asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Apr 02, 2012 11:04 am ชื่อกระทู้: นบีกินอาหารในถาดร่วมกับคนโรคเรื้อนจริงหรือ |
|
|
จากการสนทนาในห้องหนึ่งของเฟสบุค ได้มีคนอ้างว่า ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม รับประทานอาหารในถาดเดียวรวมกับคนโรคเรื้อน ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ขอให้พิจารณารายละเอียดข้างล่างนี้
1. โรคเรื้อนคืออะไร
รคเรื้อน เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Leprae ทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง เส้นประสาทส่วนปลาย หากไม่รีบรักษาทำให้เกิดความพิการของมือ เท้า และใบหน้าได้
- การติดต่อ
เชื้อโรคเรื้อนสามารถติดต่อทางลมหายใจ และทางผิวหนังที่แตกเป็นแผล หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง- - ภายใการรักษา
โรคเรื้อนสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยกินยาติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน หรือ 2 ปี แล้วแต่ระยะ และความรุนแรงของโรคน 7 วัน จะไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นอีก
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/14032
มีการอ้างในซุนนะฮสะติวเด้นว่า
ท่านอะบูดาวูด รายงานจากท่านญาบิร ความว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَخَذَ بِيَدِ مَجْذُومٍ فَوَضَعَهَا مَعَهُ فِي الْقَصْعَةِ وَقَالَ كُلْ ثِقَةً بِاللَّهِ وَتَوَكُّلًا عَلَيْهِ
"แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้จับมือผู้เป็นโรคเรื้อน แล้วจับวางมือนั้นพร้อมกับท่านนบีในถาดหนึ่ง และกล่าวว่า ท่านจงรับประทานโดยไว้วางใจต่ออัลเลาะฮ์และมอบหมายต่อพระองค์เถิด" (3424) ฮะดิษซอฮิหฺ
-ฮะดิษนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีความนอบน้อมถ่อมตนในการร่วมรับประทานอาหารถาดเดียวกันกับผู้ที่ถูกบะลาและชี้ให้เห็นว่าการรับประทานพร้อมกับผู้ที่ได้รับบะลาในถาดเดียวกันนั้นเป็นที่อนุญาต แล้วบุคคลที่ปกติย่อมอนุญาตและเป็นซุนนะฮ์ยิ่งกว่า
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=3856.0;wap
วิภาษหะดิษข้างต้น
หะดิษข้างต้นเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ดังนี้
1.ตัวบทปรากฏในสุนนอบีดาวูด
رقم الحديث: 3427
(حديث مرفوع) حَدَّثَنَا عُثْمَانُ بْنُ أَبِي شَيْبَةَ ، حَدَّثَنَا يُونُسُ بْنُ مُحَمَّدٍ ، حَدَّثَنَا مُفَضَّلُ بْنُ فَضَالَةَ ، عَنْ حَبِيبِ بْنِ الشَّهِيدِ ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْمُنْكَدِرِ ، عَنْ جَابِرٍ : أَنّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ " أَخَذَ بِيَدِ مَجْذُومٍ فَوَضَعَهَا مَعَهُ فِي الْقَصْعَةِ ، وَقَالَ : كُلْ ثِقَةً بِاللَّهِ وَتَوَكُّلًا عَلَيْهِ " .
(1) جابر بن عبد الله
| (2) محمد بن المنكدر
| | (3) حبيب بن الشهيد
| | | (4) مفضل بن فضالة
| | | | (5) يونس بن محمد
| | | | | (6) عثمان بن محمد
| | | | | | (7) سليمان بن الأشعث
| | | | | | | (8) الكتاب: سنن أبي داود [الحكم: إسناد ضعيف فيه المفضل بن فضالة القرشي وهو ضعيف الحديث]
หะดิษข้างต้น มีผู้รายงานคนหนึ่งในสายรายงาน ชื่อ ว่า อัลมุฟัฎลุ บิน ฟะฎอละฮ อักุรชีย์
(المفضل بن فضالة بن أَبِي أمية القرشي أَبُو مالك البصري )เป็นบุคคลที่หะดิษที่เขารายงาน เป็นหะดิษเฎาะอีฟ
มีรายละเอียดดังนี้
وقال الدارقطني تفرد به مفضل بن فضالة البصري أخو مبارك عن حبيب بن الشهيد عنه يعني عن ابن المنكدر .
อัดดารุลกุฏนีย์ กล่าวว่า มุฟัฎฎอ็ล บิน ฟัฏละฮ อัลบัศรีย พี่น้องของมุบารอ็ก รายงานเพียงคนเดียวจากหะบีบ บิน ชะฮีด จาก อิบนุอัลมุนกะดีร - เอานุลมะบูด หนังสืออธิบายหะดิษสุนันอบีดาวูด كتاب الطب » باب في الطيرة
หมายถึงหะดิษนี้ เป็นหะดิษ เฆาะรีบ ซึ่งเป็นหะดิษเฎาะอีฟ
. والمفضل بن فضالة هذا بصري كنيته أبو مالك قال يحيى بن معين : ليس هو بذاك وقال النسائي ليس بالقوي
อิบนุอาดีย์อัลญัรญานีย์กล่าวว่า และมุฟัฏฎอ็ล บิน ฟะฎอละฮ คนนี้ เป็นชาวบัศเราะฮ มีนามแฝงว่า อบูมาลิก
ยะหยา บินมุอีน กล่าวว่า เขาไม่ใช่ดังนั้น (หมายถึง หะดิษไม่แข็งแรง) และอัลนะสาอีย์ กล่าวว่า ไม่แข็งแรง
-ดู เอานุลมะบูด หนังสืออธิบายหะดิษสุนันอบีดาวูด كتاب الطب » باب في الطيرة
وقال أَبُو عُبَيْد الآجري ، عَن أَبِي داود : بلغني عَن علي أنه قال : فِي حديثه نكارة.
และอบูอุบัย อัลอาญะรีย์ กล่าวว่า รายงานจากอบีดาวูด ว่า ได้รายงานถึงมายังข้าพเจ้าจากอะลีว่าเขากล่าวว่า ในหะดิษของเขา (ของอัลมุฟัฎฎอ็ล บิน ฟะฎอละฮ) ไม่เป็นที่ยอมรับ (หมายถึง منكرالحديث )
وقال النسائي : ليس بالقوي
อัลนะสาอีย์ กล่าวว่า ไม่แข็งแรง (หมายถึงหะดิษไม่มีน้ำหนัก)
- ดูตะฮซีบุลกะมาล ของอัลมัซนีย์ เกี่ยวกับ บุคคลที่ชื่อว่า
المفضل بن فضالة بن أَبِي أمية القرشي أَبُو مالك البصري
และดู หนังสือ สิยะรุอะลามุลนุบะลาอฺ ของอิหม่าม อัซซะฮะบีย์ เล่ม 8 หน้า 281 ชื่อบุคคล المفضل بن فضالة
...........
ไม่มีบุคคลใดเลยที่เป็นนักหะดิษตัวจริงบอกว่า หะดิษข้างต้น เป็นหะดิษเศาะเฮียะ ดังนั้นจึงไม่ควรเอาหะดิษนี้มาอ้างอิงถึงท่านนบีว่า รับประทานอาหารในถาดรวมกับคนโรคเรื้อน
والله أعلم بالصواب _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|