ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เหลือเชื่อ !!! เสื้อเรารักนบีเป็นบิดอะห์
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เหลือเชื่อ !!! เสื้อเรารักนบีเป็นบิดอะห์
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 25, 26, 27  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Apr 22, 2006 11:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

وقال الشافعي : ما عدا الواجب والصدقة والدعاء والاستغفار , لا يفعل عن الميت , ولا يصل ثوابه إليه ; لقول الله تعالى : { وأن ليس للإنسان إلا ما سعى }

"ท่านอิมามชาฟิอีย์กล่าวว่า สิ่งที่อื่นจาก วายิบ(เช่นฮัจญฺ ศีลอด) การทำทาน (คุณอะสันบอกได้ไหมว่าการเลี้ยงอาหารไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากทำทาน) การขอดุอาอ์ และการอิสติฆฟาร นั้น จะไม่ถูกทำแทนให้กับมัยยิด และผลบุญก็จะไม่ไปถึงเขา เพราะอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้กระทำไว้เท่านั้น" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 373
..................
ตอบ

นี้ เอามาเป็นหลักฐาน ทำบุญเนื่องจากการตาย วัน 7 วัน หรือ คับ หลอกชาวบ้านเก่งจัง แล้วจริงๆเมื่อมีการตาย อิหม่ามชาฟิอีส่งเสริมแบบใหนล่ะครับ นายมุหัมหมัด
ท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮ เมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وَاُحِبُّ لِجِيْرَانِ الْمَيِّتِ اَوْذِيْ قَرَابَتِهِ اَنْ يَعْمَلُوْا لاَهْلِ الْمَيِّتِ فِىْ يَوْمِ يَمُوْتُ وَلَيْلَتِهِ طَعَامًا مَا يُشْبِعُهُمْ وَاِنَّ ذَلِكَ سُنَّةٌ
และข้าพเจ้าชอบให้เพื่อนบ้านมัยยิตและญาติใกล้ชิดของเขา ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ให้พวกเขากินให้อิ่ม ในวันและคืนที่เขาตาย และแท้จริง ดังกล่าวนั้น เป็นสุนนะฮ........ อัลอุม เล่ม 1 หน้า 247
.............
ทำไมท่านไม่กล่าวว่า "ข้าพเจ้าชอบให้ครอบครัวผู้ตายทำอาหารและเชิญโต๊ะอิหม่าม โต๊ะละบัยและผู้คนธรรมดา มารับประท่านอาหารร่วมกัน และจบลงด้วยการอ่านดุอาให้แก่ผู้ตาย... "และลงท้ายด้วยคำว่าสุนนะฮ แปลกดีนะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 23, 2006 12:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นายมุหัมหมัดอ้าง
อิบนุตัยมียะฮ์ตอบว่า
إذا هلل الإنسان هكذا : سبعون الفا، أو أقل أو أكثر وأهديت إليه نفعه الله بذلك، وليس هذا حديثا صحيحا ولا ضعيفا

"เมื่อคนหนึ่งได้ทำการกล่าว ตะฮ์ลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) เช่นนี้ 70000 ครั้ง หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้น แล้วดังกล่าวก็ถูกฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิด แน่นอน อัลเลาะฮ์จะให้ดังกล่าวมีผลประโยชน์แก่มัยยิด โดยที่หะดิษดังกล่าวนั้น ไม่ใช่หะดิษที่ซอฮิหฺ และฏออีฟ" ดู ฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 301
.....................
ตอบ
เอ้า..ไปกันใหญ่ แล้วไม่มีหะดิษ ยืนยัน มันจะเป็นศาสนาได้อย่างไรล่ะครับท่านมุหัมหมัด ก็บอกแล้วไงว่า ความเห็นที่ไม่มีหลักฐาน มันก็คือความเห็น มันมีถูก มีผิด
ส่วนหะดิษอ้างอิงคือ

หลักการฐานในการร่วมซิกรุลเลาะฮ์แบบล้อมวง

حدثنا أبو بكر بن أبي شيبة. حدثنا مرحوم بن عبدالعزيز عن أبي نعامة السعدي، عن أبي عثمان، عن أبي سعيد الخدري، قال:
خرج معاوية على حلقة في المسجد. فقال: ما أجلسكم؟ قالوا: جلسنا نذكر الله. قال: آلله! ما أجلسكم إلا ذاك؟ قالوا: والله! ما أجلسنا إلا ذاك. قال: أما إني ما أستحلفكم تهمة لكم. وما كان أحد بمنزلتي من رسول الله صلى الله عليه وسلم أقل عنه حديثا مني وإن رسول الله صلى الله عليه وسلم خرج على حلقة من أصحابه. فقال "ما أجلسكم؟ قالوا: جلسنا نذكر الله ونحمده على ما هدانا للإسلام، ومن به علينا. قال "آلله! ما أجلسكم إلا ذاك؟" قالوا: والله! ما أجلسنا إلا ذاك. قال "أما إني لم أستحلفكم تهمة لكم. ولكنه أتاني جبريل فأخبرني؛ أن الله عز وجل يباهي بكم الملائكة

" เล่ากับเรา โดย อบูบักร บิน อบี ชัยบะฮ์ เล่ากับเราโดย มัรหูม บิน อับดุลอะซีซฺ จาก อบี นะอามะฮ์ อัลสะอฺอีย์ จาก อบีอุษมาน จากท่านอบีสะอีด อัลคุดรีย์ เขากล่าวว่า ท่านมุอาวิยะฮ์ได้ออกมาที่ กลุ่มคนวงหนึ่งในมัสยิด แล้วท่านมุอาวิยะฮ์กล่าวว่า อะไรที่ทำให้พวกท่านนั่งอยู่หรือ? พวกเขากล่าวว่า เรานั่งโดยที่เราทำการซิกรุลลอฮ์ ท่านมุอาวิยะฮ์กล่าวว่า อัลเลาะฮ์! ไม่มีอะไรทำให้พวกท่านนั่งนอกจาก ดังกล่าวนั้นดอกหรือ? พวกเขากล่าวว่า อัลเลาะฮ์! ไม่มีอะไรที่ทำให้เรานั่งอยู่เว้นแต่สิ่งดังกล่าวนั้น ท่านมุอาวิยะฮ์กล่าวว่า พึงทราบเถิด แท้จริง ฉันไม่เคยขอการสาบานกับพวกท่าน อันเนื่องจากความสงสัยแก่พวกท่าน โดยที่ด้วยฐานะ(ทางเครือญาติ)ของฉัน จากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)แล้ว ไม่มีผู้ใดที่จะเล่าหะดิษจากท่านร่อซูลน้อยไปกว่าฉัน และแท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เคยออกไปยัง วงหนึ่ง จากบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน แล้วท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า อะไรที่ทำให้พวกท่านนั่งอยู่หรือ? บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวว่า เราได้นั่งเพื่อกล่าวซิกรุลเลาะฮ์ และทำการสรรญเสริญอัลเลาะฮ์ ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงชี้นำกับเราไปยังอิสลาม และสิ่งที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานแก่เรา ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า อัลเลาะฮ์! ไม่มีอะไรทำให้พวกท่านนั่งนอกจาก ดังกล่าวนั้นดอกหรือ? พวกเขากล่าวว่า อัลเลาะฮ์! ไม่มีอะไรที่ทำให้เรานั่งอยู่เว้นแต่สิ่งดังกล่าวนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า พึงทราบเถิด แท้จริง ฉันไม่เคยขอการสาบานกับพวกท่าน อันเนื่องจากความสงสัยแก่พวกท่าน แต่ยิ่งไปกว่านั้น ท่านญิบรีลได้มาหาฉัน แล้วบอกกับฉันว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงอวดยกย่องกับมะลาอิกะฮ์ด้วยกับพวกท่าน" ดู ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 2701

حدثنا محمد بن المثنى وابن بشار. قالا: حدثنا محمد بن جعفر. حدثنا شعبة. سمعت أبا إسحاق يحدث عن الأغر، أبي مسلم؛ أنه قال: أشهد على أبي هريرة وأبي سعيد الخدري أنهما شهدا على النبي صلى الله عليه وسلم؛
أنه قال "لا يقعد قوم يذكرون الله عز وجل إلا حفتهم الملائكة، وغشيتهم الرحمة، ونزلت عليهم السكينة، وذكرهم الله فيمن عنده

ท่านอิมามมุสลิม ได้รายงานว่า ได้เล่าวกับเราโดยมุหัมมัด บิน มุษันนา และ อิบนุ บัชชาร ทั้งสองกล่าวว่า ได้เล่ากับเราโดย มุหัมมัด บิน ญะฟัร ได้เล่ากับเราโดย ชัวะอฺบะฮ์ ฉันได้ยิน อะบาอิสฮาก ทำการเล่าจาก อัลอะฆ๊อรรฺ อบูมุสลิม เขากล่าวว่า ฉันขอเป็นพยานยืนยันว่า ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์และท่านสะอีดอัลคุฏรีย์ ซึ่งทั้งสองเป็นพยานยืนยันว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า " ไม่มีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มได้ ได้นั่งทำการซิกรุลเลาะฮ์ นอกจากว่า บรรดามะลาอิกะฮ์จะห้อมล้อมพวกเขา และความเมตตาก็แผ่คลุมกับพวกเขา และความสงบสุขก็ได้ลงมาบนพวกเขา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงกล่าวกับพวกเขา แก่ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์" ดู ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 2700

حدثنا محمد بن حاتم بن ميمون. حدثنا بهز. حدثنا وهيب. حدثنا سهيل عن أبيه، عن أبي هريرة،
عن النبي صلى الله عليه وسلم، قال "إن لله تبارك وتعالى ملائكة سيارة. فضلا. يتبعون مجالس الذكر. فإذا وجدوا مجلسا فيه ذكر قعدوا معهم. وحف بعضهم بعضا بأجنحتهم. حتى يملؤا ما بينهم وبين السماء الدنيا. فإذا تفرقوا عرجوا وصعدوا إلى السماء. قال فيسألهم الله عز وجل، وهو أعلم بهم: من أين جئتم؟ فيقولون: جئنا من عند عباد لك في الأرض، يسبحونك ويكبرونك ويهللونك ويحمدونك ويسألونك. قال: وماذا يسألوني؟ قالوا: يسألونك جنتك. قال: وهل رأوا جنتي؟ قالوا: لا. أي رب! قال: فكيف لو رأوا جنتي؟ قالوا: ويستجيرونك. قال: ومم يستجيرونني؟ قالوا: من نارك. يا رب! قال: وهل رأوا ناري؟ قالوا: لا. قال: فكيف لو رأوا ناري؟ قالوا: ويستغفرونك. قال فيقول: قد غفرت لهم. فأعطيتهم ما سألوا وأجرتهم مما استجاروا. قال فيقولون: رب! فيهم فلان. عبد خطاء. إنما مر فجلس معهم. قال فيقول: وله غفرت. هم القوم لا يشقى بهم جليسهم

ท่านอิมามมุสลิม ได้รายงานว่า ได้เล่ากับเรา โดยมุหัมมัด บิน หาติม บิน มัยมูน ได้เล่ากับเรา โดยบะฮฺซฺ ได้กล่าวกับเราโดยวุฮัยบฺ ได้เล่าวกับเราโดยซุฮัยล์ จากบิดาของเขา จากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ เล่าจากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า " แท้จริง อัลเลาะฮ์(ตะบาร่อกะวะตะอาลา) ทรงมีบรรดามะลาอิเกาะฮ์ที่ท่องเดินทางอยู่บนผืนแผ่นเดิน เป็นมะลาอิกะฮ์ที่เพิ่มขึ้นมา(นอกจากบรรดามะลาอิกะฮ์หะฟะเซฺาะฮ์ที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษา) ได้ทำการสืบเสาะแสวงหา สถานที่ต่างๆที่มีการซิกิร ดังนั้น เมื่อพวกเขาได้เจอสถานที่หนึ่ง ที่มีการซิกิร พวกเขาก็จะนั่งร่วมพร้อมกับพวกเขา(บรรดาผู้ที่ทำการซิกรุลเลาะฮ์) และบรรดามะลาอิกะฮ์ก็ต่างทำการห้อมล้อมด้วยปลีกของพวกเขา จนกระทั้งพวกเขาเต็ม(เพิ่มขึ้น)ในระหว่างพวกเขาและท้องฟ้า ดังนั้น เมื่อบรรดาผู้ทำากรซิกรุลเลาะฮ์ได้แยกย้าย บรรดามะลาอิกะฮ์จึงเดินทางขึ้นสู่ฟ้ากฟ้า" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "แล้วอัลเลาะฮ์ก็ถามกับพวกเขา - โดยที่พระองค์ทรงรู้ดียิ่งกับพวกเขา- ว่า พวกเจ้ามาจากใหนกัน? บรรดามะลาอิกะฮ์กล่าวว่า เราได้มาจาก ณ ที่บรรดาบ่าวของพระองค์ ที่อยู่ในผืนแผ่นดิน โดยที่พวกเขาได้ทำการกล่าวตัสบีหฺ(กล่าวซุบหานัลเลาะฮ์) กล่าวตักบีร(อัลเลาะฮ์อักบัร) กล่าวตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮ่าอิลลัลลอฮ์) กล่าวตะหฺมีด(อัลหัมดุลิลลาฮ์) และทำการวอนขอต่อพระองค์" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า "แล้วอะไรที่พวกเขาได้วอนขอกับฉัน? " บรรดามะลาอิกะฮ์ตอบว่า "พวกเขาได้ขอพระองค์ กับสรวงสวรรค์ของพระองค์" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า "แล้วพวกเขาเคยเห็นสรวงสวรรค์ของฉันหรือไม่ล่ะ?" มะลาอิกะฮ์ตอบว่า ไม่เคย โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา! " อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามต่อว่า "แล้วอย่างไรเล่า หากพวกเขาได้เห็นสรวงสวรรค์ของฉัน?" มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า "และพวกเขาก็ทำการขอความคุ้มครองกับพระองค์" พระองค์ทรงตรัสถามว่า "พวกเขาขอความคุ้มครองฉันจากอะไร? มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า "จากไฟนรกของพระองค์ โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา!" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า "แล้วพวกเขาเคยเห็นไฟนรกของฉันหรือไม่ล่ะ?" มะลาอิกะฮ์ตอบว่า ไม่เคย " อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามต่อว่า "แล้วอย่างไรเล่า หากพวกเขาได้เห็นไฟนรกของฉัน?" มะลาอิกะฮ์ตอบวา "พกเขาก็ทำการอิสติฆฟารต่อพระองค์" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า "ฉันได้อภัยแก่พวกเขาแล้ว แล้วฉันก็ได้ให้สิ่งที่พวกเขาได้ขอ และจะปกป้องสิ่งที่พวกเขาได้ขอความคุ้มครอง" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "แล้วมะลาอิกะฮ์ได้กล่าวว่า โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา ในพวกเขา(ที่ทำการซิกิรุลเลาะฮ์)นั้น มีคนหนึ่งที่เป็นบ่าวผู้กระทำผิด โดยที่เขาได้เดินผ่านมา แล้วก็นั่งร่วมด้วยกับพวกเขา" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสว่า ฉันอภัยให้แก่เขาแล้ว โดยที่บรรดาพวกที่ทำการซิกิรนั้น ผู้ที่นั่งร่วมด้วยก็จะไม่อับโชค ด้วยกับพวกเขา(ที่ทำการนั่งซิกิร) " ดู ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่
....................
แล้วตรงใหนล่ะครับ ที่เป็นหลักฐาน การกินบุญคนตาย 3 วัน 7 วัน พร้อมกับซิกิรอุทิศผลบุญแก่มัยยิต ท่านนบี ศอลฯ ทำไว้หรือเปล่า และเศาะหาบะฮท่านใดที่ซิกีร ล้อมวง อุทิศส่วนบุญให้ผู้ตาย ที่บ้านมัยยิต หลอกชาวบ้านอีกแล้ว มุหัมหมัด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Sun Apr 23, 2006 3:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อะสันกล่าวว่า

وقال الشافعي : ما عدا الواجب والصدقة والدعاء والاستغفار , لا يفعل عن الميت , ولا يصل ثوابه إليه ; لقول الله تعالى : { وأن ليس للإنسان إلا ما سعى }

"ท่านอิมามชาฟิอีย์กล่าวว่า สิ่งที่อื่นจาก วายิบ(เช่นฮัจญฺ ศีลอด) การทำทาน (คุณอะสันบอกได้ไหมว่าการเลี้ยงอาหารไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากทำทาน) การขอดุอาอ์ และการอิสติฆฟาร นั้น จะไม่ถูกทำแทนให้กับมัยยิด และผลบุญก็จะไม่ไปถึงเขา เพราะอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้กระทำไว้เท่านั้น" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 373
..................
ตอบ

นี้ เอามาเป็นหลักฐาน ทำบุญเนื่องจากการตาย วัน 7 วัน หรือ คับ หลอกชาวบ้านเก่งจัง แล้วจริงๆเมื่อมีการตาย อิหม่ามชาฟิอีส่งเสริมแบบใหนล่ะครับ นายมุหัมหมัด
และคุณอะสันก็กล่าวอีกว่า
แล้วตรงใหนล่ะครับ ที่เป็นหลักฐาน การกินบุญคนตาย 3 วัน 7 วัน พร้อมกับซิกิรอุทิศผลบุญแก่มัยยิต ท่านนบี ศอลฯ ทำไว้หรือเปล่า และเศาะหาบะฮท่านใดที่ซิกีร ล้อมวง อุทิศส่วนบุญให้ผู้ตาย ที่บ้านมัยยิต หลอกชาวบ้านอีกแล้ว มุหัมหมัด

ผมขอกล่าวว่า

อะสันเป็นเอามากถึงขนาดนี้ ตอนนี้คุณอะสันไปใหนไม่รอด ก็เลยบังคับให้พวกเรายึดคำพูดของอิมามชาฟิอีย์เท่านั้น เพื่อสนทนาแก้โง่ไปวันๆ หากไม่มีถือว่าบิดอะฮ์หลอกลวงชาวบ้าน ซุบหานัลลอฮ์ มันเป็นเอามาก คุณอะสันเข้าใจการตามมัซฮับชาฟิอีย์หรือเปล่าครับ?? กรุณากลับไปดูเรื่องมัซฮับที่เราสนทนากันนะครับ คุณอะสันตามสะละฟุศศอลิหฺใหมครับ?? คุณอะสันต้องตอบว่า "ตามซิ" แล้วท่านอุมัรสั่งเสียให้เลี้ยงอาหาร 3 วัน และบรรดาซออาบะฮ์ชอบรักที่จะเลี้ยงอาหารและให้อาหาร 7 วัน ล่ะครับ เอาไปทิ้งไว้ใหน?? และการกระทำของบรรดาซอฮาบะฮ์นี้ ก็ไม่ได้ขัดกับหะดิษนบีเลย เนื่องจากมันเป็นเรื่องซอดาเกาะฮ์เป็นทานในการเลี้ยงอาหาร บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่ได้เลี้ยงกับพวกที่มานั่งปลอบใจ นี่ครับ ซึ่งมันคนละเรื่องกัน

คุณ ยกคำกล่าวของท่านอิบนุกุดดามะฮ์มานิดเดียว แล้วมาถามว่า "นี้หรือคือหลักฐานการทำบุญ 7 วัน และ 3 วัน กร๊ากๆ ทำไมคุณถึงเป็นเอามากถึงขนาดนี้ล่ะครับคุณอะสัน ทำไมไม่ยกรายละเอียดมาทั้งหมดล่ะครับ ท่านนบีบอกว่า "พวกท่านจงละหมาดเหมือนกับที่เห็นฉันละหมาด" แล้วใหนล่ะครับ ที่นบีบอกให้ ตักบีร อ่านฟาติหะฮฺ สุยูด คุณก็ต้องไปศึกษาหลักฐานอื่นๆอีกที่ท่านนบีบอกไว้ ประเด็นนี้ก็เช่นเดียวกัน ยกทัศนะของอิมามชาฟิอีย์มานิดเดียว แล้วโวยวายว่า ใหนล่ะ หลักฐานที่ให้ทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทาน 7 วัน และ 3 วัน ทำไมถึงยกมาให้หมดคุณอะสัน

----------

กรณีทำบุญบ้านคนตายนั้น เป็นประเด็นที่สร้างความกระด้างกระเดื่องในบรรดพี่น้องมุสลิมด้วยกัน อันเนื่องจากการมีทัศนะที่แตกต่างกันและไม่มีความเข้าใจกันนั่นเอง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เราน่าจะมาสร้างความเข้าใจกันและกันในหมู่พี่น้องมุสลิม และพยายามชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การรวมตัวบ้านมัยยิดเพื่อทำการปลอบใจไว้อาลัยและครอบมัยยิดต้องทำอาหารเลี้ยงให้ตามลำพังนั้นเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริม ซึ่งแตกต่างกับ สิ่งที่พี่น้องมุสลิมบ้านเรากระทำอยู่จากการทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์ คือไปรวมตัวกันเพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน ซิกรุลเลาะฮ์ กล่าวตะฮ์ลีล อิสติฆฟาร และทำการดุอาอ์ให้แก่มัยยิด โดยที่บรรดาพี่น้องมุสลิมได้ช่วยเหลือกันทำอาหารให้แก่ครอบมัยยิด ซึ่งสิ่งดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นผลประโยชน์แก่ผู้ตายอย่างแท้จริง ฉะนั้น ข้อแตกต่างนี้เราจึงสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนและอย่าเอาไปเหมารวมกัน

1- ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวไว้รายงาน จากท่าน อะหฺมัด บิน มะนีอฺ ซึ่งเขาได้กล่าวรายงานไว้ใน มุสนัดของเขาว่า

عن الأحنف بن قيس قال : كنت أسمع عمر يقول : لا يدخل أحد من قريش فى باب إلا دخل معه ناس ، فلا أدرى ما تأويل قوله حتى طعن عمر فأمر صهيبا أن يصلى بالناس ثلاثا ، وأمر أن يجعل للناس طعاما فلما رجعوا من الجنازة جاءوا وقد وضعت الموائد ، فأسك الناس عنها للحزن الذى هم فيه فجاء العباس بن عبد المطلب ، فقال : ياأيها الناس قد مات...الحديث

" รายงานจากอะหฺนัฟ บิน กัยซฺ เขากล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอุมัรกล่าวว่า "คนหนึ่งจากกุร๊อยช์ จะไม่เข้าในประตูหนึ่ง นอกจากว่า ต้องมีผู้คนเข้ามาพร้อมกับเขาด้วย" ดังนั้น ฉันจึงไม่รู้ถึงการตีความคำพูดของท่านอุมัร จนกระทั้ง ท่านอุมัรได้ถูกลอบแทง แล้วท่านอุมัรจึงใช้ให้ ท่านซุฮัยบ์ ทำการนำละหมาด(ญะนาซะฮ์)สามรอบด้วยกัน และท่านอุมัรก็ใช้ให้เขาทำอาหารให้แก่บรรดาผู้คน ดังนั้น ในขณะที่ผู้คนได้กลับมาจาก(ฝัง)ญะนะซะฮ์ พวกเขาก็กลับมา โดยมีบรรดสำหรับอาหารวางอยู่แล้ว แต่บรรดาผู้ตนก็งดที่จะรับประทานนั้น อันเนื่องจากความโศรกเศร้าที่พวกเขาเป็นอยู่ ดังนั้นท่าน อัลอับบาส บิน อบูฏอลิบ ก็มา แล้วกล่าวว่า โอ้บรรดาผู้คนทั้งหลาย แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้เสียชีวิตไปแล้ว....." สายรายงาน "หะซัน" ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 198 หะดิษที่ 709

ท่าน มุหัดดิษ ชัยค์ หะบีบ อัร-เราะหฺมาน อัล-อะซ่อมีย์ กล่าว วิจารณ์ว่า หะดิษนี้ สายรายงาน หะซัน (ดี) ท่านอัลบูซิรีย์ กล่าวว่า ในสายรายงานนี้ มี อลี บิน ซัยด์ บิน ญัดอาน และที่สมบูรณ์ของหะดิษนั้น คือ.... ท่าน อัลอับบาส บิน อบีฏอลิบกล่าวว่า

فقال يا أيها الناس قد مات رسول الله عليه وسلم فأكلنا بعده وشربنا ومات أبو بكر فأكلنا بعده وشربنا أيها الناس كلوا من هذا الطعام فمد يده ومد الناس أيديهم فأكلوا فعرفت تأويل قوله ) كذا فى الإتحاف

" ดังนั้น ท่านอัล-อับบาส บิน อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า โอ้บรรดาผู้คนทั้งหลาย แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว แล้วเราก็ทำการรับประทานและดื่มหลังจากนั้น และท่านอบูบักร ก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว และเราก็ทำการรับประทานและดื่มหลักจากนั้น โอ้บรรดาผู้คนทั้งหลาย พวกท่านจงรับประทานจากอาหารนี้เถิด ดังนั้น ท่านอับบาสก็ยื่นมือของท่าน และบรรดาผู้คนที่ยื่นมือของพวกเขา แล้วก็พวกเขาก็ทำการรับประทาน ดังนั้น ฉัน (คือ อัลอะหฺนัฟ บิน ก๊อยซฺ) จึงรู้การตีความคำพูดของท่านอุมัร" และได้รายงานเช่นเดียวกันนี้ อยู่ในหนังสือ อัลอิตหาฟ " ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 198 - 199 (ที่บอกว่า สามวันนั้น เพราะเมื่อมีคนเข้ามาที่ประตูเพื่อมาเยี่ยมหรือเป็นแขก ชาวกุร๊อชจะเลี้ยง 3 วันด้วยกันและท่านอุมัรก็ได้ใช้ให้ซุฮัยบฺทำอาหารเลี้ยงตามที่กุร๊อยช์ทำกัน คือ 3 วัน ซึ่งมันเป็นแบบอย่างที่ดี ท่านอุมัรใช้ท่านซุฮัยบฺครับ ไม่ได้ใช้ครอบครัวของท่าน เข้าใจด้วย และท่านซุฮัยบฺเอง ก็ไม่มีลูกมีเมีย แต่ท่านเป็นผู้ที่ชอบเลี้ยงอาหารเป็นนิจสินเป็นที่รู้กันในหมู่ซอฮาบะฮ์ และบ้านเราก็จะช่วยลงเงินกันทำอาหารให้ครอบครัวมัยยิดเป็นอันดับแรกเช่นกัน โปรดเข้าใจด้วย )

2- ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้ทำการรายงาน จากท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ท่านอะหฺมัด ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัซซุอฮ์ดฺ ว่า

سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام

" ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ท่าน ชัยค์ อัลอะซ่อมีย์กล่าวว่า สายรายงานหะดิษนี้ قوى (มีน้ำหนัก) หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 199

ท่านอัล-หาฟิซฺอิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวว่า " ได้มีสายรายงานที่ซอฮิหฺเช่นกัน จากท่าน ฏอวูส ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ได้ทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิด ใน 7 วันดังกล่าว และคำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวของตาบิอีย์ ว่าบรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำสิ่งดังกล่าว และในคำกล่าวของตาบิอีย์นี้ ได้มีอยู่ 2 ทัศนะด้วยกันจากคำกล่าวของนักปราชญ์หะดิษและอุซูลุลฟิกห์

1. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ (คือท่านฏอวูส) อยู่ในบทการรายงานที่ มัรฟั๊วะ คือไปถึงสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งความหมายของมันก็คือ บรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหลายได้กระทำการเลี้ยง(ให้)อาหาร ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) โดยที่ท่านร่อซูลทราบในสิ่งดังกล่าว หรือถูกบอกให้ทราบต่อท่านนบี(ซ.ล.)

2. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ผคือท่านฏอวูส) อยู่ในเรื่องของการอ้างถึงบรรดาซอฮาบะฮ์เท่านั้น โดยไม่ถึงท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อเป็นเช่นนี้ ถึงถูกกล่าวว่า คำกล่าวของตาบีอีย์(คือท่านฏอวูส) เป็นการบอกเล่าจากบรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหมด ดังนั้น คำกล่าวของท่านฏอวูสนี้จึงเป็นการ ถ่ายทอดถึงมติของบรรดาซอฮาบะฮ์ และบางทัศนะกล่าวว่า ถ่ายทอดเพียงบางส่วนของซอฮาบะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่อิมามอันนะวาวีย์ได้ให้น้ำหนักเอาไว้ใน ชัรหฺมุสลิม และอิมามอัรรอฟิอีย์ ได้กล่าวเช่นเดียวกับคำนี้ ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ การเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น เป็นสิ่งที่แพร่หลายในสมัยของซอฮาบะฮ์ดังกล่าว โดยไม่ได้ถูกตำหนิแต่ประการใด...หากท่านกล่าวว่า เพราะเหตุใด การเลี้ยง(ให้)อาหารถึงต้องทำซ้ำกันถึง 7 วัน โดยที่ไม่ต้องอ่านตัลกีน 7 วัน ฉันขอกล่าวว่า เพราะผลประโยชน์ของการเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น มันมีประโยชน์สูงกว่าและแผ่ไปถึงมัยยิดได้มากกว่า เพราะการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิดนั้น เป็น ซ่อดาเกาะฮ์(บริจาคทาน) ซึ่งมันเป็น สุนัติ โดยมติเอกฉันท์... " ดู หนังสือ อัล-ฟะตาวา อัล-ก๊อบรอ อัลหะดีษะฮ์ ของท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ เล่ม 2 หน้า 30 - 31

ดังนั้น การทำบุญ ก็คือ การเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์แก่มัยยิดนั่นเอง และบรรดาพี่น้องมุสลิมก็รวมตัวกันทำการอ่านอัลกุรอาน ซิกรุลเลาะฮ์ กล่าวตะฮ์ลีล อิสติฆฟาร และทำการดุอาอ์ให้แก่มัยยิด ซึ่งดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์และผลบุญถึงไปยังมัยยิด อินชาอัลเลาะฮ์
ท่านอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมัจญฺมั๊วะของท่านว่า

أجمع المسلمون على أن الصدقة عن الميت تنفعه وتصله

"บรรดามุสลิมีน ได้อิจญฺมติว่า การทำทานแก่มัยยิดนั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่มัยยิดและผลบุญถึงกับมัยยิด" ดู มัจญฺมั๊วะ เล่ม 5 หน้า 209

ท่าน อิบนุ กุดามะฮ์ กล่าวไว้ในหนังสือมุฆนีย์ของท่านว่า

[ ص: 225 ] فصل : وأي قربة فعلها , وجعل ثوابها للميت المسلم , نفعه ذلك , إن شاء الله , أما الدعاء , والاستغفار , والصدقة , وأداء الواجبات , فلا أعلم فيه خلافا , إذا كانت الواجبات مما يدخله النيابة , وقد قال الله تعالى : { والذين جاءوا من بعدهم يقولون ربنا اغفر لنا ولإخواننا الذين سبقونا بالإيمان } . وقال الله تعالى : { واستغفر لذنبك وللمؤمنين والمؤمنات }

" ไม่ว่าอิบาดะฮ์ใด ที่ทำมันขึ้นมา และทำการมอบผลบุญของมันให้แก่มัยยิดมุสลิมนั้น ดังกล่าวย่อมได้รับผลประโยชน์กับมัยยิด อินชาอัลเลาะฮ์ สำหรับการขอดุอาอ์ อิสติฆฟาร การทำทาน และการปฏิบัติสิ่งที่วายิบ เมื่อมันเป็นสิ่งวายิบสามารถทำแทนกันได้ (เช่นทำฮัจญฺแทนมัยยิด) ดังนั้น ฉันจึงไม่ทราบเลย ว่าในกรณีดังกล่าวนั้น มีการขัดแย้งกันเลย เพราะอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "และบรรดาบุคคลที่มาหลังจากพวกเขานั้น พวกเขาก็จะกล่าวว่า โอ้ ผู้อภิบาลของเรา พระองค์โปรดอภัยให้แก่เรา และแก่บรรดาพี่น้องของเรา ศรัทธาผ่านมาก่อนเราแล้ว " และพระองค์ทรงตรัสอีกว่า "ท่านจงขออภัยโทษให้กับบาปของเข้า และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหญิงและชาย" ดู หนังสือ มุฆนีย์ ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ เล่ม 3 หน้า 369

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า

وروى عمرو بن شعيب , عن أبيه , عن جده , { أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال لعمرو بن العاص : لو كان أبوك مسلما , فأعتقتم عنه , أو تصدقتم عنه , أو حججتم عنه , بلغه ذلك } . وهذا عام في حج التطوع وغيره , ولأنه عمل بر وطاعة , فوصل نفعه وثوابه , كالصدقة والصيام والحج الواجب

"รายงาน โดยอัมร์ บิน ชุอัยบ์ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา ว่า แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวแก่ อัมร์ บิน อัลอาซ ว่า หากบิดาของท่านเป็นมุสลิม แล้วพวกท่านก็ทำการปล่อยทาสแทนให้กับเขา หรือทำการทานให้แก่เขา หรือทำฮัจญฺแทนจากเขา แน่นอนว่า ดังกล่าวย่อมไปถึงเขา " หลักฐานนี้ ย่อมครอบคลุมถึงเรื่องทำฮัจญฺสุนัตและอื่นๆ และเพราะว่า มันเป็นการปฏิบัติในเรื่องความดีงาม และการภักดี ดังนั้น ผลบุญและผลประโยชน์ย่อมไปถึงมัยยิด เช่นการทำทาน การถือศีลอด การทำฮัจญฺวายิบ " ดู หนังสือ มุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 372

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า

وقال الشافعي : ما عدا الواجب والصدقة والدعاء والاستغفار , لا يفعل عن الميت , ولا يصل ثوابه إليه ; لقول الله تعالى : { وأن ليس للإنسان إلا ما سعى }

"ท่านอิมามชาฟิอีย์กล่าวว่า สิ่งที่อื่นจาก วายิบ(เช่นฮัจญฺ ศีลอด) การทำทาน (คุณอะสันบอกได้ไหมว่าการเลี้ยงอาหารไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากทำทาน) การขอดุอาอ์ และการอิสติฆฟาร นั้น จะไม่ถูกทำแทนให้กับมัยยิด และผลบุญก็จะไม่ไปถึงเขา เพราะอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้กระทำไว้เท่านั้น" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 373

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าอีกว่า

وأنه إجماع المسلمين ; فإنهم في كل عصر ومصر يجتمعون ويقرءون القرآن , ويهدون ثوابه إلى موتاهم من غير نكير

" แท้จริง มันเป็นมติของบรรดามุสลิมีน เนื่องจากแท้จริง พวกเขาเหล่านั้น ในทุกสมัยและทุกเมือง ก็ได้รวมตัวกัน และทำการอ่านอัลกุรอานกัน และก็ทำการฮาดิยะฮ์ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยที่ไม่ได้รับการตำหนิแต่ประการใด" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 373

ท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ (ศิษย์ของอิบนุตัยมียะฮ์) กล่าวไว้ว่า

وأى قرب فعلها من دعاء واستغفار وصلاة وصوم وحج وقراءة وغير ذلك وجعل ثواب ذلك للميت المسلم نفعه ذلك . قال أحمد : الميت يصل إليه كل شيء من الخير للنصوص الواردة فيه ولأن المسلمين يجتمعون فى كل مصر ويقرؤون ويهدون لموتاهم من غير نكير، فكان ذلك إجماعا وكالدعاء والإستغفار حتى لو اهداها للنبى صلى الله عليه وسلم، جاز ووصل اليه الثواب، ذكره المجد

" ไม่ว่าอิบาดะฮ์ใด ที่กระทำขึ้นมา จากการดุอา อิสติฆฟาร การละหมาด การถือศีลอด การทำฮัจญฺ การอ่านอัลกุรอาน และอื่นๆจากสิ่งดังกล่าว และเอาผลบุญดังกล่าวนั้น มอบแก่มัยยิดมุสลิม เขาย่อมได้รับผลประโยชน์จากสิ่งดังกล่าว ท่านอิมามอะหฺมัด กล่าวว่า ผู้ตายนั้น (ผลบุญ)จากถึงไปยังเขา กับทุกๆสิ่ง จากความดี เพราะมีบรรดาตัวบทได้รายงานเกี่ยวกับมัน . และเพราะบรรดามุสลิมีนในทุกเมือง ได้ทำการรวมตัวกัน และพวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน และพวกเขาก็ทำการฮะดียะฮ์(มอบผลบุญ)ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยไม่ได้รับการตำหนิเลย ดังนั้น ดังกล่าวย่อมเป็นมติ(อิจญฺมาอ์) และเช่นการขอดุอา และการอิสติฆฟาร นั้น หากแม้ว่า จะฮาดิยะฮ์มอบแก่ท่านร่อซูล(ซ.ล.) ก็ถือว่าอนุญาติ และผลบุญก็ถึงไปยังท่าน . ได้กล่าวมันโดยท่านอัลมุจญฺ" ดู หนังสือ อัลมุบดิอ์ ชัรหฺ อัลมุกเนี๊ยะอฺ ของท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ เล่ม 2 หน้า 254
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า

واما ما يصنع للميت ويصل اليه باتفاق العلماء وهو الصدقة ونحوها فاذا تصدق عن الميت بذلك المال لقوم مستحقين لوجه الله تعالي ، ولم يطلب منهم عملا أيضا ، كان نافعا للميت وللحى يتصدق عنه باتفاق العلماء

“สำหรับ สิ่งที่ถูกทำขึ้น ให้กับมัยยิด โดยที่ผลบุญก็ถึงมัยยิด โดยมติของปวงปราชน์ และสิ่งที่ถูกทำให้แก่มัยยิดนั้น คือ การทำทาน และอื่นๆ ดังนั้น เมื่อทรัพย์ดังกล่าวที่ทำทานให้กับมัยยิด กับกลุ่มชนที่มีสิทธิ์จะได้รับ(คือบรรดามุสลิมีน) เพื่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา โดยที่ไม่ได้มีความต้องการจากพวกเขากับการกระทำ(ทำทาน)เช่นเดียวกัน มันก็เป็นผลประโยชน์ให้กับมัยยิด และอนุญาตให้กับคนเป็น ทำการทำทานแทนมัยยิด โดยมติของปวงปราชญ์ "ดู ริซาละฮ์ อิฮฺดาอ์ อัษษะวาบ ลิลนะบีย์(ซ.ล.) และมะอาฮา มะซาอิล ฟีอิหฺดาอ์ อัลกุรุบาต ลิลอัมวาต ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า 142 ตีพิมพ์ที่ อัฏวาอ์ อัสสะลัฟ

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวอีกว่า

وأما الأكل من الطعام ، فان كان قد صنعه الوارث من ماله لم يحرم الأكل منه..إلخ

“ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น หากว่าทายาทได้กระทำ(ปรุง)มันขึ้นมาจากทรัพย์สินของพวกเขา ก็ไม่หะรอมที่จะรับประทานจากมันและหาก(ทำทาน)สิ่งที่ถูกทำขึ้น จากมรดของมัยยิดโดยที่มัยยิดเองยังมีหนี้อยู่ที่ยังไม่ได้ชดใช้และมัยยิดก็มีทายาทที่เป็นเด็กที่ดังกล่าวเป็นสิทธิของพวกเขานั้น ก็จะกินไม่ได้ “ ริซาละฮ์ อิฮฺดาอ์ อัษษะวาบ ลิลนะบีย์(ซ.ล.) และมะอาฮา มะซาอิล ฟีอิหฺดาอ์ อัลกุรุบาต ลิลอัมวาต ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า 143 ตีพิมพ์ที่ อัฏวาอ์ อัสสะลัฟ

อิบตัยมียะฮ์ได้ถูกถามเกี่ยวกับ ผู้ที่กล่าว ตะฮ์ลีล ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ 70000 ครั้ง แล้ว ฮะดียะฮ์มอบผลบุญให้แก่มัยยิด โดยที่มัยยิดจะพ้นจากไฟนรกน้น เป็นหะดิษที่ซอเฮี๊ยะหฺหรือไม่? และผู้ที่ทำการกล่าวตะฮฺลีล และฮะดียะฮ์มอบผลบุญให้แก่มัยยิดนั้น ผลบุญจะไปถึงเขาหรือไม่ ?

อิบนุตัยมียะฮ์ตอบว่า

إذا هلل الإنسان هكذا : سبعون الفا، أو أقل أو أكثر وأهديت إليه نفعه الله بذلك، وليس هذا حديثا صحيحا ولا ضعيفا

"เมื่อคนหนึ่งได้ทำการกล่าว ตะฮ์ลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) เช่นนี้ 70000 ครั้ง หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้น แล้วดังกล่าวก็ถูกฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิด แน่นอน อัลเลาะฮ์จะให้ดังกล่าวมีผลประโยชน์แก่มัยยิด โดยที่หะดิษดังกล่าวนั้น ไม่ใช่หะดิษที่ซอฮิหฺ และฏออีฟ" ดู ฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 301

อิบนุตัยมียะฮ์กล่าวอีกว่า

يصل إلى الميت قرأءة أهله وتسبيحهم وتكبيرهم، وسائر ذكرهم لله تعالى ، إذا أهدوه الى الميت وصل إليه . والله أعلم

"ผลบุญการอ่านอัลกุรอานของครอบครัวมัยยิด และตัสบีหฺ การกล่าวตักบีร และบรรดาซิกรุลเลาะฮ์อื่นๆ จะถึงมัยยิด ดังนั้น เมื่อพวกเขาได้ทำการฮะดียะฮ์มอบให้แก่มัยยิด ผลบุญก็จะไปถึงเขา" ดูฟีตวา อิบนุ ตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 302


ท่านผู้อ่านครับ จากรายละเอียดที่ผมได้นำเสนอมานั้น ก็ทำให้รู้ถึงความสำคัญของญาติพี่น้องของเรา ซึ่งหากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต ก็ให้เราให้การช่วยเหลือ โดยการทำอาหารให้กับครอบมัยยิดเป็นอันดับแรก และหากจะทำการช่วยเหลือครอบมัยยิดมากกว่านั้น โดยมีระบบแบบแผนที่ดีในการร่วมมือกันช่วยเหลือตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น ก็จะเป็นการดียิ่งสำหรับผู้ที่สมัครใจครับ พี่น้องวะฮาบีย์ครับ ปัญหาข้อปลีกย่อยเหล่านี้ สมควรที่จะมีความใจกว้าง หากต่างฝ่ายก็มีหลักฐานที่ตนกระทำ การตะอัศศุบในทัศนะของตนและหุกุ่มผู้ที่ไม่ได้อยู่ในทัศนะของตนนั้น ย่อมเป็นการละเมิดในเรื่องศาสนา และนั่นก็ไม่ใช่แบบฉบับของสะลัฟ และเราก็ช่วยกันตักเตือนผู้ที่กระทำสิ่งที่ผิดหลักการครับ วัลลอฮุอะลัม

-------

อ่านมันให้หมดและให้เข้าใจนะครับคุณอะสัน และนั่นก็คือหลักฐานของเรา หากคุณไม่ต้องการและไม่เอา เราก็ไม่ว่า แต่อย่ามาหุกุ่มใส่เรา และเอาหลักการของคุณมาละเมิดต่อเรา เพราะอย่างน้อย คุณก็ไม่กล้ากล่าวว่า "การที่คุณหุกุ่มเราทำบิดอะฮ์" นั้น เป็นเป้าหมายที่อัลเลาะฮ์ทรงต้องการ และเป็นหุกุ่มจากอัลเลาะฮ์

_________________
ต่อต้านวะฮาบีย์บิดอะฮ์พันธ์ใหม่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Sun Apr 23, 2006 4:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอะสันกล่าวว่า

มาดูความหมายของคำว่า “เศาะดะเกาะฮ”
عَطَاءً، أَيْ مَا يُعْطَى لِلْفُقَرَاءِ تَقَرُّباً لِلَّهِ وَرَجَاءً لِثَوَابِهِ.
การให้ หมายถึง สิ่งที่ถูกมอบให้แก่คนยากจน เพื่อให้ได้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ และหวังในการตอบแทนของพระองค์ –

ผมขอกล่าวว่า

การให้ทานอาหาร กับคนรวยมุสลิมด้วยนั้น เป็นบาปหรือครับ?? ไม่ได้บุญหรือครับ??? แล้วให้เนื้อกุรบานกับพวกกาเฟรตามทัศนะของวะฮาบีย์จะเอานั้น ได้บุญด้วยหรือเปล่าครับ ? ที่บอกว่าคนจนนั้น เพราะว่าคนจนเป็นผู้ที่ส่วนมากจะได้รับการเอ่ยถึง แต่คนรวยก็ไม่ได้ถูกห้ามแต่ประการใด ซึ่งมีหะดิษนบีได้ยืนยันการยอมรับเอาไว้ เกี่ยวกับเรื่องซอดาเกาะฮ์ ที่ให้กับคนรวยก็ได้ด้วย ซึ่งผมไม่ค่อยจำ แต่จะไปหามาให้ เพราะผมเคยอ่านผ่าน เฮอะๆๆ เนื้อกุรบานก็ประเคนให้พวกกาเฟรกันไปนะ แล้วมาต่อต้านผู้ที่ให้กับคนมุสลิมด้วยกัน เพราะไปเลี้ยงอาหารทำบุญเป็นทาน แง๊กๆ ไม่รู้ว่าหลักการวะฮาบีย์มันยังไงกัน คร๊ากๆๆ

คุณอะสันกล่าวว่า

ท่านอิบนุกอ็ยยิม(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
"ومعلوم أ نه لا حرام إلا ما حرمه الله ورسوله، ولا تأثيم إلا ما أثم الله ورسوله به فاعله، كما أنه لا واجب إلا ما أوجبه الله، ولا حرام إلا ما حرمه الله، ولا دين إلا ما شرعه الله، فالأصل في العبادات البطلان حتى يقوم دليل على الأمرِ، والأصل في العقود والمعاملات الصحة حتى يقوم دليل على النهي".

และเป็นที่รู้กันว่า แท้จริง ไม่เป็นสิ่งต้องห้าม นอกจาก สิ่งที่อัลลอฮและรซูลของพระองค์ได้ห้ามไว้ และไม่เป็นบาป นอกจากสิ่งที่อัลลอฮและรซูลของพระองค์ กล่าวว่า ผู้กระทำมันนั้น เป็นบาป ในทำนองเดียวกัน ไม่มีวาญิบ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ กำหนดให้มันเป็นวาญิบ ไม่มีหะรอม นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ ทรงห้ามมันเอาไว้ และ ไม่ใช่ศาสนา นอกจาก สิ่งที่อัลลอฮทรงบัญญัติมันไว้ หลักเดิมในเรื่อง อิบาดาต นั้น เป็นโมฆะ จนกว่าจะมีหลักฐานใช้ให้กระทำ และหลักเดิม ในเรื่อง การทำข้อตกลงกันและเรื่อง ธุรกิจสังคม นั้น ถูกต้อง(ใช้ได้) จนกว่าจะมีหลักฐานห้าม -

ผมขอกล่าวว่า

ทำไปทำมาก็ไม่พ้นอิบนุกอยยิม แล้วอิบนุกอยยิมกล่าวยอมรับในการอ่านตัลกีนมัยยิด คุณอะสันยอมรับคำกล่าวของอิบนุกอยยิมหรือเปล่าเอ่ย??? หรือจะเอาแต่สิ่งที่ตรงกับอารมณ์ของกู คร๊ากๆๆ ก็ดีครับ เมื่อคุณอะสันยกคำพูดของอิบนุกอยยิมมา ผมจะถามอะไรสักหน่อย

1. การทำบุญเป็นทาน 3 วัน และ 7 วัน นั้น อัลเลาะฮ์และร่อซูล ได้ห้ามไว้ชัดๆหรือไม่??

2. การทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทานไม่วายิบครับนี่ครับ เนื่องจาก อัลเลาะฮ์ได้ไม่กำหนดมาในเชิงบังคับใช่ไหมครับ?

3. คำว่า"คำสั่ง" นั้น มีทั้งคำสั่งที่ "คอซ" (เพฉาะเรื่อง) หรือ "มุกอยยัด" (จำกัดเฉพาะเรื่อง) และ แบบ"อาม" คำสั่งที่ครอบคลุม หรือ "มุฏลัก" คำสั่งแบบกว้างๆ การทำบุญเป็นทานซอดาเกาะฮ์นั้น เป็นคำสั่งแบบกว้างๆ เราจะทำบุญอะไรก็ได้ ที่เป็นความดี จะแจกทานเป็นเสื้อผ้า เป็นเงิน เป็นข้าวสาร หรือปรุงอาหารโดยเชิญคนรับประทาน ก็เป็นสิ่งที่อยู่ในความหมายกว้างๆของการทำทาน(ศอดาเกาะฮ์) การซิกรุลเลาะฮ์ ก็อยู่ใน"คำสั่ง" แบบกว้างๆ ซึ่งเราจะซิกรุลเลาะฮ์ด้วยคำใดก็ได้ หรือว่า ต่างคนต่างซิกรุลเลาะฮ์ก็ได้ หรือว่าเราจะซิกรุลเลาะฮ์แบบพร้อมๆกันเป็นระเบียบเรียบร้อยก็ได้ ซึ่งหากมันไม่ขัดกับหลักศาสนา ก็ถือว่าทำได้ครับ อย่าไปซิรุลเลาะฮ์ห้องน้ำก็แล้วกัน แบบนี้ย่อมมีปัญหาแน่ ดังนั้น หากว่าการซิกิรที่บ้านกระทำกันอยู่ อยู่ในรูปแบบที่ศาสนาห้ามนั้น วะฮาบีย์ก็ต้องยกหลักฐานมาเจาะจงในการห้าม หากไม่เช่นนั้นก็อย่าไปอุตริหุกุ่มหะรอมในสิ่งที่อัลเลาะฮ์ไม่ได้หะรอมมันไว้ แต่จะยกหลักฐานซิกิรเป็นวงจากท่านอิบนุมัสอูดนั้น มันหมดยุคแล้วครับ เพราะเรื่องมันแดงแย้วว...กร๊ากๆ

ดังนั้น "คำสั่งที่อยู่ในความหมายกว้างๆที่มาจากหลักการของศาสนานั้น" ย่อมกระทำได้ โดยต้องไม่มีรูปแบบที่ขัดกับศาสนา ซึ่งหากรูปแบบนั้นหะรอม ก็ต้องมีหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดิษมาระบุเฉพาะ ไม่ใช่ว่าจะมาหุกุ่มหะรอมกันเอง


คุณอะสันกล่าวว่า

อิบนุตัยมียะฮ์ตอบว่า
إذا هلل الإنسان هكذا : سبعون الفا، أو أقل أو أكثر وأهديت إليه نفعه الله بذلك، وليس هذا حديثا صحيحا ولا ضعيفا

"เมื่อคนหนึ่งได้ทำการกล่าว ตะฮ์ลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) เช่นนี้ 70000 ครั้ง หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้น แล้วดังกล่าวก็ถูกฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิด แน่นอน อัลเลาะฮ์จะให้ดังกล่าวมีผลประโยชน์แก่มัยยิด โดยที่หะดิษดังกล่าวนั้น ไม่ใช่หะดิษที่ซอฮิหฺ และฏออีฟ" ดู ฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 301
.....................
ตอบ
เอ้า..ไปกันใหญ่ แล้วไม่มีหะดิษ ยืนยัน มันจะเป็นศาสนาได้อย่างไรล่ะครับท่านมุหัมหมัด ก็บอกแล้วไงว่า ความเห็นที่ไม่มีหลักฐาน มันก็คือความเห็น มันมีถูก มีผิด


ผมขอกล่าวว่า

ฮ่าๆๆ ผมนึกว่าคุณอะสันมันจะเข้าใจคำพูดของ อิบนุตัยมียะฮ์ที่ผมยกมา คุณอะสันครับ อิบนุตัยมียะฮ์นั้นปฏิเสธหะดิษ แต่ไม่ปฏิเสธการอะมัล คือ กล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ 70000 ครั้งย่อมไม่หะรอม จะน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้นก็ไม่หะรอม และยิ่งไปกว่านั้น อิบนุตัยมีบอกว่า หากทำการฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิด ก็ย่อมถึงและมีผลประโยชน์แก่มัยยิด นั่งคือจุดมุ่งหมายของอิบนุตัยมียะฮ์ คุณอะสันครับ การกล่าว ตะฮ์ลีลนั้น กล่าวจำนวนเท่าไหร่หรือครับ ถึงจะหะรอม??? กล่าว หนึ่งล้านครั้งหะรอมใหมครับ ?? กล่าวหนึ่งหมื่นครั้ง บิดอะฮ์ใหมครับ ซึ่งการซิกิรนี้ มันอยู่คำสั่งในรูปแบบกว้างๆ จะกล่าวกันกี่ครั้งก็ได้ตามสะดวก อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า "พวกเจ้าทั้งหลายจงซิรุลเลาะฮ์กับการซิรุลเลาะฮ์ให้มากๆ" ดังนั้น เราจะกล่าวเท่าไหร่ก็กล่าวไปเลยครับ ดีกว่าไปกล่าวหุกุ่มผู้อื่นทำบิดอะฮ์เพราะล้องวงซิกรุลเลาะฮ์ ฮ่าๆๆ

แล้วคุณอะสันจอมหุกุ่มบิดอะฮ์กับพี่น้องมุสลิม เข้าใจหลักการของศาสนาบ้างแล้วหรือยังครับ???

Laughing Laughing Laughing Laughing Confused Confused Confused

_________________
ต่อต้านวะฮาบีย์บิดอะฮ์พันธ์ใหม่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Sun Apr 23, 2006 6:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เออ...ถ้าเป็นคนอะวาม หรือชาวบ้านทั่วไป ไม่รู้จักแยกจำแนก ก็น่าเห็นใจ เพราะเขาไม่ได้เรียน

แต่นายมุหัมมัดนี่ พ่อแม่ส่งข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนเมืองนอกเมืองนา ได้อ่านเขียนภาษาอรับได้กลายเป็นคนอะเล่ม แถมยังไม่เบลอซะด้วย รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด อันไหนเติม อันไหนตัดต่อ


แต่แปลกนะ รู้ของจริงแต่เอาของจริงซุกไว้ ดันเอาของเท็จมาใช้

อ้อ..แล้วหาพวก ถ้าข้าไปนรกเอ็งก็ไปด้วยกันละนะ

ถ้าเรียนแล้วแต่ยังใช้วิธีของคนยะเฮ แล้วจะไปเรียนให้อะเล่มทำไม ฮ่าๆๆๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 23, 2006 10:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มุหัมหมัดกล่าวว่า
แล้วท่านอุมัรสั่งเสียให้เลี้ยงอาหาร 3 วัน และบรรดาซออาบะฮ์ชอบรักที่จะเลี้ยงอาหารและให้อาหาร 7 วัน ล่ะครับ เอาไปทิ้งไว้ใหน?? และการกระทำของบรรดาซอฮาบะฮ์นี้ ก็ไม่ได้ขัดกับหะดิษนบีเลย เนื่องจากมันเป็นเรื่องซอดาเกาะฮ์เป็นทานในการเลี้ยงอาหาร บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่ได้เลี้ยงกับพวกที่มานั่งปลอบใจ นี่ครับ ซึ่งมันคนละเรื่องกัน
…………..
มุหัมหมัดครับ
ในขณะที่ท่านนบี ส่งเสริมให้นำอาหารไปเลี้ยงครอบครัวผู้ตาย แต่คุณอ้างว่า ท่านอุมัร สั่งเสียให้ครอบครัวผู้ตายเลี้ยงอาหารชาวบ้าน และหะดิษที่คุณอ้างนั้น ไม่ได้เป็นที่แพร่หลาย และไม่ปรากฏว่า มีอิหม่ามทั้งสี่คนใดนำมาอ้างอิงเลย ซึ่งต่างกับหะดิษยะอฟัร ซึ่งเป็นที่แพร่หลาย เมื่อหะดิษสวนทางกันอย่างนี้ ผมจึงอยากจะถามมุหัมหมัดว่า “คุณจะเลือกใคร ระหว่างคำพูดของศาสนทูตของอัลลอฮและท่านอุมัร(อินชาอัลลอฮ หะดิษอุมัร กับ หะดิษฏอวูส ผมจะนำเสนอรายละเอียดในโอกาสต่อไป)
และอีกประการหนึ่ง หะดิษอุมัร มีรูปแบบหรือมีรายละเอียดพิธีกรรม ตามที่พวกคุณอุปโลกน์มาหรือเปล่า ทำไมไม่ยกมา และประการสุดท้าย คุณมุหัมหมัดอ้างเรื่องทำเศาะดะเกาะฮ แต่พอให้คุณดูความหมายเศาะดะเกาะฮ ซึ่ง การให้ทานแก่คนยากจน แต่คุณกลับเบี่ยงเบนโดยการถามกลับว่า “เลี้ยงอาหารผิดด้วยหรือ” .......... ผมว่า พวกคุณ หาช่องทางเพื่อรักษาปากท้องของพวกคุณ เท่านั้นเอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 23, 2006 2:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นายมุหัมหมัดอ้างว่า
แต่ ดร. อุมัร อัลอัชก๊อร ( عمر الأشقر ) วะฮาบีย์ที่อยู่ที่ จอแดน (อุรดุน) ได้ทำการบิดเบือน เพิ่มกุหะดิษของท่านอัลบุคอรีย์
………….
อิบนุกอยยิมได้กุโกหกเพิ่มหะดิษขึ้นมา โดยเพิ่มคำว่า جالساً "ในลักษณะนั่งอยู่" เพื่อสนองหลักอะกีดะฮ์ของตน" แบบนี้อิบนุกอยยิมต้องเตรียมที่พำนักไว้ในนรกตามทัศนะของ นายอะดีลอย่างแน่นอน อย่างไงก็อย่าลืมชวนผมลงนรกด้วยก็แล้วน่ะนายอะดีล แง๊กๆๆ
…………..
ดร. ซอและหฺ บิน เฟาซาน กล่าวโกหกใส่อิบนุตัยมียะฮ์เพื่อหลอกพวกวะฮาบีย์
……………
......................
ตอบ
ข้อความข้างบน คือ ลักษณะคนขี้แพ้แล้วพาล พาลไปจาบจ้วง กล่าวหา อุลามาอ คนนั้น คนนี้ โดยไม่มามองตัวเองบ้างว่า เป็นแค่นักศึกษานักเลงคนหนึ่งเท่านั้น หลังสอบเสร็จ เห็นประกาศ ในเว็บ อัลมิฟตาหฺจะแฉเบื้องหลังท่านมุหัมหมัด บิน อับดุ้ลวะฮับ นี้แหละคือ อุลามาอฺในอนาคต เรื่อง หะดิษเศาะเฮียะที่ว่า

قَالَ عَبْدُ اللهِ بْنِ جَعْفَرَ : لَمَّا جَاءَ نَعْيُ جَعْفَرِ حِيْنَ قُتِلَ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : اِصْنَعُوْا لآلِ جَعْفَرِ طَعَامًا فَقَدْ اَتَاهُمْ مَايُشْغِلُهُمْ . (حسنه الترمزى وصححه الحاكم)

1. อับดุลลอฮ บุตร ญะฟัร กล่าวว่า “ ขณะที่ข่าวของท่านญะอฟัร ถูกสังหารเสียชีวิต ได้มาถึง ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า “พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวยะฮฟัร ความจริง สิ่งที่นำความทุกข์แก่พวกเขา ได้มาประสบกับพวกเขา” – อัตติรมิซีย์ระบุว่า เป็นหะดิษ หะซัน และอัลหากิมระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ

‏عَنْ ‏ ‏جَرِيرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْبَجَلِيِّ ‏ ‏قَالَ ‏
‏كُنَّا نَعُدُّ ‏ ‏الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنِيعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنْ ‏ ‏النِّيَاحَةِ
رواه أحمد وصححه الألباني في أحكام الجنائز (ص167)
2. จากญะรีร บินอับดุลลอฮ อัล-บะญะลี กล่าวว่า “ พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกัน หลังจากที่ฝังมัยยิต เป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮ- รายงานโดย อะหมัด อัลบานียได้ระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเหียะ ในหนังสือ อะหกามุ้ลญะนาอิซ หน้า 167

ينما وفد جرير بن عـبدالله البجـلي رضي الله عنه على عمر بن الخطاب رضي الله عنه فقال له : ( هل يُــناحُ على ميتكم ؟ قال : لا ، قال : فهل تجتمعـون عـند أهل الميت وتجعلون الطعام ؟ قال : نعم ، قال : ذلك النوح ) .
3. ในขณะที่ ญะรีร บุตร อับดุ้ลลอฮ อัลบะญะลีย์ ได้เป็นตัวแทนเข้าพบท่าน อุมัร บุตร อัลคอฎฎอ็บ แล้วท่านอุมัรได้กล่าวแก่เขา(ญะรีร)ว่า “ พวกท่านคร่ำครวญ ถึงคนที่ตายของพวกท่านใช่ไหม ? เขาตอบว่า “เปล่า” เขา(ท่านอุมัร)กล่าวว่า “ พวกท่านมาชุมนุมกัน ณ ครอบครัวผู้ตาย แล้วพวกท่านทำอาหารกินกันใช่ไหม ? เขา(ญะรีร) กล่าวว่า “ครับ” ท่านอุมัร กล่าวว่า” นั้นแหละคือ นิญาหะอ - ดูที่มาข้างล่าง
أخرجه ابن أبي شيبة في المصنف : كتاب الجنائز : باب ما قالوا الإطعام عليه و النياحة ( 3 / 175 ) .
أخرجه سعيد بن منصور في سننه ، واللفظ له . كما في الفتح الرباني للشيخ أحمد البـنا ( 8 / 95 )
4.มาดูเพิ่มเติมหะดิษท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฎ)
عن عائشة رضى الله تعالى عنها أنها كانت تأمر بالتلبين للمريض وللمحزون على الهالك وكانت تقول إني سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول إن التلبينة تجم فؤاد المريض وتذهب ببعض الحزن
รายงานจากท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฏ) แท้จริงปรากฏว่า นางได้ใช้ให้นำเอาตัลบีน(ซุบที่ทำด้วยแป้ง บางทีก็ผสมน้ำผึ้ง) ไปให้ผู้ป่วย และผู้ที่โศกเศร้าเนื่องจากการตาย และนาง(อาอิฉะฮ)กล่าวว่า “แท้จริงดิฉันได้ยินท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ แท้จริง ซุบตัลบีนนั้น ทำให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้นและทำให้ความโศกเศร้าบางอย่างทุเลาลง – รายงานโดย อัล-บุคอรี (10/119-120)
...............
แสดงให้เห็นว่า ท่านหญิงอาอิฉะฮ ก็เคยใช้ให้ผู้คนนำ อาหารไปให้ครอบครัวผู้ตาย แต่ไม่ปรากฏรายงานว่า ท่านนบี ตามไปกินทีหลัง
5. ท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮ เมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وَاُحِبُّ لِجِيْرَانِ الْمَيِّتِ اَوْذِيْ قَرَابَتِهِ اَنْ يَعْمَلُوْا لاَهْلِ الْمَيِّتِ فِىْ يَوْمِ يَمُوْتُ وَلَيْلَتِهِ طَعَامًا مَا يُشْبِعُهُمْ وَاِنَّ ذَلِكَ سُنَّةٌ
และข้าพเจ้าชอบให้เพื่อนบ้านมัยยิตและญาติใกล้ชิดของเขา ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ให้พวกเขากินให้อิ่ม ในวันและคืนที่เขาตาย และแท้จริง ดังกล่าวนั้น เป็นสุนนะฮ........ อัลอุม เล่ม 1 หน้า 247
............................
ทั้งหมดที่กล่าวสรุปมานี้ หากคนเราเข้าใจความสำคัญของสุนนะฮของท่านเราะซูล คงไม่ดันทุรัง ดิ้นจนหัวตลอกปอกเปิงหรอก มิหนำซ้ำ ยังพาล หาเรื่อง จาบจ้วงอุลามาอฺ อีก นี้หรือ ผู้ที่อ้างว่า ยึดตามแนวอะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ. คงเป็นราคาคุยมากกว่า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 23, 2006 5:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถามแปลกๆของมุหัมหมัด

1. การทำบุญเป็นทาน 3 วัน และ 7 วัน นั้น อัลเลาะฮ์และร่อซูล ได้ห้ามไว้ชัดๆหรือไม่??

2. การทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทานไม่วายิบครับนี่ครับ เนื่องจาก อัลเลาะฮ์ได้ไม่กำหนดมาในเชิงบังคับใช่ไหมครับ?
...............
ตอบ
1. เราจะอ่านตะชะฮฮุด ในสุญูดได้หรือเปล่าครับมุหัมหมัด เพราะอัลลอฮและรอซูลไม่ได้ห้ามชัดๆ
2 การทำบุญเลี้ยงอาหารนั้นเป็นสุนนะฮ และอยากถามมุหัมหมัดว่า เมื่อมีคนเลี้ยงอาหาร เราอ่านดูอาอะไรครับ แถมนิดหนึ่ง ... แต่การทำบุญ 3 วัน 7 วัน นั้น อุลามาอที่ชื่อ มุหัมหมัด แห่งไคโร ว่าวายิบครับ
เพราะ เหตุนี้ เขาจึงปกป้องอย่างสุดลิ่ม ฮะฮา

ปล. ต่อไปน่าจะเป็นคิวของ การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้คนตาย ไม่ทราบว่า เป็นสุนัตหรือเปล่าครับมุหัมหมัด
3. มีถามเพิ่มนิดหนึ่ง บิดอะฮที่หลงผิด นั้น มีอะไรบ้าง ช่วยยกตัวอย่างมา 10 ตัวอย่าง เพราะคุยกันมานาน ไม่เห็นบอกเลย ว่าที่จัดอยู่ใน บิดอะฮเฎาะลาละฮ มีอะไรบ้าน แฮะแฮะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 23, 2006 10:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ท่านอะหฺมัด ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัซซุอฮ์ดฺ ว่า
سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام
" ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ท่าน ชัยค์ อัลอะซ่อมีย์กล่าวว่า สายรายงานหะดิษนี้ قوى (มีน้ำหนัก) หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 199
……………..
หะดิษข้างต้นเป็นหลักฐานเด็ดของมุหัมหมัดและสหาย ที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง การไปกินบุญบ้านผู้ตาย ซึ่งได้โพสต์ซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงเรียนผู้อ่านให้ทราบว่า
ฏอวูส ผู้รายงานหะดิษข้างต้น คือ ฏอวูส บุตร กัยสาน อัลยะมานีย์ อบูอับดุรเราะหมาน อัลหุมัยรี เขาอยู่ในฐานะตาบิอีน (มุสลิมที่อยู่ในยุคเศาะฮาบะฮและได้พบเศาะฮาบะฮ) สิ้นชีวิต ปีฮิจญเราะฮ 106 ที่นครมักกะฮ
หะดิษที่เป็นคำพูดของตาบิอีน เรียกในทางวิชาหะดิษว่า เป็นหะดิษ มักฏูอฺ(حديث مقطوع )
หุกุมเกี่ยวกับหะดิษมักฏูอฺคือ
المقطوع لا يحتج به في شيئ من الأحكام الشرعية أي ولو صحت نسبته لقائله لأنه كلام أوفعل أحد المسلمين
หะดิษมักฎูอฺ จะเอามาเป็นหลักฐานอ้างอิงในด้านบทบัญญัติศาสนาไม่ได้ ถึงแม้ว่า จะอ้างอิงหะดิษอย่างถูกต้อง แก่ผู้ที่กล่าวก็ตาม เพราะความจริงมันเป็นเพียงคำพูด หรือ การกระทำ ของคนหนึ่งจากบรรดามุสลิมทั้งหลายเท่านั้น – ดู ตัยสีรมุศเฏาะละหิลหะดิษ ของ ดร.มะหมูด อัฏเฏาะหาน หน้า 133
…………….
เพราะฉะนั้น จึงถือว่า หะดิษฏอวูสใส่ลงตะกร้าได้เลย ครับมุหัมหมัด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Mon Apr 24, 2006 1:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นายอะสันกล่าว่า

อีกอย่าง พวกคุณ มีอะกีดะฮ ว่ามัซฮับเสมือนรุกุนอีหม่าน ที่ต้องศรัทธา อย่างไม่ลืมหูลืมตา

ผมขอกล่าวว่า

นายอะสันปากพล่อยจัง พูดมาได้ว่า มัซฮับเหมือนรุกุ่นอิหม่าน ไอ้เรานึกว่ามันจะเข้าใจหลักการศาสนา ที่แท้ใหนได้ มาพูดโกหกว่า มัซฮับเหมือนอากิดะฮ์ นายอะสันครับ เด็กปัญญาอ่อนมันยังไม่พูดแบบนี้เลย แง๊กๆๆ

นายอะสันกล่าวว่า

นายอะสันกล่าวซ้ำซากได้แบบไม่มีอะไรใหม่ว่า

เรื่อง หะดิษเศาะเฮียะที่ว่า

قَالَ عَبْدُ اللهِ بْنِ جَعْفَرَ : لَمَّا جَاءَ نَعْيُ جَعْفَرِ حِيْنَ قُتِلَ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : اِصْنَعُوْا لآلِ جَعْفَرِ طَعَامًا فَقَدْ اَتَاهُمْ مَايُشْغِلُهُمْ . (حسنه الترمزى وصححه الحاكم)

1. อับดุลลอฮ บุตร ญะฟัร กล่าวว่า “ ขณะที่ข่าวของท่านญะอฟัร ถูกสังหารเสียชีวิต ได้มาถึง ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า “พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวยะฮฟัร ความจริง สิ่งที่นำความทุกข์แก่พวกเขา ได้มาประสบกับพวกเขา” – อัตติรมิซีย์ระบุว่า เป็นหะดิษ หะซัน และอัลหากิมระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ

‏عَنْ ‏ ‏جَرِيرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْبَجَلِيِّ ‏ ‏قَالَ ‏
‏كُنَّا نَعُدُّ ‏ ‏الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنِيعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنْ ‏ ‏النِّيَاحَةِ
رواه أحمد وصححه الألباني في أحكام الجنائز (ص167)
2. จากญะรีร บินอับดุลลอฮ อัล-บะญะลี กล่าวว่า “ พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกัน หลังจากที่ฝังมัยยิต เป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮ- รายงานโดย อะหมัด อัลบานียได้ระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเหียะ ในหนังสือ อะหกามุ้ลญะนาอิซ หน้า 167

ينما وفد جرير بن عـبدالله البجـلي رضي الله عنه على عمر بن الخطاب رضي الله عنه فقال له : ( هل يُــناحُ على ميتكم ؟ قال : لا ، قال : فهل تجتمعـون عـند أهل الميت وتجعلون الطعام ؟ قال : نعم ، قال : ذلك النوح ) .
3. ในขณะที่ ญะรีร บุตร อับดุ้ลลอฮ อัลบะญะลีย์ ได้เป็นตัวแทนเข้าพบท่าน อุมัร บุตร อัลคอฎฎอ็บ แล้วท่านอุมัรได้กล่าวแก่เขา(ญะรีร)ว่า “ พวกท่านคร่ำครวญ ถึงคนที่ตายของพวกท่านใช่ไหม ? เขาตอบว่า “เปล่า” เขา(ท่านอุมัร)กล่าวว่า “ พวกท่านมาชุมนุมกัน ณ ครอบครัวผู้ตาย แล้วพวกท่านทำอาหารกินกันใช่ไหม ? เขา(ญะรีร) กล่าวว่า “ครับ” ท่านอุมัร กล่าวว่า” นั้นแหละคือ นิญาหะอ - ดูที่มาข้างล่าง
أخرجه ابن أبي شيبة في المصنف : كتاب الجنائز : باب ما قالوا الإطعام عليه و النياحة ( 3 / 175 ) .
أخرجه سعيد بن منصور في سننه ، واللفظ له . كما في الفتح الرباني للشيخ أحمد البـنا ( 8 / 95 )
4.มาดูเพิ่มเติมหะดิษท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฎ)
عن عائشة رضى الله تعالى عنها أنها كانت تأمر بالتلبين للمريض وللمحزون على الهالك وكانت تقول إني سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول إن التلبينة تجم فؤاد المريض وتذهب ببعض الحزن
รายงานจากท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฏ) แท้จริงปรากฏว่า นางได้ใช้ให้นำเอาตัลบีน(ซุบที่ทำด้วยแป้ง บางทีก็ผสมน้ำผึ้ง) ไปให้ผู้ป่วย และผู้ที่โศกเศร้าเนื่องจากการตาย และนาง(อาอิฉะฮ)กล่าวว่า “แท้จริงดิฉันได้ยินท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ แท้จริง ซุบตัลบีนนั้น ทำให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้นและทำให้ความโศกเศร้าบางอย่างทุเลาลง – รายงานโดย อัล-บุคอรี (10/119-120)
...............
แสดงให้เห็นว่า ท่านหญิงอาอิฉะฮ ก็เคยใช้ให้ผู้คนนำ อาหารไปให้ครอบครัวผู้ตาย แต่ไม่ปรากฏรายงานว่า ท่านนบี ตามไปกินทีหลัง
5. ท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮ เมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وَاُحِبُّ لِجِيْرَانِ الْمَيِّتِ اَوْذِيْ قَرَابَتِهِ اَنْ يَعْمَلُوْا لاَهْلِ الْمَيِّتِ فِىْ يَوْمِ يَمُوْتُ وَلَيْلَتِهِ طَعَامًا مَا يُشْبِعُهُمْ وَاِنَّ ذَلِكَ سُنَّةٌ
และข้าพเจ้าชอบให้เพื่อนบ้านมัยยิตและญาติใกล้ชิดของเขา ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ให้พวกเขากินให้อิ่ม ในวันและคืนที่เขาตาย และแท้จริง ดังกล่าวนั้น เป็นสุนนะฮ........ อัลอุม เล่ม 1 หน้า 247
ทั้งหมดที่กล่าวสรุปมานี้ หากคนเราเข้าใจความสำคัญของสุนนะฮของท่านเราะซูล คงไม่ดันทุรัง ดิ้นจนหัวตลอกปอกเปิงหรอก



ผมขอกล่าวว่า

นายอะสันครับ ไม่ต้องยกมาให้ดูซ้ำๆ แบบแก้โง่ไปวันๆ หรอกนะครับ เพราะเราได้อธิบายอย่างชัดเจนแล้วครับ


การรวมตัวที่บ้านครอบครัวมัยยิดเพื่อทำการปลอบใจและครอบมัยยิดต้องทำอาหารเลี้ยงนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่มักโระฮ์(ไม่ควรกระทำ)ตามทัศนะของปวงปราชญ์ เนื่องจากดังกล่าวนั้น มันจะสร้างความโศกเศร้ายิ่งขึ้นให้กับครอบครัวมัยยิด ชนอาหรับในยุคก่อนนั้น ตามประเพณีแล้ว เมื่อมีญาติพี่น้องของพวกเขาได้เสียชีวิต พวกเขาก็จะไปรวมตัวกันที่บ้านครอบครัวมัยยิดเพื่อทำการปลอบใจและไว้อาลัย เมื่อมีผู้คนมารวมตัวกันที่บ้าน ด้วยความละอายของครอบมัยยิด ก็มีความจำเป็นในการที่ครอบมัยยิดต้องทำอาหารเลี้ยง ซึ่งดังกล่าวย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริมแต่อย่างไร เนื่องจากจะตอกย้ำความโศรกเศร้าให้แก่ครอบมัยยิดแล้ว ก็ยังต้องเป็นภาระกับพวกเขาในการทำอาหารเลี้ยง

ท่านอิมามอะหฺมัด และท่านอิบนุมาญะฮ์ ได้รายงาน ด้วยสายสืบที่ซอฮิหฺ จากท่าน ญะรีร บิน อับดุลและฮ์ เขากล่าวว่า

كنا نعد الإجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام من النياحة

" เราถือว่า การรวมตัวกัน ยัง(บ้าน)ครอบครัวของผู้ตาย และการที่พวกเขาทำอาหารนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการ คร่ำครวญถึงผู้ตาย"

ดังกล่าวนี้ บรรดาอุลามาอ์หะนะฟีย์กล่าวว่า เป็นการมักโระฮ์ กับการทำอาหารในวันที่หนึ่ง สอง และสาม และหลังจากหนึ่งสัปดาห์" ดู หาชียะฮ์ อิบนุ อาบิดีน เล่ม 2 หน้า 240

อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

وأما صنعة أهل الميت طعاما يدعون الناس إليه، فهذا غير مشروع وإنما هو بدعة، بل قد قال جرير بن عبد كنا نعد الاجتماع إلى أهل الميت، وصنعتهم الطعام للناس من النياحة‏

สำหรับการที่ครอบครัวผู้ตายทำอาหาร เชิญผู้คนมานั้น นี้คือ ไม่มีบัญญัติใช้ และความจริงมันเป็น บิดอะฮ แต่ทว่าแท้จริง ญะรีร บุตร อับดุลลอฮ (ร.ฎ)กล่าวว่า “พวกเรานับว่า การชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและพวกเขาทำอาหาร ให้ผู้คนกินกันนั้น เป็นสวนหนึ่งจาก นิยาหะฮ " ดู ฟะตาวาอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 316

ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน ได้รูปแบบของอาหรับเอาไว้ว่า

فى العرف الخاص فى بلدة لمن بها من الأشخاص إذا إنتقل إلى دار الجزاء وحضر معارفه وجيرانه العزاء، جرى العرف بأنهم ينتظرون الطعام، ومن غلبة الحياء على أهل الميت يتكلفون التكليف التام، ويهيئون لهم أطعمة عديدة، ويحضرونها لهم بالمشقة الشديدة

"ในประเพณีที่เฉพาะ ในเมืองหนึ่ง ให้กับบรรดาบุคคลต่างๆที่อยู่เมืองนั้น คือ เมื่อมีผู้ที่กลับไปสู่โลกแห่งการตอบแทน(กลับไปสู่ความเมตตาของอัลเลาะฮ์) โดยที่บรรดาคนรู้จักและบรรดาเพื่อนบ้านก็มากัน(ที่บ้านครอบครัวมัยยิด)เพื่อจะทำการปลอบใจ ประเพณีนั้นก็มีอยู่ว่า พวกเขาเหล่านั้นก็ได้รอรับอาหารกัน และจากความละอายอย่างยิ่งที่มีต่อครอบครัวมัยยิดนั้น พวกเขาจึงรับภาระในการใช้จ่ายแบบเสร็จสรรพ แล้วครอบครัวมัยยิดก็ทำการตระเตรียมอาหารให้แก่พวกเขาหลายอย่าง และครอบครัวมัยยิดก็นำอาหารเหล่านั้นมาให้กับพวกเขาด้วยความลำบากอย่างมาก" ดู เล่ม 2 หน้า 228

ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน กล่าวระบุไว้ว่า

ويكره لأهل الميت الجلوس للتعزية ، وصنع طعام يجمعون الناس عليه ، لما روى أحمد عن جرير بن عبد الله الجبلى ، قال : كنا نعد الإجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام بعد دفنه من النياحة...ويستحب لجيران أهل الميت...أن يصنعوا لأهله طعاما يكفيهم يوما وليلة ، وأن يلحوا عليهم فى الأكل . ويحرم صنعه للنائحة، لأنه إعانة على معصية

"มักโระฮ์(ไม่ทำดีแต่หากทำก็ไม่เป็นไร) สำหรับครอบครัวมัยยิด กับการนั่งเพื่อให้ทำการปลอมใจ และ(ครอบครัวมัยยิด)ทำอาหารโดยที่พวกเขาทำการรวมผู้คน(ที่มาไว้มาปลอบใจ)มารับประทานอาหาร เพราะมีร่องรอยที่รายงานโดย ท่านอะหฺมัด จากท่าน ญะรีร บิน อับดิลลาฮ์ อัล-ญะบะลีย์ เขากล่าวว่า เราถือว่า การรวมตัวไปยังบ้านมัยยิดและการที่ครอบมัยยิดทำอาหารหลังจากฝังมัยยิดแล้วนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัย.....และสุนัติให้กับเพื่อนบ้านของครอบครัวมัยยิด กับการทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิด ให้เพียงพอกับพวกในวันหนึ่งและคืนหนึ่ง และทำการคะยั้นคะยอให้พวกเขารับประทาน และหะรอมทำอาหารแก่หญิงที่ทำการคร่ำครวญไว้อาลัย เพราะมันเป็นการช่วยเหลือกับสิ่งที่ฝ่าฝืน " ดู เล่ม 2 หน้า 227 ดารุลฟิกรฺ

ท่าน อัลลามะฮ์ ญะมัล ได้กล่าวไว้ใน บัรหฺ อัลมันฮัจญฺ ว่า

"แต่ทั้งหมดดังกล่าวนั้น อาจกลายเป็นหะรอม หากเอามาจากทรัยพ์ที่ถูกอายัดไว้ หรือจากทรัพย์ที่ใช้หนี้แก่มัยยิด หรือทรัพย์ที่ทำให้เกิดโทษ(เดือนร้อน) และเหมือนกับสิ่งดังกล่าว" ดู อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน เล่ม 2 หน้า 228

ท่าน อะหฺมัด บิน ซัยนีย์ ดะหฺลาน กล่าวฟัตวาไว้ว่า

"ไม่เป็นที่สงสัยว่า การห้ามผู้คนจากการทำบิดอะฮ์ที่น่าตำหนินี้ เป็นการฟื้นฟูซุนนะฮ์ และทำให้ตายกับบิดอะฮ์(คือการที่ไปรวมตัวกันปลอมใจและรอเลี้ยงอาหารจากครอบครัวผู้ตาย) และเป็นการเปิดประตูแห่งความดี และเปิดประตูแห่งความชั่ว เพราะแท้จริง บรรดาผู้คน(ครอบครัวผู้ตาย) ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจนอาจจะทำให้การทำอาหารนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม" ดู อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน เล่ม 2 หน้า 228

ท่านอิมามรอมลีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ นะฮายะตุลมั๊วะตาจญฺ ว่า

ويكره كما فى الأنوار وغيره أخذا من كلام الرافعى والمصنف أنه بدعة لأهله صنع طعام يجمعون الناس عليه قبل الدفن وبعده لقول جرير : كنا نعد ذلك من النياحة، والذبح والعقر عند القبر مذموم للنهى

" และถือว่าเป็นมักโระฮ์ - เสมือนที่ระบุไว้ในหนังสือ อัลอันวารและอื่นๆ - โดยเอามาจาก คำกล่าวของ ท่านอัรรอฟิอีย์และผู้ประพันธ์หนังสือมินฮาจ(คืออิมามนะวาวีย์) ว่า มันเป็นบิดอะฮ์(ที่มักโระฮ์)ให้กับครอบครัวมัยยิด ที่ทำอาหารโดยที่ผู้คนก็รวม(เพื่อมาปลอบใจและไว้อาลัย)กันรับประทานอาหารนั้น ไม่ว่าจะก่อนฝังหรือหลังฝังมัยยิด เพราะคำกล่าวของท่านญะรีรที่ว่า "เราถือว่าสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัย" และการเชือดสัตว์ที่กุบูร ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ เป็นได้มีบัญญัติห้ามมัน" ดู เล่ม 3 หน้า 42 ตีพิมพ์ มุสต่อฟา หะละบีย์

และเป้าหมายที่บิดอะฮ์น่าตำหนิหรือบิดอะฮ์มักโระฮ์นั้น ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ ได้กล่าวอธิบายไว้ว่า

لما صح عن جرير رضى الله عنه كنا نعد الإجنماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام بعد دفنه من النياحة) ووجه عده من النياحة ما فيه من شدة الإهتمام بأمر الحزن ومن ثم كره اجتماع أهل الميت ليقصدوا بالعزاء

"เพราะว่า มีร่องรอยจากท่านญะรีร(ร.ฏ.) ที่ว่า "เราถือว่าการรวมตัวกันไปยังครอบครัวมัยยิด และครอบครัวมัยิดทำอาหารให้หลังจากฝังมัยยิดแล้วนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัยคร่ำครวญ" หนทางที่นับว่ามันเป็น จากการอาลัยคร่ำครวญ คือ สิ่งที่มาจากการให้การความเน้นหนักด้วยสิ่งที่ทำให้โศรกเศร้า และจากดังกล่าวนั้น จึงมักโระฮ์กับการรวมตัวไปยังบ้านมัยยิด อันเนื่องจากเพราะพวกเขาตั้งใจจะไปปลอมใจ" ดู หนังสือตั๊วะหฺ ฟะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ เล่ม 3 หน้า 207 ตีพิมพ์ ดาร. เอี๊ยะหฺยา อัตตุร๊อษ อัลอะร่อบีย์


และอ่านไปอีก หนึ่งบรรทัด ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวต่อว่า

نعم ان فعل لأهل الميت مع العلم بأنهم يطعمون من حضرهم لم يكره وفيه نظر ودعوى ذلك التضمن ممنوعة

" แต่ว่า หาก(อาหาร)ถูกทำให้แก่ครอบครัวมัยยิด พร้อมกับรู้ว่า ครอบครัวมัยยิด จะนำไปเลี้ยงอาหาร กับผู้ที่มาหาพวกเขา ก็ถือว่าไม่มักโระฮ์ และในมัน(คือการทให้แก่ครัวมัยยิด)นั้นถูกพิจารณาก่อน โดยที่การอ้างดังกล่าวเป็นการรวมถึงการนั่งปลอมใจ นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกห้ามเด็ดขาด(กับการอ้างอย่างนั้น)" ดู หนังสือตั๊วะหฺ ฟะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ เล่ม 3 หน้า 207 - 208

ดังนั้น จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว เราสรุปได้ว่า การรวมตัวบ้านมัยยิดเพื่อการนั่งกันปลอบใจและครอบครัวมัยยิดเพียงลำพังต้องทำอาหารเลี้ยงนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริมแต่ประการใด

การทำให้อาหารให้กับครอบครัวมัยยิด

เมื่อมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต เราสมควรอย่างยิ่ง ในการช่วยเหลือครอบมัยยิดในการทำอาหารให้กับพวกเขาให้อิ่มท้องในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ซึ่งมันเป็นซุนนะฮ์ของท่านร่อซูลุลอฮ์(ซ.ล.)

ท่านอิมาม อัตติรมีซีย์ ท่านอัล-หากิม และอื่นจากทั้งสอง รายงานว่า แท้จริงท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า

اصنعوا لأل جعفر طعاماً فقد جاءهم ما يشغلهم

"พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะฟัร เพราะแท้จริง ได้มีสิ่งที่ทำให้พวกเขายุ่งอยู่"
หะดิษนี้ ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า หะซัน และท่านฮากิมกล่าวว่า หะดิษนี้ ซอฮิหฺ

บรรดาปวงปราชญ์กล่าวว่า สุนัตให้เพื่อนบ้านเรือนเคียงหรือบรรดาญาติห่างๆ ทำการตระเตรียมอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิด โดยทำให้พวกเขาอิ่มในวันหนึ่งและคืนหนึ่ง และนี่ก็คือทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมากและเป็นแนวทางของมัซฮับทั้งสี่

ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า" ฉันรัก ที่จะให้เพื่อนบ้านของผู้ตาย หรือบรรดญาติของผู้ตาย ทำอาหารให้กับครอบมัยยิด ในวันที่เขาได้เสียชีวิต และอีกหนึ่งคืนของมัน โดยที่ทำให้พวกเขาอิ่ม เพราะสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นซุนนะฮ์ และมีการระลึกที่มีเกียตริ โดยที่มันเป็นการกระทำของผู้ที่เป็นคนดีก่อนจากเราและหลังจากเรา" ดู หนังสือ อัล-อุมมฺ เล่ม 1 หน้า 247

การทำอาหารให้แก่ครอบครัวของมัยยิดนั้น เป็นสุนัต ไม่ใช่ เป็นวายิบ ดังนั้น การที่เราไม่ทำอาหารให้พวกเขานั้น ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮ์หรือกระทำบาป แต่ถือว่าเป็นมักโระฮ์ คือกระทำแล้วได้ผลบุญ หากไม่กระทำก็ไม่ได้รับโทษอะไร เนื่องจากสิ่งที่วายิบ(แบบฟัรดูกิยาฟะฮ์)ต่อบรรดาพี่น้องมุสลิมนั้น ก็คือการจัดการเกี่ยวกับมัยยิด คือการอาบน้ำศพ ห่อ ละหมาด และฝัง และการที่ศาสนาให้บรรดาพี่น้องมุสลิมทำอาหารให้แก่ครอบมัยยิดในหนึ่งวันและหนึ่งคืนนั้น เนื่องจากพวกเขากำลังโศกเศร้ากอปรกับมีภาระยุ่งอยู่กับการจัดการมัยยิด

_________________
ต่อต้านวะฮาบีย์บิดอะฮ์พันธ์ใหม่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Mon Apr 24, 2006 1:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นายอะสันกล่าวว่า

ในขณะที่ท่านนบี ส่งเสริมให้นำอาหารไปเลี้ยงครอบครัวผู้ตาย แต่คุณอ้างว่า ท่านอุมัร สั่งเสียให้ครอบครัวผู้ตายเลี้ยงอาหารชาวบ้าน และหะดิษที่คุณอ้างนั้น ไม่ได้เป็นที่แพร่หลาย และไม่ปรากฏว่า มีอิหม่ามทั้งสี่คนใดนำมาอ้างอิงเลย
ซึ่งต่างกับหะดิษยะอฟัร ซึ่งเป็นที่แพร่หลาย เมื่อหะดิษสวนทางกันอย่างนี้ ผมจึงอยากจะถามมุหัมหมัดว่า “คุณจะเลือกใคร ระหว่างคำพูดของศาสนทูตของอัลลอฮและท่านอุมัร(อินชาอัลลอฮ หะดิษอุมัร กับ หะดิษฏอวูส ผมจะนำเสนอรายละเอียดในโอกาสต่อ

ผมขอกล่าวว่า

เราได้ชี้แจงไปแล้วว่า " กรณีทำบุญบ้านคนตายนั้น เป็นประเด็นที่สร้างความกระด้างกระเดื่องในบรรดพี่น้องมุสลิมด้วยกัน อันเนื่องจากการมีทัศนะที่แตกต่างกันและไม่มีความเข้าใจกันนั่นเอง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เราน่าจะมาสร้างความเข้าใจกันและกันในหมู่พี่น้องมุสลิม และพยายามชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การรวมตัวบ้านมัยยิดเพื่อทำการปลอบใจไว้อาลัยและครอบมัยยิดต้องทำอาหารเลี้ยงให้ตามลำพังนั้นเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริม ซึ่งแตกต่างกับ สิ่งที่พี่น้องมุสลิมบ้านเรากระทำอยู่จากการทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์ คือไปรวมตัวกันเพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน ซิกรุลเลาะฮ์ กล่าวตะฮ์ลีล อิสติฆฟาร และทำการดุอาอ์ให้แก่มัยยิด โดยที่บรรดาพี่น้องมุสลิมได้ช่วยเหลือกันทำอาหารให้แก่ครอบมัยยิด ซึ่งสิ่งดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นผลประโยชน์แก่ผู้ตายอย่างแท้จริง ฉะนั้น ข้อแตกต่างนี้เราจึงสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนและอย่าเอาไปเหมารวมกัน"

ดังนั้นอะสันจึง ตลกอย่างแรง พูดมาได้ยังไงว่า หลักฐานของท่านอุมัรสวนทางกับ หะดิษญะฟัร ท่านนบี(ซ.ล.) ห้ามให้ทำบุญเลี้ยงอาหารหรือไง? จนนายอะสันเข้าใจว่า หลักฐานท่านอุมัรไปขัดและสวนทาง ?? หลักฐานจากท่านนบีนั้นไม่ได้ห้ามและไม่ได้ใช้เกี่ยวกับทำบุญสามวันหรือเจ็ดวัน หากมียกอ้างมาหน่อยซิ และอย่าบอกนะว่า หะดิษญะฟัร(ร.ฏ.) นั้นหลักฐานห้าม ผมขำตายเลยล่ะถ้าเข้าใจอย่างนั้น กริ้วๆๆ เมื่อท่านนบีไม่ได้บอกไม่ใด้ใช้เกี่ยวกับทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทาน 3 หรือ 7 วัน แบบอย่างของท่านอุมัรและบรรดาซอฮาบะฮ์ก็เอามาทำได้และอนุญาติให้กระทำได้ และการที่อิมามทั้งสี่ไม่ได้ทำนั้นก็ไม่ได้ชี้ถึงบิดอะฮ์หรือเป็นสิ่งที่หะรอมแต่อย่างใด ในเมื่อมีรายงานถึงท่านก็เพียงพอแล้ว และนั่งก็เป็นซุนนะฮ์ของคอลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม แล้วนายอะสันไปเตะทิ้งไว้ใหนแล้วครับ กริ้วๆๆ และเตาฮีด รุบูบียะฮ์และอุลูอียะฮ์นั้น อิมามทั้งสี่ก็ไม่ได้บอกและไม่มีสะลัฟสักคนกล่าวไว้อยางนั้นเลย แบบนี้มันไม่บิดอะฮ์กันใหญ่โตหรือครับนายอะสัน....กร๊ากๆๆ

_________________
ต่อต้านวะฮาบีย์บิดอะฮ์พันธ์ใหม่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Mon Apr 24, 2006 1:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นายอะสันกล่าวว่า

1. เราจะอ่านตะชะฮฮุด ในสุญูดได้หรือเปล่าครับมุหัมหมัด เพราะอัลลอฮและรอซูลไม่ได้ห้ามชัดๆ

ผมขอกล่าวว่า

มันจะไปอ่านได้อย่างไรล่ะครับ นายอะสัน แบบนี้พูดแบบดมๆนี่ครับ อุดาอ์ในสุยูดนั้น ท่านนบีได้ระบุชัดไว้แล้ว และไม่มีสายรายงานใดบอกว่าท่านนบีหรือบรรดาซอฮาบะฮ์อ่านตะชะฮุดในสุยูด และก็ไม่มีอุลามาอ์ใดให้การยอมรับ แต่มันต่างกับการทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทาน 7 วัน หรือ 3 วัน ซึ่งนบีไม่ได้ห้าม และมีรายงานจากท่านอุมัรและซอฮาบะฮ์ และก็มีอุลามาอ์ให้การยอมรับด้วย อย่าไปเอาเปรียบเทียบแบบตลกๆเลยครับ กริ้วๆๆ

นายอะสันกล่าวว่า

2 การทำบุญเลี้ยงอาหารนั้นเป็นสุนนะฮ และอยากถามมุหัมหมัดว่า เมื่อมีคนเลี้ยงอาหาร เราอ่านดูอาอะไรครับ แถมนิดหนึ่ง ... แต่การทำบุญ 3 วัน 7 วัน นั้น อุลามาอที่ชื่อ มุหัมหมัด แห่งไคโร ว่าวายิบครับ

ผมขอกล่าวว่า

คำว่า "วายิบ" นั้น ถือว่านายอะสันพูดมาแบบปากพล่อยๆครับ ส่วนเรื่องดุอาอ์นั้น ก็ขอดุอาอ์ให้แก่บรรดามุสลิมมีนทั้งคนเป็นและคนที่เสียชีวิตไปแล้ว และก็ขอให้กับผู้ที่เลี้ยงอาหารเป็นทาน...แง๊กๆ

นายอะสันกล่าวว่า

ปล. ต่อไปน่าจะเป็นคิวของ การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้คนตาย ไม่ทราบว่า เป็นสุนัตหรือเปล่าครับมุหัมหมัด

ผมขอกล่าวว่า

เรื่องอุทิศการอ่านอัลกุรอานนั้น มันเป็นอิจญฺมาอ์ กลับไปทบทวนเอง ซึ่งเราได้นำเสนอมาแล้ว หากไม่เชื่อ ก็อย่ามาระรานผู้อื่นน่ะ กร๊ากๆ อิมามชาฟิอีย์บอกว่าอ่านนั้นไม่ถึง แต่หากขอดุอาอ์หลังจากการอ่านให้กับมัยยิด ก็ถึงล่ะครับ อินชาอัลเลาะฮ์ จริงๆแล้วผมอยากคุยเรื่องกินบุญก่อนดีกว่านะ เพราะช่วงหลังสอบน้องๆจะมาสนองสิ่งที่คุณต้องการก็แล้วกันนะ ฮ่าๆ

นายอะสันกล่าวว่า

ฏอวูส ผู้รายงานหะดิษข้างต้น คือ ฏอวูส บุตร กัยสาน อัลยะมานีย์ อบูอับดุรเราะหมาน อัลหุมัยรี เขาอยู่ในฐานะตาบิอีน (มุสลิมที่อยู่ในยุคเศาะฮาบะฮและได้พบเศาะฮาบะฮ) สิ้นชีวิต ปีฮิจญเราะฮ 106 ที่นครมักกะฮ
หะดิษที่เป็นคำพูดของตาบิอีน เรียกในทางวิชาหะดิษว่า เป็นหะดิษ มักฏูอฺ(حديث مقطوع )
หุกุมเกี่ยวกับหะดิษมักฏูอฺคือ
المقطوع لا يحتج به في شيئ من الأحكام الشرعية أي ولو صحت نسبته لقائله لأنه كلام أوفعل أحد المسلمين
หะดิษมักฎูอฺ จะเอามาเป็นหลักฐานอ้างอิงในด้านบทบัญญัติศาสนาไม่ได้ ถึงแม้ว่า จะอ้างอิงหะดิษอย่างถูกต้อง แก่ผู้ที่กล่าวก็ตาม เพราะความจริงมันเป็นเพียงคำพูด หรือ การกระทำ ของคนหนึ่งจากบรรดามุสลิมทั้งหลายเท่านั้น – ดู ตัยสีรมุศเฏาะละหิลหะดิษ ของ ดร.มะหมูด อัฏเฏาะหาน หน้า 133
…………….
เพราะฉะนั้น จึงถือว่า หะดิษฏอวูสใส่ลงตะกร้าได้เลย ครับมุหัมหมัด


ผมขอกล่าวว่า

นายอะสันมั่ว ไม่เข้าใจหลักหะดิษ หะดิษมักฏั๊วะ นั้น คือการรายงานการกระทำของซอฮาบะฮ์ หากหะดิษมักฏั๊วะใช้ไม่ได้แล้ว แน่นอนว่า การกระทำของซอฮาบะฮ์ที่ตาบิอีนเล่ามาอย่างไรความหมาย??? ใช่ป่ะนายอะสัน พอเวลาพูดเรื่องอากิดะฮ์ ก็บอกรายงานว่า อิมามชาฟิอีย์ว่าอย่างนั้น อิมามอะหฺมัดว่าอย่างนี้ อิมามมาลิกว่าอย่างนั้น แล้วผู้ที่รายงานถึงแค่ อิมามทั้งสี่ล่ะครับ มันไม่แรงกว่าหะดิษมักฏั๊วะหรือครับ ?? และก็เอามาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้เลย และคุณอะสันต้องเข้าใจว่า หะดิษมักฏั๊วะที่นำมาเป็นหลักฐานไม่ได้นั้น ก็คือ ในเรื่องหุกุ่ม วายิบ และหะรอม ซึ่งจะนำมาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้............ แต่สายรายงาน ที่เกี่ยวกับ ซอฮาบะฮ์ และท่านอุมัรนั้น เป็นไม่ได้บอกว่า วายิบ หรือ หะรอม แต่มันชี้ถึง การ"อนุญาติ" ให้กระทำได้ เข้าใจยังนายอะสัน กริ้วๆๆ และเกี่ยวกับหลักพิจารณาหะดิษของท่านฏอวูสนี้ นักหะดิษอย่างท่าน อิบนุหะญัร ได้อธิบายไว้แล้ว นายอะสันไม่ต้องเอาไปกระเดียดแล้วคิดเอาเองกับเรื่องหะดิษมักฏั๊วะโดยไร้ความเข้าใจเลยนะครับ

ท่านอัล-หาฟิซฺอิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวว่า " ได้มีสายรายงานที่ซอฮิหฺเช่นกัน จากท่าน ฏอวูส ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ได้ทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิด ใน 7 วันดังกล่าว และคำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวของตาบิอีย์ ว่าบรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำสิ่งดังกล่าว และในคำกล่าวของตาบิอีย์นี้ ได้มีอยู่ 2 ทัศนะด้วยกันจากคำกล่าวของนักปราชญ์หะดิษและอุซูลุลฟิกห์

1. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ (คือท่านฏอวูส) อยู่ในบทการรายงานที่ มัรฟั๊วะ คือไปถึงสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งความหมายของมันก็คือ บรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหลายได้กระทำการเลี้ยง(ให้)อาหาร ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) โดยที่ท่านร่อซูลทราบในสิ่งดังกล่าว หรือถูกบอกให้ทราบต่อท่านนบี(ซ.ล.)

2. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ผคือท่านฏอวูส) อยู่ในเรื่องของการอ้างถึงบรรดาซอฮาบะฮ์เท่านั้น โดยไม่ถึงท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อเป็นเช่นนี้ ถึงถูกกล่าวว่า คำกล่าวของตาบีอีย์(คือท่านฏอวูส) เป็นการบอกเล่าจากบรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหมด ดังนั้น คำกล่าวของท่านฏอวูสนี้จึงเป็นการ ถ่ายทอดถึงมติของบรรดาซอฮาบะฮ์ และบางทัศนะกล่าวว่า ถ่ายทอดเพียงบางส่วนของซอฮาบะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่อิมามอันนะวาวีย์ได้ให้น้ำหนักเอาไว้ใน ชัรหฺมุสลิม และอิมามอัรรอฟิอีย์ ได้กล่าวเช่นเดียวกับคำนี้ ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ การเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น เป็นสิ่งที่แพร่หลายในสมัยของซอฮาบะฮ์ดังกล่าว โดยไม่ได้ถูกตำหนิแต่ประการใด...หากท่านกล่าวว่า เพราะเหตุใด การเลี้ยง(ให้)อาหารถึงต้องทำซ้ำกันถึง 7 วัน โดยที่ไม่ต้องอ่านตัลกีน 7 วัน ฉันขอกล่าวว่า เพราะผลประโยชน์ของการเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น มันมีประโยชน์สูงกว่าและแผ่ไปถึงมัยยิดได้มากกว่า เพราะการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิดนั้น เป็น ซ่อดาเกาะฮ์(บริจาคทาน) ซึ่งมันเป็น สุนัติ โดยมติเอกฉันท์...
" ดู หนังสือ อัล-ฟะตาวา อัล-ก๊อบรอ อัลหะดีษะฮ์ ของท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ เล่ม 2 หน้า 30 - 31

ดังนั้น นายอะสันก็อย่าคิดหลักการพิจารหุกุ่มหะดิษแบบเลาะเทอะ แล้วเตะทิ้งถังขยะนะครับ เพราะมันบิดอะฮ์ กริ้วๆๆ

_________________
ต่อต้านวะฮาบีย์บิดอะฮ์พันธ์ใหม่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Apr 24, 2006 7:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

" أما قراءة القرآن العزيز فمن أفضل القربات ، وأما إهداؤه للنبي صلى الله عليه وسلم فلم ينقل فيه أثر ممن يعتد به ، بل ينبغي أن يمنع منه ، لما فيه من التهجم عليه فيما لم يأذن فيه ، مع أن ثواب التلاوة حاصل له بأصل شرعه صلى الله عليه وسلم ، وجميع أعمال أمته في ميزانه " انتهى
แล้วเขาตอบว่า
สำหรับการอ่านอัลกุรอ่าน อันทรงเกียรติ นั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของอิบาดาตที่ประเสริฐยิ่ง และสำหรับการอุทิศมันให้แก่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น ไม่มีหะดิษบทใดที่มีการรายงานในเรื่องนี้ จากผู้ที่ได้รับการยอมรับ แต่ตรงกันข้าม สมควรที่จะห้ามจากมัน(จากการกระทำนี้ )เพราะเป็นการฉวยโอกาส บนมัน ในสิ่งที่ไม่ได้รับการอนุญาตในสิ่งนั้น โดยที่แท้จริง การอ่านนั้น ได้ประโยชน์แก่เขา ด้วยหลักเดิมที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บัญญัติมันไว้แล้ว และบรรดาการงานของอุมมะฮองท่านนบีทั้งหมดนั้น อยู่ในตราชูของท่านนบี (หมายถึง สุนนะฮของท่านนบี คือ ตราชูที่เป็นบรรทัดฐานวัดว่าถูกหรือผิด)

ونقل السخاوي عن شيخه الحافظ ابن حجر رحمه الله أنه سئل عمن قرأ شيئا من القرآن وقال في دعائه : اللهم اجعل ثواب ما قرأته زيادة في شرف رسول الله صلى الله عليه وسلم ؟
และอัสสะคอวีย์ ได้รายงานจากอาจารย์ของท่าน คือ อัล-หาฟิซ อิบนุหะญัร ขออัลลอฮ เมตตาต่อท่าน ว่า แท้จริงท่านได้ถูกถามเกี่ยวกับผู้ที่อ่าน สิ่งใดจากอัลกุรอ่าน และเขากล่าวในดุอาของเขาว่า “ โอ้อัลลอฮ ได้โปรดให้ผลบุญของสิ่งที่ข้าพระองค์ได้อ่านมันอ่าน ให้เป็นการเป็นการเพิ่มตำแหน่งอันทรงเกียรติของท่านรซูลุ้ลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยเถิด ? (ว่าเป็นอย่างไร)
فأجاب :
هذا مخترع من متأخري القراء ، لا أعلم لهم سلفاً فيه "
انتهى نقلاً من مواهب الجليل 2/454,544
แล้วท่าน(อิบนุหะญัร)ตอบว่า “นี้คือ สิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมา จากนักอ่านอัลกุรอ่านยุคหลัง ฉันไม่ทราบว่ามีนักอ่านอัลกุรอ่านยุคสะลัฟ ได้กระทำในเรื่องนี้ – คัดลอกจากหนังสือ มะวาฮิบุ้ลญะลีล เล่ม 2 หน้า 454 ,544


วิจารณ์

การอ้างอิงจากหนังสือ มะวาฮิบุ้ลญะลีล เล่ม 2 หน้า 454 กับ 544 นั้น ผมกลับไปดูแล้ว หาไม่เจอ สงสัยผมคงตรวจทานแบบรีบๆน่ะครับเลยหาไม่เจอ

แต่ผมก็ได้ไปอ่านจากหนังสือ หาชียะฮ์ อิบนุ อาบิดีน ก็พบข้อมูลจากบรรดาทัศนะขออุลามาอ์มากมายเลยทีเดียว ซึ่งจะนำมากล่าวเป็นภาษาไทยดังนี้ครับ

ท่านอิบนุอาบิดีน ได้กล่าวไว้ว่า " ท่าน อิบนุหะญัร อัลฮัยตามีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ อัลฟาตาวา อัลฟิหฮียะฮ์ว่า แท้จริง อัลหาฟิซฺ อิบนุตัยมียะฮ์ อ้างถึงการห้ามมอบผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ให้กับท่านนบี(ซ.ล.) เนื่องจากความสูงเกรียตริของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น จะไม่ดำเนินไป นอกจากสิ่งที่ถูกอนุญาติให้กระทำเท่านั้น เช่น การซอลาวาตให้แก่ท่านนบี(ซ.ล.) และการขอกับการสื่อไปยังท่าน ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตามีย์ กล่าวว่า ท่านอัสศุบกีย์และคนอื่นๆ ได้โต้ตอบอย่างเฉียบคม ต่อท่านอิบนุตัยมียะฮ์ว่า การอ้างหลักฐานเหมือนกับดังกล่าว ไม่มีความต้องการ ไปยังการได้รับอนุญาติเป็นการเฉพาะ ท่านไม่เห็นดอกหรือว่า ท่านอิบนุอุมัร(ร.ฏ.) ได้ทำอุมเราะฮ์แทนท่านนบี(ซ.ล.) หลายครั้งด้วยกันหลังจากที่ท่านนบี(ซ.ล.)เสียชีวิตแล้ว โดยที่ไม่มีการสั่งเสียให้ทำแต่ประการใด ท่านอิบนุ อัลมุวัฟฟัก ผู้ที่อยู่ในระดับเดียวกับท่าน อัลญุนัยดฺ ได้ทำฮัจญฺให้กับท่านนบีถึง 70 ครั้งด้วยกัน และท่านอิบนุ อัศศัรร๊อจ ได้อ่านอัลกุรอานให้กับท่านนบี(ซ.ล.) มากกว่าหนึ่งหมื่นจบ และทำการเชือดกุรบานเช่นเดียวกันกับสิ่งดังกล่าว ให้กับท่านนบี(ซ.ล.). ฉัน(คืออิบนุอาบิดีน) กล่าวว่า ท่านได้เห็นลายมือเขียนของ มุฟตีของอัลฟะนาฟียะฮ์ คือ ท่าน อัชชิฮาบ อะหฺมัด บิน อัลชะลาบีย์ อาจารย์ของเจ้าของหนังสือ อัลบะหฺ ซึ่งได้ถ่ายทอดจาก หนังสือ ชัรหฺ อัฏฏอยยิบะฮ์ ของท่าน อันนุวัยรีย์ ดังนั้น จากสิ่งที่ท่าน (อัชชิฮาบ) ได้ทำการถ่ายทอดบันทึกไว้นั้นคือ แท้จริง ท่านอิบนุอะกีล อุลามาอ์ของมัซฮับหัมบาลีย์ กล่าวว่า สุนัต ให้ทำการฮะดียะฮ์มอบผลบุญการอ่านอัลกุรอานให้แก่ท่านนบี(ซ.ล.) . ฉัน(คือิบนุอาบิดีน) ขอกล่าวว่า คำกล่าวของอุลามาอ์ของเรานั้น(คืออุลามาอ์มัซฮับหะนะฟีย์)นั้น คืออนุญาติให้คนๆหนึ่ง ทำการมอบผลบุญการอะมัลของเขาให้กับผู้อื่นได้ โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ก็เข้าอยู่ในนั้นด้วย เพราะแท้จริง ท่านนบี(ซ.ล.) ย่อมมีสิทธิ์ในสิ่งดังกล่าวมากที่สุด โดยที่ท่านได้กอบกู้พวกเราให้ออกจากความลุ่มหลง ซึ่งในสิ่งดังกล่าว(การมอบฮะดียะฮ์ผลบุญให้แก่ท่านนบี) นั้น เป็นประเภทของการ ชุโกรกตัญญูรู้คุณ และมอบความดีงามให้แก่ท่านนบี และ(นบีมนุษย์)ผู้ที่สมบูรณ์แล้วนั้น ก็ย่อมรับการเพิ่มความสมบูรณ์ได้อีก แต่บางส่วนที่ห้าม(การมอบฮะดียะฮ์ให้แก่ท่านนบี)นั้น กล่าวว่า มันเป็นการ ทำให้มีกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ( (تحصيل الحاصل เพราะทั้งหมดจากบรรดาอะมัลของอุมมะฮ์ท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ก็อยู่ในตราชั่งของท่านนบี(ซ.ล.) แต่ถูกตอบจากสิ่งดังกล่าวว่า มันย่อมเป็นมีสิ่งใดมาห้ามจากสิ่งดังกล่าว เพราะแท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงบอกว่า เพราะพระองค์ทรงซอลาวาต(ให้ความเมตตา)ต่อท่านนบี(ซ.ล.) และทรงใช้ให้เราทำการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) โดยให้เรากล่าวว่า اللهم صل على محمد วัลลอฮุอะลัม

แต่ท่าน ชัยคุลอิสลาม อัลบุลกินีย์ และ ท่านอัลหาฟิซฺอิบนุหะญัร ได้กล่าวห้ามสิ่งดังกล่าว เนื่องจากว่ามันไม่มีหลักฐานมาระบุ ดังนั้น ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยษะมีย์ กล่าวตอบไว้ในอัลฟะตาวาอัลหะดีษะฮ์ว่า คำตรัสของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา ที่ว่า ( قل رب زدنى علما ) "เจ้าจงกล่าวเถิด(โอ้มุหัมมัด) โอ้ผู้อภิบาลของข้า โปรดจงเพิ่มความรู้ให้แก่ข้าด้วยเถิด" และในหะดิษมุสลิม ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการขอดุอาอ์ไว้ว่า ( واجعل الحياة زيادة لى فى كل خير ) "และพระองค์โปรงทรงทำให้ชีวิต เพิ่มพูนในทุกๆความดีแก่ฉันด้วยเถิด" ดังกล่าวย่อมเป็น หลักฐาน ที่ชี้ว่า ตำแหน่งและความสมบุรณ์พร้อมของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น สามารถรับการเพิ่มพูนในวิทยาการและผลบุญได้ และก็อื่นๆจากระดับและฐานัลดรอื่นๆด้วย...ดังนั้นดังกล่าวย่อมครอบคลุมถึงทุกๆนบี และดังกล่าวก็ชี้ให้เห็นว่า การขอดุอาอ์ให้พวกเขา بزيادة الشرف ด้วยการเพิ่มเกียตริ(แก่บรรดานบี) นั้น ย่อมเป็นสุนัต ท่านอิมามอันนะวาวีย์ก็ได้นำมาใช้(ในการเพิ่มเกรียติแก่ท่านนบี) ไว้ในบทนำจากหนังสือ อัรเราเฏาะฮ์และอัลมินฮาจญฺ ของท่านด้วย และท่าน อัลหะลีมีย์และท่านอัลบัยฮะกีย์ก็ได้ทำมาก่อนจากอิมามอันนะวาวีย์แล้ว และได้ทำการคัดค้านของ อัลบุลกินีย์และท่านอิบนุหะญัร โดยท่าน ชัยคุลอิสลาม อัลกอยานีย์และท่าน อัลชะร๊อฟ อัลมุนาวีย์ก็ได้มีความเห็นสอดคล้องกับท่านอัลกายานีย์ด้วย และท่านอิมามของมัซฮับหะนะฟีย์ คือ ท่านอิบนุ อัลฮุมาม ก็มีความเห็นพร้องกับท่านอัลกอยานีย์และท่านอัลมุนาวีย์เช่นกัน และยิ่งไปกว่านั้น เขา(ท่านอิบนุฮุมาม)ก็ยังเพิ่มยิ่งขึ้นในการซอลาวาต โดยทำให้ทุกๆสิ่งที่ซะห์ในวิธีการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) ให้มีอยู่ในวิธีการขอดุอาอ์ ด้วยการเพิ่มเกรียตริ بزيادة الشرف แก่ท่านนบี(ซ.ล.) คือกล่าวว่า

اللهم صل أبداً أفضل صلواتك على سيدنا محمد عبدك ورسولك محمد وأله وسلم تسليما كثيرا وزده تشريفا وتكريما وأنزله المنزل المقرب عندك يوم القيامة

"โอ้อัลเลาะฮ์ โปรดทรงเมตตา ตลอดไป กับความประเสริฐสุดจากความเมตตาทั้งหลายของพระองค์ จงมีแด่นายของเรา มุหัมมัด ซึ่งเป็นบ่างของพระองค์ เป็นศาสนทูตของพระองค์ มุหัมมัด และวงวานศ์ของเขา และโปรดประทานความสันติอย่างมากมาย และโปรดทรงเพิ่มพูนเขา กับความมีเกียรติ และโปรดให้เขาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดพระองค์ในวันกิยามะฮ์ด้วยเถิด"

ดังนั้น ท่านจงพิจารณาซิว่า ท่านอิบนุฮุมามได้ทำการขอการเพิ่มพูน(ให้แก่ท่านนบี)นั้น เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความประเสริฐของวิธีการซอลาวาตเหนือการซอลาวาตอื่นๆ เช่นการซอลาวาตในตะชะฮุดและอื่นๆ และนี้ย่อมเป็นความชัดเจน จากอิมามผู้แน่แฟ้นในวิชาความรู้ ในการให้ความประเสริฐในการขอเพิ่มพูนให้แก่ท่านนบี(ซ.ล.) และพร้อมกับสิ่งดังกล่าวนี้แล้ว ก็จะมีความครางแครงสงสัยได้อย่างไรว่า สิ่งดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ต้องห้าม และท่าน ชัยคุอิสลาม ซะกะรียา อัลอันซอรีย์ ก็มีความเห็นพร้องด้วยกับพวกเขาเช่นเดียวกัน " ดู หนังสือ อัรร๊อดดุลมั๊วะหฺตาร อะลา อัดดุรมุคตาร หาชียะฮ์ อิบนุ อาบิดีน เล่ม 1 หน้า 605 - 606 ตีพิมพ์ ดารฺ อิหฺยาอฺ อัลตุร๊อษ อัลอะรอบีย์

ดังนั้น ประเด็นเรื่องการฮะดียะฮ์ผลบุญให้แด่ท่านนบี(ซ.ล.) นั้น มันเป็นแค่ปัญหาวินิจฉัยเท่านั้นเอง จึงไม่สมควรที่จะเอาทัศนะหนึ่งที่ตนเลือกไปหุกุ่มบิดอะฮ์กับอีกทัศนะหนึ่ง ซึ่งมันเป็นการละเมิดในปัญหาวินิจฉัยที่เราสมัครใจเลือกโดยมีหลักฐาน

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Apr 24, 2006 7:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

ฏอวูส ผู้รายงานหะดิษข้างต้น คือ ฏอวูส บุตร กัยสาน อัลยะมานีย์ อบูอับดุรเราะหมาน อัลหุมัยรี เขาอยู่ในฐานะตาบิอีน (มุสลิมที่อยู่ในยุคเศาะฮาบะฮและได้พบเศาะฮาบะฮ) สิ้นชีวิต ปีฮิจญเราะฮ 106 ที่นครมักกะฮ
หะดิษที่เป็นคำพูดของตาบิอีน เรียกในทางวิชาหะดิษว่า เป็นหะดิษ มักฏูอฺ(حديث مقطوع )
หุกุมเกี่ยวกับหะดิษมักฏูอฺคือ
المقطوع لا يحتج به في شيئ من الأحكام الشرعية أي ولو صحت نسبته لقائله لأنه كلام أوفعل أحد المسلمين
หะดิษมักฎูอฺ จะเอามาเป็นหลักฐานอ้างอิงในด้านบทบัญญัติศาสนาไม่ได้ ถึงแม้ว่า จะอ้างอิงหะดิษอย่างถูกต้อง แก่ผู้ที่กล่าวก็ตาม เพราะความจริงมันเป็นเพียงคำพูด หรือ การกระทำ ของคนหนึ่งจากบรรดามุสลิมทั้งหลายเท่านั้น – ดู ตัยสีรมุศเฏาะละหิลหะดิษ ของ ดร.มะหมูด อัฏเฏาะหาน หน้า 133
…………….
เพราะฉะนั้น จึงถือว่า หะดิษฏอวูสใส่ลงตะกร้าได้เลย ครับมุหัมหมัด

วิจารณ์

ดีครับ ที่บังอะสันได้กลับมาประเด็นสำคัญในเรื่องการทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทานกัน การวิจารณ์ตัวบทหะดิษของท่านฏอวูสที่บังอะสันนำเสนอมานั้น ผมคิดว่ามันไม่ถูกต้องและไม่อยู่ในเชิงวิชาการนะครับ เนื่องจากบังอะสันยกบางส่วนและปกปิดอีกบางส่วน แล้วโยนทิ้งหะดิษดังกล่าวลงตะกร้าไป แบบนี้ผมไม่เห็นด้วยนะครับ เมื่อเรากลับไปทบทวนหนังสือตัยซีร มุสฏ่อละหฺ อัลหะดิษ ของ ดร. มะหฺมูด อัลฏอหฺหาน นั้น มันยังมีข้อความที่สำคัญอยู่อีกที่สามารถมาพิจารณาหะดิษของท่านฏอวูสได้เป็นอย่างดี ซึ่งที่สมบูรณ์นั้นมีดังกล่าวนี้ครับ

حكم الإحتجاج به

المقطوع لا يحتج به فى شيىء من الأحكام الشرعية ، أى ولو صحت نسبته لقائله، لأنه كلام أو فعل أحد المسلمين ، لكن ان كانت هناك قرينة تدل على رفعه ، كقول بعض الرواة : ــ عند ذكر التابعى ــ ( يرفعه ) مثلا ، فعتبر عندئذ له حكم المرفوع المرسل

หุกุ่มการอ้างหลักฐานของหะดิษมักฺฏั๊วะ

หะดิษมักฺฏั๊วะนั้น ไม่สามารถนำมาอ้างเป็นหลักฐานด้วยกับมัน ในสิ่งใดจากบรรดาหุกุ่มของศาสนาได้ หมายถึง หากแม้ว่าจะมีความซอฮิหฺโดยอ้างไปยังผู้กล่าวก็ตาม เพราะว่ามันเป็นเพียงคำพูดหรือการกระทำของคนหนึ่งจากบรรดามุสลิมีนเท่านั้น แต่ว่า หากมันมีสิ่งแวดล้อมที่บ่งถึง มัรฟั๊วะ (ยกอ้างไปถึงนบี) เช่นคำกล่าวของส่วนหนึ่งจากบรรดานักรายงาน ในขณะที่ตาบิอีนได้กล่าว ยกอ้างถึงท่านนบี เป็นต้น ดังนั้น จึงถูกพิจารณามัน ให้เป็นหุกุ่มที่มัรฟั๊วะที่มุรซัล" ดู หนังสือ ตัยซีร มุสฏ่อละหฺ อัลหะดิษ ของ ดร. มะหฺมูด อัลฏอหฺหาน หน้า 134 ตีพิมพ์ มักตะบะฮ์ อัลมะอาริฟ ริยาด ฮ.ศ. 1417 - ค.ศ. 1996

เมื่อเราพิจารณาข้อความที่สมบูรณ์เกี่ยวกับหุกุ่มของ หะดิษมักตั๊วะแล้วนั้น เราจะพบว่า สายรายงานของท่านฏอวูส จะอยู่ในหุกุ่ม มัรฟั๊วะ ไม่ใช่หุกุ่มมักตั๊วะครับ

ซึ่งท่านอิบนุหะญัรได้ทำการกล่าวอธิบายไว้อย่างละเอียดละออแล้ว ซึ่งมีดังนี้

ومن ثم صح عن طاووس أيضاً أنهم كانوا يستحبون أن يطعم عن الميت تلك الأيام وهذا من باب قول التابعى كانوا يفعلون ، وفى قولان لأهل الحديث والأصول ( احدهما) أنه أيضاً من باب المرفوع وأن معناه كان الناس يفعلون ذلك فى عهد النبى صلى الله عليه وسلم ويعلم به ويقرأعليه (والثانى) أنه من باب العزو غلى الصحابة دون إنتهائه غلى النبى صلى الله عليه وسلم وعلى هذا قيل أنه اخبار عن جميع الصحابة فيكون نقلا عن الإجماع وقيل عن بعضهم ورجحه النووى فى شرح مسلم وقال الرافعى مثل هذا اللفظ يراد به أنه مشهوراً فى ذلك العهد من غير نكير... فإن كنت لم كرر الإطعام سبهة أيام دون التلقين ، قلت لأن مصلحة الإطعام متعدية وفائدة للميت أعلى إذ الإطعام عن الميت صدقة وهى تسن عنه إجماعاً

ท่านอัล-หาฟิซฺอิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวว่า " ได้มีสายรายงานที่ซอฮิหฺเช่นกัน จากท่าน ฏอวูส ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ได้ทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิด ใน 7 วันดังกล่าว และคำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวของตาบิอีย์ ว่าบรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำสิ่งดังกล่าว และในคำกล่าวของตาบิอีย์นี้ ได้มีอยู่ 2 ทัศนะด้วยกันจากคำกล่าวของนักปราชญ์หะดิษและอุซูลุลฟิกห์

1. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ (คือท่านฏอวูส) อยู่ในบทการรายงานที่ มัรฟั๊วะ คือไปถึงสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งความหมายของมันก็คือ บรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหลายได้กระทำการเลี้ยง(ให้)อาหาร ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) โดยที่ท่านร่อซูลทราบในสิ่งดังกล่าว หรือถูกบอกให้ทราบต่อท่านนบี(ซ.ล.)

2. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ผคือท่านฏอวูส) อยู่ในเรื่องของการอ้างถึงบรรดาซอฮาบะฮ์เท่านั้น โดยไม่ถึงท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อเป็นเช่นนี้ ถึงถูกกล่าวว่า คำกล่าวของตาบีอีย์(คือท่านฏอวูส) เป็นการบอกเล่าจากบรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหมด ดังนั้น คำกล่าวของท่านฏอวูสนี้จึงเป็นการ ถ่ายทอดถึงมติของบรรดาซอฮาบะฮ์ และบางทัศนะกล่าวว่า ถ่ายทอดเพียงบางส่วนของซอฮาบะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่อิมามอันนะวาวีย์ได้ให้น้ำหนักเอาไว้ใน ชัรหฺมุสลิม และอิมามอัรรอฟิอีย์ ได้กล่าวเช่นเดียวกับคำนี้ ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ การเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น เป็นสิ่งที่แพร่หลายในสมัยของซอฮาบะฮ์ดังกล่าว โดยไม่ได้ถูกตำหนิแต่ประการใด...หากท่านกล่าวว่า เพราะเหตุใด การเลี้ยง(ให้)อาหารถึงต้องทำซ้ำกันถึง 7 วัน โดยที่ไม่ต้องอ่านตัลกีน 7 วัน ฉันขอกล่าวว่า เพราะผลประโยชน์ของการเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น มันมีประโยชน์สูงกว่าและแผ่ไปถึงมัยยิดได้มากกว่า เพราะการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิดนั้น เป็น ซ่อดาเกาะฮ์(บริจาคทาน) ซึ่งมันเป็น สุนัติ โดยมติเอกฉันท์... " ดู หนังสือ อัล-ฟะตาวา อัล-ก๊อบรอ อัลหะดีษะฮ์ ของท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ เล่ม 2 หน้า 30 - 31

ส่วนประเด็นของการอ่านอัลกุรอานผลบุญถึงผู้ตายหรือไม่นั้น ผมอยากจะให้สนทนาหลังสอบก็จะดีอย่างยิ่งครับ เพราะว่าข้อมูลมันเยอะพอสมควรในการอ้างอิงถึงทัศนะอุลามาอ์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ ซึ่งเราจะต้องตรวจสอบทัศนะของท่านให้ครบถ้วนจากหนังสืออุมและสายรายงานจากสานุศิษย์ของท่านและรายละเอียดเหล่านั้นครับ ผมเองอยากให้พูดเป็นประเด็นๆไป จากจบเรื่องการทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทานแล้วก็ขอให้หยุดการสนทนากันชั่วคราวก็จะดีสำหรับพวกเราและบังอะสันจะได้พักผ่อนก็จะดีไม่น้อยเลยครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Apr 24, 2006 11:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากน้องอัลฟารุก
เมื่อเราพิจารณาข้อความที่สมบูรณ์เกี่ยวกับหุกุ่มของ หะดิษมักตั๊วะแล้วนั้น เราจะพบว่า สายรายงานของท่านฏอวูส จะอยู่ในหุกุ่ม มัรฟั๊วะ ไม่ใช่หุกุ่มมักตั๊วะครับ
……………………..
ตอบ
1. หะดิษมัรฟัวะ คือ
- ما أضيف إلى النبي صلى الله عليه وسلم من قولٍ أو فعلٍ أو تقرير أو صفةٍ
คือ สิ่งที่อ้างถึงเกี่ยวกับ ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จาก คำพูด การกระทำ การยอมรับ หรือ คุณลักษณะ (ของท่านนบี)
- ตัยสีรุมุศเฏาะละหุลหะดิษ หน้า 127-128
หรือ หมายถึง หะดิษที่มีสายสืบเล่าไปถึงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
แล้วการอ้างว่า ว่า หะดิษฏอวูส เป็นหะดิษมัรฟัวะนั้น เป็นการคาดเดาเท่านั้น เพราะฎอวูสไม่ได้อ้างถึงเศาะหาบะฮคนใด ที่กล่าวว่าท่านนบี ใช้ให้ครอบครัวผู้ตายเลี้ยงอาหารแก่คนที่มาชุมนุมที่บ้านผู้ตาย หรือ เลี้ยงอาหารเพื่ออุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย แต่ตรงกันข้าม เมื่อได้รับข่าวการตายของยะฮฟัร ท่านกลับสั่งแก่เหล่าเศาะหาบะฮว่า
اِصْنَعُوْا لآلِ جَعْفَرِ طَعَامًا فَقَدْ اَتَاهُمْ مَايُشْغِلُهُمْ . (حسنه الترمزى وصححه الحاكم

“พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวยะฮฟัร ความจริง สิ่งที่นำความทุกข์แก่พวกเขา ได้มาประสบกับพวกเขา” – อัตติรมิซีย์ระบุว่า เป็นหะดิษ หะซัน และอัลหากิมระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ
และ ญะรีร บุตร อับดุลลอฮ อัล-บะญะลี ซึ่งมีฐานะเป็นเศาะหาบะฮ กล่าวว่า

‏كُنَّا نَعُدُّ ‏ ‏الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنِيعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنْ ‏ ‏النِّيَاحَةِ
رواه أحمد وصححه الألباني في أحكام الجنائز (ص167)

พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกัน หลังจากที่ฝังมัยยิต เป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮ- รายงานโดย อะหมัด อัลบานียได้ระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเหียะ ในหนังสือ อะหกามุ้ลญะนาอิซ หน้า 167
......................
3. และอีกประการหนึ่ง คือ หะดิษฏอวูส ไม่ได้ระบุ เรื่อง พิธีกรรม ที่ถูกนำมาประกอบในการเลี้ยงอาหาร แต่ พิธีกรรมบ้านเรา
นั้น ได้กำหนดรูปแบบเอาไว้ ซึ่งไม่มีรูปแบบมาจากสุนนะฮ แต่ตรงกันข้าม มีลักษณะคล้ายคลึงกับพิธีกรรม ทำบุญเนื่องจากการตายในศาสนาอื่น แตกต่างก็เพียงเนื้อหาเท่านนั้น
.................................................
จบเรื่องการทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทานแล้วก็ขอให้หยุดการสนทนากันชั่วคราวก็จะดีสำหรับพวกเราและบังอะสันจะได้พักผ่อนก็จะดีไม่น้อยเลยครับ
_________________
นักศึกษาไคโร อียิปต์
……………….
ตอบ
น้องอัลฟารุกครับ จริงๆแล้วบังได้เคยพูดไว้ว่าจะไม่เข้ามาโต้เถียงในเว็บนี้อีก ซึ่งมันน่าอดสูนักที่มาประณามกัน แต่..เมื่อเข้ามาเห็น นายมุหัมหมัดโพสต์ข้อความที่ว่า “นายอะสัน หัวหน้าวะฮบีย์ตัวจริง แต่ สะลัฟตัวปลอม” เคยขอร้องให้ผู้ดูแลกระดานพิจารณาลบข้อความที่ยั่วยุออกเสียบ้าง แต่เห็นเงียบไป บังก็เลย ต้องเข้ามาอีก เป็นอะไรเป็นกัน เพราะ เคยบอกแล้วว่า ไม่ใช่ไม่พอใจใครแล้วมาลงที่บังอะสัน และ บังบอกแล้วว่า ไม่ได้ยึดติดกับวะฮบี หรือ อุลามาอคนใด และอีกอย่างหนึ่งถ้าเอาความเห็นอุลามาอมาอ้างกัน โดยไม่มีกติกา มันไม่จบหรอก - อย่างไรก็ตาม ขออัลลอฮบันดาลให้ประสบความสำเร็จในการสอบ แก่น้องด้วย
- อามีน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 25, 26, 27  ถัดไป
หน้า 13 จากทั้งหมด 27

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.23 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ