ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Sep 16, 2012 1:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

การมอบเนื้อกุรบานแก่กาเฟร


อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า

ويجوز أن يطعم منها كافرا . وبهذا قال الحسن ، وأبو ثور ، وأصحاب الرأي . وقال مالك : غيرهم أحب إلينا . وكره مالك والليث إعطاء النصراني جلد الأضحية . لأنه طعام له أكله فجاز إطعامه للذمي ، كسائر طعامه ، ولأنه صدقة تطوع

และอนุญาตให้มอบเป็นอาหารแก่กาเฟรจากมัน(จากเนื้ออุฎฮียะฮ) ได้ และ อัลหะซัน, อบูษูร และ อัศหาบุรเราะย (หมายถึงอบูหะนีฟะฮ)ได้กล่าวด้วยทัศนะนี้ และมาลิก กล่าวว่า “อื่นจากพวกเขาฉันชอบยิ่งกว่า และ มาลิกและอัลลัยษู ถือว่าเป็นมักรูฮ มอบหนังกุรบานให้แก่ชาวคริสเตียน เพราะว่าแท้จริง มันคืออาหารของเขา เขาได้รับประทานมัน ดังนั้นอนุญาตให้มอบเป็นอาหารแก่กาเฟรซิมมีย์ได้ เช่นเดียวกับอาหารอื่นๆ และเพราะมันคือ เศาะดะเกาะฮที่เป็นสุนัต
- อัลมุฆนีย์ เล่ม 11 หน้า 109


อิหม่ามชาฟิอี กล่าวว่า

وَلَا بَأْسَ أَنْ يُتَصَدَّقَ عَلَى الْمُشْرِكِ مِنْ النَّافِلَةِ وَلَيْسَ لَهُ فِي الْفَرِيضَةِ مِنْ الصَّدَقَةِ حَقٌّ ، وَقَدْ حَمِدَ اللَّهُ تَعَالَى قَوْمًا فَقَالَ { وَيُطْعِمُونَ الطَّعَامَ } الْآيَةَ

และ การบริจาคที่เป็นสุนัตให้แก่มุชริก ไม่มีความผิดแต่อย่างใด โดยที่ เขาไม่มีสิทธ์ในเศาะดะเกาะฮที่เป็นข้อบังคับ และแท้จริง อัลลอฮตะอาลา ได้สรรเสริญ คนพวกหนึ่งว่า (และพวกเขาได้เลี้ยงอาหาร...จนจบอายะฮ) –ดู อัลอุม เล่ม 2 หน้า 66

.........
การทำกุรบาน เป็นสุนัต การบริจาคเนื้อกุรบาน ก็เท่ากับบริจาคทานที่เป็นสุนัต

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Wed Oct 09, 2013 12:49 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 19, 2012 11:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การสุญูดชุกูร ต้องมีน้ำละหมาดหรือไม่?

คำถาม

Lemon Laimoon
สุญูดขอบคุณอัลลอฮฺ ต้องมีน้ำละหมาดมั้ยค่ะ ?

ตอบ

การสุญูดชุกูร มันคนละเรื่องกับการละหมาดครับ

รายงานจากอะบีบักเราะฮ์ ความว่า

عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ كَانَ إِذَا جَاءَهُ أَمْرُ سُرُورٍ أَوْ بُشِّرَ بِهِ خَرَّ سَاجِدًا شَاكِرًا لِلَّهِ

"จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แท้จริงเมื่อมีสิ่งหนึ่งจากความปีติยินดีได้มาหาท่านหรือท่านได้รับแจ้งข่าวดี ท่านจะก้มลงสุยูดเพื่อชุโกรต่ออัลเลาะฮ์" รายงานโดยอะบูดาวูด (2393) ฮะดีษฮะซัน

อิบนุอุษัยมีน กล่าวว่า

أنَّ الصَّلاة تبطلُ بسُجودِ الشُّكرِ ؛ لأنَّه لا علاقة له بالصَّلاة ، بخلافِ سُجودِ التِّلاوة ؛ لأن سُجودَ التِّلاوةِ لأمرٍ يتعلَّق بالصَّلاة ، وهو القِراءة

แท้จริงละหมาด จะเป็นโมฆะ ด้วยการสุญูดชุกูร(ในละหมาด) เพราะมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับการละหมาด ต่างกับ สุญูดติลาวะฮ เพราะสุญูดติลาวะฮ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง/สัมพันธ์ กับการละหมาด และมันคือ การอ่าน – ชัรหุอัลมุมตะอฺ เล่ม 4 หน้า 107

เพราะฉะนั้น จะเอาการสุญูดชุกูร ไปกิยาส(เทียบ)กับการละหมาด ในประเด็นที่ว่า ต้องมีน้ำละหมาดไม่ได้หรอกครับ

มุหัมหมัด ชัมสุนหัก อะซีม อะบะดีย์กล่าวว่า

وَاعْلَمْ أَنَّهُ قَدِ اخْتُلِفَ هَلْ يُشْتَرَطُ لَهَا الطَّهَارَةُ أَمْ لَا ؟ فَقِيلَ : يُشْتَرَطُ قِيَاسًا عَلَى الصَّلَاةِ ، وَقِيلَ : لَا يُشْتَرَطُ وَهُوَ الْأَقْرَبُ انْتَهَى .

และพึงทราบเถิดว่า ได้มีการเห็นต่างกัน ว่า การทำความสะอาด(หมายถึงการอาบน้ำละหมาด) เป็นเงื่อนไขของมัน(ของสุญูดชุกูร หรือไม่ ? มีผู้ผู้กล่าวว่า “มันต้องให้มีเงื่อนไข เป็นการเทียบกับการละหมาด และมีผู้กล่าวว่า มันไม่ต้องให้มีเงื่อนไข และมันคือ ทัศนะที่ใกล้เคียงกับความถูกต้องที่สุด – เอานุลมะอฺบูด ชัรหุสุนันอบีดาวูด กิตาบุลญิฮาด เรื่องสุญูดชุกูร

อิหม่ามเชากานีย์กล่าวว่า

وَلَيْسَ فِي أَحَادِيثِ الْبَابِ مَا يَدُلُّ عَلَى اشْتِرَاطِ الْوُضُوءِ وَطَهَارَةِ الثِّيَابِ وَالْمَكَانِ

และไม่มีสิ่งที่เป็นหลักฐานแสดงบอก การกำหนดเงื่อนไข การอาบน้ำละหมาด ,ความสะอาดของเสื้อผ้า และสถานที่ ในบรรดาหะดิษเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย - ดูนัยลุลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 127

ส่วนที่ระบุว่าต้องมีน้ำละหมาดนั้น คือ นักวิชาการมัซฮับชาฟิย์บางส่วนเท่านั้น
ดังระบุในหนังสือที่กล่าวข้างต้นคือ

وَذَهَبَ أَبُو الْعَبَّاسِ وَالْمُؤَيَّدُ بِاَللَّهِ وَالنَّخَعِيِّ وَبَعْضُ أَصْحَابِ الشَّافِعِيِّ إلَى أَنَّهُ يُشْتَرَطُ فِي سُجُودِ الشُّكْرِ شُرُوطُ الصَّلَاةِ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Sep 20, 2012 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำเครื่องราง(อะซีมัต) ด้วยอัลกุรอ่าน ได้ไหม ?

มีคนอ้างดังนี้

Sunnah Core Salafussalah ท่านอิบนุอุมัร เคยเขียนอะซีมัตที่เป็นดุอาแขวนคอลูกของท่านครับ...

ตอบ

มาดูข้อเท็จจริง จากหะดิษที่ Sunnah Core Salafussalah อ้าง

ดังนี้

حَدَّثَنَا مُوسَى بْنُ إِسْمَعِيلَ حَدَّثَنَا حَمَّادٌ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ إِسْحَقَ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يُعَلِّمُهُمْ مِنْ الْفَزَعِ كَلِمَاتٍ أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّةِ مِنْ غَضَبِهِ وَشَرِّ عِبَادِهِ وَمِنْ هَمَزَاتِ الشَّيَاطِينِ وَأَنْ يَحْضُرُونِ وَكَانَ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عُمَرَ يُعَلِّمُهُنَّ مَنْ عَقَلَ مِنْ بَنِيهِ وَمَنْ لَمْ يَعْقِلْ كَتَبَهُ فَأَعْلَقَهُ عَلَيْهِ

มูซา บิน อิสมาอีล ได้เล่าเรา หัมมาด ได้เล่าเราว่าได้รายงานจาก มุหัมหมัด บิน อิสหาก จากอัมร์ บิน ชุอัยบ์ , จากบิดาของเขา , จากปู่ของเขา ได้กล่าวว่า
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้สอนพวกเรา กับบรรดาถ้อยคำ โดยให้เราทำการกล่าวมันในขณะที่มีความหวาดกลัว ว่า ?เมื่อบุคคลหนึ่งจากพวกท่านได้มีความหวาดกลัว ดังนั้น เขาก็จงกล่าวว่า ?ข้าพเจ้าของความคุ้มครอง ด้วยบรรดาถ้อยคำของพระองค์ที่สมบูรณ์ จากความกริ้วและการลงโทษของพระองค์ , จากความชั่วร้ายของปวงบ่าวของพระองค์ , จากบรรดาการล่อลวงจากบรรดาชัยฏอน , จากการที่พวกเขาได้ปรากฏตัว? ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์ (บินอาซ) ได้สอนถ้อยคำเหล่านั้น กับบุตรของเขาที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว ให้ทำการกล่าวมันในขณะที่นอน และสำหรับบุตรของท่านที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ท่าน(อับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์) ก็ทำการเขียนถ้อยคำเหล่านั้น หลังจากนั้น ก็นำมันไปแขวนที่คอบุตรของเขา?

วิจารณ์ หะดิษข้างต้น

ประการที่ 1. ในสายรายงานของหะดิษ มีผู้รายงานชื่อ มุหัมหมัด บิน อิสหาก เขาถูกวิจารณ์ว่า “มุดัลลัส” หะดิษมุดัลลัส คือหะดีษที่มีการปกปิดอำพรางในสายรายงานเพื่อให้เห็นว่าเป็นสายรายงานที่สมบูรณ์ไม่มีข้อบกพร่องใดๆ

ประการที่ 2. หะดิษดังกล่าวหากเศาะเฮียะ ก็ไม่สามารถเอามาเป็นหลักฐานได้ เพราะท่านนบี ศอ็ลฯ ไม่ได้รับรู้และไม่ได้ยอมรับการกระทำดังกล่าว

ประการที่ 3. บรรดาเศาะหาบะฮคนสำคัญอีกหลายท่าน ไม่ยอมรับการกระทำนี้ เช่น

وذهب ابن عباس، وابن مسعود، وحذيفة، والأحناف، وبعض الشافعية، ورواية عن أحمد، إلى أنه لا يجوز تعليق شيء من ذلك؛ لما تقدم من النهي العام في الأحاديث السابقة.

อิบนุอับบาส,อิบนุมัสอูด, หุซัยฟะฮ ,อัลอะหฺนาฟ (นักวิชาการมัซฮับหะนะฟี) และ ส่วนหนึ่งของนักวิชาการมัซฮับชาฟิอี และรายงานหนึ่งจากอะหมัด มีทัศนะว่า ไม่อนุญาตให้แขวนสิ่งใดๆจากดังกล่าว(หมายถึงบทดุอาจากอัลกุรอ่านและสุนนะฮ) เพราะคำสั่งห้ามที่ระบุไว้กว้างๆในบรรดาหะดิษที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ – ดู ฟิกฮอัสสุนนะฮ กิตาบุลญะนาอิซ
หะดิษที่ท่านสัยยิดซาบิก กล่าวถึง ส่วนหนึ่งคือ

إن الرقى، والتمائم، والتولة شرك

“อันที่จริงการเสกเป่า เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี...” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 3883 อะหฺมัด : 3604 อิบนุมาญะฮฺ : 3530
………………….
ขอเรียนว่า ไม่ปรากฏแม้หะดิษสักบทเดียวที่ท่านนบี ศอ็ล สอนให้นำกุรอ่านมาทำเครื่องราง มีแต่สอนให้ปฏิบัติตามคำสอนในอัลกุรอ่าน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Sep 21, 2012 10:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

บางคนพยายามที่จะนำเสนอหลักฐานที่เป็นความเห็นต่างๆจากชาวสะลัฟ และบอกว่า ไม่ควรถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นชิริก เพราะสะลัฟบางคนทำ ความจริง หลักฐานศาสนานั้น ต้องดูจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮเป็นหลัก ไม่ใช่ความเห็นที่ไม่เป็นเอกฉันท์จากชาวสะลัฟ ชาวสะลัฟ เขาเข้าใจว่า เอาบะเรากัต แต่คนที่เขาไม่เข้าใจอะกีดะฮดีพอ มันไม่เป็นอย่างนั้น เขาอาจจะพึ่งสิ่งนั้น หรือสิ่งนั้นเป็นเหตุให้ได้รับการคุ้มครองจากอัลลออ คือ เอาสิ่งนั้นมาหุ้นส่วนในการขอความคุ้มครองต่ออัลลออฮ แทนที่จะขอความคุ้มครองกับอัลลอฮโดยตรงตามดุอาต่างๆที่ท่านรซูลุลลอฮ สอ็ลฯสอนไว้

เช็คศอลิหอัลเฟาซาน กล่าวว่า

* وقد يكون المعلق من القرآن ، فإذا كان من القرآن فقد اختلف العلماء في جوازه وعدم جوازه 0 والراجح عدم جوازه سدا للذريعة فإنه يفضي إلى تعليق غير القرآن ، ولأنه لا مخصص للنصوص المانعة من تعليق التمائم كحديث ابن مسعود – رضي الله عنه – قال : سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول : ( إن الرقى والتمائم والتولة شرك ) ( صحيح الجامع 1632 ) رواه أحمد وأبو داوود وعن عقبة بن عامر - رضي الله عنه - مرفوعا ( من علق تميمة فقد أشرك ) ( صحيح الجامع 6394 ) ، وهذه نصوص عامة لا مخصص لها

และบางที สิ่งที่ถูกนำมาแขวน(เป็นอะซีมัตนั้น) มาจากอัลกุรอ่าน แท้จริง บรรดานักวิชาการได้เห็นต่างกัน ในเรื่องอนุญาตและไม่อนุญาต และที่มีน้ำหนักนั้น ไม่อนุญาต เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่จะตามมาภายหลัง เพราะแท้จริงมันจะนำไปสู่ การแขวน อื่นจากอัลกุรอ่าน และเพราะแท้จริง ไม่มีสิ่งที่มาจำกัด ตัวบทที่ห้ามการแขวนเครื่องราง ดังหะดิษมัสอูด(ร.ฎ เขากล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยินรซูลุลลอฮ สอ็ลฯ กล่าวว่า ( อันที่จริงแล้วการเสกเป่าต่าง ๆ เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี..- อัศเศาะเฮียะญาเมียะ หะดิษหมายเลข ๑๖๓๒ รายงานดดยอะหมัด และอบูดาวูด และรายงานจากอุกบะฮ บิน อามีร (ร.ฎ) เป็นหะดิษมัรฟัวะ(หมายถึงสืบไปถึงนบี)ว่า ผู้ใดแขวนเครื่องราง แน่นอน เขาได้ตั้งภาคีแล้ว) - เศาะเฮียะอัลญาเมียะ หะดิษหมายเลข ๖๓๙๔ และนี้คือ ตัวบท/หลักฐาน ที่ระบุเอาไว้โดยกว้างๆ โดยไม่มีสิ่งที่ถูกให้มาจำกัด/หรือยกเว้น สำหรับมัน – ดู อัลอิรชาดอิลาเศาะเฮียะอัลเอียะติกอด เล่ม ๒ หน้า ๘๓
.........................
.
ชาวพุทธบางคน เวลาเขาจะหาของดีป้องกันตัว เขาก็ไปหาพระสงฆ์ หรือเจ้าอาวาส เพื่อให้ปลุกเสกคาถาทำเป็นเครื่องรางมาแขวนคอ มุสลิมบางคนก็ไม่น้อยหน้า ไปหาโต๊ะครู หรือ ตะอิหม่าม ให้ปลุกเสกดุอา เขียนเป็นอาซีมัต เอามาแขวนคอ หรือไม่ก็พกติดตัว เพื่อป้องกันเภทภัย(บาลาอฺ) ......

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Sep 22, 2012 10:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นบีชุอัยบฺ อะลัยฮิสสลาม

وَإِلَى مَدْيَنَ أَخَاهُمْ شُعَيْباً قَالَ يَاقَوْمِ اعْبُدُوا اللَّهَ مَا لَكُمْ مِنْ إِلَهٍ غَيْرُهُ وَلا تَنقُصُوا الْمِكْيَالَ وَالْمِيزَانَ إِنِّي أَرَاكُمْ بِخَيْرٍ وَإِنِّي أَخَافُ عَلَيْكُمْ عَذَابَ يَوْمٍ مُحِيطٍ
และยังกลุ่มชนของมัดยัน เราได้ส่งพี่น้องคนหนึ่งของพวกเขาคือชุอัยบฺ เขากล่าวว่า โอ้ หมู่ชนของฉันเอ๋ย พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮฺเถิด พวกท่านไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ และพวกท่านอย่าให้การตวง และการชั่งบกพร่อง แท้จริงฉันเห็นพวกท่านอยู่ในความดี (มั่งคั่ง) แท้จริงฉันกลัวแทนพวกท่านต่อการลงโทษในวันที่ถูกห้อมล้อมไว้ – ฮูด/84

ต้นตระกูลของ นบีชุอัยบฺ อะลัยฮิสสลาม

وَشُعَيْبٌ - عَلَيْهِ السَّلَامُ - هُوَ رَسُولٌ لِأَهْلِ مَدْيَنَ ، وَهُوَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ، اسْمُهُ فِي الْعَرَبِيَّةِ شُعَيْبٌ - عَلَيْهِ السَّلَامُ - وَاسْمُهُ فِي التَّوْرَاةِ : " يَثْرُونُ " وَيُسَمَّى أَيْضًا " رَعْوَئِيلَ " وَهُوَ ابْنُ " نُوَيْلَى أَوْ نُوَيْبِ بْنِ رَعْوِيلَ بْنِ عَيْفَا بْنِ مَدْيَنَ . وَكَانَ مُوسَى - عَلَيْهِ السَّلَامُ - لَمَّا خَرَجَ مِنْ مِصْرَ نَزَلَ بِلَادَ مَدْيَنَ وَزَوَّجَهُ شُعَيْبٌ ابْنَتَهُ الْمُسَمَّاةَ صَفُورَهْ وَأَقَامَ مُوسَى - عَلَيْهِ السَّلَامُ - عِنْدَهُ عَشْرَ سِنِينَ أَجِيرًا

และชุอัยบฺ อะลัยฮิสสลาม เขาเป็นรซูลของชาวเมืองมัดยัน โดยที่เขามาจากชาวลูกหลานชาวมัดยัน ชื่อของเขา ในภาษาอาหรับคือ “ชุอัยบฺ อะลัยฮิสสลาม ,ชื่อของเขาในคัมภีร์เตารอต คือ “ยัษรูน” และอีกชื่อหนึ่งที่ถูกเรียกคือ “เราะวาอีล” เขาเป็นบุตร ของ นุวัยลา หรือ นุวัยบฺ บุตร ระอฺวีล บุตร อัยฟา บุตร มัดยัน (บุตรอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม) และปรากฏว่า มูซา อะลัยฮิสสลาม เมื่อออกจากอิยิปต์ เขาได้พักอาศัยที่เมืองมัดยัน แล้วชุอัยบฺ (อะลัยฮิสสลาม)ได้จัดการแต่งงานเขา (มูซา)กับบุตรสาวของเขา(ชุอัยบฺ) ชื่อ เศาะฟูเราะฮ และได้อาศัยอยู่กับนบีชุอัยบฺ เป็นเวลา 10 ปี ในฐานะคนรับจ้าง – ดู ตัฟสีร อัตตะหรีรวัตตันวีร เล่ม 7 หน้า 241
เมืองมัดยัน

ชาวมัดยันคือชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในดินแดนมะอาน ซึ่งส่วนหนึ่งของดินแดนแห่งนี้ปัจจุบันคือซีเรีย ชาวมัดยันเป็นคนโลภที่ไม่เชื่อว่าอัลลอฮฺทรงมีอยู่ จึงใช้ชีวิตอยู่อย่างชั่วช้าเลวทราม คนพวกนี้โกงตาชั่ง โฆษณาสินค้าของตัวเองเกินความจริง และปกปิดข้อบกพร่องในสินค้าของตัวเออัลลอฮฺได้ส่งนบีชุอัยบฺมาพร้อมกับปาฏิหาริย์หลายอย่าง
นบีชุอัยบฺได้สอนพวกเขา และ ขอให้พวกเขานึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
และเตือนพวกเขาให้นึกถึงผลที่จะติดตามมา จากหนทางที่เลวทรามของพวกเขา แต่พวกเขากลับหัวเราะเยาะ ท่านนบีชุอัยบฺยังคงสงบนิ่ง และในขณะที่ท่านเตือนชนเหล่านั้น ท่านก็บอกแก่พวกเขาว่าท่านนั้นเป็นญาติพี่น้องของพวกเขา และสิ่งที่ทำไปนั้นมิใช่ประโยชน์ส่วนบุคคล
แต่พวกเขาได้ทำการยึดทรัพย์สินของนบีชุอัยบฺ และ ผู้ที่ปฏิบัติตามท่าน หลังจากนั้นก็ทำการขับไล่ออกจากเมือง นบีชุอัยบฺจึงวอนขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ และคำวิงวอนของท่านก็ได้รับการตอบสนอง กล่าวคือ อัลลอฮฺได้ทรงทำ
ให้อากาศร้อนระอุ ซึ่งทำให้ชาวมัดยันได้รับความเดือดร้อน และเมื่อเห็นเมฆรวมตัวกันบนท้องฟ้า พวกเขาก็คิดว่าเมฆนั้นจะนำความเย็นและฝนที่ชุ่มฉ่ำมา ดังนั้นพวกเขาจึงวิ่งออกไปข้างนอกด้วยความหวังว่าจะได้สนุกสนานกับน้ำฝน แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เมฆได้ระเบิดออกพร้อมกับเกิดฟ้าผ่าและไฟลุกโชนขึ้น

พวกเขาได้ยินเสียงกึกก้องกัมปนาทจากข้างบนซึ่งทำให้แผ่นดินใต้เท้าของพวกเขาสั่นสะเทือน และพวกคนชั่วได้ถูกคร่าชีวิตในสภาพที่กำลังหวาดกลัวง นอกจากนี้ยังโกหกลูกค้าของตนเองอีกด้วย.

ส่วนหนึ่งจากคำสอนนบีชุอัยบฺ อะลัยฮิสสลาม ที่ระบุในอัลกุรอ่าน

أَوْفُوا الْكَيْلَ وَلَا تَكُونُوا مِنَ الْمُخْسِرِينَ

จงตวงให้ครบเต็ม และอย่าเป็นผู้ที่ขาดพร่อง
وَزِنُوا بِالْقِسْطَاسِ الْمُسْتَقِيمِ

และจงชั่งด้วยตาชั่งอย่างเที่ยงตรง

وَلَا تَبْخَسُوا النَّاسَ أَشْيَاءهُمْ وَلَا تَعْثَوْا فِي الْأَرْضِ مُفْسِدِينَ

และอย่าให้ขาดพร่องแก่มหาชนซึ่งสิ่งต่าง ๆ ของพวกเขา และอย่าก่อกวนในแผ่นดินเป็นผู้บ่อนทำลาย
9 อัช-ชุอ่ารออฺ :182 -:184

การลงโทษชาวมัดยัน

وَقَالَ الْمَلأُ الَّذِينَ كَفَرُواْ مِن قَوْمِهِ لَئِنِ اتَّبَعْتُمْ شُعَيْبًا إِنَّكُمْ إِذَاً لَّخَاسِرُونَ

“และบรรดาบุคคลชั้นนำที่ปฏิเสธศรัทธา จากหมู่ประชาชาติของเขา ได้กล่าวว่า แน่นอนถ้าหากพวกเจ้าปฏิบัติตามชุอัยบ์แล้ว แน่นอนพวกท่านก็เป็นผู้ขาดทุนในทันที”

فَأَخَذَتْهُمُ الرَّجْفَةُ فَأَصْبَحُواْ فِي دَارِهِمْ جَاثِمِينَ

“แล้วความไหวอย่างแรงของแผ่นดินก็ได้คร่าพวกเขา แล้วพวกเขาก็กลายเป็นผู้นั่งคุกเข่าตายในบ้านของพวกเขา”

الَّذِينَ كَذَّبُواْ شُعَيْبًا كَأَن لَّمْ يَغْنَوْا فِيهَا الَّذِينَ كَذَّبُواْ شُعَيْبًا كَانُواْ هُمُ الْخَاسِرِينَ

“บรรดาผู้ที่ปฏิเสธชุอัยบ์ประหนึ่งว่าพวกเขาไม่เคยอยู่ในหมู่บ้านนั้น บรรดาผู้ที่ปฏิเสธชุอัยบ์นั้น พวกเขาเป็นผู้ขาดทุน

”فَتَوَلَّى عَنْهُمْ وَقَالَ يَا قَوْمِ لَقَدْ أَبْلَغْتُكُمْ رِسَالاتِ رَبِّي وَنَصَحْتُ لَكُمْ فَكَيْفَ آسَى عَلَى قَوْمٍ كَافِرِينَ

“แล้วเขา ก็หันออกไปจากพวกเขา และกล่าวว่า โอ้ประชาชาติของฉัน แท้จริงฉันได้ประกาศแก่พวกท่านแล้ว ซึ่งบรรดาสารแห่งพระเจ้าของฉัน และฉันก็ได้ชี้แจงแนะนำแก่พวกท่านแล้วแล้วฉันจะเสียใจต่อกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาอย่างไร?”- :ซูเราะอัลอะอรอฟ/91-93

وَلَمَّا جَاءَ أَمْرُنَا نَجَّيْنَا شُعَيْباً وَالَّذِينَ آمَنُوا مَعَهُ بِرَحْمَةٍ مِنَّا وَأَخَذَتْ الَّذِينَ ظَلَمُوا الصَّيْحَةُ فَأَصْبَحُوا فِي دِيَارِهِمْ جَاثِمِينَ،

94. และเมื่อพระบัญชา (การลงโทษ) ของเราได้มาถึง เราได้ช่วยชุอัยบฺและบรรดาผู้มีศรัทธาร่วมกับเขาให้รอดพ้น ด้วยความเมตตาจากเรา และเสียงกัมปนาทได้คร่าบรรดาผู้อธรรม แล้วพวกเขาได้กลายเป็นผู้นอนพังพาบตายใน บ้านเรือนของพวกเขา

كَأَنْ لَمْ يَغْنَوْا فِيهَا أَلا بُعْداً لِمَدْيَنَ كَمَا بَعِدَتْ ثَمُودُ

95. (สิ่งที่ได้พังพินาศ) ประหนึ่งว่าพวกเขาไม่ได้เคยรุ่งเรืองอยู่ในนั้นมาก่อน พึงรู้ไว้เถิด จงห่างไกลจากความเมตตาเถิดพวกมัดยัน ดังเช่นที่พวกษะมูดได้ห่างไกลมาแล้ว
- อะสัน หมัดอะดั้ม asanmd99@gmail.com

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 26, 2012 7:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จริงหรือที่มีผู้กล่าวว่า.....พวกเขาอ่าน แล้วก็ผ่านมันไป โดยไม่ไปเจาะจงความหมายใดๆกับมัน.....ผมก็ยึดตามคำนี้ ครับ
…………….

ตอบ

คำว่า “.....พวกเขาอ่าน แล้วก็ผ่านมันไป โดยไม่ไปเจาะจงความหมายใดๆกับมัน” สำนวนนี้ เป็นคำกล่าวของอะชาอีเราะสะติวเด้น
จึงอยากจะถามว่า อัลกุรอ่านถูกประทานลงมา บางอายะฮ บางคำเราไม่สามารถที่จะแตะต้องหรือ แปลความหมายด้วยหรือ?
ทั้งๆที่ อัลลอฮ ตรัสว่า
إِنَّا أَنزَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ
แท้จริงพวกเราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับเพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด
อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ อธิบายว่า
لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ أَيْ لِكَيْ تَعْلَمُوا مَعَانِيَهُ ، وَتَفْهَمُوا مَا فِيهِ
เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้ปัญญาคิด หมายถึง เพื่อพวกเจ้าจะได้ รู้บรรดาความหมายของมันและทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่ในมัน(ในอัลกุรอ่าน ) – ดูตัฟสีร อัลกุรฏุบีย์ อรรถาธิบาย ซูเราะฮยูซูฟ อายะฮที่ 2


อิบนุญะรีร อรรถาธิบายว่า
إِنَّا أَنْزَلْنَا هَذَا الْكِتَابَ الْمُبِينَ ، قُرْآنًا عَرَبِيًّا عَلَى الْعَرَبِ ، لِأَنَّ لِسَانَهُمْ وَكَلَامَهُمْ عَرَبِيٌّ ، فَأَنْزَلْنَا هَذَا الْكِتَابَ بِلِسَانِهِمْ لِيَعْقِلُوهُ وَيَفْقَهُوا مِنْهُ ، وَذَلِكَ قَوْلُهُ : ( لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ

แท้จริงเราได้ประทานคัมภีร์อันชัดแจ้งนี้ เป็นกุรอ่านภาษาอาหรับ เพราะภาษาของพวกเขา(พวกอาหรับ)และคำพูดพวกเขาคือ ภาษาอาหรับ แล้วเราได้ประทานคัมภีร์นี้ ด้วยภาษาของพวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ใช้ปัญญาใคร่ครวญมัน และทำความเข้าใจจากมัน และดังกล่าวนั้นคือ คำตรัสของพระองค์ที่ว่า (เพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิดgreat ดูตัฟสีร อัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย ซูเราะฮยูซูฟ อายะฮที่ 2
คัมภีร์ของพระเจ้าแต่ละยุคแต่ละสมัยถูกประทานลงมาตามภาษาของอุมมะฮแต่ละยุคดังที่อัลกุรอ่านระบุไว้ว่า
وَمَا أَرْسَلْنَا مِن رَّسُولٍ إِلَّا بِلِسَانِ قَوْمِهِ لِيُبَيِّنَ لَهُمْ ۖ
และเรามิได้ส่งร่อซูลคนใด นอกจากด้วยการพูดภาษาชนชาติของเขา เพื่อจะได้ชี้แจงอย่างชัดแจ้งแก่พวกเขา- อิบรอฮีม/4
……..
มันเป็นไปได้อย่างไรที่ ที่อัลกุรอ่านบางส่วน ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยว ห้ามไม่ให้ไปทำความเข้าใจ ห้ามไม่ให้ไปแปลความหมาย
คนที่เข้าใจแบบนี้ คือความงี่เง้า เพราะไม่มีแม้สักถ้อยคำเดียวจากศาสนทูต ผู้ถูกส่งมาให้มาอธิบายอัลกุรอ่าน ได้ห้ามไม่ให้แปลส่วนที่เป็นสิฟัตของอัลลอฮ

คำว่า

“พวกเขาอ่าน แล้วก็ผ่านมันไป โดยไม่ไปเจาะจงความหมายใดๆกับมัน”


คำนี้มาจากการแปลตามนัฟสูของอะชาอิเราะสะติวเด้น จากความหมายของคำข้างล่างคือ
أمروها كما جاءت،
ซึ่งความจริงความหมายของมันคือ ปล่อยให้เป็นไปตามความหมายของมันที่ได้มีมา ไม่ใช่ห้ามแปล ห้ามไปยุ่งเกี่ยว ปล่อยไว้เฉยๆ อย่างที่อะชาอีเราะสะติวเด้นสอน

อิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวถึง أصحاب التجهيل (พวกโง่เขลา)ว่า

والصنف الثالث: أصحاب التجهيل: الذين قالوا: نصوص الصفات ألفاظ لا تعقل معانيها، ولا ندري ما أراد الله ورسوله منها. ولكن نقرأها ألفاظاً لا معاني لها، ونعلم أن لها تأويلاً لا يعلمه إلا الله. وهي عندنا بمنزلة كهيعص

และมนุษย์ประเภทที่สาม คือ พวกโง่เขลา คือ บรรดาผู้ที่กล่าวว่า “ ตัวบทของสิฟัตนั้น เป็น คำต่างๆ เราไม่เข้าใจบรรดาความหมายของมัน และเราไม่รู้ สิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ มีจุดประสงค์จากมัน แต่เราอ่านมัน เป็นคำต่างๆ โดยไม่มีความหมายของมัน และเรารู้ว่า การอธิบายของมันไม่มีใครรู้ นอกจากอัลลอฮ และในทัศนะของพวกเรา มัน อยู่ในฐานะ เหมือนกับ กาฟ ,ฮา,ยา,อัยน์ ศอด -
-อัศเศาวาอิก อัลมุรสะละฮ เล่ม 2 หน้า 422
.........
ข้างต้นอิบนุกอ็ยยิมยกตัวอย่างคำพูดของพวกงี่เง้า ที่บอกว่า ไม่ให้ไปแตะต้องความหมายของสิฟัตอัลลอฮ ปล่อยมันไว้เฉยๆ


อิหม่ามอิบนุญะรีร (ฮ.ศ 310) นักตัฟสีรยุคสะลัฟ กล่าวว่า

إن قال لنا قائلٌ: فما الصواب من القول في معاني هذه الصفات التي ذكرت، وجاء ببعضها كتاب الله عز وجل ووحيه، وجاء ببعضها رسول الله صلى الله عليه وسلم؟
قيل: الصواب من هذا القول عندنا : أن نُثبت حقائقها على ما نعرف من جهة الإثبات، ونفي التشبيه كما نفى ذلك عن نفسه –جل ثناؤه- فقال: {لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ

ถ้ามีผู้กล่าวแก่เราว่า “ อะไรคือความถูกต้องจากคำพูดในเรื่อง ความหมายบรรดาสิฟัตที่ถูกระบุไว้เหล่านี้ โดยที่คัมภีร์ของอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่งและวะหยูของพระองค์ ได้นำมาบางส่วนของมัน และรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ได้นำมันมาอีกส่วนหนึ่งของมัน ?
มีผู้กล่าวว่า “ ที่ถูกต้องจากคำพูดนี้ในทัศนะของเราคือ แท้จริงเรารับรอง(อิษบาตร) ความเป็นจริงของมัน บนสิ่งที่เรารู้จัก ในด้านของการรับรอง(อิษบาตร) และปฏิเสธการคล้ายคลึง(กับมัคลูค) ดังที่พระองค์ทรงปฏิเสธ ดังกล่าวจากตัวของพระองค์เอง ผู้ซึ่งการสรรเสริญพระองค์สูงส่งยิ่ง โดยพระองค์ตรัสว่า(ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ทรงเห็นยิ่ง- ดู อัตตับศีร ฟี มะอาลิมิดดีน ของ อัฏฏอ็บรี หน้า 140 สำนักพิมพ์ดารุลอาศิมะฮ
.............
ความหมายก็คือ รับรองความหมายสิฟัตเหล่านั้น เช่น اليد، والسمع، وصفة النزول، والبصر، والضحك، ว่าเป็นความหมายจริงๆ ไม่ใช่อุปมา แต่เราปฏิเสธว่า มันไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับสิฟัตมัคโลค เพราะอัลลอฮทรงตรัสปฏิเสธไว้แล้วว่า
لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ทรงเห็นยิ่ง
...........

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Oct 06, 2012 7:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การสอนศาสนา รับค่าจ้างได้หรือไม่


การเรียนวิชา ศาสนา และการสอนวิชาศาสนา เป็นเรื่องศาสนา และเป็นหน้าที่ทุกคนต้องเรียน และผู้มีความมรู้ต้องสอน แต่
ส่วนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน นั้น เป็นกลยุทธหรือ วิธีการ นั้น หลากหลาย โรงเรียน หนังสือ ปากกา ดินสอ กระดานบอร์ด โปรเจ็คเตอร์ คอมพิวเตอร์ เป็นดุนยา ที่เรานำมาเป็นสื่อ ช่วยการเรียนการสอนซึ่งเป็นศาสนา ให้มีประสิทธิภาพ ส่วนเรื่องเอาค่าจ้างในการสอนนั้น ไม่ผิด เพราะคนสอนไม่ใช่มลาอิกะฮ ต้องกินต้องดื่ม และเลี้ยงครอบครัว
ท่านนบี กล่าวว่า

إنَّ أَحَقَّ مَا أَخَذْتم عَلَيْهِ أَجْراَ كِتَاب الله

แท้จริงสิ่งที่พวกท่านสมควรจะเอาค่าตอบแทนคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ

لا خلاف بين الفقهاء في جواز أخذ الرِّزق من بيت المال على تعليم القرآن ، وتدريس علم نافع

ไม่มีการขัดแย้งระหว่างนักกฎหมายอิสลาม ในการอนุญาตให้เอาริชกี(ปัจจัยยังชีพ)จากบัยตุลมาล เป็นค่าสอนอัลกุรอ่านและการเรียนวิชาที่มีประโยชน์ –เมาสูอฺอัลฟิกฮียะฮ เล่ม 13 หน้า 14

อิหม่ามนะวาวีย์ได้อธิบายหะดิษข้างต้น โดยกล่าวว่า

هذا تصريح بجواز أخذ الأجرة على الرقية ، بالفاتحة ، والذِّكر , وأنها حلال لا كراهة فيها , وكذا الأجرة على تعليم القرآن , وهذا مذهب الشافعي ، ومالك ، وأحمد ، وإسحاق ، وأبي ثور ، وآخرين من السلف , ومَن بعدهم

นี้คือ ความชัดเจน เกี่ยวกับอนุญาตให้เอาค่าตอบแทน การปัดเป่า ด้วยฟาติหะฮและซิกีร และแท้จริงมัน หะลาล ไม่มักรูฮในมัน และในทำนองเดียวกัน การเอาค่าตอบแทน การสอนอัลกุรอ่าน และนี้คือ ทัศนะของ ชาฟิอี,มาลิก,อะหมัด,อิสหาก,อบีษูร ,บรรดาคนอื่นๆจากชาวสะลัฟ และผู้ที่อยู่ยุคหลังจากพวกเขา – ดู ชัรหุมุสลิม เล่ม 14 หน้า 188


อิบนุอะซูร กล่าวว่า

أن الجمهور من العلماء أجازوا أخذ الأجر على تعليم القرآن فضلاً عن الفقه والعلم فقال بجواز ذلك الحسن وعطاء والشعبي وابن سيرين ومالك والشافعي وأحمد وأبو ثور والجمهور ، وحجتهم في ذلك الحديث الصحيح عن ابن عباس أن النبي صلى الله عليه وسلم قال ( إن أحق ما أخذتم عليه أجراً كتاب الله

แท้จริง ชนส่วนมากจากบรรดานักวิชาการ พวกเขาอนุญาตให้เอาค่าจ้างสอนอัลกุรอ่านได้ เช่นเดียวกับ ฟิกฮและวิชาความรู้ ดังนั้น ที่กล่าวว่าอนุญาตดังกล่าวคือ อัลหะซัน ,อะฏออฺ, อิบนุสิรีน ,มาลิก,ชาฟิอี ,อะหมัด ,อบูษูรและบรรดานักวิชาการส่วนมาก และหลักฐานของพวกเขาในเรื่องดังกล่าวนั้นคือ หะดิษเศาะเฮียะ รายงานจากอิบนุอับบาสว่า แท้จริง นบี ศอ็ลฯกล่าวว่า (แท้จริงสิ่งที่สมควรจะอาค่าจ้างบนมันคือ กิตาบุลละฮ “ – ดู อัตตะหรีร วัตตันวีร เล่ม 1 หน้า 467

عَنْ الْوَضِينِ بْنِ عَطَاءٍ قَالَ : كَانَ بِالْمَدِينَةِ ثَلَاثَةُ مُعَلِّمِينَ يُعَلِّمُونَ الصِّبْيَانَ ، فَكَانَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ يَرْزُقُ كُلَّ وَاحِدٍ مِنْهُمْ خَمْسَةَ عَشَرَ كُلَّ شَهْرٍ

รายงานจากอัลวะฎีน บิน อะฏออฺ กล่าวว่า “ ปรากฏว่าที่นครมะดีนะฮมีครูสอนเด็กๆ สามคน แล้วปรากฏว่า อุมัร บิน คอฏฏอ็บ จ่ายปัจจัยยังชีพให้แต่ละคนจากพวกเขา จำนวนสิบห้าต่อเดือน – ดู อัลมุศอ็นิฟ ของอิบนุอบีชัยบะฮ กิตาบุลบุยูอฺ เรื่อง ค่าจ้างผู้สอน เล่ม 5 หน้า 98

روي عن عبد الجبار بن عمر أنه قال: "كل من سألت من أهل المدينة لا يرى بتعليم الغلمان بالأجر بأساً"

รายงานจากอับดุลญับบาร บิน อุมัร ว่า เขากล่าวว่า ทุกคนที่ถูกถามจากชาวมะดีนะฮ เขาไม่เห็นว่าการสอนเด็กเอาค่าจ้างนั้น เป็นความผิด – ดู ที่มาข้างล่าง (1)

....................
(1) رواه مالك، بن أنس الأصبحي، المدونة الكبرى، تحقيق: حمدي الدمرداش، مكتبة نزار الباز، الرياض، ط1، 1419ه‍/1999م، ج5، ص1691، ك: الجعل والإجارة، ب: في إجارة المعلم.

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Oct 10, 2012 6:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทัศนะเรื่อง การละหมาดญะนาซะฮโดยไม่เอาน้ำละหมาด

อิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า

وَأَجْمَعَتْ الْأُمَّة عَلَى تَحْرِيم الصَّلَاة بِغَيْرِ طَهَارَة مِنْ مَاء أَوْ تُرَاب وَلَا فَرْق بَيْن الصَّلَاة الْمَفْرُوضَة وَالنَّافِلَة وَسُجُود التِّلَاوَة وَالشُّكْر وَصَلَاة الْجِنَازَة إِلَّا مَا حُكِيَ عَنْ الشَّعْبِيّ وَمُحَمَّد بْن جَرِير الطَّبَرِيِّ مِنْ قَوْلهمَا تَجُوز صَلَاة الْجِنَازَة بِغَيْرِ طَهَارَة ، وَهَذَا مَذْهَب بَاطِل وَأَجْمَع الْعُلَمَاء عَلَى خِلَافه

บรรดานักวิชาการได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ห้ามไม่ให้ละหมาด โดยปราศจากการทำความสะอาดจากน้ำ หรือ ดิน และไม่ได้แตกต่างกันระหว่าง ละหมาดฟัรดูและละหมาดสุนัต ,สุญูดติลาวะฮ ,สุญดชุกุร และละหมาดญะนาซะฮ นอกจาก สิ่งที่ได้มีการรายงานจากอัชชะอฺบีย์ และมุหัมหมัด อิบนุญะรีร อัฏฏอ็บรีย์ จากคำพูดของเขาทั้งสอง ว่า อนุญาต ให้ละหมาดญะนาซะฮ โดยไม่ต้องมีน้ำะหมาด นี้คือ ทัศนะที่ไม่ถูกต้อง โดยที่มติของบรรดานักวิชาการ ขัดแย้งกับมัน – ฃัรหุมุสลิม เล่ม 3 หน้า 103
.........

ทัศนะที่ว่าละหมาดญะนาซะฮโดยไม่ต้องมีน้ำละหมาด คือ ทัศนะของ อัชชะอฺบีย์ และอิบนุญะรีร(ซึ่งท่านเป็นนักตัฟสีรชาวสะลัฟผู้มีชื่อเสียง) โดยให้เหตุผลว่าเป็นแค่ดุอา
อิหม่ามบุคอรี ได้คัดค้านทัศนะดังกล่าว

قَالَ ابْنُ بَطَّالٍ : عَرَضَ الْبُخَارِيُّ لِلرَّدِّ عَلَى الشَّعْبِيِّ فَإِنَّهُ أَجَازَ الصَّلَاةَ عَلَى الْجِنَازَةِ بِغَيْرِ طَهَارَةٍ قَالَ : لِأَنَّهَا دُعَاءٌ لَيْسَ فِيهَا رُكُوعٌ وَلَا سُجُودَ وَالْفُقَهَاءُ مُجْمِعُونَ مِنْ السَّلَفِ وَالْخَلَفِ عَلَى خِلَافِ قَوْلِهِ فَلَا يُلْتَفَتُ إلَى شُذُوذِهِ

อิบนุบัฏฏอ็ล กล่าวว่า อัลบุคอรีได้แสดง การ คัดค้าน อัชชะอฺบีย์ เพราะเขาอนุญาตให้ละหมาดญะนาซะฮ โดยไม่ทำความสะอาด (หมายถึงโดยไม่มีน้ำละหมาด-ผู้แปล) เขา(อัชชุอฺบีย์)กล่าวว่า เพราะแท้จริงมันเป็น แค่ดุอา ไม่มี รุกัวะ ,ไม่มีสุญูด โดยที่บรรดาฟุเกาะฮาอฺ(นักกฎหมายอิสลาม) ชาวสะลัฟและเคาะลัฟ มีมติขัดแย้งกับคำพูดของเขา ดังนั้น อย่าได้ไปสนใจทัศนะที่ผิดเพี้ยนของเขา – ดู ชัรหุเศาะเฮียะบุคอรี เล่ม 3 หน้า 305


อิหม่ามอิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

وَالصَّحِيحُ فِي هَذَا الْبَابِ مَا ثَبَتَ عَنْ الصَّحَابَة - رِضْوَانُ اللَّهِ عَلَيْهِمْ -، وَهُوَ الَّذِي دَلَّ عَلَيْهِ الْكِتَابُ وَالسُّنَّةُ، وَهُوَ أَنَّ مَسَّ الْمُصْحَفِ لا يَجُوزُ لِلْمُحْدِثِ، وَلا يَجُوزُ لَهُ صَلاةُ جِنَازَةٍ، وَيَجُوزُ لَهُ سُجُودُ التِّلاوَةِ. فَهَذِهِ الثَّلاثَةُ ثَابِتَةٌ عَنْ الصَّحَابَةِ

และที่ถูกต้องในเรื่องนี้ คือ สิ่งที่รายงานที่แน่นอนจากบรรดา เศาะหาบะฮ (ร.ฎ) และมันคือ ทัศนะที่อัลกิตาบและอัสสุนนะฮ ได้แสดงบอกเอาไว้ บนมัน คือ แท้จริง ไม่อนุญาตแก่ผู้มีหะดัษสัมผัสอัลกุรอ่าน และไม่อนุญาตให้เขาละหมาดญะนาซะฮ และอนุญาตให้เขา(ผู้มีหะดัษ) สุญูดติลาวะฮได้ นี้คือ สามทัศนะที่แน่นอนจากบรรดาเศาะหาบะฮ –ดู มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 21 หน้า 270


.............ทัศนะของบรรดาผู้รู้ ย่อมมีผิด มีถูกครับ เป็นเรื่องธรรมดา สิ่งใดผิดพลาดย่อมได้รับการอภัยจากอัลลอฮ เพราะเขาได้วินัจฉัยอย่างเต็มความสามารถตามภูมิความรู้ของเขาอย่างบริสุทธิ์ใจ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Oct 21, 2012 8:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การอ่านอัลกุรอ่านให้แก่ผู้ตายในกุบูรดีจริงหรือ

เช็คมุหัมหมัดรอชีดริฏอ กล่าวว่า

قَالَ شَيْخُنَا : وَلَمْ يَقُلْ أَحَدٌ مِنَ الْعُلَمَاءِ الْمُعْتَبَرِينَ أَنَّ الْقِرَاءَةَ عِنْدَ الْقَبْرِ أَفْضَلُ وَلَا رُخَّصَ فِي اتِّخَاذِهِ عِيدًا كَاعْتِيَادِ الْقِرَاءَةِ عِنْدَهُ فِي وَقْتٍ مَعْلُومٍ أَوِ الذِّكْرِ أَوِ الصِّيَامِ ، قَالَ : وَاتِّخَاذُ الْمَصَاحِفِ عِنْدَهَا وَلَوْ لِلْقِرَاءَةِ فِيهَا بِدَعَةٌ ، وَلَوْ نَفَعَ الْمَيِّتَ لَفَعَلَهُ السَّلَفُ

และอาจารย์ของเรา กล่าวว่า “ ไม่มีอุลามาอฺที่ได้รับการยอมรับคนใด กล่าวว่า “ การอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูรนั้น ประเสริฐกว่า และเขา ไม่ได้ผ่อนปรนให้เอากุบูรเป็นวันตรุษ เช่น ประเพณีการอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูร ในเวลาที่เป็นที่รู้กัน หรือ การซิกรุลลฮ หรือ การถือศีลอด การเอาบรรดามุศหัฟ มาไว้ที่มัน และแม้ว่าจะเอาไว้เพื่ออ่านก็ตามเป็นบิดอะฮ และถ้ามันมีประโยชน์ต่อผู้ตาย แน่นอนชาวสะลัฟก็ได้ปฏิบัติมันแล้ว -ตัฟสีรอัลมะนัร เล่ม 8 หน้า 236

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Oct 21, 2012 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

อบูอิสหาก บุรฮานุดดีน อัลหัมบะลี กล่าวว่า

وَنَقَلَ الْمَرْوَذِيُّ فِيمَنْ نَذَرَ أَنْ يَقْرَأَ عِنْدَ قَبْرِ أَبِيهِ : يُكَفِّرُ عَنْ يَمِينِهِ ، وَلَا يَقْرَأُ ، اخْتَارَ فِي " الْفُرُوعِ " أَنَّهُ يَقْرَأُ إِلَّا عِنْدَ الْقَبْرِ ، وَعَنْهُ : إِنَّهَا بِدْعَةٌ ; لِأَنَّهُ لَيْسَ مِنْ فِعْلِهِ ـ عَلَيْهِ السَّلَامُ ـ ، وَلَا فِعْلِ أَصْحَابِهِ

อัลมัรวะซีย์ ได้รายงาน เกี่ยวกับผู้ที่บนบานว่าจะอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูรบิดาของเขา ก็ให้เขาทำกัฟฟาเราะฮจากการสาบาน(1)ของเขา และเขาอย่าอ่าน ,เขาได้ให้ทางเลือกไว้ในอัลฟุรูอฺว่า ว่า แท้จริง เขาให้เขาอ่าน (ตามที่บนบานไว้) ยกเว้นที่กุบูร และรายงานจากเขา ว่า แท้จริง มันเป็นบิดอะฮ เพราะ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งจากการกระทำของนบี อะลัยฮิสสลาม และไม่ใช่การกระทำของเศาะหาบะฮ - อัลมุบเดียะ ฟีชัรห อัลมิกนะอฺ เล่ม 2 หน้า 280

(1)หมายเหตกัฟฟาเราะการผิดคำสาบาน เช่น การจ่ายอาหารคนยากจน สิบคน ,การปล่อยทาสให้เป็นอิสระ หรือ การถือศีลอดสามวัน

.............

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Oct 22, 2012 7:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถาม

ผมเป็น(นักวิทยาศาสตร์)
พอผมได้มีโอกาศศึกษาศาสนาอิสลาม
สิ่งที่ผมยังไม่เข้าใจว่าทําไม
การทําบาปเเล้วสามารถล้างบาปได้
ถ้าหากล้างบาปได้.....ถ้าอย่างนั้นเราอยากจะทําอะไรก็ได้ตามใจชอบ...เเล้วค่อยมาล้างบาป
(ผมเป็น นักวิทยาศาสตร์ ผมชอบเชื่ออะไรก็เป็นเหตุเป็นผล )
ช้วยให้เหตุผลหน่อยนะครับเผื่อมีอะไรที่ผมเช้าใจผิด

......................
ตอบ

พระเจ้าสร้างมนุษย์มา พร้อมกับประทานสติปัญญามาด้วย แต่ถ้า มีสติปัญญาแล้วพอเพียง พระเจ้าคงไม่ประทานศาสนา คัมภีร์ และรอซูลมาให้ชี้นำทาง
ถ้าใช้ตรรกหรือเหตุผลทางปัญญาอย่างเดียว ก็คงจะมีคำถามมากมาย เช่น ทำไมอิสลามสอนให้ทำความสะอาดด้วยดิน แค่เอาดินลูบข้อมือและใบหน้า มันสะอาดได้อย่างไร มันใช้แทนการอาบน้ำได้อย่างไร ทำไมต้องละหมาด ทำไมต้องถือศีลอด ทำไมอิสลามห้ามกินหมู เป็นต้น

ศาสนาสอนให้ลูบหลังรองเท้า แทนการล้างเท้า คนใช้ปัญญา ก็จะถามว่า ทำไมไม่เช็ดส่วนล่างของรองเท้า เพราะเป็นส่วนที่เราอาจจะเยียบสิ่งสกปรก ในเรื่องนี้ เคาะลิฟะฮอาลี เคยกล่าวว่า
لَوْ كَانَ الدِّينُ بِالرَّأْيِ لَكَانَ أَسْفَلُ الْخُفِّ أَوْلَى بِالْمَسْحِ مِنْ أَعْلَاهُ ، وَقَدْ رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَمْسَحُ عَلَى ظَاهِرِ خُفَّيْهِ " .
ถ้าศาสนา ขึ้นอยู่กับความคิดเห็น แน่นอน การลูบส่วนล่างของรองเท้า ย่อมดีกว่าลูบส่วนบนของมัน และแท้จริง ข้าพเจ้า ได้เห็นรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ลูบบนหลังของรองเท้าของเขาทั้งสอง – ดู ชัรหอัซซัรกอนีย์ อะลัลมุวัฏฏอฮ กิตาบุฏเฏาะฮาเราะฮ อธิบายหะดิษหมายเลข 7577

การเรียนแต่ทางโลก ไม่เรียนทางศาสนา คนเราจะคิดนอกกรอบได้เสมอ ซึ่งก็อันตราย เพราะเหตุนี้ ศาสนาจึงสอนเรื่องอะกีดะฮ ก่อนสอนเรื่องการปฏิบัติ

ในกรณี เรื่องการเตาบะฮ หรือการสำนึกผิดของผู้ที่กระทำผิดนั้น เป็นบัญญัคิของศาสนา
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا تُوبُوا إِلَى اللَّهِ تَوْبَةً نَّصُوحًا عَسَى رَبُّكُمْ أَن يُكَفِّرَ عَنكُمْ سَيِّئَاتِكُمْ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงขอลุแก่โทษแด่อัลลอฮฺ(เตาบะฮ)ด้วยการลุแก่โทษอย่างจริงจังเถิดบางทีพระเจ้าของพวกเจ้าจะลบล้างความผิดของพวกเจ้าออกจากพวกเจ้า – อัตตะหรีม/8
อายะฮข้างต้นเป็นการเรียกร้องบรรดามุอฺมินให้ขอลุแก่โทษอย่างรีบด่วนและจริงจังโดยจะไม่กลับไปกระทำความผิดอีก
การเตาบะฮสำนึกผิดที่อัลลอฮจะอภัยนั้น จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขต่อไปนั้
1. เสียใจในความผิดที่ได้กระทำ
2. ถอนตัวจากความผิดนั้น
3. ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่กลับไปทำความผิดซ้ำอีก
4. หากเป็นความผิดที่ละเมิดต่อมนุษย์ ก็ต้องขออโหสิและชดใช้สิ่งที่ได้ละเมิดหากเป็นวัตถุ
มันไม่ง่ายอย่างที่คิด ไม่ใช่ว่า ใครๆก็ได้เพียงแต่อ้างจากลมปากว่าเตาบะฮแล้ว หรือสำนึกผิดแล้วพียงอย่างเดียว
พระเจ้า ทรงคุณลักษณะแห่งความเมตตา หากบ่าวสำนึกผิด มีหรือจะไม่ทรงอภัย
ในทางกฎหมายมนุษย์ ปีหนึ่ง มีนักโทษได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้ลดย่อนโทษ และอภัยโทษเป็นจำนวนมาก จากพระมหากษัตริย์
แล้วพระเจ้าแห่งสากลโลก ผู้สร้างมนุษย์ชาติ เมื่อพระองค์ทรงอภัยความผิดแก่ผู้ที่สำนึกผิด มันไม่กินกับปัญญาอย่างนั้นหรือ ?
คำถามของคนที่โพสต์ ให้ข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะ นักวิทยาศาสตร์ ที่เรียนวิทยาศาสตร์ตะวันตก ไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์อิสลาม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Dec 01, 2012 1:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรณีการลงสุญูด


في هيئة السجود، هل النزول على اليدين أم على الركبتين؟

السنة للقادر النـزول على الركبتين كما في حديث وائل وغيره، وهو المراد في حديث أبي هريرة: (لا يبرك أحدكم كما يبرك البعير)، هذا الصواب لأن بروك البعير يبرك على يديه، ونحن منهيون أن نبرك على أيدينا، نبرك على ركبنا التي في الرجلين، هذا هو السنة وهذا هو الصحيح وهو قول الجمهور من أهل العلم: أن السنة البروك على ركبتيه لا على يديه خلافاً للبعير، هذا إذا كان قادراً، أما إذا كان عاجزاً لكبر السن أو لمرض فإنه يبرك على يديه لا بأس لأجل العجز คำถาม : ในท่วงท่าการลงซูญูดนั้น ด้วยกับสองมือ หรือ สองเข่า ?

เป็นซุนนะห์สำหรับผู้ที่มีความสามารถให้ลงซูญูดด้วยกับเข่าดังที่(ได้ระบุไว้)ในฮาดิษของวาอิลและท่านอื่นๆ และมัน(การลงซูญูดด้วยเข่า)คือจุดประสงค์ของฮาดิษอาบีฮุรัยเราะห์ที่ว่า (คนหนึ่งจากพวกท่านอย่าได้คุกเข่าเสมือนการคุกเข่าของอูฐ) นี่คือสิ่งที่ถูกต้องเพราะว่าการคุกเข่าของอูฐนั้น,มันคุกเข่าด้วยกับมือ ทั้งสองของมันและพวกเราถูกห้ามไม่ให้ทำการลงซูญูดด้วยกับมือทั้งสองของ เราให้เราทำการลงซูญูดลงบนเข่าของเรา ณ ที่สองเท้าของเรานี่คือซุนนะห์ และสิ่งนี่คือสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นคำพูดของอุลามาอ์ส่วนใหญ่ แท้จริงซุนนะห์คือการลงซูญูดด้วยกับเข่า ไม่ใช่การลงด้วยมือต่างกับอูฐ การกระทำเช่นนี้หากเป็นผู้มีความสามารถ ส่วนผู้ที่ไม่มีความสามารถเนื่องจากเพราะอายุมากหรือเจ็บป่วยการลงซูญูดด้วยกับมือก็มิใช่ปัญหาเพราะด้วยเหตไม่มีความสามารถ

โดย เชค อับดุลอาซีซ บิน บาส
http://www.binbaz.org.sa/mat/15088

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Dec 01, 2012 1:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


َنِ الْأَعْرَجِ ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - : إِذَا سَجَدَ أَحَدُكُمْ فَلَا يَبْرُكْ كَمَا يَبْرُكُ الْبَعِيرُ ؛ وَلْيَضَعْ يَدَيْهِ قَبْلَ رُكْبَتَيْهِ .

هَذَا حَدِيثٌ غَرِيبٌ لَا يُعْرَفُ مِنْ حَدِيثِ أَبِي الزِّنَادِ إِلَّا مِنْ هَذَا الْوَجْهِ ، وَهُوَ عَلَى شَرْطِ أَبِي دَاوُدَ ، وَالتِّرْمِذِيِّ ، وَالنَّسَوِيِّ ، أَخْرَجُوهُ فِي كُتُبِهِمْ ، وَقَدْ رُوِيَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ سَعِيدٍ الْمَقْبُرِيِّ ، عَنْ أَبِيهِ ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ ، وَعَبْدُ اللَّهِ بْنُ سَعِيدٍ ضَعِيفُ الْحَدِيثِ عِنْدَ أَئِمَّةِ النَّقْلِ .

รายงานจากอัลอะรอจญ จากอบีฮุรัยเราะฮ เขากล่าวว่า “รซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กล่าวว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่าน สุญูด ดังนั้น เขาอย่าหมอบลงดังเช่นที่อูฐหมอบลง และเขาจงวางมือทั้งสองของเขา ก่อนสองเข่าของเขา

หะดิษนี้ เป็นหะดิษเฆาะรีฟ(หมายถึง หะดีษที่รายงานโดยนักรายงานเพียงคนเดียว) มันไม่เป็นที่รู้จักจากหะดิษอบีซียาด นอกจากจากสายรายงานนี้ และมันอยู่บนเงื่อนไขของอบีดาวูด ,อัตติรมิซีย์ และอัตตะเสาวีย์ พวกเขาได้บันทึกมันไว้ในตำราของพวกเขา และแท้จริงมันได้ถูกรายงานจากอับดุลลอฮ บิน สะอีดอัลมักบะรีย์ จากบิดาของเขา จากอบีฮุรัยเราะฮ โดยที่ อับดุลลอฮ บิน สะอีด นั้น หะดิษเฎาะอีฟ ในทัศนะของนักวิชาการที่รายงานหะดิษ – ดู อัลเอียะติบาร มินัลนาสิค วัลมันสูค มินัลอะษัร ของ หาฟิซอบูบักรอัลหาซิมีย์ เรื่อง การวางสองมือก่อนสองเข่าในสุญูด หน้า 219

อิบนุคุซยมะฮ กล่าวไว้ในเศาะเฮียะอิบนุคุซัยมะฮ ว่า

باب ذكر الدليل على أن الأمر بوضع اليدين قبل الركبتين عند السجود منسوخ ، وأن وضع الركبتين قبل اليدين ناسخ ، إذ كان الأمر بوضع اليدين قبل الركبتين مقدما ، والأمر بوضع الركبتين قبل اليدين مؤخرا ، فالمقدم منسوخ ، والمؤخر ناسخ

บทว่าด้วยการระบุหลักฐานแสดงว่าแท้จริง การสั่งให้วางสองมือก่อนสองเข่า ขณะสุญูด นั้น เป็นสิ่งที่ถูกยกเลิก(มันสูค) และแท้จริง การวางสองเข่าก่อนการวางมือทั้งสองนั้น เป็นสิ่งที่มายกเลิก(นาสิค) เพราะเมื่อปรากฏคำสั่งให้วางสองมือก่อนสองเข่านั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน และ คำสั่งให้วางสองเข่า ก่อนสองมือ เป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นทีหลัง ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน เป็นมันสูค(สิ่งที่ถูกยกเลิก) และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทีหลัง เป็นนาสิค(สิ่งที่มายกเลิก) – ดูเศาะเฮียะ อิบนุคุซัยมะฮ เล่ม 1 หน้า 175 กิตาบุศเศาะลาต

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Dec 01, 2012 1:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เป็นปัญหาที่ไม่ซีเรียส อย่าใด้ตำหนิกันและกัน เพราะกรณีอย่างนี้ควรเปิดกว้าง ไม่ว่าใครจะวางมือก่อนหรือวางเข่าก่อน เพราะนี้คือ ประเด็นเห็นต่างในเรื่องการให้น้ำหนักหลักฐาน

ในประเด็นนี้ ท่านอิบนุตัยมียะฮ กล่าวเกี่ยวประเด็นนี้ว่า

أما الصلاة بكليهما فجائزة باتفاق العلماء . إن شاء المصلي يضع ركبتيه قبل يديه ، وإن شاء وضع يديه ثم ركبتيه وصلاته صحيحة في الحالتين باتفاق العلماء ولكن تنازعوا في الأفضل .
สำหรับการละหมาด ด้วยทั้งสองวิธี (คือ มือลงก่อนหรือเข่าลงก่อน) ถือว่าอนุญาตตามทัศนะของบรรดานักวิชาการ ,หากผู้ละหมาด ประสงค์จะวางเข่าทั้งสองของเขาก่อน มือทั้งสองของเขา ก็ได้ และ หากเขาประสงค์ วางมือทั้งสองของเขาก่อน วางเข่าทั้งสองของเขาก็ได้ และละหมาดของเขา เศาะเฮียะ (ใช้ได้) ในสองรูปแบบนี้ โดยการเห็นฟ้องของนักวิชาการ เพียงแต่ว่าพวกเขาขัดแย้งกันในกรณีความประเสริฐกว่ากันเท่านั้น – อัลฟะตาวา เล่ม 22 หน้า 449

(( وَقَالَ نَافِعٌ : كَانَ ابْنُ عُمَرَ يَضَعُ يَدَيْهِ قَبْلَ رُكْبَتَيْهِ ))
และนาเฟียะกล่าวว่า “ ปรากฏว่าอิบนุอุมัร จะวางสองมือของเขา ก่อนเข่าของเขา
มาดูคำวิจารณ์

غريب! كيف يكون مذهب الإمام البخاري تقديم اليدين على الركبتين، مع العلم أنه أعل هذا الحديث، كما ذكر ذلك الشيخ عبد العزيز الطريفي -حفظه الله- في كتابه-صفة صلاة النبي - قال:"وحديث أبي هريرة يتفرد به محمد بن عبد الله بن الحسن، عن أبي الزناد، عن الأعرج عن أبي هريرة مرفوعاً : (إذا سجد أحدكم، فلا يبرك كما يبرك البعير، وليضع يديه قبل ركبتيه).
وأعلَّه سائر الأئمة؛ كالبخاري والترمذي والدارقطني وغيرهم، أعلوه بالتفرد"
صفة صلاة النبي ، ص129
ช่างแปลกเสียนี่กระไร ...อิหม่ามบุคอรี จะมีทัศนะให้วางสองมือก่อนสองเท้าได้อย่างไร ทั้งๆที่เขาได้ตัดสินหะดิษนี้ว่ามีจุดบกพร่อง ดังที่ เช็คอับดุลอะซีซ อัฏเฏาะรีฟีย์ (ขออัลลอฮปกป้องรักษาท่าน) ได้ระบุในตำราของเขาชื่อ ศิฟะตุเศาะลาติลนบี โดยเขากล่าวว่า “ หะดิษอบีฮุรัยเราะฮ นั้น มุหัมหมัด บิน อับดุลลอฮ บิน อัลหะซัน ได้รายงานมันเพียงคนเดียว จาก อบีอัซซะนาด จากอัลอะอฺรอจญฺ จากอบีฮุรัยเราะฮ เป็นหะดิษมัรฟัวะ(โดยหะดิษอ้างสืบไปถึงนบี ศอ็ลฯ) ว่า เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านสุญูด ก็จงอย่าหมอบลง ดั่งเช่นการหมอบลงของอูฐ และจงวางมือทั้งสองของเขา ก่อนเข่าของเขา)
บรรดานักวิชาการระดับอิหม่ามได้ระบุว่ามันมีข้อบกพร่อง เช่น อัลบุคอรี ,อัตติรมิซีย์ ,อัดดารุลกุฏนีย์ และอื่นจากพวกเขา โดยพวกเขาระบุข้อบกพร่องมันด้วยสาเหตุมีการรายงานเพียงคนเดียว- ศิฟะตุเศาะเศาะลาตุลนบี หน้า 129
http://www.ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=42674

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Dec 26, 2012 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สุนนะฮตัรกียะฮ

อบูอัลมุซอ็ฟฟัรอัสสัมอาอานีย์ (ฮ.ศ 426-489) นักวิชาการมัซฮับชาฟิอี แห่งคุรอซาน กล่าวว่า
إذا ترك النبي صلى الله عليه وسلم شيئا من الأشياء وجب علينا متابعته فيه
เมื่อนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งสิ่งใด จากบรรดาสิ่งต่างๆ จำเป็นเหนื่อพวกเรา จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติตามในมัน –ดู เกาะวาเฏียะอัลอะดิลละฮ เล่ม 1 หน้า 311
...........
หมายความว่า สิ่งใดก็ตามในเรื่องศาสนา เมื่อนบี ทิ้ง หมายถึงไม่ได้ปฏิบัติ เราในฐานะ ผู้เจริญรอยตาม ก็จะต้องไม่ปฏิบัติด้วย
อีกท่านหนึ่ง นักวิชาการมัซฮับชาฟิอีเช่นกัน คือ
อิหม่ามอัซซัรกะชีย์ ได้กล่าวว่า
الْمُتَابَعَةَ كما تَكُونُ في الْأَفْعَالِ تَكُونُ في التُّرُوكِ
การเจริญรอยตามในเรื่องที่เกี่ยวกับการทิ้งของนบี เหมือนกับการเจริญรอยตามในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติของนบี – อัลบะหรุลมะฮีฏ เล่ม 4 หน้า 191
.......
หมายความว่า เมื่อนบีทำ เราในฐานะผู้เจริญรอยตามนบี เราก็ทำ ถ้านบีไม่ทำ เราก็ไม่ทำ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 8 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.17 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ