ์ของอิมามอัชชาฟิอีย์เสียก่อนว่าหมายถึงอะไร? ซึ่ง "การอ้างหลักฐาน" ที่อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวไว้นี้ ไม่ใช่ เพียงแค่ อัลกุรอานและซุนนะฮ์เพียงอย่างเดีย แต่หมายถึง รวม การอิจญฺมาอ์ และการกิยาสด้วย แม้กระทั้งเรื่องการกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ก็ตาม เนื่องจากการกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์นี้ ก็คือทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และท่านอิมามทั้งสี่ท่านอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น คำกล่าวของซอฮาบะฮ์ ก็เป็นหลักฐานได้ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ โดยมีเงื่อนไงและรายละเอียดต่างๆที่ผมไม่สามารถยกมานำเสนอได้ ดังนั้น เราจะนำคำกล่าวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ มาหักล้างเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ การกิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ที่เป็นทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ย่อมไม่ได้ และไม่เป็นธรรม และถือเป็นการอ้างคำพูดของอิมามอัช-ชาฟิอีย์โดยผิดเป้าหมายและเจตนารมณ์ของอิมามอัช-ชาฟิอีย์

อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวอีกว่า"และเขาจะไม่กล่าวด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดี แท้จริง การกล่าวอ้าง ด้วยสิ่งที่เขาเห็นว่าดีนั้น คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน"

บังอะสันครับ คำว่าเห็นดีใน ณ ที่นี้ คือ หลัก "การอิสติหฺซาน" ตามเป้าหมายของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ไม่ใช่อะไรที่เห็นว่าดีแล้ว ถือว่าเป็นอุตริกรรมทั้งหมด เนื่องจากอิมามอัช-ชาฟิอีย์เอง ก็ยอมรับในเรื่อง สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยสอดคล้องกับศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี และสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับศาสนาย่อมเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ ดังนั้น หลักอิสติหฺซาน ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์นี้ คือการอิสติหฺซานที่ตามอารมณ์นัฟซูเท่านั้น

แล้วทำไมบังอะสันถึงไม่เข้าใจคำกล่าวของอิมามอัชชาฟิอีย์ให้ทั้งหมดละครับ สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น ท่านอิมามกล่าวอธิบายไว้ว่า

1. อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

ท่านอบู นุอัยม์ ได้นำเสนอรายงานอื่นอีก ไว้ในหนังสือ หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 9 หน้า 113 ว่า "ท่านอิมามอัช-อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ ดังนั้น สิ่งที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรญเสริญ และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ และอิมามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับ ละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมฏอนที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"


--------------
อ้างอิงจากบังอะสัน

ตอนนี้ อยากจะให้น้องและสหายยกตัวอย่าง บิดอะฮหะสะนะฮ มา ว่าที่อิหม่ามชาฟิอี อุตริบิดอะฮ หะสะนะฮนั้นมีอะไรบ้าง แต่ อย่าป้ายเรื่องเท็จให้แก่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ของบังอะสันให้มัวหมอง น่ะครับ ท่านอิหม่ามชาฟิอีได้กล่าวว่า
من استحسن فقد شرّعผู้ใดเห็นดี( คือ คิดบิดอะฮขึ้นมาแล้วเห็นว่าดี) แน่นอนผู้นั้นได้ตั้งบัญญัติขึ้นใหม่ - ดู อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาต หน้า 5 และซิลซิละฮหะดิษเฏาะอีฟะฮ ของอัล-บานีย์ - เล่ม 2หน้า 19

ตอบ

ตอนนี้เรากำลังคุยคำนิยามบิดอะฮ์กันอยู่ ซึ่งอิมามชาฟิอีย์นั้น ก็ได้ยกตัวอย่าง คำกล่าวของท่านอุมัร (ร.ฏ.) นี่เพียงพอแล้วสำหรับเข้าใจคำว่า "บิดอะฮ์" และคำกล่าวของท่านอุมัรนั้น ผมเชื่อว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องดุนยา แต่มันเป็นเรื่องศาสนา และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ คำว่า"บิดอะฮ์ที่ดี" ของท่านอุมัรนี้ มันมีความหมาย แบบเชิงภาษา หรือ ในเชิงศาสนา นั้น เราก็จะคุยกันต่อ แต่ที่แน่ๆนั้น ไม่ว่าจะในเชิง ภาษา หรือ เชิงศาสนา มันก็ไม่ได้ปฏิเสธ การแบ่งบิดอะฮ์เป็น หะสะนะฮ์ (บิดอะฮ์ที่ดี) และ ก่ะบีหะฮ์(บิดอะฮ์ที่น่ารักเกียจ) เพราะผมคุยประเด็นสำคัญคือ เรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ และรายละเอียดต่างๆของมัน

จากคำอ้างอิงของบังอะสัน จากคำพูดของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) นั้น มันไม่เกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ตามที่บังอะสันได้ทำการวงเล็บมันเอาไว้เลย แต่มันเกี่ยวกับเรื่อง อัล-อิสติหฺซาน ในหลักอุซูลุลฟิกห์ ซึ่งบังอะสัน ต้องเข้าใจ อัลอิสติหฺซานก่อน แล้วบังอะสันก็จะเข้าใจคำพูดของอิมามชาฟิอีย์

ท่าน อัล-อามิดีย์ กล่าวว่า

النوع الثالث : الإستحسان

وقد أختلف فيه فقال به أصحاب أبو حنيفة وأحمد بن حنبل ؛ وأنكر الباقون ، حتى نقل عن الشافعى أنه قال : من استحسن ، فقد شرع

ความว่า" ได้ขัดแย้งกัน ในเรื่อง อัลอิสติหฺซาน ดังนั้น ได้กล่าวยอมรับการ อัลอิสติหฺซาน โดยบรรดาศานุศิษย์ของอบูหะนีฟะฮ์ และท่านอะหฺมัด บิน หัมบัล และบรรดากลุ่มที่เหลือ ให้การปฏิเสธ จนกระทั้ง ถูกถ่ายทอดคำกล่าวของ ท่านอัชชาฟิอีย์ ว่า "ผู้ใดที่ทำการอิสติหฺซาน เขาย่อมวางบทบัญญัติขึ้น(เอง)" (ดู อัล-อิหฺกาม ฟี อุซูลุลอะหฺกาม เล่ม 4 หน้า 390)

แล้วอะไรคือ อัล-อัสติหฺซาน ตามหลักวิชาอุซูลลุลฟิกห์ ? หรือว่า วะฮาบีย์ เขาไปแปลคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ ในเชิงภาษา แล้วก็เอามาสนับสนุนแนวทางของตนเองนั้น ก็เอาไปหลอกชาวบ้านเอาวามนั้นได้ แต่อย่าเอาหลอกผู้ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้เขามีความรู้เล็กๆน้อยๆ

คำนิยามของ" อัลอิสติหฺซาน"
ตามหลักภาษา หมายถึง ถือว่าดี คิดว่าดี เชื่อว่าดี หรือนับว่าดี
ตามหลักวิชาการหมายถึง " การเปลี่ยนการเอาหุกุ่มหนึ่งที่ได้จากการกิยาสที่ชัดเจน ไปยังการใช้กิยาสล้ำลึกกว่า เนื่องจากมีหลักฐาน(หมายถึงเหตุผล)อื่นมาให้น้ำหนักมากกว่า"

อัลอิสติหฺซานนี้ มีหลายประเภทด้วยกัน

ดูตัวอย่าง
- การอิสติหฺซานด้วยการ กิยาสที่(มีน้ำหนัก)ล้ำลึก

เช่นการ วะกัฟที่ดินเพาะปลูก ซึ่งสามารถมาใช้ได้ 2 การกิยาส

1. กิยาสที่ชัดเจน คือการวะกัฟนั้น เสมือนกับการ ขาย ซึ่งผู้วะกัฟไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆกับสิ่งที่วะกัฟไปแล้ว ซึ่งเหมือนกับการขายให้ผู้อื่นไปแล้ว ดังนั้น ผู้วะกัฟ จะไปใช้ประโยชน์ในการเดินผ่าน หรือไปเอาน้ำมาใช้เรื่องส่วนตนไม่ได้แล้ว เพราะเหมือนกับขายผู้อื่นไปแล้ว นี่เขาเรียกว่า เอาการวะกัฟ ไปกิยาสกับการ ขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชัดเจนครับ

2. กิยาสที่(มีน้ำหนัก)ล้ำลึก คือการวะกัฟ เสมือนกับการ ให้เช่า เนื่องจากผู้ใช้เช่าก็ยังได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ตนให้ผู้อื่นทำการเช่า และผู้ที่ทำการเช่าก็ได้รับผลประโยชน์อยู่แล้ว การวะกัฟก็เช่นกัน คือทั้งผู้วะกัฟ และผู้ที่ถูกวะกัฟให้กับเขา ก็สามารถได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายด้วยกับสิ่งที่วะกัฟไป

ฉะนั้น การกิยาสแบบที่สอง จึงมีน้ำหนักมากกว่าอีกแบบที่หนึ่ง เพราะจุดมุ่งหมายของการวะกัฟนั้นคือ การเอาผลประโยชน์จากมัน

- การอิสติหฺซานด้วยการ อุรุฟ (ตามธรรมเนียมชนส่วนมาก)

เช่นผู้คนต่างรู้ดีว่า ทำสิ่งหนึ่งที่ขัดกับหลักกิยาสและหลักการทั่วไป ด้วยเหตุที่มีความจำเป็น
เช่นการให้เช้าห้องน้ำ ด้วยราคาที่ตายตัว โดยไม่ได้กำหนดปริมานน้ำที่ลูกค้าจะใช้ หรือระยะเวลาที่อยู่ในห้องน้ำ ซึ่งตามหลัก กิยาส ถึงว่าไม่อนุญาติ เนื่องจากการเช่าคลุ่มถึงข้อตกลงให้เช่าที่ไม่แน่ชัด ว่าเช่าเวลาเท่าไหร่ ใช้น้ำปริมานเท่าไหร่ เป็นต้น แต่ดังกล่าวก็อนุญาติ เพราะมีความจำเป็น และไม่อยากให้เกิดความลำบาก ฉะนั้น ดังกล่าวนี้ จึงถึงว่าการ อัลอิสติหฺซาน

ความจริงการ อิสติหฺซานนี้ อยู่ในหลักการกิยาส และหลักอัลอิสติหฺซานนี้ บรรดาอุลามาอ์มัซฮับชาฟิอีย์ก็นำมาใช้ และอัลอิสติหฺซานที่อยู่ในลักษณะเช่นนี้ ก็ไม่มีผู้ใดให้การคัดค้าน เพราะมันไม่ได้ใช้พื้นฐานอารมณ์มาเป็นที่ตั้ง ดังนั้น คำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ที่ว่า "ผู้ใดทำการอัลอิสติหฺซาน เขาย่อมวางบทบัญญัติขึ้นมาเอง" ย่อมหมายถึง การอิสติหฺซานที่เอาอารมณ์มาเป็นที่ตั้ง หรือตามอารมณ์ แต่ทำการอิสติหฺซาน โดยตามหลักการ ก็ย่อมไม่มีปัญหาแต่ประการใด

ดังนั้น วะฮาบีย์จะเอาคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) มาแอบอ้างให้เข้าทางตนย่อมไม่ได้ เนื่องจากมันเป็นธรรม

เนื่องจากอิมามชาฟิอีย์ ก็ให้หลักอิสติหฺซาน เช่นท่านอัล-อามิดีย์ ได้กล่าวถ่ายทอดคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ไว้ว่า

وقد نقل عن الشافعى أنه قال : أستحسن فى المتعة أن يكون ثلاثين درهما ؛ وأستحسن ثبوت الشفعة للشفيع الى ثلاثة أيام ؛ وأستحسن ترك شىء من نجوم الكتابة. وقال فى السارق إذا أخرج يده اليسرى بدل اليمنى ، فقطعت : القياس أن تقطع يمناه ، والإستحسان أن لا تقطع

"ได้ถูกถ่ายทอด จากอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ซึ่งแท้จริง ท่านกล่าวว่า ฉันได้ถือว่าดี(อิสติหฺซาน) ในเรื่องให้ค่าเลี้ยงดูนั้น คือ 30 ดิรฮัม และฉันถือว่าดี กับการให้คงการร่วมหุ้นส่วนกัน กับผู้ที่ร่วมหุ้นส่วนนั้น (อย่างน้อย)ระยะเวลา 3 วัน และฉันถือว่าดี กับการทิ้งทรัพย์สินบางส่วน (ให้แก่ทาส) จากทรัพย์งวดต่างๆของการที่ทาสได้หาเงินมาไถ่ตัวตนเอง และอิมามชาฟิอีย์ กล่าวเกี่ยวกับ ผู้ขโมยว่า เมื่อเขายื่นมือซ้ายแทนมือขวาออกมา ก็ให้ตัดมือซ้าย โดยที่ อัลกิยาสแล้ว คือให้ตัดมือขวา แต่ที่นับว่าดีนั้น ไม่ควรตัด" (เนื่องจากเขาจะได้เอามือขวาที่ถนัดไปดำรงชีวิตประจำวันได้สะดวก) (ดู อัลอิหฺกาม ฟี อุซูล อัลอะหฺกาม เล่ม 4 หน้า 391)

ดังนั้น การอิสติหฺซานตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ที่ต้องห้ามนั้น คือการอิสติหฺซานตามอารมณ์และไม่มีรากฐานจากหลักการ



เรามาดูประเด็นเรื่องการกิยาส ซึ่งมีอุลามาอ์มีความเห็นแตกต่างกัน มัซฮับที่

1. การกิยาส จะนำมาใช้ในเรื่องอิบาดะอ์ไม่ได้ตามหลักสติปัญญา ทัศนะนี้ เป็นของกลุ่ม ชีอะฮ์ และกลุ่มหนึ่งจากพวกมั๊วะตะซิละฮ์บุคดาด

2. การกิยาส จำเป็นต้องในเรื่องอิบาดะฮ์ตามหลักปัญญา ทัศนะนี้ เป็นของท่าน อัลก๊อฟฟาล และอบี อัลหุซัยน์ อัลบะซอรีย์

3. อนุญาติให้กิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ ตามหลักปัญญา แต่ว่าไม่อนุญาติให้นำกิยาสมาใช้เรื่องอิบาดะฮ์ตามหลักศาสนา แต่หลักศาสนาได้ห้ามกับมัน ทัศนะนี้ เป็นของ พวกอัซซอฮิรียะฮ์ หนึ่งในนั้น คือท่านอิบนุหัซมิน (และเท่าที่ผมศึกษามา ผมเข้าใจว่ามันเป็นแนวทางของวะฮาบีย์ด้วยครับ)

4. อนุญาติให้ใช้กิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ได้ตามหลักสติปัญญา และอนุญาติให้เกิดขึ้นโดยการอิบาดะฮ์ด้วยการกิยาสได้ตามหลักศาสนา ทัศนะนี้ เป็นคำกล่าวของ สะลัฟ จากบรรดาซอฮาบะฮ์ บรรดาตาบิอีน อิมามชาฟิอีย์ อิมามอบูหะนีฟะฮ์ อิมามมาลิก อิมามอะหฺมัด และส่วนมากของอุลามาอ์ฟิกห์ และอุลามาอ์มุตะกัลลิมีน และนี้คือมัซฮับที่ถูกต้อง (ดู อัลอิหฺกาม ฟี อุซูล อัลอะหฺกาม เล่ม 3 หน้า 64 และกัชฟุลอัสร๊อร ของท่านอัลบัซฺดะวีย์ เล่ม 3 หน้า 270 )

แล้ววะฮาบีย์เขาอยู่ในแนวทางของสะลัฟหรือเปล่าครับ???


อ้างถึงบังอะสัน

และท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไว้อีกว่า
ولو جاز لأحد الاستحسان في الدين لجاز ذلك لأهل العقول من غير أهل العلم ولجاز أن يشرع في الدين في كل باب وأن يخرج كل أحد لنفسه شرعاً

และถ้าหากว่า อนุญาตให้คนใดก็ได้ เห็นดี(คือคิดการบิดอะฮตามที่ตนเห็นว่าดี) ในศาสนา แน่นอน เรื่องดังกล่าว ย่อมอนุญาตให้ ผู้ที่มีปัญญา ที่ไม่ใช่ผู้ทรงความรู้(มุจญฺฮิด) และอนุญาติให้ บัญญัติศาสนาขึ้นมาในทุกเรื่อง และทุกๆคนจะออกบัญญัตขึ้นมาให้แก่ตัวเอง - (ผมได้เปลี่ยนสำนวนการแปลบางจุดเพื่อความถูกต้องครับ - อัลฟารูก)
ดูอิรชาดุ้ลฟุหูล หน้า 240

วิจารณ์

คำกล่าวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์นี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ หะสะนะฮ์ครับ บังอะสันไม่สมควรวงเล็บว่า "คือคิกการบิดอะฮ์ตามที่ตนเห็นว่าดี" เพราะมันไม่ใช่จุดมุ่งหมายของอิมามอัช-ชาฟีอีย์เลยแม้แต่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น มันกลับตรงกันข้ามกับทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และคำพูดของอิมามอัช-ชาฟิอีย์นี้ มันเกี่ยวกับหลัก "อัลอิสติหฺซาน" ไม่ใช่ เรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดีที่อิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ยอมรับเอาไว้)

อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวอีกว่า "แน่นอนว่า สิ่งดังกล่าว(คือเรื่องอัลอิสติหฺซาน) อนุญาติกระทำได้ กับ ผู้ที่มีสติปัญญาที่ไม่ได้มาจากผู้ที่มีความรู้(หมายถึงอุลามาอ์มุจญฺฮิด เนื่องจากคำว่า "อะฮ์ลุลอิลมิ"ในวิชาอุซูลุลฟิกห์นั้น หมายถึง มุจญฺฮิด) "

คำพูดของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ นี้ชัดเจนครับ คือท่านอิมามไม่เปิดโอกาสให้ ผู้ที่มีสติปัญญาที่ไม่มีคุณลักษณะของนักมุจญฺฮิด(ผู้ทรงความรู้) ในการใช้หลักอิสติหฺซาน เนื่องจากเขาอาจจะกระทำการบัญญัติสิ่งหนึ่งขึ้นมาในศาสนาตามอารมณ์นัฟซู และบัญญัติสิ่งต่างๆให้กับตนเองในเรื่องศาสนา แต่สำหรับผู้มีสติปัญญาจากอุลามาอ์มุจญฺฮิดผู้ทรงความรู้นั้น ย่อมไม่ถูกห้ามในการวินิจฉัยและให้หลักอิสติหฺซานครับ

และสิ่งที่ผมนำเสนอไปนั้น ผมไม่บังคับให้บังอะสันต้องมาตามแนวทางของเรา แต่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเองครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 5

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ