ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Jun 08, 2012 11:51 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คำว่า ความหมายหะกีกัต ในหะดิษและอายะฮสิฟาต
อ้างจาก: อะสัน ที่ ต.ค. 26, 2010, 03:27 PM
ومن غير معناه فقد ألحد عنه، وذلك عنده وجه في الحقيقة دون المجاز
และผู้ใดเปลี่ยนความหมายของมัน แน่นอนเขาได้ปฏิเสธมัน และดังกล่าวนั้น เป็น พระพักต์ของพระองค์จริงๆ ไม่ใช่อุปมาอุปมัย
อ.อารีฟีน แย้งว่า
เราต้องเข้าใจระหง่างการยืนยันถ้อยคำแบบฮะกีกัตและยืนยันความหมายแบบฮะกีกัต
คำว่า وجه في الحقيقة "วัจญ์ฮฺ ฟิฮะกีกัต" นั้นหมายถึง การยืนยันหรือเรียกซีฟัตของอัลเลาะฮ์ตะอาลาด้วยถ้อยคำฮะกีกัต(ไม่ใช่ให้ความหมายแบบฮะกีกัตคำแท้ที่หมายถึงอวัยวะ) คือใช้ยืนยันเรียกซีฟัต يَدٌ ก็คือ يَدٌ ไม่ไปเรียกแบบคำมะญาซฺว่า قُدْرَةٌ กุดเราะฮ์(อำนาจ) หรือ قُوَّةٌ กุวะฮ์(พลัง)
เช่นเดียวกัน ซีฟัต وَجْهٌ ซึ่งสะลัฟจะเรียกและยืนยันถ้อยคำแบบฮะกีกัตว่า وِجْهٌ ตามที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงยืนยันไว้แก่พระองค์เอง แต่ความหมายของ وَجْهٌ ล่ะ?
ความหมายของซีฟัต وَجْهُ ของอัลเลาะฮ์ตามทัศนะของสะลัฟนั้นตีความได้ดังนี
1. หมายถึง ความยิ่งใหญ่
2. หมายถึง พระองค์เอง
3. หมายถึง เจตนาหรือจุดมุ่งหมาย
4. หมายถึง ความพึงพอพระทัย
5. หมายถึง กิบลัต
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,6552.0.html
ดังนั้น 5 ความหมายนี้ ผมอยากถามว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงความหมายซีฟัต وَجْهٌ ของอัลเลาะฮ์หรือไม่? และการให้ความหมายทั้ง 5 นี้เป็นมุสลิมตามทัศนะของอัลบานีย์หรือไม่?
วัลลอฮุอะลัม
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,6552.0.html
..
ขอชี้แจงว่า
จากคำแย้งของ อ.อารีฟีน จะเห็นได้ว่า อาจารย์ไม่เข้าใจ คำว่า وجه في الحقيقة "วัจญ์ฮฺ ฟิฮะกีกัต เลยทึกทักไปว่า ถ้าไม่ตีความคำว่า وجه ก็เท่ากับ เชื่อว่า อัลลอฮมีอวัยวะ และ จากการไม่เข้าใจนี้เอง เขาจึง กล่าวหาพี่น้องมุสลิม ที่รับรอง สิฟัตวัจญ์ ว่า เป็นพวกมุญัสสิมะฮ คือ พวกที่เชื่อว่าอัลลอฮมีรูปร่าง มีอวัยวะเหมือนมัคลูค...วัลอิยาซุบิลละฮ
อ.อารีฟีน ซึ่งจบปริญญาโท เมืองนอก ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า คำว่า อิษบาตร วัจญ์หะกีกัต หมายถึง การรับรองความหมายจริงของ คำว่า วัจญ์ โดยไม่ได้เปลี่ยนความหมาย หรือ ตีความไปเป็นอย่างอื่น ส่วนลักษณะที่แท้จริง หรือ กัยฟียะฮ ของ วัจญ์ฮุลลอฮ เป็นอย่างไรนั้น มอบหมายความรู้แก่อัลลอฮ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีทางที่จะจินตนาการได้ เพราะทรงไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน
อัลดุลวาฮิด อัตตัยมีย์(เสียชีวิตปี ฮ.ศ 410 ) กล่าวว่า
"ومذهب أبي عبد الله أحمد بن حنبل رضي الله عنه: أن لله عز وجل وجهاً لا كالصور المصورة، والأعيان المخططة، بل وجه وصفة له بقوله "كل شيء هالك إلا وجهه" ومن غير معناه فقد ألحد عنه، وذلك عنده وجه في الحقيقة دون المجاز ، ووجه الله باق لا يبلى، وصفة له لا تفنى. ومن أدعى أن وجهه نفسه فقد ألحد، ومن غير معناه فقد كفر، وليس معنى وجه معنى جسم عنده ولا صورة ولا تخطيط، ومن قال ذلك فقد ابتدع"
มัซฮับอบีอับดุลลอฮ อะหมัด บิน หัมบัล (ร.ฎ) คือ แท้จริง อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง ทรงมีพระพักต์ (الوجه ) ไม่เหมือนบรรดารูป ที่ถูกทำให้เป็นรูปร่าง และ ไม่เหมือนบรรดาตาที่ถูกวาดขึ้น แต่พระพักต์ และ คุณลักษณะของพระองค์ ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์" และผู้ใดเปลี่ยนความหมายของมัน แน่นอนเขาได้ปฏิเสธมัน และดังกล่าวนั้น เป็น พระพักต์ของพระองค์จริงๆ ไม่ใช่อุปมาอุปมัย และพระพักต์ของอัลลอฮทรงดำงอยู่ตลอดไป ไม่เสียหาย และคุณลักษณะของพระองค์นั้น ไม่เสียหาย และ ผู้ใดอ้าง ว่า พระพักต์ของพระองค์ คือ ตัวตนของพระองค์ แน่นอนเขาได้ปฏิเสธมัน และผู้ใดเปลี่ยนความหมายมัน แน่นอน เขาเป็นกุฟุร และ ความหมายพระพักต์ ไม่ได้มีความหมายว่า เป็นรูปร่างของพระองค์ และไม่ใช่(เหมือน)รูปภาพ และไม่ใช่(เหมือน)การวาดรูป และผู้ใดกล่าวดังกล่าว แน่นอนเขาได้อุตริบิดอะฮ - มุอฺตะกิดอิหม่าม อะหมัด หน้า 33
ไม่มีพี่น้องมุสลิมคนใดที่อาจารย์อารีฟีน ฉายาว่า วาฮาบี เชื่อ ว่า คำว่า ใบหน้าในอายะฮสิฟัตว่า เป็นวัยวะของอัลลอฮและเปรียบเทียบว่า เหมือนมัคลูค
แต่ แต่เรารับรองโดยไม่ตีความเพราะท่านนบีไม่ได้ให้ตีความ
ท่านหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า
قَالَ ابْنُ بَطَّالٍ : فِي هَذِهِ الْآيَةِ وَالْحَدِيثِ دَلَالَةٌ عَلَى أَنَّ لِلَّهِ وَجْهًا وَهُوَ مِنْ صِفَةِ ذَاتِهِ ، وَلَيْسَ بِجَارِحَةٍ وَلَا كَالْوُجُوهِ الَّتِي نُشَاهِدُهَا مِنَ الْمَخْلُوقِينَ
อิบนุบัฏฏอ็ล กล่าวว่า ในอายะฮนี้และในหะดิษ (ที่นบีกล่าวว่า أَعُوذُ بِوَجْهِكَ) แสดงบอกว่า แท้จริงอัลลอฮทรงมีพระพักต์ และมันคือ คุณลักษณะของตัวตน(ซาต)ของพระองค์ และ ไม่ใช่อวัยวะ และไม่ใช่เหมือนกับบรรดาใบหน้าที่เรามองเห็นมันจากบรรดามัคลูค ดูฟัตหุลบารี อธิบายหะดิษ หมายเลข 6971 กิตาบุคเตาฮีด
.....................
รู้อะไร ต้องรู้ให้จริง เมื่อรู้จริง ก็จะเป็นปราชญ์ แต่ถ้ารู้ไม่จริง....แล้วหุกุมคนอื่น....ไม่รู้จะเรียกอะไรดี _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Jun 08, 2012 11:54 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อะชาอีเราะฮ บิดเบือนว่า อิหม่ามบุคอรีตีความ อัลวัจญ หมายถึงอำนาจปกครอง
อาจารย์อารีฟีนกล่าวว่า
ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ
"ทุกสิ่งพินาศสิ้นจากนอกจาก วัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของอัลเลาะฮ์" (ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า) หมายถึง "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์" (หลังจากท่านอัลบุคอรีย์ได้ทำการเล่ารายงานทัศนะปราชญ์ท่านอื่นๆ ความว่า) และถูกกล่าวว่า นอกจากสิ่งที่ถูกมีเจตนาเพื่อ วัจญ์ฮฺ ของอัลเลาะฮ์ และท่านมุญาฮิดก็ได้กล่าวไว้" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 8/364
พี่น้องชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อาจจะตั้งคำถามว่า وَجْهُ اللهِ หมายถึงอะไร? คำตอบคือ สิ่งที่คุณอะสันได้ปกปิดมันเอาไว้และไม่ยอมอ้างอิง เพราะมันไปขัดกับสิ่งที่คุณอะสันต้องการ
ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวต่อไปว่า
وَقَالَ اِبْن التِّين قَالَ أَبُو عُبَيْدَة : إِلَّا وَجْهه أَيْ جَلَاله
"ท่านอิบนุอัตตีนได้กล่าวว่า ท่านอะบูอุบัยดะฮ์กล่าวว่า : นอกจากวัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของพระองค์นั้น หมายถึง นอกจากความยิ่งใหญ่ของพระองค์" ฟัตหุลบารีย์
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,6552.0.html
มาดูข้อเท็จจริง แล้วความจริงจะปรากฏ ดังนี้
ในการให้ความหมายคำว่า นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์
อารีฟีน ว่าเล็บว่า " (ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า)
ความจริงไม่ใช่คำพูดของท่านอิหม่ามบุคอรี แต่ท่านได้ รายงานคำพูดคนอื่นอีกที่
ส่วนคำพูดของอิม่ามบุคอรีจริงๆคือ ประโยคที่ว่า إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ
ซึ่งมีความหมายว่า เว้นแต่ สิ่งที่ถูกให้มีจุดประสงค์ เพื่อพระพักต์ของพระองค์ด้วยมัน
เพราะท่าน อิบนุกะษีร ได้ยืนยันว่า
وَقَالَ مُجَاهِدٌ وَالثَّوْرِيُّ فِي قَوْلِهِ : ( كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ ) أَيْ : إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُهُ وَحَكَاهُ الْبُخَارِيُّ فِي صَحِيحِهِ كَالْمُقَرِّرِ لَهُ
และมุญาฮิด และอัษเษารีย์ กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า(ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์) หมายถึง เว้นแต่ สิ่งที่ถูกให้มีจุดประสงค์ เพื่อพระพักต์ของพระองค์ด้วยมัน และ อัลบุคอรีย์ได้รายงานมันในเศาะเฮียะของเขา เสมือนหนึ่งว่า เป็นผู้ยอมรับมัน ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 6 หน้า 262
ส่วนคำว่า إِلَّا مُلْكَهُ
หมายถึง นอกจากอำนาจปกครองของพระองค์
คำข้างต้นเป็นคำพูดของ มุอฺมัร ดังที่หาฟิซอิบนุหะญัรกล่าวว่า
قوله : إلا وجهه : إلا ملكه . في رواية النسفي وقال معمر فذكره
คำตรัสของพระองค์ที่ว่า นอกจากพระพักต์ของพระองค์ หมายถึง นอกจากอำนาจปกครองของพระองค์ ในรายงานหนึ่งของ อัลนุสฟีย์ ระบุว่า "และ มุอฺมัรได้ กล่าว" แล้วเขา(นุสฟีย)ได้ระบุมัน -ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 8 หน้า 505
อิหม่ามบุคอรีนั้น ให้การรับ รอง สิฟัตวัจญฺ ในการอรรถาธิบาย อายะฮที่ว่า
(كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ)
ใน กิตาบุตเตาฮีด ดังนี้
بَاب قَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ
แล้วท่านได้อ้างหะดิษที่ว่า
حَدَّثَنَا قُتَيْبَةُ بْنُ سَعِيدٍ حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ زَيْدٍ عَنْ عَمْرٍو عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ لَمَّا نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ قُلْ هُوَ الْقَادِرُ عَلَى أَنْ يَبْعَثَ عَلَيْكُمْ عَذَابًا مِنْ فَوْقِكُمْ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَعُوذُ بِوَجْهِكَ فَقَالَ أَوْ مِنْ تَحْتِ أَرْجُلِكُمْ فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَعُوذُ بِوَجْهِكَ قَالَ أَوْ يَلْبِسَكُمْ شِيَعًا فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ هَذَا أَيْسَرُ
กุตัยบะฮ บินสะอีด ได้เล่าเราว่า หัมมาด บินเซด จากอัมริน จาก ญาบีร บิน อับดุลลอฮ ได้กล่าวขณะที่อายะฮนี้ลงมา( จงกล่าวเถิด พระองค์คือ ผู้ทรงสามารถส่งการลงโทษจาก จากเบื้องบนของพวกเจ้า ) ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน) แล้วเขากล่าว(ถึงอายะฮดังกล่าวต่อไปว่า) หรือจากใต้เท้าของพวกเจ้า ) แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน) เขากล่าว(อายะฮดังกล่าวต่อไปว่า) หรือ ให้พวกท่านปนเปกันโดยมีหลายพวกเจ้าแล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า นี้ มันเบาที่สุด เศาะเฮียะอัลบุคอรีย์ หะดิษหมายเลข 6971 ว่าด้วยเรื่อง อรรถาธิบายอัลกุรอ่าน
เพราะฉะนั้น การตีความ คำว่า وجهه เป็น ملكه (อำนาจการปกครองของพระองค์) ย่อมจะไม่ใช่การตีความของอิหม่ามบุคอรีแน่นอน
ส่วนที่อารีฟีนอ้าง ข้อความที่ว่า
ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวต่อไปว่า
وَقَالَ اِبْن التِّين قَالَ أَبُو عُبَيْدَة : إِلَّا وَجْهه أَيْ جَلَاله
"ท่านอิบนุอัตตีนได้กล่าวว่า ท่านอะบูอุบัยดะฮ์กล่าวว่า : นอกจากวัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของพระองค์นั้น หมายถึง นอกจากความยิ่งใหญ่ของพระองค์" ฟัตหุลบารีย์
.
ขอกล่าวว่า คำพูดข้างต้นไม่ใช่ประเด็น เพราะประเด็นที่ผมพูด คือ การอ้างว่าอิหม่ามบุคอรีตีความ
และถ้าสังเกตคำที่ อารีฟีนอ้าง จะเห็นได้ว่า เขาได้ตัดตอนประโยคในในข้อความของบุคอรี
เพราะข้อความเต็มๆ คือ
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمْ الْأَنْبَاءُ الْحُجَجُ
และทุกสิ่งทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์) หมายถึง เว้นแต่ อำนาจการปกครองของพระองค์ และมีผู้กล่าวว่า นอกจากสิ่งที่ เพื่อพระพักต์ของพระองค์ด้วยมัน และ มุญาฮิด กล่าว(เกี่ยวกับอายะฮที่ว่า) ดังนั้น ข้อแก้ตัวได้ทำให้พวกเขามืดมน หมายถึง ข้ออ้าง
.
อ.อสรีฟีนตัดตอนข้อความ เพื่อตบตาให้เข้าใจว่า ประโยคข้างหน้า คำว่า มุญาฮิดคือ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ เป็นคำพูดหรือทัศนะของมุญาฮีด
มาดูข้อความของอ.อารีฟีนอีกที่
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ
"ทุกสิ่งพินาศสิ้นจากนอกจาก วัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของอัลเลาะฮ์" (ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า) หมายถึง "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์" (หลังจากท่านอัลบุคอรีย์ได้ทำการเล่ารายงานทัศนะปราชญ์ท่านอื่นๆ ความว่า) และถูกกล่าวว่า นอกจากสิ่งที่ถูกมีเจตนาเพื่อ วัจญ์ฮฺ ของอัลเลาะฮ์ และท่านมุญาฮิดก็ได้กล่าวไว้" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 8/364
..
ความจริง มุญาฮิดไม่ได้เกี่ยวกับประโยคก่อน แต่จะเกี่ยวกับประโยคหลังคือ
وَقَالَ مُجَاهِدٌ فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمْ الْأَنْبَاءُ الْحُجَجُ
........
และหลักฐานยืนยันว่า ประโยคก่อนหน้านั้น ไม่เกี่ยวกับมุญาฮีดคือ
عن ابن أبي نجيح ، عن مجاهد ، في قوله " فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمُ الأَنْبَاءُ سورة القصص آية 66 ، قال : الحجج
รายงานจาก อิบนุ อบีนะเญียะหฺ จากมุญาฮิด ในคำตรัสของอัลลอฮ ที่ว่า ดังนั้น ข้อแก้ตัวได้ทำให้พวกเขามืดมน ซูเราะฮอัลเกาะศอศ อายะฮ ที่ 66 เขา(มุญาฮีด) กล่าวว่า หมายถึงบรรดาข้ออ้าง
- ดู ตะลีกุตตะลีก ของ อิบนุหะญัร กิตาบุคคัฟสีร ซูเราะเกาะศอศ
..............
ผมจึงถึง...บางอ้อว่า ทำไมเช็คอัลบานีย์จึงคัดค้านว่า ไม่ใช่คำตีความของบุคอรี แต่ อะชาอีเราะแอบอ้าง จึงเห็นได้จัดเจนแล้ว ว่า เพราะการตัดตอนข้อความตบแต่งให้คนเชื่อว่า บุคอรีตีความนั้นเอง นะอูซุบิลละฮ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Jun 08, 2012 11:57 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เขาบอกว่า การอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ คือ หมายถึงสูงด้วยเดชานุภาพ
อาจารย์ อารีฟีน อ้างหลักฐานว่า
ท่านอิหม่ามอัซซัจญาจญฺ ได้กล่าวความหมายของ พระนาม อัลอะลีย์ اَلْعَلِيُّ ความว่า
فَاللهُ تَعَالَى عَالٍ عَلَى خَلْقِهِ وَهُوَ عَلِيٌّ عَلَيْهِمْ بِقُدْرَتِهِ , وَلاَ يَجِبُ أَنْ يُذْهَبَ بِالْعُلُوِّ اِرْتِفَاعُ مَكَانٍ , إِذْ قَدْ بَيَّنَّا َأنّّ ذَلِكَ لاَ يَجُوْزُ فِيْ صِفَاتِهِ تَقَدَّسَتْ
ดังนั้นอัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงสูงเหนือบรรดามัคโลคของพระองค์ ในลักษณะที่พระองค์ทรงสูงส่งเหนือพวกเขาด้วยเดชานุภาพ(อัลกุดเราะฮ์)ของพระองค์(ไม่ใช่สูงด้วยซาตของพระองค์) และไม่จำเป็นที่มีทัศนะเกี่ยวกับความสูงของพระองค์ว่ามีสถานที่สูงขึ้นไป เนื่องจากเราได้อธิบายมาแล้วว่า สิ่งดังกล่าว(คือการที่อัลเลาะฮ์มีสถานที่สูงขึ้นไป)นั้น ไม่เป็นที่อนุญาตเกี่ยวกับบรรดาซีฟาตของอัลเลาะฮ์ ซึ่งคุณลักษณะของพระองค์ทรงบริสุทธิ์(จากสิ่งดังกล่าว) อัซซัจญาจญฺ, ตัฟซีร อัสมาอิลลาฮิลหุสนา, หน้า 48.
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2836.msg109983%3Btopicseen#new
ชี้แจง
ความจริง อะชาอีเราะฮเองไม่เข้าใจ กล่าวหาว่า วะฮบีย์ เชื่อว่าอัลลอฮต้องการสถานที่อาศัย นี้คือการกล่าวหาที่มีมาต่อ เนื่อง ความจริง การอิษบาตร(รับรอง) การอยู่เบื้องสูง การอยู่บนฟากฟ้า หรือการอยู่เหนืออะรัช ไม่ได้หมายถึง อัลลอฮอาศัยอยู่ในสถานที่ เพราะสถานที่เป็นมัคลูค แต่หมายถึง ทรงอยู่เบื้องสูง เหนือสถานที่ ส่วนรูปแบบจะเป็นอย่างไรนั้น มันเป็นสิ่งที่นอกเหนือจินตนาการของมัคลูค เพราะทรงไม่มีอะไรเสมอเหมือน คำว่า สถานที่ หมายถึงสถานที่เบื้องสูงที่ไม่ถูกจำกัดขอบเขต
ในตอนหนึ่ง ของหะดิษเกี่ยวกับเมียะรอจญ์ ระบุว่า
فَعَادَ بِهِ جَبْرَائِيلُ حَتَّى أَتَى الْجَبَّارَ عَزَّ وَجَلَّ وَهُوَ مَكَانُهُ ، فَقَالَ : " رَبِّ خَفِّفْ عَنَّا ، فَإِنَّ أُمَّتِي لَا تَسْتَطِيعُ هَذَا ، فَوَضَعَ عَنْهُ عَشْرَ صَلَوَاتٍ; ثُمَّ رَجَعَ إِلَى مُوسَى عَلَيْهِ السَّلَامُ
แล้ว ญับรีลได้นำเขา(มุหัมหมัด) กลับไป จนกระทั้งมาถึง พระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง และทรงเลิศยิ่งโดยที่พระองค์ อยู่ ณ.สถานที่ของพระองค์ แล้วเขา(มุหัมหมัด) กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของข้า ได้โปรดลดย่อนจากเราเถิด เพราะแท้จริง อุมมะฮของข้าพระองค์ ไม่มีความสามารถ สิ่งนี้ แล้วพระองค์ได้ลดให้เขา สิบเวลาละหมาด.ต่อมา เขา (มุหัมหมัด )กลับไปยังมูซา ......หะดิษเศาะเฮียะ ดู ตัฟสีรอัฏอ็บรีย์ เล่ม 17 หน้า 339 เรื่อง การอิสเราะ เมียะรอจญ
...........
หะดิษข้างต้นเป็นการรับรอง สถานที่เกี่ยวกับอัลลอฮ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น อัลลลอฮเท่านั้นทรงรู้ยิ่ง
_________________
อิหม่ามอัดดาริมีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า
فقد أخبر الله العباد أين الله وأين مكانه، وأيَّنَه رسول الله في غير حديث
แท้จริง อัลลอฮทรงบอกบรรดาบ่าวว่า อัลลอฮยู่ใหน และสถานที่พระองค์อยู่ใหน และ รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ระบุว่าพระองค์อยู่ใหน มากกว่าหนึ่งหะดิษ ดู อัลมะริสีย์อัลญะฮมีย์ เล่ม 1 หน้า 509
..
หะดิษย่อมอธิบายชัดเจนกว่า ความเห็นของนักวิชาการทางภาษา ที่ อ.อารีฟีนนำมาอ้าง _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jun 09, 2012 7:57 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ขาบอกว่า อิสิวาอ นักปราชสลัฟอธิบายว่า ปกครองเหนือบัลลังก์โดยไม่มีการแย่งชิง...
Sunnah Core Salafussalah การอธิบายคำว่า อิสติวาอฺว่า อิสเตาลาหรืออิสตีลาอฺนั้น อุลามาอฺด้านภาษาอธิบายเป็น 2 ความหมาย คือ ท่านอะรอบีกล่าวว่า อิสตีลาอฺที่มีการแย่งชิง ส่วนปราชญ์สะลัฟเช่น ท่าน อัซซัจญาจญ กล่าวว่า อิสตีลาอฺโดยไม่มีการแย่งชิง แสดงว่าปราชญ์สะลัฟเข้าใจคำว่า อิสตีลาอฺ ที่แต่งกันในเชิงการอิจญฺติฮาดในเรื่องภาษาอาหรับ ดังนั้นการเลือกทัศนะของท่านอัซซัจญาจญฺจงเหมาะสมในการมาอธิบายคำว่า อิสตะวาอฺ ปกครองเหนือบัลลังก์โดยไม่มีการแย่งชิง...
http://www.facebook.com/groups/215151975220125/doc/319312981470690/
ตอบ
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
[20.5] ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์
ไม่มีนักปราชญ์ยุคสะลัฟคนใดหรอก แปล คำว่า อิสตะวาอายะฮข้างต้น ว่า ปกครองเหนือบัลลังก์โดยไม่มีการแย่งชิง...
มาดูตัวอย่างสะลัฟอธิบาย
1.อบูบักร อัลอิสมาอีลีย์ (อศ 371) กล่าวเกี่ยวกับอะกีดะฮอะลุลหะดิษว่า
وأنه عز وجل استوى على العرش بلا كيف، فإن الله تعالى أنهى إلى أنه استوى على العرش، ولم يذكُر كيف كان استواؤه
แท้จริงพระองค์ทรงประทับเหนือบัลลังค์ โดยไม่มีการอธิบายรูปแบบวิธีการ เพราะอัลลอฮหยุดอยู่ที่คำว่า "แท้จริงพระองค์ทรงประทับเหนือบัลลังค์ และพระองค์ไม่ได้ระบุว่า การประทับของพระองค์เป็นอย่างไร อะกีดะฮอะลุลหะดิษ ของอบูบักร์ อัลอิสมาอีลีย์ หน้า 36
2. บะชัร บิน อุมัร อัซซะฮรอนีย์ (ฮ.ศ 209) กล่าวว่า
سمعت غير واحد من المفسرين يقول : {الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى}: ارتفع.
ข้าพเจ้าได้ยินบรรดานักตัฟสีรหลายคน กล่าวว่า (ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่เหนือบัลลังก์) หมายถึง อยู่สูง (1)
.....
(1) مسند إسحاق بن راهويه (ت. 238 هـ) كما في اتحاف الخيرة المهرة للبوصيري (ج1 ص186)، والمطالب العالية لابن حجر (ج12 ص570)، فالإسناد صحيح؛ ورواها اللالكائي في شرح أصول اعتقاد أهل السنة والجماعة بسنده عن إسحاق بن راهويه (ج3 ص396)
................
คำว่า ปกครองเหนื่อบัลลังค์โดยไม่ได้แย่งชิง ตามที่ปรมาจารย์ ซุนนะฮคอร์ อ้าง สะลัฟคนใหนกล่าวอย่างนี้ ใครบ้างทราบช่วยบอกที่ เพราะละลัฟเขาไม่ตะวีล (ตีความอายะฮสิฟาต) นะครับ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Jul 30, 2012 10:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อาจารย์ซุนนะฮสะติวเด้นอ้างว่า
ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์กล่าวว่า
وَسُئِلَ وَكَيْعٌ عَنْ تَفْسِيْرِ مُقَاتِلٍ، فَقَالَ: لاَ تَنْظُرُوْا فِيْهِ، فَقَالَ: مَا أَصْنَعُ بِهِ؟ قَالَ: اِدْفِنْهُ، يَعْنِى التَّفْسِيْرَ. وَقَالَ وَكِيْعٌ أَيْضًا: كَانَ مُقَاتِلُ بْنُ سُلَيْمَانَ كَذَّابًا
ท่านวะเกี๊ยะอฺ ได้ถูกถามถึง ตัฟซีรของ มุกอติล ท่านวะเกี๊ยะอฺกล่าวว่า พวกท่านอย่าไปดูในหนังสือตัฟซีรของมุกอติล ผู้ถามกล่าวว่า แล้วจะให้จัดการมันอย่างไ? ท่านวะเกี๊ยะอฺตอบว่า ท่านจงฝังตัฟซีรของเขาเถิด และท่านวะเกี๊ยะอฺกล่าวเช่นกันว่า มุกอติล บิน สุไลมาน นั้น เป็นจอมโกหก หนังสือตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอฺ เล่ม 2 หน้า 140
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,3059.0.html
อาจารย์ซุนนะฮสะติวเด้น อ้างคำพูดของ มะกอติล ที่ว่า
ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ : قَالَ الْكَلْبِي وَمُقَاتِل: اِسْتَقَرَّ
"การอิสติวาอฺบนบัลลังก์นั้น อัลกัลบีย์และมะกอฏิลกล่าวว่า หมายถึง ทรงสถิตอยู่"
แล้วอ้างว่า
คำกล่าวของ อัลกะละบีย์และมุกอติล นี้แหละครับ ที่วะฮาบีย์ทั้งหลายเขายึดเอามาเป็นบรรทัดฐานในเรื่องของอะกีดะ ฮ์ เกี่ยวกับ อัลอิสติวาอ์ เพราะวะฮาบีย์จะแปลเกี่ยวกับอายะฮ์ อัลอิสติวาอ์นี้ บางทีแปลว่า "ประทับ(นั่ง)" (جَلَسَ) หรือแปลว่า "สถิต" (اِسْتَقَرَّ) เท่านั้น และกลุ่มวะฮาบีย์ก็เลือกแปลแบบนี้ ซึ่งเมื่อตรวจสอบไปยังต้นขั่วเดิมก็เป็นคำกล่าวที่ให้ความหมายโดย อัลกัลบีย์ และ มุกอติล
..................
ความจริงมีนักวิชาการคนอื่นๆก็ได้ให้ความหมาย เหมือนกับมุกอติล เช่น
อิบนุกุตัยบะฮ (ฮ.ศ ๒๗๖)กล่าวว่า
كيف يسوغ لأحد أن يقول إنه بكل مكان على الحلول مع قوله : ( الرحمن على العرش استوى ) : أي استقر
จะอนุญาตให้คนหนึ่งคนใดกล่าวว่า แท้จริง พระองค์อยุ่ทุกสถานที่ บนการตั้งถิ่นฐานในมัน(ในทุกสถานที่) ได้อย่างไรทั้งๆที่พระองค์ตรัสว่า (พระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงอยู่ เหนืออะรัช) หมายถึง ทรงสถิต ดู- ตะวีลมุคตะลิฟุลหะดิษ หน้า ๒๔๗
อิบนุตัยมียะอ กล่าวว่า
وقال عبدالله بن المبارك ومن تابعه من اهل العلم وهم كثير ان معنى استوى على العرش استقر وهو قول القتيبى
อับดุลลอฮ บิน อัลมุบารอ็ก และนักวิชาการที่ปฏิบัติตามเขาโดยที่พวกเขามีจำนวนมาก กล่าวว่า ความหมาย อิสตะวา อะลัลอัรชิ คือ ทรงสถิต และมันคือทัศนะของกุตัยบฺ ดูมัจญมัวะฟะตาวา เล่ม ๕ หน้า ๕๑๙
ที่น่าสนใจคือ นักตัฟสีร อีกท่านหนึ่ง ชื่อ مقاتل بن حيان ซึ่งบุคคลผุ้นี้ เชื่อถือได้ ดูตะอซีบุตตะฮซีบ เล่ม ๔ หน้า ๒๔๘
....................
การเอาคำพูดบางคนมาอ้างแล้วสรุปเองว่า วะฮบีย์เอาแค่คำพูดมะกอติล มาอ้างโดยเขาไม่พิจารณ์คำพูดนักวิชาการอื่น ถือเป็นการไร้ซึ่งอามานะฮในวิชาการ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Jul 30, 2012 10:34 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อาจารย์ซุนนะฮสะติวเด้น อ้างว่า
ปราชญ์ภาษาอาหรับ ท่านอะบูลกอซิม อัลฮุซัยน์ บิน มุฮัมมัด รู้จักในนาม อัรรอฆิบ อัลอัศฟะฮานีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 502) ได้กล่าวว่า
مَتَي عُدِّيَ ب (عَليَ) إِقْتََضَي مَعْنَي الإِسْتِيْلاَءِ كَقَوْلِهِ الرَّحْمنُ عَلَي العَرْشِ اسْتَوَي
"เมื่อ คำว่าอิสติวาอฺถูกนำมาใช้ด้วยคำว่า อะลา (แปลว่าบน) ก็จะให้ความหมายนัยยะถึง การปกครอง เช่นคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า "พระเจ้านามอัรเราะห์มาน(ผู้เมตตา) ทรงปกครองเหนือบัลลังก์" หนังสือ อัลมุฟร่อด๊าด ฟี ฆ่อรีบิลกุรอ่าน หน้า 251
www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,3059.0.html
ข้างต้น เป็นการอ้างที่เลือนลอย การอ้างแบบนี้เท่าที่ไปดูมาเป็น เว็บไซด์ของชีอะฮ
เพราะการตีความเป็น อิสเตาลา เป็นการตีความของพวก มุอฺตะซิละฮ
ดังที่ อบูมันศูร อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า
زعمتِ المعتزلةُ أن استوى بمعنى استولى مستدلين بقول الشاعر: (قد استوى بشر على العراق) وهذا تأويل باطل
พวกมุอฺตะซิละฮ เข้าใจว่า คำว่า "อิสตะวา" มีความหมายว่า "อำนาจปกครอง" โดยพวกเขาอ้างหลักฐานคำกล่าวของนักกวีที่ว่า "บะชีรได้ครอบครองอิรัก" นี่คือ การตีความที่ไม่ถูกต้อง" * อุศูลุดดีน หน้า 112
...........
เพราะฉะนั้น ใครคือ ผู้มีอะกีดะฮบิดอะฮ และมีอะกีดะฮนอกคำสอน พี่น้องผู้อ่านใช้พิจารณาญานดูนะครับ คำพูด ที่กล่าวหาผู้อื่น อาจจะไปรัดคอผู้พูดก็ได้ในวันกิยามะฮ
อิบนุอับดุรบิรริ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وقولهم استوى: أي استولى لا معنى له لأنه غير ظاهر في اللغة، ومعنى الاستيلاء في اللغة: المغالبة والله لا يغالبه ولا يعلوه أحد
พวกเขา(พวกมุอฺตะซิละฮ)กล่าวว่า คำว่า "อิสตะวา" หมายถึง อิสเตาลา( ครอบครอง หรือ เข้ายึดครอง) ซึ่งไม่ใช่ความหมายของมัน เพราะไม่ปรากฏในหลักภาษา และ ความหมายคำว่า "อิสติลาอฺ"ในทางภาษา หมายถึง การมีชัย ทั้งๆที่อัลลอฮ ไม่มีคนใดต่อสู้กับพระองค์ และไม่มีคนใดชัยชนะพระองค์ได้ - อัตตัมฮีด เล่ม 7 หน้า 131
.............
พิจารณากันนะครับ
ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ يُدَبِّرُ الْأَمْرَ
หลังจากนั้นพระองค์ทรงประทับอยู่บนบัลลังก์ ทรงบริหารกิจการ
อิบนุญะรีร อธิบายว่า
ثُمَّ اِسْتَوَى عَلَى عَرْشه مُدَبِّرًا لِلْأُمُورِ , وَقَاضِيًا فِي خَلْقه مَا أَحَبَّ , لَا يُضَادّهُ فِي قَضَائِهِ أَحَد وَلَا يَتَعَقَّب تَدْبِيره مُتَعَقِّب وَلَا يَدْخُل أُمُوره خَلَل
หลังจากนั้นพระองค์ทรงประทับอยู่บนบัลลังก์ของพระองค์ โดยการบริหารบรรดากิจการ และตัดสิน ในมัคลูคของพระองค์ สิ่งซึ่งทรงพอพระทัยและไม่มีคนใดขัดขวางพระองค์ ในการตัดสินของพระองค์ ,ไม่มีผู้ติดตามตรวจสอบ คอยตรวจสอบการบริหารของพระองค์ และ ความบกพร่องไม่เข้าอยู่ในบรรดากิจการของพระองค์ - ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบายอายะฮที่ 3 ซูเราะฮยูนุส
.................
ข้างต้นเป็นคำอธิบายของอิบนุญะรีร นักตัฟสีรยุคสะลัฟที่ยังคงความหมายเดิม คือ พระองค์ทรงประทับอยู่บนบัลลังก์ของพระองค์ ไม่ได้ตีความ ว่า" ทรงยึดครอง _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Fri Oct 26, 2012 2:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Jul 30, 2012 10:36 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อาจารย์ซุนนะฮสะติวเด้น อ้างว่า
ท่านอิมามอัลกุรตุบีย์กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
وَقَدْ حَكىَ الطَّبَرِيُّ عَنْ قَوْمٍ أَنَّهُمْ قَالُوْا: هُوَ الْعَلِيُّ عَنْ خَلْقِهِ بِإِرْتِفاَعِ مَكَانِهِ عَنْ أَمَاكِنِ خَلْقِهِ . قَالَ ابْنُ عَطِيَّة : هَذَا قَوْلُ جَهَلَةِ الْمُجَسِّمِيْنَ وَكَانَ الْوَجْهُ أَلاَ يُحْكَى
"ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้รายงานเล่าถึงชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพวกเขากล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงสูงห่างไกลจากมัคโลคด้วยการที่พระองค์ทรงสูงขึ้นไปด้วยการมี สถานที่ที่มิใช่บรรดาสถานที่อยู่ของบรรดามัคโลค ท่านอิบนุอะฏียะฮ์ กล่าวว่า นี้คือทัศนะคำกล่าวของพวกมุญัสสิมะอ์(พวกพรรณาอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง)ผู้โง่ เขลา และทางที่ดีนั้นไม่ควรเล่ารายงาน" ตัฟซีร อัลญาเมี๊ยะอฺ ลิอะห์กามุลกุรอาน 3/278
www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,3059.0.html
................
ข้างต้น เป็นการอ้างเพื่อบิดเบือนให้เห็นว่า อิหม่ามอัลกุรตุบีย์ และ อัฏฏอบรีย์ ไม่เห็นด้วยกับ การให้ความหมาย คำว่า อิสตะวา หมายถึง การอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ เหนืออะรัช
มาดูตัฟสีร ของท่านทั้งสอง
1. อิหม่ามอัฏฏอบรีย์ อธิบายว่า
وَقَوْلُهُ ( الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى ) يَقُولُ تَعَالَى ذِكْرُهُ : الرَّحْمَنُ عَلَى عَرْشِهِ ارْتَفَعَ وَعَلَا
และอัลลอฮ ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ ) พระองค์ผู้ซึ่งการกล่าวถึงพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ หมายถึง อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป - ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฏอฮา
2. อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์
وَالَّذِي ذَهَبَ إِلَيْهِ الشَّيْخُ أَبُو الْحَسَنِ وَغَيْرُهُ أَنَّهُ مُسْتَوٍ عَلَى عَرْشِهِ بِغَيْرِ حَدٍّ وَلَا كَيْفٍ كَمَا يَكُونُ اسْتِوَاءُ الْمَخْلُوقِينَ
และที่เช็คอบูหะซัน(อัลอัชอะรีย์)และอื่นจากท่าน ได้ให้ทัศนะไว้คือ แท้จริงพระองค์ทรง ประทับเหนือบัลลังก์ของพระองค์ โดยไม่มีขอบเขตและไม่มีรูปแบบวิธีการ เหมือนกับการประทับของบรรดามัคลูค - ดู ตัฟสีร อัลกุรฏุบีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฏอฮา
..........................
จึงอยากถามว่า สะลัฟท่านใด ตีความว่า อิสติวา อะลัล อัรชี คือ อำนาจการปกครอง _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Jul 30, 2012 12:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อาจารย์ซุนนะฮสะติวเด้นอ้างว่า
ท่านชัยคุลอิสลาม อัลฮาฟิซฺ อิบนุฮะญัร กล่าวอธิบายความหมาย ทำการผ่านมันไป ว่า
وَمَعْنىَ الِإمْرَارِ عَدَمُ الْعِلْمِ بِالْمُرَادِ مِنْهُ مَعَ اعْتِقَادِ التَّنْزِيْهِ
"ความหมาย(อัลอิมร็อร)ทำการผ่านมันไป หมายถึงไม่รู้ถึงจุดมุ่งหมาย(เฉพาะเจาะจง)จาก(ถ้อยคำซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายหลายนัย) พร้อมกับยึดมั่นว่าพระองค์ทรงบริสุทธิ์(จากการไปคล้ายหรือเหมือนกับมัคโลคด้วยความเข้าใจแบบความหมายคำตรงคำแท้)" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ : 6/48
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,3059.0.html
นี้คือตัวอย่างหนึ่ง ที่ครูซุนนะฮสะติวเด้น ตัดมา อิบายเรื่อง อิสติวาอฺ พร้อมกับเสริมแต่งความเห็นตัวเองสอดใส่ในการแปล ซึ่งความจริง หาฟิซอิบนุหะญัร อธิบายเรื่อง หะดิษที่ว่า
عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ يَضْحَكُ اللَّهُ إِلَى رَجُلَيْنِ يَقْتُلُ أَحَدُهُمَا الْآخَرَ يَدْخُلَانِ الْجَنَّةَ يُقَاتِلُ هَذَا فِي سَبِيلِ اللَّهِ فَيُقْتَلُ ثُمَّ يَتُوبُ اللَّهُ عَلَى الْقَاتِلِ فَيُسْتَشْهَدُ
รายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า รซูลุลลอฮ กล่าวว่า "อัลลอฮทรงหัวเราะชายสองคน ซึ่งคนหนึ่งได้ฆ่าอีกคนหนึ่ง แล้วเขาทั้งสองได้เข้าสวรรค คนนี้ เขาต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ แล้วเขาก็ถูกฆ่า ต่อมาอัลลอฮทรงรับการสารภาพผิด(เตาบะฮ) แก่ผู้ที่ฆ่า แล้วเขาได้เข้าอิสลาม ต่อมาเขาได้เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮ (ตายชะฮีด)
.............
ประเด็นข้อความที่ว่า
يَضْحَكُ اللَّهُ إِلَى رَجُلَيْنِ
อัลลอฮทรงหัวเราะชายสองคน
แล้วท่านหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า
وَقَالَ ابْنُ الْجَوْزِيِّ : أَكْثَرُ السَّلَفِ يَمْتَنِعُونَ مِنْ تَأْوِيلِ مِثْلِ هَذَا وَيُمِرُّونَهُ كَمَا جَاءَ وَهَذَا هُوَ الصَّوَابُ الَّذِي جَرَتْ عَلَيْهِ الْمِلَّةُ وَعَمِلَ بِهِ أَئِمَّتُهَا مِنَ الْعَصْرِ النَّبَوِيِّ إِلَى زَمَنِ الْأَئِمَّةِ الْمَتْبُوعِينَ ، وَالْخُرُوجُ عَنْ هَذِهِ الطَّرِيقَةِ إِلَى التَّأْوِيلِ عُدُولٌ عَنْ طَرِيقَةِ الصَّحَابَةِ وَالتَّابِعِينَ لَهُمْ بِإِحْسَانٍ وَيَنْبَغِي أَنْ يُرَاعَى فِي مِثْلِ هَذَا الْإِمْرَارِ اعْتِقَادُ أَنَّهُ لَا تُشْبِهُ صِفَاتُ اللَّهِ صِفَاتِ الْخَلْقِ ، وَمَعْنَى الْإِمْرَارِ عَدَمُ الْعِلْمِ بِالْمُرَادِ مِنْهُ مَعَ اعْتِقَادِ التَّنْزِيهِ
อิบนุเญาซีย์ กล่าวว่า ชาวสะลัฟส่วนมาก ห้ามไม่ให้ตีความ เหมือนกับกรณีนี้ และพวกเขาปล่อยให้เป็นไปตามสิ่งที่ได้มีมา และนี้คือ ที่ถูกต้อง ซึ่งแนวทางนี้ได้ดำเนินบนมัน บรรดาผู้นำแห่งมัน(แห่งแนวทางนี้) จากสมัยนบีจนถึงสมัยบรรดาอิหม่ามที่ถูกปฏิบัติตาม และ การออกจากแนวทางนี้ไปสู่การตีความ(ตะอฺวีล)นั้น คือการหันเหออกจากแนวทางของเศาะหาบะฮ และบรรดาผู้เจริญรอยตามพวกเขา ด้วยความดีงาม และสมควรที่จะรักษาในกรณีเหมือนกับการปล่อยให้ผ่านไปแบบนี้ คือ การเชื่อมั่นว่า แท้จริงบรรดาคุณลักษณะของอัลลออ ไม่คล้ายคลึงกับบรรดาลักษณะ(สิฟัต)มัคลูค และ ความหมายของอัลอิมรอ็ร(การปล่อยให้ผ่านไป)หมายถึง การไม่รู้จุดประสงค์จากมัน พร้อมกับเชื่อว่าทรงบริสุทธืจากการคล้ายคลึง(กับมัคลูก) - ดูฟัตหุ้ลาบารีย์ ๖/๔๘
.........................................
ผุ้อ้าง อ้างหลักฐานเพื่อสนับสนุนการตีความความหมาย อิสติวาอฺ เป็น อิสเตาลา หรือ การปกครองโดยไม่แย่งชิง แต่หลักฐานที่นำมาอ้าง เป็นหลักฐาน ห้ามการตีความ(ตะอฺวีล) มาชาอัลลอฮ
คำพุดของอิบนุเญาซีย์ ไม่ได้หมายถึง ไม่ให้แปลความหมายของคำ แต่ หมายถึง เราไม่รู้จุดมุ่งหมายของคำว่าเป็นอย่างไร ลักษณะหรือรูปแบบการหัวเราะเป็นอย่างไรเราไม่รู้ เพราะทรงไม่เหมือนมัคลูค _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Jul 31, 2012 11:48 am ชื่อกระทู้: |
|
|
Sunnah Core Salafussalah เรามาดู อาสัน แปลคำถ่ายทอดของท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์จากเว็ปอื่นครับ....อาสันอ้างอิงมาว่า...
อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ กล่าวอีกว่า
وقد كان السلف الأول لا يقولون بنفي الجهة , ولا ينطقون بل نطقوا هم والكافة بإثباتها لله , كما نطق كتابه وأخبرت رسله , ولم ينكر أحد من السلف الصالح أنه استوى على عرشه حقيقة .... , وإنما جهلوا كيفية الاستواء
และปรากฏว่าสะลัฟยุคแรก พวกเขาไม่ได้กล่าวด้วยการปฏิเสธ คำว่า "ทิศ" และพวกเขาจะไม่ได้พูดถึง แต่ทว่า พวกเขาเองทั้งหมด รับรองมัน(อิสติวาอ)แก่อัลลอฮ ดังที่คัมภีร์ของพระองค์ได้กล่าวเอาไว้และบรรดารอซูลของพระองค์ ได้บอกไว้ และไม่มีคนใดจากชาวสะลัพผู้ทรงธรรม ปฏิเสธ ว่า อัลลอฮทรงสถิตย์เหนือบัลลังก์ของพระองค์จริง (ไม่ใช่อุปมาอุปมัย) ...และความจริงพวกเขาไม่รู้รูปแบบวิธีการของการอิสติวาอฺเท่านั้น - ดูที่มาข้างล่าง
) الجامع لأحكام القرآن 7/219-220
อาสัน แปลคำพูดของอิหม่ามกุรตุบีย์ที่ถ่ายทอดคำพูดของสะลัฟว่า อัลลอฮ์ทรงสถิตย์เหนือบัลลังก์... อยากถามว่า อาสันรู้ได้ไงว่า สะลัฟทั้งหมดในยุคแรกให้ความหมาย อิสตะวา ว่า สถิต และอาสัน รู้ได้ยังไงว่า อิสตะวา ที่ท่านอัลกุรตุบีย์กล่าวถึงทัศนะของสะลัฟ แปลว่า สถิต ...
สรุปคือ อาสัน โกหก!...ต่อสะลัฟและท่านอัลกุรตุบีย์...
http://www.facebook.com/groups/sutee/
............................
นึกว่า นายสุนนะฮคอร์จะค้านเรื่องอะไร ค้านว่า ว่า แล้วรู้ได้อย่างไรว่าว่า อิสตะวา ที่ท่านอัลกุรตุบีย์กล่าวถึงทัศนะของสะลัฟ แปลว่า สถิต จึงถามกลับไปว่า แล้วคุณรู้ได้อย่างไร ว่า อิหม่ามกุรตุบีย์และสะลัฟ ไม่ได้แปลว่า อัลลอฮ์ทรงสถิตย์เหนือบัลลังก์ทั้งนี้เพราะอิหม่ามกุรฏุบีย์ และชาวสะลัฟไม่เคยแปล เป็นภาษาไทย อย่าถามนะว่านบีแปลว่าอย่างไร
การถามแบบนี้บ่งบอกถึงการไร้วุฒิภาวะในทางวิชาการ ที่นี้มาดูรายละเอียดต่อ
มาดูคำพูดของอิหม่ามกุรฎุบีย์ในตัฟสีรของท่านให้หมดครับท่านคอร์.....
قَالَ مَالِكٌ رَحِمَهُ اللَّهُ : الِاسْتِوَاءُ مَعْلُومٌ - يَعْنِي فِي اللُّغَةِ - وَالْكَيْفُ مَجْهُولٌ ، وَالسُّؤَالُ عَنْ هَذَا بِدْعَةٌ . وَكَذَا قَالَتْ أُمُّ سَلَمَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا . وَهَذَا الْقَدْرُ كَافٍ ، وَمَنْ أَرَادَ زِيَادَةً عَلَيْهِ فَلْيَقِفْ عَلَيْهِ فِي مَوْضِعِهِ مِنْ كُتُبِ الْعُلَمَاءِ . وَالِاسْتِوَاءُ فِي كَلَامِ الْعَرَبِ هُوَ الْعُلُوُّ وَالِاسْتِقْرَارُ
อิหม่ามมาลิก ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า อิสติวาอฺ นั้นเป็นที่รู้กัน หมายถึงในด้านภาษา(เป็นที่รู้กัน) และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน และการถามเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น เป็นบิดอะฮ และในทำนองเดียวกันนี้ อุมมุสะละมะฮ (ร.ฎ)ได้กล่าวเอาไว้ แค่นี้ก็พอเพียงแล้ว และผู้ใดต้องการที่จะ(รู้)เพิ่มเติม ก็จงดูมันในเรื่องของมันจากบรรดาตำราของอุลามาอฺและคำว่าอิสติวาอฺ ในคำพูดอาหรับนั้น คือ สูง และการสถิต- ดู ตัฟสีรญามิอุลอะหกาม เล่ม ๗ หน้า ๒๑๙
.....................
ผมอยากให้ท่านซุนนะอคอร์ดูคำแปลนักวิชามาเลย์ข้างต้นสักนิด
والاستواء في كلام العرب هو العلوّ والاستقرار
Dan Istiwa` dalam bahasa Arab itu Meninggi dan Menetap. (Tafsir al-Qurtubi, 1/2130-2131)
มาดูคำพูดของอิหม่ามกุรฎุบีย์ต่อ
وأظهر هذه الأقوال وإن كنت لا أقول به ولا أختاره ما تظاهرت عليه الآي والأخبار أن الله سبحانه على عرشه كما أخبر في كتابه وعلى لسان نبيه بلا كيف، بائن من جميع خلقه هذا جملة مذهب السلف الصالح فيما نقل عنهم الثقات
และบรรดาทัศนะเหล่านี้ ที่ชัดเจนที่สุด แม้ว่า ข้าพเจ้าจะไม่ได้กล่าว(ไม่ได้มีทัศนะ)ด้วยมันและไม่ได้เลือกมัน คือ สิ่ง(ทัศนะ)ที่ อายะออัลกุรอ่านและบรรดาหะดิษ ได้แสดงให้ปรากฏบนมันคือ แท้จริงอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อยู่บนอะรัช ของพระองค์ ตามสิ่งที่ถูกระบุในคัมภีร์ของพระองค์ และโดยผ่านคำพูดของนบีของพระองค์ โดยไม่ระบุรูปแบบวิธีการ(ว่าเป็นอย่างไร) ทรงแยกออกจากบรรดามัคลูคของพระองค์ นี้คือข้อสรุปของมัซฮับบรรพชนยุคก่อนผู้ทรงธรรม (สะละฟุศศอลิหฺ)ในสิงที่บรรดาผู้เชื่อถือได้รายงานจากพวกเขา ดู อัลอัสนา ชัรหุอัสมาอุลหุสนา เล่ม ๒ หน้า ๑๓๒
...........................
ชัดเจนไหมครับ สำหรับความหมาย สถิต และชัดเจนไหมครับ ว่า การให้ความหมายครอบครองโดยไม่แย่งชิงนั้น เป็นเท็จ เพราะสะลัฟเขาไม่ตีความแบบอารีฟีน
สิ่งที่ผมได้ยิบยกมา ก็สามารถที่จะบอกว่าได้ว่า คุณซุนนะฮคอร์ กับ ผมใครกันแน่โกหก
ความจริงผมไม่ยากที่จะเอาตัวไปแลกกับคุณซุนนะฮคอร์เท่าไหร่ แม้มีคนบอกว่าระดับอวุโสกว่า อ.อารีฟีน แต่ดูที่ท่านใช้คำพูดและการสนทนากับเด็กๆวิจารณ์คนอื่นแล้ว ผมว่าไม่จะได้รับเกียรติใช้คำว่า อาจารย์ จนบัดนี้แม้แต่ตัวตนของตัวเองก็ไม่กล้าเปิดเผย _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Thu Nov 03, 2016 10:14 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Jul 31, 2012 10:16 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Sunnah Core Salafussalah
ตอบข้อสงสัย
อาสันครับ นายต้องยกอ้างอิงคำพูดเกี่ยวกับบรรดาความหมายของ อิสติวา ของท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ให้หมดซิครับ ไม่ใช่จะเอาแค่สองความหมายที่ต้องการ
ซึ่งท่านอิหม่ามอัลกุรตุบีย์กล่าวบรรดาความหมายของอิสติวาอฺว่า
وَالِاسْتِوَاء فِي كَلَام الْعَرَب هُوَ الْعُلُوّ وَالِاسْتِقْرَار . قَالَ الْجَوْهَرِيّ : وَاسْتَوَى مِنْ اِعْوِجَاج , وَاسْتَوَى عَلَى ظَهْر دَابَّته ; أَيْ اِسْتَقَرَّ . وَاسْتَوَى إِلَى السَّمَاء أَيْ قَصَدَ . وَاسْتَوَى أَيْ اِسْتَوْلَى وَظَهَرَ . قَالَ : قَدْ اِسْتَوَى بِشْر عَلَى الْعِرَاق مِنْ غَيْر سَيْف وَدَم مِهْرَاق وَاسْتَوَى الرَّجُل أَيْ اِنْتَهَى شَبَابه . وَاسْتَوَى الشَّيْء إِذَا اِعْتَدَلَ . وَحَكَى أَبُو عُمَر بْن عَبْد الْبَرّ عَنْ أَبِي عُبَيْدَة فِي قَوْله تَعَالَى : " الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش اِسْتَوَى " [ طَه : 5 ] قَالَ : عَلَا . وَقَالَ الشَّاعِر : فَأَوْرَدْتهمْ مَاءً بِفَيْفَاء قَفْرَةٍ وَقَدْ حَلَّقَ النَّجْم الْيَمَانِيّ فَاسْتَوَى أَيْ عَلَا وَارْتَفَعَ. قُلْت : فَعُلُوّ اللَّه تَعَالَى وَارْتِفَاعه عِبَارَة عَنْ عُلُوّ مَجْده وَصِفَاته وَمَلَكُوته
นี่คือบรรดาความหมายอิสติวาอฺที่ท่านอัลกุรตุบีย์ได้บอกไว้ ซึ่งมิใช่หมายความว่า ทุกความหมายนี้ คือความหมายอัลอิสติวาอฺตามทัศนะของท่าน อัลกุรตุบีย์!
ท่านอัลกุรตุบีย์ ได้ให้บรรดาความหมาย อิสติวา โดยทั่วไปดังนี้
1. อัลอุลุว้ العلو สูงส่ง
2. อัลอิสติกร็อกร الإستقرار สถิต บนหลังสัตว์
3. อิสตะวา มิน อิอฺวิญาจญฺ وَاسْتَوَى مِنْ اِعْوِجَاج ตรงหลังจากมีการโค้งงอ
4. ก่อศ่อด้า قَصَدَ มุ่ง
5. อิสเตาลา اِسْتَوْلَى ปกครอง
6. ซ่อฮะร่อظَهَرَ ปรากฏ
7. อินตะฮา اِنْتَهَى شَبَابه สิ้นสุด(วัยหนุ่ม)
8. อิอฺตะดะล่า اِعْتَدَلَ ตรง
9. อิรตะฟะอ้า ارْتَفَعَ สูงขึ้น
แสดงว่า ท่านอัลกุรตุบีย์ ได้นำเสนอความหมายของ อิสติวาอฺ ถึง 9 ความหมายโดยที่ไม่ได้ให้น้ำหนักความหมายใด แต่หลังจากนั้นท่านนอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ได้ชี้แจงถึงความหมายที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นความหมายที่นายจะไม่เอา!
ชี้แจง
Sunnah Core Salafussalah
บอกว่า ท่านอัลกุรตุบีย์ ได้นำเสนอความหมายของ อิสติวาอฺ ถึง 9 ความหมายโดยที่ไม่ได้ให้น้ำหนักความหมายใด แต่หลังจากนั้นท่านนอิหม่ามอัลกุรตุบีย์ได้ชี้แจงถึงความหมายที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นความหมายที่นายจะไม่เอา!
.
คุณซุนนะฮคอร์ครับ ความหมายที่ท่านกล่าวข้างต้น ไม่ใช่คำพูดของอิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ แต่ท่านได้รายงานคำพูดของ อัลเญาะฮะรีย์
(الْجَوْهَرِيّ) ซึ่งหนึ่ง ในความหมายเหล่านั้น คือ . อัลอิสติกร็อร الإستقرار สถิต
ทำไมผมจึงเอาความหมายคำว่า สถิต หรือ الإستقرار และไม่เอาความหมายที่คุณบอกเพราะ
1. ความหมายคำว่า อิสเตาลา اِسْتَوْلَى ปกครองโดยไม่แย่งชิง (ดังที่อารีฟีนแปล) เพราะความหมายนี้ไม่ใช่ความหมายในทัศนะสะลัฟแต่เป็นความหมายตามทัศนะ มุฮตะซิละฮ
ดังที เช็คอับดุลกอเดร อัลญัยลานีย์ว่า
ولا على معنى العلو والرفعة كما قالت الأشعرية ، ولا معنى الاستيلاء والغلبة كما قالت المعتزلة ،
และมันก็ไม่ได้หมายความว่า อุลูวว์ (ความสูงส่ง) ดังที่พวกอัชอะรียะฮฺ(อะชาอิเราะฮฺ)ได้กล่าวไว้ และมันก็ไม่ได้แปลว่า อิสติลาอ์ (การพิชิต) หรือ ฆอลาบะฮฺ (การสถาปนาอำนาจ) ดังที่พวกมุอฺตะสิละฮฺได้กล่าวแต่อย่างใด - เชคอับดุลกอดีรญีลานี หนังสือ ฆุนยะตุตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 73
อบูมันศูร อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า
زعمتِ المعتزلةُ أن استوى بمعنى استولى مستدلين بقول الشاعر: (قد استوى بشر على العراق) وهذا تأويل باطل
พวกมุอฺตะซิละฮ เข้าใจว่า คำว่า "อิสตะวา" มีความหมายว่า "ครอบครอง" โดยพวกเขาอ้างหลักฐานคำกล่าวของนักกวีที่ว่า "มุนุษย์ได้ครอบครองอิรัก" นี่คือ การตีความที่ไม่ถูกต้อง" * อุศูลุดดีน หน้า 112
2. เพราะความหมายคำว่า สถิต เป็นความหมายที่สอดคล้องกับอัลกุรอ่าน ในการยืนยัน การอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ ซึ่งอะรัชนั้นก็อยู่เบื้องสูงเช่นกัน
อิหม่ามเชากานีย์กล่าวว่า
قد اختلف العلماء في معنى هذا على أربعة عشر قولاً، وأحقها وأولاها بالصواب مذهب السلف الصالح أنه: استوى سبحانه عليه بلا كيف، بل على الوجه الذي يليق به مع تنزهه عما لا يجوز عليه، والاستواء في لغة العرب هو العلوّ والاستقرار
แท้จริง บรรดานักวิชาการ มีความเห็นขัดแย้งกันในความหมายนี้ ถึง สิบสี่ทัศนะด้วยกัน และทัศนะที่สมควรและดีกว่า ในด้านความถูกต้อง คือ มัซฮับบรรพชนยุคก่อนผู้ทรงธรรม ว่า แท้จริง อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงประทับบนมัน โดยไม่มีรูปแบบวิธีการว่าเป็นอย่างไร แต่ทว่า ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับพระองค์ พร้อมกับพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับพระองค์ และคำว่า "อิสติวาอฺ" ในภาษาอาหรับนั้น หมายถึง สูง และ การสถิตย์ - ดู ตัฟสีร ฟัตหุลเกาะดีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 54 ซูเราะฮอัลอะอฺรอฟ
เช็คมุหัมหมัดอามีน อัชชันกิฏีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
فالمتكلمون النافون لبعض صفات الله -جل وعلا- الثابتة له في كتابه وسنة رسوله صلى الله عليه وسلم ينفون استواءَه على عرشه فيقولون: (لم يستوِ على العرش)، وهذه الدعوى المخالفة لصريح القرآن في سبعة مواضع
ดังนั้น บรรดานักวิภาษวิทยา เป็นผู้ที่ปฏิเสธบางส่วนของสิฟัตอัลลอฮ ผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงสูงส่ง ที่มีการยืนยันไว้ในคัมภีร์ของพระองค์และสุนนะฮของรอซูลของพระองค์ พวกเขาปฏิเสธการสถิตย์ของอัลลอฮเหนือบัลลังก์ ของพระองค์ โดยกล่าวว่า "พระองค์มิได้สถิตย์เหนือบัลลังก์" และนี้คือการอ้างที่ขัดแย้งกับการชี้แจงของอัลกุรอ่าน ใน 7 แห่งด้วยกัน"- อาดาบุ้ลบะหัษวัลมุนาเซาะเราะฮ หน้า 356
3. อิหม่ามกุรฏุบีย ทัศนะที่ชัดเจนตรงกับกุรอ่าน และหะดิษ คือ และเป็นทัศนะสะลัฟ คือ อัลลอฮทรงอยู่เหนือบัลลังค์ ซึ่งคำว่า สถิต ชัดเจนที่สุด และเป็นความหมายตามหลักภาษาอาหรับดังที่ท่านกล่าว
มาดูคำพูดของอิหม่ามกุรฎุบีย์อีกที
وأظهر هذه الأقوال وإن كنت لا أقول به ولا أختاره ما تظاهرت عليه الآي والأخبار أن الله سبحانه على عرشه كما أخبر في كتابه وعلى لسان نبيه بلا كيف، بائن من جميع خلقه هذا جملة مذهب السلف الصالح فيما نقل عنهم الثقات
และบรรดาทัศนะเหล่านี้ ที่ชัดเจนที่สุด แม้ว่า ข้าพเจ้าจะไม่ได้กล่าว(ไม่ได้มีทัศนะ)ด้วยมันและไม่ได้เลือกมัน คือ สิ่ง(ทัศนะ)ที่ อายะออัลกุรอ่านและบรรดาหะดิษ ได้แสดงให้ปรากฏบนมันคือ แท้จริงอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อยู่บนอะรัช ของพระองค์ ตามสิ่งที่ถูกระบุในคัมภีร์ของพระองค์ และโดยผ่านคำพูดของนบีของพระองค์ โดยไม่ระบุรูปแบบวิธีการ(ว่าเป็นอย่างไร) ทรงแยกออกจากบรรดามัคลูคของพระองค์ นี้คือข้อสรุปของมัซฮับบรรพชนยุคก่อนผู้ทรงธรรม (สะละฟุศศอลิหฺ)ในสิงที่บรรดาผู้เชื่อถือได้รายงานจากพวกเขา ดู อัลอัสนา ชัรหุอัสมาอุลหุสนา เล่ม ๒ หน้า ๑๓๒
Sunnah Core Salafussalah แล้วท่านอัลกุรตุบีย์ ก็ได้สรุปความหมายที่ถูกต้องของอัลอิสติวาอฺว่า
قُلْت : فَعُلُوّ اللَّه تَعَالَى وَارْتِفَاعه عِبَارَة عَنْ عُلُوّ مَجْده وَصِفَاته وَمَلَكُوته
ข้าพเจ้า(คืออิหม่ามอัลกุรตุบีย์) ขอกล่าวว่า ทรงสูงส่งและทรงสูงของอัลลอฮ์นั้น คือเป็นสำนวนหนึ่ง จากความสูงส่งของเกียรติ สูงส่งของคุณลักษณะ และสูงส่งอำนาจการปกครองของพระองค์
..
มันแปลกไหมครับ ท่านกุรฎุบีย์อ้างแนวทางสะลัฟ และบอกว่าเป็นแนวทางที่ชัดเจนที่สุด แต่กลับไม่เอาแนวทางนั้นแล้วมาเอาตามทัศนะตนเอง มาดู ที่ท่านกล่าว
وَقَدْ كَانَ ((( السَّلَف الْأَوَّل ))) رَضِيَ اللَّه عَنْهُمْ لَا يَقُولُونَ بِنَفْيِ الْجِهَة وَلَا يَنْطِقُونَ بِذَلِكَ , بَلْ نَطَقُوا هُمْ وَالْكَافَّة بِإِثْبَاتِهَا لِلَّهِ تَعَالَى كَمَا نَطَقَ كِتَابه وَأَخْبَرَتْ رُسُله . وَلَمْ يُنْكِر أَحَد مِنْ السَّلَف الصَّالِح أَنَّهُ اِسْتَوَى عَلَى عَرْشه حَقِيقَة
และปรากฏว่าสะลัฟยุคแรก พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธ คำว่า "ทิศ" และพวกเขาจะไม่พูด แต่ทว่า พวกเขาเองทั้งหมด รับรองมัน(อิสติวาอ)แก่อัลลอฮ ดังที่คัมภีร์ของพระองค์ได้กล่าวเอาไว้และบรรดารอซูลของพระองค์ ได้บอกไว้ และไม่มีคนใดจากชาวสะลัพผู้ทรงธรรม ปฏิเสธ ว่า อัลลอฮทรงสถิตย์เหนือบัลลังก์ของพระองค์จริงๆ (ไม่ใช่อุปมาอุปมัย ตัฟสีรอัลญามิอุลอะหกามุลกุรอ่าน เล่ม 7 หน้า 219
และที่แปลกอีกคือ ท่านอิหม่ามกุรฏุบีย์บอกว่า แนวทางที่ตรงกับอัลกุรอ่านชัดเจนที่สุด แม้ข้าพเจ้าจะไม่ได้มีทัศนะตามนั้น และไม่ได้เอามาเป็นทางเลือก ดังที่ว่า
وأظهر هذه الأقوال وإن كنت لا أقول به ولا أختاره ما تظاهرت عليه الآي والأخبار أن الله سبحانه على عرشه كما أخبر في كتابه وعلى لسان نبيه بلا كيف، بائن من جميع خلقه هذا جملة مذهب السلف الصالح فيما نقل عنهم الثقات
และบรรดาทัศนะเหล่านี้ ที่ชัดเจนที่สุด แม้ว่า ข้าพเจ้าจะไม่ได้กล่าว(ไม่ได้มีทัศนะ)ด้วยมันและไม่ได้เลือกมัน คือ สิ่ง(ทัศนะ)ที่ อายะออัลกุรอ่านและบรรดาหะดิษ ได้แสดงให้ปรากฏบนมันคือ แท้จริงอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อยู่บนอะรัช ของพระองค์ ตามสิ่งที่ถูกระบุในคัมภีร์ของพระองค์ และโดยผ่านคำพูดของนบีของพระองค์ โดยไม่ระบุรูปแบบวิธีการ(ว่าเป็นอย่างไร) ทรงแยกออกจากบรรดามัคลูคของพระองค์ นี้คือข้อสรุปของมัซฮับบรรพชนยุคก่อนผู้ทรงธรรม (สะละฟุศศอลิหฺ)ในสิงที่บรรดาผู้เชื่อถือได้รายงานจากพวกเขา ดู อัลอัสนา ชัรหุอัสมาอุลหุสนา เล่ม ๒ หน้า ๑๓๒
แล้วท่านมาบอกว่า
قُلْت : فَعُلُوّ اللَّه تَعَالَى وَارْتِفَاعه عِبَارَة عَنْ عُلُوّ مَجْده وَصِفَاته وَمَلَكُوته
ข้าพเจ้า(คืออิหม่ามอัลกุรตุบีย์) ขอกล่าวว่า ทรงสูงส่งและทรงสูงของอัลลอฮ์นั้น คือเป็นสำนวนหนึ่ง จากความสูงส่งของเกียรติ สูงส่งของคุณลักษณะ และสูงส่งอำนาจการปกครองของพระองค์
..................
มันเป็นเรื่องแปลก แต่ก็ไม่แปลกเพราะนั้นคือทัศนะส่วนตัวของท่าน แต่ไม่ใช่ทัศนะตามแนวสะลัฟ ตามข้อเท็จจริงจากคำพูดของท่านอิหม่ามกุรฏุบีย์ แต่สิ่งที่เป็นหลักฐานที่ทำให้อะชาอีเราะฮเสียหน้า และหักหน้าอะชาอีเราะฮยุคใหม่อย่างจัง เพราะอะชาอิเราะฮปฏิเสธ การอยู่เหนือบัลลังค์(อะรัช)ของอัลลอฮคือ คำพูดของอิหม่ามกุรฏุบีย์เองที่ว่า
ولم ينكر أحد من السلف الصالح أنه استوى على عرشه حقيقة ....
และไม่มีคนใดจากชาวสะลัพผู้ทรงธรรม ปฏิเสธ ว่า อัลลอฮทรงสถิตเหนือบัลลังก์ของพระองค์จริงๆ - ตัฟสีรอัลญามิอุลอะหกามุลกุรอ่าน เล่ม 7 หน้า 219
.................................................................................................................... _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Wed May 25, 2016 6:50 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Jul 31, 2012 10:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Sunnah Core Salafussalah
ซึ่งเป็นการให้ความหมายที่สอดคล้องกับสะลัฟศอลิห์ อย่างท่านอัฏเฏาะบะรีย์ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า
فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال
"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "اِسْتَوَى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. (ท่านอัฏเฏาะบะรีย์จึงกล่าวตอบโต้ว่า) ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านก็จงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" ดู ตัฟซีร เฏาะบะรีย์ เล่ม 1/430
นี่คืออะกีดะฮ์สะลัฟของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์!
..
ชี้แจง
คุณซุนนะฮ คอร์ ชงเองว่าทัศนะของ อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ สอดคล้อง ตรงกับทัศนะอิหม่ามฏอ็บรีย์โดยอ้างบางส่วนของตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์
โต๊ะครูซุนนะฮคอร์ เอาเรื่อง 2 เรื่อง มาหมกเหม็ด ให้อยู่ในเรื่อง เดียวกัน เพื่อตบตาผู้อ่าน เพราะ
1. คำอธิบายข้างต้นของ อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ ท่านได้อธิบายอายะฮ ที่ 29 ซูเราะฮ อัลบะกาะเราะฮ ที่ว่า
هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُمْ مَا فِي الْأَرْضِ جَمِيعًا ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاءِ فَسَوَّاهُنَّ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ
29. พระองค์คือผู้ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งมวลในโลกไว้สำหรับพวกเจ้า ภายหลังได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า
(*1*) และได้ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นเป็นเจ็ดชั้นฟ้า และพระองค์นั้นได้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง
(1) ซึ่งขณะนั้นฟากฟ้ายังเป็นหมอกควันอยู่ ดังที่พระองค์ทรงแจ้งไว้ว่า แล้วพระองค์ได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า ขณะที่มันยังเป็นหมอกควันอยู่
.........
ประโยคที่ว่า ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء แปลว่า ได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า และความหมายคำว่า اسْتَوَى إِلَى แปลว่า มุ่งไปสู่ ,เจตนา ดังที่อิบนุกะษีร อธิบายว่า
أَيْ قَصَدَ إِلَى السَّمَاء وَالِاسْتِوَاء هَاهُنَا مُضَمَّن مَعْنَى الْقَصْد وَالْإِقْبَال لِأَنَّهُ عُدِّيَ بِإِلَى
หมายถึง เจตนามุ่งไปสู่ฟากฟ้า และคำว่า อัลอิสติวาในที่นี้ ประกอบด้วยความหมายของคำว่า الْقَصْد (เจตนา)และคำว่า َالْإِقْبَال ( ไปข้างหน้า) เพราะ ว่ามัน(คำว่า อิสตะวา )ถูกให้เป็นกริยาสกรรมกริยา ด้วยคำว่า الى (อิลา) - ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 29 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ
.................
จะเห็นได้ว่า เรื่องข้าง ต้นไม่เกี่ยวกับ อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฎอฮา ที่ว่า
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์
2. เพราะอายะฮที่ว่า
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์
อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อรรถาธิบายว่า
وَقَوْله : { الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش
اسْتَوَى } يَقُول تَعَالَى ذكْره : الرَّحْمَن عَلَى عَرْشه ارْتَفَعَ وَعَلَا
และอัลลอฮ ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ ) พระองค์ผู้ซึ่งการกล่าวถึงพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ หมายถึง อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป - ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฏอฮา
....................
จึงสรุปว่า คุณซุนนะฮคอร์ พยายามชงเรื่องสองเรื่องให้เป็นเรื่องเดียวแต่.... ผมตามทันครับ แล้วแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Aug 01, 2012 10:31 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Sunnah Core Salafussalah
ตอบชี้แจงว่า การให้ความหมาย อัลอิสติวาอฺว่า สถิต ตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮ์ฮาบีนั้นนั้นไม่มีสายงานซอฮิห์จากสะลัฟเลยแม้แต่คนเดียว.... และตีความเป็นหลักคิดปรัชญากรีกได้อย่างไร ในเมื่อสะลัฟศอลิห์บางส่วนก็ตีความ หรือแสดงว่า
สะลัฟศอลิห์มีพวกที่ใช้หลักคิดปรัชญากรีกด้วยซิครับ? แต่เวลาวะฮ์ฮาบีให้ความหมาย อิสติวาอฺว่า อัลลอฮ์นั่ง แล้วทำไมคิดบ้างว่าตนเอง ใช้หลักคิดของพวกยิว! เพราะยิวเชื่อแบบนั้นจริงๆ ผมไม่ได้กล่าวหาแต่ประการใด
Sunnah Core Salafussalah คงนั่งปิดตาเขียน จึงกล่าวว่า ว่า การให้ความหมาย อัลอิสติวาอฺว่า สถิต ตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮ์ฮาบีนั้นนั้นไม่มีสายงานซอฮิห์จากสะลัฟเลยแม้แต่คนเดียว..
ท่านซุนนะฮคอร์ ครับ อย่ากระพริบตานะครับ จงดูต่อไปนี้นะครับ
คำว่า สถิต เป็นภาษาไทย ความหมาย[สะถิด] ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่ คำนี้ เป็นคำที่ใช้กับใช้เป็นคํายกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ในฐานะสูง
คำว่า استقرار มาจากคำว่า استقر แปลว่า อยู่ ความจริง คำว่า ทรงสถิต หนือบัลลังค์ ความหมาย ก็คือ ทรงอยู่เหนือบัลลังค์ นั้นเอง
ท่านสุนนะฮคอร์คงไม่คอ่ยรู้เรื่อง คำศัพท์ภาษาไทย จึงพูดสุ่มสี่สุ่มหา ปิดตาพูด
ชาวสลัฟเขาเชื่อว่า พระเจ้าอยู่เบื้องสูง บน อะรัช ซึ่ง ก็คือ ความหมาย คำว่า สถิต (อิสติกร็อร) นั้นเอง
อิบนุอับดุลบีร กล่าวเกี่ยวกับอายะฮอิสติวาอฺว่า
وهذه الآيات كلها واضحات في إبطال قول المعتزلة وأما ادعاؤهم المجاز في الاستواء وقولهم في تأويل استوى استولى فلا معنى له لأنه غير ظاهر في اللغة ومعنى الاستيلاء في اللغة المغالبة والله لا يغالبه ولا يعلوه أحد وهو الواحد الصمد
บรรดาอายะฮเหล่านี้ทั้งหมด ชัดเจน ในการลบล้างคำพูดของพวกมุอฺตะซิละฮ และสำหรับการอ้างของพวกเขาว่า เป็นมะญัซ(คำอุปมา)ในคำว่าอิสติวาอฺ และคำพูดของพวกเขา ในการตีความ คำว่า อิสตะวา เป็น อิสเตาลา(ครอบครอบ หรือยึดครอง)นั้น ไม่มีความหมายสำหรับมัน เพราะไม่ปรากฏใน หลักภาษา และ ความหมายคำว่า "อิสติลาอฺ"ในทางภาษา หมายถึง การมีชัย ทั้งๆที่อัลลอฮ ไม่มีคนใดต่อสู้กับพระองค์ และไม่มีคนใดชัยชนะพระองค์ได้ และพระองค์ คือผู้ทรงเอกกะ ทรงเป็นที่พึ่ง- อัตตัมฮีด เล่ม 7 หน้า 131
และท่านอิบนุอับดุลบีรกล่าวต่อไปว่า
والاستواء معلوم في اللغة ومفهوم وهو العلو والارتفاع على الشيء والاستقرار والتمكن فيه قال أبو عبيدة في قوله تعالى: {اسْتَوَى} قال علا قال وتقول العرب استويت فوق الدابة
และอิสติวาอฺนั้น เป็นที่รู้กันในหลักภาษา และเป็นที่เข้าใจกัน คือ สูง ,ขึ้น บน สิ่งนั้น ,การสถิต และ การดำรงอยู่ ในมัน
อบูอุบัยดะฮ กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮ ตะอาลาที่ว่า (อิสตะวา) เขากล่าวว่า อยู่สูง ,เขากล่าวว่า และอาหรับกล่าวว่า ฉันอิสติวาอ์ บน สัตว์พาหนะ ตำราระบุแล้วข้างต้น
คุณซุนนะฮคอร์ อาจจะใช้ตรรกอริสโตเติลถามผมว่า อัลลอฮนั่งติดอยู่บนบัลลังค์ใช่ไหม ? จึงขอตอบล่วงหน้าว่า อิหม่ามมาลิกได้ให้คำตอบแล้ว คือ
الِاسْتِوَاءُ مَعْلُومٌ - يَعْنِي فِي اللُّغَةِ - وَالْكَيْفُ مَجْهُولٌ
อิสติวาอฺ นั้นเป็นที่รู้กัน หมายถึงในด้านภาษา(เป็นที่รู้กัน) และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน ที่มาอ้างแล้วจากตัฟสีรอัลกุรฏุบีย์
และที่พิสูจน์ให้เห็นได้ชัดเจนว่า คุณซุนนะฮคอร์ แค่กอ็ปปี้ จากข้อเขียนของอารีฟีน เท่านั้น โดยไม่ศึกษาเพิ่มเติมคือ คำถามที่ว่า
การให้ความหมาย อัลอิสติวาอฺว่า สถิต ตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮ์ฮาบีนั้นนั้นไม่มีสายงานซอฮิห์จากสะลัฟเลยแม้แต่คนเดียว....
ขอบบอกให้ท่านซุนนะฮคอร์ทราบว่า ชาวสลัฟเขาเชื่อว่าอัลลอฮทรงอยู่เหนืออะรัช ดังตัวอย่าง สัก 2 ตัวอย่างคือ 1. มุญาฮิด ซึ่งเป็นชนยุคตาบิอีน ฮ.ศ. 102)กล่าวว่า
{اسْتَوَى} علا على العرش
(อิสตะวา) หมายถึง อยู่สูง เหนืออะรัช ดูเศาะเฮียะบุคอรี กิตาบุตเตาฮีด บทว่าด้วยอะรัชของพระองค์อยู่บนน้ำ ِ
2. อิบนุอัลมุบารอ็ก (ฮ.ศ.181) กล่าว เมื่อมีผู้ถามว่า เราจะรู้จักพระเจ้าของเราได้อย่างไร เขาตอบว่า
بأنه فوق السماء السابعة على العرش، بائن من خلقه
เพราะแท้จริงพระองค์ อยู่เหนือฟากฟ้าทั้งเจ็ด บน อะรัช แยกจาก มัคลูคของพระองค์ (1)
...................................................
1) الرد على الجهمية للدارمي (ص39-40) بسند حسن، عن الحسن بن الصباح البزاز ثنا علي بن الحسن بن شقيق. وعبد الله بن أحمد بن حنبل في كتابه "السنة" (ص175) عن عبد الله بن شبويه عن ابن شقيق. ورواها غيرهما كثير بعضهم نقلا عن هؤلاء وبعضهم بأسانيدهم.
-----------------------------
ความจริง อะกีดะฮซุนนะฮคอร์นั้น เป็นอะกีดะฮของอะชาอีเราะฮปลอม ซึ่งเอามาจากแนวคิดของมุอฺตะซิละฮ เลยพยายามดิ้นรน ปฏิเสธการอยู่เบี้องสูงของอัลลอฮ และ เท่าที่สนทนากันมา ไม่มีคำพูดของอิหม่ามอบูหะซัน อะชาอิเราะฮแท้ มาอ้างเป็นหลักฐานแม้แต่อักษรเดียว-
ยังมีอีกครับ โปรดติดตาม ตอนต่อไป _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Aug 01, 2012 11:22 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Sunnah Core Salafussalah ตอบชี้แจงว่า
อัลฮัมดุลิลลาฮ์ ที่อาสัน ยอมรับเสียทีว่า อัลอะชาอิเราะฮ์ไม่ปฏิเสธอายะฮ์ อัลอิสติวาอฺ ยิ่งกว่านั้น อัลอะชาอิเราะฮ์ก็ไม่ปฏิเสธ ซีฟัตอัลอิสติวาอฺ แต่เราปฏิเสธการให้ความหมายแบบยิวและวะฮ์ฮาบี คือ ค
วามหมายของการ นั่งประทับ สถิต เป็นต้นเท่านั้น
ดังนั้นถ้าหาก ความหมายเดิมของอัลอิสติวาอฺ คือการนั่งประทับและสถิตตามที่วะฮ์ฮาบีย์จะเอานั้น เราชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ก็ขอปฏิเสธความหมายดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะไม่มีหลักฐานซอฮิห์ใดๆ จากท่านนบี(ซ.ล.)และศอฮาบะฮ์ ที่บอกว่า อัลลอฮ์ทรง สถิตและทรงนั่งบนบัลลังก์!
ชี้แจง
คุณซุนนะฮ คอร์ บอกว่า แต่เราปฏิเสธการให้ความหมายแบบยิวและวะฮ์ฮาบี คือ ความหมายของการ นั่งประทับ สถิต เป็นต้นเท่านั้น
คำพูดนี้ เป็นการอ้างเดิมๆ สมัยโต้กันในกระดานมุสลิมไทย โดย กล่าวหาว่า พี่น้องมุสลิม ที่พวกเขาเรียกว่า วะฮาบีย์ มีอะกีดะฮแบบพวกยิว พอถามว่า แสดงว่าพวกเขาไม่ใช่มุสลิมใช่ไหม ? ....เงียบเหมือนป่าช้า ไม่กล้าตอบ เพราะว่า เป็นการตัดสินโดยใช้อคติและความเกลียดชังเป็นข้อตัดสิน
คุณ Sunnah Core Salafussalah ลืมไปแล้วว่า ในสมัยของนบี มูซา อะลัยฮิสสลามนั้น อัลลอฮ (ซ.บ)ทรงประทานคัมภีร เตารอตสอนพวกยิว หรือ บนีอิสรออีล และ สิ่งที่นบีมูซาเชื่อ ก็คือ อัลลอฮทรงอยู่บน ฟากฟ้า แต่ปรากฏว่า ฟาโรห์ หรือฟิรเอาปฏิเสธ
หลักฐานที่บอกว่า อัลลอฮทรงเล่าถึงฟิรเอานฺใช้บันไดที่ขึ้นไปสู่ท้องฟ้าเพื่อมองดูพระเจ้าของมูซา แล้วฟิรเอานฺก็ปฏิเสธของความเชื่อของมูซาเกี่ยวกับการมีอยู่ของอัลลอฮเหนือฟากฟ้า อัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงตรัสว่า
وَقَالَ فِرْعَوْنُ يَا هَامَانُ ابْنِ لِي صَرْحًا لَعَلِّي أَبْلُغُ الْأَسْبَابَ (36) أَسْبَابَ السَّمَاوَاتِ فَأَطَّلِعَ إِلَى إِلَهِ مُوسَى وَإِنِّي لَأَظُنُّهُ كَاذِبًا
และฟิรเอานฺกล่าวว่า โอ้ฮามานเอ๋ย! จงสร้างหอสูงให้ฉันเพื่อฉันจะได้บรรลุถึงทางที่จะขึ้นไป ทางที่จะขึ้นไปสู่ชั้นฟ้าทั้งหลาย เพื่อฉันจะได้เห็นพระเจ้าของมูซา และแท้จริง ฉันคิดอย่างแน่ใจแล้วว่าเขาเป็นคนโกหก
(สูเราะฮฺฆอฟิร 40 : 36-37)
มาดู คำอธิบายอายะฮข้างต้น
อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ อธิบายว่า
وَقَوْلُهُ : ( وَإِنِّي لَأَظُنُّهُ كَاذِبًا ) يَقُولُ : وَإِنِّي لِأَظُنُّ مُوسَى كَاذِبًا فِيمَا يَقُولُ وَيَدَّعِي مِنْ أَنَّ لَهُ فِي السَّمَاءِ رَبًّا أَرْسَلَهُ إِلَيْنَا
คำตรัสของพระองค์ที่ว่า( และแท้จริง ฉันคิดอย่างแน่ใจแล้วว่าเขาเป็นคนโกหก) เขากล่าวว่า หมายถึง แท้จริง ข้าแน่ใจแล้วว่า มูซาโกหกในสิ่งที่เขาพูด และเขาอ้างว่า แท้จริง เขามีพระเจ้าอยู่บนฟากฟ้า ,พระองค์ส่งเขามายังเรา ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย ซูเราะฮฆอฟีร อายะฮที่ 36-37
อิบนุ อบิลอิซซฺ กล่าวว่า พวกญะฮฺมียะฮฺที่ปฏิเสธการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาต(อาตมัน)ของอัลลอฮนั้น แท้จริงแล้วพวกเขาคือผู้ปฏิบัติตามฟิรเอานฺ ส่วนผู้ที่ยืนยัน(เชื่อ)ในการอยู่สูงเหนือฟากฟ้าของซาตของอัลลอฮนั้น พวกเขาคือผู้เจริญรอยตามท่านนบีมูสาและเป็นผู้ปฏิบัติตามท่านนบีมุหัมมัด- ชัรหฺ อัล-อะกีดะฮฺ อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ 2/441
..
เพราะฉะนั้น ผมไม่มีอะไรจะกล่าว นอกจาก ขอแนะนำว่า คุณ Sunnah Core Salafussalah จงเตาบะฮกลับตัวเสีย ที่มีความเชื่อ แบบฟิรเอานฺ คงเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ได้ และหยุดสอนศิษย์สักพัก เพื่อทบทวนตัวเองเสียใหม่ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Aug 02, 2012 6:12 am ชื่อกระทู้: |
|
|
Sunnah Core Salafussalah กล่าวว่า
แต่การที่อัลอะชาอิเราะฮ์ได้ให้ความหมายหนึ่งของอัลอิสติวาอฺว่า ทรงปกครองโดยไม่มีการแย่งชิง ถือว่าเป็นความหมายหนึ่งที่สอดคล้องกับอัลกุรอาน เพราะการปกครองโดยไม่มีการแย่งชิงนั้น อยู่ในความหมายของ ا
لقهار ผู้ทรงอำนาจปกครอง เหนือบัลลังก์และสรรพสิ่งทั้งหลาย... หากถูกกล่าวว่า อัลอิสติวาอฺ มีความหมายว่า พิชิต ที่บ่งบอกว่า มีการต่อสู้มาก่อนหน้านั้น เราขอตอบว่า คำนี้ไร้สาระ เพราะหากพระองค์ทรงบอกว่า อัลอิสติวาอฺ ก็หมายความว่าพระองค์ทรงบอกถึงอำนาจ หมายความว่า อัลลอฮ์ทรงมีลักษณะ (القهار) อำนาจปกครอง ซึ่งการมีอำนาจปกครองตรงนี้ ไม่ต้องไปพิชิตหรือต่อสู้กับผู้ใด! นี่คือความหมายที่สะลัฟบางส่วนได้ให้เอาไว้ เราก็เลือกความหมายอำนาจปกครองที่ไม่ต้องพิชิตแย่งชิง ก็จบ ซึ่งดีเลิศกว่า ความหมาย นั่ง ประทับ สถิต ตามที่วะฮ์ฮาบีย์จะเอา!
.
ชี้แจง
คำว่า (القهار) อำนาจปกครอง อัลกุรอ่านระบุไว้แล้วใน อัลอัสมาอฺ อัลหุสนา
ส่วนที่ Sunnah Core Salafussalah
ซึ่งการมีอำนาจปกครองตรงนี้ ไม่ต้องไปพิชิตหรือต่อสู้กับผู้ใด! นี่คือความหมายที่สะลัฟบางส่วนได้ให้เอาไว้ เราก็เลือกความหมายอำนาจปกครองที่ไม่ต้องพิชิตแย่งชิง นี้คือ การชงเองเออเอง ของคุณซุนนะฮคอร์
มาดูสะลัฟ จริงๆเขากล่าว
1. อัดดาริมีย์(ฮ.ศ ) กล่าวว่า
وهو بنفسه على العرش بكماله كما وصف
และพระองค์ ด้วยพระองค์เอง อยู่บน อะรัช ด้วยความสมบูรณ์ของพระองค์ ดังสิ่งที่ทรง พรรณนาคุณลักษณะไว้ - الرد على الجهميةอัรรอด อะลัล ญะฮมียะฮ ของอัดดาริมีย์ หน้า 44
2. อบูญะฟัร บิน อบีชัยบะฮ( ฮ.ศ 297)
فهو فوق السماوات وفوق العرش بذاته متخلصا من خلقه بائنا منهم،
แล้วพระองค์ อยู่บน ฟากฟ้า และอยู่เหนืออะรัช ด้วยตัวตนของพระองค์ เป็นอิสระจากมัคลูคของพระองค์ โดยแยกจากพวกเขา -(2)
.............
(2) العرش وما رُوي فيه لأبي جعفر محمد بن أبي شيبة (ص291-292)
....................................
ผมได้ยกตัวอย่างคำพูดชนยุคสลัฟไว้มากมากมาย แต่ ก็แม้จะมีตะเกียงสักร้อยพันดวง คนตาบอดย่อมมองไม่เห็นแสงสว่างของมัน _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Aug 02, 2012 6:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
มาดูข้ออ้าง ของ sunnah Core Salafussalah โดยการบิดเบือนอย่างน่าละอายต่อคำพูดของท่านอบูหะซันอัลอัชอะรีย์
ท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ رسالة إلي أهل الثغر ริซาละฮ์ อิลา อะฮ์ลิษษั๊กร์) ของท่านว่า
وقال { الرحمن على العرش استوى } وليس استواؤه على العرش استيلاء كما قال أهل القدر لأنه تعالى لم يزل مستوليا على كل شيء
และอัลลอฮ์ทรงตรัสว่า (พระผู้ทรงเมตตาทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์) โดยการอิสติวาอฺของอัลลอฮ์เหนือบัลลังก์นั้น มิใช่ความหมาย อิสตีลาอฺ (อำนาจการปกครอง)เสมือนกับที่ พวกก็อดรียะฮ์(หมายถึงพวกมั๊วะตะซิละฮ์)ได้กล่วไว้ เพราะว่าอัลลอฮ์ตะอาลานั้น ยังคงทรงอิสเตาลา(อำนาจปกครอง)เหนือทุกๆ สรรพสิ่งอยู่แล้ว ริซาละฮ์ อิลา อะฮ์ลิษษั๊กร์ หน้า 233-234
พี่น้องโปรดพิจารณาคำพูดของท่าน อะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ที่ว่า
لأنه تعالى لم يزل مستوليا على كل شيء
เพราะว่าอัลลอฮ์ตะอาลานั้น ยังคงทรงอิสเตาลา(อำนาจปกครอง)เหนือทุกๆ สรรพสิ่งอยู่แล้ว
ซึ่งเป็นคำพูดของท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ นั้นทำให้เราทราบความจริงดังนี้
1. ท่านอะบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ยอมรับว่าส่วนหนึ่งจากบรรดาความหมายของ อัลอิสติวาอฺ นั้น คือ อิสเตาลา (อำนาจปกครอง) แต่ท่านไม่เลือกความหมาย การปกครอง(อิสเตาลา)เหมือนกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์
..
ชี้แจง
ข้างต้น เป็นความเจ้าเลห่ ของโต๊ะครูซุนนะฮ บิดเบือนแม้กระทั่ง คำพูด ของบุคคลที่ตนเองนับถือว่า เป็น ผู้นำมัซฮับของเขา นี้แค่ข้อเดียวที่โตะครูสุนนะฮคอร์ สรุปมา ก็ ยังมีอีก 2 ข้อ ก็ไม่ต่างอะไรจากนี้ เขาคงดูถูกภูมิปัญญาพี่น้องมุสลิมว่า คงไม่ทันความเจ้าเล่ห ของตน
ขอชี้แจงว่า คำพูดของ อิหม่ามอัลอัชอะรีย์ที่ว่า
لأنه تعالى لم يزل مستوليا على كل شيء
เพราะว่าอัลลอฮ์ตะอาลานั้น ยังคงทรงอิสเตาลา(อำนาจปกครอง)เหนือทุกๆ สรรพสิ่งอยู่แล้ว
หมายถึง ท่านบอกว่า อัลลอฮ ทรงมีอำนาจปกครองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น คำว่า อิสติวาอฺ อะลัล อะรัช จึงไม่ใช่ความหมายคำว่า อำนาจปกครอง อย่างทีพวกอัลกอดริอ้าง นี้คือ ความหมายของคำพูดท่านอิหม่ามอบูหะซันอัลอัชอะรี เสียดายในเฟสบุค ข้อความถูกทับซ้อนไปเรื่อยๆ ไม่อย่างนั้นอย่างให้สิ่งเหล่านี้ประจาน ความเจ้าเล่ห์ ของนักตรรก อย่าง sunnah Core Salafussalah ผมอยากเห็นภาพตัวจริง คนเจ้าเหล่คนนี้จริงๆ
มาดูคำอธิบายของอิหม่ามอบูหะซันอัลอัชอะรีย์ ที่แสดงให้เห็นว่า ที่นาย sunnah Core Salafussalah โกหก มุสาและบิดเบือน คำพูดของอิหม่ามอัลอัชอะรีย์ข้างล่าง
ท่านอิหม่ามอบูหะซัน สรุปว่า
فكل ذلك يدل على أنه تعالى في السماء مستو على عرشه والسماء بإجماع الناس ليست الأرض فدل على أنه تعالى منفرد بوحدانيته مستو على عرشه استواء منزها عن الحلول والإتحاد
ทั้งหมดนั้น แสดงให้เห็นว่า แท้จริง อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งนั้นทรงอยู่บน/เหนืออะรัช และเหนือชั้นฟ้า โดยมติของบรรดามนุษย์ (อุลามาอฺ)ไม่ใช่อยู่บนพื้นดินและแสดงให้เห็นว่า พระองค์ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเป็นหนึ่งเดียว ด้วยคุณลักษณะการเป็นเอกกะของพระองค์ ทรงสถิตอยู่เหนือบัลลังค์ของพระองค์ เป็นการสถิตอยู่ ที่บริสุทธิ์จากการตั้งถิ่นฐานและการเป็นอันเดียวกัน(กับอะรัช) - อัลอิบานะฮ เล่ม 1 หน้า 113
...........
ท่านอิหม่ามอบูหะซันสรุปว่า อัลลอฮอยู่บนฟากฟ้า ทรงอิสติวาอฺ อยู่/สถิต เหนืออะรัชของพระองค์ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Fri Feb 27, 2015 12:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|