ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
maliksn มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/10/2008 ตอบ: 164
|
ตอบ: Tue Oct 28, 2008 6:35 pm ชื่อกระทู้: al-azhary แห่ง sunnahstudent กับการปกปิดข้อมูลนำลวงคนเอาวาม |
|
|
รวบรวมจากการโพสต์ของบังอะซัน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
maliksn มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/10/2008 ตอบ: 164
|
ตอบ: Tue Oct 28, 2008 6:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มาดูสิ่งที่กลุ่มอะชาอีเราะฮ พยายามค้านเรื่อง คุณลักษณะความสูงส่ง( صفة العلو ) ของอัลลอฮ โดยอธิบายอายะฮข้างล่างดังนี้
พระองค์ตรัสว่า
]تَعْرُجُ الْمَلائِكَةُ وَالرُّوحُ إِلَيْهِ فِي يَوْمٍ كَانَ مِقْدَارُهُ خَمْسِينَ أَلْفَ سَنَةٍ[
มะลาอิกะฮฺและอัรรูฮ์(ญิบริล)จะขึ้นไปหาพระองค์ในวันหนึ่งซึ่งกำหนดของมันเท่ากับห้าหมื่นปี (ของโลกนี้) [14]
ท่านอัลกุรตุบีย์ได้อธิบายอายะฮ์ด้วยอัลกุรอานกับอัลกุรอ่านความว่า
إِلَيْهِ " أَيْ إِلَى الْمَكَان الَّذِي هُوَ مَحَلّهمْ وَهُوَ فِي السَّمَاء ; لِأَنَّهَا مَحَلّ بِرّه وَكَرَامَته . وَقِيلَ هُوَ كَقَوْلِ إِبْرَاهِيم " إِنِّي ذَاهِب إِلَى رَبِّي " [ الصَّافَّات / 99 ] . أَيْ إِلَى الْمَوْضِع الَّذِي أَمَرَنِي بِهِ
"ไปยังพระองค์ หมายถึง ไปยังสถานที่ซึ่งเป็นสถานที่ของมะลาอิกะฮ์ ซึ่งมันอยู่บนฟากฟ้า เนื่องจากฟากฟ้าเป็นสถานที่แห่งความดีและมีเกียรติ บางทัศนะกล่าวว่า คำตรัสของพระองค์นี้ ก็เหมือนกับคำกล่าวของท่านนบีอิบรอฮีมที่ว่า
إِنِّي ذَاهِب إِلَى رَبِّي
"แท้จริงท่านได้ไปหาผู้อภิบาลของฉัน" อัศศ๊อฟฟาต 99
หมายถึง ไปยังสถานที่ที่พระองค์ทรงใช้ให้ฉันไปอยู่" ตัฟซีรกุรตุบีย์ (18/245)
ดังนั้นที่ญิบรีลไปยังพระองค์นั้น ก็คือไปยังสถานที่ที่พระองค์ทรงให้มะลาอิกะฮ์อยู่นั่นเอง ไม่ใช่ไปหาพระองค์จริงๆ
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=3546.45
...........................
อาบังขอกล่าวว่า
ข้างบนเป็นคำอธิบายของอาจารย์อัลอัชอารีย์ ที่พยายามสรรหาทัศนะมาเพื่อปฏิเสธการอยู่ทิศเบื้องบนของอัลลอฮ ที่นี้มาดูของจริงไม่บิดเบือนข้างล่างนี้
تَعْرُجُ الْمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ إِلَيْهِ فِي يَوْمٍ كَانَ مِقْدَارُهُ خَمْسِينَ أَلْفَ سَنَةٍ
[70.4] มลาอิกะฮ์และอัรรูหฺ (ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์ในวันหนึ่งซึ่งกำหนดของมันเท่ากับห้าหมื่นปี (ของโลกดุนยานี้)
1. อิบนิกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)อธิบายว่า
وَفِي الْحَدِيث الَّذِي رَوَاهُ الْإِمَام أَحْمَد وَأَبُو دَاوُد وَالنَّسَائِيّ وَابْن مَاجَهْ مِنْ حَدِيث الْمِنْهَاج عَنْ زَاذَان عَنْ الْبَرَاء مَرْفُوعًا الْحَدِيث بِطُولِهِ فِي قَبْض الرُّوح الطَّيِّبَة قَالَ فِيهِ " فَلَا يَزَال يَصْعَد بِهَا مِنْ سَمَاء إِلَى سَمَاء حَتَّى يَنْتَهِي بِهَا إِلَى السَّمَاء الَّتِي فِيهَا اللَّه "
ในหะดิษซึ่งรายงานโดย อิหม่ามอะหมัด,อบูดาวูด,อันนะสาอีย์และอิบนุมาญะฮ จากหะดิษ อัลมินฮาจญ์ จากซาดาน จาก อัลบะรออฺ เป็นหะดิษสืบไปถึงนบี(หะดิษมัรฟัวะ) ซึ่งเป็นหะดิษที่มีเนื้อหายาว ในเรื่อง การเอาชีวิตที่ดี ท่านนบี ได้กล่าวในหะดิษดังกล่าวว่า เขาได้นำมัน ขึ้นไป จากฟากฟ้าหนึ่ง ไปยัง อีกฟากฟ้าหนึ่ง จนกระทั่งเขาได้ถึง ไปยังฟากฟ้าที่อัลลอฮ อยู่ใน มัน ด้วยมัน(ด้วยชีวิตนั้น) ตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย ซูเราะฮอัลมะอาริจญ์ อายะฮที่ 4
2. อิบนุญะรีร (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน)อธิบายว่า
تَصْعَد الْمَلَائِكَة وَالرُّوح , وَهُوَ جِبْرِيل عَلَيْهِ السَّلَام إِلَيْهِ , يَعْنِي إِلَى اللَّه جَلَّ وَعَزَّ ; وَالْهَاء فِي قَوْله { إِلَيْهِ } عَائِدَة عَلَى اسْم اللَّه
มลาอิกะฮและอัรรูหฺ ขึ้นไป และเขาคือ ญิบรีล อะลัยฮิสสลาม ยังพระองค์ หมายถึง ไปยังอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง และ อักษรฮา ในคำตรัสที่ว่า(อิลัยฮิ) กลับไปยังพระนามของอัลลอฮ (หมายถึงเป็นสรรพนามแทนชื่ออัลลอฮ) ดู ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย ซูเราะฮอัลมะอาริจญ์ อายะฮที่ 4
3. มาดูคำอธิบายของอิหม่ามอัลกุรฏุบีย์เต็มๆไม่ตัดตอน อย่างที่ท่านอัลอัซอารีย์ได้ตัดหัวและตัดหางข้างต้น (ในสีแดงคือที่อัลอัซอารีย์ตัดออก)
. قَالَ قَبِيصَة بْن ذُؤَيْب إِنَّهُ رُوح الْمَيِّت حِينَ يُقْبَض . " إِلَيْهِ " أَيْ إِلَى الْمَكَان الَّذِي هُوَ مَحَلّهمْ وَهُوَ فِي السَّمَاء لِأَنَّهَا مَحَلّ بِرّه وَكَرَامَته . وَقِيلَ : هُوَ كَقَوْلِ إِبْرَاهِيم " إِنِّي ذَاهِب إِلَى رَبِّي " [ الصَّافَّات / 99 ] . أَيْ إِلَى الْمَوْضِع الَّذِي أَمَرَنِي بِهِ . وَقِيلَ
إِلَيْهِ
أَيْ إِلَى عَرْشه เกาะบีเศาะฮ บิน ดุอัยบฺ กล่าวว่า แท้จริงมันคือ ดวงวิญญาณมัยยิต เมื่อถูกเอาไป (อิลัยฮิ) หมายถึง ไปยังสถานที่ซึ่งเป็นสถานที่ของพวกเขา ซึ่งมันอยู่บนฟากฟ้า เนื่องจากฟากฟ้าเป็นสถานที่แห่งความดีและมีเกียรติ และมีผู้กล่าวว่า คำตรัสของพระองค์นี้ ก็เหมือนกับคำกล่าวของท่านนบีอิบรอฮีมที่ว่า
إِنِّي ذَاهِب إِلَى رَبِّي
"แท้จริงท่านได้ไปหาผู้อภิบาลของฉัน" อัศศ๊อฟฟาต 99
หมายถึง ไปยังสถานที่ที่พระองค์ทรงใช้ให้ฉันไปอยู่ และมีผู้กล่าวว่า คำว่า อิลัยฮิ หมายถึง ไปยังอะรัชของพระองค์ - ดู ตัฟสีรอัลกุรฏุบีย์ อรรถาธิบาย ซูเราะฮอัลมะอาริจญ์ อายะฮที่ 4
............................
ท่านอิหม่ามอัลกุรฎุบัย์ได้กล่าวถึงทัศนะต่าง ๆ แต่ อัลอัซอารีย์ พยายาม จะบอกว่า ทัศนะของอัลกุรฏุบีย์ คือ ทัศนะที่เหมือนกับตน คือ ปฏิเสธการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ ช่างน่าอนาจใจจริงๆ โอ้ อะชาอีเราะฮ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
maliksn มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/10/2008 ตอบ: 164
|
ตอบ: Tue Oct 28, 2008 6:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
โต๊ะครูเว็บซุนนะฮสะติวเด้นบิดเบือนโดยกล่าวว่า
2. หลักอะกีดะฮ์ของอัลอะชาอิเราะฮ์ : คืออัลเลาะฮ์มีคุณลักษณะที่สูง (ให้ความหมายในนามธรรม) หมายถึง มีคุณลักษณะที่สูงส่ง
ท่าน อัฏเฏาะบะรีย์อุลามาอฺสะลัฟ ได้ให้น้ำหนักและทอนความหมายให้อยู่ในเชิงของนามธรรม(คือคุณลักษณะสูงส่ง) ครับ ซึ่งท่านกล่าวว่า
فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "استوى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. (ท่านอัฏเฏาะบะรีย์จึงกล่าวตอบโต้ว่า) ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร เฏาะบะรีย์ เล่ม 1 หน้า 192)
หมายเหตุ : แต่วะฮาบีย์บอกว่าอัลเลาะฮ์เคลื่อนย้าย!?
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?PHPSESSID=ee20e95a0fe261b56e17dd02a480d298&topic=3546.msg27817;topicseen#new
.
ข้างต้น โต๊ะครูนำมาเป็นข้ออ้างว่า อิหม่ามอัฏฏอ็บรี ตีความ คำว่า อิสติวาฮ หมายถึง อำนาจการปกครอง ไม่ใช่ทรงสถิต หรือ ประทับ เหนือบัลลังค์ จะเห็นได้ว่า โต๊ะครูเอาเรื่อง 2 เรื่อง มาหมกเหม็ด ให้อยู่ในเรื่อง เดียวเดียวกัน เพื่อตบตาผู้อ่าน เพราะ
1. คำอธิบายข้างต้นของ อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ ท่านได้อธิบายอายะฮ ที่ 29 ซูเราะฮ อัลบะกาะเราะฮ ที่ว่า
هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُمْ مَا فِي الْأَرْضِ جَمِيعًا ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاءِ فَسَوَّاهُنَّ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ
29. พระองค์คือผู้ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งมวลในโลกไว้สำหรับพวกเจ้า ภายหลังได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า (*1*) และได้ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นเป็นเจ็ดชั้นฟ้า และพระองค์นั้นได้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง
(1) ซึ่งขณะนั้นฟากฟ้ายังเป็นหมอกควันอยู่ ดังที่พระองค์ทรงแจ้งไว้ว่า แล้วพระองค์ได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า ขณะที่มันยังเป็นหมอกควันอยู่
.........
ประโยคที่ว่า ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء แปลว่า ได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า และความหมายคำว่า اسْتَوَى إِلَى แปลว่า มุ่งไปสู่ ,เจตนา ดังที่อิบนุกะษีร อธิบายว่า
أَيْ قَصَدَ إِلَى السَّمَاء وَالِاسْتِوَاء هَاهُنَا مُضَمَّن مَعْنَى الْقَصْد وَالْإِقْبَال لِأَنَّهُ عُدِّيَ بِإِلَى
หมายถึง เจตนามุ่งไปสู่ฟากฟ้า และคำว่า อัลอิสติวาในที่นี้ ประกอบด้วยความหมายของคำว่า الْقَصْد (เจตนา)และคำว่า َالْإِقْبَال ( ไปข้างหน้า) เพราะ ว่ามัน(คำว่า อิสตะวา )ถูกให้เป็นกริยาสกรรมกริยา ด้วยคำว่า الى (อิลา) - ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 29 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ
.................
จะเห็นได้ว่า เรื่องข้าง ต้นไม่เกี่ยวกับ อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฎอฮา ที่ว่า
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์
2. เพราะอายะฮที่ว่า
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์
อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อรรถาธิบายว่า
وَقَوْله : { الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش
اسْتَوَى } يَقُول تَعَالَى ذكْره : الرَّحْمَن عَلَى عَرْشه ارْتَفَعَ وَعَلَا
และอัลลอฮ ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ ) พระองค์ผู้ซึ่งการกล่าวถึงพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ หมายถึง อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป - ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฏอฮา
.......................
จะเห็นได้ว่า โต๊ะครูเว็บซุนนะฮสะติวเด้น กล่าวเท็จแก่อิบนุญะรีร อย่างน่าละอายยิ่ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Seres มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 30/10/2008 ตอบ: 8
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Mr.shot บุคคลทั่วไป
|
ตอบ: Fri Oct 31, 2008 11:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เชิญคุณMaliksn ชี้แจงต่อด้วยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Seres มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 30/10/2008 ตอบ: 8
|
ตอบ: Sat Nov 01, 2008 10:13 am ชื่อกระทู้: |
|
|
[quote="Seres"] maliksn บันทึก: |
"อัลเลาะฮ์ทรงรู้ดียิ่ง กับความซอฮิห์ของฮะดิษ (หมายถึงฮะดิษไม่ซอฮิห์) เพราะในนักรายงานบางส่วนของฮะดิษนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่ฮะดิษนี้เลื่องลือ(คือเลื่องลือในแง่วิญญาณขึ้นไปบนฟ้ากฟ้ามิใช่อยู่ในฟ้าชั้น 7)
|
ขอแก้ไขคำว่า (คือเลื่องลือในแง่ของวิญญาณขึ้นไปบนฟ้ามิใช่อยู่ชั้น7) ไปเป็น (คือเลื่องลือในแง่วิญญาณขึ้นไปบนฟากฟ้าชั้นเจ็ด) ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Nov 01, 2008 11:25 am ชื่อกระทู้: |
|
|
[quote="Seres"] Seres บันทึก: | maliksn บันทึก: |
"อัลเลาะฮ์ทรงรู้ดียิ่ง กับความซอฮิห์ของฮะดิษ (หมายถึงฮะดิษไม่ซอฮิห์) เพราะในนักรายงานบางส่วนของฮะดิษนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่ฮะดิษนี้เลื่องลือ(คือเลื่องลือในแง่วิญญาณขึ้นไปบนฟ้ากฟ้ามิใช่อยู่ในฟ้าชั้น 7)
|
ขอแก้ไขคำว่า (คือเลื่องลือในแง่ของวิญญาณขึ้นไปบนฟ้ามิใช่อยู่ชั้น7) ไปเป็น (คือเลื่องลือในแง่วิญญาณขึ้นไปบนฟากฟ้าชั้นเจ็ด) ครับ |
.........
ให้ไปแก้ตัวในเว็บของคุณแล้วลิงค์ ผมไม่อยากให้เว็บนี้รกไปด้วยการใช้ปัญญาตีความและบิดเบือนตามความเห็น
ท่านครูซุนนะฮสะติ้วเด้น พยายามชวนเชื่อให้คนอาวามเข้าใจว่า ท่านอัฏฏอ็บรีย์ มีอะกีดะฮแบบอะชาอีเราะฮ คือ ปฏิเสธการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ จริงๆแล้ว ท่านได้กล่าวถึงความหมายของ อายะฮ คำว่า
ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاءِ فَسَوَّاهُنَّ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ
หลังจากนั้นได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า และได้ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นเป็นเจ็ดชั้นฟ้า
ส่วนในซูเราะฮ ฏอฮา อายะฮที่ 5 ท่านอธิบายว่า
وَقَوْله { الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش اسْتَوَى } يَقُول تَعَالَى ذكْره الرَّحْمَن عَلَى عَرْشه ارْتَفَعَ وَعَلَا . وَقَدْ بَيَّنَّا مَعْنَى الاسْتوَاء بشَوَاهده فيمَا مَضَى وَذَكَرْنَا اخْتلَاف الْمُخْتَلفينَ فيه فَأَغْنَى ذَلكَ عَنْ إعَادَته في هَذَا الْمَوْضع .
คำตรัสของพระองค์ที่ว่า "(อัลเลาะฮ์นาม)อัรเราะห์มาน ทรงอิสติวาอฺ เหนือบัลลังก์" ดังนั้น อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสหมายถึง "(อัลเลาะฮ์นาม)อัรเราะห์มาน ทรงขึ้นและสูงเหนือบัลลังก์" และแท้จริงเราได้อธิบายความหมาย "อัลอิสติวาอฺ" ด้วยหลักฐานต่าง ๆ มาสนับสนุนในสิ่งที่ผ่านมาแล้ว และเราได้อธิบายความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับอิสติวาอฺด้วย ซึ่งไม่จำเป็นต้องกลับไปทบทวนอีกในที่นี้
และท่านอัฏฏอ็บรีย์ อธิบายต่อว่า
. وَللرَّفْع في الرَّحْمَن وَجْهَان : أَحَدهمَا بمَعْنَى قَوْله : تَنْزيلًا , فَيَكُون مَعْنَى الْكَلَام نَزَّلَهُ مَنْ خَلَقَ الْأَرْض وَالسَّمَوَات , نَزَّلَهُ الرَّحْمَن الَّذي عَلَى الْعَرْش اسْتَوَى . وَالْآخَر بقَوْله { عَلَى الْعَرْش اسْتَوَى } لأَنَّ في قَوْله اسْتَوَى , ذكْرًا منْ الرَّحْمَن
และสำหรับการอ่านรอฟอุน ในคำว่า อัรเราะหมาน นั้น มี 2 แนวทาง คือ
1. ความหมายคำตรัสของพระองค์ที่ว่า ตันซีลัน ความหมายของคำพูด คือ
نَزَّلَهُ مَنْ خَلَقَ الْأَرْض وَالسَّمَوَات
ผู้ที่ทรงสร้างฟากฟ้า และแผ่นดิน ได้ประทานมัน
2. คำตรัสของพระองค์ที่ว่า ทรงสถิตเหนื่อบัลลังค์ เพราะในคำตรัสของพระองค์ ที่ว่า อิสตะวา กล่าวถึง คำว่า อัรรเราะหฺมาน (หมายถึงคำว่า อัรเราะหมาน ทำหน้าที่ประธาน กริยา อิสตะวา
..
บรรทัดฐานที่จะเอามาอธิบาย สิฟัตการอยู่เบื่องสูง ของอัลลอฮ ไม่ใช่คำพูดของสะลัฟคนคนเดียว แต่ ต้องเอาคำอธิบายของรอซูลของอัลลอฮ ที่มีหน้าที่อรรถาธิบายอัลกุรอ่านโดยตรงมาเป็นหลักฐาน และท่านอัฏฏอ็บรีย์ ก็ไม่ได้ปฏิเสธ صفة العلو ของอัลลอฮที่เป็นรูปธรรม หรือหมายถึงซาตของพระองค์ เราต้องดูคำอธิบายอายะฮอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสิฟัตนี้ด้วย
..... _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
maliksn มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/10/2008 ตอบ: 164
|
ตอบ: Sat Nov 01, 2008 5:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Mr.shot บันทึก: | เชิญคุณMaliksn ชี้แจงต่อด้วยครับ |
คุณ Mr.shot ให้บังอะซันชี้แจงละกันนะ เพราะผมยกข้อความมาจากบังอะซัน และบังเค้าเหมาะสมกว่า |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Seres มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 30/10/2008 ตอบ: 8
|
ตอบ: Sat Nov 01, 2008 6:07 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เหตุใดถึงลบ สิ่งที่นำเสนอโดยเชิงวิชาการครับ ทั้งที่สิ่งได้นำเสนอไปไม่มีการด่าทอแต่ประการใด แต่เป็นการนำเสนอความจริงจากคำกล่าวของท่านอิบนุกะษีรในตัฟซีรของท่าน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun Nov 02, 2008 10:42 am ชื่อกระทู้: |
|
|
Seres บันทึก: |
เหตุใดถึงลบ สิ่งที่นำเสนอโดยเชิงวิชาการครับ ทั้งที่สิ่งได้นำเสนอไปไม่มีการด่าทอแต่ประการใด แต่เป็นการนำเสนอความจริงจากคำกล่าวของท่านอิบนุกะษีรในตัฟซีรของท่าน |
ولما سئل مالك بن أنس رضي الله عنه فقيل له يا أبا عبد الله الرحمن على العرش استوى طه 5 كيف استوى فأطرق مالك وعلاه الرحضاء يعني العرق وانتظر القوم ما يجئ منه فيه فرفع رأسه إليه وقال الاستواء غير مجهول والكيف غير معقول والإيمان به واجب والسؤال عنه بدعة وأحسبك رجل سوء وأمر به فأخرج
เมื่อมีผู้ถามท่านมาลิก บิน อะนัส (ร.ฎ) โดยมีผู้กล่าวแก่เขาว่า "โอ้อบูอับดุลลอฮ อายะฮที่ว่า"พระผู้ทรงเมตตาทรงอิสติวาอฺ เหนือบัลลังค์" -ฏอฮา /5 คำว่า"อิสตะวา"นั้นเป็นอย่างไรหรือ? ท่านมาลิก ก้มหน้า และเหงื่อแตก ด้วยความโกรธ กลุ่มคนรอคอยว่า เขาจะจัดการอย่างไรในเรื่องนี้ แล้วเขาได้เงยศีรษะขึ้นมองไปยังเขาผู้นั้น พร้อมกล่าวว่า "อิสติวาอฺ นั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่รู้กันและรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นสิ่งที่เข้าใจกันว่าเป็นอย่างไร และการศรัทธาต่อมันเป็นวาญิบ และการถามเกี่ยวกับมันนั้นเป็นบิดอะฮ และ ฉันเห็นว่าท่านนั้นเป็นคนเลว และเขาได้ใช้ให้ผู้นั้นออกไป - ซัมมุตตะวีล ของอิบนุกุดามะฮ เล่ม 1 หน้า 13
........
การพยายามที่จะตีความ คำว่า อิสติวาอ ถือเป็นการสร้างฟิตนะฮ อย่างหนึ่ง ที่ผมคิดว่า ควรขับออกจากเว็บนี้ และด้วยเห็นผลนี้จึงลบ และไล่ให้ไปจ้อและสอนคนอาวามในเว็บของท่านเถอะครับ ขอให้ท่านชนะตามที่ต้องการนะครับ และค่อยตอบคำถามของอัลลอฮในวันกียามะฮว่า "มีท่านรอซูลแล้วไม่พออีกหรือ" _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Konyakroo มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006 ตอบ: 244
|
ตอบ: Sat Nov 08, 2008 1:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การพยายามที่จะตีความ คำว่า อิสติวาอ ถือเป็นการสร้างฟิตนะฮ อย่างหนึ่ง ที่ผมคิดว่า ควรขับออกจากเว็บนี้ และด้วยเห็นผลนี้จึงลบ และไล่ให้ไปจ้อและสอนคนอาวามในเว็บของท่านเถอะครับ ขอให้ท่านชนะตามที่ต้องการนะครับ และค่อยตอบคำถามของอัลลอฮในวันกียามะฮว่า "มีท่านรอซูลแล้วไม่พออีกหรือ"
ท้ายประโยคนั้นบังหาสันคล้ายๆกับกล่าวหาว่ากลุ่มที่ทำการตะวีลนั้นปฎิเสธท่านนบีกระนั้นหรือครับครับ หรือจะฮุกมว่าผู้ที่ทำการตะวีลนั้นตกมุตัดอย่างนั้นหรือ ระวังให้ดีนะครับสิ่งที่กล่าวหาผู้อื่นมันจะตกไปยังผู้กล่าวหาเอง..... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
maliksn มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/10/2008 ตอบ: 164
|
ตอบ: Sat Nov 08, 2008 4:56 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บันทึกข้อเขียนของบังอะซัน ที่บ่งบอกว่า al-azhary หลอกลวงคนเอาวามไว้ในกระทู้นี้หน่อย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษาอะชาอีเราะฮแห่ง ไคโร กลุ่มหนึ่ง ได้นำอายะฮต่อไปนี้มาโต้แย้งการเชื่อว่าอัลลอฮอยู่เบื้องสูงของกลุ่มพี่น้องที่เขาฉายาว่า"วะฮบีย์" คือ อายะฮที่ว่า
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
وَهُوَ اللَّهُ فِي السَّمَاوَاتِ وَفِي الْأَرْضِ
"พระองค์คืออัลเลาะฮ์ผู้ทรงสถิตอยู่ ณ บรรดาฟากฟ้าและในแผ่นดิน" อัลอันอาม 3
และอายะฮที่ว่า
وَهُوَ الَّذِي فِي السَّمَاءِ إِلَهٌ وَفِي الْأَرْضِ إِلَهٌ وَهُوَ الْحَكِيمُ الْعَلِيمُ
"และพระองค์ทรงผู้เป็นพระเจ้าทรงสถิต ณ ฟากฟ้าและพระเจ้าทรงสถิตในแผ่นดินและพระองค์ทรงปรีชาญานยิ่ง ทรงรอบรู้ยิ่ง" อัซซุครุฟ 84
(ข้างต้นเป็นคำแปลของนักศึกษาอะชาอีเราะฮใคโรโดยยกข้อความมาบางส่วน อะชาอีเราะฮกลุ่มนี้กล่าวหาว่าวะฮบีย์ฃอบตัดตอนคำพูดอุลามาอฺ แต่อาชาอีเราะฮกลุ่มนี้ตัดตอนคำพูดอัลลอฮ)
...............
เขาอ้างว่า ถ้าไม่ตีความก็แสดงว่า วะฮบีย์ต้องเชื่อว่า อัลลอฮอยู่บนฟ้าและในพื้นดินด้วย
นี้คือ ความเข้าใจจุดมุ่งหมายของอายะฮ และ หรืออาจจะเป็นการแปลความหมายบิดเบือนโดยใส่คำว่า "สถิต"เข้าไปเพื่อหลอกคนอาวาม ให้เข้าใจผิดกลุ่มพี่น้องที่ถูกเรียกว่า "วะฮบีย"
ท่านผู้อ่านครับ มาดูของจริง ก็จะทราบว่าอายะฮข้างต้นถูกอะชาอีเราะฮบิดเบือน
อายะฮข้างต้นแบบเต็มๆดังนี้
وَهُوَ اللَّهُ فِي السَّمَاوَاتِ وَفِي الْأَرْضِ يَعْلَمُ سِرَّكُمْ وَجَهْرَكُمْ وَيَعْلَمُ مَا تَكْسِبُونَ
และพระองค์นั้นคือ อัลลอฮ์ ทั้งในบรรดาชั้นฟ้าและในแผ่นดินทรงรู้สิ่งเร้นลับของพวกเจ้า และสิ่งเปิดเผยของพวกเจ้า และทรงรู้สิ่งที่พวกเจ้าขวนขวายกันอยู่ - อันอันอาม/3
........
ความหมายอายะฮนี้คือ
อัลลอฮ์นั้นย่อมเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในบรรดาชั้นฟ้า และในแผ่นดินว่า พระองค์นั้นคือพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงคุณลักษณะอันสมบูรณ์ทุกประการ
ท่านอิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وَقَوْله تَعَالَى " وَهُوَ اللَّه فِي السَّمَوَات وَفِي الْأَرْض يَعْلَم سِرّكُمْ وَجَهْركُمْ " اِخْتَلَفَ مُفَسِّرُو هَذِهِ الْآيَة عَلَى أَقْوَال بَعْد اِتِّفَاقهمْ عَلَى إِنْكَار قَوْل الْجَهْمِيَّة الْأُوَل الْقَائِلِينَ تَعَالَى عَنْ قَوْلهمْ عُلُوًّا كَبِيرًا بِأَنَّهُ فِي كُلّ مَكَان حَيْثُ حَمَلُوا الْآيَة عَلَى ذَلِكَ فَالْأَصَحّ مِنْ الْأَقْوَال أَنَّهُ الْمَدْعُوّ اللَّه فِي السَّمَوَات وَفِي الْأَرْض أَيْ يَعْبُدهُ وَيُوَحِّدهُ وَيُقِرّ لَهُ بِالْإِلَهِيَّةِ مَنْ فِي السَّمَوَات وَمَنْ فِي الْأَرْض وَيُسَمُّونَهُ اللَّه وَيَدْعُونَهُ رَغَبًا وَرَهَبًا إِلَّا مَنْ كَفَرَ مِنْ الْجِنّ وَالْإِنْس وَهَذِهِ الْآيَة عَلَى هَذَا الْقَوْل كَقَوْلِهِ تَعَالَى " وَهُوَ الَّذِي فِي السَّمَاء إِلَه وَفِي الْأَرْض إِلَه " أَيْ هُوَ إِلَه مَنْ فِي السَّمَاء وَإِلَه مَنْ فِي الْأَرْض وَعَلَى هَذَا فَيَكُون قَوْله " يَعْلَم سِرّكُمْ وَجَهْركُمْ " خَبَرًا أَوْ حَالًا .
และคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า
وَهُوَ اللَّه فِي السَّمَوَات وَفِي الْأَرْض يَعْلَم سِرّكُمْ وَجَهْركُمْ
และพระองค์นั้นคือ อัลลอฮ์ ทั้งในบรรดาชั้นฟ้าและในแผ่นดินทรงรู้สึกเร้นลับของพวกเจ้า และสิ่งเปิดเผยของพวกเจ้า
บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอ่านได้มีความเห็นแตกต่าง ต่ออายะฮนี้ หลายทัศนะด้วยกัน หลังจากที่พวกเขาเห็นฟ้องกัน ในการคัดค้าน ทัศนะของพวกญะฮมียะฮยุคแรก ซึ่ง พระองค์ผู้ทรงสูงส่ง ทรงยิ่งใหญ่ ทรงบริสุทธิ์จากคำพูดของพวกเขา ที่บรรดาพวกเขากล่าวว่า พระองค์(อัลลอฮ)อยู่ทุกหนทุกแห่ง โดยพวกเขา ถือตามอายะฮดังกล่าวนั้น เพราะทัศนะที่ถูกต้องที่สุด คือ ผู้ที่วิงวอนต่ออัลลอฮ ในบรรดาชั้นฟ้าและในแผ่นดิน หมายถึง ผู้ที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและผู้ที่อยู่ในแผ่นดิน เคารพภักดีต่อพระองค์,ศรัทธาในเอกภาพของพระองค์และยอมรับในคุณลักษณะแห่งอุลูฮียะฮ(พระเจ้าที่ควรเคารพภักดี)ให้แก่พระองค์ และพวกเขาเรียกชื่อพระองค์ว่า "อัลลอฮ"และวิงวอนต่อพระองค์ ด้วยควาปราถนาและหวาดหวั่น นอกจากผู้ปฏิเสธศรัทธา จาก ญินและมนุษย์ และอายะฮนี้ อยู่บนทัศนะนี้ ดังคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
وَهُوَ الَّذِي فِي السَّمَاءِ إِلَهٌ وَفِي الْأَرْضِ إِلَهٌ
"และพระองค์คือพระผู้เป็นเจ้าแห่งชั้นฟ้า และพระผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน และพระองค์เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน หมายถึง พระองค์คือ พระเจ้าของผู้ที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและพระเจ้าของผู้ที่อยู่ในแผ่นดิน" และบนกรณีนี้ คำพูดของพระองค์ที่ว่า "يَعْلَم سِرّكُمْ وَجَهْركُمْ ทำหน้าที่เป็น คอบัร(ภาคแสดงในนามานุประโยค) หรือเป็นหาล( ประโยคที่ทำหน้าที่อธิบายสภาพของประธานของประโยค)
وَالْقَوْل الثَّانِي " أَنَّ الْمُرَاد أَنَّهُ اللَّه الَّذِي يَعْلَم مَا فِي السَّمَوَات وَمَا فِي الْأَرْض مِنْ سِرّ وَجَهْر فَيَكُون قَوْله يَعْلَم مُتَعَلِّقًا بِقَوْلِهِ " فِي السَّمَوَات وَفِي الْأَرْض " تَقْدِيره وَهُوَ اللَّه يَعْلَم سِرّكُمْ وَجَهْركُمْ فِي السَّمَوَات وَفِي الْأَرْض وَيَعْلَم مَا تَكْسِبُونَ
และทัศนะที่สอง ความหมายคือ แท้จริงพระองค์คือ อัลลอฮ ผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน ทั้งที่ลับและเปิดเผย คำตรัสที่ว่า يَعْلَم (ทรงรู้) ถูกขยายด้วยคำว่า
فِي السَّمَوَات وَفِي الْأَرْض (ในบรรดาชั้นฟ้าและในแผ่นดิน) โดยกำหนดให้เป็นประโยคว่า
وَهُوَ اللَّه يَعْلَم سِرّكُمْ وَجَهْركُمْ فِي السَّمَوَات وَفِي الْأَرْض وَيَعْلَم مَا تَكْسِبُونَ
และพระองค์ คือ อัลลอฮ ทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับของพวกเจ้า และสิ่งเปิดเผยของพวกเจ้าในบรรดาชั้นฟ้าและในแผ่นดิน และทรงรู้สิ่งที่พวกเจ้าขวนขวายกันอยู่ "
وَالْقَوْل الثَّالِث أَنَّ قَوْله " وَهُوَ اللَّه فِي السَّمَوَات " وَقْف تَامّ ثُمَّ اِسْتَأْنَفَ الْخَبَر فَقَالَ " وَفِي الْأَرْض يَعْلَم سِرّكُمْ وَجَهْركُمْ " وَهَذَا اِخْتِيَار اِبْن جَرِير
และทัศนะที่สาม แท้จริงคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
وَهُوَ اللَّه فِي السَّمَوَات (และพระองค์คือ อัลลอฮ ในบรรดาชั้นฟ้า) เป็นประโยคที่หยุดโดยสมบูรณ์ หลังจากนั้น พระองค์ได้เริ่มต้นประโยคที่ทำหน้าที่เคาะบัรใหม่ โดยตรัสว่า
وَفِي الْأَرْض يَعْلَم سِرّكُمْ وَجَهْركُمْ ( ทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับของพวกเจ้า และสิ่งเปิดเผยของพวกเจ้าในแผ่นดิน" และ ทัศนะนี้ เป็นทางเลือกของอิบนุญะรีร - ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบายซูเราะฮอันอันอาม อายะฮที่ 3
................
จากคำอธิบายข้างต้น แสดงให้เห็นว่า อายะฮนี้ไม่ได้หมายความว่า "อัลลอฮ สถิต อยู่ ณ บรรดาฟากฟ้าและในแผ่นดิน อย่างที่นักศึกษาอาชาอีเราะฮไคโรแปลและ กล่าวหาว่าวะฮบีย์เชื่อตามนั้น และแสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่เพราะแปลผิดก็เพราะต้องการบิดเบือนความหมายใส่ร้ายวะฮบีย์นั้นเอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Nov 08, 2008 7:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Konyakroo บันทึก: | การพยายามที่จะตีความ คำว่า อิสติวาอ ถือเป็นการสร้างฟิตนะฮ อย่างหนึ่ง ที่ผมคิดว่า ควรขับออกจากเว็บนี้ และด้วยเห็นผลนี้จึงลบ และไล่ให้ไปจ้อและสอนคนอาวามในเว็บของท่านเถอะครับ ขอให้ท่านชนะตามที่ต้องการนะครับ และค่อยตอบคำถามของอัลลอฮในวันกียามะฮว่า "มีท่านรอซูลแล้วไม่พออีกหรือ"
ท้ายประโยคนั้นบังหาสันคล้ายๆกับกล่าวหาว่ากลุ่มที่ทำการตะวีลนั้นปฎิเสธท่านนบีกระนั้นหรือครับครับ หรือจะฮุกมว่าผู้ที่ทำการตะวีลนั้นตกมุตัดอย่างนั้นหรือ ระวังให้ดีนะครับสิ่งที่กล่าวหาผู้อื่นมันจะตกไปยังผู้กล่าวหาเอง..... |
...........
ครับ adik Konyakroo
จริงๆอาบังรู้ว่าน้องบ่าวคงเหงา เพราะเวียนว่ายอยู่ในเว็บซุนนะฮสะติวเด้นก็มีแต่พวกกินเองชงเอง เลยมาโผล่ในเว็บนี้ เรื่อง การตะวีลนั้น หมายถึง การอธิบาย ไม่ใช่การเปลี่ยนความหมายไปเป็นอย่างอื่นโดยปฏิเสธสิฟัตที่อัลลอฮและนบี บอกไว้
ท่านนบี ได้กล่าวแก่ท่านอิบนิอับบัสว่า
اللهم فقهه في الدين وعلمه التأويل
"โอ้อัลลอฮ ได้โปรดให้เขาเข้าใจในศาสนาและได้โปรดสอนการตะวีลให้แก่เขา"(1)
...........
(1) البخاري : الوضوء (143) , ومسلم : فضائل الصحابة (2477).
...
ความหมาย"คำว่า " คำว่า "อัตตะวีล"ในที่นี้คือ التفسير (อัตตัฟสีร) หมายถึง การอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน
แต่พวกอะฮลุลกะลัมและอะชาอิเราะฮรุ่นหลัง เอามาใช้ในความหมายอีกแบบ คือ การเปลี่ยนมาเป็นความหมายที่ตนเองเห็นว่ามีน้ำหนักกว่า หรือ เพื่อให้กินกับปัญญาที่ตนเองเข้าใจซึ่งไม่ได้มีหลักฐานว่า นบี และเหล่าสาวกได้อธิบายไว้แบบนั้น ซึ่ง เราไม่เห็นด้วยที่จะเอาสิฟัตอัลลอฮมาวิจารณ์ตามความเห็นโดยอ้างว่า เป็นการตะวีล แต่ก็ถูกอะชาอีเราะฮในเว็บซุนนะฮสะติวเด้นโจมตีว่า พวกไม่ตะวีล เป็นพวกมีอะกีดะฮที่หลุ่มหลง เพราะฉะนั้น อย่าเข้ามาเลยครับ กลับไปหาเว็บที่ชอบ ที่ชอบ เถอะครับ น้องบ่าวคนอยากรู้ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
dabdulla มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005 ตอบ: 437
|
ตอบ: Fri Nov 14, 2008 10:47 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คนๆ นี้ต้องลบครับ เพราะสร้างฟิตนะห์ ให้กับเชค อาลี อีซา และเชคริฏอครับ
พวกเราขัดแย้งกันขนาดใหน ก็ยังเป็นพี่น้องกันครับ
ระหว่างพวกเราขัดแย้งกัน เราก็ขอดุอาให้กัน คนอื่นไม่ต้องยุ่งครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|