ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 31, 32, 33  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Feb 11, 2006 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณมุสลิมกล่าวว่า
คำว่า กุลลุ เป็นหนึ่งในศิยะฆุลอุมูม(สำนวนกว้างๆ) ซึ่งมีอยู่หลายสำนวนด้วยกัน และไม่มีนักวิชาการท่านใดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเคยกล่าวว่า ศิยะฆุลอุมูมนั้นตัคศีศไม่ได้
…………………….
ตอบ
คุณมุสลิม กล่าวแบบกำปั้นทุบดิน คุณครับ ไม่มีใครเถียงครับ แต่คำสอนในอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮใน...การตัคศีศ(تخصيص ) ถ้อยคำที่มีความหมายโดยทั่วไป(อาม)นั้น มันต้องมีหลักฐาน ไม่ใช่ว่า เอาความเห็นเป็นบรรทัดฐาน ผมไม่เก่ง อุศูลุ้ลฟิกฮ เหมือน คุณ มุสลิม แต่ขอกล่าวนิยามคำว่า “อาม”ตามความรู้น้อยนิดเนื่องจาก ขาดโอกาสทางการศึกษาระดับมหาลัย

คำว่า”อาม”(العام ) คือ คำที่ครอบคลุมทุกสิ่งที่ใช้ได้กับคำพูดนั้น เช่น หะดิษที่ว่า

كل راع مسئول عن رعيته

ทุกผู้ที่ดูแล ต้องรับผิดชอบในผู้ที่อยู่ในความดูแลของเขา – มุตตะฟักอะลัยฮิ

แต่บางครั้ง อาม คือถ้อยคำที่มีความหมายทั่วไป แต่ มี จำกัดเฉพาะ เพราะมีหลักฐานมายืนยัน เช่น

وَالَّذِينَ يُتَوَفَّوْنَ مِنكُمْ وَيَذَرُونَ أَزْوَاجاً يَتَرَبَّصْنَ بِأَنفُسِهِنَّ أَرْبَعَةَ أَشْهُرٍ وَعَشْراً

[2.234] และบรรดาผู้ที่ถึงแก่ชีวิตลงในหมู่พวกเจ้า และทิ้งคู่ครองไว้นั้น พวกนางจะต้องรอคอยตัวของพวกนางเอง สี่เดือนกับสิบวัน

อายะฮนี้ กล่าวถ้อยคำลักษณะทั่วไป(อาม) คือ สตรีที่สามีเสียชีวิตทุกคน ต้องรอคอยอิดดะฮ สี่เดือนสิบวัน ก่อนที่จะสามารถแต่งงานใหม่ได้ แต่ ..ปรากฏว่า มีผู้หญิงที่สามีเสียชีวิตบางส่วน ได้รับการยกเว้น คือ หากพวกนางมีครรภ์ อิดดะฮ ของพวกนางคือ การคลอดบุตร ดังอายะฮต่อไปนี้

وَأُوْلَاتُ الْأَحْمَالِ أَجَلُهُنَّ أَن يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ

ส่วนบรรดาผู้มีครรภ์ กำหนดของพวกนางก็คือ พวกนางจะคลอดทารถที่อยู่ครรภ์ของพวกนาง - อัฏเฏาะลาก/4

……………..
ทีนี้มาดูถ้อยคำในหะดิษที่ว่า

"كل بدعة ضلالة" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/592)

“ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด”
หากจะกล่าวว่า นี้คือ อามที่มีความหมายเฉพาะ(عام مخصوص ) หรือ กินความเฉพาะบางส่วน ก็ต้องมีหลักฐานมา ยืนยัน ว่า บิดอะฮที่กล่าวในหะดิษข้างต้น ไม่ได้หลงผิดทั้งหมดเพราะ......เพราะ....
ผมไม่ได้ใจแคบ หากมีหะดิษจากท่านท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะศัลลัม หรือ เหล่าสาวกของท่านมาอธิบายยืนยัน ว่าไม่ใช่ทุกบิดอะฮที่หลงผิด เพราะพวกเขาย่อมเข้าใจหะดิษบทนี้ ดีกว่าเรา
หากส่วนหนึ่งบิดอะฮ นั้น มีสิ่งที่ดีอยู่ แน่นอน ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คงจะไม่กล่าวว่า

ok"كل محدثـة بدعة وكل بدعة ضلالة
ทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด
.......................

และในตัวบทหะดิษ ที่ราบงานโดยอันนะสาอีย์ที่ว่า

"كل بدعة ضلالة، وكل ضلالة في النار" [رواه النسائي في "سننه" (3/188 ـ 189

ทุกบิดอะฮ เป็นการหลงผิด และทุกการหลงผิดนั้น จะอยู่ในนรก –รายงานโดย อัลนะสาอีย์ ในสุนันของท่าน – 3/188-189
หากอธิบายว่า ทุกการหลงผิด ไม่ได้อยู่ในนรก แต่ มีการหลงผิดที่ดี อันนี้ยิ่งไปกันใหญ เพราะอามเหมือนกัน
หากเปิดโอกาสหรื่อช่องโหว่ เอาไว้ว่า หากคิดบิดอะฮที่ดี ได้บุญ ดังนั้นการบัญญัติ ศาสนาบัญญัติ ส่วนหนึ่งเป็นของอัลลฮ และ ส่วนหนึ่ง เป็นของมนุษย์อย่างนั้นหรือ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Sat Feb 11, 2006 11:37 pm    ชื่อกระทู้: มัสหับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม คุณ อับดุลลา หรือคุณคนนั้นที่ผมว่าน่าจะใช่..................

ที่คุณกล่าวว่า

***ผมไม่รู้ว่าคุณกำลังคิดอะไรอยู่กับประเด็นนี้ ทั้งคุณและผม ก็คนชั้นเอาวามเหมือนกัน กรุณานั่งอ่านอยู่ห่างๆ อย่าออกมาแสดงความโง่เขลาในเวปให้เขาเลยครับ ****

ตอบ ...ขอบคุณครับที่คุณอับดุลลา ที่ตักเตือนคนอาวามเช่นผม สำหรับผมแล้ว ยอมไม่ได้ครับ ที่จะปล่อยให้ใครคนหนึ่งที่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในทัศนะของฝ่ายตรงข้ามแล้วมาละเลงใส่ไค้ลในแนวทางที่ผู้อื่นตักลีดอยู่ ว่าผิดหรือ งมงาย โดยเฉพาะเรื่องบิดอะที่เรากล่าวถึง
ในเมื่อทัศนะอีกฝ่ายหนึ่งเขาถือว่าบิดอะนั้นไม่ได้มีอย่างเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับออกมาฟันธงว่า ยังไง บิดอะที่ท่านนบีกล่าวในฮาดีส นั้นต้องมีอย่างเดียว อย่างอื่นไม่ใช่ และถ้าเป็นคำพูดของคนอื่นที่ไม่ใช่ท่านนบี ยิ่งถือว่า ฉันไม่รับรู้ใดทั้งสิ้น ไม่ว่า ซอฮาบะ หรืออุลามะท่านใด ฉันไม่ฟังและไม่เปิดใจที่จะรับข่าวสารตรงนั้น
ที่ผมออกมา ตอบโต้ตามประสาคนอาวามที่ไม่มีความรู้ โดยบางครั้งไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเป็นใบเบิกทางนั้น ก็เพราะ เราพูดกันในวงแคบ เพื่อจะทำความเข้าใจกัน ถึงแม้ไม่มีปริญญาเหมือนคุณ ผมพอจะมีพื้นฐานบ้าง แม่แค่เล็กน้อยก็ตาม ทุกวันนี้ การที่ปล่อยให้คนที่มีความรู้ด้านเดียวแล้วเสนอข่าวสารในเชิงติติงแนวทางฝ่ายตรงข้ามนั้นมันมีมาก

คนอาวามหรือคนโง่กว่าผมยังมีอีกมาก เมื่อเขาได้รับฟังการยกบทความหรือข่าวาสารที่ผู้ไม่หวังดีในคราบคนรู้มาให้ความรู้กับเขา โดยที่มักง่ายในการพูด ที่ขาดการับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น

ถ้าสมมุติว่าคนอาวามแบบผมหรือนักศึกษาจากอิยิปต์ไม่เข้ามาตักเตือนหรือห้ามปราม โดยที่ปล่อยให้ใครต่อใครที่รุไม่จริงในทัศนะของอีกฝ่ายหนึ่งมาพูดว่า

การ ยกมือขอดุอาห์ป็นบิดอะหรืออ่านดุอาห์กูนูตเป็นบิดอะ ถึงขนาดพิมหนังสือแล้วแจกฟรีถึงหัวกระไดบ้าน เพื่อจะให้คนที่เขาอีบาดัตในทัศนะหนึ่ง ได้หยุดกระทำ และถือว่าการกระทำนั้นคือความบิดอะที่ลุ่มหลงและต้องตกนรก พร้อมยกหลักฐานจากฝ่ายในทัศนะของตนมาอ้างอิงและบางทีก็ให้ความหมายที่ไม่ถูกต้องกับเจ้าของทัศนะหรือบรรดาลูกศิษย์ของมัสหับเหล่านั้นโดยการในสิ่งที่บิดเบือนเบี่ยงเบนความเข้าใจ

เพราะอะไรครับ เรื่องแบบนี่มันถึงมาเกิดในยุคหลัง ทำไมก่อหน้านั้นในยุคซอฮาบะ ยุคตาบีอีน ตาบีอิตตาบีอีนหรือ ในสมัยของอีหม่ามทั้ง4 ไม่มีเรื่องเช่นนี้เกิด ขึ้น
อีหม่ามฮานาฟีซึ่งอายุมากว่าและอยู่ก่อนอืหมามชาฟีอีย่อมรู้ดีกว่าก่อนหน้านั้นการยกมือกูหนูตนั้นได้ปฏิบัติกันมาแล้ว และไม่มีซอฮาบะท่านใดว่าเป็นบิดอะและบางครั้งท่านก็อ่านกูหนูดในเวลาละหมาดดังกล่าวด้วย ทำไมละ เหตุการณ์ที่ออกมาโจมตีว่าผู้ยกมืออ่านกูหนูตประจำนั้นเป็นผู้ทำบิดอะ อีหม่ามฮัมบาลีก็ไม่เคยฮูกมอีหม่ามชาฟีอีและบรรดาลูกศิย์ของท่านว่าทำบิดอะ
นี่เขาถือว่า เป็นการให้เกียติรกัน
แล้วพวกคุณละ เคยให้เกียตริกับผู้รู้ในยุคอดีตบ้างไหม เมื่อคุณปกป้องอุลามะหรือผู้รู้สายคุณได้ผมก็ปกป้องอุลามะในสายที่ผมคิดว่าจำเป็นต้องตามด้วยเพราะผมถือว่า เป็นสิ่งที่ให้ความสะดวกในการปฏิบัติต่อผมและคนอื่นๆ
ไม่ใช่เอาของมัสหับของคนโน้นนิดของคนนั้นหน่อยแล้วเอามาปะเป็นรูปเล่ม โดยเปลี่ยชื่อเรียกเสียใหม เพือให้คนอื่นได้รู้ว่าฉันนะศิษย์มีอาจาร์ยเหมือนกัน

ที่คุณอับดุลลาว่า*** ว่าอีหม่ามวะฮาบ ก็ตามมัซฮับเช่นกัน
คุณพูดความจริงมาให้หมดซิครับ ว่าท่านมูฮำมัดบินอับดุลวาฮาบยึดถือมัสหับ ผมไม่เห็นท่านออกตัวเลยครับ
ไหนคุณอัดุลายกหลักฐานมาซิครับ
อย่าทำเป็นพูดเพื่อแก้ลำ และแก้ตัวขึ้นลอยๆ



และที่คุณว่า****กรณีที่มัซฮับวะฮาบีย์ อะไรตามที่คุณว่ามาน่ะ เขาไม่ยึดมัซฮับ ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า ยึดมติ ยุมฮูดครับ คือเอาทัศนะ ของหลายๆ มัซฮับที่ตรงกันมาใช้ แถวบ้านคุณคงไม่มีใครเคยใช้คำว่า ยุมฮูด คุณเลยไม่รู้จัก

ตอบตรงนี้แหละครับ คุณเลยมั่ว คุณนั้นเที่ยวขโมยความเห็ยหรือการมุตะญิดของมัสหับที่มีเจ้าของ คนโน้นนิดคนนี้หน่อยเอามาปนกัน
นั้นแหละผมเลยเปรียบเทียบคุณว่า นุ่งกางทหาร+ใส่เสื่อตำรวจ +ใส่รองเท้าผู้ว่า สรวมหวมกลูกเสือ ฮาๆๆๆๆ

ที่คุณเปรียบว่า....เหมือนหมากัดหางตัวเองอยู่ตอนนี้.....
ผมไม่โกรธหรอกครับ แต่ผมว่า ที่หมามันกัดหางตัวเอง ก็เพราะว่าหมามันเห็นคนที่แต่งตัว รวมสังกัด ในคนๆเดียวกันนะครับต่างหากละครับ มันเลยมึนทำตัวไม่ถูกเลยวิ่งมางับหางเองให้เป็นตัวอย่างและเชิงสอนว่าว่า ...ท่านที่แต่งตัวรวมสังกัดกรมนั้นมันเหมือนฉันนี่แหละที่งับหางเอง...

ที่คุณว่า...คุณไม่รู้อย่างผม อย่าว่าแต่รอซูล กับ ซอฮาบะห์ เลยครับ นักวิชาการผู้เป็นเจ้าของมัซฮับเหล่านี้ ผมยังไม่เคยล่วงเกินเขาเลย เพราะฉนั้น อย่าแสดงความเขลาออกมา

ผมก็ไม่เคยได้ร่วมเสวนากับคุณอับดุลลาเลยสักครั้ง แต่จู่ๆคุณก็โผล่มาจากหลุมไหนก็ไม่รู้..งงๆๆเหอๆๆๆ

และที่คุณว่า***กรณี 4 มัซฮับ กับ มัซฮับวะฮาบีย์ ตามนิยามของคุณน่ะ เขามีอากีดะห์เหมือนกัน คือ ศรัทธาในอัลลอฮ รอซูล และ ไม่จาบจ้วง บรรดาซอฮาบะห์ และ เชื่อว่ากุรอ่านเล่มที่ถืออยู่ คือกุรอ่านเล่มที่สมบูรณ์
อันี้ผมก็ยังไม่ได้ว่าคุณเลยนะว่าคุณนั้นมีอากีดะ ตามอีหม่ามอิบนุตัยมียะ ที่เทียบเคียงกับพวกมุญัสสิมะและเชื่อว่าอัลลออ์มีที่ประทับหรือทรงสถิตย์อยู่กับที่...เพราะคุณเพิ่งจะเข้ามาไมใช่หรือ

อย่ากินขี้ร้อนตูดซิครับ คักๆๆๆๆๆ

ที่คุณเข้าใจว่า **กรณี มัซฮับชีอะห์ มุตอะห์ อัตกียะห์ คงไม่เกี่ยวอะไรในอิสลาม เพราะพวกนี้สามารถแสดงตัวเป็นมุสลิม ในขณะเดียวกัน ก็ยุแยงตะแคงรั่ว บรรดาผู้ศรัทธา

แต่ผมว่า คนอีหร่านหรืออิรัก หรือที่เรียกว่าพวกชีอะ บางกลุ่มเขาก็มีการศรัทธาที่ถูกต้องนะครับ

คุณไม่น่าเหมารวมเหมือนใครบางคนน่าที่ชอบเหมารวมหมดทั้งประเทศว่าเป็นกาเฟร

อันนี้ผมไม่กล้าพูดครับเพราะไม่เห็นด้วยตาและไม่ได้สัมผัส...


ผมว่าคุณน่าจะเสนออะไรที่เป็นวิชาการดีกว่าครับ ..คุณนะไม่ใช่คนอาวามอย่างเดียวนะครับแต่เป็นคนทีมีความรูนะ...ยอนิดหนึ่ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 4:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม คุณคนอยากรู้ครับ

เรื่องใครเข้าก่อนเข้าหลัง คุณดูได้จากใต้ชื่อของคุณและของผม ที่อยู่ด้านล่างนะครับ จะได้หายสงสัย

คุณไม่อายตัวเองบ้างหรอ ที่เข้ามาเสวนาในกระทู้นี้ โดยไม่มีความรู้

ส่วนเรื่องชีอะห์น่ะ คุณสามารถเข้าไปดูผลงานการตอบทางด้านวิชาการของ คุณอัลอัชอารีย์ กับ คุณฟารุกได้ที่ www.islamichomepage.com นะครับ เวปนี้เป็นเวปชีอะห์

เวปบ้านเกิดของคุณหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 5:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

คุณ คนอยากรู้ครับ ตอนนี้คุณกำลังถูกคุณอับดุลเลาะฮ์ กล่าวหาว่า คุณเป็นชีอะฮ์นะครับ อีกไม่นาน คุณอัล-ฟารูก กับน้อง อัล-อัซฮะรีย์ เขาจะเข้ามา ตั้งกระทู้ เรื่องอิมามมะฮ์ดีชีอะฮ์ โดยทำการวิจารณ์สายรายงานใน อุซูล อัลกาฟีย์ ทั้งหมดที่เกี่ยวกับอิมาม อัลมะฮ์ดีชีอะฮ์ คุณ คนอยากรู้ต้องร่วมวิจารณ์ด้วยนะครับ จะได้ลบคำครหา ของคุณอับดุลเลาะฮ์ที่ว่า คุณเป็นชีอะฮ์ ยังไงคุณต้องพิสูจน์ตนเองนะครับ

คุณอะสันครับ salam ครับ


wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 5:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณมุสลิมครับ ผมทราบดีว่า คุณหวังดีในการอ้างหลักฐาน

แต่เท่าที่ผมดูการอ้างหลักฐานสนับสนุน แนวทางของเรานั้น ผมขอแนะนำว่า คุณยกหลักฐานหะดิษ ที่มา ตักศีส ผิดหะดิษแล้วครับ และคุณก็เอาคำว่า محدث มาเป็นคำ مطلق ไม่ได้นะครับ เพราะมันไม่ตรงกับหลักการในการอ้างหลักฐานนะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 7:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอะสันครับ السلام عليكم ครับ
มุหัมมัด Sun Feb 12, 2006 8:46 am

ตอบ
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

...........................
น้อง konyakroo กล่าวว่า
ในเมื่อทัศนะอีกฝ่ายหนึ่งเขาถือว่าบิดอะนั้นไม่ได้มีอย่างเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับออกมาฟันธงว่า ยังไง บิดอะที่ท่านนบีกล่าวในฮาดีส นั้นต้องมีอย่างเดียว อย่างอื่นไม่ใช่ และถ้าเป็นคำพูดของคนอื่นที่ไม่ใช่ท่านนบี ยิ่งถือว่า ฉันไม่รับรู้ใดทั้งสิ้น ไม่ว่า ซอฮาบะ หรืออุลามะท่านใด ฉันไม่ฟังและไม่เปิดใจที่จะรับข่าวสารตรงนั้น
......................
ตอบ
บังอะสันขอร่วมแจมสักนิดนะครับ คือ อยากจะเรียนน้อง คนอยากรู้ว่า ที่น้องกล่าวว่า
คนอื่นที่ไม่ใช่ท่านนบี ยิ่งถือว่า ฉันไม่รับรู้ใดทั้งสิ้น ไม่ว่า ซอฮาบะ หรืออุลามะท่านใด ฉันไม่ฟังและไม่เปิดใจที่จะรับข่าวสารตรงนั้น"
.............
ไม่จริงครับ คำพูดเหล่าเศาะหาบะฮ และอิหม่ามทั้งสี่ เรารับฟัง ครับ แต่เราไม่เห็นชัดเจนว่า ท่านเหล่านี้ สนับสนุน สิ่งที่อยู่ภายใต้คำว่า"บิดอะฮ" ส่วนที่อิหม่ามชาฟิอีกล่าวว่า

البدعة بدعتان: بدعة محمودة وبدعة مذمومة، فما وافق السنة فهو محمود، وما خالف السنة فهو مذموم

บิดอะฮนั้น แบ่งออกเป็น สองประเภท คือ บิดอะฮที่ได้รับการชมเชย และบิดอะฮที่ได้รับการตำหนิ แล้วสิ่งใดที่สอดคล้องกับอัสสุนนะฮ มันคือ สิ่งที่ได้รับการชมเชย และสิ่งใดที่ขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ มันคือ สิ่งที่ได้รับการตำหนิ"

ท่านอาจกล่าวถึงบิดอะฮในทางภาษา หรือ บิดอะฮที่เกี่ยวกับเรื่อง ทางโลกก็ได้ เพราะถ้าในด้านทางศาสนา อันหมายถึง ที่เกี่ยวกับการประกอบอิบาดะฮ ในเมื่อสอดคล้องกับ อัสสุนนะฮ มันจะเป็น บิดอะฮได้อย่างไร บังเชื่อว่า ท่านไม่ได้หมายถึง เรื่อง อิบาดะฮอย่างแน่นอน
ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า
ما كان من أمر دينكم فإليَّ وما كان من أمردنياكم فأنتم أعلم به.

สิ่งที่เป็นเรืองเกี่ยวกับกิจการศาสนาของพวกท่าน ดังนั้น จงมายังฉัน และสิ่งที่เป็นเรื่อง เกี่ยวกับกิจการทางโลกของพวกท่าน พวกท่านย่อมรู้ดีกว่าฉัน - รายงานโดยอะหมัด

...............
กิจการทางโลกนั้น เปิดกว้าง หากไม่ขัดต่อข้อห้าม ดังที่ หลักอุศูลุลุลฟิกฮที่ว่า

الأصل في الأشياء الإباحة الا ما نص الشرع على
تحريم

หลักเดิมของสิ่งต่างๆนั้น เป็นที่อนุญาต นอกจากสิ่งที่มีตัวบททางศาสนาระบุว่า ต้องห้าม

และ อาศัยหลักฐานดังกล่าว นักวิชาการ ได้แบ่งเป็น บิดอะฮทางโลก และ บิดอะฮในทางศาสนา

บังอะสันให้ความเคารพในอิหม่ามชาฟิอี ไม่น้อยไปกว่าน้องคนอยากรู้ เพียงแต่ ต้องแยกให้ออกว่า นบีมุหัมหมัดอยู่ในฐานะอะไร อิหม่ามชาฟิอี อยู่ในฐานะอะไร หวังว่าน้องคงเข้าใจ และขอให้ใจเย็นๆนะครับน้องรัก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

มันเป็นไปได้อย่างไร ว่า อิบนุมัสอูด ไม่ได้ปฏิเสธบิดอะฮ และยอมรับว่ามีบิดอะฮที่ดี เพราะไม่มีคำพูดใดๆของท่าน ที่ส่งเสริมเรื่องบิดอะฮเลย เพราะหากใครยึดถือเอาหะดิษนี้ ก็แสดงว่า หากเห็นว่าถ้อยคำใหนดี ก็สามารถเพิ่มเติมถ้อยคำในตะชะฮุดให้เกินจากที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สอนไว้ได้
นี้คือ สิ่งที่อันตรายที่เข้ามาทำลายความบริสุทธิ์ของสุนนะฮของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หากหะดิษเศาะเฮียะจริง น่าจะมาจากการอิจญติฮาดของท่านอิบนิมัสอูด ก่อนที่ท่านนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมสอนถ้อยคำที่ใช้ในการอ่านตะชะฮฮุด

ตอบ

บิดอะฮ์ที่ท่านอิบนุมัสอูด หมายถึงนั้น คือบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ เนื่องจากพวกค่อวาริจ ท่านการพูดกันในเรื่องความเลื่ยมล้ำในเรื่องความรู้ของบรรดาซอฮาบะฮ์ และก็ทำการวิจารณ์ตำหนิบรรดาซอฮาบะฮ์ที่พวกเขาไม่ชอบ จนกระทั้งกล่าวหากว่า ซอฮาบะฮ์บางท่านอยู่ในขั้นกุฟุร อย่างที่เราทราบกันดีเกี่ยวกับพวกค่อวาริจ จนกระทั้ง พวกค่อวาริจนั้น เมื่อพวกเขาได้ทำการล้อมวงในการซิกิร พวกเขาก็ไม่ละเลยที่จะนำเรื่องบรรดาซอฮาบะฮ์มาเล่ามาวิจารณ์มากล่าวกันในวงซิกิร ซึ่งในรูปแบบนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ไม่ต้องสงสัยตามทัศนะของท่านอิบนุมัสอูด แล้วบิดอะฮ์ที่ซอฮาบะฮ์กล่าวว่าดีล่ะครับ เช่นคำกล่าวของท่าน อุมัร และท่านอิบนุอุมัร (ที่ผมจะนำมากล่าวต่อไปหลังจากหลักฐานซุนนะฮ์) และคำกล่าวของท่านอุมัรนั้น เป็นอิจมาอ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์ โดยไม่มีผู้ใดทำการคัดค้าน และพวกเขาก็ทำละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัตและในรูปแบบต่างๆที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำไว้ ดังที่ผมได้แจกแจงไปแล้วโดยไม่มีท่านใดให้การวิจารณ์คัดค้านเลยจนถึงตอนนี้ จึงยังคงทำให้ทัศนะของเรายังคงมีน้ำหนักอยู่

แต่เมื่อบังอะสันยืนกรานว่า ท่านอิบนุมัสอูดไม่ได้กล่าวยอมรับเรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (คือบิดอะฮ์ที่ดี) ก็แล้วแต่ ก็เท่ากับว่าบังอะสันเอาคำกล่าวของบรรดาซอฮาบะฮ์มาเป็นหลักฐานในเรื่องบิดอะฮ์ตามทัศนะของตน แล้วทำไมบังอะสันถึงไม่เอาคำกล่าวของท่านอุมัรซึ่งเป็นซอฮาบะฮ์ท่านสำคัญมาพิจารณาด้วย เพื่อที่จะได้รู้ว่า ในยุคสมัยของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น มีการยอมรับและมีการกล่าวถึง บิดอะฮ์ที่ดี และบิดอะฮ์ที่ไม่ดี

สำหรับการเพิ่มตะชะฮุดของท่านอิบนุมัสอูดนั้น เป็นการเพิ่มในตอนที่ท่านนบี(ซ.ล.)เสียชีวิตแล้ว เพราะผู้รายงานจากท่านอิบนุมัสอูดนี้ คือคนระดับ ตาบิอีน ซึ่งหากท่านอิบนุมัสอูด ได้ทำการเพิ่มก่อนท่านนบีจะสอนนั้น ก็แสดงว่า ตาบิอีนที่ทำการรายงานนั้น ก็อยู่ในยุคสมัยของท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยซิครับ ซึ่งรายละเอียดนี้ ผมจะนำเสนอโดยรายละเอียดต่อไป ในหลักฐานจากคำกล่าวของซอฮาบะฮ์

แต่บังอะสันกล่าวคำอันตรายหนึ่ง ที่มีความว่า " หากเห็นว่าถ้อยคำใหนดี ก็สามารถเพิ่มเติมถ้อยคำในตะชะฮุดให้เกินจากที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สอนไว้ได้ นี้คือ สิ่งที่อันตรายที่เข้ามาทำลายความบริสุทธิ์ของสุนนะฮของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" เมื่อผมอ่านคำกล่าวของบังอะสันนี้ ผมไม่เห็นด้วยเลย เนื่องจากว่า หากบังอะสันไปศึกษาการกระทำของบรรดาซอฮาบะฮ์แล้ว บังอะสันก็อาจจะเป็นคนหนึ่งที่กล่าวหาบรรดาซอฮาบะฮ์ว่าทำลายคาวมบริสุทธิ์ของซุนนะฮ์ท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งความจริงแล้ว มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ซึ่งรายละเอียดนั้น ผมจะนำเสนอในเรื่องหลักฐานคำกล่าวของบรรดาซอฮาบะฮ์ ก็โปรดรอหน่อย เพราะตอนนี้ผมจะเน้นในเรื่องซุนนะฮ์ก่อน ผมไม่นึกว่า สิ่งที่ผมเพียงแค่เกริ่นคำกล่าวของซอฮาบะฮ์นั้น จะทำให้บังอะสันทำการชี้แจงแบบรายละเอียด จนกระทั้งทำให้ดูเหมือนว่า เปลี่ยนประเด็นไป ซึ่งผมความจริงแล้ว ผมมันผิดเอง ที่ดันไปเกริ่นออกมา งั้นประเด็นเรื่องซอฮาบะฮ์นั้น บังอะสันก็โปรดรอนะครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

قال ابن كثير في تفسيره [4/157]: ((وأما أهل السنة والجماعة فيقولون في كلِّ فعلٍ وقولٍ لم يثبت عن الصحابة رضي الله عنهم: هو بـدعة؛ لأنه لو كان خيراً لسبقونا إليه؛ لأنَّهم لم يتركوا خصلة من خصال الخير إلا بادروا إليها)

อิบนุกะษีร ได้กล่าวไว้ในตัฟสีรของท่าน ( 4/157) ว่า “สำหรับชาวสุนนะฮและอัล-ญะมาอะฮนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุกการกระทำ และคำพูด ที่ไม่ได้มีรายงานยืนยันมาจากเหล่าเศาะหาบะฮ(ร.ฎ) มันคือ บิดอะฮ เพราะว่า หากปรากฏว่ามันดี แน่นอน พวกเขาย่อม เอามันมา(ปฏิบัติ)ก่อนพวกเราแล้ว เพราะว่า พวกเขาจะไม่ละทิ้งประการหนึ่ง ประการใดจากสิ่งที่ดี นอกจากพวกเขารีบเร่งไปหามัน (คือ รีบเอามันมาปฏิบัติ)

ตอบ

คำกล่าวของท่าน อิบนุ กะษีร นี้ ไม่รัดกุมครับ เนื่องจาก "ความดี" ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ยุคซอฮาบะฮ์ แต่ความดีนั้น เราทำขึ้นได้ในทุกยุคทุกสมัย แต่ต้อง สอดคล้องและไม่ขัดกับซุนนะฮ์ และไม่ต้องไม่ทำลายหลักการของซุนนะฮ์นั้นๆ และมีเงี่อนไขอื่นๆอีกที่ผมจะนำเสนอต่อไป เนื่องจากบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ไม่ใช่ทำกันง่ายๆเลย และปัจจุบันนี้ ก็แทบจะไม่มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์เกิดขึ้นมาเลยมาอีก นอกจากบรรดาคิลาฟิยะอ์ที่ไม่อยู่ในทัศนะของวะฮาบีย์ แล้วพวกเขาก็หุกุ่มแนวทางว่าเป็นบิดอะฮ์ อันนี้เราต้องคุยกัน เพราะบางครั้งบิดอะอ์ที่วะฮาบีย์หุกุ่มกับแนวทางอื่นนั้น มันกลับเป็นซุนนะฮ์และมีที่มาจากรากฐานศาสนา เช่นเรื่องกุนูต การนั่งร่วมวงซิกิร อันนี้ก็มีที่มา ที่เราจะนำยืนยัน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการหุกุ่มบิดอะฮ์ของวะฮาบีย์ การปักเต้นท์เฝ้ากุบูร อันนี้ก็มีที่มา แต่วะฮาบีย์หุกุ่มเราว่า เป็นการกระทำที่บิดอะฮ์ ซึ่งหุกุ่มแบบนี้นั้น เพราะมันไปขัดแย้งทัศนะของวะฮาบีย์ หรือว่าไม่มีที่มากันแน่ แต่หากถูกกล่าวหาว่าไม่มีที่มานั้น แล้วเราก็นำหลักฐานที่มา นำมาเสนอ แล้วจะยอมรับกันหรือเปล่า???

ดังนั้น พี่น้องวะฮาบีย์ทั้งหลายครับ ท่านโปรดจงทราบเถิดว่า สิ่งที่เรากำลังสนทนาเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์นี้ ไม่ใช่เพื่อส่งเสริมในการประดิษฐ์บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ขึ้นมาอีกในปัจจุบันนี้ แต่เราทำการสนทนาเรื่องการแบ่งแยกบิดอะฮ์นี้ ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายรู้ว่า การแบ่งประเภทบิดอะฮ์นั้น มันมีขึ้นจริงก็เท่านั้นเอง และเพื่อจะบอกว่า การแบ่งบิดอะฮ์นั้น เป็นทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก เพื่อต้องการจะลบล้างคำกล่าวของ อ.อาบิดีน พุฒเพ็ง ที่กล่าวอย่างไม่ถูกต้องว่า "การไม่แบ่งบิดอะฮ์นั้น เป็นทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก" ทั้งที่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น ผมจึงเศร้าใจ เมื่อในปัจจุบันมันมีผู้ที่ถูกเรียกว่า อาจารย์ บอกเล่าหลักการศาสนาที่ไม่เป็นความจริง เพื่อจะให้เข้าทางตนเอง ปัจจุบันนี้ เรื่องศาสนามันเป็นอะไรกันไปแล้วหรือครับ ถึงต้องเอาอารมณ์มากำหนดการสั่งสอนหลักการแนวทางของตน กับบรรดาชาวบ้านตาดำๆ

ท่านอิบนุกะษีรกล่าวตามที่บังอะสันนำมาอ้างอิงว่า "พวกเขากล่าวว่า ในทุกการกระทำ และคำพูด ที่ไม่ได้มีรายงานยืนยันมาจากเหล่าเศาะหาบะฮ(ร.ฎ) มันคือ บิดอะฮ " ผมขอตอบว่า คำกล่าวของท่านอิบนุกะษีรนี้ ไม่รัดกุม และเป็นคำกล่าวของขัดแย้งกับบรรดาอุลามาอ์ส่วนมาก เนื่องจากท่านอิบนุกะษีรกล่าวว่า"สิ่งใดที่ไม่ใช่มาจากบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น เป็นบิดอะฮ์" แต่ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า เมื่อการกระทำของบรรดาซอฮาบะฮ์ไม่ใช่เป็นบิดอะฮ์แล้ว ทำไมท่านอุมัรจึงเรียกการรวมละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัตว่า เป็น "บิดอะอ์ที่ดี" หากวะฮาบีย์กล่าวว่า บิดอะฮ์ ณ ที่นี้ คือบิดอะฮ์ในเชิงภาษาที่อยู่ในความหมายที่ว่า "มันเป็นภาพที่เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ที่ท่านนบี(ซ.ล.)เคยทำมาแล้วในอดีต" ผมก็อยากทราบว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็แสดงว่า ท่านนบี ได้ทำละหมาด ตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัตด้วยซิครับ และประเด็นคำพูดของท่านอุมัรนั้น มันเป็นหลักฐานโดดเด่นในเรื่องนี้ ก็เพราะว่า มันเป็นคำกล่าวของท่านอุมัร ที่บรรดาซอฮาบะฮ์ให้การยอมรับในการปฏิบัติตาม โดยมติเอกฉันท์ แม้กระทั้งท่าน อลี (ร.ฏ)

และคำกล่าวของท่านอุมัรนั้น ผมได้ชี้แจงในแง่ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำไปแล้ว และยังไม่มีวะฮาบีย์ท่านใด มาวิจารณ์หักล้าง ดังนั้น หลักฐานของเรา ก็ยังคงมีน้ำหนักอยู่ครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

ดังนั้นคำพูดของเช็คมุนัจญิดข้างล่างนี้ ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง
“ผู้ที่ทำบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือผู้ที่กล่าวหาว่า นบี(ซ.ล.)โง่และไม่รู้เรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์และกล่าวหาว่าท่านบีได้รู้และทำการปกปิดหลอกลวงประชาชาติของท่านโดยไม่ได้ทำการเผยแพร่.”

ตอบ

ซุบหานัลลอฮ์ !!! บังอะสันเชื่อและยึดคำกล่าวของ มุนัจญิด โดยไม่เหลียวแลและสนใจคำกล่าวของ ท่านอุมัร(ร.ฏ.) เช่นการรวมทำตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต ซึ่งท่านนบีเคยทำรูปแบบอย่างนี้ไว้หรือไม่? ถ้านบีไม่เคยทำละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต ตามทัศนะของวะฮาบีย์นั้น ท่าน อุมัร อัล-ฟารูก (ร.ฏ.) นี้กลายเป็นผู้กล่าวหาว่า ท่านนบี(ซ.ล.)โง่ และไม่รุ้เรื่องบิดอะอ์หะสะนะฮ์ และท่านอุมัรกล่าวหาว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการปกปิดหลอกลวงประชาชาติของท่านโดยไม่ได้ทำการเผยแพร่หรือเปล่าครับ? " วัลอิยาซุบิลลาห์ !!

อ้างอิงจากบังอะสัน

อาบังอยากเห็นหน้าตา ของสิ่งที่น้องบอกว่า เป็น บิดอะฮหะสะนะฮ เพื่อบังจะได้ดูว่าของท่านอิหม่ามชาฟิอี หรือของคนอื่นแล้วเอาโลโก้ชาฟิอีมาปิด บอกมาเลยว่า ข้อ 1 2 3..... เพราะหากไม่เห็นตัวอย่าง มันก็เหมือนวาดรูปในอากาศ

อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

‏ولم يقل أحد من السلف والصحابة والتابعين أن المجتهد الذي استفرغ وسعه في طلب الحق يأثم لا في الأصول ولا في الفروع‏"‏‏.‏ ‏(‏الفتاوى 13/125‏)
และไม่มีบุคคลใดจาก ชาวสลัฟ บรรดาเศาะหาบะฮ และ บรรดาตาบิอีน กล่าวว่า มุจญตะฮิด ที่ทุ่มเทความพยายาม ของเขาในการแสวงหาความถูกต้องนั้น มีความผิด ไม่ว่าในเรื่องอุศูลุลดีน (อะกีดะฮ)หรือ ฟุรูอุดดีน(ฟิกฮ) - อัลฟะตาวา 13/125


ตอบ

ยังไงบังอะสัน ก็ต้องใจเย็นๆ ในการสนทนาเรื่องข้อปลีกย่อยนะครับ ซึ่งบางครั้งหน้าตา หรือเป็นข้อปลีกย่อย ที่วะฮาบีย์หุกุ่มว่า เป็นบิดอะฮ์ นั้น ไม่ใช่เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ก็ได้ แต่มันเป็นซุนนะฮ์จริงๆ ที่มีที่มาจากท่านนบี(ซ.ล.)ก็ได้ อิมามอัชชาฟิอีย์ ได้กล่าวหลักการหลักๆที่วินิจฉัยจากหลักฐานเอาไว้ว่า "บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือ บิดอะอ์ที่ถูกสรรญเสริญ(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ..." แต่ประเด็นที่บังอะสันจะเอามาอ้างแก่เราว่า สิ่งที่ท่านอิมาม ชาฟิอีย์ เคยทำนั้น คือไม่อยู่ในคำกล่าวของอิมามอัชชาฟิอีย์นั้น คงไม่ได้หรอก เนื่องจากอิมามอัชชาฟิอีย์ ได้วินิจฉัย (กออิดะฮ์) หลักการหลักๆเอาไว้ ส่วนข้อปลีกย่อยที่เกิดขึ้นหลังจากอิมามชาฟิอีย์เสียชีวิตไปแล้วกัน ก็ไม่ใช่ว่าสามารถเอาไปแอบอ้างว่ามันไม่ใช่หลักการของอิมามอัชชาฟิอีย์ก็คงจะเป็นการแช่แข็งหลักการของอิมามอัชชาฟิอีย์จนเกินไป ซึ่งแบบนี้ไม่มีใครเขาทำกันหรอกครับ

และบังอะสันโปรดเข้าใจว่า บังอะสันกำลังคุยอยู่กับ ผู้ที่มีมัซฮับหรือแนวทางของอิมามอัชชาฟิอีย์ โดยที่พวกเราไม่ได้ตะอัสศุฟมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์เพียงแนวเดียวเท่านั้น เนื่องจากมัซฮับอื่นเขาก็ขอกล่าวว่าถูกต้องเช่นกัน แต่ที่เราเข้ามาสนทนานั้น ไม่ใช่เรามีอุดมการณ์ที่ว่า แนวทางของเราเท่านั้นที่ถูกต้อง แต่เราเข้ามาสนทนาโดยอยู่บนพื้นฐานในการชี้แจง แก้ต่างข้อกล่าวหาผู้แนวทางอื่นที่มาว่า แนวทางของเรานั้นบิดอะฮ์ ของเขาเท่านั้นที่ถูก ดังนั้นวะฮาบีย์จะบอกว่า แนวทางของตนถูกต้อง อันนี้เราไม่ว่า แต่หากวะฮาบีย์กล่าวว่า แนวทางของเรานั้นผิด อันนี้เราต้องคุยกันครับ และก็กำลังคุยกันอยู่ด้วยนะครับ

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการแบ่งประเภทบิดอะฮ์ ซึ่งประเด็นที่เรากำลังคุยอยู่นี้ เราไม่ได้ไปบอกว่า ผู้ที่ไม่ทำการแบ่งบิดอะฮ์นั้น ผิด หรืออยู่ในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง อันนี้เราไม่เคยพูด เพราะว่ามันเป็นพฤติกรรมของคนที่ตะอัสศุฟ!! แต่ที่เรากำลังสนทนาอยู่นี้ เพื่อมายืนยันความถูกต้องในทัศนะของเราที่ถูกกล่าวหาจากกลุ่มที่อัสศุบแนวทางของตนว่า ทัศนะของตนเท่านั้นเองครับ แล้วจุดยืนแบบนี้นั้น มันเป็นของฝ่ายใคร ?? บังคนอยากรู้ ช่วยตอบผมทีครับ

อ้างอิงจากบังอะสัน

ดังนั้น อาบังจะคุยเรื่องบิดอะฮ ที่คนบ้านเราว่า ดีมากกว่า ว่า อะไรสอดคล้องกับหลักฐาน หรือไม่สอดคล้องกับหลักฐาน ดังที่อิหม่ามชาฟิอีกล่าวว่า

"البدعة بدعتان: بدعة محمودة، وبدعة مذمومة، فما وافق السنة فهو محمود، وما خالف السنّة فهو مذموم
انظر: فتح الباري (13/253).
..................
แค่นี้แหละครับ จะได้ไม่ยืดเยื้อ

ตอบ

บังอะสันยกคำกล่าวของอิมามอัชชาฟิอีย์มานี้ แสดงว่า บังอะสันยอมในการแบ่งแยกบิดอะฮ์ หรือยังครับ ? คือเราต้องผ่านจุดนี้ไปก่อนนะครับ แต่ถ้าหากบังอะสันไม่อยากจะตอบคำถามผมนี้ โดยที่บังอะสันอยากจะคุยเรื่องสิ่งที่วะฮาบีย์หุกุ่มว่าเป็นบิดอะฮ์กับเรานั้น บังอะสันก็โปรดรอไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะสนทนากันไปถึงจุดนั้นนะครับ เนื่องจากบางประเด็นที่เราจะคุยและตอบนั้น เราต้องวกมาทำความเข้าใจเรื่องบิดอะฮ์กันอีก ซึ่งหากว่าเราไม่ทำการสนทนาเรื่องบิดอะฮ์หรือการแบ่งบิดอะฮ์ให้มันเข้าใจแล้ว มันก็ต้องวกกลับมาพูดเรื่องบิดอะฮ์อยู่ดี ดังนั้น เราต้องคุยเรื่องหลักการของบิดอะฮ์หรือการแบ่งบิดอะฮ์ก่อนนะครับ เพื่อมันจะได้เป็นขั้นเป็นตอนไปครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 9:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากคุณอับดุลลา

กรณีที่มัซฮับวะฮาบีย์ อะไรตามที่คุณว่ามาน่ะ เขาไม่ยึดมัซฮับ ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า ยึดมติ ยุมฮูดครับ คือเอาทัศนะ ของหลายๆ มัซฮับที่ตรงกันมาใช้ แถวบ้านคุณคงไม่มีใครเคยใช้คำว่า ยุมฮูด คุณเลยไม่รู้จัก

ตอบ

คำพูดนี้ ผมไม่ทราบว่า เป็นแนวทางของวะฮาบีย์จริงๆหรือเปล่า? หรือว่ามันเป็นแนวทางของคุณ ที่อ้างว่า ยึดญุมฮูร (ทัศนะส่วนมากของอุลามาอ์) การแบ่งบิดอะฮ์ นั้น ก็เป็นทัศนะของ ญุมฮูร การอนุญาติให้ตะวัสซูลได้นั้น ก็เป็นทัศนะของญูมฮูร อากิดะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ก็เป็นทัศนะของญุมฮูร การพูดหย่าสามในทีเดียวกันนั้น ถือว่าตกสาม ก็เป็นทัศนะของมัซฮับทั้ง 4 การอนุญาติมุ่งเดินทางไปเยี่ยมกุบูรของท่านนบี(ซ.ล.) ก็เป็นทัศนะของมัซฮับทั้ง 4 การละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัต ก็เป็นแนวทางของญุมฮูรของ 4 มัซฮับ แล้วคุณอับดุลลา จะยึดตามอุดุมการณ์ที่คุณกล่าวมาข้างต้นหรือเปล่า???

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 9:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถึงคุณ มุสลิม ครับ

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ผมไม่ผิดหวังเลยครับ ที่คุณสนทนาโดยอยู่ในเชิงวิชาการที่เต็มรูปแบบอย่างนี้ครับ และการสนทนาในเชิงอุศุลุลฟิกห์นั้น โดยรวมแล้วมีผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แต่หลักการนำมาใช้ในบางส่วนนั้น ผมขอสนทนาเสริมและขอปรับความเข้าใจกับคุณสักเล็กน้อย และผมก็ไม่คิดว่า สิ่งที่ผมนำสนทนานั้นจะถูกไปทั้งหมด ยังไงก็ช่วยชี้แนะผมด้วยนะครับ

อ้างอิงจากคุณมุสลิม

ส่วนคุณอัลอัซฮารีย์ผมอยากเสนอนิดว่าคุณทำการเรียบเรียงเป็นประเด็นๆดีแล้วครับ แต่ว่าอย่าพยายามหลุดอะไรที่ไม่ใช่ประเด็นออกมาครับ นี่มีเรื่องตะชะฮุดอีกแล้ว หลังจากที่เคยมีเรื่องอิสเตียห์ซาน ละหมาดตะรอเวียห์ แล้วก็จะขาดตอนครับ

ตอบ

ความจริง ผมเองก็ไม่เจตนาที่จะกล่าวประเด็นข้อปลีกย่อยนะครับ แต่บังอะสันอ้างอิงคำกล่าวของ ท่านอิบนุมัสอูดมา ผมก็เพียงกริ่นคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูดบางอย่างที่มาชี้จุดมุ่งหมายคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูดเท่านั้นเอง หากผมจะหลุดมาจริงๆและต้องการสนทนานั้น ผมก็จะอ้างหลักฐานอย่างเต็มรูปแบบโดยมีการอ้างอิงนะครับ แต่ผมไม่นึกว่า บังอะสันเขาจะสนทนาจับประเด็นแบบกว้างๆอย่างนี้ เลยดูเหมือนทำให้ขาดตอนไป

ส่วนประเด็น เรื่องตะรอวิหฺนั้น ผมไม่ได้นำมากล่าวถึงหุกุ่มว่า 20 ร่อกะอัต หรือ 8 ร่อกะอัตที่สมควรทำ แต่ผมพูดมาขึ้นมาในแง่ของการยืนยันคำพูดของ ท่าน อุมัร (ร.ฏ.) ที่ว่า"บิดอะฮ์ที่ดี คือ สิ่งนี้" ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับประเด็น"คำนิยาม"อย่างไม่ต้องสงสัยครับ

ผมยินดีอย่างยิ่งที่ได้สนทนาร่วมกับคุณ ที่มีปราถนาอย่างยิ่ง ในการสนทนาอย่างมีระเบียบ ให้เป็นประเด็นๆไป และอยากประกาศ ให้ผู้สนทนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นบังอะสัน บังคนอยากรู้ บังมุหัมมัด และท่านอื่นๆ ได้ทำการสนทนาให้เป็นประเด็นๆเรียงลำดับกันไป หากผู้ใดมีความเห็นอย่างไรในประเด็นนั้นๆ ก็โปรดเข้าร่วมสนทนาได้ครับ ส่วนบัง อัล-ฟารูก นั้น เขาจะเข้ามาจัดระเบียบหรือทักท้วงการสนทนาเป็นระยะๆ เพื่อให้การสนทนาเป็นระเบียบและอยู่ในเชิงวิชาการนะครับ

ผมนั้น เป็นคนที่ถูกถาม มาจากคุณไออาเอฟ และผมก็ตอบรับในข้อเสนอของเขา โดยสนทนาอย่างเป็นระเบียบเป็นประเด็นๆไป ซึ่งผู้ที่จะเปิดประเด็นต่อๆไปนั้น คือตัวผมเอง เนื่องจากผมถูกถาม และต้องตอบคำถามและชี้แจงจากฝ่ายตรงข้าม และผมก็จะสนทนาโดย ผมได้วางโครงของการสนทนาในเรื่องบิดอะฮ์ ที่อยู่ในเชิงวิชาฟิกห์นะครับ หลังจากนั้นเราก็ทำการสนทนาข้อปลีกย่อยกันครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากคุณมุสลิม

ผมนำเสนอเรื่องนี้ด้วยหลักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับของโลกอิสลามตลอดมาคืออุศูลุลฟิกฮ์ ไม่ว่าจะเรื่อง อาม,คอศ,มุฏลัก,มุกอยยัด หรือมัฟฮูมุล มุคอละฟะฮ์ และในช่วงที่คุณอัลอัซฮารีย์พูดถึงเรื่องนี้ก็ใช้พื้นฐานของอุศูลุลฟิกฮ์เช่นกัน เพราะฉะนั้นหากจะได้รับการวิจารณ์ก็ขอให้ใช้อุศูลมาหักล้างว่าถูกหรือไม่ถูกอย่างไร เพราะความรู้ของผมก็น้อยนิด
อีกประการหากหักล้างกันด้วยอุศูลไม่ได้ผมขอให้ยุติการอ้างหะดีษ كل بدعة ضلالة ซึ่งเป็นอามมัคศูศอย่างที่ได้เสนอไปและอย่างที่อุลามาอ์เห็นกันแล้ว มาแปลและให้ความเข้าใจตามนัยยะของอาม(เฉยๆ)นะครับ เพราะจะแสดงให้เห็นถึงจิตไจที่ไม่ยอมเปิดกว้างนะครับ

ตอบ

คุณมุสลิมครับ ไอ้กระผมนั้น ก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายหรอกครับ หากจะมี ก็เพียงความรู้ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้ผมเท่านั้นเองครับ หากอัลเลาะฮ์ไม่ทรงมีพระนามว่า (العليم) (ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง) นั้น ผมก็จะไม่รู้ความรู้อะไรเลยแม้ธุลีเดียว

ความจริงแล้ว เราอยากจะชี้แจงแบบใจกว้างตามแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์โดยไม่ยึดติดและซ่อนเร้น คือ บรรดาอุลามาอ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์มัซฮับทั้ง 4 (ที่ไม่ใช่วะฮาบีย์) มีทัศนะ "การแบ่งแยกบิดอะฮ์" โดยเข้าใจหะดิษดังกล่าวออกเป็น

1- แบบอาม (عام) คือหมายถึง บิดอะฮ์ตามหลักคำนิยามของศาสนา( الشرع)นั้น ทั้งหมดหลงผิด แล้วพวกเขาก็มาแบ่งแยกบิดอะฮ์ในเชิงภาษา (اللغوى) ออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (ที่สอดคล้องกับหลักการ) และซัยยิอะฮ์ (ที่ขัดกับหลักการ) โดยใช้หะดิษ (من سن فى الإسلام سنة حسنة...) มา تخصيص ให้บิดอะฮ์อยู่ในความหมายเชิงภาษา ไม่ใช่บิดอะฮ์ศาสนาที่อยู่ในความหมายแบบอาม (عام) (ครอบคลุม) อยู่แล้ว และแม้ว่า บิดอะฮ์ในเชิงภาษา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แต่หากจะถามว่า มันเป็นเรื่อง ศาสนาหรือไม่นั้น ผมขอตอบว่า มันเป็นเรื่องศาสนา ตราบใดที่มันสอดคล้องกับอัลกุรอานหะดิษ อิจญมาอ์ และหลักการของศาสนา (แนวทางนี้ ดูเหมือนว่า จะไปตรงกับ วะฮาบีย์ แต่ความจริงแล้วไม่ครับ เพราะวะฮาบีย์เขาไม่แบ่งบิดอะฮ์เป็น หะสะนะฮ์และซัยยิดอะฮ์ แต่พวกเขาเชื่อว่าบิดอะฮ์ในศาสนานั้น มีบิดอะฮ์เดียว แล้วก็นำหลักการนี้ไปหุกุ่มแนวทางอื่น นั่นคือข้อแตกต่าง ท่านผู้อ่านโปรดเข้าด้วยครับ)

2- แบบ "อามมัคศูศ" (العام المخصوص) คือ หะดิษดังกล่าวนั้น ไม่ใช่หมายถึง ครอบคลุมบิดอะอ์ไปทั้งหมด แต่ส่วนมากนั้นเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง แต่ส่วนน้อย ( الخاص) ก็มีบิดอะฮ์ที่ดีอยู่ด้วย โดยมีหะดิษอื่นมาเข้าทอนความหมายมัน ดังนั้น ในหะดิษนี้จึงแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.บิดอะฮ์ที่หลงผิด ซึ่งมีเป็นส่วนมาก 2. บิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ ที่สอดคล้องกับหลักการ ซึ่งมีน้อย และบรรดาอุลามาอ์ทัศนะนี้ก็นำบิดอะฮ์ 2 ประเภทนี้ ไปวางอยู่มาตรฐานของ ฮุกุ่ม 5 ของหลักการฟิกห์ ก็จึงแบ่งออกเป็น 5 ประเภท และมีอุลามาอ์มากมาย ที่อธิบายหะดิษอย่างนี้ และผมก็จะนำมากล่าวต่อไปอินชาอัลเลาะฮ์

และทั้งสองทัศนะนี้ ไม่ใช่เป็นทัศนะของ วะฮาบีย์ แต่มันเป็นทัศนะของเรา ดังนั้น จะให้เราเลือกทัศนะแนวทางการวินิจฉัยแบบที่ 1 ก็ย่อมได้ หรือ จะให้เราเลือกทัศนะแนวทางการวินิจฉัย แบบที่ 2 ก็ไม่มีปัญหา เนื่องจาก ทั้งสองแนวทางนี้ แตกต่างในเรื่อง طريق الوصول إلى المفهوم المتفق عليه (คือแนวทางของการเข้าไปสู่ความเข้าใจที่ตรงกัน) ก็คือ บิดอะฮ์นั้น มีทั้ง บิดอะฮ์ที่ดี และบิดอะฮ์ที่หลงผิด

แต่สำหรับ ตัวผมเองนั้น เมื่อได้ทำการศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว มันก็ลำบากใจอย่างมากเลยครับ ที่จะให้น้ำหนักทั้ง 2 ทัศนะนี้ แต่ผมก็ขอเลือก ทัศนะที่ 2 ครับ เพราะเป็นทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมากครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจาก คุณมุสลิม

ผมเห็นคุณอัลอัซฮารีย์อธิบายเกี่ยวกับหะดีษนี้บ้างในหน้า 10 เลยขออนุญาตเสริมเล็กน้อย เพื่อให้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับคำว่า "ทุกๆ" ในหะดีษ

1.คำว่า กุลลุ เป็นหนึ่งในศิยะฆุลอุมูม(สำนวนกว้างๆ) ซึ่งมีอยู่หลายสำนวนด้วยกัน และไม่มีนักวิชาการท่านใดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเคยกล่าวว่า ศิยะฆุลอุมูมนั้นตัคศีศไม่ได้
2..............
3..............

ตอบ

สิ่งที่คุณนำเสนอหลักการแบบสรุปมา 3 ข้อเกี่ยวกับ บรรดาคำอุมูม นั้น มีความถูกต้องโดยรวมครับ จึงไม่จำเป็นต้องนำมาวิจารณ์ แต่นอกเหนือจากนั้น ผมจะขอร่วมวิจารณ์ครับ ผิดพลาดอย่างไร คุณมุสลิมโปรดชี้แนะด้วยครบั


อ้างอิงจาก คุณมุสลิม

ฉะนั้นเมื่อมี مخصص มาแยกแยะแล้วไม่ให้มีการเข้าใจตามเดิม(ที่เคยครอบคลุม)
มุคอศศิศในที่นี้คือ หะดีษท่านบิลาลกล่าวว่า

ما أعلم يا رسول الله قال اعلم يا بلال قال ما أعلم يا رسول الله قال أنه من أحيا سنة من سنتي قد أميتت بعدي فإن له من الأجر مثل من عمل بها من غير أن ينقص من أجورهم شيئا ومن ابتدع بدعة ضلالة لا ترضي الله ورسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزار الناس شيئا

ตอบ

ผมขอตอบว่าคุณมุสลิมแบบสรุปก่อนเลยว่า หากคำว่า بدعة มีความหมายหนึ่งว่า "ฟื้นฟู" ล่ะก็ ก็สามารถนำมา تخصيص ได้แต่ไม่มีอุลามาอ์ใดให้ความหมายอย่างนั้น แต่หะดิษนี้ ไม่ใช่หะดิษที่จะนำมา ทอนความหมาย (ตัคซีซ) เนื่องจากความหมายของหะดิษ ที่ว่า

من أحيا سنة من سنتي......

"ผู้ใดที่ ทำการฟื้นฟูซุนนะฮ์ หนึ่งจากซุนนะฮ์ของฉัน..."

ซึ่งคำว่า "ฟื้นฟู" นั้น จะมาทอนความหมายและเกี่ยวข้องกับหะดิษที่ว่า "كل بدعة ضلالة " (ทุกๆสิ่งที่อุตริขึ้นมาไหม่นั้น ลุ่มหลง) นั้นไม่ได้ เนื่องจากการฟื้นฟู ไม่ได้เป็น فرد ส่วนย่อยที่อยู่ภายใต้ความหมายของคำว่า كل بدعة (ทุกๆอุตริขึ้นมาใหม่) คือครอบคลุมถึงทุกๆส่วนที่อยู่ในความหมายบิดอะฮ์ ซึ่งภาษาอาหรับเรียกว่า

دلالة العام على أفراده

"คือการบ่งชี้ของ (العام ) คำที่ใช้ความหมายครอบคลุมถึงทุกส่วนย่อยต่างๆของมัน"

ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า

دلالة العام على جميع أفراده ظنية

"คือการบ่งชี้จอง (العام ) คำที่ใช้ความหมายครอบคลุมบททั้งหมดทุกส่วนย่อยต่างๆของมัน ยังคงอนุมาณอยู่"

ดังนั้นหะดิษนี้ ก็อยู่ในหลักการที่ว่า "ทุกๆ ส่วนย่อยทั้งหมดอยู่ในความหมาย อิตริขึ้นมาใหม่นั้น หลงผิด" ดังนั้น คำกล่าว ส่วนย่อยทั้งหมดตรงนี้ คือ أفراده (ส่วนย่อยต่างๆที่อยู่ในความหมาย ของทุกๆสิ่งที่อุตริกรรม ขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน) ฉะนั้น ส่วนย่อยต่างๆที่ครอบคลุมเหล่านี้ จึงรับการ ตัดทอนความหมาย(ตักซีซ) ด้วย فرد ส่วนย่อย(จากหลักฐาน)อื่นๆอีกที่มีความหมายเดียวกันคือ"สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน"

(เมื่อเป็นไปตามหลักการนี้ เราลองมาเข้าเรื่องกันครับ) ดังนั้น หะดิษที่มีความหมายว่า أحيا "ฟื้นฟู" ที่คุณมุสลิมยกมานั้น ย่อมมา ทอนความหมาย (ตักซีซ) หะดิษ"كل بدعة ضلالة " (ทุกๆสิ่งที่อุตริขึ้นมาไหม่นั้น ลุ่มหลง) ไม่ได้ เพราะคำว่า"ฟื้นฟู" นั้น คือการกระทำหรือรื้อฟื้นสิ่งที่มีแบบอย่างมาก่อนอยู่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เป็นการ "เริ่มทำขึ้นมาใหม่โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน" ดังนั้น หะดิษ "ผู้ใดที่ ทำการฟื้นฟูซุนนะฮ์ หนึ่งจากซุนนะฮ์ของฉัน..." นั้น จึงเป็นหะดิษที่เป็นเอกเทศของมันอยู่แล้ว และไม่สามารถมา ทอนความหมายได้เลยครับ และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ที่นำมาใช้ทอนความหมายเลยครับ

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราต้องหาดิษที่ อยู่ในความหมายของส่วนย่อยทั้งหมด คือ"ความหมายที่ว่า เป็นการกระทำขึ้นมาใหม่ โดยที่มีคำว่า (ดี) มาทอนความหมายให้จำกัดลงไป" นั่นแหละ เขาจึงเรียกว่า ทอนความหมาย และหะดิษดังกล่าวที่บรรดาอุลามาอ์เข้าใจและนำมาทอนความหมายนั้นก็คือ

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ริเริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน ผลตอบแทนของมัน ก็มีให้แก่เขา และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ริเริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน จากหลักเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)

ดังนั้น คำว่า " من سن في الإسلام سنة حسنة "

"ผู้ใด ที่ได้ริเริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..." คือตัวบทที่มาทอนความหมายของหะดิษที่ว่า"كل بدعة ضلالة " (ทุกๆสิ่งที่อุตริขึ้นมาไหม่นั้น ลุ่มหลง) ดังนั้น สิ่งที่ทอนความหมายออกไปจากหะดิษ"كل بدعة ضلالة " คือความหมายถึงอีกหะดิษบทหนึ่งที่ว่า" ทุกๆสิ่งที่ริเริ่มทำขึ้นมากับหนทางที่ดีนั้น ย่อมไม่ลุ่มหลง คือมีคำว่า "แนวทางดี" เข้ามา คำว่า"แนวทางดี" นี้ คือแนวทางที่ไม่สอดคล้องและไม่ขัดแย้งกับ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และอิจญมาอ์

ดังนั้นคำว่า سَنَّ (ริเริ่มทำขึ้นมา)จึงเป็น فرد ส่วนย่อยที่มีความหมายเดียวกับคำว่า "บิดอะฮ์" (สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่) โดยมีคำว่า "سنة حسنة " (กับแนวทางที่ดี)นี้มาเป็นตัวทอนความหมาย ว่า สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่ที่ดีนั้น ไม่ใช่ลุ่มหลง

ฉนั้น คำว่า سَنَّ (ริเริ่มทำขึ้นมา) ได้มีความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ตีความหมายว่า "เป็นฟื้นฟู" นอกจากกลุ่มวะฮาบีย์ปัจจุบัน ที่พยายามตีความหมายเป็นอย่างดังกล่าวให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้ให้ความหมายคำว่า سَنَّ นั้น คือการริ่เริ่มทำขึ้นมาไหม่ الإبتداء และการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ الإختراع อิมามอันนะวาวีย์กล่าวอธิบายว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

فيه : الحث على الابتداء بالخيرات وسن السنن الحسنات ، والتحذير من إختراع الأباطيل والمستقبحات...

ในหะดิษนี้ ได้ส่งเสริมให้ทำการริเริ่มขึ้นมาด้วยการกระทำบรรดาความดีงาม และกระทำขึ้นมา กับบรรดาแนวทางทางที่ดี และเตือนให้ระวัง จากการประดิษฐ์บรรดาสิ่งที่เป็นโมฆะและสิ่งที่น่ารังเกียจ และสาเหตุที่นบี(ซ.ล.)กล่าวในหะดิษนี้ คือในช่วงแรกผู้รายงานกล่าวว่า " ได้มีชายคนหนึ่ง(ที่ยากจนแล้วบรรดาซอฮาบะฮ์ก็บริจาคทำการช่วยเหลือ) ได้นำถุงกระสอบหนึ่งที่มือของเขายกเกือบไม่ไหว แล้วบรรดาผู้คนก็ติดตาม(บริจาคให้อีก)" ดังนั้น ความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ที่ริเริ่ม ด้วยการทำความดีนี้ และสำหรับผู้ที่เปิดประตูของการกระทำความดีงามนี้ และในหะดิษนี้ ได้มาتخصيص ทอนความหมายคำหะดิษท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่กล่าวว่า

كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

"ทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น บิดอะฮ์ และทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

โดยที่จุดมุ่งหมายของหะดิษนี้ ก็คือ บรรดาสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่ที่เป็นโมฆะและบรรดาบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น (สำหรับบิดะฮ์ที่ดีนั้นไม่ถูกตำหนิ)..." (ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 4 หน้า 113 ตีพิมพ์ ดารุลหะดิษ ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1415- ค.ศ. 1994)

ดังนั้น คำว่า سَنَّ นั้น จึงอยู่ในความหมายที่ว่า "ริเริ่มกระทำขึ้นมา หรือ ประดิษการกระทำขึ้นมา" หากอยู่บนแนวทางที่ดี ก็ย่อมไม่ลุ่มหลง และหากอยุ่บนแนวทางที่เลว ก็ย่อมลุ่มหลง
หากเราไปดูในหนังสือ ปทานุกรมอาหรับ เราจะไม่พบว่า คำว่า سَنَّ นั้น อยู่ในความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับมีความหมายว่า เริ่มการกระทำ เช่นใน มั๊วะญัม อัลวะซีฏ ให้ความหมายว่า

من سن سنة حسنة : وكل من ابتداء أمرا عمل بها قوم من بعده فهو الذى سنه

"ผู้ใดที่ได้ سن กับแนวทางที่ดี : คือ และทุกๆผู้ที่ได้ ริเริ่มขึ้นมา กับกิจการงานหนึ่ง ที่กลุ่มชนนั้น ได้ปฏิบัติด้วยมัน(คือด้วยกับแนวทางที่ดี) หลักจากเขาเสียชีวิตแล้ว เขาก็คือผู้ที่ริเริ่มทำการงานนั้นขึ้นมา" (ดู มั๊วะญัม อัลวะซีฏ หมวด سن )

หากเราไปดู มั๊วะญัม อัลวะญีซฺ ให้ความหมายว่า

و(سن) :...السنة : وضعها

ซะนะนฺ อัซซุนนะฮ์ คือการ (กุ)วาง แนวทางขึ้นมา (ดู มั๊วะญัม อัลวะญีซฺ หมวด سن )

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 12, 2006 10:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากคุณมุสลิม

แบบที่ 2

ท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า فإن كل محدثة بدعة ทุกอย่างที่ทำขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮฺ คำว่า มัวห์ดะษะฮ์ ในหะดีษเป็นมุฏลัก ภายนอกจึงชี้ให้เห็นว่าทุกอย่างที่ถูกทำขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์ แต่มีอีกหะดีษหนึ่งที่มาตักยีด تقييد มุฏลักตัวนี้ นั่นก็คือ หะดีษท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า

من أحدث في أمرنا هدا ما ليس منه فهو رد

คำว่ามัวห์ดะษะฮ์ในที่นี้จึงถูกตักยีดด้วยคำว่า ما ليس منه หรือในริวายะฮฺมุสลิมที่ว่า ليس عليه أمرنا
ซึ่งมัซฮับบรรดาอุลามาอ์บอกว่าเมื่อ سبب กับ حكم ระหว่างมุฏลัก กับมุกอยยัดตรงกันให้เข้าใจมุฏลัก ตามนัยยะของมุกอยยัด حمل المطلق على المقيد ตามนัยยะนี้ความหมายจึงเป็น

فإن كل محدثة التي ليس عليها الشرع بدعة


ตอบ

คุณมุสลิมครับ คุณเข้าใจผิดแล้วครับ คือ คุณ จะเอาคำว่า محدثة มาเป็นคำ مطلق นั้นไม่ได้โดยเด็ดขาด เนื่องจากคำว่า محدثة ยังคงสัมพันธ์หรือพาดพิงอยู่กับคำว่า كل ที่เป็นส่วนหลักหรือส่วนสำคัญของประโยคที่มีความหมาย العام (ครอบคลุม) ดังนั้นคำว่า محدثة ยังคง إكتساب ต้องการไปยังคำว่า كل ที่อยู่ในความหมาย (العام ) ดังนั้นคำว่า محدثة ก็ยังคงอยู่ในความหมายที่ العام เหมือนเดิมโดยเปลี่ยนแปลไปให้เป็นความหมาย مطلق ไม่ได้ ฉะนั้น จึงอยู่ในเรื่อง العام المخصوص ไม่ใช่อยู่ในเรื่อง حمل المطلق على المقيد

และคุณก็จะเอาคำว่า فإن كل محدثة بدعة มาเป็นตัวพิจารณาในเรื่อง العام (หรือ مطلق ตามที่คุณจะเอา)นั้น ไม่ได้ เนื่องจากมันไม่ได้เป็นส่วนสำคัญ ( الماهية) ที่จะบ่งบอกถึงหุกุ่ม แต่ส่วนที่เขาจะนำมาใช้นั้น คือประโยคที่ว่า كل بدعة ضلالة (เพราะมันเป็นส่วนสำคัญالماهية ที่บอกถึงหุกุ่ม) และนำมาตัดทอนความหมายหรือหุกุ่มด้วยกับหะดิษอื่น

ดังนั้น หะดิษ

فإن كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

อยู่ในหะดิษ ที่ العام (เพราะมีคำว่า كل ) ไม่ใช่อยู่ในความหมาย مطلق แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อมันอยู่ในความหมายที่ครอบคลุม ( العام ) หะดิษที่มา تخصيص หะดิษนี้ได้อีกหนึ่งหะดิษนั้น คือ หะดิษ

من أحدث في أمرنا هدا ما ليس منه فهو رد

และผมก็ได้อธิบายรายละเอียดไปแล้ว คือดังนี้

ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากหะดิษที่ให้ความหมายในเรื่องบิดอะฮ์โดยความหมายที่ครอบคลุม คือ หะดิษของท่าน ญาบิร บิน อับดุลเลาะฮ์ เขากล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

أما بعد: فإن خير الحديث كتاب الله وخير الهدى هدى محمد وشر الأمور محدثاتها وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

ความว่า" จากนั้น แท้จริงถ้อยความที่ดีที่สุด คือกิตาบุลเลาะฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด แต่บรรดาการงานที่ชั่วที่สุด คือบรรดาสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ และทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" ( รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 867 อิมามอะหฺมัด รายงานไว้ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 310 ท่านอันนะซาอีย์ รายงานไว้ในสุนันของท่าน เล่ม 3 หน้า 188 และท่านอื่นๆ )
คำว่า"บิดอะฮ์" ในหะดิษนี้ ครอบคลุมถึง บิดอะฮ์เดียว หรือหลายๆบิดอะฮ์ และครอบคลุมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(ที่ดี) และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์(น่ารังเกียจ)

และมีหะดิษอีกส่วนหนึ่งที่รายงานด้วยถ้อยคำที่เจาะจงและทอนความหมายของคำ"บิดอะฮ์" คือคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

من ابتدع بدعة ضلالة لا يرضاها الله ولا رسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزارهم شيئا

ความว่า" ผู้ใดที่อุตริทำบิดอะฮ์อันลุ่มหลง ที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่พอใจ แน่นอน เขาย่อมได้รับบาปเหมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน โดยที่สิ่งดังกล่าวไม่ทำลดลงกับสิ่งใดเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" อิมาม อัตติรมีซีย์ กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน ( ดู อัล-อาริเฏาะฮ์ เล่ม 10 หน้า 148)
ดังนั้น ในหะดิษนี้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เจาะจงและทอนความหมายของคำว่า "บิดอะฮ์ที่หะรอม(ลุ่มหลง) " นั้น คือบิดอะฮ์อันน่ารังเกียจที่ไม่สอดคล้องกับหลักชาริอะฮ์

ฉะนั้น ตามหลักอุซูล ( القاعدة الأصولية ) คือ เมื่อมีตัวบทที่รายงานมาจากหลักการของชาเราะอฺ โดยมีถ้อยคำที่ครอบคลุม ( عام ) และถ้วยคำที่เจาะจง ( خاص ) ก็ให้นำเอาถ้อยคำที่เจาะจง ( خاص )มาอยู่ก่อนในการนำมาพิจารณา เนื่องจากในการนำถ้อยคำที่เจาะจง ( خاص ) มาอยู่ก่อนนั้น ทำให้สามารถปฏิบัติได้ทั้ง 2 ตัวบทไปพร้อมๆกัน ซึ่งแตกต่างกับการที่ เอาถ้อยคำที่ครอบคลุม ( عام ) มาอยู่ก่อน เนื่องจากจะทำให้ยกเลิกหรือละทิ้งกับตัวบทที่ให้ความหมายเจาะจง ( خاص ) ( ดู ชัรหฺ อัลเกากับ อัลมุนีร เล่ม 3 หน้า 382)
ฉะนั้น จุดมุ่งหมายของคำกล่าวท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

( كل بدعة ضلالة )

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

หมายถึง บิดอะฮ์อันน่ารังเกียจ คือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีหลักฐานจากชาเราะอฺ ไม่ว่าจะด้วยหนทางที่ครอบคลุมหรือเจาะจง

และหลักการนี้ ก็อยู่ในนัยยะเดียวกับคำกล่าวของท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

كل عين زانية

" ทุกๆสายตานั้น ทำซินา" ( นำเสนอรายงานโดย อิมามอะหฺมัด ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 394 - 413 อบูดาวูด ได้รายงานไว้ใน สุนันของท่าน หะดิษที่ 4173 อัตติรมิซีย์ หะดิษที่ 2786 ท่านอันนะซาอีย์ เล่ม 8 หน้า 135 และท่านอัตติรมิซีย์กล่าว หะดิษนี้ หะซันซอเฮี๊ยะหฺ

ดังนั้น ถ้อยคำของหะดิษนี้ไม่ใช่หมายถึงทุกๆสายตานั้นทำซินา แต่ทุกๆสายตาที่มองสตรีโดยมีอารมณ์ใคร่ต่างหาก คือสายตาที่อยู่ในความหมายของซินา (ดู หนังสือ อัตตัยซีร บิชัรหฺ อัลญาเมี๊ยะอฺ อัศซ่อฆีร ของท่าน อัลมะนาวีย์ เล่ม 2 หน้า 216)

ท่านอัล-หาฟิซฺ อิมาม อันนะวะวีย์ (ร.ฏ.) กล่าวว่า " คำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ضلالة ) " ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" นั้น คืออยู่ในความหมายของ คำคลุมที่ถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยถ้อยคำอื่นหรือหะดิษอื่น) ในลักษณะจุดมุ่งหมายจากคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือ ส่วนมากของบิดอะฮ์(นั้นลุ่มหลง)

บรรดาอุลามาอ์กล่าวว่า บิดอะฮ์ มี 5 ประเภท คือ บิดอะฮ์วายิบ สุนัต หะรอม มักโระฮ์ และมุบาห์ ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ที่วายิบ อาธิเช่น การประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับบรรดาหลักฐานต่างๆของอุลามาอ์กะลาม เพื่อทำการโต้ตอบ พวกนอกศาสนา พวกบิดอะฮ์ และอื่นๆจากสิ่งดังกล่าว และสำหรับบิดอะฮ์สุนัต คือ การประพันธ์หนังสือในเชิงวิชาการ การสร้างสถานที่ศึกษา สร้างสถานที่พักพึง และอื่นๆจากสิ่งดังกล่าว และส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์มุบาห์ คือ การมีความหลากหลายในประเภทต่างๆของการทำอาหาร และอื่นๆ และบิดอะฮ์หะรอมและมักโระฮ์นั้น ทั้งสองย่อมมีความชัดเจนแล้ว และฉัน(คืออิมามอันนะวะวีย์)ได้อธิบายประเด็นนี้ ด้วยบรรดาหลักฐานที่ถูกแจกแจงไว้แล้วในหนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลุฆ๊อต ดังนั้น เมื่อสิ่งที่ฉันได้กล่าวไปแล้วนั้น เป็นที่ทราบดีแล้ว ก็จะสามารถรู้ได้ว่า แท้จริง หะดิษ(นี้) มาจากความหมายของคำคลุมที่ถูกเจาะจง และเช่นเดียวกันกับบรรดาหะดิษต่างๆที่มีหลักการเหมือนกับหะดิษนี้ และได้ทำการสนับสนุนกับสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้ว โดยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

และการที่หะดิษมีความหมายของ คำคลุมที่ถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมาย)นั้น ก็จะไม่ถูกห้ามกับคำกล่าวของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ) "ทุกบิดอะฮ์" โดยตอกย้ำด้วยคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" แต่มีการเจาะจงหรือทอนความหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" นี้ (หมายถึง ความหมายที่ครอบคลุมนี้คือ "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" โดยมีความหมายอื่นเข้าเจาะจงหรือทอนความหมาย คือ มีบิดอะฮ์อื่นด้วยที่ไม่ได้อยู่ในความหมายที่ลุ่มหลง" ) ซึ่งเหมือนกับคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ที่ว่า ( تدمر كل شيء ) " มันเป็นลมที่จะทำลายทุกๆสิ่ง" (นอกบ้านเรือนของพวกเขาเป็นต้น) (ดู ชัรหฺ ซ่อเฮี๊ยะหฺ มุสลิม ของอิมาม อันนะวะวีย์ เล่ม 3 หน้า 423)

ได้รายงานจาก ท่านหญิง อาอิชะฮ์ (ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)

من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد

หมายความว่า "ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ กับสิ่งที่ไม่มีมาจากมัน(คือจากการงานของเรา)แล้ว สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดย บุคอรีย์ หะดิษที่ 2698 และมุสลิม หะดิษที่ 1718)

ในสายรายงานหนึ่งของ มุสลิม กล่าวว่า

من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد

ความว่า "ผู้ที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง ที่การงาน(ศาสนา)ของเรา ไม่ได้อยู่บนมันนั้น สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 1718)
ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กล่าวว่า

من أحدث فى أمرنا هذا فهو رد

"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ มันย่อมถูกปฏิเสธ"
และท่านนบี(ซ.ล.)ก็ไม่ได้กล่าวว่า

من عمل عملا فهو رد

"ผู้ใดที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง มันย่อมถูกปฏิเสธ"

แต่หะดิษดังกล่าวนี้ ถูกวางข้อแม้หรือถูกจำกัดความหมาย ( المقيد) (คือคำว่า ما ليس منه และคำว่า ليس عليه أمرنا ) กับสิ่งที่มีความหมายแบบกว้างๆของหะดิษนี้ ( المطلق ) (คือคำว่า من أحدث في أمرنا และคำว่าمن عمل عملا ) ดังนั้น บรรดาอุลามาอ์ผู้เคร่งครัด คือ อุลามาอ์อุซูลฟิกห์ กล่าวว่า "หากปรากฏว่ามีหะดิษที่อยู่ในความหมายแบบกว้างๆ( المطلق ) และในตัวบทหะดิษเดียวกันนี้ ก็มีความหมายที่บ่งถึงการจัดกัดความ( ( المقيد) ฉะนั้น จึงจำเป็นต้อง ตีความกับความหมายแบบกว้างๆนี้ ให้อยู่บนความหมายแบบจำกัดความ ( حمل المطلق على المقيد ) โดยที่ไม่อนุญาติให้ปฏิบัติกับหะดิษด้วยความหมายแบบกว้างๆอันนี้

เมื่อเป็นอย่างเช่นดังกล่าวนี้ ความเข้าใจของหะดิษนี้ก็คือ

من أحدث فى أمرتا هذا ما هو منه فهو مقبول

"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงานของเรานี้ กับสิ่งที่มีมาจากการงานของเรา สิ่งนั้นย่อมถูกตอบรับ"

من عمل عملا عليه أمرنا فهو مقبول

"ผู้ที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง โดยที่การงานของเรา(มีรากฐาน)อยู่บนมัน การปฏิบัตินั้นย่อมถูกตอบรับ"

สรุป

ดังนั้น บรรดาสิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่ โดยมีรากฐานและมาจากการงานของเรานั้น ย่อมไม่ถูกต้องรับและไม่ใช่บิดอะฮ์ ฉะนั้น ทุกบิดะฮ์(สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่)จึงไม่ลุ่มหลง หากมันมีรากฐานและมาจากการงานของเรา

ผมหวังว่าคุณมุสลิม คงให้การชี้แนะกับผมผู้มีความรู้น้อยด้วยครับ และขอให้อัลเลาะฮ์ทรงเมตตาผู้ที่ชี้ข้อตำหนิของผมครับ และสิ่งที่ผมสนทนามานั้น เพื่อจะให้หลักฐานมีความกระชับแน่นแฟ้นขึ้นนะครับ และการอธิบายที่ผมได้นำเสนอไปนี้ จะคงไม่มี หากไม่มีคุณเข้ามาร่วมสนทนาในเชิงวิชาการ อัลหัมดุลิลลาห์

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Mon Feb 13, 2006 6:50 pm    ชื่อกระทู้: มัสหับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณมูฮำมัดครับ
ขอบคุณครับที่คุณเข้ามาตรงจังหวะพอดี
สำหรับคุณอับดุลลลา เข้าใจว่า ผมเป็นพวกชีอะ แล้วยุแยงตะเเคงรั่วบรรดาผู้ศรัทธานั้น
ผมไม่นึกเสียใจอะไรครับ เพราะผมคิดเสียว่าใครที่เข้าใจคนอื่นผิเน้น เพียงแค่สงสัยนั้นแล้วฮูกมว่า คนนั้นผิดคนนั้นลงนรก

ทุกอย่างอัลลออ์จะส่งคืนไปหาเขาเองครับ
คุณมูฮำมัดครับ ขอถามอะไรเป้นการส่วนตัวนิดหนึ่งนะครับ
คุณ คือ มูฮำมัด กอรี ที่เปิดร้าอาหารไทยในอิยิปต์หรือปล่าวครับ ผมเห็นทีวีช่อง9 เขานำภาพออกมา ผมคิดว่าเป็นคุณนะ แหมอยู่หล่อจังและบุคคลิคงดงามครับ
แต่ไม่รู้ว่าคนที่ผมเข้าใจว่าคนเดียวกันหรือไม่
ฝากสลามถึงคุณอัลอัชอารี /คุณอัลฟารุก บอกว่าผมอยากให้อจ.เข้ามีส่วนร่วมมากกว่านี่ครับ

วัสลาม



อับดุลลาครับ
ส่วนเรื่องชีอะห์น่ะ คุณสามารถเข้าไปดูผลงานการตอบทางด้านวิชาการของ คุณอัลอัชอารีย์ กับ คุณฟารุกได้ที่ www.islamichomepage.com นะครับ เวปนี้เป็นเวปชีอะห์

คุณดูเว็บนี้แล้วเป็นยังไงแล้วเกี่ยวข้องอะไรกับผมครับ

ผมเห็นคุณคุยคนละเรื่องเลย มึนไปหมดแล้วนะเนี่ยะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 31, 32, 33  ถัดไป
หน้า 10 จากทั้งหมด 33

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ