ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
truth มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 10/04/2006 ตอบ: 5
|
ตอบ: Tue Apr 11, 2006 2:46 am ชื่อกระทู้: การแสดงความรักต่อท่านนบี |
|
|
การแสดงความรักต่อท่านนบีนั้นโดยตัวของมันเองแล้วเป็นเรื่องของศาสนาดังนั้นเราต้องแยกให้ออกเป็นประเด็นดังนี้
1. การแสดงความรักต่อท่านนบี ( ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาและศาสนาใช้ให้กระทำด้วย ) บวกกับ การทำเสื้อหรือเย็บปักถักร้อย หรือ สกรีนเสื้อ ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้วเป็นเรื่องทางโลกไม่เกี่ยวกับศาสนาแต่อย่างใด และในขณะที่ทำเสื้อนี้ออกมาก็ไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
2.การแสดงความต่อท่านนบี ( ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาและศาสนาใช้ให้กระทำด้วย ) บวกกับ การทำเมาลิดซึ่งการทำเมาลิดนั้นจะมีพิธีกรรมทางศาสนาเข้ามาผนวกด้วยเช่นการกล่าวสรรญเสริญนบีพร้อมๆกัน และพิธีกรรมอื่นๆที่เกี่ยวกับศาสนา ซึ่งข้อนี้แตกต่างจากข้อแรก ( ข้อ 1 ) ซึ่งไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆทั้งสิ้นมาเกี่ยวข้องในขณะที่กำลังสกรีนเสื้อออกมา
3.การแสดงความต่อท่านนบี ( ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาและศาสนาใช้ให้กระทำด้วย ) บวกกับ การจัดงานที่เกี่ยวกับท่านนบีโดยไม่มีการเจาะจงวัน และไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นการจัดนิทัศการแสดงชีวประวัติของท่านศาสดา ซึ่งการจัดนิทัศการโดยตัวของมันแล้วเป็นเรื่องทางโลก ซึ่งข้อ 3 นี้ก็ต่างไปจากข้อที่ 2 ตรงที่ข้อ 3 นี้ไม่มีพิธีกรรมใดๆทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในกรณีเช่นนี้ถ้าเราบอกว่า ข้อที่ 1 ทำไม่ได้เป็นบิดอะฮฺ ก็เทากับว่าเป็นการปฏิเสธข้อ 3 ไปในตัว แต่ถ้าเรายอมรับว่าข้อที่ 1 สามารถที่จะทำได้ก็เท่ากับว่าเรายอมรับ ข้อ 3 ไปในตัวเช่นกันว่าทำได้ ไม่เป็นบิดอะฮฺ ส่วนข้อที่ 2 นั้นทำไม่ได้แน่ เป็นบิดอะฮฺ เพราะ เอาเรื่องศาสนา ( ที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำ นั้นคือการรักท่านนบี ) มาบวกกับ เรื่องศาสนาที่ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีและซอฮาบะฮฺ (นั้นคือจัดเมาลิดและมีพิธรกรรมศาสนาต่างเข้ามาผนวก) เรื่องแรกเป็นสิ่งที่มีแบบอย่าง แต่เรื่องหลัง ( จัดเมาลิดและมีพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ) เป็นสิ่งที่ไม่มีแบบอย่าง พอมาผนวกเข้าด้วยกับจึงทำให้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า บิดอะฮฺ
ทั้งสามข้อที่ยกมาเป็นสิ่งที่ บรรดาซอฮาบะฮฺสามารถกระทำได้โดยไม่มีปัจจัยอะไรมาขัดขวางไม่ให้กระทำ
เมื่อถึงตรงนี้ก็ลองอ่านอย่างพิจารณาดูก็แล้วกัน และ แยกให้ออกระหว่างเรื่องทางโลกโดยตัวของมันเอง กัน เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาโดยตัวของมันเอง เช่น การเย็บปักถักร้อย โดยตัวของมันเองเป็นเรื่องทางโลก กับ การอ่านกุรอาน หรือการขอดุอาหรือการกล่าวสรรเสริญท่านศาสดา ซึ่งโดยตัวของมันเองเป็นเรื่องศาสนา ที่สำคัญคือแยกให้ออก
การมานั่งรวมกันเป็นกลุ่มโดยตัวของมันเองแล้วไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาหรือพิธีกรรมทางศาสนา แต่ถ้ามานั่งรวมกันเป็นกลุ่มและอ่านอัลกุรอานต้นใดต้นหนึ่งเป็นการเฉพาะและมีพิธีกรรมอื่นๆทางศาสนาเข้ามาผนวกด้วย โดยกระทำกันเป็นการเฉพาะหรือเป็นกิจลักษณะ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง โดยไม่มีรูปแบบการกระทำจากท่านนบีและซอฮาบะฮฺ การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นบิดอะฮฺแน่นอน เช่น การกินบุญคนตาย การ ทำอะกีเกาะฮฺให้เด็กและมีการอ่าน บัรซันยี ร่วมถึงพิธีกรรมทางด้านศาสนาอื่นๆ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
truth มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 10/04/2006 ตอบ: 5
|
ตอบ: Tue Apr 11, 2006 10:39 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การเดินขบวนประท้วงโดยตัวมันเองแล้วเป็นเรื่องทางโลก แต่การปกป้องเกียรติท่านนบีโดยตัวของมันเองแล้วเป็นเรื่องของศาสนา เมื่อเราเอาทั้งสองอย่างมาบวกเข้าด้วยกัน โดยในขณะที่เดินขบวนนั้นไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆเข้ามาเกี่ยวข้องอันเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่ไม่มีรูปแบบจากท่านนบีและซอฮาบะฮฺ เช่นในขณะที่เดินประท้วงก็มีการอ่านคัมภีร์อัลกุรอานต้นใดต้นหนึ่งเจาะจงเป็นการเฉพาะ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์นั้นๆ หรือให้ผู้ที่มาประท้วงทุกคนได้อ่านซูเราะฮฺใดสูเราะฮฺหนึ่งอันเนื่องมาจากการประท้วงนั้น หรือมีการสรรเสริญท่านนบีในรูปแบบที่ไม่มีแบบอย่างจากบรรดาซอฮาบะฮฺโดยกระทำเนื่องจากเหตุการณ์นั้นเป็นการเฉพาะ อย่างนี้ถือทำไม่ได้
อีกประการหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงก็คือ ไม่มีปรากฏเลยว่าการประท้วงนั้นเป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และก็ไม่มีปรากฏเช่นกันว่าการประท้วงนั้นเป็นเอกลักษณ์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะหากแต่ว่าการประท้วงนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยทั่วไปโดยไม่ได้ไปขึ้นอยู่กับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เหมือนกับการใส่เน็คไท ซึ่งไม่มีปรากฏเลยสักที่เดียวในคัมภีร์ไบเบิ้ลทั้งในพันธสัญญาใหม่และเก่าว่าเป็นเอกลักษณ์ของศาสนาคริสต์หรือศาสนาของพวกยิวเป็นการเฉพาะหรือไปเกี่ยวข้องกับความเชื่อของศาสนาหนึ่งศาสนาใดเป็นการเฉพาะ ซึ่งต่างจากไม้กางเขน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ของคริสเตียนเป็นการเฉพาะเลยนั้นนั้นมุสลิมไปเอาไม้กางเล็กไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่มาใส่ไม่ได้เด็ดขาด |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue Apr 11, 2006 1:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณ yoohoo
คุณจะหุกุ่มหรือกล่าวหาผู้ใดหรือกลุ่มใดนั้น หากคุณไม่เห็นไม่รู้จริง โดยบอกว่าซอลาวาตต่อหน้าเจว็จบ้าง เดี๋ยววันนี้ก็ตลบแตลงบอกว่า อยู่หลังเจว็ด 50 เมตรบ้าง ซึ่งตามหลักศาสนาอิสลามแล้ว คำพูดของคุณนั้นใช้ไม่ได้ และอยู่ในขอบข่ายของการโกหกและเป็นคนโกหก คุณก็อย่าไปกุบัญญัติหุกุ่มศาสนากับผู้ใดเลยครับ หากพวกเรากล่าวว่า วะฮาบีย์ชอบโกหกเหมือนกับพวกชีอะฮ์ สงสัยคงไม่ผิด เพราะพฤติกรรมของคุณ yoohoo มันส่อ...
อ้างจากtruth
1. การแสดงความรักต่อท่านนบี ( ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาและศาสนาใช้ให้กระทำด้วย ) บวกกับ การทำเสื้อหรือเย็บปักถักร้อย หรือ สกรีนเสื้อ ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้วเป็นเรื่องทางโลกไม่เกี่ยวกับศาสนาแต่อย่างใด และในขณะที่ทำเสื้อนี้ออกมาก็ไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
วิจารณ์
การแสดงความรักต่อท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยสือวิธีการของดุนยาหรือแสดงออกมาทางดุนยา เช่นสกรีนเสื้อ ถือว่าเป็นการแสดงความรักต่อท่านนบี(ซ.ล.)ที่ได้ผลบุญตามหลักการของวะฮาบีย์!!! แต่การแสดงความรักต่อท่านนบี(ซ.ล.) โดยรวมตัวกันซอละวาตขอพรต่อท่านนบี(ซ.ล.)ที่เป็นกิจลักษณะมีระเบียบเรียบร้อย(คือเป็นพิธีกรรมที่วะฮาบีย์ชอบนำมาใช้พูด) ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ ตกนรก ตามทัศนะของวะฮาบีย์ เราไม่ทราบว่าหลักการของวะฮาบีย์นี้ มาจากหลักการของสะละฟุศศอลิหฺหรือไม่?
อ้างจากtruth
2.การแสดงความต่อท่านนบี ( ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาและศาสนาใช้ให้กระทำด้วย ) บวกกับ การทำเมาลิดซึ่งการทำเมาลิดนั้นจะมีพิธีกรรมทางศาสนาเข้ามาผนวกด้วยเช่นการกล่าวสรรญเสริญนบีพร้อมๆกัน และพิธีกรรมอื่นๆที่เกี่ยวกับศาสนา ซึ่งข้อนี้แตกต่างจากข้อแรก ( ข้อ 1 ) ซึ่งไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆทั้งสิ้นมาเกี่ยวข้องในขณะที่กำลังสกรีนเสื้อออกมา
วิจารณ์
การแสดงความรักต่อท่านนบี(ซ.ล.) โดยการผนวกด้วยกับ บิดอะฮ์ดุนยา (ที่วะฮาบีย์แบ่งแยกบิดอะฮ์ออกเป็น บิดอะฮ์ศาสนา และบิดอะฮ์ดุนยา ซึ่งสลัฟไม่เคยแบ่งเอาไว้) เช่น เช่นการสกรีเสื้อ "เรารักนบี" ถือว่าได้ผลบุญ เพราะมันเป็นแค่ บิดอะฮ์ดุนยา และวะฮาบีย์ก็ส่งเสริมทำกันสิ่งเหล่านี้ เพื่อประกาศตนเองว่ารักท่านนบี(ซ.ล.) แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รวมตัวกันและกิจลักษณะมีระเบียบเรียบร้อย แล้วทำการซอลาวาตหรือขอพรให้ท่านนบี(ซ.ล.) กลับเป็น บิดอะฮ์ ตกนรก ตามทัศนะของวะฮาบีย์ ทั้งที่การซอละวาตท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นสิ่งที่วายิบ เจาะจง مقيد เช่น ซอลาวาตในละหมาด(ตะชะฮุด) และสุนัตสมัครใจให้กระทำโดยคำสั่งแบบกว้างๆ مطلق ซึ่งเราจะกระทำในรูปแบบใดก็ได้ตามความเหมาะสมที่ไม่ขัดกับหลักการของศาสนา จะทำแบบคนเดียว หรือจะทำแบบเป็นกลุ่ม โดยเป็นกิจลักษณะมีระเบียบเรียบร้อย ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดี เพราะท่านนบี(ซ.ล.) ยอมรับในเรื่องการซิกิรและอ่านอัลกุรอานกันเป็นกลุ่มและแบบเป็นวง(หะละเกาะฮ์) และหลักฐานของวะฮาบีย์ที่ท่านอิบนุมัสอูดห้ามซิกิรแบบตีวงนั้น ถือว่ามีสายรายงานที่ฏออีฟอย่างชัดเจนยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ (รายละเอียดค่อยว่ากัน)
อ้างจากtruth
3.การแสดงความต่อท่านนบี ( ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาและศาสนาใช้ให้กระทำด้วย ) บวกกับ การจัดงานที่เกี่ยวกับท่านนบีโดยไม่มีการเจาะจงวัน และไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นการจัดนิทัศการแสดงชีวประวัติของท่านศาสดา ซึ่งการจัดนิทัศการโดยตัวของมันแล้วเป็นเรื่องทางโลก ซึ่งข้อ 3 นี้ก็ต่างไปจากข้อที่ 2 ตรงที่ข้อ 3 นี้ไม่มีพิธีกรรมใดๆทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
วิจารณ์
การแสดงความรักต่อท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นเรื่องของศาสนา และสื่อที่นำไปสู่ความรักนบี(ซ.ล.) ก็ย่อมเป็นเรื่องศาสนาด้วย หากแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องดุนยามาก่อน เนื่องจากเท่าไหร่แล้ว ที่เรื่องดุนยากลับกลายเป็นเรื่องศาสนา เนื่องจากาการเหนียตที่ดี และเท่าไหร่แล้ว ที่เรื่องของศาสนากลับกลายเป็นเรื่องดุนยาไปเนื่องจากเหนียตไม่ดี ดังนั้น หากการสกรีนเสื้อ "เรารักนบี" เป็น เรื่องของดุนยา หรือบิดอะฮ์ดุนยา ตามทัศนะที่วะฮาบีย์ยอมรับนั้น ก็ถือให้กระทำได้ครับ แต่กลับไม่ได้ผลบุญใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากมันเป็นเรื่องของดุนยา มุบาห์ (บิดอะฮ์มุบาห์ตามทัศนะของเรา แต่บิดอะฮ์ดุนยาตามทัศนะของวะฮาบีย์) หากวะฮาบีย์บอกว่า ต้องได้ผลบุญซิ เพราะว่าการมีเจตนากระทำขึ้นเพราะรักนบี(ซ.ล.) เราขอตอบว่า การรักนบี(ซ.ล.) นั้น เป็นเรื่องศาสนา เป็นอิบาดะฮ์ ดังนั้น การสกรีนเสื้อ "เรารักนบี" จึงเป็นเรื่องของศาสนา เนื่องจากการเหนียตเจตนาในเรื่องศาสนาอิบาดะฮ์(คือ การแสดงความรักต่อท่านนบี)
ดังนั้น หากเราพิจารณา จากข้อ 1 - 2 และ 3 นั้น การสกรีนเสื้อ "เรารักนบี" ที่วะฮาบีย์ทำขึ้น จะไร้ผลบุญโดยสิ้นเชิง หากพวกเขา แยกเรื่องศาสนา กับ ดุนยา(ทางโลก) เมื่อไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ก็แสดงว่า การสกรีนเสื้อของวะฮาบีย์นั้น เป็น บิดอะฮ์ดุนยา
อ้างจากtruth
เรื่องศาสนาที่ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีและซอฮาบะฮฺ (นั้นคือจัดเมาลิดและมีพิธรกรรมศาสนาต่างเข้ามาผนวก) เรื่องแรกเป็นสิ่งที่มีแบบอย่าง แต่เรื่องหลัง ( จัดเมาลิดและมีพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ) เป็นสิ่งที่ไม่มีแบบอย่าง พอมาผนวกเข้าด้วยกับจึงทำให้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า บิดอะฮฺ
ทั้งสามข้อที่ยกมาเป็นสิ่งที่ บรรดาซอฮาบะฮฺสามารถกระทำได้โดยไม่มีปัจจัยอะไรมาขัดขวางไม่ให้กระทำ
วิจารณ์
"แบบอย่าง" ที่วะฮาบีย์ชอบพูดมานี้ หมายถึง การกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) และซอฮาบะฮ์ และการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำนั้น ได้ชี้ถึงว่า หะรอม นอกจาก มีหลักฐานมายืนยันอย่างเจาะจงว่าหะรอม และมีการกระทำที่ผิดกับบัญญัติของศาสนา การซอละวาตท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นสิ่งที่วายิบ เจาะจง مقيد เช่น ซอลาวาตในละหมาด(ตะชะฮุด) และสุนัตสมัครใจให้กระทำโดยคำสั่งแบบกว้างๆ مطلق ซึ่งเราจะกระทำในรูปแบบใดก็ได้ตามความเหมาะสมที่ไม่ขัดกับหลักการของศาสนา จะทำแบบคนเดียว หรือจะทำแบบเป็นกลุ่ม โดยเป็นกิจลักษณะมีระเบียบเรียบร้อย ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดี เพราะท่านนบี(ซ.ล.) ยอมรับในเรื่องการซิกิรและอ่านอัลกุรอานกันเป็นกลุ่มและแบบเป็นวง(หะละเกาะฮ์) และหลักฐานที่ท่านอิบนุมัสอูดห้ามซิกิรแบบตีวงนั้น ถือว่ามีสายรายงานที่ฏออีฟที่ชัดเจนยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ (รายละเอียดค่อยว่ากัน)
และการกล่าวว่า ซอฮาบะฮ์ไม่ได้ทำนั้น เป็นหลักการบัญญัติที่ "ห้าม" ย่อมไม่ใช่หลักการของศะละฟุศศอลิหฺและไม่ใช่เป็นหลักฐานของหลักวิชานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกห์) และการกล่าวว่า "หากสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ดี บรรดาสะละฟุศศอลิหฺย่อมกระทำมาก่อนเรา" ซึ่งคำกล่าวนี้ ไม่ใช่เป็นหลักฐานของศาสนาตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ที่มาบ่งชี้ว่ามันเป็นสิ่งที่"หะรอม" ต้องห้าม หรือบิดอะฮ์ตกนรก ซึ่งหลักการนี้ ไม่ใช่หลักการของสะละฟุศศอลิหฺ แต่เป็นหลักการของวะฮาบีย์!!!
ดังนั้น หากว่าประเด็นหนึ่ง หรือปัญหาหนึ่ง ที่สะละฟุศศอลิหฺ(หรือผู้ที่อยู่ก่อนจากเขา)นั้นไม่ได้กระทำไว้ เป็นหลักฐาน ที่ชี้ว่า ไม่มีบทบัญญัติในศาสนาแล้ว แน่นอนว่า บรรดานักปราชญ์ตาบิอีน ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้นิ่งเฉยไม่ได้กระทำและกล่าวกับมัน และแน่นอนว่า บรรดานักปราชญ์ตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้มีสิทธิ์ที่จะพูดและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่บรรดานักปราชญ์ตาบิอีนได้นิ่งเฉยไม่ได้กระทำและกล่าวกับมัน ซึ่งหลักการนี้ ขัดแย้งกับคำกล่าวและหลักการของท่านอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล ท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อุซุลุลฟิกห์ของท่านว่า
قال أبو داود: قال أحمد بن حنبل:... فإذا وجدت عن رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم لم أعدل إلى غيره، فإذا لم أجد... فعن الخلفاء الأربعة... فإذا لم أجد فعن أصحابه الأكابر فالأكابر... فإذا لم أجد فعن التابعين وتابع التابعين، ولو كان عدم الرواية حجة على عدم المشروعية لكان ينبغي للتابعين أن يقولوا لو كان خيراً لسبقنا إليه الصحابة، وكان ينبغي لأتباعهم أن يقولوا: لو كان خير لسبقنا إليه التابعون
" ท่านอบู ดาวูด กล่าวว่า ท่าน อะหฺมัด บิน หัมบัลกล่าวว่า เมื่อฉันพบ(หลักฐาน) จากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ฉันก็ไม่เคยผินไปยังผู้อื่นจากท่านร่อซูล และเมื่อฉันไม่พบ ก็เอาจากบรรดาคอลิฟะฮ์ทั้ง 4 และเมื่อฉันไม่พบ ก็จากบรรดาซอฮาบะฮ์ผู้อวุโส และอวุโสถัดๆไป และเมื่อฉันไม่พบอีก ก็เอาจากตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน และหากว่า การไม่มีการรายงานมานั้น เป็นหลักฐานว่าไม่มีบทบัญญัติในศาสนา แน่นอนว่า เป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอีน โดยการกล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมทำกระทำล่วงหน้ามันมาก่อนแล้ว และเป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอิตตาบิอีน กล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมกระทำล่วงหน้ามันมาก่อนแล้ว" ดู หนังสือ มุเซาวะดะฮ์ อาลิ ตัยมียะฮ์ หน้า 336
จากสิ่งที่ผมได้อ้างอิงมานั้น ย่อมชี้ให้เห็นว่า หากมีไม่มีสายรายงานมาระบุ บรรดาตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้เอาคำกล่าวที่ว่า" บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมทำกระทำล่วงหน้าไปยังมันก่อนแล้ว และเป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอิตตาบิอีน กล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมกระทำล่วงหน้าไปยังมันก่อนแล้ว" มาเป็นหลักการและหลักฐาน ในการห้ามหรือหุกุ่มหะรอมสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย
และหลักการของท่านอิมามอะหฺมัดนี้ ก็อิงจากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ซึ่งรายงานโดยท่าน อัลนะซาอีย์ ไว้ในสุนันของท่าน ในหะดิษที่ 5397 ว่า
فإن جاء أمر ليس في كتاب الله، ولا قضى به نبيه صلى الله عليه وآله وسلم، ولا قضى به الصالحون، فليجتهد رأيه
ท่านอิบนุมัสอูดกล่าวว่า "หากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีระบุไว้ใน กิตาบุลเลาะฮ์ และท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" (เช่นการกิยาส)
ดังนั้น หากการไม่มีรายงานมาระบุ เป็นหลักฐานที่ว่า ไม่มีบทบัญญัติในศาสนานั้น แน่นอนว่า ท่านอิบนุมัสอูดก็กล่าวไม่ได้ว่า "ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" แต่ท่านอิบนุมัสอูด สมควรกล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี บรรดาผู้มีคุณธรรมก็ต้องกระทำล่วงหน้ามันมาก่อน(จากท่านอิบนุมัสอูด)แล้ว ดังนั้น จึงไม่อนุญาติให้ทำการวินิจฉัย แต่ท่านอิบนุมัสอูดไม่ได้กล่าวอย่างนั้น และไม่มีสะละฟุศศอลิหฺ ให้คำพูดดังกล่าวมาเป็นหลักฐานหุกุ่มเกี่ยวศาสนาในนิติศาสตร์อิสลาม ส่วนรายละเอียดที่ผมได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น ค่อยว่ากันครับ สำหรับเรื่องเมาลิดนบี(ซ.ล.)นั้น ความจริงเราอยากจะสนทนาอย่างเป็นทางการและในเชิงวิชาการเต็มรูปแบบ แต่ช่วงนี้ มันใกล้สอบกันแล้ว ก็เลยสนทนาแบบเต็มที่ในเรื่องเมาลิดนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ และหากว่า ผมได้หนังสือ ของ นายมุรีด เกี่ยวกับเรื่องเมาลิด ก็คงจะดีไม่น้อย เผื่อผมจะได้จับเท็จและการหมกเม็ดได้บ้างนะครับ
และผมได้ฟังการปราศัยของ คุณ วาเฮด หวังประโยชน์ ซึ่งเขากล่าวว่า ต้นไม้ริดวาน(ที่ท่านนบีและบรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำการให้สัตยาบันนั้น) บรรดาซอฮาบะฮ์ต่างลืม ไม่รู้ว่าเป็นต้นไม้ต้นใหน แต่หลักจากนั้น คุณ วาเฮดกล่าวว่า แล้วท่านอุมัรได้สั่งตัดต้นไม้นั้น ผมก็แปลกใจในคำพูดที่วกวนของ คุณวาเฮด หวังประโยชน์ ที่บอกว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่รู้ (อันนี้ซอฮิหฺ) แต่ท่านอุมัรกลับสั่งตัด (อันนี้ฏออีฟ) ไม่รู้แล้วสั่งตัดได้อย่างไร??? (เรามาจับเท็จกันเถิด) ฮ้าๆ _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Apr 12, 2006 1:14 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้อความของน้อง al-farook
และหลักการของท่านอิมามอะหฺมัดนี้ ก็อิงจากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ซึ่งรายงานโดยท่าน อัลนะซาอีย์ ไว้ในสุนันของท่าน ในหะดิษที่ 5397 ว่า
فإن جاء أمر ليس في كتاب الله، ولا قضى به نبيه صلى الله عليه وآله وسلم، ولا قضى به الصالحون، فليجتهد رأيه
ท่านอิบนุมัสอูดกล่าวว่า "หากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีระบุไว้ใน กิตาบุลเลาะฮ์ และท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" (เช่นการกิยาส)
..
ตอบ
บังอะสันขอวิจารณ์สิ่งที่น้องอ้างอิงสักเล็กน้อย คือ มันอดไม่ได้ จริงๆ หากจะนำหะดิษข้างต้นมาอ้างเรื่อง ที่ว่า ถ้าสิ่งใดท่านนบีไม่ทำ ก็ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้น เป็นข้อห้าม เพื่อมายืนยันว่า สิ่งที่เป็นบิดอะฮในศาสนานั้น มีบิดอะฮที่ดีอยู่ด้วย คือ หากเห็นว่าดี ย่อมที่จะทำได้ เช่น จัดงานครบรอบวันเกิด(เมาลิด)ของท่านนบีเป็นต้น เพราะนบี ไม่ได้ห้ามไว้ อยากจะเรียนว่า หะดิษข้างต้น เป็นข้อแนะนำของท่านอิบนิมัสอูด เกียวกับการตัดสินคดีความ ที่ถูกนำขึ้นมาฟ้องร้อง ซึ่งตัวบททั้งหมด ได้แก่
عن ابن مسعود قال#8207; أتى علينا زمان لسنا نقضي ولسنا هنالك وإن الله عز وجل قد بلغنا ما ترون فمن عرض له منكم قضاء بعد اليوم فليقض فيه بما في كتاب الله، فإن أتاه أمر ليس في كتاب الله فليقض فيه بما قضى به رسول الله صلى الله عليه وسلم؛ فإن أتاه امر ليس في كتاب الله ولم يقض فيه رسول الله صلى الله عليه وسلم فليقض بما قضى به الصالحون، فإن أتاه أمر ليس في كتاب الله ولم يقض فيه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولم يقض فيه الصالحون فليجتهد برأيه، ولا يقولن أحدكم#8207; إني أخاف وإني أرى فإن الحلال بين وإن الحرام بين وبين ذلك أمور مشتبهة فدع ما يريبك
รายงานจากอิบนิมัสอูด กล่าวว่า กาลเวลาหนึ่ง ได้ล่วงเลยพวกเราไป ซึ่งไม่มีพวกเราที่จะตัดสิน และไม่มีพวกเรา ณ ที่นั้น และแท้จริง อัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ให้ถึงมายังเรา สิ่งซึ่งพวกท่านแสดงความเห็น ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกท่าน ได้มีคดีความถูกนำมาเสนอให้เขาตัดสิน หลังจากวันนี้ เขาจงตัดสินในเรื่องนั้น ด้วยสิ่งที่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ แล้วถ้าหากเรื่องใดได้มายังเขา ซึ่งไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ ก็ให้เขาตัดสิน ในเรื่องนั้น ด้วย สิ่งที่ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ตัดสินชี้ขาดไว้ แล้วถ้าหากเรื่องใดได้มายังเขา ซึ่งไม่มีระบุไว้ใน คัมภีร์ของอัลลอฮ และท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ก็ให้เขาตัดสินในเรื่องนั้น ตามที่บรรดาผู้มีคุณธรรมได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ แล้วถ้าหากเรื่องใดได้มายังเขา ที่ไม่มีระบุไว้ใน คัมภีร์ของอัลลอฮ และท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา และคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่าน อย่าได้กล่าวว่า แท้จริงฉันเกรงว่า และแท้จริงฉันมีความเห็นว่า แท้จริง สิ่งอนุมัตินั้น ชัดเจน และแท้จริงสิ่งที่ต้องห้ามนั้นชัดเจน และในระหว่างนั้น คือ บรรดาสิ่งที่คลุมเครือ ดังนั้น จงทิ้งในสิ่งที่ทำให้ท่านสงสัย -
النهاية (2/286)
رواه البيهقي في السنن الكبرى كتاب آداب القاضي (10/115
เรื่อง คดีความ มันมีหลากหลายรูปแบบตามยุค ตามสมัย ที่ได้เปลี่ยนแปลง หากไม่มีข้อตัดสินไว้ในอัลกุรอ่าน ในอัสสุนนะฮ และในการกระทำของชาวสะละฟุสศอลิห ย่อมเปิดโอกาสให้แก่ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจของตนได้
และนี่ไม่ใช่เรื่อง เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาแต่ประการใด
...............
หมายเหตุ หากใคระค้านก็ได้ แต่ต้องนำหะดิษ มาอ้างอิง แต่ ขอร้องอย่าใช้คำเสียดสี เหน็บแหนม เยาะเย้ย ถากถาง เพราะนั้นไม่ใช่การสนทนาของผู้มีอีหม่าน ขอร้องนะครับ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Apr 12, 2006 1:22 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เอ..ตุกตาร้องเพลงมันมาได้อย่างไรหว่า ขอโพสต์ใหม่นะคับท่านเว็บ
ข้อความของน้อง al-farook
และหลักการของท่านอิมามอะหฺมัดนี้ ก็อิงจากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ซึ่งรายงานโดยท่าน อัลนะซาอีย์ ไว้ในสุนันของท่าน ในหะดิษที่ 5397 ว่า
فإن جاء أمر ليس في كتاب الله، ولا قضى به نبيه صلى الله عليه وآله وسلم، ولا قضى به الصالحون، فليجتهد رأيه
ท่านอิบนุมัสอูดกล่าวว่า "หากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีระบุไว้ใน กิตาบุลเลาะฮ์ และท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" (เช่นการกิยาส)
..
ตอบ
บังอะสันขอวิจารณ์สิ่งที่น้องอ้างอิงสักเล็กน้อย คือ มันอดไม่ได้ จริงๆ หากจะนำหะดิษข้างต้นมาอ้างเรื่อง ที่ว่า ถ้าสิ่งใดท่านนบีไม่ทำ ก็ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้น เป็นข้อห้าม เพื่อมายืนยันว่า สิ่งที่เป็นบิดอะฮในศาสนานั้น มีบิดอะฮที่ดีอยู่ด้วย คือ หากเห็นว่าดี ย่อมที่จะทำได้ เช่น จัดงานครบรอบวันเกิด(เมาลิด)ของท่านนบีเป็นต้น เพราะนบี ไม่ได้ห้ามไว้ อยากจะเรียนว่า หะดิษข้างต้น เป็นข้อแนะนำของท่านอิบนิมัสอูด เกียวกับการตัดสินคดีความ ที่ถูกนำขึ้นมาฟ้องร้อง ซึ่งตัวบททั้งหมด ได้แก่
عن ابن مسعود قال#8207; أتى علينا زمان لسنا نقضي ولسنا هنالك وإن الله عز وجل قد بلغنا ما ترون فمن عرض له منكم قضاء بعد اليوم فليقض فيه بما في كتاب الله، فإن أتاه أمر ليس في كتاب الله فليقض فيه بما قضى به رسول الله صلى الله عليه وسلم؛ فإن أتاه امر ليس في كتاب الله ولم يقض فيه رسول الله صلى الله عليه وسلم فليقض بما قضى به الصالحون، فإن أتاه أمر ليس في كتاب الله ولم يقض فيه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولم يقض فيه الصالحون فليجتهد برأيه، ولا يقولن أحدكم#8207; إني أخاف وإني أرى فإن الحلال بين وإن الحرام بين وبين ذلك أمور مشتبهة فدع ما يريبك
รายงานจากอิบนิมัสอูด กล่าวว่า กาลเวลาหนึ่ง ได้ล่วงเลยพวกเราไป ซึ่งไม่มีพวกเราที่จะตัดสิน และไม่มีพวกเรา ณ ที่นั้น และแท้จริง อัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ให้ถึงมายังเรา สิ่งซึ่งพวกท่านแสดงความเห็น ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกท่าน ได้มีคดีความถูกนำมาเสนอให้เขาตัดสิน หลังจากวันนี้ เขาจงตัดสินในเรื่องนั้น ด้วยสิ่งที่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ แล้วถ้าหากเรื่องใดได้มายังเขา ซึ่งไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ ก็ให้เขาตัดสิน ในเรื่องนั้น ด้วย สิ่งที่ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ตัดสินชี้ขาดไว้ แล้วถ้าหากเรื่องใดได้มายังเขา ซึ่งไม่มีระบุไว้ใน คัมภีร์ของอัลลอฮ และท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ก็ให้เขาตัดสินในเรื่องนั้น ตามที่บรรดาผู้มีคุณธรรมได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ แล้วถ้าหากเรื่องใดได้มายังเขา ที่ไม่มีระบุไว้ใน คัมภีร์ของอัลลอฮ และท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา และคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่าน อย่าได้กล่าวว่า แท้จริงฉันเกรงว่า และแท้จริงฉันมีความเห็นว่า แท้จริง สิ่งอนุมัตินั้น ชัดเจน และแท้จริงสิ่งที่ต้องห้ามนั้นชัดเจน และในระหว่างนั้น คือ บรรดาสิ่งที่คลุมเครือ ดังนั้น จงทิ้งในสิ่งที่ทำให้ท่านสงสัย -
النهاية (2/286)
رواه البيهقي في السنن الكبرى كتاب آداب القاضي (10/115
เรื่อง คดีความ มันมีหลากหลายรูปแบบตามยุค ตามสมัย ที่ได้เปลี่ยนแปลง หากไม่มีข้อตัดสินไว้ในอัลกุรอ่าน ในอัสสุนนะฮ และในการกระทำของชาวสะละฟุสศอลิห ย่อมเปิดโอกาสให้แก่ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจของตนได้
และนี่ไม่ใช่เรื่อง เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาแต่ประการใด
..........................
หากใครจะค้านก็ไม่ขัดข้อง แต่ควรจำนำเสนอด้านวิชาการและไม่เสียดสี เยาะเย้ย ถากถางกัน ขอร้องนะครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Wed Apr 12, 2006 1:54 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างจากบังอะสัน
และหลักการของท่านอิมามอะหฺมัดนี้ ก็อิงจากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ซึ่งรายงานโดยท่าน อัลนะซาอีย์ ไว้ในสุนันของท่าน ในหะดิษที่ 5397 ว่า
فإن جاء أمر ليس في كتاب الله، ولا قضى به نبيه صلى الله عليه وآله وسلم، ولا قضى به الصالحون، فليجتهد رأيه
ท่านอิบนุมัสอูดกล่าวว่า "หากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีระบุไว้ใน กิตาบุลเลาะฮ์ และท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" (เช่นการกิยาส)
..
ตอบ
บังอะสันขอวิจารณ์สิ่งที่น้องอ้างอิงสักเล็กน้อย คือ มันอดไม่ได้ จริงๆ หากจะนำหะดิษข้างต้นมาอ้างเรื่อง ที่ว่า ถ้าสิ่งใดท่านนบีไม่ทำ ก็ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้น เป็นข้อห้าม เพื่อมายืนยันว่า สิ่งที่เป็นบิดอะฮในศาสนานั้น มีบิดอะฮที่ดีอยู่ด้วย คือ หากเห็นว่าดี ย่อมที่จะทำได้ เช่น จัดงานครบรอบวันเกิด(เมาลิด)ของท่านนบีเป็นต้น เพราะนบี ไม่ได้ห้ามไว้
บังอะสันกล่าวต่อว่า
เรื่อง คดีความ มันมีหลากหลายรูปแบบตามยุค ตามสมัย ที่ได้เปลี่ยนแปลง หากไม่มีข้อตัดสินไว้ในอัลกุรอ่าน ในอัสสุนนะฮ และในการกระทำของชาวสะละฟุสศอลิห ย่อมเปิดโอกาสให้แก่ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจของตนได้
และนี่ไม่ใช่เรื่อง เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาแต่ประการใด
วิจารณ์
เรื่องเมาลิดนั้น มีหลักฐานจากคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ส่วนรายละเอียดนั้น ผมขอตอนหลังสอบครับ เพื่อจะได้สนทนากันต่อเนื่องในเชิงวิชการเต็มรูปแบบครับ
และจากคำพูดของ ท่านอิบนุมัสอูดนั้น ผมยกอ้างเพื่อยืนยันถึงหลักการอ้างหลักฐานเท่านั้นเองครับ คำว่า "หากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีระบุไว้ใน กิตาบุลเลาะฮ์...." คำว่า "สิ่งหนึ่ง"หรือ "ประการหนึ่ง" ที่นี้ ให้ความหมายที่ อุมูม ครอบคลุม ถึงเรื่องศาสนาและเรื่องของดุนยา หรือรวมถึงเรื่องอิบาดะฮ์และเรื่องที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์ เรื่องอิบาดะฮ์ก็มีการตัดสิน และเรื่องของที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์ก็มีการตัดสินพิพากษาได้ เนื่องจากทุกอย่างก็คือหุกุ่มเช่นเดียวกัน และการยกคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูดมานั้น เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า การที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์นั้น ก็ให้ใช้ความเห็น(เช่นการกิยาส) แต่หลักการหรือหลักฐานหะรอมที่ว่า "หากนบีหรือซอฮาบะฮ์ไม่กระทำถึงหะรอม" หรือบอกว่า "หากมันเป็นสิ่งที่ดี บรรดาผู้มีคุณธรรมก็ต้องกระทำล่วงหน้ามันมาก่อน" ซึ่งการกล่าวอย่างนี้ ไม่ใช่เป็นหลักฐานว่า หะรอม หรือ ไม่หะรอม และการที่ท่านนบีไม่ได้ทำนั้น ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่หะรอม นอกจากมีหลักฐานมาระบุว่ามันหะรอม และการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำนั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานตามหลักวิชานิติศาสตร์อิสลาม ในการชี้ขาด ก็เท่านั้นแหละครับบังอะสัน
ส่วนเรื่องพิธีกรรมในศาสนานั้น เราต้องมีหลักฐานมายืนยันครับ แต่บังอะสันอย่าลืมว่า หลักฐานนั้น มีทั้งหลักฐานที่เฉพาะเจาะจงไว้แล้ว และมีหลักฐานแบบกว้างๆ ซึ่งผมก็ได้อธิบายมาเยอะมากแล้วนะครับ หากอยากดูรายละเอียด บังอะสันโปรดติดตาม กระทู้ เหลือเชื่อ !!! เสื้อเรารักนบีเป็นบิดอะห์ ดีกว่าครับ เรื่องทำบุญคนตายและพิธีกรรมที่บังชอบเอ่ยขึ้นมานั้น ผมได้อธิบายได้ในกระทู้ดังกล่าวแล้วครับ โปรดไปติดตามได้ _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Apr 12, 2006 2:02 am ชื่อกระทู้: |
|
|
แก้ไขเพิ่มเติม
فدع ما يريبك إلى ما لا يريبك
ดังนั้น จงทิ้งสิ่งที่ทำให้ท่านสงสัย ไปยังสิ่งที่ไม่ทำให้ท่านสงสัย
...........
หมายถึงทิ้งสิ่งที่ไม่แน่ใจ ไปเอาสิ่งที่มั่นใจ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Konyakroo มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006 ตอบ: 244
|
ตอบ: Wed Apr 12, 2006 7:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้องอัลฟารุค
สุดยอดและสุดเจ๋งไปเลยน้อง ตอนนี้บัง กำลังทำข้างหมกขายอยู่ครับไม่ค่อยว่างได้มาแจมด้วย
เป็นที่น่าสังเกตุว่า ความสัจจะนั้นย่อมมีหลักฐานมาหักล้างความเท็จและหมกเม็ดเสมอฮ้าๆๆๆ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
dabdulla มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005 ตอบ: 437
|
ตอบ: Wed Apr 12, 2006 10:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อัสลามุอลัยกุม คุณคนอยากรู้
ถ้าคุณจะร่วมคุย ก็ไม่ว่า แต่ถ้ายังแสดงคำพูด ถ่อยๆ ให้เห็นออกมาอีก ผมจะแจ้งให้เวปมาสเตอร์ สังเกตพฤติกรรมคุณ และบล็อคคุณ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
adeel มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004 ตอบ: 172
|
ตอบ: Thu Apr 13, 2006 5:26 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย
ใครถ่อย ก็ถอยไป
คนถ่อย ออกไป
คนถ่อย ออกไป
คนถ่อย ออกไป |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Fri Apr 14, 2006 6:09 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณอะดีล นั่นแหละครับ ที่เป็นหน้าที่ที่เหมาะสำหรับคุณ คุณเข้ามา ก็มาพูดแบบนี้แหละครับดี เชิญทำหน้าที่นี้ต่อไปครับ ฮ้า ฮ่า ฮ้ายย _________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
adeel มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004 ตอบ: 172
|
ตอบ: Fri Apr 14, 2006 7:16 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณคร๊าบ มอบหน้าที่ให้คอยไล่คนถ่อย
ชิ้ว ๆ ๆ ๆ คนถ่อย ออกไป
คนถ่อย ออกไป |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
fais มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2005 ตอบ: 84
|
ตอบ: Fri Apr 14, 2006 2:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถ้าหากว่าไม่มีหลักฐานจากท่าน นบี ได้ห้ามไว้ในการอ้างพื่อการกระทำบิดอะห์ นั้นแสดงว่าเราอุมมะห์อิสลาม จะจัดงานวันเกิดหรืองานวันตายก็ได้อย่างนั้นหรือ ?
.......
หรือว่าเวลาละหมาด เราจะเอามือวางใว้บนหัวหรือข้างหลังได้อย่างนั้นหรือ?
.........
และคุณคิดหรือว่าถ้าท่าน นบี ยังมีชีวิตอยู่ ท่าน จะไม่ห้ามการกระทำที่พวกคุณปกป้องกันอยู่
ศาสนาเป็นของคุณหรือ ที่จะมาตกแต่งอะไรก็ได้ตามความคิดของคุณอย่างนั้นหรือ?
...........
เกี่ยวกับการทำเมาลิด นบี คุณเคยเข้าไปดูพฤติกรรมของชาวคริสต์กระทำกันในโบส์มั้ย ว่ามันคล้ายอย่างไรกับที่เรากระทำกันในบ้านเราอยู่ในขนะนี้ และคุณก็ยังดันทุรันทำกันทั้งๆ ที่ทราบว่ามันเป็น ซุบฮะห์ และท่าน นบี ก็ได้ห้ามใว้ ไม่ให้ เคารพท่านอย่างที่พวก คริสต์และยาฮูดีเขาเคารพต่อนบีของเขา
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Fri Apr 14, 2006 8:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บังคนอยากรู้เจ๋งครับ ที่สามารถทำให้ อับดุลลา และอาดีล พูดด้วยถ้อยคำออกมาอย่างนั้นได้ ผมจะได้รู้จุดยืนของเขา
คุณฟาอิสครับ เรื่องเมาลิดนบี นั้น คนพูดออกมาโดยตักลีดวะฮาบีย์มาทั้งเพ ยังไงก็พูดไปฝ่ายเดียวก่อนเรื่อยๆนะครับ หลังสอบ เราจะคุยเรื่องเมาลิดอย่างเป็นทางการแบบเชิงวิชาการ แล้วเจอกันแน่ อินชาอัลเลาะฮ์ _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
adeel มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004 ตอบ: 172
|
ตอบ: Sat Apr 15, 2006 12:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
al-farook จะพูดคำนี้ด้วยก็ไม่ขัดข้องนะคร๊าบ
คนถ่อย ถอยไป
คนถ่อย ออกไป
ฮ้า ฮา ๆ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|