ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jul 20, 2013 11:04 pm ชื่อกระทู้: อุทิศบุญการอ่านอัลกุรอ่านแก่ผู้ตาย |
|
|
ฟัตวา เช็คบินบาซ
القراءة على الأموات بدعة وأخذ الأجرة على ذلك لا يجوز؛ لأنه لم يرد في الشرع المطهر ما يدل على ذلك، والعبادات توقيفية لا يجوز منها إلا ما شرعه الله، لقول النبي صلى الله عليه وسلم: ((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد)) متفق على صحته،
การอ่านอัลกุรอ่านแก่ บรรดามัยยิต เป็นบิดอะฮ และการเอาค่าจ้าง บนดังกล่าวนั้น ไม่อนุญาต เพราะแท้จริง มันไม่ปรากฏรายงานของสิ่งที่แสดงบอกบนดังกล่าวนั้น ในศาสนบัญญัติที่ถูกทำให้บริสุทธิ์ และบรรดาอิบาดาตนั้น คือเตากีฟียะฮ(หมายถึงรากฐานของอิบาดะฮ หยุดอยู่ที่คำสั่ง) ไม่อนุญาตจากมัน นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ ทรงบัญญัติมัน เพราะคำพูดนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า ผู้ใดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่ง ไม่ได้มาจากมัน มันถูกตีกลับ(ถูกปฏิเสธ) มุตตะฟะกุน อะลาเศาะหะติฮี
http://www.binbaz.org.sa/mat/109
หะฏอบ อัลมาลิกีอัลกะบีร (มีชีวิตอย่ช่วง ฮ.ศ. 902-954 ) กล่าวว่า
والمشهور من مذهب إمامنا الشافعي وشيخه مالك والأكثرين كما قاله النووي في فتاويه وفي شرح مسلم أنه لا يصل ثواب القراءة للميت
และที่รู้จักกันแพร่หลาย จาก มัซฮับอิหม่ามของเรา ชาฟิอี และอาจารย์ของท่าน มาลิก และบรรดานักวิชาการส่วนมาก ดังที่อันนะวาวีย์ ได้ระบุเอาไว้ในฟัตวาของเขา และใน ชัรหุมุสลิม ว่า "ผลบุญการอ่าน ไม่ถึงผู้ตาย - ดู มะวาฮิบุลญะลีล เล่ม 2 หน้า 627
อัลลอฮ ตะอาลาตรัสว่า
وأن ليس للإنسان إلا ما سعى
และแท้จริง มนุษย์จะไม่ได้รับการตอบแทน นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้" )
............
ท่านอิหม่ามอิบนุกะษีร(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายว่า
ومن هذه الأية الكريمة استنبط الشافعي رحمه الله ومن اتبعه أن القراءة لا يصل إهداء ثوابها إلى الموتى لأنه ليس من عملهم ولا كسبهم ولهذا لم يندب إليه رسول الله صلى الله عليه وسلم أمته ولا حثهم عليه ولا أرشدهم إليه بنص ولا ايماء ولم ينقل ذلك عن أحد الصحابة رضي الله عنهم ولو كان خيراً لسبقونا إليه وباب القربات يقتصر فيه على النصوص ولا يتصرف فيه بانواع الأقسية والآراء فأما الدعاء والصدقة فذاك مجمع على وصولهما ومنصوص من الشارع عليهما.
จากอายะฮอันทรงเกียรตินี้ อิหม่ามชาฟิอี(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) และบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามท่าน ได้วิเคราะห์ออกมาว่า การอ่านอัลกุรอ่าน อุทิศผลบุญของมันนั้น ไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่ใช่การกระทำและการพากเพียรของเขา และเพราะเหตุนี้ ท่านรซูลุ้ลลอฮ ไม่ได้ส่งเสริม อุมมะฮของท่าน ,อีกทั้งไม่ได้กำชับและแนะนำพวกเขา ในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม และไม่มีการรายงานดังกล่าวมาจากคนใดจากบรรดาเศาะหาบะฮ (ร.ฎ) และถ้าหากว่า มันเป็นสิ่งที่ดี แน่นอนพวกเขาจะทำล่วงหน้ามาก่อนพวกเราแล้ว และเรื่องของการอิบาดะฮนั้น มันจะถูกจำกัดอยู่บนตัวบท(คือ อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ) และจะหันไปเอาประเภทของการกิยาส(เทียบ)และบรรดาความเห็นในมันไม่ได้ สำหรับดุอาและเศาะดะเกาะฮ ดังกล่าวนั้นได้มีมติว่าทั้งสองถึง(ผู้ตาย )และมีตัวบท(หลักฐาน)จากผูบัญญัติศาสนบัญญัติ บนมันทั้งสอง- ดู ตัฟสีร อิบนิกะษีร 4/276
มาลาอาลีอัลกอรีย์ กล่าวว่า
ثم القراءة عند القبور مكروهة عند أبي حنيفة و مالك و أحمد رحمهم الله في رواية لانه محدث لم ترد به السنة
หลังจากนั้น การอ่านกุรอ่านที่กุบูร เป็นมักรูฮ(สิ่งที่น่ารังเกียจในศาสนา) ในทัศนะอบูหะนีฟะฮ,มาลิก และอะหมัด (ขออัลลอฮเมตตาต่อพวกเขา) ในรายงานหนึ่ง เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ไม่ปรากฏสุนนะฮ ด้วยมัน ดู ชัรหุฟิกฮ อัลอักบัร หน้า 110
มาดูในมัซฮับมาลิกี
อัลอาบีย์ อัลมาลิกี กล่าวว่า
و المشهور عندنا أن ثواب عمل الأبدان كالقراءة و الصلاة و سائر الطاعات لا يصل إلى الميت
และที่แพร่หลายในทัศนะของพวกเรา(นักวิชาการมัซฮับมาลิกี) แท้จริง ผลบุญ การปฏิบัติทางกาย เช่น การอ่าน ,การละหมาดและบรรดาการภักดีต่างๆ ผลบุญไม่ถึงผู้ตาย ชัรหุมุสลิมของเขา เล่ม 3 หน้า 153
มาดูมัซฮับฃาฟิอี
อิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า
و المشهور في مذهبنا أن قراءة القرآن لا يصله ثوابها
และที่แพร่หลายในมัซฮับของเรา แท้จริงการอ่านอัลกุรอ่านนั้น ผลบุญของมัน ไม่ถึงผู้ตาย- ชัรหุมุสลิม เล่ม 7 หน้า 90
มาดูมัซฮับ หัมบะลี
อบูดาวูด กล่าวว่า
سمعت أحمد سئل عن القراءة عند القبر فقال : لا
ข้าพเจ้าได้ยิน อะหมัดถูกถูกถามเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูร แล้วเขากล่าวว่า ไม่ได้ มะสาอิลอะหมัด ของอบีดาวูด หน้า 192
ในหนังสือเอานุลมะอฺบูด ชัรหุสุนันอบีดาวูด เรื่องการชดใช้การบนบานแทนผู้ตาย หะดิษหมายเลข 3308
وَذَهَبَ مَالِكٌ وَأَبُو حَنِيفَةَ وَالشَّافِعِيُّ فِي الْجَدِيدِ إِلَى أَنَّهُ لَا يُصَامُ عَنِ الْمَيِّتِ مُطْلَقًا . وَقَالَ اللَّيْثُ وَإِسْحَاقُ وَأَبُو عُبَيْدٍ : إِنَّهُ لَا يُصَامُ عَنْهُ إِلَّا النَّذْرُ انْتَهَى .
และมาลิก ,อบูหะนีฟะฮ และชาฟิอี ในทัศนะใหม่(เกาลุลญะดีด) มีทัศนะว่า จะไม่ถูกถือศีลอดแทนผู้ตายโดยไม่มีเงื่อนไข และอัลลัยลุษุ,อิสหาก และอบูอุบัยดิน กล่าวว่า จะไม่ถูกถือศีลอดแทนเขา(ผู้ตาย)นอกจาก การถือศีลดอดบนบานเท่านั้น
อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้กล่าวถึงทัศนะของอิหม่ามชาฟิอีย์ เรื่อง การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้ผู้ตายว่า
وأما قراءة القرآن فالمشهور من مذهب الشافعي أنه لا يصل ثوابها إلى الميت........ ودليل الشافعي وموافقيه قول اللهِ تعالى : وَأَن لّيْسَ لِلإِنسَانِ إِلاّ مَا سَعَى. وقول النبي صلى الله عليه وسلم : إذا مات ابن آدم انقطع عمله إلا من ثلاث: صدقة جارية أو علم ينتفع به أو ولد صالح يدعو له
และสำหรับ การอ่านอัลกุรอ่านนั้น ที่แพร่หลายจากทัศนะของชาฟิอีนั้น ผลบุญของมันไม่ถึงผู้ตาย.... และหลักฐานของชาฟิอีและผู้ที่มีความเห็นสอดคล้องกับเขาคือ คำตรัสของอัลลอฮ ตะอาลาที่ว่า
وَأَن لّيْسَ لِلإِنسَانِ إِلاّ مَا سَعَى.
แท้จริง มนุษย์จะไม่ได้รับ นอกจากสิ่งที่เขาขวนขวายเท่านั้น"
และคำพูดของนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า
إذا مات ابن آدم انقطع عمله إلا من ثلاث: صدقة جارية أو علم ينتفع به أو ولد صالح يدعو له
เมื่อลูกหลานอาดัม(มนุษย์) ได้เสียชีวิต การงานของเขาก็ยุติ นอกจาก สามประการคือ การบริจาคทานถาวรวัตถุ (วะกัฟ) ,ความรู้(ของเขา)ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้วยมัน หรือ บุตรที่ดี ขอดุอาให้แก่เขา - ดู ชัรหุเศาเฮียะมุสลิม เล่ม 1 หน้า 90
ตัฟสีร อิบนุกะษีร อธิบาย อายะฮที่ 39 ซูเราะฮอัลนัจญมฺว่า
وَمِنْ هَذِهِ الْآيَةِ الْكَرِيمَةِ اسْتَنْبَطَ الشَّافِعِيُّ رَحِمَهُ اللَّهُ ، وَمَنِ اتَّبَعَهُ أَنَّ الْقِرَاءَةَ لَا يَصِلُ إِهْدَاءُ ثَوَابِهَا إِلَى الْمَوْتَى ; لِأَنَّهُ لَيْسَ مِنْ عَمَلِهِمْ وَلَا كَسْبِهِمْ ; وَلِهَذَا لَمْ يَنْدُبْ إِلَيْهِ رَسُولُ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - أُمَّتَهُ وَلَا حَثَّهُمْ عَلَيْهِ ، وَلَا أَرْشَدَهُمْ إِلَيْهِ بِنَصٍّ وَلَا إِيمَاءٍ ، وَلَمْ يُنْقَلْ ذَلِكَ عَنْ أَحَدٍ مِنَ الصَّحَابَةِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ ، وَلَوْ كَانَ خَيْرًا لَسَبَقُونَا إِلَيْهِ
จากอายะฮอันทรงเกียรตินี้ อิหม่ามชาฟิอี(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) และบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามท่าน ได้วิเคราะห์ออกมาว่า การอ่านอัลกุรอ่าน อุทิศผลบุญของมันนั้น ไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่ใช่การกระทำและการพากเพียรของเขา และเพราะเหตุนี้ ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมไม่ได้ส่งเสริม อุมมะฮของท่าน ,อีกทั้งไม่ได้กำชับและแนะนำพวกเขา ในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม และไม่มีการรายงานดังกล่าวมาจากคนใดจากบรรดาเศาะหาบะฮ (ร.ฎ) และถ้าหากว่า มันเป็นสิ่งที่ดี แน่นอนพวกเขาจะทำล่วงหน้ามาก่อนพวกเราแล้ว บนมันทั้งสอง- ดู ตัฟสีร อิบนิกะษีร 4/276
อิบนุกะษีรสรุป ว่า
وَبَابُ الْقُرُبَاتِ يُقْتَصَرُ فِيهِ عَلَى النُّصُوصِ ، وَلَا يُتَصَرَّفُ فِيهِ بِأَنْوَاعِ الْأَقْيِسَةِ وَالْآرَاءِ ، فَأَمَّا الدُّعَاءُ وَالصَّدَقَةُ فَذَاكَ مُجْمَعٌ عَلَى وُصُولِهِمَا ، وَمَنْصُوصٌ مِنَ الشَّارِعِ عَلَيْهِمَا .
และเรื่องของการอิบาดะฮนั้น มันจะถูกจำกัดอยู่บนตัวบท(คือ อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ) และจะหันไปเอาประเภทของการกิยาส(เทียบ)และบรรดาความเห็นในมันไม่ได้ สำหรับดุอาและเศาะดะเกาะฮ ดังกล่าวนั้นได้มีมติว่าทั้งสองถึง(ผู้ตาย )และมีตัวบท(หลักฐาน)จากผูบัญญัติศาสนบัญญัติ บนมันทั้งสอง- ดู ตัฟสีร อิบนิกะษีร 4/276
มาดูคำอธิบายของ อิหม่ามอัชเชากานีย์ ของอายะฮที่ว่า
وَأَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إِلَّا مَا سَعَى
โดยท่านอธิบายดังนี้ครับ
وَالْمَعْنَى : لَيْسَ لَهُ إِلَّا أَجْرُ سَعْيِهِ وَجَزَاءُ عَمَلِهِ وَلَا يَنْفَعُ أَحَدًا عَمَلُ أَحَدٍ ، وَهَذَا الْعُمُومُ مَخْصُوصٌ بِمِثْلِ قَوْلِهِ سُبْحَانَهُ : أَلْحَقْنَا بِهِمْ ذُرِّيَّتَهُمْ [ الطُّورِ : 21 ] وَبِمِثْلِ مَا وَرَدَ فِي شَفَاعَةِ الْأَنْبِيَاءِ وَالْمَلَائِكَةِ لِلْعِبَادِ وَمَشْرُوعِيَّةِ دُعَاءِ الْأَحْيَاءِ لِلْأَمْوَاتِ وَنَحْوِ ذَلِكَ ، وَلَمْ يُصِبْ مَنْ قَالَ : إِنَّ هَذِهِ الْآيَةَ مَنْسُوخَةٌ بِمِثْلِ هَذِهِ الْأُمُورِ ، فَإِنَّ الْخَاصَّ لَا يَنْسَخُ الْعَامَّ ، بَلْ يُخَصِّصُهُ ، فَكُلُّ مَا قَامَ الدَّلِيلُ عَلَى أَنَّ الْإِنْسَانَ يَنْتَفِعُ بِهِ وَهُوَ مِنْ غَيْرِ سَعْيِهِ كَانَ مُخَصَّصًا لِمَا فِي هَذِهِ الْآيَةِ مِنَ الْعُمُومِ
และความหมาย คือ เขาจะไม่ได้รับการตอบแทน นอกจาก การขนขวายของเขาเท่านั้น และการตอบแทนการงานของเขา เท่านั้น และ การงานของคนๆหนึ่ง จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่อีกคนๆหนึ่ง และนี้คือ อายะฮที่กล่าวไว้กว้างๆ ถูกจำกัดเฉพาะด้วย คำตรัสของอัลลอฮ(ซ.บ) เช่น (เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขา อัฏฏูร/21) และเช่น หะดิษที่รายงานในเรื่อง การชะฟาอะฮของบรรดานบี และบรรดามลาอิกะฮ ต่อบรรดาบ่าว และการดุอาที่ถูกบัญญัติให้บรรดาผู้มีชีวิต ขอให้แก่บรรดาผู้ที่ตาย และในทำนองดังกล่าวนั้น และผู้ที่กล่าวว่าอายะฮนี้ถูกยกเลิก ด้วยบรรดาสิ่งเหล่านี้นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะแท้จริง อายะฮคอศ(อายะฮที่มาจำกัดเฉพาะ) จะไม่สามารถที่จะยกเลิกอายะฮอาม(อายะฮที่กล่าวกว้างๆ)ได้ ดังนั้น ทุกสิ่งที่หลักฐานได้ยืนยันว่า มนุษย์ได้รับประโยชน์ด้วยมัน โดยที่มันไม่ใช่การขนขวายของเขา มันก็เป็นสิ่งที่ถูกให้มาจำกัดเฉพาะ สิ่งที่กล่าวไว้กว้างๆ(อุมูม)ในอายะฮนี้ ดูฟัตหุลเกาะดีร ตัฟสีร ซูเราะอัลนัจญม์ อายะฮที่ 9
สรุป
หนึ่ง บุคคลจะไม่ได้รับผลตอบแทนนอกจากการขนขวายหรือผลงานของตนเท่านั้น ยกเว้นสิ่งที่มีหลักฐานมาจำกัดเฉพาะเอาไว้
สอง- ผู้ที่อ้างว่าอายะฮข้างต้นถูกยกเลิกนั้น เป็นการอ้างที่ไม่ถูกต้อง
สาม - อายะฮคอศ(อายะฮที่มาจำกัดเฉพาะ) จะไม่สามารถที่จะยกเลิกอายะฮอาม(อายะฮที่กล่าวกว้างๆ)ได้
สิ่ หากสิ่งใดมีหลักฐานมาจำกัดว่าผลบุญถึงผูตาย ถือว่าสิ่งนั้นมาจำกัดเฉพาะ หรือเป็นข้อยกเว้นในสาระของอายะฮนี้
ห้า จึงถามว่า มีหลักฐานไหมที่บอกว่า ให้อ่านอัลกุรอ่านอุทิศบุญแก่ผู้ตาย ที่จะมาตัคศิศ(จำกัดเฉพาะ)อายะฮนี้ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sat Mar 19, 2016 4:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jul 20, 2013 11:07 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
ชีฮาบุดดีน มะหมูด อิบนุอับดุลลอฮ อัลหุสัยนีย์ อัลอะลูซีย์ ได้กล่าวว่า
وكذا استدلال الإمام الشافعي بها على أن ثواب القراءة لا تلحق الأموات وهو مذهب الإمام مالك
และในทำนองเดียวกันนั้น อิหม่ามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยมัน(ด้วยอายะฮที่ 39 ซูเราะฮอัลนัจญมฺ) ว่า ผลบุญการอ่าน ไม่ถึงบรรดาผู้ตาย และมันคือ มัซฮับอิหม่ามมาลิก ดูตัฟสีร รูหุลมะอานีย์ เล่ม 21 หน้า 20
และท่าน อัลอะลูซีย์ ได้กล่าวถึงคำพูดอิหม่ามนะวาวีย์ในหนังสือ อัลอัซกัร ว่า
وفي الأذكار للنووي عليه الرحمة المشهور من مذهب الشافعي رضي الله تعالى عنه وجماعة أنها لا تصل
และใน (อัลอัซกัร) ของอันนะวาวีย์ ขอความเมตตาประสบแด่เขา ระบุว่า เป็นที่แพร่หลายจากมัซฮับชาฟิอีย์(ร.ฎ) และนักวิชาการคณะหนึ่ง ว่า มันไม่ถึง (ผู้ตาย) จากตัฟสีรที่ได้อ้างแล้ว
สรุปการอ่านอัลอัลกุรอ่านเป็นประเด็นปัญหาที่ขัดแย้งหรือเห็นต่างกัน เพราะฉะนั้น อัลลอฮ(ซ.บ)ได้สอนว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป ที่สวยยิ่ง
อิบนุกะษีร อธิบายว่า
وَهَذَا أَمْرٌ مِنَ اللَّهِ ، عَزَّ وَجَلَّ ، بِأَنَّ كُلَّ شَيْءٍ تَنَازَعَ النَّاسُ فِيهِ مِنْ أُصُولِ الدِّينِ وَفُرُوعِهِ أَنْ يَرُدَّ التَّنَازُعَ فِي ذَلِكَ إِلَى الْكِتَابِ وَالسُّنَّةِ ، كَمَا قَالَ تَعَالَى : ( وَمَا اخْتَلَفْتُمْ فِيهِ مِنْ شَيْءٍ فَحُكْمُهُ إِلَى اللَّهِ ) [ الشُّورَى : 10 ] فَمَا حَكَمَ بِهِ كِتَابُ اللَّهِ وَسُنَّةُ رَسُولِهِ وَشَهِدَا لَهُ بِالصِّحَّةِ فَهُوَ الْحَقُّ ، وَمَاذَا بَعْدَ الْحَقِّ إِلَّا الضَّلَالُ ،
นี่คือ คำสั่งจากอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ส่งเลิศยิ่ง ว่า ทุกสิ่งที่มนุษย์ขัดแย้งกัน ในมัน เกี่ยวกับอุศูลุดดีน (อกีดะฮ)และบรรดาสาขาของมัน(หลักปฏิบัติ) ก็ให้นำประเด็นขัดแย้งในดังกล่าว กลับไปยังอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ดังที่อัลลอฮตรัสว่า (และสิ่งใดที่พวกเข้าขัดแย้งในมัน ก็จงนำการตัดสินของมัน ไปยังอัลลอฮ- อัชชูรอ/10) ดังนั้น สิ่งใดที่ คัมภีร์ของอัลลอฮและสุนนะฮของรซูลของพระองค์ตัดสิน ด้วยมัน และยืนยันความจริงแก่มัน มันก็คือ ความถูกต้อง/ความจริง และ หลังจากความจริงแล้วจะมีอะไรอีกเล่า นอกจากความหลงผิดเท่านั้น- ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร
แล้วการอ่านอัลกุรอ่านอุทิศบุญให้ผู้ตาย อัลกุรอ่านสอนไว้ไหม และนบี ทำแบบอย่างไว้ไหม ถ้าไม่มี ก็ถือว่า ไม่ใช่ศาสนบัญญัติ
ฟัตวา เช็คบินบาซ
وقد سئل الشيخ ابن باز رحمه لله عن إهداء ثواب قراءة القرآن والصدقة للأم ، سواء كانت حية أم ميتة ، فأجاب :
และมีผู้ถามเช็คอิบนุบาซ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) เกี่ยวกับการอุทิศผลบุญการอ่านอัลกุรอ่านและการทำทานให้แก่มารดา ไม่ว่าขณะที่นางมีชีวิต หรือเสียชีวิตแล้ว
ท่านอิบนุบาซตอบว่า
"
أما قراءة القرآن فقد اختلف العلماء في وصول ثوابها إلى الميت على قولين لأهل العلم ، والأرجح أنها لا تصل لعدم الدليل ؛ لأن الرسول صلى الله عليه وسلم لم يفعلها لأمواته من المسلمين كبناته اللاتي مُتْن في حياته عليه الصلاة والسلام ، ولم يفعلها الصحابة رضي الله عنهم وأرضاهم فيما علمنا ، فالأولى للمؤمن أن يترك ذلك ولا يقرأ للموتى ولا للأحياء ولا يصلي لهم ، وهكذا التطوع بالصوم عنهم ؛ لأن ذلك كله لا دليل عليه ، والأصل في العبادات التوقيف إلا ما ثبت عن الله سبحانه أو عن رسوله صلى الله عليه وسلم شرعيته . أما الصدقة فتنفع الحي والميت بإجماع المسلمين ، وهكذا الدعاء ينفع الحي والميت بإجماع المسلمين
สำหรับการอ่านอัลกุรอ่านนั้น บรรดานักวิชาการเห็นต่างกัน เกี่ยวกับการที่ผลบุญของมันถึงผู้ตาย
บนสองทัศนะ และที่มีน้ำหนักที่สุด แท้จริง มันไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีหลักฐาน ,เพราะนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่กระทำมัน แก่บรรดาผู้ตายของท่าน จากบรรดามุสลิม เช่น บรรดาบุตรสาวของท่าน ที่เสียชีวิต ในขณะที่ท่าน มีชีวิตอยู่ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ(ร.ฎ)ไม่ได้ทำมัน ตามที่เรารู้มา ดังนั้น ที่ดีที่สุด แก่ผู้ศรัทธา ให้ทิ้งดังกล่าวนั้น และเขาจะไม่อ่านให้แก่ผู้ตาย และไม่อ่านให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และไม่ละหมาด(อุทิศบุญ)ให้แก่พวกเขา และ เช่นเดียวกันนี้ การอาสาถือศีลอดแทนพวกเขา เพราะดังกล่าวนั้น ทั้งหมด ไม่มีหลักฐาน บนมัน และหลักการ/รากฐาน ในเรื่องอิบาดาตนั้น หยุดอยู่ที่คำสั่งใช้ (อัตตเตากีฟ) ยกเว้น สิ่งที่ปรากฏยืนยันจากอัลลอฮ(ซ.บ)หรือ จากรอซูลของพระองค์ ได้บัญญัติมัน สำหรับการทำทาน(เศาะดะเกาะฮ) นั้น คนเป็นและคนตายได้ประโยชน์ด้วยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิม และในทำนองเดียวกันนี้ การดุอา คนเป็นและคนตายได้ประโยชน์ด้วยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิมเช่นกัน..
ดู มัจญมัวะฟะตาวาวะมะกอลาตเช็คบินบาซ เล่ม 4 หน้า 348
สรุปจากฟัตวา
หนึ่ง - ทัศนะเกี่ยวกับการอ่านกุรอ่านอุทิศบุญให้ผู้ตาย มี 2 ทัศนะ และทัศนะที่มีน้ำหนัก คือ ไม่ถึงผู้ตาย
สอง เหตุผลที่บอกว่าไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีหลักฐานจากแบบอย่างนบี ศอ็ลฯ และเศาะหาบะฮ
สาม การทำทาน,การดุอา และอื่นๆที่มีหลักฐาน นั้นมีประโยชน์ต่อคนเป็นและคนตาย
ทั้งหมดนี้ ผมไม่ได้ตั้งตนเป็นมุจญตะฮีด แต่เพราะไม่มีหลักฐาน ไม่เช่นนั้นใครๆก็อ้างได้ว่าถึงผู้ตาย ต่อไปก็จะบอกว่าละหมาดตะรอเวียะก็ถึงผู้ตาย มีอะไรติดตามมามากมาย จนแยกไม่ออกว่าอะไรคือสุนนะฮ อะไรคือความเห็น _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|
|
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้ คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
Powered by phpBB
ฉ 2001, 2002 phpBB Group
|