ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เปิดโปงหลักฐานจริงหรือหลักฐานเท็จ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เปิดโปงหลักฐานจริงหรือหลักฐานเท็จ
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Sun Mar 22, 2009 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Mr.shot บันทึก:
อ้อ ลืมไป
ทำไมคุณดับช้อตหัวทั่ง ถึงเอาผู้หญิงมาเปรียบเทียบแบบนี้ล่ะครับผู้หญิงก็มีศักดิ์ศรีมีเกียตรน่ะครับ
แบบนี้เค้าเรียกว่า"เนียตัวม่า"น่ะเด้อ Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
หนส
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 15/03/2009
ตอบ: 3


ตอบตอบ: Sun Mar 22, 2009 5:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มุรีดมาแว้ว!! ฟันธงพวกคุณทั้งหมดบิดอะ ชีริก ยกเว้นผมกับรูฎอระดับมะซูม และหลังจากนี้ก็จะไปสัญจรหาตังกันต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Sun Mar 22, 2009 6:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Mr.shot บันทึก:
กะไว้แล้วอบูมจญนูน ณ ICU คงเล่นมุขนี้" เนียตัวม่า"ชัดๆ Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Tue Mar 24, 2009 9:38 pm    ชื่อกระทู้: มุสลิมเป็นพี่น้องกัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม...

วันนี้เข้ามาว่า..จะเสนอข้อมูลต่อซักหน่อย...

เหนคุนชอ๊ด และ คุนอับดุลลอฮฺ โปรยปรายอารมณ์ให้แก่กันรู้สึกเสียใจอย่างยิ่ง
สาเหตุส่วนหนึ่งคงมาจากผม ฉะนั้นจึงขอมอัฟทุกท่านที่ทำให้เดือดร้อน
และคงไม่เข้ามานำเสนออีก จนกว่าทั้งสองท่านจะให้อภัยซึ่งกันและกัน กลับมารักกันดังเดิม

สุดท้ายขอเรียกร้องให้ท่านทั้งสองเหนแก่อัลลอฮฺ ซุบหานะฮู วะตะอะลา โปรด
คืนดีกันและกัน และคิดดีๆต่อกัน และร่วมไม้ร่วมมือกันให้การช่วยเหลืออิสลามเช่นเดิม

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Wed Mar 25, 2009 4:55 pm    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation
ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างงานเข้าเหมือนครับ แต่จะพยายามแวปๆมาก็แล้วกัน

เห็นบังคุยถึงโองการที่ว่า "มนุษย์จะไม่ได้รับ(ผลบุญจากการกระทำของใครๆ)นอกจาก(ผลบุญของ)สิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้เท่านนั้น" ขอแจมบ้างนะครับ



มาดูสาเหตุการประทานโองการดังกล่าวกันครับ(อัซบาบุ้ลนุซูลุลกุรอ่าน)

ท่านอัลมะรอฆีได้บันทึกจากท่านมุญาฮิดและท่านอิบนุซัยร์ว่า ในสมัยที่ท่านรอซูล ซล. ได้เผย

แพร่อิสลามที่มักกะฮ์ชายผู้หนึ่งชื่อ วะลีด บิน มุฆีเราะฮ์ได้แสดงท่าทีสนใจการเผยแพร่ศาสนาของนบีด้วยการไปนั่งฟังอัลกุรอ่านจากท่านนบีเสมอ จนนบีหวังว่าอีกไม่นานเขาคงรับอิส-

ลาม แต่ในที่สุดวะลีดก็ไม่สามารถต่อสู้กับกระแสคัดค้านและการตำหนิจากมุชริกด้วยกันจึงไม่กล้ารับอิสลามตามที่ตั้งใจไว้ ขณะเดียวกันเกิดความลังเลกลัวโทษที่จะได้รับจากอัลลอฮ์

ดังที่เคยฟังจากอัลกุรอ่านสหายมุชริกผู้หนึ่งเห็นอาการลังเลของวะลีดจึงทั้งขู่และปลอบว่า เฮ่ย นี่วะลีดท่านกล้าละทิ้งศาสนาของบรรพบุรุษหรือ อย่าน่ะ!! จงยึดถือมันให้มั่น(ไม่ได้ว่าใครนะเนี่ย)

ส่วนการที่ท่านกลัวถูกลงโทษในวันอาคีเราะฮ์นั้นเรื่องนี้ไม่มีปัญหา บาปของท่านเรารับเอง แต่ท่านต้องจ่ายค่าชดเชยให้เราเป็นค่าตอบแทนที่อุตส่าห์รับบาปแทน

ท่าน (ก็หวานซิครับ)วะลีดรีบตกลง แล้วจ่ายค่ารับบาปแทนให้เพื่อนไปก่อนแบบผ่อนๆแต่จู่ๆวะลีดก็เบี้ยวไม่จ่ายส่วนที่เหลือขณะเดีวยกันก็หันห่างออกจากอิสลามยาวไปเลยอัลลลอฮ์ ซบ.

จึงลงโองการต่างในซูเราะฮ์อัน-นัญมุดังนี้

โองการที่33 เจ้าได้หันเห(ออกจากทางนำ)ไหม?

โองการที่34 และเขาให้ไปเพียงเล็กน้อย แล้วก็ชะงักเสีย(เพราะเขาตระหนี่)

โองการที่35 หรือเขามีความรู้ในเรื่องเร้นลับ แล้วเขามองเห็นมันกระนั้นหรือ?

โองการที่36 เขามิได้รับการบอกเล่าถึงสิ่งที่มีอยู่ในคัมภีร์ของมูซา

โองการที่37 และของอิบรอฮีมผู้ปฏิบัติ(ตามบทบัญญัติ)ครบถ้วนเลยหรือ

โองการที่38 (ว่า)ไม่มีผู้แบกภาระ(บาป)คนใดจะรับภาระ(บาป)ของคนอื่นได้

โองการที่39 และแท้จริงมนุษย์จะไม่ได้รับ(ผลบุญจากการกระทำของใครๆ)นอกจาก(ผลบุญของ)สิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้เท่านั้น

เห็นๆกันแล้วนะครับว่าอายะฮ์นี้มีที่มาที่ไปอย่างไร?


ด้วยเหตุนี้เองกระมังที่ท่านอิบนุก็อยยิมได้กล่าวตอบโต้ผู้ที่ตะวีล(บิดเบือน)ความหมายที่ว่าผู้ตายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการกระทำของคนเป็นโดยตะวีลว่าหมายถึงพวกกาฟิร หรืออายะฮ์นี้เป็นชะรัตของท่านนะบีมูซาไม่ใช่ของท่านนบีมุฮัมหมัด ไว้ดังนี้

"มูลเหตุแห่งการเบี่ยงเบนความหมายอันเลวร้ายเหล่านี้ เกิดจากผู้เบี่ยงเบนนั้นมีความเชื่อมั่น

ในทัศนะใดๆอยู่แล้ว เขาจึงจำเป็นต้องปฏิเสธทุกอย่างที่ส่อว่า มันขัดกับความเชื่อของเขา ด้วยวิธีการใดๆก็ได้ที่มันสอดคล้องกับความเชื่อของเขา
"

ดูหนังสืออัรรูห์ หน้า178-181(ข้อความดังกล่าวอยู่ในหน้า181)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Wed Mar 25, 2009 5:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

คุณอบูซุเบรครับ

ขอให้นำเสนอวิชาการต่อไปได้เลยครับ เพราะผมไม่ได้โกรธ หรือเคืองแต่อย่างใด
ดังนั้นการขอมอัฟผมจึงไม่มี

ส่วนผมต้องขอมอัฟน้องบ่าวช๊อตด้วยครับ

ขอให้นำเสนอวิชาการกันต่อเลยครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Wed Mar 25, 2009 5:44 pm    ชื่อกระทู้: ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอแจมต่อนะครับ(เห็นบังคุยถึงเรื่องทัศนะนักวิชาการเกี่ยวกับอายะนี้)
ทัศนะที่ว่าโองการนี้ถูกยกเลิกแล้วด้วยอัลกุรอ่านโองการที่21ซูเราะอัฎฏูรที่ว่า "แล้วลูกได้เข้สวรรค์โดยความดีที่พ่อพากเพียรไว้" ผมขออธิบายตามที่ผมพอจะรู้ดังนี้

1 คำอธิบายของท่านคอซินที่อ้างถึงท่านอิบนุอับบาสว่า "และเรื่องนี้("มนุษย์จะไม่ได้รับ(ผลบุญจากการกระทำของใครๆ)นอกจาก(ผลบุญของ)สิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้เท่านนั้น)เป็นหุกุ่มที่ถูกยกเลิกแล้ว"

แม้ผู้มีทัศนะว่าโองการดังกล่าวถูกยกเลิกแล้วคือท่านอิบนุอับบาส แต่ทัศนะของท่านกรณีนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากมุฟัซซีรีน โดยทั่วๆไปแม้กระทั่งท่านอิหม่ามชาฟีอีย์เองเพราะท่านอิหม่ามชาฟีอี อ้างโองการดังกล่าวเป็นหลักฐานว่า มนุษไม่ได้รับผลบุญจากผู้อื่นนอกจากสิ่งที่อัลลอฮืทรงยกเว้นให้

สาเหตุที่บรรดามุฟัซซีรีนปฏิเสธและไม่ยอมรับทัศนะของท่านอิบนุอับบาสเพราะเรื่องของการที่จะยกเลิก
โองการใดๆของกุรอ่าน มีหลักเกณอยู่ว่า จะต้องเป็น2โองการที่ขัดแย้งกันทุกๆด้าน ไม่สามารถประสาน
กันได้ด้วยวิธีอื่นแล้ว โองการที่มาก่อาจึงถือว่ายกเลิกโองการหลัง แต่กรณีนี้มีทางออกอย่างอื่น

เช่นโองการใดจาก2โองการที่มองผิวเผินว่าแย้งกันเป็นโองการที่มีความหมายเป็นหลักการ

หรือหุกุมที่กล่าวในลักษณะกว้างๆ(อาม)ขณะที่โองการหนึ่งมีความหมายจำกัด(ค็อส)ทางออกคือ

โองการที่มีความหมายจำกัดเฉพาะเรื่องจะไปยกเว้น(ตัคซีร)โองการที่มีความหมายอย่างกว้างลงมาแต่การยกเว้นดังกล่าวนี้จะมีเฉพาะเรื่องที่กล่าวจำกัดไว้ในอีกโองการ

หนึ่งหรือหลักฐานอื่นๆ(ถ้ามี)เท่านั้น ทางออกนี้เรียกว่าการยกเว้น(ตัคซีร)มิใช่การยกเลิก(นะซัค) และโองการดังกล่าวก็ตกอยู่ในลักษณะนี้

ท่านมุฮัมหมัด อิบนุอะลีย์ อัช-เชากานีย์ได้กล่าในตัฟซีรของท่านว่า

"ความหมายของโองการนี้คือ...มนุษย์จะไม่ได้รับผลบุญนอกจากการขวนขวายของเขาและการตอบแทนการกระทำของเขาเท่านนั้นและการกระทำของบุคคลหนึ่งจะไม่อำนวยประโยชน์แก่บุคคลหนึ่ง หลัการกว้างๆดังกล่าวนี้ถูกจำกัดด้วยโองการที่ว่า เราจะให้ลูกๆได้อยู่ร่วมกับพวกเขา..
และด้วยสิ่งที่มีรายงานมาว่าบ่าวจะได้รับการช่วยเหลือจากนบีและมะลาอีกะฮ์และบัญญัติที่ว่าคนเป็นขอดุอาให้คนตายได้และอื่นอีกดังนั้นผู้ที่กล่าวว่าโองการนี้ถูกยกเลิกด้วยสิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะสิ่งที่มีความหมายจำกัดกว่าจะไม่ยกเลิกสิ่งที่มีความหมายกว้างๆ
แต่จะจำกัดความหมายลงมาเท่านั้นดังนั้นทุกสิ่งที่มีหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์ไม่ได้รับประโยชน์ทั้งๆที่ตนเองมิได้ขวนขวายไว้ถือว่าสิ่งนั้นเป็นข้อยกเว้นหลักการกว้างในโองการนี้นั่นเอง"

ดูตัฟซีรฟัตหุ้ลกอดีร เล่ม5 หน้า114

ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์อีกท่านหนึ่งที่ได้อ้างหลักฐานจากหะดีษเรื่องบุตรทำศอดากอฮ์แทนบิดา และขอดุอาทำฮัจญ์แทนแก่ท่านทั้งสองได้ แล้วท่านสรุปว่า

"บรรดาหะดีษเหล่านี้คือสิ่งจำกัดการกว้างๆที่ว่า..มนุษย์จะไม่ได้รับ(ผลบุญจากการกระทำของใครๆ)นอกจาก(ผลบุญของ)สิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้เท่านนั้น" ดูชัรหุมุสลิม เล่มที่11 หน้า84

Very Happy Shocked Laughing Smile salam

ช่วงนี้งานเข้าบ่อยถ้าว่างๆเดี๋ยวจะแวปมาอีกนะครับคุยกันหลายคนสนุกและได้ความรู้เยอะดีครับ
See you again

"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Wed Mar 25, 2009 6:14 pm    ชื่อกระทู้: คนเปนถึงคนตาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม...

ขออัลลอฮฺตอบแทนความดีงามแก่บังอับดุลลอฮฺ

จากข้อความของซุนนะฮฺคุงก็ยังวนเวียนกับความไม่เข้าใจหลักการออกหุกุ่มเช่นเดิม...
แต่ก็ยินดีที่มีการค้รคว้าหาเพิ่มเติม อย่าน้องก็ได้หาซะบับขององค์การ..ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี
-------------------------------------------------------------------------
ความเดิมนะครับ

"ท่านอัลลามะฮฺ อิบนุ อบีย์อิซ อัลหะนะฟีย์ และ ชัยค์ ซอแลห์ อาลชัยค์ ได้ให้ทรรศนะว่า แนวคิดที่ปฎิเสธแบบสุดโต่งเกี่ยวกับประเดนการได้รับประโยชน์ของคนตายจากการ พากเพียรที่ดีของคนเป็นเป็นแนวคิดของลัทธิบิดอะฮฺ และท่านชัยค์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า และเป็นทรรศนะของนักวิชาการร่วมสัมยบางกลุ่มของชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺที่ไปเห็น พ้องกับความคิดของพวกเขา"
ชัรห์ อัลกะกีย์ดะฮฺ ชัยค์ ซอและห์ อาลชัยค์ หน้าที่ 589 และ อิบนุ อบีย์อิซ อัลหะนะฟีย์ หน้าที่ 300
พวกเขาได้อ้างหลักฐานต่อไปนี้เพื่อสนับสนุนแนวคิดของพวกเขา
ความว่า" และไม่มีสิ่งใดที่มุนษย์จะได้รับ ยกเว้นในสิ่งที่เขาได้ขนขวายไว้" อันนัจม์ 39

ในอายะฮฺนี้ประกอบด้วย 3 นัยยะฮฺ

1.1 นัยยะฮฺของการถูกยกเลิก (ตัฟซีรอัลบะฆอวีย์เล่ม7หน้าที่416, อุมดะฮฺ อัลกอรีย์ ของอัลอัยนีย์ เล่ม3 หน้าที่118, อัตตัซกีเราะฮฺ อิมามกรูฎูบีย์ หน้าที่100)

มีรายงานจากอิบนุอับบาส รอฎิยัลลอฮุ อันฮฺ ว่า โองการดังกล่าวถูกยกเลิกด้วยกับโองการที่ 21 ซูเราะฮฺ อัฎฎูร คือ
ความว่า " และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะได้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขา และเราจะไม่ให้การงานของพวกเขาลดหย่อนจากพวกเขาแต่อย่างใด แต่ละคนย่อมได้รับประกันในสิ่งที่เขาขนขวายเอาไว้"

1.2 นัยยะฮฺของการตะวีล(ตัฟซีรอัลบะฆอวีย์เล่ม7หน้าที่416, อุมดะฮฺ อัลกอรีย์ ของอัลอัยนีย์ เล่ม3 หน้าที่118-119, อัตตัซกีเราะฮฺ อิมามกรูฎูบีย์ หน้าที่140)

ตามการตีความของ อัรรอเบียะฮฺ อิบนุ อานัส ได้อธิบายคำว่า "มนุษย์" ในองค์การนี้หมายถึง "กาฟิร" โองการนี้จึงมีความหมายว่า "และมนุษย์ที่เปนกาฟิร จะไม่ได้อะรัยเลยนอกจากสิ่งที่เขาได้ขนขวายเอาไว้" ดังนั้นสำหรับผู้ศรัธทาก็จะได้รับสิ่งที่ขนขวาย และสิ่งที่ผู้อื่นได้ขนขวายให้กับเขา"
ส่วนท่าน อิกริมะฮฺได้อธิบายโองการนี้ว่า "ดังกล่าวหมายถึงกลุ่มชนของนบีย์อิบรอฮีม และนบีย์มูซา อะลัยฮิมัสลาม แต่สำหรับประชาชาตินี้นั้นพวกเขาได้รับในสิ่งที่พวกเขาพากเพียรไว้ และสิ่งที่บุคคลอื่นได้พากเพียรให้กับเขา" ตัฟซีรอัลบะฆอวีย์ เล่ม 7 หน้า 416

1.3 นัยยะฮฺที่คงโองการนี้ไว้อย่างเดิม คือไม่ถูกยกเลิก และไม่ถูกตีความ ดังนั้นคำว่า"มนุษย์" คือมนุษย์ทั่วไปทั้งที่เป็นมุสลิม และกาฟิร ส่วนกาฟิรในที่นี้จะไม่พูดถึง จะพูดถึงในส่วนของมุสลิม ดังที่ อุลามะฮฺ อะฮลุซซุนนะฮฺได้อธิบายไว้

1.3.1 อิมามนะวะวีย์ และอิมาม อิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์ และนักวิชาการอาวุโสอื่นๆ ได้ระบุว่า โองการนี้เป็นประเภทหลักฐานรวม(อาม) และถูกจำกัดเนื้อความด้วยหลักฐานเฉพาะเรื่อง เช่น ดุอาอฺ ซอดะเกาะฮฺ ศีลอด การทำหัจญ์ การปล่อยทาส เป็นต้น ซึ่งตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ถือว่าหลักฐานรวมทั่วไป(อาม)จะไม่ค้านกับหลักบานเฉพาะเรื่อง(คอศ)อย่างแน่ นอน
ชัลหุ้ลนะวาวีย์ อะลา ซอหีหฺมุสลิม เล่ม6 หน้าที่ 20 , ฟัตหุ้ลบารีย์ อิบนุหะญัร เล่มที่8 หน้า331

1.3.2 ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมิยะฮฺ รอหิมะฮฺหุ้ลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
"อัลกรุอานได้กล่าวถูกต้องแล้ว เนื่องจากมนุษย์ย่อมมีสิทธฺ์ในสิ่งที่เขาขนขวายไว้ เชนเดียวกันกับเขามีกรรมสิทธ์ในสิ่งนั้น ซึ่งเปนสิ่งที่ได้มาจากการพากเพียรของเขา และส่วนที่ผู้อื่นขนขวายไว้ ก็คือสิทธฺ และกรรมสิทธ์ของผู้อื่น ไม่ใช่ของเขา... แต่ว่าดังกล่าวนี้ ไม่มีข้อห้ามใดๆที่ผู้ตายจะได้รับประโยชน์จากความพากเพียรของผู้อื่น เสมือนกับชายคนหนึ่งได้รับผลประโยชน์จากสิ่งที่คนอื่นได้ขนขวายไว้"
มัจญ์มัวะอฺ ฟัตวา เล่ม24 หน้า 312

1.3.4 ท่านอัลลามะอฺ อิบนุ อบีลอิซ อัลหะนะฟีย์ ได้กล่าวว่า
"แท้จริงอัลกรุอานไม่ได้ปฏิเสธการที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะได้รับประโยซน์จากการขนขวายของคนอื่น เพียงแต่อัลกรุอานโองการนี้ปฎิเสธการมีกรรมสิทธ์ของบุคคลหนึ่งเหนื่อสิ่งที่บุคคลอื่นได้ขนขวายไว้ ซึ่งข้อแตกต่างของสองประเดนนี้ชัดเจน ไม่มีสิ่งซ่อนเร้น ดังนั้นพระองค์อัลลอฮฺได้ทรงบอกให้ทราบว่า เขา(มนุษย์)จะไม่มีกรรมสิทธฺ์ ยกเว้นในสิ่งที่ตัวเขาเองขนขวายไว้ ส่วนสิ่งที่เป็นการขนขวายของบุคคลอื่น มันก็เป็นกรรมสิทธฺ์ของเจ้าของมัน ซึ่งหากเขาประสงค์จะเสียสละให้กับบุคคลอื่น และหากเขาประสงค์เขาก็จะคงมันไว้เป็นกรรมสิทธ์ของตัวเขาเอง"
ชัรหุลอะกีย์ดะฮฺ อัฎฎอหาวีย์ยะฮฺ หน้า 670

1.3.4อัลลามะฮฺชัยค์ มุหัมมัด ซอและห์ อัลอุษัยมีน ได้กล่าวถึงความหมายขององค์การนี้ว่า
"ความหมายขององค์การที่ว่า และไม่มีสิ่งใดที่มนุษย์จะได้รับยกเว้นในสิ่งที่เขาได้ขนขวายไว้ วัลลอฮุอะอฺลัม ความหายมันก็คือ มนุษย์ไม่มีกรรมสิทธฺ์เหนือสิ่งที่คนอื่นได้ขนขงวายไว้ และในทำนองเดียวกันเขาก็จะไม่ได้รับบาปโทษของผู้อื่นด้วย แต่มิได้หมายความว่าผลบุญการกระทำของคนอื่นจะไปไม่ถึงเขา เนื่องจากมีตัวบทมากมายที่ระบุว่า ผลบุญการกระทำของคนอื่นไปถึงอีกคน และเขาจะได้รับประโยชน์ หากผู้ที่มอบให้มีเจตนาให้แก่เขา"
มัจญ์มัวะฟะตะวา วะรอซะเอล เล่มที่2 หน้าที่ 242 ตอบคำถามที่ 363
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉะนั้นที่คือแนวทางและคำกล่าวต่างๆจากบรรดานักวิชาการอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมะอะฮฺให้เราได้พิจารณาไต่รตรองให้เราเข้าใจในปัญหาโดยภาพที่ชัดเจนที่มีมาแต่เดิม และเช่นเดียวกันหากเราเป็นผู้ตั้งกฎกติกาขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีสารธารแห่งวิชาการที่โยงใยกันมา 1400 กว่าปีแร้ว ย่อมเข้าข่ายแนวคิดใหม่ และเข้าซองตามที่เวปสติวเดนว่าไว้อย่างมิอาจโต้ตอบได้อย่างสิ้นเชิง

และหลังจากนี้จะได้นำมาเพิ่มเติมครับ

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Mr.shot
บุคคลทั่วไป






ตอบตอบ: Wed Mar 25, 2009 9:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[B]นายช้อตก็ต้องมอัฟท่านอบูชูเบรและนายดับและทุกคนที่ร่วมกระทู้ด้วยน่ะครับเด้อหลาย sorry [/B]
กลับไปข้างบน
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Mar 25, 2009 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَأَن لَّيْسَ لِلْإِنسَانِ إِلَّا مَا سَعَى

[53.39] "และมนุษย์จะไม่ได้อะไรเลย นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายเอาไว้" – อัลนัจมฺ/39

ท่านอัชเชากานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อรรถาธิบายอายะฮข้างต้นว่า


والمعنى ليس له إلا أجر سعيه وجزاء عمله ولا ينفع أحداً عمل أحد.. وهذا العموم مخصص بمثل قوله سبحانه ( ألحقنا بهم ذرياتهم ) وبمثل ما ورد في شفاعة الأنبياء والملائكة للعباد ومشروعية دعاء الأحياء للأموات ونحو ذلك ولم يصب من قال: إن هذه الآية منسوخة بمثل هذه الأمور فان الخاص لا ينسخ العام بل يخصه فكل ما قام الدليل على أن الانسان ينتفع به وهو من غير سعيه كان مخصصا لما في هذه الآية من العموم


และความหมายคือ มนุษย์จะไม่ได้รับนอกจากผลบุญที่เขาขวนขวาย และการตอบแทนจากการกระทำของเขาเท่านั้น และการกระทำ
ของ บุคคลหนึ่งย่อมไม่ก่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น และนี่คือการที่ระบุไว้กว้างๆ ที่ถูกจำกัดเฉพาะ ด้วยคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ
ซุบฮานะฮู วะตะอาลาที่ว่า “ เราให้ลูกหลานของพวกเขาได้อยู่ร่วมกับพวกเขา” และเช่นสิ่งที่มีรายงานว่าบรรดานบี และบรรดามลาอิกะฮฺ
ได้ให้การช่วยเหลือ (ชะฟาอะฮ) แก่บ่าวของอัลลอฮ และมีบัญญัติใช้ให้คนเป็นขอดุอาให้แก่คนที่ตายและในทำนองนั้น

ดังนั้น ผู้ที่กล่าวว่าอายะฮนี้ถูกยกเลิกด้วยสิ่งเหล่านี้นั้นย่อมไม่ถูกต้อง เพราะอายะฮที่มีความหมายจำกัดความ (الخاص ) ย่อมไม่
สามารถมายกเลิกอายะฮฺที่มีความหมายแบบกว้างๆ(العام )ได้ แต่จะจำกัดความหมายให้แคบลงเท่านั้น ดังนั้นทุกสิ่งที่มีหลักฐานว่า
มนุษย์จะได้รับประโยชน์ ทั้งที่ตนเองไม่ได้ขวนขวายไว้ ก็ถือเป็นการจำกัด (หรือยกเว้น) หลักการที่อายะฮฺนี้ระบุไว้แบบกว้างๆ(العموم )
- ดู ฟัตหุ้ลเกาะดีร เล่ม 5 หน้า 114

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DeK_Fa
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/03/2009
ตอบ: 3


ตอบตอบ: Thu Mar 26, 2009 7:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[img]http://[/www.picamatic.com/show/2008/06/04/09/383219_311x180.gifimg]
_________________
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DeK_Fa
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/03/2009
ตอบ: 3


ตอบตอบ: Thu Mar 26, 2009 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


_________________
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Fri Mar 27, 2009 11:40 am    ชื่อกระทู้: ..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation
จากข้อความของซุนนะฮฺคุงก็ยังวนเวียนกับความไม่เข้าใจหลักการออกหุกุ่มเช่นเดิม...

ข้อความของผมคงทำให้บังอบูของผมไม่ค่อยพอใจนักถึงกับต่อว่าหาว่าผมไม่เข้าหลักการหากเป็นเช่นนั้นผมต้องขอมะอัฟด้วย ผมแค่อยากจะเข้ามาเสนอความคิดเห็นเฉยๆ ซึ่งผมก็เสนอแนะไปตามหลักการที่ผมเข้าใจพร้อมยกคำกล่าวของนักวิชาการที่เขาอธิบายเรื่องนี้ ไม่คิดว่าบังจะไม่พอใจผมขนาดนี้
Crying or Very sad Crying or Very sad Sad Sad
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abu-zubair
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/03/2009
ตอบ: 44


ตอบตอบ: Fri Mar 27, 2009 4:33 pm    ชื่อกระทู้: ยังไม่เข้าใจเหมือนเดิม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม

ก่อนอื่นขอเคลียล์ซุนนะฮฺคุงก่อนนะครับ

ข้อความของผมคงทำให้บังอบูของผมไม่ค่อยพอใจนักถึงกับต่อว่าหาว่าผมไม่เข้าหลักการหาก เป็นเช่นนั้นผมต้องขอมะอัฟด้วย ผมแค่อยากจะเข้ามาเสนอความคิดเห็นเฉยๆ ซึ่งผมก็เสนอแนะไปตามหลักการที่ผมเข้าใจพร้อมยกคำกล่าวของนักวิชาการที่เขา อธิบายเรื่องนี้ ไม่คิดว่าบังจะไม่พอใจผมขนาดนี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ซุนนะฮฺคุงไม่เข้าใจหลักการเช่นเดิม...เป็นการแนะนำ และแนะแนว ไม่ได้เป็นการต่อว่าแต่อย่างใด และบังไม่ได้โกรธซุนนะฮฺคุงด้วย และบังยังบอกว่าอย่างน้อยซุนนะฮฺคุงก็ได้เริ่มแร้วในการพยายามเรื่องความรู้ ในการหาซะบับอายะฮฺมา มิใช่รึ? แต่นั่นคือข้อมูลดิบนะครับ ยังไม่ได้สู่การวิเคราะห์ และสังเคราะห์เลยนะครับ จึงไม่สามารเป็นข้อชีขาดได้ เพราะบังเคยบอกไปแร้วว่าการหุกุ่มหรือชี้ขาดปัญหาศาสนานั้นจะบุ่มบ่ามและหละหลวมไม่ได้ บังจึงพยายามให้น้องซุนนะฮฺคุงได้เห็นข้อมูลจากทุกๆฝั่งนะครับ..แล้วแต่ละฝั่งก็คือแนวหน้าอะฮฺลุซซุนนะฮฺด้วย แต่ด้วยความที่อุลามาอฺเข้าใจไม่เหมือนซุนนะฮฺคุง มันกลายเปนว่าเค้าเหล่านั้นฝักใฝ่บิดอะฮฺหรือครับ นี่คือคำถามงัย?


วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Fri Mar 27, 2009 4:36 pm    ชื่อกระทู้: ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation



หลักการขั้นพื้ฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้(โปรดอ่านช้าๆ)
พระองค๋อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

"และแน่นอนมนุษย์จะไม่ได้รับ(ประโยชน์หรือผลบุญใดๆ)นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้"(อัน-นัญมุ โองการที่39)

มุสลิมทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือไม่ก็ตามย่อมเข้าใจได้โดยสัญชาตญาณว่า นี่คือความยุติธรรมของอัลลอฮ์ซ.บ. ที่ทรงประทานให้แก่ปวงบ่าวอย่างเสมอ

ภาคและเท่าเทียมกันไม่มีใครเสียเปรียบต่อกันไม่ว่าเขานั้นจะเป็นคนรวยหรือจนก็ตาม นั่นคือผู้ใดสร้างบาปไว้ในโลกนี้เขาต้องได้รับผลแห่งกรรมด้วยตัวเอง

จะมอบให้ผู้อื่นรับแทนมิได้ ทำนองเดียวกันมนุษย์จะไม่ได้รับผลแห่งความดีนอกจากที่เคยกระทำไว้ดังที่พระองค์ทรงยืนยันไว้ในซูเราะฮ์ยาซีน โองการที่54ว่า

"แล้วในวันนั้น จะไม่มีชีวิตใดถูกอยุติธรรม และจะไม่ถูกตอบแทน(ไม่ว่าบุญหรือบาป)นนอกจากสิ่งที่เจ้าได้เคยกระทำไว้เท่านั้น"

ท่านอิบนุกะษีร นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดอีกท่านหนึ่งกล่าวอธิบายว่า

"คือ เสมือนที่มนุษย์มิต้องรับภาระ(บาป)ของผู้อื่นฉันใด ทำนองเดียวกันเขาจะมิได้รางวัล(ผลบุญ)ใดๆนอกจากที่เขาได้เคยกระทำไว้แก่ตนเท่านั้น"

(จากตัฟซีร อิบนุกะษีร เล่มที่4 หน้า276)

สรุปแล้วความหมายของโองการบทนี้อันเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของอิสลามคือผลจากการกระทำของบุคคลหนึ่งไม่ว่าด้านดีหรือชั่ว ย่อมจะไม่ส่งผลถึงบุคคลอื่น
ในวันแห่งการตอบแทนนอกจากผลงานของตัวเขาเองดังที่ผมได้กล่าวมาแร้วกั๊บป๋ม

และนี่คือทัศนะของญุมฮูรอูลามาอ์ ไม่ว่าจะเป็นนักมุหัดดีษีน นักวิชาการมุฟัซซีรีน แม้กระทั่งท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ และนักวิชาการที่สังกัดมัซฮับของท่านโดยมาก

ดังที่อ.อะสันได้นำเสนอไปแล้วบ้าง

จะอย่างไรก็ตามพระองค์อัลลอฮ์ก็ทรงเปิดโอกาสให้แก่พวกเราๆที่เป็นอุมมะฮ์ของท่านนบีซล. ในสิ่งซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระองค์เคยเปิดโอกาสให้กับประชาชาติ

ยุคก่อนๆ นั่นคือการยอมให้ผู้ตาย ได้รับประโยชน์บางประการ จากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ อันถือได้ว่าเป็นการยกเว้นให้ จากโองการอันเป็นพื้นฐานเรื่องบาปบุญดังกล่าว

การยกเว้นนี้เรียกกันตามศัพท์วิชาการว่า"ตัคซีร"(ยกเว้นหรือจำกัด)จากความหมายกว้างๆดังกล่าว ดังนั้นการกระทำอื่นใดที่มิได้อยู่ในข่ายของการยกเว้นนี้ให้ถือว่า

ต้องคงไว้ตามหลักการเดิมของโองการนั้น.
....ผมพร่ามมาถูกป่าวครับ????

สิ่งที่ผู้ตายจะได้รับประโยชน์จากการกระทำของคนเป็นที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงอนุโลมให้จะแบ่งเป็น2ลักษณะคือ
1) จะได้รับประโยชน์จากการขออภัยโทษให้ซึ่งผู้ที่ขอให้จะเป็นใครก็ได้ดังหลักฐานจากอัลกุรอานที่ว่า ความว่า.."บรรดาผู้ซึ่งมาภายหลังพวกเขา พวกเขา(เหล่านั้น)

จะกล่าวว่า....โอ้องค์อภิบาลของเรา โปรดอภัยโทษแก่เราและแก่พี่น้องของพวกเราซึ่งพวกเขามีศรัทธาก่อนหน้าพวกเราด้วยเถิด" (ซูเราะฮ์อัลหัชร์ โองการที่10)

2) จะได้รับประโยชน์จาการ "ทำแทน" ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ อันได้แก่

2.1 เรื่องทางโลก คือหนี้สิน ที่ผู้ตายค้างชำระไว้เรื่องนี้เท่าที่ดูจากหลักฐาน อนุญาติให้ผู้ใดก็ได้ชำนะหนี้แทนผู้ตาย ไม่จำเป็นจะต้องเป็นทายาทหรือผู้ใกล้ชิด

ดังที่มีบันทึกโดยท่านอิบนุมาญะฮ์ ท่านอะห์มัด ท่านอัลบัยฮะกีย์ ท่านอัลฮากิม ท่านอบูดาวูด ท่านอันนะซาอีย์ จากศอหาบะฮ์หลายท่าน เช่น ท่านซะอ์ บิน อัลอัฏ

วัล ท่านสะมุเราะฮ์ บิน ญุนดุบ ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ ดังที่บังอะบูของผมได้นำเสนอไปบ้างแล้ว

2.2 เรื่องเกี่ยวกับอีบาดะฮ์ที่วาญิบบางอย่าง คือ การทำฮัญจ์และการถือศีลอดนะซัร(ศีลอดเนื่องจากบนบาน) ซึ่งเป็นข้องบังคับหรือภาระที่ผู้ตายจำเป็นต้องทำขณะมี

ชีวิตอยู่ แต่เกิดตายเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงอนุญาติให้ทายาทหรือผู้ใกล้ชิด ทำแทน ให้ผู้ตายได้ดังหะดีษที่บังอะบูนำเสนอไปแล้วเช่นกัน

2.3 เกี่ยวกันเรื่องการศอดากอฮ์ มีบันทึกจากท่านบุคอรีย์ มุสลิมและท่านอื่นๆอีกมากมาย เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านร่อซูล ซ.ล. อนุญาติให้เฉพาะ"บุตร" ทำศอดากอฮ์แทน

บิดา-มารดา ที่ล่วงลับไปแล้วได้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าท่านจะเคยอนุญาติให้บุคคลอื่นที่มิใช่บุตรทำศอดากอฮ์แทนผู้ตายแต่อย่างใด
สรุปแล้วสิ่งที่ผู้ตายจะได้รับประโยชน์จากการกระทำของคนเป็นตามหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดีษศอเหียะมีดังนี้

1) การขอพรให้คนมุสลิม อันนี้ใครขอก็ได้

2) การชดใช้หนี้สินแทนให้ (ใครก็ได้)

3) การศอดากอฮ์แทน (อันนี้ตามหลักฐานที่ถูกต้องเป็นเรื่องระหว่างบิดา-มารดากับบุตรคนอื่นไม่เกี่ยว)

4) สิ่งที่ผู้ตายเคยนะซัร บนบานไว้อันได้แก่ ฮัญจ์หรือการถือศีลอด แต่เกิดเสียชีวิตเรื่องนี้ทายาทหรือวะลีย์ทำแทนได้


และที่น่าสังเกตคือ ประโยชน์ ที่ผู้ตายจะได้รับจากการกระทำของคนเป็น ดังที่พนะองค์อัลลอฮ์อนุโลมไว้ ไม่มีข้อความใดกล่าวถึงการ "ยก" หรือ "อุทิศผลบุญ"

จากการทำความดีของตนเองให้แก่ผู้ตายดังที่มีการปฏบัติกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ "ภาระหรืองาน" ของผู้ตายที่ละทิ้งไว้ให้เป็นภาระของคนเป็นต้องทำแทนให้

ดังนั้นประโยชน์ที่ผู้ตายจะได้รับคือ "การหลุดพ้นบาป" เนื่องจากจ่ายหนี้สินแทนให้ ถือศีลอดหรือทำฮัญจ์แทนให้โดยคนเป็น ดังกล่าว

ส่วนเรื่องการขอดุอาให้ ก็มิใช่เป็นเรื่องของการอุทิศ หรือ ยกผลบุญให้ ประโยชน์ที่ผู้ตายจะได้รับจากการขอดุอาคือ ความเมตตาหรือการอภัยโทษของอัลลอฮ์

ต่อผู้ตามที่ถูกวิงวอนขอให้

สำหรับเรื่องที่บุตร ทำศอดากอฮ์แทนบิดามารดานั้นกรณีนี้น่าจะเป็นเพียงเรื่องเดีบวที่ผู้ตายจะได้รับผลบุญจากคนเป็น แต่มีข้อจำกัดด้านตัวผู้กระทำให้ว่า ต้องเป็นบุตร

เท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้วจะสรุปได้ว่า

1) สิ่งที่ผู้ตายได้รับประโยชน์ จากการกระทำของคนเป็นนั้น มิใช่จะได้รับทุกเรื่องที่คนเป็รทำให้ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงยกเว้นให้เท่านั้น

2)วิธีการ ทำประโยชน์แก่ผู้ตายคือ" การทำแทนให้" .ในภาระของผู้ตายเองที่ได้ละทิ้งไว้ก่อนตาย เช่นหนี้สิน หรือเรื่องที่ศาสนาส่งเสริมคือการศอดากอฮ์....

3)ส่วนวิธีการ"ยก" หรือ "อุทิศ" ผลบุญที่คนเป็นได้กระทำไว้เพื่อตนเองไปให้แก่ผู้ตายนั้น ผมขอยืนยันว่า ผมยังไม่เคยเห็นหลักฐานจากอัลกุรอาน อัลหะดีษ อ.อะ

สันเคยเห็นป่าวครับ บอกหน่อย หรือแม้การกระทำของบรรพชนยุคแรก

รู้สึกว่ามัซฮับฮานาฟีย์เองก็ได้จะแนก "วิธีการ" ที่คนเตายจะได้รับประโยชน์จากการกระทำของคนเป็นไว้ 2 วิธี คือวิธีอุทิศและการทำแทน ดังที่กล่าวมาแร้ว

ต่อไปมาดูมัซฮับชาฟีอีย์ของบังอะบูอัซซุเบรเรากัน

1) ท่านอิบนุกุดามะฮ์ได้บันทึกในหนังสือ อัลมุฆนีย์ ของท่าน เล่ม 2 หน้า 428 ว่า

"ท่านอีหม่ามชาฟีย์กล่าวว่า สิ่งอื่นจากหัญจ์ที่วาญิบ อื่นจากศอดากอฮ์ อื่นจากขอดุอาอิสติคฟารแก่ผู้ตายแล้ว ไม่ต้องทำให้ผูตายอีก และผลบุญของมันก็ไม่ถึงเขาด้วย
เพราะอัลลอฮ์ตรัสว่า แน่นอนมนุษย์ไม่ได้รับประโยชน์ใดๆนอกจากที่เขาได้ขวนขวายไว้เท่านั้น"

2)ท่านอีหม่ามนะวาวีย์ ได้กล่าวใน หนังสือ ชัรห์ มุสลิม ของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 90 ว่า

"มีนักวิชาการหลายกลุ่มจากนักวิชาการที่มีทัศนะว่า ผลบุญอีบาดะฮ์ ทุกอย่าง ไม่ว่าการนมาซ การถือศีลอด การอ่านอัลกุรอาน และอื่นจะถึงไปยังผู้ตายแต่ทุกๆทัศนะ

ล้วนฎออีฟทั้งสิ้น
ซึ่งหลักฐานของพวกเขาคือการกิยาสกับเรื่องการขอดุอา การศอดากอฮ์ และการทำฮัญจ์ ส่วนหลักฐานของท่านอีหม่ามชาฟีอีย์และบรรดาผู้มีทัศนะ

ตรงกับท่านก็คือโองการที่ว่า แน่นอนมนุษย์ไม่ได้รับประโยชน์ใดๆนอกจากที่เขาได้ขวนขวายไว้เท่านั้น
"

3) ท่านอิซซุดดีน อิบนุ อับดิสสาลาม นักวิชาการแห่งมัซฮับชาฟีอีย์อีกท่านหนึ่งได้กล่าวในหนังสือ อัลฟะตาวีย์ ของท่านเล่มที่ 24 หน้า 2 ตีพิมพ์ ค.ศ.1692 ว่า

"และผู้ใดทำความดีเพื่ออัลลอฮ์แล้วอุทิศผลบุญดังกล่าวให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่หรือผู้ที่ตายไปแล้ว ผลบุญดังกล่าวจะไม่ถึงไปยังผู้ถูกอุทิศให้ ทั้งนี้เพราะ "มนุษย์ไม่ได้รับ

ประโยชน์ใดๆนอกจากที่เขาได้ขวนขวายไว้เท่านั้น ดังนั้นผู้ใดเรื่มต้นทำความดีโดยเจตนาว่า จะทำแทนแก่ผู้ตายผลบุญนั้นหาถึงผู้ตายไม่ นอกจากสิ่งที่ศาสนา

มีบัญญัติยกเว้นให้ อย่างเช่น การศอดากอฮ์ การถือศีลอด การทำฮัญ แทนกัน เท่านั้น"

4) ท่านอัชเชากานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ นัยลุลเอาฏอร ของท่าน เล่มที่ 4 หน้า142 ว่า

"และบรรดาหะดีษต่างๆในบทนี้ล้วนแสดงว่า การศอดากอฮ์ของบุตรนั้น จะส่งผลถึงบิดามารดาหลังจากตายไปแล้ว และผลบุญของมันจะถึงไปยังท่านทั้งสอง ดังนั้น

หะดีษเหล่านี้จึงไป จำกัด ความหมายกว้างๆของโองการที่ว่า แน่นอนมนุษย์ไม่ได้รับประโยชน์ใดๆนอกจากที่เขาได้ขวนขวายไว้เท่านั้น แต่ ไม่ปรากฏในบรรดาหะ

ดีษเหล่านี้นอกจากผลการศอดากอฮ์ของบุตรเท่านั้น
อนึ่งการศอดากอฮ์ ของผู้มิใช่บุตรนั้น ตามรูปการณ์จากความหมายกว้างๆจากอัลกุรอ่านคือผลบุญจะไม่ถึงไป
ยังผูตาย" ...... จากข้อมูลบางส่วนที่ผมนำเสนอเท่าที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานความรู้อันน้อยนิดนี้ให้กับผม คิดว่าน่าจะทำให้ท่านผู้มีใจเป็นธรรมทุกๆท่าน

เข้าใจได้แล้วว่าความหมายที่แท้จริงและที่ถูกต้องของโองการดังกล่าวตามทัศนะของนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางนั้นเป็นอย่างไร??????

อ.อะสันว่าที่ผมพูดมามีส่วนถูกมากน้อยแค่ไหนครับ????


See you again

Very Happy Laughing Shocked Confused Very Happy salam Sad Smile
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14  ถัดไป
หน้า 10 จากทั้งหมด 14

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.14 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ