ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
alislam มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 26/05/2006 ตอบ: 1
|
ตอบ: Fri May 26, 2006 6:27 pm ชื่อกระทู้: สตรีนำละหมาดโดยที่มีหญิงชายรวมกัน มุมมองจากอัลกรุอ่าน |
|
|
สตรีนำละหมาด
21/05/2005: อมินา วาดูด นักวิชาการสตรีชาวมุสลิมผู้เลื่องชื่อจากเหตุการณ์ที่เธอได้นำละหมาดรวมในวันที่ 18 มีนาคม 2548 ณ นครนิวยอร์กและเทศน์คุตบะห์
นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวแห่งพัฒนาการของประวัติศาสตร์อิสลาม มิใช่เพราะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหากแต่เป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้งในรอบนับศตวรรษ
อมินา วาดูดได้รื้อฟื้นหลักการและจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพระหว่างชายและหญิงในอิสลาม เธอได้นำหญิงและชายมุสลิมกว่า130ชีวิตในการละหมาดรวม หลังจากนั้นไม่นานเธอได้นำละหมาดญุมอะฮ์(ละหมาดวันศุกร์) และเทศน์คุตบะฮฺในประเทศแคนาดา น.ส.อาสรา โนมานิ อดีตนักข่าวสำนักพิมพ์วอลสตรีทได้ทำการนำละหมาดรวมหญิงชายที่มหาวิทยาลัยแบนดริส (University of Brandeis) ใกล้กรุงบอสตัน อันที่จริงอาสราเป็นแรงจูงใจหลักในการที่สตรีมุสลิมลุกขึ้นมาปฏิบัติภารกิจอันชอบธรรมในการนำละหมาดรวมหญิงชาย
เหตุการณ์นี้ได้สร้างความเดือดร้อน แก่มุสลิมแนวอนุรักษ์นิยมที่ได้ออกมาประณามการกระทำดังกล่าวว่าขัดต่อหลักการอิสลาม ฟัตวาก็ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือโจมตีการกระทำนี้ด้วย กลุ่มสุดโต่งในสหรัฐถึงกับออกมาขู่จะขว้างระเบิดส่งผลให้เกิดการปลี่ยนสถานที่ละหมาด
ในการประณามของ กาดาฟฟี่ ผู้นำชาวลิเบีย ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ลงวันที่ 24 มีนาคม 2005 กล่าวถึงขั้นที่อ้างว่าการที่ผู้หญิงนำละหมาดรวมหญิงชายทำให้เกิด บิน ลา เดน อีกนับล้านคน ครั้งหนึ่งกาดาฟฟี่เคยเป็นหัวหอกคนสำคัญในการสนับสนุนความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชายและเคยกล่าวไว้ว่าความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในโลกมุสลิมคือการสมรู้ร่วมคิดกับอาณานิคมตะวันตกเพื่อหยุดชะงักการเคลื่อนไหวและต่อสู้ของประชาชาติมุสลิมด้วยกันเอง กาดาฟฟี่ผู้เคยมีจิตวิญญาณกบฏหรือว่าบัดนี้เขาได้กลับไปอยู่ในกระแสหลักของโลกอิสลาม เขายังได้ละทิ้งภาพนักต่อสู้ติดอาวุธและกลับเข้าชิดใกล้กับสหรัฐ
ในอียิปต์ มุฟตี อี อาซาม (Mufti-e-A'zam) อาลี โกมา ก็ได้ประณามผู้หญิงที่นำละหมาดรวมโดยอ้างว่าอิสลามมิได้อนุญาต และ ไม่มีผู้หญิงคนใดสามารถนำละหมาดรวมได้โดยเฉพาะการละหมาดญุมอะฮ์และการเทศน์คุตบะฮฺ เขาได้อ้างว่าอิหม่ามส่วนใหญ่และมุฟตีตกลงว่าผู้หญิงไม่สามารถนำละหมาดรวมได้อย่างไรก็ตามอุลามะทุกคนเห็นด้วยกับการที่ผู้หญิงนำละหมาดในหมู่สตรีเพศเดียวกัน
เป็นการสำคัญยิ่งที่จะหาข้อเท็จจริงต่อคำกล่าวอ้างนี้จากมุมมองของอัลกรุอาน มีบทบัญญัติใดบ้างที่อนุญาติให้มนุษย์ต่อต้านสตรีนำละหมาดรวมหญิงชายในพระคัมภีร์อัลกรุอาน แน่นอนที่สุดว่า ไม่มีและทุกคนเห็นพ้องว่าไม่มีคำปฏิเสธอยู่ในพระคัมภีร์ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าพระมหาคัมภีร์อัลกรุอานจะไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้อย่างตรงไปตรงมา แต่มีหลายบทบัญญัติที่สนับสนุนให้สตรีนำละหมาดรวมหญิงชาย
ในหะดิษของท่านศาสดานบีโมฮัมหมัด ได้อนุญาตให้สตรีนำละหมาดรวม ท่านศาสดาได้ขอให้หญิงที่มีนามว่า อุมมู วารอเกาะฮฺ บิน อับดุลเลาะห์ (Umm Waraqah bint Abdallah) นำละหมาดรวมในดาร์ (dar) ของเธอซึ่งมีผู้ชายอยู่ด้วย โดยทั่วไปแล้วคำว่าดาร์(dar)ในที่นี้ถูกเข้าใจว่าเป็นบ้านหรือครอบครัว และในกรณีนี้ เธอถูกขอร้องให้นำคนในครอบครัวของเธอรวมทั้งสามีในการละหมาด
อย่างไรก็ตามในหะดิษยังบอกไว้อีกว่าท่านศาสดาได้แต่งตั้ง mu'addhin (ผู้เรียกละหมาด) ซึ่งเป็นผู้ชายให้เรียกละหมาดในการนำละหมาดโดย อุมมู วารอเกาะฮฺ บิน อับดุลเลาะห์ ในครั้งนี้ (ซึ่งการเรียกละหมาดนั้น เป็นการเรียกละหมาดหรือบอกเวลาในการทำละหมาดของชุมชนมุสลิม หรือทั้งดาร์)
นั่นหมายความว่าdarในที่นี้มิใช่แค่ครอบครัวของเธอหากแต่เป็นชุมชน dar al Islam ซึ่งไม่น่าจะหมายความว่าครอบครัวของอิสลามแต่น่าจะเป็นชุมชนมุสลิมหรือแม้แต่อาณาจักรอิสลาม
หะดิษที่อ้างถึงอุมมู วารอเกาะฮฺ นี้ได้ถูกรายงานโดยอิบนุ ดาวูด (Abu Dawood)และอิบนุ กุซัยมะฮฺ (Ibn Khuzaimah), ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหะดิษที่ซอเฮี้ยะห์(แท้จริงเชื่อถือได้) อุมมู วารอเกาะฮฺเป็นผู้หนึ่งที่นำส่งอัลกรุอ่านก่อนที่จะถูกรวมในรูปของภาษาเขียน เป็นเพราะหะดิษฉบับนี้ที่นักกฎหมายเช่น Al-Mozin, Abu Thawr, and Al-Tabari เห็นพร้อมยอมรับการที่สตรีสามารถนำละหมาดรวมหญิงชาย อิบนุ ตัยมียะฮฺ (Ibn Taymiyyah) นักกฎหมายผู้มีชื่อเสียงอีกท่านได้กล่าวว่าสตรีสามารถนำละหมาดตะลาเวี้ยะ(ละหมาดในคืนรอมฎอน) ซึ่งมีหญิงชายละหมาดรวมกัน .
ถึงแม้ว่าจะมีการยอมรับเป็นเอกฉันท์ในหมู่อุละมาอ์และนักกฎหมายอิสลามว่าหะดิษที่อ้างถึง อุมมู วารอเกาะฮฺนั้นซอเฮี้ยะห์แต่มีการถกเถียงกันว่าการที่ท่านศาสดาอนุญาตนั้นเฉพาะเจาะจงสำหรับ อุมมู วารอเกาะฮฺ แต่เพียงผู้เดียวหรือรวมถึงสตรีมุสลิมทุกคนในการนำละหมาดรวมหญิงชาย อย่างไรก็ตามไม่มีคำกล่าวใดระบุว่าคำอนุญาตของท่านศาสดานั้นเฉพาะเจาะจงสำหรับอุมมู วารอเกาะฮฺ แต่เพียงผู้เดียว. อุมมู วารอเกาะฮฺเป็น'alimah ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในอัลกรุอานและการละหมาด ดังนั้นเธอจึงถูกขอร้องจากท่านศาสดาให้นำละหมาดในชุมชนของเธอ ดังนั้นจึงเห็นชัดว่าเป็นความสามารถและความศรัทธาของเธอ มิใช่เพราะเผ่าพันธุ์หรือสถานะทางสังคมของเธอที่ทำให้เธอแตกต่าง
หลักการที่สำคัญทางกฎหมายอิสลามกล่าวไว้ว่า หนึ่งในสอง alim ผู้ยิ่งใหญ่จะนำละหมาดและหนึ่งในสองผู้ที่มีความแข็งแรงทางกายภาพมากกว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของอิหม่ามและหนึ่งในสองผู้ที่มาจากชุมชนเดียวกันจะต้องเป็นผู้นำละหมาด หากเชื่อโยงกับเรื่องเพศแล้วอุละมาอ์มักสรุปความว่าเนื่องจากผู้หญิงร่างกายอ่อนแอกว่าผู้ชายดังนั้นผู้ชายจึงมีความเหนือกว่าและสร้างความชอบธรรมให้แก่เขาในการนำละหมาดอย่างไรก็ตามคำกล่าวอ้างนี้ของอุลามะและนักกฎหมายเห็นพร้อมว่าสตรีสามารถนำละหมาดสตรีด้วยกันได้
แต่ผู้หญิงสามารถเป็น 'alimah ที่ยิ่งใหญ่กว่าบุรุษเพศและเนื่องด้วยเหตุผลประการนี้ท่านศาสดา อนุญาตให้ผู้หญิงนำละหมาดรวมซึ่งมีทั้งหญิงและชายละหมาดร่วมกันได้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ1400ปีมาแล้วและ ณ ปัจจุบันในศตวรรษที่21 เกิดมีการต่อต้านผู้หญิงนำละหมาดขึ้นมาซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดมาก และยิ่งประหลาดเพราะมีเหตุผลประหลาดๆหลุดออกมาเพื่อกล่าวอ้างไม่ให้ผู้หญิงนั้นนำละหมาดรวม
alim แนวหน้าของโลกอาหรับ เชค ยูซูฟ อัลก็อดฎาวี (Sheikh Yusuf al-Qardawi) กล่าวในฟัตวาว่าในประวัติศาสตร์อิสลามไม่เคยเอ่ยถึงการที่ผู้หญิงนำละหมาดรวมวันศุกร์หรือเทศน์ในวันดังกล่าวแม้แต่ในยุคที่ผู้หญิงเป็นผู้ปกครองแผ่นดินเช่นสมัยของพระนาง Shagarat Ad-Durr ซึ่งเป็นผู้ปกครองดินแดนมุสลิมในอียิปต์ในยุค Mamluk. ซึ่งในยุคของพระนางหน้าที่หลักในการนำละหมาดนั้นถูกมอบหมายให้เป็นของผู้ชาย
ด้วยความเคารพอย่างยิ่งต่อเชคจำต้องกล่าวว่าอันดับแรกชายมุสลิมทั้งหมดโดยเฉพาะอุละมาอ์ได้ตัดสินใจว่าผู้หญิงไม่สามารถเป็นผู้ปกครองแผ่นดินและรัฐ แล้วเหตุใด ก็อดฎาวี จึงยกอ้างเรื่องราวที่ไม่มีผู้หญิงนำละหมาดรวมสมัยอียิปต์ถูกปกครองโดยสตรีเพศ เฉกเช่นเดียวกับอุละมาอ์หัวอนุรักษ์นิยมทั่วไป ก็อดฎาวีเชื่อว่าผู้หญิงเป็นผู้ปกครองรัฐนั้นเป็นการนอกรีต และ หากเขาไม่ได้คิดเช่นนั้นเขาก็ควรที่จะคัดค้านการที่สตรีนำละหมาดรวม
กรณีที่สองในการอ้างของเขาว่าหน้าที่ของการนำละหมาดรวมนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ชาย คำถามจึงอยู่ที่ว่าใครเป็นผู้บัญญัติกฎเหล่านี้ขึ้น อัลกุรอาน? แน่นอนว่าไม่ ซุนนะห์ของท่านศาสดา? ก็ไม่อีก ซึ่งทุกคนก็เห็นชอบว่ากฎหมายชารีอะห์นั้นขึ้นอยู่กับพระคัมภีร์อัลกุลอ่านและซุนนะห์ และไม่มีผู้ใดมีสิทธิที่จะบัญญัติกฎเกณฑ์และระเบียบของอิสลาม ดังนั้นคำกล่าวอ้างของ ยูซูฟ อัลก็อดฎาวี ไม่ถูกต้องและมิได้อ้างอิงจากหลักการของอิสลามแม้แต่น้อย
เพื่อที่จะสร้างความชอบธรรมแก่การที่ชายเท่านั้นสามารถนำละหมาดรวมได้ เชค ก็อดฎาวี ได้หยิบยกปรัชญาแปลกๆถึงขั้นหยิบยกเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยอ้างว่าการละหมาดนั้นเป็นการกระทำที่มีท่าทางต่างๆประกอบของร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องการสมาธิและความมุ่งมั่นทางจิต ความนอบน้อมสำรวม และการเคารพยำเกรงต่อองค์อัลเลาะห์ ดังนั้นจึงไม่เป็นการสมควรที่ผู้หญิงซึ่งมีรูปร่างโดยธรรมชาติแล้วกระตุ้นสัญชาติญาณทางเพศของผู้ชาย และการที่ผู้หญิงยืนอยู่ข้างหน้าผู้ชายในการนำละหมาดนั้นจะทำให้ เกิดการเพลิดเพลินและเบี่ยงเบนสมาธิของผู้ชายไปจากการละหมาดอันเป็นการทำลายบรรยากาศแห่งจิตวิญญาณอันเป็นสิ่งจำเป็น
เป็นที่น่าขบคิดและมึนงงในปรัชญาที่อ้างขึ้นดังกล่าวของเชค ซึ่งในขณะที่เขาอ้างว่าการละหมาดเป็นภารกิจแห่งการจดจ่อมีสมาธิและยำเกรงและอ่อนน้อมต่อองค์อัลเลาะห์ในขณะที่อ้างว่าสรีระของผู้หญิงจะเบี่ยงเบนและทำลายสมาธิของผู้ชายในการละหมาด แล้วจะมีประโยชน์อะไรกับการจดจ่อหากผู้ชายเกิดการตื้นเต้นทางเพศแม้แต่ในขณะกระทำการละหมาดอันศักดิ์สิทธิ์และจิตวิญญาณที่ยำเกรงต่อองค์อัลเลาะห์ ซึ่งสู้ไม่ละหมาดจะดีเสียกว่า องค์อัลเลาะห์ได้ตรัสไว้ว่า แน่นอนที่สุดที่การละหมาดปกป้องจากการกระทำที่หยาบโลนและความชั่วร้าย (29:45) แต่อุละมาอ์ของเรายังคงอ้างว่าท่วงท่าในการทำละหมาดของสตรีจะกระตุ้นความต้องการทางเพศของผู้ชาย ดังนั้นใครเล่าที่เราควรจะฟังอุละมาอ์หรือองค์อัลเลาะห์ผู้ทรงตรัสว่าการละหมาดคือยาถอนพิษของความหยาบโลนและชั่วร้าย
ก็อดฎาวี อ้างต่อไปอีกว่าเป็นการป้องกันไม่ให้จิตใจของฝ่ายชายถูกยั่วยุให้หันเหดังนั้นชาริอะห์จึงกำหนดให้ชายสามารถเรียกละหมาดและนำประชาชนในการละหมาด และแถวของผู้หญิงในการละหมาดนั้นอยู่ข้างหลังผู้ชาย ซึ่งนี้อาจเป็นความเห็นของเชคเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้บัญญัติไว้หรือกล่าวอ้างแม้แต่น้อยในอัลกุรอานและซุนนะห์ ก็อดฎาวี คิดว่าท่านศาสดาไม่รู้เรื่องทางเพศของผู้ชายและอนุญาตให้ผู้สตรีนามว่า อุมมู วารอเกาะฮฺนำละหมาดรวม และเขายังคิดอีกว่าความรู้สึกทางเพศของผู้ชายเท่านั้นที่ถูกผู้ปลุกปั่นและไม่ใช่ผู้หญิงในขณะที่พวกเธออยู่ด้านหลังของผู้ชายเวลาละหมาด
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เพศแต่ผู้ชายนั้นมีความถือตัวเองเป็นสำคัญและไม่ต้องการที่จะละหมาดหลังผู้หญิง ผู้ชายมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเหนือสถาบันทางศาสนาและสังคมและไม่มีเหตุผลที่จะศูนย์เสียอำนาจเหล่านี้ ดังนั้นอัลเลาะห์จึงส่งอิสลามในฐานะผู้ปลดปล่อยและสร้างเสรีภาพแด่มวลมนุษย์ชาติ โดยเฉพาะผู้หญิงผู้ซึ่งถูกทำให้เป็นข้าทาสอย่างสิ้นเชิง ท่านศาสดานับได้ว่าเป็นนักสิทธิสตรีตัวยง นอกจากภารกิจแห่งการประกาศพระวจนะขององค์อัลเลาะห์ ท่านได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อผู้หญิงและการสร้างเสรีภาพแด่พวกเธอ ท่านต้องการให้ผู้หญิงนั้นเท่าเทียมกับผู้ชายทั้งทางโลกและจิตวิญญาณ อายะห์ในพระคัมภีร์และการประพฤติปฏิบัติของท่านศาสดานั้นเป็นหลักฐานที่ดีที่สุด มิใช่เพียงประสงค์ให้ผู้หญิงละหมาดในมัสยิดแต่ต้องการให้พวกเธอได้นำผู้ชายละหมาดในการละหมาดรวมด้วย เมื่อมีผู้ชายขัดขวางการเข้าไปละหมาดในมัสยิดท่านศาสดาได้บอกกับพวกเขาว่าจงอย่าห้ามผู้ศรัทธาในอัลเลาะห์ (amatullah)ละหมาดในบ้านของพระองค์ ผู้ชายห้ามผู้หญิงเข้ามาในเขตมัสยิดแม้แต่ปัจจุบันในหลายประเทศโดยเฉพาะในเอเชียเช่นอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศและประเทศไทยในบางพื้นที่
พวกเขาจะเลือกปฏิบัติตามสิ่งใด? หลักการอิสลามที่ตัวเองคิดเองเออเองหรือพระคัมภีร์อัลกุรอานและแบบแผนปฏิบัติของท่านศาสดา อัลกุรอานยึดมั่นในความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ อิสรภาพ หน้าที่และสิทธิ ซึ่งหมายรวมถึงผู้หญิงด้วย อัลกุรอานได้กล่าวสี่คำสำคัญไว้ความว่า walahunna mithlul ladhi 'alayhinna (ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ที่ต่อต้านเธอในวิถีทางที่ยุติธรรม2:228).
ทั้งสี่คำนี้มีนัยสำคัญยิ่งในการปฏิวัติความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงในยุคที่มืดมน คำเหล่านี้ให้ผู้หญิงซึ่งทุกอย่างที่โลกในศตวรรษที่21ตอนต้นจะให้แก่พวกเธอได้ ท่านศาสดาได้นำหลักการของคำทั้งสี่มายึดถือปฏิบัติด้วยจิตวิญญาณอันสูงสุด โลกของเราเคยเชื่อว่าสัตว์เดรัจฉานและผู้หญิงนั้นไม่มีจิตวิญญาณ ในขณะที่อัลกุรอานไม่เพียงแต่กล่าวว่าหญิงชายนั้นเกิดขึ้นจากจิตวิญญาณดวงเดียวกัน nafsin wahidin แต่ยังเกิดขึ้นพร้อมกับศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์อย่างสูงสุด
อัลกุรอานยังได้กล่าวถึงพระวจนะแห่งการปฏิวัติไว้ว่า wa laqad karramna bani Adam (และแน่นอนที่สุดเราให้เกียรติ์แก่ลูกของอาดัม17:70). ลูกของอาดัมเป็น สมุหนามซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่าง ผู้หญิง ผู้ชาย คนผิวดำ คนผิวขาว คนอาหรับและมิใช่อาหรับ มุสลิม และ ผู้ที่มิใช่มุสลิม ดังนั้นสำหรับพระคัมภีร์อัลกุลอ่านแล้วมนุษย์ทุกคนมีศักศรีดิ์เท่าเทียมกันและไม่มีการเลือกปฏิบัติทางเพศได้รับอนุญาติรวมถึงการเลือกปฏิบัติทางสีผิว เผ่าพันธุ์ ภาษา และศาสนา
แต่เมื่อศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายไปยังดินแดนที่มีการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบรวมถึงการเลือกปฏิบัติทางเพศ พระวจนะและจิตวิญญาณแห่งอิสลามที่แท้จริงเหล่านี้ได้หายไปและเริ่มแทนที่โดยการถือปฏิบัติของการกดขี่และอคติทางเพศ ชาติพันธ์ ภาษาและศาสนา มุสลิมที่รับอิสลามด้วยอคติที่ผิดๆทางศาสนาไม่สามารถที่จะเข้าถึงและสัมผัสจิตวิญญาณแห่งอิสลามที่แท้จริงได้ และไม่มีใครที่มีจิตวิญญาณเปรียบเสมือนท่านศาสดาในหมู่คนเหล่านั้นหรือแม้แต่บุคคลที่มีสถานะใกล้ชิดกับท่านศาสดาที่จะสามารถซึมซาบจิตวิญญาณที่แท้จริงของอิสลามให้แก่พวกเขา
ผู้หญิงมีสถานะทางสังคมอยู่ในขั้นที่ต่ำมากในทุกวัฒนธรรมและชาติพันธ์และสถานะที่ต่ำต้อยนี้คงอยู่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการรับอิสลามอย่างแพร่หลายนับทศวรรษหรือแม้แต่ศตวรรษหลังจากที่ท่านศาสดาและมิตรสหายของท่านได้เสียชีวิตลง อุละมาอ์รุ่นใหม่จำนวนมากจากเปอร์เซีย โรมันและตุรกีให้ความสำคัญมากเกินไปกับประเด็นทางศาสนาที่เป็นทางการโดยไม่ต่อสู้กับอคติทางวัฒนธรรมที่กดขี่เพศแม่ของพวกตนซึ่งฝังรากลึก และเพื่อตอบสนองอคติแห่งการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงที่ฝังรากลึกเหล่านี้ ahadith บทใหม่ (คำกล่าวของท่านศาสดา) รวมทั้ง กียาสและอิจญมาอ์ (การให้เหตุผลแบบเทียบเคียงและมติเอกฉันท์) ได้ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ล้วนๆซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงจากอคติทางวัฒนธรรมเหล่านี้
ดังนั้นการกดขี่และเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบจึงถูกกระทำกับผู้หญิง พลังอันสร้างสรรค์ของผู้หญิงได้ถูกปิดกั้นและถูกขังอยู่ที่บ้าน ท่านศาสดายังได้อนุญาตให้พวกเธอเข้าร่วมในสงคราม อุมัรซึ่งเป็น กาลิป คนที่สองได้แต่งตั้งผู้หญิงเป็นผู้ตรวจการด้านการค้าและการตลาดแต่บัดนี้พวกเธอถูกจับคลุมในผ้าดำซึ่งไม่สามารถไปไหนได้หากปราศจากมุฮริม (mahrim) (ชายที่ใกล้ชิดกับเธอและไม่สามารถแต่งงานด้วยได้)
ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ถูกคิดว่าเป็นหลักการอิสลามที่เคร่งครัดโดยอุละมาอ์และนักกฎหมายอิสลามได้สร้างฟัตวาซ้ำและซ้ำเล่า(ความคิดเห็นทางกฎหมาย)ให้สถานะอันต่ำต้อยนี้ของผู้หญิงเป็นส่วนหนึ่งของอิสลาม ทำให้พวกเธอต้องกลายเป็นแค่เพียงชิ้นส่วนหนึ่งของผู้ชายพวกที่เธอเรียกว่าพ่อหรือสามีหลังจากแต่งงาน การหลุดพ้นจากบาปและการรอดชีวิตของพวกเธอขึ้นอยู่กับการยอมจำนนต่ออำนาจและกามารมณ์ของสามี เธอมิสามารถก้าวออกมาโดยปราศจากคำอนุญาตของสามีของเธอ เธอได้สูญเสียศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ในระดับปัจเจกชน หะดิษที่ถูกเผยแพร่บิดเบือนว่าท่านศาสดากล่าวว่าหากได้รับอนุญาตให้สุดุด(หมอบกราบ)ก่อนผู้ใดยกเว้นองค์อัลเลาะห์เราขอสั่งให้ภรรยาสุดุดต่อสามีของเธอ
ดังนั้นเราเห็นได้ว่ามุสลิมรุ่นหลังจมปลักในค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ผิดเพี้ยนไปจากจิตวิญญาณของอัลกุลอ่านอย่างสิ้นเชิง ลดคุณค่าของผู้หญิง ซึ่งไม่น่าแปลกที่เธอถูกขัดขวางไม่ให้นำละหมาดรวมเพราะเธอถูกสอนให้ต่ำต้อยกว่าผู้ชาย คำกล่าวอ้างของยูซูฟ อัลก็อดฎาวี ที่ว่าไม่มีผู้หญิงในประวัติศาสตร์ของอิสลามนำละหมาดรวมโดยมีผู้ชายอยู่ด้วยเกิดจากวิธีคิดดังกล่าวโดยมิได้ยึดหลักการและจิตวิญญาณ ของพระคัมภีร์อัลกุรอาน
ในสมัยท่านศาสดาผู้หญิงมิได้ยอมรับการถูกลดคุณค่าและได้ต่อสู้เพื่อสิทธิอันชอบธรรมแห่งพระคัมภีร์อัลกุลอ่าน ครั้งหนึ่งเมื่อมีการถกเถียงถึงสถานภาพของพวกเธอ พวกเธอได้ไปหาท่านศาสดาและถามว่าพวกเธอนั้นต่ำต้อยกว่าผู้ชายหรือไม่ ท่านศาสดารอจนกระทั่งองค์อัลเลาะห์ทรงมีพระวจนะลงมาว่า แน่นอนที่สุดผู้ชายผู้ซึ่งเชื่อฟังและผู้หญิงซึ่งเชื่อฟัง และ ผู้ชายที่ศรัทธาและผู้หญิงที่ศรัทธา และ ผู้ชายที่ปฏิบัติตามและผู้หญิงที่ปฏิบัติตาม และผู้ชายที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความจริงและผู้หญิงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความจริง และ ผู้ชายที่อดทนและผู้หญิงที่อดทน และผู้ชายที่นอบน้อมและผู้หญิงที่นอบน้อม และผู้ชายที่มีจิตกุศลสาธารณะและผู้หญิงที่มีจิตกุศลสาธารณะ และ ผู้ชายที่ถือศีลอดและผู้หญิงที่ถือศีลอด และชายที่ถือพรหมจรรย์และหญิงที่ถือพรหมจรรย์ และ ผู้ชายที่ระลึกถึงและผู้หญิงที่ระลึกถึง องค์อัลเลาะห์ได้เตรียมให้แก่พวกเขาและเธอการให้อภัยและรางวัลที่ทรงพลัง(33:35)
หากใครได้อ่านพระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์บทนี้จะยังคงอ้างว่าผู้หญิงต่ำต้อยกว่าผู้ชายอีกหรือไม่ หากยังคนยืนกรานเราสามารถบอกได้ว่าเขาไม่มีความศรัทธาต่อคำสอนและพระวจนะในพระคัมภีร์อัลกุลอ่านและยังคงจมปลักอยู่กับค่านิยมชายเป็นใหญ่ของเขา ซึ่งสำหรับเขาแล้วคำสอนและพระวจนะในพระคัมภีร์ไม่สำคัญเท่าค่านิยมที่หล่อเลี้ยงเขาจนเติบใหญ่ และโศกนาฏกรรมที่แท้จริงคือการที่เกิดในครอบครัวมุสลิมและเป็นมุสลิมโดยที่ไม่ได้เข้าถึงหรือสัมผัสถึงจิตวิญญาณแห่งพระคัมภีร์อัลกุรอาน หรือ การที่คำสอนทางศาสนาอิสลามถูกส่งถึงเขาผ่านด้วยเครื่องกรองทางวัฒนธรรมและด้วยอุลามะหัวอนุรักษ์นิยมที่โดยทั่วไปแล้วเข้าไม่ถึงจิตวิญญาณที่แท้จริงของพระคัมภีร์อัลกุรอาน
หลังจากศึกษาการลงมาของอายะห์บทที่ 33:35 อย่างซาบซึ้งเรายังคงเถียงอย่างหัวชนฝาอีกหรือไม่ว่าผู้หญิงไม่สามารถนำละหมาดรวมได้ ดังนั้นผู้ที่ต่อต้านการที่ผู้หญิงนำละหมาดรวมค่อยๆเริ่มที่จะยอมรับว่าไม่มีคำกล่าวใดในพระคัมภีร์อัลกุรอานและอัลหะดิษที่คัดค้านหรือต่อต้านการกระทำนี้แต่เนื่องจากการที่ยังคงงมงายอยู่กับค่านิยมชายเป็นใหญ่มากกว่าที่จะยึดหลักการและคุณค่าของพระคัมภีร์อัลกุรอานพวกเขายังคงคัดค้านและสร้างข้ออ้างที่แปลกประหลาดเช่นการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศจากการอยู่ข้างหลังผู้หญิง และที่น่าตกใจคือคำอ้างดังกล่าวออกมาจากปากของผู้ที่มีสถานะทางศาสนาอันสูงส่งอย่าง'alimเช่นเชค ยูซูฟ อัลก็อดฎาวี.
พวกเขาไม่ได้ตระหนักว่าคำกล่าวอ้างเช่นนี้อยู่นอกจิตวิญญาณของพระมหาคัมภีร์ และพระคัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้กล่าวอย่างใจแคบว่าผู้ชายนั้นง่ายต่อการถูกปลุกอารมณ์ทางเพศจากผู้หญิงดังนั้นเธอจึงสมควรที่จะถูกจับคลุมด้วยผ้าตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเพื่อสงวนไว้ให้ผู้ชายและบาปจากการตกเป็นเหยื่อของการข่มขืนและการคบชู้ อัลกุรอานปฏิบัติต่อชายและหญิงอย่างเท่าเทียมกันในทุกกรณีรวมถึงการลงทัณฑ์ต่อทั้งคู่จากการกระทำผิดดังกล่าว
ผู้ชายมักกล่าวอ้างเช่นนี้แม้แต่ในเรื่องของการผิดประเวณี บ่อยครั้งที่ผู้ชายสร้างความชอบธรรมโดยอ้างว่าการผิดประเวณีหรือการมีภรรยามากกว่าหนึ่งป้องกันผู้ชายจากการมีสัมพันธ์ที่ผิดศีลธรรมกับหญิงอื่นซึ่งแท้จริงแล้วอัลกุรอานมิได้เอ่ยถึงข้ออ้างเหล่านั้น ในอีกด้านหนึ่งอัลกุรอานอนุญาติการผิดประเวณีอย่างลังเลเพื่อที่จะให้ชายดูแลและปกป้องเด็กกำพร้าและหญิงหม้าย (4:3)และเตือนว่า หากเจ้ากลัวที่มิสามารถให้ความยุติธรรมได้จงแต่งงานแต่เพียงหนึ่งเดียว มิใช่แค่อายะห์นี้เท่านั้นแต่บทที่4:129ได้กล่าวไว้ว่า และเจ้าไม่สามารถให้ความยุติธรรมระหว่างภรรยาแม้ว่าเจ้าประสงค์ก็ตามแต่จงอย่าไม่สมัครใจจากหนึ่งด้วยความเอนเอียงทั้งหมด และเจ้าละทิ้งนางไว้ด้วยความแคลงใจแต่หากแม้นเจ้าสมานไมตรีและรักษาภารกิจแน่นอนอัลเลาะห์ทรงเปี่ยมด้วยเมตตาและการให้อภัย
ข้อความในอายะห์นี้ชัดเจนและหากเราอ่านทั้งสองบท 4:3 และ 4:129 ด้วยกันยิ่งชัดเจนมากขึ้นว่าผู้ชายสามารถมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งในกรณีที่ได้รับการยกเว้นเท่านั้นนอกเหนือจากนี้แล้วอนุญาตให้มีได้แค่หนึ่งเดียว อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์อุละมาอ์ได้ให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ชายที่จะแต่งงานกับผู้หญิงได้ถึงสี่คนและแน่นอนความยุติธรรมไม่เคยมีปรากฏ ในขณะที่คำกล่าวอ้างของชายที่ว่าสามารถมีภรรยามากกว่าหนึ่งเพื่อป้องกันบาปนั้นมิได้อยู่ในจิตวิญญาณแห่งอัลกุรอาน
ปัจจุบันผู้หญิงได้รับการศึกษามากขึ้นและตระหนักถึงสิทธิของพวกเธอและถึงเวลาแล้วที่จะนำจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอัลกุลอ่านมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจหลักคำสอนในทางที่ถูกต้องและก้าวเล็กๆที่อมินา วาดูดและสตรีมุสลิมอื่นๆได้ลุกขึ้นมานำละหมาดรวมหญิงชายนั้นควรจะได้รับการยอมรับและปฏิบัติสืบกัน โลกอิสลามอยู่ในความจำเป็นที่จะต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วนและโต้เถียงภายในศาสนาอิสลามนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
ก้าวต่างๆเหล่านี้ได้กระตุ้นความรู้สึกและจากการโต้เถียงที่ดุเดือดจะนำมาซึ่งแสงสว่างแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ช่องว่างอันไพศาลระหว่างจิตวิญญาณแห่งอัลกุรอานและการปฏิบัติตนของมุสลิมต้องได้รับการเชื่อมต่อผ่านการเสวนาและระดมความคิดเห็น ขณะนี้มุสลิมกำลังเผชิญกับการโหมกระหน่ำรุมประณามโดยผู้ที่มิใช่มุสลิมโดยเฉพาะในเรื่องความอยุติธรรมอันมโหฬารที่อิสลามถูกมองว่ากระทำต่อสตรีเพศ
ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมโดยทั่วไปมิได้ตระหนักถึงหลักคำสอนที่แท้จริงของพระคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งนำมาสู่การกล่าวหาอิสลามในเรื่องของความอยุติธรรม ดังนั้นมุสลิมที่เข้าใจหลักคำสอนของอัลกุรอานต้องลุกขึ้นมาริเริ่มการเสวนาทั้งกับมุสลิมและผู้ที่มิใช่มุสลิม
สตรีมุสลิมต้องได้รับการศึกษาที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการศาสนาตามจิตวิญญาณของพระคัมภีร์อัลกุรอานและเราต้องการนักทฤษฏีสตรีอย่างเร่งด่วนเพื่อการเผยแพร่ความตระหนักในประเด็นดังกล่า ดังนั้นทั้งชายและหญิงมุสลิมผู้ซึ่งปฏิญาณตนเพื่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมระหว่างชายหญิงจำต้องริเริ่มแนวทางในการนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นยิ่งแก่สังคมุสลิม และเราควรชื่นชมและเป็นกำลังใจสนับสนุนความคิดริเริ่มที่อมินา วาดูดและสตรีมุสลิมอื่นๆกำลังพยายามเผยแพร่คำสอนเหล่านี้
ผู้ศรัทธา(มุอฺมิน) จำต้องปฏิญาณตนเพื่อคุณค่าแห่งความยุติธรรม คุณงามความดี ความเมตตา ความรัก และภูมิปัญญาที่ได้รับการระบุซ้ำแล้วซ้ำเล่าในพระคัมภีร์อัลกุรอานและความอยุติธรรมทุกรูปแบบต่อสตรีนั้นจะไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้ศรัทธา ตลอดยุคกลางมุสลิมได้สูญเสียหลักการและคุณค่าที่แท้จริงของอัลกุรอานและบัดนี้ในยุคแห่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนหลักการด้านความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิงจักต้องฟื้นคืนมา
หากเราไม่นำหลักการที่แท้จริงและจิตวิญญาณของอัลกรุอ่านกลับคืนมาแม้แต่ในเหตุการณ์ปัจจุบันเราจะต้องพบกับความสูญเสียโอกาสตลอดไป อัลเลาะห์จะไม่ทรงให้อภัยเราต่อการบิดเบือนพระวจนะของพระองค์เราสนับสนุนนักปฏิรูปอย่างมูฮัมมัด อับดุฮฺ (Muhammad Abduh) แห่งอียิปต์ผู้ซึ่งยืนเคียงข้างความยุติธรรมระหว่างหญิงและชายและจิตวิญญาณที่แท้จริงของอัลกุลอ่านโดยเสมอมาแต่ในปัจจุบันเรามิต้องการแค่ อับดุฮฺ เพียงคนเดียวหากแต่คนแบบเขาอีกหลายคน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
dabdulla มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005 ตอบ: 437
|
ตอบ: Sat May 27, 2006 4:52 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับ คุณ alislam
อินชาอัลลอฮ หวังว่าจะมีผู้รู้เข้ามาตอบคำถามนะครับ
ขอเรียนถามนิดนึงนะครับว่า กระทู้ของคุณ จะพูดคุยในเชิงวิชาการหรือว่า อย่างไร
ถ้าเชิงวิชาการ เดี๋ยวคุณอัลฟารุก และ อาจารย์อะสันก็คงจะเข้ามาคลี่คลายคำตอบให้กับคุณ แต่คำกล่าวอ้างของคุณนั้น ค่อนข้างอ่อนในเรื่องของหลักฐานอ้างอิงนิดนึง กล่าวคือมีการอ้างถึงผู้รู้แต่ว่าขาดในเรื่องการอ้างอิง
เห็นด้วยที่คุณบอกว่าจะต้องมีการโต้เถียงเพื่อนำมาซึ่งประโยชน์ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าคุณคุยกับนักวิชาการแล้ว และคุณไม่มีหลักฐานที่ดีกว่ามานำเสนอ คุณกล้าจะเปลี่ยนแปลงจุดยืนหรือไม่
ถ้าเรื่องนี้เป็นความคิดของคุณแล้วผมไม่ค้าน แต่ในเมื่อว่าคุณอ้างว่าสิ่งนี้มีปรากฏอยู่ในอัลกุรอ่าน และ ฮาดิษ คุณก็เตรียมรอคุย กับ คุณอัลฟารุก และ อาจารย์อะสันของผมได้เลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun May 28, 2006 6:20 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้อความของคุณ alislam
ปัจจุบันผู้หญิงได้รับการศึกษามากขึ้นและตระหนักถึงสิทธิของพวกเธอและถึงเวลาแล้วที่จะนำจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอัลกุลอ่านมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจหลักคำสอนในทางที่ถูกต้องและก้าวเล็กๆที่อมินา วาดูดและสตรีมุสลิมอื่นๆได้ลุกขึ้นมานำละหมาดรวมหญิงชายนั้นควรจะได้รับการยอมรับและปฏิบัติสืบกัน โลกอิสลามอยู่ในความจำเป็นที่จะต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วนและโต้เถียงภายในศาสนาอิสลามนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
ตอบ
คุณ alislam ครับ ผมว่า มุลิมทุกคนเราทุกคน ไม่ว่าชายหรือหญิง ต่างก็ได้รับสิทธิและเกียรติตามคำสอนอิสลามเท่าเทียมกันอยู่แล้ว เพียงแต่อิสลามได้มอบหน้าที่ให้แก่ผู้ชายและผู้หญิง ในบางเรื่อง มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ เพราะในด้านกายภาพของหญิงและชายนั้น แตกต่างกัน ซึ่งอัลลอฮซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
الرِّجَالُ قَوَّامُونَ عَلَى النِّسَاء بِمَا فَضَّلَ اللّهُ بَعْضَهُمْ عَلَى بَعْضٍ وَبِمَا أَنفَقُواْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ فَالصَّالِحَاتُ قَانِتَاتٌ حَافِظَاتٌ لِّلْغَيْبِ بِمَا حَفِظَ اللّهُ وَاللاَّتِي تَخَافُونَ نُشُوزَهُنَّ فَعِظُوهُنَّ وَاهْجُرُوهُنَّ فِي الْمَضَاجِعِ وَاضْرِبُوهُنَّ فَإِنْ أَطَعْنَكُمْ فَلاَ تَبْغُواْ عَلَيْهِنَّ سَبِيلاً إِنَّ اللّهَ كَانَ عَلِيّاً كَبِيراً
[4.34] . บรรดาชายนั้น คือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง(*1*) เนื่องด้วยการที่อัลลอฮฺ ได้ทรงให้บางคนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางคน(*2*)และด้วยการที่พวกเขาได้จ่ายไปจากทรัพย์ของพวกเขา(*3*)บรรดากุลสตรีนั้นคือผู้จงรักภักดี ผู้รักษาในทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ลับหลังสามี(*4*) เนื่องด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักษาไว้(*5*) และบรรดาหญิงที่พวกเจ้าหวั่นเกรงในความดื้อดึงของนางนั้น(*6*) ก็จงกล่าวตักเตือนนางและทอดทิ้งนางไว้แต่ลำพังในที่นอน(*7*) และจงเฆี่ยนนาง(*8*)แต่ถ้านางเชื่อฟังพวกเจ้าแล้ว ก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นาง(*9*) แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงเกรียงไกร
........................................................
(1) หมายถึงบรรดาภรรยา
(2) ให้ชายมีร่างกายกำยำ แข็งแรง และมีความกล้าหาญเหนือกว่าหญิง จึงเป็นผู้มีหน้าที่ทำการปกครองและเลี้ยงดูหญิง
(3) จ่ายทรัพย์ของเขาในการเลี้ยงดูภรรยา
(4) รักษาเนื้อรักษาตัวของนางให้อยู่ในความบริสุทธิ์และรักษาทรัพย์และสิ่งอื่นๆ ขณะสามีไม่อยู่
(5) หมายถึงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสามีที่จะต้องปฏิบัติตั้งแต่การให้มะฮัร และค่าใช้จ่ายในชีวิตความเป็นอยู่ของนางทุกอย่าง
(6) เกรงว่าในความดื้อดึงของนางนั้นจะทำให้นางประพฤตินอกลู่นอกทางอันก่อให้เกิดความเสียหายในครอบครัว
(7) ถ้านางไม่เชื่อฟังคำตักเตือน ก็ให้ลงโทษนางโดยปล่อยให้นางนอนแต่ลำพังคนเดียวในที่นอน ทั้งนี้เพื่อให้นางเกิดความว้าเหว่ และมีความสำนึกผิด
(8) ถ้านางยังดื้อดึงไม่ยอมสำนึกผิด ก็ให้เฆี่ยนนางได้ตามสมควรเพื่อให้เข็ดหลาบโดยไม่ให้เกิดบาดแผล หรือรอยช้ำบวม
(9) ระหว่างสามีภรรยา ซึ่งจะเป็นญาติของพวเราเองหรือพี่น้องมุสลิมของเรนาที่เราสามารถจะช่วยเหลือได้
.............- ความหมายโดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ
...........................................................................................
ท่านอิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وقال علي بن أبي طلحة عن ابن عباس : { الرجال قوامون على النساء } يعنى أمراء عليهن أي : تطيعه فيما أمرها الله به من طاعته ، وطاعته أن تكون محسنة لأهله حافظة لماله. .
และอาลี บุตร อบีฏอ็ลหะฮ ได้รายงานจากอิบนิอับบัสว่า (บรรดาชายคือ ผู้ปกครอง บรรดาผู้หญิง) หมายถึง เป็นปกครองพวกนาง กล่าวคือ นางต้องเชื่อฟังเขา(สามี)ในสิ่งที่อัลลอฮทรงใช้พวกนาง จากการที่ให้เชื่อฟังต่อเขา และการเชื่อฟังต่อสามีนั้นคือ การที่นางปฏิบัติดีต่อครอบครัวของสามีและดูแลรักษาทรัพย์สินของเขา.
" تفسير ابن كثير " ( 1 / 490
.................................
คุณ alislam ครับ อัลลอฮได้ทรงผู้ชายมีความเหนือกว่าผู้หญิงในทางกายภาพและทรงให้ชายมีความเหนือกว่าผู้หญิงในบางเรื่องอย่างชัดเจน โดยเฉพาะหน้าที่ปกครองและดูแลผู้หญิง แล้วคุณจะส่งเสริมให้มุสลิมะฮ เรียกร้องสิทธิเท่าเทียมชายได้อย่างไร มันสมควรหรือ และการที่อัลลอฮทรงให้ชายมีหน้าที่ปกครองและดูแลผู้หญิงนั้นด้วยความเป็นธรรม มันเป็นการกดขี่ ผู้หญิงอย่างนั้นหรือ โปรดพิจารณานะครับ
.......................
อะสัน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun May 28, 2006 7:18 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณ alislam ครับ
โปรดพิจารณสิ่งที่ผมนำเสนอต่อไปนี้ เพิ่มเติม
อัลลอฮตรัสว่า
وَلِلرِّجَالِ عَلَيْهِنَّ دَرَجَةٌ وَاللّهُ عَزِيزٌ حَكُيمٌ
และสำหรับบรรดาชายนั้น มีฐานะเหนือพวกนางขั้นหนึ่ง และอัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาน
. وقوله : " وللرجال عليهن درجة " أي في الفضيلة في الخَلق والخُلق والمنزلة وطاعة الأمر والإنفاق والقيام بالمصالح والفضل في الدنيا والآخرة ، كما قال تعالى : " الرجال قوامون على النساء بما فضل الله بعضهم على بعض وبما أنفقوا من أموالهم
และคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า และสำหรับบรรดาชายนั้น มีฐานะเหนือพวกนางขั้นหนึ่ง กล่าวคือ มีฐานะเหนือกว่า ในเรื่อง รูปร่าง อุปนิสัย ฐานะ การเชื่อคำสั่ง การใช้จ่ายและ การทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ และความเหนือกว่าในโลกนี้และโลกหน้า ดังที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตาอาลา ตรัสว่า (บรรดาชายนั้น คือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง เนื่องด้วยการที่อัลลอฮฺ ได้ทรงให้บางคนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางคน และด้วยการที่พวกเขาได้จ่ายไปจากทรัพย์ของพวกเขา)
- ดูตัฟสีรอิบนิกะษีร เล่ม 1 หน้า 363
.........
คุณ alislam ครับ โองการข้างต้น อัลลอฮทรงยืนยันในความเหนือกว่าหญิงในบางเรื่อง แล้วจะเรียกร้องความเท่าเทียมเพศชายได้อย่างไร
...........................
และอัลลอฮตรัสว่า
وَمَا أَرْسَلْنَا قَبْلَكَ إِلاَّ رِجَالاً نُّوحِي إِلَيْهِمْ
และเรามิได้ส่งผู้ใดมาก่อนเจ้า นอกจาก บรรดาผู้ชาย ที่เราประทานโองการแก่พวกเขา อัมบิยาอ/7
......................
อายะฮข้างต้นจะเห็นได้ว่า บรรดาผู้ที่อัลลอฮทรงแต่งตั้งให้เป็นรอซูลนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ชาย ทำไม พระองค์ ไม่ทรงแต่งตั้งรอซูล ที่เป็นผู้หญิง คุณ alislam คิดบ้างหรือเปล่าในเรื่องนี้
................................ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
OtakuSan มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2006 ตอบ: 13
|
ตอบ: Sun Jun 04, 2006 10:54 am ชื่อกระทู้: |
|
|
หะดีษอมมุวะเราะเกาะฮฺ บินตุอับดุลลอฮฺ
และการเป็นอิหม่ามนำละหมาดของสตรี (1)
عَنْ أُمِّ وَرَقَةَ بِنْتِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ نَوْفَلٍ الأَنْصَارِيَّةِ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَمَّا غَزَا بَدْرًا، قُلْتُ لَهُ: يَا رَسُولَ اللَّهِ ائْذَنْ لِي فِي الْغَزْوِ مَعَكَ أُمَرِّضُ مَرْضَاكُمْ لَعَلَّ اللَّهَ أَنْ يَرْزُقَنِي شَهَادَةً. قَالَ: قَرِّي فِي بَيْتِكِ فَإِنَّ اللَّهَ تَعَالَى يَرْزُقُكِ الشَّهَادَةَ. فَكَانَتْ تُسَمَّى الشَّهِيدَةُ، وَكَانَتْ قَدْ قَرَأَتْ الْقُرْآنَ فَاسْتَأْذَنَتْ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ تَتَّخِذَ فِي دَارِهَا مُؤَذِّنًا فَأَذِنَ لَهَا....
وزاد في رواية أخرى: وَكَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَزُورُهَا فِي بَيْتِهَا وَجَعَلَ لَهَا مُؤَذِّنًا يُؤَذِّنُ لَهَا وَأَمَرَهَا أَنْ تَؤُمَّ أَهْلَ دَارِهَا، قَالَ عَبْدُ الرَّحْمَنِ فَأَنَا رَأَيْتُ مُؤَذِّنَهَا شَيْخًا كَبِيرًا.
وزاد في رواية أخرى: أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم أَذِنَ لَهَا أَنْ يُؤَذَّنَ لَهَا وَيُقَامَ وَتَؤُمَّ نِسَاءَهَا.
وزاد في رواية أخرى: ... وَأَنْ تَؤُمَ أَهْلَ دَارِهَا فِي الْفَرِيْضَةِ....
وزاد في رواية أخرى: "... فَلَمَّا أَصْبَحَ عُمَرُ قَالَ: وَاللهِ مَا سَمِعْتُ قِرَاءَةَ خَالَتِي أُمِّ وَرَقَةَ الْبَارِحَةَ فَدَخَلَ الدَّارَ فَلَمْ يَرَ شَيْئًا فَدَخَلَ الْبَيْتَ فَإِذَا هِيَ مَلْفُوْفَةٌ فِي قَطِيْفَةٍ فِي جَانِبِ الْبَيْتِ".
ความหมายของหะดีษ
จากอมมุวะเราะเกาะฮฺ บินตุอับดุลลอฮฺ บินตุเนาฟัล อัลอันศอริยะฮฺ เล่าว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อท่านจะทำสงครามบะดัร ฉันได้กล่าวแก่ท่านว่า "โอ้ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ โปรดอนุญาตให้ฉันได้ร่วมทำสงครามกับท่านด้วยเถิด ฉันจะได้ช่วยปฐมพยาบาลพวกท่านที่เจ็บป่วย เผื่อว่าอัลลอฮฺจะทรงประทานชาฮีดแก่ฉัน" ท่านรสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมตอบว่า "เธอจงพำนักอยู่ในบ้านของเธอเถิด แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงประทานชะฮีดแก่เธอเอง" ดังนั้น(ตั้งแต่นั้นมา)นางจึงถูกเรียกขานว่า "ชะฮีดะฮฺ" และนางเป็นคนที่อ่าน(ท่องจำ)อัลกุร อ่าน ดังนั้นนางจึงขออนุญาตต่อท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อแต่งตั้งมุอัซซินที่ดาร(เคหะสถาน) ของนาง ดังนั้นท่านจึงอนุญาตแก่นาง...". (อบูดาวูด, อัสสุนัน 1/160, กิตาบอัศเศาะลาฮฺ, บาบ อิมามฮฺ อันนิสาอฺ (การเป็นอิหม่ามนำละหมาดของสตรี เลขที่ 590, อะหมัด, อัลมุสนัด, มุสนัดอมมุวะเราะเกาะฮฺ บินตุอับดุลลอฮฺ เลขที่ 28042)
และมีเพิ่มเติมจากรายงานอีกสายหนึ่งว่า "และท่านรสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมชอบไปเยี่ยมเยือนยังบ้านของนางเป็นประจำ และได้แต่งตั้งมุอัซซินที่คอยอาซานแก่นางไว้คนหนึ่ง และสั่งให้นางเป็นอิหม่ามนำละหมาดแก่สมาชิกของครอบครัวนาง" อับดุลเราะหฺมาน(นักรายงานหะดีษจากอมมุวะเราะเกาะฮฺ) กล่าวว่า "ดังนั้นฉันพบว่ามุอัซซินของนางเป็นคนที่มีอายุมากแล้ว".(อบูดาวูด, อัสสุนัน 1/160 ในกิตาบอัศเศาะลาฮฺ, บาบ อิมามฮฺ อันนิสาอฺ (การเป็นอิหม่ามนำละหมาดของสตรี เลขที่ 591)
และมีเพิ่มเติมจากรายงานอีกสายหนึ่งว่า "แท้จริงนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้อนุญาตให้มีการอาซานและอิกอมะฮฺสำหรับนางและให้นางนำละหมาดแก่บรรดาสตรี(ที่อาศัยอยู่ในเคหะสถาน)ของนาง". (อัดดาเราะกุฏนีย์, อัสสุนัน, เลขที่ 1049)
และมีเพิ่มเติมจากรายงานอีกสายหนึ่งว่า "และให้นางนำละหมาดแก่บรรดาสมาชิกที่อาศัยอยู่ในดาร(เคหสถาน) ของนางในละหมาดฟัรฎู" (อิบนุคุซัยมะฮฺ, อัศเศาะหีห, ญิมาอฺอับวาบเศาะลาฮฺอันนิสาอฺฟี อัลยะมาอะฮฺ, บาบ อิมามะฮฺอัลมัรอะฮฺ อันนิสาอฺฟีอัลฟะรีเฎาะฮฺ, 3/89, อัลบัยฮะกีย์, อัสสุนันอัลกุบรอว์, เลขที่ 5560)
และมีเพิ่มเติมจากรายงานอีกสายหนึ่งว่า "พอเช้าขึ้นมาอุมัรกล่าวว่า "ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เมื่อคืนฉันไม่ได้ยินเสียงอ่านอัลกุรอ่านของน้าฉัน อมมุวะเราะเกาะฮฺ" ดังนั้นท่านจึงเดินเข้าไปยังบริเวณดาร(เคหสถาน) แต่ท่านก็ไม่เห็นสิ่งใด ดังนั้นท่านจึงเดินเข้าไปในบ้าน ทันใดนั้นอุมัรเห็นนาง(ได้เสียชีวิตแล้วในสภาพที่)ถูกคลุมด้วยผ้าห่มอยู่ข้างๆบ้าน". (อิบนุหะญัร, อัลอิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซ อัศเศาะหาบะฮฺ, 8/116, รายงานโดยอิบนุอัสสะกัน)
สถานภาพของหะดีษ
1. อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า "ในสายรายงานนี้มีนายอับดุลเราะหฺมาน บิน ค็ลลาด และยังมีนักรายงานที่มัจฮูล (ไม่เป็นที่รู้จัก) (อิบนุหัญัร, อัลตัลคีส อัลหะบีร, 2/56)
2. อิบนุคุซัยมะฮฺกล่าวว่าเป็นหะดีษที่ถูกต้อง (อิบนุคุซัยมะฮฺ, อัศเศาะหีห, 3/89)
3. อัลมุนซิรีย์ ได้ตำหนินักรายงานที่ชื่อ อัลวะลีด บิน อับดุลลอฮฺ ว่ารายงานของเขาไม่แข็งแรง (อัลมุนซิรีย์, อัลตัรฆีบ มัลตัรฮีบ)
4. อัลอัลบานีย์สรุปว่าเป็นหะดีษที่หะสัน (อัลอัลบานีย์, อิรวาอฺ อัลเฆาะลีล, 2/256)
บทเรียนจากหะดีษ
1. ไม่มีมติเป็นเอกฉันท์ในหมู่อุละมาอฺหะดีษเกี่ยวกับความถูกต้องของหะดีษนี้ ถึงแม้ว่าทัศนะที่ถูกต้องและมีน้ำหนักที่สุด คือทัศนะที่ระบุว่าเป็นหะดีษที่หะสัน
2. นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมไม่อนุญาตให้อมมุวะเราะเกาะฮฺออกรบในฐานะพยาบาล และสั่งให้นางพำนักอยู่ในบ้านของนาง เท่ากับเป็นการบ่งชี้ว่า หน้าที่การญิฮาดนั้นเป็นของบุรุษเพศ ส่วนหน้าที่ของสตรีคือการดูแลความเรียบร้อยของบ้านเรือน ซึ่งอิสลามได้แบ่งภาระหน้าที่ของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจน
3. การขออนุญาตเพื่อนำละหมาดญะมาอะฮฺที่บ้านของอมมุวะเราะเกาะฮฺ (ไม่ใช่นบีเป็นคนขอร้องให้นำละหมาด) บ่งชี้ว่าไม่ส่งเสริมให้สตรีเดินทางออกไปละหมาดยังมัสยิดแต่ส่งเสริมให้นางทำละหมาดที่บ้าน ซึ่งค้านกับสภาพของบุรุษที่นบีได้สั่งกำชับแกนบังคับให้ทุกคนออกไปละหมาดญะมาอะฮฺยังมัสยิดอย่างพร้อมเพรียงกัน จนมีอุละมาอฺ จำนวนไม่น้อยเห็นว่าการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดสำหรับบุรุษเป็นสิ่งวาญิบ
4. การขอให้มีมุอัซซินสำหรับละหมาดที่ดารของอมมุวะเราะเกาะฮฺ บ่งชี้ว่า เป็นการนำละละหมาดฟัรฎู ดังมีรายงานเพิ่มเติมจากสายรายงานของอิบนุคุซัยมะฮฺและอัลบัยฮะกีย์ เพราะละหมาดสุนัต ไม่มีการอาซานหรือิกอมะฮฺแต่อย่างใด
5. การนำละหมาดของอมมุวะเราะเกาะฮฺเป็นการนำละหมาดเฉพาะสตรีเท่านั้น ไม่มีบุรุษร่วมอยู่ด้วย ดังจะเห็นได้จากสำนวนการรายงานของอัดดาเราะกุฏนีย์ และสำนวนการประพันธ์ ของบรรดาผู้บันทึกหะดีษที่ได้วางหะดีษนี้ไว้ภายใต้หัวข้อ "อิมามะฮฺอัลมัรอะฮฺอันนิสาอฺ" (การนำละหมาดของสตรีแก่สตรีคนอื่นๆ) ดังนั้นมะอมูมหรือผู้ตามในละหมาดของอมมุวะเราะเกาะฮฺจึงเป็นเพียงสมาชิกที่เป็นสตรีเท่านั้น
6. สารัตถะในหะดีษข้างต้นไม่มีข้อบ่งชี้ใดๆเลยที่ทำให้เข้าใจว่ามีบุรุษเพศอาศัยอยู่ในดารหรือเคหสถานของอมมุวะเราะเกาะฮฺและร่วมละหมาดข้างหลังนางในฐานะเป็นมะมูม ไม่ว่าจะเป็นสามี พี่น้อง บิดา หรือญาติคนอื่นๆ เช่นเดียวกับตำราต่างๆที่บันทึกประวัติของนาง อาทิเช่น หนังสืออัลอิสอบะฮฺของอิบนุหะญัร (ดูประวัติของอมมุวะเราะเกาะฮฺใน อัลอิสอบะฮฺ, 8/116) ก็ไม่พบว่ามีระบุเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของนางกับบุรุษคนใด ทั้งความสัมพันธ์ฉันท์สามีภารยาและความสัมพันธ์ทางเครือญาติ วัลลอฮุอะลัม ส่วนบุรุษที่เป็นมุอัซซิน ซึ่งตามรายงานข้างต้นระบุว่าเป็นคนชรามากแล้วนั้น มีความเป็นไปได้สูงว่าเขาไม่ใช่คนที่อาศัยอยู่ในบ้านของ อมมุวะเราะเกาะฮฺ ดังจะเห็นได้จากการขออนุญาตของนางให้นบีแต่งตั้งมุอัซซินเฉพาะสำหรับนาง เพราะถ้าหากว่ามุอัซซินคนนั้นเป็นญาติหรือผู้อาศัยอยู่ในบ้านของนาง ก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากท่านนบี และในฐานะที่มุอัซซินเป็นบุรุษคนหนึ่งจึงเป็นไปได้อีกว่าหลังจากที่เขาอาซานเสร็จแล้วเขาก็เดินทางไปละหมาดพร้อมๆกับนบีที่มัสยิดโดยปล่อยให้อมมุวะเราะเกาะฮฺละหมาดเพียงลำพังกับเหล่าสตรีในเคหสถานของนาง
7. ตามรายงานของอิบนุสะกัน บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า บ้านของอมมุวะเราะเกาะฮฺตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่ไกลจากมัสยิดนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และไม่ไกลจากบ้านของอุมัร ดังจะเห็นได้จากคำพูดของการที่อุมัรได้ถามหาอมมุวะเราะเกาะฮฺ เพราะไม่ได้ยินเสียงอ่านอัลกุรอ่านของนางในคืนที่ผ่านมา ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่ามีบุรุษหรือสามีอาศัยอยู่ในบ้านของนาง พวกเขาย่อมต้องออกไปละหมาด ณ มัสยิดนบีอย่างแน่นอน ไม่ใช่ละหมาดญะมาอะฮฺในเคหสถานของอมมุวะเราะเกาะฮฺ เพราะนบีถือว่าบุรุษที่ไม่ไปละหมาดที่มัสยิดเป็นมุนาฟิก และขู่ว่าจะเผาทั้งเป็นหากพบเจอ (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์, อัศเศาะหีห, กิตาบ อัลอะซาน, บาบวุญูบเศาะลาฮฺญะมาอะฮฺ, เลขที่ 608) และแม้กระทั่งบุรุษผู้ตาบอดที่ไม่มีคนจูงไปยังมัสยิดนบียังบอกว่าเป็นวาญิบสำหรับเขาที่ต้องเดินทางไปละหมาดญะมาอะฮฺยังมัสยิดตราบใดที่(บ้านของเขาอยู่ในบริเวณที่)เขาสามารถได้ยินเสียงอาซาน (มุสลิม, อัศเศาะหีหฺ, กิตาบมะสาญิดวะมะวาฎิอฺอัศเศาะลาฮฺ, บาบยะญิบอิตยานอัลมัสยิดอะลามันสะมิอะอันนิดาอฺ, เลขที่1044)
8. และจากความเข้าใจในข้อ 7 จึงไม่สามารถให้ความหมายของคำว่า "ดาร" ในบริบทนี้ว่าเป็น "หมู่บ้าน เมือง หรือ อาณาจักร" เพราะเคหสถานหรือบ้านของอมมุวะเราะเกาะฮฺตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนที่มีมัสยิดนบีเป็นศูนย์กลางอยู่แล้ว นอกจากความหมายของคำว่า "บริเวณบ้าน ที่พักอาศัย หรือเคหสถาน(*) เท่านั้น จะเป็นอื่นไม่ได้ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า (dwelling) ถึงแม้ว่าในทางภาษา "ดาร" จะมีความหมายที่ครอบคลุมสิ่งเหล่านั้นก็ตาม. วัลลอฮุอะลัม ดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมแก่อมมุหุมัยด์ว่า "ฉันรู้ว่าเธออยากจะละหมาดพร้อมกับฉัน แต่การละหมาดในบ้านของเธอจะเป็นการประเสริฐกว่าการละหมาดในห้องสำหรับเธอ และการละหมาดในห้องของเธอจะเป็นการประเสริฐกว่าการละหมาดในดาร(เคหสถาน)สำหรับเธอ และการละหมาดในดาร(เคหสถาน)ของเธอจะเป็นการประเสริฐกว่าการละหมาดในมัสยิดของชุมชนเธอ..." (อะหมัด, อัลมุสนัด 6/371, อิบนุหิบบาน, อัลอิหสาน 5/596, อิบนุคุซัยมะฮฺ, อัศเศาะหีห 3/95)
9. การอาซานหรือเรียกละหมาดสำหรับละหมาดฟัรฎูไม่ใช่เป็นการบ่งชี้ใดๆว่าเป็นการละหมาดกับของชุมชนจำนวนมากที่มีทั้งบุรุษและสตรี แต่การอาซานถูกบัญญัติขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณที่เรียกร้องสู่การละหมาดเท่านั้น ไม่ว่าจะมีองค์ละหมาดจำนวน 1 คน หรือ 3 คน หรือมากกว่านั้นก็ตาม ดังคำสั่งของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า
...فَإِذَا حَضَرَتِ الصَّلاَةُ فَلْيُؤَذِّنْ لَكُمْ أَحَدُكُمْ وَلْيَؤُمَّكُمْ أَكْبَرُكُمْ
"ดังนั้น เมื่อถึงเวลาละหมาด ก็จงให้ผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่พวกเจ้าทำหารอาซาน และให้ผู้อวุโสที่สุดในหมู่พวกเจ้าเป็นอิหม่ามนำละหมาด"
إِذَا أَنْتُمَا خَرَجْتُمَا فَأَذِّنَا وَأُقِيْمَا وَلْيَؤُمَّكُمَا أَكْبَرُكُمَا
"เมื่อเจ้าทั้งสองออกเดินทาง ดังนั้น (เมื่อเข้าเวลาละหมาด) พวกเจ้าทั้งสองก็จงอาซาน และอิกอมะฮฺ และจงให้ผู้ที่อวุโสที่สุดระหว่างพวกเจ้าขึ้นเป็นผู้นำละหมาด"
يُعْجِبُ رَبُّكَ مِنْ رَاعِي غَنَمٍ فِي رَأْسِ شَظِيَّةِ جَبَلٍ يُؤَذِّنُ بِالصَّلاَةِ وَيُصَلِّي، فَيَقُوْلُ اللهُ -عز وجل-انْظُرُوْا إِلَى عَبْدِي هَذَا يُؤَذِّنُ وَيُقِيْمُ الصَّلاَةَ يَخَافُ مِنِّي قَدْ غَفَرْتُ لِعَبْدِي وَأَدْخَلْتُهُ الْجَنَّةَ.
"องค์อภิบาลของเจ้าชอบใจต่อคนเลี้ยงแพะคนหนึ่งที่เลี้ยงอยู่บนยอดเขา ซึ่งเขาได้อาซานสำหรับละหมาด(ฟัรฎู) และทำการละหมาด ดังนั้นอัลลอฮฺจะทรงกล่าว(แก่บริวารของพระองค์ว่า) พวกเจ้าจงดูบ่าวของฉันคนนั้นสิ เขาทำการอาซานและดำรงละหมาด เพราะยำเกรงต่อฉัน แท้จริงฉันได้ให้อภัยแก้เขาบ่าวของฉันคนนั้นแล้ว และฉันจะนำเขาเข้าสู่สวรรค์" วัลลอฮุอะลัม
(*) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า ระบุว่า "เคหสถาน" หมายถึง "บ้านเรือน หรือที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และหมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม" |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
OtakuSan มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2006 ตอบ: 13
|
ตอบ: Sun Jun 04, 2006 3:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
10. ความสามารถของอมมุวะเราะเกาะฮฺด้านการอ่านอัลกุรอ่านและการละหมาด ไม่ใช่เป็นตัวกำหนดและชี้วัดว่า ความเป็นสตรีที่มีความสามารถเช่นนางสามารถนำละหมาดบุรุษเพศได้ ขณะเดียวกันเรากลับพบว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺภรรยาของท่านนบี และอมมุลมุอฺมินีนที่เปี่ยมด้วยความรู้และความสามารถทั้งด้านความจำ และปัญญา และเป็นผู้ให้คำชี้ขาด(ฟัตวา) และรายงานหะดีษมากที่สุดคนหนึ่งในหมู่เศาะหาบะฮฺ กลับวานให้ทาสคนรับใช้ของนางที่ชื่อนายซักวาน ซึ่งไม่มีความรู้ใดๆที่จะมาเทียบเคียงกับนางได้เลย เป็นผู้นำละหมาดตะรอวีหฺให้แก่นาง ด้วยการอ่านอัลกุรอ่านจากมุศหัฟ ในณะที่นบีได้สั่งกำชับเกี่ยวกับบุคลิกของผู้นำละหมาดว่า "จงให้คนที่อ่านอัลกุรอ่านเก่งที่สุดในหมู่พวกเขาเป็นผู้นำละหมาด" (يؤمهم أقرؤهم لكتاب الله) (อัลบุคอรีย์, อัศเศาะหีห, กิตาบอัลอะซาน, บาบ อิมามะฮฺ อัลอับดุวัลเมาลา และอิบนุอะบีชัยบะฮฺ, อัลมุศ็อนนัฟ, 2/123) ดังนั้นหากอิสลามอนุญาตให้สตรีนำละหมาดแก่บุรุษด้วยเพราะเหตุผลดังกล่าว แน่นอนอย่างยิ่งว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺย่อมต้องเป็นคนแรกที่จะรีบทำหน้าที่ดังกล่าว แต่นางก็ไม่กระทำ...! |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
OtakuSan มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2006 ตอบ: 13
|
ตอบ: Mon Jun 05, 2006 10:32 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ทัศนะของอุละมาอฺในอดีตและปัจจุบัน
1. อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ต. 204 ฮ.ศ.)
"เมื่อสตรีนำละหมาดกับบุรุษ สตรีด้วยกัน และเด็กชาย ดังนั้นการละหมาดของสตรี(ที่เป็นมะมูม) ใช้ได้ ส่วนการละหมาดของบุรุษและเด็กชายใช้ไม่ได้(เป็นโมฆะ)... และไม่อนุญาตให้สตรีละหมาดอยู่หน้า(เหนือ)บุรุษเป็นอันขาด" (อัลอมมฺ 1/16)
2. อัลก็อฟฟาล ( ต. 365 ฮ.ศ.)
"และการเป็นผู้นำละหมาดของสตรีแก่บุรุษเป็นโมฆะ(ไม่เศาะหฺ)" (หิลยะฮฺ อัลอุละมาอฺ 2/170)
3. อิบนุหัซมิน อัซซอฮิรีย์ (ต. 456 ฮ.ศ.)
"และไม่อนุญาตให้สตรีนำละหมาดบุรุษ และนี่เป็นสิ่งที่ไม่มีการขัดแย้งใดๆ...และจากหลักฐานต่างๆเหล่านี้ได้ยืนยันถึงความเป็นโมฆะ(บุฏลาน)ของการเป็นอิหม่ามนำละหมาดของสตรีต่อบุรุษเพศอย่างแน่นอน" (อัลมุหัลลา 3/125-126)
4. อบูอิสหาก อัชชีรอซีย์ ( ต. 476 ฮ.ศ.)
"และไม่อนุญาตให้บุรุษละหมาดหลังสตรี...และหากเขาละหมาดข้างหลังนางโดยไม่ทราบว่าเป็นสตรี เสร็จแล้วประจักษ์แก่เขาว่าผู้นำละหมาดเป็นสตรี เขาจำเป็นต้องละหมาดใหม่" (อัลมุฮัซซับ 1/97)
5. อิบนุรุชดิ (ต. 586 ฮ.ศ.)
"แท้จริงอุละมาอฺส่วนใหญ่ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าไม่อนุญาตให้สตรีนำละหมาดแก่บุรุษ เพราะหากแม้นว่า(การกระทำดังกล่าว) เป็นสิ่งที่อนุญาต แน่นอนย่อมต้องมีรายงานจากชนรุ่นแรกมาถึงเรา" และท่านยังระบุอีกว่า ทัศนะที่ค้านกับทัศนะนี้เป็นทัศนะที่แปลกแยก(ชาซ) (บิดายะฮฺ อัลมุจญ์ตะฮิด 2/213)
6. อิบนุกุดามะฮฺ (ต. 620 ฮ.ศ.)
ส่วนสตรี จะเป็นการไม่ถูกต้อง(ไม่เศาะฮฺ) ที่บรรดาบุรุษจะละหมาดตามนางเป็นอันขาด ทั้งในละหมาดฟัรฎู และละหมาดสุนัต ตามทัศนะของบรรดาฟุเกาะฮาอฺทั้งหลาย" (อัลมุฆนีย์ 2/199)
7. อิหม่ามอันนะวะวีย์ (ต. 676 ฮ.ศ.)
พวกเรา(มัซฮับชาฟิอีย์)ต่างมีมติเห็นพ้องกันว่าไม่อนุญาตให้บุรุษที่บรรลุศาสนาภาวะและเด็กชายยืนละหมาด(เป็นมะมูม)อยู่หลังสตรี ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรฎู ละหม่ดตะรอวีหฺ และละหมาดสุนัตอื่นๆ นี่คือทัศนะของมัซฮับเรา และมัซฮับอุละมาอฺทั่วไปทั้งสะลัฟและเคาะลัฟ และอัลบัยฮะกีย์ยังพาดพิงทัศนะนี้ไปยังบรรดาฟุเกาะฮาอฺมะดีนะฮฺในยุคตาบิอีนทั้ง 7 ด้วย และเป็นทัศนะของอิหม่ามมาลิก อบูหะนีฟะฮฺ สุฟยาน อะหมัด และดาวูด (ซอฮิรีย์)..." (อัลมัจญ์มูอฺ 4/255)
8. อัชเชากานีย์ (ต. 1255 ฮ.ศ.)
"ไม่เคยมีหลักฐานที่สามารถยืนยันได้(ถูกต้อง)จากนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่าสตรีสามารถนำละหมาดแก่บุรุษเลย และไม่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี สมัยของเศาะหาบะฮฺ และสมัยของตาบิอีน เช่นนั้นเลย" (อัสสัยลุลญัรร้อร 1/250)
9. ฟัตวาคณะกรรมการถาวรเพื่อการศึกษาและวิจัย ซาอุดีอาระเบีย
การเป็นอิหม่ามนำละหมาดของสตรีแก่บุรุษเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง(ไม่เศาะหฺ) เพราะการเป็นผู้นำในละหมาดเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง และอิบาดะฮฺต้องขึ้นอยู่กับหลักฐาน และแบบอย่าง(สุนนะฮฺ)ด้านการปฏิบัติบ่งชี้ถึงการเป็นอิหม่ามของบุรุษแก่บุรุษเท่านั้น และเราไม่ทราบว่ามีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าสตรีสามารถนำละหมาดแก่บุรุษ" (ฟัตวาอัลลัจนะฮฺอัดดาอมะฮฺ 7/391-392)
*** บังอาซันกรุณาแก้ไขเพิ่มเติมด้วยครับ ญะซากุมุลลอฮฺ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
OtakuSan มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2006 ตอบ: 13
|
ตอบ: Mon Jun 05, 2006 3:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บัง asan ลองพิจารณาคำพูดของอิบนุตัยมิยะฮฺต่อไปนี้หน่อยครับว่าสมควรจะแอบอ้างว่าเป็นทัศนะส่วนตัวของท่านไหมเกี่ยวกับการอนุญาตให้สตรีนำละหมาดบุรุษ
"ด้วยเหตุนี้อิหม่ามอะหมัดจึงอนุญาต-ในทัศนะที่มัชฮูรของท่าน-ให้สตรีนำละหมาดบุรุษได้เพราะความจำเป็น เช่นเพราะนางเป็นคนที่อ่านกุรอ่านเก่ง(ท่องจำอัรกุรอ่าน) ในขณะที่บรรดาบุรุษไม่ได้จำอัลกุรอ่าน ดังนั้น(จึงอนุญาตให้)นางนำละหมาดตะรอวีหฺแก่พวกเขา เช่นเดียวกับที่นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้อนุญาตให้อมมุวะเราะเกาะฮฺนำละหมาดแก่สมาชิกในเคหสถาน(ดาร)ของนาง และแต่งตั้งมุอัซซินสำหรับนาง...เช่นนี้แหละในขณะที่มีรายงานจากนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า "สตรีจะไม่มีการนำละหมาดแก่บุรุษ" (لا تؤم امرأة رجلا) และแท้จริงการห้ามสตรีไม่ให้นำละหมาดแก่บุรุษนั้นเป็นทัศนะของอุละมาอฺทั้งหลาย" (มัจญ์มูอฺอัลฟะตาวี 23/644) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
OtakuSan มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2006 ตอบ: 13
|
ตอบ: Mon Jun 05, 2006 3:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมเห็นว่า ผู้ตั้งกระทู้เห็นด้วยกับแนวคิดของมุหัมมัด อับดุฮฺ (เราสนับสนุนนักปฏิรูปอย่างมูฮัมมัด อับดุฮฺ (Muhammad Abduh) แห่งอียิปต์ผู้ซึ่งยืนเคียงข้างความยุติธรรมระหว่างหญิงและชายและจิตวิญญาณที่แท้จริงของอัลกุลอ่านโดยเสมอมา)
ดังนั้น ผมจึงใคร่นำเสนอแนวคิดของท่านเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ตั้งกระทู้กำลังเรียกร้องอยู่ดังนี้ครับ
"แท้จริงอัลลอฮฺทรงมอบหน้าที่หลายๆอย่างแก่ชายและหญิง...และแต่ละฝ่ายไม่มีสิทธิที่จะใฝ่ฝัน(เรียกร้อง)ในภารกิจที่ได้เจาะจงเฉพาะสำหรับแต่ละฝ่าย และพระองค์ทรงกล่าว(ในความหมาย)ที่ครอบคลุมทั้งสองฝ่าย ขณะที่ฝ่ายชายนั้นไม่เคยคิดใฝ่ฝันที่จะเป็นหญิงและไม่เคยใฝ่ฝันที่จะทำงานในภารกิจเฉพาะของสตรี เช่นการคลอด การเลี้ยงดูแลบุตร และอื่นๆที่เป็นที่รู้กัน แต่ทว่า เหล่าสตรีต่างหากที่คิดใฝ่ฝันที่จะทำงานในหน้าที่ของบุรุษ..." (สัยยิดมุหัมมัดรอชิด ริฎอ, ตัฟซีรอัลมันนาร, 5/58) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Jun 05, 2006 10:31 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บัง asan ลองพิจารณาคำพูดของอิบนุตัยมิยะฮฺต่อไปนี้หน่อยครับว่าสมควรจะแอบอ้างว่าเป็นทัศนะส่วนตัวของท่านไหมเกี่ยวกับการอนุญาตให้สตรีนำละหมาดบุรุษ
.............
อัสสลามุอะลัยกุ้ม น้อง OtakuSan
บังดูแล้ว เห็นว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ เพียงแค่นำเสนอ ทัศนะ ที่แตกต่าง เกี่ยวกับ การนำละหมาดของผู้หญิง ไม่ใช่ทัศนะส่วนตัวของท่าน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Jun 05, 2006 10:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขออัลลอฮตอบแทนน้อง OtakuSan ที่นำเสนอเชิงวิชาการเกี่ยวกับประเด็นการนำละหมาดของสตรี ได้ชัดเจนพอสมควร ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้อ่านเป็นอย่างมาก |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
dabdulla มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005 ตอบ: 437
|
ตอบ: Tue Jun 06, 2006 10:20 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อัสลามุอลัยกุม คุณ Otakusan
ผมชอบในการนำเสนอทางวิชาการของท่านอีกคน มีสไตล์การนำเสนอทางวิชาการที่เรียบง่าย และเมื่ออ่านแล้วก็เกิดความประทับใจ
ขออัลลอฮตอบแทนครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
OtakuSan มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2006 ตอบ: 13
|
ตอบ: Wed Jun 07, 2006 9:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมอยากให้สุภาพสตรีเจ้าของกระทู้ทบทวนจุดยืนของตนเองใหม่อีกครั้ง และอยากให้พิจารณาใคร่ครวญถึงความถูกต้องและที่มาของแหล่งข้อมูลด้วยว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เพราะเท่าที่พิจารณาดู เจ้าของกระทู้เพียงแค่ลอกบทความเขามาแปล ซึ่งผมเชื่อว่าแม้แต่ผู้ตั้งหระทู้เองก็ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเจ้าของบทความเป็นใคร มีความน่าเชื่อถือด้านวิชาการศาสนามากน้อยขนาดไหน และที่สำคัญ เว็บที่เจ้าของกระทู้ได้คัดบทความมาเป็นเว็บสตรีที่กำลังเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันของสตรีกับบุรุษเพศ หรือจะพูดแบบตรงๆก็คือ เป็นเครื่องมือขององค์กรสตรีระหว่างประเทศ ที่มีคำย่อว่า ซีดอว์นั้นเอง
----------------------------------------
* เจ้าของกระทู้ลอกบทความมาแปลแบบใส่อารมณ์จากเว็บ http://www.wluml.org/english/newsfulltxt.shtml?cmd%5B157%5D=x-157-211712
ภายใต้หัวข้อ International: On a Muslim woman leading the congregational prayer เขียนโดย ผู้ที่ใช้นามว่า Asghar Ali Engineer ถ้าเป็นไปได้อยากให้ท่าน dabdulla ช่วยตรวจดูให้หน่อย
** ซีดอว์ เป็นหนึ่งในองค์กรอุบาทว์ระหว่างประเทศที่ก่อตั้งโดยสหประชาชาติ มีชื่อเต็มเป็นภาษาอังกฤษว่า Convention on the Elimination of All Form of Discrimination against Woman (CEDAW) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ"
*** บทความของเชคกอรฎอวีที่ถูกพาดพิงผมอยากให้บังอาซันช่วยพิจารณาดูว่ามีความถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนมากน้อยขนาดไหนกับสำนวนที่เจ้าของบทความหรือเจ้าของกระทู้ได้ถอดความไว้ http://www.islam-online.net/Arabic/contemporary/2005/04/article01A.shtml
**** คำฟัตวาของเชคอาลี ญุมอะฮฺ ที่เจ้าของกระทู้พาดพิง อยากให้บังอาซันช่วยพิจารณาดูด้วย http://www.alarabiya.net/Article.aspx?v=12186
ขออัลลอฮิทรงประทานฮิดายะฮิและทางนำแก่เราทุกคน อามีน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
matt มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004 ตอบ: 254 ที่อยู่: usa
|
ตอบ: Thu Jun 08, 2006 10:46 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถ้าคุณ Alislam เป็น สตรีมุสลิม ผู้ ตั้งกระทู้ เกี่ยวกับสิทธิ ของสตรีมุสลิม เพื่อเรียกร้อง ความเท่าเทียม กัน ตามหลักการ ของ อิสลาม ในสมัยนี้ อาจจะ ไม่ได้รับ คำตอบ ที่ยุติธรรม, นอกจากคำถามนี้ จะถูก ถามโดยตรง ต่อท่านรอซูล ในขณะที่ท่าน มีชีวิตอยู่ ท่านรอซูล จะสามารถ ตอบ แก่คุณ Alislam และ มุสลิมะท่านอื่นๆ ได้ อย่าง ถูกต้อง ทั้งนี้ เพราะ ว่า ในชีวิต ของท่านรอซูล ท่าน เคยมีประสพการ ในเรื่อง นี้ มาด้วยตัวท่านเอง และ ท่าน ให้ความยุติธรรม ต่อ ภรรยา ทั้ง หมดของท่าน อีกประการหนึ่ง ท่าน รอซูล ได้แต่งงาน กับ ภรรยาคนแรกของท่าน คือ ท่านหญิง คอดิยะฮ์ ซึ่งเป็น ผู้หญิงที่มี ความสามารถ กว่า ภรรยาคนอื่นๆ ของ ท่าน รอซูล ท่านหญิง คอดิยะฮ์ มีความสามารถ ทางการค้า, การบริหาร, มนุษย์สัมพันธ์ และเป็นภรรยาที่ดีต่อท่านรอซูล และเป็นภรรยาที่ เป็นกำลังใจ ให้ ท่านรอซูล ในการ รับโองการจาก พระองค์อัลลอฮ์ (อัลกุรอาน)
ยังอีกนานกว่าที่ชายมุสลิมจะยอมรับรองสิทธิของ มุสลิมะ ทั้งนี้ เพราะว่า หลังจาก ท่านรอซูล เสียชีวิตไปแล้ว เราจะเห็นว่า ศาสนา อิสลาม แตกแยกออกเป็น กลุ่ม และ นิกายต่างๆ ตามแนวความคิด ของ นักปราชญ์ ทาง ศาสนา โดยใช้คำอ้างอิงว่า เคยเห็น หรือ เคย ได้ ยิน ท่านรอซูล กล่าวและปฏิบัติ เช่นนั้น เช่นนี้ และ ขบวนการอันนี้ ยังคงดำเนินอยู่มาจนถึง ปัจจุบันนี้ โดยใช้คำอ้างอิงต่อๆกันมา ลูกศิษย์ ของใครก็เชื่อในแนวทางที่อาจารย์ แต่ละท่านที่สอนพวกเขา มา
เพื่อให้เพศหญิงอยู่ใต้อำนาจของเพศชาย การสอนศาสนาจะใช้ศาสนามาเป็น เหตุผล ในการ บังคับ ให้ ผู้ หญิง อยู่ ในโอวาท ของ ตน ทั้ง นี้ ในการมีภรรยามากกว่า หนึ่ง คน โดย ไม่ เอาเหตุผลจาก อัลกุรอานแล้ว จะปกครอง ผู้หญิง โดยวิธีธรรมดา โดยความเสมอภาค ย่อมทำได้ยาก จึงใช้เหตุผลทางศาสนา มาบังคับ ตั้งแต่เรื่อง การรับผิดชอบ งาน ใน บ้าน การ เลี้ยง ลูก การ หลับ นอน ทุกอย่าง อยู่ ใน กฎเกณฑ์ ที่ ชายวางไว้ โดยเฉพาะ ในเรื่อง ของ การเคารพบูชา พระผุ้เป็นเจ้า ผู้หญิง จะถูกตัดสิทธิ ไม่เท่าเทียมชาย ทั้งนี้ เพราะว่า การมีรอบเดือน ทำให้ ไม่มีความสะอาด ในการประกอบกิจวัจทางศาสนา แม้แต่จับต้องอัลกุรอานเพื่อการศึกษา การห้ามมุสลิม ไม่ให้กราบบูชาพระเจ้า เนื่องจาก การมีรอบเดือน ไม่ มีบัญญัติ ไว้ในอัลกุรอาน ข้อห้ามในการทำละหมาด มีบ่งชัด ในอัลกุรอาน ในทุกๆ เรื่อง เว้น แต่ว่า ไม่มีบัญญัติ ในการ ห้าม เพศหญิง ทำละหมาด ข้อห้าม ดังกล่าว มนุษย์ ผู้ชาย ประดิษฐ์ ขึ้น เป็นส่วนหนึ่ง ของหลักการ ในศาสนา
ในอัลกุรอาน บัญญัติไว้ว่า เพศชาย เหนือ กว่า หญิง ในเรื่อง กาย ภาพ เท่านั้น ส่วนในเรื่อง สติ ปัญญา และ ความสามารถ และ การปฏิบัติศาสนกิจ มุสลิมทั้งหญิงและชาย มีความเสมอภาค กัน เช่นมนุษย์คนเดียวกัน
(ก่อนที่ผมจะกล่าวถึง อัมบิยาอ/7 ผมอยากขอความกรุณา ท่านผู้รู้ในที่นี้ ตรวจสอบ คำแปลของ สมาคมนักเรียนเก่าอรับ ว่าอาจจะ มีความผิดพลาดหรือไม่?)
ถ้าเราจะพิจารณา ซูเราะฮฺ อัลอัมบิยาอฺ ตั้ง แต่อายะ ที่ 1 ถึง อายะ ที่ 8 เราจะเห็นว่า ข้อความเป็นการ กล่าวเตือน มนุษย์ ให้รำลึกถึงวันปรโลกซึ่งกำลังจะใกล้เข้ามา พระองค์อัลลอฮ์ ได้ทรงส่ง บรรดาศาสนทูตท่านต่างๆ เพื่อนำ บัญญัติ ของพระองค์มายังมนุษย์ชาติ ทุกอย่างเป็น เรื่องที่ มนุษย์จะต้องใส่ใจ เพื่อความรับผิดชอบ ต่อการกระทำ ของตน ใน วันปรโลก
พระองค์ทรงอธิบายให้ มนุษย์ เข้าใจต่อ ไป ใน อายะ ที่ 7 และ อายะ ที่ 8 ว่า
และอัลลอฮตรัสว่า
وَمَا أَرْسَلْنَا قَبْلَكَ إِلاَّ رِجَالاً نُّوحِي إِلَيْهِمْ
และเราไม่ได้ส่งสิ่งผู้ใด มานอกจากบรรดา มนุษย์ ที่เราประทานโองการให้แก่เขา
คำว่า رِجَالاً ในอายะ ที่ 7 คงไม่ได้หมายถึง คนผู้ชาย แต่หมายถึง มนุษย์ ดังจะเห็นว่าพระองค์ อัลลอฮ์ ทรงอธิบาย ต่อ ในอายะที่ 8 ซูเราะห์เดียวกันนี้ว่า
وَمَا جَعَلْنَاهُمْ جَسَدًا لَّا يَأْكُلُونَ الطَّعَامَ وَمَا كَانُوا خَالِدِينَ
มีความหมายว่า ....และเราไม่ได้สร้างร่างกายของเขาเหล่านั้น ไม้ต้องกินอาหารและ มีชิวิตอยู่อย่างไม่มีวันตาย
ความหมายของอายะ ที่ 8 บอกไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่พระองค์ ส่ง มาเป็น รอซูล นั้น เป็น มนุษย์ เช่นเดียวกับเรา
อัลลอฮ์ ทรงอธิบายว่า บรรดารอซูลต่างๆที่พระองค์ทรงแต่งตั้งนั้น เป็นมนุษย์ ธรรมดาเช่นเดียวกับ เรา มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นเดียว กับ มนุษย์ ทั้งหลาย หมายความว่า รอซูล ทั้งหลาย ไม่ ได้ เป็น ผู้ วิเศษ หรือ มี อภินิหาร เหนือ มนุษย์ ธรรมดา บรรดารอซูลนั้น อยู่ภายใต้ กฎธรรมชาตที่พระองค์ ทรงสร้างขึ้น เช่นกัน
เหตุผลในการที่ว่า ผู้ชายจะต้องมีสิทธิทาง ความศรัทธา มากกว่าหรือ เหนือกว่าหญิง ทั้งนี้ เพราะว่า พระองอัลลอฮ์ ทรงแต่งตั้ง เพศชายให้เป็น รอซูล เท่านั้น จึง ไม่สามารถจะเอา ซูเราะฮฺ อัลอัมบิยาอฺ อายะ ที่7 มาสนับสนุนได้ ทั้งนี้ เพราะ ว่า อายะที่ 8 ของ ซูเราะห์ เดียวกัน อธิบายความหมายของ อายะ ที่ 7 ไว้อย่าง ชัดเจน
ผมอยากให้คุณ alislam กลับ เข้ามา สนทนา กับ ผู้ รู้ ทั้งหลายในที่นี้, ผม ไม่ใช่ผู้รู้ แต่ผม สนใจใน การใช้ เหตุผล จาก อัลกุรอาน เพื่อเข้า ใจ ศาสนาอิสลาม ผมหวังว่าท่านผู้รู้ทั้งหลาย คงจะ ช่วยหาเหตุผล จากบัญญัติในอัลกุรอาน และ อธิบาย ให้ ชัดเจน ได้ว่า เพราะเหตุใด ผู้หญิงจึง นำละหมาด หรือ เป็น ผู้นำ ของ เพศชาย ใน โลก มุสลิมไม่ได้
แมทท์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
อับดุรเราะฮ์มาน มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/02/2006 ตอบ: 56
|
ตอบ: Thu Jun 08, 2006 11:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มันคงพิลึกพิลั่นอยู่ไม่น้อยนะครับถ้าให้สตรีเป็นอิมาม ลองนึกดูนะครับถ้าวันใดที่นางเป็นเมนส์อะไรจะเกิดขึ้นคงจะแย่หน่อยละต้องหาอิมามกันใหม่ หรือยิ่งถ้ากำลังคุตบะฮ์วันศุกร์อยู่เกิดเลือดทะลักบนมิมบัรขึ้นมาละก็ โหย แค่นึกนะเนี่ย สยดสยองแทนเลย ยังอยากจะเป็นกันอีกหรือครับอิมามอะ
แสดงว่าไม่เข้าใจว่าตำแหน่งอิมามคืออะมานะฮ์ที่น่าสะพรึงกลัวที่สุด ไม่เห็นหรือไงครับว่าหลังจากที่ท่านนบีวะฟาตไปมีใครเสนอตัวอยากเป็นอิมามกันบ้าง มีไม้ครับว่าท่านอบูบักรอยากเป็นหรือท่านอุมัร อุษมาน อาลี อยากจะเป็นอิมาม น่าประหลาดใจที่เดี๋ยวนี้กลับกลายเป็นว่ามีแต่คนแย่งอยากจะเป็นอิมาม ที่บ้านผมใครได้เป็นอิมามแทบจะบ้าตาย ลูกญุมอะฮ์ทำดีก็เสมอตัวทำไม่ดีขึ้นมาก็โทษไปที่อิมาม ทั้งๆที่อิมามไม่ได้ทำ ผมเห็นแล้วผมยังสงสารแทนเลย
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|