ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
mahdisaudi มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004 ตอบ: 381
|
ตอบ: Wed Dec 26, 2007 2:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อีดิ้ลฟิตรฺ ฮ.ศ. 1420
ในกรณีของวันอีดิ้ลฟิตรฺปี ฮ.ศ.1420 ผมเองได้เดินทางไปกับคณะกรรมการนครมักกะฮฺ มาถึงจุดเฝ้ามองบนยอดเขาชามซี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณนอกเมืองมักกะฮฺ มุกัรฺรอมะฮฺ ตอนเย็นวันพฤหัส ไม่ว่าจะเป็นผม หรือจะเป็นสมาชิกของคณะกรรมการอื่นๆ อีก 5 ท่าน ล้วนไม่มีใครมองเห็นเดือน ครั้นเมื่อเรากลับมายังหะรอมชารีฟ เราต้องสะดุ้งเฮือกที่ได้ยินคำประกาศว่า วันอีดิ้ลฟิตรฺคือวันต่อมา(วันศุกร์) ตามความจริงในตอนเย็นวันพฤหัส ที่นครมักกะฮฺมีดวงจันทร์ตกก่อนดวงอาทิตย์ ในกรณีนี้ ความผิดพลาดเป็นเรื่องไร้ยางอายโดยแท้จริง ในเวลาต่อมา ผมได้ยินมาว่าท่านเชคยูซุฟ อัล-กอรฺฎอวีย์ได้ออกฟัตวาชี้แนะว่า พี่น้องมุสลิมที่เฉลิมฉลองวันอีด ฮ.ศ.1420 ในวันศุกร์ตามประกาศของทางการสอูดีย์จะต้องถือศีลอดชดใช้วันในเดือนรอมฎอนที่ขาดไป 1 วัน
นอกจากนี้ สุริยคราสของวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2000 ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความผิดพลาดในวันอีด ตามฟัตวาของท่านเชค อัล-อุษัยมีน ที่ระบุว่าถ้าหลังดวงอาทิตย์ตกในเมืองของท่าน แล้วมีสุริยคราสเกิดขึ้น ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งในโลก เช่นนั้นวันรุ่งขึ้นไม่นับว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนจันทรคติสำหรับเมืองของท่าน
นอกจากนี้ ผมยังได้เรียนรู้ว่าบุคคลที่ปรากฏตัวตามท้องที่ต่างๆ นั้น มีเพียงสองสามคนและยังเป็นคนหน้าเดิมๆ อย่างเห็นได้ชัด พวกเขารายงานว่าเห็นเดือนในโอกาสต่างๆ จนข้ออ้างเรื่องมีผู้เห็นเดือนในสอูดีย์อารเบียก่อนใครเขาหมดกลายเป็นเรื่องผิดธรรมดาที่เกิดขึ้นปีแล้วปีเล่า วัลลอฮุ อะอฺลัม!
ขณะที่นักดาราศาสตร์สอูดีย์ไม่ได้ล่วงรู้เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ดูเหมือนในประชาคมที่เป็นวงใหญ่ออกไป ผู้คนแทบจะไม่ทราบอะไรเลย แต่นั่นก็กำลังเปลี่ยนไป ผมได้เห็นบทความยอดเยี่ยมปรากฏอยู่ใน นสพ. อาหรับนิวส์ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธุ์ 2000 เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของวันอีดิ้ลฟิตรฺปี ฮ.ศ.1420 ต่อมาผมยังได้เห็นบทความดีๆในภาษาอาหรับตีพิมพ์ในวรสารอัด-ดะอฺวะฮฺ ฉบับวันที่ 6 เดือนเชาวาลปี ฮ.ศ.1420 และอื่นๆ ตลอดจนบทความของเชค อัล-มะเนี๊ยอฺ(แห่งมักกะฮฺ อัล-มุกัรฺรอมะฮฺ)ในอัล-ญะซีเราะฮฺ วันที่ 12 ธันวาคม 1999 ดังนั้น ขณะที่ขอบเขตของรายงานข่าวจะยังคงจำกัดอยู่ก็ตาม อย่างน้อยที่สุดก็ได้มีการยอมรับว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจริงบ้างแล้ว แม้ว่าจะไม่ใช่ของทางการก็ตาม
ทัศนะของอุละมาอฺอิสลามในสอูดีย์อารเบีย
ผมได้ตั้งต้นเขียนจดหมายถึงอุละมาอฺของสอูดีย์อารเบียหลายท่านที่มีผู้คนเคารพนับถือ ผมกล่าวถึงความผิดพลาดในการกำหนดวันอีดิ้ลฟิตรฺปี ฮ.ศ.1420 ว่าได้รับการพิสูจน์ด้วยการเกิดสุริยคราส นอกจากนี้ผมยังได้แนบฟัตวาของเชค อัล-อุษัยมีนเกี่ยวกับสุริยคราสและวันฮิจญ์ริไปกับจดหมายดังกล่าวด้วย ดูเหมือนอุละมาอฺส่วนใหญ่จะไม่ล่วงรู้ถึงปัญหาเลยสักนิด อย่างไรก็ตาม อุละมาอฺบางท่าน เช่น เชค อัล-อุษัยมีนและเชค อัล-มะเนี๊ยอฺ(แห่งมักกะฮฺ อัล-มุกัรฺรอมะฮฺ) เราพบว่าพวกท่านมีความรู้กว้างขวางในด้านนี้ เราไม่ได้รับการสนองตอบจากยอดจดหมายที่เราส่งออกไปมากเท่าใดนัก แต่อัล-ฮัมดุลิลลาฮฺ เราได้จัดการให้มีการพบกับเชค อัล-อุษัยมีนในที่สุด!
พบปะกับเชค อัล-อุษัยมีนที่อุนัยซะฮฺ
เชค อัล-อุษัยมีนต้อนรับคณะของเราที่มัสยิดใหญ่ของท่านที่อุนัยซะฮฺหลังละหมาดวันศุกร์ และให้เราได้เข้าพบเป็นการส่วนตัวเป็นกรณีพิเศษหลังละหมาดอัสริ เราพบว่าอัล-ฮัมดุลิลลาฮฺ เชค อัล-อุษัยมีนเองก็ทราบถึงความผิดพลาดบางประการจากคำร้องทุกข์ของบุคคลอื่นๆ มาก่อนแล้ว แต่ท่านชี้แนะว่า กว่าอุละมาอฺส่วนใหญ่จะเข้าใจและแก้ไขปัญหาคงต้องใช้เวลาสักนิด ท่านขอให้เราเขียนจดหมายถึงมัจญ์ลิส อัล-กะบีรฺ อัล-อุละมาอฺ (สภาอุละมาอฺอาวุโส) ซึ่งผมเชื่อว่าประชุมกันที่เมืองตออีฟปีละสองครั้ง โดยส่วนตัวผมเองได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งไปให้สภาแห่งนี้ แต่เพราะอะไรก็ไม่ทราบ ไม่ได้รับจดหมายตอบกลับมา นอกจากนี้ ผมได้ทราบมาว่าอุละมาอฺอย่างเชคอับดุลลอฮฺ บิน สุลัยมาน อัล-มะเนี๊ยอฺ(แห่งมักกะฮฺ อัล-มุกัรฺรอมะฮฺ) สนับสนุนให้มีการใช้การคำนวณเพื่อลดความผิดพลาดให้น้อยลง
เชค อัล-อุษัยมีนสนับสนุนให้ท้องถิ่นดูเดือน
ผมกล่าวกับเชค อัล-อุษัยมีนว่าสำหรับพี่น้องมุสลิมในอเมริกา ความผิดพลาดในการประกาศวันของทางการสอูดีย์ได้ทำให้เกิดปัญหาใหญ่หลวง เพราะมีพี่น้องมุสลิมบางส่วนปฏิบัติตามคำประกาศนั้น ขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งปฏิบัติตามผลการดูเดือนในท้องถิ่น เป็นผลให้ในเมืองเดียวกัน ถ้าต่างมัสยิดกันแล้ว มีการเฉลิมฉลองวันอีดหลากหลาย ผมได้เรียนรู้มาว่าเชค อัล-อุษัยมีนสนับสนุนการดูเดือนในระดับท้องถิ่น พี่น้องมุสลิมที่อาศัยอยู่นอกแผ่นดินสอูดีย์อารเบียควรจะให้ท้องถิ่นได้ดูเดือนด้วยตนเอง (แทนที่จะโทรศัพท์มายังสอูดีย์อารเบีย) เรื่องนี้มีตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ ฟัตวา อิสลามียะฮฺ ของเชคบิน บาซ, เชค อัล-อุษัยมีน และเชค อัล-ญิบรีน จัดพิมพ์โดยดารุล-วะฏอน ลิล-นัชรฺ
เชค อัล-อุษัยมีนยังเขียนเอาไว้ด้วยว่า เชค อิบนฺ ตัยมียะฮฺสนับสนุนการดูเดือนในระดับท้องถิ่น แท้จริงสอูดีย์อารเบียเองก็ปฏิบัติตามการดูเดือนในระดับท้องถิ่นด้วยเช่นกัน (ตัวอย่างเช่น สอูดีย์อารเบียไม่ได้ถือตามผลการดูเดือนของเยเมนในปี ฮ.ศ.1420 ที่ทางเยเมนเห็นเดือนก่อน) ผมกล่าวกับเชค อัล-อุษัยมีนว่า ขณะที่ชาวมุสลิมในอเมริกาส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้ท้องถิ่นดูเดือนเป็นเวลา 11 เดือน บางคนต้องการที่จะปฏิบัติตามการประกาศวันอีดิ้ลอัฎฮาของทางการสอูดีย์ เชค อัล-อุษัยมีนชี้แนะว่า ท่านสนับสนุนการดูเดือนในระดับท้องถิ่นสำหรับวันอีดิ้ลอัฎฮาด้วยเช่นกัน (พี่น้องมุสลิมที่อาศัยอยู่นอกแผ่นดินสอูดีย์อารเบียควรจะให้ท้องถิ่นได้ดูเดือนด้วยตนเองสำหรับวันอีดิ้ลอัฎฮาด้วยเช่นกัน แทนที่จะโทรศัพท์มายังสอูดีย์อารเบีย) ท่านยังได้เขียนฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้มอบเอกสารต้นฉบับให้กับผมด้วย ส่วนท่านเองได้ถ่ายสำเนาเก็บเป็นบันทึกเอาไว้ชุดหนึ่ง ในทัศนะของท่าน พี่น้องมุสลิมในอเมริกาไม่ควรจะมีวันอีดหลากหลาย และควรจะถือตามการดูเดือนของท้องถิ่น ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดตามประกาศของทางการสอูดีย์ ซึ่งรวมทั้งอีดิ้ลอัฎฮาด้วย
เกี่ยวกับความเห็นสนับสนุนให้ท้องถิ่นดูเดือนเพื่อกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาของเชค อัล-อุษัยมีนนั้น มีเอกสารอ้างอิงทางอินเทอร์เน็ตให้ผู้อ่านคลิกดูได้ (กรุณาดู http://www.ummah.net/moonsighting/fatawah/saudalim.htm) นอกจากนี้ กรุณาดู http://www.ummah.net/moonsighting/fatawah/isnaqa.htm กล่าวถึงสมัยประชุมประจำปีของสภาฟิกฮฺซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศจอร์แดนในระหว่างวันที่ 11-16 ตุลาคม 1986 มีอุละมาอฺผู้มีชื่อเสียงทางด้านชะรีอะฮฺมากกว่า 100 ท่านเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้มีมติชี้แนะว่า ประเทศมุสลิมทั้งหมดควรกำหนดเดือนทางจันทรคติ รวมทั้งซุลฮิจยะฮฺบนพื้นฐานเดียวกัน ในเว็บไซต์เดียวกัน ยังมีฟัตวาของมุฟตี ตะกี อุสมานี แห่งปากีสถาน สนับสนุนการดูเดือนในระดับท้องถิ่นสำหรับกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาด้วยเช่นกัน
ยิ่งกว่านั้น อุละมาอฺที่สนับสนุนการดูเดือนในระดับท้องถิ่นยังกล่าวอย่างเด็ดเดี่ยวว่า เราจะถือเอาจุดใดจุดหนึ่งบนโลก (เช่น สอูดีย์อารเบีย)มากำหนดวันให้กับดินแดนอื่นๆ ทั่วโลกไม่ได้ ดังนั้น การดูเดือนในสหรัฐ/อินเดีย/ไนจีเรีย/ฟิจิ ฯลฯ ถือว่าชอบแล้วที่จะนำมากำหนดวันทั่วโลก เหมือนกับการดูเดือนในสอูดีย์อารเบียก็ชอบที่จะนำมากำหนดวันของสอูดีย์อารเบีย สมมุติว่าถ้าเรายึดเอาการดูเดือนในสอูดีย์อารเบียไปกำหนดวันอีดในอเมริกา และถ้าทางอเมริกาเห็นเดือนก่อนสอูดีย์อารเบีย(เพราะโลกกลม เรื่องนี้จะเป็นความจริงขึ้นได้ในบางปี) เช่นนี้จะให้เราละเลยการเห็นเดือนก่อนในอเมริกาหรือไม่? นี่จะเป็นการฝ่าฝืนหะดีษที่สั่งให้ถือศีลอดเมื่อเห็นเดือน และเลิกถือศีลอดเมื่อเห็นเดือนอย่างโจ่งแจ้งหรือไม่? (หะดีษดังกล่าวรวบรวมโดยท่านบุคอรี 3-124 ระบุว่า ท่านอบูหุรอยเราะฮฺรายงานว่า ท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า จงเริ่มต้นถือศีลอดเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว(ของเดือนรอมฎอน) และเลิกถือศีลอดเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว(ของเดือนเชาวาล) และถ้าท้องฟ้ามืดครึ้ม(และท่านมองไม่เห็นจันทร์เสี้ยว) จงนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน)
ใช้ดาราศาสตร์เพื่อลบล้างความผิดพลาดในการดูเดือน มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน
http://www.hilalthailand.com/oursky/modules/news/article.php?storyid=30 _________________ อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mahdisaudi มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004 ตอบ: 381
|
ตอบ: Thu Dec 27, 2007 2:03 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ตามสาอุดีก็คือการแย้งกับหลักวิชาการ
หัวข้อข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของถ้อยแถลงจากองค์การมูฮัมมาดียะห์ อินโดนีเซีย ที่เกี่ยวกับวันอีดิลอัฎฮาของปีนี้
ดร.ยูนาฮัร อิลยิส หัวหน้าคณะผู้บริหารองค์การมูฮัมมาดียะห์ บอกว่า ถ้าคนในอินโดนีเซีย กำหนดวันที่ 1 วันที่ 9 และวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮ์ ตรงกับที่รัฐบาลสาอุดีอารเบีย ได้กำหนดไว้ ก็เท่ากับการตามในสิ่งที่ไม่ถูกยอมรับในหลักวิชาการ
เขาได้กล่าวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน (Press Conference) ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การมูฮัมมาดียะฮ์ เมืองยอร์คยาการ์ตา ถึงความต่างกัน ในการกำหนดเดือนซุลฮิจญะฮ์ระหว่างมูฮัมมาดียะห์ กับรัฐบาลสาอุดี ฯ เขาบอกอีกว่า ตามหลักฟิกฮฺแล้ว การศียาม (ถือศีลอด) อารอฟะฮ์ จะต้องตรงกับวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮ์ แต่การกำหนดวันที่เกิดความแตกต่างกัน ซึ่งก็เหมือนกับช่วงอีดิลฟิฎรี แต่ความเข้าใจของเรา การถือซียามอารอฟะฮ์ ถ้าไม่ตรงกับวันวูกุฟที่อารอฟะฮ์สำหรับผู้ไปทำฮัจญ์ ก็ไม่ไช่ปัญหา เพราะเป็นความต่างกันในการกำหนดวัน
ดร.ยูนาฮัร ได้กล่าวอีกว่า มูฮัมมาดียะฮ์ กำหนดการถือศียาม ในวันพุธที่ 19 ธันวาคม 2007 และกำหนดอีดิลอัฎฮา ในวันพฤหัสฯ ที่ 20 ธันวาคม 2007 ซึ่งต่างกับที่รัฐบาลสาอุดี ฯ ได้กำหนดไว้ โดยอาศัยหลักการ ที่สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.muhammadiyah.or.id/index.php?option=com_remository&Itemid=154&func=select&id=6&lang=id
เขาบอกอีกว่า ในการกำหนดวันวูกุฟที่อารอฟะ ฮ์สำหรับผู้ที่ไปทำฮัจญ์ ในทางการเมืองก็ถือเป็นอำนาจของรัฐบาลสาอุดี ฯ ด้วยเหตุนี้มูฮัมมาดียะฮ์ จะไม่ใช้การเมืองเพื่อการศาสนา หากแต่เราจะใช้หลักวิชาการที่เรา ยะกีน (มั่นใจ)
ในการแถลงข่าวนี้ มีนายโอมาน ฟาตุรเราะห์มาน จากสภาตัรญิฮ และตัจดีด ได้กล่าวเสริมว่า การกำหนดวันที่ 1 ซุลฮิจญะฮ์ ของรัฐบาลสาอุดี ฯ ก็มาจากการอาศัยหลักการรุอฺยะห์ (การเห็นด้วยตา) แต่กับสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้น ไม่อาจจะรับได้ในทางวิชาการ เพราะรายงานการเห็นฮิลาล (จันทร์เสี้ยว) ได้เกิดขึ้นในเวลาไม่น่าจะเกิดขึ้นมาได้
นายโอมาน ได้กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการด้านดาราศาสตร์จากตะวันออกกลางเองอีก 22 คน ได้ออกมายืนยันว่า การเห็นฮิลาลในนครมักกะฮ์ในวันที่อาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2007 นั้น เป็นเรื่องมุตาฮิล (เป็นไปไม่ได้)
รายละเอียดที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์และจันทร์เสี้ยวสามารถดูได้ที่ www.ilmufalak.org
Source : http://www.muhammadiyah.or.id/index.php?option=com_content&task=view&id=766&Itemid=2&lang=en
(ขอขอบคุณ คุณดาวูดที่แปลและให้ข้อมูลนี้มา) _________________ อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mahdisaudi มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004 ตอบ: 381
|
ตอบ: Fri Dec 28, 2007 3:40 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อีดิลอัฎฮาของอิสน่าตามความเห็นของอุละมาอฺ
อีดิ้ลอัฎฮาของอิสน่าตามความเห็นของอุละมาอฺเรืองนาม
เมาลานา มุฟตี เอ็ม. ตะกี อุสมานี
แปลโดย ศิระ นวนมี
จากการที่สภาฟิกฮฺของอิสน่า(สมาคมอิสลามอเมริกาเหนือ หรือ Islamic Society of North America - ISNA)อ้างว่า ปัจจัยเรื่องสถานที่เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญสำหรับอีดิ้ลอัฎฮา เมาลานา มุฟตี เอ็ม. ตะกี อุสมานี อุละมาอฺผู้เรืองนามแห่งดารุลอุลูมในนครการาจีได้เขียนตอบดังข้อความต่อไปนี้:
ความเห็นของเมาลานา
ผมได้พิจารณาบทความของอิสน่าแล้ว และด้วยความเคารพอย่างสูงที่มีต่อความรู้สึกนึกคิดของพวกเขาที่มีให้กับเอกภาพของพี่น้องมุสลิม แต่ผมก็ยังรู้สึกฝืนใจที่จะต้องกล่าวว่า ทัศนะที่แสดงออกในบทความ อีดิ้ลอัฎฮาเป็นวันถัดจากวันอะเราะฟะฮฺ นั้นขัดแย้งกับคำสอนของอัล-กุรฺอานและสุนนะฮฺโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังขัดแย้งกับท่าทีของชะรีอะฮฺอันเป็นที่ยอมรับมาโดยตลอดหลายศตวรรษ นี่คือทัศนะที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งไม่มีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมุสลิมคนใดยึดถือทัศนะดังกล่าวในระหว่าง 1400 ปีที่ผ่านมา และทัศนะดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องและความวิปริตแฝงอยู่มากมาย ข้อบกพร่องและความวิปริตบางประการปรากฏเป็นใจความสรุปไว้ ณ ที่นี้ด้วยเช่นกัน
บทความของอิสน่ายอมรับว่าการเฉลิมฉลองอีดิ้ลฟิตรฺควรจะผูกอยู่กับการดูเดือนในแต่ละประเทศ และไม่ควรจะยึดโยงอยู่กับการเฉลิมฉลองอีดิ้ลฟิตรฺในประเทศสอูดีย์อารเบีย อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกันบทความยังเรียกร้องให้มีการเฉลิมฉลองอีดิ้ลอัฎฮาตามปฏิทินของสอูดีย์อารเบียโดยไม่ต้องคำนึงถึงวันของท้องถิ่น ซึ่งหมายความว่าอีดิ้ลอัฎฮาจะเฉลิมฉลองในอเมริกาเหนือในวันที่ 8 หรือ 9 ซุลฮิจยะฮฺ(ตามการกำหนดเดือนในท้องถิ่น - ผู้แปล) ดังนั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทฤษฎีที่บทความของอิสน่านำเสนอเป็นสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้
บทความให้ความสำคัญกับแนวความคิดเกี่ยวกับเอกภาพของอุมมะฮฺมุสลิม ซึ่งไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกัน เราต้องตระหนักด้วยว่าเอกภาพนั้นมิได้หมายถึงการที่อุมมะฮฺทั้งหมดที่อยู่ทั่วโลกควรจะทำอิบาดะฮฺในเวลาหนึ่งและเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เพราะในทางกายภาพแล้วมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เห็นได้อย่างชัดเจนว่าในยามที่ประชาชนในสอูดีย์อารเบียทำละหมาดเวลาศุบฮิ มุสลิมที่อยู่ในอเมริกาเหนืออาจจะยังทำละหมาดเวลาอิชาอฺของวันก่อนไม่เสร็จเลย ในทำนองเดียวกัน เมื่อมุสลิมในลอส แองเจลลิสทำละหมาดศุบฮิ มุสลิมในอินเดียและปากีสถานก็กำลังทำละหมาดมักริบและอิชาอฺของวันเดียวกัน
ถ้ามีการกำหนดเป็นข้อบังคับให้มุสลิมทุกคนในโลกทำอิบาดะฮฺในเวลาหนึ่งและเวลาเดียวกันเพื่อเห็นแก่ความเป็นเอกภาพแล้ว เอกภาพดังกล่าวจะไม่มีวันปรากฏเป็นจริงได้เลย(เพราะความแตกต่างทางด้านเวลา) เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การทำอิบาดะฮฺในเวลาที่แตกต่างกันมิได้มีผลกระทบต่อแนวความคิดเรื่องเอกภาพของมุสลิมแต่อย่างใด
เอกภาพของมุสลิมมีความหมายว่าอย่างไร?
---------------------------------------------
อ้างอิงจาก
http://www.hilalthailand.com/oursky/modules/newbb/viewtopic.php?topic_id=19&post_id=71&order=0&viewmode=flat&pid=0&forum=3#forumpost71 _________________ อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Mhd_Yaseen มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 21/01/2004 ตอบ: 27 ที่อยู่: ทุ่งครุ กทม.
|
ตอบ: Fri Dec 28, 2007 5:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอขอบคุณอีกครั้ง อ.mahdisaudi หรือคุณครูผู้ให้ความรู้
"ขอพี่น้องที่รักที่ห่วงใยของผมทุกท่าน ช่วยเปิดใจให้เป็นกลางมาช่วยสละเวลาเพิ่มอีกนิด มาศึกษาดาราศาสตร์อิสลาม ช่วยพิจารณาข้อเขียนของผม โดยที่ทาง เว็บไซท์นี้ไม่ได้ตัดหรือลบกระทู้หรือข้อเขียนของผมออกไป และขอขอบคุณทางทีมงานที่อดทนอ่านกระทู้นี้ สักวันหวังว่าท่าน อ.ฟาริดคงเข้าใจเจตนาที่ดีของผม และผู้ใดที่เห็นว่าความคิดของผมมีประโยชน์ก็ช่วยนำไปเผยแพร่ต่อๆไปด้วยครับ"
ผมขอสนับสนุนข้อความข้างต้นของอาจารย์ และผมขอเสริมตรงนี้อีกนิดหน่อย คืออยากให้อ.มุรีด เชคริฏอ อาจารย์ท่านอื่นๆ และผู้ที่ตามวันวูกุฟ วันอาราฟะ วันอีดิ้ลอัฏฮา ตามมักกะห์ ซึ่งมีที่วูกุฟที่ทุ่งอาราฟะแห่งเดียวในโลก (และวันเริ่มถือศีลอดวันอีดิ้ลฟิตริ เมื่อมีที่ใดในโลกเห็นฮิล้าล โดยต้องรอสอบสวน สอบถาม จนถึงห้าทุ่ม สองยาม บางครั้งก็ตีสองตีสาม กว่าจะประกาศวันเริ่มถือศีลอดและวันอีดได้) ช่วยเปิดใจมาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงใจด้วยหัวใจที่อิคลาสบริสุทธิ ผมว่าประเทศไทยก็จะมีวันอีดที่ตรงกัน เริ่มถือศีลอดเดือนรอมาดอนวันเดียวกัน ญาติพี่น้องก็จะรักใคร่ สมานฉันท์ ปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขอฝากความคิดเห็นไว้เพียงเท่านี้ มีสิ่งหนื่งสิ่งใดล่วงเกินท่านที่เกี่ยวข้อง ผมขอมะอัฟไว้ ณ ที่นี้ด้วย
วัสลามุอะลัยกุม _________________ Mhd_Yaseen |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mahdisaudi มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004 ตอบ: 381
|
ตอบ: Tue Jan 01, 2008 3:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อัสลามุอะลัยกุมทุกท่าน
ผมตั้งใจว่าจะจบเรื่องนั้ก่อนแล้วจะเตรียมบทความ...เรื่องเข้าเดือนอิสลามให้ดูฮิลาลในบ้านเมือง
ของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องตามเดือนของสะอูดี...
เนื่องด้วยมุสลิมเราส่วนใหญ่จะเข้าในในลักษณะเดียวกันว่าถ้าสะอูดีเห็นฮิลาลแล้วประเทศที่อยู่
ในคืนเดียวกันจะสามารถตามกันไปได้เนื่องเพราะเราไปนับกลางวันกลางคืน วันจันทร็อังคารพุธ
แบบวันสากล โดยไม่เฉลียวใจว่าวันที่ท่านนบีฯ พูดนั้นคือวันที่ของดวงจันทร์ที่ปรากฏ
หรือรอบอายุของดวงจันทร์ ที่โคจรผ่านหัวเราไป โดยการนับ 1 ค่ำเมื่อเราเริ่มเห็นฮิลาล
หลังเวลามัฆริบ
เมื่อเราไม่เห็นเราจะเรื่มนับวันที่30 อีกรอบดวงจันทร์ต่อมา ก็จะเริ่มนับ 1
ปรเทศสะอูดีถ้าเขาเห็นเขาก็จะเรื่มนับ 1 ค่ำ ประเทศไทยเรามักจะเข้าใจว่าเราอยู่กลางคืน
เหมือนสะะอูดี แต่ความจริงดวงจันทร์ ค่ำนั้นได้ตกไปลับบ้านเราไปแล้วเราหมดสิทธิ์
เมื่อเรารอรอบของดวงจันทร์ที่โคจรมารอบใหม่ผ่านเราจึงเริ่มนับ 1ได้
อย่างที่ท่าน มุหัมมัด ยาสีนกล่าวว่าเราต้องนมาซฺหลังสะอุดี 20 ชม.
นั่นคือเราตามสะอูดี .
แต่ความเป็นจริงแล้วการปฏิบัติของเราในปัจจุบันปีนี้หรือปีที่ก่อนๆมานั้น
เราได้เข้าเดือนซุลหิจญะ วันอะเราะฟะ ก่อนสะอุดีทุกๆปีถ้านับวันรอบของดวงจันทร์
แต่อย่างสำนักจุฬาที่หลังสาอุหนึ่งวันสากลนั้นเขากลับไปตามสาอุจริงๆ
พี่น้องสุนนะฮของผมต้องทนไม่ได้เจ็บใจที่ต้องมาเห็นสำนักและผู้ที่ตามสำนักกลับ
ตามสะอุดีจริง แต่พี่น้องสุนนะฮ์ของผมกลับล้ำหน้าสะอุดี
และตลอดชีวิตของพี่น้องที่ว่าตามนั้นกลับผิดพลาดอย่างแรง .
(เรื่องนั้คงต้องอธิบายอีกว่า วันเข้าเดือนนั้นผิดทั้งสะอุดีและสำนัก)
เอาไว้ว่าเรื่องนั้ค่อยหาเวลามาอธิบายเมื่อตระเตรียม
ข้อมูลมาก่อน อินชาอัลลอฮฺ
วัสลามุอะลัยกุม...
_________________ อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|