ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
satit มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 20/06/2006 ตอบ: 2
|
ตอบ: Tue Jun 20, 2006 10:20 am ชื่อกระทู้: ขอทราบความหมายของ รุก่นอิมาน และ รุก่นอิสลาม |
|
|
เพื่อไว้เตรียมสอบวิชา กฎหมายอิสลาม ขอบคุณครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Jun 20, 2006 12:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
วะอะลัยกุมุสสลาม
ยินดีครับ
........................
อิสลาม คือศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮ์) ทรงประทานมาเพื่อเป็นทางนำให้แก่มนุษย์ โดยผ่านทางนบีมุฮัมหมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)
อิสลาม เป็นคำภาษาอาหรับ หมายถึงการยอมจำนนและการเชื่อฟัง ในที่นี้หมายถึงการยอมจำนนและเชื่อฟังต่อพระองค์อัลลอฮ์ โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งผู้ที่ยอมจำนนต่อพระองค์นั้นเรียกว่า มุสลิม
เราทุกคนสามารถเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆตัวของเราในจักรวาลนี้ ได้ถูกออกแบบและจัดวางอย่างเป็นระเบียบ เทหวัตถุทั้งหลายในท้องฟ้าต่างโคจรไปตามกฎที่ถูกกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวต่างๆ รวมทั้งโลกที่เราอยู่อาศัย มนุษย์และสิ่งมีชีวิต รวมถึงสิ่งไม่มีชีวิตเช่นพลังงาน วัตถุ ทั้งหมดนี้ล้วนปฏิบัติตามกฎของมันและเจริญเติบโต มีชีวิตและตายตามกฎนั้น วิชาชีววิทยาที่อธิบายถึงการเกิดและการพัฒนาร่างกายของมนุษย์นั้น บ่งถึงการที่มนุษย์ได้รับปัจจัยยังชีพจากธรรมชาติตามกฎที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ อวัยวะภายในร่างกายตั้งแต่เนื้อเยื่อที่เล็กที่สุดจนกระทั่งถึงหัวใจและสมองล้วนถูกควบคุมโดยกฎที่ได้ถูกกำหนดไว้สำหรับมัน
เหตุนี้ทุกสิ่งในจักรวาลล้วนแต่เป็นมุสลิม เพราะมันเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งและสรรพชีวิตขึ้นในโลกนี้ ผู้ทรงให้ชีวิตและผู้ทรงให้ตาย อัลลอฮ์เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงนามของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า ก็อด (God)
หลังจากที่อัลลอฮ์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาบนโลกแล้ว พระองค์ก็ทรงประทานแนวทางการดำเนินชีวิตผ่านทางนบีต่างๆ ซึ่งนบีคนสุดท้ายคือนบีมุฮัมมัด เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและกำหนดกฎข้อห้าม และข้อปฏิบัติให้แก่มนุษย์
ในการศึกษาอิสลามเบื้องต้น เพื่อที่จะทราบว่าแนวทางการดำเนินชีวิต กำหนดข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆ ที่อัลลอฮ์ทรงประทานผ่านนบีมุฮัมมัดนั้นมีอยู่อย่างไรบ้าง เราจำเป็นต้องทราบและทำความเข้าใจ ถึงหลักการสำคัญ ๒ หลักใหญ่ที่จะกล่าวดังต่อไปนี้เสียก่อน
อิสลามนั้นประกอบด้วย หลักอิสลาม ๕ ประการ และหลักศรัทธา ๖ ประการ ดังนี้คือ
๑. หลักการอิสลาม หรือหลักการปฏิบัติ หมายถึงสิ่งซึ่งมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน มีอยู่ด้วยกัน ๕ ประการดังนี้
๑.๑ การปฏิญาณตน หมายถึงการเปล่งวาจาพร้อมการศรัทธาภายในว่า "อัชฮาดุอัลลาฮ์อิลาฮะอิลลัลลอฮ์ วะอัชฮาดุอันนะมุฮัมมะดุรร่อซูลลุลลอฮ์" ซึ่งมีความหมายว่า ข้าขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนฑูตของอัลลอฮ์ นอกจากนี้เราพึงทำความเข้าใจด้วยว่า การเปล่งวาจาดังกล่าวต้องมาจากการศรัทธาในจิตใจของเราเองไม่ใช่จากการบังคับขู่เข็ญของผู้ใด หรือแม้แต่การจูงใจด้วยผลประโยชน์บางอย่าง ทั้งนี้เพราะเมื่อเราปฏิญาณตนเช่นนั้นแล้วหมายถึงการยอมรับอย่างยินดีที่จะปฏิบัติตามคำสั่งใช้ทุกอย่างของอัลลอฮ์และเชื่อฟังในทุกคำสั่งสอนของท่านนบีนั่นเอง เพราะฉะนั้น หากเรายังคลางแคลงสงสัย ก็จำเป็นต้องศึกษาอิสลามให้เข้าใจอย่างชัดแจ้งเสียก่อน
๑.๒ การละหมาด วันละ ๕ เวลา กล่าวคือละหมาดซุบฮิ , ละหมาดดุฮริ , ละหมาดอัศริ , ละหมาดมักริบ และละหมาดอิชา ซึ่งการละหมาดนี้ถือว่าเป็นเสาหลักของศาสนาเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นการแสดงความภักดีต่ออัลลอฮ์อย่างชัดเจนที่สุด
๑.๓ การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน หมายถึงการละเว้นการกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการละเว้นการกระทำสิ่งต้องห้าม และสิ่งไร้สาระทุกชนิด ภายในช่วงเวลาที่ศาสนากำหนดไว้ กล่าวคือตั้งแต่รุ่งอรุณมาจนกระทั่งดวงตะวันลับขอบฟ้า นอกจากนี้ในเดือนดังกล่าวอิสลามยังสนับสนุนให้มุสลิมเพิ่มพูนการทำความดีในด้านต่างๆให้มากขึ้นอีกด้วย
๑.๔ การจ่ายซะกาต หมายถึงการบริจาคเงินภาคบังคับตามเงื่อนไขของอิสลาม ซึ่งนั่นก็หมายความว่าหากเราเป็นผู้มีเงินออมตามจำนวนที่อิสลามกำหนดไว้ เราย่อมเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่ต้องจ่าย ซะกาตในอัตรา ร้อยละ ๒.๕ ต่อปีจากเงินออมนั้น จุดประสงค์ของการบัญญัติให้มุสลิมจ่ายซะกาตก็เพื่อที่จะกระจายรายได้จากมุสลิมผู้มีรายได้ไปช่วยเหลือบุคคล ๘ ประเภทที่ระบุไว้ในอัลกุรอ่าน เช่น คนยากจน,คนขัดสนและอนาถา,คนที่ใจโน้มมาสู่อิสลาม เป็นต้น คล้ายๆกับระบบภาษีที่เราต้องจ่ายให้รัฐ เพื่อเป็นการลดช่องว่างและการบริหารประเทศนั่นเอง
๑.๕ การไปทำฮัจญ์ ที่นครมักกะฮ์ สักครั้งหนึ่งหากมีความสามารถ หมายถึงการเดินทางไปยังประเทศซาอุดิอารเบียเพื่อทำฮัจญ์ที่นครมักกะฮ์ตามแบบอย่างของท่านนบี ทั้งนี้เฉพาะผู้ที่มีความสามารถทางด้านการเงินและไม่มีอุปสรรคทางด้านสุขภาพด้วย
๒. หลักการศรัทธาหรือหลักอิหม่าน หมายถึง หลักการที่มุสลิมทุกคนต้องยึดมั่นศรัทธาในจิตใจ ไม่อาจปฏิเสธหลักการข้อใดได้ หลักการดังกล่าวมีดังนี้
๒.๑ การศรัทธาว่าอัลลอฮ์เป็นพระเจ้า ซึ่งในการศรัทธาข้อนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในลักษณะของอัลลอฮ์ด้วย เช่น อัลลอฮ์นั้นมีองค์เดียว, ทรงสร้าง, ไม่มีบุตร,ไม่มีการเกิดและการดับ อัลลอฮ์ทรงเห็น,ทรงได้ยินและทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง อย่างไม่มีข้อจำกัดใดๆ เป็นต้น
๒.๒ การศรัทธาในบรรดามลาอิกะฮ์ของอัลลอฮ์ ซึ่งในการศรัทธาดังกล่าวเราต้องทำความเข้าใจเช่นกันว่ามลาอิกะฮ์นั้นคือสิ่งถูกสร้างอย่างหนึ่งของอัลลอฮ์เพื่อการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์ นอกจากนั้นเราพึงทราบลักษณะอื่นๆของมลาอิกะฮ์ด้วย เช่น มลาอิกะฮ์นั้นกำเนิดจากรัศมี, มลาอิกะฮ์ไม่ฝ่าฝืนคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์ ,มลาอิกะฮ์นั้นไม่กินไม่ดื่ม เป็นต้น
๒.๓ การศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ในการศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮ์นั้นเราพึงทราบด้วยว่านอกจากคัมภีร์อัลกุรอ่านที่อัลลอฮ์ได้มอบแก่นบีมุฮัมมัดเพื่อเป็นธรรมนูญชีวิตของมุสลิมทุกคนแล้ว เรายังมีคัมภีร์อื่นๆซึ่งอัลลอฮ์มอบแก่นบีท่านอื่นๆด้วย เช่น คัมภีร์เตารอตมอบแก่นบีมูซา,คัมภีร์อิลญีน มอบแก่นบีอีซา เป็นต้น
๒.๔ การศรัทธาในบรรดารอซูลของอัลลอฮ์ การศรัทธาในรอซูลนั้นมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า รอซูลหมายถึงผู้รับสารหรือคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์มาเผยแผ่แก่คนทั่วไป ซึ่งมีจำนวนมากมายแต่มีเพียง ๒๕ ท่านเท่านั้นที่มุสลิมต้องทราบ ดังมีชื่อปรากฏอยู่ในอัลกุรอ่าน เช่น อดัม,นูอ์,อิบรอฮีม,มูซา,อีซา,มุฮัมมัด เป็นต้น และนอกจากนี้นบีมุฮัมมัดนั้นเป็นรอซูลท่านสุดท้ายจะไม่มีรอซูลภายหลังจากท่านอีก ส่วนลักษณะของรอซูลนั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะมองข้ามไม่ได้เลย เช่น รอซูลเป็นผู้มีคุณธรรม,ซื่อสัตย์,ฉลาดรอบรู้ เป็นต้น
๒.๕ การศรัทธาในวันสิ้นโลก (อาคิเราะฮ์) และวันพิพากษา มุสลิมจะต้องมีความเชื่อว่าจะมีวันหนึ่งซึ่งอัลลอฮ์ทรงกำหนดให้เป็นวันแห่งการดับสูญของทุกสิ่ง และทุกชีวิตจะถูกนำมารวมกัน ณ ที่แห่งหนึ่งเพื่อรับการตัดสินในทุกการงานที่เคยปฏิบัติไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้
๒.๖ การศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะการณ์ ว่ามาจากอัลลอฮ์ทั้งสิ้น นั่นคือศรัทธาว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นและดำเนินไปนั้นมาจากการกำหนด และอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ ในทางตรงกันข้ามหากพระองค์ไม่ประสงค์ในสิ่งใดหรือยับยั้งในสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นเช่นกัน
นอกจากหลักการอิสลาม และหลักการศรัทธาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ศาสนาอิสลามยังประกอบด้วย หลักสำคัญอีกหลักหนึ่งคือ หลักจริยธรรม นั่นเอง หลักจริยธรรมที่จะกล่าวถึงนั้นคือแบบอย่างการประพฤติปฏิบัติของท่านนบีมุฮัมมัด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) ซึ่งมีอยู่ในทุกเรื่องราวทั้งการกิน การดื่ม การพูด การเดิน การนั่ง การนอน การพูดการจา หรือแม้แต่การคิดการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งหมายถึงการมีมารยาทอันดีงาม ความคิดที่งดงามทั้งต่อหน้าและลับหลังสายตาคน โดยตระหนักในจิตใจไว้เสมอว่าอัลลอฮ์เห็นเราเสมอแม้เราไม่อาจเห็นพระองค์ก็ตาม
จากการเรียนรู้อิสลามอย่างคร่าวๆ ข้างต้นเป็นเพียงการศึกษาเพื่อให้เข้าใจในโครงสร้างหลักๆของอิสลามเท่านั้นยังไม่ได้ลงลึกไปในรายละเอียดแต่อย่างใด ทั้งนี้การศึกษาอิสลามในขั้นต่อๆไปยังคงเป็นหน้าที่ซึ่งมุสลิมทุกคนพึงปฏิบัติกันอย่างจริงจังตลอดชีวิตดังที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) ได้เคยกำชับไว้เสมอตลอดการเผยแผ่อิสลามของท่าน เช่น จงศึกษาตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพหรือแม้แต่ จงศึกษาเถิดแม้ความรู้นั้นจะอยู่ไกลถึงเมืองจีนก็ตาม เป็นต้น และเราพึงรู้เถิดว่าแม้ตลอดชีวิตของเรา จะคร่ำเคร่งอยู่กับการศึกษาอิสลาม นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถรู้จักอิสลาม และเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพียงพอ แล้วเหตุไฉนเราจึงไม่เร่งศึกษาเสียตั้งแต่วันนี้เล่า ?
โดย: โครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม
มูลนิธิสันติชน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
OtakuSan มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2006 ตอบ: 13
|
ตอบ: Tue Jun 20, 2006 5:21 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลองศึกษาเพิ่มเติมใน http://www.fathoni.com/ ดูนะครับ คิดว่าน่าจะมีสาระเพิ่มเติมจากที่บัง asan ได้กล่าวไว้ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายอิสลาม
ขออัลลอฮฺทรงประทานเตาฟีกครับ อามีน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
satit มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 20/06/2006 ตอบ: 2
|
ตอบ: Fri Jun 23, 2006 11:46 am ชื่อกระทู้: 'ขอบคุณครับ |
|
|
จะศึกษาเพิ่มเติมตามที่แนะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|
|
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้ คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
Powered by phpBB
ฉ 2001, 2002 phpBB Group
|