ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 31, 32, 33  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 19, 2006 2:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บังอะสันครับ salam

เมื่อตอนเที่ยงที่ผ่านมานั้น ผมทำการตอบสนทนายังไม่หมด แต่หลังจากนั้น ก็เข้าไม่ค่อยจะได้ สงสัยคอมพ์เครื่องที่ผมเล่นอยู่ อาจจะขัดข้อง ก็เลยกลับมาทำภาระส่วนตัว แต่ช่วงนี้ มีเวลาว่างอีกสักหน่อย เพื่อทำการชี้แจงส่วนที่เหลือนะครับ

อ้างจาก บังอะสัน

เข้าใจมาแต่ต้นแล้วครับ แต่ ประเดินนี้น้องอัล-อัซอะรีย์ เอามาอ้างอิงเพื่อสนับสนุน เรื่อง บิดอะฮหะสะนะฮ ซึ่งก็ตอบไปแล้วว่า สมมุติว่า รายงานที่ว่า ท่านอุมัร ละหมาด ตะรอเวียะ 20 รอกะอัต นั้น เศาะเฮียะ ก็ไม่มีช่องทางที่จะอ้าง ว่า ท่านทำบิดอะฮหะสะนะฮ เพราะสุนนะฮเคาะลีฟะฮทั้งสี่นั้น ท่านรซูลุ้ลลอฮ (ศอลฯ)สอนให้ปฏิบัติตาม ในเรื่องของอิบาดะฮนั้นบังยังเชื่อและมีจุดยืนอยู่บนหลักการ ที่ว่า

الأصل في العبادات أنها محظورة إلا ما دل الدليل على كونها مشروعة ، قال تعالى : { أم لهم شركاء شرعوا لهم من الدين ما لم يأذن به الله

หลักเดิมในเรื่องอิบาดะฮนั้น แท้จริงมันเป็นข้อห้าม นอกจาก สิ่งที่มีหลักฐานแสดงว่า มันมีบัญญัติให้กระทำ ดังที่อัลลอฮ(ซุบฮานะฮูวะตาอาลา ตรัสว่า “หรือพวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา สิ่งซึ่งอัลลอฮไม่ทรงอนุญาต ด้วยมัน

วิจารณ์

ซุนนะฮ์ของคอลิฟะฮ์ คือแนวทางที่พวกเขาทำการฟื้นฟู และแนวทางที่พวกเขาได้ทำขึ้นมาจากพวกเขาเอง โดยไม่ข้ดแย้งกับตัวบทจาก อัลกุรอานและซุนนะฮ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สอดคล้องกับคำสอนของอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ซึ่งผมจะนำหลักฐานดังกล่าวมายืนยันต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

และมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องครับ ที่ว่าหลักเดิม หรือหลักการทั่วไป ที่กล่าวว่า ในอิบาดะฮ์นั้น ห้ามกระทำขึ้นมา จนกระทั้งมีหลักฐานมาบัญญัติแก่มัน เช่น เราจะเพิ่มละหมาด เป็นหาเวลาไม่ได้ เราจะทำการฮัจญฺในเดือนอื่นที่ไม่ใช่เดือนฮัจญฺไม่ได้ เราจะไปถือศีลอด ในเดือนอื่นจากร่อมะฏอนไม่ได้ เราจะไปกำหนดพิกัตซะกาตเอง โดยที่ไม่มีตัวบทมายืนยัน ย่อมไม่ได้ ซึ่งนั้นคือ الأصل ซึ่งหมายถึง القاعدة المطردة หลักการทั่วไป

แต่เรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ก็คือ ซุนนะฮ์นั่นเอง เนื่องจากมันสอดคล้องและไม่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ไม่ว่าเราจะเรียกว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ หรือ ซุนนะฮ์ มันก็เป็นแค่การแตกต่างในการเรียกเท่านั้นเอง แต่จุดมุ่งหมายเดียวกัน เราจะเรียกอย่างใดก็ได้ เนื่องจากบรรดาปวงปราชน์กล่าวว่า

لا مشاحة فى الإصطلاحات

"ไม่มีการขัดข้องกัน ในเรื่องการเรียกคำศัพท์"

แต่เราเรียกว่า "บิดอะฮ์ที่ดี" หรือบิดอะฮ์"หะสะนะฮ์" นั้น ก็เพราะท่าน ซัยยิดินา อุมัร อัลฟารูก ได้กล่าวเรียกมันเอาไว้

ดังนั้น การทำบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ จึงไม่ได้เป็นการ บัญญัติศาสนาขึ้นมาเอง แต่มันเป็นการกระทำที่ไม่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์ หรือมันอยู่ภายใต้กรอบของบทบัญญัติ ครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 19, 2006 2:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจาก บังอะสัน

ตามที่ได้ตอบไปแล้วว่า หะดิษที่ว่า อุมัร ละหมาด 20 รอกะอัตนั้น มีหะดิษที่ขัดแย้งกัน คือ
บ้างก็ว่า 11 รอกะอัต บ้างก็ว่า 20 รอกะอัต บ้างก็ว่า 23 รอกะอัต เช่น
หะดิษที่ว่า อุมัรทำ 23 นั้น เป็นหะดิษเฎาะอีฟ คือ
كان الناس يقومون في زمان عمر بن الخطاب في رمضان بثلاث وعشرين ركعة " .
رواه مالك وعنه افريابي وكذا البيهقي في السنن . وفيه ضعفه بقوله :
" يزيد بن رومان لم يدرك عمر " .
وكذا ضعفه النووي في " المجموع " فقال : ( 4/33 ) :
" رواه البيهقي ولكنه مرسل فإنيزيد بن رومان لم يدرك عمر " وكذلك ضعفه العيني بقوله : في " عمدة القاريء شرح صحيح البخاري " ( 5/357 ) : " سنده منقطع


วิจารณ์

และตามที่ได้ตอบไปแล้ว คือ สายรายงาน 11 ร่อกะอัต ที่ได้รายงานจาก ท่านมุหัมมัด บิน ยูซุฟ จาก ท่าน อัซ-ซาอิบ บิน ยะซีด มีสายงานที่ ขัดแย้งกัน สับสน และคลุมเคลือ แต่สายรายงาน 23 ร่อกะอัต นั้น บังอะสัน ยกอ้างอิงเพียงแค่หะดิษที่ ฏออีฟ แล้วนำมาวิจารณ์กับฝ่ายตรงข้ามผู้ให้คนเอาวามทั่วไปคิดว่า หะดิษเกี่ยวกับ ละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต นั้นฏออีฟ โดยไม่พยายามกล่าว อ้างอิงหะดิษที่ ซอฮิหฺ เหตุผลนั้น ก็เนื่องจากว่ามันจะไปทำลายแนวทางหรืออุดมการณ์ที่ตนมีอยู่ หะดิษที่ รายงานโดย ท่าน ยะซีด บิน รูมาน นั้น เป็นหะดิษ มุรซัล ซึ่งมีรายงานโดย 23 ร่อกะอัต โดยเพิ่ม ละหมาดวิติร ไปอีก 3 ร่อกะอัต มีสายรายงานขาดตอนไปหนึ่งช่วง เนื่องจาก ยะซีด บิน รอมาน นั้น ไม่ได้อยู่ในสมัยเดียวกับท่านอุมัร (ร.ฏ.) แต่อิมาม อัล-บัยฮะกีย์ ก็ได้รวมหะดิษ มุรซัลนี้ โดยมีหะดิษที่ซอฮิหฺมาสนับสนุน ดังนี้ คือ

ท่าน อัล-บัยฮะกีย์ ได้นำเสนอรายงานว่า

( أخبرنا) ابو عبد الله الحسين بن محمد بن الحسين بن فنجويه الدينورى الدامغان ثنا احمد بن محمد بن إسحاق السنى انبأنا عبد الله بن محمد بن عبد العزيز البغوى ثنا على بن الجعد أنبأ ابن أبى ذئب عن يزيد بن خصيفة عن السائب بن يزيد قال : كانوا يقومون على عهد عمر بن الخطاب - رضى الله عنه - فى شهر رمضان بعشرين ركعة وكانوا يقومون بالمائتين وكانوا يتوكؤون على عصيهم فى عهد عثمان من شدة القيام

ได้เล่ากับเรา โดยอบู อับดิลลาฮ์ อัลหุซัยน์ บิน มุหัมมัด บิน อัลหุซัยน์ บิน ฟันญุวัยฮ์ อัดดัยเนารีย์ อัดดามิฆอน ได้เล่ากับเรา โดย อะหฺมัด บิน มุหัมมัด บิน อิสหาก อัซซุนนีย์ ได้บอกกับเรา โดยอับดุลเลาะฮ์ บิน มุหัมมัด บิน อับดุลอะซีซฺ อัลบะฆอวีย์ ได้เล่ากับเรา โดยอลี บิน อัลญะอฺดิ ได้บอกกับเรา โดย อิบนุ อบี ษิอฺบิ จาก ยะซีด บิน ค่อซีฟะฮ์ จาก ท่าน อัซซาอิบ บิน ยะซีด เขากล่าวว่า

" พวกเขาได้ทำการละหมาดในสมัยของท่านอุมัร อิบนิ ค๊อฏฏอบ (ร.ฏ.) ในเดือนรอมะดอน 20 รอกะอัต และพวกเขาได้ทำการละหมาด 200 คน และทำการยืนค้ำด้วยไม้เท้าของพวกเขาในสมัยของท่านอุษมาน เนื่องจากมีการยืนที่ยาวนาน "

ดังนั้น หะดิษนี้ เป็นหะดิษที่ ซอเฮี๊ยะห์อย่างชัดเจน ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์ทั้งหลาย (หรือว่าหะดิษนี้ ผมจะต้องวิจารณ์กับอัลบานีย์ที่วะฮาบีย์ให้การยึดถือและอ้างอิงอีกรอบอีกหรือเปล่าไม่ก็ไม่รู้ซินะครับ เนื่องจากเคยยืมหนังสือของเพื่อนมาอ่านเกี่ยวกับคำวิจารณ์ของอัลบานีย์เกี่ยวกับหะดิษนี้ แต่ก็นานมาแล้ว ) แต่ผมจะทำการตัครีจ วิจารณ์สายรายงาน หะดิษนี้ ทีละคน ดังนี้ครับ

1. ท่าน السائب بن يزيد (ร.ฏ.) ท่านนี้ คือ ซอฮาบะฮ์ และทั้งหมดของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น เที่ยงธรรมในการรายงาน

2. ท่าน يزيد بن خصيفة ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า "เขาคือ ยะซีด บิน อับดิลลาห์ บิน ค่อซีฟะฮ์ เขานั้น ثقة เชื่อถือได้ " (ดู ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ เล่ม 2 หน้า 367)

3. ท่าน ابن أبى ذئب ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า "เขาคือ มุหัมมัด บิน อับดุรเราะฮ์มาน บิน มุฆีเราะฮ์ บิน หาริษ บิน อบีษิอฺบิ อับก่อร่อชีย์ อัลอามีรีย์ ซึ่งเขานั้น ثقة เชื่อถือได้ فقيه เป็นนักปราชน์ฟิกห์ فاضل เป็นคนมีคุณธรรม เป็นนักรายงานลำดับชั้นที่ 4 (ดู อัตรีบ อัตตะฮ์ซีบ เล่ม 2 หน้า 184)

4. ท่าน على بن الجعد ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า "เขานั้น ثقة เชื่อถือได้ อีกทั้ง ثبت มีความจำมั่นคง" (ดู ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ เล่ม 2 หน้า 33)

5. ท่าน عبد الله بن محمد بن عبد العزيز البغوى ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า "เขาเป็น คือ الحافظ นักจำหะดิษ الإمام เป็นผู้นำในหะดิษ الحجة ผู้เป็นหลักฐานยืนยันได้ المعمر ผู้ที่อายุยืน مسند العصر เป็นผู้ถูกรายงาน(จากผู้อื่น)ของยุคสมัยนั้น ได้รายงานจากเขา โดยท่านมุสลิม และคนอื่นๆ (ดู ซิยัส อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 11 หน้า 419)

6. ท่าน احمد بن محمد بن إسحاق السنى ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวไว้ว่า " ท่านอิบนุซุนนีย์ นี้ คือ الإمام ผู้นำในหะดิษ الحافظ เป็นนักจำหะดิษ الثقة เป็นผู้เชื่อถือได้ الرحال เป็นนักเดินทางสืบหาหะดิษ และเขาได้ทำการรวบรวมและประพันธ์หนังสือ ( يوم وليلة) ซึ่งมีบรรดาสายรายงานต่างๆที่ดี (ดู ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 12 หน้า 378)

7. ท่าน ابو عبد الله الحسين بن محمد بن الحسين بن فنجويه الدينورى ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า เขาคือ อาจารย์คุณวุฒิ เป็นอิมาม เป็นนักหะดิษ เป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์ เป็นผู้ยั่งยืนจากบรรดาคณาจารณ์ทั้งหลาย
ท่าน ชีรูวัยฮฺ (คือท่าน หาฟิซฺ อัดดัยลามีย์ เจ้าของหนังสือ อัล-ฟิรเดาซฺ) กล่าวว่า เขานั้น ثقة เชื่อถือได้ صدوق เป็นคนที่พูดสัจจะ كثير الرواية للمناكير รายงานบรรดาหะดิษที่มุงกัรมาก เป็นคนที่เขียนลายมือสวย และบรรดาหนังสือมาก

- ข้อควรระวัง -

"คำว่า كثير الرواية للمناكير รายงานบรรดาหะดิษที่มุงกัรมาก" หมายถึงเขาได้รายงานโดย "สายรายงานเพียงคนเดียว"มาก แต่ในสายรายงาน เรื่อง ละหมาด ตะรอวิหฺ 20 รอกะอัตนี้ ไม่ถือว่า มุงกัร โดยรายงานคนเดียว เพราะอิมามชาฟิอีย์ และอบูหะนีฟะฮ์ เป็นต้น ก็รายงานยอมรับความซอเฮี๊ยะห์ไว้เช่นกัน เนื่องจากเป็นแนวทางมัซฮับของท่านทั้งสองด้วย ผนวกกับ ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัลหุซัยน์ อัดดัยเนารีย์ นี้ เป็นผู้ที่เชื่อถือได้ และพูดจริง จึงทำให้หะดิษสายรายงาน ซอเฮี๊ยะห์อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องสงสัยแต่ประการใด นอกจากผู้ที่ดันทุรังดื้อดึงในสัจจะธรรมเท่านั้น อัลหัมดุลิลลาห์

ประเด็นละหมาดตะรอวิหฺ 20 รอกะอัตนี้ ผมจะหยิบยกมาสนทนาในประเด็นข้อปลีกย่อยต่างๆเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกหุ่มกุ่มเป็นบิดอะฮ์จากวะฮาบีย์ หลังจากทำการสนทนา เรื่องบิดอะฮ์ นี้เสร็จสิ้นแล้ว อินชาอัลเลาะฮ์

เราขอกลับเข้ามาเรื่องบิดอะฮ์ครับ

ดังนั้น เมื่อหะดิษนี้ซอเฮียะหฺ ก็แสดงว่า ท่านอุมัรใช้ให้ทำ 20 รอกะอัต ซึ่งท่านนบีไม่เคยทำ (โดยไม่คำนึงถึงสายรายงานนบีละหมาด 20 รอกะอัตที่ฏออีฟ) เมื่อนบีไม่เคยทำ ทำอุมัรจึงกล่าวว่า มันเป็น"บิดอะฮ์ที่ดี" ฉะนั้น ที่บิดอะฮ์ ก็เพราะว่าท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำละหมาดตะรอวิหฺในรูปแบบ 20 รอกะอัต แต่เป็นสิ่ง"ที่ดี" นั้น เพราะว่า อยู่ภายใต้หลักการที่ว่า การละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมะดอน เป็นสิ่งที่ท่านนบีส่งเสริม

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 19, 2006 2:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจาก บังอะสัน

และที่ว่า ท่านอาลี(ร.ฎ)ทำ 20 รอกะอัต ก็เป็นหะดิษที่ ไม่เศาะเฮียะ คือ

عن أبي عبد الرحمن السلمي أن عليا دعا القراء في رمضان فأمر رجلا أن يصلي بالناس عشرين ركعة وكان علي يوتر بهم (معرفة السنة للبيهقي ح 4396و السنن الكبرى للبيهقي ص496/2(
ท่านอัลบานีย์วิจารณ์ว่า
وإسناده ضعيف فيه علتان :
الأولى : عطاء بن السائب فإنه كان قد اختلط .
الثانية : حماد بن شعيب فإنه ضعيف جدا كما أشار إليه البخاري بقوله : " فيه نظر " وقال مرة : " منكر الحديث " فإنه إنما يقول هذا فيمن لا تحل الرواية عنه كما نبه إليه العلماء فلا يستشهد به ولا يصلح للاعتبار
- เศาะลาตุตตะรอเวียะ หน้า 66-67


ตอบ

ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่า ทำไม ท่านอัลบานีย์ ถึงหยิบยกแต่หะดิษที่ ฏออีฟ เพื่อมาหักล้างแนวทางอื่น โดยไม่นำหะดิษที่ซอฮิหฺ มานำเสนอ ซึ่งผมคิดว่า มันไม่เป็นธรรมในเชิงวิชาการ
หากเรากลับไปดู สุนัน กุบรอ ของท่าน อิมาม อัลบัยฮะกีย์ ในสายรายงาน เกี่ยวกับ ท่าน ซัยยิดินา อลี (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้ทำการใช้ให้ผู้คนละหมาด ตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต โดยมีสายรายงาน คือฏออีฟ คือ รายงานโดย อบี สะอีด อัล-บักกอล ( أبى سعيد البقال) จาก อบี อัล-หัสนาอฺ ( أبى الحسناء ) ซึ่งท่าน อิมาม อัล-บัยฮะกีย์ กล่าวว่า " อบี สะอีด อัล-บักกอล นั้นฏออีฟ " (ดู สุนัน อัลก๊อบรอ ของท่าน อิมาม อัล-บัยฮะกีย์ เล่ม 2 หน้า 497)

แต่มีอีกสายรายงานหนึ่ง ที่ซอเฮี๊ยะหฺ ที่มายืนยันว่า ท่าน อลี (ร.ฏ.) ได้ใช้ให้ผู้คนหมาด ตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต ซึ่งรายงานโดย อิบนุ อบี ชัยบะฮ์ ว่า

ثنا وكيع عن الحسن بن صالح عن عمرو بن قيس عن أبى الحسناء أن عليا أمر رجلا يصلى بهم فى رمضان عشرين ركعة

" ได้เล่ากับเราโดย วะเกี๊ยะอฺ จาก อัลหะซัน บิน ซอลิหฺ จาก อัมรฺ บิน กัยซฺ จาก อบี อัลหัสนาอฺ ว่า แท้จริง ท่าน อลี ได้ใช้ ชายผู้หนึ่ง ทำการละหมาด(นำ)พวกเขา ในเดือนรอมาฏอน กับ 20 ร่อกะอัต "

เราจะพบว่า สายรายงานนี้ มี อัมร์ บิน กัยซฺ ( عمرو بن قيس )ได้รายจาก อบี อัล-หัสนาอฺ ( أبى الحسناء ) ซึ่ง อัมร์ บิน กัยซฺ ( عمرو بن قيس ) นี้ คือ อัมร์ บิน กัยซฺ อัล-มุลาอีย์ อัล-กูฟีย์ ซึ่งท่าน อัซซะฮะบีย์กล่าวว่า

وثقه أحمد

" ท่านอะหฺมัด ให้ความเชื่อถือกับเขา" (ดู หนังสือ อัล-กาชิฟ ของท่าน อัซซะฮะบีย์ เล่ม 2 หน้า 340 )

ท่าน อัซซะฮะบีย์ได้กล่าวได้เช่นกันว่า

قال أبو زرعة : ثقة مأمون و دكره الثورى وأثنى عليه

" ท่าน อบู ซุรอะฮ์กล่าวว่า (อัมร์ บิน กัยซฺ) นั้น เชื่อถือได้ และไว้รับการไว้ใจ และท่าน อัษเษารีย์ ได้กล่าวระลึกถึงเขา และทำการสรรญเสริญเขา " (ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 6 หน้า 462 )

ท่านอิบนุ หะญัร กล่าวว่า " อัมร์ บิน กัยซ์ อัล-มุลาอีย์ นั้น เชื่อถือ อีกทั้ง มีความประณีต (ในการรายงาน) เป็นนักอิบาดะฮ์ และเป็นนักรายงาน ระดับชั้นที่ 6 " (ดู ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ เล่ม 2 หน้า 88 )

จากสิ่งที่ผมได้นำเสนอมานั้น พอสรุปได้ว่า ท่าน ซัยยิดินา อุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุฮันฮุ) ได้ทำสั่งให้ละหมาด ตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต และท่าน ซัยยิดินา อลี (อะลัยฮิสลาม) ก็เจริญรอยตาม แนวทางของ ท่าน ซัยยิดินา อุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮฺ) โดยมีหลักฐานยืนยันที่ ซอฮิหฺ

อ้างจาก บังอะสัน

อย่างไรก็ตาม สมมุติว่า รายงานการกระทำของเหล่าเคาะลิฟะฮนั้น เศาะเฮียะ ก็ไม่มีช่องทางสามารถเอามาสนับสนุน บิดอะฮได้ เพราะ การกระทำของเคาะลิฟะฮทั้งสี่ นั้น คือ สุนนะฮ ไม่ใช่บิดอะฮหะสะนะฮ

วิจารณ์

ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่ว่า การกระทำของ เคาะละฟะฮ์นั้น เป็นซุนนะฮ์หรือไม่? แต่สิ่งที่เราพูดอยู่นั้น ก็คือ เมื่อเป็นซุนนะฮ์แล้ว ทำไมท่าน ซัยยิดินา อุมัร จึงยังเรียกมันว่า "เป็นบิดอะฮ์ที่ดี" ดังนั้น บิดอะฮ์ที่ดีนั้น แก่นแท้แล้ว ก็คือ ซุนนะฮ์นั่นเอง ดังที่ อัล-อัซฮะรีย์ ได้นำเสนอไปแล้ว จากหนังสือของท่าน ซัยยิดี ด๊อกเตอร์ ชัยค์ อะลี ญุมมอะฮ์ อัลหุซัยนีย์ ว่า

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ในความเป็นจริงแล้ว คือซุนนะฮ์ และบนการอธิบายตามนัยนี้ ก็ถูกตีความ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น บิดอะฮ์" นั้น บนสิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ อัลบะยาน หน้า 206 ฟัตวาที่ 50)

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 19, 2006 2:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดังนั้น การแบ่งแยกบิดอะฮ์ จึงเป็นทัศนะที่มีน้ำในเชิงหลังฐาน และผมก็ขอกล่าวทิ้งท้ายด้วย คำกล่าวของท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ ในเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ เพื่อเป็นการเสริมทัศนะของเราเท่านั้นเอง


ท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวไว้ใน มัจญฺมั๊วะอฺ อัลฟะตาวา ว่า

ومن هنا يعرف ضلال من ابتدع طريقاً أو اعتقاداً زعم أن الايمان لا يتم إلا به، مع العلم بأن الرسول لم يذكره، وما خالف النصوص فهو بدعة باتفاق المسلمين، وما لم يعلم أنه خالفها فقد لا يسمى بدعة، قال الشافعي ـ رحمه الله ـ: البدعة بدعتان: بدعة خالفت كتاباً وسنة وإجماعاً وأثراً عن بعض [أصحاب] رسول الله صلى الله عليه وسلّم، فهذه بدعة ضلالة. وبدعة لم تخالف شيئاً من ذلك، فهذه قد تكون حسنة لقول عمر: نعمت البدعة هذه! هذا الكلام أو نحوه رواه البيهقي بإسناده الصحيح في المدخل

"จาก ณ ที่นี้ จึงรู้ถึง ความลุ่มหลง ของผู้ที่ได้อุตริ หนทางหนึ่ง หรือหลักการยึดมั่นหนึ่ง แล้วอ้างว่า การศรัทธานั้น จะไม่สมบูรณ์ นอกจากด้วยกับมัน พร้อมกับรู้ว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ไม่ได้กล่าวมันเอาไว้ และสิ่งที่ขัดแยังกับ บรรดาตัวบท มันย่อมเป็นบิดอะฮ์ ด้วยมติของบรรดามุสลิมีน และสิ่งที่ไม่ทราบว่า มันขัดกับบรรดาตัวบท แท้จริงแล้ว มันย่อมไม่ถูกเรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ ท่าน อิมาม อัชชาฟิอีย์ (ร.ห.) กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีสองประเภท คือบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ มติปวงปราชน์ และสิ่งรายงานจากบรรดาซออาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น มันนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง และ(สอง)บิดอะฮ์ที่ไม่เคยทราบเลยว่า มันขัดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากดังกล่าวนั้น ดังนี้นั้น มันย่อมบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะคำกล่าวของ ท่านอุมัร ที่ว่า "บิดอะฮ์ที่ดี คือ อันนี้" คำกล่าวนี้ หรือเหมือนกับคำกล่าวนี้ ได้รายงานโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานของเขาที่ซอฮิหฺ ไว้ในหนังสือ อัลมัดค๊อล" ดู เล่ม 20 หน้า 159 ตีพิมพ์ ดารฺ อาลัม อัลกุตุบ


ท่าน อิบนุ ตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ดุรอุตตะอารุฏ ว่า

فإن ما خالف النصوص فهو بدعة باتفاق المسلمين وما لم يعلم أنه خالفها فقد يسمى لا بدعة قال الشافعي رضي الله تعالى عنه : البدعة بدعتان : بدعة خالفت كتابا أو سنة أو إجماعا أو أثرا عن بعض أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم فهذه بدعة ضلالة وبدعة لم تخالف شيئا من ذلك فهذه قد تكون حسنة لقول عمر : نعمت البدعة هذه هذا الكلام أو نحوه رواه البيهقي بإسناده الصحيح في المدخل

"แท้จริง สิ่งที่ขัดแย้งกับ บรรดาตัวบทนั้น มันคือบิดอะฮ์ ด้วยมติปวงปราชน์มุสลิมีน และสิ่งที่ไม่ทราบว่า มันขัดแย้งกับบรรดาตัวบท แท้จริงแล้ว มันย่อมไม่ถูกต้องเรียกว่า เป็นบิดอะฮ์ ท่านอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีสองประเภท คือบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ มติปวงปราชน์ และสิ่งรายงานจากบรรดาซออาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น มันนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง และ(สอง)บิดอะฮ์ที่ไม่เคยทราบเลยว่า มันขัดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากดังกล่าวนั้น ดังนี้นั้น มันย่อมบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะคำกล่าวของ ท่านอุมัร ที่ว่า "บิดอะฮ์ที่ดี คือ อันนี้" คำกล่าวนี้ หรือเหมือนกับคำกล่าวนี้ ได้รายงานโดย ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานของเขาที่ซอฮิหฺ ไว้ในหนังสือ อัลมัดค๊อล" ดู เล่ม 1 หน้า 140

เรามาพิจารณาดูซิครับ สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่นั้น โดยไม่ขัดแย้งกับตัวบท อัลกุรอานและซุนนะฮ์ ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ ตามทัศนะของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ แต่ตามทัศนะของเรานั้น มันคือบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะมันไม่ขัดกับตัวบทอัลกุรอานและซุนนะฮ์ สรุปง่ายๆก็คือ มันแค่ขัดแย้งในเชิงในการใช้คำเท่านั้นเอง และที่สำคัญใน ณ ที่นี้ คือ ไม่ว่าจะเรียก ซุนนะฮ์ หรือ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ก็ตาม แต่สิ่งที่ถูกเรียกนั้น ก็คือ สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่ โดยไม่ขัดกับตัวบทครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Feb 19, 2006 11:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วะอะลัยกุมุสสลามฯ
ข้อความของน้อง al-farook
ดังนั้น เมื่อหะดิษนี้ซอเฮียะหฺ ก็แสดงว่า ท่านอุมัรใช้ให้ทำ 20 รอกะอัต ซึ่งท่านนบีไม่เคยทำ (โดยไม่คำนึงถึงสายรายงานนบีละหมาด 20 รอกะอัตที่ฏออีฟ) เมื่อนบีไม่เคยทำ ทำอุมัรจึงกล่าวว่า มันเป็น"บิดอะฮ์ที่ดี" ฉะนั้น ที่บิดอะฮ์ ก็เพราะว่าท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำละหมาดตะรอวิหฺในรูปแบบ 20 รอกะอัต แต่เป็นสิ่ง"ที่ดี" นั้น เพราะว่า อยู่ภายใต้หลักการที่ว่า การละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมะดอน เป็นสิ่งที่ท่านนบีส่งเสริม
....................................
ตอบ
การที่ทำอุมัรจึงกล่าวว่า มันเป็น"บิดอะฮ์ที่ดี" นั้น เป็นบิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา เพราะ
1. เพราะการละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮของท่านนบี ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้เคยนำละหมาดเหล่าสาวกและท่านส่งเสริมให้เหล่าสาวกปฏิบัติ

وروى الترمذي (806) عَنْ أَبِي ذَرٍّ رضي الله عنه قَالَ : قال رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( مَنْ قَامَ مَعَ الإِمَامِ –يعني في صلاة التراويح- حَتَّى يَنْصَرِفَ كُتِبَ لَهُ قِيَامُ لَيْلَةٍ ) .

และรายงานโดย อัตติรมิซีย์ (806)จาก อบีซัรริน (ร.ฏ)กล่าวว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดละหมาดพร้อมกับอิหม่าม – หมายถึง ละหมาดตะรอเวียะ – จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการบันทึก เท่ากับการละหมาดทั้งคืน

رواه الترمذي (806) وأبو داود (1375) والنسائي (1605) وابن ماجه (1327) . والحديث : صححه الترمذي وابن خزيمة (3/337) وابن حبان (3/340) والألباني في "إرواء الغليل" (447)

وَرَوَى أَسَدُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ أَبِي يُوسُفَ قَالَ : سَأَلْت أَبَا حَنِيفَةَ عَنْ التَّرَاوِيحِ وَمَا فَعَلَهُ عُمَرُ , فَقَالَ : التَّرَاوِيحُ سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ , وَلَمْ يَتَخَرَّصْ عُمَرُ مِنْ تِلْقَاءِ نَفْسِهِ , وَلَمْ يَكُنْ فِيهِ مُبْتَدِعًا , وَلَمْ يَأْمُرْ بِهِ إلا عَنْ أَصْلٍ لَدَيْهِ وَعَهْدٍ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ، وَلَقَدْ سَنَّ عُمَرُ هَذَا وَجَمَعَ النَّاسَ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ فَصَلاهَا جَمَاعَةً وَالصَّحَابَةُ مُتَوَافِرُونَ مِنْ الْمُهَاجِرِينَ وَالأَنْصَارِ وَمَا رَدَّ عَلَيْهِ وَاحِدٌ مِنْهُمْ , بَلْ سَاعَدُوهُ وَوَافَقُوهُ وَأَمَرُوا بِذَلِكَ "
الموسوعة الفقهية (27/138)

และรายงานโดย อะสัด บุตร อัมริน จากอบี ยูซูบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าถามอบูหะนีฟะอ เกี่ยวกับตะรอเวียะ และสิ่งที่ ท่านอุมัร ได้กระทำ แล้วท่านกล่าวว่า “ ละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮมุอักกะดะฮ โดยที่ท่านอุมัรไม่ได้กุเรื่องเท็จขึ้นมาจากตัวท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นผู้อุตริ(ผู้ทำบิดอะฮ)ในเรื่องนั้น และท่านไม่ได้ใช้ให้กระทำ นอกจากมี หลักฐาน ณ ที่ท่าน และ เป็นคำสั่งจากท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแท้จริงท่านอุมัร ได้ทำแบบอย่างนี้ขึ้นมา โดยรวมผู้คน ให้ละหมาดภายใต้การเป็นอิหม่ามของท่านกะอับ แล้วได้ทำการละหมาดนั้น(ละหมาดตะรอเวียะ) ในรูปของการละหมาดญะมาอะฮ โดยที่บรรดาเศาะหาบะฮจำนวนมากมาย จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺ และไม่มีคนใดจากพวกเขาคัดค้านท่าน(อุมัร)เลย ตรงกันข้าม พวกเขากลับสนับสนุนท่าน พวกเขาเห็นฟ้องกับท่านและ พวกเขาใช้ให้กระทำเรื่องดังกล่าว
- อัลเมาสูอะฮอัลฟิกฮียะฮ เล่ม 27 หน้า 138

อัศศอนอานีย์ กล่าวไว้ว่า
وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة
สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10

และท่านอัชชาฏิบีย์ ได้คัดค้านผู้ที่กล่าวว่ามีบิดอะฮหะสะนะฮ โดย อ้างคำพูดของอุมัร โดยกล่าวว่า

( إنما سماها بدعة باعتبار ظاهر الحال من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم ، واتفق أن لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه ، لأنها بدعة في المعنى ) الاعتصام 1/195

ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันเป็นบิดอะฮในด้านของความหมาย - อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195

ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

( السنة هي ما قام الدليل الشرعي عليه بأنه طاعة لله ورسوله ، سواء فعله رسول الله صلى الله عليه وسلم أو فعل على زمانه ، أو لم يفعله ولم يفعل على زمانه ، لعدم المقتضي حينئذ لفعله أو وجود المانع منه ، ...... فما سنه الخلفاء الراشدون ليس بدعة شرعية ينهى عنها ، وإن كان يسمى في اللغة بدعة فكونه ابتدئ ) مجموع الفتاوى 21/317ـ 319


อัสสุนนะฮ คือ สิ่งที่ปรากฏหลักฐานทางศาสนายืนยัน ว่า แท้จริงมัน(สิ่งนั้น)เป็นการภักดีต่ออัลลอฮและศาสนทูตของพระองค์ ไม่ว่าท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กระทำมัน หรือ มีการกระทำในสมัยของท่าน ก็ตาม หรือว่าท่านไม่ได้กระทำมัน และไม่ได้มีการกระทำในสมัยของท่าน เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะกระทำในเวลานั้น หรือ เพราะมีอุปสรรค ... ดังนั้น สิ่งที่บรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ได้ทำแบบอย่างเอาไว้ นั้น ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา (บิดอะฮชัรอียะฮ)ที่มีการห้ามจากมัน
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 21 หน้า 317-319

แล้วท่านอิบนิตัยมียะฮกล่าวอีกว่า

ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة"
مجموع الفتاوى (27/152)


และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ) ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น “บิดอะฮหะสะนะฮ”
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152


قال ابن رجب: "وأمّا ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية، فمن ذلك قول عمر رضي الله عنه لمّا جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد، وخرج ورآهم يصلُّون كذلك، فقال: (نعمت البدعة هذه)"
جامع العلوم والحكم (2/128


อิบนุเราะญับกล่าวว่า “และสำหรับ สิ่งที่ปรากฏในคำพูดสะลัฟ เกี่ยวกับการมองว่าบางส่วน บิดอะฮ เป็นสิ่งที่ดีนั้น แท้จริงดังกล่าวว่านั้น อยู่ในประเด็นบิดอะฮทางภาษา ไม่ใช่ทางศาสนา แล้วจากคำพูดของท่านอุมัร(ร.ฎ)ดังกล่าว ขณะที่ท่านได้รวมผู้คนให้ตามอิหม่ามคนเดียวกันในมัสยิด และท่านได้ออกมาเห็นพวกเขาละหมาดในสภาพเช่นนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นี้คือ บิดอะฮที่ดี”


…………………………….
ดังนั้น การอ้างคำพูดและการกระทำของท่านเคาะลิฟะฮอุมัร เพื่อมาสนับสนุน เรื่อง ที่ว่ามีบิดอะฮที่ดี ในศาสนานั้น ฟังไม่ขึ้นโดยประการทั้งปวง
น้อง al-farook กล่าวว่า

เรามาพิจารณาดูซิครับ สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่นั้น โดยไม่ขัดแย้งกับตัวบท อัลกุรอานและซุนนะฮ์ ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ ตามทัศนะของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ แต่ตามทัศนะของเรานั้น มันคือบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะมันไม่ขัดกับตัวบทอัลกุรอานและซุนนะฮ์ สรุปง่ายๆก็คือ มันแค่ขัดแย้งในเชิงในการใช้คำเท่านั้นเอง และที่สำคัญใน ณ ที่นี้ คือ ไม่ว่าจะเรียก ซุนนะฮ์ หรือ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ก็ตาม แต่สิ่งที่ถูกเรียกนั้น ก็คือ สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่ โดยไม่ขัดกับตัวบทครับ
...............................................
ตอบ
น้องครับ ถ้าไม่ขัดกับตัวบดหรือสอดคล้องกับตัวบท เขาไม่เรียก บิดอะฮ เขาเรียกว่า “สุนนะฮ” ครับ ส่วนที่อิหมามชาฟิอี กล่าวว่า

: البدعة بدعتان: بدعة محمودة وبدعة مذمومة، فما وافق السنة فهو محمود، وما خالف السنة فهو مذموم.

บิดอะฮนั้น มีสองบิดอะฮ คือ บิดอะฮที่ได้รับการสรรเสริญ และบิดอะฮที่ได้รับการตำหนิ ดังนั้น สิ่งใดที่สอดคล้องกับสุนนะฮ มันคือสิ่งที่ได้รับการสรรเสริญ และสิ่งใดที่ขัดแย้งกับสุนนะฮ มันคือ สิ่งที่ได้รับการตำหนิ”
.......................................
คำพูดของท่านอิหม่ามชะฟิอี นั้น ท่านอาจจะหมายถึง บิดอะฮ ในเชิงภาษา หรือไม่ก็ หมายถึง บิดอะฮที่เกี่ยวกับกิจการทางโลกมากกว่า เพราะท่านเอง ได้กล่าวว่า
من استحسن فقد شرّع
ผู้ใด คิดการ(บิดอะฮขึ้นมา)โดยเห็นว่า ดี แน่นอน เขาได้ตั้งบัญญัติขึ้นใหม่
- السلسلة الضعيفة (2/ 19). และ อัสสุนันวัลมุบตะดะอาด หน้า 5

อิหม่ามเชากานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้อธิบายอายะฮที่ว่า
{ٱلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِى وَرَضِيتُ لَكُمُ ٱلإسْلاَمَ دِيناً} [المائدة: 3].

โดยกล่าวว่า

"فإذا كان الله قد أكمل دينه قبل أن يقبض نبيه صلى الله عليه وسلم، فما هو الرأي الذي أحدثه أهله بعد أن أكمل الله دينه، إن كان من الدين في اعتقادهم فهو لم يكمُل عندهم إلا برأيهم، وهذا فيه ردٌّ للقرآن، وإن لم يكن من الدين فأي فائدة بالاشتغال بما ليس من الدين؟!

แล้วเมื่อปรากฏว่า อัลลอฮทรงได้ให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์แล้ว ก่อนที่ทรงเอาชีวิตท่านศาสดาของพระองค์ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้นสิ่งที่เป็นความคิดเห็น ที่นักแสดงความคิดเห็น อุตริขึ้นมา หลังจากที่อัลลอฮทรงให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์แล้ว หากมันเป็นส่วนหนึ่งจากศาสนา ตามความเชื่อของพวกเขา ดังนั้นมันเท่ากับว่า ในทัศนะของพวกเขานั้น มันยังไม่สมบูรณ์ นอกจาก ด้วยความคิดเห็นของพวกเขา(มาเสริมให้สมบูรณ์) และนี้คือ การปฏิเสธอัลกุรอ่าน และถ้าหากมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา แล้วประโยชน์อะไร ที่จะไปสาละวน(ไปเสียเวลา)อยู่กับสิ่ง ซึ่งไม่ใช่ศาสนา
?
القول المفيد من الرسائل السلفية (ص38)
...........................................
น้องเอ๋ย..ในเรื่อง อิบาดะฮนั้น . ความคิดเห็นที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ มันคือ บิดอะฮเฏาะลาละฮอย่างแน่นอน ส่วนที่น้องเข้าใจในเรื่องบิดอะฮหะสะนะฮตามนิยามของน้องนั้นนั้น จริงๆแล้ว ถ้าไปเทียบกับบิดอะฮที่ปู่ย่าตายายของบังอะสันทำที่เมืองไทย มันก็ห่างใครกันนัก เหตุนี้แหละที่บังปวดหัวที่สุด ช่วยกันชี้แจงเถอะครับ


.....................
บังอะสัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 11:09 am    ชื่อกระทู้: มัสหับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

:o vอจ.อัลฟารุก

บังขอเรียก น้องอัลฟารุก แล้วกัน นะครับ
ที่อจ.อัลฟารุก ใช้สรรพนามเรียกว่า บัง นั้นถือเป็นการคาดเที่ถูกต้องแล้วครับ เพราะทุกคน ตั้งแต่ น้องอัล-อัชฮารีย์ คุณมูฮำมัด และอาจารย์อัลฟารุก นั้นล้วนอายุน้อยกว่าผมทุกคนครับ


บังนั้น อายุใกล้ๆเลขที่ 4 แล้วครับ ดังนั้นไม่รังเกียจทุกคนเลยครับโดยเฉพาะน้องนักศึกษา จากอิยิปต์ ....และบังขอเรียกนามข้องน้องว่า...อาจารย์นั้นคิดว่า คงไม่รังเกียจนะครับ เพราะบังนับถือในความรู้ของน้องนะครับ .....

ที่อจ.กล่าว่า
Embarassed สิ่งที่ อัล-อัซฮะรีย์ ได้บอกไปว่า ผมชำนาญเกี่ยวกับ ตะเซาวุฟ และวิชาหะดิษนั้น มันไม่ใช่ความจริงหรอกครับ ผมแค่ได้พยายามเรียนได้ศึกษา ความรู้เล็กน้อยๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้นั้น เมื่อมีคนมาถามและผมก็ตอบไป ผู้ถามอาจจะคิดว่า ผมชำนาญในวิชานั้น วิชานี้ ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอกครับ

อจ.อัลฟารุกครับ ด้วยเนื้อหาเหตุผล ข้างบนที่น้องไม่ยอมรับความจริงที่น้องอัลอัชฮารีย์ บอกมานั้น....
บังก็พอจะรู้ว่า อาจารย์นั้น เป็นคน ตะเซาวุฟจริงๆ และเป็นคนที่มองลึกถึงฮะกีกัตด้วย
ถ้าบังเดาไม่ผิด อาจาย์นั้นต้องมุ่งเรียนไปทางตอรีกุลลออ์ด้วยใช่ไหมครับ ... อัลหัมดุลิลาห์..
***คนที่เก่งด้านเซาวุฟนั้นเขาจะเกรงกลัวอัลลอฮ์ ตลอดทุกลมหายใจเข้า-ออก เลยนะครับ...

Wink และในตัวเขานั้นแทบจะไม่มีคำว่า ริยะ ตะกับบุร ชุมอะ ฮาซัด ฯลฯ ที่เป็นชีริกคอฟี่เลย ใช่ไหมครับ ดังนั้นซีฟัตในการอวดรู้ อวดเก่งนั้นจึงไม่มีในตัวเขา เพราะเขานั้น จะฟานาอาห์ตัวเองตลอด คือมองตัวเองไม่มีค่าใดๆ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮซุบหาฮูนาวาตาอะลาทรงมอบให้
ฉนั้นสำหรับเขาแล้วจะไม่มีความลำพองใดๆในตัวเขาและเขาจะไม่กล้าตัดสินหรือฮูกมผู้ใดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งนี้ เพราะเขานั้นได้แยกออก ระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำๆ

อาจารย์ยังกล่าวต่ออีกว่า

ดังนั้น
หากเรายะเกนอยู่ตลอดเวลาว่า อัลเลาะฮ์ทรงผู้รอบรู้ยิ่ง เราก็รู้เลยว่า เรานั่นโง่เขลาเป็นอย่างที่สุด หากเรายะเกนว่า พระองค์ทรงเมตตาปราณี เราก็จะรู้เลยว่า เรานั้นหยาบกระด้าง และหากเรายะเกนว่า พระองค์ทรงเดชานุภาพ เราก็รู้เลยว่า เรานั้น อ่อนแอเป็นอย่างที่สุด ดังนั้นเราไม่มีอะไรเลยครับ

ครับนี้คือ..การมอบหมายของคนตะเซาวุฟต่ออัลลอฮ์(ซบ)อย่างแท้จริงครับ...ยิ่งบังได้อ่านประโยคหลังนี้ ยิ่งมันทำบัง ชื่นใจมาก..ในการที่ อจ.ได้เข้าหาวิชาตะเซาวุฟมากยิ่งขึ้น..บังเองก็กำลังศึกษาและในเรื่องนี้เช่นกันครับ
โดยเฉพาะทางที่จะกลับไปหาอัลลอฮ์(ซบ)ในหนทางที่ปลอดภัยและทางที่พระองค์ทรงต้อนรับบ่าวข้าทาสของพระองค์อย่างปลื้มปิติ...เช่นเดียวกัน...อามีนยารอบบิลอาลามีน...............................
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ Crying or Very sad
ต้องขอโทษทุกคนด้วยนะครับที่ผมเข้ามาคั่นในเรื่องด้านตะเซาวุฟ ทั้งที่เรากำลังคุยอยู่ในเรื่อง
นิยามของคำว่าบิดอะ...

บังฮะซันครับ หลักฐานที่บังยกมาเพื่อหักล้าง อุลามะในทัศนะของอีหมามชาฟีอี(รฮ)นั้นไม่ว่า จากท่านอิบนุตัยมียะ ท่านอัลบานีย์ ท่าน อัชชาฏิบีย์ อัศศอนนีย์ฯลฯล้วนที่เป็นอุลามะในสายที่มีอคติต่อผู้ที่มีมัสหับนะครับ
ดังนั้นถ้าบังและเรา ได้ทำการศึกษาอย่างรอบคอบและเจาะลึกจะเห็นว่าบุคคลที่บังฮะซันเอ่ยถึงนั้น ย่อมไม่เห็นด้วยแน่นอนคำการแบ่งแยกคำว่า บิดอะ
Mad แต่บัดนี้เราต่างก็เห็นแล้วว่า แม้แต่บังฮะซันเองก็ยังตักลิดตามคำวินิจฉัยของท่านเหล่านั้นที่บังยกมาอ้างเพื่อปิดประเด็น ในคำที่บิดอะห์กับทัศนะความคิดเห็นของบรรดาอุลามะในสายของบังเองทั้งนั้น ----ผมเชื่อมั่นว่าทุกถ้อยคำที่บังฮะซันได้นำเสนอมานั้น น้อยมากที่บังจะเอาความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสินเอง เพราะบังก็ยอมรับแล้วว่าบังไม่ใช่ผู้รู้ เพียงแค่นำแนวทางของบังนั้นมาถ่ายทอดเพื่อหักล้างความการตีความหมายของอีกทัศนะหนึ่งเท่านั้น...
Embarassed ซึ่งในสายของบังนั้นทุกคนก็ย่อมที่จะรุ้ดีว่า //จะไม่มีการตีความและให้ความหมายใดๆในความหมายที่คลุมเคลือทั้งสิ้น เพราะ ท่านอิบนุตัยมียะ เองก็เคยกล่าวไว้อย่างนั้น
จะเห็นได้ในเรื่อง..การอัลอิสตวาอะ..กับคุณลักษณะของอัลลอฮ์(ซบ)และการเรียนรู้ในซีฟัตของอัลลอฮ์(ซบ) ท่านกล่าวว่าเหล่านี้คือ....บิดอะที่ลุ่มหลง...ทั้งนั้น


เพราะฉนั้นถ้าหากว่าในมัสหับของวะฮาบีย์ ต้องยอมรับ ในการแบ่งบิดอะแล้ว แน่นอน เท่ากับว่า
ต้องยอมรับอะไรหลายๆอย่างการตีความในตัวบทอัลกรุอานเช่นเดียวกัน

****วกกลับมาที่บังฮะซันไหนๆบังก็ยอมรับและยกคำกล่าวของ***
อิหม่ามเชากานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้อธิบายอายะฮที่ว่า
{ٱلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِى وَرَضِيتُ لَكُمُ ٱلإسْلاَمَ دِيناً} [المائدة: 3].

โดยกล่าวว่า

"فإذا كان الله قد أكمل دينه قبل أن يقبض نبيه صلى الله عليه وسلم، فما هو الرأي الذي أحدثه أهله بعد أن أكمل الله دينه، إن كان من الدين في اعتقادهم فهو لم يكمُل عندهم إلا برأيهم، وهذا فيه ردٌّ للقرآن، وإن لم يكن من الدين فأي فائدة بالاشتغال بما ليس من الدين؟!

แล้วเมื่อปรากฏว่า อัลลอฮทรงได้ให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์แล้ว ก่อนที่ทรงเอาชีวิตท่านศาสดาของพระองค์ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้นสิ่งที่เป็นความคิดเห็น ที่นักแสดงความคิดเห็น อุตริขึ้นมา หลังจากที่อัลลอฮทรงให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์แล้ว หากมันเป็นส่วนหนึ่งจากศาสนา ตามความเชื่อของพวกเขา ดังนั้นมันเท่ากับว่า ในทัศนะของพวกเขานั้น มันยังไม่สมบูรณ์ นอกจาก ด้วยความคิดเห็นของพวกเขา(มาเสริมให้สมบูรณ์) และนี้คือ การปฏิเสธอัลกุรอ่าน และถ้าหากมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา แล้วประโยชน์อะไร ที่จะไปสาละวน(ไปเสียเวลา)อยู่กับสิ่ง ซึ่งไม่ใช่ศาสนา ?
القول المفيد من الرسائل السلفية (ص3

Shocked บังครับ เสียเวลาครับที่บังจะเอากล่าว ของอิหม่ามอัชเชานีย์เพื่อมาคำหักล้าง คำกล่าวบรรดาอุลามะของอีหม่ามชาฟีอีก่อนหน้านั้นครับ เช่นอีหม่าม มานาวีย์เพราะนั้นคือคำกล่าวของผู้ที่ตั้งบนอคติ กับผู้ที่ตามแนวทางของอีม่ามชาฟีอีครับบัง...คักๆๆๆๆ


..บังกล่าว่า.........................................
น้องเอ๋ย..ในเรื่อง อิบาดะฮนั้น . ความคิดเห็นที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ มันคือ บิดอะฮเฏาะลาละฮอย่างแน่นอน ส่วนที่น้องเข้าใจในเรื่องบิดอะฮหะสะนะฮตามนิยามของน้องนั้นนั้น จริงๆแล้ว ถ้าไปเทียบกับบิดอะฮที่ปู่ย่าตายายของบังอะสันทำที่เมืองไทย มันก็ห่างใครกันนัก เหตุนี้แหละที่บังปวดหัวที่สุด ช่วยกันชี้แจงเถอะครับ


ผมขอกล่าวว่า.......................................
Laughing บังเอ๋ย..ในเรื่อง อิบาดะฮนั้น . ความคิดเห็นที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ มันคือ :บิดอะฮหาสานะอย่างแน่นอน ส่วนที่บังเข้าใจในเรื่องบิด ฎอลาละฮ์ตามนิยามในอุลามะของบังนั้นนั้น...
จริงๆแล้ว ถ้าไปเทียบกับบิดอะฮที่ปู่ย่าตายายของบังอะสันทำที่เมืองไทย มันก็ห่างใครกันนัก
..ครับบัง..บิดอะปูย่าตายายของบังผมว่า เป็นบิดอะที่ลุ่มหลงแน่นอนครับเพราะไม่มีในรากฐานศาสนาเข้ามารองรับนี้ครับ ฮิๆๆๆๆ
Idea เหตุนี้แหละที่บังต้องนั่งและนอนตีลังกามันจึงเลยทำให้ปวดหัวที่สุด ช่วยกันชี้แจงให้บังได้ตาสว่างสักทีเถอะครับ...พวกเราหลังจากที่ตาบอดอยู่นานแล้ว..คักๆๆๆ
Crying or Very sad น่าสงสารบังฮะซันจริงๆ จนป่านนี้แล้วที่ยังไม่ยอมเปิดใจ ตะอัศศุบเหลือเกินบังคนใต้คนบ้านเรา.นี้เอง ซายอนิง..ยายออาบังบาย็อ.ๆ..อะป้อ แกจะตาฮูติ...เฮ้อ..ปูวะเดาะ...

------ขอเชิญ อาจารย์อัลฟารุกและ บังฮะซัน เสวานาต่อครับผมขอร่างกายไปทำงานก่อน.....


wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 11:17 am    ชื่อกระทู้: มัส ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แก้ข้อความผิด

บังครับ เสียเวลาครับที่บังจะเอากล่าว ของอิหม่ามอัชเชานีย์เพื่อมาคำหักล้าง คำกล่าวบรรดาอุลามะในทัศนะของอีหม่ามชาฟีอีก่อนหน้านั้นครับ เช่นอีหม่าม นาวาวีย์....เพราะคำกล่าวของท่านเหล่านั้นผู้ที่ตั้งบนอคติ กับผู้ที่ตามแนวทางของอีม่ามชาฟีอีมาโดยตลอดครับบัง...คักๆๆๆๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 11:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ครับบัง..บิดอะปูย่าตายายของบังผมว่า เป็นบิดอะที่ลุ่มหลงแน่นอนครับเพราะไม่มีในรากฐานศาสนาเข้ามารองรับนี้ครับ ฮิๆๆๆๆ
Konyakroo ตอบ: Mon Feb 20, 2006 2:17 pm
..............................
ตอบ
ฮิฮิฮิ ..ต่อไปนี้ เป็นบิดอะฮที่ปู่ย่าตายายบังอะสันทำ จึงขอถามว่า บิดอะฮต่อไปนี้ เป็นบิดอะฮหะสะนะฮไหมคับ น้องบ่าว konyakroo

การอ่านดุอาโดยมีอิมามอ่านนำแล้วมะมูมกล่าวอามีน การกล่าวซ่อลาหวาดนบี พร้อมๆกันหลังละหมาด เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ หรือเปล่า มีแบบอย่างมาจากใครครับ (ใครเป็นคนแต่งทำนอง ใครเป็นคนเขียนเนื้อ)…
…แล้ว การอ่านตัลกีน เฝ้ากุโบร จ้างอ่านกุรอาน เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ มีแบบอย่างมาจากใครครับ ขอร้องเลยนะครับอย่าเอาตำราขออิมามนะวาวีย์ มาอ้างอิงนะครับ เบื่อแล้ว…
…การโกนผมไฟ พิธีกรรมผูกเปล เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ หรือเปล่า มีแบบอย่างมาจากใครครับ…
…การคิตาน ที่มีการแห่แหนเอาเด็กขี่คอ แบบบวชนาค เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ หรือเปล่า มีแบบอย่างมาจากใครครับ…
…การ ขึ้นเสาเอก เสาโท หรือวางศิลาฤกษ์ ที่มีการบริกรรมคาถา เวลาสร้างบ้าน สร้างมัสยิด เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ หรือเปล่า มีแบบอย่างมาจากใครครับ…
…การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำข้าวเหนียวเหลืองให้โต๊ะแหน่แน๊ เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ หรือเปล่า มีแบบอย่างมาจากใครครับ…
…การทำพิธีกรรม อีซีกุโบร อัญเชิญดวงวิญญาณ หรือ อุทิศผลบุญให้คนตาย ที่ทำกันแทบทุกพิธีกรรม ทำบุญบ้านคนตาย 3วัน 7วัน 40วัน รวมไปถึงการทำบุญในวาระต่างๆ เช่น วันเกิด ได้ลาภก้อนโต ลูกสอบติด เปิดร้านใหม่ หรือเกิดล้มป่วย ประสบอุบัติเหตุครั้งใหญ่ หรือขายของไม่ดี ฯลฯ เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ หรือเปล่า มีแบบอย่างมาจากใครครับ…
…การจัดงานเมาลิดนบี ทั้งจัดเล็กจัดใหญ่ เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ หรือเปล่า มีแบบอย่างมาจากใครครับ (อย่าบอกนะว่าคนที่ริเริ่มไม่ใช่พวกชีอะห์)…
…คืนนิฟูชะบาน ละหมาด ทำบุญ อ่านซูเราะห์ยาซีน เป็นบิดอะห์ หะสะนะห์ หรือเปล่า มีแบบอย่างมาจากใครครับ…
..............................
กรุณาตอบหน่อยเถอะครับว่า อิหม่ามชาฟิอีย์สอนไว้หรือไม่

น้อง konyakroo กล่าวว่า

บังครับ เสียเวลาครับที่บังจะเอากล่าว ของอิหม่ามอัชเชานีย์เพื่อมาคำหักล้าง คำกล่าวบรรดาอุลามะในทัศนะของอีหม่ามชาฟีอีก่อนหน้านั้นครับ เช่นอีหม่าม นาวาวีย์....เพราะคำกล่าวของท่าน
เหล่านั้นผู้ที่ตั้งบนอคติ กับผู้ที่ตามแนวทางของอีม่ามชาฟีอีมาโดยตลอดครับบัง...คักๆๆๆๆ
........................
ตอบ
เอ้า..เป็นงั้นไป ใครที่ไม่ชอบบิดอะฮ ก็หาว่า อคติ ต่อมัซฮับชาฟิอี น้องบ่าวจ๋า ช่วยยกตัวอย่างมาหน่อยเถอะ อันใหนบ้างที่อิหม่ามสอนให้ทำบิดอะฮ และบิดอะฮข้างต้น ของชาฟิอีแน่หรือคร้าบ หุ หุ หุ คนอะไรก่อไมรู้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 12:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง konyakroo กล่าวว่า
แต่บัดนี้เราต่างก็เห็นแล้วว่า แม้แต่บังฮะซันเองก็ยังตักลิดตามคำวินิจฉัยของท่านเหล่านั้นที่บังยกมาอ้างเพื่อปิดประเด็น ในคำที่บิดอะห์กับทัศนะความคิดเห็นของบรรดาอุลามะในสายของบังเองทั้งนั้น ----ผมเชื่อมั่นว่าทุกถ้อยคำที่บังฮะซันได้นำเสนอมานั้น น้อยมากที่บังจะเอาความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสินเอง เพราะบังก็ยอมรับแล้วว่าบังไม่ใช่ผู้รู้ เพียงแค่นำแนวทางของบังนั้นมาถ่ายทอดเพื่อหักล้างความการตีความหมายของอีกทัศนะหนึ่งเท่านั้น...
......
.ตอบ

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

"كل بدعة ضلالة، وكل ضلالة في النار" [رواه النسائي في "سننه" (3/188 ـ 189) من حديث جابر بن عبد الله بنحوه،
ทุกบิดอะฮเป็นการหลงผิด และทุกการหลงผิดจะอยู่ในนรก"
......................
อย่างนี้เขาไม่เรื่ยกว่า ตักลิด นะครับ เพราะมีหลักฐานยืนยัน เวลาใช้ความเห็นส่วนตัว ก็หาว่า ใช้ความเห็นส่วนตัว เวลาอ้างนักวิชาการ ก็หาว่าตักลิดนักวิชาการ เวลาอ้างนักวิชาการที่ไม่ยอมรับบิดอะฮของรักของหวงของตนเอง ก็หาว่า เป็นนักวิชาการที่อคติต่อชาฟิอี แต่เวลาเราอ้างอัลกุรอ่านและหะดิษ ดันเอาความเห็นอุลามาอฺตัวเองชื่นชอบมาหักล้างเพื่อเลี่ยงบาลี น้องบ่าวเรากินยาผิดมาหรือเปล่า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 3:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
ٱلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِى وَرَضِيتُ لَكُمُ ٱلإسْلاَمَ دِيناً} [المائدة: 3].

วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้ยินยอมอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว
…………………….
มาดูคำอธิบายของอิบนุกะษีร(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)

هذه أكبر نعم الله ، عز وجل، على هذه الأمة حيث أكمل تعالى لهم دينهم ، فلا يحتاجون إلى دين غيره، ولا إلى نبي غير نبيهم، صلوات الله وسلامه عليه؛ ولهذا جعله الله خاتم الأنبياء، وبعثه إلى الإنس والجن، فلا حلال إلا ما أحله، ولا حرام إلا ما حرمه، ولا دين إلا ما شرعه، وكل شيء أخبر به فهو حق وصدق لا كذب فيه ولا خُلْف،

นี่คือ ความกรุณาอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ ต่อประชาชาตินี้ โดยที่พระองค์ผซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงให้ศาสนาของพวกเขาสมบูรณ์สำหรับพวกเขาแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นจะต้องพึงพาศาสนาอื่นจากมันอีกแล้ว และไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพานบีใดๆออื่นจากนบีของพวกเขา(ขออัลลอฮโปรดประทานพรและความสันติสุขจงประสบแด่ท่าน)อีก และเพราะเหตุนี้ อัลลอฮทรงให้ท่านเป็นศาสดาองค์สุดท้ายในบรรดานบีทั้งหลาย และทรงส่งท่านมายังมวลมนุษย์และญิน ดังนั้น ไม่มีสิ่งอนุมัติใดๆ เว้นแต่สิ่งซึ่งพระองค์ทรงอนุมัติมัน , ไม่มีสิ่งต้องห้ามใดๆ เว้นแต่ สิ่งซึ่งพระองค์ได้ทรงห้ามมันไว้ และไม่ใช่ศาสนา เว้นแต่สิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติมันไว้ และทุกสิ่ง ที่ทรงบอกมันไว้ นั้น คือ ความถูกต้องและความจริง ไม่มีเท็จและการขัดแย้งในนั้น
................
แล้วท่านอิบนิกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อธิบายโดยกล่าวอีกว่า

قال علي بن أبي طلحة، عن ابن عباس قوله: ( الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ ) وهو الإسلام، أخبر الله نبيه صلى الله عليه وسلم والمؤمنين أنه أكمل لهم الإيمان، فلا يحتاجون إلى زيادة أبدا، وقد أتمه الله فلا ينقصه أبدا، وقد رضيه الله فلا يَسْخَطُه أبدا

อะลี บุตร อบีฏอ็ลหะฮ รายงานจากอิบนิอับบัส ท่านได้กล่าวไว้ว่า (วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า ) มันคือ อัลอิสลาม อัลลอฮ ได้ทรงบอกแก่นบีของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า พระองค์ทรงให้การศรัทธาสมบูรณ์สำหรับพวกเขาแล้ว ดังนั้น ไม่จำเป็นจะต้องไปเพิ่มเติมมันตลอดไป และแท้จริงอัลลอฮทรงให้มันครบถ้วนแล้ว แล้วพระองค์จะไม่ให้มันบกพร่องตลอดไป และแท้จริง อัลลอฮทรงยินยอมมันแล้ว ดังนั้น พระองค์จะมิทรงกริ้วมันตลอดไป
- ดูตัฟสิรอิบนิกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 3 ซูเราะฮอัล-มาอิดะฮ
.....................................
น้อง kunkonyakroo ครับ เมื่อศาสนายังไม่สมบูรณ์อีกหรือครับ จึงต้อง เอาบิดอะฮมาเสริม บังนำเอาคำอธิบายของท่านอิบนิกะษีร มาเพิ่มเติม ไม่ทราบว่า น้องจะกล่าวว่า เป็นอุลามาอฺที่มีอคติต่อมัซฮับอีกหรือเปล่า มีคำหนึ่ง น้องบอกว่า “บังอะสันไม่มีความรู้” เพราะเอานักวิชาการมาอ้างอิง ไม่ใช้ความคิดเห็นของตัวเอง แต่..บังอะสันยอมรับว่ารู้น้อย และขอดุอาต่ออัลลอฮ ทุกวันให้พระองค์ทรงเพิ่มความรู้ที่ถูกต้องและความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น เพราะถ้ามีความรู้มาก แต่ไม่เข้าใจ ก็ไม่ต่างอะไรกับ บอดหรือ หลงในที่แจ้ง”
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

:o
น้อง kunkonyakroo ครับ ขอให้ตอบเชิงวิชาการนะครับ อย่าเข้ามาบ่น และ บ่น แล้วก็ขอตัวออกไป เรื่องนิยาม น่าจะพอแล้ว เซ้งสุดๆ อยากให้ตอบเรื่องบิดอะฮ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยๆแต่ละข้อๆ ให้มันชัดๆ ว่า เป็นบิดอะฮหะสะนะฮที่จุดใหน



c10.gif
 คำจำกัดความ:
 ขนาดไฟล์:  13.01 กิโลไบต์
 เข้าชม:  5696 ครั้ง

c10.gif


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 5:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam บังฮะซัน
....ฮั้นแน่ได้ทีอัดผม..เต็มยกเลยนะ..ทีตัวเองออกตัวบ่อยครั้ง..นั้นไม่มีใครว่าสักคำ .แต่จริงๆแล้วไปหาข้อมูลมาหักล้างก็บอกมาเถิด..ไหนว่า ไม่ค่อยว่าง.ไม่ค่อยมีเวลา. และวันก่อนบอกน้องอัลฮัชฮารีย์ว่า ต้องไปคุมสอบเด็กอย่างเข้มงวดละครับอาบัง..
...ผมว่าบังนะต้องนั่งเฝ้าหน้า คอมทั้งวันแน่หรือไม่ก็ต้องมีอะลามคอยเตือนว่า ...ข้อมูลหรือหลักฐานของผู้อยู่ต่างทัศนะได้มาแล้วหรือไม่ก็จ้างเด็กมาเฝ้าเครื่องคอมแน่เลย ฮิๆๆๆ

ผมก็เซ้งเซ็งบัง
ทำไมแค่ขอทำความเข้าใจเรื่องบิดอะนั้นทำไมมันถึงยากเย็ยถึงขนาดนี้..เปิดใจนิดซิครับ
ความรู้ของอุลามะบังจะไม่ยอมรับเลยหรือครับถึงความคิดเห็นและการอธิบายของเขาเหล่านั้นอย่างหมดเยื่อใย...ระวังนะครับผู้ใดที่ไม่มีอุลามะชี้นำทางในการให้ความรู้ ผู้นั้นจะมีชัยตอนคอยแนะนำความรู้ให้กับเขาตลอดเวลานะครับบัง...ฮิๆๆๆ..............

wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 8:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

وعليكم السلام ورحمة الله
แฮะๆๆๆๆๆ ตอนนี้ ช่วงสอบนักเรียนครับน้อง 20-24 ก.พ. 49 ตอนนี้งานยุ่งจริงๆ แต่ที่เข้ามาได้บ้าง ก็เพราะ คอมฯอยู่ที่บ้าน คุมสอบ 08.30 - 11.30 ช่วงเช้า ช่วงบ่าย 12.30-14.40 น. ว่างๆก็แว็บมาที่บ้านอาบน้ำ เสร็จ เปิดคอมดู ว่ามีอะไรคืบหน้าบ้าง พอดีแฟนเขา ไปทำงาน (รับราชการกรมสรรพกร) จะกลับมาก็ช่วง 5 โมงเย็น ที่บ้านไม่มีใคร มีลูกเล็ก 1 คน ก็เอาไปฝากเขาเลี้ยง พอ 12.00 ก็รีบไปโรงเรียน ว่างๆมาเยี่ยมได้ครับ ที อ.สะเดา บังไม่ได้สวมหน้ากากคุยเหมือนน้อง konyakroo นี่ครับ ที่ไม่ยอมเปิดเผยชื่อจริง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 11:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

บังอะสัน และบังคนอยากรู้ คงสบายดีนันนะครับ พอ บัง อัล-ฟารูกเข้ามาสนทนาอย่างเป็นทางการ ก็ถือว่า ทุ่นแรงไปมากเลยครับ ก็เลยสบายกว่าเดิม ส่วนบังมุหัมมัด ก็หายไปเลย เมื่อรู้ว่า บัง อัล-ฟารูกเข้ามาสนทนาเสียที ฮ่าๆ ผมว่า บังมุหัมมัดจะเข้ามา ก็ต้องรอ คุณไออาเอฟ และคุณเดินผ่านกระมัง ฮ่าๆ เพราะบังมุหัมมัด จะชอบเข้ามาทัดทานผู้ร่วมสนทนาที่ใช้คำที่หยาบๆและไม่เป็นมงคลนะครับ ผมก็เคยบอกบังเขาไปแล้วว่า จะไปโต้ตอบกลับแบบเจ็บๆ บังเขาก็ยอมรับในหลักการนั้น แต่เมื่อบังเขาเห็นว่า เมื่อพูดดีด้วยแล้ว กลับได้ใจ ก็เลยต้องเกลือจิ้มเกลือ ฮ่าๆ แต่เราก็จะคอยเตือนบังเขานะครับ แต่ก็คงไม่มีผู้สนทนาใช้คำดูหมิ่นและหยาบๆแล้วมั้งครับ เพราะมันไร้ประโยชน์นะครับ

บังคนอยากรู้ครับ อีเมล์ไม่ถึงเลยครับ ขนาดบังพยายามส่งมา 3 ครั้งแล้ว ก็ยังไม่ถึงเลย ผมก็เลยตอบกลับไม่ได้นะครับ

เรามาวิจารณ์การนำเสนอหลักฐานของบังอะสันกันดีกว่าครับ เท่าที่ผมอ่านดู เราจะพบว่า บังอะสันอ้างอิงจากอุลามาอ์หลายคน แต่ไม่ตรงประเด็นเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์นัก แต่จะสนทนาโดยทางอ้อมมากกว่า คือบังอะสันพยายามพูดเกี่ยวกับบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง โดยไม่เกี่ยวข้องกับบิดอะฮ์ที่หะสะนะฮ์ ซึ่งดูเหมือนว่า หากบังอะสันพูดเรื่องบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงแล้ว มันก็จะรวมไปถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ด้วย ซึ่งความจริงแล้วมันคนละประเด็นกันเลยครับ

แม้เรื่องละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต บังอะสันก็ไม่นำมาวิจารณ์แล้ว แต่บังอะสันหยิบยกอ้างแบบรวมๆว่า นบี(ซ.ล.) เคยละหมาดตะรอวิหฺ เท่านั้นเอง แต่หากว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง ก็แปลกใจว่าทำไม ท่านอุมัร ถึงแรกมันว่า บิดอะฮ์ที่ดี บังอะสันของเราก็ สนทนาชี้แจงแล้ว อย่างมาก ก็บอกว่า คำกล่าวของท่านอุมัร "เป็นบิดอะฮ์ในเชิงภาษา" เมื่อบังอะสันเชื่อเช่นนี้ เราก็ลองมาพิจารณาความหมายของ "บิดอะฮ์ในเชิงภาษา" กันนะครับ ว่ามันมีความหมายว่าอย่างไร ? ดังนั้น เมื่อลองไปกลับไปทบทวนในการสนทนาที่ผ่านมา เราจะพบว่า คำศัพท์เดิมในเชิงภาษาของคำว่า "บิดอะฮ์" นั้น คือ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่โดยไม่มีตัวอย่างหรือแบบอย่างมาก่อน" เมื่อความหมายบิดอะฮ์ในเชิงภาษาเป็นเช่นนี้นั้น จากคำกล่าวของท่านอุมัร ก็จะมีความหมายว่า " การรวมละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต โดยอิมามคนเดียว โดยทำในช่วงแรกของคืนนั้น คือสิ่งที่ดี ที่กระทำขึ้นมาใหม่โดยไม่มีตัวอย่างหรือแบบอย่างมาก่อน" เมื่อเราเข้าใจความหมายในเชิงภาษาแบบนี้นั้น มันจะดีต่อเกียตริของท่านอุมัรหรือครับ? แต่วะฮาบีย์พยายาม ให้ความหมายในเชิงภาษาในแง่ที่ว่า คือ "ภาพการละหมาดตะรอวิหฺที่เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ละทิ้งกันไปนาน" เมื่อมีความหมายอย่างนี้ ก็แสดงว่า การละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต ก็เคยเป็นภาพเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) ซิครับเนี่ย ?? เมื่อเป็นแบบนี้ มันก็ไปขัดกับทัศนะของพี่น้องวะฮาบีย์ของเราอีกนะซิครับ แล้วจะทำไงดี ???
และบังอะสันก็พยายามบอกว่า มันเป็นบิดอะฮ์ ในเชิงภาษา ซึ่ง บัง อัล-ฟารูก ก็เคยบอกผมไปแล้วว่า เราต้องทำการกล่าวถึงทัศนะที่แตกต่าง แต่มีจุดหมายเดียวกัน ทั้ง 2 แนวทาง ก็คือ

(ความจริงแล้ว เราอยากจะชี้แจงแบบใจกว้างตามแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์โดยไม่ยึดติดและซ่อนเร้น คือ บรรดาอุลามาอ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์มัซฮับทั้ง 4 (ที่ไม่ใช่วะฮาบีย์) มีทัศนะ "การแบ่งแยกบิดอะฮ์" โดยเข้าใจหะดิษดังกล่าวออกเป็น

1- แบบอาม (عام) คือหมายถึง บิดอะฮ์ตามหลักคำนิยามของศาสนา( الشرع)นั้น ทั้งหมดหลงผิด แล้วพวกเขาก็มาแบ่งแยกบิดอะฮ์ในเชิงภาษา (اللغوى) ออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (ที่สอดคล้องกับหลักการ) และซัยยิอะฮ์ (ที่ขัดกับหลักการ) โดยใช้หะดิษ (من سن فى الإسلام سنة حسنة...) มา تخصيص ให้บิดอะฮ์อยู่ในความหมายเชิงภาษา ไม่ใช่บิดอะฮ์ศาสนาที่อยู่ในความหมายแบบอาม (عام) (ครอบคลุม) อยู่แล้ว และแม้ว่า บิดอะฮ์ในเชิงภาษา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แต่หากจะถามว่า มันเป็นเรื่อง ศาสนาหรือไม่นั้น ผมขอตอบว่า มันเป็นเรื่องศาสนา ตราบใดที่มันสอดคล้องกับอัลกุรอานหะดิษ อิจญมาอ์ และหลักการของศาสนา (แนวทางนี้ ดูเหมือนว่า จะไปตรงกับ วะฮาบีย์ แต่ความจริงแล้วไม่ครับ เพราะวะฮาบีย์เขาไม่แบ่งบิดอะฮ์เป็น หะสะนะฮ์และซัยยิดอะฮ์ แต่พวกเขาเชื่อว่าบิดอะฮ์ในศาสนานั้น มีบิดอะฮ์เดียว แล้วก็นำหลักการนี้ไปหุกุ่มแนวทางอื่น นั่นคือข้อแตกต่าง ท่านผู้อ่านโปรดเข้าด้วยครับ)

2- แบบ "อามมัคศูศ" (العام المخصوص) คือ หะดิษดังกล่าวนั้น ไม่ใช่หมายถึง ครอบคลุมบิดอะอ์ไปทั้งหมด แต่ส่วนมากนั้นเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง แต่ส่วนน้อย ( الخاص) ก็มีบิดอะฮ์ที่ดีอยู่ด้วย โดยมีหะดิษอื่นมาเข้าทอนความหมายมัน ดังนั้น ในหะดิษนี้จึงแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.บิดอะฮ์ที่หลงผิด ซึ่งมีเป็นส่วนมาก 2. บิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ ที่สอดคล้องกับหลักการ ซึ่งมีน้อย และบรรดาอุลามาอ์ทัศนะนี้ก็นำบิดอะฮ์ 2 ประเภทนี้ ไปวางอยู่มาตรฐานของ ฮุกุ่ม 5 ของหลักการฟิกห์ ก็จึงแบ่งออกเป็น 5 ประเภท และมีอุลามาอ์มากมาย ที่อธิบายหะดิษอย่างนี้ และผมก็จะนำมากล่าวต่อไปอินชาอัลเลาะฮ์ )


บัง อัล-ฟารูก คาดการณ์ไว้แล้วว่า พี่น้องวะฮาบีย์ ต้องไม่ยอมรับในการแบ่งแยกบิดอะฮ์ในเชิงศาสนา เราก็เลยต้องนำทัศนะการแบ่งแยกบิดอะฮ์ในเชิงภาษามากล่าวด้วย คือเราจะของดแจกแจงเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ในเชิงศาสนา เพราะชี้แจงเท่าไหร่ พี่น้องวะฮาบีย์ก็คงไม่ยอมรับฟัง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็ขอเลื่อนมาสนทนาบิดอะฮ์ในเชิงภาษา ซึ่งบังอะสันของเรา จะยอมรับในการแบ่งแยกหรือไม่ครับ ? คือจุดมุ่งหมายสำคัญของเราก็คือ แบ่งบิดอะฮ์ หรือ ว่าไม่แบ่ง แต่อิมาม อัช-ชาฟิอีย์กล่าวไว้ชัดเจนครับว่า แบ่งบิดอะฮ์เป็นหะสะนะฮ์ ซึ่งอิบนุตัยมียะฮ์ ได้ถ่ายทอดคำกล่าวของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ไว้ว่า

وبدعة لم تخالف شيئاً من ذلك، فهذه قد تكون حسنة لقول عمر: نعمت البدعة

และ(สอง)บิดอะฮ์ที่ไม่เคยทราบเลยว่า มันขัดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากดังกล่าวนั้น ดังนี้นั้น มันย่อมบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะคำกล่าวของ ท่านอุมัร ที่ว่า "บิดอะฮ์ที่ดี คือ อันนี้"

มันชัดเจนครับ ว่ามีการแบ่งบิดอะฮ์ เป็น บิดอะฮ์ที่ดี และบิดอะฮ์ที่ไม่ดี

และบัง อัล-ฟารูกก็กล่าวไว้ จากความเข้าใจของ อิบนุตัยมียะฮ์ว่า

"และที่สำคัญใน ณ ที่นี้ คือ ไม่ว่าจะเรียก ซุนนะฮ์ หรือ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ก็ตาม แต่สิ่งที่ถูกเรียกนั้น ก็คือ สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่ โดยไม่ขัดกับตัวบทครับ"

มันชัดเจนครับ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ โดยไม่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ย่อมเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ดี ซึ่งคำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ดีนี้ อิบนุตัยมียะฮแรกมันว่า ซุนนะฮ์ แต่เราจะเรียก "สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ดี"นี้ว่า "บิดอะฮ์ที่ดี" มันผิดตามหลักภาษาหรือครับ ? แล้วเมื่อมันไม่ผิดตามหลักภาษา เราขอกล่าวว่ามันเป็นบิดอะฮ์ที่เกี่ยวกับเรื่องศาสนา ตรงนี้เราพูดผิดไหมครับ เนื่องจากว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ มันอยู่สอดคล้องและอยู่บนหลักการของศาสนา ? หรือว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ไม่ขัด และสอดคล้องกับหลักการศาสนา คือ สิ่งที่ไม่ใช่เป็นเรื่องศาสนา" ??? ทำผู้อ่านตอบในใจซิครับว่า มันเป็นเรื่องศาสนาไหม?

ลืมไปอีกนิดนึง คือ 4 ข้อ ที่บังอะสันเคยกล่าวไปว่า

เรื่องที่ผ่านมา บังไม่ได้ใส่ใจอะไรหรอก อภัยเสมอ ไม่ได้ติดใจอะไร และไม่คิดว่า เรามาต่อสู้กัน แต่คิดอยู่อย่างเดียวว่า การสนทนาทางวิชาการ เราได้ประโยชน์ 4 ทางคือ

1. ได้มิตร
2. ได้บุญ
3. ได้เผยแผ่ศาสนา
4 ได้ความรู้เพิ่มเติม

อย่าลืมอีกข้อหนึ่งคือ

5. ได้มีความใจกว้างต่อทัศนะของอื่นจากตน (นี่คือเป้าหมายสำคัญครับ)

ฮ่าๆ ไปละนะ แล้วค่อยเจอกัน


wassalam

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Feb 20, 2006 11:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้องคนอยากรู้ กล่าวว่า
...ระวังนะครับผู้ใดที่ไม่มีอุลามะชี้นำทางในการให้ความรู้ ผู้นั้นจะมีชัยตอนคอยแนะนำความรู้ให้กับเขาตลอดเวลานะครับบัง...ฮิๆๆๆ..............
...............
ตอบ

บังอะสันตามคำแนะนำของอุลามาอฺต่อไปนี้

قال الإمام الشافعي: أجمع الناس على أن من استبانت له سنة عن رسول الله صلى الله عليه وسلم لم يكن له أن يدعها لقول أحد من الناس

อิหม่ามชาฟิอีกล่าวว่า " บรรดามนุษย์(อุลามาอฺ)มีมติร่วมกันว่า ผู้ใดสุนนะฮจากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ปรากฏชัดเจนแก่เขา ก็ไม่อนุญาตให้เขาทิ้งมัน เพื่อไปปฏิบัติตามคำพูดคนหนึ่งคนใดจากมนุษย์ - ดู إعلام الموقعين 2/263)

قال عمر بن الخطاب رضي الله عنه: ثلاث يهدمن الدين: زلة عالم، وجدال منافق، وأئمة مضلون (أخرجه الدارمي بسند صحيح 1/71).

ท่านอุมัร บุตร อัลคอฏฏอบ (ร.ฎ)กล่าวว่า " สามประการ ที่มันทำให้ศาสนาเสื่อม คือ 1. ความผิดพลาดของผู้รู้ 2.การทะเลาะวิวาทของคนกลับกลอก 3.บรรดาผู้นำที่หลงทาง - บันทึกโดย อัดดาเราะมีย์ ด้วยสายสืบที่เศาเฮียะ 1/71

رويَ عن ابن عباس رضي الله عنهما قوله : ( ويل للأتباع من عثرات العــالم ) . قيل : و كيف ذاك ؟ قال : ( يقول العالم شيئاً برأيه ثم يجد من هو أعلم منه برسول الله صلى الله عليه وسلم فيترك قوله ذلك ، ثم يمضي الاتباع ] .

และรายงานจากอิบนิอับบาสกล่าวว่า ความวิบัติจะประสบแก่การตามความผิดพลาดที่มาจากผู้รู้ มีผู้ถามว่า ดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ท่านกล่าวตอบว่า ผู้รู้นั้น เขากล่าวเกียวกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ด้วยความเห็นของเขา ต่อมาเขาได้พบกับ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับ(หะดิษ)ของท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมยิ่งกว่าเขา แล้วเขาก็ได้ทิ้งคำพูดของเขาดังกล่าว(ที่เคยกล่าวไว้) ต่อมาการตามนั้น ยังคงดำเนินอยู่**-[ الموافقات ، للشاطبي : 3 / 318 و الفتاوى الكبرى ، لابن تيميّة : 6 / 96

.......................

**
หมายถึง ผู้รู้คนนั้นเขาได้ยกเลิกสิ่งที่เขาเคยกล่าวไว้ แต่ก็ ยังมีคนตามคำพูดของเขาที่ผ่านมาอยู่

.......................................
เพราะฉะนั้น การหลับตาตามผู้รู้ น้องคนอยากรู้ต้องระวังนะคร้าบ Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 31, 32, 33  ถัดไป
หน้า 13 จากทั้งหมด 33

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.30 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ