ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 31, 32, 33  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 7:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

ตอนนี้ อยากจะให้น้องและสหายยกตัวอย่าง บิดอะฮหะสะนะฮ มา ว่าที่อิหม่ามชาฟิอี อุตริบิดอะฮ หะสะนะฮนั้นมีอะไรบ้าง แต่ อย่าป้ายเรื่องเท็จให้แก่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ของบังอะสันให้มัวหมอง น่ะครับ ท่านอิหม่ามชาฟิอีได้กล่าวว่า
من استحسن فقد شرّعผู้ใดเห็นดี( คือ คิดบิดอะฮขึ้นมาแล้วเห็นว่าดี) แน่นอนผู้นั้นได้ตั้งบัญญัติขึ้นใหม่ - ดู อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาต หน้า 5 และซิลซิละฮหะดิษเฏาะอีฟะฮ ของอัล-บานีย์ - เล่ม 2หน้า 19

ตอบ

ตอนนี้เรากำลังคุยคำนิยามบิดอะฮ์กันอยู่ ซึ่งอิมามชาฟิอีย์นั้น ก็ได้ยกตัวอย่าง คำกล่าวของท่านอุมัร (ร.ฏ.) นี่เพียงพอแล้วสำหรับเข้าใจคำว่า "บิดอะฮ์" และคำกล่าวของท่านอุมัรนั้น ผมเชื่อว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องดุนยา แต่มันเป็นเรื่องศาสนา และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ คำว่า"บิดอะฮ์ที่ดี" ของท่านอุมัรนี้ มันมีความหมาย แบบเชิงภาษา หรือ ในเชิงศาสนา นั้น เราก็จะคุยกันต่อ แต่ที่แน่ๆนั้น ไม่ว่าจะในเชิง ภาษา หรือ เชิงศาสนา มันก็ไม่ได้ปฏิเสธ การแบ่งบิดอะฮ์เป็น หะสะนะฮ์ (บิดอะฮ์ที่ดี) และ ก่ะบีหะฮ์(บิดอะฮ์ที่น่ารักเกียจ) เพราะผมคุยประเด็นสำคัญคือ เรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ และรายละเอียดต่างๆของมัน

จากคำอ้างอิงของบังอะสัน จากคำพูดของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) นั้น มันไม่เกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ตามที่บังอะสันได้ทำการวงเล็บมันเอาไว้เลย แต่มันเกี่ยวกับเรื่อง อัล-อิสติหฺซาน ในหลักอุซูลุลฟิกห์ ซึ่งบังอะสัน ต้องเข้าใจ อัลอิสติหฺซานก่อน แล้วบังอะสันก็จะเข้าใจคำพูดของอิมามชาฟิอีย์

ท่าน อัล-อามิดีย์ กล่าวว่า

النوع الثالث : الإستحسان

وقد أختلف فيه فقال به أصحاب أبو حنيفة وأحمد بن حنبل ؛ وأنكر الباقون ، حتى نقل عن الشافعى أنه قال : من استحسن ، فقد شرع

ความว่า" ได้ขัดแย้งกัน ในเรื่อง อัลอิสติหฺซาน ดังนั้น ได้กล่าวยอมรับการ อัลอิสติหฺซาน โดยบรรดาศานุศิษย์ของอบูหะนีฟะฮ์ และท่านอะหฺมัด บิน หัมบัล และบรรดากลุ่มที่เหลือ ให้การปฏิเสธ จนกระทั้ง ถูกถ่ายทอดคำกล่าวของ ท่านอัชชาฟิอีย์ ว่า "ผู้ใดที่ทำการอิสติหฺซาน เขาย่อมวางบทบัญญัติขึ้น(เอง)" (ดู อัล-อิหฺกาม ฟี อุซูลุลอะหฺกาม เล่ม 4 หน้า 390)

แล้วอะไรคือ อัล-อัสติหฺซาน ตามหลักวิชาอุซูลลุลฟิกห์ ? หรือว่า วะฮาบีย์ เขาไปแปลคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ ในเชิงภาษา แล้วก็เอามาสนับสนุนแนวทางของตนเองนั้น ก็เอาไปหลอกชาวบ้านเอาวามนั้นได้ แต่อย่าเอาหลอกผู้ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้เขามีความรู้เล็กๆน้อยๆ

คำนิยามของ" อัลอิสติหฺซาน"
ตามหลักภาษา หมายถึง ถือว่าดี คิดว่าดี เชื่อว่าดี หรือนับว่าดี
ตามหลักวิชาการหมายถึง " การเปลี่ยนการเอาหุกุ่มหนึ่งที่ได้จากการกิยาสที่ชัดเจน ไปยังการใช้กิยาสล้ำลึกกว่า เนื่องจากมีหลักฐาน(หมายถึงเหตุผล)อื่นมาให้น้ำหนักมากกว่า"

อัลอิสติหฺซานนี้ มีหลายประเภทด้วยกัน

ดูตัวอย่าง
- การอิสติหฺซานด้วยการ กิยาสที่(มีน้ำหนัก)ล้ำลึก

เช่นการ วะกัฟที่ดินเพาะปลูก ซึ่งสามารถมาใช้ได้ 2 การกิยาส

1. กิยาสที่ชัดเจน คือการวะกัฟนั้น เสมือนกับการ ขาย ซึ่งผู้วะกัฟไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆกับสิ่งที่วะกัฟไปแล้ว ซึ่งเหมือนกับการขายให้ผู้อื่นไปแล้ว ดังนั้น ผู้วะกัฟ จะไปใช้ประโยชน์ในการเดินผ่าน หรือไปเอาน้ำมาใช้เรื่องส่วนตนไม่ได้แล้ว เพราะเหมือนกับขายผู้อื่นไปแล้ว นี่เขาเรียกว่า เอาการวะกัฟ ไปกิยาสกับการ ขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชัดเจนครับ

2. กิยาสที่(มีน้ำหนัก)ล้ำลึก คือการวะกัฟ เสมือนกับการ ให้เช่า เนื่องจากผู้ใช้เช่าก็ยังได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ตนให้ผู้อื่นทำการเช่า และผู้ที่ทำการเช่าก็ได้รับผลประโยชน์อยู่แล้ว การวะกัฟก็เช่นกัน คือทั้งผู้วะกัฟ และผู้ที่ถูกวะกัฟให้กับเขา ก็สามารถได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายด้วยกับสิ่งที่วะกัฟไป

ฉะนั้น การกิยาสแบบที่สอง จึงมีน้ำหนักมากกว่าอีกแบบที่หนึ่ง เพราะจุดมุ่งหมายของการวะกัฟนั้นคือ การเอาผลประโยชน์จากมัน

- การอิสติหฺซานด้วยการ อุรุฟ (ตามธรรมเนียมชนส่วนมาก)

เช่นผู้คนต่างรู้ดีว่า ทำสิ่งหนึ่งที่ขัดกับหลักกิยาสและหลักการทั่วไป ด้วยเหตุที่มีความจำเป็น
เช่นการให้เช้าห้องน้ำ ด้วยราคาที่ตายตัว โดยไม่ได้กำหนดปริมานน้ำที่ลูกค้าจะใช้ หรือระยะเวลาที่อยู่ในห้องน้ำ ซึ่งตามหลัก กิยาส ถึงว่าไม่อนุญาติ เนื่องจากการเช่าคลุ่มถึงข้อตกลงให้เช่าที่ไม่แน่ชัด ว่าเช่าเวลาเท่าไหร่ ใช้น้ำปริมานเท่าไหร่ เป็นต้น แต่ดังกล่าวก็อนุญาติ เพราะมีความจำเป็น และไม่อยากให้เกิดความลำบาก ฉะนั้น ดังกล่าวนี้ จึงถึงว่าการ อัลอิสติหฺซาน

ความจริงการ อิสติหฺซานนี้ อยู่ในหลักการกิยาส และหลักอัลอิสติหฺซานนี้ บรรดาอุลามาอ์มัซฮับชาฟิอีย์ก็นำมาใช้ และอัลอิสติหฺซานที่อยู่ในลักษณะเช่นนี้ ก็ไม่มีผู้ใดให้การคัดค้าน เพราะมันไม่ได้ใช้พื้นฐานอารมณ์มาเป็นที่ตั้ง ดังนั้น คำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ที่ว่า "ผู้ใดทำการอัลอิสติหฺซาน เขาย่อมวางบทบัญญัติขึ้นมาเอง" ย่อมหมายถึง การอิสติหฺซานที่เอาอารมณ์มาเป็นที่ตั้ง หรือตามอารมณ์ แต่ทำการอิสติหฺซาน โดยตามหลักการ ก็ย่อมไม่มีปัญหาแต่ประการใด

ดังนั้น วะฮาบีย์จะเอาคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) มาแอบอ้างให้เข้าทางตนย่อมไม่ได้ เนื่องจากมันเป็นธรรม

เนื่องจากอิมามชาฟิอีย์ ก็ให้หลักอิสติหฺซาน เช่นท่านอัล-อามิดีย์ ได้กล่าวถ่ายทอดคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ไว้ว่า

وقد نقل عن الشافعى أنه قال : أستحسن فى المتعة أن يكون ثلاثين درهما ؛ وأستحسن ثبوت الشفعة للشفيع الى ثلاثة أيام ؛ وأستحسن ترك شىء من نجوم الكتابة. وقال فى السارق إذا أخرج يده اليسرى بدل اليمنى ، فقطعت : القياس أن تقطع يمناه ، والإستحسان أن لا تقطع

"ได้ถูกถ่ายทอด จากอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ซึ่งแท้จริง ท่านกล่าวว่า ฉันได้ถือว่าดี(อิสติหฺซาน) ในเรื่องให้ค่าเลี้ยงดูนั้น คือ 30 ดิรฮัม และฉันถือว่าดี กับการให้คงการร่วมหุ้นส่วนกัน กับผู้ที่ร่วมหุ้นส่วนนั้น (อย่างน้อย)ระยะเวลา 3 วัน และฉันถือว่าดี กับการทิ้งทรัพย์สินบางส่วน (ให้แก่ทาส) จากทรัพย์งวดต่างๆของการที่ทาสได้หาเงินมาไถ่ตัวตนเอง และอิมามชาฟิอีย์ กล่าวเกี่ยวกับ ผู้ขโมยว่า เมื่อเขายื่นมือซ้ายแทนมือขวาออกมา ก็ให้ตัดมือซ้าย โดยที่ อัลกิยาสแล้ว คือให้ตัดมือขวา แต่ที่นับว่าดีนั้น ไม่ควรตัด" (เนื่องจากเขาจะได้เอามือขวาที่ถนัดไปดำรงชีวิตประจำวันได้สะดวก) (ดู อัลอิหฺกาม ฟี อุซูล อัลอะหฺกาม เล่ม 4 หน้า 391)

ดังนั้น การอิสติหฺซานตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ที่ต้องห้ามนั้น คือการอิสติหฺซานตามอารมณ์และไม่มีรากฐานจากหลักการ

ดูตัวอย่างเช่น การกล่าว الصلاة جامعة ก่อนจะละหมาดอีด ซึ่งถือว่าไม่เป็นบิดอะฮ์ เพราะไปกิยาสกับละหมาด จันทร์คราส ในแง่ที่ให้มะมูมลงขึ้นมาทำละหมาดญะมาอะฮ์ โดยที่ละหมาดทั้งสองไม่มีการอะซานและอิกอมะฮ์ ดังนั้น หลักกิยาส สามารถเกิดขึ้นได้กับเรื่องศาสนา และนี่คือ ทัศนะของ บรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิอีน และ อุลามาอ์สะลัฟ จากอิมาม ชาฟิอีย์ อิมาม อบูหะนีฟะฮ์ อิมามมาลิก อิมามอะหฺมัด แต่ผมสังเกตุว่า วะฮาบีย์ จะปฏิเสธเรื่องการกิยาสในเรื่องศาสนา โดยเฉพาะเรื่องอิบาดะฮ์ "เนื่องจากจะเป็นการกระทำสิ่งที่หนึ่งที่ท่านนบีไม่เคยกระทำ" ทั้งที่แนวทางของสะลัฟ ไม่ใช่เช่นนั้น

เรามาดูประเด็นเรื่องการกิยาส ซึ่งมีอุลามาอ์มีความเห็นแตกต่างกัน มัซฮับที่

1. การกิยาส จะนำมาใช้ในเรื่องอิบาดะอ์ไม่ได้ตามหลักสติปัญญา ทัศนะนี้ เป็นของกลุ่ม ชีอะฮ์ และกลุ่มหนึ่งจากพวกมั๊วะตะซิละฮ์บุคดาด

2. การกิยาส จำเป็นต้องในเรื่องอิบาดะฮ์ตามหลักปัญญา ทัศนะนี้ เป็นของท่าน อัลก๊อฟฟาล และอบี อัลหุซัยน์ อัลบะซอรีย์

3. อนุญาติให้กิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ ตามหลักปัญญา แต่ว่าไม่อนุญาติให้นำกิยาสมาใช้เรื่องอิบาดะฮ์ตามหลักศาสนา แต่หลักศาสนาได้ห้ามกับมัน ทัศนะนี้ เป็นของ พวกอัซซอฮิรียะฮ์ หนึ่งในนั้น คือท่านอิบนุหัซมิน (และเท่าที่ผมศึกษามา ผมเข้าใจว่ามันเป็นแนวทางของวะฮาบีย์ด้วยครับ)

4. อนุญาติให้ใช้กิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ได้ตามหลักสติปัญญา และอนุญาติให้เกิดขึ้นโดยการอิบาดะฮ์ด้วยการกิยาสได้ตามหลักศาสนา ทัศนะนี้ เป็นคำกล่าวของ สะลัฟ จากบรรดาซอฮาบะฮ์ บรรดาตาบิอีน อิมามชาฟิอีย์ อิมามอบูหะนีฟะฮ์ อิมามมาลิก อิมามอะหฺมัด และส่วนมากของอุลามาอ์ฟิกห์ และอุลามาอ์มุตะกัลลิมีน และนี้คือมัซฮับที่ถูกต้อง (ดู อัลอิหฺกาม ฟี อุซูล อัลอะหฺกาม เล่ม 3 หน้า 64 และกัชฟุลอัสร๊อร ของท่านอัลบัซฺดะวีย์ เล่ม 3 หน้า 270 )

แล้ววะฮาบีย์เขาอยู่ในแนวทางของสะลัฟหรือเปล่าครับ???

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 7:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นบี(ซ.ล.) ไม่เคยเรียกบรรดาผู้คนให้มารวมละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมะดอน แต่ท่านนบี(ซ.ล.) ส่งเสริมให้ทำการละหมาดในเดือนรอมะดอน ดังนั้น การที่ท่านอุมัรเรียกคนมารวมละหมาดตะรอวิหฺ จึงเป็นบิดอะฮ์ที่ดี เพราะนบีไม่เคยทำแบบนั้น แต่การเรียกผู้คนมารวมละหมาดกันนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่ดี เพราะมีรากฐานการส่งเสริมการละหมาดในค่ำคืนรอมะดอนจากท่านนบี(ซ.ล.)

وعن أبى هريرة قال سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يرغب فى قيام رمضان ولم يكن رسول الله جمع الناس على القيام - قلت فى الصحيح منه كان يرغب الناس فى قيام رمضان رواه أحمد وإسناده حسن

"และรายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ท่านกล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้ส่งเสริมในการละหมาดกันไปค่ำคืนรอมะดอน โดยที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ไม่เคยรวบรวมผู้คน ให้มาละหมาดในค่ำคืนของเดือนรอมะดอน" ฉัน(ท่าน อัลฮัยษะมีย์) ขอกล่าวว่า ที่ซอฮิหฺ จากท่านนบี นั้น คือท่านก็ได้ส่งเสริมผู้คนให้ทำละหมาดคำคืนของเดือนรอมะฏอนเช่นกัน รายงานโดยอิมามอะหฺมัด โดยที่สายรายงานนั้น ดี (หะซัน) (ดู มัจญฺมะ อัซซะวาอิด เล่ม 3 หน้า 182)

ดังนั้น ท่านนบีเคยละหมาดญะมาอะฮ์ตะรอวิหฺกับบรรดาซอฮาบะฮ์ โดยไม่ได้เรียกมารวมละหมาดกับท่าน แต่ท่านอุมัรนั้น ได้เรียกผู้คนมารวมละหมาดตะรอวิหฺโดยให้มีอิมามเฉพาะเพียงคนเดียว นั่งคือ ท่านอุบัย โดยตลอดทั้งเดือน แต่ท่านนบีไม่ได้รวมละหมาดทำกันทั้งเดือน ดังนั้นสิ่งดังกล่าว ท่านอุมัรจึงเรียกมันว่า "บิดอะฮ์ที่ดี" ซึ่งที่เป็น"บิดอะฮ์" นั้น เพราะมีบางรูปแบบที่นบีไม่เคยทำ แต่เป็นสิ่ง"ที่ดี" นั้น เพราะมีรากฐานจากนบี(ซ.ล.)ในการส่งเสริมให้ทำละหมาดและมีแบบญะมาอะฮ์ในบางคืน

และในแง่ที่เป็น บิดอะฮ์ที่ดี ตามทัศนะของอุมัรนั้น เราสามารถพิจารณาได้ตามนัยต่อไปนี้

(1) นบี(ซ.ล.)ได้เคยทำละหมาดตะรอวิหฺไม่กี่คืน แล้วก็ทิ้งไป แม้นบี(ซ.ล.)มาบอกเหตุผลว่าเกรงจะเป็นข้อบังคับแก่บรรดาซอฮาบะฮ์ก็ตาม แต่หลังจากนั้น ท่านนบีก็ทิ้งการละหมาดตะรอวิหฺในมัสยิด โดยไปทำที่บ้าน แต่ท่านอุมันได้รวมคนให้มาละหมาดที่มัสยิดตลอดทั้งเดือน ซึ่งแบบนี้นบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำ

(2) ท่านอุมัรใช้ให้ทำละหมาดตะรอวิหฺในช่วงแรกของคืน แต่ท่านนบีทำในช่วงท้ายของคืน

(3) ท่านอุมัรได้สั่งให้ทำละหมาดตะริวิหฺ 20 ร่อกะอัต แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำ

(4) ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นผู้นำอยู่ในยุคสมัยของท่าน(ซ.ล.) และท่าน(ซ.ล.)ก็เคยนำละหมาดตะรอวิหฺแบบญะมาอะฮ์ แต่ท่านอุมัรเป็นผู้นำในสมัยของท่าน โดยที่ท่านให้ผู้อื่น(คือท่านอุบัย)มานำละหมาดติรอวิหฺแทนท่าน

ดังนั้น จากเหตุการณ์และคำกล่าวของท่านอุมัรนั้น เราจึงสามารถ ให้คำนิยามได้ดังนี้ คือ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) นั้น คือ สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ข้ดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์และมีรากฐานที่มาจากทั้งสอง ไม่ว่าจะมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบก็ตาม

หลักฐานเด็ดและซอเฮี๊ยะหฺ ที่มายืนยันว่า การละหมาดตะรอวิหฺในสมัยท่านอุมัรนั้น มีอยู่ 20 รอกะอัต

ท่าน อัล-บัยฮะกีย์ ได้นำเสนอรายงานว่า

( أخبرنا) ابو عبد الله الحسين بن محمد بن الحسين بن فنجويه الدينورى الدامغان ثنا احمد بن محمد بن إسحاق السنى انبأنا عبد الله بن محمد بن عبد العزيز البغوى ثنا على بن الجعد أنبأ ابن أبى ذئب عن يزيد بن خصيفة عن السائب بن يزيد قال : كانوا يقومون على عهد عمر بن الخطاب - رضى الله عنه - فى شهر رمضان بعشرين ركعة وكانوا يقومون بالمائتين وكانوا يتوكؤون على عصيهم فى عهد عثمان من شدة القيام

ได้เล่ากับเรา โดยอบู อับดิลลาฮ์ อัลหุซัยน์ บิน มุหัมมัด บิน อัลหุซัยน์ บิน ฟันญุวัยฮ์ อัดดัยเนารีย์ อัดดามิฆอน ได้เล่ากับเรา โดย อะหฺมัด บิน มุหัมมัด บิน อิสหาก อัซซุนนีย์ ได้บอกกับเรา โดยอับดุลเลาะฮ์ บิน มุหัมมัด บิน อับดุลอะซีซฺ อัลบะฆอวีย์ ได้เล่ากับเรา โดยอลี บิน อัลญะอฺดิ ได้บอกกับเรา โดย อิบนุ อบี ษิอฺบิ จาก ยะซีด บิน ค่อซีฟะฮ์ จาก ท่าน อัซซาอิบ บิน ยะซีด เขากล่าวว่า

" พวกเขาได้ทำการละหมาดในสมัยของท่านอุมัร อิบนิ ค๊อฏฏอบ (ร.ฏ.) ในเดือนรอมะดอน 20 รอกะอัต และพวกเขาได้ทำการละหมาด 200 คน และทำการยืนค้ำด้วยไม้เท้าของพวกเขาในสมัยของท่านอุษมาน เนื่องจากมีการยืนที่ยาวนาน "

ดังนั้น หะดิษนี้ เป็นหะดิษที่ ซอเฮี๊ยะห์อย่างชัดเจน ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์ทั้งหลาย (หรือว่าหะดิษนี้ ผมจะต้องวิจารณ์กับอัลบานีย์ที่วะฮาบีย์ให้การยึดถือและอ้างอิงอีกรอบอีกหรือเปล่าไม่ก็ไม่รู้ซินะครับ เนื่องจากเคยยืมหนังสือของเพื่อนมาอ่านเกี่ยวกับคำวิจารณ์ของอัลบานีย์เกี่ยวกับหะดิษนี้ แต่ก็นานมาแล้ว ) แต่ผมจะทำการตัครีจ วิจารณ์สายรายงาน หะดิษนี้ ทีละคน ดังนี้ครับ

1. ท่าน السائب بن يزيد (ร.ฏ.) ท่านนี้ คือ ซอฮาบะฮ์ และทั้งหมดของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น เที่ยงธรรมในการรายงาน

2. ท่าน يزيد بن خصيفة ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า "เขาคือ ยะซีด บิน อับดิลลาห์ บิน ค่อซีฟะฮ์ เขานั้น ثقة เชื่อถือได้ " (ดู ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ เล่ม 2 หน้า 367)

3. ท่าน ابن أبى ذئب ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า "เขาคือ มุหัมมัด บิน อับดุรเราะฮ์มาน บิน มุฆีเราะฮ์ บิน หาริษ บิน อบีษิอฺบิ อับก่อร่อชีย์ อัลอามีรีย์ ซึ่งเขานั้น ثقة เชื่อถือได้ فقيه เป็นนักปราชน์ฟิกห์ فاضل เป็นคนมีคุณธรรม เป็นนักรายงานลำดับชั้นที่ 4 (ดู อัตรีบ อัตตะฮ์ซีบ เล่ม 2 หน้า 184)

4. ท่าน على بن الجعد ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า "เขานั้น ثقة เชื่อถือได้ อีกทั้ง ثبت มีความจำมั่นคง" (ดู ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ เล่ม 2 หน้า 33)

5. ท่าน عبد الله بن محمد بن عبد العزيز البغوى ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า "เขาเป็น คือ الحافظ นักจำหะดิษ الإمام เป็นผู้นำในหะดิษ الحجة ผู้เป็นหลักฐานยืนยันได้ المعمر ผู้ที่อายุยืน مسند العصر เป็นผู้ถูกรายงาน(จากผู้อื่น)ของยุคสมัยนั้น ได้รายงานจากเขา โดยท่านมุสลิม และคนอื่นๆ (ดู ซิยัส อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 11 หน้า 419)

6. ท่าน احمد بن محمد بن إسحاق السنى ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวไว้ว่า " ท่านอิบนุซุนนีย์ นี้ คือ الإمام ผู้นำในหะดิษ الحافظ เป็นนักจำหะดิษ الثقة เป็นผู้เชื่อถือได้ الرحال เป็นนักเดินทางสืบหาหะดิษ และเขาได้ทำการรวบรวมและประพันธ์หนังสือ ( يوم وليلة) ซึ่งมีบรรดาสายรายงานต่างๆที่ดี (ดู ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 12 หน้า 378)

7. ท่าน ابو عبد الله الحسين بن محمد بن الحسين بن فنجويه الدينورى ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า เขาคือ อาจารย์คุณวุฒิ เป็นอิมาม เป็นนักหะดิษ เป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์ เป็นผู้ยั่งยืนจากบรรดาคณาจารณ์ทั้งหลาย
ท่าน ชีรูวัยฮฺ (คือท่าน หาฟิซฺ อัดดัยลามีย์ เจ้าของหนังสือ อัล-ฟิรเดาซฺ) กล่าวว่า เขานั้น ثقة เชื่อถือได้ صدوق เป็นคนที่พูดสัจจะ كثير الرواية للمناكير รายงานบรรดาหะดิษที่มุงกัรมาก เป็นคนที่เขียนลายมือสวย และบรรดาหนังสือมาก

- ข้อควรระวัง -

"คำว่า كثير الرواية للمناكير รายงานบรรดาหะดิษที่มุงกัรมาก" หมายถึงเขาได้รายงานโดย "สายรายงานเพียงคนเดียว"มาก แต่ในสายรายงาน เรื่อง ละหมาด ตะรอวิหฺ 20 รอกะอัตนี้ ไม่ถือว่า มุงกัร โดยรายงานคนเดียว เพราะอิมามชาฟิอีย์ และอบูหะนีฟะฮ์ เป็นต้น ก็รายงานยอมรับความซอเฮี๊ยะห์ไว้เช่นกัน เนื่องจากเป็นแนวทางมัซฮับของท่านทั้งสองด้วย ผนวกกับ ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัลหุซัยน์ อัดดัยเนารีย์ นี้ เป็นผู้ที่เชื่อถือได้ และพูดจริง จึงทำให้หะดิษสายรายงาน ซอเฮี๊ยะห์อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องสงสัยแต่ประการใด นอกจากผู้ที่ดันทุรังดื้อดึงในสัจจะธรรมเท่านั้น อัลหัมดุลิลลาห์

ประเด็นละหมาดตะรอวิหฺ 20 รอกะอัตนี้ ผมจะหยิบยกมาสนทนาในประเด็นข้อปลีกย่อยต่างๆเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกหุ่มกุ่มเป็นบิดอะฮ์จากวะฮาบีย์ หลังจากทำการสนทนา เรื่องบิดอะฮ์ นี้เสร็จสิ้นแล้ว อินชาอัลเลาะฮ์

เราขอกลับเข้ามาเรื่องบิดอะฮ์ครับ

ดังนั้น เมื่อหะดิษนี้ซอเฮียะหฺ ก็แสดงว่า ท่านอุมัรใช้ให้ทำ 20 รอกะอัต ซึ่งท่านนบีไม่เคยทำ (โดยไม่คำนึงถึงสายรายงานนบีละหมาด 20 รอกะอัตที่ฏออีฟ) เมื่อนบีไม่เคยทำ ทำอุมัรจึงกล่าวว่า มันเป็น"บิดอะฮ์ที่ดี" ฉะนั้น ที่บิดอะฮ์ ก็เพราะว่าท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำละหมาดตะรอวิหฺในรูปแบบ 20 รอกะอัต แต่เป็นสิ่ง"ที่ดี" นั้น เพราะว่า อยู่ภายใต้หลักการที่ว่า การละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมะดอน เป็นสิ่งที่ท่านนบีส่งเสริม

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 9:26 am    ชื่อกระทู้: มัสหับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถึงคุณรอยยา
คุณกล่าว่าข้อความของ คนอยากรู้ ไม่ได้แก่นสาร ไร้สาระ เสียเวลาอ่าน

แต่พอจะเป็นวิชาการหน่อย ก็วกวนจนทำให้งง เช่นข้อความข้างล่างนี้


แต่หลังจากฮูกมทุกอย่างได้วางก็ไม่เคยมีใครมาเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าวิธิการละหมาด หรือเวลาของการเข้าละหมาด ฯลฯ...ท่านนบีกล่าวอย่างไรเราก็ละหมาดตามท่านสอน

Razz คุณยังไม่เข้าใจหรือครับ ที่ผมพูดยกฮาดีสที่บังฮธซันนำมาและขีดเส้นคำว่าคำว่า คำสั่งบนมัน เพื่อจะสื่อให้รู้ว่าคำสั่งตรงนี้หมายถึงอะไร ที่พวกคุณชอบเข้าใจว่า มันรวมหมายถึงการทำบิดอะ..ผมก็เลยอธิบายซ้ำให้คุณ แต่อย่างว่าแหละครับ เหมือคุณมูฮำมัดกล่าวนั้นและ พวกคุณนั้นไม่ยอมที่จะเข้าในความรู้ของผู้ที่อยู่ในทัศนะ อื่นหรอก เพราะคุณๆถือว่าไม่มีมัสหับ และการมรมัสหับ คือบิดอะอย่างหนุ่ง คักๆๆๆ

คำว่าคำสั่งบนมันตรงนี้คือสิ่งที่ท่านนบีหมายถึง ฮูกมชาเราะ ที่อัลลอฮ์ลงมาเป็นข้อห้ามข้อใช้ มายังท่านนบีให้นำมาบอกกล่าวพวกเราและให้ถือปฏิบัติในภาคอิบาดัต
Laughing การที่ท่านอุมัรฯ(รด)พูดถึงการรวมละหมาดตารอวิห์ เป็นญามาอะ ซึ่งได้ให้บรรดาผู้อยู่ใต้ พร้อมกันตั้งแต่นั้นมา นี้ถือว่า ไม่ได้ค้ากับคำสั่งหรือฮูกมในการทำอีบาดะ เพราะถ้าใครจะหมาดแยก็ได้ รวมกันเป็นญามาอะก็ได้ แต่ ท่านอุมัรฯต้องการแบบที่ดูแล้วเหมาะสมและให้สอดคล้องกับท่านนีเคยใช้ปฏิบัติ คือการรวมละหมาด(ญามาอะ)เหมือนละหมาดฟัรดู
แต่สิ่งที่ท่านอุมัรใช้นั้นคือการรวมละหมาด(ยามาอะ)ตารอวิห์

จะเห็นว่านี้คือสิ่งที่ท่านทำนั้นท่านกล่าวว่า นี้คือบิดอะที่ดี
และคำว่าบิดะอนั้น มันก็คือสิ่งที่เป็นคำสั่งที่อยู่ในฮูกมต่างในหลักชารีอัต เช่น รูกนการละหมาด การทำฮัจย์ การถือศีลอด
ส่วนสิ่งอยู่นอกเหนือคำสั่งถัดมา เช่นการให้ผู้คนเตีรยมพร้อมในละหมาด หรือการกล่าวเชิญชวนให้ทุกคนมัความพร้อมในการละหมาดนั้น หรือการให้ผู้คนมาละหมาดญามาอะตารอวิห์ดังท่านอุมัรฯใช้นั้น แใครจะไม่กระทำก็ได้

เหล่านี้ไม่ใช่อยู่ในกฏฮุกม หรือคำสั่งบนมันที่ผมอ้างอิงถึง
แต่พวกคุฯนั้นชอบเอามารวมกันหมดในคำที่ว่า คำสั่งบนมันหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งใดนบีไม่ทำ ถือว่าเป็นบิดอะหมด และนี้ท่านอุมัรใช้ให้ผู้คนละหมาดรวม แม้ว่าท่านนบีไม่ใช้ก็ตาม แสดงว่าท่านยอุมัรฝ่าฝืนคำสั่งใช่ไหมครับ
Laughing ผมก็บอกคุณรอยยาแล้วใช่ไหมครับคุณนะเข้าใจยากเพราะจิตใจคับแคบและตะอัชซุบโดยไม่ยอมรับความรู้ของคนอยูต่างทัศนะโดยเฉพาะความเห็นของอุลามะ เลยต้องเชื่อว่า บิดอะนั้นมี 1หรือ2อย่าง เลยคับแคบตัวเองจมอยู่ในกองโคลนแห่งความไม่รู้...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 9:33 am    ชื่อกระทู้: มัสหับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อแก้ไขครับ
และคำว่าคำสั่งบนมันนั้น มันก็คือสิ่งที่เป็นคำสั่งที่อยู่ในฮูกมต่างในหลักชารีอัต เช่น รูกนการละหมาด การทำฮัจย์ การถือศีลอด ฯลฯ
ส่วนสิ่งอยู่นอกเหนือคำสั่งถัดมา เช่นการให้ผู้คนเตีรยมให้พร้อมในละหมาด หรือการกล่าวเชิญชวนให้ทุกคนมีความพร้อมในการละหมาดนั้น หรือการให้ผู้คนมาละหมาดญามาอะตารอวิห์ดังท่านอุมัรฯใช้นั้น มันคือสิ่งที่ดี และไม่ได้เป็นการขัดคำสั่งแต่อย่างใด ครับท่าน
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fais
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2005
ตอบ: 84


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 12:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

อ้างคุณ อัล อัซฮารี
และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่ โดยมีรากฐานอยู่บนหลักการศาสนา ย่อมไม่ถูกปฏิเสธ และการจะกระทำบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ไม่ใช่จะทำการง่ายๆ ตามอำเพอใจ เนื่องจากต้องการ เงื่อนไข กฏเกนฑ์ตามหลักการศาสนา อย่างรัดกุมเลยทีเดียว
.......................
คุณจะอ้างว่าบิดอะห์มีกี่อย่าง ชื่ออะไรก็ตาม แต่สิ่งที่คุณกล่าวมาข้างบนนี้แสดงว่าคุณเปิดทางให้คนรุ่นหลังกระทำบิอะอ์กัน เพราะทุกคนที่กระทำบิดอะห์นั้นย่อมจะเห็นว่าตนเองนั้นกระทำบิดอะห์ ที่มีชื่อว่า ฮาซานะห์ โดยที่พวกเขาจะรวมการกระทำหลายๆอย่างที่คิดว่ากระทำได้
และมาประดิษฐเป็นหนึ่งการงานหรือพิธีการ และสอนลูกสอนหลานให้กระทำกันจนคนรุ่นหลังจะเข้าใจว่านี่เป็นสุนนะห์ และส่วนมากแล้วผู้ที่ประดิษฐขึ้นใหมนั้นล้วนแต่จะเป็นผู้รู้ โต๊ะครู ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีผู้ตาม แล้วอย่างนี้อูลามะห์ อิสลาม(สุนนะห์)จะต้องตามไปแก้กันทุกยุคทุคสมัยอย่างไม่จบไม่สิ้นและมันก็เป็นอย่างนั้น จนกียามัต
ท่านนบีซ Solallah ได้กล่าวว่า
"จำเป็นที่พวกท่านจะต้องปฎิบัตตามสุนนะห์ของฉันและแนวทางของคอลีฟะห์(ทั้งสี)ที่ปราดเปรื่องและอยู่ในทางนำ และพวกท่านจงกัดแนวทางดังกล่าวด้วยฟันกราม(ให้ปฎิบัติตามอย่างจริงจัง)พวกท่านจงระวังกิจกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ แท้จริง ทุกกิจกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในศาสนาถือเป็นบิดอะห์ และทุกๆบิดอะห์ถือว่าหลงผิด "(อาบูดาวูด3991,ตีรมีซี 2600)
นี่แสดงว่าคำสั่งของท่าน นบี Solallah ให้ปฎิบัติตามอย่างจริงจังโดยไม่บิดเบือน และคำของท่าน นบี Solallah นั้นก็ตรงไปตรงมา เพราะอุมมะห์ที่รับคำสั่งในสมัยนั้นบางท่านก็ไม่มีความรู้หรอกแต่พวกเขา อิตตีบะอ์ต่อท่าน นบี Solallah อย่างจริงจัง และผมก็คิดว่าศาสนาอิสลามนั้นได้สมบูรณ์อยู่แล้วจึงไม่ควรที่พวกเราจะมาต่อเติมในการกระทำอีบาดะห์ให้มันผิดเพี้ยนไปไกลกว่านี้ แค่ของที่มีอยู่ก็ไม่ไหวที่จะมาแก้ใขอยู่แล้ว คุณครับเรามาฟื้นฟูสุนนะห์และกำจัดบิดอะห์กันเถิดครับ
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 5:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ช่วงนี้ไม่ค่อยว่าง ปลีกเวลาไม่ค่อยจะได้ ได้แต่เข้ามาอ่านเฉย ๆในเวลาสั้นๆ เห็นคำตอบของน้องอัล-อัซฮารี ที่เอาหลักฐานความเห็นของอุลามาอบางคนบวกกับความเห็นของตัวเอง ก็รู้สึกหดหู่ใจเยาวชนคนรุ่นหลังหากได้เรียนกับโต๊ะครูแบบนี้ ผมรออยู่นานว่าเมื่อไหรน้องบ่าวเราจะยกตัวอย่าง บิดอะฮหะสะนะฮมาสักที่ แต่วันนี้โผล่มาแล้ว หนึ่งตัวอย่าง คือ
น้องอัล-อัวฮะรีย์กล่าวว่า
“การกล่าว الصلاة جامعة ก่อนจะละหมาดอีด ซึ่งถือว่าไม่เป็นบิดอะฮ์ เพราะไปกิยาสกับละหมาด จันทร์คราส ในแง่ที่ให้มะมูมลงขึ้นมาทำละหมาดญะมาอะฮ์ โดยที่ละหมาดทั้งสองไม่มีการอะซานและอิกอมะฮ์ ดังนั้น หลักกิยาส สามารถเกิดขึ้นได้กับเรื่องศาสนา และนี่คือ ทัศนะของ บรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิอีน และ อุลามาอ์สะลัฟ จากอิมาม ชาฟิอีย์ อิมาม อบูหะนีฟะฮ์ อิมามมาลิก อิมามอะหฺมัด”
................................
ตอบ
นี่คือ การนำหลักการกิยาสมาใช้อย่างผิดๆ มันอันตรายจริง ก่อนอื่นขออธิบายความหมายคำว่า “กิยาส”ในทาง ศาสนาก่อน คือ การนำเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งไม่มีตัวบท(บทบัญญัติ)ไปเทียบกับ เรื่องที่มีมาก่อน ซึ่งมีตัวบท(บัญญัติบังคับอยู่) โดยทั้งสองนี้มีประเด็นและเหตุผลตรงกัน - สรุปจากหนังสือ อิรชาดุ้ลฟุหูล หน้า 177
เรื่องการกิยาสนี้ เมื่อนำมาใช้ผิดๆแบบน้องอัล-อัซฮารี ก็จะก่อให้เกิดการอุตริบิดอะฮขึ้นในศาสนามากมาย ความจริงเรื่อง กิยาสนั้น ให้ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับทางโลกเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องอิบาดะฮ เพราะในกิจการทางโลกมีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ตามยุคตามสมัย ไม่มีวันสิ้นสุด จนวันกิยามะฮ แต่เรื่องอิบาดะฮนั้น ให้จำกัดเฉพาะสิ่งที่เป็นคำสั่งของอัลลอฮ(ซ.บ)และแบบอย่างที่มาจากสุนนะฮของท่านบี ศอลฯเท่านั้น
อิหม่ามอิบนุกะษีรกล่าวว่า
باب القربات يقتصر فيه على النصوص ولا يتصرف فيه بأنواع الأقيسة والأراء

และเรื่อง กุเราะบาตร(อิบาดะฮ) ถูกจำกัดอยู่บนหลักฐาน จะหันไปหาการกิยาสและความคิดเห็นใดๆไม่ได้ - ตัฟสีรอิบนิกะษีร เล่ม 4 หน้า 258
وأمر العبادات يقتصرفيه على ماورد عن الشارع ولاسبيل فيه الي القياس ولامجال للرأي

เรื่อง อิบาดะฮนั้น ถูกจำกัดอยู่บนหลักฐาน ที่มาจากผู้บัญญัติศาสนา ไม่มีทางที่จะไปใช้การกิยาสและไม่มีช่องทางที่จะไปใช้ความเห็น - ดู ฟัตวาชัรอียะฮ เล่ม 1 หน้า 289
การกล่าวคำว่า “ อัศเศาะลาตุญามิอะฮ” แทนการอิกอมะฮ ในละหมาดอีด โดยกิยาสจาก การละหมาดคุสูฟนั้น เป็นบิดอะฮ ไม่มี แบบอย่างจากท่านนบี ศอลฯและเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน
อัศ-ศอนอานีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ สุบุลุสสลาม เกี่ยวกับทัศนะที่ว่า ให้กล่าว อัศเศาะลาตุญามิอะฮ ในละหมาดอีด ว่า

إنه قول غَيْرُ صَحِيحٍ ; إذْ لا دَلِيلَ عَلَى الاسْتِحْبَابِ , وَلَوْ كَانَ مُسْتَحَبًّا لَمَا تَرَكَهُ صلى الله عليه وسلم ; وَالْخُلَفَاءُ الرَّاشِدُونَ مِنْ بَعْدِهِ , نَعَمْ ، ثَبَتَ ذَلِكَ فِي صَلاةِ الْكُسُوفِ لا غَيْرُ , وَلا يَصِحُّ فِيهِ الْقِيَاسُ ; لأَنَّ مَا وُجِدَ سَبَبُهُ فِي عَصْرِهِ وَلَمْ يَفْعَلْهُ فَفِعْلُهُ بَعْدَ عَصْرِهِ بِدْعَةٌ , فَلا يَصِحُّ إثْبَاتُهُ بِقِيَاسٍ وَلا غَيْرِهِ"

แท้จริง มันเป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีหลักฐานส่งเสริมให้กระทำ หากมันเป็นมุสตะหับ(สิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำ) แน่นอน ท่านนบี ศอลฯ และบรรดาเคาะลิฟะฮ หลังจากท่านจะไม่ละทิ้งเด็ดขาด ใช่ ดังกล่าวนั้น ปรากฏยืนยันในละหมาดกุสูฟ ละหมาดอื่นไม่มี และการกิยาสในนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะแท้จริง สิ่งที่มีเหตุผลของมัน(ที่ปฏิบัติ))ในสมัยนั้นได้ แต่ ท่านไม่ได้ปฏิบัติ ดังนั้น การปฏิบัติ มันในยุคหลังจากนั้น เป็นบิดอะฮ ดังนั้น การรับรองมัน ด้วยการกิยาส และ โดยอื่นจากนั้น ย่อม ไม่ถูกต้อง
....................................
การอวดว่าตัวเองถืออะกีดะฮถูกต้อง ตามสลัฟของแท้ แต่ ผลผลิต ออกลูกมาเป็น การยอมรับว่า บิดอะฮ นั้นดี มันน่าอดสูจริงๆ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sun Mar 11, 2012 5:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 9:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดังที่ผมได้เคยบอกคุณอะสันไปแล้วว่า อย่าเอาการหมกเม็ด บิดเบือน มาปัดกวาดแนวทางอื่น ในเมื่อคุณอะสันยังเป็นคนที่หมกเม็ดจอมโกหกอยู่อย่างนี้ ผมว่า บิดอะฮ์นั้นมันจะตกอยู่กับคุณอะสันอย่างแน่นอน

ความจริงแล้ว ผมอยากจะเสนอแนะน้องอัล-อัซฮะรีย์สักนิดว่า เรื่องการกล่าว"الصلاة جامعة " ซึ่งเป็นปัญหาคิลาฟิยะฮ์ระหว่างอุลามาอ์ด้วยกันนั้น ไม่น่าจะนำมาหยิบยก ในขณะที่กำลังคุยเรื่องประเด็นคำนิยามบิดอะฮ์ เพราะมันจะทำให้ประเด็นเปลี่ยนไป แล้วพวกวะฮาบีย์ก็ไม่สนทนาใจสิ่งที่น้องได้นำเสนอสิ่งที่ต่างๆเกี่ยวกับคำกล่าวของท่านอุมัรที่ว่า"มันเป็นบิดอะฮ์ที่ดี" เราทราบดีว่า คุณอะสันก็พยายามทุกวิถีทางที่จะดิ้นไหลไปเรื่อยๆถ้าหากมีช่วงทาง แต่วันนี้เขามาดิ้นไหล โดยเอาตัวอย่างที่น้องยกมา ทั้งที่ไม่น่าจะยกมา เขาคุณอะสันได้ดิ้นไหลแบบนี้

จากสิ่งที่ผมได้อ่านสิ่งที่คุณอะสันอ้างอิงสนทนามานั้น ประเด็นหลักสำคัญคือ เรื่องการใช้กิยาสเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ ตามทัศนะของอิมามอัชชาฟิอีย์ เพราะวะฮาบีย์เขาไม่เอากิยาสเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ ซึ่งพวกเขามีแนวทางเดียวกับ มัซฮับ อัซซอฮิรียะฮ์ ทั้งที่บรรดาอุลามาอ์สะลัฟเขาเอาเรื่องกิยาสกับอิบาดะฮ์ ส่วนคำกล่าวของอัชเชากานีย์ หรืออัศศอนอานีย์ ที่เดิมอยู่ในมัซฮับอัซซัยดียะฮ์ ที่คุณอะสันอ้างมานั้น เราไม่ขอพิจารณา เพราะพวกเขาไม่ใช่สะลัฟ แต่เราขอเคลียร์ที่ประการโกหกของคุณอะสันที่อ้างอิงมาแล้วแอบอ้างว่าเป็นคำพูดของอิมามชาฟิอีย์

คุณอะสันจอมโกหกหมกเม็ดกล่าวว่า

อิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า

باب القربات يقتصر فيه على النصوص ولا يتصرف فيه بأنواع الأقيسة والأراء

และเรื่อง กุเราะบาตร(อิบาดะฮ) ถูกจำกัดอยู่บนหลักฐาน จะหันไปหาการกิยาสและความคิดเห็นใดๆไม่ได้ - ตัฟสีรอิบนิกะษีร เล่ม 4 หน้า 258


ผมขอกล่าวว่า

คุณอะสันโกหกหมกเม็ดต่อ อิมามอัช-ชาฟิอีย์ ซึ่งคำกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นคำกล่าวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ แต่มันเป็นคำพูดและความเห็นของท่านอิบนุกะษีร

ท่านอิบนุกะษีรกล่าวว่า

( وَأَنْ لَيْسَ لِلإنْسَانِ إِلا مَا سَعَى ) أي: كما لا يحمل عليه وزر غيره، كذلك لا يحصل من الأجر إلا ما كسب هو لنفسه. ومن هذه الآية الكريمة استنبط الشافعي، رحمه الله، ومن اتبعه أن القراءة لا يصل إهداء ثوابها إلى الموتى؛ لأنه ليس من عملهم ولا كسبهم؛

ولهذا لم يندب إليه رسول الله صلى الله عليه وسلم أمته ولا حثهم عليه، ولا أرشدهم إليه بنص ولا إيماء، ولم ينقل ذلك عن أحد من الصحابة، رضي الله عنهم، ولو كان خيرا لسبقونا إليه، وباب القربات يقتصر فيه على النصوص، ولا يتصرف فيه بأنواع الأقيسة والآراء، فأما الدعاء والصدقة فذاك مجمع على وصولهما، ومنصوص من الشارع عليهما

ดังนั้น จากการตัฟซีรของท่านอิบนุกะษีรนี้ ไม่มีการอ้างอิงคำกล่าวของอิมามอัชชาฟิย์ แต่ท่านอิบนุกะษีร ได้บอกว่า อิมามอัชชาฟิอีย์ได้ทำการวินิจฉัยอย่างนั้น (ดูข้อความอักษรสีแดง ซึ่งเป็นการวินิจฉัยของอิมามอัชชาฟิอีย์) แต่ข้อความการตัฟซีรที่เป็นอักษรสีน้ำเงินนั้น เป็นคำกล่าวของท่านอิบนุกะษีรเอง ไม่ใช่เป็นคำพูดของอิมามอัชชาฟิอีย์ ตามที่คุณอะสันจอมโกหกหมกเม็ด ได้โกหกใส่อิมามอัชชาฟิอีย์เอาไว้ แต่ทัศนะที่แท้จริงของอิมามอัชชาฟิอีย์นั้น คือสิ่งที่น้องอัล-อัซฮะรีย์ได้กล่าวอ้างอิงเอาไว้แล้วว่า

เรามาดูประเด็นเรื่องการกิยาส ซึ่งมีอุลามาอ์มีความเห็นแตกต่างกัน มัซฮับที่

1. การกิยาส จะนำมาใช้ในเรื่องอิบาดะอ์ไม่ได้ตามหลักสติปัญญา ทัศนะนี้ เป็นของกลุ่ม ชีอะฮ์ และกลุ่มหนึ่งจากพวกมั๊วะตะซิละฮ์บุคดาด

2. การกิยาส จำเป็นต้องในเรื่องอิบาดะฮ์ตามหลักปัญญา ทัศนะนี้ เป็นของท่าน อัลก๊อฟฟาล และอบี อัลหุซัยน์ อัลบะซอรีย์

3. อนุญาติให้กิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ ตามหลักปัญญา แต่ว่าไม่อนุญาติให้นำกิยาสมาใช้เรื่องอิบาดะฮ์ตามหลักศาสนา แต่หลักศาสนาได้ห้ามกับมัน ทัศนะนี้ เป็นของ พวกอัซซอฮิรียะฮ์ หนึ่งในนั้น คือท่านอิบนุหัซมิน (และเท่าที่ผมศึกษามา ผมเข้าใจว่ามันเป็นแนวทางของวะฮาบีย์ด้วยครับ)

4. อนุญาติให้ใช้กิยาสในเรื่องอิบาดะฮ์ได้ตามหลักสติปัญญา และอนุญาติให้เกิดขึ้นโดยการอิบาดะฮ์ด้วยการกิยาสได้ตามหลักศาสนา ทัศนะนี้ เป็นคำกล่าวของ สะลัฟ จากบรรดาซอฮาบะฮ์ บรรดาตาบิอีน อิมามชาฟิอีย์ อิมามอบูหะนีฟะฮ์ อิมามมาลิก อิมามอะหฺมัด และส่วนมากของอุลามาอ์ฟิกห์ และอุลามาอ์มุตะกัลลิมีน และนี้คือมัซฮับที่ถูกต้อง (ดู อัลอิหฺกาม ฟี อุซูล อัลอะหฺกาม เล่ม 3 หน้า 64 และกัชฟุลอัสร๊อร ของท่านอัลบัซฺดะวีย์ เล่ม 3 หน้า 270 )

แล้ววะฮาบีย์เขาอยู่ในแนวทางของสะลัฟหรือเปล่าครับ??? (อ้างแล้วจากน้องอัล-อัซฮะรีย์)

เท่าที่ผมเข้ามาอ่านและทำการสนทนา คุณอะสันแกหมกเม็ดและโกหกหลายครั้งหลายคราว ผมเองก็ไม่ทราบว่า เขาทำไปทำไม หรือว่าไม่มีอะไรจะเสียแล้ว!!!
Confused
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Feb 01, 2006 12:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อความของมุหัมหมัด
จากสิ่งที่ผมได้อ่านสิ่งที่คุณอะสันอ้างอิงสนทนามานั้น ประเด็นหลักสำคัญคือ เรื่องการใช้กิยาสเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ ตามทัศนะของอิมามอัชชาฟิอีย์ เพราะวะฮาบีย์เขาไม่เอากิยาสเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ ซึ่งพวกเขามีแนวทางเดียวกับ มัซฮับ อัซซอฮิรียะฮ์ ทั้งที่บรรดาอุลามาอ์สะลัฟเขาเอาเรื่องกิยาสกับอิบาดะฮ์ ส่วนคำกล่าวของอัชเชากานีย์ หรืออัศศอนอานีย์ ที่เดิมอยู่ในมัซฮับอัซซัยดียะฮ์ ที่คุณอะสันอ้างมานั้น เราไม่ขอพิจารณา เพราะพวกเขาไม่ใช่สะลัฟ
................................
ตอบ
เราไม่ขอพิจารณา หากไม่ตรงกับอารมณ์เรา ใช่ไหม คุณมุหัมหมัด
แล้วคำว่า

وَأَنْ لَيْسَ لِلإنْسَانِ إِلا مَا سَعَى ) أي: كما لا يحمل عليه وزر غيره، كذلك لا يحصل من الأجر إلا ما كسب هو لنفسه. ومن هذه الآية الكريمة استنبط الشافعي، رحمه الله، ومن اتبعه أن القراءة لا يصل إهداء ثوابها إلى الموتى؛ لأنه ليس من عملهم ولا كسبهم؛
ซึ่งอิหม่ามชาฟิอีย ระบุว่า การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตาย นั้นไม่ถึงผู้ตาย คุณมุฮัมหมัด จะพิจารณาเอาใสเกล้าไหมครับ

แล้วคำที่ คุณบอกว่าเป็นคำของอิบนุกะษีร คือ

وباب القربات يقتصر فيه على النصوص، ولا يتصرف فيه بأنواع الأقيسة والآراء
และเรื่อง กุเราะบาตร(อิบาดะฮ) ถูกจำกัดอยู่บนหลักฐาน จะหันไปหาการกิยาสและความคิดเห็นใดๆไม่ได้ - ตัฟสีรอิบนิกะษีร เล่ม 4 หน้า 258
..................................
คุณมุหัมหมัดไม่รับพิจารณาหรือครับ
คุณมุหัมหมัดบอกว่า "เราไม่ขอพิจารณา เพราะพวกเขาไม่ใช่สะลัฟ "
แล้วสลัฟท่านใหนทำบิดอะฮในอิบาดะฮบ้างครับ เช่น เศาะหาบะฮ หรือ ตาบิอีน เป็นต้น ยกตัวอย่างเพิ่มเติมมาด้วย รวมถึงบิดอะฮที่ทำกันประเทศไทย เช่น การสอนคนตาย บอกหลักฐานมาด้วยนะครับ เพราะบางครั้งปากบอกว่าสลัฟ แต่ การกระทำ นั้นไม่ใช่นะครับท่าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Wed Feb 01, 2006 4:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอะสันจอมหมกเม็ดครับ กรุณาอย่าเลื่อนไหล เพราะตอนนี้เราคุยเรื่องคำนิยาม และเรื่องบิดอะฮ์ที่น้องอัล-อัซฮะรีย์ได้กล่าไว้นะครับ ไอ้ประเด็นปัญหาข้อปลีกย่อยนั้น ผมคิดว่า เราจะคุยกันตอนคุยเรื่องบิดอะฮ์เสร็จนะครับ คุณจะถามอะไร เราจะชี้แจงให้นะครับ ตอนนี้กรุณาสนทนาในประเด็น หากไม่มีข้อมูลในการนำเสนอเพิ่มเติมในเรื่องคำนิยามนั้น คุณก็โปรดนิ่งเฉยนะ เพื่อทางเราจะได้เลื่อนการสนทนาในประเด็นหะดิษต่อไป

ไอ้คำว่า"ยอมรับหรือไม่ยอมรับเพราะเขาเป็นอุลามาอ์สะลัฟ หรือไม่เป็นอุลามาอ์สะลัฟ นั้น" มันต้องเริ่มฝ่ายคุณก่อน ผมไม่ใช่เริ่มฝ่ายเรา เพราะฝ่ายเราเปิดกว้างอยู่แล้ว พวกคุณจิตใจคับแคบตั้งแต่เริ่มคำนิยามของบรรดาอุลามาอ์ที่ยอมรับเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นท่าน อิมาม นะวาวีย์ ท่านอิมามอิซซุดดีน บิน อับดุสลาม แม้กระทั้งอุลามาอ์สะลัฟ คืออิมามอัชอัชฟิอีย์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม)

คุณไม่ลองไปดูคำนิยามของท่าน อิบนุอะษีร ดูบ้างละ ท่านว่า "แท้จริง บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น แก่นแท้แล้วคือซุนนะฮ์" พวกคุณก็ทำเป็นไม่เข้าใจ แล้วดันมาหมกเม็ดโกหกใส่อิมามอัชชาฟิอีย์

แต่เวลาคุณอ้างหลักฐานมา ซึ่งเป็นหลักฐานคำกล่าวของท่านอิบนุหะญิบ บอกว่า พวกที่กล่าวด้วยคำพูดในหมายที่ผิวเผิน นั้น เป็นพวกบิดอะฮ์ฏ่อลาละฮ์ คุณอะสันก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ว่าตนเองถูกท่านอิบนุหะญิบหุกุ่มว่า บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ต่อไปนี้จะเป็นการถ่ายทบทวนคำตอบของน้องอัล-อัซฮะรีย์ เพื่อเตือนสติคุณอะสัน

อ้างอิงจากบังอะสัน

อิบนุเราะญับกล่าวอีกว่า

فكل من أحدث شيئاً ونسبه إلى الدين ولم يكن له أصل من الدين يرجع إليه فهو ضلالة، والدين برئ منه، وسواء في ذلك مسائل الاعتقادات أو الأعمال أو الأقوال الظاهرة والباطنة.

แล้วทุกคนที่อุตริสิ่งใดขึ้นมา แล้วนำไปอ้างว่าเป็นศาสนา ทั้งๆที่ไม่ได้มีที่มาในศาสนา ที่จะกลับไปหามัน มันคือ การหลงผิด โดยที่ ศาสนา นั้น เป็นอิสระจากเขา ในเรื่องดังกล่าวนั้น ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ อะกีดะฮ หรือ การปฏิบัติ หรือ คำพูด ที่แสดงออกมาโดยภายนอก และภายในใจก็ตาม

ตอบ

บังอะสันไม่รู้ตัวว่า กำลังอ้างหลักฐานคำพูดของ ท่านอิบนุหาญิบ โดยที่บังอะสันกำลัง หุกุ่มแนวทางของตนเองอยู่ และคำกล่าวของ ท่านอิบนุหาญิบนั้น ก็ไม่ได้ปฏิเสธบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือ สิ่งที่มีรากฐานที่มา จากศาสนา แต่หากบังอะสันไปบอกว่า ละหมาดมี 6 เวลา หรือ ละหมาดมัฆริบ มี 4 ร่อกะอัตล่ะก็ เป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงแน่นอนครับ

และบังอะสันอย่าลืมนะครับ บิดอะฮ์นั้น มันมีทั้งเรื่อง เอี๊ยะติก๊อตด้วย ผมมีหลักฐานตัวอย่างมากมายที่จะมายืนยันว่า วะฮาบีย์มีหลักการศรัทธาที่บิดอะฮ์ฏ่อลาละฮ์ แต่ผมยังไม่อยากยกนำมาเสนอ เพราะอย่างคุยเป็นขั้นเป็นตอน ท่านอิบนุหาญิบว่า "บรรดาคำพูดที่ออกมาโดยภายนอกผิวเผิน" นั้นเป็นบิดอะฮ์ฏ่อลาละฮ์ที่ลุ่มหลง!!! ซึ่งมันเป็กหลักการของวะฮาบีย์นี่แหละครับ ที่พรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์แบบคำพูดความหมายภายนอกแบบผิวเผิน Sad ส่วนคำพูดแบบภายในนั้น บางกลุ่มของชีอะฮ์ก็รับไป บังอะสันจะยกหลักฐานอะไรก็สมควรยั้งคิดบ้าง อย่าไปยกหลักฐานที่มาประจานความบิดอะฮ์ของตัวเอง และยกหลักฐานแบบไม่มีอะมานะฮ์หมกเม็ด (อ้างแล้วจากน้องอัล-อัซฮะรีย์)

ดูซิครับ น้องเขาก็ทิ้งท้ายคำว่า (กรุณา)ยกหลักฐานให้มีอะมานะฮ์อย่าหมกเม็ด น้องเขาพูดยังไม่ทันขาดคำ คุณอะสันก็ลึมตัวหมกเม็ดคำกล่าวของอิมามอัชชาฟิอีย์อีกล่ะ ดีนะที่ คุณอัล-ฟารูกไม่เข้ามาสนทนาด้วย ไม่งั้น คุณอะสันคงตะบะแตกอีกเป็นแน่


คุณอะสันจะให้ยอมรับอุลามาอ์ท่านใหนบ้างล่ะ ผมเห็นคุณอะสันเละเทะ อ้างคนโน้น อ้างคนนี้ อ้างสิ่งที่เข้ากับอารมณ์ตนเอง พอขัดกับอารมณ์ตนเอง ก็ไม่ยอมเอา พอเข้ากับอารมณ์ตนเอง ก็อ้างหนักอ้างหนา แม้กระทั้งหมกเม็ดโกหกอ้างว่าเป็นคำพูดอิมามอัชชาฟิอีย์ เนื่องจากสุดโต่งจัด

คุณอะสันครับ ผมไม่ทราบว่าคุณจะให้เรายอมรับอุลามาอ์ใหนกันแน่ สะลัฟ หรือค่อลัฟ พอพวกเราอ้างค่อลัฟ พวกคุณกับจะเอาสะลัฟ แต่ใหนเลยเวลาคุณอ้างค่อลัฟที่เข้ากับอารมณ์ตนเอง เราถึงตอบไปบ้างว่า "เขาไม่ใช่สะลัฟ" ไม่ได้หรือ? ดังนั้น พวกคุณมีบรรทัดฐานอย่างไร เกี่ยวกับการอ้างสะลัฟและค่อลัฟ แต่ที่ผ่านมาคุณอ้างแต่ค่อลัฟ แต่พวกเราอ้างทั้งค่อลัฟและสะลัฟ ทำไมคุณถึงยอมรับฟังบ้าง

นี่แค่คำนิยามนะ ยังโซเซไม่เป็นท่า แล้วเรื่องอัลกุรอานที่กล่าวถึงเรื่อง บิดอะฮ์ที่ดี นั้น ใหนล่ะ ทำไมไม่วิจารณ์หรือว่ายอมรับไปแล้ว? วืจารณ์มาเถอะครับ น้องอัล-อัซฮะรีย์จะได้เลื่อนประเด็นเรื่องหะดิษต่อไป เนื่องจากผมเองก็เบื่อจะช่วยเขาสนทนาในประเด็นคำนิยามแล้วล่ะครับ

ถ้าหากอยากจะเลื่อนประเด็น ก็โปรดยกหะดิษต่างๆที่พวกคุณคิดว่ามันไม่แบ่งเรื่องบิดอะฮ์มาเป็นสัญญานก็ได้นะครับ เราจะได้เลื่อนประเด็นสักที เอาไงเอากันครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Feb 01, 2006 10:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณมุหัมหมัดกล่าวว่า
เนื่องจากผมเองก็เบื่อจะช่วยเขาสนทนาในประเด็นคำนิยามแล้วล่ะครับ
............
ตอบ
ผมก็เอียนเต็มตนแล้วละครับ เรื่องนิยามนะ ตอนนี้ใหน ยกตัวอย่างบิดอะฮ ที่สลัฟเขาทำมาซิครับ หรือ เอาบิดอะฮที่ปู่ย่าตายายของพวกคุณทำในเมืองไทยก็ได้ แล้วบอกหลักฐานมาด้วย
ผมไม่มีเวลามา อยากจะเอาตัวบิดอะฮมาเลย เช่น การรับจ้างอ่านอัลกุรอ่านให้คนตาย ที่พวกคุณทำ หรือ จัดงานเมาลิดเป็นพิกรรม ศาสนา ฯลฯ แล้วบอกมาซิว่า มีที่มาอย่างไร เรื่องเล่นสำนวน พอได้แล้ว แต่..อย่าทีตัวเป็นผู้รู้วิจารณ์ อุลามาอคนนั้น คนนี้ ให้มากนัก มันเปลืองเนื้อที่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Thu Feb 02, 2006 7:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอะสัน กรุณาอย่างใจร้อนซิครับ สนทนาไปเรื่อยๆ รายละเอียดความเข้าใจเรื่องบิดอะฮ์ ยังไม่จบสิ้น คุณจะใจร้อนไปพูดเรื่องข้อปลีกย่อยทำไมล่ะครับ เอาเรื่องหลัก อุซูล พื้นฐานของคำว่าบิดอะฮ์ให้เข้าใจกันถ้วนหน้าก่อน แล้วก็ไปเคลียร์กันเรื่องข้อปลีกย่อย คุณนะ ชอบพูดมาเรื่อยเลยนะ เรื่องประเด็นต่างๆข้อปลีกย่อยเนี่ย ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง จ้างอ่านอัลกุรอานให้คนตาย คุณอะสันใช้คำว่า "จ้าง" ครับ ผมไม่เคยได้ยิน และพวกเราจะทำการชี้แจงข้อเท็จจริงให้หลังคุยเรื่องบิดอะฮ์ ดังนั้น เรื่อง "จ้าง" เนี่ย คุณอะสันอย่าเพิ่งหยิบมาคุยเลยนะครับขอร้อง รอไปเรื่อยๆก่อน เพราะว่าเราจะทำการชี้แจงให้ทั้งหมด ในสิ่งที่วะฮาบีย์หุกุ่มคนอื่นว่าเป็นบิดอะฮ์ งั้น ก็อดทนหน่อยต่ะ
Crying or Very sad
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Feb 03, 2006 12:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สลามมายังคุณมุหัมหมัดและสหาย
ก็เรียนให้ทราบว่า หากพวกจะนำเสนอเกี่ยวกับ นิยาม หรือหลักอุซูลอะไรที่เกี่ยวกับบิดอะฮ ก็นำเสนอเถอะครับ ไม่ต้องข้อร้องหรอก ผมมีหน้าที่ปกป้องอัสสุนนะฮและต่อต้านบิดอะฮ อยู่แล้ว แต่ที่เบื่อคือ พวกคุณมัวแต่ย้อนไปย้อนมา แต่ที่เป็นวิชาการจริงๆน้อยมาก ผมไม่ค่อยมีเวลา เพราะต้องทำมาหากิน แล้วเมื่อพวกคุณจะนำเสนอก็ควรนำเสนอทีละนิด เพื่อให้คนอื่นเขามีเวลาตอบบ้าง
และอยากจะเรียนว่า ผมจะไม่มีวันสมานฉันท์กับบิดอะฮ เพื่อรักษามันไว้ให้แก่ลูกหลานอย่างแน่นอน หากจะตาย ก็ให้ตายบนการปกป้องอัสสุนนะฮ ผมรู้สึกหดหู่กับพวกคุณ ที่พยายามปกป้องบิดอะฮ ทั้งๆที่มีอัสสุนนะฮ ก็เพียงพอแล้ว พวกคุณเป็นผู้ที่ได้รับโอกาสจากอัลลอฮ (ซ.บ)ให้มีการศึกษาสูงๆ แต่ ..กลับปกป้องบิดอะฮและคุเราะฟาตต่างๆ ทีปู่ย่าตายายของเราได้ทำเอาไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำไม่ไม่พยายามปลูกฝังสุนนะฮอันบริสุทธิ์ ที่มีอยู่ ผมไม่เข้าใจจริงๆ และอีกอย่างหนึ่ง พวกคุณจะด่า จะว่า หรือ ประณามอะไรผม ผมอโหสิ ให้พวกคุณ และพวกคุณก็คือ พี่น้องร่วมศาสนา ความอาฆาตพยาบาท จะไม่มี อิหม่ามอัล-บัฆวีย์กล่าวว่า
قال ابن قدامة : ( كان السلف ينهون عن مجالسة أهل البدع ، و النظر في كتبهم ) .
[ الآداب الشرعيّة ، لابن مفلح : 11/232 ].

อิบนุกุดามะฮกล่าวว่า “ ปรากฏว่าบรรดาชาวสลัฟ พวกเขาห้ามไม่ให้นั่งร่วมกับ ชาวบิดอะฮ และ ดู หนังสือของพวกเขา
.......................
ศาสนาต้องมาจากวะยู แล้วบิดอะฮ มาจากใหน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Feb 03, 2006 1:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
لِيَحْمِلُوا أَوْزَارَهُمْ كَامِلَةً يَوْمَ الْقِيَامَةِ وَمِنْ أَوْزَارِ الَّذِينَ يُضِلُّونَهُمْ بِغَيْرِ عِلْمٍ أَلَا سَاءَ مَا يَزِرُونَ[25]}[سورة النحل].

พวกเขาจงแบกความผิดอย่างครบครันในวันกิยามะฮ์เถิด และ(จงแบก) ความผิดของบรรดาผู้ที่พวกเขาทำให้เขาเหล่านั้น หลงผิดโดยไม่รู้(*1*) พึงทราบเถิด! สิ่งที่พวกเขาทำผิดนั้นชั่วช้ายิ่ง

(1) พวกเขาจะได้รับผิดสองกระทง คือความผิดของตัวเองและความผิดของผู้ที่เขาแนะนำให้หลงผิด
..............................
การส่งเสริมเรื่องบิดอะฮและเปิดช่องโหว่ ให้คนทำบิดอะฮ มันอันตรายนะคับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
yoohoo
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 17/02/2004
ตอบ: 65


ตอบตอบ: Fri Feb 03, 2006 4:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

อธิบายกันยาวจังนะครับ แค่เรื่องคำนิยามเนี่ย เมื่อไหร่จะได้ข้อสรุปที่กระชับ รัดกุม และชัดเจนซะทีละครับ จะได้ทราบว่าสิ่งไหนที่เป็นบิดอะห์ และสิ่งไหนไม่ใช่ ซึ่งจะได้ไม่ต้องเหยียบเรือสองแคม เพราะเดี๋ยวมันจะล่มก็จบเห่กันพอดี และถ้ามุสลิมผู้ศรัทธาอย่างพวกท่าน ๆ ได้พบกับสิ่งที่เป็นบิดอะห์ในศาสนาแล้ว ท่านจะ Smiles
ก) สนับสนุน
ข) เพิกเฉย
ค) ต่อต้าน คัดค้าน

ใครก็ได้ครับช่วย ๆ กันตอบให้ชื่นใจกันหน่อยครับ จะได้ทราบจุดยืนของผู้ทรงความรู้ของทั้งสองฝ่ายว่าเป็นเช่นไร คุณแม่ขอร้องอีกแล้วครับท่าน

wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Fri Feb 03, 2006 7:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอะสันกล่าวว่า

พวกคุณเป็นผู้ที่ได้รับโอกาสจากอัลลอฮ (ซ.บ)ให้มีการศึกษาสูงๆ แต่ ..กลับปกป้องบิดอะฮและคุเราะฟาตต่างๆ ทีปู่ย่าตายายของเราได้ทำเอาไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการ

ผมขอกล่าวว่า

คุณอะสันครับ อย่าเพิ่งเอาอะไรมากระเดียดเลยนะครับ เรื่องบิดอะฮ์ต่างๆบ้านเรานั้น ไม่ใช่ว่า เราจะยอมรับ ผมบอกแล้วว่า เราจะชี้แจงให้ฟัง คุณก็จับมากระเดียด เต้นแร้งเต้นกา เหมือนคนไม่รู้เรื่องอะไร สิ่งที่คุณพูดมานั้น ผมรู้เลยว่า พวกวะฮาบีย์อย่างคุณอะสันนั้น มันกำลังเข้าใจอะไรผิด แล้วโยนใส่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ แล้วมากล่าวว่าบิดอะฮ์กับเรา สิ่งที่ต่างๆที่ปู่ย่าตายายทำกันมา ก็หาว่าพวกเรายอมรับและปกป้อง ทั้งที่เราเองก็ไม่เห็นด้วย แต่คุณอะสัน พยายามยัดเยือดให้แก่เรา เพื่อเขาจะได้ว่าอะไรอร่อยปากไปวันๆ คุณอะสันก็เหมือนกับชีอะฮ์นั่นแหละ ที่พวกเขาพยายามกล่าวยัดเยืยดแก่เราว่า อะฮ์ลิสซุนนะฮ์เข้าข้างท่านมุอาวิยะฮ์ (ร่อฏิยัลลฮุอันฮฺ) แล้วชีอะฮ์อยู่ข้างท่านอลี(อะลัยฮิสลาม) ทั้งที่เราก็เชื่อว่า ฝ่ายท่านอลี(อะลัยฮิสลาม)นั้น เป็นฝ่ายที่ถูกต้อง คุณอะสันครับ ยังไง ก็ต้องรอไปเรื่อยๆนะ กรณีข้อปลีกย่อยนะ กรุณาอย่าตีโพย ตีพาย เต้นแร้งเต้นกาไปวันๆ แบบนี้มันดูตลกแก่ๆ เหมือนลอต๊อก ที่ตายไปแล้วนะครับ

คุณอะสันกล่าว่า

ผมมีหน้าที่ปกป้องอัสสุนนะฮและต่อต้านบิดอะฮ อยู่แล้ว

ผมขอกล่าวว่า

คำโลโก้นี้ เขาไม่พูดกับพร่ำเพรื่อหรอกครับคุณอะสัน มันเป็นคำพูดของคนที่มีตำหนิ แล้วปกปิดข้อเสียของตน ด้วยการอ้าง แค่อ้างครับ ว่า ปกป้องซุนนะฮ์ และต่อต้านบิดอะฮ์ ทั้งที่บิดอะฮ์ตัวเองยังมองไม่เห็น และกี่หะดิษแล้วล่ะ ที่คุณยกมาแล้ว ฏออีฟบ้าง เมาฏั๊วะบ้าง แบบนี้หรือที่ปกป้องซุนนะฮ์ ซึ่งแตกต่างกับพวกเรา ที่ยกหลักฐานที่ซอเฮี๊ยะหฺทั้งสิ้น หากมีหลักฐานใดที่ฏออีฟ เราก็จะระบุกำกับเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อไม่ตบตาผู้อื่น คุณอะสันครับ การอ้างตัวเองว่า ปกป้องซุนนะฮ์ หรือต่อต้านบิดอะฮ์นั้น เด็กๆมันยังพูดได้เลยครับ อย่าว่าแต่คุณอะสันเลย !!

คุณอะสันกล่าวว่า

อิหม่ามอัล-บัฆวีย์กล่าวว่า
قال ابن قدامة : ( كان السلف ينهون عن مجالسة أهل البدع ، و النظر في كتبهم ) .
[ الآداب الشرعيّة ، لابن مفلح : 11/232 ].
อิบนุกุดามะฮกล่าวว่า “ ปรากฏว่าบรรดาชาวสลัฟ พวกเขาห้ามไม่ให้นั่งร่วมกับ ชาวบิดอะฮ และ ดู หนังสือของพวกเขา

ผมขอกล่าวว่า

ชาวบิดอะฮ์นี้ ที่บรรดาอุลามาอ์พูดนี้หมายถึงใครครับ? คุณอะสันรู้หรือเปล่า? หรือว่าหมายถึงบิดอะฮ์ ที่อยู่ในความหมายของวะฮาบีย์ แล้วคุณอะสันก็อ้างตำราจากท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ ซึ่งท่านอิบนุมุฟลิห์เองนั้น ก็กล่าวยอมรับในเรื่อง "ตะวัสซูล" แบบที่วะฮาบีย์ไม่เอาและหุกุ่มผู้อื่นว่าชิริก แล้วท่าน อิบนุมุฟลิหฺ เนี่ย มีทัศนะที่บิดอะฮ์ด้วยหรือเปล่าครับ เห็นอ้างอิงจากหนังสือของเขา ในเรื่องห้ามนั่งร่วมกับชาวบิดอะฮ์

คุณอะสันอ้างอิงโดยที่ไม่รู้ที่มาที่ไป แม้กระทั้ง อ้างคำกล่าวของ ท่าน อิมาม อิบนุ ร่อญับ ที่กล่าวว่า พวกที่กล่าวด้วยถ้อยคำที่ผิดเผินนั้น คือพวกบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ซึ่งโดนวะฮาบีย์ เต็มๆ แต่คุณอะสันก็ทำไม่รู้ไม่ชี้อีกเช่นเคย แล้วก็มาอ้างโกหกใส่อิมามชาฟิอีย์บ้าง ปัญหาของคุณอะสันตอนนี้ ก็คือ เขาไม่เข้าใจคำพูดของอุลามาอ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 31, 32, 33  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 33

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.23 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ