ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เสวนาเรื่องมัซฮับ ของอะสัน หมัดอะดั้ม(บอร์ดมุสลิมไทยในอดีค)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เสวนาเรื่องมัซฮับ ของอะสัน หมัดอะดั้ม(บอร์ดมุสลิมไทยในอดีค)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 9:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเปรียบเทียบเหลือแดงของผม เป็นการชี้ให้เห็นภาพทุกสังคมที่ไม่รับฟังผู้อื่น เอาแต่คลั่งไคล้ทัศนะตนเอง ก็เพียงเท่านั้น ไม่ใช่เล่นนอกเกม
............. สังคมมุสลิมก็เช่นกัน หากเป็นเรื่องศาสนา แล้วไม่ยึดถือ อัลกุรอาน อัลหะดีษ และชาวสะลัฟอย่างแท้จริง ก็จะเกิดปัญหาแน่นอน ผมเชื่อมั่นว่า ผู้อ่านเขาจะเข้าใจในส่ิงที่เราสองคนเขียนชัดเจน ผมไม่เดาใจผู้อ่านหรอกว่า คิดอย่างไรกับข้อเขียนของเราทั้งสอง แม้คุณจะพยายามชี้นำว่า ข้อเขียนของผม นอกกรอบ ไม่มีหลักการ หรือเล่นนอกเกม ผมกลัวเพียงอย่างเดียวคือ กลัวว่าคุณกำลังจะพยายามตัดข้อความของผม เพราะตัวคุณเริ่มกลัวความจริง กำลังจะหนีความจริง แม้ว่าลึกๆแล้ว ผมยังมีความเชื่อมั่นว่า คุณคงไม่ทำ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 9:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประหนึ่งว่าตัวผมถูกคุณอะสันตัดสินว่า ไม่ใช้หลักวิชาการ ใช้อารมณ์ ใช้ทัศนะส่วนตัว ใช้อคติ
............ สิ่งผมหยิบยกมา คือแนวทางของชาวสะลัฟซอและห์ ผมจึงกล้าท้าสาบาน แต่คุณอะสันไม่กล้า
............ คุณอะสันถามผมเสมอว่า ให้เอาคำพูดของชาวสะลัฟซอและห์มารับรองสิ่งที่ผมชี้แจง ทั้งที่มันคือสิ่งที่ชาวสะลัฟเองเป็นผู้วางรูปเอาไว้ และคุณอะสันเองไม่เคยกล่าวคำพูดของชาวสะลัฟเลย และยังโต้แย้งหลักการของสะลัฟ โดยหยิบเอาคำพูดของนักวิชาการยุคหลังๆยุคเดียวกับพวกเรานี้มาโต้แย้ง ซึ่งอะสันก็รู้ดีว่า นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับคุณมีมากเพียงใด ผมจึงถามว่า แบบอย่างใดที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน ระหว่างชาวสะลัฟ กับนักวิชาการยุคหลัง
............ คุณอะสัน เหมือนไม่ยอมรับหลักการนั้น โดยพยายามบอกว่า ตนเองอธิบายหะดีษตามที่มา ทั้งที่การอธิบายหะดีษตามที่มานั้น จะต้องไม่ทำให้ความหมายเดิมของมันเปลี่ยนไป ตามกฎที่ชาวสะลัฟกล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่ว่า العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب "ส่ิงที่ใช้พิจารณาคือ การกินความกว้างๆของรูปคำ โดยไม่พิจารณาที่การเจาะจงของสาเหตุที่มา"
............ คุณอะสันนำเอาหลักการที่ชาวสะลัฟถือว่า อ่อนแอมานำเสนอ นั่นคือ ................ إذا ترك الرسول شيئا وجب علينا متابعته فيه คำกล่าวที่คุณหยิบยกมานี้ มีความหมายว่า "เมื่อท่านร่อซู้ลละเว้นสิ่งหนึ่งส่ิงใด เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระองค์" คำกล่าวนี้ไม่ใช่หลักวิชาการที่ชาวสะลัฟให้การเชื่อถือ เพราะท่านนบีไม่กิน ไม่ดื่มหลายสิ่งขณะละศีลอด ไม่สวมใส่อาภรณ์หลายชนิด ไม่ละหมาดในบางเวลาที่พระองค์ไม่เคยละหมาดในช่วงนั้น ไม่เคยอ่านอัลกุรอานในบางเวลา ไม่เคยพูดหลายๆคำพูด ไม่เคยถือศีลอดในบางวันของบางเดือน ทั้งที่ส่ิงเหล่านั้นบางข้อเป็นซุนนะฮ์ตามคำสั่งกว้างๆ และไม่มีชาวสะลัฟคนใดกล้าตัดสินสิ่งเหล่านั้นว่า บิดอะฮ์ ตามหลักที่คุณกล่าวอ้างเลย ผมบอกคุณแล้วว่า ผมมีระเบียบ มันจะได้ไม่เลอะเทอะ ให้ตามท่านนบีซ.ล. ไม่ให้ตามนักวิชาการ ให้ดำเนินตามชาวสะลัฟ เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ดีที่สุด ผมรักษาระเบียบนี้ และมีคำอธิบายตามจุดนี้ทุกครั้ง
............ คุณอะสันพยายามจะบอกคนอื่นว่า สิ่งที่ตนตอบเป็นซุนนะฮ์ แต่ไม่เคยหยิบยกซุนนะฮ์ที่ชัดเจนมาโต้แย้ง จะมีก็เพียงทัศนะนาย ก. นาย ข. แล้วมาบอกผมว่า ไม่เอานักวิชาการหรือ มีอคติกับพวกเขาหรือ ผมเอานักวิชาการแน่นอนไม่ว่าท่านนั้นเป็นใคร หากสิ่งที่เขาตอบมีหลักฐานที่ชัดเจนตรงประเด็น มีหลักการที่ถูกยอมรับโดยชาวสะลัฟ แล้วตัวคุณหล่ะ เอานักวิชาการหรือปล่าว
............. ผมคงต้องก๊อปปี้กระทู้ที่เราเสวนากันนี้ไว้ เพื่อมันจะเป็นหลักฐานได้ต่อไปในอนาคต ว่าเราทั้งสองเขียนอะไรไว้บ้าง
............. คำชี้แจงเหล่านี้ รอคำตอบอยู่เสมอ และผมว่าผู้อ่านหลายท่านก็คงคอยอยู่ด้วยเช่นกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 12:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
การเปรียบเทียบเหลือแดงของผม เป็นการชี้ให้เห็นภาพทุกสังคมที่ไม่รับฟังผู้อื่น เอาแต่คลั่งไคล้ทัศนะตนเอง ก็เพียงเท่านั้น ไม่ใช่เล่นนอกเกม
............. สังคมมุสลิมก็เช่นกัน หากเป็นเรื่องศาสนา แล้วไม่ยึดถือ อัลกุรอาน อัลหะดีษ และชาวสะลัฟอย่างแท้จริง ก็จะเกิดปัญหาแน่นอน ผมเชื่อมั่นว่า ผู้อ่านเขาจะเข้าใจในส่ิงที่เราสองคนเขียนชัดเจน ผมไม่เดาใจผู้อ่านหรอกว่า คิดอย่างไรกับข้อเขียนของเราทั้งสอง แม้คุณจะพยายามชี้นำว่า ข้อเขียนของผม นอกกรอบ ไม่มีหลักการ หรือเล่นนอกเกม ผมกลัวเพียงอย่างเดียวคือ กลัวว่าคุณกำลังจะพยายามตัดข้อความของผม เพราะตัวคุณเริ่มกลัวความจริง กำลังจะหนีความจริง แม้ว่าลึกๆแล้ว ผมยังมีความเชื่อมั่นว่า คุณคงไม่ทำ


ว่า แต่เขา อิเหนาเป็นเอง คุณกล่าวหาว่า คนอื่นคลั่งใคล้ทัศนะ ไม่รับฟังผู้อื่น ก็คุณนั้นแหละมีทิฐิ ถื่อความเห็นตัวเองเป็นหลัก ไม่ยอมพิจารณาทัศนะอุลามาอฺว่าเขามีหลักการพิจรณาหลักฐานอย่างไร อุลามาอฺยุคก่อน กับ ยุคหลัง ใครมาการันตีว่า ยุคใหนมีความรู้มากกว่า กัน
การศึกษาพัฒนาขึ้น การเรียนรู้ง่ายขึ้น คนยุคหลังบางคนอาจจะมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าคนยุคก่อนก็ได้ ตรงนี้คุณยังมีความคิดล้าหลังมาก คุณบอกว่าผมตัดต่อ ผมยีงคงมีข้อความคุณอยู่ในกระทู้ เวลาผมตอบ ผมจะตอบจุดสำคัญ ผมจึงตัดมาส่วนนั้น เพราะข้อเขียนคุณมันวกไปเวียนมา คิดอะไร พิมพ์ไปเรื่อย เหมือนคนขี้บ่นมากกว่า ที่จะเป็นข้อเขียนทางวิชาการ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jul 17, 2012 12:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องละหมาดฮายะฮ


มีผู้อ้างหลักฐาน เรื่องละหมาด ฮายะฮ ดังนี้

1.พวกเขาอ้างว่า การละหมาดดังกล่าว ย่อมอยู่ภายใต้คำตรัสของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา ความว่า

واستعينوا بالصبر والصلاة

"พวกเจ้าจงขอความช่วยเหลือด้วยความอดทนและการละหมาด" อัลบะกอเราะฮ์ 45

อิบนุญะรีร อธิบายว่า

الْقَوْل فِي تَأْوِيل قَوْله تَعَالَى : { وَاسْتَعِينُوا بِالصَّبْرِ وَالصَّلَاة } قَالَ أَبُو جَعْفَر : يَعْنِي بِقَوْلِهِ جَلَّ ثَنَاؤُهُ : { وَاسْتَعِينُوا بِالصَّبْرِ } : اسْتَعِينُوا عَلَى الْوَفَاء بِعَهْدِي الَّذِي عَاهَدْتُمُونِي فِي كِتَابكُمْ - مِنْ طَاعَتِي وَاتِّبَاع أَمْرِي , وَتَرْك مَا تَهْوُونَهُ مِنْ الرِّيَاسَة وَحُبّ الدُّنْيَا إلَى مَا تَكْرَهُونَهُ مِنْ التَّسْلِيم لِأَمْرِي , وَاتِّبَاع رَسُولِي مُحَمَّد صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - بِالصَّبْرِ عَلَيْهِ وَالصَّلَاة

คำพูด ในการอธิบายคำดำรัสของอัลลอฮ ตะอาลาที่ว่า( พวกเจ้าจงขอความช่วยเหลือด้วยความอดทนและการละหมาด" )อบูยะอฺฟัร กล่าวว่า"ความหมายของคำดำรัสของพระองค์ผู้ซึ่งการสรรเสริญของพระองค์ สูงส่งยิ่ง ทีว่า(พวกเจ้าจงขอความช่วยเหลือด้วยความอดทน) คือ พวกเจ้าจงขอความช่วยเหลือ โดยการปฏิบัติตามสัญญาข้องข้า ที่ข้าได้เอาคำมั่นสัญญากับพวกเจ้าในคัมภีร์ของข้า จากการที่ให้ภักดีต่อข้า ,ปฏิบัติตามคำบัญชาของข้า,ละทิ้งสิ่งที่พวกเจ้าปรารถนา จากการมีอำนาจ และรักในดุนยา ที่นำไปสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ารังเกียจ การยอมรับในคำบัญชาของข้า และปฏิบัติตามรอซูลของข้า,มุหัมหมัด ด้วยความอดทนบนนั้นและด้วยการละหมาด
........

ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ ไม่ทราบว่าตรงใหนที่บอกถึงบัญญัติการละหมาดหายะฮ เพราะการทำอิบาดะฮที่มีบัญญัติไว้แล้ว เช่น การละหมาดฟัรดู ,การละหมาดสุนัต และอื่นจากนั้น ด้วยความอดทน ก็มีผลได้รับการช่วยเหลือจากอัลลอฮเช่นกัน

อิหม่ามอัลบัฆวีย์ อธิบายว่า

{ وَٱسْتَعِينُواْ } على ما يستقبلكم من أنواع البلاء وقيل: على طلب الآخرة { بِٱلصَّبْرِ وَٱلصَّلَوٰةِ } أراد حبس النفس عن المعاصي. وقيل: أراد: الصبر على أداء الفرائض، وقال مجاهد: الصبر الصوم، ومنه سمي شهر رمضان شهر الصبر، وذلك لأن الصوم يزهده في الدنيا, والصلاة ترغبه في الآخرة، وقيل: الواو بمعنى على، أي: واستعينوا بالصبر على الصلاة، كما قال الله تعالىٰ:
{ وَأْمُرْ أَهْلَكَ بالصَّلاةِ واصْطَبِرْ عَلَيْهَا }

(และพวกเจ้าจงขอความช่วยเหลือ) บนสิ่งที่เผชิญกับพวกเจ้า จากประเภทของบาลาอฺ(การทดสอบ)ต่างๆ และมีผู้กล่าวว่า "บนการแสวงหาโลกหน้า (ด้วยความอดทนและละหมาด) หมายถึง ให้ยับยั้งตนเองจากการกระทำการฝ่าฝืนต่างๆ และมีผู้กล่าวว่า " หมายถึง อดทนต่อการปฏิบัติในบรรดาสิ่งที่เป็นฟัรดู(ข้อบังคับต่างๆของศาสนา) และ มุญาฮิด กล่าวว่า " คำว่า "อดทน"หมายถึง การถือศีลอด และส่วนหนึ่งจากนั้น คือ เดือนเราะมะฏอน ถูกเรียกว่า "เดือนแห่งความอดทน" และดังกล่าวนั้น เพราะ การถือศีลอด ทำให้เขา มีความมักน้อย(ไม่ละโมบ)ในดุนยา และการละหมาดนั้น ทำให้เขาชอบในวันอาคีเราะฮ และมีบางคนกล่าวว่า "วาว" มีความหมายว่า "อะลา"หมายถึง พวกเจ้าจงขอความช่วยเหลือ ด้วยความอดทน บนการปฏิบัติละหมาด ดังที่อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งตรัสว่า (จงใช้ให้ครอบครัวของเจ้าละหมาด และจงอดทนอยู่บนมัน(การละหมาด) - ดู ตัฟสีรอัลบัฆวีย อธิบายอายะฮที่ 45 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ


2. ท่าน อิบนุ อัศซินดีย์ ได้ไว้ในหนังสือ ชัรห์ สุนัน อิบนุมาญะฮ์ ว่า ท่านอิบนุมาญะฮ์ ได้กล่าวรายงานหะดิษ ไว้ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง "การละหมาดฮายัต" ความว่า

‏حدثنا ‏ ‏أحمد بن منصور بن سيار ‏ ‏حدثنا ‏ ‏عثمان بن عمر ‏ ‏حدثنا ‏ ‏شعبة ‏ ‏عن ‏ ‏أبي جعفر المدني ‏ ‏عن ‏ ‏عمارة بن خزيمة بن ثابت ‏ ‏عن ‏ ‏عثمان بن حنيف ‏
‏أن رجلا ضرير البصر أتى النبي ‏ ‏صلى الله عليه وسلم ‏ ‏فقال ادع الله لي أن يعافيني فقال إن شئت أخرت لك وهو خير وإن شئت دعوت فقال ‏ ‏ادعه ‏ ‏فأمره أن يتوضأ فيحسن وضوءه ويصلي ركعتين ويدعو بهذا الدعاء اللهم إني أسألك وأتوجه إليك ‏ ‏بمحمد ‏ ‏نبي الرحمة يا ‏ ‏محمد ‏ ‏إني قد توجهت بك إلى ربي في حاجتي هذه ‏ ‏لتقضى اللهم شفعه في ‏
‏قال ‏ ‏أبو إسحق ‏ ‏هذا ‏ ‏حديث صحيح
"รายงานจากท่าน อุษมาน บิน หุนัยฟ์ ว่า แท้จริง มีผู้ชายตาบอดคนหนึ่ง ได้มาหาท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า ท่านจงขอต่ออัลเลาะฮ์ให้แก่ฉันให้พระองค์ทำให้ฉันหายด้วยเถิด ดังนั้น ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า หากท่านต้องการ ฉันก็จะประวิงเวลาให้แก่ท่าน(ให้อดทนสำหรับโลกหน้า) ซึ่งมันย่อมเป็นสิ่งที่ดี และหากท่านต้องการ ก็ให้ท่านทำการขอดุอาอ์ แล้วท่านนบีกล่าวว่า ท่านจงขอต่ออัลเลาะฮ์เถิด แล้วท่านนบีก็ได้ใช้ให้เขาทำการอาบน้ำละหมาด และให้เขาทำการอาบน้ำละหมาดให้ดีเยี่ยม และให้เขาทำการละหมาดสองร่อกะอัต และใช้ให้เขาก็ทำการขอด้วยดุอาอ์นี้ คือ โอ้ อัลเลาะฮ์ แท้จริงข้าพเจ้าวอนขอต่อพระองค์และข้าพเจ้ามุ่งปรารถนาไปยังพระองค์ ด้วยกับมุฮัมมัด นบีแห่งความเมตตา โอ้ มุฮัมมัด แท้จริงข้าพเจ้าขอมุ่งปรารถนาด้วยกับท่านไปยังผู้อภิบาลของข้าพเจ้า ในเรื่องความต้องการของข้าพเจ้านี้ เพื่อให้พระองค์ทรงปลดเปลื้องให้(แก่ฉัน) โอ้ อัลเลาะฮ์ โปรดตอบรับการให้ความช่วยของกับเขา ที่เกี่ยวกับข้าพเจ้าด้วยเถิด" ท่านอบูอิสหาก กล่าวว่า "หะดิษนี้ เป็นหะดิษซอฮิหฺ" ดู หนังสือ ชัรห์ สุนัน อิบนุมาญะฮ์ หะดิษที่ 1375 บทละหมาดฮายัต ของท่านอิบนุอัศซินดีย์

.................

หะดิษข้างต้น ไม่เกี่ยวกับละหมาดหาญัต เพราะไม่ได้ระบุเกียวกับละหมาดญัตโดยเฉพาะ
แต่เป็นหะดิษที่บอกว่ามีชายตาบอดคนหนึ่ง ไปหาท่านนบี เพื่อให้ท่านนบีขอดุอาให้

ท่านอิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

وهذا الحديث ذكره العلماءُ في معجزات النبي ودعائه المستجاب ، وما أظهر الله ببركة دعائه من الخوارق والإبراء من العاهات، فإنه ببركة دعائه لهذا الأعمى أعاد الله عليه بصره
และหะดิษนี้ บรรดานักวิชาการ ได้ระบุมันในเรื่องมุอฺญีซาต ของท่านนบี ,ในเรื่องบรรดาดุอาของท่านที่ถูกตอบรับ และ สิ่งที่อัลลอฮได้ทรงแสดงให้เห็นถึงบะเราะกะฮของดุอาของท่านนบี จากความมหัศจรรย์ต่างๆที่ผิดธรรมชาติ และการทำให้โรคต่างๆ หาย เพราะเหตุนี้ ชายตาบอดคนนั้น ต้องการให้อัลลอฮ ทำให้การมองเห็นของเขากลับคืนมาดั่งเดิม - ดู กออิดะฮ ญะลีละฮ ฟีตตะวัสซุล วัลวะซีละฮ หน้า201
การที่ท่านนบี ใช้ให้ชายผู้นั้นเอาน้ำละหมาด และให้ละหมาดสองรอกาอัต ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าละหมาดอะไร ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจจะหมายถึงละหมาดสุนัตวุดุ หรือ สุนัตโดยทั่วไปก็ได้ เพราะปกติแล้วนักวิชาการที่อ้างรูปแบบการละหมาดหาญัตที่เฉพาะนั้น จะอ้างหะดิษอื่น ซึ่งเป็นหะดิษเฏาะอีฟ เช่น

عن عبدالله بن أبي أوفى أنَّ رسول الله صلى الله عليه وسلم قال:
"من كانت له إلى الله حاجةٌ أو إلى أحد من بني آدم فليتوضأ فليحسن الوضوء ثم ليصلِّ ركعتين ثم ليُثنِ على الله وليصلِّ على النبيِّ ثم ليقل: لا إله إلا الله الحليم الكريم؛ سبحان الله رب العرش العظيم؛ الحمد لله رب العالمين، أسألك موجبات رحمتك وعزائم مغفرتك والغنيمة من كل بر والسلامة من كل إثم، لا تدع لي ذنباً إلا غفرته ولا هماً إلا فرجته ولا حاجةً هي لك رضاً إلا قضيتها يا أرحم الراحمين

เล่าจากอับดิ้ลลาห์ บุตรอบีเอาฟา (ร.ด.) จากท่านนบี ได้กล่าวว่า : ผู้ใดมีความจำเป็นประการใดประการหนึ่งต่ออัลลอฮฺ หรือมนุษย์คนหนึ่งคนใด ให้เขาจงอาบน้ำละหมาดแล้วให้อาบน้ำละหมาดอย่างดี ต่อจากนั้นให้ละหมาดสองร่อกะอัต หลังจากนั้นให้กล่าวคำสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ และให้เขาจงขอพรให้แก่ท่านนบี (ซล.) จากนั้นให้เขาจงกล่าว (มีใจความว่า) : ไม่มีพระเจ้าที่เคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงขันติ ผู้ทรงใจบุญ มหาบริสุทธิ์แด่องค์อัลลอฮฺ เจ้าของบัลลลังก์อันยิ่งใหญ่ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺผู้อภิบาลสากลโลก ข้าพเจ้าขอต่อพระองค์ท่านให้ตรงตามความเมตตาของพระองค์ท่าน และให้ตรงกับการให้อภัยของพระองค์ท่านอย่างจริงจัง และขอให้ได้รับความดีทุก ๆ ประการ และขอให้ได้รับความปลอดภัยจากบาปทุกชนิด ขอพระองค์ท่านได้โปรดอย่าปล่อยให้ข้าพเจ้ามีบาปนอกจากพระองค์ท่านต้องอภัยให้ และอย่าปล่อยให้ข้าพเจ้ามีความมัวหมอง นอกจากพระองค์ท่านจะต้องช่วยให้หลุดพ้น และอย่าปล่อยให้ข้าพเจ้ามีความจำเป็นประการใด ๆ นอกจากพระองค์ท่านจะต้องจัดการให้แล้วเสร็จ โอ้ผู้ที่มีความเมตตายิ่งแห่งบรรดาผู้ที่มีความเมตตาทั้งหลาย // รายงานโดยติรมีซี และอิบนุมายะห์
............

หะดิษข้างต้น มีคำวิจารณ์ว่า

وهذا الحديث ضعيفٌ جداً، لأن مداره على فـائد، وهو متهمٌ متروكُ الحديث،

และหะดิษนี้ เฎาะอีฟอย่างมาก เพราะตัวของหะดิษไปเกี่ยวข้องกับคนรายงานที่ชื่อว่า "ฟาอิด" โดยที่เขาถูกกล่าวหา ว่า หะดิษที่เขารายงานนั้นถูกทิ้ง (หรือถูกเมินในการนำมาอ้างอิง) - ดู อัลญัรหุวัตตะอฺดีล 7/84

وقال الحاكم: "روى عن ابن أبي أوفى أحاديث موضوعة

และอัลหากิม กล่าวว่า "มีผู้รายงานบรรดาหะดิษปลอมจากอิบนิอบีเอาฟา "
ดู อัตตะฮซีบ 8/256 และ อัลมีซาน 3/339

อัลบานีย์กล่าวว่า

حديث ضعيف جدّاً

หะดิษเฎาะอีฟมาก - ดู เฎาะอีฟตัรฆีบ หะดิษหมายเลข 416

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jul 27, 2012 4:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิจารณ์เกี่ยวกับหะดิษการซิกิรเป็นหมู่คณะ


คำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ที่รายงานโดยท่าน อัดดาริมีย์

أخبرنا الحكمُ بنُ المبارَكِ أنا عمرُو بنُ يحيى ،، قال: سمعتُ أبي يحدِّثُ عن أبيه قال: كنا نجلِسُ على بابِ عبدِ اللَّهِ بنِ مسعودٍ قبلَ صلاةِ الغداةِ، فإذا خرَجَ مشَيْنا معه إلى المسجِدِ، فجاءنا أبو موسى الأشعريُّ فقال: اخرَجَ إليكُمْ أبو عبدِالرحمنِ بَعْدُ، قلنا: لا فجَلَسَ معنا حتى خَرَجَ فلما خَرَجَ قُمْنا إليهِ جميعاً، فقال له أبو موسى: يا أبا عبدِالرحمنِ أني رأيتُ في المسجِدِ آنِفَاً أمْراً أنكَرْتُهُ ولم أرَ والحمْدُ لله إلاَّ خيراً، قالَ: فما هو فقال: إنْ عِشْتَ فَسَتَرَاهُ قال: رأيتُ في المسجِدِ قَوْماً حَلَقاً جُلُوساً ينتظرونَ الصلاةَ في كل حلْقَةٍ رجلٌ وفي أيديهم حَصَا، فيقول: كِبِّرُوا مِائةً فيُكَبِّرونَ مِائةً فيقول: هلِّلُوا مِائةً فيُهَلِّلُونَ مِائةً ويقولُ: سَبِّحُوا مِائةً فَيُسَبِّحُونَ مِائةً قال: فماذا قُلْتَ لهم قالَ: ما قُلْتُ لهُمْ شيئاً انتظارَ رأيِكَ أو انتظارَ أمْرِكَ قال: أفلا أمرْتَهُمْ أن يعُدُّوا سيِّئاتِهِمْ وضمِنْتَ لَهُمْ أنْ لا يضيعَ من حَسَنَاتِهِمْ، ثم مضى ومضينا معه حتى أتى حلْقةً من تلك الحِلَقِ فوقَفَ عليهِمْ، فقالَ: ما هذا الذي أراكُمْ تصنعونَ قالوا: يا أبا عبدِاللَّهِ حصا نعُدُّ به التكبيرَ والتهليلَ والتسبيحَ قال: فعُدُّوا سيِّئاتِكُمْ فأنا ضامنٌ أن لا يضيعَ من حسناتِكُمْ شيءٌ، ويْحَكُمْ يا أُمَّةَ محمَّدٍ ما أسرَعَ هَلَكَتكُمْ هؤلاءِ صَحابَةُ نبيِّكُمْ صلى الله عليه وسلّم متوافِرُونَ وهذِهِ ثيابُهُ لم تَبْلَ وآنِيَتُهُ لم تُكْسَرْ، والذي نفسي بيدِهِ إنكم لعلى مِلَّةٍ هي أهدى مِنْ ملَّة محمدٍ، أو مُفْتَتِحُوا بابِ ضلالَةٍ قالوا: واللَّهِ يا أبا عبدِالرحمنِ ما أرَدْنا إلاَّ الخيرَ، قالَ وكَمْ مِنْ مُرِيدٍ للخيرِ لنْ يُصِيبَهُ، إنَّ رسولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلّم حَدَّثَنَا أنَّ قوماً يقرؤُونَ القُرْآنَ لا يجاوِزُ تراقِيَهُمْ، وَآيْمُ اللَّهِ ما أدري لعلَّ أكثَرَهُمْ مِنْكُمْ، ثم تَوَلَّى عنهم فقال عمرُو بنُ سَلَمَةَ: رأينا عامَّةَ أولئك الحِلَقِ يطاعنُونَا يومَ النَّهْرَوَانِ مع الخوارِجِ

ได้บอกเล่ากับเรา โดย อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ได้เล่าแก่เรา โดย อัมรฺ บิน ยะหฺยา เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน บิดาของฉันเล่าจากปู่ของฉัน ซึ่งปู่ของฉันกล่าวว่า "เราได้นั่งอยู่ที่ประตูของท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ มัสอูด ในช่วงก่อนเวลาละหมาดซุบหฺ ดังนั้น เมื่อท่านอิบนุมัสอูดได้ออกมา พวกเราก็เดินไปยังมัสยิดพร้อมกับเขา แล้วท่านอบูมูซา อัลอัชอะรีย์ได้เข้ามาหาเราและกล่าวว่า อบูอับดุรเราะห์มานได้เคยออกมาหาพวกท่านบ้างใหม? พวกเรากล่าวว่า "ไม่" แล้วท่านอบูมูซาอัลอัชอะรีย์ก็นั่งพร้อมกับพวกเราจนกระทั้ง อบูอับดุรเราะหฺมานได้ออกมา ดังนั้น เมื่อท่านอับดุรเราะหฺมานได้ออกมา เราทั้งหมดจึงยืนให้เกียรติแก่เขา ท่านอบูมูซาจึงกล่าวแก่เขาว่า เมื่อครู่นี้ ฉันได้เห็นสิ่งหนึ่งในมัสยิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันตำหนิมันและไม่เคยเห็นมันมาก่อน - อัลหัมดุลิลลาห์ - นอกจากความดีงาม อบูอับดุรเราะหฺมานกล่าวว่า มันคืออะไรหรือ? อบูมูซากล่าวว่า ในมัสยิดนั้น ฉันเห็นกลุ่มหนึ่ง ได้นั่งล้อมกันเป็นวงเพื่อรอการละหมาด ในทุก ๆ วงนั้น จะมีชายคนหนึ่งซึ่งในมือของพวกเขาจะมีลูกหินอยู่ด้วย แล้วเขาก็กล่าวว่า พวกท่านจงกล่าวตักบีรหนึ่งร้อยครั้ง แล้วพวกเขาก็ทำการตักบีรหนึ่งร้อยครั้ง และเขาก็กล่าวอีกว่า พวกท่านจงกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์หนึ่งร้อยครั้ง แล้วพวกเขาก็กล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์หนึ่งร้อยครั้ง และเขาก็กล่าวว่า พวกท่านจงกล่าวตัสบีหฺหนึ่งร้อยครั้ง แล้วพวกเขาก็ทำการกล่าวตัสบีหฺหนึ่งร้อยครั้ง อบูอับดุรเราะหฺมานกล่าวกับท่านอบูมูซาว่า แล้วท่านจะว่าอย่างไรกับพวกเขาล่ะ อบูมูซากล่าวว่า ฉันไม่ได้กล่าวว่าอะไรกับพวกเขาเลย เพราะว่าเพื่อจะรอความเห็นของท่านหรือรอคำสั่งของท่าน อบูมูซากล่าวว่า แล้วท่านไม่ได้ใช้ให้พวกเขาทำการนับบรรดาความผิดของพวกเขาและท่านก็จะประกันแก่พวกเขาว่าอัลเลาะฮ์จะไม่ทำให้บรรดาความดีสูญเปล่าดอกหรือ? , หลังจากนั้น อบูอับดุรเราะหฺมานได้เดินต่อไป แล้วเราก็เดินไปพร้อม ๆ กัน จนกระทั้งเขาเดินไปถึงวงหนึ่ง จากบรรดาวงต่าง ๆ เหล่านั้น แล้วอบูอับดุรเราะหฺมานได้หยุดอยู่ที่พวกเขา แล้วกล่าวว่า ฉันกำลังเห็นพวกท่านกำลังทำอะไรกันอยู่หรือ? พวกเขากล่าวว่า โอ้อบูอับดุลลอฮ์ มันเป็นลูกหินที่พวกเราใช้นับตักบีร ตะฮฺลีล และตัสบีหฺ ท่านอบูอับดุลลอฮ์กล่าวว่า ดังนั้นพวกท่านจงนับบรรดาความผิดของพวกท่านเถิด แล้วฉันจะเป็นผู้ประกันว่า จะไม่มีสิ่งใดจากบรรดาความดีของพวกท่านสูญเปล่าเลย , อนิจจาพวกท่านเอ๋ย โอ้ประชาชาติของมุหัมมัด ทำไมความวิบัติของพวกท่านถึงได้เร็วจริงๆ , พวกเขาเหล่านั้นคือซอฮาบะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่สมบูรณ์พร้อม และนี้ก็คืออาภรณ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่ยังไม่เก่าเลย และภาชนะของท่านที่ยังไม่แตกเลย และขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในอำนาจของพระองค์ พวกท่านอยู่บนแนวทางที่มีทางนำมากกว่าแนวทางของนบีมุหัมมัดกระนั้นหรือ? หรือว่าพวกท่านได้เปิดประตูแห่งความลุ่มหลง , พวกเขากล่าวว่า โอ้ ท่านอบูอับดุรเราะหฺมาน เราไม่ได้ต้องการอะไรนอกจากความดีเท่านั้น ท่านอบูอับดุรเราะฮ์มานกล่าวว่า และเท่าไหร่แล้ว จากผู้ที่ปราถนาความดี โดยที่เขาทำไม่ถูกต้องกับมันเลย , แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เล่ากับเราว่า แท้จริงจะมีกลุ่มหนึ่งได้อ่านอัลกุรอานโดยที่อัลกุรอานนั้นไม่ผ่านถึงกระเดือกพวกเขาเลย และขอสาบานว่า ฉันไม่เคยรู้เลย บางทีส่วนมากจากพวกเขานั้น มาจากพวกท่าน หลังจากนั้นท่านอบูอับดุรเราะหฺมานได้ผินหลังจากพวกเขาไป ดังนั้น ท่าน อัมร์ บิน สะละมะฮ์ กล่าวว่า เราได้เห็น บรรดาวงของพวกเขาทั่วไปเหล่านั้น ได้ทำการตำหนิกับพวกเรา ในเหตุการ(สงคราม) ของวัน อันนะฮ์วะรอน พร้อมกับพวกค่อวาริจ"

สายรายงาน อ้างถึงท่านอิบนุ มัสอูด นี้ ฏออีฟ เนื่องจากมีลักษณะ ที่บกพร่อง ดังนี้

1. الحكمُ بنُ المبارَكِ ( ท่าา อัล-หะรัม บิน อัล-มุบาร๊อก )

ท่าน อัซฺ-ซฺะฮะบีย์ กล่าววิจารณ์ว่า

الحكم بن المبارك الخاشي البلخي عن مالك ومحمد بن راشد المكحولي وعنه أبو محمد الدارمي وجماعة. وثقه ابن حبان وابن مندة. وأما ابن عدي فإنه لوّح في ترجمة أحمد بن عبد الرحمن الوهبي بأنه ممن يسرق الحديث، لكن ما أفرد له في الكامل ترجمة. وهو صدوق

" อัล-หะกัม บิน อัล-มุบาร๊อก อัล-คอชีย์ อัล-บัลคีย์ ได้รายงานจาก มาลิก และ มุหัมมัด บิน ร่อชิด อัลมักฮูลีย์ และได้รายงานจากเขา(หิกัม บิน อัลมุบาร๊อก) โดยท่าน อบู มุหัมมัด อัดดาริมีย์ และ กลุ่มหนึ่ง ท่านอิบนุหิบบาลและท่านอิบนุ มุนดะฮ์ ได้ให้ความ เชื่อถือ แก่เขา และส่วนท่านอิบนุ อะดีย์นั้น ท่านได้กล่าวเสริมไว้ใน ประวัติของ ท่านอะหฺมัด บิน อับดุรเราะหฺมาน อัลวะฮ์บีย์ ว่า แท้จริง ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อกนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่โขมยหะดิษ แต่ท่าน อิบนุ อะดีย์ ก็ไม่ได้ทำการกล่าวถึงท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ โดยที่เขาเองนั้น ก็เป็นผู้ที่พูดจริง " ดู หนังสือ มีซฺาน อัลเอี๊ยะอฺติดาล ฟี นักดิรริญาล เล่ม 2 หน้า 345

เราขอกล่าวว่า การขโมยหะดิษ นั้น หมายถึง ได้เอาหะดิษหนึ่งที่นักหะดิษบางคนได้ทำการรายงาน แล้วหะดิษนั้น ได้ทราบถึงนักรายงานคนนั้น แล้วเขาก็โขมยหะดิษ จากนักหะดิษบางคนที่รายงานมา แล้วเขาก็ทำการสวมรอยสายรายงานของนักหะดิษบางคน แล้วก็นำมาเป็นสายรายงานของตัวเขาเอง แล้วก็อ้างถึงท่านนบี(ซ.ล.) ดังนั้น นักรายงานที่ขโมยหะดิษ จึงอยู่ในหมวดผู้ที่ ถูกกล่าวหาจากนักหะดิษว่า เขานั้น โกหก หรือ กุหะดิษ ซึ่งเป็นการถูกกล่าวหาที่อันตราย

2. عمرُو بنُ يحيى อัมร์ บิน ยะหฺยา

ท่านอิบนุ อะดีย์ ได้ทำการกล่าววิจารณ์ว่า

عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة، حدثنا بن أبي عصمة ثنا أحمد بن أبي يحيى قال سمعت يحيى بن معين يقول عمرو بن يحيى بن سلمة ليس بشيء. حدثنا أحمد بن علي ثنا الليث بن عبدة قال سمعت يحيى بن معين يقول عمرو بن يحيى بن سلمة سمعت منه لم يكن يرضي. وعمرو هذا ليس له كثير رواية ولم يحضرني له شيء فأذكره

" อัมร์บินยะหฺยา บิน อัมร์บินสะละมะฮ์นั้น (ท่านอิบนุอะดีย์กล่าวว่า) ได้เล่าแก่เรา โดยท่านอะหฺมัดบินอบียะหฺยา เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า "อัมร์บินยะหฺยา นั้น ไม่มีสิ่งใด (ที่รายงาน คือรายงานน้อย) , ได้เล่าแก่เรา โดยท่านอะหฺมัด บิน อะลีย์ ได้บอกเล่าแก่เรา โดย อัลลัยษ์ บิน อะบะดะฮ์ เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน ท่านยะฮ์ยา บิน มะอีน กล่าวว่า อัมร์ บิน ยะหฺยา บิน สะละมะฮ์ นั้น ฉันได้ยินจาก(เรื่องของ)ของเขาว่า เขานั้น ไม่ได้รับความยินดีจากนักหะดิษ และอัมร์ บิน ยะหฺยานี้ ทำการรายงานไม่มาก และไม่มีสิ่งใดของเขารายงาน มาถึงฉันเลย" ดู หนังสือ อัล-กามิล ฟี ฏู่อะฟาอ์ อัรริญาล เล่ม 5 หน้า 122

ท่านอิบนุ หะญัร กล่าววิจารณ์ว่า

عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة قال يحيى بن معين ليس حديثه بشيء قد رأيته وذكره بن عدي مختصرا انتهى. وقال بن خراش ليس بمرضي. وقال بن عدي ليس له كبير شيء ولم يحضرني له شيء

" อัมร์ บิน ยะหฺยา บิน สะละมะฮ์นั้น ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า หะดิษของเขานั้น ไม่มีสิ่งใด ที่ฉันเห็น(รายงาน)มันเลย และอิบนุอะดีย์ ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเขาแบบสรุป . และอิบนุ คอ๊รรอช กล่าวว่า เขานั้นไม่เป็นที่น่าพอใจ และท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า เขานั้นไม่มีอะไรที่สำคัญ โดยที่ไม่มีสิ่งใดของเขา (รายงาน)มาที่ฉันเลย " ดู ลิซาน อัลมีซาน เล่ม 4 หน้า 378

ดังนั้น หลักฐานที่รายงานโดยท่าน อัดดาริมีย์นั้น เป็นหลักฐานที่มีสายรายงานที่ดีที่สุดของผู้คัดค้าน ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างว่า การซิกรุลเลาะฮ์ล้อมวงเป็นญะมาอะฮ์ เป็นบิดอะฮ์นั้น มันเป็นหลักฐานที่ฏออีฟ และขัดกับหะดิษที่ซอฮิหฺที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น และยังมีสายรายงานอื่นอีกที่รายงานจากท่านอิบนุมัสอูด ไม่ว่าจะเป็น การรายงานของ อิบนุ ฮาจญฺ หรือท่านอิบนุ นุอัยม์ แต่ทั้งหมด ก็มีสายรายงานที่ฏออีฟทั้งสิ้น และหากว่ามีหลายสายรายงานที่ฏออีฟด้วย นั่นย่อมเป็นการตอกย้ำถึงความฏออีฟของหะดิษอย่างไม่ต้องสงสัยตามหลักวิชาหะดิษ

MPW.SO

ผมขอสรุปประเด็นนะครับ (ถ้าท่านผู้อ่านคิดว่าไม่ถูกต้องอย่างไรกรุณาท้วงติงมาได้นะครับ) เพื่อหาข้อสรุปของประเด็นขัดแย้ง
1. จากคำตอบของคุณอัซฮารีผมคิดว่าทางฝ่ายคุณอาซันคงจะมองภาพออกแล้วว่าระหว่างทัศนะที่คุณอัซฮารีพยายามเสนอกับทัศนะของฝ่ายคุณอาซันมีส่วนสอดคล้องและส่วนต่างอย่างไรบ้าง โดยที่คุณอัซฮารีระบุว่า (โดยภาพรวมแล้วตามหะดีษที่ได้เสนอมา) ครอบคลุมทุกวิธีการล้อมวงซิกิรแบบญะมาอะฮฺโดยปราศจากข้อยกเว้น เพราะไม่มีหลักฐานมาระบุเจาะจง
2. ดังนั้น สิ่งที่น่าจะเป็นประเด็นวิจารย์ที่สุดน่าจะมาจากทัศนะของฝ่ายคุณอาซัน ว่าการล้อมวงซิกิรแบบญะมาอีย์แบบไหนบ้างที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง และค้านหรือไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมหรือสะลัฟรุ่นแรกเขาทำกัน เพื่อที่เราจะได้มองภาพส่วนเหมือนและส่วนต่างระหว่างทัศนะของคุณอัซฮารีที่ว่าอนุญาตได้ทุกรูปแบบ กับทัศนะของฝ่ายคุณอาซันที่ว่ามีวิธีการหรือรูปแบบของหะละเกาะฮฺซิกิร หรือซิกิรญะมาอีย์บางประเภทที่ไม่อนุญาตให้กระทำ
3. จับประเด็นหะละเกาะซิกิรแบบญะมาอีย์ที่นำเสนอโดยฝ่ายคุณอาซันมาหักล้างกันด้านหลักฐานระหว่างทั้งสองฝ่าย
4. หรือเปลี่ยนจากประเด็นปัญหาที่คุณอัซฮารีนำเสนอมาวิจารณ์ เฉพาะที่เกี่ยวกับหะดีษอิบนุมัสอูดอย่างเดียว วัลลอฮุอะลัม
ผมไม่ทราบว่าทางฝ่ายคุณอาซันจะเห็นด้วยไหมกับการนำเสนอของผม ณ ที่นี้ รวมทั้งคุณอัซฮารีด้วย

al-azhary

คุณMPW.SO ครับ

ประเด็นเรื่องซิกิรุลเลาะฮ์นี้ ผมได้จำกัดประเด็นไปแล้วเกี่ยวกับผู้คัดค้านได้อ้าง คำกล่าวของท่าน อิบนุมัสอูด(ร.ฏ.) นี่คือประเด็นที่ผมต้องการจะสนทนาก่อนเป็นอันดับแรก ผมจึงอยากจะทราบว่า การที่ฝ่ายค้านเขาอ้าง หลักฐานจากท่านอิบนุมัสอูดนั้น มันห้ามกันตรงใหน ซิกิรรูปแบบใด และสายรายงานถูกต้องหรือไม่อย่างไร? นี้คือประเด็นที่เราต้องผ่านไปก่อนนะครับ โปรดเข้าใจตามนี้ด้วยนะครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jul 27, 2012 4:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจาก: al-azhary ที่ 06 กันยายน 49 , 23:01
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็ยังยืนยันคำเดิมครับว่า

อ้างอิงจากไออาเอฟ
ทีนี้เราก็รอ บัง asan หรือ ท่านอื่นๆ ว่าจะมาชี้ว่าหะดีษนี้ ซอเฮี้ยะฮฺอย่างไร? ข้อผิดพลาดที่อัซฮารียกมานั้น อยู่ตรงไหน?

ตอบ
หากผมผิดพลาดตรงใหน? ก็ชี้แนะมาได้เลยครับ เนื่องจากบอกว่า ฏออีฟเพราะ

1. ขัดกับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.)
2. มีالحكمُ بنُ المبارَكِ ( ท่าา อัล-หะรัม บิน อัล-มุบาร๊อก )
3. มี عمرُو بنُ يحيى อัมร์ บิน ยะหฺยา

.............
ผู้ที่วิจารณ์ บุคคลทั้งสองท่านที่กล่าวมาคือ
อิบนุอะดีย์ และยะหยา บิน มุอีน แต่ไม่ได้อธิบายจุดบกพร่องของ อัล-หะกัมบิน อัล-มุบาร๊อก และ
อัมร์ บิน ยะหฺยา
ที่นี้ลองไปดูในหนังสือ อัลญัรหุ วัตตะอฺดีล ของท่านอิบนุอบีฮาติม อัรรอซีย์ เล่ม 6 หน้า 269 กลับปรากฏว่า
قال يحي بن معين : عمرو بن يحي بن سلمة ثقة
ท่านยะหยา บิน มุอีน กล่าวว่า ท่านอัมรฺ บิน ยะหยา เป็นผู้ที่เชื่อถือได้
และท่านอัลบานีย์ ได้กล่าวว่าหะดิษอิบนุมัสอูดังกล่าวเศาะเฮียะ ดูซิลฺสิละฮหะดิษเศาะเฮียะ เล่ม 5 หะดิษหมายเลข 2005

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

ผู้ที่วิจารณ์ บุคคลทั้งสองท่านที่กล่าวมาคือ อิบนุอะดีย์ และยะหยา บิน มุอีน แต่ไม่ได้อธิบายจุดบกพร่องของ อัล-หะกัมบิน อัล-มุบาร๊อก และอัมร์ บิน ยะหฺยาที่นี้ลองไปดูในหนังสือ อัลญัรหุ วัตตะอฺดีล ของท่านอิบนุอบีฮาติม อัรรอซีย์ เล่ม 6 หน้า 269 กลับปรากฏว่า

قال يحي بن معين whistling#1593;مرو بن يحي بن سلمة ثقة

ท่านยะหยา บิน มุอีน กล่าวว่า ท่านอัมรฺ บิน ยะหยา เป็นผู้ที่เชื่อถือได้

และท่านอัลบานีย์ ได้กล่าวว่าหะดิษอิบนุมัสอูดังกล่าวเศาะเฮียะ ดูซิลฺสิละฮหะดิษเศาะเฮียะ เล่ม 5 หะดิษหมายเลข 2005

วิจารณ์

บังอะสันพยายามยกคำวิจารณ์ของท่าน อิบนุ อบีหาติม โดยท่านคำวิจารณ์ของท่าน อิบนุหะติมนั้น ขัดแย้งกับนักวิจารณ์หะดิษท่านอื่นๆ หลายท่านด้วยกัน ข้อความส่วนหน้าจากที่บังอะสันอ้างอิงมามีดังนี้ครับ

عن إسحاق بن منصور عن يحيى بن معين انه قال عمرو بن يحيى بن سلمة ثقة

"จาก อิสหาก บิน มุนซูร จากท่านยะหฺยา บิน มะอีน เขากล่าวว่า อัมร์ บิน ยะหฺยา บิน สะละมะฮ์นั้น เชื่อถือได้"

จากตรงนี้เราจะทราบได้ คำกล่าวที่บอกว่าท่านอิบนุมะอีนได้การรับรองความน่าเชื่อถือของ อัมร์ บิน ยะหฺยา นั้น ได้ถูกรายงานคำพูดมาจาก อิสหาก บิน มันซูร ซึ่งเขาไม่ได้อยู่ในระดับขึ้นที่น่าเชื่อได้(ษิเกาะฮ์) ดังนั้น จึงถือว่าไร้น้ำหนักในการยืนคำวิจารณ์ของท่านยะฮ์ยา บิน มะอีน เนื่องจากขัดกับของนักวิจารณ์หะดิษท่านอื่นๆ ที่ยืนยันคำกล่าวของ ท่าน ยะหฺยา บิน มะอีน ว่า อัมร์ บิน ยะหฺยานั้น ฏออีฟ เช่น ท่านอะหฺมัด บิน อบี ยะหฺยา , ท่านลัยษ์ บิน อะบะดะฮ์ และ ท่านอิบนุอะดีย์

ท่านอิบนุ อะดีย์

ได้ทำการกล่าววิจารณ์ อัมร์ บิน ยะหฺยา ว่า

عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة

อัมร์ บิน ยะหฺยา บิน อัมร์ บิน สะละมะฮ์นั้น

، حدثنا بن أبي عصمة ثنا أحمد بن أبي يحيى قال سمعت يحيى بن معين يقول عمرو بن يحيى بن سلمة ليس بشيء.

ได้เล่าแก่เรา โดยท่าน อิบนุ อบี อิศมะฮ์ ได้เล่าเราทราบโดยอะหฺมัดบินอบียะหฺยา เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า "อัมร์บินยะหฺยา นั้น ไม่มีสิ่งใด (ที่รายงาน คือรายงานน้อย)

حدثنا أحمد بن علي ثنا الليث بن عبدة قال سمعت يحيى بن معين يقول عمرو بن يحيى بن سلمة سمعت منه لم يكن يرضي.

ได้เล่าแก่เรา โดยท่านอะหฺมัด บิน อะลีย์ ได้บอกเล่าแก่เรา โดย อัลลัยษ์ บิน อะบะดะฮ์ เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน ท่านยะฮ์ยา บิน มะอีน กล่าวว่า อัมร์ บิน ยะหฺยา บิน สะละมะฮ์ นั้น ฉันได้ยินจาก(เรื่องของ)ของเขาว่า เขานั้น ไม่ได้รับความยินดีจากนักหะดิษ

وعمرو هذا ليس له كثير رواية ولم يحضرني له شيء فأذكره

และอัมร์ บิน ยะหฺยานี้ ทำการรายงานไม่มาก และไม่มีสิ่งใดของเขารายงาน มาถึงฉันเลย" ดู หนังสือ อัล-กามิล ฟี ฏู่อะฟาอ์ อัรริญาล เล่ม 5 หน้า 122


ท่านอิบนุ หะญัร

กล่าววิจารณ์ว่า

عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة قال يحيى بن معين ليس حديثه بشيء قد رأيته وذكره بن عدي مختصرا انتهى.

อัมร์ บิน ยะหฺยา บิน สะละมะฮ์นั้น ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า หะดิษของเขานั้น ไม่มีสิ่งใด ที่ฉันเห็น(รายงาน)มันเลย และอิบนุอะดีย์ ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเขาแบบสรุป .

وقال بن خراش ليس بمرضي.

และอิบนุ คอ๊รรอช กล่าวว่า เขานั้นไม่เป็นที่น่าพอใจ

وقال بن عدي ليس له كبير شيء ولم يحضرني له شيء

และท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า เขานั้นไม่มีอะไรที่สำคัญ โดยที่ไม่มีสิ่งใดของเขา (รายงาน)มาที่ฉันเลย " ดู ลิซาน อัลมีซาน เล่ม 4 หน้า 378

ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์

ได้กล่าววิจารณ์ อัมร์ บิน ยะหฺยา ไว้ในหนังสือ อัตฏุอะฟาอ์ วะ อัลมัตรูกีน (เหล่านักรายงานที่ฏออีฟและถูกทิ้ง) ว่า

عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة، قال يحيى ?ابن معين - : ليس حديثه بشيء وقال مرة لم يكن بمرضي

"อัมร์ บิน ยา บิน อัมร์ บิน สะละมะฮ์ นี้ ท่านยะหฺยา อิบนุ มะอีน กล่าวว่า หะดิษของเขานั้นไม่มีอะไร(รายงานมาถึงฉัน) และบางอีกวโรกาสหนึ่งว่า อัมร์ บิน ยะหฺยา นั้น ไม่เป็นที่น่าพอใจ" ดู หนังสือ อัตฏุอะฟาอ์ วะ อัลมัตรูกีน เล่ม 2 หน้า 223

ท่าน อิบนุ อัลอะดีย์ ได้กล่าวข้อบกพร่องของ ท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ว่า เขานั้นเคยขโมยหะดิษ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกข้อหากุหะดิษที่อันตรายเป็นอย่างมาก

ท่าน อัซฺ-ซฺะฮะบีย์

กล่าววิจารณ์ว่า

الحكم بن المبارك الخاشي البلخي عن مالك ومحمد بن راشد المكحولي وعنه أبو محمد الدارمي وجماعة. وثقه ابن حبان وابن مندة. وأما ابن عدي فإنه لوّح في ترجمة أحمد بن عبد الرحمن الوهبي بأنه ممن يسرق الحديث، لكن ما أفرد له في الكامل ترجمة. وهو صدوق

" อัล-หะกัม บิน อัล-มุบาร๊อก อัล-คอชีย์ อัล-บัลคีย์ ได้รายงานจาก มาลิก และ มุหัมมัด บิน ร่อชิด อัลมักฮูลีย์ และได้รายงานจากเขา(หิกัม บิน อัลมุบาร๊อก) โดยท่าน อบู มุหัมมัด อัดดาริมีย์ และ กลุ่มหนึ่ง ท่านอิบนุหิบบาลและท่านอิบนุ มุนดะฮ์ ได้ให้ความ เชื่อถือ แก่เขา และส่วนท่านอิบนุ อะดีย์นั้น ท่านได้กล่าวเสริมไว้ใน ประวัติของ ท่านอะหฺมัด บิน อับดุรเราะหฺมาน อัลวะฮ์บีย์ ว่า แท้จริง ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อกนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่โขมยหะดิษ แต่ท่าน อิบนุ อะดีย์ ก็ไม่ได้ทำการกล่าวถึงท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ โดยที่เขาเองนั้น ก็เป็นผู้ที่พูดจริง " ดู หนังสือ มีซฺาน อัลเอี๊ยะอฺติดาล ฟี นักดิรริญาล เล่ม 2 หน้า 345

เมื่อเช่นนี้ สายรายงานถึงท่านอิบนุมัสอูดนั้น ฏออีฟ ไม่ใช่ซอฮิหฺ ครับ เพราะมีนักรายงานที่เป็นไม่เป็นที่ยินดีและไมได้รับความพอใจจากนักหะดิษและมีสายรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าขโมยหะดิษครับ.. วัลลอฮุอะลัม.

MPW.SO

ทีนี้ผมขอเข้าเรื่องอะษัรรของอิบนุมัสอูดบ้างนะครับ
‎1. อัลหะกัม บิน อัลมุบารัก
‎1. คุณอัซฮารีเองได้นำคำพูดของอัซซะฮะบีย์ว่า
‎ - อิบนุหิบบาน (หรืออิบนุหันบัลกันแน่) และอิบนุมันดะฮฺ ระบุว่า อัลหะกัมเป็นคนที่น่าเชื่อถือ (ษิเกาะฮฺ) ‎
‎- สุดท้ายอัซซะฮะบีเองก็สรุปไว้อย่างสวยงามถึงสถานะของอัลหะกัมว่า ‎‏(وهوصدوق)‏‎ เขาเป็นคนที่เชื่อถือได้ ‎และคำว่า ?เศาะดูก?ในทัศนะของมัหัดดิษีน จะอยู่ในระดับตะอฺดีล (การให้ความน่าเชื่อถือ) ที่สี่ ซึ่งรายงานของเขาจะอยู่ในระดับหะสัน (ดูฟัตหุลมุฆีษ ของอัสสะคอวีย์) และจะขึ้นไปอยู่ในระดับเศาะหีเมื่อมีการติดตามหรือมีสายรายงานอื่นที่มีระดับเท่าเทียมกันหรือเหนือชั้นกว่ามาสนับสนุน ‎
‎2. อัซซะฮะบีระบุว่า อิบนุอะดีย์ได้ ‎لوح‎ ?ให้สัญญาณแต่ไกลๆ? (‎أشار من بعيد‎) (ไม่ใช่กล่าวเสริม) ว่าเขาเป็น‎หนึ่งในบรรดาผู้ที่ขโมยหะดีษ ดังนั้นคำว่า ?ให้สัญญาณแต่ไกลๆ? ในทัศนะของคุณอัซฮะรีมีน้ำขนาดทำให้นัก‎รายงานคนนั้นกลายเป็นคนที่โกหก หรือกุหะดีษเชียวหรือ เพราะคำๆนี้ส่อความถึงความไม่แน่ใจอยู่ในที หรือไม่ได้รับคำยืนยันที่แน่ชัด อะไรประมาณนี้ ดังนั้นอัซซะฮะบีจึงสรุปตอนท้ายว่า ‎وهو صدوق‎ และเขาเป็นคนที่‎เชื่อถือได้ (เสมือนจะบอกว่า เขาไม่ได้เป็นจอมโกหก หรือนักขโมยหะดีษอย่างที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด)‎
‎3. ด้วยเหตุนี้ในการตัครีจอาษารของอิบนุมัสอูดนี้ อัลบานีจึงไม่กล่าวถึงอัลหะกัมเลย เพราะสถานะของเขาเป็นที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นคนที่น่าเชื่อถือ เขาจะพูดเฉพาะเกี่ยวกับอัมรูเท่านั้น
@ แต่คุณอัซฮารีกลับยึดตามคำวิจารณ์ของใครบางคนที่ผมคิดว่าหลายๆคนที่ติดตามอยู่ ณ ที่นี่ ก็อยากทราบเหมือนกันว่าเป็นใคร และมีความน่าเชื่อถือด้านวิชาการหะดีษมากน้อยขนาดไหน ที่ว่า ?ดังนั้น นักรายงานที่ขโมยหะดิษ จึงอยู่ในหมวดผู้ที่ ถูกกล่าวหาจากนักหะดิษว่า เขานั้น โกหก หรือ กุหะดิษ ซึ่งเป็นการถูกกล่าวหาที่อันตราย? !!! @
‎4. สมมุติว่าอัลหะกัม มีสถานะตามที่ใครบางคนกล่าวไว้ตามที่คุณอัซฮารียกมาจริง ก็ไม่ได้หมายความว่าอะษารอิบนุมัสอูดนี้จะไม่มีสายรายงานอื่นจากอัลหะกัม เพราะอัลเคาะฏีบได้รายงานหะดีษนี้เช่นเดียวกัในตารีฆอัลบัฆดาด ดังนี้ ‎
حدثنا محمد بن إبراهيم بن سلمة الكهيلي الكوفي ( قال ابن الجوزي وكان سماعه صحيحاً‎) ‎أخبرنا ‏محمد بن عبد الله بن سليمان الحضرمي ( سئل عنه الدار قطني فقال: ثقة‎ ‎جبل)حدثنا عبد الله بن عمر ‏بن أبان (يلقب بمشكدانه وهو ثقة ) حدثنا عمرو بن يحيى بن‎ ‎عمرو بن سلمة الهمداني قال‎whistling#8206;
จะเห็นได้ว่า ในรายงานของอัลเคาะฏีบจะมีอับดุลลอฮฺ บินอุมัร บินอับบานมาแทนที่ อัลหะกัม ‎ซึ่งเป็นนักรายงานที่ษิเกาะ (น่าเชื่อถือ) ดังนั้นการระบุว่าอาษารอิบนุมัสอูดนี้อ่อน เพราะอัลหะกัมเป็นต้นเหตุจึงตกไป‏ ‏

‎2. เกี่ยวกับรอวีย์ อัมรู บิน ยะห์ยา
‎1. คำพูดของอิบนุมะอีน ‎‏(ليس بشيء)‏‎ ไม่ได้หมายความว่า ?ไม่มีสิ่งใด? แต่จะสอดคล้องกับความหมายใน‎วงเล็บของท่าน (รายงานน้อย) เพราะบรรดานักรายงานหะดีษเขามีศัพท์ที่ใช้กันเฉพาะสำหรับแต่ละคน บางครั้งเราไม่สามารถที่แปลตรงๆได้ ซึ่งเราจะทราบความหมายที่แท้จริงของมันด้วยการติดตามจาดคำพูดของอุละมาอฺด้านนี้ที่มาอธิบายและขยายความอีกทีหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ อัสสะคอวีย์ได้กล่าวในชัรหอัลหิยะฮฺว่า ?อิบนุอัลก็อตฏอนกล่าวว่า ?แท้จริงอิบนุมะอีน เมื่อเขากล่าวเกี่ยวกับรอวีย์หรือนักรายงานหะดีษว่า ‎‏(ليس بشيء)‏‎ เขา‎หมายถึงหะดีษของคนนี้ หรือหะดีษที่รายงานโดยคนนี้มีน้อย?‎
‎2. และการเป็นนักรายงานที่มีหะดีษน้อยไม่ได้หมายความว่าเขาต้องกลายเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือเสมอไป ดังนั้น ‎ในขนะที่อิบนุมะอีนกล่าวว่า ‎‏(ليس بشيء)‏‎ เขาก็ระบุอีกเช่นกันว่า อัมรู บิน ยะห์ยา ‎‏(صالح)‏‎ (อัลญัรหุวะอัตตะอฺดีล ของอิบนุอบีหาติม ) ‎
‎3. ที่สำคัญอัมรู คนนี้เป็นเชคของ ชุอฺบะฮฺ บิน อัลหัจญาจ ซึ่งบรรดานักหะดีษต่างมีมติเป็นเสียงเดียวกันว่า ชุอฺบะฮฺจะไม่รายงานหะดีษนอกจากจากอาจารย์ที่ษิเกาะฮฺ หรือน่าเชื่อถือเท่านั้น (ดู ตะฮฺซีบ อัตตะฮฺซีบ, และฟัตหุลมุฆีษ)‎
ดังนั้นสถานการณ์รายงานของเขาอย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าระดับ หะสัน
ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่า ไม่ใช่อัลบานีย์คนเกียวที่ระบุว่าอาษารนี้มีสายรายงานที่ถูกต้อง ดังนี้คือ
‎1.‎ อัลบานีย์ ‎وهذا إسناد صحيح‎ (อัลสัลสะละฮฺ อัสเศาะหีหะฮฺ 5/11)‎
‎2.‎ เชคมุหัมมัด บิน อัลคุมัยส์ ?‎الدارمي بإسناد حسن‎?‎
‎3.‎ มัชฮูร หะสัน มุหักกิกหนังสือ อัลอัมรุบิลอิตติบาอฺ ของอัสสุยูฏีย์ หน้า 83-84‎‏ ‏‎ ‎والأثر صحيح ‏بمجموع طرقه
‎4.‎ หุเสน สะลีม อะสัด มุหักกิกสุนัน อัดดาริมีย์ 1/287 (210) ‎إسناده جيد ‏

เพิ่มเติม
‎1. ‎ولم يحضرني له شيء فأذكره‎ (ไม่มีสิ่งใดของเขารายงาน มาถึงฉันเลย) น่าจะแปลว่า ?และฉันนึกหะดีษของเขาไม่ออกเลย เพื่อที่ฉันจะได้เอ่ยถึงมัน? ‎

MPW.SO

ขอแก้ไขความผิดพลาดหน่อยครับ เพราะมันกลับหัวหลับหาง
حدثنا محمد بن إبراهيم بن سلمة الكهيلي الكوفي ( قال ابن الجوزي وكان سماعه صحيحاً‎) ‎أخبرنا ‏محمد بن عبد الله بن سليمان الحضرمي ( سئل عنه الدار قطني فقال: ثقة‎ ‎جبل)حدثنا عبد الله بن عمر ‏بن أبان (يلقب بمشكدانه وهو ثقة ) حدثنا عمرو بن يحيى بن‎ ‎عمرو بن سلمة الهمداني قال‎ whistling#8206;
-------------------------------------------------------
حدثنا محمد بن إبراهيم بن سلمة الكهيلي الكوفي (قال ابن الجوزي وكان سماعه صحيحا)، ‏أخبرنا محمد بن عبد الله بن سليمان الحضرمي (سئل عنه الدارقطني فقال: ثقة جبل)، حدثنا عبد ‏الله بن عمر بن ابان (يلقب بمشكدانه وهو ثقة) حدثنا عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة الهمداني ‏‏........

MPW.SO

อิบนุหิบบาน (หรืออิบนุหันบัลกันแน่)
---------------------------------------------
ต้องขอมะอาฟคุณอัซฮารีด้วย หลังจากที่ได้กลับไปสืบค้นปรากฎว่าเป็น อิบนุหิบบานจริงๆ (ไม่ใช่อิมห่ามอะหมัด) ดังที่คุณอัซฮารีได้เสนอไว้ วะลิลลาฮิลหัมด (มีซานอิอฺติดาล เลขที่ ‏2196‏)
asan
ข้อความเมื่อ: 07 กันยายน 49 , 05:43ข้อความโดย: al-azhary
เมื่อเช่นนี้ สายรายงานถึงท่านอิบนุมัสอูดนั้น ฏออีฟ ไม่ใช่ซอฮิหฺ ครับ เพราะมีนักรายงานที่เป็นไม่เป็นที่ยินดีและไมได้รับความพอใจจากนักหะดิษและมีสายรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าขโมยหะดิษครับ.. วัลลอฮุอะลัม.
......................
ตอบ
ข้างต้นเป็นการสรุปแบบเข้าข้างตัวเอง นะครับ น้องบ่าวกล่าวว่า
ท่าน อัซฺ-ซฺะฮะบีย์

กล่าววิจารณ์ว่า

الحكم بن المبارك الخاشي البلخي عن مالك ومحمد بن راشد المكحولي وعنه أبو محمد الدارمي وجماعة. وثقه ابن حبان وابن مندة. وأما ابن عدي فإنه لوّح في ترجمة أحمد بن عبد الرحمن الوهبي بأنه ممن يسرق الحديث، لكن ما أفرد له في الكامل ترجمة. وهو صدوق

" อัล-หะกัม บิน อัล-มุบาร๊อก อัล-คอชีย์ อัล-บัลคีย์ ได้รายงานจาก มาลิก และ มุหัมมัด บิน ร่อชิด อัลมักฮูลีย์ และได้รายงานจากเขา(หิกัม บิน อัลมุบาร๊อก) โดยท่าน อบู มุหัมมัด อัดดาริมีย์ และ กลุ่มหนึ่ง ท่านอิบนุหิบบาลและท่านอิบนุ มุนดะฮ์ ได้ให้ความ เชื่อถือ แก่เขา และส่วนท่านอิบนุ อะดีย์นั้น ท่านได้กล่าวเสริมไว้ใน ประวัติของ ท่านอะหฺมัด บิน อับดุรเราะหฺมาน อัลวะฮ์บีย์ ว่า แท้จริง ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อกนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่โขมยหะดิษ แต่ท่าน อิบนุ อะดีย์ ก็ไม่ได้ทำการกล่าวถึงท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ โดยที่เขาเองนั้น ก็เป็นผู้ที่พูดจริง " ดู หนังสือ มีซฺาน อัลเอี๊ยะอฺติดาล ฟี นักดิรริญาล เล่ม 2 หน้า 345
..................
ขอกล่าวว่า
น้องบ่าวไม่เข้าใจบทสรุปของอัซซะฮะบีย์ เอง คือ ท่านสรุปว่า หะกัม บินอัลมุบารอ็ก นั้น صدوق (คือ เชื่อถือได้) และในหนังสือ อัล-กาชิฟ เล่ม 1 หน้า 183 ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวถึง ท่านหะกัม บิน อัลมุบารอ็กอย่างชัดเจนว่า ثقة คือ เชื่อถือได้

al-azhary

หว้า....صدوق กลายไปอยู่ในตำแหน่งหุกุ่ม ثقة ไปได้อย่างไร?

al-azhary

หนังสือ อัลกาชิฟ ของท่าน อัซซะฮะบีย์ เป็นหนังสือ ที่ย่อให้สั้นลง จากหนังสือ ตะฮฺซีบ อัลกะมาล และหนังสือ ของท่านอิบนุหะญัร ก็ทำการย่อหนังสือ ตะฮฺซีบ อัลกะมาล มาเป็นหนังสือ ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ และย่อมาอีกเป็นหนังสือ ตักรีบบุตตะฮ์ซีบ ซึ่งท่านอิบนุหะญัร กล่าววิจารณ์ ไว้ว่า ท่านอัลหะกัม บิน อัลมะบาร๊อกนั้น صدوق ربما وهم "เขานั้นเป็นคนพูดจริง(คือไม่ใช่จอมโกหก) แต่บางครั้งคลุมเคลือ" ดู ตักบีบ อัตตะฮ์ซีบ หน้า 129 นักรายงานลำดับที่ 1458

คำว่า صدوق อย่างเดียวนั้น ยังตัดสินไม่ได้ ในเมื่อยังมีการตำหนิจากนักหะดิษท่านอื่นด้วย ซึ่งเราต้องนำมาพิจารณารวมกันและให้น้ำหนักตามหลักการของหะดิษ ซึ่งผมจะนำเสนอต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

MPW.SO

الحكم بن المبارك الباهلي
1. อิบนุหะญัรได้ระบุในหนังสือ ตะฮฺซีบอัตตะฮฺซีบ (เลขที่ 763)หลังจากที่ได้นำเสนอทัศนะของอิบนุมันดะฮฺและอิบนุหิบบาน ว่า وهو حافظ ثقة หลังจากนั้นท่านก็อ้างถึงอิบนุอะดีว่าท่านนับอัลมุบาร็อกอยู่ในกลุ่มของผู้ที่ขโมยหะดีษ
จากจุดยืนของอิบนุหะญัรนี้ทไห้เราเข้าใจว่า คำกล่าวหาของอิบนุอะดีดังกล่าวไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่ท่านอัซฮารีเข้าใจ วัลลอฮุอะลัม
2. และอิบนุหัญัรระบุในหนังสือตักรีบตะฮฺซีบว่า صدوق ربما وهم เป็นคนที่เชื่อถือได้ บางทีอาจจะมีผิดพลาด (เลขที่ 1463)
‏ดังนั้น สถานะของอัลหะกัมจึงไม่ลดต่ำไปกว่าระดับ หะสะนุลหะดีษ อินชาอัลลอฮฺ วัลลอฮุอะอฺลัม

asan

อ้างจาก: al-azhary ที่ 08 กันยายน 49 , 00:42
หว้า....صدوق กลายไปอยู่ในหุกุ่ม ثقة ไปได้อย่างไร? โปรดใจเย็นๆ ครับ เดี๋ยวผมมา
..............
กลับมาแก้ตัวกี่ครั้ง ก็ไม่สามารถจะหักล้างหะดิษอิบนุมัสอูดได้หรอกน้องบ่าว ดันทุรังเข้าไปเถอะ

al-azhary

ถึงคุณ MPW.SO

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

การนำเสนอของคุณ สมควรที่จะให้ทั่วไปถึงและวิจารณ์อย่างเป็นธรรม การที่คุณอ้างการรับรองความซอฮิหฺของผู้รู้บางท่านที่มีความอคติของซูฟีย์นั้น ย่อมจะนำมาเป็นบรรทัดฐานรับรองไม่ได้ อย่างเช่น ท่านอัลบานีย์ (ร่อฮิมะหุลลอฮ์) เนื่องจารการตัดสินหะดิษของท่านอัลบานีย์นั้น เป็นที่ทราบกันว่า ท่านได้เอาอุดมการณ์ที่ตนยึดอยู่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินหะดิษด้วย การซิกรุลลอฮ์ล้อมวงและอื่น ๆ นั้น ซูฟีย์ มักจะทำกันเป็นส่วนมาก คุณได้อ้างอิงการตัดสินหะดิษดังต่อไปนี้

ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่า ไม่ใช่อัลบานีย์คนเกียวที่ระบุว่าอาษารนี้มีสายรายงานที่ถูกต้อง ดังนี้คือ
‎1.‎ อัลบานีย์ ‎وهذا إسناد صحيح‎ (อัลสัลสะละฮฺ อัสเศาะหีหะฮฺ 5/11)‎
‎2.‎ เชคมุหัมมัด บิน อัลคุมัยส์ ?‎الدارمي بإسناد حسن‎?‎
‎3.‎ มัชฮูร หะสัน มุหักกิกหนังสือ อัลอัมรุบิลอิตติบาอฺ ของอัสสุยูฏีย์ หน้า 83-84‎‏ ‏‎ ‎والأثر صحيح ‏بمجموع طرقه
‎4.‎ หุเสน สะลีม อะสัด มุหักกิกสุนัน อัดดาริมีย์ 1/287 (210) ‎إسناده جيد ‏

พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้รู้ทั้งสี่ท่าน ที่คุณMPW.SO อ้างอิงมานั้น เป็นอุลามาอ์สะละฟีย์(วะฮาบีย์ในปัจจุบัน)ทั้งสิ้น ซึ่งพวกเขามีความอคติกับผู้ที่การซิกิรในรูปแบบสายรายงานอันฏออีฟจากท่านอิบนุมัสอูด ไม่ว่าจะเป็น ท่านอัลบานีย์ ท่าน ชัยค์มุหัมมัด บิน อัลคุมัยส์ และท่านหุเสน สะลีม อะสัด ส่วนหนังสือ อัลอัมรุ บิลอิตติบาอ์ นั้น ไม่ใช่เป็นของอิมามอัศศายูฏีย์ เนื่องจากยังมีความคลุมเครือ เพราะเนื้อหาในหนังสือเล่มนั้น ไปขัดกันเองกับหนังสือเล่มอื่นๆ ที่โด่งดังกล่าว เช่นหนังสือ อัลหาวีย์ ลิลฟาตะวา ของอิมามอัสสะยูฏีย์ อย่างเช่นอิมามอัสสะยูฏีย์ ได้กล่าวว่า

"แท้จริง สายรายงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากท่านอิบนุมัสอูดที่ว่า "ท่านอิบนุมัสอูดได้เห็นคนกลุ่มหนึ่งทำการกล่าวตะฮ์ลีลด้วยเสียงอันดังในมัสยิด แล้วท่านอิบนุมัสอูดกล่าวว่า ฉันมีความเห็นใดกับพวกท่านนอกจากพวกท่านนั้นเป็นผู้อุตริกรรมขึ้นมา จนกระทั้งท่านอิบนุมัสอูดได้นำพวกเขาออกจากมัสยิด" ฉัน(คืออิมามสะยูฏีย์)ขอกล่าวว่า ร่องรอยที่รายงานจากท่านอิบนุมัสอูดนี้ ยังจำต้องการไปยังการอธิบาย(วิจารณ์)ถึงสายรายงาน...หากแม้ได้รับการยืนยันจึง มันก็ขัดกับบรรดาหะดิษอันมากมายที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งมันต้องนำมาอยู่ก่อนในขณะที่มีการค้านกัน" ดู อัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา เล่ม 1 หน้า 472 ดารุลฟิกร์

ผมคิดว่าท่านอัลบานีย์ เป็นนักวิจารณ์(ตักรีจญ์)หะดิษท่านหนึ่ง ซึ่งผมเองก็ไม่จำเป็นต้องตาม เนื่องจากนักศึกษาทั่วไปที่เรียนหะดิษ ก็สามารถตักรีจญ์หะดิษได้ตามการของการพิจารณาหะดิษ

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

‎1. คุณอัซฮารีเองได้นำคำพูดของอัซซะฮะบีย์ว่า
‎ - อิบนุหิบบาน (หรืออิบนุหันบัลกันแน่) และอิบนุมันดะฮฺ ระบุว่า อัลหะกัมเป็นคนที่น่าเชื่อถือ (ษิเกาะฮฺ) ‎

ตอบ

อันนี้ ผมก็ไม่ต้องวิจารณ์ เพราะคุณได้ชี้แจงกับผมแล้ว ว่า" ต้องขอมะอาฟคุณอัซฮารีด้วย หลังจากที่ได้กลับไปสืบค้นปรากฎว่าเป็น อิบนุหิบบานจริงๆ (ไม่ใช่อิมห่ามอะหมัด) ดังที่คุณอัซฮารีได้เสนอไว้ วะลิลลาฮิลหัมด (มีซานอิอฺติดาล เลขที่ ‏2196‏) "

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

‎- สุดท้ายอัซซะฮะบีเองก็สรุปไว้อย่างสวยงามถึงสถานะของอัลหะกัมว่า ‎‏(وهوصدوق)‏‎ เขาเป็นคนที่เชื่อถือได้ ‎และคำว่า ?เศาะดูก?ในทัศนะของมัหัดดิษีน จะอยู่ในระดับตะอฺดีล (การให้ความน่าเชื่อถือ) ที่สี่ ซึ่งรายงานของเขาจะอยู่ในระดับหะสัน (ดูฟัตหุลมุฆีษ ของอัสสะคอวีย์) และจะขึ้นไปอยู่ในระดับเศาะหีเมื่อมีการติดตามหรือมีสายรายงานอื่นที่มีระดับเท่าเทียมกันหรือเหนือชั้นกว่ามาสนับสนุน

ตอบ

คำว่าوهوصدوق ‏‎ เพียงอย่างเดียวกัน ยังตัดสินความเชื่อถือไม่ได้ เนื่องจากมีปราชญ์หะดิษมากมายที่วิจารณ์นักรายงานว่า صدوق ليس بحجة "พูดจริง โดยเขาจะนำมาเป็นหลักฐาน(ยืนยัน)ไม่ได้" นั่นก็เพราะว่า มีประเด็นอื่นที่มาตำหนิอยู่ด้วย และอิบนุหัญัรระบุในหนังสือตักรีบตะฮฺซีบว่า صدوق ربما وهم เป็นคนที่เชื่อถือได้ บางทีอาจจะมีผิดพลาด (เลขที่ 1463)

ดังนั้น คำบว่า صدوق ربما وهم เป็นคนที่เชื่อถือได้ บางทีอาจจะมีผิดพลาดเพียงอย่างเดียวก็จะนำมาตัดสินโดยคำนึงถึงการวิจารณ์ของนักหะดิษท่านอื่นย่อมไม่ได้ เพราะว่าท่านอิบนุอะดีย์ ได้กล่าวว่า เขานั้นขโมยหะดิษ เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้หลักการที่ว่า

إذا إجتمع فى راو واحد الجرح والتعديل فالمعتمد انه يقدم الجرح على التعديل اذا كان مفسرا

"เมื่อการชมเชยและการตำหนิได้รวมอยู่ในนักรายงานคนเดียวกัน ดังนั้น ทัศนะที่ถูกยึดถือ ก็คือ ให้เอาการตำหนิ(นำมาพิจารณา)ก่อนการชมเชย เมื่อการตำหนินั้นถูกชี้แจงอธิบาย"

ดังนั้น ท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก มีนักวิจารณ์หะดิษกล่าวว่า เขานั้น صدوق (คือไม่ถึงระดับซอฮิหฺ) แต่เขานั้นถูกกล่าวว่า ขโมยหะดิษ ซึ่งอยู่ในระดับการถูกหนิขั้นร้ายแรง ลำดับที่ 4 เพราะฉะนั้น ที่การท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ได้ถูกตำหนิ ได้ถูกชี้แจงไว้ชัดเจนว่า เขานั้นขโมยหะดิษ ดังนั้น การขโมยหะดิษจึงถูกนำมาพิจารณาก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก จึงฏออีฟ ตามหลักการของหะดิษ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jul 27, 2012 5:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

2. อัซซะฮะบีระบุว่า อิบนุอะดีย์ได้ ‎لوح‎ ?ให้สัญญาณแต่ไกลๆ? (‎أشار من بعيد‎) (ไม่ใช่กล่าวเสริม) ว่าเขาเป็น‎หนึ่งในบรรดาผู้ที่ขโมยหะดีษ ดังนั้นคำว่า ?ให้สัญญาณแต่ไกลๆ? ในทัศนะของคุณอัซฮะรีมีน้ำขนาดทำให้นัก‎รายงานคนนั้นกลายเป็นคนที่โกหก หรือกุหะดีษเชียวหรือ เพราะคำๆนี้ส่อความถึงความไม่แน่ใจอยู่ในที หรือไม่ได้รับคำยืนยันที่แน่ชัด อะไรประมาณนี้ ดังนั้นอัซซะฮะบีจึงสรุปตอนท้ายว่า ‎وهو صدوق‎ และเขาเป็นคนที่‎เชื่อถือได้ (เสมือนจะบอกว่า เขาไม่ได้เป็นจอมโกหก หรือนักขโมยหะดีษอย่างที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด)‎

ตอบ

คำว่า ‎لوح‎ หมายถึง "ให้สัญญานแต่ไกลๆ " นั้นถูกต้องครับ แต่เมื่อผมนำเข้ามาแปลแล้ว เกรงว่าท่านผู้อ่านไม่ค่อยเข้าใจว่า "ท่านอิบนุอะดีย์ได้ส่งสัญญานแต่กไกลๆ ว่าไว้ใน ประวัติของ ท่านอะหฺมัด บิน อับดุรเราะหฺมาน อัลวะฮ์บีย์ ว่า แท้จริง ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อกนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่โขมยหะดิษ" นั้น ผมเกรงว่าท่านผู้อ่านจะงง ว่าสงสัญญานอย่างไร ผมเลยใช้ศัพย์คำว่า "กล่าวเสริม" ก็ไม่ทำให้เนื้อหาต้องเปลี่ยนไป และให้ความเข้าใจง่ายดี เพราะผมได้คำนึงว่า ท่านอิบนุอะดีย์ กำลังกล่าววิจารณ์ ท่านอะหฺมัด บิน อับดุรเราะหฺมานอยู่ แล้วก็ทำการหยิบยกกรณีของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก แทรกเข้ามา เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมเคยใช้คำว่า "กล่าวเสริม" คือกล่าวกรณีของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมะบาร๊อก เสริมเข้ามาในการวิจารณ์ประวัติของท่าน อะหฺมัด บิน อับดุรเราะหฺมานด้วย เพราะว่าท่านอิบนุอะดีย์ไม่ได้กล่าวถึงท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ แต่ต้องนำมากล่าวเสริมไว้ในประวัติของท่าน อะหฺมัด บิน อับดุรเราะห์มาน นั่นคือ เจตนาของผมโดยใช้ศัพย์ภาษาไทยเพื่อให้ความเข้าใจยิ่งขึ้นแบบโดยรวมสำหรับผู้อ่านครับ

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

الحكم بن المبارك الباهلي
1. อิบนุหะญัรได้ระบุในหนังสือ ตะฮฺซีบอัตตะฮฺซีบ (เลขที่ 763)หลังจากที่ได้นำเสนอทัศนะของอิบนุมันดะฮฺและอิบนุหิบบาน ว่า وهو حافظ ثقة หลังจากนั้นท่านก็อ้างถึงอิบนุอะดีว่าท่านนับอัลมุบาร็อกอยู่ในกลุ่มของผู้ที่ขโมยหะดีษ
จากจุดยืนของอิบนุหะญัรนี้ทไห้เราเข้าใจว่า คำกล่าวหาของอิบนุอะดีดังกล่าวไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่ท่านอัซฮารีเข้าใจ วัลลอฮุอะลัม
2. และอิบนุหัญัรระบุในหนังสือตักรีบตะฮฺซีบว่า صدوق ربما وهم เป็นคนที่เชื่อถือได้ บางทีอาจจะมีผิดพลาด (เลขที่ 1463)
‏ดังนั้น สถานะของอัลหะกัมจึงไม่ลดต่ำไปกว่าระดับ หะสะนุลหะดีษ อินชาอัลลอฮฺ วัลลอฮุอะอฺลัม

ตอบ

คุณก็น่าจะเข้าใจว่า หลักในการวิจารณ์ ชมเชยของท่านอิบนุหิบบานนั้น ต้องมีนักหะดิษที่ชั้นนำท่านอื่นๆ มาสนับสนุนด้วย และต้องมีไม่นักวิจารณ์หะดิษท่านอื่นมาทำการวิจารณ์ตำหนิ ไม่เช่นนั้น การรับรองของท่านอิบนุหิบานย่อมตกไป ด้วยเหตุนี้แหละ ท่านอิบนุหะญัรสรุปว่า ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อกนั้น صدوق ربما وهم เป็นคนพูดจริง แต่บางทีคลุมเคลือ (เลขที่ 1463) และคำว่า صدوق ไม่ใช่หมายความว่า"เชื่อถือได้" เพราะคำว่าเชื่อถือได้นั้น คือคำว่า ثقة คำว่า صدوق อยู่ในขั้นชมเชยต่ำอยู่ในลำดับ 4 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า นักรายงานนั้น โดยรวมแล้ว เขาไม่ใช่เป็นคนโกหก และไม่ใช่บ่งชี้ว่าเขามีความจำที่ดี และในขณะเดียวกัน ก็มีนักวิจารณ์หะดิษอีกท่านหนึ่ง คือท่านอิบนุอะดีย์ ได้สืบทราบว่า เขานั้นขโมยหะดิษ يسرق الحديث ซึ่งอยู่ในระดับผู้ที่ถูกตำหนิและถูกกล่าวหาอย่างอัตราย ลำดับที่ 4 จากลำดับที่ 6 ที่ร้ายแรงสุด โดยอยู่ในระดับ ผู้ที่ ถูกกล่าวหาว่าโกหก , ผู้ถูกกล่าวหาว่ากุหะดิษ , เขาตกไป(โดยไม่ได้รับพิจารณา) , ผู้ที่ไม่ได้รับการเชื่อถือ

เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้หลักการที่ว่า

إذا إجتمع فى راو واحد الجرح والتعديل فالمعتمد انه يقدم الجرح على التعديل اذا كان مفسرا

"เมื่อการชมเชยและการตำหนิได้รวมอยู่ในนักรายงานคนเดียวกัน ดังนั้น ทัศนะที่ถูกยึดถือ ก็คือ ให้เอาการตำหนิ(นำมาพิจารณา)ก่อนการชมเชย เมื่อการตำหนินั้นถูกชี้แจงอธิบาย"

ดังนั้น ท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก มีนักวิจารณ์หะดิษกล่าวว่า เขานั้น صدوق (คือไม่ถึงระดับซอฮิหฺ) อีกทั้งยังคลุมเคลือ แต่เขานั้นถูกกล่าวว่า ขโมยหะดิษ ซึ่งอยู่ในระดับการถูกหนิขั้นร้ายแรง ลำดับที่ 4 เพราะฉะนั้น ที่การท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ได้ถูกตำหนิ ได้ถูกชี้แจงไว้ชัดเจนว่า เขานั้นขโมยหะดิษ ดังนั้น การขโมยหะดิษจึงถูกนำมาพิจารณาก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก จึงฏออีฟ ตามหลักการของวิชาหะดิษ

asan

อดไม่ได้อีกตามเคย แปลกนะ

صدوق พูดจริง ไม่โกหก แต่บอกว่า ยังเชื่อถือไม่ได้

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

‎3. ด้วยเหตุนี้ในการตัครีจอาษารของอิบนุมัสอูดนี้ อัลบานีจึงไม่กล่าวถึงอัลหะกัมเลย เพราะสถานะของเขาเป็นที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นคนที่น่าเชื่อถือ เขาจะพูดเฉพาะเกี่ยวกับอัมรูเท่านั้น

ตอบ

ผมบอกแล้วว่า คุณจะเอาท่านอัลบานีย์ มาตัดสินไม่ได้ การที่ท่านอัลบานีย์ไม่ได้นำมาวิจารณ์นั้น ลึกๆ แล้ว ผมไม่ทราบหรอกว่า เพราะเหตุใด ? ในกรณีสถานะภาพของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นั้น ท่านอิบนุหะญัร วิจารณ์ว่า เขานั้นคลุมเคลือ และท่านอิบนุอะดีย์บอกว่า เขานั้นขโมยหะดิษ ดังนั้น ผมไม่ตักลีดตามท่านอัลบานีย์ เนื่องจากเราเองก็สามารถค้นคว้าวิเคราะห์เองได้ แต่แปลกที่ทำไมท่านอัลบานีย์ จึงไม่ยกคำกล่าวของท่าน อิบนุหะญัร และท่านอิบนุอะดีย์มาพิจารณาด้วย ?? ซึ่งกรณีนี้ผมได้ตอบไปแล้วข้างต้นครับ

MPW.SO

ระดับความน่าเชื่อถือของอิสหาก บินมันศูร
ในตะฮฺซีบอัตตะฮฺซีบ เลขที่ 471 ระบุว่า : ‎
‎> อัลบุคอรีย์, มุสลิม, อัตติรมิซีย์, อันนะสาอีย์, อิบนุมาญะฮฺ (หมายความว่าเป็นอาจารย์ที่พวกเขาเหล่านี้รับหะดีษมาและรายงานลงในหนังสือทั้งห้า) อิสหาก บิน มันศูร บิน บะฮฺรอม อัลเกาสัจญ์ ‎อบู ยะอฺกูบ อัตตะมีมีย์ อัลมัรวะซีย์ นะซีลนัยสาบูร ‎
‎> รายงานหะดีษจาก อิบนุอุยัยยนะฮฺ , อิบนุนุมัยยิร, อับดุลร็อซซาก อบูดาวูด อัตเฏายาลิสีย์, ญะอฺฟัร บิน เอาน์, บิชร์ บิน อุมัร, อิบนุมะฮฺดี, อัลก็อตฏอน และท่านอื่นๆอีกมากมาย ‎
‎> และร่ำเรียนกับอะหมัด บิน หันบัล, อิสหาก รอฮูยะฮฺ, ยะหฺยา บินมะอีน และสำหรับเขามีปัญหา ‎‎(ข้อซักถามเกี่ยวกับสถานะของนักรายงาน) มากมายที่มาจากพวกเขา (หมายถึงอาจารย์ทั้งสาม) ‎‏...‏
‎> มุสลิมกล่าวว่า ?ษิเกาะฮฺมะมูน? (น่าเชื่อถือและไว้ใจได้) หนึ่งในบรรดาอิหม่ามของชาวหะดีษ
‎>‎‏ ‏‎ อันนะสาอีย์กล่าวว่า ?ษิเกาะฮฺษะบัต? (น่าเชื่อถือและมั่นคง) ‎‏....‏
ในตักรีบตะฮฺซีบ (384) อิบนุหะญัรระบุว่า ?ษิเกาะฮฺษะบัต? เช่นกัน‎
‎> นี่คือสถานะของอิสหาก ซึ่งเป็นศิษย์เอกคนหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับอิบนุมะอีนมากที่สุด และเป็นอาจารย์ของบรรดาเจ้าของหนังสือหะดีษทั้งหก นอกจากอบูดาวูดเท่านั้น ซึ่งถ้าเราติดตามคำพูดของอิบนุมะอีนในหนังสือตะฮฺซีบ เราจะพบว่าส่วนใหญ่จะมาจากสายรายงาของอิสหากคนนี้ ‎
‎> เพราะฉะนั้น ด้วยสถานะด้านความน่าเชื่อถือและความเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดของอิสหาก สายรายงานของอิสหาก คำพูดของอิบนุมะอีนที่มาจากสายรายงานของอิสหากจึงน่าจะมีน้ำหนักมากกว่าสายรายงานของคนอื่น วัลลอฮุอะอฺลัม‎
‎> ส่วนคำพูดของคุณ อัซฮะรีเกี่ยวกับตัวอิสหากว่า ?เขาไม่ได้อยู่ในระดับขึ้นที่น่าเชื่อได้(ษิเกาะฮ์)? ‎เท่าที่ผ่านมา (ด้วยความรู้ที่จำกัด) ผมยังไม่เคยพบอุละมาอฺท่านใดระบุเช่นนี้ ซึ่งถ้าคุณอัซฮารีจะกรุณาก็จะขอบคุณยิ่ง

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

อดไม่ได้อีกตามเคย แปลกนะ صدوق พูดจริง ไม่โกหก แต่บอกว่า ยังเชื่อถือไม่ได้

ตอบ

صدوق นั้นยังไม่ถึงขั้นระดับ ثقة "เชื่อถือได้" คำว่าصدوق บางครั้งก็นำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ เนื่องจากความจำไม่ดี ซึ่งอยู่ในการชมเชยลำดับต่ำขึ้น 4 มีอุลามาอ์มากมายที่ในตัวของเขานั้น "ไม่โกหก" คือ صدوق แต่เขาอาจจะมีความจำไม่ดี เช่น มีความคลุมเคลืออยู่ด้วย ก็ย่อมมีผลต่อการรายงานหะดิษอย่างไม่ต้องสงสัย และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักวิจารณ์หะดิษบอกว่า เขานั้น คลุมเคลือ يهم ด้วย และท่านอิบนุอะดีย์บอกว่า เขาโขมยหะดิษ يسرق الحديث การตำหนิย่อมอยู่การชมเชย ตามที่ผมได้นำเสนอหลักการหะดิษมาแล้วข้างต้น

MPW.SO

‎3. ด้วยเหตุนี้ในการตัครีจอาษารของอิบนุมัสอูดนี้ อัลบานีจึงไม่กล่าวถึงอัลหะกัมเลย เพราะสถานะของเขาเป็นที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นคนที่น่าเชื่อถือ เขาจะพูดเฉพาะเกี่ยวกับอัมรูเท่านั้น

ตอบ

ผมบอกแล้วว่า คุณจะเอาท่านอัลบานีย์ มาตัดสินไม่ได้ การที่ท่านอัลบานีย์ไม่ได้นำมาวิจารณ์นั้น ลึกๆ แล้ว ผมไม่ทราบหรอกว่า เพราะเหตุใด ? ในกรณีสถานะภาพของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นั้น ท่านอิบนุหะญัร วิจารณ์ว่า เขานั้นคลุมเคลือ และท่านอิบนุอะดีย์บอกว่า เขานั้นขโมยหะดิษ ดังนั้น ผมไม่ตักลีดตามท่านอัลบานีย์ เนื่องจากเราเองก็สามารถค้นคว้าวิเคราะห์เองได้ แต่แปลกที่ทำไมท่านอัลบานีย์ จึงไม่ยกคำกล่าวของท่าน อิบนุหะญัร และท่านอิบนุอะดีย์มาพิจารณาด้วย ?? ซึ่งกรณีนี้ผมได้ตอบไปแล้วข้างต้นครับ
--------------------------------------
ที่ผมกล่าวอย่างนั้น เพียงต้องการจะบอกว่า ด้วยความรอบจัดด้านการหะดีษและนักรายงานของอัลบานีย์ เขาจึงไม่เอาประเด็นของอัลหะกัม มาวิจารณ์ เพราะในสายตาของเขาถือว่าอัลหะกัมเป็นคนที่น่าเชือ่ถือได้ ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ยึดติดกับคำตัดสินชี้ขาดของอ้ลบานีเหมือนกัน ก็เท่านั้น ซึ่งผมถือว่านี่คือวิธีการวิจารณ์เชิงวิชาการอย่างหนึ่ง ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่นั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะทุกๆการนำเสนอและการวิพากษ์และวิจารณ์ไม่จำเป็นว่าคนที่กำลังแลกเปลี่ยนทัศนะอยู่กับเราต้องเห็นด้วยเสมอไป วัลลอฮุอะลัม

al-azhary

อ้างอิงจากคุณ

แต่คุณอัซฮารีกลับยึดตามคำวิจารณ์ของใครบางคนที่ผมคิดว่าหลายๆคนที่ติดตามอยู่ ณ ที่นี่ ก็อยากทราบเหมือนกันว่าเป็นใคร และมีความน่าเชื่อถือด้านวิชาการหะดีษมากน้อยขนาดไหน ที่ว่า ?ดังนั้น นักรายงานที่ขโมยหะดิษ จึงอยู่ในหมวดผู้ที่ ถูกกล่าวหาจากนักหะดิษว่า เขานั้น โกหก หรือ กุหะดิษ ซึ่งเป็นการถูกกล่าวหาที่อันตราย? !!!

ตอบ

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ ก็ยังสงสัยในสายรายงานต่าง ๆ ของท่านอิบนุมัสอูด โดยใช้ให้เราทำการตรวจสอบ และเมื่อไปตรวจสอบดูในตำราหะดิษ ก็เป็นอย่างนั้น หรือว่าหากท่านอัลบานีย์ นิ่งเฉยแล้ จะไม่มีระบุวิจารณ์เอาไว้กระนั้นหรือ?? กรุณอย่าตักลีดครับ และคุณไม่เคยเรียนวิชาตัครีจญ์หะดิษหรือ ที่ได้ระบุลำดับในการวิจารณ์ตำหนินักรายงาน ว่า ผู้ที่โขมยหะดิษ يسرق الحديث นั้น คือผู้ถูกวิจารณ์ตำหนิอยู่ในลำดับ 4 ที่มีความอันตราย ซึ่งอยู่ในลำดับเดียวกับ فلان متهم بالكذب (นักรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก) متهم بالوضع (ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากุหะดิษ) ساقط (ผู้ตกไปในการพิจารณา) หรือ ليس بثقة (เขานั้นเชื่อถือไม่ได้) แบบนี้ถือว่าอันตรายครับ และ "การวิจารณ์ตำหนิ ย่อม อยู่ก่อนการชมเชย" ตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว
วัลลอฮุอะลัม

al-azhary

อ้างอิงจากMPW.SO

ที่ผมกล่าวอย่างนั้น เพียงต้องการจะบอกว่า ด้วยความรอบจัดด้านการหะดีษและนักรายงานของอัลบานีย์ เขาจึงไม่เอาประเด็นของอัลหะกัม มาวิจารณ์ เพราะในสายตาของเขาถือว่าอัลหะกัมเป็นคนที่น่าเชือ่ถือได้ ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ยึดติดกับคำตัดสินชี้ขาดของอ้ลบานีเหมือนกัน ก็เท่านั้น ซึ่งผมถือว่านี่คือวิธีการวิจารณ์เชิงวิชาการอย่างหนึ่ง ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่นั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะทุกๆการนำเสนอและการวิพากษ์และวิจารณ์ไม่จำเป็นว่าคนที่กำลังแลกเปลี่ยนทัศนะอยู่กับเราต้องเห็นด้วยเสมอไป วัลลอฮุอะลัม

ตอบ

รอบจัดได้อย่างไร ในเมื่อ ท่านอิบนุหะญัรได้กล่าววิจารณ์เอาไว้ และท่าน อิบนุอะดีย์ ได้กล่าววิจารณ์เอาไว้ ทำไมความรอบจัดของท่านอัลบานีย์ ถึงไม่นำมากล่าววิจารณ์ให้มันตกไป ผมเห็นคุณนำเสนอสนทนาในเชิงวิชาการดี นึกว่าจะค้นคว้าให้สุดๆ ไปเลย ซึ่งจะได้ผลบุญมากมาย ใหนกลับไปตักลีด ทั้งที่กรณีนี้คุณไม่ต้องตักลีดก็ได้ และท่านอัลบานีย์เองก็ยังไปกล่าวฏออีฟกับหะดิษซอฮิหฺบุคคอรีย์ นี่คือความรอบจัดที่คุณนำมาเสนอให้เรารับพิจารณา ท่านอัลบานีย์ได้ทำการหุกุมหะดิษค้านกันเองมากมาย ซึ่งกรณีอย่างนี้แหละ ที่ผมไม่ตักลีดตามท่าน อัลบานีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) วัลลอฮุอะลัม

al-azhary

คุณ MPW.SO ครับ

ประเด็นของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นั้น คุณรับหลักฐานพิจารณาหะดิษหรือเปล่า? ที่ว่า

إذا إجتمع فى راو واحد الجرح والتعديل فالمعتمد انه يقدم الجرح على التعديل اذا كان مفسرا

"เมื่อการชมเชยและการตำหนิได้รวมอยู่ในนักรายงานคนเดียวกัน ดังนั้น ทัศนะที่ถูกยึดถือ ก็คือ ให้เอาการตำหนิ(นำมาพิจารณา)ก่อนการชมเชย เมื่อการตำหนินั้นถูกชี้แจงอธิบาย"

โปรดชี้แจงผมด้วย หรือว่ามีหลักการอื่นอีก นี่คือประเด็นจุดเปลี่ยนและบทสรุปประเด็นของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นะครับ โปรดชี้แจงด้วยนะครับ เพื่อจะเปลี่ยนประเด็นไปพิจารณานักรายงานท่านอื่นอีก
แจ้งลบ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jul 27, 2012 5:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

MPW.SO

อิบนุค็อรรอช ; อับดุลเราะห์มาน บิน ยูซุฟ บิน ค็อรรอช อัลหาฟิซ‎
อับดานกล่าวว่า ?เขาเป็นคนที่ชอบเชื่อมต่อหะดีษมะรอสีล(ให้เป็นเมาสูล)‎
อิบนุอะดีกล่าวว่า ?เขาเป็นคนชีอะฮฺ
อัซซะฮะบีกล่าวว่า ?เขาคนนี้ วัลลอฮี, เป็นเชคที่หัวทิ่ม (ตกอยู่ในความเสื่อมเสีย) ที่ทำให้ทางเดินชีวิตเขาหลงทาง? (มีซานอัลอิอฺติดาล เลขที่ 5009)‎
ดังนั้น คำกล่าวของอิบนุค็อรรอชต่ออัมรูว่า ليس بمرضي จึงตกไป เพราะเขาเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือ วัลลอฮุอะอฺลัม
ส่วนคำกล่าวของอิบนุอะดีที่ว่า "ليس له كبير شيء" ไม่ได้บ่งบอกถึงความไม่น่าเชื่อถือของอัมรู เพียงแต่เป็นการระบุถึงความมีน้อยของรายงานเท่านั้นเอง"
_______________________________
ส่วนสถานะความน่าเชื่อถือของอีกสองท่านที่เล่าจากยะหฺยา บินมะอีนนั้น (อัลลัยษ์ และอะหมัด) หวังว่าคุณอัซฮารีจะนำมาเสนอ ณ ที่นี้ด้วย เพื่อที่เราจะได้มาเปรียบเทียบกับอิสหากว่าคำพูดของอิบนุมะอีนตามรายงานของใครจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน วัลลอฮุอะอฺลัม

al-azhary

คุณ MPW.SO ครับ

ประเด็นของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นั้น คุณรับหลักฐานพิจารณาหะดิษหรือเปล่า? ที่ว่า


إذا إجتمع فى راو واحد الجرح والتعديل فالمعتمد انه يقدم الجرح على التعديل اذا كان مفسرا

"เมื่อการชมเชยและการตำหนิได้รวมอยู่ในนักรายงานคนเดียวกัน ดังนั้น ทัศนะที่ถูกยึดถือ ก็คือ ให้เอาการตำหนิ(นำมาพิจารณา)ก่อนการชมเชย เมื่อการตำหนินั้นถูกชี้แจงอธิบาย"

โปรดชี้แจงผมด้วย หรือว่ามีหลักการอื่นอีก นี่คือประเด็นจุดเปลี่ยนและบทสรุปประเด็นของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นะครับ โปรดชี้แจงด้วยนะครับ เพื่อจะเปลี่ยนประเด็นไปพิจารณานักรายงานท่านอื่นอีก

al-azhary

لحكم بن المبارك

กรณีของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ที่เราได้สนทนามานั้น ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะให้บทสรุปไม่ได้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ซึ่งผมขอสรุป แบบง่ายๆ ดังนี้ครับ

ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อกนี้

1. ท่านอิบนุหิบบานและท่านอิบนุมันดะฮ์ กล่าวว่า เขา وهو حافظ ثقة (นักท่องจำหะดิษและเชื่อถือได้)

2. ท่านอัซซะฮะบีย์ บอกว่า เขานั้น صدوق "เป็นคนพูดจริง" ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า صدوق ربما وهم "เขานั้นเป็นคนพูดจริง(คือไม่ใช่จอมโกหก) แต่บางครั้งคลุมเคลือ"

3. ท่านอิบนุหะญัรและท่านอัซซะฮะบีย์ ได้ถ่ายทอดคำวิจารณ์ของท่านอิบนุ อะดีย์ อีกเช่นกันว่า เขานั้น يسرق الحديث "ขโมยหะดิษ" ซึ่งผู้ที่โขมยหะดิษ يسرق الحديث นั้น คือผู้ถูกวิจารณ์ตำหนิอยู่ในลำดับ 4 ที่มีความอันตราย ซึ่งอยู่ในลำดับเดียวกับ فلان متهم بالكذب (นักรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก) متهم بالوضع (ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากุหะดิษ) ساقط (ผู้ตกไปในการพิจารณา) หรือ ليس بثقة (เขานั้นเชื่อถือไม่ได้) แบบนี้ถือว่าอันตราย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า เมื่อเป็นแบบนี้ หลักการวิชาการพิจารณาหะดิษได้กำหนดไว้อย่างไร?

คำตอบก็คือ

ต้องใช้หลักการที่ว่า


إذا إجتمع فى راو واحد الجرح والتعديل فالمعتمد انه يقدم الجرح على التعديل اذا كان مفسرا

"เมื่อการชมเชยและการตำหนิได้รวมอยู่ในนักรายงานคนเดียวกัน ดังนั้น ทัศนะที่ถูกยึดถือ ก็คือ ให้เอาการตำหนิ(นำมาพิจารณา)ก่อนการชมเชย เมื่อการตำหนินั้นถูกชี้แจงอธิบาย"

ดังนั้น ในกรณีของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ก็คือ การชมเชยตกไป โดยนำเอาการวิจารณ์ตำหนิว่าเขาขโมยหะดิษมาอยู่ก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก จึงมีสถานะภาพที่ฏออีฟตามหลักวิชาการของหะดิษ

เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะทำการสนทนาเลื่อนไปพิจารณาสายรายงานท่านอื่น โดยเพิกเฉยและยังไม่ได้ข้อสรุปของนักรายงานคนแรกนั้น ก็ยังกระไรอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงขอปรึกษาถาม คุณ MPW.SO ว่า

ประเด็นของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นั้น คุณจะรับพิจารณาตามหลักวิชาการหะดิษหรือเปล่า? ที่ระบุว่า

إذا إجتمع فى راو واحد الجرح والتعديل فالمعتمد انه يقدم الجرح على التعديل اذا كان مفسرا

"เมื่อการชมเชยและการตำหนิได้รวมอยู่ในนักรายงานคนเดียวกัน ดังนั้น ทัศนะที่ถูกยึดถือ ก็คือ ให้เอาการตำหนิ(นำมาพิจารณา)ก่อนการชมเชย เมื่อการตำหนินั้นถูกชี้แจงอธิบาย"

โปรดชี้แจงผมด้วย หรือว่ามีหลักการอื่นอีก นี่คือประเด็นจุดเปลี่ยนและบทสรุปประเด็นของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นะครับ โปรดชี้แจงด้วยนะครับ เพื่อจะเปลี่ยนประเด็นไปพิจารณานักรายงานท่านอื่นอีก อินชาอัลเลาะฮ์

MPW.SO

คุณอัซฮารีครับ กฎที่คุณอ้างมามันไม่ผิดหรอก แต่คำถามมีอยู่ว่า เราสามารถนำคำพูดของอิบนุอะดีดังกล่าวมาปฏิบัติกับกฎนี้หรือเปล่า
ซึ่งก่อนอื่นผมอยากจะให้คุณอัซฮารีลองพิจารณาและทำความเข้าใจกับคำพูดต่างๆต่อไปนี้ให้ถี่ถ้วยเสียก่อน เพราะแต่ละประโยคและแต่ละคำพูดของพวกเขามีความละเอียดอ่อนและลุ่มลึก มีการเปรยๆอยู่ในที ไม่เปิดเผยอย่างโจ่งแจ้ง โดยเฉพาะคำพูดของท่านอิบนุอะดีย์ที่อิบนุหะญัรและท่านอัซซะฮะบีย์ได้ถ่ายทอดไว้ว่า ‎يسرق الحديث‎ "ขโมยหะดิษ" แท้จริงแล้วอุละมาอฺ‎หะดีษเขาให้ความสำคัญกับคำพูดประโยคนี้หรือเปล่า กล่าวคือ
‎1. คำพูดของอิบนุหะญัรในตัฮซีบอัตตะฮฺซีบที่ว่า ?และเขาเป็นหะฟิซที่น่าเชื่อถือ? ‎وهو حافظ ‏ثقة‎ และต่อท้ายด้วยคำกล่าวของอิบนุอะดี ที่ว่า ?และอิบนุอะดีถือว่าเขาเป็นหนึ่งในจำนวนผู้ที่ขโมยหะดีษ? คล้ายกับจะประกาศให้คนอื่นรับรู้ว่า คำตำหนิดังกล่าวของอิบนุอะดีไม่ได้รับการพิจารณาในด้านสถานะความน่าเชื่อถือของอัลหะกัม ดังนั้นในการสรุปรวบยอดเกี่ยวกับสถานะของอัลหะกัมในหนังสือ อัตตักรีบท่านจึงระบุแต่เพียงว่า ‎صدوق ربما وهم‎ ?เชื่อถือได้ บางครั้งจะคลุมเครือบ้าง? ซึ่งถ้าท่านเห็นว่าคำพูดของอิบนุอะดีมีผลด้านการพิจารณาจริงๆ แน่นอนท่านย่อมต้องปฏิบัติก่อนใครเพื่อน เพราะถ้าเป็นอย่างที่คุณอัซฮะรีกล่าว อัลหะกัมต้องอยู่ในระดับที่ ‎ضعيف جدا‎ ?อ่อนมาก? ‎
‎2. เช่นเดียวกับจุดยืนของอัซซะฮะบีย์ ตามที่คุณอัซฮะรีได้นำเสนอไว้ คือหลังจากที่ท่านได้อ้าง‎ถึงอิบนุอะดีท่านก็ต่อท้ายด้วยคำว่า ?แต่ท่าน อิบนุ อะดีย์ ก็ไม่ได้ทำการกล่าวถึงท่านอัลหะกัม ‎บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? จะเห็นได้ว่าอัซซะฮะบีพยายามจะบอกว่าถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะพูดประโยคดังกล่าวออกมาแต่โดยแท้จริงแล้วไม่ใช่เป็นคำวิจารณ์เชิงตัดสินชี้ขาดของเขาเกี่ยวกับสถานะความน่าเชื่อถือของอัลหะกัม ดังนั้นเขาจึงไม่ได้ทำการกล่าวถึงอัลหะกัมเป็นการเฉพาะในหนังสืออัลกามิลนี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมรายชื่อบรรดานักรายงานที่อ่อนแอและถูกทิ้ง แต่ก็ไม่มีชื่ออัลหะกัมรวมอยู่ในนั้นด้วย ทั้งๆที่ท่านระบุออกมาว่าอัลหะกัมเป็นคนหนึ่งที่ขโมยหะดีษ ด้วยเหตุนี้อัซซะฮะบีจึงต่อท้ายด้วยคำว่า ‎‎(‎وهو صدوق‎) ?โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? เพื่อเป็นการบ่งชี้ว่า ถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะกล่าว‎เช่นนั้นแต่จริงๆแล้วอัลหะกัมเป็นคนที่เชื่อถือได้ วัลลอฮุอะอลัม
‎3. คำพูดของอิบนุอะดีในอัลกามิลเป็นคำพูดเชิงเล่าเรื่องไม่ใช่คำตัดสินชี้ขาดต่อสถานะของอัลหะกัมดังนี้คือ ‎‏(...وسرقه منه جماعة منهم عبد الوهاب الضحاك وسويد بن سعيد وأبو صالح ‏الخراساني الخاستي الحكم بن المبارك)‏
‎?และได้มีการขโมยหะดีษจากเขา (หมายถึงนุอีม บินหัมมาด) โดยกลุ่มหนึ่ง ส่วนหนึ่งในจำนวนนั้นคือ อับดุลวะฮาบ อัดเฎ๊าะหาก สุวัยด์ บิน สะอีด และอัลหะกัม บิน อัลมุบาร็อก? ดังนั้น‎ประโยคบอกเล่าเช่นนี้มาสามารถนำมาพาดพิงได้ว่าอิบนุอะดีกล่าวหาว่าอัลหะกัมเป็นผู้ที่ขโมยหะดีษ เพราะมันไม่ใช่คำชี้ขาดของเขา มันเป็นเพียงคำบอกเล่า ซึ่งระหว่างทั้งสองคำพูดมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในด้านความหมาย
‎4. สิ่งที่มายืนยันต่อความเข้าใจข้างต้นคือคำพูดของอิบนุอะดีเองตามที่อัซซะฮะบีย์ได้ระบุไว้ในอัลมีซาน (3621) ว่า
‎ ‎قال ابن عدى : وهذا إنما يعرف بنعيم بن حماد ، عن عيسى . ثم رواه الحكم بن ‏المبارك الخواستى خراساني يقال : إنه لا بأس به ? يعنى عن عيسى ، ثم سرقه ‏عبد الوهاب بن الضحاك ، والنضر بن طاهر ، وثالثهم سويد
‎?อิบนุอะดีกล่าวว่า ?หะดีษนี้ที่จริงเป็นที่รู้จักด้วยนามของนุอีม บินหัมมาด จากอีซา ต่อมาอัลหะกัม ‎บินอัลมุบารัก อัลเคาะวาสตี คุรอสานีย์ มีคนกล่าวว่า ?แท้จริงเขาเป็นคนที่ไม่เป็นไร? (ลาบะอฺส์ บิฮีเป็นคำเตาษีกที่อยู่ในระดับสี่มีความหมายเท่ากับคำว่า ?เศาะดูก?) ได้เล่าจากเขา หมายถึงอีซา ‎หลังจากนั้น อับดุลวะฮาบ บิน อัดเฎ๊าะหาก อันนะฎ็อร บิน ฏอฮิร และสุวัยด์ก็ขโมยต่อ? โดยที่เขา‎ได้คัดค้านต่อคำพูดของคนอื่นที่เขาอ้างถึงแต่อย่างใด
‎5. และสิ่งสำคัญที่สุดและอันตรายยิ่งสำหรับการใช้กฎที่คุณอัซฮารีนำเสนอมากับอัลหะกัม คือ ‎มันจะกระทบต่อสถานะของบรรดาอุละมาอฺท่านอื่นๆที่มีระบุในคำพูดของอิบนุอะดีด้วย ซึ่งผมขอยกท่านสุเวด บิน สะอีด มาเป็น‎ตัวอย่างสำหรับการวิจารณ์ กล่าวคือ สุเวด บิน สะอีดเป็นหนึ่งในบรรดาริญาลของอิหม่ามมุสลิม(ดู ‎อัตตะฮฺซีบ) และเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่ถูกอิบนุอะดีกล่าวพาดพิงด้วย ซึ่งสถานะความน่าเชื่อถือของเขาอยู่ในระดับเดียวกับอัลหะกัมหรือใกล้เคียง ดังนั้นถ้าคุณอัซฮารีเห็นว่า คำพูดของอิบนุอะดี ‎คือคำประกาศิตในการตัดสินชี้ขาดต่อสถานะของนักรายงานโดยการใช้กฎตัรญีหฺที่ว่า
الجرح مقدم على التعديل إذا كان مفسرا
‎ ก็เท่ากับว่าคุณอัซฮะรีกำลังจะประกาศให้ผู้คนรู้ว่า มีหะดีษจำนวนหนึ่งในเศาะหีหมุสลิมใช้ไม่ได้ ‎เพราะเป็นหะดีษที่รายงานมาจากสายของสุวัยด์ บิน สะอีด ซึ่งมีสถานะที่เฎาะอีฟญิดดัน เพราะ "คำวิจารณ์ของท่านอิบนุ อะดีย์ อีกเช่นกันว่า เขานั้น يسرق الحديث "ขโมยหะดิษ" ซึ่งผู้ที่โขมยหะดิษ يسرق الحديث นั้น คือผู้ถูกวิจารณ์ตำหนิอยู่ในลำดับ 4 ที่มีความอันตราย ซึ่งอยู่ในลำดับเดียวกับ فلان متهم بالكذب (นักรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก) متهم بالوضع (ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากุหะดิษ) ساقط (ผู้ตกไปในการพิจารณา) หรือ ليس بثقة (เขานั้นเชื่อถือไม่ได้) แบบนี้ถือว่าอันตราย" และหุกมของหะดีษที่รายงานโดยนักรายงานที่อยู่ในสถานี้คือในขณะที่คุณอัซฮารีเองคัดค้านทัศนะของอัลบานีอย่างที่สุดที่ไปวิจารณ์หรือหุกมว่ามีหะดีษที่ไม่เศาะหีหในเศาะหีหอัลบุคอรีย์ เพราะมีนักรายงานที่ไม่ถึงระดับที่น่าเชื่อถือได้ตามทัศนะของอัลบานี ‎
ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณอัซฮะรีก็จะเป็นคนแรกที่ระบุว่าในเศาะหีหมุสลิมมีหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน ในรอบ ‎‎10‎‏ ‏‎ ศตวรรษที่ผ่านมานับจากวันที่อิบนุอะดีได้กล่าวคำพูดดังกล่าวไว้ และอาจจะมีนัยรวมถึงการกล่าวหาว่าอุละมาอฺหะดีษก่อนหน้าคุณอัซฮะรีว่าฝีมือไม่เข้มข้นหรือไม่ถึงขั้นพอก็ได้ เพราะไม่มีใครสะดุดกับคำพูดของอิบนุอะดีดังกล่าวและนำมาเป็นบรรทัดฐานในการวิจารณ์ ทั้งกับอัลหะกัมเองและพรรคพวกอีกสองสามคนที่ถูกอิบนุอะดีพาดพิงถึง ทั้งๆที่มันเป็นคำพูดที่ร้ายแรง (ตามทัสนะของคุณอัซฮารี) วัลลอฮุอะอฺลัม‎

ผมขอฝากไว้เพียงแค่นี้สำหรับคำวิจารณ์ของผมเกี่ยวกับอัลหะกัม และจะไม่ขอเอ่ยถึงมันอีก ส่วนคุณอัซฮารีจะเห็นด้วยหรือไม่นั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของคุณเอง ถ้าคุณคิดว่าทฤฎีที่คุณกำลังพยายามอยู่ถูกต้องตามที่คุณเรียนมา ก็เป็นสิทธิของคุณ ‎

فستذكرون ما أقول لكم وأفوض أمري إلى الله إن الله بصير بالعباد وصلى الله على ‏نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم

والسلام عليكم ورحمة الله

al-azhary

ถึง คุณ MPW.SO حفظك الله

ขอบคุณที่ให้การชี้แจงรายละเอียด ดีใจครับ ที่นานทีผมจะได้รับประโยชน์จากคู่สนทนาเฉกเช่นคุณ อัลหัมดุลิลลาห์ แต่การนำเสนอของเรานั้น ผมคิดว่าเราน่าจะเปิดโอกาสสนทนาในประเด็นของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ต่อไป การที่คุณกล่าวลงท้ายว่า คุณจะไม่ขอเอ่ยถึงกรณีของ ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นั้น มันเป็นการกีดกันความรู้และทัศนะของคุณเอง ผมว่าหากมันอยู่ในเชิงวิชาการ ผมอยากให้คุณร่วมสนทนาต่อครับ และสิ่งที่คุณนำเสนอมานี้ โปรดรอผมวิจารณ์ทีละประเด็นนะครับ

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

ซึ่งก่อนอื่นผมอยากจะให้คุณอัซฮารีลองพิจารณาและทำความเข้าใจกับคำพูดต่างๆต่อไปนี้ให้ถี่ถ้วยเสียก่อน เพราะแต่ละประโยคและแต่ละคำพูดของพวกเขามีความละเอียดอ่อนและลุ่มลึก มีการเปรยๆอยู่ในที ไม่เปิดเผยอย่างโจ่งแจ้ง โดยเฉพาะคำพูดของท่านอิบนุอะดีย์ที่อิบนุหะญัรและท่านอัซซะฮะบีย์ได้ถ่ายทอดไว้ว่า ‎يسرق الحديث‎ "ขโมยหะดิษ" แท้จริงแล้วอุละมาอฺ‎หะดีษเขาให้ความสำคัญกับคำพูดประโยคนี้หรือเปล่า

ตอบ

อุลามาอ์หะดิษ เขาให้ความสำคัญจากคำพูดของท่าน อิบนุอะดีย์ครับ ด้วยหลักการหะดิษที่ว่า"แม้มีคนเดียวที่วิจารณ์ตำหนิหรือชมเชยก็สามารถรับพิจารณาได้" (หวังว่าคุณคงเคยเรียนวิชาตัครีจญฺหะดิษ) แต่หลักการรับพิจารณาอย่างไรนั้น ต้องดูหลักการอื่นมาประกอบ เพราะฉะนั้น คุณสมควรจะพิจารณาถึงการยืนยันความเชื่อถือของท่าน อิบนุหิบบานเสียก่อนนะครับว่า อุลามาอ์ท่านใดให้การยอมรับบ้าง ท่านอิบนุหิบบานบอกว่า อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นั้น ثقة (เชื่อถือได้) แต่ตรงนี้คุณก็จะให้การยอมรับด้วยทันที โดยที่ขาดการพิจารณาความละเอียดละออกของนักหะดิษที่ทำการพิจารณาในจุดยืนของท่านอิบนุหิบาน ทำไมคุณถึงไม่ฉุกคิดว่า ท่านอิบนุหิบบานบอกว่า ثقة (เชื่อถือได้) แต่ท่านอัซซะฮะบีย์ และอิบนุหะญัร(อะมีรุลมุอฺมินีนฟิลหะดิษ) ถึงไม่ยอมรับการชมเชยของท่านอิบนุหิบานและท่านอิบนุมุนดะฮ์?? ทำไมท่านอิบนุหะญัรได้สรุปว่า อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก นั้น ว่า صدوق ربما وهم "เขานั้นเป็นคนพูดจริง(คือไม่ใช่จอมโกหก) แต่บางครั้งคลุมเคลือ" ดังนั้น ทำไมท่านอิบนุหะญัรไม่ยึดตามทัศนะของท่านอิบนุหิบบานที่บอกว่า(เชื่อถือได้) นั่นก็เพราะว่า ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อกนั้น มีข้อตำหนิที่ท่านอิบนุอะดีย์ได้กล่าวระบุไว้ ดังนั้น การชมเชยของท่านอิบนุหิบบานนั้น จึงไม่เป็นที่ยอมรับหากไม่มีนักวิจารณ์หะดิษชั้นนำให้การยืนยันพร้อมด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ความ ثقة (เชื่อถือได้) ของท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก จึงตกไป โดยท่านอัซซะฮะบีย์บอกว่า เขานั้นแค่ صدوق แล้วท่านอิบนุหะญัรได้กล่าวย้ำอีกครั้วว่า صدوق ربما وهم "เขานั้นเป็นคนพูดจริง(คือไม่ใช่จอมโกหก) แต่บางครั้งคลุมเคลือ" ซึ่งประเด็นคำกล่าววิจารณ์ของท่านอัซซะฮะบีย์และท่านอิบนุหะญัรนี้ ผมจะอธิบายในการอ้างอิงถัดจากนี้ อินชาอัลเลาะฮ์

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

1. คำพูดของอิบนุหะญัรในตัฮซีบอัตตะฮฺซีบที่ว่า ?และเขาเป็นหะฟิซที่น่าเชื่อถือ? ‎وهو حافظ ‏ثقة‎ และต่อท้ายด้วยคำกล่าวของอิบนุอะดี ที่ว่า ?และอิบนุอะดีถือว่าเขาเป็นหนึ่งในจำนวนผู้ที่ขโมยหะดีษ? คล้ายกับจะประกาศให้คนอื่นรับรู้ว่า คำตำหนิดังกล่าวของอิบนุอะดีไม่ได้รับการพิจารณาในด้านสถานะความน่าเชื่อถือของอัลหะกัม ดังนั้นในการสรุปรวบยอดเกี่ยวกับสถานะของอัลหะกัมในหนังสือ อัตตักรีบท่านจึงระบุแต่เพียงว่า ‎صدوق ربما وهم‎ ?เชื่อถือได้ บางครั้งจะคลุมเครือบ้าง? ซึ่งถ้าท่านเห็นว่าคำพูดของอิบนุอะดีมีผลด้านการพิจารณาจริงๆ แน่นอนท่านย่อมต้องปฏิบัติก่อนใครเพื่อน เพราะถ้าเป็นอย่างที่คุณอัซฮะรีกล่าว อัลหะกัมต้องอยู่ในระดับที่ ‎ضعيف جدا‎ ?อ่อนมาก?

ตอบ

คุณอย่าเพิ่งสรุปซิครับว่า ท่านอัลหะกัม ?และเขาเป็นหะฟิซที่น่าเชื่อถือ? ‎وهو حافظ ‏ثقة‎ คือคำพูดของท่านอิบนุหะญัร เนื่องจากคำพูดของท่านอิบนุหะญัรเองนั้น ไม่ได้ยอมรับเช่นนั้น แต่ท่านอิบนุหะญัรได้ถ่ายทอดคำกล่าวชมเชยของท่านอิบนุหิบบานเท่านั้น หนังสือตะฮ์ซีบอัตตะฮ์ซีบของท่านอิบนุหะญัรนี้ ท่านอิบนุหะญัรได้ย่อให้สั้นลง ไปเป็นหนังสือ ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ ซึ่งเป็นหนังสือที่อิบนุหะญัร ได้ทำการกล่าวทัศนะของท่านจริงๆ ว่า อัลหะกัมนั้น صدوق ربما وهم‎ ?เชื่อถือได้ บางครั้งจะคลุมเครือ" แต่ทำไมถึงคลุมเคลือ ก็เพราะท่านอิบนุอะดีย์ได้ทำการวิจารณ์ตำหนิว่าโขมยหะดิษ

ผมนั้นไม่ได้ระบุเป็นเอกเทศน์ว่า ท่านอัลหะกัม อยู่ในระดับ ‎ضعيف جدا‎ ?อ่อนมาก? ซึ่งผมไม่เคยกล่าวระบุชัดๆ อย่างนี้ แต่ผมบอกว่า ท่านอัลหะกัม ก็มีคนที่ชมเชย เช่นท่านอิบนุหิบบาน และมีคนที่วิจารณ์ว่าพูดจริงแต่คลุมเคลืออย่างท่านอิบนุหะญัร และผมบอกว่าท่านอิบนุอะดีย์วิจารณ์ว่าเขานั้นขโมยหะดิษ ซึ่งการขโมยหะดิษนี้ อย่างในระดับขั้นการตำหนิที่อยู่ในระดับเดียวกับ (นักรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก) متهم بالوضع (ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากุหะดิษ) ساقط (ผู้ตกไปในการพิจารณา) หรือ ليس بثقة (เขานั้นเชื่อถือไม่ได้) แบบนี้ถือว่าอันตราย" ซึ่งการที่ผมยกมานี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าเป็นการตำหนิที่อันตรายเท่านั้นเอง หากคุณเรียนวิชาตัครีจญ์หะดิษ คุณก็จะพบถ้อยคำวิจารณ์ดังกล่าวว่าอยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้น เมื่ออยู่ในระดับเดียวกัน ก็ถือว่าท่านอัลหะกัม จึงเป็น"ผู้ที่ถูกวิจารณ์ตำหนิ" (ซึ่งผมจะเอาผลลัพธ์แค่นี้เอง) และเมื่อถูกตำหนิวิจารณ์แล้ว ความ ثقة (เชื่อถือได้)ของท่านอัลหะกัมที่ท่านอิบหุหิบบานให้การยอมรับต้องตกไป และเมื่อความ ثقة (เชื่อถือได้)ก็ตกไป ท่านอิบนุหะญัรจึงไม่ยอมรับการชมชมเชยของท่านอิบนุหิบบานและท่านอิบนุมุนดะฮ์ โดยบอกว่า แค่ صدوق ไม่ใช่ ثقة แล้วท่านอิบนุหะญัรได้กล่าวย้ำอีกครั้วว่า صدوق ربما وهم "เขานั้นเป็นคนพูดจริง(คือไม่ใช่จอมโกหก) แต่บางครั้งคลุมเคลือ" แล้วระดับของ صدوق และ صدوق ربما وهم "เขานั้นเป็นคนพูดจริง(คือไม่ใช่จอมโกหก) แต่บางครั้งคลุมเคลือ" นั้น อยู่ในขั้นถูกพิจารณาได้กระนั้นหรือ?

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

‎2. เช่นเดียวกับจุดยืนของอัซซะฮะบีย์ ตามที่คุณอัซฮะรีได้นำเสนอไว้ คือหลังจากที่ท่านได้อ้าง‎ถึงอิบนุอะดีท่านก็ต่อท้ายด้วยคำว่า ?แต่ท่าน อิบนุ อะดีย์ ก็ไม่ได้ทำการกล่าวถึงท่านอัลหะกัม ‎บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? จะเห็นได้ว่าอัซซะฮะบีพยายามจะบอกว่าถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะพูดประโยคดังกล่าวออกมาแต่โดยแท้จริงแล้วไม่ใช่เป็นคำวิจารณ์เชิงตัดสินชี้ขาดของเขาเกี่ยวกับสถานะความน่าเชื่อถือของอัลหะกัม ดังนั้นเขาจึงไม่ได้ทำการกล่าวถึงอัลหะกัมเป็นการเฉพาะในหนังสืออัลกามิลนี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมรายชื่อบรรดานักรายงานที่อ่อนแอและถูกทิ้ง แต่ก็ไม่มีชื่ออัลหะกัมรวมอยู่ในนั้นด้วย ทั้งๆที่ท่านระบุออกมาว่าอัลหะกัมเป็นคนหนึ่งที่ขโมยหะดีษ ด้วยเหตุนี้อัซซะฮะบีจึงต่อท้ายด้วยคำว่า ‎‎(‎وهو صدوق‎) ?โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? เพื่อเป็นการบ่งชี้ว่า ถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะกล่าว‎เช่นนั้นแต่จริงๆแล้วอัลหะกัมเป็นคนที่เชื่อถือได้ วัลลอฮุอะอลัม

ตอบ

หนังสือ อัลกามิล ของท่าอิบนุอะดีย์นั้น ไม่ใช่หมายถึงว่า ทุกรายงานทั้งหมดในนั้น จะฏออีฟ แต่เป็นหนังสือที่มีนักรายงานที่ถูกกล่าววิจารณ์ว่าฏออีฟ โดยที่หนังสือเล่มนั้น ก็มีนักรายงานมากมายที่ท่านอิบนุอะดีย์ วิจารณ์รวบยอดโดยสรุปว่า หะดิษของเขานั้นใช้ได้ หวังว่าคุณ MPW.SO คงเข้าใจ

และคำกล่าวของท่าน อิบนุดะอีย์มีผลต่อการพิจารณาหะดิษนะครับ เพราะเริ่มต้นนั้น ท่านอัซซะฮะบีย์ได้กล่าว ถึงการชมเชยของท่านอิบนุหิบบาล ที่ว่า ثقة (เชื่อถือได้) แต่หลังจากนั้น ท่านอัซซะฮะบีย์ สรุปฐานะที่ให้ต่ำลงมาโดยใช้คำว่า صدوق ซึ่งอยู่ในระดับชมเชยลำดับที่ 4 ซึ่งจะนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ตามหลักตัครีจญฺหะดิษ และการกล่าวว่า สถานะภาพของผู้รายงานที่ صدوق สามารถอยู่ในระดับขั้น หะซัน นั้น ถือว่าผิดตามหลักวิชาตักรีจญฺฮะดิษ เพราะระดับหะซันนั้นคือระดับที่ผู้รายงานสามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ แต่ระดับ صدوق นี้ นำมาเป็นหลักฐานไม่ได้นอกจากมีสายรายงานอื่นดีกว่ามาเสริม และ ระดับ صدوق นี้ จะนำมาพิจารณาและเอาไปทอดสอบเทียบกับนักรายงานที่มีความจำระดับสูงได้ แต่ในกรณีนี้ มีนักรายงานใดบ้างล่ะที่อยู่ในระดับซอฮิหฺพอที่จะมายกระดับของท่านอัลหะกัม

และด้วยสาเหตุการวิจารณ์ของท่านอิบนุอะดีย์นั้น ทำให้ท่านอิบนุหะญัร ลดระดับความ ثقة ของอัลหะกัม ให้ไปอยู่ในระดับ صدوق ربما وهم "เขานั้นเป็นคนพูดจริง(คือไม่ใช่จอมโกหก) แต่บางครั้งคลุมเคลือ" คือขนาดระดับ صدوق นี้ ยังนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้แล้ว และท่านอิบนุหะญัรยังกล่าวเสริมอีกว่า อัลหะกัมนั้น ربما وهم บางครั้งคลุมเคลือ" ยิ่งนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ตามทัศนะของท่านอิบนุหะญัรและตามหลักสูตรของวิชาตักรีจญฺหะดิษ หากเราไปดูหลักพิจารณาของท่านอิบนุหะญัรใน บทนำหนักสือ ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ นั้น เราพบคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรที่ว่า

الخامسة‏whistling#8207; من قصر عن الرابعة قليلاً، وإليه الإشارة بصدوق سيء الحفظ، أو صدوق يهم، أو له أوهام، أو يخطئ، أو تغير بأخرة ويلتحق بذلك من رمي بنوع من البدعة، كالتشيع والقدر، والنصب، والإرجاء، والتجهم، مع بيان الداعية من غيره‏

"ระดับที่ 5 นักรายงานคนใดที่บกพร่องจากระดับที่สี่เล็กน้อยนั้น โดยที่จะมีการบ่งชี้(ถึงสถานะภาพของเขาว่า) بصدوق سيء الحفظ "พูดจริงแต่ความจำเลว" หรือ صدوق يهم "เป็นคนพูดจริงแต่คลุมเคลือ" หรือ له أوهام "สำหรับเขานั้นมีบรรดาความคลุมเคลือ" หรือผิดพลาด หรือมีความจำเปลี่ยนไปในช่วงท้ายของชีวิต หรือผนวกด้วยสิ่งดังกล่าวกับผู้ที่ถูกกล่าวหาจาประเด็นหนึ่งของบิดอะฮ์ เช่นเป็นชีอะฮ์ , เป็นพวกก่อดะรียะฮ์ , เป็นผู้ที่เป็ศัตรูของอะฮ์ลิลบัยต์ , เป็นพวกมุรญิอะฮ์ , เป็นพวกญะฮ์มียะฮ์ , พร้อมกับอธิบายถึงผู้รายงานที่เรียกร้องผู้อื่น(ไปสู่บิดอะฮ์นั้นๆ)

ที่กล่าวมานี้ เราจะพบได้เลยครับว่า คำวิจารณ์ของท่านอิบนุอะดีย์ มีผลในการพิจารณ์นักรายงานหะดิษ และทำให้ระดับการชมเชยของท่านอิบนุหิบบานและท่านอิบนุมุนดะฮ์ตกไปอยู่ในระดับที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jul 27, 2012 5:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

3. คำพูดของอิบนุอะดีในอัลกามิลเป็นคำพูดเชิงเล่าเรื่องไม่ใช่คำตัดสินชี้ขาดต่อสถานะของอัลหะกัมดังนี้คือ
‎‏(...وسرقه منه جماعة منهم عبد الوهاب الضحاك وسويد بن سعيد وأبو صالح ‏الخراساني الخاستي الحكم بن المبارك)‏

‎?และได้มีการขโมยหะดีษจากเขา (หมายถึงนุอีม บินหัมมาด) โดยกลุ่มหนึ่ง ส่วนหนึ่งในจำนวนนั้นคือ อับดุลวะฮาบ อัดเฎ๊าะหาก สุวัยด์ บิน สะอีด และอัลหะกัม บิน อัลมุบาร็อก? ดังนั้น‎ประโยคบอกเล่าเช่นนี้มาสามารถนำมาพาดพิงได้ว่าอิบนุอะดีกล่าวหาว่าอัลหะกัมเป็นผู้ที่ขโมยหะดีษ เพราะมันไม่ใช่คำชี้ขาดของเขา มันเป็นเพียงคำบอกเล่า ซึ่งระหว่างทั้งสองคำพูดมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในด้านความหมาย

ตอบ

คุณบอกว่ามันไม่ใช่เป็นคำชี้ขาดจากท่านอิบนุอะดีย์ แต่ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้สรุปชี้ขาดว่า بأنه ممن يسرق الحديث "แท้จริงเขานั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ขโมยหะดิษ" นี่คือความเข้าใจของท่านอัซซะฮะบีย์ต่อคำกล่าววิจารณ์ของท่านอิบนุอะดีย์ และผลการวิจารณ์ของท่านอิบนุอะดีย์นี้ ทำให้ระดับ ثقة (เชื่อถือได้) ของท่านอัลหะกัม ตกลงมาอยู่ในระดับต่ำ คือ صدوق ที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานحجةได้ และยิ่งไปกว่านั้น ท่านอิบนุหะญัร ลดระดับความ ثقة ของอัลหะกัม ให้ไปอยู่ในระดับ صدوق ربما وهم "เขานั้นเป็นคนพูดจริง(คือไม่ใช่จอมโกหก) แต่บางครั้งคลุมเคลือ" คือขนาดระดับ صدوق นี้ จะนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้แล้ว และท่านอิบนุหะญัรยังกล่าวเสริมอีกว่า อัลหะกัมนั้น ربما وهم บางครั้งคลุมเคลือ" ยิ่งนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ตามทัศนะของท่านอิบนุหะญัรและตามหลักสูตรของวิชาตักรีจญฺหะดิษ

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

4. สิ่งที่มายืนยันต่อความเข้าใจข้างต้นคือคำพูดของอิบนุอะดีเองตามที่อัซซะฮะบีย์ได้ระบุไว้ในอัลมีซาน (3621) ว่า

‎ ‎قال ابن عدى : وهذا إنما يعرف بنعيم بن حماد ، عن عيسى . ثم رواه الحكم بن ‏المبارك الخواستى خراساني يقال : إنه لا بأس به ? يعنى عن عيسى ، ثم سرقه ‏عبد الوهاب بن الضحاك ، والنضر بن طاهر ، وثالثهم سويد

‎?อิบนุอะดีกล่าวว่า ?หะดีษนี้ที่จริงเป็นที่รู้จักด้วยนามของนุอีม บินหัมมาด จากอีซา ต่อมาอัลหะกัม ‎บินอัลมุบารัก อัลเคาะวาสตี คุรอสานีย์ มีคนกล่าวว่า ?แท้จริงเขาเป็นคนที่ไม่เป็นไร? (ลาบะอฺส์ บิฮีเป็นคำเตาษีกที่อยู่ในระดับสี่มีความหมายเท่ากับคำว่า ?เศาะดูก?) ได้เล่าจากเขา หมายถึงอีซา ‎หลังจากนั้น อับดุลวะฮาบ บิน อัดเฎ๊าะหาก อันนะฎ็อร บิน ฏอฮิร และสุวัยด์ก็ขโมยต่อ? โดยที่เขา‎ได้คัดค้านต่อคำพูดของคนอื่นที่เขาอ้างถึงแต่อย่างใด

ตอบ

คำว่า ลาบะซะอฺส์ บิฮี لا بأس به นี้อยู่ในขั้นระดับเดียวกับ صدوق นั้นถูกต้อง แต่คุณบอกว่า มันเป็นคำ เตาษีก توثيق นั้น ถือว่าผิดครับ เนื่องจากจะเป็นการ توثيق ได้นั้น ต้องเป็นคำวิจารณ์ของท่าน อิบนุ มะอีน เท่านั้น แต่นี่ไม่ใช่ เขาจึงเรียกว่า เป็นคำ ตะดีล تعديل ที่อยู่ในระดับต่ำที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ตามหลักการของหะดิษ

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

5. และสิ่งสำคัญที่สุดและอันตรายยิ่งสำหรับการใช้กฎที่คุณอัซฮารีนำเสนอมากับอัลหะกัม คือ ‎มันจะกระทบต่อสถานะของบรรดาอุละมาอฺท่านอื่นๆที่มีระบุในคำพูดของอิบนุอะดีด้วย ซึ่งผมขอยกท่านสุเวด บิน สะอีด มาเป็น‎ตัวอย่างสำหรับการวิจารณ์ กล่าวคือ สุเวด บิน สะอีดเป็นหนึ่งในบรรดาริญาลของอิหม่ามมุสลิม(ดู ‎อัตตะฮฺซีบ) และเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่ถูกอิบนุอะดีกล่าวพาดพิงด้วย ซึ่งสถานะความน่าเชื่อถือของเขาอยู่ในระดับเดียวกับอัลหะกัมหรือใกล้เคียง ดังนั้นถ้าคุณอัซฮารีเห็นว่า คำพูดของอิบนุอะดี ‎คือคำประกาศิตในการตัดสินชี้ขาดต่อสถานะของนักรายงานโดยการใช้กฎตัรญีหฺที่ว่า

الجرح مقدم على التعديل إذا كان مفسرا

‎ ก็เท่ากับว่าคุณอัซฮะรีกำลังจะประกาศให้ผู้คนรู้ว่า มีหะดีษจำนวนหนึ่งในเศาะหีหมุสลิมใช้ไม่ได้ ‎เพราะเป็นหะดีษที่รายงานมาจากสายของสุวัยด์ บิน สะอีด ซึ่งมีสถานะที่เฎาะอีฟญิดดัน เพราะ "คำวิจารณ์ของท่านอิบนุ อะดีย์ อีกเช่นกันว่า เขานั้น يسرق الحديث "ขโมยหะดิษ" ซึ่งผู้ที่โขมยหะดิษ يسرق الحديث นั้น คือผู้ถูกวิจารณ์ตำหนิอยู่ในลำดับ 4 ที่มีความอันตราย ซึ่งอยู่ในลำดับเดียวกับ فلان متهم بالكذب (นักรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก) متهم بالوضع (ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากุหะดิษ) ساقط (ผู้ตกไปในการพิจารณา) หรือ ليس بثقة (เขานั้นเชื่อถือไม่ได้) แบบนี้ถือว่าอันตราย" และหุกมของหะดีษที่รายงานโดยนักรายงานที่อยู่ในสถานี้คือในขณะที่คุณอัซฮารีเองคัดค้านทัศนะของอัลบานีอย่างที่สุดที่ไปวิจารณ์หรือหุกมว่ามีหะดีษที่ไม่เศาะหีหในเศาะหีหอัลบุคอรีย์ เพราะมีนักรายงานที่ไม่ถึงระดับที่น่าเชื่อถือได้ตามทัศนะของอัลบานี ‎ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณอัซฮะรีก็จะเป็นคนแรกที่ระบุว่าในเศาะหีหมุสลิมมีหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน ในรอบ ‎‎10‎‏ ‏‎ ศตวรรษที่ผ่านมานับจากวันที่อิบนุอะดีได้กล่าวคำพูดดังกล่าวไว้ และอาจจะมีนัยรวมถึงการกล่าวหาว่าอุละมาอฺหะดีษก่อนหน้าคุณอัซฮะรีว่าฝีมือไม่เข้มข้นหรือไม่ถึงขั้นพอก็ได้ เพราะไม่มีใครสะดุดกับคำพูดของอิบนุอะดีดังกล่าวและนำมาเป็นบรรทัดฐานในการวิจารณ์ ทั้งกับอัลหะกัมเองและพรรคพวกอีกสองสามคนที่ถูกอิบนุอะดีพาดพิงถึง ทั้งๆที่มันเป็นคำพูดที่ร้ายแรง (ตามทัสนะของคุณอัซฮารี) วัลลอฮุอะอฺลัม‎

ตอบ

คุณพยายามนำท่าน ซุวัยด์ บิน สะอีด ที่เป็นนักรายงานของท่านมุสลิม มาเปรียบกับกับ ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ที่ไม่ใช่เป็นนักรายงานของท่านมุสลิมนั้น ไม่ได้หรอกครับ เพราะการขโมยหะดิษนั้น ทำให้เกิดข้อตำหนิ และส่งผลให้ฐานะของผู้รายงานนั้นตกลำดับไป ซึ่งหากคุณไปดูประวัติของท่าน ซุวัยด์ บิน สะอีด ละก็ คุณจะพบว่าเขาถูกวิจารณ์ในหลายแง่มุม ทั้งชมเชยและตำหนิ และคุณทราบหรือไม่ว่าเขาถูกตำหนิเพราะอะไร?? แต่กระนั้น เขาก็ยังเป็นนักรายงานของท่านมุสลิม ซึ่งคุณพยายามชี้ให้เห็นว่า เขานั้นเชื่อถือได้ ซอฮิหฺ เพราะท่านมุสลิมนำมาเป็นนักรายงาน และหนังสือหะดิษของมุสลิมนั้นซอฮิหฺ นักรายงานก็ซอฮิหฺและน่าเชื่อถือไปด้วย เพื่อคุณจะนำมาโยงกับกรณีของ ท่านอัลหะกัม ซึ่งหากเป็นแบบนี้ คนที่โขมยหะดิษ ก็น่าเชื่อถือได้และซอฮิหฺกันหมดนะซิครับ!!

หากมีนักรายงานหะดิษคนใหนที่ขโมยหะดิษ แต่เขาต้องการที่จะให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ก็เอาคำอ้างกรณีของท่าน ซุวัยด์ บิน สะอีด มาอ้างใช่ไหมครับ?? แบบนี้นักรายงานหะดิษที่โขมยหะดิษที่รอดพ้นข้อกล่าวหาได้ทุกคนเพราะทำการอ้างแบบคุณ!!

และผมบอกว่าท่านอิบนุอะดีย์วิจารณ์ว่าเขานั้นขโมยหะดิษ ซึ่งการขโมยหะดิษนี้ อย่างในระดับขั้นการตำหนิที่อยู่ในระดับเดียวกับ (นักรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก) متهم بالوضع (ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากุหะดิษ) ساقط (ผู้ตกไปในการพิจารณา) หรือ ليس بثقة (เขานั้นเชื่อถือไม่ได้) แบบนี้ถือว่าอันตราย" ซึ่งการที่ผมยกมานี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าเป็นการตำหนิที่อันตรายเท่านั้นเอง หากคุณเรียนวิชาตัครีจญ์หะดิษ คุณก็จะพบถ้อยคำวิจารณ์ดังกล่าวว่าอยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้น เมื่ออยู่ในระดับเดียวกัน ก็ถือว่าท่านอัลหะกัม จึงเป็น"ผู้ที่ถูกวิจารณ์ตำหนิ" (ซึ่งผมจะเอาผลลัพธ์แค่นี้เอง) และเมื่อถูกตำหนิวิจารณ์แล้ว ความ ثقة (เชื่อถือได้)ของท่าน อัลหะกัมต้องตกไป

และเป็นที่ทราบดีว่า นักรายงานของท่าอัลบุคอรีย์และท่านมุสลิมนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนจะ ثقة ไปเสียทั้งหมด บางคนก็ฏออีฟ แต่ถูกยกระดับให้เป็น ซ่อฮิหฺละฆ๊อยริฮ์ โดยมีสายรายงานอื่นมาสนับสนุนหรือมีนักรายงานท่านอื่นมาสนับสนุน แล้วกรณีสายรายงานที่ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ได้การรายงานนั้น มีสายรายงานอื่นที่ซอฮิหฺมาสนับสนุนเหมือนกับนักรายงานของมุสลิม(เช่นท่านซุวัยด์)หรือเปล่าครับ??

ดังนั้น คุณจะมาโยงใยและพูดเหมาไม่ได้ว่า "ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณอัซฮะรีก็จะเป็นคนแรกที่ระบุว่าในเศาะหีหมุสลิมมีหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน ในรอบ ‎‎10‎‏ ‏‎ ศตวรรษที่ผ่านมานับจากวันที่อิบนุอะดีได้กล่าวคำพูดดังกล่าวไว้ และอาจจะมีนัยรวมถึงการกล่าวหาว่าอุละมาอฺหะดีษก่อนหน้าคุณอัซฮะรีว่าฝีมือไม่เข้มข้นหรือไม่ถึงขั้นพอก็ได้"!!!??

และการที่คุณยกเหมามาอย่างนี้ นั่นก็ย่อมชี้ให้เห็นว่า คุณยังไม่มีความละเอียดละออในเรื่องหลักพิจารณาหะดิษ ไม่รู้จักแบ่งแยกระหว่างนักรายงานของท่านมุสลิมและนักรายงานของท่านอื่นจากมุสลิม และการโยงใยแอบอ้างของคุณนั้น เป็นมันช่วงโหว่ที่จะทำให้ นักรายงานที่ขโมยหะดิษ เป็นผู้ที่ชอบธรรมไปในที่สุด ด้วยการอ้างกรณีของท่าน ซุวัยด์ บิน สะอีด แบบนี้ถือว่าเป็นการฉาบฉวยครับ วัลลอฮุอะลัม

غفر الله لى ولنا ولوالدينا

الأزهرى الشافعى

والسلام

al-azhary

ผู้ที่เอา สายรายงานคำพูดของท่านอิบนุมัสอูด ไปฮุกุ่มบิดอะฮ์หะรอมกับฝ่ายอื่น นั้น รู้สึกว่าจะไม่เป็นธรรมเสียแล้วละครับ การวิจารณ์ อัมร์ บิน ยะหฺยา ยังไม่ถึง การวิจารณ์ทางด้านตัวบทยังไม่ถึง เพียงแค่กรณีของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ก็ทำให้ผู้ชอบอ้างตนเองว่าตามอัลกุรอานและซุนนะฮ์อย่างแท้จริง ทำการหุกุ่มผู้อื่นทำบิดอะฮ์ไม่อยู่ในความชอบธรรมเสียแล้วครับ

MPW.SO

คุณอย่าเพิ่งสรุปซิครับว่า ท่านอัลหะกัม ?และเขาเป็นหะฟิซที่น่าเชื่อถือ? ‎وهو حافظ ‏ثقة‎ คือคำพูดของท่านอิบนุหะญัร เนื่องจากคำพูดของท่านอิบนุหะญัรเองนั้น ไม่ได้ยอมรับเช่นนั้น แต่ท่านอิบนุหะญัรได้ถ่ายทอดคำกล่าวชมเชยของท่านอิบนุหิบบานเท่านั้น‏ ‏

‎ตอบ

ผมไม่ได้สรุปว่าอัลหะกัมษิเกาะฮฺ เพียงแต่ยกคำพูดของอิบนุหะญัรมาอ้างเท่านั้น ซึ่งเป็น‎คำพูดของเขาในตะฮฺซีบ และผมไม่อยากจะคิดเลยว่าที่คุณอัซฮะรีปฏิเสธคำพูดของอิบนุหะญัรในตะฮฺซีบ และอ้างว่าท่านถ่ายทอดเฉพาะคำกล่าวชมเชยของท่านอิบนุหิบบานเท่านั้น ที่จริงแล้วคุณอัซฮะรีไม่เคยสนใจที่จะเปิดดูคำพูดของอิบนุหะญัรเลย ซึ่งที่จริงแล้วแม้แต่คำชมเชยของอิบนุหิบบานเองท่านก็ไม่ได้ยกมาเลยแม้แต่คำเดียว ท่านเพียงแต่ระบุว่า ?และอิบนุหิบบานได้ระบุ‎(ชื่ออัลหะกัม) ไว้ในหนังสืออัสษิกอต? ลองสังเกตุดูตัวบทในตะฮฺซีบต่อไปนี้‎
قال أبو عبد الله بن مندة أحد الثقات وذكره بن حبان في الثقات وقال خاشت ناحية المصلي ‏ببلخ قال البخاري مات سنة 13 أو نحوها له عند الترمذي حديث واحد في الملحمة الكبرى ‏قلت وقال بن السمعاني خواشت من قرى بلخ وهو حافظ ثقة وعده بن عدي في ترجمة أحمد ‏بن عبد الرحمن الوهبي فيمن يسرق الحديث
นี่แหละคือที่มาของคำพูดผมที่ว่า ?คล้ายกับจะประกาศให้คนอื่นรับรู้ว่า คำตำหนิดังกล่าวของอิบนุอะดีไม่ได้รับการพิจารณาในด้านสถานะความน่าเชื่อถือของอัลหะกัม ดังนั้นในการสรุปรวบยอดเกี่ยวกับสถานะของอัลหะกัมในหนังสือ อัตตักรีบท่านจึงระบุแต่เพียงว่า ‎صدوق ربما وهم‎ ‎‎?เชื่อถือได้ บางครั้งจะคลุมเครือบ้าง? วัลลอฮุอะอฺลัม

MPW.SO

‎คุณบอกว่ามันไม่ใช่เป็นคำชี้ขาดจากท่านอิบนุอะดีย์ แต่ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้สรุปชี้ขาดว่า ‎بأنه ‏ممن يسرق الحديث‎ "แท้จริงเขานั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ขโมยหะดิษ" นี่คือความเข้าใจของท่านอัซซะฮะบีย์ต่อคำกล่าววิจารณ์ของท่านอิบนุอะดีย์ ‎
-------------------------------------------------
ตอบ
คุณอัซฮารีครับทำไมคุณถึงยกเฉพาะคำกล่าวของท่านที่ว่า "แท้จริงเขานั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ขโมยหะดิษ" เท่านั้นละครับ แล้วคำพูดของท่านก่อนหน้านั้นที่ว่า ?เล่าวะหะ? (ให้สัญญานแต่ไกลๆ) หายไปไหน? คำพูดของท่านคำนี้ไม่มีความหมายพอที่จะได้รับการพิจารณาเลยหรือว่าท่านต้องการจะบอกอะไร เช่นเดียวกับคำพูดของท่านหลังจากนั้นที่ว่า ?แต่ท่าน อิบนุ อะดีย์ ก็ไม่ได้ทำการกล่าวถึงท่านอัลหะกัม ‎บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง?‎
คุณอัซฮารีครับผมอยากให้คุณลองพิจารณาคำพูดของอิบนุอะดีในบทนำของหนังสืออัลกามิลต่อไปนี้
و(أنا) ذاكر في كتابي هذا كل من ذكر بضرب من الضعف... وصنفته على حروف المعجم ‏ليكون أسهل على من طلب راويا منهم، ولا يبقى من الرواة الذين لم أذكر هم إلا من هو ثقة ‏أو صدوق...‏
‎?และข้าพเจ้าได้ระบุในหนังสือเล่มนี้ของข้าพเจ้าทุกๆคนที่มีถูกกล่าว(พาดพิง)ด้วยประเภทใดประเภทหนึ่งของความอ่อน...และข้าพเจ้าได้เรียบเรียงมันตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อผู้ที่จะสืบหานักรายงานใดๆในหมู่พวกเขา และไม่มีนักรายงานที่หลงเหลือที่ข้าพเจ้าไม่ได้เอ่ยถึงพวกเขา ‎นอกจากว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ษิเกาะฮฺหรือเศาะดูก ...?‎
นี่แหละคือที่มาของความเข้าใจของอัซซะฮะบีที่ว่า ?แต่ท่าน อิบนุ อะดีย์ ก็ไม่ได้ทำการกล่าวถึงท่านอัลหะกัม ‎บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ? และต่อท้ายด้วยคำว่า ?โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? ‎หมายความว่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มนักรายงานที่อ่อนที่ท่านเรียงไล่ตามตัวอักษร
และนี่แหละคือที่มาของคำสรุปของผมที่ว่า ?จะเห็นได้ว่าอัซซะฮะบีพยายามจะบอกว่าถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะพูดประโยคดังกล่าวออกมาแต่โดยแท้จริงแล้วไม่ใช่เป็นคำวิจารณ์เชิงตัดสินชี้ขาดของเขาเกี่ยวกับสถานะความน่าเชื่อถือของอัลหะกัม ดังนั้นเขาจึงไม่ได้ทำการกล่าวถึงอัลหะกัมเป็นการเฉพาะในหนังสืออัลกามิลนี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมรายชื่อบรรดานักรายงานที่อ่อนแอและถูกทิ้ง ‎แต่ก็ไม่มีชื่ออัลหะกัมรวมอยู่ในนั้นด้วย ทั้งๆที่ท่านระบุออกมาว่าอัลหะกัมเป็นคนหนึ่งที่ขโมยหะดีษ ด้วยเหตุนี้อัซซะฮะบีจึงต่อท้ายด้วยคำว่า ‎‎(‎وهو صدوق‎) ?โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? ‎เพื่อเป็นการบ่งชี้ว่า ถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะกล่าว‎เช่นนั้นแต่จริงๆแล้วอัลหะกัมเป็นคนที่เชื่อถือได้ ‎วัลลอฮุอะอลัม

al-azhary

คุณ MPW.SO

ผมได้ทำการอธิบายไปพอสมควร แต่ไม่นึกว่า คุณเมินแต่ประเด็นสำคัญ โดยเอาคำว่า صدوق ในอยู่ระดับ ثقة (เชื่อถือได้) และเมินเฉยต่อหลักการของระดับ صدوق ว่าจะนำมาเป็นหลักฐานได้หรือเปล่า? และอยู่ในระดับสถานะภาพใด? และเมินคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรที่ได้สรุปรวบยอดเอาไว้ และคุณก็รู้ดีว่า ฐานะของ صدوق นั้น อยู่ระดับสี่ ที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานยืนยันได้ โดยเฉพาะเอามาหูกุ่มบิดอะฮ์(หะรอม) กับแนวทางอื่นๆ เรื่องวายิบและหะรอม นั้น มันต้องเข้มข้น ไม่ใช่อยู่ในหลักฐานระดับจางๆ อย่างนี้

ยังมีต่อ....

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

ผมไม่ได้สรุปว่าอัลหะกัมษิเกาะฮฺ เพียงแต่ยกคำพูดของอิบนุหะญัรมาอ้างเท่านั้น ซึ่งเป็น‎คำพูดของเขาในตะฮฺซีบ และผมไม่อยากจะคิดเลยว่าที่คุณอัซฮะรีปฏิเสธคำพูดของอิบนุหะญัรในตะฮฺซีบ

ตอบ

ท่านอิบนุหะญัร กล่าวรายงานทัศนะของท่านอื่น นั่นก็ไม่ใช่หมายความว่า ท่านอิบนุหะญัร จะยอมรับทัศนะเหล่านั้น เพราะว่าท่านอิบนุหะญัรเอง ก็สรุปทัศนะของท่านในหนังสือ ตักรีบอัตตะฮ์ซีบแล้วว่าท่านอัลหะกัมนั้น ‎صدوق ربما وهم‎ ‎‎?พูดจริง แต่บางครั้งจะคลุมเครือ? ซึ่งหากคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัรในหนังสื อัตตะฮ์ซีบ เป็นทัศนะหรือคำกล่าวของท่านจริง แล้วทำไมท่านอิบนุหะญัรถึงต้องมาสรุปถึงสถานะภาพของท่านอัลหะกัมว่า ‎صدوق ربما وهم‎ ‎ ‎‎"พูดจริง แต่บางครั้งจะคลุมเครือ? ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำจนไม่สามรถนำมาเป็นหลักฐานยืนยันฮุกุ่มหะรอม(บิดอะฮ์)และวายิบได้เลย อันนี้คุณก็รู้ดีในเรื่องของระดับการชมเชย ไม่ใช่ว่าจะชมเชยแล้วนำมาเป็นหลักฐานได้หมด อันนี้ผิดแล้วครับ

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

ที่จริงแล้วคุณอัซฮะรีไม่เคยสนใจที่จะเปิดดูคำพูดของอิบนุหะญัรเลย ซึ่งที่จริงแล้วแม้แต่คำชมเชยของอิบนุหิบบานเองท่านก็ไม่ได้ยกมาเลยแม้แต่คำเดียว ท่านเพียงแต่ระบุว่า ?และอิบนุหิบบานได้ระบุ‎(ชื่ออัลหะกัม) ไว้ในหนังสืออัสษิกอต? ลองสังเกตุดูตัวบทในตะฮฺซีบต่อไปนี้‎
قال أبو عبد الله بن مندة أحد الثقات وذكره بن حبان في الثقات وقال خاشت ناحية المصلي ‏ببلخ قال البخاري مات سنة 13 أو نحوها له عند الترمذي حديث واحد في الملحمة الكبرى ‏قلت وقال بن السمعاني خواشت من قرى بلخ وهو حافظ ثقة وعده بن عدي في ترجمة أحمد ‏بن عبد الرحمن الوهبي فيمن يسرق الحديث
นี่แหละคือที่มาของคำพูดผมที่ว่า ?คล้ายกับจะประกาศให้คนอื่นรับรู้ว่า คำตำหนิดังกล่าวของอิบนุอะดีไม่ได้รับการพิจารณาในด้านสถานะความน่าเชื่อถือของอัลหะกัม ดังนั้นในการสรุปรวบยอดเกี่ยวกับสถานะของอัลหะกัมในหนังสือ อัตตักรีบท่านจึงระบุแต่เพียงว่า ‎صدوق ربما وهم‎ ‎‎?เชื่อถือได้ บางครั้งจะคลุมเครือบ้าง? วัลลอฮุอะอฺลัม

ตอบ

ดังที่ผมได้ชี้แจงไปแล้วว่า ท่านอิบนุหะญัร เพียงแต่ถ่ายทอดคำกล่าวของท่าน อิบนุหิบบานและท่านอื่นๆเท่านั้น โดยที่ท่านอิบนุหะญัรไม่ได้ลงความเห็นให้น้ำหนักเอาไว้ในหนังสือ อัตตะฮซีบ แต่ท่านอิบนุหะญัรได้ให้น้ำหนักและยืนยันทัศนะของท่านเองอย่างตรงไปตรงมาในหนังสือ ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ ซึ่งเป็นหนังสือที่ประพันธ์ขึ้นหลังจากหนังสืออัตตะฮ์ซีบ ว่า "‎صدوق ربما وهم‎ ‎‎?เขาพูดจริง แต่บางครั้งจะคลุมเครือ? แล้วทำไมท่านอิบนุหะญัรไม่พูดตามทัศนะของท่านอิบนุหิบบานละครับว่า حافظ ثقة คุณสามารถให้คำตอบได้ไหม?? ทำไมท่านอิบนุหะญัร ถึงวิจารณ์ท่านอัลหะกัม โดยให้มีอยู่ลำดับต่ำขั้นที่ 5 ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตักรีบ อัตตะฮ์ซีบของท่าน ?? ซึ่งระดับขั้นที่ 5 นี้ จะนำมาเป็นหลักฐานยืนยันอะไรไม่ได้!! แล้วทำไมคุณถึงไม่พิจารณาจุดนี้บ้างครับ วัลฮุอะลัม

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

นี่แหละคือที่มาของความเข้าใจของอัซซะฮะบีที่ว่า ?แต่ท่าน อิบนุ อะดีย์ ก็ไม่ได้ทำการกล่าวถึงท่านอัลหะกัม ‎บิน อัลมุบาร๊อก อย่างเป็นเอกเทศ? และต่อท้ายด้วยคำว่า ?โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? ‎หมายความว่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มนักรายงานที่อ่อนที่ท่านเรียงไล่ตามตัวอักษร

ตอบ

แล้วคุณรู้สาเหตุที่ท่าน อิบนุอะดีย์ อิบนุอะดีย์ ไม่นำลงมาไว้ในหนังสือ อัลกามิล หรือเปล่าครับ? แต่มันก็ไม่ใช่หมายความว่า ท่านอัลหะกัม คือ ผู้ที่อยู่ในสถานะภาพ ثقة ตามทัศนะของของท่านอิบนุอะดีย์เสมอไป เนื่องจากท่านอิบนุอะดีย์ได้กล่าวเปรยไว้ในหนังสือ อัลกามิล ของท่านด้วย ดังนั้น ผมอยากทราบว่า คำกล่าวของท่านอิบนุดะอีย์ ไม่มีผลการพิจารณาตามทัศนะของอุลามาอ์นักวิจารณ์หะดิษเลยหรือ? แล้วทำไมท่านอิบนุหะญัรจึงตัดสินสถานะภาพของท่านอัลหะกัม อยู่ต่ำในลำดับที่ 5 ที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานยืนยันรับรองด้วยเลยละครับ?? โปรดพิจาราตรงจุดนี้ด้วย

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

คุณอัซฮารีครับผมอยากให้คุณลองพิจารณาคำพูดของอิบนุอะดีในบทนำของหนังสืออัลกามิลต่อไปนี้
و(أنا) ذاكر في كتابي هذا كل من ذكر بضرب من الضعف... وصنفته على حروف المعجم ‏ليكون أسهل على من طلب راويا منهم، ولا يبقى من الرواة الذين لم أذكر هم إلا من هو ثقة ‏أو صدوق...‏
‎?และข้าพเจ้าได้ระบุในหนังสือเล่มนี้ของข้าพเจ้าทุกๆคนที่มีถูกกล่าว(พาดพิง)ด้วยประเภทใดประเภทหนึ่งของความอ่อน...และข้าพเจ้าได้เรียบเรียงมันตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อผู้ที่จะสืบหานักรายงานใดๆในหมู่พวกเขา และไม่มีนักรายงานที่หลงเหลือที่ข้าพเจ้าไม่ได้เอ่ยถึงพวกเขา ‎นอกจากว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ษิเกาะฮฺหรือเศาะดูก ...?‎

ตอบ

คุณพยายามจะบอกว่า ผู้ที่ท่านอิบนุอะดีย์ไม่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลกามิล นั้น คือผู้ที่ เชื่อถือได้และเศาะดูก...แต่เหตุใดท่านอิบนุอะดีย์ ถึงต้องกล่าวเปรยออกมาในหนังสืออัลกามิล ?? และมันมีผลพิจารณาต่อนักวิจารณ์หะดิษท่านอื่นหรือไม่? และสถานะภาพของท่าน อัลมุบาร๊อก ต้องลดลงมาอยู่ในลำดับที่ 5 ที่ไม่สามารนำมาเป็นหลักฐานตามหลักการของหะดิษเพราะเหตุใด??

คุณพยายามบอกว่า ท่านอัลหะกัมไม่ฏออีฟ คือ เชื่อถือได้ เพราะท่านอัลหะกัมไม่ได้ถูกระบุไว้ในหนังสือ อัลกามิล แต่ นักรายงานคนต่อไป ที่ชื่อ عمرو بن يحي อัมร์ บิน ยะหฺยา ได้ถูกระบุไว้ในหนังสือ อัลกามิล ของท่านอิบนุอะดีย์ แล้วผมจะคอยดูครับว่า คุณจะดิ้นอย่างไรอีกเพื่อให้ อัมร์ บิน ยะหฺยา หลุดออกจากการฏออีฟเพราะถูกระบุไว้ในหนังสืออัลกามิลตามที่คุณกล่าวอ้าง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jul 27, 2012 5:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


al-azhary

อ้างอิงจากMPW.SO

ที่จริงแล้วคุณอัซฮะรีไม่เคยสนใจที่จะเปิดดูคำพูดของอิบนุหะญัรเลย ซึ่งที่จริงแล้วแม้แต่คำชมเชยของอิบนุหิบบานเองท่านก็ไม่ได้ยกมาเลยแม้แต่คำเดียว ท่านเพียงแต่ระบุว่า ?และอิบนุหิบบานได้ระบุ‎(ชื่ออัลหะกัม) ไว้ในหนังสืออัสษิกอต?

ตอบ

ทำไมคุณถึงไม่สังเกตุคำพูดของผมละครับ การชมเชยของท่านอิบนุหิบบานนั้น มีปัญหาอยู่ เพราะท่านอิบนุหะญัรไม่ยอมรับไปเสียทั้งหมด คุณก็น่าจะทราบว่า การชมเชยของท่านอิบนุหิบบานเพียงลำพังคนเดียวนั้น จะนำมาพิจารณาไม่ได้ และหากการชมเชยของท่านอิบนุหิบานขัดแย้งกับนักวิชาการหะดิษที่อาวุโสกว่า ยิ่งนำมาพิจารณาไม่ได้เลย อันนี้เป็นที่ทราบดีสำหรับผู้ร่ำเรียนวิชาหะดิษ แต่คุณอาจจะพูดว่ามีคนอื่นให้การยืนยันความ ثقة เชื่อถือกับท่านอัลหะกัมด้วย แต่กระนั้น ผมขอถามว่า เหตุใดท่านอัซซะฮะบีย์ไม่ยอมรับ ความ ثقة ของท่านอัลหะกัม โดยนำไปอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า คือ صدوق ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานยืนยันได้ และท่านอิบนุหะญัรก็ไม่ให้การยอมรับการยืนยัน ثقة ของท่านอิบนุหิบบานเช่นกัน โดยท่านอิบนุหะญัรนำท่านอัลหะกัมไปอยู่ในลำดับต่ำที่ 5 คือ صدوق ربما يهم ซึ่งเป็นลำดับที่ไม่สามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานยืนยันได้เลย!! โปรดพิจารณาครับ

al-azhary

อ้างอิงจากMPW.SO

และนี่แหละคือที่มาของคำสรุปของผมที่ว่า ?จะเห็นได้ว่าอัซซะฮะบีพยายามจะบอกว่าถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะพูดประโยคดังกล่าวออกมาแต่โดยแท้จริงแล้วไม่ใช่เป็นคำวิจารณ์เชิงตัดสินชี้ขาดของเขาเกี่ยวกับสถานะความน่าเชื่อถือของอัลหะกัม ดังนั้นเขาจึงไม่ได้ทำการกล่าวถึงอัลหะกัมเป็นการเฉพาะในหนังสืออัลกามิลนี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมรายชื่อบรรดานักรายงานที่อ่อนแอและถูกทิ้ง ‎แต่ก็ไม่มีชื่ออัลหะกัมรวมอยู่ในนั้นด้วย ทั้งๆที่ท่านระบุออกมาว่าอัลหะกัมเป็นคนหนึ่งที่ขโมยหะดีษ ด้วยเหตุนี้อัซซะฮะบีจึงต่อท้ายด้วยคำว่า ‎‎(‎وهو صدوق‎) ?โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? ‎เพื่อเป็นการบ่งชี้ว่า ถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะกล่าว‎เช่นนั้นแต่จริงๆแล้วอัลหะกัมเป็นคนที่เชื่อถือได้ ‎วัลลอฮุอะอลัม

ตอบ

คุณบอกว่า " แต่ก็ไม่มีชื่ออัลหะกัมรวมอยู่ในนั้นด้วย ทั้งๆที่ท่านระบุออกมาว่าอัลหะกัมเป็นคนหนึ่งที่ขโมยหะดีษ ด้วยเหตุนี้อัซซะฮะบีจึงต่อท้ายด้วยคำว่า ‎‎(‎وهو صدوق‎) ?โดยที่เขาเองนั้นก็เป็นผู้ที่พูดจริง? ‎เพื่อเป็นการบ่งชี้ว่า ถึงแม้ว่าอิบนุอะดีจะกล่าว‎เช่นนั้นแต่จริงๆ แล้วอัลหะกัมเป็นคนที่เชื่อถือได้" ผมอยากถามคุณสักนิดว่า[/u] หากคำกล่าวของท่านอิบนุอะดีย์ไม่เป็นผล ทำไมท่านอัซซะฮะบีย์ จึงไม่กล่าวยืนยันว่า ท่านอัลหะกัมนั้น ثقة แต่ท่านทำไมท่านอัซซะฮะบีย์ถึงกล่าวยืนยันลำดับที่ต่ำลงมาว่า صدوق ซึ่งเป็นลำดับที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานยืนยันในฐานะภาพของตัวหะดิษได้?? ดังนั้น ทำไมท่านอัซซะฮะบีย์ ถึงลดลำดับความน่าเชื่อถือ? คุณตอบได้ไหม??

แต่คุณก็พยายามบอกว่า ثقة หมายถึง "เชื่อถือได้" แล้วบอกอีกว่า صدوق ก็คือ "เชื่อถือได้" ผมจึงไม่ทราบว่า คุณรู้การแยกแยะระหว่างคำว่า ثقة และ صدوق หรือเปล่า? หรือคุณเหมารวมเอาว่าทั้งสอง ฐานะนี้ มันเหมือนกัน?? แบบนี้ถือว่าผิดและไม่ใช่หลักการของวิชาหะดิษ?? กล่าวคือ ลำดับการชมเชยเป็นสรุปให้คุณพิจารณา มีดังนี้

ลำดับที่ 1. أوثق الناس (เขาเป็นมนุษย์(นักรายงาน)ที่น่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง) ระดับชมเชยนี้ ถือว่า ระดับสูงสุด และนำมาเป็นหลักฐานยืนยันได้

ลำดับที่ 2. ثقة ثقة (เชื่อถือได้ เชื่อถือได้) ซึ่งเป็นการกล่าวย้ำซ้ำกัน ระดับนี้เป็นลำดับรองลงมา ซึ่งนำมาเป็นหลักฐานยืนยันได้

ลำดับที่ 3. ثقة (เชื่อถือได้) ซึ่งเป็นลำดับแรงลงมาอีก ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานได้

ลำดับที่ 4. (เขาเป็นคนที่พูดจริง) หมายถึงเขาไม่ชอบเป็นคนโกหก แต่ความจำอาจจะไม่ดี หรือมีความสับสน ก็ย่อมอยู่ในลำดับ صدوق ซึ่งลำดับนี้ ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐาน حجة ยืนยันความซอฮิหฺของหะดิษได้ แม้กระทั้งความหะซันของหะดิษ ก็จะนำมาอ้างเลยไม่ได้ ตรงนี้คุณควรพิจารณาบ้าง

ลำดับที่ 5. صدوق يهم (พูดจริงโดยที่มีความคลุมเครือ) ตามทัศนะของท่านอิบนุหะญัรแล้ว ย่อมนำมาเป็นหลักฐานในการยืนยันว่า ซอฮิหฺและหะซันได้เลย

เป็นที่ทราบดีว่า อุลามาอ์นักวิจารณ์หะดิษนั้น ท่านได้ทำการตัดสินตามการวินิจฉัยและตามความรู้ที่ท่านได้สืบทราบมา เช่นท่านอิบนุหิบบาน บอกว่า ท่านอัลหะกัม นั้น "เชื่อถือได้" โดยที่ท่านไม่รู้ว่า ท่านอัลหะกัมคือผู้ที่เคยขโมยหะดิษ แต่ท่านอิบนุอะดีย์กลับได้ทราบว่า ท่านอัลหะกัมเคยขโมยหะดิษ และนักปราชญ์หะดิษรุ่นต่อๆ มา ก็นำคำวิจารย์ของอุลามาอ์ยุคก่อนจากนั้น มาวินิจฉัยตามหลักการของหะดิษอีกทีหนึ่ง เช่น ท่านอัซซะฮะบีย์ ท่านอิบนุหะญัร ท่านอัสศะยูฏีย์ และท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ เป็นต้น

แล้วคุณรู้ไหมว่า ทำไมผมจึงต้องทำการวิจารณ์หะดิษเหล่านี้ นั่นก็เพราะว่า สายรายงานเกี่ยวกับ เรื่องหะรอม บิดอะฮ์ลุ่มหง และเรื่องวายิบ นั้น ต้องเข้มข้นในการวิจารณ์และต้องการไปยังการตรวจสอบที่ถี่ถ้วน ไม่ใช่ว่า เอาสายรายงานที่ไร้ความเข้มข้นและจางๆ อย่างนี้ มาหุกุ่มบิดอะฮ์ หะรอม กับแนวทางอื่นๆ แต่หากในเรื่องของคุณงามความดี อันนี้บรรดาอุลามาอ์หะดิษทั้งหลายเขาผ่อนปรนเกี่ยวกับการวิจารณ์หะดิษ วัลลอฮุอะลัม


al-azhary

แก้ไข

ลำดับที่ 5. صدوق يهم (พูดจริงโดยที่มีความคลุมเครือ) ตามทัศนะของท่านอิบนุหะญัรแล้ว ย่อมนำมาเป็นหลักฐานในการยืนยันว่า ซอฮิหฺและหะซันได้เลย

ไปเป็น

ลำดับที่ 5. صدوق يهم (พูดจริงโดยที่มีความคลุมเครือ) ตามทัศนะของท่านอิบนุหะญัรแล้ว ย่อมไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการยืนยันว่า ซอฮิหฺและหะซันได้เลย

คุณ MPW.SO ครับ

หากคุณจะสนทนาชี้แจงต่อไป โปรดพิจารณา อักษรที่ผมเน้น เน้นสี หรือเน้นด้วยการขีดเส้นใต้เอาไว้ ซึ่งมันเป็นประเด็นสำคัญที่คุณสมควรพิจารณาตอบคำถามและสนทนาชี้แจงให้เราทราบกัน ซึ่งหากคุณไม่จับประเด็นหลักๆ หรือประเด็นที่เป็นจุดเปลี่ยนแล้ว ถือว่าน้ำหนักในการพิจารณาต้องตกไปอยู่เห็นได้ชัดนะครับ ยังไงประเด็นของท่าน อัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก เอาให้เคลียร์สว่างกันก่อน ส่วนประเด็นของท่าน อัมร์ บิน ยะหฺยา และประเด็นพิจารณาในด้านของตัวบทนั้น เราจะพิจารณากันต่อไปตามลำดับ อินชาอัลเลาะฮ์

MPW.SO

คุณอัซฮารีครับ...‎
‎1.‎ผมไม่เถียงคุณเรื่องสถานะของนักรายงานที่อิบนุหะญัรระบุว่าเป็นคนที่ ?เศาะดูกยะฮิม? ‎ตามที่คุณได้กล่าวมา ((ลำดับที่ 5. صدوق يهم (พูดจริงโดยที่มีความคลุมเครือ) ตามทัศนะของท่านอิบนุหะญัรแล้ว ย่อมไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการยืนยันว่า ซอฮิหฺและหะซันได้เลย)) ซึ่งหะดีษที่รายงานโดยนักรายงานที่มีสถานะเช่นนี้จะไม่ถูกหุก่มว่า ‎‎?หะสัน? จนกว่าจะมีรายงานจากสายอื่นมาสนับสนุน ที่เราเรียกว่า ?หะสันลิฆ็อยริฮฺ? ‎
‎2.‎ถ้าคุณอัซฮารีสังเกตให้ดี คุณจะพบความแตกต่างระหว่างสองสำนวน ?เศาะดูกยะฮิม? อัน‎หมายถึง (เชื่อถือได้แต่ชอบผิดพลาด หรือผิดพลาดเป็นประจำ) กับคำว่า ?เศาะดูก รุ้บบะมา ‎วะฮิม? ที่หมายถึง (เชื่อถือได้ บางครั้งจะผิดพลาดบ้าง) เพราะโอกาสที่จะผิดพลาดของนักรายงานประเภทหลังนี้มีน้อยมาก ซึ่งตรงกันข้ามกับนักรายงานประเภทแรกที่น้ำหนักของความผิดพลาดของเขามีอยู่ตลอดเวลาและเป็นประจำ จนไม่สามารถที่จะแยกแยะได้เลย
ดังนั้นอุละมาอฺหะดีษจึงมีกฎไว้ว่า ?เมื่อมีนักรายงานที่ถูกระบุว่า ?เศาะดูดยะฮิม? การรายงาน‎ของเขาจะไม่ถูกรับจนกว่าจะมีสายรายงานอื่นที่มีสถานะเท่าเทียมกันหรือเหนือกว่ามาสนับสนุน? ทางกลับกัน ?เมื่อมีนักรายงานที่ถูกระบุว่า ?เศาะดูก รุ้บบะมะ วะฮิม? การ‎รายงานของเขาจะถูกรับพิจารณาให้อยู่ในระดับ ?หะสัน? ถ้าไม่พบว่ามีสายรายงานอื่นที่มี‎สถานะเท่าเทียมกับเขา หรือเหนือกว่าค้านกับรายงานของเขา ถึงตอนนั้นรายงานของเขาจึงจะตกไปเป็น ?เฎาะอีฟ? และนักรายงานที่อิบนุฮะญัรหุก่มให้อยู่ในระดับนี้มีมากมายหลายคน ทั้งที่เป็นนักรายงานของบุคอรีย์และมุสลิมเอง และนักรายงานของหนังสือสุนันอื่นๆ
وفرقٌ بين هذا (( صدوق ربما وهم )) وبين قوله (( صدوق يهم )) ، فإن الحكم الصحيح ينبؤ ‏عن قلة وهمه أو ندرته ، بينما ينبؤ الثانى عن الكثرة واللزوم !!، فكلمة ( ربما وهم ) عبارته هذه ‏تدل على ندرة خطأه بجانب ما روى على الصحة والسلامة، والأصل في مثله أن يحتج بحديثه،إلا ‏ما ثبت وهمه فيه فيرد، كما هو معلوم من (( قواعد علم المصطلح )) اهـ (مذكرة: القواعد في ‏الجرح والتعديل)‏
จากกฎที่กล่าวมาข้างต้น อุละมาอฺจึงหุก่มหะดีษที่รายงานโดยบรรดานักรายงานเหล่านี้และไม่มีรายงานสายอื่นมาค้าน ว่า ?หะสัน? ‎‏ ‏ถึงแม้จะเป็นรายงานเพียงสายเดียวก็ตาม
ดังนั้น เชคศอลิหฺ บิน อับดุลลอฮฺ บิน หุมัยด์ จึงหุก่มหะดีษที่รายงานโดยอัลหะกัม บิน อัลมุบารักว่า
إسناده حسن، أخرجه الدارمي في المقدمة ? باب في كراهية أخذ الرأي، حديث (204) وهو حسن الإسناد لأن ‏فيه الحكم بن المبارك قال فيه ابن حجر، صدوق ربما وهم، التقريب (1466). (خطبة الجمعة لصالح بن عبد الله ‏بن حميد)‏
วัลลอฮุ อะอฺลัม

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

.‎ผมไม่เถียงคุณเรื่องสถานะของนักรายงานที่อิบนุหะญัรระบุว่าเป็นคนที่ ?เศาะดูกยะฮิม? ‎ตามที่คุณได้กล่าวมา ((ลำดับที่ 5. صدوق يهم (พูดจริงโดยที่มีความคลุมเครือ) ตามทัศนะของท่านอิบนุหะญัรแล้ว ย่อมไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการยืนยันว่า ซอฮิหฺและหะซันได้เลย)) ซึ่งหะดีษที่รายงานโดยนักรายงานที่มีสถานะเช่นนี้จะไม่ถูกหุก่มว่า ‎‎?หะสัน? จนกว่าจะมีรายงานจากสายอื่นมาสนับสนุน ที่เราเรียกว่า ?หะสันลิฆ็อยริฮฺ"

ตอบ

หากมีสายรายงานที่ระดับสูงว่าท่านอัลหะกัม ก็สามารถนำมาสนับสนุนได้ให้เป็นหะซันแล้วครับ แต่หากเป็นสายรายงานที่ระดับต่ำว่าละก็ ถือว่า เป็นตัวถ่วงและตอกย้ำให้สายรายงานของท่านอัลหะกัมต้องฏออีฟยิ่งไปกว่านั้นอีกนะครับ แล้วสายรายงานที่อยู่ในระดับสูงกว่าที่ท่านอัลหะกัมได้รายงานนั้นมีหรือเปล่าครับ??

al-azhary

อ้างอิงจากคุณMPW.SO

2.‎ถ้าคุณอัซฮารีสังเกตให้ดี คุณจะพบความแตกต่างระหว่างสองสำนวน ?เศาะดูกยะฮิม? อัน‎หมายถึง (เชื่อถือได้แต่ชอบผิดพลาด หรือผิดพลาดเป็นประจำ) กับคำว่า ?เศาะดูก รุ้บบะมา ‎วะฮิม? ที่หมายถึง (เชื่อถือได้ บางครั้งจะผิดพลาดบ้าง) เพราะโอกาสที่จะผิดพลาดของนักรายงานประเภทหลังนี้มีน้อยมาก ซึ่งตรงกันข้ามกับนักรายงานประเภทแรกที่น้ำหนักของความผิดพลาดของเขามีอยู่ตลอดเวลาและเป็นประจำ จนไม่สามารถที่จะแยกแยะได้เลย

ดังนั้นอุละมาอฺหะดีษจึงมีกฎไว้ว่า ?เมื่อมีนักรายงานที่ถูกระบุว่า ?เศาะดูดยะฮิม? การรายงาน‎ของเขาจะไม่ถูกรับจนกว่าจะมีสายรายงานอื่นที่มีสถานะเท่าเทียมกันหรือเหนือกว่ามาสนับสนุน? ทางกลับกัน ?เมื่อมีนักรายงานที่ถูกระบุว่า ?เศาะดูก รุ้บบะมะ วะฮิม? การ‎รายงานของเขาจะถูกรับพิจารณาให้อยู่ในระดับ ?หะสัน? ถ้าไม่พบว่ามีสายรายงานอื่นที่มี‎สถานะเท่าเทียมกับเขา หรือเหนือกว่าค้านกับรายงานของเขา ถึงตอนนั้นรายงานของเขาจึงจะตกไปเป็น ?เฎาะอีฟ? และนักรายงานที่อิบนุฮะญัรหุก่มให้อยู่ในระดับนี้มีมากมายหลายคน ทั้งที่เป็นนักรายงานของบุคอรีย์และมุสลิมเอง และนักรายงานของหนังสือสุนันอื่นๆ

ตอบ

หากคุณเอากรณีของท่านอัลหะกัม ไปเทียบกับบรรดานักรายงานของท่านบุคคอรีย์และมุสลิมนั้น คุณต้องมีหะดิษอื่นที่ดีกว่า มาสนับสนุนครับ ท่านอัลบุคอรีย์และมุสลิมนั้น เมื่อทั้งสองได้ทำการรายงานหะดิษในเรื่องๆหนึ่ง ท่านทั้งสองจะรายงานหะดิษแรกๆ ที่ซอฮิหฺก่อน หลังจากนั้นท่านก็รายงานหะดิษที่มีระดับต่ำลงมา(คือมีนักรายงานที่ไม่อยู่ในระดับขั้นที่มีการชมเชยและถูกวิจารณ์) โดยมีหะดิษซอฮิหฺในช่วงๆแรกมาสนับสนุนรับรองอยู่แล้ว อันนี้ย่อมไม่มีปัญหาครับ แต่สายรายงานของท่านอัลหะกัมนั้น มีสายรายงานใดมาสนับสนุนยกระดับหรือครับ? หากอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วมันจะยกระดับกันได้อย่างไร? ต้องมีข้อเลื่อมล้ำ เพื่อจะต้องยกระดับ แล้วสายรายงานใดบ้างล่ะที่คุณว่ามีฐานะเท่ากันหรือยกระดับ หรือว่าสายรายงานต่างๆ ที่คุณจะยกมานั้น มีฐานะฏออีฟต่ำยิ่งกว่าสายรายงานที่มีท่านอัลหะกัมอยู่ด้วย และท่านอัลหะกัมที่คุณพยายามยกให้อยู่ในระดับหะซันนั้น ไม่ใช่ว่าจะมีท่านอัลหะกัมคนเดียวที่เป็นปัญหา แต่ยังมีท่าน ยะหฺยา บิน อัมร์ ด้วยที่ยังเป็นตัวถ่วงของสายรายงานนี้ ซึ่งผมจะนำเสนอไปคราวต่อไปถัดจากท่านอัลหะกัม อินชาอัลเลาะฮ์

ท่าน ศาสตราจารย์ ดร. อัฏเฏาะหฺหาน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ أصول التخريج ودراسة الأسانيد หน้า 144 - 145 ว่า

ระดับการชมเชย
4 -
ما دل على التعديل من دون إشعار بالضبط ، مثل : صدوق ... إلخ

"ระดับที่ 4 คำที่ชี้ถึงการชมเชยโดยไม่ได้บ่งถึงความจำ เช่น ศ่อดูก (เขานั้นมีสถานะภาพที่พูดจริง ไม่โกหก كذاب )..."

5-
ما ليس فيه دلالة على التوثيق او التجريح ، مثل : فلان شيخ ... إلخ

"ระดับที่ 5 คำที่ไม่ได้ชี้ถึงการให้ความเชื่อถือหรือวิจารณ์ตำหนิ เช่น เขาคนนั้น เป็นอาจารย์..."

อ่านไปอีก 5 บรรทัดได้มีระบุอธิบายว่า

وأما المرتبتان الرابعة والخامسة فلا يحتج بأهلهما ، ولكن يكتب حديثهم ، ويختبر (1)، وإن كان أهل المرتبة الخامسة دون أهل المرتبة الرابعة

"สำหรับระดับที่ 4 และระดับที่ 5 นั้น ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างด้วยกับผู้ที่มีคุณสมบัติทั้งสองระดับ แต่หะดิษของเขาถูกบันทึกไว้ และสามารถนำมาเทียบทดสอบ และหากว่าผู้มีคุณสมบัติระดับที่ 5 จะไม่เหมือนกับผู้มีคุณสมบัติระดับที่ 4 ก็ตาม(ก็ย่อมนำมาเป็นหลักฐานเลยไม่ได้)"

(1)

أي يختبر ضبطهم بعرض حديثهم على أحاديث الثقات المتقنين فإن وافقهم احتج بحديثهم والا فلا وبناء على هذا فإن من قيل فيه (صدوق) فإنه لا يحتج بحديثه فبل الإختبار ، وقد وهم من قال : إن من قيل فيه صدوق فحديثه حسن ، لأن الحديث الحسن من نوع المحتج به، وعلى ذلك أئمة الجرح والتعديل وحفاظ الحديث : انظر فى هذا : تقدمة الجرح والتعديل لابن أبى حاتم ، وعلوم الحديث لابن الصلاح ص 110 ، التقريب للنووى 1/343 " والتدريب للسيوطى : 1/343 ، وفتح المغيث للسخاوى 1/368 ، فهذا اصطلاح القوم فى ذلك والله أعلم

"หมายถึง การทดสอบความจำของพวกเขา ด้วยการนำเสนอหะดิษของพวกเขาไปเทียบกับบรรดาหะดิษของนักรายงานที่เชื่อถือได้และมีความละเอียดละออ ดังนั้น หากหะดิษของพวกเขาสอดคล้องกับหะดิษของผู้ที่น่าเชื่อได้และผู้ที่มีความละเอียดละออนั้น ก็สามารถนำหะดิษของพวกเขามาอ้างเป็นหลักฐานได้ ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ ตามนัยยะนี้ คือ มีผู้ที่ถูกกล่าวแก่เขาว่า "ศ่อดูก" ก็ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ก่อนจะนำไปทดสอบเสียก่อน แท้จริงได้มีผู้ที่คิดอย่างคลุมเครือได้กล่าวว่า "นักรายงานที่ถูกกล่าวว่าเขานั้น ศ่อดูก คือหะดิษของเขาหะซัน (แต่เขาจะนำมาอ้างแบบนี้ไม่ได้) เพราะหะดิษหะซันนั้น เป็นหะดิษประเภทที่นำมาเป็นหลักฐานได้ และได้ดำเนินอยู่ตามทัศนะดังกล่าวนี้ คือทัศนะของบรรดานักหะดิษและนักวิจารณ์หะดิษระดับชั้นนำ" ดู เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว จาก บทนำ หนังสือ อัลญัรหฺ วะ อัตตะอ์ดีล ของท่าน อัลอิบนุ อบี หาติม , หนังสือ อุลูม อัลหะดิษ ของท่านอิบนุศ่อลาห์ หน้า 110 , หนังสือตักรีบ อัรรอวีย์ ของท่านอิมามอันนะวาวีย์ เล่ม 1 หน้า 343 , หนังสืออัดตัดรีบ ของท่านอิมามอัสศะยูฏีย์ เล่ม 1 หน้า 343 , หนังสือฟัตหุลมุฆีษ ของท่านอัศศัคคอวีย์ เล่ม 1 หน้า 368 ดังนั้น นี้ก็คือหลักวิชาการของปวงปราชญ์หะดิษ วัลลอฮุอะลัม.

MPW.SO

เนื่องจากนักรายงานที่มีสถานะ ?เศาะดูก? เป็นนักรายงานที่ไม่แม่นยำ (อิตกอน) ด้านความจำ ตามความหมายของหะดีษหะสันที่ว่า (‎خف الضبط‎) ซึ่งโอกาสที่จะผิดพลาดนั้นย่อมมีเสมอ โดยเฉพาะสถานะอย่างอัลหะกัม บิน อัลมุบาร็อก? ที่เรากำลังศึกษาอยู่ซึ่งถูกระบุ‎ว่า ?เศาะดูก รุบบะมา วะฮิม? ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการอิคติบารหรือทดสอบรายงานของเขาเสียก่อน ว่ามีจุดบกพร่องหรือตำหนิตรงไหน ซึ่งตรงนี้เราเรียกว่า ?วิธีการตะหฺกีกดาคิลี ‎หรือบาตินีย์? (การตรวจสอบภายใน) ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ทำการ ?ตะหฺกีกคอรีญีย์? ‎‎(ตรวจสอบภายนอก) เรียบร้อยแล้ว โดยการนำหะดีษเขาไปเทียบเคียงกับหะดีษของบรรดานักรายงานที่น่าเชื่อถือและแม่นยำกว่าว่าสอดคล้องกันไหม หรือมีความขัดแย้งกันอย่างไร ‎ถ้าพบว่ารายงานของเขา*สอดคล้อง*กับหะดีษของคนเหล่านั้น ก็แสดงว่าสิ่งที่เขาได้รายงานมานั้น เชื่อถือได้และสามารถนำมาอ้างเป็นหลักฐาน ถึงแม้ว่าจะเป็นหะดีษที่มาจากสาย‎รายงานของเขาเพียงคนเดียวก็ตาม และถ้าหากพบว่ารายงานของเขาไม่สอดคล้องหรือไปขัดแย้งกับรายงานของผู้ที่น่าเชื่อถือกว่า ก็ถือว่าสิ่งที่เขารายงานมานั้นตกไปและไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ ‎
ดังนั้นด้วยพื้นฐานนี้ ผมจึงได้กล่าวในข้อความที่ผ่านมาว่า ((เมื่อมีนักรายงานที่ถูกระบุว่า ‎‎?เศาะดูก รุ้บบะมะ วะฮิม? การ‎รายงานของเขาจะถูกรับพิจารณาให้อยู่ในระดับ ?หะสัน? ถ้า ‎‎(เราทดสอบแล้ว) ไม่พบว่ามีสายรายงานอื่นที่มี‎สถานะเท่าเทียมกับเขา หรือเหนือกว่าค้านกับรายงานของเขา ถึงตอนนั้นรายงานของเขาจึงจะตกไปเป็น ?เฎาะอีฟ?)) ‎
และคำว่า ?สอดคล้อง? ในที่นี้หมายถึง ‎
‎1.‎ ไม่ค้านกับสิ่งที่นักรายงานที่มีสถานะเหนือกว่าเขา ‎‏(السلامة من الشذوذ)‏‎ ‎
‎2.‎ ไม่มีอิลละฮฺหรือข้อบกพร่องที่น่าตำหนิอยู่ในสายรายงาน ‎‏(السلامة من العلة القادحة)‏‎ ‎
นี่คือข้อสรุปดังที่คุณอัซฮะรีได้นำเสนอไว้ ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ผมได้กล่าวมา ซึ่งมีหลักการพอสรุปสั้นๆดังนี้คือ
أن ما رواه الضعيف غير المتروك يكون حسناً لغيره إذا توبع أو جاء من طريق أخرى ما يشهده له من ‏الأحاديث ، ويكون ما رواه الصدوق ? وهو أعلى من الضعيف ودون الثقة ? حسناً لذاته إذا لم يكن ‏شاذاً ومنكراً ومعلولاً
ดังนั้น เชคเตาฟีก อุมัร สัยยิดี จึงได้ยกตัวอย่างการหุกมหะดีษที่มีนักรายงาน ?เศาะดูก? ว่า ‎‎?เป็นสายรายงานที่หะสัน ดังนี้
ومثال الحديث الحسن
‏‎ ‎ما أخرجه الإمام أحمد في مسنده رقم(17344) قال : حَدَّثَنَا عَفَّانُ ، حَدَّثَنَا أَبُو خَلَفٍ ‏مُوسَى بْنُ خَلَفٍ ـ كَانَ يُعَدُّ مِنَ الْبُدَلاءِ ـ قَالَ : حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ أَبِي كَثِيرٍ ، عَنْ زَيْدِ بْنِ سَلامٍ ، عَنْ جَدِّهِ ‏مَمْطُورٍ ، عَنِ الْحَارِثِ الأَشْعَرِيِّ ، أَنَّ نَبِيَّ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : إِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ أَمَرَ يَحْيَى بْنَ زَكَرِيَّا ‏بِخَمْسِ كَلِمَاتٍ
แล้วท่านก็กล่าวว่า ?นี่เป็นหะดีษที่มีสายสืบที่ต่อเนื่องกัน และนักรายงานทุกคนล้วนน่าเชื่อถือ ‎‎(ษิกอต) นอกจาก อบูเคาะลัฟ มูซา บินเคาะลัฟ เขาเป็นคนที่ ?เศาะดูกอาบิด? แต่เขาไม่ถึงระดับที่แม่นยำ (อิตกอน) และบรรดาอุละมาอฺมีทัศนะที่ขัดแย้งเกี่ยวกับตัวเขา และหะดีษของเขาอยู่ในระดับที่ ?หะสัน? อินชาอัลลอฮฺ อิบนุมะอีนกล่าวว่า ‎‏(ليس به بأس)‏‎ และอีกครั้งหนึ่งท่านกล่าวว่า ‎‏(ضعيف)‏‎ อัดดาเราะกุฏนีย์กล่าวว่า ‎‏(ليس بالقوي يعتبر به)‏‎ ... (ดูประวัติของเขาใน อัตตะฮฺซีบ ‎‎10/341 และ อัตตักรีบ 2/282)‎
และท่านกล่าวต่อไปว่า
وليس ثمة ما يعارض هذا الحديث ، ولا علة فيه ؛ فهو حديث حسن إن شاء الله
‎?และที่โน่นไม่มีสิ่งที่ค้านกับหะดีษนี้ (ไม่ชาซ) และไม่มีสิ่งบกพร่องหรือตำหนิใดในสายรายงาน ‎ดังนั้นมันจึงเป็นหะดีษหะสัน อินชาอัลลอฮฺ?‎
‏(انظر: منهج الدراية وميزان الرواية في الحديث الشريف في معرفة الحديث الصحيح والحسن والضعيف)‏
จะอย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่ากฎเกณฑ์ข้างต้นเป็นสิ่งที่เห็นพ้องกันทั้งหมดระหว่างอุละมาอฺหะดีษ ‎เพราะมีบางท่านเห็นว่าหะดีษที่รายงานโดยนักรายงานที่อ่อนนิดๆ ถือว่าเป็นหะดีษที่หะสันทันทีและสามารถนำมาเป็นหลักฐานและยึดปฏิบัติ ถึงแม้ว่าไม่มีสายรายงานอื่นมาสนับสนุนก็ตาม ‎ดังทัศนะของอิบนุลเญาซีที่ว่า
‏" الحديث الذي فيه ضعف قريب محتمل هو الحديث الحسن ويصلح البناء عليه واعمل به" (الموضوعات ‏لابن الجوزي 1/35 )‏
ดังนั้นบทสรุปสุดท้ายของผมเกี่ยวกับหะดีษที่เขารายงานโดยอัลหะกัม บิน อัลมุบาร็อกจากอิบนุมัสอูดนี้ว่าเป็นหะดีษที่ ?หะสัน? ด้วยเหตุผลดังนี้
‎1.‎ เพราะเขาเป็นนักรายงานที่อยู่ในระดับที่สามารถนำมาอิอฺติบารได้ นั่นคือ ?เศาะดูก? ‎ตามที่ชัยคุลมุหัดดิษีนอัลมุตะอัคคิรีน อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ได้ระบุว่า ‎‏(صدوق)‏‎ และอุมดะ‎ตุลมุหักกิกีน อัลหาฟิซอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีย์ได้ระบุในคำสรุปครั้งสุดท้ายของท่านว่า ‎‏(صدوق ربما وهم)‏‎ ‎
‎2.‎ และหลังจากที่ได้ทำการอิคติบารและตรวจสอบแล้วไม่พบว่ารายงานของเขาไปค้านกับรายรายงานอื่น (ไม่ชาซ) และไม่พบข้อบกพร่อง (อิลละฮฺ) ใดๆที่ทำให้หะดีษของเขาต้องตกไปหรือกลายเป็น ?เฎาะอีฟ? ถึงแม้ว่าจะเป็นหะดีษที่มาจากสายรายงานเดี่ยวโดดๆและไม่มีสายรายงานอื่นมาสนับสนุนก็ตาม วัลลอฮุอะอฺลัม
นี่คือข้อสรุปและจุดยืนของผมเกี่ยวกับสถานะของอัลหะกัม บิน อัลมุบาร็อก ซึ่งอาจจะเป็นทัศนะที่อ่อนและไม่ถูกต้องก็ได้ (วัลลอฮุอะอฺลัม) ‎

และถ้าคุณอัซฮารีคัดค้านและแย้งว่ารายงานของอัลหะกัมนี้ยังรับไม่ได้เพราะไปค้านกับรายงานอื่นๆ ถึงตอนนั้นก็เป็นหน้าที่ของคุณอัซฮารีแล้วหละที่ต้องนำเสนอว่ามันค้านกับรายงานใดบ้างและค้านกันอย่างไร เพื่อที่คนอื่นๆจะได้มาพิจารณาและวิจารณ์กันต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมของผู้ศึกษาวิจัย (ที่ต้องการเสาะหาข้อเท็จจริงด้วยความเป็นธรรม อิคลาสและอินศอฟ) ‎ตราบใดที่ยังไม่พบข้อชี้ขาดสุดท้ายที่ตัวเองพึงพอใจ... วัลลอฮุวะลิยยุสศอลิหีน
سبحان ربك رب العزة عما يصفون وسلام على المرسلين والحمد لله رب العالمين
والسلام عليكم ورحمة الله وبركاته

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Fri Jul 27, 2012 5:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jul 27, 2012 5:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณ MPW.SO เคยกล่าวว่า

‎1.‎ อัลบานีย์ ‎وهذا إسناد صحيح‎ (อัลสัลสะละฮฺ อัสเศาะหีหะฮฺ 5/11)‎

ผมขอกล่าวว่า

การสนทนาของอัซฮะรีย์ ได้ผลครับ ซึ่งผลลัพท์หนึ่งที่ได้ทำการสนทนามานั้นก็คือ คำตัดสินของ อัลบานีย์ นั้น ไม่ถูกต้อง และนำมายึดถือไม่ได้ตามหลักการของหะดิษ

และอีกอย่างหนึ่งที่ผมได้สังเกตุก็คือ สายรายงานของท่านอิบนุมัสอูดนั้น สนทนากันไปสนทนากัน อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ คำพูดของท่านอิบนุมัสอูดนั้น เหมือนกับหะดิษนบี(ซ.ล.) ผมอยากจะชี้แจงท่านผู้สักนิดว่า ที่กำลังถกประเด็นกันอยู่นี้ ไม่ได้ถกกันเกี่ยวกับหะดิษนบี(ซ.ล.) แต่เป็นการถกกันเกี่ยวกับคำพูดของท่านอิบนุมัสอูด

หากมีหะดิษอื่นมาค้านสิ่งที่วะฮาบีย์พยายามยืนยัน นั่นก็หมายความว่า มันเป็นการค้านกันระหว่างคำพูดของท่านอิบนุมัสอูดและหะดิษท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ใช่ระหว่างสองตัวบทหะดิษ

ผมไม่เห็นด้วยที่คุณ MPW.SO พยายามเรียกสายรายงานถึงท่านอิบนุมัสอูดว่า เป็นหะดิษ เพราะไม่อยากที่จะให้ผู้คลุมเครือไปว่า สิ่งที่วะฮาบีย์อ้างอยู่นี้ คือหะดิษ เพราะว่าสิ่งที่วะฮาบีย์อ้างมาสนับสนุนี้ไม่ใช่หะดิษท่านนบี ยังก็ไม่อยากให้มีความคลุมเครือเกิดขึ้น

และเท่าที่อ่านมา สรุปได้ว่า

- คำตัดสินของอัลบานีย์ที่มีต่อสายรายงานถึงท่านอิบนุมัสอูดนั้น ตกไป และฟังไม่ขึ้น

- สายรายงานถึงท่านอิบนุมัสอูดนั้นไม่ซอฮิหฺ แต่อยู่ฐานะฏออีฟที่ต้องการไปยังการยกระดับให้เป็นหะซัน แต่จะยกระดับได้หรือไม่นั้น ต้องรอการสนทนาต่อไประหว่าง al-azhary และ MPW.SO

al-azhary

السلام عليكم ورحمة الله وركاته وطيباته

ฝ่ายที่ต่อต้านการซิกรุลลอฮ์แบบญะมาอะฮ์นั้น พยายามอ้างหลักฐานจากสายรายงานของท่านอัดดาริมีย์ ซึ่งประเด็นที่เราถกประเด็นกันอยู่นั้น คือ กรณีของท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า ไม่ถึงขั้นระดับซอฮิหฺ และไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ เพียงแต่ต้องรอสายรายงานอื่นมาสนับสนุนเท่านั้น ซึ่งกรณีท่านอัลหะกัมนั้น เราคงจะสรุปไว้ก่อนเพียงเท่านี้ แต่ประเด็นไม่ใช่เพียงแต่ท่านอัลหะกัมเท่านั้น แต่ยังมีท่าน อัมร์ บิน ยะหฺยา อีกท่านหนึ่ง ที่สถานะภาพต่ำกว่าท่านอัลหะกัมเสียอีก

عمرُو بنُ يحيى

عمرُو بنُ يحيى อัมร์ บิน ยะหฺยา ทางฝ่ายค้านจะนำการคำวิจารณ์ชมเชยของท่าน อิบนุ มะอีน ที่บอกว่าเขานั้น ثقة เชื่อถือได้ แต่ในขณะเดียวกัน มีบรรดานักปราชญ์ก็ถ่ายทอดคำพูดของท่าน อิบนุมะอีนเช่นเดียวกันว่า عمرُو بنُ يحيى อัมร์ บิน ยะหฺยา لم يكن بمرضي "ไม่เป็นที่น่าพอใจ" !! เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะไปยึดคำกล่าวของท่านอิบนุมะอีนเพียงคำกล่าวเดียว โดยละทิ้งอีกคำกล่าววิจารณ์ของท่านอิบนุมะอีนนั้น ย่อมไม่ได้ และเราจะพบว่า การชมเชยของท่านอิบนุมะอีน ไม่ได้รับการพิจารณาจากบรรดาปราชญ์นักวิจารณ์หะดิษ แต่ในทางตรงกันข้าม การวิจารณ์ตำหนิของท่านอิบนุมะอีน กลับได้รับการพิจารณาและมีน้ำหนักมากกว่าตามทัศนะของบรรดานักปราชญ์วิจารณ์หะดิษ อย่างเช่นอิบนุอะดีย์ , ท่านอัซซะฮะบีย์ , ท่านอิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ เป็นต้น


ท่านอิบนุ อะดีย์ ได้ทำการกล่าววิจารณ์ว่า

عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة، حدثنا بن أبي عصمة ثنا أحمد بن أبي يحيى قال سمعت يحيى بن معين يقول عمرو بن يحيى بن سلمة ليس بشيء. حدثنا أحمد بن علي ثنا الليث بن عبدة قال سمعت يحيى بن معين يقول عمرو بن يحيى بن سلمة سمعت منه لم يكن يرضي. وعمرو هذا ليس له كثير رواية ولم يحضرني له شيء فأذكره

" อัมร์บินยะหฺยา บิน อัมร์บินสะละมะฮ์นั้น (ท่านอิบนุอะดีย์กล่าวว่า) ได้เล่าแก่เรา โดยท่านอะหฺมัดบินอบียะหฺยา เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า "อัมร์บินยะหฺยา นั้น ไม่มีสิ่งใด (ที่รายงาน คือรายงานน้อย) , ได้เล่าแก่เรา โดยท่านอะหฺมัด บิน อะลีย์ ได้บอกเล่าแก่เรา โดย อัลลัยษ์ บิน อะบะดะฮ์ เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน ท่านยะฮ์ยา บิน มะอีน กล่าวว่า อัมร์ บิน ยะหฺยา บิน สะละมะฮ์ นั้น ฉันได้ยินจาก(เรื่องของ)ของเขาว่า เขานั้น ไม่ได้รับความยินดีจากนักหะดิษ และอัมร์ บิน ยะหฺยานี้ ทำการรายงานไม่มาก และไม่มีสิ่งใดของเขารายงาน มาถึงฉันเลย" ดู หนังสือ อัล-กามิล ฟี ฏู่อะฟาอ์ อัรริญาล เล่ม 5 หน้า 122

ท่านอิบนุ หะญัร กล่าววิจารณ์ว่า

عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة قال يحيى بن معين ليس حديثه بشيء قد رأيته وذكره بن عدي مختصرا انتهى. وقال بن خراش ليس بمرضي. وقال بن عدي ليس له كبير شيء ولم يحضرني له شيء

" อัมร์ บิน ยะหฺยา บิน สะละมะฮ์นั้น ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า หะดิษของเขานั้น ไม่มีสิ่งใด ที่ฉันเห็น(รายงาน)มันเลย และอิบนุอะดีย์ ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเขาแบบสรุป . และอิบนุ คอ๊รรอช กล่าวว่า เขานั้นไม่เป็นที่น่าพอใจ และท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า เขานั้นไม่มีอะไรที่สำคัญ โดยที่ไม่มีสิ่งใดของเขา (รายงาน)มาที่ฉันเลย " ดู ลิซาน อัลมีซาน เล่ม 4 หน้า 378

ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์

ได้กล่าววิจารณ์ อัมร์ บิน ยะหฺยา ไว้ในหนังสือ อัตฏุอะฟาอ์ วะ อัลมัตรูกีน (เหล่านักรายงานที่ฏออีฟและถูกทิ้ง) ว่า

عمرو بن يحيى بن عمرو بن سلمة، قال يحيى ?ابن معين- : ليس حديثه بشيء وقال مرة لم يكن بمرضي

"อัมร์ บิน ยา บิน อัมร์ บิน สะละมะฮ์ นี้ ท่านยะหฺยา อิบนุ มะอีน กล่าวว่า หะดิษของเขานั้นไม่มีอะไร(รายงานมาถึงฉัน) และบางอีกวโรกาสหนึ่งว่า อัมร์ บิน ยะหฺยา นั้น ไม่เป็นที่น่าพอใจ" ดู หนังสือ อัตฏุอะฟาอ์ วะ อัลมัตรูกีน เล่ม 2 หน้า 223

วิจารณ์

ผู้คัดค้านอาจจะคัดค้านในคำวิจารณ์ของท่านอิบนุ ค๊อรร๊อซ ซึ่งไม่ว่าเขาเป็นอย่างไรก็ตาม เท่าที่ศึกษาดูแล้ว ปรากฏว่าบรรดานักปราชญ์ที่วิจารณ์หะดิษ ได้ทำการยอมรับและยึดคำพูดของเขาในการวิจารณ์นักรายงาน โดยเฉพาะอิบนุ ค๊อรร๊อซ ก็ได้วิจารณ์ตรงกับบรรดานักวิจารณ์นักรายงานท่านอื่นๆ เช่นท่านอิบนุ มะอีน

จากคำวิจารณ์ของนักหะดิษที่มีต่อท่าน อัมร์ บิน ยะห์ยา นั้น เราจะพบว่า ท่านอัมร์ บิน ยะห์ยาได้รายงานหะดิษน้อยมากๆ จนกระทั้งท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า การรายงานของเขาไม่ได้มาถึงท่านอิบนุอะดีย์เลย และการรายงานของเขาก็ถึงท่านยะห์ยา บิน มะอีน น้อยมากๆ จนกระทั้งท่านอัมร์ บิน ยะหฺยา ไม่เป็นที่น่าพอใจของนักหะดิษ เหตุใดถึงไม่พอใจ?? นั้นก็เพราะว่า อัมร์ บิน ยะห์ รายงานหะดิษน้อย คือหะดิษทั่วไปมากมายไม่ได้รายงานมาเลย อยู่ดีๆ ก็โผล่มาในรายงานของท่านอัดดาริมีย์ถึงท่านอิบนุมัสอูด(ร.ฏ.) ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ไม่เป็นที่พอใจในการรับสายรายงานของอัมร์ บิน ยะหฺยา ยิ่งไปกว่านั้น อัมร์ บิน ยะห์ยา ยังถูกคัดออกและไม่ได้รับพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดานักรายงานสุนันทั้ง 6 !!! ดังนั้น ท่านอัซซะฮะบีย์ และท่านอิบนุ หะญัร จึงนำท่านอัมร์ บิน ยะห์ยา เข้าไปอยู่ในตำราวิจารณ์นักรายงานที่ฏออีฟ เช่น มีซาน อัลเอี๊ยะติดาน และลิซาน อัลมีซาน , ท่านอิบนุอะดีย์ ได้นำอัมร์ บิน ยะห์ยา ผนวกเข้าไปอยู่ในหนังสือ อัลกามิล ที่กล่าววิจารณ์นักรายงานที่ฏออีฟ และท่านอิบนุอะดีย์ก็ไม่ได้ให้การยอมรับและชมเชยแต่อย่างใด , ท่านอิบนุอัลเญาซีย์ ได้นำอัมร์ บิน ยะห์ยา เข้าไปอยู่ในหนังสือ "บรรดานักรายงานที่ฏออีฟและถูกทิ้ง(ในการพิจารณา)"

เมื่อเป็นเช่นนี้ อัมร์ บิน ยะห์ยา จึงเป็นนักรายงานที่ฏออีฟอย่างไม่ต้องสงสัย อีกทั้งไม่สามารถทำให้สายรายงานของท่านอัดดาริมีย์ ซอฮิหฺไปได้ และอัมร์ บิน ยะห์ยา ยังมีสถานะภาพที่ต่ำกว่า ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อกเสียอีก โดยที่ทำให้เป็นตัวถ่วงสายรายงานนี้มีฐานะที่ต่ำลงไปอีกอย่างเห็นได้ชัด ทั้งที่สถานะภาพสายรายงานของท่านอัดดาริมีย์นี้ เป็นสายรายงานที่ดีที่สุดสำหรับผู้คัดค้าน!!?? วัลลอฮุอะลัม

al-azhary

อ้างอิงจากคุณ MPW.SO

‎4. สมมุติว่าอัลหะกัม มีสถานะตามที่ใครบางคนกล่าวไว้ตามที่คุณอัซฮารียกมาจริง ก็ไม่ได้หมายความว่าอะษารอิบนุมัสอูดนี้จะไม่มีสายรายงานอื่นจากอัลหะกัม เพราะอัลเคาะฏีบได้รายงานหะดีษนี้เช่นเดียวกัในตารีฆอัลบัฆดาด ดังนี้ ‎

حدثنا محمد بن إبراهيم بن سلمة الكهيلي الكوفي ( قال ابن الجوزي وكان سماعه صحيحاً‎) ‎أخبرنا ‏محمد بن عبد الله بن سليمان الحضرمي ( سئل عنه الدار قطني فقال: ثقة‎ ‎جبل)حدثنا عبد الله بن عمر ‏بن أبان (يلقب بمشكدانه وهو ثقة ) حدثنا عمرو بن يحيى بن‎ ‎عمرو بن سلمة الهمداني قال‎

จะเห็นได้ว่า ในรายงานของอัลเคาะฏีบจะมีอับดุลลอฮฺ บินอุมัร บินอับบานมาแทนที่ อัลหะกัม ‎ซึ่งเป็นนักรายงานที่ษิเกาะ (น่าเชื่อถือ) ดังนั้นการระบุว่าอาษารอิบนุมัสอูดนี้อ่อน เพราะอัลหะกัมเป็นต้นเหตุจึงตกไป‏

ตอบ

ผมลืมชี้แจงประเด็นนี้ไปนะครับ ผมไม่ทราบว่า คุณ MPW.SO ก๊อบข้อความนี้มาจากใหน? และคำว่า عبد الله بن عمر ‏بن أبان (يلقب بمشكدانه وهو ثقة ) นี้ ยึดบรรทัดฐานจากผู้ใดหรือว่าตามใครบางคน คุณพยายามเอา การษิเกาะฮ์(ความเชื่อถือได้)ของ อับดุลเลาะฮ์ บิน อุมัร บิน อะบาน มาแทนที่ ท่านอัลหะกัม บิน อัลมุบาร๊อก เพื่อให้ท่านอัลหะกัม พ้นข้อหาในการทำให้มีข้อตำหนิในสายรายงานของท่านอิบนุมัสอูดนั้น ยังฟังไม่ขึ้นนักหรอกครับ เพราะผู้ที่กล่าวยืนยันความ ثقة ของท่านอัลดุลเลาะฮ์ บิน อุมัร บิน อะบาน นั้น คือท่านอิบนุหิบานคนเดียว ซึ่งการยืนยันให้การเชื่อถือของท่านอิบนุหิบบานนั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับนอกจากมีนักวิจารณ์หะดิษระดับอาวุโสให้การรับร่วมด้วย

ท่านอิบนุหะญัรได้กล่าวไว้ใน ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ ของนักรายงานที่ 3493 คืออับดุลเลาะฮ์ บิน อุมัร บิน อะบาน ว่า

قال أبو حاتم صدوق وذكره بن حبان في الثقات

"อบูหะติมกล่าวว่า เขานั้น "ศ่อดูก" ท่านอิบนุหิบบานได้กล่าวเขาไว้อยู่ในหนังสือ อัษษิก๊อต"

ท่านอิบนุหะญัรไม่ยอมรับการยืนยันการเชื่อถือของท่าน อิบนุหิบบาน โดยท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่าในหนังสือ ตักรี๊บ อัตตะฮ์ซีบ โดยกล่าวสรุปกรณีของท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อุมัร บิน อะบาน นักรายงานลำดับที่ 3493 ว่า

صدوق فيه تشيع

"เขานั้น ศ่อดูก แต่เขานั้นมีความเป็นชีอะฮ์"

แม้ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อุมัร บิน อะบาน จะมีนักรายงานของท่านมุสลิม แต่เป็นนักรายงานที่ต้องได้รับการสนับสนุนเสริมจากนักรายงานท่านอื่นๆ และหะดิษอื่นๆ ตามที่ผมได้ชี้แจงไปแล้ว และผมขอชี้แจงอีกนิดว่า ชีอะฮ์ในที่นี้ ไม่เกี่ยวกับ ชีอะฮ์อิมาม 12 นะครับ เพราะสมัยโน้นยังไม่มีผู้ใดรู้จักชีอะฮ์อิมาม 12

ดังนั้น สายรายงานของท่าน คอฏีบ ที่คุณMPW.SO อ้างมานั้น จะมาทำให้สถานะภาพสายรายงานของท่านอิบนุมัสอูดที่เราพูดถึงอยู่ถูกยกระดับนั้นคงยังไม่ได้ เพราะว่าติดประเด็นของ อัมร์ บิน ยะหฺยา ซึ่งทำให้ยกระดับไม่ขึ้นเลย แต่สายรายงานของท่านอัดดาริมีย์นี้ ก็เป็นสายรายงานที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่คัดค้าน วัลลอฮุอะลัม


al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

เพราะไม่มีใครกล่าวหา และบังอะสันบอกให้บอกมาว่า ใครกล่าวหา ก็ไม่ตอบมา เพราะที่มีผู้คัดค้านคือ การกำหนดรูปแบบ เอาเองเป็นการเฉพาะ ดังเช่นในข้อความหะดิษอิบนุมัสอูดที่ว่า

في كل حلقة رجل، وفي أيديهم حصى فيقول: كبروا مائة فيكبرون مائة، فيقول: هللوا مائة فيهللون مائة، فيقول: سبحوا مائة فيسبحون مائة.

ในทุกวงชุมนุมนั้น มีชายคนหนึ่ง โดยที่ในมือของพวกเขา(สมาชิกกลุ่ม)มีก้อนกรวด แล้วเขา(ชายคนนั้น) กล่าวว่า ?พวกท่านจงกล่าวตักบีร หนึ่งร้อยครั้ง แล้วพวกเขาก็กล่าวตักบีรร้อยครั้ง แล้วเขากล่าวว่า?พวกท่านจงกล่าวตะฮลีล หนึ่งร้อยครั้ง แล้วพวกเขาก็กล่าวตะฮลีล ร้อยครั้ง แล้วเขากล่าวว่า?พวกท่านจงกล่าวตัสเบียะ หนึ่งร้อยครั้ง แล้วพวกเขาก็กล่าวตัสเบียะร้อยครั้ง ........

ตอบ

บังอะสันอ้างคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูดนี้ ฏออีฟครับ ซึ่งผมได้ทำการวิจารณ์ไปแล้วส่วนหนึ่ง และยังมีบางส่วนรายงานที่มีเนื้อหาคล้ายกันนี้ ซึ่งผมจะนำเสนอการวิจารณ์ของบรรดาอุลามาอ์หะดิษดังนี้ครับ

ท่านอัลหาฟิซฺ อิมามอัสศะยูฏีย์ ได้กล่าววิจารณ์ไว้ว่า

فإن قلت، فقد نقل عن ابن مسعود أنه رأى قوما يهللون برفع الصوت في المسجد فقال ما أراكم إلا مبتدعين حتى أخرجهم من المسجد. قلت: هذا الأثر عن ابن مسعود يحتاج إلى بيان سنده ومن أخرجه من الأئمة الحفاظ في كتبهم وعلى تقدير ثبوته فهو معارض بالأحاديث الكثيرة الثابتة المتقدمة وهي مقدمة عليه عند التعارض، ثم رأيت ما يقتضي إنكار ذلك عن ابن مسعود قال الإمام أحمد بن حنبل في كتاب الزهد ثنا حسين ابن محمد ثنا المسعودي عن عامر بن شقيق عن أبي وائل قال هؤلاء الذين يزعمون أن عبد الله كان ينهى عن الذكر ما جالست عبد الله مجلسا قط إلا ذكر الله فيه

อิมามอัสศะยูฏีย์ ได้กล่าวว่า "ดังนั้น ถ้าหากท่านกล่าวว่า ได้ถูกถ่ายทอดจากท่านอิบนุมัสอูด ว่า เขาเห็นกลุ่มหนึ่งได้ทำการกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ ในมัสยิด ด้วยเสียงดัง แล้วเขากล่าวว่า ฉันไม่มีความเห็นในพวกท่าน นอกจาก เป็นผู้ที่อุตริกรรม จนกระทั่งเขาได้นำพวกเขาเหล่านั้นออกจากมัสยิด ฉันขอกล่าวว่า(หมายถึงอิมามอัศศะยูฏีย์ได้กล่าว) คำพูดที่รายงานจากท่านอิบนุมัสอูดนั้น จำต้องการไปยังการอธิบายวิจารณ์สายรายงานและผู้ที่นำเสนอรายงานจากบรรดาอิมามนักท่องจำหะดิษจากบรรดาหนังสือของพวกเขา และสมมุติว่าคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูดได้รับการยืนยันจริง มันก็มาค้านกับบรรดาหะดิษที่กล่าวผ่านมาแล้วอันมากมายที่ได้รับการยืนยัน ซึ่งบรรดาหะดิษอันมากมายนี้ ต้องนำมาอยู่ก่อน ในขณะที่มีการค้านกัน จากนั้นฉันก็จะเห็นสิ่งที่สิ่งที่มาปฏิเสธดังกล่าวจากท่านอิบนุมัสอูด , ท่านอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล กล่าวไว้ในหนังสือ อัซซุฮฺด์ ว่า ได้เล่าวให้เราทราบ โดย หุซัยน์ บิน มุฮัมมัด ได้เล่าให้เราทราบโดย อัลมัสอูดีย์ จาก อามิร จาก ชะกีก จากอบีวาอิล เขากล่าวว่า "พวกเขาเหล่านั้นอ้างว่า ท่านอับดุลลอฮ์(อิบนุมัสอูด) ได้ห้ามจากการซิกิร(ดังกล่าว) ทั้งที่ ฉันไม่เคยนั่งกับท่านอับดุลลอฮ์(อิบนุมัสอูด) ณ สถานที่ใดเลย นอกจากเขาจะทำการซิกรุลลอฮ์ในสถานที่นั้น" ดู อัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา เล่ม 1 หน้า 472

ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ ได้กล่าววิจารณ์ไว้ว่า

وأما ما نقل عن ابن مسعود أنه رأى قوما يهللون برفع الصوت في المسجد فقال: ما أراكم إلا مبتدعين حتى أخرجهم من المسجد, فلم يصح عنه بل لم يرد; ومن ثم أخرج أحمد عن أبي وائل قال: هؤلاء الذين يزعمون أن عبد الله كان ينهى عن الذكر ; ما جالست عبد الله مجلسا قط إلا ذكر الله فيه, والله سبحانه وتعالى أعلم بالصواب

"สำหรับสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมาจากท่านอิบนุมัสอูด ว่า "เขาเห็นกลุ่มหนึ่งได้ทำการกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ ในมัสยิด ด้วยเสียงดัง แล้วเขากล่าวว่า ฉันไม่มีความเห็นในพวกท่าน นอกจาก เป็นผู้ที่อุตริกรรม จนกระทั่งเขาได้นำพวกเขาเหล่านั้นออกจากมัสยิด" นั้น ถือว่าไม่ซอฮิหฺ แต่กลับถูกปฏิเสธ และท่านอิมามอะหฺมัด ได้นำเสนอรายงานจากท่าน อบีวาอิล ว่า "พวกเขาเหล่านั้นอ้างว่า ท่านอับดุลลอฮ์(อิบนุมัสอูด) ได้ห้ามจากการซิกิร(ดังกล่าว) ทั้งที่ ฉันไม่เคยนั่งกับท่านอับดุลลอฮ์(อิบนุมัสอูด) ณ สถานที่ใดเลย นอกจากเขาจะทำการซิกรุลลอฮ์ในสถานที่นั้น" วัลลอฮุ ซุบหานะฮูวะตะอาลา อะอฺลัม บิสศ่อวาบ" ดู หนังสือ อัลฟาตะวา อัลฟิกฮียะฮ์ อัลกุ๊บรอ เล่ม 1 หน้า 177

ท่านอัลมุหัดดิษ อิมาม อับมุนาวีย์ ได้กล่าววิจารณ์ว่า

وأما ما نقل عن ابن مسعود من أنه رأى قوما يهللون برفع الصوت في المسجد فقال ما اراكم إلا مبتدعين وأمر بإخراجهم فغير ثابت . وبفرض ثبوته يعارضه ما في كتاب الزهد لأحمد عن شقيق بن أبي وائل قال هؤلاء الذين يزعمون أن عبد الله كان ينهى عن الذكر ما جالسته مجلسا قط إلا ذكر الله فيه

"สำหรับสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมาจากท่านอิบนุมัสอูด ว่า "เขาเห็นกลุ่มหนึ่งได้ทำการกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ ในมัสยิด ด้วยเสียงดัง แล้วเขากล่าวว่า ฉันไม่มีความเห็นในพวกท่าน นอกจาก เป็นผู้ที่อุตริกรรม จนกระทั่งเขาได้นำพวกเขาเหล่านั้นออกจากมัสยิด" นั้น ไม่ได้รับการยืนยัน(อย่างถูกต้อง) และหากสมมุติว่าได้รับการยืนยันก็ตาม แต่มันมาค้านกับสายรายงานในหนังสือ อัซซุฮฺด์ ของท่านอิมามอะหฺมัด ซึ่งรายงาน จาก ชะกีก จากอบีวาอิล เขากล่าวว่า "พวกเขาเหล่านั้นอ้างว่า ท่านอับดุลลอฮ์(อิบนุมัสอูด) ได้ห้ามจากการซิกิร(ดังกล่าว) ทั้งที่ ฉันไม่เคยนั่งกับท่านอับดุลลอฮ์(อิบนุมัสอูด) ณ สถานที่ใดเลย นอกจากเขาจะทำการซิกรุลลอฮ์ในสถานที่นั้น" ดู หนังสือ ฟัยฏุ อัลก่อดีร เล่ม 1 หน้า 457

ท่านอัลลามะฮ์ อัลอะลูซีย์ ได้กล่าววิจารณ์ไว้ว่า

وما ذكر في الواقعات عن ابن مسعود من أنه رأى قوما يهللون برفع الصوت في المسجد فقال: ما اراكم إلا مبتدعين حتى أخرجه من المسجد لا يصح عند الحفاظ من الأئمة المحدثين وعلى فرض صحته هو معارض بما يدل على ثبوت الجهر منه رضي الله تعالى عنه مما رواه غير واحد من الحفاظ أو محمول على الجهر البالغ

"สิ่งถูกกล่าว จากบรรดาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ จากท่านอิบนุมัสอูด ที่ว่า "เขาเห็นกลุ่มหนึ่งได้ทำการกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ ในมัสยิด ด้วยเสียงดัง แล้วเขากล่าวว่า ฉันไม่มีความเห็นในพวกท่าน นอกจาก เป็นผู้ที่อุตริกรรม จนกระทั่งเขาได้นำพวกเขาเหล่านั้นออกจากมัสยิด" นั้น มีสายรายงานไม่ซอฮิหฺตามทัศนะของบรรดาแกนนำของหนักหะดิษ และหากสมมุติว่าซอฮิหฺ มันก็ไปค้านกับสายรายงานที่ยืนยันถึงการซิกิรเสียงดังได้ จากท่านอิบนุมัสอูด ซึงบรรดานักหะดิษได้รายงานไว้ หรือตีความว่า ทำการซิกิรเสียงดังเกินไป" ดู ตัฟซีร รูหุลมะอานีย์ เล่ม 6 หน้า 163 วัลลอฮุอะลัม




ต้องขอขอบคุณน้องอารีฟีน แสงวิมาน เป็นอย่างสูงที่เก็บข้อมูลนี่ไว้
Idea

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3
หน้า 3 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.37 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ