ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 31, 32, 33  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Feb 23, 2006 12:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
صلى الله وسلم على محمد بن عبد الوهاب
ซุบหานั้ลลอฮ์ !! คำซอละวาดนี้ใช้กับท่านนบี(ซ.ล.) แต่วะฮาบีย์บางคนนำมาใช้กับมุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ พี่น้องโปรดดูที่เวปวะฮาบีย์ต่อไปนี้
มุหัมมัด Thu Feb 23, 2006 9:55 am
…………………………..
ตอบ
คุณมุหัมหมัด และ kunkonyakroo ครับ ไม่มีอะไรจะอ้างเพื่อมาสนับสนุนบิดอะฮ แล้วใช่ไหม จึงใช้วิธีสกปรก แบบ ส.ส .บางกลุ่มที่อยู่ในสภา เอามาเล่นกัน คุณเอาสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นการกระทำของคนบางคน ซึ่งคำข้างต้นนั้น ที่ตั้งกระทู้ขึ้นมา ซึ่งไม่รู้ว่า เป็นคนกลุ่มใด มากล่าวหา และ ดิสเครดิต คนโดยรวม โดยเฉพาะ ผมและ ทีมงานเว็บนี้ และผู้ร่วมสนทนา ซึ่งไม่รู้อิโหน่ อิเหน่ ในการกระทำของบุคคลเหล่านั้น มาโจมตีว่า เป็นอิเหนา คิดว่าฉลาดหรือ ครับ เพราะนี้คือ พฤติกรรมน้ำเน่า คนมีศาสนาเขาไม่ทำกัน คุณมีวุฒิภาวะสอดคล้องกับอายุแค่ใหน แค่ใหน การศึกษาไม่ทำให้พวกคุณพัฒนาเลยหรือ
พวกคุณไม่ใช่นักการศาสนา แต่ เป็นนักก่อฟิตนะฮ มากกว่า ทำไม่พวกคุณไม่เอาหะดิษ มาหักล้าง หากพวกคุณหวังผลชนะ นำหะดิษมาซิครับ ว่า อนุญาตให้ทำบิดอะฮ ที่คุณคิดขึ้นมาเองได้ นำมาเสนอซิครับ ไม่ใช่วิชา นะฮู พวกคุณมี หนังสือ มากมายในหอสมุดมหาลัย ทำไมไม่ค้นมา บรรดาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในมหาลัยมากมาย ทำไม่ไม่ขอคำแนะนำเขา คุณมาพูดเรื่อง ศาสนาทำไม่ ในเมื่อ กติกาที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงให้ไว้ เพื่อขจัดปัญหากรณีขัดแย้ง พวกคุณก็ไม่ใยดี

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً
[4.59] ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และเชื่อฟังร่อซู้ลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮ์ และร่อซู้ล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป ที่สวยยิ่ง
..............................
ขอให้ทบทวนพฤติกรรมตนเองเสียใหม่ หากจะใช้บ้านของคนอื่น โปรโมทแนวคิดของตน หรือ ไม่ก็ใช้ความหน้าด้านทนเอาก็แล้วกัน เพราะพฤติกรรมการทำลาย อัลลอฮ ทรงไม่โปรดปรานอย่างแน่นอน แล้วความจำเริญ(บะเราะกัต)จะเกิดกับตัวเองได้อย่างไร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Feb 23, 2006 12:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

คุณ konyakroo ครับ คำพูดของคุณ ในกระทู้ใหม่ของคุณว่า

[B]อจ.ครับทำไมละครับ ถึงได้ปิดกระทู้เก่าทั้งที่เราไม่ได้ละลาบละล่วง ถึงชาติของอัลลอฮ์(ซบ)สักหน่อย เรากำลังให้พี่น้องวะฮาบีย์มารู้จักถึงซีฟัตของอัลลออ์เท่านั้น ท่านนบีก็กล่าวในอัลฮาดีสนี้ครับ เอาวาลุดดีน มะอะรีฟัตตุลลอฮ์ ----


..........................
คุณ ไปตรวจสอบหรือยัง ว่า เป็นคำพูดของท่านนบี จริงหรือเปล่า หากไม่ใช่ คุณก็ควรสังวรไว้ และโปรดอ่าน หะดิษ ข้างล่างนี้

من يقل علي مالم أقل فليتبؤ مقعده من النار) .أخرجه البخاري (106)

ผู้ใดอุปโลกน์(คำพูด)ให้แกฉัน สิ่งซึ่งฉันไม่ได้พูด ดังนั้น เขาจงเตรียมที่อยู่ในนรก -บันทึกโดย บุคอรี

..................
มันยิ่งเสียกว่า อิเหนานะครับ เพราะอิเหนาที่คุณเอามากล่าวหาเรานั้น เราไม่รู้เรื่องเลย แต่นี้ คุณพูดเอง พวกเราไม่คิดทำลายคุณหรอก แต่หนอนในตัวคุณนั้นแหละ จะทำลายคุณ[/B]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ทีมงานสื่ออนุรักษ์
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 25/02/2004
ตอบ: 47


ตอบตอบ: Thu Feb 23, 2006 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างข้อความของ Konyakroo

บังก็เปิดกระทู้ใหม่ และใช้ชื่อว่า หลักอะกีดะอัสสลัฟซอและห์ที่ถูกบิดเบือนโดยวาฮาบีย์ แต่มันมีอายุสั้นมากครับไม่เกิน 24 ชม.ครับถูกปิดอีกเป็นรอบที่2 บังก็ยังไม่ทราบสาเหตุเลยเพราะบังก็ไม่ได้ว่ากระทบกระทั่งต่อองค์อัลลอฮ์(ซบ)เลย อจ.ฟาริด คงจะอารมณ์ค้างกระมัง หลังจากที่คณะดาวะญามาอะตับลีฆเข้าพบและขอที่มัสยิดของอจ.เพื่อสอนและอบรม(บะยาน)ในคณะของเขา ซึ่งอจ.เขาไม่ยอม และถูกตามตื้อจากคณะดังกล่าว อจ.เลยใช้ไม้เด็ดเอาหนังสือเล่มเขียวที่ชื่อคุณค่าอาม้าล 999 ข้อมากางและสอนมวยพร้อมชี้ให้ดูบรรดาฮาดีสและสายรายงานทีมาของขั้นฮาดีสต่างๆพร้อมยกตัวอย่าง แต่ก็ไม่เป็นผลแต่ถูก คณะดาวะห์โต้กลับเฉยทำไมรู้ไม่ชี้... เลย...
ส่งผลมาที่พวกเรา ที่กำลังคุยเรื่องบิดอะฮ์


ขึ้นต้นก็ดี แต่ลงท้ายโกหกซะแล้ว เขียนมาได้ยังว่า คณะดาวะห์โต้กลับเฉยทำไมรู้ไม่ชี้... เลย...

อาจารย์ฟารีดใจดีกับพวกคุณมากไปหรือเปล่า คุณถึงลามปามกันใหญ่ กล้าโกหกใส่ท่านอาจารย์ด้วยตำพูดข้างต้นนี้ คนนอกที่อยู่ในเหตุการณ์สนทนาเรื่องดะอ์วะอ์ 10 กว่าคน รวมถึงผมด้วย หรือว่าคุณ Konyakroo ก็เป็นหนึ่งในนี้

คุณโกหกใส่อาจารย์ทำไม ต้องการดิสเครดิตท่านอาจารย์หรือ
อาจารย์เขาบอกแล้วไม่ใช่หรือว่า ถ้าสนทนาวิชาการเขาเชิญให้พวกคุณว่ากันตามสะดวก แต่ถ้าต้องการฟิตนะห์หรือทำลายใครเขาไม่อนุญาต แต่นี่...คุณดันฟิตนะห์ใส่อาจารย์ซะเอง ทำยังงี้ก็ได้ สงสัยไม่มียาง....เฮ้อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Feb 23, 2006 1:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
เท่าที่ดูมา ชาวชีอะฮอ้างว่า เป็นคำพูดอิหม่ามอาลี ดูครับ

http://www.alahsai.net/fikr/fikr3-9.asp

......................
ระวังว่าคนอื่นจะเข้าตัวเองนะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 12:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

อ้างจาก คุณมุหัมมัด

صلى الله وسلم على محمد بن عبد الوهاب

ซุบหานั้ลลอฮ์ !! คำซอละวาดนี้ใช้กับท่านนบี(ซ.ล.) แต่วะฮาบีย์บางคนนำมาใช้กับมุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ พี่น้องโปรดดูที่เวปวะฮาบีย์ต่อไปนี้
มุหัมมัด Thu Feb 23, 2006 9:55 am

วิจารณ์

บังอะสันครับ คุณมุหัมมัดเขาหยิบยกมา โดยมีการอ้างอิง และคุณมุหัมมัด กล่าวว่า "วะฮาบีย์บางคน" ไม่ใช่ทั้งหมด คือบางคนที่ได้เขียนแบบนี้ขึ้นมา เท่านั้นเอง ซึ่งกรณีแบบนี้ มันเป็นบิดอะฮ์แบบสดซิงๆเลยทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ เราและพี่น้องวะฮาบีย์ก็สมควรหลีกห่างคำกล่าวอย่างนี้ ก็เท่านั้นเองครับ

หากบังอะสันต้องการจะปฏิเสธการอ้างอิงจาก คุณมุหัมมัด ก็โปรดชี้แจงแก้ต่าง ประกาศการไม่เกี่ยวข้อง กับเวป หรือ นาม ของผู้ได้เขียนขึ้น ก็เท่านั้นเอง

และผมก็เชื่อว่า บังอะสันและทีมงานในเวปนี้ ไม่ยอมรับการเขียนซ่อละวาตแบบดังกล่าวอย่างแน่นอนครับ เนื่องจากผู้ที่เขียนขึ้น ตามที่เราเห็นนะครับ ก็เป็นเพียงแค่วะฮาบีย์บางคนที่เลยเถิดในตัวของท่าน มุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ เท่านั้นเอง ซึ่งความจริง ท่าน มุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ก็คืออุลามาอ์ ท่านหนึ่ง ในศาสนาอิสลาม

บังคนอยากรู้ครับ การอ้างพาดพิงผู้อื่นโดยไร้หลักฐานนั้น ผมว่าไม่เป็นการดีเลยครับ ยังไงก็น่าจะหาหลักฐานมายืนยัน มิเช่นนั้น มันจะไม่เป็นผลดีต่อตัวบังเอง

และเสียใจด้วย ที่กระทู้ของบังถูกปิดไม่ทันถึง 24 ชั่วโมง

ส่วนเรื่องการสนทนาข้อปลีกย่อยนั้น เราจะจัดให้ครับ บังอะสันครับ เราก็ทราบกันดีว่า บิดอะฮ์นั้น มันมีทั้ง บิดอะฮ์ในเชิงการปฏิบัติ และบิดอะฮ์ในเชิงการยึดมั่น ทำไมเราถึงไม่ทำการสนทนาข้อปลีกย่อยในเรื่องบิดอะฮ์ทั้งสองรูปแบบนี้เลยล่ะครับ เพื่อจะได้ระวังกันอย่างควบคู่ ทั้งหลักการปฏิบัติ และการหลักศรัทธา บังอะสันคิดว่าอย่างไงครับ?

และการสนทนาของบังอะสัน และคุณฟาอิส ที่ผ่านมานั้น ผมจะทำการสนทนา อ้างอิงสิ่งที่อยู่ในประเด็นบิดอะฮ์เท่านั้นนะครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากคุณฟาอิส

จำนวนรอกาอัตในการละหมาดตารอเวียห์นั้น ในเมื่อบรรดาอูลามะห์เขาขัดแย้งกันอยู่ เราก็ไม่ควรที่จะมาด่วนตัดสิน
แต่ท่านอุมัรใช้ให้ทำ 20 รอกะอัต(ซึ่งท่านนบีไม่เคยทำตามทัศนะของ อ.ฟารูก) ท่านอูมัรเรียกมันว่าเป็นบิดอะห์ที่ดี
และท่านนบี ซล.เรียกมันว่าเป็น ซุนนะห์ของคอลาฟะห์อัรรอซีดีน

วิจารณ์

จริงอยู่ว่า จำนวนในการละหมาดตะรอวิหฺนั้น มีการขัดแย้งกันอยู่ และทัศนะส่วนมากนั้น คือ มี 20 ร่อกะอัต และอย่างไรก็แล้วแต่นะครับ ประเด็นที่เราคุยกันตรงนี้ คือ การละหมาด 20 ร่อกะอัตของท่าน ซัยยิดินา อุมัร อัล-ฟารูก ซึ่งหากคุณนำหลักฐานมาหักล้างไม่ได้ ก็ไม่มีค่าอะไรที่จะมีเบี่ยงเบนประเด็นในเรื่อง 20 ร่อกะอัต ของท่าน อุมัร และท่าน อลี

แต่คุณต้องการเรียกมันว่า ซุนนะฮ์ ก็ไม่ใช่ปัญหาเลยครับ ซึ่งไม่เรียกว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ แต่เรียกมันว่า ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ เราก็ขอกล่าว จากคำพูดของนักปราชน์ว่า

لا مشاحة فى الإصطلاحات

" ไม่มีการขัดข้องกัน ในเรื่องการให้คำศัพท์"

ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่ที่ดี และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ สิงที่กระทำขึ้นมาใหม่ที่ดี จะเรียกอย่างไรก็ได้ครับ แต่หากคุณฟาอิส ต้องการจะคัดค้าน ว่า ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ (ในหะดิษที่เราเคยกล่าวกันมาแล้วนั้น)หมายถึง แบบอย่างที่ดี หน้าที่ของคุณฟาอิสตอนนี้ก็คือ ไปหาอุลามาอ์หะดิษมาครับ ที่อธิบายคำว่า ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์นี้ว่า "แบบอย่าง" หรือไปหาในปทานุกรมอาหรับมาก็ได้ ดังนั้น หากคุณหามายืนยันไม่ได้ ก็โปรดใจกว้างหน่อยครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

وَرَوَى أَسَدُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ أَبِي يُوسُفَ قَالَ : سَأَلْت أَبَا حَنِيفَةَ عَنْ التَّرَاوِيحِ وَمَا فَعَلَهُ عُمَرُ , فَقَالَ : التَّرَاوِيحُ سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ , وَلَمْ يَتَخَرَّصْ عُمَرُ مِنْ تِلْقَاءِ نَفْسِهِ , وَلَمْ يَكُنْ فِيهِ مُبْتَدِعًا , وَلَمْ يَأْمُرْ بِهِ إلا عَنْ أَصْلٍ لَدَيْهِ وَعَهْدٍ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ، وَلَقَدْ سَنَّ عُمَرُ هَذَا وَجَمَعَ النَّاسَ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ فَصَلاهَا جَمَاعَةً وَالصَّحَابَةُ مُتَوَافِرُونَ مِنْ الْمُهَاجِرِينَ وَالأَنْصَارِ وَمَا رَدَّ عَلَيْهِ وَاحِدٌ مِنْهُمْ , بَلْ سَاعَدُوهُ وَوَافَقُوهُ وَأَمَرُوا بِذَلِكَ "
الموسوعة الفقهية (27/138)

และรายงานโดย อะสัด บุตร อัมริน จากอบี ยูซูบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าถามอบูหะนีฟะอ เกี่ยวกับตะรอเวียะ และสิ่งที่ ท่านอุมัร ได้กระทำ แล้วท่านกล่าวว่า “ ละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮมุอักกะดะฮ โดยที่ท่านอุมัรไม่ได้กุเรื่องเท็จขึ้นมาจากตัวท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นผู้อุตริ(ผู้ทำบิดอะฮ)ในเรื่องนั้น และท่านไม่ได้ใช้ให้กระทำ นอกจากมี หลักฐาน ณ ที่ท่าน และ เป็นคำสั่งจากท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแท้จริงท่านอุมัร ได้ทำแบบอย่างนี้ขึ้นมา โดยรวมผู้คน ให้ละหมาดภายใต้การเป็นอิหม่ามของท่านกะอับ แล้วได้ทำการละหมาดนั้น(ละหมาดตะรอเวียะ) ในรูปของการละหมาดญะมาอะฮ โดยที่บรรดาเศาะหาบะฮจำนวนมากมาย จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺ และไม่มีคนใดจากพวกเขาคัดค้านท่าน(อุมัร)เลย ตรงกันข้าม พวกเขากลับสนับสนุนท่าน พวกเขาเห็นฟ้องกับท่านและ พวกเขาใช้ให้กระทำเรื่องดังกล่าว
- อัลเมาสูอะฮอัลฟิกฮียะฮ เล่ม 27 หน้า 138

วิจารณ์

ก็ผมบอกไปแล้วไงว่า การขัดแย้งนั้น แค่เรื่องคำเท่านั้น และไม่มีการขัดข้องกันในเรื่องการเรียกชื่อศัพท์ และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น แก่นแท้แล้ว มันคือซุนนะฮ์ ดังนั้น ท่านอุมัร(ร.ฏ.) จึงไม่ใช่เป็นผู้อุตริกรรมแน่นอนครับ

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ในความเป็นจริงแล้ว คือซุนนะฮ์ และบนการอธิบายตามนัยนี้ ก็ถูกตีความ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น บิดอะฮ์" นั้น บนสิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80

ดังนั้น คำกล่าวของท่าน อบูหะนีฟะฮ์จึงมีความถูกต้องอย่างไม่ต้องสงสัย

ท่านอิบนุ กุดดามะฮ์ อัลหัมบาลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุฆนีย์ ว่า

المختار عند أبى عبد الله رحمه الله فيها عشرون ركعة ، وبهذا قال الثورى ، وأبو حنيفة، والشافعى، وقال مالك : ست وثلاثون ركعة...

"คำกล่าวที่ถูกเลือกแล้ว ตามทัศนะของอบีอับดิลลาห์(คือท่านอิมามอะหฺมัด) ในละหมาดตะรอวิหฺ มี 20 ร่อกะอัต และด้วยกับทัศนะนี้ ท่านอัษเษารีย์คือ ทัศนะของ ท่านอัษเษารีย์ ท่านอบูหะนีฟะฮ์ และท่านอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวไว้ และอิมามมาลิกกล่าวว่า มี 36 ร่อกะอัต... ดู เล่ม 2 หน้า 167

แต่คำกล่าวที่เลื่องลือในมัซฮับของอิมามมาลิกนั้น คือ มี 20 ร่อกะอัต ท่าน ชัยค์ อัดดัรดีร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "อัคร๊อบ อัลมะซาลิก อะลา มัซฮับ อัลอิมาม มาลิก ว่า
"ละหมาดตะรอวิหฺ ในเดือนร่อมะดอน มี 20 ร่อกะอัต ทำหลังละหมาดอิชา...." ดู เล่ม 1 หน้า 552

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

และท่านอัชชาฏิบีย์ ได้คัดค้านผู้ที่กล่าวว่ามีบิดอะฮหะสะนะฮ โดย อ้างคำพูดของอุมัร โดยกล่าวว่า

( إنما سماها بدعة باعتبار ظاهر الحال من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم ، واتفق أن لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه ، لأنها بدعة في المعنى ) الاعتصام 1/195

ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันเป็นบิดอะฮในด้านของความหมาย - อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195

วิจารณ์

เป็นที่ทราบดี สำหรับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ จากมัซฮับทั้งสี่ ว่า ท่าน อัช-ชาฏิบีย์ ซึ่งอยู่มัซฮับมาลิกีย์นั้น เป็นผู้ที่แวกอิจญมาอ์(มติ) ในเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ และบรรดาอุลามาอ์ทั้งหลาย ให้ทำาการคัดค้านและตอบโต้ ทั้งในคำนิยามและเนื้อหา ท่านอัช-ชาฏิบีย์ ได้กล่าวว่า การที่ท่านอุมัร(ร.ฏ.) เรียกการละหมาดตะรอวิหฺว่า บิดอะฮ์นั้น โดยคำนึงถึง สภาพการภายนอกในแง่ที่ท่านนบี(ซ.ล.) เคยละทิ้งมันไป แต่ความจริงแล้ว ยังมีอีกหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของวิธีการ รูปแบบ ที่ไม่ค้านกับหลักการของศาสนา และอุลามาอ์สะลัฟก็ทราบดีว่าท่านอุมัร ไมได้ทำการใดการค้านกับหลักการของศาสนา และยิ่งไปกล่าวนั้น มันยังเข้าอยู่ภายใต้หลักการของศาสนาอย่างแท้จริง ดังที่เราได้นำเสนอไปแล้ว และก็ยังคงมีน้ำหนักอยู่ คือ

นบี(ซ.ล.) ไม่เคยเรียกบรรดาผู้คนให้มารวมละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมะดอน แต่ท่านนบี(ซ.ล.) ส่งเสริมให้ทำการละหมาดในเดือนรอมะดอน ดังนั้น การที่ท่านอุมัรเรียกคนมารวมละหมาดตะรอวิหฺ จึงเป็นบิดอะฮ์ เพราะนบีไม่เคยทำแบบนั้น แต่การเรียกผู้คนมารวมละหมาดกันนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่ดี เพราะมีรากฐานการส่งเสริมการละหมาดในค่ำคืนรอมะดอนจากท่านนบี(ซ.ล.)

وعن أبى هريرة قال سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يرغب فى قيام رمضان ولم يكن رسول الله جمع الناس على القيام - قلت فى الصحيح منه كان يرغب الناس فى قيام رمضان رواه أحمد وإسناده حسن

"และรายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ท่านกล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้ส่งเสริมในการละหมาดกันไปค่ำคืนรอมะดอน โดยที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ไม่เคยรวบรวมผู้คน ให้มาละหมาดในค่ำคืนของเดือนรอมะดอน" ฉัน(ท่าน อัลฮัยษะมีย์) ขอกล่าวว่า ที่ซอฮิหฺ จากท่านนบี นั้น คือท่านก็ได้ส่งเสริมผู้คนให้ทำละหมาดคำคืนของเดือนรอมะฏอนเช่นกัน รายงานโดยอิมามอะหฺมัด โดยที่สายรายงานนั้น ดี (หะซัน) (ดู มัจญฺมะ อัซซะวาอิด เล่ม 3 หน้า 182)

ดังนั้น ท่านนบีเคยละหมาดญะมาอะฮ์ตะรอวิหฺกับบรรดาซอฮาบะฮ์ โดยไม่ได้เรียกมารวมละหมาดกับท่าน แต่ท่านอุมัรนั้น ได้เรียกผู้คนมารวมละหมาดตะรอวิหฺโดยให้มีอิมามเฉพาะเพียงคนเดียว นั่งคือ ท่านอุบัย โดยตลอดทั้งเดือน แต่ท่านนบีไม่ได้รวมละหมาดทำกันทั้งเดือน ดังนั้นสิ่งดังกล่าว ท่านอุมัรจึงเรียกมันว่า "บิดอะฮ์ที่ดี" ซึ่งที่เป็น"บิดอะฮ์" นั้น เพราะมีบางรูปแบบที่นบีไม่เคยทำ แต่เป็นสิ่ง"ที่ดี" นั้น เพราะมีรากฐานจากนบี(ซ.ล.)ในการส่งเสริมให้ทำละหมาดและมีแบบญะมาอะฮ์ในบางคืน

และในแง่ที่เป็น บิดอะฮ์ที่ดี ตามทัศนะของอุมัรนั้น เราสามารถพิจารณาได้ตามนัยต่อไปนี้

(1) นบี(ซ.ล.)ได้เคยทำละหมาดตะรอวิหฺไม่กี่คืน แล้วก็ทิ้งไป แม้นบี(ซ.ล.)มาบอกเหตุผลว่าเกรงจะเป็นข้อบังคับแก่บรรดาซอฮาบะฮ์ก็ตาม แต่หลังจากนั้น ท่านนบีก็ทิ้งการละหมาดตะรอวิหฺในมัสยิด โดยไปทำที่บ้าน แต่ท่านอุมันได้รวมคนให้มาละหมาดที่มัสยิดตลอดทั้งเดือน ซึ่งแบบนี้นบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำ

(2) ท่านอุมัรใช้ให้ทำละหมาดตะรอวิหฺในช่วงแรกของคืน แต่ท่านนบีทำในช่วงท้ายของคืน

(3) ท่านอุมัรได้สั่งให้ทำละหมาดตะริวิหฺ 20 ร่อกะอัต แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำ

(4) ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นผู้นำอยู่ในยุคสมัยของท่าน(ซ.ล.) และท่าน(ซ.ล.)ก็เคยนำละหมาดตะรอวิหฺแบบญะมาอะฮ์ แต่ท่านอุมัรเป็นผู้นำในสมัยของท่าน โดยที่ท่านให้ผู้อื่น(คือท่านอุบัย)มานำละหมาดติรอวิหฺแทนท่าน

ดังนั้น จากเหตุการณ์และคำกล่าวของท่านอุมัรนั้น เราจึงสามารถ ให้คำนิยามได้ดังนี้ คือ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) นั้น คือ สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ข้ดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์และมีรากฐานที่มาจากทั้งสอง ไม่ว่าจะมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบก็ตาม

ข้อสังเกตุ

ผมจะยกข้อความการสนทนาซ้ำอีกครั้งนั้น เนื่องจาก สิ่งที่ได้เคยนำเสนออันนี้ ยังไม่ถูกวิจารณ์หักล้าง จึงสามารถอ้างอิงได้อีกและยังคงอยู่ในการสนทนาในเชิงวิชาการนะครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

( السنة هي ما قام الدليل الشرعي عليه بأنه طاعة لله ورسوله ، سواء فعله رسول الله صلى الله عليه وسلم أو فعل على زمانه ، أو لم يفعله ولم يفعل على زمانه ، لعدم المقتضي حينئذ لفعله أو وجود المانع منه ، ...... فما سنه الخلفاء الراشدون ليس بدعة شرعية ينهى عنها ، وإن كان يسمى في اللغة بدعة فكونه ابتدئ ) مجموع الفتاوى 21/317ـ 319


อัสสุนนะฮ คือ สิ่งที่ปรากฏหลักฐานทางศาสนายืนยัน ว่า แท้จริงมัน(สิ่งนั้น)เป็นการภักดีต่ออัลลอฮและศาสนทูตของพระองค์ ไม่ว่าท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กระทำมัน หรือ มีการกระทำในสมัยของท่าน ก็ตาม หรือว่าท่านไม่ได้กระทำมัน และไม่ได้มีการกระทำในสมัยของท่าน เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะกระทำในเวลานั้น หรือ เพราะมีอุปสรรค ... ดังนั้น สิ่งที่บรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ได้ทำแบบอย่างเอาไว้ นั้น ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา (บิดอะฮชัรอียะฮ)ที่มีการห้ามจากมัน
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 21 หน้า 317-319

วิจารณ์

ในเมื่อบิดอะฮ์ในเชิงศาสนาที่เราได้นำเสนอหลักฐานไปแล้ว โดยบังอะสันไม่ทำการหักล้างหลักฐานเหล่านั้น แต่บังอะสันเพียงแต่พยายามเอาความเห็นของอุลามาอ์มาอธิบายแนวทางของตน มานำเสนอเพียงอย่างเดียว โดยอธิบายว่า บิดอะฮ์นี้นั้น คือบิดอะฮ์ในเชิงภาษา ดังนั้น เราก็ขอเลื่อนมาทำการสนทนาในการแบ่งแยกบิดอะฮ์ในเชิงภาษาครับ

และเราขอกล่าวว่า บิดอะฮ์ในเชิงภาษานั้น แบ่งออกเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์ ซึ่งท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้ทำการยอมรับและนำคำกล่าวของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์มาสนับสนุนว่า ดังนั้น การแบ่งแยกบิดอะฮ์ จึงเป็นทัศนะที่มีน้ำในเชิงหลังฐาน และผมก็ขอกล่าวคำกล่าวของท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ ในเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ เพื่อเป็นการเสริมทัศนะของเราเท่านั้นเอง


ท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวไว้ใน มัจญฺมั๊วะอฺ อัลฟะตาวา ว่า

ومن هنا يعرف ضلال من ابتدع طريقاً أو اعتقاداً زعم أن الايمان لا يتم إلا به، مع العلم بأن الرسول لم يذكره، وما خالف النصوص فهو بدعة باتفاق المسلمين، وما لم يعلم أنه خالفها فقد لا يسمى بدعة، قال الشافعي ـ رحمه الله ـ: البدعة بدعتان: بدعة خالفت كتاباً وسنة وإجماعاً وأثراً عن بعض [أصحاب] رسول الله صلى الله عليه وسلّم، فهذه بدعة ضلالة. وبدعة لم تخالف شيئاً من ذلك، فهذه قد تكون حسنة لقول عمر: نعمت البدعة هذه! هذا الكلام أو نحوه رواه البيهقي بإسناده الصحيح في المدخل

"จาก ณ ที่นี้ จึงรู้ถึง ความลุ่มหลง ของผู้ที่ได้อุตริ หนทางหนึ่ง หรือหลักการยึดมั่นหนึ่ง แล้วอ้างว่า การศรัทธานั้น จะไม่สมบูรณ์ นอกจากด้วยกับมัน พร้อมกับรู้ว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ไม่ได้กล่าวมันเอาไว้ และสิ่งที่ขัดแยังกับ บรรดาตัวบท มันย่อมเป็นบิดอะฮ์ ด้วยมติของบรรดามุสลิมีน และสิ่งที่ไม่ทราบว่า มันขัดกับบรรดาตัวบท แท้จริงแล้ว มันย่อมไม่ถูกเรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ ท่าน อิมาม อัชชาฟิอีย์ (ร.ห.) กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีสองประเภท คือบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ มติปวงปราชน์ และสิ่งรายงานจากบรรดาซออาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น มันนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง และ(สอง)บิดอะฮ์ที่ไม่เคยทราบเลยว่า มันขัดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากดังกล่าวนั้น ดังนี้นั้น มันย่อมบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะคำกล่าวของ ท่านอุมัร ที่ว่า "บิดอะฮ์ที่ดี คือ อันนี้" คำกล่าวนี้ หรือเหมือนกับคำกล่าวนี้ ได้รายงานโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานของเขาที่ซอฮิหฺ ไว้ในหนังสือ อัลมัดค๊อล" ดู เล่ม 20 หน้า 159 ตีพิมพ์ ดารฺ อาลัม อัลกุตุบ


ท่าน อิบนุ ตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ดุรอุตตะอารุฏ ว่า

فإن ما خالف النصوص فهو بدعة باتفاق المسلمين وما لم يعلم أنه خالفها فقد يسمى لا بدعة قال الشافعي رضي الله تعالى عنه : البدعة بدعتان : بدعة خالفت كتابا أو سنة أو إجماعا أو أثرا عن بعض أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم فهذه بدعة ضلالة وبدعة لم تخالف شيئا من ذلك فهذه قد تكون حسنة لقول عمر : نعمت البدعة هذه هذا الكلام أو نحوه رواه البيهقي بإسناده الصحيح في المدخل

"แท้จริง สิ่งที่ขัดแย้งกับ บรรดาตัวบทนั้น มันคือบิดอะฮ์ ด้วยมติปวงปราชน์มุสลิมีน และสิ่งที่ไม่ทราบว่า มันขัดแย้งกับบรรดาตัวบท แท้จริงแล้ว มันย่อมไม่ถูกต้องเรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ ท่านอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีสองประเภท คือบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ มติปวงปราชน์ และสิ่งรายงานจากบรรดาซออาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น มันนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง และ(สอง)บิดอะฮ์ที่ไม่เคยทราบเลยว่า มันขัดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากดังกล่าวนั้น ดังนี้นั้น มันย่อมบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะคำกล่าวของ ท่านอุมัร ที่ว่า "บิดอะฮ์ที่ดี คือ อันนี้" คำกล่าวนี้ หรือเหมือนกับคำกล่าวนี้ ได้รายงานโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานของเขาที่ซอฮิหฺ ไว้ในหนังสือ อัลมัดค๊อล" ดู เล่ม 1 หน้า 140

ดังนั้น การแบ่งประเภทของบิดอะฮ์นั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ไม่ได้ทำการปฏิเสธโดยอย่างสิ้นเชิง หากปฏิเสธก็อยู่ในรูปแบบ الإشارى คือบอกเป็นสัญญานเท่านั้น แต่ที่ปฏิเสธการแบ่งแบบตรงๆนั้น คือมีอยู่ท่านเดียว คือ ท่าน อัช-ชาฏิบีย์(ร.ฮ.) และบรรดาอุลามาอ์ ก็ให้การตอบโต้ทัศนะของท่านอัช-ชาฏิบีย์ ดังนั้น ไม่ว่าท่านอัช-ชาฏิบีย์จะปฏิเสธเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ เราก็ขอสนทนาในเชิงวิชาการ ในการโต้ตอบทัศนะของท่านอัช-ชาฏิบีย์ ครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน


قال ابن رجب: "وأمّا ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية، فمن ذلك قول عمر رضي الله عنه لمّا جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد، وخرج ورآهم يصلُّون كذلك، فقال: (نعمت البدعة هذه)"
جامع العلوم والحكم (2/128


อิบนุเราะญับกล่าวว่า “และสำหรับ สิ่งที่ปรากฏในคำพูดสะลัฟ เกี่ยวกับการมองว่าบางส่วน บิดอะฮ เป็นสิ่งที่ดีนั้น แท้จริงดังกล่าวว่านั้น อยู่ในประเด็นบิดอะฮทางภาษา ไม่ใช่ทางศาสนา แล้วจากคำพูดของท่านอุมัร(ร.ฎ)ดังกล่าว ขณะที่ท่านได้รวมผู้คนให้ตามอิหม่ามคนเดียวกันในมัสยิด และท่านได้ออกมาเห็นพวกเขาละหมาดในสภาพเช่นนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นี้คือ บิดอะฮที่ดี”

วิจารณ์

(คำนิยาม)บิดอะฮ์

ที่นั่นมี สองแนวทางของบรรดาอุลามาอ์ ในการให้คำนิยามของคำ"บิดอะฮ์ตามหลักศาสนา"
หนทางที่ 1. คือแนวทางของท่าน อิซซุดดีน บิน อับดุสลาม โดยที่ท่านได้พิจารณาว่า แท้จริงสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นบิดอะฮ์ และท่านได้แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นหุกุ่มต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า "(บิดอะฮ์คือ)การกระทำที่ไม่เป็นที่รู้กันในสมัยของท่านร่อซุลเลาะฮ์(ซ.ล.) คือมันแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์.....(โปรดอ่านเพิ่มตามจากคำนิยามของ อิบนุ อับดุสลามที่ได้นำเสนอมาแล้วข้างต้น)" (ดู ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ฟี มะซอลิหฺ อัลอะนาม เล่ม 2 หน้า 204)

ท่านอิมาม อันนะวะวีย์ ได้สนับสนุนกับความหมายดังกล่าวว่า "ทุกๆการกระทำที่ไม่เคยมีในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) เรียกว่าบิดอะฮ์ แต่ส่วนหนึ่งจากมันนั้น มีสิ่งที่ดี (หะสะนะฮ์) และส่วนหนึ่งจากมันก็มีสิ่งที่ยัดแย้งกับดังกล่าว" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 394)

หนทางที่ 2. คือทำความเข้าใจความหมายของบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา(ของแนวทางแรก)นั้น ให้เฉพาะเจาะจงเข้าไปอยู่ใน(บิดอะฮ์ตาม)หลักภาษา และทำ(การจำกัด)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนาให้อยู่ในความหมายที่ถูกตำหนิเท่านั้น คือ(อุลามาอ์ที่อยู่หนทางนี้)จะไม่เรียก บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัติ บิดอะฮ์มุบาหฺ และบิดอะฮ์มักโระฮ์ (ท่านอิบนุอับดุสลาม) ว่า "เป็นบิดอะฮ์" และส่วนหนึ่งจากผู้ที่อยู่ในแนวทางนี้ คือ ท่าน อิบนุร่อญับ (ร.ห.) และท่านอิบนุรอญับ ได้อธิบายความหมายดังกล่าวว่า " จุดมุ่งหมายด้วยกับบิดอะฮ์นั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่มาจากสิ่งที่ไม่มีรากฐานจากหลักศาสนาที่บ่งชี้บนมัน แต่สำหรับสิ่งที่มีรากฐานให้กับมัน จากหลักศาสนาที่บ่งชี้บนมันนั้น ก็ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ แต่หากว่า มันเป็นบิดอะฮ์ตามหลักภาษา" (ดู ญาเมี๊ยะอฺ อัลอุลูม วะ อัลหิกัม หน้า 223 )

และในความเป็นจริงแล้ว สองหนทางนี้ ได้มีความเห็นสอดคล้องกันใน แก่นแท้ของความเข้าใจจากคำว่า"บิดอะฮ์" (คือสอดคล้องในด้าน การกระทำใดที่ไม่มีรากฐานเดิมตามหลักศาสนา ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิตามทัศนะของอิบนุรอญับ และเป็นบิดอะฮ์หะรอมตามทัศนะของท่านอิซซุดดีนบินอับดุสลาม) แต่ความแตกต่างกัน อยู่ตรงที่ แนวทางการวินิจฉัยที่เข้าไปสู่ความเข้าใจที่ตรงกัน คือ แท้จริง บิดอะฮ์อันถูกตำหนิ ที่เป็นการกระทำจะได้รับบาปนั้น คือบิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานในศาสนาที่บ่งชี้บนมัน ซึ่งมันก็คือ จุดมุ่งหมายจากคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่ว่า "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" (ทั้งหมดนี้ อ้างอิงจาก หนังสือ อัลบะยาน หน้าที่ 204 - 205 ฟัตวาที่ 50)

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ในความเป็นจริงแล้ว คือซุนนะฮ์ และบนการอธิบายตามนัยนี้ ก็ถูกตีความ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น บิดอะฮ์" นั้น บนสิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ อัลบะยาน หน้า 206 ฟัตวาที่ 50)

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตามทัศนะของท่าน อิบนุ ร่อญับ ก็คือบิดอะฮ์ตามหลักภาษาที่มีรากฐานที่มาจากหลักการของศาสนา เนื่องจากท่านอิบนุหาญิบได้จำกัดบิดอะฮ์ตามหลักศาสนาไว้เพียง บิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น คืออยู่ในรูปแบบสรุป(الإجمالى) และบิดอะฮ์ตามหลักภาษาที่มีรากฐานที่มาจากหลักการศาสนา ก็คือ ซุนนะฮ์ ตามทัศนะของอิบนุรอญับนั่นเอง

แต่ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนใหญ่ แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นสองประเภทตามที่ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวไว้ และบรรดาอุลามาอ์ก็ทำการเอา บิดอะฮ์สองประเภทของอิมามชาฟิอีย์นี้ มาวินิจฉัยโดยวางบนมาตรฐานของฮุกุ่ม 5 ก็จึงแบ่งออกเป็นแบบรายละเอียด (التفصيلى) เป็น 5 ประเภท ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนใหญ่ คือบิดอะฮ์ที่ไม่ขัดกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจมาอ์ และมีรากฐานจากหลักการของศาสนา ฉะนั้น หากบิดอะฮ์อยู่บนพื้นฐานของศาสนา หรืออยู่ภายใต้หลักการของศาสนาไม่ว่าจะมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบ ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ตามหลักศาสนา ซึ่งหากมันอยู่บนพื้นฐานที่หะรอมตามหลักศาสนา ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม(หลงผิด) หากมันอยู่บนพื้นฐานที่วายิบ หรือสุนัตตามหลักศาสนา ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ดี (แต่ท่านอิบนุร่อญิบบอกว่ามันเป็นซุนนะฮ์)

ดังนั้น ทั้งสองแนวทาง ถือว่า ดี ทั้งหมด โดยที่มีทัศนะตรงกันว่า "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีรากฐานจากหลักศาสนา ย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้ แม้การเรียกชื่อจะต่างกันก็ตาม"

ข้อสังเกตุ

ผมจะยกข้อความการสนทนาซ้ำอีกครั้งนั้น เนื่องจาก สิ่งที่ได้เคยนำเสนออันนี้ ยังไม่ถูกวิจารณ์หักล้าง จึงสามารถอ้างอิงได้อีกและยังคงอยู่ในการสนทนาในเชิงวิชาการนะครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

น้องครับ ถ้าไม่ขัดกับตัวบดหรือสอดคล้องกับตัวบท เขาไม่เรียก บิดอะฮ เขาเรียกว่า “สุนนะฮ” ครับ ส่วนที่อิหมามชาฟิอี กล่าวว่า

: البدعة بدعتان: بدعة محمودة وبدعة مذمومة، فما وافق السنة فهو محمود، وما خالف السنة فهو مذموم.

บิดอะฮนั้น มีสองบิดอะฮ คือ บิดอะฮที่ได้รับการสรรเสริญ และบิดอะฮที่ได้รับการตำหนิ ดังนั้น สิ่งใดที่สอดคล้องกับสุนนะฮ มันคือสิ่งที่ได้รับการสรรเสริญ และสิ่งใดที่ขัดแย้งกับสุนนะฮ มันคือ สิ่งที่ได้รับการตำหนิ"

วิจารณ์

บังอะสันครับ คำกล่าวของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์นั้น ได้แบ่งแยกบิดอะฮ์ออกเป็นสองประเภทอย่างชัดเจน หากแม้นว่า จะพิจารณาในทัศนะ 2 ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่ว่า เป็นบิดอะฮ์ในเชิงภาษาก็ตาม ดังนั้น ผมขอกล่าวว่า บิดอะฮ์ในเชิงภาษา จึงแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ บิดอะฮ์(ทางภาษา)หะสะนะฮ์ และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์ ซึ่งบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือบิดอะฮ์ที่ดี และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์ คือบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ และการแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นหะสะนะฮ์และซัยยิดอะฮ์นั้น เป็นทัศนะของ สะลัฟ

ผมอยากถามบังอะสันสักนิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยไม่ขัดกับตัวบดหรือสอดคล้องกับตัวบทนั้น เขาเรียกว่า "ซุนนะฮ์" กระนั้นหรือ ? และทำไมบังอะสันถึงไม่พิจารณาคำว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่" ซึ่งคำๆนี้ เขาเรียกว่า บิดอะฮ์ แต่มีสอดคล้องกับตัวบท มันจึงเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็เป็นที่น่าคิดอยู่ว่า เมื่อท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์หมายถึง บิดอะฮ์ทางภาษา หรือเกี่ยวกับทางโลกดุนยา แต่ทำไมท่านอิมามถึง นำคำกล่าวของ ท่าน อุมัร อัลฟารูก ที่เกี่ยวข้องและเป็นเรื่องของศาสนามาเป็นหลักฐาน เพื่อสนับสนุนทัศนะของท่าน แต่พูดไปพี่น้องวะฮาบีย์ไม่นำมาพิจารณาหรอก เนื่องจากพวกเขาต้องการเพียงแค่เชิงภาษาเท่านั้น เราก็จะจัดให้ครับ


อ้างจากบังอะสัน

คำพูดของท่านอิหม่ามชะฟิอี นั้น ท่านอาจจะหมายถึง บิดอะฮ ในเชิงภาษา หรือไม่ก็ หมายถึง บิดอะฮที่เกี่ยวกับกิจการทางโลกมากกว่า เพราะท่านเอง ได้กล่าวว่า
من استحسن فقد شرّع
ผู้ใด คิดการ(บิดอะฮขึ้นมา)โดยเห็นว่า ดี แน่นอน เขาได้ตั้งบัญญัติขึ้นใหม่
- السلسلة الضعيفة (2/ 19). และ อัสสุนันวัลมุบตะดะอาด หน้า 5

วิจารณ์

บังอะสันครับ คำกล่าวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์นี้ มันเกี่ยวกับเรื่อง อัลอิสติหฺซาน เรื่องการกิยาสที่ขัดกับหลักการศาสนา ซึ่ง อัล-อัซฮะรีย์ได้อธิบายรายละเอียดไปแล้ว และบังอะสันเอาโยงเกี่ยวกับบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ได้อย่างไร ? ซึ่งบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ไม่ได้เป็นการตั้งบัญญัติขึ้นมาใหม่ตามทัศนะของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ เมื่อเป็นเช่นนี้ บังอะสันก็อย่ามาวงเล็บว่า...คิดการ(บิดอะฮ์ขึ้นมา)... แบบนี้ถือว่า เป็นการเข้าใจผิดต่อคำกล่าวของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์

หากบังอะสันพยายามอ้างความหมายบิดอะฮ์ทางภาษานั้น ผมก็ขอกล่าวว่า บิดอะฮ์ทางภาษานั้น แบ่งออกเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์ ประเด็นนี้ บังอะสันยอมรับใหม? และการแบ่งแยกบิดอะฮ์ออกเป็น บิดอะฮ์ทางศาสนา และบิดอะฮ์ทางดุนยา นั้น ไม่มีการแบ่งแยกตามหลักการของศาสนา เนื่องจากอิสลามไม่แบ่งแยกระหว่าง ศาสนาและทางโลก(ดุนยา) ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายยิ่ง หากพี่น้องวะฮาบีย์กล่าวว่า บิดอะฮ์ศาสนานั้นลุ่มหลง แต่บิดอะฮ์ทางโลกดุนยานั้นกระทำได้ไม่ต้องห้าม เนื่องจากบิดอะฮ์ดุนยานั้น ก็มีทั้งดีและชั่ว หรือจะบิดอะฮ์ดุนยาที่สอกคล้องกับหลักการ ว่าซุนนะฮ์อีกหรือ???

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

อัศศอนอานีย์ กล่าวไว้ว่า
وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة
สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10

วิจารณ์

บังอะสันครับ เขาอ่านว่า "เนี๊ยะมัลบิดอะฮ์" ไม่ใช่ "เนี๊ยะมุนบิดอะฮ์"

สำหรับวงเล็บของบังอะสันที่ว่า (ไม่ใช่บิดอะฮ์ในทางศาสนา) นั้น ผมไม่เห็นด้วยกับการวงเล็บ เนื่องจากมันไม่ใช่จุดมุ่งหมายของ ท่านอัศศ๊อลอานีย์ ดังนั้น การวงเล็บข้อความที่ไม่ใช่เป้าหมายของ ท่านผู้ประพันธ์นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ความหมายที่ถูกต้องจากคำอธิบายของ ท่านอัศศอนอานีย์ ก็คือ

"สำหรับคำกล่าวของ ท่านอุมัรที่ว่า บิดอะฮ์ดี(คือตะรอวิหฺนี้) คือย่อมไม่มีสิ่งที่ถูกสรรเสริญในบิดอะฮ์ แต่ทุกๆบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง"

ซึ่งคำกล่าวของ ท่านอัศศอนอานีย์นี้ เราไม่เห็นด้วย เนื่องจากท่านอุมัร(ร.ฏ.) บอกว่า มันมีบิดอะฮ์ที่ดีด้วย(ไม่ว่าจะเป็นเชิงภาษาก็ตาม) แต่ท่านอัศศอนอานีย์ บอกว่าไม่มีอะไรดีในบิดอะฮ์เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราขอยึดถือคำกล่าวของท่านซัยยิดินาอุมัร (ร.ฏ.) มากกว่า ท่านอัศศอนอานีย์
แต่หากว่า เรายึดตามความเข้าใจของ ท่านอัศศอนอานีย์จริงๆ เราก็ต้องกลับไปพิจารณา การอธิบายของท่านอัศศอนอานีย์ เกี่ยวกับหะดิษที่ว่า "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" ซึ่งท่านอัศศอนอานีย์กล่าวอธิบายว่า

البدعة لغة: ما عمل على غير مثال سابق ، والمراد به هنا ما عمل من دون أن يسبق له شرعية من كتاب ولا سنة. وقد قسم العلماء البدعة على خمسة أقسام: واجبة كحفظ العلوم بالتدوين والرد على الملاحدة بإقامة الأدلة ، ومندوبة كبناء المدارس ، ومباحة كالتوسعة في ألوان الأطعمة وفاخر الثياب ، ومحرمة ومكروهة وهما ظاهران
فقوله ((كل بدعة ضلالة)) عام مخصوص

"บิดอะฮ์ ในเชิงภาษานั้น คือสิ่งที่ปฏิบัติโดยไม่มีตัวอย่างมาก่อน และจุดมุ่งหมายของหะดิษใน ณ ที่นี้ (คือหะดิษ ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง) คือ สิ่งที่ปฏิบัติขึ้น โดยไม่มีหลักศาสนาที่มาก่อน จากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ และบรรดาอุลามาอ์ ก็ได้แบ่งแยกบิดอะฮ์ออกเป็น 5 ประเภท คือ บิดอะฮ์วายิบ เช่นการรักษาไว้ซึ่งวิทยาการต่างๆ ด้วยการบันทึกไว้ และการโต้ตอบ พวกที่นอกลู่ ด้วยการยืนยันบรรดาหลักฐานต่างๆ และบิดอะฮ์สุนัติ เช่นการสร้างสถานศึกษา และบิดอะฮ์มุบะหฺ เช่นการเปิดกว้างในเรื่องหลากชนิดของอาหารและสวมเสื้อผ้าที่ดีๆ และบิดอะฮ์หะรอมและมักโระหฺนั้น ทั้งสองย่อมชัดเจน " ดู สุบุลุสลาม เล่ม 2 หน้า 48

สรุปในทัศนะของ ท่านอัศศอนอานีย์ก็คือ ท่านไม่ได้มีทัศนะเหมือนกับพี่น้องวะฮาบีย์ การนำเอาคำกล่าวของท่านอัศศอนอานีย์มาอ้างสนับสนุนทัศนะของตนในการปฏิเสธการแบ่งบิดอะฮ์นั้นย่อมไร้ความหมาย

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

อิหม่ามเชากานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้อธิบายอายะฮที่ว่า
{ٱلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِى وَرَضِيتُ لَكُمُ ٱلإسْلاَمَ دِيناً} [المائدة: 3].

โดยกล่าวว่า

"فإذا كان الله قد أكمل دينه قبل أن يقبض نبيه صلى الله عليه وسلم، فما هو الرأي الذي أحدثه أهله بعد أن أكمل الله دينه، إن كان من الدين في اعتقادهم فهو لم يكمُل عندهم إلا برأيهم، وهذا فيه ردٌّ للقرآن، وإن لم يكن من الدين فأي فائدة بالاشتغال بما ليس من الدين؟!

แล้วเมื่อปรากฏว่า อัลลอฮทรงได้ให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์แล้ว ก่อนที่ทรงเอาชีวิตท่านศาสดาของพระองค์ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้นสิ่งที่เป็นความคิดเห็น ที่นักแสดงความคิดเห็น อุตริขึ้นมา หลังจากที่อัลลอฮทรงให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์แล้ว หากมันเป็นส่วนหนึ่งจากศาสนา ตามความเชื่อของพวกเขา ดังนั้นมันเท่ากับว่า ในทัศนะของพวกเขานั้น มันยังไม่สมบูรณ์ นอกจาก ด้วยความคิดเห็นของพวกเขา(มาเสริมให้สมบูรณ์) และนี้คือ การปฏิเสธอัลกุรอ่าน และถ้าหากมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา แล้วประโยชน์อะไร ที่จะไปสาละวน(ไปเสียเวลา)อยู่กับสิ่ง ซึ่งไม่ใช่ศาสนา ?

วิจารณ์

คำอธิบายของ ท่านอัช-เชากานีย์นี้ ไม่ได้ปฏิเสธเกี่ยวกับบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ดังนั้น บังอะสันไม่สมควรเอาคำอธิบายของท่าน อัช-ชากานีย์มาหักล้างเรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และแท้จริง ความหมายของอายะฮ์ "ฉันได้ทำให้สมบูรณ์สำหรับพวกเจ้า" นี้ คือความสมบูรณ์ของบรรดาอุดมการณ์หลักๆ ( المبادئ ) หรือบรรดาสิ่งที่เป็นหลักการสำคัญๆ ( القواعد ) และส่วนหนึ่งของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็ผนวกอยู่ในอุดมการณ์ของอิสลามด้วย ดังนั้น ผู้ที่กระทำบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องศาสนา หรือคิดว่าหลักศาสนานั้นบกพร่อง หรือเขาได้กระทำตามอารมณ์ หรือเขาได้บัญญัติเรื่องศาสนาขึ้นมาเองก็หาไม่ แต่ยิ่งไปกว่านั้น มันเป็นการปฏิบัติตามหลักของศาสนา ( قاعدة شرعية ) ที่ได้รับมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ โดยที่ไม่ต้องการจะมาเลียนแบบให้เหมือนกับหลักการศาสนา และไม่ได้มีเจตนาที่จะดันทุรังกับการหลักการของอัลเลาะฮ์ และฝ่าฝืนท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)

ดังนั้น ทำไมคำอธิบายของ ท่านอัช-เชากานีย์นี้ จึงไม่เกี่ยวกับบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ คำตอบ ก็เนื่องจาก ท่านอัช-เชากานีย์ก็มีทัศนะในการแบ่งแยกบิดอะฮ์ เป็น สอง ประเภทเช่นเดียวกันกับบรรดาอุลามาอ์ส่วนมาก ท่านอัชเชากานีย์กล่าวอธิบายคำกล่าวของท่านอุมัรว่า

البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح .

ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และในทางศาสนา ใช้เรียก สิ่งที่ตรงกันข้ามกับอัสสุนนะฮ ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และ(คำกล่าว)ที่ประณีตแน่แฟ้นนั้น คือ แท้จริง บิดอะฮ์นั้น หากมันมีมา จากสิ่งที่อยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดี ในหลักศาสนา มัน(บิดอะฮ์)ก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และหากว่ามันมีมา จากสิ่งที่อยู่ภายใต้สิ่งที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือ(บิดอะฮ์)ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(จากบิดอะฮ์ทั้งสอง) มันก็มาจาก ประเภทที่มุบาห์" ดู นัยลุลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 25

เราจะสังเกตุได้ว่า ท่าน อัช-เชากานีย์ ได้ยอมรับทัศนะของท่านอิบนุหะญัร ได้เกี่ยวกับเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

แล้วท่านอิบนิตัยมียะฮกล่าวอีกว่า

ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة"
مجموع الفتاوى (27/152)


และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ) ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น “บิดอะฮหะสะนะฮ”
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152

วิจารณ์

คำกล่าวของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่ว่า"เป็นที่รู้กันว่าสิ่งที่ท่านร่อซูลุลลอฮ์..........." คือเป็นที่ทราบดีตามทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ตามทัศนะของนักปราชน์ทั่วไป ดังนั้น ทุกสิ่งที่นบี(ซ.ล.)และบรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิดอีนไม่ได้ทำนั้น ย่อมไม่เป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเสมอไป

ดังนั้น สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้ง หรือไม่ได้ทำ ย่อมไม่ใช่เป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเสมอไป
อะไรคือ สิ่งที่นบี(ซ.ล.)ได้ทิ้ง โดยไม่ได้กระทำ ?

คำตอบ ก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือบรรดาสะละฟุสซอและหฺละทิ้งไม่ได้กระทำมัน โดยไม่มีหะดิษ หรือคำกล่าวรายงาน มาห้ามจากสิ่งที่ถูกทิ้งดังกล่าว ที่ให้ความหมายถึงการห้ามมัน หรือให้ละทิ้งมันไป (ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 12 ของท่าน ชัยค์ อัลฆุมารีย์ )

ดังนั้น การทิ้งการกระทำนี้ มีหลายประเภท อาธิ เช่น

1. ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งมันนั้น เพราะมีสิ่งที่มาหักห้ามตามอุปนิสัยตามธรรมชาติ หรือมีอุปนิสัยที่ไม่ชอบ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งการกินเนื้อ ฏ๊อบ เมื่อมันได้ถูกนำมาให้แก่ท่าน ซึ่งในหะดิษนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ถูกถามว่า "มันเป็นสิ่งที่ต้องห้ามหรือ ? ท่านนบี(ซ.ล.)ตอบว่า "ไม่หรอก" ดังนั้น ดังกล่าวถึงชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ไม่ถือว่า เป็นการหะรอมห้ามกับมัน

2. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งนั้น เพราะว่าได้ลืมมัน ซึ่งเสมือนการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ลืมในละหมาด โดยท่านได้ละทิ้งสิ่งหนึ่ง ท่านจึงถูกถามว่า "มีสิ่งใดเกิดขึ้นในละหมาดหรือ?" ท่านนบี(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า "แท้จริง ฉันนั้นก็เป็นมนุษย์ ฉันลืมเหมือนกับที่พวกท่านลืม ดังนั้น เมื่อฉันลืม พวกท่านก็จงเตือนฉัน"

ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งสิ่งหนึ่งจากละหมาด พวกเขาก็ไม่คิดว่าเลยว่ามันเป็นหุกุ่มใดหุกุ่มหนึ่ง แต่พวกเขากลับไปทบทวนถามกับท่านนบี(ซ.ล.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) ก็ทำการตอบกับพวกเขา ด้วยกับสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นหุกุ่มใดๆขึ้นมา

3. การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการกระทำนั้น เพราะเกรงว่า จะเป็นฟัรดู เหนือประชาชาติของท่าน เช่นท่านได้ทิ้งละหมาดญะมาอะฮ์ ตะรอวิหฺ ในขณะที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำาการรวมตัวกันละหมาด เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นฟัรดูเหนือพวกเขา

4.
การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งการกระทำ ก็เพราะเกรงถึงฟิตนะฮ์ที่จะเกิดขึ้นได้ อาธิเช่น ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการรื้นถอนบัยตุลลอฮ โดยนำมาสร้างไว้ที่ฐานของท่านนบี(ซ.ล.)อิบรอฮีม(ซ.ล.) เสมือนที่ได้ระบุไว้ในซอฮิหฺบุคอรีย์และมุสลิม ดังนั้น การละทิ้งการดังกล่าวนั้น เพื่อถนอมน้ำใจของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ๆ จากชาวมักกะฮ์

5. บางครั้ง ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้ง เนื่องจากสาเหตุที่เฉพาะสำหรับท่าน เช่นท่านนบี(ซ.ล.) ทิ้งการรับประทานหัวหอม และสิ่งที่มีกลิ่นไม่ดี เนื่องจากเกรงว่าจะสร้างความเดือนร้อนแก่มะลาอิกะฮ์ ในขณะที่รับวะหฺยุ โดยที่ไม่มีผู้ใดกล่าวว่า การรับประทานหัวหอมนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม เพราะว่านบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการรับประทานมัน

จากตัวอย่างที่เราได้กล่าวมานั้น เราจะเห็นว่า การที่ท่านนบีได้ทิ้ง หรือ ไม่ได้กระทำสิ่งหนึ่งนั้น ไม่ได้ชี้ถึงว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม

ท่าน อบู อัลฟัฏลฺ อัลฆุมารีย์ กล่าวว่า " การละทิ้งการกระทำเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีหลักฐานมาระบุว่าสิ่งที่ถูกทิ้งนั้นหะรอม ย่อมไม่เป็นหลักฐานชี้ว่าสิ่งนั้น เป้นสิ่งที่หะรอม แต่จุดมุ่งหมายนั้นก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาติให้ละทิ้งการกระทำได้ และสำหรับการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำ ที่เป็นสิ่งที่หะรอมนั้น ไม่ได้เข้าใจว่า เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งมัน แต่เป็นเพราะว่า มีหลักฐานมาระบุถึงการห้ามต่างหาก " ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 15

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Feb 24, 2006 1:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทัศนะของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ในสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งหรือไม่เคยกระทำ

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้แบ่ง กรณีสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งนั้น ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ما تركه مع وجود المقتضى لفعله فى عهده صلى االه عليه وسلم

สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งมัน พร้อมการมีสิ่งที่บ่งขอกให้รู้ ถึงการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.)ที่มีอยู่ในยุคสมัยของท่านแล้ว ซึ่งการละทิ้งนี้ ย่อมชี้ถึงว่า มันไม่เป็นสิ่งที่ยังคงเป็นผลประโยชน์ และไม่อนุญาติให้กระทำมัน ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้ยกตัวอย่างดังกล่าว เช่น การอะซานและอิกอมะฮ์ในละหมาดอีดทั้งสอง ที่ผู้ปกครองบางส่วนได้เคยกระทำขึ้น โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เคยละหมาดอีด โดยไม่มีการอะซานและอิกอมะฮ์ ซึ่งย่อมชี้ให้เห็นว่า การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการอะซานและอิกอมะฮ์นั้น ย่อมเป็นซุนนะฮ์

2. ما نركه النى صلى الله عليه وسلم لعدم وجود ما يقتضيه، لحدوث المقتضى له بعد موته صلى الله عليه وسلم

สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้ง เพราะไม่มีสิ่งที่บ่งถึงความต้องการมัน ก็เนื่องจากได้เกิดสิ่งที่บ่งถึงความต้องมันหลังจากที่ท่านนบี(ซ.ล.)เสียชีวิตแล้ว ซึ่งเช่นนี้นั้น ถือว่า เป้นผลประโยชน์ และบางครั้งเป็นสิ่งที่อนุญาติ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้ยกตัวอย่างการรวบรวมอัลกุรอาน ซึ่งการสิ่งที่มาห้ามการรวบรวมในสมัยท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ก็เนื่องจาก วะหฺยุยังคงประทานลงมา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเปลี่ยนและหุกุ่มตามที่พระองค์ทรงต้องการ ดังนั้น การรวบรวมให้อยู่ในอัลกุรอานฉบับเดียวกัน จึงมีความลำบาก และมีอุปสรรคในการมีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆเวลา แต่เมื่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)เสียชีวิตแล้ว ก็สามารถรวบรวมได้ ( สรุปจากหนังสือ อิกติฏออฺ อัลซิรอฏ อัลมุสตะกีม ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า 133 - 135 )

วิจารณ์หลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์

จากหลักการข้อที่ 1 ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ที่ท่านกล่าวว่า การอะซานและอิกอมะฮ์ในละหมาดอีดนั้นเป็นบิดอะฮ์ เนื่องจากนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำนั้น ถือว่าเป็นคำกล่าว ที่ไม่มีความละเอียดละออ จริงอยู่ว่า การอะซานและอิกอมะฮ์ในละหมาดอีดนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่น่าตำหนิ แต่ก็ไม่ใช่เพราะว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำมัน แต่เป็นเพราะว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการอธิบายไว้ในหะดิษแล้ว ที่เกี่ยวกับสิ่งที่จะนำมาปฏิบัติในละหมาดอีด โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กล่าวถึงการอะซาน จึงชี้ให้เห็นว่า การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้นิ่งจากการกล่าวมัน ก็ถือเป็นการไม่อนุญาติให้กระทำ ซึ่งอยู่บน อัลกออิดะฮ์ที่ว่า

ان السكوت فى مقام البيان يفيد الحصر

"แท้จริง การนิ่ง ในขณะอธิบายนั้น ย่อมให้ความหมายถึงการจำกัด"

และอัลกออิดะฮ์ หรือหลักการนี้ มีบรรดาหะดิษหลายบทที่ชี้ถึงการห้ามถาม เมื่อมีการอธิบายแจกแจง

ท่าน อัล-บัซฺซฺาร ได้รายงานจาก อบี อัดดัรดาอ์ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า

وما أحل الله فى كتابه فهو حلال وما حرم فهو حرام ، وما سكت عته فهو عفو ، فأقبلوا من الله عافيته ، فإن الله لم يكن لينسى شيئا ، ثم تلا ( وما كان ربك نسيا)
قال البزار : إسناده صالح، وصصه الحاكم

"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุมัตในคำภีร์ของพระองค์นั้น คือสิ่งที่หะลาล และสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามนั้น คือสิ่งที่หะรอม และสิ่งที่พระองค์ทรงนิ่งจากมัน ย่อมเป็นการอนุโลมให้ ดังนั้น พวกท่านตอบรับการผ่อนปรนของพระองค์เถิด เพราะแท้จริงแล้ว อัลเลาะฮ์ไม่ทรงเคยลืมเลย จากนั้นท่านร่อซูลได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า "และพระผู้อภิบาลของเจ้านั้น ไม่ทรงลืม" ท่านอัล-บัซฺซฺารกล่าวว่า หะดิษนี้ ดี และท่านหะกิมถือว่า หะดิษนี้ซอฮิหฺ

ท่านอัดดาร่อกุฏนีย์ ได้รายงานจาก ท่านอบี ษะอฺละบะฮ์ อัลค่อชะนีย์ จากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า

إن الله فرض الفرائض فلا تضيعوها ، وحد حدودا فلا تعتدوها ، وحرم أشيياء فلا تنتهكوها، وسكت عن أشياء رحمة بكم من غير نسيان فلا تبحثوا عنها

"แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงกำหนดบรรดาฟัรดู ดังนั้นพวกเจ้าอย่าละเลยกับมัน และพระองค์ทรงวางขอบเขตต่างๆไว้ ดังนั้นพวกเจ้าก็อย่าละเมิดกับมัน และพระองค์ทรงห้ามกับประการต่างๆ ดังนั้น สูเจ้าก็อย่าละเมิดกับมัน และพระองค์ทรงสิ่งจากบรรดาประการต่างๆ ก็เพราะเป็นความเมตตาต่อพวกเจ้า โดยที่ไม่ทรงลืมเลย ดังนั้นพวกเขาก็อย่าพิเคราะห์(ถาม)ถึงมันเลย"

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 31, 32, 33  ถัดไป
หน้า 15 จากทั้งหมด 33

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.14 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ