ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
shareeff มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2007 ตอบ: 79
|
ตอบ: Mon Jun 08, 2009 4:02 pm ชื่อกระทู้: นิกะห์ที่มัสยิด |
|
|
สลามครับ อัสสาน พอดีเมื่อวานนั่งคุยกันเรื่องการทำนิกะฮที่มัสยิด ในขณะทำพิธีมีคนจะมาละหมาดก็ละหมาดไม่ได้ เพราะเสียงดัง ทั้งอ่านกุรอาน คุตบะฮ เลยมีคนตั้งคำถามว่า
การนิกะฮที่มัสยิดเป็นซุนนะห์จริงหรอ
ท่านนบีทำนิกะห์ลูกสาวที่ไหน
แล้วคนจะมาละหมาดทำไง
ก็นึกถึงอัสสาน น่าจะไห้คำตอบที่ละเอียดได้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Jun 09, 2009 5:15 pm ชื่อกระทู้: Re: นิกะห์ที่มัสยิด |
|
|
shareeff บันทึก: | สลามครับ อัสสาน พอดีเมื่อวานนั่งคุยกันเรื่องการทำนิกะฮที่มัสยิด ในขณะทำพิธีมีคนจะมาละหมาดก็ละหมาดไม่ได้ เพราะเสียงดัง ทั้งอ่านกุรอาน คุตบะฮ เลยมีคนตั้งคำถามว่า
การนิกะฮที่มัสยิดเป็นซุนนะห์จริงหรอ
ท่านนบีทำนิกะห์ลูกสาวที่ไหน
แล้วคนจะมาละหมาดทำไง
ก็นึกถึงอัสสาน น่าจะไห้คำตอบที่ละเอียดได้ |
ليس من السنة عقد النكاح بالمساجد، والمداومة على عقد النكاح داخل المسجد واعتقاده من السنة بدعة من البدع؛ لما ثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه قال: ((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد)). وإن كان يحضر حفلة عقد النكاح نساء متبرجات وأطفال يؤذون في المسجد ـ منع عقد ذلك النكاح في المسجد؛ لما في ذلك من المفسدة..
การทำพิธีอะกัดนิกะห์ในมัสญิด ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งจากอัสสุนนะฮ และ การทำการอะกัดนิกะห์ภายในมัสญิด อย่างสม่ำเสมอ(จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ) และเชื่อว่า เป็นส่วนหนึ่งจากอัสสุนนะฮ นั้น เป็นบิดอะฮหนึ่งจากบรรดาบิดอะฮ เพราะได้มีรายงานยืนยันจากท่านนบี ว่า ท่านได้กล่าวว่า " ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ในกิจการ(ศาสนา)ของเรา นี้ สิ่งซึ่งไม่มีมาจากมัน มันถูกปฏิเสธ) และถ้าหากปรากฏว่า ผู้มาร่วมงานการอะกัดนิกะห์ เป็นบรรดาผู้หญิงที่แต่งตัวประเจิดประเจ้อและบรรดาเด็กที่ทำการรบกวนในมัสญิด ห้ามการอะกัดนิกะห์ดังกล่าวในมัสญิด เพราะ ในการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
.وبالله التوفيق، وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم
ـــــــــــــــــــــــــــــــــــــــ
مصدر الفتوى: فتاوى اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء - (ج18/ص 111) [ رقم الفتوى في مصدرها: 9903] _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Jun 09, 2009 5:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ذهب جمهور الفقهاء إلى استحباب عقد النكاح في المسجد ، واستدلوا لذلك بحديث : ( أعلنوا هذا النكاح واجعلوه في المساجد واضربوا عليه بالدفوف ) رواه الترمذي (1089) لكنه ضعيف إلا الإعلان- كما قال الألباني في ضعيف الترمذي
บรรดานักกฏหมายอิสลามส่วนใหญ่ มีทัศนะว่า ชอบให้ทำการอะกัดนิกะห์ในมัสญิด และพวกเขาอ้างหลักฐานเรื่องดังกล่าว ด้วยหะดิษที่ว่า(พวกท่านจงทำการเปิดเผยการแต่งงานนี้(ให้สาธารณะรับรู้) และจงทำมันในมัสญิด และจงตีกลองดุฟ บนมัน) รายงานโดย อัตติรมิซีย์ (1089) แต่เป็นหะดิษเฎะอีฟ ยกเว้น คำว่า การเปิดเผย(ให้สาธารณะรับรู้) ดังที่อัลบานีย์ได้กล่าวไว้ใน เฎาะอีฟอัตติรมิซีย์
http://www.islam-qa.com/ar/ref/87898 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Jun 09, 2009 9:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
فقد ذهب جمهور الفقهاء إلى استحباب عقد النكاح في المسجد(1)، وقال شيخ الإسلام ابن تيمية -رحمة الله (ويستحب عقده في المساجد)(2)، وقال ابن القيم -رحمه الله- وهو يتكلم عن اللعب والهزل والمزاح في حق الله تعالى وأنه لا يجوز ثم قال (... ومما يوضحه أن عقد النكاح يشبه العبادات في نفسه بل هو مقدم على
نفلها ولهذا يستحب عقده في المساجد وينهى عن البيع فيها)(3
บรรดานักกฎหมายอิสลามมีทัศนะว่า ชอบให้อะกัดนิกะห์(ทำพิธีนิกะหฺ) ในมัสญิด(1) และชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ขอัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า และชอบให้ทำการอะกัดนิกะหฺในมัสญิด(2) และอิบนุกอ็ยยิม(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า โดยที่มันถูกกล่าววิจารณ์กันเกี่ยวกับการละเล่น ,การเล่นตลกและเรื่องตลก ในสิทธิของอัลลอฮตะอาลานั้น มันไม่อนุญาต ,หลังจากนั้นเขา(อิบนุกอ็ยยิม)กล่าวว่า( และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่อธิบายให้มันชัดเจน คือ แท้จริง การอะกัดนิกะหฺนั้น ในตัวของมันคล้ายคลึงกับอิบาดาต แต่ทว่า มัน(การอะกัดนิกะหฺ)ถูกให้มาก่อนสิ่งที่เป็นสุนัตของมัน(ของอิบาดาต) และ เพราะเหตุนี้ ชอบให้อะกัดนิกะหฺ(ทำพิธีสมรส)ในมัสญิด และ ห้ามการซื้อขายในมัสญิด(3)
ومرادهم بالعقد: الإيجاب من ولي المرأة والقبول من الزوج واستدلوا لذلك بما رواه الترمذي من حديث عائشة قالت: قال رسول الله -صلى الله عليه وسلم- (أعلنوا هذا النكاح واجعلوه في المساجد، واضربوا عليه بالدفوف)(4)، وقد ضعفه الترمذي فقال: "هذا غريب حسن في هذا الباب، وعيسى بن ميمون الأنصاري يضعف في الحديث"(5). وقال عنه البخاري: "منكر الحديث", وقال ابن حبان: "يروي أحاديث كلها موضوعات"(6). ولذلك لم يستدل به أكثر القائلين بالاستحباب بل عللوا ذلك بأن النكاح طاعة وعبادة فيستحب في المساجد التي هي مكان عبادة الله، أو لأنه أدعى للإعلان أو لحصول بركة المكان(7
และความหมายของพวกเขา ด้วยคำว่า อะกัด คือ การเสนอจากจากวะลี(ผู้ปกครองฝ่าย)หญิง และการตอบรับจากฝ่ายสามี(เจ้าบ่าว) และพวกเขา(นักกฎหมายอิสลาม)ได้อ้างหลักฐานสำหรับดังกล่าว ด้วยสิ่งที่รายงานโดยอัตติรมิซีย์ จากหะดิษอาอีฉะฮ ว่านางกล่าวว่า รซูลลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า พวกท่านจงเปิดเผยการนิกะห์นี้ และจง กระทำมันในมัสญิด และ พวกท่านจงตี(เล่น)กลองดุฟ บนมัน (4) และ อัตติรมิซีย์ ได้วิจารณ์ว่ามันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ โดยกล่าวว่า หะดิษนี้เฆาะรีบ หะซัน ในเรื่องนี้ และ(ผู้รายงานคนหนึ่งชื่อ) อีซา บิน มัยมูน อัลอันศอรีย์ เขาหลักฐานอ่อนในหะดิษ (5) และอัลบุคอรีได้กล่าวเกี่ยวกับตัวเขาว่า มุงกะรุลหะดิษ(หะดิษของเขาถูกคัดค้าน) และอิบนุหิบบาน กล่าวว่า เขารายงานบรรดาหะดิษ ซึ่งทั้งหมด เป็นหะดิษปลอม (6) และเพราะเหตุนี้ บรรดานักวิชาการที่มีทัศนะว่าชอบ(สุนัตให้ทำการนิกะหฺในมัสญิด) ส่วนมาก ไม่ได้เอามันมาอ้างเป็นหลักฐาน แต่ทว่า พวกเขาระบุเหตุผลว่า การนิกะห์ เป็นการภักดีต่ออัลลอฮ และเป็นอิบาดะฮ ดังนั้นจึงถูกชอบ(ส่งเสริม)ให้กระทำในมัสญิด ซึ่งเป็นสถานที่อิบาดะฮต่ออัลลอฮ หรือ อ้างว่า เพื่อเปิดเผย(ให้สาธารณะได้รับรู้)หรือ เพื่อ ให้ได้รับบะเระกัต(ความจำเริญ)ของสถานที่นั้น(7)
1 - وهم الحنفية كما في فتح القدير (3/189)، والشافعية كما في إعانة الطالبين (3/273)، وبعض الحنابلة، كما في الروض المربع(6/243 مع الحاشية).
2 - مجموع الفتاوى (32/18).
3 - إعلام الموقعين (3/126).
4 - رواه الترمذي وضعفه، والألباني في ضعيف الترمذي (185).
5 - سنن الترمذي (3/398).
6 - ميزان الاعتدال (5/392).
7 - راجع: تحفة الأحوذي (4/178).
http://www.alimam.ws/ref/50 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Wed Jun 10, 2009 12:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
shareeff มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2007 ตอบ: 79
|
ตอบ: Wed Jun 10, 2009 11:47 am ชื่อกระทู้: |
|
|
جزاكم الله ขอบคุรมากครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mahdisaudi มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004 ตอบ: 381
|
ตอบ: Fri Jun 12, 2009 2:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มัสญิดจะมีเจ้าหน้าที่จัดเวลาให้อยู่แล้วเวลานิกะฮฺ กับ นมาซ ก็ไม่ตรงกัน ผมเห็นว่าดีมากที่นิกะฮฺ
-วะลีมะฮฺ กันที่มัสญิด
จะสังเกตุเห็นว่าถ้าจัดการ กันที่บ้านเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว เจ้าสาวหรือเจ้าบ่าวจะพลาด นมาซ ซุฮฺริ อัศริ อิอิ....ขนาดแต่งตัวก็กินเวลา นานนนน _________________ อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
shareeff มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2007 ตอบ: 79
|
ตอบ: Fri Jun 12, 2009 3:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่ผมเห็นที่ศูนย์กลางมีคนละหมาดเกือบตลอดเวลาเพราะเป็นทางผ่านเป็นจุดนัดพบและเวลาแต่งงานก็มีทั้งเด็กๆคนต่างศาสนาที่แต่งตัวประเจิดประเจ้อมากมาย ผมจึงเกิดข้อสงสัยก็เลยถามมาผมเห็นว่า عقد النكاح ที่มัสยิดนะดี แต่ وليمة ที่มัสยิดไม่น่าจะเหมาะสมด้วยหลักฐานที่อัสสานกรุณานำมา |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Jun 12, 2009 4:56 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หลักเดิมในการทำพิธีนิกะห์ในมัสญิดนั้น ไม่มีข้อห้าม ก็ถือว่า อนุญาต(มุบาหฺ)ให้กระทำได้ แต่ การมาจำกัดเฉพาะการทำพิธีนิกะห์ในมัสญิดจนเป็นธรรมเนียมปฎิบัติ และเข้าใจว่า มีความประเสริฐกว่าที่อื่นนั้น ต้องมีหลักฐานมายืนยัน
เช็คอิบนุอุษัยมีน กล่าวว่า
استحباب عقد النكاح في المسجد لا أعلم له أصلاً ، ولا دليلاً عن النبي صلى الله عليه وسلم ، لكن إذا صادف أن الزوج والولي موجودان في المسجد وعقد : فلا بأس ؛ لأن هذا ليس من جنس البيع والشراء ، ومن المعلوم أن البيع والشراء في المسجد حرام ، لكن عقد النكاح ليس من البيع والشراء ، فإذا عقد في المسجد : فلا بأس ، أما استحباب ذلك بحيث نقول : اخرجوا من البيت إلى المسجد ، أو تواعدوا في المسجد ليعقد فيه : فهذا يحتاج إلى دليل ، ولا أعلم لذلك دليلاً
การส่งเสริมให้ทำการอะกัดนิกะหฺในมัสญิด (ว่าชอบให้กระทำนั้น) ข้าพเจ้า ไม่เคยทราบที่มาของมัน และไม่มีหลักฐานใดๆจากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แต่ว่า เมื่อบังเอิญว่า ฝ่ายเจ้าบ่าวและวาลี(ผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาว) อยู่กันพร้อมหน้าในมัสญิด และ เขาได้ทำการอะกัด(ทำข้อตกลงการนิกะห์) ก็ไม่เป็นไร เพราะกรณีนี้ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการซื้อและการขาย และ เป็นที่รู้กันว่า การซื้อและการขาย ในมัสญิดนั้น เป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม) แต่ว่า การอะกัดนิกะห์นั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการซื้อและการขาย ดังนั้น เมื่อเขาอะกัด(ทำข้อตกลงนิกะห์)ในมัสญิด ก็ไม่เป็นไร สำหรับ การส่งเสริมให้ทำดังกล่าว (ว่าชอบให้กระทำ)โดยกล่าวว่า "พวกท่านจงออกจากบ้านไปยังมัสญิด หรือ พวกท่านจงสัญญากัน(นัดกัน)ที่มัสญิด เพื่อทำการอะกัด(นิกะห์)ในนั้น กรณีนี้ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐาน(อ้างอิง) และ ข้าพเจ้า ไม่เคยทราบหลักฐานใดๆสำหรับดังกล่าว
- ลิกออุลบาบ อัลมัฟตูหฺ หน้า 167 คำถามหมายเลข 12
...............
วัสสลาม _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mahdisaudi มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004 ตอบ: 381
|
ตอบ: Fri Jun 12, 2009 5:30 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณ อ.อะสาน ที่ให้ความรู้.... _________________ อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|