ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Wed Oct 26, 2005 6:08 am ชื่อกระทู้: มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (เสวนาเชิงวิชาการ) |
|
|
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
สิ่งที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นทัศนะหนึ่งที่เป็นการนำเสนอในเชิงวิชาการ ไม่ใช่เป็นการกล่าวหา หากท่านใดไม่มีความเห็นด้วย หรือไม่พอใจในสิ่งที่ผมนำเสนอ ก็โปรดสนทนาในเชิงวิชาการ เพื่อยืนยันความถูกต้องในทัศนะของท่าน โดยที่ผมจะทำการสนทนาในเชิงวิชาการชี้แจงจุดยืนของผมต่อไป
คำว่า ซะลัฟ (السلف ) ในเชิงภาษาอาหรับนั้น หมายถึง ก่อน หรือ เวลาที่ผ่านมาแล้ว ศัพท์เทคนิคตามหลักวิชาการ หมายถึง กลุ่มชนสามศตวรรษแรกของอุมมะฮฺอิสลาม จากประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.)
ท่านอิบนุมัสอูด (ร.ฏ.)รายงานจากท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ (ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า " บรรดามนุษย์ที่ประเสริฐสุดคือศตวรรษของฉัน จากนั้นบรรดาบุคคลที่ถัดจากพวกเขา และจากนั้นบรรดาบุคคลที่ถัดมาจากพวกเขา ..." รายงานโดยท่านอิมามบุคอรีย์และมุสลิม
กลุ่มชนสามศตวรรษแรกนั้น สามารถจำแนกได้ดังนี้ คือ
1. บรรดาซอฮาบะฮฺ ซึ่งพวกเขาเป็นชนกลุ่มแรกที่รับอุดุมการณ์และอะกีดะฮฺต่างๆ จากท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)โดยตรง หลักการต่างๆ จึงมั่นคงและมีเสถียรภาพอยู่ในสติปัญญาและหัวใจของพวกเขา โดยยังความบริสุทธิ์จากความมัวหมองของบิดอะฮฺและความคลุมเคลือ
2. บรรดาตาบิอีน ซึ่งพวกเขาก็ยังได้รับสัมผัสทางนำของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยการเจริญรอยตามบรรดาซอฮาบะฮฺของท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.) และได้รับการชี้นำจากพวกเขาจากการได้เห็น อยู่ร่วม และได้รับอิทธิพลจากคำสอนต่างๆ ของท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)
3. ตาบิอิตตาบิอีน ซึ่งพวกเขาอยู่ในยุคที่ความบริสุทธิ์ของหลักการอัลอิสลามได้ถูกแทรกซึมจากหลักการภายนอกที่ไม่ใช่อัลอิสลาม จึงทำให้บิดอะฮฺเกิดขึ้นอย่างเปิดเผย โดยบิดอะฮฺ ความลุ่มหลง และอารมณ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จากสมัยหนึ่ง มายังอีกสมัยหนึ่ง จนกระทั้งถึงปัจจุบัน โดยที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)ได้กล่าวยืนยันไว้แล้ว ท่านอะนัส บิน มาลิก รายงานจากท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.) ว่า " ...กาลสมัยหนึ่งจะไม่ผ่านมากับพวกเจ้า นอกจากว่ากาลสมัยหลังจากนั้นจะเลวร้ายยิ่งกว่า" รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม
ดังนั้นการเจริญรอยตามสะลัฟนั้น ไม่ใช่จำกัดอยู่ในอักษรหรือถ้อยคำต่างๆ ที่พวกเขาได้พูด หรือจุดยืนต่างๆที่พวกเขาได้บ่งถึง เนื่องจากพวกเขาไม่ได้กระทำแบบดังกล่าวเอาไว้ แต่พวกเขาจะหวนกลับไปกับสิ่งที่พวกเขาได้หุกุ่มขึ้นมา ไปยังหลักการต่างๆในการอธิบายบรรดาตัวบทและรากฐานในการวินิจฉัย
การหวนกลับไปยังกฏเกนฑ์และหลักการพื้นฐานต่างๆ นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อบรรดามุสลิมทั้งหมด ในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นสะลัฟหรือเคาะลัฟ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ผิดพลาดในจุดหนึ่ง โดยที่เราจะยึดเอาคำว่า "สะลัฟ" มาเป็นชื่อเรียกเป็นมัซฮับขึ้นมาใหม่ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาริอัตอัลอิสลาม ท่านทั้งหลายพึงทราบเถิดว่า นั่นคือชื่อมัซฮับที่เกิดมาใหม่คือ " สะละฟียะฮฺ" ดังนั้นจึงไม่ถือว่าผิดแต่ประการใดหากเราจะกล่าวว่า การตั้งมัซฮับสะละฟียะฮฺซึ่งเป็นชื่อมัซฮับที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้เป็นบิดอะฮฺในศาสนาอิสลาม โดยที่อุลามาอฺสะละฟุสซอลิหฺ และเคาะลัฟของประชาชาตินี้ไม่เคยรู้จักมันมาก่อน ทั้งที่อุลามาสะลัฟ(ร.ฏ.)เหล่านั้น ไม่เคยเอาคำว่า "สะลัฟ"นี้ มาตั้งเป็นมัซฮับสะละฟีย์ เพื่อ จะให้ตัวเองมีความโดดเด่น หรือมีแนวทางความคิดที่เฉพาะหรือมีสังคมที่เฉพาะสำหรับพวกเขา โดยทำให้พวกเขามีความโดดเด่นจากผู้อื่นที่ไม่ใช่แนวทางของพวกเขาจากบรรดามุสลิมีนโดยใช้ชื่อว่ามัซฮับสะละฟีย์
เมื่อเราพิจารณาในปัจจุบัน เราจะพบว่าสะละฟียูน หรือบางกลุ่มเรียกว่า วะฮาบีย์ จะอ้างว่า จำเป็นต้องเข้าใจอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ด้วยการเข้าใจของสะลัฟ โดยที่พวกเขาเหล่านั้นคิดว่า ความเข้าใจของสะลัฟนั้น เป็นหลักฐานตามหลักศาสนาต้องจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ซึ่งคำพูดของพวกเขานั้น มีความหลงผิดอยู่ 2 ประการ
1. สะลัฟนั้น ไม่ได้มีความเห็นพร้องในการเข้าใจมัสอะละฮฺ หรือปัญหาประเด็นต่างๆไปทั้งหมด ดังนั้นพวกเขาจึงไม่มีมัซฮับใดมัซฮับหนึ่งอันเป็นที่รู้จักกัน จนกระทั้งทำให้เรียกกันว่า นั่นคือ มัซฮับสะลัฟ หรือความเข้าใจของสะลัฟ หรือจำเป็นต้องตามสิ่งต่างๆด้วยความเข้าใจของสะลัฟ หากเราศึกษาบรรดาหนังสืออัลหะดิษหรือบรรดาคำกล่าวของสะลัฟ อย่างเช่นหนังสือ "อัลมุซันนัฟ" ของท่าน หาฟิซ อัลดุรร๊อซฺซฺาก และท่านอิบนุชัยบะฮฺ เราจะพบตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับความเห็นต่างๆที่มีการขัดแย้งและมีความแตกต่างกันจากอุลามาอฺสะลัฟ
สะละฟียะฮฺปัจจุบันพยายามเรียกร้องให้เราให้ยึดความเข้าใจจากสะลัฟ แต่ในทางตรงกันข้าม เราจะเห็นว่าพวกเขาต่างหลีกเลี่ยง ความเข้าใจของบรรดาอิมามทั้งสี่ หรือมัซฮับทั้ง 4 พวกเขาพยายามบอกว่าไม่ให้เราตักลีดตามอิมามชาฟิอีย์ อิมามมาลิก อิมามอบูหะนีฟะฮฺ อิมามอะหฺมัด (ร่อฏิยัลเลาะฮฺฮุอันฮุม) ทั้งที่พวกเขาคืออุลามาอฺสะละฟุสซอลิหฺ !! แต่ในสภาพของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในเชิงการกระทำ พวกเขากลับส่งเสริมให้ผู้คนทั้งหลายตามความเข้าใจ อุลามาอฺที่ไม่ใช่อยู่ในยุคสะลัฟ เช่น ชัยคฺ อิบนุตัยมียะฮฺ ชัยคฺบินบาซฺ และชัยคฺ นาซิร อัลบานีย์ เป็นต้น
2. ไม่มีหลักฐานใดจากอัลกรุอานและซุนนะฮฺ ที่ชี้ให้เห็นว่า ไม่จำต้องใช้สติปัญญาของเราที่อัลเลาะฮฺทรงประทานให้ ในการเข้าใจอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ด้วยความเข้าใจที่ไม่ใช่ของเราแต่ต้องตามสะลัฟ ตราบใดที่คนหนึ่งถึงขั้นระดับที่สามารถวินิจฉัยในตัวบทได้ ดังนั้น อัลเลาะฮฺได้ทรงให้บรรดามุสลิมทำความเข้าใจตัวบทจากคำบรรชาใช้และห้ามของ โดยใช้คำว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย" ซึ่งหมายความปกคลุมของสะลัฟและเคาะลัฟโดยทั้งหมด ตราบใดที่พวกเขาอยู่ในระดับขั้นที่อิจญฺติฮาดวินิจฉัยได้ ไม่ใช่ว่าผู้ที่มีคุณสมบัติวินิจฉัยได้นั้น ต้องยึดความเข้าใจของสะลัฟเพียงอย่างเดียว
ดังนั้น ความเข้าใจของบรรดามุจตะฮิดนั้น ไม่ว่าจะเป็น สะลัฟ หรือ เคาะลัฟ ก็ถูกพิจารณาได้ว่าเป็นหลักชาเราะอฺสำหรับคนเอาวามทั่วไปที่ไม่สามารถเข้าใจอัลกุรอานและซุนนะฮฺโดยตรงได้ และมติอิจญฺมาอฺของบรรดามุจตะฮิด ไม่ว่าจะเป็นยุคสะลัฟ หรือเคาะลัฟ นั้น ถูกพิจารณาว่าเป็นหลักชาเราะอฺ เป็นหลักฐานตามหลักชาริอะฮฺได้ แต่สิ่งที่อื่นจากนั้นย่อมถือว่าไม่ถูกต้อง!!
ได้มีหะดิษที่ซอเฮียะฮฺโดยการสนับสนุนจากสายรายงานอื่น มีความว่า
مثل أمتى مثل المطر ، لا يدرى أوله خير أم أخره
" ประชาชาติของฉัน อุปมาดังสายฝน โดยที่ไม่รู้ว่าฝนช่วงแรกหรือช่วงหลังที่ดีกว่ากัน " รายงานโดยอิมามอะหฺมัด เล่ม 3 หน้า 130 และท่านตัรมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 152 ฮะดิษที่ 2869
ท่านจะพบว่า หะดิษนี้ชี้ถึงความประเสริฐของชนเคาะลัฟเช่นเดียวกับสะลัฟ
ท่าน อัลหาฟิซฺ อิบนุ อัลเญาซีย์ กล่าวว่า " ท่านอิมามอะหฺมัด ได้ถูกถามเกี่ยวกับปัญหาหนึ่ง แล้วท่านก็ได้ทำการฟัตวา จึงคนกล่าวแก่ท่านว่า นี้ ท่านอิบนุ อัลมุบาร๊อก ไม่ได้กล่าวไว้ ดังนั้นท่านอิมามอะหฺมัดกล่าวตอบว่า อิบนุ อัลมุบาร๊อก ไม่ได้ลงมาจากฟากฟ้านี่!! " ดู ดัฟอฺ ชุบะฮฺ อัตตัชบีฮฺ หน้า 111 ซึ่งหมายความว่า ความเข้าใจของสะลัฟนั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานที่จำเป็นบนเราต้องปฏิบัติด้วยความเห็นของเขาเสมอไป
จึงเป็นที่แปลกใจอย่างยิ่ง ที่สะละฟียูนปัจจุบัน ชอบอ้างว่า สิ่งที่พวกเขาได้กล่าว จากบรรดาความเห็น หรือบรรดาคำพูดต่างๆของพวกเขา คือ มัซฮับ แนวทางของสะลัฟ เพื่อที่จะให้คนทั่วไป หรือคนที่เชื่อคนอื่นง่าย เข้าใจผิดหลงเชื่อ เพื่อพวกเขาจะได้เผยแพร่บรรดาความเห็นของพวกเขาที่ไม่ต้องถูกต้อง และพวกเขาต่างเรียกร้องไปสู่อากิดะฮฺของ กลุ่ม อัลมุญัสสิมะฮฺ โดยบอกว่า อัลเลาะฮฺ มีอวัยวะ มีมือ มีตา มีเท้า มีหน้าแข้ง มีสีข้าง ที่มีความเข้าใจตามที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่มีไม่เหมือนกับเรา !!?? แล้วพวกเขาก็บอกว่า นี้คือ แนวทางของสะลัฟ !!??
ดังนั้น เราอัลอะชาอิเราะฮฺ และอัลมะตูริดียะฮฺ อะฮฺลิสซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ จากมัซฮับทั้งสี่ คือมัซฮับ อิมามอัชชาฟิอีย์ มัซฮับอิมามมาลิก มัซฮับอิมามอบูหะนีฟะอ์ และมัซฮับอิมามอะหฺมัด คือผู้ที่เจริญรอยตามสะลัฟ ไม่ใช่อยู่มัซฮับสะละฟีย์
บางท่านกล่าวว่า มัซฮับเกิดขึ้นมาเพราะการเมือง บางท่านกล่าวอ้างอำพรางว่ามะลาอิกะฮฺไม่ถามในกุโบรว่าเราสังกัดมัซฮับอะไร บางท่านกล่าวว่าบรรดาอิมามทั้ง4 ไม่ได้ใช้ให้ตามพวกเขาโดยผู้อ้างนั้นพยายามให้เราเลิกสังกัดมัซฮับ บางท่านกล่าวว่าอิสลามไม่มีมัซฮับ!! บางท่านกล่าวว่าการสังกัดมัซฮับนั้นเป็นกุฟุร บ้างกล่าวอำพรางอย่างไม่เข้าใจว่าการตามอัลกุรอานและซุนนะฮฺนั้นมะอฺซูม แต่การตามมัซฮับนั้นไม่มะซูมจึงต้องทิ้งมัซฮับ ซึ่งคำกล่าวต่างๆ เหล่านี้ มาจากบรรดาซะละฟีย์ที่เป็นปฏิปักษ์กับมัซฮับทั้งสี่ ซึ่งการไม่มีมัซฮับนั้นย่อมเป็นบิดอะฮฺที่มาคุกคามโลกอิสลามในปัจจุบัน
والسلام
อัล-อัซฮะรีย์ _________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Oct 26, 2005 7:08 am ชื่อกระทู้: |
|
|
น้อง az-hary ข้อความของน้องที่ว่า
ซึ่งคำกล่าวต่างๆ เหล่านี้ มาจากบรรดาซะละฟีย์ที่เป็นปฏิปักษ์กับมัซฮับทั้งสี่ ซึ่งการไม่มีมัซฮับนั้นย่อมเป็นบิดอะฮฺที่มาคุกคามโลกอิสลามในปัจจุบัน
.....................................
ตอบ
คำว่า "ปฏิปักษ์" มันไม่น่าจะนำมาใช้เลย เพราะไม่มีใครเป็นปฏิปักษ์ กับ อิหม่ามทั้งสี่ เพราะบุคคลทั้งสี่ มีบุญคุณต่อโลกอิสลามอย่างใหญหลวง เพียงแต่ บางคนไม่ผูกติดหรือ จำกัดในทัศนะหรือ แนวคิดพวกท่านเหล่านี้ทั้งหมดเท่านั้น คำว่า "ปฏิปักษ์" เพิ่งจะเคยเห็นน้องนี่แหละนำมาใช้ คำนี้ มีความหมายในเชิงประกาศเป็นศัตรู กับ อิหม่ามสี่ ขอร้องเถอะนะน้อง เพราะทุกคนให้เกียรติต่อท่านเหล่านี้ ทั้งนั้น อินชาอัลลอฮ ว่างๆจะเข้ามาคุย แต่อย่าให้ดุเดือดนักนะจ้ะน้องชาย
วัสสลาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Wed Oct 26, 2005 7:40 am ชื่อกระทู้: |
|
|
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
ถึงอาจารย์อะสันที่เคารพ
สิ่งที่ผมนำเสนอนั้นผมมีหลักฐานยืนยัน ผมบอกแล้วว่าไม่ได้กล่าวหาแต่ประการใด
อ้างอิงจากอาจารย์อะสัน
คำว่า "ปฏิปักษ์" มันไม่น่าจะนำมาใช้เลย เพราะไม่มีใครเป็นปฏิปักษ์ กับ อิหม่ามทั้งสี่ เพราะบุคคลทั้งสี่ มีบุญคุณต่อโลกอิสลามอย่างใหญหลวง
ตอบ
ผมไม่ได้กล่าวว่าสะละฟียะฮฺเป็นปฏิปักษ์กับ บรรดาอิมามทั้งสี่ แต่ผมบอกว่าเป็นปฏิปักษ์กับมัซฮับทั้งสี่ต่ากหากครับ ซึ่งมัซฮับทั้งสี่นั้นมีความกว้างว่าอิมามทั้งสี่ อาจารย์โปรดจงเข้าใจครับ
คำว่า "ปฏิปักษ์"นั้น ใน ณ ที่นี้หมายถึง ผู้หุกุ่มว่าตามมัซฮับทั้งสี่นั้นเป็นบิดอะฮฺ การมีมัซฮับนั้นบิอะฮฺ การตามมัซฮับเป็นการเฉพาะนั้นบิดอะฮฺ นี่ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ตามทัศณะของผม ครับ ซึ่งว่างๆ ผมจะนำหลักฐานมาเสนอจากคำกล่าวของอุลามาอฺสะละฟีย์เอง เพื่อให้เป็นการเสวนาในเชิงวิชาการ หากอาจารย์อะสันไม่เป็นปฏิปักษ์ตามนัยยะของผมนั้น อาจารย์อะสันก็ไม่เป็นปฏิปักษ์แน่นอนครับ แต่อาจารย์เคยกล่าวว่ามัซฮับเกิดขึ้นเพราะการเมืองนั้น ผมยังไม่แน่ใจว่าเป็นปฏิปักษ์หรือเปล่า?
การที่เราไม่ยึดติดในทัศนะของอิมามทั้งสี่นั้น ต้องพิจารณาก่อน คือหากไม่ยึดติดมัซฮับใดมัซฮับของอิมามทั้งสี่ คือมีความเห็นตรงกับมัซฮับหะนาฟีย์ หรืออีกประเด็นหนึ่งตรงกับมัซฮับชาฟิอีย์ โดยไม่ยึดติดอย่างนี้ ก็ถือว่าไม่เป็นไร หากไม่เลือกตามอารมณ์ ปะปนกันจนทำให้เกิดการตัลฟีก แต่หากการไม่ยึดติดในทัศนะของอิมามทั้งนั้น คือการทิ้งมัซฮับทั้งสี่ และกล่าวว่าการยึดมัซฮับนั้นเป็นบิดอะฮฺแล้วนั้น คำกล่าวอย่างนี้ ก็ย่อมกลับเป็นบิดอะฮฺต่อตัวเขาเอง รายละเอียด ค่อยเสวนากันต่อไปครับ อินชาอัลเลาะฮฺ
والسلام _________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
addullslam มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004 ตอบ: 672
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Oct 26, 2005 12:21 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณ addullslam
ขออัลลอฮ(ซ.บ)ตอบแทนความดีแก่คุณด้วยครับ ผมได้แนวทางในในการสนทนาในเรื่องนี้จากข้อมูลของคุณเยอะมาก ผมเองไม่ค่อยมีเวลาค้นคว้ามากนัก เพราะงานสอนนักเรียน มีอะไรแนะนำผมได้นะครับ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Oct 26, 2005 12:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้อง az-hary
อัลหั้มดุลิ้ลละฮ ครั้งนี้รู้สึกบรรยากาศแห่งการคุย มีความอบอุ่นมากขึ้น และเมื่อ พูดถึงประเด็นนี้ ถ้าเป็นไปได้ อยากจะให้ใช้หลักฐานจาก
1. อัลกุรอ่าน
2. อัลหะดิษ
3. คำพูดเศาะหาบะฮ(ร.ฎ)
4. คำพูดของอิหม่ามชาฟีอี เป็นหลัก เพราะน้องสังกัดมัซฮับอิหม่ามชาฟิอี
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ยืดเยื้อจนเกินไป
บังอะสันจะพยายามเข้ามาคุยตามเวลาจะอำนวยให้ อินชาอัลลอฮ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Oct 26, 2005 10:17 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้อง az-hary
ให้น้องลองนำอายะฮอัลกุรอ่าน หรือ หะดิษ หรือ คำของอิหมามชาฟิอีก็ได้ เพื่อ เป็นหลักฐานว่า วาญิบ ต้องสังกัดมัซฮับหนึ่ง มัซฮับใด จากมัซฮับทั้งสี่ นะครับ ขอยืนยันว่า บังอะสัน มีข้อจำกัดเรื่องตำรา จึงขออาศัยน้อง ซึ่งมีแหล่งหนังสือค้นคว้ามากมาย เป็นผู้นำเสนอ
حفظك الله تعالى
----------------------
บังอะสัน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Thu Oct 27, 2005 2:01 am ชื่อกระทู้: |
|
|
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
ถึงอาจารย์อะสันที่เคารพ และอาจารย์อับดุลอิสลามที่นับถือ بارك الله فيكم
อัลหัมดุลิลลาห์ที่ผมมีโอกาสได้ทำการสนทนาในเรื่องนี้ เพื่อที่จะปรับความเข้าใจอย่างถูกต้อง ต่อผู้ที่ถือมัซฮับ ปัญหามันอยู่ที่ว่าท่านอาจจะเข้าใจทัศนะของผู้ที่ถือมัซฮับผิดไป และก็ยังยึดอยู่อย่างนั้น ในเรื่องมัซฮับนั้น มีบุคคลอยู่ สองประเภท คือ มุจตะฮิด และ มุก๊อลลิด บางครั้งท่านเอาหลักการเฉพาะของมุจตะฮิดมาใช้กับมุก๊อลลิด ปะปนกันอย่างสับสน จึงเกิดผลตามมาก็คือไม่ต้องสังกัดมัซฮับ สิ่งที่ผมเสนอมาข้างต้นนั้น เป็นข้อมูลแบบสรุปเท่านั้นเอง ซึ่งจำเป็นต้องทำการสนทนาเสวนาอธิบายให้ชัดเจนในเชิงรายละเอียด
การอ้างอิงที่เป็นจุดอ่อนและทำให้เข้าใจผิดก็คือ ยกอ้างอิงเพียงบางส่วนและซ้อนเร้นบางส่วน ความเข้าใจผิดนั้น อาจจะทำให้เขาต้องตั้งคำถามขึ้นมาว่า " มีหลักฐานใดที่วายิบต้องสังกัดมับฮับหนึ่งมัซฮับใดจากทั้งสี่ " ?? แล้วความถูกต้องจริงนั้นมันเป็นอย่างไร ?? อะไรคือคำตอบของผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ต้องติดตาม
เพื่อที่จะปรับความเข้าใจกันและกัน อาจารย์อะสันเคยบอกในเวปซุนนะฮฺว่า อาจารย์มั่นใจในสิ่งที่อาจารย์ยึดอยู่ว่าถูกต้อง แต่อาจารย์ก็ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า " แต่ก็ต้องศึกษาต่อไป เพราะยังมีอีกมากมายที่เราไม่รู้ " คำพูดอาจารย์นี้แหละ ที่ผมยกย่องและสรรญเสริญ เพราะอาจารย์ยังเปิดใจกว้างที่จะรับศึกษาต่อไป และผมก็มีกำลังใจในการสนทนาในเรื่องนี้กับอาจารย์และท่านอื่นๆ ก็เนื่องจากคำพูดของอาจารย์ที่กล่าวมา
อาจารย์อะสันขอให้ผมยกหลักฐานจากอัลกรุอานและซุนนะฮฺ หรือคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) แต่อาจารย์อับดุลอิสลามได้นำกระทู้เก่ามานำเสนอทั้งที่ผมก็ไม่เคยอ่านมาก่อน และเป็นข้อมูลที่อาจารย์อะสันได้ประโยชน์จากกระทู้ดังกล่าวนั้น ผมจึงต้องไปอ่านในทุกตัวอักษรที่อาจารย์อับดุลอัสลามเสนอมา ผมอ่านได้เพียงสามหน้ากระดานแรก เพราะเวลาไม่ค่อยมีเวลา ปรากฏว่ามีเป็นสิบจุดที่ต้องปรับความเข้าใจและทำการเข้าใจกับอาจารย์อับดุลอิสลามและอาจารย์อะสันไหม่ ส่วนหน้ากระดานที่เหลือนั้นผมค่อยมาอ่านมันอีกต่อไปในทุกตัวอักษร ที่อาจารย์อับดุลอิสลามได้นำเสนอมา ซึ่งผมคิดว่าต้องมีอีกหลายจุดอย่างแน่นอนที่ต้องปรับความเข้าใจ เนื่องจากกระดานแรกๆ นั้นมีหลายประเด็นต้องปรับความเข้าใจ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าหน้ากระดานหลังๆ ต้องเป็นผลลัพท์ตามมาจากหน้ากระดานช่วงแรกๆ อย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้นรอให้ผมอ่านมันทุกตัวอักษรก่อนครับ แล้วผมจะชี้แจงนำเสนอทีละจุดๆ ทีละประเด็นๆ จากสิ่งที่อาจารย์อับดุลอิสลามได้นำเสนอครับ โปรดอย่ารีบร้อน ให้ใจเย็นๆ และโปรดติดตามครับ
السلام
الأزهري _________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Oct 27, 2005 3:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แต่อาจารย์ก็ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า " แต่ก็ต้องศึกษาต่อไป เพราะยังมีอีกมากมายที่เราไม่รู้ " คำพูดอาจารย์นี้แหละ ที่ผมยกย่องและสรรญเสริญ เพราะอาจารย์ยังเปิดใจกว้างที่จะรับศึกษาต่อไป และผมก็มีกำลังใจในการสนทนาในเรื่องนี้กับอาจารย์และท่านอื่นๆ ก็เนื่องจากคำพูดของอาจารย์ที่กล่าว
.........................
ตอบ
ขอเรียนให้น้อง อัซ-ฮารี ทราบว่า ในทัศนะของบังนั้น ในด้านความรู้ "หากคนเราชอบทำตัวแบบชาล้นแบบชา ล้นแก้ว เราก็ไม่มีวันที่จะพัฒนาตนเอง ซ้ำยังเป็นการถอยหลังลงคลองอีกด้วย" ที่บังอะสันพูดถึงจุดยืนของตัวเองในด้านศาสนานั้น คือ บังอะสันมีความเชื่อว่า ศาสนาอิสลามนั้น เป็นของอัลลอฮ เพราะฉะนั้น คำสอนศาสนาอิสลามต้องมาจาก เจ้าของศาสนา คือ อัลลอฮ(ซ.บ) และต้องมาจากศาสนทูตของพระองค์ เพราะมีหน้าที่นำโองการของอัลลอฮ มาอรรถาธิบายและปฏิบัติเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่มนุษญ์ชาติ การปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของเจ้าศาสนา อันหมายถึง อัลลอฮนั้น ก็ต้องปฏิบัติตามคำสอนและแบบอย่างของ
ศาสนาทูตของพระองค์ และ บังอะสันเชื่อว่า ศาสนาต้องมาจาก วะหยูของอัลลอฮ(ซ.บ) ที่ประทานแก่บรรดารซูล และมนุย์นั้นแม้ว่าเขาจะมีความรู้มากมายเพียงใดก็ตาม เขามีหน้านำคำสอนมาปฏิบัติเท่านั้น มนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะบัญญัติคำสอนศาสนา อัลลอฮ (ซ.บ)
ام لهم شركاء شرعوا لهم من الدين مالم ياذن به الله
หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮฺมิได้ทรง-อัชชุอารออ/21
{ومن يبتغ غيرالاسلام دينا فلن يقبل منه وهو في الآخرة من الخاسرين }!.
ศาและผู้ใดแสวงหาศาสนาอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด(*1*) และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน - อาลิอิมรอน/85
แต่อย่างไรก็ตาม
การเข้าถึงเนื้อแท้แห่งคำสอนศาสนาและเจตนารมณ์ของคำสอนศาสนา เพื่อนำมาปฏิบัตินั้น คนมีความรู้น้อยอย่างบังอะสัน ก็ต้องอาศัยบรรดาอุลามาอทั้งยุคสลัฟและเคาะลัฟ มาทำหน้าที่อธิบาย และสรุปแนวทางปฏิบัติมาให้คนธรรมดาสามัญที่มีขีดความรู้ไม่ถึงขั้นมุจญตะฮิดอย่างบังอะสัน และโดยธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นอุลามาอยุคใด ในบางประเด็นการตีความและการเข้าใจในตัวบท จากคัมภีรอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ย่อมอาจจะแตกต่างกันบ้าง อันนี้เราก็ต้องอาศัยนักวิชาการ(อุลามาอ)อีกนั้นแหละ ที่ชี้แนะแก่เราว่า ทัศนะใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน และการวินิจฉัยประเด็นต่างๆจากตัวบท บรรดาอุลามาอ ซึ่งเป็นมนุษย์ ย่อมมีผิด มีถูก แต่เพราะท่านเหล่านั้น การผิดพลาดในการอิจญติฮาดของพวกเขา อันนี้ย่อมได้รับการอภัย และได้รับผลตอบแทน ดังเช่นการวินิจฉัยของผู้พิพากษาในการตัดสินคดี
إذا حكم الحاكم فاجتهد فأصاب فله أجران وإذا حكم فاجتهد فأخطأ فله أجر . ( صحيح ) _ ابن ماجه 2314 : وأخرجه البخاري ومسلم
เมื่อผู้พิพากษานั้นตัดสินคดี แล้วเขาได้วินิจฉัย แล้วถูกต้อง เขาได้รับการตอบแทนสองเท่า และเมื่อเขาตัดสิน แล้ววินิจฉัยผิดพลาด เขาได้รับผลตอบแทนหนึ่งเท่า "
เราในฐานะผู้ตาม เราต้องตามในสิ่งที่ถูก สิ่งใดผิดพลาด จะให้เราตามได้อย่างไร เพราะฉะนั้น เหตุนี้แหละที่บังอะสัน บอกว่า ไม่ผูกติดอยู่กับ อุลามาอคนๆหนึ่งในทุกเรื่อง แต่ต้องดูด้วยว่า ที่มาแห่งทัศนะของเขา เขาใช้อะไรเป็นหลักฐาน
ขอแค่นี้ก่อน เพราะต้องไปสอนเด็กต่อ น้องมีอะไรจะชี้แนะ ก็ยินดี อินชาอัลลอฮ ค่อยมาคุยต่อนะครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Oct 27, 2005 5:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แก้คำผิด
ام لهم شركاء شرعوا لهم من الدين مالم ياذن به الله
หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮฺมิได้ทรง-อัชชุอารออ/21
แก้เป็น
ام لهم شركاء شرعوا لهم من الدين مالم ياذن به الله
หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮฺมิได้ทรงอนุมัติ-อัชชุอารออ/21 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
อิลยาส มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005 ตอบ: 279
|
ตอบ: Thu Oct 27, 2005 11:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มาชาอัลลอฮฺ น่าปลื้มใจ..จนพูดอะไรไม่ออก ผู้รักษาความจริงยังมีอยู่มากมาย ขออัลลอฮฺตอบแทนความดีทุกทั่นที่นำบทความมาเสนอ..ส่วนตัวผมขออ่านนะครับ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
อิลยาส มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005 ตอบ: 279
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
อิลยาส มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005 ตอบ: 279
|
ตอบ: Thu Oct 27, 2005 11:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
รับฟังได้มะคับ...ตอบด้วย
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Oct 28, 2005 12:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้อง az-hary
บังพยายามศึกษาค้นคว้าคำสอนอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮโปรดเมตตาแก่ท่าน)มาหลายปี ว่า คำสอนของท่านประโยคใดบ้าง ที่ท่านส่งเสริมศิษย์ของท่านให้ตั้งนิกายชาฟิอีและให้ลูกศิษย์ดำเนินตามแนวทางของท่าน ปรากฏว่าตอนนี้ยังไม่พบ อันนี้ไม่ใช่บังแกล้งพูดนะ และไม่ได้หมายความว่า ไม่มีนะ อาจจะมีก็ได้ เพียงแต่ความรู้บังอะสันยังไปไม่ถึงก็ได้ ที่อ่านพบก็มีข้อความคำพูดของท่านในลักษณะนี้คือ
وأخرج عن الربيع قال : سمعتُ الشافعي يقول : إذا وجدتم في كتابي خلاف سنة رسول الله صلى الله عليه وسلم فقولوا بسنة رسول الله صلى الله عليه وسلم ودعوا ما قلت- مفتاح الجنة للسيوطي (49 : 50).
บันทึกจากอัรรอเบียะ กล่าวว่า"ข้าพเจ้าได้ยินอิหม่ามชาฟิอีพูดว่า "เมือพวกท่านพบว่าในหนังสือของข้าพเจ้า ขัดแย้งกับสุนนะฮของท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอลฯ ดังนั้น จงปฏิบัติตามสุนนะฮของท่านรซูลุ้ลลอฮ (ศอลฯ) และจงทิ้งสิ่งที่ข้าพเจ้าพูดเสีย - มิฟตาหุ้นญันนะฮ ของอัสสะญูฏีย์ หน้า 49-50
ท่านรอเบียะ บิน สุลัยมาน กล่าวว่า อิหม่ามชาฟิอีกล่าวว่า
: كلّ مسألة تكلمت فيها صحّ الخبر فيها عن النبي صلى الله عليه وآله عند أهل النقل بخلاف ما قلت ، فأنا راجع عنها في حياتي وبعد موتي.(4)
ทุกประเด็นปัญหาที่ถูกกล่าวเอาไว้ว่ามีหะดิษเศาะเหียะในประเด็นนี้จากท่านนบี ศอลฯ ในทัศนะนักรายงานหะดิษ ซึ่งขัดแย้งกับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ ดังนั้น ข้าพเจ้าขอคืนคำจากเรื่องนั้น ในขณะที่ข้พเจ้ามีชีวิตอยู่ และหลังจากข้าพเจ้าได้ตายจากไป - ดู
مناقب الشافعي للبيهقي : ج 1 ص 473
ชี้แนะบังอะสันด้วย
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Fri Oct 28, 2005 9:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
ถึงอาจารย์อะสันที่เคารพ
ผมยังอ่านสิ่งที่คุณ อับดุลอิสลาม นำเสนออ้างอิงยังไม่หมดเลยครับ เนื่องจากเวลาผมไม่ค่อยมีครับ โปรดรอสักนิดนะครับ
สำหรับสิ่งที่อาจารย์นำเสนออ้างอิงจากคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ)นั้น ท่านอิมามกล่าวเช่นนั้นจริง แต่ความเข้าใจจริงๆ มันมีมากกว่านั้น แล้วผมค่อยชี้แจงผนวกไปพร้อมกับการวิจารณ์สิ่งที่ท่านอาจารย์ชาฟิอีย์ นภากรณ์เขียนเอาไว้เริ่มแรกครับ แล้วผมจะชี้แจงแต่ไม่ชี้แนะกับอาจารย์อะสันครับ อาจารย์ใช้คำว่า"ชี้แนะ" ผมรู้สึกละอายใจตัวเองจริงๆ ครับ
والسلام _________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|