ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ซูฟีย์ ตอลีกัต
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ซูฟีย์ ตอลีกัต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:10 am    ชื่อกระทู้: ซูฟีย์ ตอลีกัต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


Exclamation
ผมอยากทราบว่า ซูฟีย์ ตอลีกัต คืออะไร
เห็นบ้างคนบอกว่า ไม่ใช่ อิสลาม ตกลงใช่อิสลามหรือไม่
หากไม่ใช่ อันไหน ที่ แตกต่างกันในอิสลาม ระหว่าง ซูฟีย์ ตอลีกัต

ช่วยตอบที Idea





_____________

นักศึกษา อิสลาม ที่ถูกต้อง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
ผมอยากทราบว่า ซูฟีย์ ตอลีกัต คืออะไร


Question

ความหมายของคำว่า “ซูฟียฺ”

คำว่า “ซูฟียฺ” หรือ “ตะเศาวุฟ” ตามนักปราชญ์ซูฟียฺรุ่นเก่าและใหม่นั้น ได้ให้คำนิยามไว้หลากหลายและแตกต่างกันมาก เราจะไม่พบคำนิยามใดที่ให้ความ หมายที่ชัดเจนและตรงความเป็นจริงมากที่สุด จะมีก็เป็นเพียงการสันนิษฐานของปวงปราชญ์ผู้สันทัดกรณีเท่านั้น ส่วนใหญ่คำว่า “ซูฟียฺ” จะใช้ในลักษณะของกลุ่มหรือลัทธิ ส่วนคำว่า “ตะเศาวุฟ” จะใช้ในลักษณะของพฤติกรรมหรือจริยธรรม (อับดุลฮะลีม มะห์มูด, มปป:38)

นักวิชาการบางท่านได้นำเอาความหมายของ “ตะเศาวุฟ” มาปะปนกับความหมายของคำว่า “อิบาดะห์” (การประกอบศาสนกิจ) ในที่นี้นักซูฟียฺก็คือผู้ที่ทำอิบาดะห์อย่างมากมายนั่นเอง

ในภาษาอาหรับนั้น คำว่า “ตะเศาวุฟ” ประกอบไปด้วยพยัญชนะ 4 ตัวคือ ตาอ์ ศ็อดด์ วาว และฟาอ์ ซึ่งซูฟียฺบางท่านได้ให้ความหมายดังนี้คือ

พยัญชนะ “ตาอ์” แทนคำว่า เตาบะห์ หมายถึงการขออภัยโทษ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ขั้นสูงสุด

พยัญชนะ “ศ็อดด์” แทนคำว่า ศ่อฟาอ์ หมายถึงความบริสุทธิ์ซึ่งถือเป็นสัญญลักษณ์ของซูฟียฺ

พยัญชนะ “วาว” แทนคำว่า วิลายะห์ หมายถึงการเป็นผู้ที่อยู่เหนือคนทั่วไป ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งของซูฟียฺผู้เคร่งครัด

พยัญชนะ “ฟาอ์” แทนคำว่า ฟะนาอ์ หมายถึงการสูญตัวตนเข้าไปรวมอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นภาวะสูงสุดที่ซูฟียฺทุกคนปรารถนา (อับดุลกอดิร อัลญัยลานี, 1993:41)

อันที่จริงคำนิยามของคำว่า “ตะเศาวุฟ” ในสมัยแรกๆนั้น จะมีความหมายที่สอดคล้องกับหลักการของอิสลามอันแท้จริง แต่ต่อมาภายหลังคำนิยามดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป มีการนำเอาความหมายแปลกใหม่ที่ขัดแย้งกับอัลอิสลามเข้ามา เป็นการอุตริคำนิยามขึ้นมา พร้อมๆกับการนำเอาความคิดจากภายนอกเข้ามาสู่อิสลาม


_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

สาเหตุการขนานนามว่า “ซูฟียฺ”

นักวิชาการมีทัศนะที่ขัดแย้งกันในคำว่า “ซูฟียฺ” บางกลุ่มมีทัศนะว่าคำนี้เป็นคำที่สร้างขึ้นมาใหม่ ไม่มีการเทียบหรือแยกออกมาจากภาษาอรับ อีกกลุ่มหนึ่งมีทัศนะว่าคำนี้แตกออกมาจากภาษาอรับ คือมาจากคำว่า “ซูฟ” แปลว่า ขนสัตว์ ชาวซูฟียฺจะนิยมใช้เสื้อผ้าขนสัตว์หยาบๆ แสดงถึงความเรียบง่าย สมถะ ซึ่งทัศนะนี้ได้รับการยอมรับจากบรรดานักวิชาการและนักค้นคว้าส่วนใหญ่ ท่านซะฮ์ร่อวัรดีย์ได้กล่าวว่า คำนี้เหมาะสมในด้านภาษาและมีความสัมพันธ์กับลักษณะภายนอกของพวกซูฟียฺ ที่ชอบสวมใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ ซึ่งแพร่หลายในหมู่ซูฟียฺในอดีตอีกด้วย (อัชชะฮ์ร่อวัรดีย์, 1939:334)



ประเภทของซูฟียฺ


1. ซูฟียฺอะมะลีย์ หมายถึงซูฟียฺที่ปฏิบัติตนสอดคล้องกับหลักการอิสลาม พวกเหล่านี้จะมุ่งเน้นการถือสันโดษ ปลีกตัวออกจากสังคม ไม่หมกมุ่นอยู่กับโลกดุนยามากเกินไป คนเหล่านี้จะพบได้ในช่วงต้นของอิสลาม จนถึงต้นศตวรรษที่ 3 ของฮิจเราะห์ศักราช (ศตวรรษที่ 9 ของคริสต์ศักราช)

2. ซูฟียฺฟัลสะฟะห์ หมายถึงซูฟียฺที่เน้นการปฏิบัติด้านจิตวิญญาณมากเกินไป คนเหล่านี้จะทุ่มเททั้งชีวิตและจิตใจ มุ่งตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงอย่างเดียว มีการจัดวางระบบหรือทฤษฎีใหม่ขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการประพันธ์หนังสือต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่เลื่อมใส สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจากการรับเอาอิทธิพลจากภายนอกเข้ามาผสมผสานกับหลักการของอิสลาม จนเกิดการเบี่ยงเบนในลักษณะที่ออกนอกลู่นอกทางไปในที่สุด ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า “ปรัชญาซูฟียฺ” ซึ่งจะพบได้ในช่วงหลังศตวรรษที่ 3 แห่งฮิจเราะห์ศักราช (ศตวรรษที่ 9 แห่งคริสต์ศักราช)

_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

เรื่องซูฟีย์ บัง asan ผู้ดูแล กระดานเสวนา ได้ตอบไว้ดังนี้

มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ
ในระหว่างสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด สาวกบางคนของท่านได้ตัดสินใจที่จะละเว้นจากการนอนและจะใช้เวลาตลอดทั้งคืนไปกับการนมาซ บางคนได้ตัดสินใจที่จะถือศีลอดทุกวันโดยไม่ขาด บางคนก็ตัดสินใจที่จะหยุดมีความสัมพันธ์ทางด้านการแต่งงานกับผู้หญิงทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีเวลาอย่างเต็มที่สำหรับการปฏิบัติศาสนกิจต่ออัลลอฮฺ

เมื่อท่านศาสดาได้ยินเรื่องนี้ ท่านได้กล่าวว่า : "เกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านี้ซิถึงได้กล่าวเช่นนั้น ฉันเองถือศีลอดบางวันและฉันก็ละศีลอด ฉันนมาซในช่วงเวลาหนึ่งของกลางคืนและนอน และฉันก็แต่งงาน ดังนั้น ใครก็ตามที่หันไปจากแนวทางของฉัน เขาก็ไม่ได้เป็นพวกฉัน" (รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

อิสลามได้สั่งใช้ให้ดำเนินชีวิตสายกลางทั้งนี้เพื่อที่มุสลิมจะได้ไม่ทำอะไรไปจนเกินพอดีหรือน้อยไปกว่าที่ต้องการ ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ชีวิตสันโดษ (เหมือนอย่างสงฆ์) ก็เป็นที่ต้องห้ามในกุรอาน อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า " ส่วนการเป็นนักบวชนั้น เราไม่ได้บัญญัติมันขึ้นมาสำหรับพวกเขา พวกเขาเองต่างหากที่สร้างมันขึ้นมา" (กุรอาน 57:27)


ท่านศาสดาและสาวกของท่านตลอดจนนักวิชาการมุสลิมคนสำคัญจะทำงาน ต่อสู้ ตัดสินระหว่างมุสลิมและสอนกุรอานผู้คนและตักเตือนผู้คนให้ทำความดี


ยิ่งไปกว่านั้น สาวกหลายคนก็เป็นนักธุรกิจและแสวงหาความมั่งคั่งเพื่อที่จะใช้จ่ายเงินในหนทางแห่งอิสลามและท่านศาสดาก็ส่งเสริมพวกเขา ในฮะดีษหนึ่ง ท่านศาสดาได้กล่าวว่า :"จะประเสริฐยิ่งถ้าทรัพย์สินที่ซื่อสัตย์เป็นของคนที่มีคุณธรรม" (รายงานโดยอะหมัด)


ท่านได้วิงวอนให้อนัส อิบนุมาลิกบ่าวของท่านและได้จบการวิงวอนของท่านโดยกล่าวว่า : " โอ้ อัลลอฮฺ ได้โปรดเพิ่มพูนให้แก่เขาในทรัพย์สินและลูกๆและโปรดให้เขาได้รับความดีงามในสิ่งนั้น" (รายงานโดยบุคอรี)


อิบนุ มัศอูด ได้กล่าวว่าท่านรอซูลุลลอฮได้ลากเส้นๆหนึ่งด้วยมือของท่านและกล่าวว่า : " นี่คือแนวทางที่เที่ยงตรงของอัลลอฮฺ" หลังจากนั้น ท่านก็ลากเส้นหลายๆเส้นไปทางด้านขวาและทางด้านซ้าย หลังจากนั้นก็กล่าวว่า : " นี่เป็นหนทางอื่นๆ ไม่มีเส้นทางใดสักเส้นทางเดียวจากเส้นทางเหล่านี้ที่ไม่มีมารร้ายบนเส้นทางเหล่านั้นเรียกร้องไปหามัน" หลังจากนั้น ท่านก็ได้อ่านกุรอานตรงที่มีความหมายว่า : "แท้จริง นี่คือหนทางที่เที่ยงตรง ดังนั้น จงตามมันและจงอย่าปฏิบัติตามทางอื่นๆ เพราะมันจะทำให้สูเจ้าออกห่างจากหนทางของพระองค์" (กุรอาน 6:153)


การเกิดขึ้นของ ซูฟีย์

ถึงแม้จะมีคำเตือนดังกล่าวแล้วก็ตาม มุสลิมบางคนก็ปฏิบัติอย่างสุดโต่งในทางด้านศาสนาและหลีกเลี่ยงชีวิตทางโลก ในกลุ่มคนเหล่านี้ก็คือพวก ซูฟีย์ที่เลือกดำเนินชีวิตอย่างสุดโต่งและละทิ้งการแสวงหารายได้ที่ถูกต้องและงานที่เป็นประโยชน์ คนเหล่านี้อ้างถึงความไว้วางใจในอัลลอฮฺเพียงอย่างเดียวในเรื่องการยังชีพและชอบที่จะปลีกตัวออกไปใช้ชีวิตสันโดษอยู่ตามลำพัง


คำว่า " ซูฟีย์" ความจริงแล้วเกิดขึ้นมาในยุคหลัง (ในเมืองกูฟะฮประเทศอิรัคระหว่างสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮฺในคริสตศตวรรษที่ 9) มันอาจจะมาจากคำว่า "ซุฟ"ในภาษาอาหรับซึ่งหมายถึงเสื้อคลุมขนสัตว์หยาบๆที่พวกนักบวชสวมใส่และต่อมาพวกมุสลิมบางคนที่ชอบดำเนินชีวิตแบบสันโดษได้นำมาใช้


กล่าวโดยทั่วไปแล้ว แหล่งที่มาของลัทธิถือสันโดษในอิสลามได้เกิดขึ้นมาจากแหล่งต่างๆที่มิใช่อิสลามในยุโรปโบราณและแม้แต่ในอินเดีย ประเพณีก่อนหน้าอิสลามส่วนหนึ่งก็เข้ามาสู่อิสลามภายใต้คราบของการปลีกตัวออกไปถือสันโดษตามลำพัง


รูปแบบการใช้ชีวิต

หลักคำสอนและพิธีกรรมแทบจะทั้งหมดของ ซูฟีย์นั้นถ้าไม่เหมือนกันทุกอย่างก็แทบจะเหมือนกับขบวนการใช้ชีวิตแบบนักบวชโบราณที่มิใช่อิสลาม เช่น ศาสนาคริสต์ตะวันออก (นิกายเนสโตเรียนและซีรีแอค) และศาสนาพุทธ ดังนั้น หลักคำสอนและพิธีกรรมต่างของพวก ซูฟีย์จึงได้รับการปฏิเสธจากมุสลิมส่วนใหญ่เพราะมันเป็นสิ่งอุตริที่ขัดกับคำสอนที่แท้จริงของอิสลาม


ในปลายศตวรรษที่ 10 ซูฟีย์ได้แพร่ขยายไปทั่วอิรัค อิหร่านและอียิปต์ ในศตวรรษที่ 11 และ 12 แนวความคิดของพวก ซูฟีย์ได้รับการยอมรับบ้างทั้งนี้เนื่องมาจากความพยายามและการเขียนของผู้ทรงความรู้ชาวซุนนีคนสำคัญๆอย่างเช่น อิมามเฆาะซาลี ต่อมาพวก ซูฟีย์ก็ค่อยๆสร้างพิธีกรรมและหลักการต่างๆที่เสียหายรุนแรงขึ้นและบิดเบือนหลักความศรัทธาอันบริสุทธิ์ของอิสลามที่มีอยู่ในกุรอานและแบบอย่างคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด ผู้นำ (เชค) ของคนพวกนี้ได้ทำให้มุสลิมแตกออกเป็นกลุ่มและนิกายต่างๆ ในที่สุด ความเป็น ซูฟีย์สายกลางก็ค่อยๆหายไปจนทำให้หลักการและการปฏิบัติอันสุดโต่งห่างไกลออกไปจากหลักความเชื่อและกฎหมายอิสลาม


การให้ความเคารพผู้นำ (เชค) อย่างสุดโต่ง

หนึ่งในด้านที่เป็นอันตรายที่สุดของพวก ซูฟีย์สุดโต่งก็คือการให้ความเคารพแก่คนที่มีคุณธรรมความรู้อย่างเกินขอบเขตโดยสานุศิษย์ของคนเหล่านี้ บางกลุ่มสดุดีผู้นำของตนเป็นประจำด้วยข้อความแห่งความรักที่เลยเถิดและใช้เหล้าทำให้เกิดความมึนเมาเป็นสัญลักษณ์แทนความรักของพระเจ้า ผู้นำ (เชค) ของพวก ซูฟีย์ถูกเรียกว่า "อัล-อาริฟ บิลละฮฺ" (ผู้มีความรู้จักอัลลอฮฺอย่างลึกซึ้ง) บางทีพวก ซูฟีย์ก็ให้ความเคารพผู้นำของตนอย่างสิ้นเชิงจนถึงขนาดยอมทำตามผู้นำของตนทุกอย่างโดยไม่มีขอบเขตจำกัด มีหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติตามแนวทาง ซูฟีย์ไว้ดังนี้
: " จงมอบหมายการงานแก่ท่าน (ผู้นำ) และไม่ต้องถามว่าทำไม ถึงแม้ว่าท่านจะออกมาด้วยบางสิ่งที่เป็นบาป จงอยู่ต่อหน้าท่านเหมือนกับคนตายที่ถูกอาบน้ำและถูกชำระล้างจากสิ่งสกปรก อย่าเดินบนเสื่อของท่านหรือนอนบนหมอนของท่าน"


พวก ซูฟีย์ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติตามที่จะต้องเป็นทาสในความคิดและร่างกายต่อผู้นำของตน ถ้าหาก ซูฟีย์ที่เป็นสานุศิษย์ฝ่าฝืนคำสั่งเหล่านี้ เขาจะไม่ได้รับความเมตตาจากผู้นำของเขาและจะไม่มีวันเจริญ อย่างไรก็ตาม หลักการอิสลามไม่อนุญาตให้มีการเชื่อฟังผู้ใดในเรื่องที่เป็นบาป พวก ซูฟีย์ทำความชั่วบางอย่างและพวกที่ตามคนพวกนี้เชื่อว่าคนเหล่านั้นทำสิ่งที่ถูกต้องดีงามและเป็นการกระทำอันมหัศจรรย์


ปาฏิหารย์ของพวก ซูฟีย์

ปาฏิหาริย์ที่ถูกกล่าวอ้างของพวก ซูฟีย์มีมากมายรวมทั้งการฟื้นคืนชีพหลังความตายหรือการที่พวกเขาไม่ได้รับบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายจากกระสุนหรือดาบหรือไฟ ปาฏิหาริย์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยการใช้วิธีการทางไสยศาสตร์หรือการตบตาหรือโดยการช่วยเหลือของชัยฏอน แต่เล่ห์กลและปาฏิหาริย์จอมปลอมเหล่านี้สามารถดึงดูดผู้คนได้มากมาย

อัช-ชะอ์รอนี ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์คนหนึ่งได้อ้างว่าอะหมัด อัล-บะดาวี ครูของเขาได้ควบคุมจักรวาลจากหลุมฝังศพของเขา พวก ซูฟีย์จะปกป้องตัวเองให้พ้นจากการถูกลงโทษในการตกศาสนาโดยการใช้หลักความเชื่อลับๆและคำศัพท์ที่คลุมเครือ

เหยื่อของชัยฏอน

อัล-ฮาฟิซ อิบนุ อัล-เญาซี นักวิชาการมุสลิมคนสำคัญ (เสียชีวิตใน ฮ.ศ.597) ได้เขียนหนังสืออันทรงคุณค่าไว้เล่มหนึ่งชื่อ "ตัลบีส อิบลีส" (วิธีการของชัยฏอนต่อผู้นมาซ) ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้ปฏิเสธการปฏิบัติผิดๆของพวก ซูฟีย์ พวก ซูฟีย์ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าพวกเขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับอัลลอฮฺ แต่การอ้างตัวว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่ขัดกับอิสลาม
อย่างไรก็ตาม พวก ซูฟีย์อ้างว่าอำนาจทางจิตใจและการเป็นสื่อกลางกับอัลลอฮฺมาจากครูของพวกเขา ความจริงแล้ว ชัยฏอนได้หลอกลวงพวกเขาให้เชื่อว่าพวกเขามีความสามารถที่จะบรรลุถึงการรวมกันทางด้านจิตวิญญาณหรือการติดต่อกับอัลลอฮฺและผู้รู้ได้ นั่นคือ การได้รับความรู้ในสัจธรรมของพระเจ้าโดยตรง (ฮะกีเก๊าะฮฺ)

พวก ซูฟีย์ได้รับอิทธิพลมาจากพวกบาฏิน ปรัชญากรีก ศาสนาพุทธและเทวศาสตร์ของชาวคริสเตียน ดังนั้น พวก ซูฟีย์จึงเชื่อในเรื่องการได้รับความรู้ภายในซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการฝึกฝนจิตวิญญาณและการทรมานร่างกายเพื่อขัดเกลาตนเองให้เป็นผู้ได้รับความรู้นั้น หลังจากนั้น ซูฟีย์ก็สามารถที่จะเห็นความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวบทของกุรอานและคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด คนที่ไม่ได้รับความรู้ภายในจะสามารถเห็นความหมายภายนอกของกุรอานเท่านั้นและคนเหล่านี้จะถูกเรียกว่าผู้ปฏิบัติตามชะรีอ๊ะฮฺหรือคนที่รู้ความหมายตามตัวอักษร (อะฮ์ลุซซอฮิร) ในขณะที่พวก ซูฟีย์เรียกตัวเองว่าผู้รู้ความจริงที่แท้จริงและผู้รู้ในสิ่งที่ซ่อนเร้น (อะฮ์ลุลบาฏิน) พวกเขากล่าวว่าพวกเขาก้าวพ้นชะรีอ๊ะฮฺไปถึงการรับรู้ภายในแล้ว ดังนั้น พวกเขาจึงได้รับอนุญาตให้ทำสิ่งต้องห้ามได้โดยเหตุผลที่ว่าความรู้ที่สูงกว่าของพวกเขาทำให้พวกเขาอยู่นอกข้อจำกัดของกฎหมายอิสลามที่เห็นอยู่
ซูฟีย์สร้างพิธีกรรมอุตริขึ้นมา
สิ่งอุตริที่พวก ซูฟีย์สร้างขึ้นมานั้นมีทั้งการทำตัวเองให้ต่ำต้อยต่อหน้าผู้คน พิธีกรรมรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยการกล่าววลีที่เอ่ยนามของพระองค์ครั้งแล้วครั้งเล่าซึ่งขัดต่อแบบอย่างของท่านศาสดามุฮัมมัด การจัดงานฉลองวันเกิดขึ้นของท่านศาสดามุฮัมมัดอย่างฟุ่มเฟือย การไปเยี่ยมหลุมฝังศพของหัวหน้า ซูฟีย์และวิงวอนต่อคนเหล่านี้ให้ประทานความจำเริญแก่พวกเขาและเป็นตัวกลางระหว่างพวกเขากับอัลลอฮฺ
การปฏิบัติเช่นนี้เป็นสิ่งที่มุสลิมส่วนใหญ่ประณามว่าเป็น "การสักการะบูชานักบุญ" และเป็น "การชิริก" ยิ่งไปกว่านั้น ครูของพวก ซูฟีย์ยังอ้างว่าตัวเองเป็นแหล่งที่มาของการรู้จักพระเจ้า (มะอ์ริฟะฮ์) แก่นักวิชาการอิสลาม

ซูฟีย์สุดโต่ง
อัล-ฮุซัยน์ อิบนุ มันซูร อัล-ฮัลลาจเชื่อว่าอัลลอฮฺอาศัยอยู่ในร่างของมนุษย์ ทุกสิ่งมีอยู่นั้นคืออัลลอฮฺในความเป็นจริง ส่วนอบู ยะซีด บิสตามี (ตายฮ.ศ.874) และอัล-ญุนัยด์ (ตาย ฮ.ศ.910) ได้เริ่มหาประสบการณ์ในการที่จะรวมกับอัลลอฮฺในตอนแรกด้วยการ "เมา" กับความรักของตนเอง
ในขณะที่พวก ซูฟีย์หลายคนปิดบังอำพรางหลักความเชื่อที่บิดเบนของตัวเอง แต่อัล-ฮัลลาจญ์สานุศิษย์คนหนึ่งของอัล-ญุนัยด์ได้ออกเดินทางไปสั่งสอนหลักการของตัวเองอย่างเปิดเผย เจ้าหน้าที่ในกรุงแบกแดดจึงได้จับกุมเขา นักวิชาการส่วนใหญ่ตัดสินว่าเขาตกศาสนาและต่อมาเขาได้ถูกประหารชีวิตใน ฮ.ศ.309
อิบนุอะเราะบีก็เชื่อในหลัก "วะฮ์ดะตุลวุญูด" คือเชื่อว่าทุกสิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงด้านหนึ่งของตัวตนที่แท้จริงของอัลลอฮฺและพระองค์นั้นคือทั้งหมดที่ไม่ได้ปรากฏให้เห็นนอกจากภายในส่วนต่างๆของสิ่งทั้งหลายและทุกสิ่งที่มีอยู่นั้นก็คืออัลลอฮฺ เขาวิพากษ์วิจารณ์นบีฮารูนเมื่อตอนที่ท่านตำหนิพวกยิวที่เคารพบูชารูปปั้นวัวทองคำ มีคนอ้างว่าเขากล่าวว่า "ผู้เคารพสักการะวัวนั้นไม่ได้เคารพสักการะสิ่งใดนอกไปจากอัลลอฮฺ" เขาเองได้ยกย่องฟาโรห์และประกาศว่าฟาโรห์ตายในสภาพที่มีความศรัทธาอันบริสุทธิ์และเป็นผู้ศรัทธาคนหนึ่งซึ่งขัดกับตัวบทในกุรอาน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม อิบนุอะเราะบีก็ได้รับการยกย่องจากพวก ซูฟีย์และพวกเขาได้เรียกเขาว่า "อัล-กุตุบุล อักบัร" (แกนอันยิ่งใหญ่)
หนังสือหลายเล่มที่เขาเขียนขึ้นอย่างเช่น " อัล-ฟะตูฮาตุล มักกียะฮ์" และ "ฟุซูลุลฮิกัม" นั้นเต็มไปด้วยเรื่องนอกศาสนาอย่างเห็นได้ชัด เขาได้เขียนหนังสืออธิบายความหมายขึ้นมาเล่มหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่า "อัต-ตัฟซีรุล บาฏิน" ทั้งนี้เพราะเขาถือว่าความหมายที่ซ่อนเร้นของกุรอานนั้นมีแต่ ซูฟีย์ที่รู้ลึกซึ้งเท่านั้นที่สามารถเข้าใจได้ อิบนุอะเราะบีถือว่าพวกบูชาเทวรูปอยู่ในหนทางที่ถูกเนื่องจากในทัศนะของเขานั้นอัลลอฮฺทรงมีอยู่ในทุกสิ่ง (หมายความว่าสิ่งถูกสร้างทุกอย่างที่มีอยู่นั้นคือพระองค์) ดังนั้น ใครก็ตามที่เคารพสักการะรูปปั้นหรือเคารพหินหรือต้นไม้หรือมนุษย์หรือดวงดาวก็เท่ากับเขาผู้นั้นเคารพสักการะอัลลอฮฺ เขากล่าวว่า : " ดังนั้น คนที่มีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ก็คือคนที่เห็นวัตถุบูชาทุกอย่างเป็นปรากฏการณ์ของความจริงที่มีอยู่ในนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกเคารพสักการะ"

ดังนั้น พวกเขาจึงเรียกมันว่าพระเจ้าพร้อมกับชื่อเฉพาะของมันไม่ว่ามันจะเป็นก้อนหิน ต้นไม้ สัตว์ บุคคล ดวงดาวหรือทูตสวรรค์ อิบนุอะเราะบีจึงประกาศว่าการเคารพบูชาวัตถุจึงไม่ใช่สิ่งที่น่าถูกประณามเพราะทุกสิ่งที่พวกเขาเคารพสักการะนั้นเป็นเพียงพระเจ้าที่ปรากฏในรูปของมนุษย์ ต้นไม้หรือหิน อิบนุอะเราะบียังเชื่อว่าทุกศาสนานั้นเป็นหนึ่งเดียวและหัวใจของเขาพร้อมที่จะยอมรับทุกนิกายและศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเตือนลูกศิษย์ของเขามิให้เชื่อในศาสนาใดเป็นการเฉพาะและมิให้ปฏิเสธศาสนาอื่นทั้งหมด
อับดุลการีม อัล-ญีลีซึ่งเสียชีวิตใน ฮ.ศ.830 ก็เชื่อในเอกภาพของศาสนาหรือทุกศาสนาก็เหมือนกันดังที่เขาได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง " อัล-อินซานุล กามิล" (มนุษย์ที่สมบูรณ์) ดังนั้น ในทัศนะของอับดุลการีม มัสญิดและโบสถ์จึงไม่มีความแตกต่างกันและถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนบาปและไม่เชื่อฟังคำสั่งของอัลลอฮฺตามตัวบทกฎหมายอิสลาม (ชะรีอ๊ะฮ์) ที่ปรากฏอยู่ เขาก็ยังปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ อิบนุลฟาริด
กวีคนหนึ่งได้อ้างว่าความจริงแล้วอัลลอฮฺก็คือสิ่งถูกสร้างของพระองค์และเขาได้แต่งบทกวีขึ้นมาบทหนึ่งซึ่งในนั้นเขากล่าวว่าอัลลอฮฺเป็นเพศหญิง


ระบบตำแหน่งของ ซูฟีย์

ซูฟีย์หลายคนยังเชื่อว่าประชากรแต่ละรุ่นจะมีครูคนหนึ่งซึ่งเป็น "มนุษย์ที่สมบูรณ์" อย่างลับๆ และการมาปรากฏของคนผู้นี้เองที่ทำให้โลกยังดำเนินอยู่ต่อไป เป็นที่เชื่อกันว่าครูผู้นี้จะนำความจำเริญ (บะรอก๊ะฮ์) อันมหัศจรรย์ที่ได้รับมาจากครูคนก่อนๆมาให้ลูกศิษย์ของตน ซูฟีย์ส่วนใหญ่อ้างว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากอะลี อิบนุ อบีฏอลิบหรือครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัดและพวกเขาได้รับความจำเริญสืบทอดต่อเนื่องกันมาจากบุคคลเหล่านั้นผ่านทางตำแหน่งหน้าที่สืบทอดต่อกันมา


ซูฟีย์บางคนอาจถูกเรียกว่า "วะลี" (เพื่อนของพระเจ้า) ซึ่งหมายถึง "คนที่ไปถึงขั้นสูงสุดในการมีความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ" ดังที่กล่าวไว้ในกุรอานว่า " บรรดาผู้ไม่กลัวและไม่เศร้าโศกเสียใจ" เฉพาะคนที่ได้รับประสบการณ์ ซูฟีย์อย่างสมบูรณ์เท่านั้นที่จะรู้จัก "มนุษย์ที่สมบูรณ์"พวกเขาคือผู้นำที่มีความจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของจักรวาลเพราะพวกเขามีอำนาจ ความรู้และพลังอันมหัศจรรย์ที่พระเจ้ามอบหมายมาให้
ลำดับชั้นที่มองไม่เห็นของพวกผู้นำ (เชค) ซูฟีย์ประกอบด้วย 40 อับดัล ( "ตัวแทน" เพราะเมื่อคนหนึ่งคนใดเสียชีวิต อีกคนหนึ่งก็จะถูกเลือกโดยอัลลอฮฺให้ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งเชค) 7 เอาตาด (หลักแห่งความศรัทธา) 3 นุกอบา (ผู้นำที่นำคนมาให้ครูของตน) ที่นำโดย "กุตุบ" (แกน) หรือ " เฆาซ์" (ผู้ช่วยเหลือ) ซึ่งเป็นฉายาที่ผู้นำ ซูฟีย์กล่าวอ้าง พวก ซูฟีย์มี "ตราประทับ" (คอติม) หรือบุคคลสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุดของพวกตนในขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ด้วย อัล-มิรฆอนี แห่งซูดานได้อ้างว่าเขาเป็นตราประทับ (คอติม) และสำนัก ซูฟีย์ของเขาได้ถูกเรียกว่า "คอติมัยยะอ๊ะฮ์"
กลุ่ม ซูฟีย์

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 พวก ซูฟีย์ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือ "เฏาะรีก" (ตะรีกัต) กลุ่มที่สำคัญๆและยังมีอยู่ในปัจจุบันก็คือกลุ่มซานุสซีในอาฟริกาเหนือ กลุ่มนักชบันดี กลุ่มนิมะตุลลอฮ์และกลุ่มชิสตี (ในอิหร่าน ตุรกี เอเชียกลางและอินเดีย) ซูฟีย์ส่วนใหญ่เป็นพวกซุนนี บางกลุ่มก็รับความเชื่อของชีอ๊ะฮ์ในระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 16 กลุ่มเบกตาชีและกลุ่มเศาะฟาวีเป็นพวกชีอ๊ะฮ์สุดโต่ง ในตอนต้นศตวรรษที่ 16 พวกเศาะฟาวีได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเข้ายึดอิหร่านไว้ได้เกือบทั้งหมด


พวก ซูฟีย์บางกลุ่มเป็นที่ยอมรับโดยคนในท้องที่ เช่น กลุ่มเบกตาชี (ต้นศตวรรษที่ 14) ในตุรกีและกลุ่มอะฮมะดียะฮ์ (หลังจากอะหมัด อัล-บะดะวี เสียชีวิตใน ฮ.ศ.1286) ในอียิปต์ อย่างไรก็ตาม พวกอะฮ์มะดียะฮ์สามารถดึงพวกผู้ปกครองในราชวงศ์มัมลูกให้มาเลื่อมใสได้ กลุ่มอื่นอย่างเช่นชาซิลีและริฟาอีก็มีสาวกของตนในหมู่ชนชั้นกลางชาวอียิปต์ ในอาฟริกาเหนือ กลุ่มติยานียะฮ์ซึ่งถูกก่อตั้งใน ค.ศ.1781และซานุสซีมีบทบาทขึ้นมาในศตวรรษที่ 19 และเข้าไปเล่นการเมืองด้วย กลุ่มติยานียะฮ์นั้นได้ขยายอิทธิพลของตนเข้าไปถึงเซเนกัลและไนจีเรีย

ซูฟีย์ปัจจุบัน

ปัจจุบัน พวก ซูฟีย์ที่เป็นลูกหลานของผู้นำ ซูฟีย์ผู้มีชื่อเสียงได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างหรูหราเหมือนกับคนราชวงศ์ บรรพบุรุษของพวกเขาได้ทำลายการญิฮาดซึ่งหมายถึงการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺไปหมดสิ้นแล้วและพวกเขาอ้างว่าญิฮาดหมายถึงการต่อสู้กับจิตใจของตัวเองเท่านั้น การอธิบายความหมายของคำว่าญิฮาดเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้อำนาจล่าอาณานิคมเข้ามายึดครองดินแดนมุสลิมส่วนใหญ่ไว้ และเนื่องจากพวกอำนาจล่าอาณานิคมให้การสนับสนุนมุสลิมทุกกลุ่มที่หันเหออกไปจากหลักการที่แท้จริงของอิสลาม ดังนั้น พวกนักล่าอาณานิคมจึงตอบแทนพวก ซูฟีย์โดยการให้ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์แก่คนเหล่านี้ไว้เป็นที่ทำกิน แม้ในบางช่วงที่พวก ซูฟีย์ได้อำนาจทางการเมือง แต่คนพวกนี้ก็ไม่ได้ส่งเสริมความดีและห้ามปรามความชั่ว แต่พวกเขากลับหันห่างออกจากการเคารพสักการะพระเจ้าและปูพรมให้ลูกศิษย์คลานเข้ามาหาความสุขกับการกินและดื่ม
แปลโดย อาจารย์บรรจง บินกาซัน คัดลอกจาก: Thaimuslimshop.com

http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?page=sub&category=39&id=144
_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม



_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รายละเอียด ผมแนะนำให้ฟังการ บรรยาย โดย อ.ฟาริด เฟ็นดี้ และ อ.อะห์หมัด ก้อพิทักษ์

ในรายการถามมาซิ จะตอบให้มีอยู่ 4 ตอน ดังลิงค์ นี้ครับ

http://tape.fareedfendy.com/modules.php?name=News&file=read_article&sid=138

ตอน 2

http://tape.fareedfendy.com/modules.php?name=News&file=read_article&sid=139

ตอน 3

http://tape.fareedfendy.com/modules.php?name=News&file=read_article&sid=140


ตอน4

http://tape.fareedfendy.com/modules.php?name=News&file=read_article&sid=141


_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.09 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ