ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 31, 32, 33  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ทีมงานสื่ออนุรักษ์
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 25/02/2004
ตอบ: 47


ตอบตอบ: Sat Jan 21, 2006 3:07 am    ชื่อกระทู้: มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

เรียนท่านสมาชิกบอร์ดอนุรักษ์ทุกท่าน

เนื่องด้วยกระทู้ " มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่" ภาคที่ 1 มีความยาวมาก ทำให้การคลิกอ่านและการโพ้สข้อความเกิดสะดุดเป็นระยะ ทีมงานฯ จึงยกยอดมาให้ท่านสนทนาต่อในภาค 2 ที่นี้

ส่วนภาคที่ 1 เราจะยังคงตรึงไว้ด้านบนเพื่อให้ท่านได้สืบข้อมูล

เชิญสนทนาต่อได้เลยครับ

ทีมงานสื่ออนุรักษ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Jan 22, 2006 5:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ถึงทีมงาน เวปมาสเตอร์ ผมขอขอบคุณในความสะดวก ความใจกว้างในการสนทนาเชิงวิชาการครับ

والسلام

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo  
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Jan 22, 2006 6:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณไออาเอฟ บังอะสัน และคณะ ถึงเวลาที่เราจะได้สนทนาพวกบังอะสันรอคอยแลเฝ้าทวงกันมานานก่อนอีด ซึ่งผมอยากจะชี้แจงการสนทนาดังนี้นะ การเรื่องบิดอะฮ์นั้น ผมต้องการจะสนทนา ในเรื่อง คำนิยาม การแบ่ง และ ความเข้าใจในแง่มุมต่างๆของ "บิดอะฮ์" ก่อน และผมไม่อยากจะเอาเรื่องข้อปลีกย่อยที่วะฮาบีย์กล่าวหุกุ่มผู้อื่นว่าบิดอะฮ์มาขัดจังหวะการสนทนา ผมหวังว่า เราคงจะสนทนากันอย่างมีระเบียบในเรื่องบิดอะฮ์ เพื่อพวกเราจะได้เข้าเรื่องบิดอะฮ์กันเสียที

นิยาม คำว่า บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับ

บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับอาหรับ คือคำนาม ที่มาจากคำว่า อิบติดาอ์ ( إبتداع ) หมายถึงการ ประดิษฐ์ขึ้นมาไหม่ ริเริ่มขึ้นมา หรือสิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นอันดับแรก

อัลกุรอานได้กล่าวว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)
หมายถึง ฉันไม่ใช่เป็นบุคคลแรกจากผู้ที่ถูกส่งมา แต่บรรดาร่อซูลมากมายที่ถูกส่งมาก่อนฉัน

อักษร บาอฺ (ب) ดาลฺ (د) อัยนฺ (ع) อ่านว่า بَدَعَ มีความหมายว่า

1. ริเริ่มทำสิ่งหนึ่ง และประดิษฐ์สิ่งหนึ่ง ที่ไม่มีตัวอย่างมาก่อน

2. หยุดฉงัก หมดเรี่ยวแรง ( ดู มั๊วะญัม มะกอยีส ของอิบนุ ฟาริส เล่ม 1 หน้า 209)

ท่านอบู อัลบะกออ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-กุลลียาต ว่า " บิดอะฮ์ คือการกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน " และความเข้าใจของนิยามนี้ คือ ทุกๆการกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน ไม่ว่าจะมีรากฐานที่มาแต่เดิม หรือไม่มี ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์ หลักฐานดังกล่าวคือ อัล-กุรอ่าน ได้กล่าวว่า

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

หมายความว่า "พระองค์ทรงประดิษฐ์ ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อน คือไม่มีรากฐานเดิม (الأصل) มาก่อน คำว่า ตัวอย่าง ใน ณ ที่นี้ ย่อมครอบคลุมถึง รากฐานเดิม และรูปแบบ เพราะอัลเลาะฮ์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน จากการที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยจากรากฐานเดิมที่มาพาดพิงถึง และไม่มีรูปแบบจาการประดิษฐ์ที่เหมือนกับมัน

มีอีกหลักฐานหนึ่งกล่าวว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)
สรุปจากสิ่งดังกล่าว คือ ความหมายคำกล่าวของท่าน อบู อัล-บะกออฺ ที่ว่า "โดยไม่มีตัวอย่างมาก่อน" หมายถึง "ไม่มีรากฐานหรือรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน" และด้วยความหมายนี้ ทำให้คำนิยาม มีความหมายที่ครอบคลุม (عموم) ดังนั้น ในประเด็นนี้จึงไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานที่เด็ดขาดได้ ดังนั้น เราจึงต้องกลับไปหาอัล-กุรอานและซุนนะฮ์

สำหรับอัลกุรอานก็คือ

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)
หมายถึง "พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีรากฐานเดิมและรูปแบบมาก่อน ซึ่งไม่มีการพาดพิงถึงการเหมือน (المثالية) เพราะคำว่า เหมือน (المثالية) ในเชิงภาษานั้น ให้ผลถึงการเปรียบเทียบ หรือเทียบเคียง (القياس) ได้"

และอัลกุรอานได้ย้ำอีกอายะฮ์หนึ่งว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)
หมายถึง "ฉันไม่มีอะไร นอกจากได้มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อนแล้ว และตัวอย่างนี้ ก็คือ บรรดานบีและบรรดาร่อซูล" ดังกล่าวจึงชี้ชัดแก่เราว่า แท้จริง บิดอะฮ์มี สอง ประเภท

1. บิดอะฮ์ที่มีรากฐานมาแต่เดิม

2. บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาแต่เดิม

ซึ่งได้บ่งชี้ตามนัยยะดังกล่าว จากคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

من يشفع شفاعة حسنة يكن له نصيب منها ومن يشفع شفاعة سيئة يكن له كفل منها

"ผู้ใดที่ให้ความช่วยเหลือที่ดี ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความดีนั้น และผู้ใดให้ความช่วยเหลือที่ชั่ว ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความชั่วนั้น "

คำว่า (شفاعة) นี้ หมายถึง ซุนนะฮ์และแนวทางที่อัลเลาะฮ์ทรงวางแนวทางไว้บนมัน และเป็นแนวทางที่ทุกๆศาสนาต้องดำเนินตาม และบนแนวทางนี้นั้น อัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ดำรงอยู่ และด้วยเหตุจากแนวทางนี้ บรรดาชารีอะฮ์ต่างๆได้มีมา เพื่อแยกแยะระหว่างความดีและความชั่ว ดังนั้น ผู้ที่กล่าวว่า มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)นั้น เขาย่อมวินิจฉัยจากการนี้ ที่มาจากวิญญานและบรรดาเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ของชาริอะฮ์

นิยามบิดอะฮ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์

บรรดาอุลามาอ์ ได้จำกัดคำนิยามคำว่า "บิดอะฮ์" ไว้มากมาย

1. อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

ท่านอบู นุอัยม์ ได้นำเสนอรายงานอื่นอีก ไว้ในหนังสือ หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 9 หน้า 113 ว่า "ท่านอิมามอัช-อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ ดังนั้น สิ่งที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรญเสริญ และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ และอิมามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับ ละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมฏอนที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"


2. ท่านอิบนุ หัซมิน (ร.ห.) เสียชีวิตปี 456 ฮ.ศ.

ท่านอิบนุ หัซมินกล่าวว่า "บิดอะฮ์ในศาสนานั้น คือทุกสิ่งที่ไม่เคยมีระบุมาในอัลกุรอานและจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) นอกจากบิดอะฮ์ที่เจ้าของผู้กระทำจะถูกตอบแทน และได้รับการผ่อนปรนให้ ด้วยสิ่งที่เขามีเจตนาในการกระทำความดีงาม ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือ สิ่งที่จะได้รับผลตอบแทน ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีโดยที่มันมีรากฐานเดิมที่อนุมัติให้กระทำได้ ซึ่งเสมือนกับสิ่งที่รายงานจากท่านอุมัร (ร.ฏ.) ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

คือสิ่งที่เป็นการปฏิบัติความดีงามและมีตัวบทกล่าวไว้ ในความหมายที่ครอบคลุมถึงการส่งเสริม(สุนัต)ให้กระทำ ถึงหากแม้นว่า การปฏิบัตินั้น จะไม่ได้ถูกำหนดไว้ในตัวบทก็ตาม และส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือสิ่งที่ถูกตำหนิและผู้ปฏิบัติตาม ก็จะไม่ได้รับการผ่อนปรน ก็คือสิ่งที่มีหลักฐานมายืนยันว่ามันใช้ไม่ได้และผู้ที่ปฏิบัติก็ยังคงยืนกรานด้วยกับการกระทำมัน

3. อิมาม อัลอิซฺซุดดีน บิน อับดุสลาม เสียชีวิตปี 660 ฮ.ศ.

ท่านกล่าวว่า "บิดอะฮ์คือสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และมันก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์
และแนวทางในการทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่างๆของชาริอะฮ์ (قواعد الشريعة) ดังนั้น บิดอะฮ์ที่เข้าไปอยู่หลักการต่างๆที่วายิบ ก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่างๆที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์

ตัวอย่างบิดอะฮ์วายิบ เช่น

(1) การศึกษาวิชานะฮู (ไวยกรณ์ภาษาอาหรับ) เพื่อให้เข้าใจคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) และดังกล่าวนี้ คือสิ่งที่จำเป็น(วายิบ) เนื่องจากการรักษาไว้ซึ่งหลักชาริอะฮ์นั้น เป็นสิ่งที่วายิบ และการปกปักษ์รักษาหลักชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ นอกจากด้วยการรู้จักหรือศึกษาสิ่งดังกล่าว และสิ่งที่วายิบจะไม่สมบูรณ์นอกจากด้วยกับมันนั้น แน่นอน สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่วายิบด้วย
(2) การจดจำถ้อยคำที่เข้าใจยากทางภาษาอาหรับที่มีมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์
(3) การประพันธ์วิชาอุซูลุลฟิกห์ (วิชาที่ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์รากฐานของหลักวิชาฟิกห์)
(4) การพิจารณาและวิจารณ์นักรายงาน เพื่อแยกแยะระหว่างสิ่งที่ซอเฮี๊ยะหฺออกจากสิ่งที่ฏออีฟ
ดังนั้น กฏเกนฑ์ต่างๆของหลักชะรีอะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า การปกปักษ์รักษาไว้ซึ่งชะรีอะฮ์นั้น เป็นฟัรฏูกิฟายะฮ์ในสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากสิ่งที่เป็นอยู่ ฉะนั้น การปกปักษ์รักษาหลักการของชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่หะรอม

(1) มัซฮับอัลก่อดะรียะฮ์
(2) มัซฮับอัลญับรียะฮ์
(3) มัซฮับอัลมัรญิอะฮ์
(4) มัซฮับอัล-มุยัสซิมะฮ์ !!!
และการป้องกันและโต้ตอบพวกเขาเหล่านั้น เป็นบิดอะฮ์ที่วายิบ

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่สุนัติ

(1) สร้างสถานที่สาธารณูประโยชน์
(2) สร้างสถาบันการศึกษา
(3) สร้างเขื่อน
(4) ทุกความดีที่ไม่มีในสมัยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)
(5) การละหมาดตะรอวิหฺ
(6) การกล่าวในเรื่องความละเอียดละออของวิชาตะเซาวุฟ
(7) การพูดถกในการชุมนุม เพื่อการอ้างหลักฐานในประเด็นต่างๆ หากมีเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)

ตัวอย่างบิดอะฮ์มักโระฮ์

(1) การตบแต่งประดับประดามัสยิดให้สวยงาม
(2) การประดับประดาลวดลายอัล-กุรอาน
(3) การอ่านท่วงทำนวงอัล-กุรอานโดยที่ทำให้เปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆจากหลักภาษาอาหรับ แต่คำกล่าวที่ถูกต้องที่สุดนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม

ตัวอย่างบิดอะฮ์มะบาห์

(1) การจับมือหลังจากละหมาดซุบห์ และอัสริ
(2) การทำอาหารและเครื่องดื่มที่มีหลากหลายรสชาติ หลากหลายเครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย การสวมเสื้อคลุม ทำให้แขนเสื้อกว้าง โดยที่บางส่วนจากสิ่งที่ได้กล่าวมานั้น มีความเห็นที่ขัดแย้งกัน บางอุลามาอ์กล่าวว่า บางส่วนนั้นเป็นบิดอะฮ์ที่มักโระฮ์ และบางอุลามาอ์กล่าวว่า มันเป็นซุนนะฮ์ที่ได้ปฏิบัติกันในสมัยท่าน ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และยุคสมัยหลังจากนั้น....(ดู หนังสือ ก่อวาอิด อัลอะห์กาม ยุซฺ 2 หน้า 172 - 174)

คำนิยามของ อิมาม ซุลฏอน อัลอุละมาอ์ อิซซุดดีน บิน อับดุสลามนี้ เป็นคำนิยามในเชิงการวินิจฉัยที่พาดพิงไปยังบรรดาหุกุ่ม (ทั้ง 5 ) ตามหลักการศาสนา คือเป็นคำนิยามที่มีความรัดกุมยิ่งในประเด็นดังกล่าว

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo  
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Jan 22, 2006 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. หุจญฺตุลอิสลาม อิมาม อัลฆ่อซาลีย์ (505 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์กล่าวว่า "บิดอะฮ์มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ หมายถึง บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับซุนนะฮ์เดิม และเกือบจะนำไปสู่การเปลื่ยนแปลงซุนนะฮ์ และ(2)บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีตัวอย่างมาแล้ว"
ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์ ได้กล่าวอีกเช่นว่า " สิ่งที่ถูกกล่าวว่า มันคือสิ่งที่ถูกทำขึ้นหลังจากร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)นั้น คือไม่ใช่เป็นทุกสิ่งๆ(ที่เกิดขึ้นมาใหม่)จะเป็นสิ่งต้องห้าม แต่สิ่งที่ต้องห้ามนั้น คือ บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งหรือค้านกับซุนนะฮ์ที่ได้ยืนยันไว้แล้ว" (ดู หนังสือ เอี๊ยะหฺยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 1 หน้า 276)

5. อิมาม อัล-มุหัดดิษ อิบนุ อัล-เญาซีย์ อัลหัมบาลีย์ (598 ฮ.ศ.)

ท่านอิบนุ อัล-เญาซีย์ กล่าวว่า "บิดอะฮ์ คือสำนวนหนึ่ง จากการกระทำที่ไม่เคยมีมาก่อน แล้วก็ทำมันขึ้นมา และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ทำขึ้นมาไหม่นั้น มันค้านกับหลักชาริอะฮ์ และทำให้เกิดการเพิ่งเติมและตัดทอน ดังนั้น สิ่งที่ได้ทำขึ้นมาไหม่ โดยไม่ขัดแย้งกับหลักชาริอะฮ์และไม่ทำให้เกิดการเพิ่มเติมและตัดทอนแล้ว สะลัฟส่วนมากรักเกียจมัน และพวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงจากทุกๆคนที่ทำบิดอะฮ์ หากแม้ว่าสิ่งนั้น จะเป็นสิ่งที่อนุญาติสักทีก็ตาม เพื่อที่จะรักษาไว้หลักการเดิม ก็คือ การเจริญรอยตาม

ท่านเซดฺ บิน ษาบิต กล่าว กับท่านอบูบักรและท่านอุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ในขณะที่ทั้งสองกล่าวแก่เขา ว่า "ท่านจงรวบรวมอัลกุรอาน" (ท่านเซดฺ บิน ษาบิต จึงกล่าวว่า) ท่านทั้งสองจะกระทำการสิ่งหนึ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่เคยกระทำกระนั้นหรือ ? "
หลังจากนั้น ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ กล่าวว่า "แท้จริงกลุ่มซอฮาละฮ์นั้น ได้ระวังทุกๆบิดอะฮ์ หากแม้ว่ามันจะไม่เป็นไรก็ตาม เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ทำสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยที่บรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยไม่ขัดแย้งกับหลักชะรีอะฮ์ และไม่ค้านพร้อมกับชะรีอะฮ์นั้น พวกเขามีความเห็นว่า ให้กระทำมันได้ และถือว่าไม่เป็นไร เช่น การที่ท่านอุมัรได้รวบรวมผู้คนทำการละหมาดตะรอวิหฺในเดือนร่อมาฏอน และกล่าวว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
(ดู หนังสือ ตัลบีส อิสลีส หน้า 7)

6. อิมาม อบู ชามะฮ์ อับดุรเราะห์มาน บิน อิสมาอีล อัลมุก๊อดดิซีย์ อัชขาฟิอีย์ (665 ฮ.ศ.)

ท่านอบู ชามะฮ์ กล่าวว่า " สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ (แล้วท่าน อบู ชามะฮ์ ก็อ้างอิงคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จากนั้น ท่านอบู ชามะฮ์กล่าวว่า ) ฉันขอกล่าวว่า แท้จริง มันก็เป็นอย่างเช่นดังกล่าว เพราะท่านนบี(ซ.ล.) ส่งเสริมให้มีการละหมาดสุนัตในเดือนร่อมะฏอน โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กระทำที่มัสยิด โดยที่ซอฮาบะฮ์บางส่วนได้ทำการละหมาดตามท่านนบีเพียงไม่กี่คืน หลังจากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการละหมาดดังกล่าวแบบญะมาอะฮ์ โดยท่านนบี(ซ.ล.)ให้เหตุผลว่าดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะถูกฟัรดูเหนือพวกเขา ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้เสียชีวิต การกระทำดังกล่าวก็ยุติลง ช่วงหลังจากนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์จึงลงมติให้ทำการละหมาด(ตะรอวิหฺ)ในเดือนรอมาฏอนที่มัสยิดแบบญะมาอะฮ์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูเอกลักษณ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้ และได้ส่งเสริมให้กระทำมัน วัลลอฮุอะลัม

ดังนั้น บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ และหวังผลบุญ และมีการหวังผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี โดยที่บิดอะฮ์นั้น ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่างๆของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)
ท่านอบู ชามะฮ์ ได้ให้คำนิยามของบิดอะฮ์ที่ดี จากคำพูดของท่านที่ว่า "จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้" ซึ่งหมายถึงผู้ที่คำพูดของเขานั้น ถูกตอบรับในเรื่องการอิจญฺมาอ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่ถูกตอบรับด้วยกับคำพูดของเขา ก็ถูกคัดออกไป เช่นคำกล่าวของอิบนุตัยมียะฮ์ และผู้ที่มีแนวทางเดียวกับเขา ดังนั้น จึงไม่อนุญาติกับผู้ที่คัดค้านคำกล่าวนี้ เนื่องจากมันเป็นการแหวกมติของประชาชาติอิสลาม และการแหวกมติของประชาชาติอิสลามนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม

7. ท่าน อิบนุ อัล-อะษีร

ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า "บิดอะฮ์ มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ และบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ดังนั้น สิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูล(ซ.ล.) ทรงใช้นั้น ย่อมอยู่ในกรอบของการตำหนิและปฏิเสธ และสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การครอบคลุมสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้และส่งเสริม หรือสิ่งที่ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เรียกร้องและส่งเสริม ก็ย่อมอยู่ในกรอบแห่งการสรรญเสริญ" จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร ทำการยกตัวอย่างบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า " บิดอะฮ์(จากคำกล่าวของท่านอุมัรนี้) แก่นแท้แล้ว คือซุนนะฮ์ เพราะท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

عليكم بسنتى وسنة الخلفاء الراشدين

"จำเป็นบนพวกท่าน ด้วยซุนนะฮ์ของฉัน และซุนนะฮ์ของบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรม"
และท่านร่อซุล กล่าวอีกว่า

إقتدوا بالذين من بعدى أبى بكر وعمر

" และพวกเจ้าจงดำเนินตาม ด้วยกับทั้งสองหลังจากฉัน(เสียชีวิตแล้ว) คือ อบูบักรและอุมัร"
และหากเราได้ดำเนินตามความหมายตามนี้ ก็สามารถตีความ อีกหะดิษหนึ่งที่ว่า

(كل محدثة بدعة)

"ทุกสิ่งที่ทำขึ้นใหม่นั้นเป็นบิดอะฮ์"

คือ แท้จริง ท่านร่อซูล(ซ.ล.)หมายถึง ทุกๆสิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐาน(อุซูล)ต่างๆของชะริอะฮ์และไม่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ " (ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ ฟี ฆ่อรีบ อัลหะดีษ เล่ม 1 หน้า 106 - 107)

8. อัลหาฟิซฺ อิมาม มั๊วะหฺยุดดีน อันนะวาวีย์ (ร.ฏ.) (676 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวว่า " คำว่า بَدَعَ คือ บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนาแล้ว หมายถึง ทำให้เกิดขึ้นใหม่กับสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และ บิดอะฮ์ ก็แบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ ท่านชัยค์ อิมาม ผู้ซึ่งถูกลงมติถึงความเป็น ผู้นำและความมีเกียตริ และมีความแน่นแฟ้นและปราดเปรื่องในหลากหลายวิชาการ คือ อบู มุหัมมัด อับดุลอะซีซฺ บิน อับดุสสลาม (ร่อฮิมะหุลเลาะฮ์ วะ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวไว้ ในตอนท้ายหนังสือ ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ว่า " และบิดอะฮ์ก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์

และแนวทางในการทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่างๆของชาริอะฮ์ (قواعد الشريعة) ดังนั้น บิดอะฮ์ที่เข้าไปอยู่หลักการต่างๆที่วายิบ ก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่างๆที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์......(จากนั้นอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวต่อว่า " อัลบัยอะกีย์ ได้รายงาน โดยสายรายงานของเขา ไว้ใน หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ จากอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) ว่า

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " ( ดู หนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลู้เฆาะฮ์ ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 3 หน้า 22 - 23)


ขอเชิญคุณไออาเอฟและบังอะสันทำการวิจารณ์สนทนา และยกคำนิยามที่ตนเองยึดอยู่ และเพื่อก็จะมาทำการวิจารณ์คำนิยามที่วะฮาบีย์เขายกมาอ้างอิง อินชาอัลเลาะฮ์

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo  
รอยยา
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/02/2004
ตอบ: 78


ตอบตอบ: Sun Jan 22, 2006 3:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอขัดจังหวะหน่อยนะคะ


1. ที่คุณ al-azhary เสนอมาเป็นคำนิยามทางภาษาหรือทางศาสนา อ่านแล้วสับสนจัง

2. บิดอะฮฺมีกี่ประเภทกันแน่ เพราะที่คุณนำมาเสนอนี้ก็เข้าใจได้ว่า อุลามาอฺจำแนกไว้ไม่ตรงกัน

3. ตัวอย่างบิดอะฮฺที่เสนอมานี้ครอบคลุมทั้งทางดุนยาและทางศาสนา มีข้อจำกัดอย่างไรคะ

4. คำท่านอุมัรที่ยกมา ท่านกล่าวโดยไม่มีต้นเรื่องหรือคะ อยากทราบที่มาของคำพูดนี้


รบกวนท่านให้รายละเอียดก่อน เดี๋ยวอ่านไปเยอะๆ จะงง ขออัลลอฮฺตอบแทนคะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 5:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
ตอนนี้มีภาระกิจยุ่งเลยเข้ามาไม่บ่อย เห็นน้องบ่าวเราออกมานำเสนอหลักฐานเรื่อง การสนับสนุนบิดอะฮ รู้สึกเป็นห่วงน้องเราคนนี้ เลยขอนำเสนอเรื่อง บิดอะฮ เพื่อให้น้องบ่าวได้นำไปทบทวนดู ดังนี้
البدعة: ما أحدث ممّا لا أصل له في الشريعة يدلّ عليه. أمّا ما كان له اصل من الشرع يدلّ عليه فليس ببدعة شرعاً، وإن كان بدعة لغة
บิดอะฮ คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่ จากสิ่งที่ไม่มีที่มาในศาสนบัญญัติ ได้แสดงบอกไว้ สำหรับสิ่งที่มีที่มาจากบทบัญญัติได้แสดงบอกเอาไว้นั้น ก็ไม่เรียกว่าเป็นบิดอะฮในทางศาสนา ถึงแม้จะเป็นบิดอะฮในทางภาษาก็ตาม
- โปรดดู جامع العلوم الحكم: ص160 ط الهند

อิหม่ามอัชชาฏิบีย์กล่าวว่า
البدعة: طريقة في الدين مخترعة، تضاهي الشرعية، يقصد بالسلوك عليها ما يقصد بالطريقة الشرعية
บิดอะฮคือ แนวทางในเรื่อง ศาสนา ซึ่งถูกอุตริขึ้นมาใหม่ เลียนแบบศาสนบัญญัติ โดยมีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ เหมือนกับจุดมุ่งหมายตามแนวทางศาสนบัญญัติ – ดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 37
อัลหาฟิซอิบนุหะญัรอัลอัสกอลานีย์กล่าวว่า
ما أحدث وليس له أصل في الشرع يسمّى في عرف الشرع بدعة، وما كان له أصل يدلّ عليه الشرع فليس ببدعة
คำว่า “สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีที่มาในบทบัญญัติ(ในศาสนา) เรียกตามนิยามในทางศาสนาว่า บิดอะฮ และสิ่งใดที่ปรากฏที่มาซึ่งมีบทบัญญัติได้แสดงบอกเอาไว้ นั้น ไม่ใช่บิดอะฮ - ดู فتح الباري ج5: ص156 و ج17: ص9
อัลหาฟิซอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีกล่าวว่า
البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة
บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และในทางศาสนา ใช้เรียก สิ่งที่ตรงกันข้ามกับอัสสุนนะฮ ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ (คือไม่ใช่หะสะนะฮ) - ดูฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 5 หน้า 156 เล่ม 17 หน้า 9
อัศศอนอานีย์ กล่าวไว้ว่า
وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة
สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10
อัช-ชาฏิบีย์ได้กล่าวอีกว่า
طريقة في الدين مخترعة تضاهي الشرعية
يقصد بالسلوك عليها المبالغة في التعبد لله سبحانه.
คือ แนวทางในเรื่องศาสนา ที่ถูกประดิษฐขึ้นมาเลียนแบบศาสนบัญญัติ โดยมีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติเพื่อให้การเคารพภักดีต่ออัลลอฮมีความดีมากยิ่งขึ้น - ดูอัลเอียะติศอม ของอัชชาฏิบีย เล่ม 1 หน้า
อบีชามะฮกล่าวว่า
37وأما قول عمر رضي الله عنه: "نعمت البدعة هذه"[رواه البخاري في "صحيحه" (2/252) من حديث
عبد الرحمن بن عبد القاري]؛ فالمراد بذلك البدعة اللغوية لا البدعة الشرعية؛ لأن عمر قال ذلك بمناسبة جمعه الناس على إمام واحد في صلاة التراويح، وصلاة التراويح جماعة قد شرعها الرسول صلى الله عليه وسلم ؛ حيث صلاها بأصحابه ليالي، ثم تخلف عنهم خشية أن تفرض عليهم[انظر: "صحيح البخاري" (2/252)
สำหรับคำพูดของท่านอุมัร(รฎ)ว่า "นี้คือ บิดอะฮที่ดีนั้น หมายถึง บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา เพราะท่านอุมัรกล่าวเช่นนั้น เพื่อความเหมะสม โดยให้ผู้คนมาร่วมละหมาดตะรอเวียะภายใต้อิหม่ามคนเดียวกัน โดยที่ละหมาดตะรอเวียะญะมาอะฮนั้น ท่านรซูลุลลอฮ ได้มีบัญญัติมันแล้ว โดยท่านได้ละหมาดกับเหล่าสาวกของท่าน หลายคืน ต่อมาท่านได้ทิ้งพวกเขาให้รอ(โดยไม่ออกมาร่วมละหมาด)เพราะเกรงว่า มันจะถูกบัญญัติให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขา - ดู
"الباعث على إنكار البدع والحوادث" لأبي شامة (ص 93 ـ 95)].
คือ เนื่องจากสมัยนบี ศอลฯ เป็นช่วงที่มีการประทานวะหยู แต่ ต่อมาท่านก็ได้สนับสุนการกระทำละหมาดญะมาอะฮตะรอเวียะห
........................................
น้องอัล-อัซฮารีย์ครับ อย่าพยายามทำบิดอะฮเลยนะน้อง และ การให้ปฏิบัติตามสุนนะฮของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ก็มีคำสั่งของท่านรซูล ศอลฯ ไว้แล้ว จะมาอ้างเป็นหลักฐานสนับสนุนบิดอะฮไม่ได้หรอกน้องเอ๋ย
وقال سفيان الثوري - رحمه الله – : ( البدعة أحب إلى إبليس من المعصية، المعصية يتاب منها، والبدعة لا يتاب منها ) .شرح السنة للبغوي : 1 / 216.
และซุฟยานอัษเษารีย์ (ขออัลลอฮเมตตาแด่ท่าน)กล่าวว่า "บิดอะฮ เป็นที่ชอบยิ่งแก่อิบลิส ยิ่งกว่ามะศียะฮ(ความผิดในการฝ่าฝื่นศาสนา) มะศียะฮนั้น ได้มีการเตาบะฮ โดยที่บิดอะฮนั้น ไม่มีการเตาบะฮ (เพราะคิดว่าดี) - ดูชัรหุสุนนะฮของอัลบัฆวีย์ เล่ม 1 หน้า 216
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างข้อความจากเวปมุรีด

No. : 7927

เรียนเวปมาสเตอร์มุรีด ดอทคอม

ผมคิดว่า คำร้องของคุณติดตามอ่าน นั้น คงไม่ทันการแล้วล่ะครับ เพราะน้องอัล-อัซฮะรีย์เขา ชอบการสนทนาในเวปมรดกฯมากกว่า เนื่องจากระบบกระดานเสวนาของเขาดี และเวปมาสเตอร์มรดกฯ ก็ให้โอกาสให้กับเราในการสนทนามานานแล้ว และนั่งก็ถือว่า เวปมาสเตอร์มรดกฯ นั้น เขาให้เกียตริและเปิดโอกาสให้แก่เรา ดังนั้น พวกเราจึงไม่เคยเอ่ยนามและกล่าววิจารณ์ถึง อาจารย์หรือผู้รู้ที่เป็นแกนนำในเวปมรดกฯ ในทางที่เสียหายเลยแม้แต่น้อย และกระผมก็อยากให้เวปมาสเตอร์มรดกฯ อดทน และใจกว้างในสิ่งที่น้องอัล-อัซฮะรีย์จะนำเสนอสนทนา"ในเชิงวิชาการ" อย่างที่พวกคุณได้ทำมาอยู่ก่อนแล้ว

ถึง ท่านฮาเก็ม ท่านชุกกรี (ที่เข้ามาอ่านในเวปนี้) ท่าน คนอยากรู้

เมื่อพวกท่านเข้าไปอ่านการสนทนาในเวปมรดก ก็สมควรที่จะทำการสนทนาออกความเห็นร่วมด้วย ก็จะเป็นการดีอย่างยิ่งครับผม เนื่องจากว่า ไอ้น้องอัล-อัซฮะรีย์ น้องชายสุดหล่อของผมนั้น ความจริงแล้วเขาไม่ค่อยว่างสักเท่าไหร่ การที่เขาจะมาเฝ้าบอกว่า "ผมไม่ค่อยมีเวลานั้น" เขาเกรงว่า กลุ่มวะฮาบีย์ที่จ้องจะวิจารณ์เขานั้น จะกล่าวหาเขาว่าเลี่ยงประเด็นหรืออะไรต่างๆนาๆในทางที่เสียหาย จนทำให้เขาต้องเปอะเปื้อนโดยใช่เหตุ เมื่อเขาไม่ค่อยว่าง และน้องเขาก็มาขอร้องให้ผมเข้ามาสนทนาชี้แจงไปพลางๆ ไอ้ตัวกระผมก็ต้องเดือนร้อนอีกตามเคยล่ะครับ แต่น้องเขามีอุดมการณ์ที่จะชี้แจงความจริงที่เป็นสัจจะธรรม ไอ้กระผมก็ต้องยอมเข้ามาสนทนาชี้แจงอีกตามเคย จนกระทั้งคุณอะสันบอกว่า ผม "คือทนาย" ให้น้องเขา ฮ้าฮ้ายยย... ก็จะทำไงได้ละครับ ในเมื่อเรามาจากสำนักเดียวกัน คืออัล-อะชาอิเราะฮ์ และมัซฮับทั้ง 4 การสนทนาก็จะอยู่ในแนวทางเดียวกันแบบนี้แหละครับ มุอัสสะลาม


วันที่ส่ง: 23.1.2006 19:47:35
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
fais
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2005
ตอบ: 84


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
มีคำเตื่อนมากมายจากท่าน นบี Solallah ให้ละเว้น บิดอะห์ เพราะถ้าวันนี้ประดิษฐขึ้นมา หนึ่ง บิดอะห์พรุ่งนี้ก็จะเกิดขึ้นอีกหนึ่งบิดอะห์ ไม่เคยนึกคิดเลยว่ารอบๆ กะอ์บะห์จะมี รูปปั้นมาเรียงเพื่อเขารพบูชากัน แต่ก็มีจนได้ทั้งๆที่ เป็นเมืองที่ไม่เคยมีผู้คนอาศัยอยู่ การกระทำบิดอะห์ก็เช่นเดียวกัน วันนี้แค่หนึ่งคืบแต่รุ่นลูกหลานอาจจะถึ่งกับซีริก ก็เป็นได้ และการปฎิบัติศาสนากิจก็จะกลายรูปกลายร่างกลายเป็นอีกหนึ่งศาสนาแต่ชื่อว่าอิสลาม ลองมาคิดดูว่าทำไมท่าน นบี Solallah ถึ่งได้แน่นนักแน่นหนา ว่าอย่ากระทำมัน
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณ(สุ)รอยยากล่าวว่า

ขอขัดจังหวะหน่อยนะคะ


1. ที่คุณ al-azhary เสนอมาเป็นคำนิยามทางภาษาหรือทางศาสนา อ่านแล้วสับสนจัง

2. บิดอะฮฺมีกี่ประเภทกันแน่ เพราะที่คุณนำมาเสนอนี้ก็เข้าใจได้ว่า อุลามาอฺจำแนกไว้ไม่ตรงกัน

3. ตัวอย่างบิดอะฮฺที่เสนอมานี้ครอบคลุมทั้งทางดุนยาและทางศาสนา มีข้อจำกัดอย่างไรคะ

4. คำท่านอุมัรที่ยกมา ท่านกล่าวโดยไม่มีต้นเรื่องหรือคะ อยากทราบที่มาของคำพูดนี้

รบกวนท่านให้รายละเอียดก่อน เดี๋ยวอ่านไปเยอะๆ จะงง ขออัลลอฮฺตอบแทนคะ


ผมขอกล่าวว่า

ถูกต้องแล้วครับ คุณรอยยา หากเราอ่านแล้วจับประเด็นไม่ได้ ก็สมควรถาม ซึ่งมันเป็นวิธีการของผู้ใฝ่รู้ในความจริงครับ ผมขอตอบชี้แจงแทนน้องอัล-อัซฮะรีย์ ไปพลางๆนะครับ และผมจะชี้แจงเล็กน้อยในสิ่งที่คุณถามมาเป็นข้อๆนะครับ

ข้อหนึ่ง . ผมเน้นสรุปให้คุณง่ายๆจากคำนิยาม คำว่า"บิดอะฮ์" ในทั้งเชิงภาษาและนิยามของอุละมาอ์ ซึ่งความจริงคำนิยามในเชิงภาษานั้น ก็เอาบรรทัดฐานมาจาก หลักฐานของศาสนา ที่มาจากอัลกุรอานนะครับ

สรุปนิยามทางภาษาคือ

คำนิยาม มีความหมายที่ครอบคลุม (عموم) ดังนั้น ในประเด็นนี้(คือคำนิยามในทางภาษาอาหรับ)จึงไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานที่เด็ดขาดได้ ดังนั้น เราจึงต้องกลับไปหาอัล-กุรอานและซุนนะฮ์

สำหรับอัลกุรอานก็คือ

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)
หมายถึง "พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีรากฐานเดิมและรูปแบบมาก่อน ซึ่งไม่มีการพาดพิงถึงการเหมือน (المثالية) เพราะคำว่า เหมือน (المثالية) ในเชิงภาษานั้น ให้ผลถึงการเปรียบเทียบ หรือเทียบเคียง (القياس) ได้"

และอัลกุรอานได้ย้ำอีกอายะฮ์หนึ่งว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)
หมายถึง "ฉันไม่มีอะไร นอกจากได้มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อนแล้ว และตัวอย่างนี้ ก็คือ บรรดานบีและบรรดาร่อซูล" ดังกล่าวจึงชี้ชัดแก่เราว่า แท้จริง บิดอะฮ์มี สอง ประเภท

1. บิดอะฮ์(สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดย)ที่มีรากฐานมาแต่เดิม (ตามความหมายของอายะฮ์ (อัล-อะหฺกอฟ 9)

2. บิดอะฮ์(สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดย)ที่ไม่มีรากฐานมาแต่เดิม (ตามความหมายของอายะฮ์ (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

ข้อที่สอง . การแบ่งประเภทบิดอะฮ์นั้น จะแบ่งเป็นกี่ประเภทก็ไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญคือการแบ่งประเภท มันอยู่ในหลักการที่ถูกต้องหรือไม่ ? จะแบ่งเป็น 2 ประเภท หรือจะแบ่งย่อยเป็น 5 ประเภท โดยเอาไปวางบนหลักการของ หุกุ่มตามหลักศาสนาทั้ง 5 คือวายิบ สุนัติ หะรอม มักโระฮ์ และมุบาห์ ซึ่งมันก็ไม่แตกต่างกับการแบ่งประเภทเตาฮีด ออกเป็น 3 ประเภทอย่างที่วะฮาบีย์เขามีหลักการดังกล่าว ดังนั้น การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 นั้น มันไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า ได้ทำการแบ่งประเภทของเตาฮีดโดยที่อยู่บนพื้นฐานและหลักการที่ถูกต้องหรือไม่ ??? ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น การแบ่งประเภทเรื่องบิดอะฮ์ก็เช่นเดียวกันครับ

ข้อที่สาม . นั่นคือประเด็นที่เราต้องคุยกับอีก วะฮาบีย์เขาปฏิเสธและถามว่า สะลัฟ ท่านใดที่แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นบิดอะฮ์ที่ดีด้วย อันนี้เราก็พออธิบายไปบ้างแล้วในคำนิยาม แต่เราก็ขอถามบ้างว่า อุลามาอ์สะลัฟท่านใด ที่ทำการแบ่งบิดอะฮ์ ออกเป็น 1. บิดอะฮ์ดุนยา 2. บิดอะฮ์ศาสนา ทั้งที่การแบ่งเช่นนี้ ยังความอันตรายมากเลยทีเดียว เพราะคำ "ดุนยา" นั้น มันรวมทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่เลว แล้วการแบ่งอย่างนี้ มันมีหลักการอย่างไร ?

ข้อที่สี่ . คำพูดของท่านอุมัรนั้น มีสายรายงานที่มาที่ซอฮิหฺ เพราะรายงานโดยอิมาม บุคคอรีย์ การที่ท่านอิมาม อุมัร (ร.ฏ.) กล่าวว่า "รวมละหมาดตะรอวิหฺ คือบิดอะฮ์ ที่ดี "นั้น หากไม่มีที่มาตั้งแต่เดิม ก็ย่อมชัดเจนว่า สิ่งที่คอลิฟะฮ์ผู้ทรงคุณธรรมได้สั่งให้กระทำนั้น ก็เป็นซุนนะฮ์ของคอลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม ดังที่ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า" พวกท่านจงดำรงค์อยู่บนซุนนะฮ์ของฉัน และซุนนะฮ์ชองบรรดาคอลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม" แต่ท่านซุนนะฮ์ที่อุมัรได้สั่งให้กระทำขึ้นนั้น ท่านอุมัรกล่าวว่าเป็น "บิดอะฮ์ที่ดี" ดังนั้น บิดอะฮ์ที่ดี ก็คือ "ซุนนะฮ์นั่งเอง"

แต่หากสิ่งที่ท่านอุมัร (ร.ฏ.) ได้สั่งให้กระทำนั้น คือการรวมละหมาดตะรอวิหฺ มีที่มาตั้งแต่ต้นแล้ว ก็แสดงว่าเป็นซุนนะฮ์ที่ท่านนบีเคยทำ ก็ไม่ได้คัดค้านในการแบ่งบิดอะฮ์ เพราะหากท่านนบีเคยทำการรวมละหมาดในเดือนรอมาฏอนมาแล้ว (ซึ่งถือว่าเป็นซุนนะฮ์) แต่เมื่อท่านอุมัรทำการริเริ่มสั่งละหมาดรวมกันอีกครั้งหนึ่ง ท่านอุมัร ก็ยังกล่าวว่า "มันเป็นบิดอะฮ์ที่ดี" (ทั้งที่มันเคยมีแบบอย่าง(ซุนนะฮ์)มาจากท่านนบี(ซ.ล.)แล้ว ดังนั้น "บิดอะฮ์ที่ดี" ในความจริงแล้ว ก็คือ "ซุนนะฮ์ที่ดี" นั่นเอง เพราะมีหลักการเดิม มาระบุ

ส่วน อุลามาอ์ท่านใด จะมีความเห็นว่า "บิดอะฮ์"ที่ท่านอุมัรพูดมานี้ คือ"บิดอะฮ์ในเชิงภาษา" หรือ "บิดอะฮ์ในทางศาสนา" อันนี้ไม่ใช่ปัญหา หรอกครับ เนื่องจากเราจะให้น้ำหนัก อย่างไรก็ได้ ตามที่เราเห็นและรู้ตามหลักฐานที่เราศึกษา

แต่ที่สำคัญ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ คือบิดอะฮ์ที่มีที่มาและไม่ขัดกับ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และอิจญฺมาอ์ ไม่ว่าจะเข้าใจว่า บิดอะฮ์นั้น จะอยู่ในเชิงภาษา หรือศาสนา ก็ตาม ก็ขอให้มีที่มาจากหลักการเดิม และต้องมีเงื่อนไขในการกระทำด้วยครับ แต่บิดอะฮ์แบบลุ่มหลงนั้น เราต้องห่างไกลนะครับ

หากต้องการชี้แจงเพิ่มเติมมากกว่านี้ ก็ต้องรอน้อง อัล-อัซฮะรีย์ นะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 9:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณฟาอิสกล่าวว่า

มีคำเตื่อนมากมายจากท่าน นบี ให้ละเว้น บิดอะห์ เพราะถ้าวันนี้ประดิษฐขึ้นมา หนึ่ง บิดอะห์พรุ่งนี้ก็จะเกิดขึ้นอีกหนึ่งบิดอะห์ ไม่เคยนึกคิดเลยว่ารอบๆ กะอ์บะห์จะมี รูปปั้นมาเรียงเพื่อเขารพบูชากัน แต่ก็มีจนได้ทั้งๆที่ เป็นเมืองที่ไม่เคยมีผู้คนอาศัยอยู่ การกระทำบิดอะห์ก็เช่นเดียวกัน วันนี้แค่หนึ่งคืบแต่รุ่นลูกหลานอาจจะถึ่งกับซีริก...

ผมขอกล่าวว่า

คุณฟาอิสครับ กรุณาพูดเรื่องคำนิยามบิดอะฮ์ในการแบ่งประเภท ตามลำดับขึ้นตอน ที่น้องอัล-อัซฮะรีย์ เขาได้กริ่นเอาไว้ข้างต้น กรุณาอย่างแทรกความเห็นที่ไม่ตรงประเด็นกันนัก สิ่งที่คุณพูดมานั้น ไม่ได้ชี้ถึงว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ มีขึ้นมาไม่ได้ การแบ่งประเภทบิดอะฮ์ นั้น เราต้องสนทนากัน ตามหลักการต่างๆของศาสนา ใช้อัลกุรอาน หะดิษ คำกล่าวของซอฮาบะฮ์ และการวินิจฉัยของอุลามาอ์ การกล่าวหาว่าชิริก หรืออะไรนั้น มันยังไม่ถึงประเด็นที่จะพูด ไว้คุยกันตอนท้ายๆประเด็นเรื่องบิดอะฮ์นี้ดีกว่า ทางที่ดี ผมว่าคุณทำตัวแบบ คุณรอยยาดีกว่า ไม่เข้าใจอะไรในสิ่งที่น้องอัล-อัซฮะรีย์ เขานำเสนอมา คุณรอยยาก็ถาม แต่คุณกลับมายกตัวอย่างว่าหาว่า ชิริก บูชา อะไรๆนั้น ก็เดี๋ยวก่อน หากคุณเข้าคุณยึดว่ามีบิดอะฮ์เดียวคือลุ่มหลง ก็ยกหลักฐานมาคุยกัน จะดีกว่านะครับ และหากคุณจะคุยเรื่องบิดอะฮ์นี้ ก็จงดู สิ่งที่น้องอัล-อัซฮะรีย์ได้บอกไปนะว่า "สิ่งที่เป็นข้อปลีกย่อยที่วะฮาบีย์หุกุ่มว่าเป็นบิดอะฮ์นั้น เราค่อยคุยกัน" หวังว่าคุณฟาอิสคงเข้าใจนะครับ และประเด็นที่คุณน่าจะชี้แจงคือ การแบ่งบิดอะฮ์ เป็น บิดอะฮ์ดุนยา และบิดอะฮ์ศาสนา นั้น มันมีความเป็นมากันอย่างไร??
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[B]น้องal-azhary ยกตัวอย่างบิดอะฮหะสะนะฮมาให้ชมคือ
ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่สุนัติ
(1) สร้างสถานที่สาธารณูประโยชน์
(2) สร้างสถาบันการศึกษา
(3) สร้างเขื่อน
(4) ทุกความดีที่ไม่มีในสมัยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)
(5) การละหมาดตะรอวิหฺ
(6) การกล่าวในเรื่องความละเอียดละออของวิชาตะเซาวุฟ
(7) การพูดถกในการชุมนุม เพื่อการอ้างหลักฐานในประเด็นต่างๆ หากมีเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)
…………………………..
ตอบ
ข้อ 1,2 และ 3 เป็นการบริจาคถาวรวัตถุเพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือทำ ประโยชน์เพื่อส่วนรวม อันนี้อยู่ในความหมายโดยรวม(อุมูม)ของคำว่า “صدقة جارية “ ดังหะดิษที่ว่า
إذا مات ابن آدم انقطع عنه عمله إلا من ثلاث: صدقة جارية أو علم ينتفع به أو ولد صالح يدعو له))[رقم1631
เมือลูกหลานอาดัมเสียชีวิตลง การงานของเขาก็เป็นอันยุติจากเขา เว้นแต่ สามประการ การบริจาคถาวรวัตถุ หรือ ความรู้ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ หรือ ลูกที่ดีขอดุอาให้แก่เขา – รายงานโดยมุสลิม หะดิษหมายเลข 1631
………………………………………………..
(4) ทุกความดีที่ไม่มีในสมัยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.
ข้อนี้ จัดอยู่ในบิดอะฮเต็มรูปแบบ ครับ เพราะท่านนบี ศอลฯ กล่าวว่า
"من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (ج3 ص1343 ـ 1344
ผู้ใดประกอบการงาน(อะมั้ลอิบาดะฮ)โดยไม่มีคำสั่งของเราบนสิ่งนั้น มันถูกปฏิเสธ - รายงานโดย มุสลิม
.............................................
(5) การละหมาดตะรอวิหฺ
อันนี้ก็ได้อ้างหลักฐานไปแล้ว การละหมาดตะรอเวียะ ท่านบี ศอลฯได้เคยปฏิบัติ และส่งเสริมให้ปฏิบัติ จะเรียกว่า บิดอะฮได้อย่างไร ครับน้องชาย ,มาดูหะดิษอบีซัรริน ร.ฎ กล่าวว่า
: " صمنا مع رسول الله صلى الله عليه وسلم رمضان، فلم يقم بنا شيئا من الشهر حتى بقي سبع فقام بنا حتى ذهب ثلث الليل، فلما كانت السادسة لم يقم بنا، فلما كانت الخامسة قام بنا حتى ذهب شطر الليل، فقلت : يا رسول الله ! لو نفلتنا قيام هذه الليلة، فقال : " إن الرجل إذا صلى مع الإمام حتى ينصرف حسب له قيام ليلة " فلما كانت الرابعة لم يقم، فلما كانت الثالثة جمع أهله ونساءه والناس، فقام بنا حتى خشينا أن يفوتنا الفلاح، قال : قلت : وما الفلاح ؟ قال : السحور، ثم لم يقم بنا بقية الشهر " حديث صحيح، أخرجه أصحاب السنن.
พวกเราได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน พร้อมกับท่านรซูลุลอฮ ศอลฯ แล้วท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเราเลยสักคืน จากเดือน นั้น จนกระทั้ง เหลือเจ็ดคืน แล้วท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปหนึ่งในสามของกลางคืน แล้วปรากฏว่าเมือเหลืออีกหกวัน ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลือห้าวัน ท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปครึ่งคืน แล้วข้าพเจ้ากล่าวว่า”โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ ถ้าพวกเราอาสาจะลุกขึ้นละหมาดในคืนเหล่านี้(จะดีไหม) แล้วท่านได้กล่าวตอบว่า “แท้จริงคนใดเมื่อเขาได้ละหมาดพร้อมกับอิหม่าม จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการตอบแทนเท่ากับละหมาดทั้งคืน แล้วเมื่อเหลืออีกสี่คืน ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลืออีกสามคืน ท่านได้ชุมนุมครอบครัวของท่าน บรรดาภรรยาของท่านและบรรดาผู้คน แล้วท่านได้นำละหมาด พวกเรา จนกระทั้งพวกเราเกรงว่าจะชวดอัล-ฟัลลาห เขา(อบูซัร)กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า “อัล-ฟัลลาหนั้นคือ อะไร ท่านได้ตอบว่า คือ การรับประทานสะหูร แล้วคืนที่เหลือในเดือนนั้น ท่านก็ไม่ได้ละหมาดนำพวกเรา – หะดิษเศาะเหียะ รายงานโดยเจ้าของสุนัน
..............
ส่วนที่ท่านไม่ได้ออกมาละหมาดนำเหล่าเศาะหาบะฮนั้น ต่อมาท่านก็บอกเหตุผลแล้วว่า เกรงจะเป็นฟัรดู แต่ท่านก็ส่งเสริมให้สาวกกระทำ อย่างนี้จะเรียก บิดอะฮได้อย่างไร
........................................
(6) การกล่าวในเรื่องความละเอียดละออของวิชาตะเซาวุฟ
(7) การพูดถกในการชุมนุม เพื่อการอ้างหลักฐานในประเด็นต่างๆ หากมีเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)
.....................................
สองข้อหลัง เรื่องวิชาตเศาวูฟ ไม่ปรากฏชื่อนี้ในสมัยท่านนบี ศอลฯ เรื่องนี้ต้องพูดกันในรายละเอียด
ส่วนข้อ 7 อันนี้ แปลกพิลึก การประชุมเพื่อเสวนาเกี่ยวหลักฐานในประเด็นต่าง ถูกจัดเป็นบิดอะฮด้วย ทั้งที่การประชุมปรึกษาหารือกันนั้น เป็นหลักการหนึ่งในการบริหารกิจการอิสลาม
فَبِمَا رَحْمَةٍ مِّنَ اللّهِ لِنتَ لَهُمْ وَلَوْ كُنتَ فَظّاً غَلِيظَ الْقَلْبِ لاَنفَضُّواْ مِنْ حَوْلِكَ فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاسْتَغْفِرْ لَهُمْ وَشَاوِرْهُمْ فِي الأَمْرِ فَإِذَا عَزَمْتَ فَتَوَكَّلْ عَلَى اللّهِ إِنَّ اللّهَ يُحِبُّ الْمُتَوَكِّلِينَ [3.159] เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า (มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักใคร่ผู้มอบหมายทั้งหลาย
.................
ส่วนประเด็นบิดอะฮมักรูฮนั้น ไม่ขอพูดถึงแล้วละครับ เพราะมันไม่จำเป็นจะต้องอธิบายแล้วละครับท่านผู้อ่าน
[/B]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 10:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอะสันกล่าวว่า

สองข้อหลัง เรื่องวิชาตเศาวูฟ ไม่ปรากฏชื่อนี้ในสมัยท่านนบี ศอลฯ เรื่องนี้ต้องพูดกันในรายละเอียด

ผมขอกล่าวว่า

โถ..คุณอะสันครับ ผมอ่านข้อเขียนอันนี้ ผมต้องเข้ามาวิจารณ์สักหน่อย เพราะรักนะเด็กโง่... Rolling Eyes คุณอะสันบอกว่า "เรื่องวิชาตะเซาวุฟ ไม่มีปรากฏชื่อนี้ในสมัยท่านนบี" เท่าที่ผมสนทนามา คุณอะสันเป็นคนที่ไม่มีตะเซาวุฟ เช่นกรณี ที่มีคนมาอธิบายอย่างนั้นอย่างนี้ คุณอะสันก็บอกว่า "ไม่ต้องมาอธิบายให้ผมฟังหรอก" (ดูที่กระดานเวปมุรีด) ซึ่งคำพูดนี้ ชี้ให้เห็นว่า คนพูดนั้น "ตะกับบุร" คือฉัน(กู) ก็รู้คุณ(มึง)ไม่ต้องมาบอกฉัน(กู)หรอก บางทีคุณอะสันพูดว่า "ถ้าผมยอมรับแนวทาง(คณะเก่า)ปานนี้ เขาได้เป็นประธานฯ ไปแล้ว แต่ผมไม่มักใหญ่ไฝ่สูง" (เขาพูดในความหมายนี้) น้องอัล-อัซฮะรีย์บอกว่า "คนพูดแบบนี้นั้น "ริยาอฺ" โอ้อวดตนเอง คือพูดง่ายๆว่า คุณอะสันไม่มีตะเซาวุฟ ดังนั้น คุณจะมาคุยเนื้อหาเรื่องตะเซาวุฟ กับพวกเราไม่ได้หรอก หากคุณอะสันไม่ศึกษาวิชาตะเซาวุฟอย่างเข้าใจจริงๆนั้น คุณอะสันจะมาพูดเรื่องตะเซาวุฟฃาวซูฟีย์ ได้อย่างไรกัน??


วะฮาบีย์นั้น พอพูดเรื่องตะเซาวุฟ พวกเขาเข้าเพียงแค่การหาประเด็นของซูฟีย์ที่นอกลู่มาวิจารณ์ แล้วมาเหมานักซูฟีย์ที่มีตะเซาวุฟกันหมด แม้กระทั้ง ท่าน ชัยค์ อักบัร อิบนุ อะรอบีย์ วะฮาบีย์ก็ยังหุกุ่มว่า ตกมุรตัด เป็นกาเฟร มุนาฟิก

วะฮาบีย์ที่ไม่เข้าใจตะเซาวุฟ ยังไม่เท่านั้น พวกเขายังบอกว่า วิชาตะเซาวุฟไม่ชื่อในสมัยนบี(ซ.ล.) คือพูดออกมาโดยอัคติ ลักลีด ตาบอด หนึ่งในนั้นคือ คุณอะสัน อายุใกล้ 60 แล้ว แต่ความรุ้ของเขาก็ยังย้ำอยู่กับที่ เพราะชอบไปยึดและผูกติด เลยไปใหนไม่ได้

คุณอะสันกล่าวว่า "วิชาตะเซาวุฟไม่มีชื่อเรียกในสมัยนบี(ซ.ล.)" แต่วิชา อะกีดะฮ์" ล่ะครับ มีชื่อเรียกในสมัยนบี(ซ.ล.)ไหม ? แม้กระทั้งในอัลกุรอานและหะดิษ ก็ไม่ได้มีระบุไว้เลยถึงคำว่า "อะกีดะฮ์" คำว่า"วิชาอุลูมตัฟซีร" ก็ไม่มีในสมัยนบี วิชา"มุสต่อละฮ์หะดิษ" ก็แล้วใหญ่

แต่ถ้าคุณอะสันจะพูดเรื่อง"การเรียกวิชาตะเซาวุฟ" นั้นเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงล่ะก็ คุณก็สนทนาได้ครับ เพราะมันอยู่ในประเด็นนี้เหมือนกันครับ แต่ถ้าสนทนารายละเอียดตะเซาวุฟล่ะก็เกรงว่ามันจะประเด็น ตามที่น้องอัล-อัซฮะรีย์ เกริ่นเอาไว้น่ะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 11:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
อิหม่ามมาลิก บุตร อะนัสกล่าวว่า
من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة فقد زعم أن محمدا صلى الله عليه وسلم خان الرسالة، لأن الله يقول: (اليَومَ أكْمَلْتُ لَكُم دِينَكُمْ) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم ديناผู้ใดอุตริบิดอะฮขึ้นมาในอิสลาม โดยเห็นว่ามันดี (เห็นว่าเป็นบิดอะฮหะสะนะฮ) แน่นอนเขาเข้าใจผิดว่า แท้จริงมุหัมหมัด ศอลฯ นั้น ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นแห่งพระเจ้า เพราะว่าอัลลอฮทรงกล่าวว่า (วันนี้เราได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว) แล้ว สิ่งใดในวันนั้นไม่เป็นศาสนา ดังนั้นในปัจจุบันนี้ก็ไม่เป็นศาสนา - โปรดดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1/49الاعتصام (1/49).
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 23, 2006 11:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มุหัมหมัดกล่าวว่า
คุณอะสันกล่าวว่า
สองข้อหลัง เรื่องวิชาตเศาวูฟ ไม่ปรากฏชื่อนี้ในสมัยท่านนบี ศอลฯ เรื่องนี้ต้องพูดกันในรายละเอียด
ผมขอกล่าวว่า
โถ..คุณอะสันครับ ผมอ่านข้อเขียนอันนี้ ผมต้องเข้ามาวิจารณ์สักหน่อย เพราะรักนะเด็กโง่
..............................
ตอบ
เอ้า..คนฉะลาดมาแล้วหรือ ไม่ต้องมาบ่นนะคร้าบ เขารู้มาทั้งนานแล้วแหละครับว่าเตาเศาวูฟคืออะไร แล้วทำไม่ เรื่องตะเศาวูฟจึงไปเกี่ยวข้องกับบิดอะฮด้วยล่ะครับ พ่อคนฉลาด อธิบายหน่อยชิ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
รอยยา
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/02/2004
ตอบ: 78


ตอบตอบ: Tue Jan 24, 2006 1:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอวิจารณ์นิดหนึ่ง

ตอนแรกอ่านข้อความของคุณ al-azhary ยังมองไม่ออก ก็สงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ จึงตั้งคำถามไว้ แต่ท่านไม่ยอมเข้ามาตอบ

พอคุณมูฮำหมัดมาเสริม ยิ่งงงเข้าไปอีก เช่นท่านบอกว่า

ดังนั้น "บิดอะฮ์ที่ดี" ในความจริงแล้ว ก็คือ "ซุนนะฮ์ที่ดี" นั่นเอง

ที่คุณมูฮำหมัดพูดนั้นหมายถึงซุนนะฮ์กับบิดอะฮ์คืออย่างเดียวกันหรือ ซึ่งนอกจากจะไม่ได้คำตอบแล้วยังมึนเพิ่มอีก

แต่ขอบคุณท่าน asan คะ ที่กรุณาชี้แจงด้วยหลักฐาน ได้รับความรู้มากทำให้ได้เห็นข้อต่าง

ญะซากัลลอฮฺ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3 ... 31, 32, 33  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 33

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ