ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
shabab มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008 ตอบ: 303
|
ตอบ: Sat Aug 30, 2008 4:27 am ชื่อกระทู้: เมื่อจุฬาประกาศดู 31 จุดยืนของผู้ศรัทธาจะทำอย่างไร‏ |
|
|
อัสลามุอาลัยกุม
พี่น้องผู้มีสติปัญญาทั้งหลายครับ
จงอ่านดู
ช่วยไม่ได้หากท่านขี้เกียจอ่าน แล้วนำมาซึ่งความเข้าใจที่คลาดเคลื้อน
และการกล่าวซึ่ง วะฮาบีหรือคณะใหม่สำหรับคนที่ออกไม่ตรงกับท่าน
...ทำไม ต้องออกคนละวันกัน ทำไมต้องขัดกันและทำไมถึงเป็นเช่นนี้ครับ
หรือเพราะเราไม่เรียนรู้ หรือเพราะเราไม่สนใจ หรือเพราะเราไม่ศึกษา หรือเพราะเราเอาอารมณ์ หรือเพราะเราเอาคนส่วนใหญ่กันครับ
มาอ่านดู มาพิจารณาดู มาใช้กันเถิดซึ่งสติปัญญาของความเป็นมุสลิมครับ
เราไม่ได้ด้อยซึ่งสติปัญญา เราไม่ได้ด้อยซึ่งการใฝ่หา แล้วเราไม่อยากรู้เลยหรือ แท้ที่จริง เรื่องดังกล่าว อัลลอฮว่าอย่างไร รอซูลว่าอย่างไร
หรือเราจะตามๆกันไป หรือเราจะเป็นอย่างนี้เสมอไปครับ ที่จะออกต่างวันกัน ..
หรือวันนี้ ดวงจันทร์มีสองดวง วันอีดมีสองวัน ที่เราวุกุฟมีหลายที่ครับ
แล้ววันนี้หละ ผู้ศรัทธาจะเอาอย่างไร จะเอาอิสลามหรือจะเอาประชาธิปไตยครับ
ออ...ศาสนาเป็นประชาธิปไตยแล้วหรือ ศาสนาตามคนส่วนใหญ่แล้วหรือ หรือศาสนาตามบรรพบุรุษหรือประเพณีแล้วครับ
อืม..จะออกวันไหนดีกัน ลองมาดูกันครับ ลองมาอ่านซิ ว่าอัลลอฮว่า อย่างไร รอซูลว่าอย่างไร
แล้วเราหละจะเอาอย่างไร
จะตามจุฬา หรือจะตามหะดิษดีครับ
หลักการศาสนาในการเข้าเดือนใหม่ (จันทรคติ)
1. การดูเดือน(จันทร์เสี้ยวเดือนใหม่) เป็นหลักเกณฑ์ที่ศาสนาอัลอิสลามได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนสำหรับการเข้าเดือนใหม่ โดยมีหะดีษจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
إِذَا رَأَيْتُمُوهُ فَصُومُوا وَإِذَا رَأَيْتُمُوهُ فَأَفْطِرُواْ (رواه البخاري ومسلم)
ความว่า "หากพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยว(เดือนใหม่)จงถือศีลอด และหากพวกท่านเห็นมัน(เดือนใหม่)ก็จงละศีลอด"
การเห็นเดือนนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มิได้กำหนดว่าต้องเห็นด้วยสายตาหรือใช้กล้องขยาย แต่จำเป็นต้องเห็นด้วยสายตาเป็นหลัก
2. ในบทหะดีษ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มิได้ใช้ให้ประชาชาติอิสลามทุกคนต้องเห็นเดือนเสี้ยวจึงจะนับเดือนใหม่ เพราะเป็นไปไม่ได้โดยธรรมชาติ หากท่านนบีใช้ให้ประชาชาติติดตามเดือนใหม่ และเมื่อบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เห็นจันทร์เสี้ยวเดือนใหม่แล้ว ผู้ที่รับทราบข่าวการเห็นเดือนนั้นก็จำเป็น(วายิบ)ที่ต้องถือศีลอด ดังอายะฮฺที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสไว้ว่า
﴿ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ ﴾ سورة البقرة ١٨٥
มีความหมายว่า "ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือศีลอด"
และในภาคปฏิบัติท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่ได้เห็นเดือนเอง แต่มีบุคคลอื่นที่เห็นเดือนและแจ้งแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านก็ได้ประกาศการเห็นนั้นให้ประชาชนทั่วไปทราบ
จากศาสนบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดูเดือน จะเห็นว่ามี 2 ประการ ที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น
1) การติดตามดูเดือนใหม่
2) การแจ้งข่าวการเห็นเดือนอย่างน่าเชื่อถือ
นั่นคือหน้าที่ของสังคมมุสลิมโดยทั่วไปที่ต้องปฏิบัติ จึงจะถือว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺและร่อซูล ถ้าหากว่าไม่มีผู้ใดในประชาชาติอิสลามติดตามดูเดือนเลย ก็จะถือว่าประชาชาติอิสลามทั้งหมดมีข้อบกพร่องในหน้าที่นี้ แต่ถ้าหากว่ามีการเห็นเดือนอย่างน่าเชื่อถือ แต่กลับไม่มีการแจ้งข่าวหรือแจ้งข่าวโดยสร้างความสงสัยหรืออุปสรรค เพื่อไม่ให้ประชาชนปฏิบัติตามศาสนบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นข้อบกพร่องสำหรับสังคมโดยทั่วไป หรืออาจจะเป็นความผิดอย่างมหันต์ เพราะเป็นการขัดขวางมิให้มุสลิมีนปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนและถูกต้อง ตามบทบัญญัติที่มีในกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
3. หากไม่มีการเห็นเดือน ก็ต้องนับเดือนเก่าให้ครบ 30 วัน ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
فَإِنْ غُمَّ عَلَيْكُمْ فَأَكْمِلُواْ عدة شعبان (رواه البخاري ومسلم)
ความว่า "หากมีสิ่งบดบังมัน (ทำให้พวกเจ้าไม่สามารถเห็นหิล้าลได้) ก็จงนับชะอฺบานให้ครบถ้วน(30 วัน)"
4. ท่านนบีไม่อนุญาตให้ใช้วิธีอื่นในการนับเดือนใหม่ นอกจากแนวทางที่ระบุข้างต้น เช่น วิธีคำนวณโดยวิชาดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามไว้อย่างเด็ดขาดในหะดีษที่ท่านกล่าวว่า
نَحْ&# 1606;ُ أُمَّةٌ أُمِّيَةٌ لا نَكْتُبُ وَلا نَحْسُبُ ..
ความว่า "เราเป็นประชาชาติที่ไม่ใช้การบันทึกหรือการคำนวณในการนับเดือน" (บันทึกโดยบุคอรียฺ)
ในเรื่องนี้ ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ (มัซฮับฮัมบาลี) ท่านอิมามอิบนุลมุนซิร (มัซฮับชาฟิอียฺ) ท่าน อิมามบาญียฺ ท่านอิมามอิบนุรุชดฺ อัลกุรฏุบียฺ (มัซฮับมาลิกียฺ) ท่านอิมามอิบนุฮาญัร ท่านอิมามซุบกียฺ(มัซฮับชาฟิอียฺ) ท่าน อิมามอัยนียฺ อิมามอิบนุอาบิดีน อิมามมุลลาอะลี กอรียฺ (มัซฮับฮานาฟียฺ) ท่านอิมามเชากานียฺ และท่านอิมามซิดดี๊ก หะซัน คอน (ไม่สังกัดมัซฮับ) ได้ระบุว่า เป็นอิจญฺมาอฺ(มติเอกฉันท์)ในบรรดานักปราชญ์แห่งศาสนาอิสลามว่า ไม่อนุญาตให้ใช้การคำนวณของวิชาดาราศาสตร์เป็นบรรทัดฐานในการนับเดือนใหม่ ซึ่งเป็นเอกฉันท์ในบรรดาสาวกของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ไม่มีข้อขัดแย้งกันแม้แต่น้อย
ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺได้กล่าวไว้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่าสงสัยเลยว่าในซุนนะฮฺที่ถูกต้องของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และในเอกฉันท์ของบรรดาสาวก(ศ่อฮาบะฮฺ)ของท่าน ยืนยันว่าไม่อนุญาตให้อาศัยการคำนวณทางดาราศาสตร์ โดยมีหะดีษบันทึกในบุคอรียฺและมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า
نَحْنُ أُمَّةٌ أُمِّيَةٌ لا نَكْتُبُ وَلا نَحْسُبُ ..
ความว่า "เราเป็นประชาชาติที่ไม่ใช้การบันทึกหรือการคำนวณในการนับเดือน"
صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَأَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ
ความว่า "จงถือศีลอดเมื่อเห็นมัน(หิล้าล) และจงละศีลอดเมื่อเห็นมัน(หิล้าล)"
ดังนั้นผู้ที่อาศัยการคำนวณในเรื่องหิล้าล(จันทร์เสี้ยว) นอกจากเป็นผู้ที่หลงทางจากศาสนบัญญัติและเป็นผู้ประดิษฐ์สิ่งแปลกปลอมในศาสนาแล้ว ก็จะถือว่าเป็นผู้ผิดพลาดในเชิงเหตุผลโดยปัญญา และผิดพลาดในด้านดาราศาสตร์ด้วย เพราะผู้รู้ด้านดาราศาสตร์ทราบอย่างดีว่าการเห็นหิล้าลนั้ นไม่สามารถใช้การคำนวณได้(จากหนังสือมัจญฺมูอุลฟะตาวา เล่มที่ 25 หน้า 207) และชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺได้ถือว่า ผู้ที่นำวิชาดาราศาสตร์มาเป็นบรรทัดฐานในการเห็นเดือนใหม่หรือนับเดือนใหม่ เป็นผู้ที่สร้างอุตริกรรมในศาสนาอิสลาม ซึ่งผู้ที่ริเริ่มประดิษฐ์เรื่องนี้คือกลุ่มชีอะฮฺนิกายอิสมาอิลียะฮฺ(เล่มเดียวกัน หน้า 179) และท่านได้ตำหนิผู้ที่เชื่อการคำนวณของนักดาราศาสตร์ว่าจันทร์เสี้ยวนั้นเห็นได้หรือไม่ได้ จนกระทั่งได้ปฏิเสธการเห็นเดือนโดยพยานที่น่าเชื่อถือ ว่าประหนึ่งผู้ปฏิเสธสัจธรรมหลังจากที่ได้รับทราบแล้ว(เล่มเดียวกัน หน้า 131)
จากเนื้อหาที่ระบุข้างต้น พี่น้องผู้ศรัทธาสามารถจำแนกได้ระหว่างแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บรรดาศ่อฮาบะฮฺทั้งปวง มัซฮับทั้งสี่ที่ประชาชาติอิสลามนับถือ และแม้กระทั่งบรรดานักปราชญ์ตั้งแต่ยุคบรรพชน(สะลัฟ)จนถึงปัจจุบัน กับอีกฝ่ายหนึ่ง คือแนวทางของผู้สร้างอุตริกรรมในศาสนบัญญัติ โดยนำดาราศาสตร์มาเป็นบรรทัดฐานในการดูเดือนหรือนับเดือน ทั้งๆที่เป็นแนวทางที่ถูกปฏิเสธอย่างเด็ดขาดในหลักการของศาสนาอิสลาม
อนึ่ง ในภาคปฏิบัติของประชาชาติอัลอิสลามตั้งแต่อดีตนั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวิชาดาราศาสตร์หรือข้อมูลจากดาราศาสตร์เลย ยกเว้นช่วงที่กลุ่มชีอะฮฺปกครองบางท้องถิ่น เช่นในศตวรรษที่ 4 (ฮ.ศ.) ณ ประเทศอียิปต์ อาณาจักรอัลฟาฏิมียะฮฺซึ่งยึดในลัทธิชีอะฮฺบาฏินียะฮฺ ได้ใช้การคำนวณในการนับเดือน แต่บรรดานักปราชญ์ในยุคนั้นได้ปฏิเสธวิธีนี้ด้วยประการทั้งปวง และในปัจจุบันก็ไม่มีประเทศใดที่ให้ความสำคัญกับวิชาดาราศาสตร์ ยกเว้นอิหร่านที่ใช้ลัทธิชีอะฮฺในการปกครอง และประเทศที่เชื่อในหลักวิทยาศาสตร์มากกว่าศาสนบัญญัติอย่างประเทศลิเบีย ที่เอียงไปทางด้านสังคมนิยมมากกว่าศาสนาอิสลาม แต่ก็ยังมีกลุ่มชาวซุนนะฮฺในทั้งสองประเทศที่ไม่ยอมรับหลักการดัง กล่าว และยังยืนหยัดหลักการศาสนาอิสลามในเรื่องนี้
ในสังคมของเราอาจจะมีผู้อ้างว่าไม่ใช้ดาราศาสตร์ในการนับเดือนหรือเห็นเดือน แต่จะสังเกตว่า เขามักจะอ้างอิงถึงข้อมูลแห่งวิชาดาราศาสตร์ในการตรวจสอบการเห็นเดือน เช่น การกล่าวว่า เห็นได้อย่างไร มันไม่มีเดือน? เห็นได้อย่างไร ประเทศอื่นยังไม่เห็นเลย? เห็นได้อย่างไร มันเดือนเก่าไม่ใช่เดือนใหม่? มันหงายหรือคว่ำ? เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมิใช่อื่ นใดนอกจากข้อมูลแห่งวิชาดาราศาสตร์ ประหนึ่งว่าเขาไม่สามารถบอกกับชาวบ้านว่าต้องใช้วิชาดาราศาสตร์เพราะรู้ว่าผิดหลักการ จึงนำเอาข้อมูลทางดาราศาสตร์มาสร้างข้อสงสัย เพื่อปฏิเสธการเห็นเดือนที่ปรากฏแล้วอย่างน่าเชื่อถือ
สิ่งที่น่าวิตกกังวลก็คือ ในอดีตนั้นกลุ่มซุนนะฮฺบ้านเราไม่เคยอ้างอิงข้อมูลทางดาราศาสตร์โดยสิ้นเชิง ทั้งยังประณามแนวทางดังกล่าวอย่างรุนแรง แต่ปัจจุบันดาราศาสตร์กลับมามีบทบาทในนามอื่น เช่น ความจริง ธรรมชาติ หรือสัจธรรม และนำมาเป็นบรรทัดฐานที่ต้องใช้ในการตรวจสอบการเห็นเดือน จึงขอเตือนพี่น้องมุสลิมีนและมุสลิมาตที่ยึดมั่นในกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺให้หนักแน่นในแนวทางของอิสลามเกี่ยวกับการดูเดือนและการนับเดือน และจงหลีกห่างจากทุกแนวที่ค้านกับหลักการศาสนา
หวังเพียงว่าท่านจะยืนหยัดท่านจะมั่นคงในอุดมการณ์และการเป็นผู้ศรัทธาที่มั่นคงต่อการออกบวช เข้าบวชถึงแม้ว่า สังคมจะออกกันวันไหน ท่านอย่าได้หวั่นกับสิ่งรอบตัวท่านเลย หากท่านออกตามที่อัลลลอฮว่า รอซูลว่าครับ อยู่ที่ท่านแล้วหละว่า วันนี้ท่านจะออกวันไหน แล้วท่านจะยอมตามใคร
จะตามอัลลอฮหรือจะตามผู้นำดี
ความน่าเชื่อถือของข่าวสารการดูจันทร์เสี้ยว(หิล้าล)จากต่างประเทศ
ความน่าเชื่อถือของข่าวสารที่มาจากต่างประเทศโดยทางอินเตอร์เน็ตก็ดี โทรทัศน์ก็ดี โทรศัพท์ก็ดี หรือสื่ออื่นๆก็ดี ขึ้นอยู่กับ 2 ประเด็นสำคัญ คือ
1) แหล่งข่าวเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่
2) ผู้แจ้งข่าวนั้นให้แก่สังคม น่าเชื่อถือหรือไม่
ส่วนกระบวนการตรวจสอบการเห็นเดือนก็ขึ้นอยู่กับผู้เห็นและองค์กรที่รับรองการเห็นเดือน อันเป็นประเด็นที่จะพูดต่อไป แต่สำหรับการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งข่าวที่เราอ้างอิ งถึงในกิจกรรมอื่นๆ เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับพี่น้องมุสลิมที่ประสบความทุกข์หรือข่าวสงคราม หรืออื่นๆ ก็จำเป็นต้องมีบรรทัดฐานเดียวกันในการรับข่าวจากแหล่งข่าวนั้นโดยไม่เลือกปฏิบัติ เช่น รับข่าวเกี่ยวกับสงครามที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักจากแหล่งข่าวหนึ่ง แต่เมื่อได้รับข้อมูลการเห็นหิล้าลจากแหล่งข่าวเดียวกัน กลับถือว่าเป็นแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ย่อมจะสร้างความสงสัยแก่คนทั่วไปอย่างแน่นอน ทั้งนี้ข่าวที่น่าเชื่อถือนั้นถ้าหากว่าเป็นกระแสมาจากแหล่งข่าวหลายแหล่ง ก็เป็นข้อมูลที่บรรดาอุละมาอฺเรียกว่า มุสตะฟีฎ หรือ มุตะวาติร (หมายถึง เป็นกระแสมากมายจึงไม่มีโอกาสผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน)
ข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ นั้น ถ้าหากเราสามารถตรวจสอบเองได้ก็เป็นการดี แต่การตรวจสอบเองนั้นคงไม่เพิ่มน่าความเชื่อถือนัก ถ้าหากข้อมูลนั้นเป็นข่าวสารที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว และไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงภายหลัง เช่น ข่าวการเห็นหิล้าลเชาวาล(อีดเล็ก)ในปีนี้ (ฮ.ศ.1424 / พ.ศ.2546) ณ ประเทศอิรัก ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้เห็น สถานที่ที่เห็น และองค์กรที่รับรองการเห็นหิล้าลนั้น ประกาศผ่านแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ islammemory (เจ้าของเป็นมุสลิมในประเทศแคนาดา) , islamtoday (เจ้าของเป็นอาลิมท่านหนึ่งที่ซาอุดิอาระเบีย) , islamicnews (เจ้าของเป็นมุสลิมในประเทศอียิปต์), เว็บไซต์และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของอัลญะซีเราะห์ เป็นต้น ในเมื่อมีข้อมูลข่าวสารประกาศทางแหล่งข่าวเช่นนี้แล้ว ถ้าหากมีผู้หนึ่งผู้ใดปฏิเสธข้อมูลดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบไม่ได้ หรือเพื่อนคนหนึ่งที่อิรักแจ้งมาว่าไม่ได้รับทราบข่าวการเห็นเดือน ก็จำเป็นต้องถือว่า แหล่งข่าวที่มีผลงานมากมายในสังคมมุสลิมทั่วโลกเหล่านี้ไม่มีคุณค่าหรือเป็นสาระที่ไม่น่าเชื่อถือโดยสิ้นเชิง
ดังนั้น เราต้องยึดมาตรฐานเดียวกันในการรับข่าวสารจากแหล่งต่างๆ ส่วนการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการเห็นเดือน หากว่าเป็นข้อมูลที่มาจากพี่น้องมุสลิมทั่วโลก หรือจากองค์กรมุสลิมที่ประกาศการเห็นเดือน ไม่ว่าจะมาจากประเทศมุสลิมหรือไม่ก็ตาม เมื่อเป็นข้อมูลที่ได้รับการยื นยันแล้วว่ามาจากผู้ประกาศตนว่าเป็นมุสลิมจริงๆ ก็จำเป็นต้องรับ ดังที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้สอนไว้ว่า
﴿ يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا إِنْ جَاءَكُمْ فَاسِقٌ بِنَبَأٍ فَتَبَيَّنُوْا ﴾ سورة الحجرات ٦
ความว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หากคนชั่วนำข่าวใดๆมาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัด"
ทุกคนสามารถเข้าใจได้ว่า ถ้าหากผู้แจ้งข่าวไม่เป็นคนชั่วก็ไม่จำเป็นต้องสอบสวน ในเมื่อเป็นมุสลิมที่เราไม่ทราบประวัติหรือสภาพอีมานของเขา เราก็สามารถรับข้อมูลจากเขาได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบประวัติหรือพฤติกรรมของเขาอย่างละเอียด เพราะไม่มีใครสามารถกระทำได้ แม้กระทั่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ยังรับข่าวจากชาวชนบท (أَعْرَابِي คืออาหรับเร่ร่อน) ที่ไม่ใช่ชาวเมืองมะดีนะฮฺ ซึ่งท่านนบีรับฟังข้อมูลที่อาหรับคนนั้นได้แจ้งว่าเห็นหิล้าล โดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติของเขาและไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลการเห็นเดือนในเชิงดาราศาสตร์ ว่าเป็นจันทร์คว่ำหรือจันทร์หงาย หรือเห็นในตำแหน่งกี่องศา หรืออื่นๆ อันเป็นภาคปฏิบัติที่จะบ่งบอกถึงความง่ายของหลักการศาสนาในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่คนส่วนมากไม่เข้าใจ เพราะศาสนบัญญัติของอิสลามนั้น มีแนวทางที่ง่ายสำหรับบรรดาผู้ปฏิบัติ สอดคล้องกับคำพูดที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
إِنَّ هَذَا الدِّيْنَ يُسْرٌ وَلَنْ يُشَادَّ الدِّيْنَ أَحَدٌ إِلا غَلَبَهُ
ความว่า "แท้จริงศาสนานั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่มีใครที่จะดื้อดึงกับศาสนา(เคร่งครัดจนเลยเถิด)เว้นแต่ศาสนาต้องชนะเขา" (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)
อนึ่ง พี่น้องบางท่านอาจมีข้อสงสัยในกระบวนการตรวจสอบขององค์กรมุสลิมต่างๆ ซึ่งเป็นประเด็นที่มักจะได้รับความสนใจเมื่อมีความไม่พอใจต่อข่าวสารที่มาจากต่างประเทศ ทั้งๆที่เราไม่เคยคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้กับข้อมูลการดูเดือนภายในประเทศไทยของเรา และสำนักจุฬาราชมนตรีซึ่งมีอำนาจหน้าที่ประกาศเดือนใหม่ ก็ไม่เคยชี้แจงถึงกระบวนการตรวจสอบการเห็นเดือน( หิล้าล) พี่น้องสามารถสอบถามนักดาราศาสตร์ทุกท่านที่เคยมีข้อโต้แย้งกับสำนักจุฬาราชมนตรีในเรื่องการเห็นเดือนได้ แม้ กระทั่งในวันจันทร์ที่ 26 พ.ย. 2546 นี้ ที่สำนักจุฬาราชมนตรีได้ประกาศเห็นเดือนนั้น แต่ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ว่า ใครเห็น? เห็นที่ไหน? เห็นอย่างไร? ซึ่งเป็นข้อสอบสวนที่มักจะถูกอ้างถึงในข่าวการเห็นเดือนจากต่างประเทศ แต่กลับไม่มีใครพูดถึงเมื่อมีการเห็นเดือนภายในประเทศ ซึ่งหากเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือระหว่างองค์กรมุสลิมสูงสุดในประเทศไทยคือสำนักจุฬาราชมนตรี กับองค์กรมุสลิมในประเทศอาหรับหรือมุสลิมอื่นๆ จะปรากฏว่า องค์มุสลิมต่างประเทศมีความน่าเชื่อถือมากกว่าอย่างแน่นอน แต่เหตุใดจึงมีข้อสงสัยต่อความน่าเชื่อถือขององค์กรมุสลิมต่างประเทศเท่านั้น ว่าเขามีกระบวนการตรวจสอบหรือไม่ ? รู้เรื่องดาราศาสตร์หรือไม่ ? เหตุใดเราจึงเข้าใจว่าคนอื่นโง่เขลา เราเท่านั้นที่รู้เรื่องเกี่ยวกับการดูเดือน ?
ในการดูหิล้าลเดือนรอมฎอนปีนี้ (ฮ.ศ.1424/พ.ศ.2546) เมื่อประเทศอียิปต์ได้ประกาศเห็นเดือน ในขณะที่หลายประเทศไม่เห็น เช่น จอร์แดน ปาเลสไตน์ ซูดาน แต่เมื่อมีการเห็นเดือนในประเทศอียิปต์และประกาศเป็นทางการแล้ว ประเทศเหล่านี้จึงประกาศเข้าเดือนรอมฎอนเช่นเดียวกับประเทศอียิปต์ เป็นสิ่งที่น่าประหลาดมากทีเดียวที่จอร์แดน ซูดาน และอียิปต์ ซึ่งเป็นประเทศที่เราส่งลูกหลานของเราไปศึกษาเรื่องศาสนาถึงระดับปริญญาตรีโทหรือเอก โดยผู้รู้ส่วนมากที่มีบทบาทในสังคมมุสลิมไทยปัจจุบันนี้ก็สำเร็จการศึกษาจากประเทศดังกล่าว แต่เมื่อประเทศเหล่านี้ประกาศเห็นเดือนกลับอ้างว่าองค์กรมุสลิมของเขาไม่น่าเชื่อถือหรือไม่มีกระบวนการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ ซึ่งข้ออ้างต่างๆนานาก็มีมากมาย แต่สำหรับผู้มีความบริสุทธิ์ใจต่อปัญหาต่างๆ ย่อมจะมีจุดยืนที่หนักแน่น ไม่เลือกปฏิบัติ และจะไม่ยึดมาตรฐานแบบดับเบิ้ลสแตนดาร์ด
--------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการตรวจสอบข้อมูล
ที่ข้าพเจ้าใช้ในการรับข่าวการเห็นเดือน(หิล้าล)จากต่ างประเทศ
1. ข้าพเจ้าถือว่าข้อมูลเกี่ยวกับเข้าเดือนใหม่จากต่างประเทศที่ได้แจ้งแก่ประชาชนนั้น เป็นข้อมูลข่าวสารโดยทั่วไปที่ประชาชนอาจจะรับทราบได้จากแหล่งข่าวต่างๆ โดยมิได้ละเมิดอำนาจของจุฬาราชมนตรีหรือองค์กรมุสลิมต่างๆ ซึ่งทางกฎหมายได้ระบุอย่างชัดเจนว่าองค์กรดังกล่าวมีอำนาจประกาศการเห็นเดือนภายในประเทศ แต่สำหรับการปฏิบัติศาสนกิจนั้นจะเป็นในรูปแบบใดก็เป็นสิทธิอิสระของแต่ละบุคคล ดังที่ระบุอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญมาตรา 38 คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งมาตราดังกล่าวข้าพเจ้าหยิบยกมา มิใช่อื่นใด เว้นแต่เพื่อตอบโต้ผู้ที่ต้องการอาศัยความขัดแย้งเรื่องนี้ในการหาเสียงทางการเมืองโดยใช้กฎหมายบ้านเมืองข่มขู่พี่น้องมุสลิมมิให้ปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อดังที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้ข้างต้นของเอกสารฉบับนี้ ทั้งๆที่ในหลักการศาสนาไม่มีใครสามารถบังคับให้เราปฏิบัติตามความเชื่อของผู้อื่น เว้นแต่ต้องมีความสมัครใจอย่างเต็มที่
2. ต้องถือว่าการติดตามข่าวดูเดือนจากต่างประเทศขึ้นอยู่กับความสามารถของเรา ถ้าเร าปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถแล้วก็ไม่ถือว่าบกพร่องแต่ประการใดทั้งสิ้น แต่หากมีความสามารถหรือศักยภาพด้านหนึ่งด้านใด แต่เราไม่ใช้หรือไม่ปฏิบัติเท่าที่กระทำได้ ก็ถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่อาจเป็นความผิดที่จะส่งผลกระทบไม่ดีต่อสังคมด้วย
3. ข้อมูลจากต่างประเทศมีทั้งทางโทรทัศน์ภายในประเทศและต่างประเทศผ่านดาวเทียม วิทยุ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ หรืออื่นๆ ซึ่งทุกวิธีดังกล่าว ผู้ที่มีความสามารถใช้ข้อมูลจากทุกแหล่งก็จะใช้อย่างแน่นอน แต่ในทางปฏิบัติอาจเป็นการเปลืองเวลาที่จะใช้ทุกสื่อเพื่อตรวจสอบข้อมูลที่มีการประกาศทั่วโลกจนไม่มีโอกาสสงสัยได้แล้ว เช่นนี้เราจะถือหลักศาสนาโดยเฉพาะหลักวิชาหะดีษ ที่ให้การรับรองต่อข้อมูลข่ าวสารที่มีกระแสเป็นมุสตะฟีฎหรือมุตะวาติร คือกระแสข่าวที่แจ้งมาหลายกระแสโดยไม่มีใครสามารถปฏิเสธหรือตั้งข้อสงสัย แต่ถ้าหากเป็นข้อมูลที่มีกระแสน้อยเราก็จำเป็นต้องตรวจสอบเองหากมีความสามารถ เช่น ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับทราบจากประเทศไนจีเรียว่า มีการเห็นหิล้าลรอมฎอนหรือเชาวาล จึงจำเป็นต้องสอบถามเพื่อนที่อยู่ที่นั่น เพื่อรับรองข่าวสารการเห็นเดือนที่มีองค์กรรับรองการเห็นเดือนนั้น ซึ่งข้าพเจ้าก็เคยแจ้งข่าวสารประเภทนี้ตามกระบวนการตรวจสอบดังกล่าว และปรากฏว่าข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับทราบเป็นความจริงที่ถูกแจ้งทางสื่อต่างๆ ภายหลัง
4. ข้อมูลการเห็นเดือนที่มาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศมุสลิมหรือไม่ก็ตาม จำเป็นต้องมีองค์กรหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่เรารู้จักหรือเป็นที่น่าเชื่อถือรับรองการเห็นเดือนนั้น หากเป็นข่าวที่มีกระแสน้อยและไม่มีการรับรองจากองค์มุสลิมหรือบุคคลที่เรารู้จักดีก็ไม่ควรนำมาเสนอต่อประชาชน
5. การตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการดูเดือนนั้น เรามีหน้าที่ตรวจสอบในกรณีเดียวคือ เมื่อผู้เห็นเดือนมาแจ้งกับตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็ตาม แต่ถ้าหากว่าการเห็นเดือนนั้นเป็นข่าวที่แน่นอนโดยมีองค์กรมุสลิมรับรองแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบการเห็นเดือนอีก แต่ควรจะตรวจสอบข่าวสารให้มีความมั่นใจตามที่ระบุข้างต้น
6. สำหรับข้อมูลจากประเทศที่มีความวุ่นวายทางด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนแก่พี่น้องบางท่าน เราจำเป็นต้องตระหนักว่า มุสลิมนั้นย่อมจะปฏิบัติศาสนกิจอย่างปกติ เพราะเป็นภารกิจที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติอยู่แล้วแม้กระทั่งในสภาวะที่มีสงคราม ดังนั้น ประเด็นที่เราต้องให้ความสำคัญคือ ข้อมูลที่มาจากประเทศนั้นๆ เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือไม่ แต่ถ้าหากเราใช้สถานการณ์ในประเทศนั้นมาเป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ก็ย่อมจะไม่มีข่าวใดๆที่น่าเชื่อถือเลยในโลกใบนี้ เพราะมีหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาภายใน ทำให้มีความวุ่นวาย อาทิเช่น ประเทศปาเลสไตน์ซึ่งอยู่ในสภาวะสงครามมากว่า 40 ปีแล้ว แต่ประชาชนก็ยังคงดำรงการปฏิบั ติศาสนกิจอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในประเทศไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มุสลิมก็คงไม่พลาดในการรักษาหลักการเข้าบวชออกบวชโดยยึดการเห็นเดือนเสี้ยวเป็นบรรทัดฐาน แม้ว่าเห็นภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม
7. ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าไม่เคยใช้ข้อมูลทางดาราศาสตร์ในการตรวจสอบการเห็นเดือนภายใน ประเทศหรือต่างประเทศ อันเป็นจุดยืนที่ข้าพเจ้าได้ชี้แจงไว้แล้วในหลักการศาสนาในการเข้าเดือนใหม่
8. สำหรับการดูเดือนในประเทศไทย ข้าพเจ้าเห็นว่ามีบุคคลและองค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่นี้อยู่แล้ว จึงถือว่าตัวข้าพเจ้าพ้นจากหน้าที่การดูเดือนภายในประเทศ
9. สำหรับการตรวจสอบข้อมูลเห็นเดือนจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้เห็นเดือนหรือวิธีการเห็นเดือนนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรมุสลิมที่รับผิดชอบในการประกาศเห็นเดือน โดยต้องมีการประกาศว่าเห็นหิล้าลตามบรรทัดฐานหลักการที่ระบุข้างต้นในเอกสารฉบับนี้ แต่มิใช่หน้าที่ขององค์กรมุสลิมทุกองค์กรที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลของผู้เห็นเดือนหรือการเห็นเดือนในประเทศหนึ่งประเทศใด ตราบใดที่การเห็นเดือนนั้นมิได้อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรนั้นๆ เพราะหากทุกองค์กรต้องตรวจสอบข้อมูลการเห็นเดือนเอง พี่น้องมุสลิมในบ้านเราก็คงไม่มีโอกาสที่จะถือศีลอดพร้อมเพรียงกันอย่างแน่นอน เพราะต่างคนต่างตรวจสอบดังที่ปรากฏในสังคมของเรา แต่หากเป็นข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบจากองค์กรต่างประเทศก็ถือว่าพอเพียงแล้วตามหลักศาสนา และตามหลักเกณฑ์ในการแจ้งข่าวสารที่มีความน่าเชื่อถือโดยทั่วไป
10. ตามหลักศาสนานั้นทัศนะของบรรดาอุละมาอฺส่วนมากเห็นว่าการเข้าบวชจำเป็นต้องมีพยานเห็นเดือนอย่างน้อย 1 คน โดยยึดการปฏิบัติของท่านนบี เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งข่าวสารที่ข้าพเจ้าเคยแจ้งแก่ประชาชนจะมีผู้เป็นพยานไม่ต่ำกว่า 2 คน จึงถือว่ามีความพอเพียงสำหรับความน่าเชื่อถือ
11. สำหรับมาตรฐานแห่งอดาละฮฺของผู้เห็นเดือน คือจริยธรรมของเขา ก็มีความขัดแย้งระหว่างอุละมาอฺในหลายระดับ แต่พื้นฐานอดาละฮฺ (จริยธรรม)ของผู้เห็นเดือนนั้ นคือ ต้องรู้ดีว่าเป็นมุสลิมอย่างชัดเจน ส่วนข้อมูลที่มากกว่านี้ก็อยู่ในกรอบความรับผิดชอบขององค์กรที่ตรวจสอบการดูเดือน ฉะนั้นจึงไม่สมควรที่จะนำประเด็นนี้มาเป็นข้ออ้างอิงเพื่อปฏิเสธการเห็นเดือนจากต่างประเทศ เพราะหากเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องตรวจสอบอดาละฮฺ(จริยธรรม)ของผู้เห็นเดือนนั้น ก็จำเป็นที่ต้องตรวจสอบทุกกรณีที่มีการดูเดือน ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม
ทั้งนี้ขอยืนยันว่าอดาละฮฺ(จริยธรรม)ที่เป็นคุณลักษณะของผู้เห็นเดือนที่น่าเชื่อถือนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับอดาละฮฺ(จริยธรรม)ของการรายงานหะดีษ ซึ่งมีมาตรฐานที่สูงกว่า เพราะนักรายงานหะดีษ(รุวาตุ้ลหะดีษ)ต้องมีคุณลักษณะด้านจริยธรรมและศีลธรรมอย่างบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สืบทอดศาสนบัญญัติอันสูงส่ง จึงต้องมีประวัติที่ดีงามและเคร่งครัด หาใช่ผู้ดูเดือนต้องเหมือนนักรายงานหะดีษไม่ เพราะการดูเดือนนั้นเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งการดูเดือนต่างๆ แต่ถ้าหากว่าจะยึดมาตรฐานอดาละฮฺของนักรายงานหะดีษให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับผู้เห็นเดือน ก็จะหมายรวมว่าผู้เห็นเดือนต้องเป็นระดับอุละมาอฺเช่นนักรายงานหะดีษเท่านั้น ถ้าหากผู้เห็นเดือนเป็นสามัญชนหรือคนธรรมดาการเห็นเดือนของเขาย่อมเป็นโมฆะ จึงทำให้เรื่องการดูเดือนถูกจำกัดอยู่ในระดับผู้รู้ที่มีอดาละฮฺเหมือนนักรายงานหะดีษ อันเป็นสภาพที่จะทำให้การเข้าเดือนใหม่เป็นเรื่องยากลำบากสำหรับประชาชนทั่วไป และเราทราบกันดีว่าการติดตามจันทร์เสี้ยวเดือนใหม่นั้นเป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺ หมายถึงเป็นหน้าที่โดยภาพรวม ทุกคนในสังคมที่มีความสามารถจึงต้องมีความสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ในด้านนี้
สุดท้ายนี้ ขอให้พี่น้องนำข้อมูลที่อ่านในเอกสารฉบับนี้และเข้าใจหลักการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยคำนึงถึงหะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า "แท้จริงศาสนานี้เป็นเรื่องง่าย" ดังนั้นใครที่จะอุตริสิ่งที่ทำให้ศาสนาเป็นเรื่องยาก หรือจะนำเสนอข้อมูลที่ทำให้หลักการศาสนาได้ปฏิบัติอย่างลำบากนั้น ก็คงมีความผิดอย่างมหันต์ในการที่จะให้ประชาชนหันห่างหรื อหลีกหนีจากหลักการศาสนากันเที่ยงธรรม และจะทำให้ศาสนานั้นเป็นสิ่งประหลาดที่ไม่ได้รับความนิยม อันเป็นผลร้ายต่อหลักการศาสนาอันบริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งส่วนตัวหรือความรู้สึกส่วนตัว ดังนั้น ขอให้หลักการศาสนาอยู่ในแนวหน้า และขอให้เราเป็นผู้น้อมตามหลักการศาสนา
จากหนังสือ "หลักการศาสนาในการเข้าเดือนใหม่(จันทรคติ)"
เขียนโดย เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
14 เชาวาล 1424 (7 ธันวาคม 2546)
นี่หรือ!
หน้าที่ของจุฬาราชมนตรีสำหรับมุสลิมในประเทศไทยครับ
ประกาศแค่เรื่องนี้เองใช่ไหม
แล้วเรื่องอื่นๆหละ เคยมีไหม....
ความน่าเชื่อถือมันอยู่ตรงไหน....
วันนี้แล้วนะที่เค้าดูเดือนกัน 30 สิงหาคม 51
http://www.moradokislam.org/ หรือ http://www.islaminthailand.net/
วัสสลาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
pitsuwan มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 06/10/2007 ตอบ: 4 ที่อยู่: กลุ่มโรงเรียนประทีปศาสน์ ปอเนาะบ้านตาล อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
|
ตอบ: Sun Aug 31, 2008 11:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้อมูลการคำนวณทางดาราศาสตร์อิสลาม (Falakiah) ของสถาบันฟาลากียะห์อิสมาอีลียะห์ ปอเนาะบ้านตาล โรงเรียนประทีปศาสน์นครศรีธรรมราช
ข้อมูลจันทร์ดับ
วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2551 เวลา 02.59 น.
ณ ท้องฟ้าปอเนาะบ้านตาล โรงเรียนประทีปศาสน์ นครศรีธรรมราช (8.43150,99.877460) พบว่า
วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2551 ดวงอาทิตย์ตกดินเวลา 18.29 น. ณ ตำแหน่ง 278.62 องศา
ดวงจันทร์ตกดินเวลา 18.49 น. หลังดวงอาทิตย์ตกดิน 20 นาที ณ ตำแหน่ง 272.82 องศา
อายุของดวงจันทร์ ณ เวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน (18.29 น.) 15 ชั่วโมง 30 นาที ขนาดของดวงจันทร์ 0.5501% ของจันทร์เต็มดวง
ตำแหน่งดวงจันทร์ ณ เวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน (18.29 น.) อยู่ที่ 272.12.57 องศา มุมสูง 04.52.18 องศา
ตามหลักดาราศาสตร์สากล โอกาสในการเห็นดวงจันทร์แรกของเดือนด้วยตาเปล่า คือ เมื่อ ดวงจันทร์อายุ 16 ชั่วโมงขึ้นไป
อนึ่ง สถาบันฟาลากียะห์อิสมาอีลียะห์ ปอเนาะบ้านตาล กำหนดให้การเริ่มต้นการถือศีลอด หรือการกำหนดวันสำคัญอื่นๆ ทางศาสนาให้เป็นไปตามประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี
ด้วยสลามและดุอาห์
ผศ.วุฒิศักดิ์ อับดุล อัล-มูญีบ อัล-เราะห์มาน พิศสุวรรณ
เลขานุการสถาบันฟาลากียะห์อิสมาอีลียะห์ ปอะเนาะบ้านตาล โรงเรียนประทีปศาสน์
นครศรีธรรมราช _________________ ผศ.วุฒิศักดิ์ อับดุลมูญีบ พิศสุวรรณ
กลุ่มโรงเรียนประทีปศาสน์ ปอเนาะบ้านตาล
อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mahdisaudi มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004 ตอบ: 381
|
ตอบ: Sun Sep 07, 2008 7:36 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ของง่ายๆทำให้เป็นเรื่องยาก ใครอยู่ท้องถิ่นไหนก็ตามการปรากฎของจันทร์เสี้ยวในท้องถื่นนั้น
หากอาจารย์ริฏอเห็นเดือนเสี้ยวในอรับก็ควรไปเริ่มเข้าออกในประเทศอรับนั้นๆ
เราอยู่เมืองไทยก็ควรใช้การเห็นหรือไม่เห็นในท้องถิ่นไทย
การขึ้นตกของดวงอาทิตย์ดวงจันทร์นั้นของไทยและสาอุดีแตกต่างกันประมาณ๔ ชม.
พื้นที่ซึ่งห่างไกลกันหลายพัน กม. ทำให้เวลาขึ้นตกต่างกันจนเห็นได้ชัดเจน
การอุตริไปตามเดือนเสี้ยวของสาอุดีในขณะตัวบุคคลนั้นอยูในเมืองไทยจึงไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง
อย่างสมัยท่านศาสดาฯและบรรดาศอหาบะฮฺ ยุค ๑๔๐๐ ปีก่อนใช้งิธีการง่ายๆ ศอหาบะฮฺอยู่เมือง
ท้องถิ่นไหนก็ตามเมืองหรือท้องถิ่นนั้น
ชาวอรับบ้านนอกหรือกองคาราวาน ที่มารายงานการเห็นก็ไม่ได้ห่างเป็นพัน กม.
ศาสนาเรื่องการดูจันทรืเสี้ยวก็ไม่จำเป็นต้องอาศัย คอมพิวเตอร์ไม่ต้องใช้เครื่องมือ
โปรแกรมคำนวนใดๆ ไม่ต้องใช้ กล้องโทรทัศน์ เป็นเรื่องที่ คนจบ ประถม หรือมหาวิทยาลัยก็ใช้
วิธีการดูด้วยตาอย่างเดียวกัน ก่อนหน้านี้สัก 100 ปี คงไม่มีปัญหา
ปัจจุบันเราละเลยที่จะตามสุนนะฮฺแบบง่าย ไปหาวิธีแบบอย่างวิทยาศาสตร์เทคโนการสื่อสาร วิทยุ
โทรทัศน์ หรือโทรศัพท์ ข้ามโลก ตระเวณหาว่าที่ใดบ้างเห็นเดือนเสี้ยว
ไม่ใช่ว่าผมจะไม่สนใจวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ผมก็เป็นผู้ที่ใช้เครื่องมิอเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน
ทั้งการเดินทาง การฟังข่าว การทำงานในออฟฟิซ ฯลฯ
แต่สำหรับเรื่องการนับวันทางอิสลามเท่านั้นที่เราจะต้องใช้การสังเกตดูจันทร์จากท้องถิ่นของเรา
เองเป็นหลัก
อย่าลืมว่าการเริ่มถือศีลอดของเราจะเข้าเมื่อปลายชะอฺบาน และออกอีดเมื่อท้ายเราะมะฏอน
จะเป็นอยู่กับท่านตลอดชีวิต เมื่อท่านไปดูหรือตามการเห็นของอรับ มาเป็นวันเริ่มต้นของเราใน
ประเทศไทย.
ควรอย่างยิ่งที่มุสลิมไทยต้องรนณรงค์การใช้วิธีดูจันทร์เสี้ยวในไทยและเริ่มนับวันปฎิทินอิสลาม
โดยไม่ต้องการอาศัยการคำนวน หากจะใช้การคำนวนก็เพียงแต่ช่วยให้เราสดวกว่ามี
จันทร์ดับนิวมูนวันไหน เวลาใด หรือองศาที่ดวงจันทร์ขึ้นตกเท่านั้นมาช่วยบ้าง
การเลียนแบบอย่างของบรรดาศอหาบะฮฺชาวสวรรค์ ที่ใช้แบบอย่างง่ายๆ
โดยเราจะไม่มีผิดพลาดเลย เราไม่ภาคภูมิใจหรือที่เราได้ปฎิบัตืตามคำสั้งของ
ท่าน นบีฯศ้อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วัลสัลลัม
และบรรดาอัศหาบบรรดาสหายรอฎิญัลลอฮุอันฮุมผู้ทรงธรรม. _________________ อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
dabdulla มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005 ตอบ: 437
|
ตอบ: Mon Sep 08, 2008 4:14 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ทำไมเดือนกาเฟร ถึงพร้อมใจกันเข้าได้
วันที่ 1 มกราคม คือวันที่ 1 มกราคม ของทั่วโลก เขานับเอาทิศตะวันออก เป็นที่เริ่มแรก ชาวโลกไม่ต้องดูดวงอาทิตย์ เพราะมันไม่เคยหาย เสร็จแล้วก็ไล่กันไป จนเข้าสู่วันที่สอง
แต่วันที่ 1 รอมฏอนเนี่ยะ มันไม่เคยสามัคคีเลย อีกพวกดูประเทศตัวเอง อีกพวกคำนวณ อีกพวกดูทั่วโลก
การดูเดือนแบบทั่วโลก แสดงถึงความเป็นเอกภาพมากที่สุดในการที่มุสลิม จะเข้าเดือน ออกเดือน โดยพร้อมเพรียงกัน และที่สำคัญต้องดูเดือน เพราะบางครั้งก็มีเดือน บางครั้งก็ไม่มีเดือน จะคำนวณไม่ได้ เพราะการคำนวณ แต่ละสำนักก็มีไม่เหมือนกัน เช่น ลาวเห็น ไทยไม่เห็น เขมรเห็น พม่าเห็นเป็นต้น สรุปคือมั่ว ไม่มีเอกภาพนั่นเอง
เรื่องแค่นี้ ไม่น่าจะสามัคคีกันเลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mahdisaudi มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004 ตอบ: 381
|
ตอบ: Mon Sep 08, 2008 6:46 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1. ท่านdabdulla คงไม่ทราบเส้นเขตวันที่กาฟิรลากเส้นเขตที่180 องศา ที่นั่นเห็นดวงอาทิตยฺ
ขึ้นและตก ไล่เลี่ยกัน แต่เขากลับนับวันที่ 1 มกรา และสอง 2 มกรา เช่นตองก้า
กับซามัวให้คุณไปดูแผนที่โลกเสียใหม่
2. เอกภาพของการเข้าออกเราะมะฎอนหรือเดือนต่างๆ จะมีทั่วโลกตรงกันไม่ได้ทุกเดือนทุกปี
เพราะท่าน นบีมุหัมมัด บอกเราว่า ท้ายเดือน จะมี 29 วันบ้าง และ 30 วันบ้าง
หากนับ 30 วันดวงจันทร์ข้ามไปเพียง 3 เดือนคุณจะเห็น วันที่ 1 ของไทยกับอรับ
ลักษณะของดวงจันทร์ หนาบางไม่เท่ากัน
และวันอีดจะพร้อมกันไม่ได้เพราะวันที่ของดวงจันทร์จะเร็วขึ้น ประมาณ 10-11 วันทุกๆปี
เอกภาพเราจะมีได้ในเรื่องอะกีดะฮที่เศาะหี้ย์ ไม่ใช่เรื่องเห็นฮิลาลพร้อมกัน
ทั้งโลกและแม้แต่โลกแบนคุณก็จะเห็นเดือนเสี้ยวไม่เท่ากัน
เอกภาพจะมีไม่ได้เมื่อเราทำตามสุนนะฮฺ แต่บางกลุ่มทำชิริก
ตั้งภาคี ทำบิดอะฮฺอุตริ สารพัด _________________ อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|