ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
ขอเชิญร่วมสร้างมัสยิด
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ขอเชิญท่านบริจาคสมทบทุน
โครงการก่อสร้างอาคาร
มัสยิดอนุรักษ์



โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

ชื่อบัญชี
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ธนาคาร
กรุงไทย สาขาย่อยประเวศ
ประเภท กระแสรายวัน
เลขที่ 188 – 6 – 00316 – 5

>>>..ร่วมบริจาคคลิ๊ก!..<<<

ญะซากุมุ้ลลอฮุคอยร็อน


เมนูหลัก
 หน้าแรก(ข่าวสาร) :
 หน้าแรก
 ค้นหา
 หัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ
 สำหรับสมาชิก :
 รายนามสมาชิก
 เข้าสู่ระบบ(สมัครสมาชิก!)
 ร่วมด้วยช่วยกัน :
 แนะนำบอกต่อ
 กระดานเสวนา
 
 สถิติของผู้เข้าชม :
 ยอดฮิตติดอันดับ
 แบบสำรวจ
 คู่มือและเอกสาร :
 ถาม-ตอบ
 วารสารประจำเวบ
 บริการอื่นๆ :
 ติดต่อลงโฆษณา
 ติดต่อเรา
 ห้องแสดงภาพ
 ดาวน์โหลด
 Mozaks_News

 เมนูทั่วไป :
เนตคุณแรงแค่ไหน!
ล้อเลียนการเมือง
เพิ่มเว็บนี้ใน Favourites !
เมล์ด่วนสายตรง
19:25:00
วัน : 21-12-2024
GMT : +0700

สาระวิชาการ
วิชาการ :
ศรัทธาและยึดมั่น
อัลฮะดีษ
จริยธรรมอิสลาม
ประเพณีและความเชื่อ
ประวัติศาสตร์อิสลาม
เหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน
อุลูมุ้ลฮะดีษ
ตัฟซีรอัลกุรอาน
คอลัมน์ประจำ :
บทความทั่วไป
ตรรกวิทยา

ดาวน์โหลด

  1: ถาม-ตอบ
ดาวน์โหลด 299 ครั้ง

  2: ขุดโคตรชีอะ
ดาวน์โหลด 184 ครั้ง

  3: การทำแทน
ดาวน์โหลด 108 ครั้ง

  4: ศรัทธาแบบอิสลาม
ดาวน์โหลด 209 ครั้ง

  5: สัญญาณวันสิ้นโลก
ดาวน์โหลด 250 ครั้ง

  6: หลักยึดมั่น
ดาวน์โหลด 146 ครั้ง

..ดูทั้งหมด..

เว็บไซต์อนุรักษ์ซุนนะห์

เผยข้อเท็จจริงลัทธิชีอะห์:





แนวร่วมต่อต้านรอฟิเฏาะ

ภาษาอาหรับ

www.d-sunnah.net
www.fnoor.com
www.albrhan.com
www.wylsh.com
www.khominy.com
http://dhr12.com
www.albainah.net
www.ansar.org
www.almanhaj.com
www.almhdi.com

ภาษาอังกฤษ

www.ahlelbayt.com


หนังสือใหม่
ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์
ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


ข่าวสาร
หนังสือพิมพ์ไทย :
ไทยรัฐ
เดลินิวส์
กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวสด
ผู้จัดการออนไลน์
มติชน
ประชาไทย
ไทยนิวส์
ศูนย์ข่าวอิศรา
หนังสือพิมพ์อาหรับ :
الاهرام
الجمهورية
الوطن
القبس
البيان
الاتحاد
الرأي العام
الشرق الأوسط
السياسة
دار الخليج
ตำราศาสนาภาษาอาหรับ :
almeshkat
almaktba
kribani
sahab
internet radio
จส.100
คลื่นประชาธิปไตย


บทความเรื่อง ฟิร๊อก กลุ่มแนวคิดบิดเบือน
ตอนชีอะห์อิหม่ามสิบสอง

อย่าให้กะลิมะห์ชะฮาดะห์ของผู้ใดมาล่อลวงเรา
อิสลามไม่มีนิกาย
ข้อแตกต่างด้านโครงสร้างศาสนาของซุนนะห์กับชีอะฮ์
อัลกุรอานและฮะดีษตามความเชื่อของชีอะฮ์
อายะห์อัลกุรอานที่ขาดหาย
"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ครอบครัวและวงศ์วานของท่านนบี
ภรรยาของนบีคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์"
ฮะดีษซะก่อลัยน์ สิ่งหนักทั้งสอง
ใครคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ที่ระบุในซูเราะห์อัลอะห์ซาบ อายะห์ที่ 33
ฮะดีษกิซาอ์
ท่านอาลีและครอบครัว จากซูเราะห์อัซชุอะรออ์ อายะห์ที่ 23
"อิมามะห์"การศรัทธาต่ออิหม่าม
คำสั่งแต่งตั้งอิหม่าม
หลักฐานแต่งตั้งอิหม่าม จากซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 55
อายะห์"อัตตับลีฆ" ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 67
มุบาฮะละห์
ฮะดีษ "มันซีละห์" เปรียบท่านนบีกับอาลีดั่งมูซากับฮารูณ
ละครฉากนี้ที่ "ฆ่อดีรคุม"
คำตอบจากท่านอาลี
อาลีช่วยด้วย !!
อาลี หรือ เยซู
นครแห่งความรู้
ฮุเซนมาจากฉันและฉันก็มาจากฮุเซน
ศอฮาบะห์ในมุมมองของชีอะห์
"อัศฮาบีย์" ประชาชาติของฉัน
ชีอะห์ใส่ร้ายศอฮาบะห์ว่าเป็นมุนาฟิก
พฤหัสบดีวิปโยค
จุดยืนของท่านอาลีที่มีต่อท่านอบูบักร์และท่านอุมัร
เมื่อท่านอาลีประณามและสาปแช่งชีอะฮ์

รายงานความคืบหน้าการนัดสนทนาระหว่างซุนนะห์กับชีอะฮ์


Moradokislam.org FAQ (ถาม/ตอบ)



ประเภท: หน้าแรก ->

คำถาม
·  คำถามที่ 1 คนต่างศาสนิกให้สลามกับเรา วายิบต้องรับสลามเขาหรือไม่ ?
·  คำถามที่ 2 ผีในศาสนาอิสลามมีหรือไม่อย่างไร ช่วยอธิบายด้วยครับ แล้วถ้าคนศาสนาอื่นถามเกี่ยวกับเรื่องผี เราจะตอบอย่างไรครับ ? โดย คุณอับดุลลอฮ์ สมาชิก moradokislam.net
·  คำถามที่ 3 อยากถามว่าการดูหมอ ดูไพ่ สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไรครับ โดยคุณอับดุลลอฮ์ สมาชิก moradokislam.net
·  คำถามที่ 4 ผู้หญิงสามารถเข้ากุโบร์ได้หรือไม่ ? จากคุณ sahhh สมาชิก moradokislam.net
·  คำถามที่ 5 คนพุทธทำบุญให้แก่คนมุสลิมได้หรือไม่ จากคุณอับดุลลอฮ์ สมาชิก moradokislam.net
·  คำถามที่ 6 สะลัฟและค่อลัฟคือใคร
·  คำถามที่ 7 เกี่ยวกับฮะดีษ
·  คำถามที่ 8 ไดโนเสามีจริงหรือเปล่า ?
·  คำถามที่ 9 จานผีกับมนุษย์ต่างดาว
·  คำถามที่ 10 มรดกของคนกาเฟร
·  คำถามที่ 11 ใครบ้างที่ได้เข้าสวรรค์
·  คำถามที่ 12 จะช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมได้อย่างไร
·  คำถามที่ 13 ดิฉันเป็นชาวพุทธแต่รักกับมุสลิมแนะนำหน่อยคะ
·  คำถามที่ 14 มันติก หรือ งงเต็ก
·  คำถามที่ 15 อยากเป็นมุสลิมทำอย่างไร
·  คำถามที่ 16 เมาลิด
·  คำถามที่ 17 งบประมาณของรัฐ
·  คำถามที่ 18 ซัดดาม ฮุเซนเป็นมุสลิมหรือไม่
·  คำถามที่ 19 มุสลิมกับการสวัสดีและยกมือไหว้
·  คำถามที่ 20 รับน้อง
·  คำถามที่ 21 พ่อกับแม่ของท่านนบีเป็นมุสลิมหรือไม่
·  คำถามที่ 22 ฮะดีษบทนี้ศอเฮียะห์หรือไม่

[ กลับไปข้างบน ]

คำตอบ
·  คำถามที่ 1 คนต่างศาสนิกให้สลามกับเรา วายิบต้องรับสลามเขาหรือไม่ ?


คำตอบ โดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

เมื่อมุสลิมพบกัน ศาสนาสอนให้สลามซึ่งกันและกัน โดยการให้สลามเป็น “ซุนนะห์” และการตอบรับสลามเป็น “วาญิบ”

แต่เมื่อคนต่างศาสนาได้เริ่มต้นให้สลามแก่เราก่อน การให้ของเขานั้นมิใช่ ซุนนะห์ แม้ว่าเขาจะให้สลามด้วยถ้อยคำหรือสำเนียงที่ถูกต้องก็ตาม เพราะเขาเป็นกาเฟร และเขาก็ไม่ได้รับภาคผลของการให้ ดังเช่นคนมุสลิม ขณะเดียวกันก็ไม่มีซุนนะห์ให้คนมุสลิมให้สลามแก่คนกาเฟรด้วย

ส่วนการตอบรับขณะที่คนกาเฟรให้สลามนั้น ไม่มีซุนนะห์ที่จะตอบรับด้วยสำนวนการรับสลามดังเช่นที่มุสลิมปฏิบัติกัน เช่นรับว่า วะอะลัยกุมุสสลาม หรือ วะอะลัยกุมุสสลามวะเราะห์มะตุ้ลลอฮ์ หรือ วะอะลัยกุมุสสลามวะเราะห์มะตุ้ลลอฮิวะบะรอกาตุฮ์

แต่ถ้าต้องการจะตอบรับการให้ของคนกาเฟร ก็มีซุนนะห์ให้รับเพียงสั้นๆว่า อะลัยก่า หรือ วะอะลัยกุ้ม เท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้มีเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแก่ท่านนบีดังนี้
ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิ อุมัร รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวไว้ดังนี้

اِن الْيَهُوْدَ اِدَا سَلَمُوا عَليْكُم يَقُوْلُ أَحَدُهُمْ السَامُ عَلَيْكُمْ فَقُلْ عَلَيْكَ


“แท้จริงชนชาวยะฮูดนั้น เมื่อพวกเขาให้สลามแก่พวกเจ้าโดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า อัสซามุอะลัยกุ้ม (อัสซามุ แปลว่า ความตาย หรือความวิบัติ) พวกเจ้าจงกล่าวว่า อะลัยก่า” ศอเฮียห์มุสลิม กิตาบุสสลาม ฮะดีษเลขที่ 4026

และอีกเหตุการณ์หนึ่ง ท่านหญิงอาอิชะห์ได้รายงานว่า

اِسْتَأدَنَ رَهْطٌ مِنَ اليَهُوْدِ عَلى رَسُوْلِ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسلَمَ فَقَالوا السَامُ عَلَيْكُم
فَقَالَتْ عَائِشَةُ بَلْ عَلَيْكُم السَامُ وَاللَعْنَةُ فَقَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسلَمَ يَا عَائِشَة
اِن اللهَ يُحِبُ الرِفْقِ فِى الامْرِ كُلِهِ قَالَتْ أَلَمْ تَسْمَعْ مَا قَالُوا قَالَ قَدْ قُلْتُ وَعَلَيْكُم


“นักพรตชาวยะฮูดได้ให้สลามแก่ท่านรอซูลโดยกล่าวว่า อัสซามุอะลัยกุ้ม (ความตายและความวิบัติจงประสพแก่ท่าน) ท่านหญิงอาอิชะห์ได้กล่าวสวนว่า อะลัยกุมุสซามุ วัลละอ์นะฮ์ (เช่นเดียวกันความตาย,ความวิบัติและการสาปแช่งจงประสพแด่พวกท่านด้วย) ท่านรอซูลได้ทักท้วงว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นชอบความสุภาพในทุกเรื่อง ท่านหญิงอาอิชะห์กล่าวว่า ท่านมิได้ยินหรือว่าพวกเขาให้สลามแก่ท่านอย่างไร ท่านตอบว่า ก็ฉันกล่าวว่า วะอะลัยกุ้ม” ศอเฮียห์มุสลิม กิตาบุสสลาม ฮาดีษที่ 4027

ในช่วงฤดูกาลหาเสียงเลือกตั้ง เรามักจะได้ยินกาเฟรหยิบยื่นสลามให้แก่มุสลิมเสมอ ทั้งนี้เพื่อสร้างความสนิทสนมแก่คนมุสลิม แต่พวกเขาไม่เข้าใจในข้อกำหนดของศาสนา แต่ ณ.วันนี้ยังมีมุสลิมอีกหลายคนที่เริ่มต้นให้สลามแก่คนกาเฟร เหตุเพราะมุสลิมไม่เข้าใจอิสลามกระนั้นหรือ


.......................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 2 ผีในศาสนาอิสลามมีหรือไม่อย่างไร ช่วยอธิบายด้วยครับ แล้วถ้าคนศาสนาอื่นถามเกี่ยวกับเรื่องผี เราจะตอบอย่างไรครับ ? โดย คุณอับดุลลอฮ์ สมาชิก moradokislam.net


คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ผีในทางภาษามีความหมายว่า “ศพ” หรือร่างที่ไร้วิญญาณ ฉะนั้นเราจึงมักได้ยินคนต่างศาสนาที่เวลาเขาโกรธเคืองกันจะพูดว่า “ไม่เผาผีไม่ดูดีกัน” หมายถึงถ้าตายก็จะไม่ไปร่วมงานเผาศพ

ถ้าผีตามความหมายว่า ศพ นี้คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธแน่ เพราะทุกคนก็ต้องเป็นผี หรือเป็นร่างที่ไร้วิญญาณอย่างแน่นอน

แต่หากคำว่าผีที่ถูกนำมาใช้ตามความเข้าใจของคนทั่วไป หมายถึงวิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว และมีหลายประเภท เช่นผีเปรต,ผีตานี, ผีตะโหนด,ผีกระสือ,ผีกระหัง และ ฯลฯ โดยผีเหล่านี้จะวนเวียนอยู่กับคนเป็น และมีความแค้นอาฆาต ผูกพยาบาท สามารถทำร้าย ให้คุณหรือให้โทษแก่ผู้ใดได้ หรือรอญาติอุทิศส่วนกุศลไปให้ หรือรอที่จะกลับมาเกิดอีกครั้งตามบุญและกรรมที่เคยทำไว้ ความเชื่อดังนี้เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เพราะอิสลามมิได้สอนในเรื่อง วิญญาณเวียนว่ายตายเกิด แต่อิสลามสอนว่า เมื่อวิญญาณได้ออกจากร่างแล้วก็จะไปอยู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งถูกเรียกว่า บัรซัค หรือโลกบัรซัค ซึ่งหมายถึงโลกที่ถูกปิดกั้นไว้ ไม่สามารถที่จะย้อนกลับมาในโลกนี้อีกครั้งหนึ่งได้
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

ومن وراءهم برزخ الى يوم يبعثون


“และเบื้องหลังของเขามีบัรซัคจนกว่าจะถึงวันที่เขาถูกให้ฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง” ซูเราะห์อัลมุอ์มินูน อายะห์ที่ 100

ขณะเดียวกันอิสลามก็สอนเตือนในเรื่องของญินและซัยตอน ที่พยายามหลอกล่อให้ผู้ศรัทธาหันห่างออกจากการเคารพสักการะต่อพระเจ้าองค์เดียว และหากผู้ใดสวามิภักดิ์ต่อญินและซัยตอนเหล่านี้ มันก็จะแสดงอำนาจเหนือผู้นั้นทันที โดยบางครั้งมันจะพูดแทน หรือกระทำแทน ซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ผีเข้า” หรือ “ผีสิง” นั่นเอง และหากยอมอยู่ใต้อำนาจของมัน มันก็เฮี้ยนและขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ หรือทรงอิทธิฤทธิ์ ตามที่กล่าวขานกัน
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

وأنه كان رجال من الانس يعودون برجال من الجن فزادوهم رهقا


“และแท้จริงมนุษย์บางคนเคยขอความคุ้มครองจากญินบางตัว มันจึงยิ่งเพิ่มความฮึกเฮิมให้กับญินเหล่านั้น” ซูเราะห์ อัลญิน อายะห์ที่ 6

หากแต่คนที่หัวใจศรัทธามั่นต่อพระองค์อัลลอฮ์แล้ว บรรดาญินและซัยตอนเหล่านี้ก็ไม่มีอำนาจใดๆ เหนือเขา เพราะเขาก็คือ “มัคลูก” (สิ่งถูกสร้าง) และบรรดาญินและซัยตอนก็คือ “มัคลูก” เช่นเดียวกัน


.......................................................................................................................

·  คำถามที่ 3 อยากถามว่าการดูหมอ ดูไพ่ สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไรครับ โดยคุณอับดุลลอฮ์ สมาชิก moradokislam.net



คำตอบโดย อาจารย์ยูซุบ ฮัดซัน

การดูหมอ ไม่ว่าจะดูด้วยการขีดเขียน โดยทำนายไปตามวันเดือนปีเกิด หรือจะดูด้วยไพ่ แล้วทำนายไปตามไพ่ที่เปิดออก อีกทั้งการดูลายมือ หรือจะทำนายด้วยการเสี่ยงติ้ว และการเสี่ยงทายด้วยการปล่อยนก โดยพิจารณาว่ามันจะบินไปทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวา

ไม่ว่าท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ศาสนาห้ามโดยเด็ดขาด ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

من أتى كاهنا أوعرافا فسأله عن شئ فصدقه لم تقبل له صلاة أربعين يوما


“ผู้ใดที่หาหมอดู แล้วเขาได้ซักถามเรื่องหนึ่งเรื่องใด และเขาเชื่อตามคำทำนายของหมอ การละหมาดของเขาจะไม่ถูกรับ 40 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม

และใครก็ตามที่หาหมอดูโดยเชื่อคำทำนายที่หมอดูได้บอก แล้วนำไปปฏิบัติตาม เขาจะสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม ในอีกรายงานหนึ่งที่ท่านนบีได้กล่าวไว้คือ

فصدقه بمايقول فقد كفر بما أنزل على محمد صلى الله عليه وسلم


“และหากเขาเชื่อตามที่หมอดูได้กล่าว เท่ากับเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานลงมาให้กับมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม”

นั่นเท่ากับเขาได้ปฎิเสธอัลกุรอานเลยทีเดียว


.......................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 4 ผู้หญิงสามารถเข้ากุโบร์ได้หรือไม่ ? จากคุณ sahhh สมาชิก moradokislam.net


อัสลามมุอลัยกุมคะ

หนูเป็นคนหนึ่งที่ติดตามฟังรายการวิทยุสื่ออนุรักษ์มรดกอิสลามอยู่เหมือนกันคะ แต่ว่าบางครั้ง อาจจะพลาดไม่ได้ฟังบ้างเลยไม่รู้ว่าอาจารย์เคยตอบคำถามไปแล้วหรือยังนะ แต่ช่วยตอบอีกทีละกันนะคะ เพราะว่าหนูอยากรู้จริงๆและอยากที่จะนำไปปฎิบัติและบอกต่อได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าเรื่องจริงที่ถูกต้องตามแบบฉบับของซุนนะห์นบีนะจริงๆเค้าเป็นยังไงนะ เพราะว่ามีอาจารย์บางคน(ไม่ขอออกนามนะคะ) บอกว่าเข้าได้ถ้ามีทางเดินหรืออาจารย์บางคนก็บอกว่าเข้าได้ถ้าผู้ตายเป็นญาติ สนิทกับเรา แต่ก็มีอาจารย์อีกบางคนบอกว่าเข้าไม่ได้ไม่ว่าจะกรณีใดๆยังไงก็ขอให้อาจารย์ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยนะคะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าคะ



คำตอบโดย อ.ฟารีด เฟ็นดี้

ในช่วงแรกของอิสลามนั้น ห้ามเยี่ยมกุโบร์โดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้เรื่องนี้เพราะท่านนบีเป็นผู้บอกเองว่า

قد كنت نهيتكم عن زيارة القبور فقد أدن لمحمد فى زيارة قبر أمه

فزوزوها فانها تدكرالآخرة


“ฉันเคยห้ามพวกเจ้าไม่ให้เยี่ยมกุโบร์ แต่ขณะนี้เป็นที่อนุมัติแก่มูฮัมหมัดในการเยี่ยมกุโบร์แม่ของท่าน ฉะนั้นพวกเจ้าจงเยี่ยมกุโบร์กันเถิด เพราะมันทำให้ระลึกถึงความตาย” รายงานโดย สุไลมาน บุตรของบุรอยดะห์ บันทึกโดย ติรมีซีย์ ฮะดีษที่ 974

ขณะเดียวกันเราได้รับทราบ ต่อมาว่า การเยี่ยมกุโบร์เป็นที่อนุมัติ ก็ด้วยจากการบอกของท่านนบีเช่นเดียวกัน ดังฮะดีษข้างต้น

หากแต่การอนุมัตินี้ เป็นการกล่าวไว้กว้างๆ เพราะมีข้อจำกัดสำหรับผู้หญิงดังต่อไปนี้

عن ابن عباس قال لعن رسول الله صلى الله عليه وسلم زائرات القبور

والمتخدين عليها المساجد والسرج


ท่านอิบนุอับบาส รายงานว่า “ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สาปแช่งบรรดาหญิงที่เยี่ยมกุโบร์ และบรรดาผู้ที่ยึดกุโบร์เป็นมัสยิด และการจุดคบเพลิง” บันทึกโดยติรมีซีย์ ฮะดีษที่ 294
อุมมุอะฏยะห์ รายงานว่า

كنا ننهى عن اتباع الجنائز ولم يعزم علينا


“พวกเราเคยถูกห้ามไม่ให้ตามไปส่งมายัต แต่ก็ไม่ได้เป็นการห้ามอย่างเด็ดขาด” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษที่ 1555

บทสรุปของเรื่องนี้ก็คือ การเยี่ยมกุโบร์ของผู้หญิงนั้นถือเป็นเรื่อง “มักรุฮ์” (ไม่สมควร)
คำว่า มักรูฮ์ ในทางวิชาฟิกฮ์ มีความหมายว่า ทำไม่บาปแต่ทิ้งได้บุญ

แม้ว่าการเยี่ยมกุโบร์ของผู้หญิงจะไม่ฮะรามโดยตรงก็ตาม แต่ก็ควรคำนึงว่า จะฮะรามในจุดอื่นหรือเปล่า เช่นการเข้าไปเบียดเสียดปะปนกันระหว่างชาย-หญิง และฯลฯ ที่สำคัญก็คือ นบีแช่ง

อย่าเข้าไปเลยครับ....ขอดุอานั้น ไม่ว่าจะในกุโบร์หรือนอกกุโบร์ผลบุญไม่ต่างกัน


.......................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 5 คนพุทธทำบุญให้แก่คนมุสลิมได้หรือไม่ จากคุณอับดุลลอฮ์ สมาชิก moradokislam.net


สลามมุอลัยกุม

มีเพื่อนคนพุทธถามผมว่า
มีวิธีใดบ้างที่จะทำบุญไปให้พี่ที่เป็นคนอิสลาม (เข้ารับอิสลามโดยการศรัทธา) เพื่อนเคยไปให้พระช่วยทำบุญให้แต่พระบอกว่าทำไปให้ก็ไปไม่ถึง
เพื่อนเคยจ้างคน (ปีที่แล้ว) ให้ไปทำความสะอาดหลุมศพ และตกแต่งหลุมศพ ในวันเกิดของพี่ชาย และเคยได้จ้างโต๊ะครูช่วยในการทำบุญด้วย

อยากถามว่า
1. ถ้าเป็นแบบนี้สามารถทำบุญให้ได้หรือไม่
2. จ้างคนไปทำความสะอาดหลุมศพได้หรือไม่


คำตอบโดย อ.ฟารีด เฟ็นดี้

คำถามนี้น่าสนใจนะครับ..... เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคนที่อยู่กันคนละศาสนา แต่เขาทั้งสองเป็นพี่น้องกัน มีความเกี่ยวพันธ์กันทางสายเลือด

แม้ว่าทั้งสองจะอยู่กันคนละศาสนาก็ตาม แต่อิสลามก็มิได้สอนให้ตัดพี่ตัดน้อง, ตัดพ่อตัดแม่ หรือตัดขาดญาติมิตร ในทางสังคมยังให้นับบุคคลเหล่านี้เป็นพี่เป็นน้อง, เป็นพ่อเป็นแม่ อยู่เช่นเดิม สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันทางด้านสังคมโดยทั่วไปได้ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ อัสมา บินติอะบีบักร์ ซึ่งแม่ของเธอที่ไม่ได้รับอิสลามนั้นมาหา เธอจึงไปถามท่านนบีว่าฉันควรจะทำอย่างไร
เรื่องนี้เป็นเหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน ( ดูสาเหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน ซูเราะห์อัลมุมตะฮินะห์ อายะห์ที่ 8 ในหมวดบทความ )

ในเรื่องทางสังคมเป็นที่อนุญาตแก่ทั้งสอง ไม่ว่าจะยังมีชีวิตอยู่ หรือจะตายจากกันก็ตาม (เช่นช่วยเหลือครอบครัวของผู้ตาย) แต่ในเรื่องของศาสนานั้นไม่ว่าจะอยู่หรือจะตายก็ต้องแยกให้ชัดเจน

لكم دينكم ولى دين


“สำหรับพวกท่านก็คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันก็คือศาสนาของฉัน” ซูเราะห์อัลกาฟิรูน อายะห์ที่ 6

ในกรณีนี้....น้องชายที่อยู่ต่างศาสนาต้องการทำบุญให้พี่ที่เป็นมุสลิม ด้วยการเลี้ยงอาหารคน (แขก) หรือจ้างคนทำถางกุโบร์ ทำความสะอาดหลุมศพของพี่ โดยเขาหวังว่าผลบุญที่ทำนั้นจะถึงพี่ชาย

แปลกอยู่อย่างหนึ่งที่ว่า ไปถามพระแล้วท่านตอบว่าไม่ได้....ทำไปก็ไม่ถึง
แต่พอมาจ้างโต๊ะครู กลับทำให้ได้ !! อาย...ขายขี้หน้าเขาจริงๆ

อย่าว่าแต่คนต่างศาสนาเลยครับ...แม้แต่คนที่เป็นมุสลิมด้วยกันก็ยังอุทิศผลบุญให้แก่กันไม่ได้ เพราะการอุทิศบุญ หรืออุทิศส่วนกุศลนี้ ไม่ใช่เรื่องของอิสลาม ไม่มีในคำสอนของอิสลาม
หลักฐานที่ยกมาอ้างกันนั้นล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของการทำแทน ไม่ใช่ทำอุทิศ

อย่าเห็นแก่เงิน..อย่าเห็นแก่กินเลยครับ จะทำให้คนอื่นเขาเข้าใจศาสนาของเราผิดไปด้วย

เชิญชวนน้องชายเขาให้รับอิสลามไม่ดีกว่าหรือ .....

........................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 6 สะลัฟและค่อลัฟคือใคร

คำถาม อาจารย์หลายสำนักเรียกร้องให้เราตามสะลัฟ เลยสงสัยว่า เดี๋ยวนี้เราไม่ต้องตามซุนนะห์แล้วหรือ ขออาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างด้วย

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

คำว่า สะลัฟ และค่อลัฟ คือชื่อเรียกของคนต่างยุค โดยสะลัฟหมายถึงคนในยุค 300 ปีแรกโดยประมาณ ส่วนค่อลัฟ คือคนในยุคถัดมา
ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

“ศตวรรษที่ดีที่สุดคือศตวรรษของฉัน แล้วยุคถัดมาที่เจริญรอยตามพวกเขา แล้วก็ยุคถัดมาที่เจริญรอยตามพวกเขา” บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี

คำพูดของนบีข้างต้นนี้ มิใช่เป็นการรับรองรายบุคคลว่า ทุกคนในยุค 300 ปีแรกดีที่สุด เพราะยังมีคนในยุคต้นที่ปฏิเสธและหันห่างจากการศรัทธาอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ท่านนบีได้พูดถึงภาพรวม โดยกล่าวถึงยุคที่ดีที่สุดเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ยุคต้นเป็นยุคที่เกิดเหตุการณ์ หรือยุคที่ใกล้เคียงกับการประทานอัลกุรอาน และซุนนะห์ของท่านรอซูล อีกทั้งบรรดาผู้คนในยุคต้นได้ยึดถือหลักการของศาสนากันอย่างเหนียวแน่น

และคำว่า สะลัฟ กับ ค่อลัฟ นี้มิใช่เป็นเพียงการแตกต่างในเรื่องยุคเพียงอย่างเดียว แต่คนทั้งสองยุคนี้ยังมีฐานความเชื่อที่แตกต่างต่างกัน ประเด็นหลักก็คือ การตีความอัลกุรอานในโองการที่มีหลายนัย โดยชาวสะลัฟยึดถือตามตัวบทหากในเรื่องนั้นไม่การอธิบายจากท่านนบี หรือบรรดาศอฮาบะห์

ส่วนความเชื่อของค่อลัฟ ยังอาศัยการตีความจากโองการที่มีหลายนัย ตัวอย่างเช่น ความหมายของอัลกุรอาน ซูเราะห์อัลฟัตฮ์ อายะห์ที่ 10

يد الله فوق أيديهم


ชาวสะลัฟ ให้ความหายว่า “มือของอัลลอฮ์อยู่เหนือมือพวกเขาเหล่านั้น”
ในขณะที่ชาวค่อลัฟตีความไปว่า “อำนาจของอัลลอฮ์อยู่เหนือมือพวกเขาเหล่านั้น”

จุดยืนของชาวสะลัฟ ในเรื่องนี้เช่นกรณีตัวอย่างที่ท่านอิหม่ามมาลิกีถูกถาม เกี่ยวกับความหมายของอายะห์ที่ว่า

الرحمان على العرش الاستوى


“ผู้ทรงเมตตาประทับอยู่บนบัลลังค์” ซูเราะห์ตอฮา อายะห์ที่ 5


ท่านอิหม่ามมาลิกีตอบว่า คำว่า ประทับ เป็นคำพูดที่รู้กันดีอยู่ ส่วนวิธีการว่าจะประทับอย่างไรนั้นไม่มีผู้ใดรู้ได้ และคำถามเช่นนี้เป็นคำถามที่อุตริ (บิดอะห์)

ปัจจุบันไม่มีชาวสะลัฟ หลงเหลืออยู่ เพราะไม่มีคนใน 300 ปีแรกมีชีวิตอยู่จนถึงขณะนี้ แต่ยังมีผู้ที่เจริญรอยตามแนวทางของพวกเขา
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

السابقون الأولون من المهاجرين والأنصار والدين اتبعوهم باحسان

رضى الله عنهم ورضواعنه


“บรรดาผู้รับอิสลามในช่วงต้นทั้งจากชาวมุฮาญีรีน และชาวอันศอร อีกทั้งบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามพวกเขาด้วยดี พระองค์อัลลอฮ์พอพระทัยพวกเขา และพวกเขาก็พอใจต่อพระองค์เช่นกัน” ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 100

พวกเรานั้นแม้จะเป็นคนต่างยุค แต่เราก็สามารถที่จะเจริญรอยตามคนในยุคแรกได้ มิใช่ด้วยการเอาชื่อของพวกเขามาเรียกขานกันเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยการนำเอาความเชื่อและแนวทางการปฏิบัติของพวกเขามายึดถือด้วย

ส่วนคำถามที่ว่าเดี๋ยวนี้เราไม่ต้องตาม ซุนนะห์ แล้วหรือ ?

ขอตอบว่า ผู้ที่ต้องการทางรอดยังคงต้องยึดซุนนะห์ของท่านนบีตราบจนกิยามะห์ เพียงแต่วันนี้มีการชูคำว่า สะลัฟ กันมาก จึงคำให้ผู้คนสงสัยว่า อาจจะเป็นคนละแนวทางกัน แต่ที่จริงแล้วคนสะลัฟ หรือคนในยุคแรกนั้น ก็คือคนที่ดำเนินตามแนวทางซุนนะห์นั่นแหละครับ

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 7 เกี่ยวกับฮะดีษ

ผมขอถามคำถามเกี่ยวกับฮะดีษฏออีฟ ถามว่า มีมั้ยครับที่เรื่องเดียวกันมีทั้งฮะดีษศอเฮียะห์และฮะดีษฎออีฟ ถ้ามีเราจะนำมาใช้ฮุก่มศาสนาได้หรือไม่ และจะพูดได้มั้ยว่า ฮะดีษที่กล่าวถึงนี้ เป็นฮะดีษฏออีฟ เพราะผมยังเห็นผู้รู้บางท่านใช้ฮะดีษฏออีฟในการฮุก่มศาสนาอยู่ครับ


คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ขอทำความเข้าใจหลักเกณฑ์โดยรวมของฮะดีษสักเล็กน้อยก่อนครับ

การพิจารณาว่าฮะดีษบทใด ศอเฮียะห์ ฮาซัน หรือฏออีฟ นั้นใช้วิธีพิจารณา 3 หลักใหญ่ๆ ดังนี้คือ

1 – สายรายงาน
2 – ตัวผู้รายงาน
3 – เนื้อหา หรือตัวบทฮะดีษ

ไม่ว่าองค์ประกอบข้อใดจากทั้ง 3 ข้างต้นนี้ ถ้ามีปัญหาจะทำให้ฮะดีษบทนั้นถูกตัดสินว่าเป็นฮะดีษ ฏออีฟ (อ่อน) ซึ่งบางครั้งอาจจะอ่อนเพราะสายรายงาน หรือตัวผู้รายงาน หรือที่เนื้อหา อย่างใดอย่างหนึ่ง

ในกรณีที่คุณถาม น่าจะเป็นฮะดีษฏออีฟโดยสาเหตุที่ สายรายงาน หรือ ตัวผู้รายงานมากกว่า และถ้ามีฮะดีษนี้อยู่บทเดียวโดดๆ ก็ถูกตัดสินว่าเป็นฮะดีษฏออีฟแน่นอน

แต่ตามที่คุณกล่าวมานั้น ตัวบทของฮะดีษไปตรงกับฮะดีษศอเฮียะห์ในบทอื่น ถ้าเช่นนี้ไม่ถูกเรียกว่าฮะดีษฏออีฟ แต่เรียกว่า ฮะดีษฮะซัน ลิฆอยริฮี (ดีเพราะต้นอื่น) หมายถึงฮะดีษที่อยู่ในเกณฑ์ดีด้วยการสนับสนุนจากฮะดีษศอเฮียะห์

ทั้งฮะดีษศอเฮียะห์ และฮะดีษฮะซันลิฆอยริฮี ใช้เป็นหลักฐานทางศาสนาได้ เพราะลำพังฮะดีษศอเฮียะห์อย่างเดียวก็ถือเป็นมาตรฐานทางศาสนาอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่ควรระวังก็คือ การยกสถานะของฮะดีษนี้ หนึ่งในนั้นต้องมีศอเฮียะห์อยู่ด้วย เพราะอ่อนกับอ่อนรวมกันเป็นศอเฮียะห์ไม่ได้

ฮะดีษครับ...ไม่ใช่ไม้กวาดทางมะพร้าว


…………………………………………………………………………………..........................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 8 ไดโนเสามีจริงหรือเปล่า ?

คำถาม ขอถามอาจารย์หน่อยครับ คือผมสนใจเรื่องสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะไดโนเสาร์ อยากรู้ว่า มีจริงหรือปล่าว แล้วทำใมจึงสูญพันธ์

คำตอบโดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

การที่เราสนใจเรื่องอดีตเป็นสิ่งที่ดีครับ ถ้าเราจะได้พิจารณาการสรรสร้างของอัลลอฮ์ควบคู่ไปด้วย เพราะเรื่องในอดีตนั้นเป็นบทเรียนสอนคนในปัจจุบันได้ดี

เรื่องสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ไม่ใช่เรื่องแปลก หากเราได้ศึกษาจากอัลกุรอานและจากซุนนะห์ของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

เรารู้ว่าคนในอดีตมีรูปร่างสูงใหญ่ จากคำสอนของท่านนบีว่า

خَلَقَ اللهُ آدمَ وَطُولُهُ سِتُونَ دِرَاعًا

“พระองค์อัลลอฮ์ได้สร้างนบีอาดัม โดยที่มีความสูง 60 ศอก”
รายงานโดยอบูฮุรอยเราะห์ บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 3079


นอกจากนั้นแล้ว เรารู้ว่าคนในอดีตมีอายุยืน จากการที่พระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวไว้ว่า

وَلَقَدْ أرْسَلْنَا نُوحًا الَى قَوْمِهِ فَلَبِثَ فِيْهِم ألْفَ سنة الا خَمْسِيْنَ عَامًا

“และแน่นอนเราได้สงนัวฮ์ไปยังกลุ่มชนของเขา โดยให้เผยแผ่อยู่กับพวกเหล่านั้นเป็นเวลา 950 ปี”
ซูเราะห์อัลอังกะบูต อายะห์ที่ 14


จากหลักฐานทั้งสองข้างต้นเป็นบทสรุปได้ว่า คนในอดีตสูงใหญ่และอายุยืน ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยรอบก็มีความสมดุลไปด้วย

ถ้าคนในอดีตสูงใหญ่เท่าตึก 10 ชั้น แต่สัตว์และต้นไม้มีขนาดเท่าปัจจุบัน ฉะนั้นช้างคงเป็นดังมดตัวเล็กๆ และต้นตาลก็คงเป็นดังต้นหญ้า ในทางกลับกัน ถ้าคนในปัจจุบันรูปร่างเล็ก แต่ต้นไม้และสัตว์ต่างๆ ไม่ลดขนาดลงมาแล้ว เวลาจะกินไก่ ไม่ต้องปีนต้นตาลขึ้นไปเชือดคอมันกระนั้นหรือ

จึงนับเป็นความเมตตาของพระองค์อัลลอฮ์ที่มีต่อปวงบ่าว

ดังนั้นเมื่อมีการขุดพบฟอสซิลของสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ ก็ไม่ต้องตกใจ แต่น่าจะกล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮ์” เพราะมันอาจจะเป็นแค่จิ้งเหลน หรือกิ้งก่า ในยุคอดีตก็ได้

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 9 จานผีกับมนุษย์ต่างดาว


คำถาม อาจารย์เชื่อเรื่องจานผีกับมนุษย์ต่างดาวไหมครับ มีข่าวบ่อยๆว่า เห็นจานผี และในประเทศไทยก็เคยเห็นแถวเพชรบุรี แต่นานมาแล้ว อาจารย์ครับ ศาสนาอิสลามของเราบอกเรื่องนี้หรือปล่าว มีหลักฐานเรื่องมนุษย์ต่างดาวไหมครับ


คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

จักรวาลนี้กว้างไกลเหลือเกิน, เกินกว่าที่ปัญญาของมนุษย์จะไปถึง และโลกของเราก็เป็นดาวดวงหนึ่งในระบบสุริยะ ในแต่ละช่วงจะมีการค้นพบดาวดวงใหม่ๆในวงโคจร เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่..แค่ดาวเคราะห์และดาวนพเคราะห์ที่มนุษย์รู้จัก ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตนอกโลกหรือไม่

คนที่เชื่อว่ายังมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกนั้น เขาก็ไม่ได้ออกไปนอกจักรวาลแล้วไปเจอหรือเห็นมา แต่เขาบอกว่าเขาเห็นจานผีและเห็นมนุษย์ต่างดาวในโลกใบนี้ และนี่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาเนิ่นนาน โดยเฉพาะมุสลิมบางคนก็ร่วมวงถกกับเขาด้วย อีกทั้งพยายามหาหลักฐานจากอัลกุรอานมายืนยันว่า มีแน่ๆ ใช่แน่ๆ

อัลกุรอานที่เขานำมายืนยันคำกล่าวอ้างก็คือ

سبح لله ما فى السماوات وما فى الأرض

“สิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้า และสิ่งที่มีอยู่ในแผ่นดิน ต่างแซ่ซ้องสดุดีแด่พระองค์อัลลอฮ์”
ซูเราะห์อัลฮัชร์ อายะห์ที่ 1


หรือตัวอย่างอีกอายะห์หนึ่งที่เราอ่านกันอยู่เป็นประจำว่า

الحمد لله رب العالمين

“การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิแด่อัลลอฮ์องค์อภิบาลแห่งโลกทั้งหลาย”
ซูเราะห์อัลฟาติฮะห์ อายะห์ที่ 1


ผู้ที่เชื่อมั่นว่ายังมีสิ่งมีชีวิตนอกโลก ได้ใช้อายะห์อัลกุรอานในทำนองนี้เป็นข้อยืนยัน ประหนึ่งว่า อัลกุรอานได้บอกไว้เป็นนัย ให้มนุษย์ได้เสาะหา เช่นคำว่า สิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้า หรือคำว่า โลกทั้งหลาย นั่นแสดงว่า การแซ่ซ้องสรรเสริญ ไม่ใช่มีเฉพาะในโลกมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีโลกอื่นๆ อีก

แต่การเข้าใจในทำนองนี้ เป็นเพียงการคาดเดา หรือสันนิฐานเอาเท่านั้น เพราะคำว่า สิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้า และคำว่าโลกทั้งหลายตามที่ได้มีการอธิบายด้วยอัลกุรอาน อายะห์อื่นๆ หรือจากคำสอนของท่านนบี หมายถึง โลกของมนุษย์ โลกของญิน และโลกของมาลาอิกะห์ ซึ่งทั้งมนุษย์ ญิน และมาลาอิกะห์นั้น ต่างก็เป็นมัคลูก คือเป็นสิ่งถูกสร้างเช่นเดียวกัน

ผมไม่เคยเจอตัวบทในอัลกุรอาน และฮะดีษ ที่บอกเกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์ต่างดาวโดยตรง นอกจากตัวบทที่บอกเกี่ยวกับมนุษย์ในโลกดุนยานี้ หรือสภาพของมนุษย์ในอาลัมบัรซัค และสภาพของมนุษย์ในโลกอาคิเราะห์

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 10 มรดกของคนกาเฟร

คำถามโดย คุณรอฮีมะห์

คนมุอัลลัฟมีสิทธิได้รับมรดกจากผู้เป็นบิดามารดาที่เป็นกาเฟรได้หรือไม่ ?

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดข้อบัญญัติต่างๆในเรื่องศาสนา เพื่อให้มุสลิมได้ยึดถือและปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นข้อใช้หรือข้อห้ามก็ตาม ฉะนั้นถ้าเราเห็นกาเฟรไม่ละหมาด ก็อย่าไปติเขา เพราะอัลลอฮ์ไม่ได้ใช้กาเฟร แต่ใช้มุสลิมต่างหาก และถ้าเราเห็นกาเฟรกินหมู ก็อย่าไปบอกว่าเขาฮาราม เพราะอัลลอฮ์ไม่ได้ห้ามเขา แต่ห้ามมุสลิม

เช่นเดียวกับฮุก่มเรื่องมรดก ที่กำหนดให้ทายาทของผู้ตายได้สิทธิ์และส่วนที่แตกต่างกันออกไปนั้น ก็บังคับใช้เฉพาะมุสลิม ถ้าจะถามว่า ทายาทของผู้ตายที่เป็นกาเฟรจะได้รับกี่ส่วน ก็ตอบว่า เขาไม่มีสิทธิ์ในกองมรดก เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปถามกี่ส่วน

บทสรุปก็คือ กาเฟรไม่มีสิทธิ์และส่วนในมรดกของมุสลิม และมุสลิมก็ไม่มีสิทธิ์และส่วนในมรดกของกาเฟรเช่นเดียวกัน

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือเรื่องมรดกที่ต้องเกี่ยวกับสิทธิ์และส่วนตามข้อกำหนดของศาสนา แต่ถ้าเป็นของให้ที่ขึ้นอยู่กับความพอใจก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง คือเราจะให้เขา หรือเขาจะให้เรา จะให้มากหรือให้น้อย จะรับหรือไม่รับ ก็เชิญเถอะครับ ไม่เกี่ยวกัน

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 11 ใครบ้างที่ได้เข้าสวรรค์


คำถามโดย คุณอับดุลลอฮ์ สมาชิก moradokislam.org

ใครบ้างที่จะได้เข้าสวรรค์ครับ ผมรู้ว่ากาเฟรไม่ได้เข้าแน่นอน แล้วคนที่ได้นับถืออิสลามทุกคนจะได้เข้าสวรรค์หรือป่าวครับ หรือเฉพาะผู้ที่มีอีหม่านเท่านั้น
เคยได้ยินว่าสวรรค์มีหลายชั้น ความจริงเป็นอย่างไรครับ ช่วยอธิบายด้วยครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ถูกต้องแล้วครับ กาเฟรไม่ได้เข้าสวรรค์ ส่วนมุสลิมได้เข้าสวรรค์ทุกคนจากพื้นฐานการอีหม่าน แต่จะช้าหรือไวขึ้นอยู่กับผลงานของเขาด้วย
ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอละบฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

كُلُّ أُمَّتِى يَدْخُلُوْنَ الجَنَّةَ اِلاَّ مَنْ أَبَى قَالُوا يَا رَسُوْلَ اللهِ وَمَنْ يَأْبَى قَالَ
مَنْ أَطَاعَنِي دَخَلَ الجَنَّةَ وَمَنْ عَصَانِي فَقَدْ أَبَى


“ประชาชาติของฉันทุกคนได้เข้าสวรรค์ นอกจากผู้ปฏิเสธเท่านั้น บรรดาศอฮาบะห์ถามว่า ผู้ใดเล่าที่ปฏิเสธ ท่านรอซูลตอบว่า ผู้ใดที่ภักดีต่อฉันเขาได้เข้าสวรรค์ และผู้ใดที่ฝ่าฝืนฉัน เท่ากับเขาได้ปฏิเสธ” ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 6737

เมื่อมุสลิมมีพื้นฐานการศรัทธาที่ถูกต้อง ผลงานของเขาที่ประพฤติปฏิบัติไว้ดุนยา ก็มีผลต่อตัวเขาเองในวันกิยามะห์
ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

أَدْخَلَهُ اللهُ الجَنَّةَ عَلىَ مَا كَانَ مِنَ العَمَلِ


“พระองค์อัลลอฮ์จะให้เขาเข้าสวรรค์โดยขึ้นอยู่กับผลงาน” มุตตะฟะกุนอะลัยฮ์

มุสลิมที่ฝ่าฝืนบัญญัติของอัลลอฮ์ หรือที่เรียกว่า มุสลิมอาศีย์ ก็มีสิทธิ์ได้เข้าสวรรค์ของอัลลอฮ์ด้วยเช่นกัน หากเขาได้เตาบัตตัว พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

اِلاَّ مَنْ تَابَ وَآمَنَ وَعَمِلَ عَمَلاً صَالِحًا فَأوْلئِكَ يُبَدِّلُ اللهُ سَيِّئَاتِهِمْ حَسَنَاتٍ


“นอกจากผู้ที่ขอลุแก่โทษ และเขาศรัทธา อีกทั้งประพฤติปฏิบัติดี พวกเหล่านี้แหละ อัลลอฮ์จะเปลี่ยนความชั่วของเขาเป็นความดี” ซูเราะห์อัลฟุรกอน อายะห์ที่ 70

แต่มุสลิมลิมที่ฝ่าฝืน แล้วไม่สำนึกผิด ไม่ยอมขอลุแก่โทษต่อพระองค์อัลลอฮ์ เขาได้เข้าสวรรค์เช่นกัน แต่หลังจากชำระโทษของเขาเรียบร้อยแล้ว

ส่วนที่ถามว่าสวรรค์มีหลายชั้นนั้น ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

اِنَّ فِى الجَنَّةِ مائَةَ دَرَجَةٍ أَعَدَّهَا اللهُ لِلْمُجَاهِدِيْنَ فِى سَبِيْلِ اللهِ
ِ مَا بَيْنَ الدَرَجَتَيْن كَمَا بَيْنَ السَمَاءِ وَالاَرْضِ


“แท้จริงในสวรรค์นั้นมี 100 ชั้น พระองค์อัลลอฮ์ได้เตรียมไว้สำหรับผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ ในระหว่างชั้นนั้นประหนึ่งว่าระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน” ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 2581

………………………………………………………..............................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 12 จะช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมได้อย่างไร

คำถาม โดยคุณกิร น.ศ.สวนดุสิต (เด็กตราด)

เราในฐานะที่เป็นมุสลิมคนหนึ่งที่อยู่ในเมืองไทยแต่พี่น้องของเรากำลังถูกข่มแหงรังแกอย่างไร้มนุษยธรรมผมเองยิ่งดูภาพที่เกิดขึ้นมันยิ่งทำให้ผมแค้นเคืองยิ่งนัก ถามว่าผมจะมีส่วนร่วมต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ได้อย่างไร เเล้วเราเองสามารถทำลายธุระกิจ....ตลอดจนฆ่าพวกมันจะบาปใหม

คำตอบโดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

น้อยเหลือเกินที่เราจะพบเยาวชนมุสลิม ที่มีความรู้สึกรักและห่วงใยพี่น้องร่วมศาสนา เพราะส่วนใหญ่แล้วจะวางเฉย บางคนก็ขอกิน-เที่ยว-เล่นไปวันๆ การเรียนก็ยังเป็นเรื่องรอง แต่ในยุคของท่านนบีและยุคของบรรดาคอลีฟะห์นั้น มุสลิมทุกคนทุกเพศทุกวัยต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมศาสนาของเขา พี่น้องมุสลิมของเขา ทำให้สังคมมุสลิมในยุคนั้นมีความเข้มแข็ง

มุสลิมทุกคนถูกเกี่ยวกันด้วยศาสนา ประหนึ่งว่าเป็นเรือนร่างเดียวกัน ส่วนใดเจ็บปวด ส่วนอื่นก็เจ็บปวดด้วย เหมือนอย่างที่คุณกิร น.ศ.สวนดุสิตได้กล่าวมาด้วยความห่วงใย แสดงถึงความเป็นพี่น้องมุสลิมตามหลักการของศาสนาแล้ว

ในขณะที่พี่น้องของเราถูกรุกราน ถูกข่มเหงรังแกจากศัตรู เราอยากจะช่วยเหลือ แต่ก็อยู่ไกลกันเกินกว่าที่จะร่วมยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับพวกเขา แต่เราก็สามารถที่จะช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมของเราในเบื้องต้นได้ ด้วยการขอดุอาอ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์ ทุกครั้งที่เราสุญูดในละหมาด หลังจากกล่าว ซุบฮานะร็อบบิยัลอะอ์ลา เสร็จแล้ว ก็อย่าลืมเจือจานดุอาอ์ให้กับพี่น้องมุสลิมของเราด้วย โดยขอเป็นภาษาไทยนั่นแหละครับ (กล่าวในใจโดยไม่ต้องออกเสียง)

อีกประการหนึ่งก็คือ ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านสินค้าของศัตรู โดยไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่จ่ายแจก อย่าให้ทรัพย์ของเรามีส่วนร่วมในการประหัตประหารพี่น้องมุสลิม

ที่สำคัญก็คือต้องศึกษาศาสนาให้เข้าใจ พร้อมทั้งถือมั่น และปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาสนาอย่างจริงจัง สังคมมุสลิมเราที่อ่อนแออยู่ทุกวันนี้เพราะเราถอยห่างออกจากอิสลาม จนเราอยู่ในสภาพที่ท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า “หลงดุนยา และกลัวความตาย”

ส่วนที่จะกระทำการใดๆ นอกจากนี้ ต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องแยกมิตรแยกศัตรูให้ออก เพราะกาเฟรทุกคนมิใช่ศัตรูทั้งหมด
พระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวว่า

لاَ يَنْهَاكُمُ اللهُ عَنِ الذِيْنَ لَمْ يُقَاتِلُوْكُمْ فِى الدِيْنِ وَلمْ يُخْرِجُوْكُمْ مِنْ دِيَارِكُمْ أَنْ تَبَرُّوْهُمْ وَتُقْسِطُوا اِلَيْهِمْ اِنَّ اللهَ يُحِبُّ المُقْسِطِيْنَ


“อัลลอฮ์มิได้ห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับกาเฟรที่ไม่ได้ต่อสู้กับพวกเจ้าในเรื่องของศาสนา และมิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากที่อยู่อาศัย ในการที่จะกระทำดีและให้ความเป็นธรรมต่อพวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรักผู้ที่ยุติธรรม” ซูเราะห์อัลมุมตะฮินะห์ อายะห์ที่ 8

ส่วนกาเฟรที่เป็นศัตรู ที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงห้ามไว้ก็คือ

اِنَّمَا يَنْهَاكُمُ اللهُ عَنِ الذِيْنَ قَاتَلُوْكُمْ فِى الدِيْنِ وَأخْرَجُوْكُمْ مِنْ دِيَارِكُمْ وَظَاهَرُوا عَلىَ اِخْرَاجِكُمْ أَنْ تَوَلَّوْهُمْ وَمَنْ يَتَوَلَّهُمْ فَأُلئِكَ هُمُ الظَالِمُوْنَ


“ทว่าอัลลอฮ์ได้ห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับกาเฟรที่ต่อสู้กับพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และขับไล่พวกเจ้าออกจากที่อยู่อาศัย และผู้ที่สนับสนุนในการขับไล่พวกเจ้าด้วย ในการที่จะผูกมิตรกับพวกเขา และผู้ใดที่เอาพวกเขาเป็นมิตร ชนเหล่านี้แหละคือเป็นผู้อธรรม” ซูเราะห์อัลมุมตะฮินะห์ อายะห์ที่ 9

ช่วยกันเถอะครับ ! ทำเท่าที่เรามีความสามารถ ในกรอบของศาสนา ส่วนพี่น้องเราบางคนที่ไปเกาะแข้งเกาะขาศัตรู ก็ต้องช่วยกันเตือนเขานะครับว่า อย่าหลงดุนยาจนลืมคำสอนของศาสนา ถ้าอายัลมาถึงช่วงนั้น เท่ากับท่านเลือกตายในสภาพของมุนาฟิก

.......................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 13 ดิฉันเป็นชาวพุทธแต่รักกับมุสลิมแนะนำหน่อยคะ

คำถามโดยคนพุทธ

ดิฉันเป็นชาวพุทธ แต่รักกับอาหรับที่เป็นมุสลิม เค้ามีผู้หญิงที่แม่เตรียมไว้ให้แล้ว แต่เค้าพยามยามยืดเวลาการแต่งงานออกไป ด้วยไม่ได้รักคนที่แม่เตรียมให้ โดยอ้างว่าไม่มีความพร้อมด้านการเงิน
หากดิฉันต้องการเป็นภรรยาเค้า มีทางใดที่จะทำได้โดยเค้าไม่เดือดร้อน..ขอบคุณค่ะ

คำตอบโดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

คนที่เป็นมุสลิมยึดถือเรื่องศาสนาสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด โดยเฉพาะการศรัทธาในพระเจ้าที่ต้องอยู่ในหัวใจของมุสลิมอย่างมั่นคง จะเห็นได้ว่า มุสลิมน้อยคนเหลือเกินที่เดินออกจากอิสลามไปเนื่องจากถือเอาความรักเป็นใหญ่ ซึ่งมิได้หมายความว่า อิสลามห้ามมิให้คนรักกัน ตรงกันข้ามอิสลามกลับสนับสนุนให้มีความรัก แต่ต้องเป็นรักที่อยู่ในกรอบของศาสนา

ที่จริงแล้ว..ความรักเป็นเพียงความรู้สึกในใจชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งในขณะที่อุณหภูมิของความรักขึ้นสูง คุณอาจจะมีความความรู้สึกว่า ขาดเขาเราอยู่ไม่ได้ หรืออยากอยู่ใกล้เขาตลอดเวลา ฉะนั้น คนที่ผิดหวังบางคนจึงมีอาการฟูมฟาย แต่ก็ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น วันเวลาจะรักษาแผลในใจแจะช้าหรือไวก็ขึ้นอยู่กับตัวเอง แต่เมื่ออุณหภูมิของความรักลดลงคุณอาจจะนึกสมเพชตัวเองก็ได้

คนแก่คนเฒ่าที่เขาใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมา จนมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองนั้น หากได้สอบถามท่าน จะทราบได้ว่าส่วนใหญ่แล้ว ความรักจะกลายเป็นความผูกพันธุ์เสียมากกว่า ฉะนั้นเมื่อมีรักหรือเมื่อรักจางไป ศาสนาก็ต้องอยู่ในใจของมุสลิมตลอดเวลา

ด้วยเหตุนี้การใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างสามีภรรยานั้น ทั้งคู่ต้องอยู่ภายใต้กรอบศาสนาเดียวกัน มิเช่นนั้นแล้วจะเกิดปัญหาเมื่อตอนรักจาง และนำไปสู่ปัญหาทางครอบครัว ทางสังคม และผู้สืบสกุลอีกด้วย เมื่อตอนตายก็จะมีปัญหาเรื่องมรดก ปัญหาเรื่องจัดการศพ และอื่นๆ ตามมาอีกสารพัด พูดง่ายๆว่า มีปัญหาทั้งยามเป็นและยามตาย

ส่วนปัญหาทางศาสนานั้น คนที่เป็นมุสลิมเขาเชื่อเรื่องชีวิตหลังจากความตาย และเรื่องการฟื้นคืนชีพ โดยเมื่อเขาตายไปแล้วจะพบเจออะไรก็ขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติของเขาขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้

ผมไม่มีข้อแนะนำใดๆ ที่จะให้สามี ภรรยาต่างคนต่างถือศรัทธาคนละศาสนา ทางที่ดีหากคุณต้องการเป็นภรรยาเขาก็ควรจะหันมารับอิสลามด้วยศรัทธาเสียก่อน และเหตุที่ต้องกล่าวว่า ให้รับอิสลามด้วยศรัทธานั้น เพราะเมื่อความรักต่ำสุด สามีภรรยาอาจหย่าร้างกันก็ได้ แต่ศรัทธาหลุดออกจากใจของมุสลิมไม่ได้เป็นอันขาด

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 14 มันติก หรือ งงเต็ก


คำถามโดยเด็กไคโร

ผมมีเรื่องรบกวนอาจารย์ครับ ผมทราบว่าอาจารย์ทำบทสรุปวิชามันติกไว้สอนรุ่นน้องตอนที่เรียนอยู่ไคโร ผมสอบถามเพื่อนๆ ทุกคนก็พูดเหมือนกัน แต่หาอ่านไม่ได้ ถ้าอาจารย์มีต้นฉบับช่วยเอาลงเวบได้ไหมครับ หรืออาจารย์จะมีข้อแนะนำอะไรบ้าง งงเต็กครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ต้นฉบับบทสรุปของวิชานี้ ที่ผมเองก็ไม่มีเหมือนกัน อีกทั้งตำราที่เคยเรียนก็ไม่ทราบว่าหายไปไหน เพราะจากไคโรมาก็เกือบจะ 20 ปีแล้วครับ แต่ก็ยินดีที่จะช่วยแนะนำ เท่าที่มีความสามารถ (เท่าที่จำได้)

มันติก ถูกจัดเป็นศาสตร์หนึ่งที่แพร่หลายโดยนักปรัชญาตะวันตก เช่นเพลโต้ โซเครติส อริสโตเติ้ล เป็นที่นิยมในหมู่นักปรัชญากรีก และนักวิชาการมุสลิมเช่นอิบนุซีนา ได้ศึกษาแล้วถ่ายทอดศาสตร์นี้เป็นภาษาอาหรับ จนแพร่หลายในหมู่มุสลิม เพื่อใช้เป็นอาวุธในการประทะคารมกับผู้บิดเบือนอิสลาม หรือพูดง่ายว่า เอาดาบศัตรูฆ่าศัตรู

มันติก หรือตรรกวิทยา เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องการจัดระเบียบความคิด และการพิสูจน์หาเหตุผล จำแนกเป็น 2 ภาคใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

ภาคที่ 1 เป็นการบรรยายเกี่ยวกับ ตะอ์รีฟาต คือกระบวนการจำกัดความ หรือการให้คำนิยามของสิ่งต่างๆ มีองค์ประกอบหลัก 5 ประการคือ ญินซ์ (สกุล) นัวอ์ (อภิชาต) ฟัตล์ (แผกเพี้ยน) คอส (สภาวลักษณ์) อะรอดอาม (สหสมบัติ) ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกพอสมควร

การให้คำนิยามหรือการจำกัดความคำใดๆก็ตาม จะสมบูรณ์ได้ก็ต้องมีองค์ประกอบครบทั้งห้าประการข้างต้นนี้ เช่นหากมีผู้ถามว่า มนุษย์คืออะไร ถ้าคุณตอบว่า มนุษย์ก็คือสัตว์โลกชนิดหนึ่ง ซึ่งการจำกัดความ มนุษย์ ด้วยคำว่า สัตว์โลกชนิดหนึ่ง นี้บกพร่องครับ เป็นคำจำกัดความที่ไม่สมบูรณ์ เพราะอาจจะมีผู้แย้งได้ว่า สิงโต ก็คือสัตว์โลกชนิดหนึ่งเหมือนกันทำไม่เรียกมนุษย์ด้วย ฉะนั้นจึงต้องหาคำจำกัดความที่ให้รายละเอียดสมารถแยกมนุษย์ออกจากสัตว์อื่นๆ ได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงถูกให้คำจำกัดความว่าคือ สัตว์ที่มีปัญญาเดินได้หัวเราะได้ คำว่า มนุษย์คือนัวอ์ คำว่าสัตว์คือญินซ์ คำว่ามีปัญญาคือคอส คำว่าเดินได้คืออะรอดุลอาม และคำว่าหัวเราะได้คือฟัตล์ อย่างนี้เป็นต้น

ภาคที่ 2 เป็นกระบวนการพิสูจน์เหตุผล ด้วยการตั้งประพจน์ต่าง (กอดียะห์) มีทั้งประพจน์เสนอ ประพจน์สนอง (ซุครอและกุบรอ) และผลลับ (นะตีญะห์) เช่น

นาย ก เป็นคน
คนทุกคนต้องตาย
นาย ก ต้องตาย


เมื่อได้ผลลับเช่นนี้แล้ว ก็สามารถนำผลลับนี้ไปตั้งประพจน์ใหม่เพื่อหาผลต่อไปได้อีก ซึ่งการตั้งรูป (ชักล์) นี้มีกฏกติกา ตรงนี้ต้องท่องจำสูตรเอานะครับ เช่นประพจน์เสนอเป็นประโยคยอมรับ (กอดีญะห์ฮัมลียะห์มูญีบะห์) ประพจน์สนองประโยคปฏิเสธ ( กอดีดียะห์ฮัมลียะห์ซาลิบะห์ ) ผลลับจะออกมาเป็นเช่นไร

หรือประพจน์แบบมีเงื่อนไข (กอดียะห์ซัรตียะห์) ทั้งยอมรับหรือปฏิเสธ (มูญิบะห์และซาลิบะห์) ผลลับจะออกมาเช่นไร ตรงนี้ต้องท่องจำสูตรเอานะครับ เช่น

เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏ
กลางวันต้องมี
กลางวันจะมีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดวงอาทิตย์ปรากฏหรือไม่ปรากฏ


อย่างไรก็ตาม ผลลับของประพจน์จะถูกหรือไม่ ก็มีหลักพิสูจน์ด้วยวิธีการ อักซ์ (การกลับประพจน์) และตะนากุฏ (ปรปักษ์)

ที่กล่าวมานี้เป็นองค์ประกอบโดยรวมของกระบวนการวิชามันติก เท่าที่ยังพอจำได้ วิชานี้มีประโยชน์ถ้ารู้จักนำมาใช้ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกระวังธาตุไฟจะแตกอะกีดะห์จะแหลกลาน อย่าเพิ่งท้อนะครับ ถ้าเข้าใจแล้วสนุก ผมเองก็เคยงงเต็กมาก่อนเหมือนกัน

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 15 อยากเป็นมุสลิมทำอย่างไร

คำถามโดยผู้ต้องการเป็นมุสลิม

หากต้องการรับศาสนาอิสลามควรเริ่มทำอย่างไร จะหาความรู้ได้จากที่ไหน (ตอนนี้ดิฉันเดินทางไม่สะดวกเพราะต้องใช้รถเข็นตลอด)

คำตอบโดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

อัลฮัมดุลิลลาฮ์ นับเป็นข่าวดีที่เราได้รับทราบ
การเป็นมุสลิมเกิดจากหัวใจที่ศรัทธา เริ่มต้นด้วยการศรัทธาที่ถูกต้อง ต่อมาคือการยืนยันด้วยคำพูดว่า

อัชฮ่าดุอันลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์
มีความหมายว่า ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การสักการะนอกพระองค์อัลลอฮ์

อัชฮ่าดุอันน่ามูฮัมม่าดัรร่อซูลุ้ลลอฮ์
มีความหมายว่า ข้าขอปฏิญาณว่ามูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์


เท่านี้คุณก็ได้เป็นมุสลิมแล้ว ส่วนการอาบน้ำตามศาสนบัญญัติเมื่อเริ่มเป็นมุสลิมนั้นถ้าคุณยังทำไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ใช่ข้อบังคับ แต่ต้องเรียนรู้ในภายหลัง

อนึ่ง การกล่าวปฏิญาณทั้งสองประโยคที่กล่าวมาแล้วควรจะมีพยานรับรู้ด้วย เพราะคุณจะได้รับสิทธิ์คุ้มครองในการเป็นมุสลิมทั้งในขณะที่มีชีวิตอยู่และในขณะที่ตายจากไป

จากนั้นคุณก็เรียนหลักปฏิบัติ ทั้งข้อใช้และข้อห้าม คุณสามารถหาตำรามาอ่านได้ด้วยตัวเอง แต่อาจจะไม่ค่อยเข้าใจในระยะแรก ทางที่ดีคุณควรสอบถามจากมุสลิมที่มั่นคงในศาสนา ซึ่งจะให้คำอธิบายได้อย่างถูกต้อง หรือคุณสามารถสอบถามวิทยากรของทางมูลนิธิฯ ด้วยหมายเลขโทรศัพท์ต่อไปนี้ 02- 9569389, 02 – 9569860, 02 – 9569958 ยินดีชี้แนะครับ

ขออัลลอฮ์ทรงนำทางแก่ผู้ประสงค์จะได้ทางนำด้วยเทอญ


........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 16 เมาลิด

คำถามโดยคุณยะห์ยา

การจัดงานเมาลิดผิดศาสนาหรือไม่ครับขอให้วิทยากรตอบโดยอย่างละเอียด

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ผู้ถามต้องการให้ตอบคำถามนี้อย่างละเอียด แต่ความจริงแล้วเรื่องเมาลิดนี้มีการพูดกันมาเนินนาน ซึ่งมีการนำเสนอหลักฐานและข้อโต้แย้งกันอย่างแพร่หลาย และตราบใดที่ยังมีการกระทำกันอยู่ก็คงต้องพูดกันไม่รู้จักจบ โดยฝ่ายที่ทำก็อ้างว่าเป็นการแสดงความรักต่อท่านนบีแม้จะไม่มีหลักฐานจากนบีหรือศอฮาบะห์ก็ตาม และฝ่ายที่ไม่ทำก็พูดว่า รักนบีต้องตามคำสอนของนบี ไม่ใช่รักนบีแล้วทำบิดอะห์

เรื่องนี้ถ้าเรามีสติ และไม่ใช้อารมณ์เป็นใหญ่ก็คงเจอข้อเท็จจริงได้ไม่ยาก เพราะเรื่องศาสนานั้นต้องมีที่มา ไม่ใช่ใครคิดจะทำอย่างไรก็ได้ เพราะนั่นไม่ใช่อิสลาม และศาสนาก็ไม่ได้อยู่ที่ความนิยมของผู้ใด เรื่องศาสนาต้องมีหลักฐานจากอัลกุรอาน,ฮะดีษ หรือร่องรอยการปฏิบัติจากเหล่าศอฮาบะห์

แต่ ณ.ที่นี้ผมขอชี้แจงอีกมุมหนึ่งที่อาจทำให้ท่านได้เห็นข้อเท็จจริงได้ไม่ยากคือ หลักฐานโดยตรงที่ใช้หรือสนับสนุนให้ทำเมาลิดนั้นไม่มีสักบทเดียว ขอยืนยันว่า หลักฐานโดยตรงไม่มีสักบทเดียว ดังนั้นผู้ที่นิยมกระทำจึงต้องหาหลักฐานอ้างอิงโดยทางอ้อม นั่นคือการนำตัวบทในเรื่องอื่นมาเปรียบเทียบ หรือตีความเอา เช่น หลักฐานเรื่องการถือศีลอดซุนนะห์วันจันทร์ ซึ่งผู้ที่นิยมกระทำเมาลิดได้นำเรื่องนี้ไปชี้ประเด็นว่า ท่านนบีให้ความสำคัญต่อวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเกิดของท่าน แต่การนำเรื่องเมาลิดไปเปรียบเทียบกับเรื่องถือศีลอดนั้นเป็นเรื่องที่ไกลจากความเป็นจริงเพราะ

1 – เงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติต่างกัน
2 – ซุนนะห์ถือศีลอดวันจันทร์นั้นเป็นซุนนะห์รายสัปดาห์ (มีซุนนะห์ทุกวันจันทร์) แต่เราทำเมาลิดรายปีไม่ได้ทำทุกวันจันทร์
3 – หรือหากท่านทำเมาลิดทุกวันจันทร์จริงก็เป็นการเปรียบเทียบที่ไกลจากตัวบทเหลือเกินเพราะวันจันทร์มีซุนนะห์ให้บวช ไม่ใช่ซุนนะห์ให้ทำเมาลิด บวชกับเมาลิดเป็นการเปรียบเทียบคนละเรื่อง
4 – ตัวบทหลักฐานเรื่องซุนนะห์ถือศีลอดวันจันทร์นี้เป็นคำสอนของท่านนบี ผ่านคนในยุคแรกมาแล้ว เช่นเหล่าศอฮาบะห์และตาบีอีนและตาบีอิตตาบีอีน แต่บุคคลเหล่านี้เขาไม่ได้เข้าใจเช่นเรา
5 – พิธีกรรมในการทำเมาลิดเป็นพิธีกรรมประยุกต์ซึ่งคิดสูตรกันเอง จึงทำให้เราเห็นความแตกต่างของพิธีนี้ในแต่ละท้องที่
6 –ผู้ที่อ้างตนว่าสังกัดมัซฮับชาฟีอีน่าจะตรึกตรองสักนิด เพราะอิหม่ามชาฟีอีไม่ได้ทำเมาลิด และท่านก็ไม่เคยสอนลูกศิษย์ในเรื่องนี้
7 – เมาลิดกำเนิดในอียิปต์สมัยราชวงศ์ฟาติมีย โดยฝีมือของเหล่าชีอะห์

เรามีวิธีการแสดงความรักต่อท่านนบี ตามที่เหล่าศอฮาบะห์ได้ยึดถือปฏิบัติ นั่นคือการฏออัต หมายถึงการภักดี,น้อมรับและปฏิบัติตาม มิใช่รักนบีด้วยการฟื้นฟูพิธีกรรมของชีอะห์แล้วจะเอาสวรรค์ที่ใคร นอกจากจะไม่ได้สวรรค์แล้ว การถือว่าพิธีกรรมเมาลิดเป็นเรื่องศาสนาจึงเป็นการทึกทักเอาเอง เพราะนบีไม่รู้เรื่อง เหล่าศอฮาบะห์ก็มิได้ปฏิบัติ ฉะนั้นที่ถามว่า เมาลิดผิดศาสนาหรือไม่ ก็ตอบว่าผิดแน่นอน ถือเป็นการแอบอ้าง,ต่อเติมศาสนา ซึ่งถูกเรียกว่าบิดอะห์ หรืออุตริกรรมในศาสนานั่นเอง

ส่วนผู้ที่กล่าวว่า เมาลิดเป็นประเพณี ก็น่าที่จะสืบเสาะสักนิดว่า การทำเมาลิด หรือการจัดเบิรดเดย์ให้แก่นบีนี้เป็นประเพณีของใคร และมีที่มาอย่างไร ซึ่งเราได้พบว่าชาวนะศอรอเขาจัดเมาลิด เฉลิมฉลองวันประสูตให้กับพระเยซูคริส ในวันคริสมาส ทุกวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี

ฉะนั้นที่อ้างกันว่า เมาลิดประเพณีนี้ ความจริงก็คือประเพณีศาสนาของชาวคริสเตียน ที่ชีอะห์ลอกเลียนแบบมา แล้วผู้ที่หวงแหน,ปกป้องรักษาคือเรา เหล่าผู้ศรัทธากระนั้นหรือ

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 17 งบประมาณของรัฐ

คำถามโดยคุณ dearly9

มุสลิม-องค์กรมุสลิมหรือสถาบันสมาคมมุสลิมจะสามารถนำงบประมาณของรัฐบาลที่เป็นกาฟิร(อาจจะเป็นเงินภาษีของรัฐ)มาบริหารกิจการของมุสลิมได้หรือไม่? ขอบคุณครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายได้ของรัฐเสียก่อนว่า รายได้ของรัฐในบ้านนี้เมืองนี้นั้น ได้มาจากหลายทางด้วยกันเช่นจากการลงทุนโดยทางตรงและทางอ้อมในโครงการหรือกิจการที่รัฐเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ นอกจากกิจการรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคซึ่งไม่มุ่งเน้นแสวงหากำไร แต่เป็นบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน

แต่รายได้ของรัฐที่เป็นกอบเป็นกำและนำไปเป็นงบประมาณในการบริหารประเทศแต่ละปีนั้น ส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่มาจากภาษีทั้งที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ซึ่งในภาษีที่บริสุทธิ์นั้นเราคงไม่นำมาวิจารณ์เพราะไม่ใช่ประเด็นปัญหา

ในส่วนรายได้จากภาษีที่ไม่บริสุทธิ์ เช่นภาษีสรรพสามิต จากเหล้า,บุหรี่ และฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่ารายได้เช่นนี้เป็นที่ต้องห้ามในอัลอิสลามอย่างไม่ต้องคางแคลงใจ นอกจากนั้นแล้วรัฐยังมีรายได้ที่ฮารอมจากส่วนอื่นๆอีก เช่นจากการเป็นเจ้ามือหวย ถึงแม้จะตั้งชื่อให้ไพเราะว่า ฉลากกินแบ่งรัฐบาลก็ตามที แต่มันก็คือการพนันซึ่งเป็นที่ต้องห้ามในอิสลามเช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้นถ้าหากเราแยกประเภทของรายได้จากองค์กรของรัฐที่แสวงหาผลประโยชน์ในทางฮะรอมอย่างชัดเจนเช่น จากกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล ก็ไม่อนุญาตให้มุสลิมไปยุ่งเกี่ยวด้วย ไม่ว่าเขาจะเอามาบริจาคเป็นเงินหรือสิ่งของให้แก่บุคคลในรูปของทุนการศึกษาและอื่นๆ หรือบริจาคให้แก่องค์กรมุสลิมเพื่อบริหารจัดการในองค์กรก็ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามด้วย อย่างนี้ต้องหลีกห่าง

นอกจากกรณีที่รายได้ส่วนนี้ไปรวมกับส่วนอื่นแล้วนำไปเป็นงบประมาณบริหารจัดการประเทศ ซึ่งการที่จะบอกว่ารายได้ของรัฐทั้งหมด ฮาราม หรือเป็นที่ต้องห้ามโดยเด็ดขาดก็ยังพูดได้ไม่เต็มปากนัก เพราะยังมีรายได้ที่บริสุทธิ์เจือปนอยู่ด้วย และในทางตรงกันข้าม ถ้าจะบอกว่าฮาลาลมันก็ยังมีส่วนฮะรอมปนอยู่ด้วย อย่างนี้เขาเรียกว่าคาบลูกคาบดอก ภาษาทางวิชาการเรียกว่า ซุบฮัต ซึ่งหากเป็นรายได้ส่วนบุคคลจากฮารอมและซุบฮัต ก็จำเป็นที่จะต้องออกห่าง จะนำไปกินไปใช้เอง หรือจะนำไปเลี้ยงดูครอบครัวก็ไม่ได้เช่นกัน

แต่ที่กล่าวถึงนี้มิใช่รายได้ส่วนตัว แต่เป็นรายได้ของรัฐที่นำไปเป็นเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราว จ่ายบำเน็ญ บำนาญ อย่างนี้ไม่เป็นปัญหา ท่านสามารถเป็นข้าราชการได้ กินเงินเดือนของรัฐได้ กินบำเน็ญ บำนาญได้ นอกเสียจากท่านจะเป็นลูกจ้างในส่วนงานที่ฮะรอมเท่านั้น เช่นเป็นลูกจ้างในกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล อย่างนี้ฮะรอมทั้งงานที่ทำและฮะรอมเงินเดือนที่รับมาด้วย

นอกจากที่กล่าวแล้วรัฐยังกระจายรายได้สู่สาธารณะทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เช่นนำไปสร้างถนน สะพาน ลานกีฬา สาธารณูปโภคและสวัสดิการอื่นๆ อย่างนี้เป็นประโยชน์ของสาธารณะทั้งคนมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมก็ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างนี้ใช้ได้ เพราะถ้าจะบอกว่าฮะรอม เดี๋ยวก็จะไม่มีถนนเดิน ต้องเหาะเหินเดินอากาศกันละทีนี้

ส่วนกรณีขององค์กร หรือสถาบันมุสลิม ที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากภาครัฐก็เช่นเดียวกัน หากเป็นประโยชน์สาธารณะ และไม่ใช่รายได้จากองค์กรของรัฐที่ดำเนินกิจกรรมฮะรามโดยตรงก็ไม่เป็นไร แต่อยากให้ท่านได้พิจารณาสักนิดว่า มัสยิด ซึ่งเป็นศาสนสถาน บ้านของอัลลอฮ์เป็นสถานที่ที่มุสลิมใช้ทำอิบาดะห์ ควรหรือไม่ที่จะนำงบของรัฐมาก่อสร้าง หรือนำมาบริหารกิจการมัสยิด
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

مَا كَانَ لِلمُشْرِكِيْنَ أَنْ يَعْمُرُوا مَسَاجِدَ اللهِ شَاهِدِيْنَ عَلىَ أنْفُسِهِمْ بِالْكُفْرِ
أُولئِكَ حَبِطَتْ أَعْمَالُهُمْ وَفِى النَارِ هُمْ خَالِدُوْنَ اِنَّمَا يَعْمُرُ مَسَاجِدَ اللهِ
مَنْ آمَنَ بِاللهِ وَالَيْومِ الآخِرِ وَأقَامَ الصَلاَةََ وَآتى الزَكاةَ وَلمْ يَخْشَ اِلاَّ اللهَ


"ไม่ใช่เรื่องของบรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหลายที่จะบูรณะ(รวมถึงการบริหารจัดการ) บรรดามัสยิดของอัลลอฮ์ ด้วยพวกเขายืนยันด้วยตัวของพวกเขาเองแล้วด้วยการปฏิเสธ พวกเขานี้แหละที่งานของพวกเขาพินาศ และพวกเขาอยู่ในนรกตลอดกาล แต่ที่จะบูรณะ (รวมถึงการบริหารจัดการ) บรรดามัสยิดของอัลลอฮ์นั้นคือ ผู้ที่ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮ์ และศรัทธาในเรื่องอาคิเราะห์ และดำรงการละหมาด รวมถึงจ่ายซะกาต และพวกเขามิได้เกรงกลัวสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ์( ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 17 -18 )

ด้วยเหตุนี้ขอให้พี่น้องมุสลิม ผู้บริหารองค์กรมุสลิมได้โปรดพิจารณาใคร่ครวญกันสักนิด เพราะไม่เช่นนั้นแล้วมัสยิด ซึ่งเป็นบ้านของอัลลอฮ์จะมัวหมอง

……………………………………………………………………………………………................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 18 ซัดดาม ฮุเซนเป็นมุสลิมหรือไม่

คำถามโดย ช่วยเคลียร์ให้หน่อยครับ

อาจารย์ครับ ที่ออฟฟิซผมคุยกันไม่ลงตัว เรื่อง ซัดาม ฮุเซน เป็นมุสลิมหรือปล่าว
ช่วยเคลียร์ให้หน่อยครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

เป็นข่าวใหญ่ที่อยู่ในความสนใจของคนทั้งโลก เกี่ยวกับกรณีประหารซัดดัม ฮุเซน ด้วยการแขวนคอ แต่ละวงสนทนาก็หยิบประเด็นไปวิพากษ์วิจารณ์ในหลายแง่มุม บ้างก็วิเคราะห์ว่า เขาผิดจริงหรือและ ความผิดของเขาควรได้รับโทษประหารหรือไม่, ทำไมต้องประหารในวันอีดของมุสลิมด้วย, บางคนก็วิจารณ์ถึงวิธีการประหารคือสมควรที่จะแขวนคอหรือไม่, บางคนก็วิจารณ์ถึงประเด็น (ชีอะห์) ผู้สำเร็จโทษประหารว่า เป็นลูกน้องยิว, บ้างก็วิจารณ์ถึงผลกระทบว่าจะทำให้สถานการณ์ในอิรัคเลวร้ายลง, และในวงวิจารณ์นั้นก็มีทั้งผู้ที่ดีใจและเสียใจแต่ละกรณีต่างกันไป แต่ในอีกมุมหนึ่งที่หลายคนอยากทราบเหมือนดังที่ถามมาคือ ซัดดัมเป็นมุสลิมหรือไม่ ซึ่งผมคงตอบได้เท่าที่มีข้อมูลดังนี้

เป็นที่ทราบกันดีว่า ซัดดัม ฮุเซน ไม่ได้เป็นชีอีย์ (ผู้นับถือลัทธิชีอะห์) แต่กลับเป็นปรปักษ์กับกลุ่มชีอะห์ที่พยายามกระจายอำนาจในอิรัค, เขาสกัดกั้นพิธีกรรมของชีอะห์ด้วยการประกาศห้ามจัดเมาลิดที่หลากหลาย และห้ามชีอะห์จัดพิธีกรรมบวงสรวงฮุเซนในวันอาชูรอ จนกระทั่งการทำสงครามกับอีหร่าน เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่า เขาไม่ใช่ชีอีย์อย่างแน่นอน แต่เขากลับสนับสุนนกิจการศาสนาอิสลาม ด้วยการเปิดมัสยิดและมหาวิทยาลัยอิสลามหลายแห่ง

เขาเป็นหัวหอกในการต้านอิสราเอลไม่ให้แผ่บารมีในตะวันออกกลาง, เขาให้การสนับสนุนการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แต่เขาก็บุกยึดคูเวตและประกาศให้คูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งของอิรัค แม้ว่าเขาจะถูกวิจารณ์ว่าเป็นจอมเผด็จการ ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเคริก และการกวาดล้างชีอะห์ด้วยวิธีการขั้นเด็ดขาดก็ตาม แต่เขาก็เคยได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาและแสดงตนเป็นพันธมิตรกับอเมริกาด้วยดี

ในช่วงที่เขายังครองอำนาจอยู่ก็มีภาพข่าวของเขาปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งว่า เขาละหมาดวันศุกร์ ขณะที่รูปปั้นของเขาก็มีอยู่ทั่วประเทศอิรัค แม้ว่าจะมีอุลามาอ์บางท่านตัดสินว่า เขาตกศาสนาด้วยข้อหาว่า ปฏิเสธที่จะใช้กฎหมายอิสลามปกครองประเทศ และฯลฯ แต่ในฐานะผู้นำประเทศิรัค กับสถานภาพของความเป็นมุสลิม มันขัดแย้งกันเอง แต่ทั้งหมดคือภาพอดีตขณะที่เขายังเรืองอำนาจอยู่

แต่บั้นปลายชีวิตของเขา เราได้เห็นภาพที่ เขายืนยันการเป็นมุสลิมด้วยคำพูดของเขาที่แสดงออกในศาล เราได้เห็นภาพเขาอ่านอัลกุรอาน และเราได้รู้ว่าเขายันยันกะลิมะห์ทั้งสองในวาระสุดท้าย เป็นสิ่งที่บ่งบอกด้วยตัวเขาเองว่า ต้องการจบชีวิตในฐานะมุสลิม และปฎิเสธที่จะเข้ารีตลัทธิชีอะห์
ท่านซะฮล์ อิบนิซะอด์ อัซซาอิดีย์ ได้รายงานว่า

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ اِنَّ الرَجُلَ لَيَعْمَلُ بِعَمَلٍ أهْلِ النَارِ وَاِنَّهُ لَمِنْ أهْلِ الجَنَّةِ
وَاِنَّ الرَّجُلَ لَيَعْمَلُ بِعَمَلٍ أهْلِ الجَنَّةِ وَاِنَّهُ لَمِنْ أهْلِ النَارِ وَاِنَّمَا الأعْمَالُ بِالخَوَاتِيْمِ


ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “คนหนึ่งที่เขาทำผลงานของชาวนรกทั้งที่เขาเป็นชาวสวรรค์ และคนหนึ่งที่เขาทำผลงานของชาวสวรรค์ทั้งที่เขาเป็นชาวนรก และแท้จริงงานทั้งหลายถูกพิจารณาเมื่อวาระสุดท้าย” บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 6117 และอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 21768

หลายคนที่ฉากแรกของชีวิตเป็นผู้ที่มั่นคงและเคร่งครัดในศาสนา แต่ปั้นปลายชีวิตกลับเดินออกจากอิสลาม และอีกหลายคนที่ผลงานเริ่มแรกเป็นผู้ทรยศและเนรคุณต่ออัลลอฮ์ แต่ฉากสุดท้ายของเขาจบลงด้วยการเป็นมุสลิม และตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าเราจะจบชีวิตในสภาพเช่นไร แต่สำหรับซัดดัม ฮุเซน เราได้เห็นว่า เขาจบชีวิตด้วยกะลิมะห์ซะฮาดะห์ อัชฮะดุอันลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์

สำหรับผม ขอดุอาอ์ให้เขา “อัลลอฮุมมัฆฟิรละฮู วัรฮัมฮุ” เพราะเขาเป็นมุสลิม วัลลอฮุอะอ์ลัม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 19 มุสลิมกับการสวัสดีและยกมือไหว้

คำถามโดย คุณโนเนม

มุสลิมสวัสดีกับไหว้ได้มั้ย นักเรียนไหว้ครู เด็กไหว้ผู้ใหญ่ ยังงี้ได้มั้ย

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ปกติเมื่อมุสลิมเจอกันก็จะทักทายกันด้วยคำว่า อัสสลามมุอลัยกุ้ม พร้อมทั้งสัมผัสมือด้านขวาของกันและกัน โดยชายสัมผัสมือกับชาย และหญิงสัมผัสมือกับหญิง ฉะนั้นเมื่อมุสลิมเจอกันก็ต้องทักทายแสดงความเคารพกันด้วยวิธีการที่อิสลามสอน จะเอาประเพณีนิยมของผู้อื่นมาถือปฏิบัติไม่ได้เป็นอันขาด

ส่วนการทักทายและแสดงความเคารพระหว่างมุสลิมกับต่างศาสนิกนั้น ถ้าตามประเพณีนิยมแบบไทยๆ ก็คือการกล่าวคำว่า สวัสดี พร้อมทั้งยกมือไหว้ ซึ่งขอจำแนกเป็นสองประเด็นคือ การทักทายด้วยคำว่าสวัสดี และการยกมือไหว้ ดังนี้

การทักทายตามประเพณีแบบไทยๆ คือการกล่าวคำว่า “สวัสดี” มีความหมายว่า “ ขอให้มีความสุขความเจริญ หรือมีความราบรื่น มีโชคลาภ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ขอให้เป็นไปด้วยดี” ซึ่งใช้เป็นคำอวยพรเมื่อเจอกันหรือจากกัน อย่างนี้ไม่เป็นที่ต้องห้าม แต่ขอย้ำว่าเป็นคำทักทายหรือคำอวยพรแก่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเท่านั้น เพราะหากเป็นมุสลิมด้วยกันต้องใช้คำสลามคือการกล่าวว่า “อัสสลามมุอลัยกุ้ม” ซึ่งเป็นทั้งคำทักทายและคำขอพรให้กันและกัน

ส่วนการแสดงความเคารพตามประเพณีไทยๆ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมด้วยการยกมือไหว้มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับว่าจะแสดงความเคารพแก่ผู้ใด
ถ้าแสดงความเคารพผู้ใหญ่ หรือผู้ที่อวุโสกว่า ด้วยการประกบฝ่ามือทั้งสองข้างยกขึ้นจรดหน้าผาก หรือระหว่างคิ้วแล้วก้มศรีษะเล็กน้อย สำหรับผู้แสดงความเคารพที่เป็นผู้ชาย ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะประกบฝ่ามือทั้งสองข้างยกขึ้นจรดปลายจมูกพร้อมทั้งก้มศรีษะเล็กน้อยเช่นกัน ซึ่งการแสดงความเคารพแก่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเช่นนี้ เป็นประเพณีที่ไม่ขัดกับหลักการศาสนา แต่ต้องระวังเรื่องการก้มศรีษะด้วย เพราะถ้าก้มต่ำจนกระทั่งอยู่ในท่าเดียวกันรุกัวอ์ ก็เป็นที่ต้องห้าม

ส่วนวิธีการไหว้พระสงฆ์หรือพระพุทธรูป และพิธีกรรมในการไหว้ครู รวมถึงวิธีการตั้งจิตอธิฐาน คือการประกบฝ่ามือทั้งสองข้างยกขึ้นจรดปลายคาง หรือวางที่ตำแหน่งหน้าอก (จะมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นองค์ประกอบการไหว้หรือไม่ก็ตาม) ซึ่งการไหว้เช่นนี้เป็นประเพณีและวิธีการทางศาสนาอื่นที่มุสลิมจะนำวิธีการเช่นนี้มาปฏิบัติไม่ได้เป็นอันขาด

และไม่ใช่การไหว้ในลักษณะนี้อย่างเดียว แต่อันใดก็ตามที่เป็นประเพณีทางศาสนาอื่นมุสลิมก็เอามาถือปฏิบัติไม่ได้ เพราะท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

مَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُمْ


“มุสลิมคนใดที่ลอกเลียนแบบชนกลุ่มอื่นเขาก็เป็นหนึ่งในชนกลุ่มนั้นด้วย”
รายงานโดย อิบนุอุมัร จากสุนันอบีดาวูด ฮะดีษเลขที่ 3512

.......................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 20 รับน้อง

คำถามโดย นศ มหาลัย

ที่มหาลัยจัดพิธีรับน้อง ผูกข้อมือ ทำพิธีรับขวัญ น้องทุกคนจะถูกบังคับให้เข้าร่วมกิจกรรม ถ้าไม่ร่วมมือจะถูกกลั่นแกล้ง ผมไม่อยากร่วมแต่ไม่รู้จะทำยังไง

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

การรับน้อง เป็นประเพณีนิยมที่เกิดขึ้นเกือบทุกสถาบันการศึกษา โดยมีการพัฒนาแนวคิดและวิธีการกันอยู่ตลอดเวลา บางสถาบันจัดกิจกรรมอบรม แนะแนวรุ่นน้องแต่ละคณะ, บางสถาบันก็มีพิธีความเชื่อทางศาสนามาเกี่ยวข้องด้วย หรือมีการละเล่นที่กล่าวได้ว่าเป็นการระบายความแค้นจากรุ่นสู่รุ่นถ่ายทอดต่อกันมา ซึ่งบางครั้งเลยเถิดจนกระทั่งเป็นคดีความกันก็มี ฉะนั้นการจะสนับสนุน หรือจะตำหนิทั้งหมดก็ดูกระไรอยู่ แต่อยากจะให้มาตรฐานทางศาสนาแก่บรรดานักศึกษา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการทำกิจกรรมดังนี้

1.กิจกรรมดังกล่าวต้องไม่มีความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมของศาสนาอื่นมาเกี่ยวข้อง
2..ไม่เป็นประเพณีที่มีพื้นฐานจากความเชื่อของศาสนาอื่น
3. ไม่มีสิ่งต้องห้ามมาปะปน
4. ไม่มีการละเล่นที่เลยเถิดผิดคำสอนของศาสนา
5. ไม่มีการปะปนมั่วสุมระหว่างชายหญิง

ทั้งห้าข้อที่กล่าวข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่มุสลิมจะต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเขา ไม่ว่าจะอยู่ในสถาบันหรือนอกสถาบันการศึกษาก็ตาม ดังนั้นคำถามข้างต้นจึงมีคำตอบจากห้าข้อที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะพิธีบายศรี ผูกข้อมือนั้นถ่ายทอกมาจากพิธีของพราหมณ์ อย่างนี้แหละที่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُمْ

“ผู้ใดเลียนแบบชนกลุ่มใด
(เกี่ยวกับความเชื่อหรือพิธีกรรมศาสนาของเขา) เขาก็เป็นหนึ่งในกลุ่มชนนั้นด้วย”


ฉะนั้นอย่าได้พึงพอใจหรือยอมรับการพิธีกรรมนอกศาสนาเป็นอันขาด แต่ผู้ถามกล่าวว่า หากไม่ร่วมกิจกรรมจะถูกกลั่นแกล้ง นี่แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานแบบไทยๆ คือไม่สนใจว่าจะถูกผิดทางศาสนาหรือกฎหมายหรือไม่ อาศัยเพียงอิทธิพล บารมี คือถูกหรือผิดไม่รู้ แต่กูคือรุ่นพี่ รุ่นน้องต้องยอมซูฮก และถ้าหากสถาบันการศึกษายังมีวงจรเช่นนี้อยู่ อนาคตสังคมของเราจะพัฒนาไปสู่ความถูกต้องชอบธรรมได้อย่างไร


.......................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 21 พ่อกับแม่ของท่านนบีเป็นมุสลิมหรือไม่

คำถามโดย คุณฟารุก

อยากถามว่า ปะมะนบี เป็นอิสลาม เป็นมุสลิมหรือป่าวครับ เพราะผมคิดว่า ตอนที่นบีได้รับอิสลามมาเผยแพร่นั่น ปะมะนบีก้อเสียแล้วหนิ่ครับ เลยงงๆ ...และก้อ กระทู้นี่ผมเคยถามไปแล้วรู้สึกจะโดนลบ อย่าลบอีกน่ะครับ เพราะไม่เห็นจะผิดตรงไหนที่ถามแบบนี้ เหอๆ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ขอมะอัฟท่านสมาชิกที่ชื่อ ฟารุก ด้วยครับ ผมไม่เห็นคำถามที่ท่านโพ้สไว้ก่อนหน้านี้ ประกอบกับระยะหลังก็ไม่ค่อยได้สำรวจกระทู้ และไม่ค่อยได้ตอบคำถามมากนัก เพราะสาละวนอยู่กับการเขียนบทความเรื่องชีอะห์ และก็ต่อด้วยการแปลฮะดีษจากบันทึกของท่านอิหม่ามบุคคอรีและอิหม่ามมุสลิม ฉะนั้นจึงทำให้ท่านต้องโพ้สถามซ้ำมาอีกครั้ง

เกี่ยวกับพ่อและแม่ของท่านนบีนั้น ถ้าเราศึกษาจากอัลกุรอานและจากฮะดีษของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็จะพบว่า แม้แต่พ่อของท่านนบีอิบรอฮีม อลัยฮิสสลาม ก็ไม่ได้รับอิสลาม มิหนำซ้ำยังปั้นเจว็ดขายเสียอีก, ลูกชายของท่านนบีนัวฮ์ อลัยฮิสสลาม ก็ปฏิเสธคำเรียกร้องของพ่อ แล้วอัลลอฮ์ก็ให้คลื่นซัดหายจมไปต่อหน้าต่อตาท่านนบีนัวฮ์
ส่วนพ่อกับแม่ของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่มีหลักฐานใดที่ถูกต้องยืนยันว่า ท่านทั้งสองได้ถือศาสนาตามที่ท่านนบีมูซา หรือท่านนบีอีซา มาเรียกร้องเชิญชวนก่อนหน้านั้น ยิ่งกว่านั้นพ่อของท่านนบีได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ที่ท่านนบียังอยู่ในท้องแม่, ส่วนแม่ก็เสียชีวิตตั้งแต่ท่านนบียังเล็ก ขณะที่ท่านนบีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรอซูลเมื่อตอนอายุ 40 ปี
เราทราบข้อมูลเหล่านี้ แต่วิจารณ์ลำบาก เพราะเหตุผลของเราไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นหลักฐาน แต่ก็ยังมีบางคนที่ใช้ปัญญาอธิบายเรื่องนี้ ขณะที่หาหลักฐานถูกต้องมารองรับไม่ได้ บางคนจึงต้องอาศัยฮะดีษเก้มายืนยัน เช่นข้อความที่ว่า “อัลลอฮ์จะให้พ่อกับแม่ของนบีฟื้นขึ้นมารับอิสลามกับท่านนบีแล้วตายไปอีกครั้ง” อย่างนี้คือตัวบทหลักฐานเท็จครับ
ส่วนตัวบทหลักฐานที่ถูกต้อง (ศอเฮียะห์) ตามที่มีบันทึกจากตำราฮะดีษมีดังนี้

عَنْ أَنَسٍ قَالَ أَنَّ رَجُلاً قَالَ يَارَسُوْلَ اللهِ أيْنَ أبِيْ قَالَ فِى النَّارِ فَلَمَّا قَفَّى دَعَاُه فَقاَلَ اِنَّ أَبِي وَأبَاكَ فِى النَّارِ


“อนัส
(บินมาลิก) รายงานว่า มีชายผู้หนึ่งได้กล่าวว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ พ่อของฉัน (ที่เสียชีวิตแล้ว) เขาอยู่ที่ไหน ท่านตอบว่า ในนรก และหลังจากที่ชายผู้นั้นหันหลังกลับ ท่านก็เรียกเขามาแล้วกล่าวว่า แท้จริงทั้งพ่อของฉันและพ่อของท่านอยู่ในนรก” (ศอเฮียะห์มุสลิม กิตาบุ้ลอีหม่าน ฮะดีษเลขที่ 302)

عَنْ أبِي هُرَيْرَةَ قَالَ زَارَ النَّبِيُ صَلىَ الله ُعَليْهِ وَسَلَّمَ قَبْرَ أُمِّهِ فَبَكَى وَأبْكَى مَنْ حَوْلَهُ فَقَالَ اِسْتَأدَنْتُ رَبِّي فِي أنْ أسْتَغْفِرَ لَهَا فَلَمْ يُؤْدَنْ لِي وَاسْتأَدَنْتُهُ فِي أنْ أزُوْرَ قَبْرَهَا فَأدِنَ لِي فَزُوْرُوا القُبُوْرَ فَاِنَّهَا تُدَكِّرُ المَوْتَ


“อบีฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ไปเยี่ยมหลุมศพแม่ของท่าน แล้วท่านก็ร้องไห้ จึงทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างท่านร้องไห้ไปด้วย ท่านกล่าวว่า ฉันร้องขออนุญาตต่อองค์อภิบาลของฉันในการขออภัยโทษให้กับแม่ของฉัน แต่พระองค์ไม่ทรงอนุญาต ฉันจึงขออนุญาตต่อพระองค์ในการเยี่ยมหลุมศพแม่ของฉัน แล้วพระองค์ก็ทรงอนุญาต ดังนั้นพวกเจ้าทั้งหลายควรเยี่ยมหลุมศพกันเถิด เพราะมันทำให้ระลึกถึงความตาย”
(ศอเฮียะห์มุสลิม กิตาบุ้ลญะนาอิซ ฮะดีษเลขที่ 1622)

ฮะดีษนี้ถูกจัดไว้ในบทที่ว่าด้วยเรื่องการขออภัยโทษให้กับคนที่ไม่ใช่มุสลิม (ดูคำอธิบายฮะดีษศอเฮียะห์มุสลิม โดยท่านอิหม่ามนะวาวีย์)
เรารับทราบเรื่องนี้จากตัวบทหลักฐานก็คงเพียงพอแล้ว ไม่ควรเอาปัญญาของเราไปต่อเติมจนเลยเถิดน่าจะปลอดภัยกว่า วัลลอฮุอะอ์ลัม


.......................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 22 ฮะดีษบทนี้ศอเฮียะห์หรือไม่

คำถามโดย ต้องการคำตอบด่วน

รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจสอบฮะดีสบทนี้ด้วยครับ บางคนว่าเป็นฮะดีสเก้
" ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกเจ้า2อย่างด้วยกันโดยที่พวกจะไม่หลงทางเป็นอันขาดหากพวกเจ้ายึดมันทั้ง2เอาไว้(นั่นคือ)คัมภีร์ของอัลลอฮเเละซุนนะฮนบีของพระองค์ " บันทึกโดยอิหม่ามมาลิก
ยะซากัลลอฮุค็อยร๊อน

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

โดยปกติผมจะตอบคำถามโดยไม่เซ้าซี้กับผู้ถาม เพราะนึกเสมอว่า ผู้ถามคือผู้ต้องการความรู้,ความเข้าใจเพื่อนำไปแก้ไขความเชื่อและการปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่เมื่อเจอคำถามนี้ รู้สึกหงุดหงิดใจชอบกล อยากทราบจริงๆว่า ผู้ถามเป็นชาวซุนนะห์ หรือเป็นชาวชีอะห์
เหตุที่อยากทราบข้อมูลของผู้ถามเพราะว่า หากผู้ถามเป็นชาวซุนนะห์ ก็น่าจะเป็นนักศึกษาที่กำลังค้นคว้าด้านวิชาการฮะดีษ แต่หากเป็นชีอะห์ เขาจะตั้งคำถามเช่นนี้เพื่อเขย่า อะกีดะห์ ของมุสลิม ให้ละทิ้งฮะดีษบทนี้ แล้วหันไปยึดถือฮะดีษและความเข้าใจอย่างที่เขาต้องการจะยัดเยียดให้ผู้อื่นเชื่อและเข้ารีตตามพวกเขา
ขอทำความเข้าใจเป็นประการแรกก่อนว่า ฮะดีษในบทหนึ่งนั้น อาจจะมีการรายงานจากหลายสาย ซึ่งบางสายอาจจะศอเฮียะห์ บางสายอาจจะฮะซัน และบางสายอาจจะฏออีฟ หมายความว่า การที่ศอฮาบะห์ได้ยิน,ได้เห็นเรื่องใดจากท่านนบีแล้วนำมารายงานต่อให้คนในระดับล่างฟังนั้น ผู้ที่ร่วมรับฟังอยู่ อาจจะมีทั้งคนที่เชื่อได้, คนที่ไม่น่าไว้ใจ หรือคนโกหกรวมอยู่ด้วย และเมื่อพวกเขาเหล่านี้นำเอาไปรายงานต่อ ก็จะทำให้ฮะดีษบทเดียวนี้ มีทั้งสายรายงานที่ ศอเฮียะห์, ฮะซัน และฏออีฟ นี่คือตัวอย่างเกี่ยวกับตัวผู้รายงานที่ทำให้ฮะดีษบทเดียวกันมีสถานภาพหลายอย่าง
ฉะนั้นเมื่อท่านไปเจอรายงานของผู้ที่เชื่อถือได้ ท่านก็บอกว่า ฮะดีษนี้ศอเฮียะห์ แต่อีกคนไปเจอการรายงานของผู้ที่ไม่น่าไว้ใจ ก็บอกว่า ฮะดีษนี้ฏออีฟ หรือบางคนไปเจอการรายงานของคนที่โกหก ก็จะบอกว่า ฮะดีษนี้เมาฏัวอ์
หรือวิธีการรายงานต่อของแต่ละคน แต่ละช่วงอาจจะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะรอบคอบโดยอ้างถึงบุคคลที่ได้ยินได้ฟังมาทุกระดับจนสืบถึงตัวเอง แต่บางคนก็อาจจะรายงานโดยกระโดดข้ามบุคคลที่ได้ยินได้ฟังมาเป็นบางช่วง หรือบางคนอาจจะรายงานโดยไม่กล่าวถึงผู้รายงานในแต่ละช่วงเลยก็ได้ ซึ่งวิธีการรายงานที่แตกต่างกันนี้ทำให้สถานะของฮะดีษบทเดียวนี้ มีสายรายงานที่แตกต่างกันออกไปด้วย
นอกจากนี้เนื้อหาของฮะดีษก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะทำให้สถานะของฮะดีษแตกต่างกันออกไป ซึ่งหากสายรายงานมีปัญหา, ตัวผู้รายงานบกพร่อง อีกทั้งเนื้อหาของฮะดีษขัดกับฮะดีษศอเฮียะห์บทอื่น อย่างนี้ก็ไม่เหลือสถานะของศอเฮียะห์ หรือฮะซันอยู่เลย
แต่หากสายรายงานมีปัญหาเช่นรายงานกระโดดข้ามขั้น แต่ตัวผู้รายงานไม่มีข้อบกพร่อง หรือในทางกลับกัน เช่นสายรายงานไม่มีปัญหา แต่ตัวผู้รายงานบกพร่อง ก็จะทำให้การรายงานของเขาในด้านสายรายงานหรือตัวผู้รายงานไม่ได้รับความเชื่อถือ แต่ถ้าเนื้อหาของฮะดีษนั้นตรงกับสายรายงานอื่นที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ฮะดีษที่มีปัญหาด้านสายรายงานและตัวผู้รายงานนี้ ได้รับการยกสถานะขึ้น เพราะฉะนั้นฮะดีษอย่างนี้จะถูกกำกับสถานะด้วยคำว่า “ลิฆอยรีฮี” เช่นกล่าวว่า “ฮะซันลิฆอยรีฮี” ดีเพราะการรายงานของคนอื่น หรือฮะดีษบทนี้มี “ซะวาฮีด” คือมีการรายงานอื่นๆมาสนับสนุน แต่มีเงื่อนไขว่า ฮะดีษที่จะมาสนับสนับสนุนจะต้องเป็นฮะดีษที่อยู่ในระดับสูงกว่า คือเป็นฮะดีษศอเฮียะห์ หรือฮะดีษฮะซันเท่านั้น
เหตุที่ต้องอธิบายมายืดยาวนี้ก็เพื่อที่จะให้ท่านได้เห็นวิธีการคร่าวๆ ในการชี้สถานะฮะดีษในสามหลักด้วยกันคือ (1) สายรายงาน (2) ตัวผู้รายงาน (3) เนื้อหาหรือคำรายงาน นั่นเอง
ผู้ถามมีข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวบทฮะดีษที่นำเอามาจาก “มุวัฏเฏาะอ์” ของท่านอิหม่ามมาลิก แล้วกล่าวว่า “บางคนบอกว่าเป็นฮะดีษเก้” ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบว่า บางคนที่ตัดสินฮะดีษนี้ว่าเก้นั้น เขาเป็นใคร, เขาใช้หลักตัดสินในประเด็นใด หมายถึง สายรายงาน,ตัวผู้รายงาน หรือเนื้อหาคำรายงาน, เขาชี้สถานะเฉพาะฮะดีษบทนี้โดยไม่พิจารณาองค์ประกอบจากฮะดีษบทอื่นหรืออย่างไร เหล่านี้คือรายละเอียดที่เราต้องนำมาตีแผ่กัน แต่ก่อนที่ผมจะชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงนั้น อยากจะบอกให้ท่านได้ทราบเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนว่า เนื้อหาของฮะดีษที่นำมาให้ผมชี้แจงนี้เป็นข้อความที่มีความถูกต้องคือ

أنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ تَرَكْتُ فِيْكُمْ أمْرَيْنِ لَنْ تَضِلُّوا مَا تَمَسَّكْتُمْ بِهِمَا كِتَابَ اللهِ وَسُنَّةَ نَبِيِّهِ


" ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกเจ้าสองอย่างด้วยกันโดยที่พวกเจ้าจะไม่หลงทางเป็นอันขาดหากพวกเจ้ายึดมันทั้งสองเอาไว้
(นั่นคือ) คัมภีร์ของอัลลอฮเเละซุนนะฮนบีของพระองค์ " (ตามสำนวนคำแปลของผู้ถาม)

เนื้อหาของฮะดีษบทนี้ตรงกับฮะดีษศอเฮียะห์อีกหลายบท หรือกล่าวได้ว่า เนื้อหาและความหมายของฮะดีษบทนี้ศอเฮียะห์ มีความถูกต้องนั้นเอง (ซึ่งจะนำมากล่าวในลำดับถัดไป อินชาอัลลอฮ์)
ส่วนสายรายงานและตัวผู้รายงานมีดังนี้คือ
รายงานจาก เซด อิบนุอบี อุนัยซะห์ จาก อับดุลฮะมีด อิบนุ อับดิลเราะห์มาน อิบนุ ซัยด์ อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ ได้บอกกับเขาว่า จากมุสลิม อิบนุ ยะซาร อัลญุฮันนีย์ (...........) จากอุมรั อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ ว่า แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ในด้านตัวผู้รายงานของฮะดีษบทนี้แต่ละระดับนั้น ไม่มีข้อกังขาสำหรับนักวิชาการฮะดีษ ซึ่งทุกคนอยู่ในเกณฑ์น่าเชื่อถือ เพียงแต่สายรายงานของฮะดีษบทนี้กระโดดข้ามไปหนึ่งช่วง ดั่งในวงเล็บที่แสดงให้เห็นข้างต้นคือ (...........) ซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ฮะดีษบทนี้ (เฉพาะสายรายงานนี้ทีบันทึกอยู่ในมุวัฏเฏาะอ์ ของอิหม่ามมาลิก) มีสถานะเป็น ฮะดีษมัรฟัวอ์ มุงก่อเตียะอ์ คือฮะดีษที่อ้างถึงท่านนบี แต่สายรายงานขาดตอนไปหนึ่งคน เพราะมุสลิม อิบนุยะซาร อัลญุฮันนีย์ หนึ่งในผู้รายงานเป็นตาบีอีนรุ่นกลาง และไม่ทันได้พบกับท่านอุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ โดยตรงนั่นเอง
ดังนั้นเมื่อผู้ใดไปพบกรณีเช่นนี้ก็อาจจะทึกทักตัดสินโครมครามว่า เป็นฮะดีษฏออีฟ โดยไม่ได้ชี้แจงด้วยซ้ำไปว่า มูลเหตุของการตัดสินนั้น อยู่ที่เนื้อหาคำรายงาน หรือตัวผู้รายงาน หรือสายรายงาน... ปัญหามีอยู่ว่า ยังมีสายรายงานอื่นที่อยู่ในระดับศอเฮียะห์ หรือฮะซัน มายืนยันคำรายงานนี้หรือไม่ นี่เป็นประเด็นที่ผมกล่าวนำไว้ในตอนต้นว่า เนื้อหาและความหมายของฮะดีษบทนี้ตรงกับฮะดีษศอเฮียะห์อีกหลายบท ซึ่งขอนำเสนอเพียงบางส่วนก็น่าจะเพียงพอเช่น

أخبرنا أبو عبد الله الحافظ أخبرني إسماعيل بن محمد بن الفضل الشعراني ثنا جدي ثنا بن أبي أويس ثنا أبي عن ثور بن زيد الديلي عن عكرمة عن بن عباس رضي الله عنهما أن رسول الله صلى الله عليه وسلم خطب الناس في حجة الوداع فقال يا أيها الناس أني قد تركت فيكم ما إن اعتصمتم به فلن تضلوا أبدا كتاب الله وسنة نبيه .


ผมได้นำเอาผู้รายงานในแต่ละระดับมาแสดงให้เห็นด้วย เผื่อจะมีท่านใดคัดค้านสถานะของผู้รายงานหรือสายรายงาน ส่วนผู้รายงานฮะดีษบทนี้ในระดับศอฮาบะห์ คือ

ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิอับบาส (ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาต่อท่านทั้งสองด้วย) รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลลอลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้คุตบะห์แก่บรรดาผู้คนในการทำฮัจญ์ครั้งอำลาของท่าน โดยกล่าวว่า “โอ้บรรดามนุษย์ชาติทั้งหลายเอ๋ย แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกเจ้า สิ่งที่หากพวกเจ้าทั้งหลายยึดมันไว้ก็จะไม่หลงทางเป็นอันขาด นั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และซุนนะห์นบีของพระองค์”

ฮะดีษบทนี้ มีบันทึกอยู่ใน สุนันอัลกุบรอ ของบัยฮะกีย์ เลขที่ 20123 และสุนันอัลดารุกุฏนีย์ เลขที่ 149 ในมุสตัดร๊อก อะลัศศอฮีฮัยนี ของนีซาบูรีย์ เลขที่ 319
นอกจากนี้แล้ว ท่านอิหม่ามอัลบานีย์ (รอฮิมาฮุลลอฮ์) นักวิชาการฮะดีษร่วมสมัย ซึ่งได้ตรวจสอบตัวบทและสายรายงานฮะดีษนี้คือ

تركت فيكم أمرين؛ لن تضلوا ما إن تمسكتم بهما : كتاب الله وسنتي، ولن يتفرقا حتى يردا علي الحوض


“ฉันทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านสองประการด้วยกัน หากพวกท่านยึดสองประการนี้ไว้จะไม่หลงทาง นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และซุนนะห์ของฉัน โดยทั้งสองจะไม่แยกจากกันจนกว่าจะกลับไปพบกับฉันที่สระน้ำ”
(ในวันกิยามะห์) ท่านอิหม่ามอัลบานีย์ กล่าวว่า สายรายงานของฮะดีษบทนี้อยู่ในระดับฮะซัน (ดูมันซิละตุสซุนนะห์ 13)

เพราะฉะนั้นฮะดีษที่ท่านได้สอบถามมา จึงเป็นฮะดีษที่มีข้อบกพร่องที่สายรายงาน (ขาดผู้รายงานในระดับตาบีอีนไปหนึ่งคน) มิได้มีปัญหาที่ตัวผู้รายงานหรือเนื้อหาคำรายงาน ซึ่งฮะดีษบทนี้ได้รับการสนับสนุนจากฮะดีษในระดับศอเฮียะห์ และระดับฮะซันในบทอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ฮะดีษบทนี้อยู่ในสถานะของฮะดีษฮะซันลิฆอยริฮี (ฮะดีษฮะซันที่ได้รับการสนับสนุนจากฮะดีษบทอื่น) ซึ่งสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ มิใช่ฮะดีษอ่อนหรือเก้ตามที่มีบางท่านกล่าวอ้าง

โดยปกติแล้ว ไม่มีมุสลิมคนใดที่ต้องสงสัยหรือระแวงในการปฏิบัติตามซุนนะห์ของท่านนบี ซึ่งผมตั้งข้อสังเกตไว้ในตอนต้นแล้ว พฤติกรรมเช่นนี้ส่วนมากพบในกลุ่มชีอะห์ อิหม่ามสิบสอง ที่พวกเขาพยามเขย่า อะกีดะห์ ของมุสลิม เพื่อให้มุสลิมเข้ารีตของพวกเขาโดยเอา ครอบครัวของท่านนบีมาบังหน้า อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ด่านล่างนี้

http://www.fareedfendy.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=134

[ กลับไปข้างบน ]










ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.59 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ