ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 31, 32, 33  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Feb 25, 2006 3:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. รายงานโดยท่าน อัล-บุคอรีย์ จากท่านริฟาอะฮ์ บิน รอฟิอฺ เขากล่าวว่า

كنا نصلى وراء النبى صلى الله عليه وسلم، فلما رفع رأسه من الركعة قال Sad سمع الله لمت حمده ) قال رجل وراءه : ربنا لك الحمد حمدا كثيرا طيبا مباركا فيه ، فلما إنصرف قال : ( من المتكلم ) ؟ قال : أنا : قال : ( رأيت بضعة وثلاثين ملكاً يبتدرونها أيهم يكتبها)

" เราได้ทำการละหมาด ตามหลังท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น ในขณะที่ท่านร่อซูลได้เงยศรีษะของท่านจากการร่อกั๊วะ ท่านร่อซูลกล่าวว่า (สะมิอัลลอฮุลิมันหะมิดะฮ์) มีชายคนหนึ่งกล่าวหลังจากนั้นว่า "ร๊อบบะนาละกัลหัมดุ หัมดัน กะษีร๊อน ฏัยยิบัม มุบาร่อกัง ฟีฮฺ" ดังนั้น เมื่อท่านร่อซูลละหมาดเสร็จแล้วหันมาถามว่า "ใครที่คือผู้ที่กล่าว(อย่างนั้น)" ชายผู้นั้นกล่าวว่า "ฉันครับ" แล้วท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) จึงกล่าว " ฉันได้บรรดามะลาอิกะฮ์ 30 กว่าคน เร่งรุดมาบันทึกคำกล่าวนั้น ไม่รู้ว่ามะลาอิกะฮ์ท่านใหนได้บันทึกกับมันก่อน"

ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า "หะดิษนี้ เป็นหลักฐานชี้ว่า อนุญาติให้ประดิษการซิกิรขึ้นมาในละหมาด ที่ไม่ได้รายงานมาจากท่านนบี(ซ.ล.) หากมันไม่ขัดแย้งกับ สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวไว้" ดู ฟัตหุบารีย์ เล่ม 2 หน้า 287

โปรดพิจารณากับเราครับ ท่านผู้อ่านผู้มีเกียตริ ซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งได้ทำการ ประดิษซิกิรหนึ่งขึ้นมาจากตัวเขาเอง ซึ่งท่านร่อซูลไม่เคยสอนสั่งมันเอาไว้ แต่ก่อนที่ท่านร่อซูลจะให้การยอมรับนั้น บรรดามะลาอิกะฮ์ก็แย่งกันจดบันทึกความดีนั้นแล้ว ดังนั้น เราลองตั้งคำถามซิครับว่า ทำไมสิ่งที่ซอฮาบะฮ์ท่านนั้น ได้ทำอิบาดะฮ์หนึ่งที่ไม่ได้มีคำสั่งใช้มาก่อนเลย แต่บรรดามะลาอิกะฮ์ถึงแย่งกันจดความดีนั้น ก็เพราะว่า มันเป็นสิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ขัดกับหลักการของศาสนา

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Feb 25, 2006 3:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. ได้มีรายงานไว้ในซอฮิหฺมุสลิม จากท่าน อิบนุอุมัร(ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ท่านกล่าวว่า (ขอพิมพ์ภาษาไทยเลยนะครับ ไม่ไหวพิมพ์อาหรับเพื่ออ้างประดับแบบโก้ๆ)

"ในขณะที่เราทำการละหมาดพร้อมกับท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ทันใดนั้น มีชายคนหนึ่งกล่าวว่า
الله أكبر كبيرا، والحمد لله كثيرا، وسبحان الله بكرة وأصيلا
ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า "ใครคือผู้ที่กล่าวถ้อยคำแบบนี้" ชายคนหนึ่งกล่าวว่า "ฉันเอง โอ้ท่านร่อซุลุลเลาะฮฺ" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "ฉันประทับใจกับมัน บรรดาประตูแห่งฟากฟ้าได้เปิดให้กับมัน(ถ้อยคำนั้น) " ท่านอิบนุอุมัรกล่าวว่า "ดังนั้น ฉันก็ไม่เคยทิ้งการกล่าวถ้อยคำเหล่านั้นเลย ตั้งแต่ฉันได้ยิท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าว(รับรอง)ดังกล่าวนั้น" ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 5 หน้า 97 - 98

ท่านผู้อ่านที่มีเกียตริครับ โปรดมาพิจารณากับเราต่อไปว่า อิบาดะฮ์จากถ้อยคำซิกิรดังกล่าวนั้น บรรดาประตูแห่งฟากฟ้าได้ทำการเปิดให้แก่มัน โดยที่ถ้อยคำซิกิร ดังกล่าว เป็นถ้อยคำที่ซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งได้ประดิษประดอยกล่าวมันขึ้นมาเองตัวเขาเอง โดยที่ไม่มีอัลกุรอานหรือซุนนะฮ์ใด ได้สั่งใช้ให้กล่าวอย่างนั้น หลังจากนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ก็ได้ให้การยอมรับ จนกระทั้งมันกลายเป็นซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) และ ท่านอิบนุอุมัรก็นำมายึดปฏิบัติ หลังจากท่านอิบนุอุมัรนั้น บรรดาอุมมะฮ์อิสลามก็นำมาเจริญรอยตามเช่นเดียวกัน

นั่งคือหลักฐานเล็กๆน้อยที่เราได้นำเสนอ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ซุนนะฮ์ของท่านซัยยิดินา มุหัมมัด ร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) ในการเผชิญกับ สิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่นั้น ซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) นี้ ก็ไม่ได้ทำการปฏิเสธมันเสียทั้งหมด แต่บางส่วนจากสิ่งที่ริเริ่มกระทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นสิ่งที่ถูกตอบรับ ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้รับความพึงพอใจ จนกระทั้งมันเป็นความประเสริฐที่มีคุณค่าทางการปฏิบัติ หากมันสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของศาสนา (مقاصد الشريعة) เหมือนกับหะดิษที่เราได้ยกตัวอย่างไปแล้วข้างต้น แต่ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ซอฮาบะฮ์ได้อุตริกระทำขึ้นมาเองจากตัวพวกเขาเองนั้น ได้รับการตำหนิและถูกประเสธ เนื่องจากมันขัดกับ เจตนารมณ์ ของศาสนา (مقاصد الشريعة) อีกทั้งยังไม่คงไว้ซึ่งผลประโยชน์ และได้คัดกับตัวบทต่างๆของศาสนา เช่นท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการตำหนิ กับคนกลุ่มหนึ่ง ที่ได้ถามพระนางซัยยิดะฮ์ อาอิชะฮ์(ร.ฏ.) เกี่ยวกับตัวท่านนบี(ซ.ล.) แล้วพวกเขาต่างก็กล่าวกัน และเคร่งครัดกับตัวของเขา โดยกล่าวว่า พวกเขาได้ทำการถือศีลอดตลอดทั้งปี บางคนกล่าวว่า ฉันขอปลีกตัวกับการแต่งงานกับสตรี บางคนกล่าวว่า ฉันได้ทำการละหมาดตลอดทั้งคืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถือว่า เป็นการเคร่งครัดจนเกินไป ซึ่งมันขัดกับ แก่นแท้ของศาสนาอิสลาม ที่ดำเนินอยู่บนหนทางที่สะดวกอีกทั้งผ่อนปรน

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Feb 25, 2006 3:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

และท่านผู้ลองมาทำการสังเกตุและพิเคราะห์กับเราต่อไปว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ผู้มีเกียตริทั้งหลายนั้น พวกเขาต่างมีความเข้มงวดอย่างยิ่งในการเจริญรอยตามท่านร่อซุลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำของท่าน แต่บรรดาซอฮาบะฮ์ก็ไม่ได้เข้าใจว่า "ทุกๆสิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง" โดยที่ไม่สมควรจะนำมาปฏิบัติกับสิ่งที่กระทำขึ้นมาเองจากตัวพวกเขาเหล่านั้น แต่ดังที่เราได้เห็นนั้น เราจะพบว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำอิบาดะฮ์ ที่ไม่เคยมีอัลกุรอานและซุนนะฮ์มาระบุก่อนเลย และการที่พวกเขาได้กระทำการดังกล่าวอย่างนั้น ก็เนื่องจากพวกเขา รู้และเข้าใจว่า เจตนารมณ์ของศาสนา(مقاصد الشريعة) นั้นกว้างขวาง (ไม่เข้าใจแบบแคบๆเหมือนพี่น้องวะฮาบีย์ แล้วใจแคบไปหุกุ่มพี่น้องมุสลิมที่ไม่อยู่ในแนวทางของตน) และบรรดาตัวบทต่างๆนั้น ก็ไม่ได้ปฏิเสธคัดค้านเลย

หากพี่น้องวะฮาบีย์กล่าวว่า

"สิ่งดังกล่าวนั้น อนุญาติ ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)เท่านั้น เนื่องจากต่อไปท่านร่อซูลก็จะรับรู้ได้ ด้วยการบอกเล่าจากซอฮาบะฮ์ หรือด้วยการลงวะฮฺยุจากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ดังนั้น หากว่ามันเป็นสิ่งที่อยู่ในทางนำ ท่านร่อซูลก็จะทำการยอมรับ และหากมันเป็นสิ่งที่ลุ่มหลง ท่านร่อซูลก็จะปฏิเสธ แต่สำหรับ หลังจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์เสียชีวิต และวะฮฺยูขาดตอนไปแล้วนั้น ก็ถือว่าไม่อนุญาติ"

เราขอตอบว่า

แท้จริง บรรดาซอฮาบะฮ์ผู้ทรงเกียตรินั้น ก็มีผู้ที่ได้กระทำบรรดาสิ่งต่างๆขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีตัวบทมาระบุเจาะจงกับมันเลย ทั้งที่เขาก็ทราบดีว่า เขาจะไม่ได้เห็นท่านร่อซูลุลเลาะอ์(ซ.ล.)อีก เพื่อที่จะมาพิจารณาว่า สิ่งที่เขาได้กระทำอิบาดะฮ์หนึ่งนั้น มันเป็นซุนนะฮ์ที่ดี หรือว่า มันเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงกันแน่ ? เช่นเหตุการณ์ของท่าน ซัยยิดินา ค่อบีบ บิน อะดีย์ (ร.ฏ.) ซึ่งท่านได้ทำการละหมาด 2 ร่อกะอัต ก่อนที่จะประหารจากพวกกุฟฟาร ซึ่งท่าน อัล-บุคอรีย์รายงานว่า

فكان خبيب هو سن الركعتين لكل امرىء مسلم قتل صبرا

" ดังนั้น ท่านค่อบีบ คือผู้ที่ได้วางแนวทางขึ้นมา กับการกระทำละหมาด 2 ร่อกะอัต ให้กับมุสลิมทุกคนที่ถูกประหาร(ถูกฆ่าแบบหน่วงเหนี่ยว)" ท่าน ชัยค์ ด๊อกเตอร์ มะหฺมูด อับบู๊ด ฮุรมูช ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านว่า " ในเหตุการณ์นี้ ย่อมชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แท้จริง ท่านค่อบีบ นั้น ได้วินิจฉัย ในการกำหนดเวลาเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ โดยที่ไม่เคยมีการสั่งใช้และแบบอย่างการปฏิบัติจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)มาก่อนเลย โดยที่ท่านค่อบีบ ก็ตระหนักดีว่า เขาจะต้องตาย ก่อนที่การปฏิบัติจะถูกนำเสนอให้ท่านนบี(ซ.ล.)รับทราบ แต่พร้อมกันนั้น ท่านค่อบีบ ก็ทราบดีว่า จะไม่ได้เห็นท่านร่อซุลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)อีกแล้ว" ดู หนังสือ อัลบิดอะฮ์ วะ อะษะรุฮา ฟี อิคติลาฟ อัลอุมมะฮ์ หน้า 58

ท่านผู้อ่านครับ ท่านซัยยิดินาค่อบีบ เป็นผู้ที่ลุ่มหลง และทำบิดอะฮ์ ด้วยการอุตริทำ การละหมาดสองร่อกะอัต ก่อนที่ท่านค่อบีบ จะทราบว่า ท่านนบีได้สั่งใช้มัน หรือได้ทำการยอมรับกับการละหมาดสองระกะอัตนั้นหรือไม่??? ซึ่งความจริงนั้น ท่านค่อบีบไม่ใช่เป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอน แต่ท่านค่อบีบ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม อีกทั้งเป็นผู้ที่ตายชาฮีด (มรณะสักขี) ซึ่งท่านร่อซุลลุลเลาะฮ์ได้กล่าว ตอบรับคำฝากสลามของท่าน ค่อบีบว่า

وعليك السلام يا خبيب قتلته قريش

"ความสันติจงมีแด่ท่าน โอ้ค่อบีบ ที่พวกกุเรชได้ฆ่าประหารเขา" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 7 หน้า 384)

(ขอนอกประเด็นสักนิด ในเหตุการณ์ของท่านซัยยิดีนาค่อบีบนั้น ท่านได้ถูกพวกกุเรชบังคับให้ทำการประนามปฏิเสธท่านนบี(ซ.ล.) หากไม่เช่นนั้น เขาก็ไม่ยอมทำ พวกกุเรชจึงขู่ประหาร หากไม่ทำการประนามปฏิเสธท่านนบี(ซ.ล.) แต่ด้วยความอาลัยรักที่ลึกซึ้งต่อท่านนบี(ซ.ล.) ท่านจึงปฏิเสธการขู่บังคับของพวกกุเรช โดยการยอมสละชีวิตด้วยการถูกประหาร อันเนื่องจากความรักนั้น และท่านค่อบีบน้อมคำรับกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า "คนหนึ่งไม่ศรัทธาอย่างแท้จริง จนกระทั้งฉัน เป็นผู้ที่รักยิ่งมากว่า ชีวิตของพวกเขาเอง ยิ่งกว่าบุตรของเขา และยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งปวง" ท่านค่อบีบย่อมสละชีวิต เพียงเพราะมีความอาลัยรักและปกป้องเกียตริของท่านนบี(ซ.ล.) แล้วเราปัจจุบันนี้ ไม่มีจิตใจที่มีความอาลัยรักต่อท่านนบี(ซ.ล.) โดยมีความรู้สึกที่มีความยิ่งไปกว่าชีวิตของพวกเราอีกหรือ? ดังนั้น เราควรส่งเสริมให้พวกเรามีความรักต่อท่านร่อซุลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ให้มากขึ้น ไม่ว่า จะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ที่ไม่ขัดกับหลักการของศาสนา หากแม้ว่าจะไปขัดกับหลักการหรือทัศนะของพี่น้องวะฮาบีย์ก็ตาม)

ดังนั้น หากแม้ว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เสียชีวิตไปแล้ว และวะหฺยูได้สิ้นสุดไปแล้วก็ตาม แต่บรรดาตัวบทต่างๆของอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ก็ยังคงอยู่ และยังคงถูกรักษาบันทึกอยู่ อัลหัมดุลิลาห์... และหลักการต่างๆของศาสนา قواعد الشرع ก็ยังคงอยู่ และเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ของศาสนา (مقاصد الشريعة) ก็ยังคงอยู่ อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดี ว่าเราสามารถนำมันมาเป็นมาตราวัดได้กับ ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นและกระทำขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งหากมันอยู่ในกรอบและอยู่บนมาตรฐานของศาสนา ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ดี แต่หากว่ามันขัดกับหลักการของศาสนา ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง (วัลอิยาซุบิลลาห์) และเราขอบอกว่า เราไม่ได้อ้างว่า สิ่งใดเป็นบิดอะฮ์ที่ดี โดยที่ไม่มีเงื่อนไข กฏเกนฑ์ ตามหลักศาสนา และมันก็ต้องถูกนำมาวางบนมาตรฐานของ อัลกุรอานและซุนนะฮ์ ซึ่งเงื่อนไขและกฏเกณฑ์ต่างๆเหล่านั้น ผมจะนำมันมาเสนอในคราวต่อไป อินชาอัลเลาะอ์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Feb 25, 2006 3:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถึงคุณอะดีล บังอะสัน และคุณพี่น้องวะฮาบีย์

เราอยากจะให้มีการสนทนาในเชิงวิชาการจริงๆนะครับ เราไม่สมควรสนทนาแบบการตักลีด แต่สมควรสนทนาโดยใช้คุณลักษณะของ นักมุจญฺฮิด หากแม้ว่าพวกเราไม่ใช่เป็นนักมุจญฺฮิดสักทีก็ตาม การอ้างหลักฐานต่างๆนั้น เราต้องทุ่มเทในการใช้มันสมองออกความเห็น ในการทำความเข้าใจกับตัว หากสิ่งต่างๆที่เราถามไปนั้น พี่น้องวะฮาบีย์ตอบไปไม่ ก็อย่าหลีกเลี่ยงคำตอบโดยอ้างว่า "เราใช้ความเห็นเลยครับ" เพราะมันเป็นคุณลักษณะของการตัดลีดและไม่เป็นผลดีต่อพวกท่านด้วย

ถึงบังคนอยากรู้ คุณชุกกรี และคุณมุสลิม salam

ผมยินดีพวกท่านเข้ามาสนทนา และพวกท่านเป็นเหตุชัดจูงให้ผมเข้าร่วมสนทนา นอกเหนือจากบังคนอยากรู้ คุณชุกกรีแล้ว ยังมีคุณมุสลิมอีกคนหนึ่ง ที่ผมไม่เห็นเข้ามาสนทนาเลยในช่วงนี้ ทั้งที่เขาก็เป็นผู้ที่สนทนาในเชิงวิชาการอย่างแท้จริง คนหนึ่ง และมีความเข้าใจในหลักการอย่างละเอียดละออคนหนึ่งทีเดียวครับ ยังก็เข้ามาสนทนาในยามที่พวกเราไม่ว่างด้วยนะครับ

الفاروق الشافعى الأشعرى

غفر الله له ولنا ولوالدينا

أمين ياربّ



wassalam

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Feb 25, 2006 12:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Al-azhary กล่าวว่า
ไม่มีอุลามาอ์ผู้ทรงธรรมในโลกอิสลามท่านใด ที่ให้ความหมายว่า من سن في الاسلام หมายถึง"แบบอย่าง" บังอะสันก็อย่าเอาคำแปลที่เป็นความเห็นของตนมาอธิบายเลยครับ และหะดิษนี้ย่อมไม่ถูกแช่แข็งตามหลักศาสนา "คำของหะดิษนี้ย่อมให้ความหมายที่ครอบคลุมไม่ใช่ไปเจาะจงเพียงแค่สาเหตุช่วยเหลือคนลำบาก" อย่าจำกัดหะดิษอยู่อยู่ในความหมายแคบๆ ซึ่งมันขัดกับเจตนารมณ์ของหลักการที่อุลามาอ์สะลัฟวางเอาไว้
.......................................................................
ตอบ
อีกแล้วครับท่าน จุดดับของสหายแห่งมหาลัยอัลอัซฮัร คือ ตีความความหมายของคำว่า من سن (มันสันนะ) ต้องการตีความให้มีความหมายว่า “ من اخترع بدعة حسنة “ ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี” นี้คือ การตีความที่ผิดไปจากเป้าหมายเดิมของหะดิษ อันที่จริงความหมายของคำว่า “من سن “ ในหะดิษคือ من أحيا ซึ่งแปลว่า “ ฟื้นฟูขึ้นใหม่” คือ เรื่องเดิมมีอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครปฏิบัติ เมื่อมีผู้มาฟื้นฟูขึ้น แล้วมีผู้ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติไว้แล้ว โปรดดูต้นเหตุ(สะบับ)ของหะดิษนี้ ซึ่งปรากฏในหนังสืออธิบายหะดิษมุสลิมของอันนะวาวีย์ ดังนี้
มีคนยากจนจำนวนหนึ่งมาหาท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยเครื่งแต่งกายขาดกะรุ่งกะริ่ง เมื่อท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นดังนั้น ใบหน้าของท่านซีดเผือด ท่านจึงเข้าไปในบ้านและออกมาสั่งให้ท่านบิลาลอะวาน แล้วท่านจึงทำการละหมาด เสร็จแล้วท่านจึงขึ้นอ่านคุฏบะฮ โดยอ่านอายะฮดังต่อไปนี้

{يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ} إلى آخر الآية {إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيباً

เจ้าทั้งหลายจงสำรวมตนต่ออัลลอฮ พระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ผู้ทรงสร้างพวกเจ้าจากชีวิตหนึ่ง....จนถึงท้ายของอายะฮที่ว่า “แท้จริงอัลลอฮ ทรงเฝ้าดูแลพวกเจ้า”

และท่านรซูลได้อ่านโองการต่อไปนี้

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنظُرْ نَفْسٌ مَّا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ
[59.18] โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และทุกชีวิตจงพิจารณาดูว่า อะไรบ้างที่ตนได้เตรียมไว้สำหรับวันพรุ่งนี้ (วันกิยามะฮ์) และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ

ทันใดนั้นก็มี เศาะหาบะฮบางคนก็ก็บริจากเหรียญทอง-แหรียญเงิน บางคนบริจาคเสื้อผ้า – ข้าสาลี-อินทผาลัม ต่อมามีชาวอันศอรฺคนหนึ่ง นำห่อสิ่งของมาให้ มือของเขาเกือบถือไม่หมด คนอื่นๆต่างก็หลั่งไหลกันมาบริจาค (ผู้รายงานหะดิษบอกว่า) จนกระทั้งฉันเห็นอาหารและเสื้อผ้า กองใหญ่สองกอง และฉันเห็นสีหน้าของท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยิ้มแย้ม แจ่มใสด้วยความดีใจ ท่านจึงกล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ، ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء .

ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาจะได้รับการตอบแทนของเขา และการตอบแทนของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดย่อนไปจากการตอบแทนของพวกเขาแม้แต่น้อย และผู้ผู้ใดทำแบบอย่างที่ชั่วในอิสลาม เขาจะแบกภาระความผิดของเขา และความผิดของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดย่อนไปจากความผิดของพวกเขาแม้แต่น้อย - รายงานโดยมุสลิม จากญะรีร บุตร อับดุลลอฮ
..........................................................
นี้คือ เป้าหมายของหะดิษ นี้ คือ บทเรียนจากหะดิษที่เราจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ มันไม่ได้ถูกแช่แข็ง อย่างที่ น้อง al-ashary และ al-farook ได้กล่าวย้ำเอาไว้
และอีกประการหนึ่งคือ คำว่า في الاسلام (ในอิสลาม) นี้ก็จักเจนอยู่แล้วว่า สิ่งนั้นมีอยู่ในคำสอนอิสลาม ไม่ใช่นอกอิสลาม ไม่ใช่บิดอะฮ เพราะบิดอะฮ คือ สิ่งที่คิดขึ้นใหม่ ผมใช้คำว่า”บิดอะฮ” โดยไม่แยกว่า “ บิดอะฮหะสะนะ และบิดอะเฎาะลาละฮ “ ก็เนื่อง จาก ทุกบิดอะฮในเรื่องของศาสนา นั้น เฎาะลาละฮ(หลงผิด และผมจะไม่ยอมรับการอ้างการกระทำของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน มาทำบิดอะฮ เพราะ การกระทำของพวกเขา เป็นสุนนะฮที่ท่านรซูลให้ปฏิบัติตาม ดังคำพูดของท่าน

اقتدوا باللذين من بعدي : أبي بكر وعمر . رواه أحمد والترمذي ، وهو حديث صحيح

พวกท่านจงปฏิบัติตาม บรรดาผู้ที่อยู่หลังจากฉัน อบูบักร และอุมัร – รายงานโดยอะหมัดและอัตติรมิซีย์ มันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ
ท่านมุหัมหมัด ฆอซาลี กล่าวไว้ในหนังสือ ลัยสะมีนัลอิสลาม หน้า 96 ว่า
والحديث من رواية مسلم وهو لا يفيد بتاتا أن الاختراع في الدين جائز

“ และหะดิษ ที่รายงานโดยมุสลิม(มันสันนะ.....) ไม่ได้หมายความว่า อนุญาตให้คิดอุตริสิ่งใดขึ้นมาในศาสนาเลย”

เช็คศอลิหิอัลฟูซาน ได้โต้ตอบพวกที่เอาหะดิษนี้มาอ้างทำบิดอะฮ ว่า

أما قوله صلى الله عليه وسلم : "من سن في الإسلام سنة حسنة؛ فله أجرها وأجر من عمل بها" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/704، 705) من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛ فهذا لا يدل على ما يقوله هؤلاء؛ لأن الرسول لم يقل من ابتدع بدعة حسنة، وإنما قال: "من سن سنة حسنة"، والسنة غير البدعة، السنة هي ما كان موافقًا للكتاب والسنة، موافقًا للدليل، هذا هو السنة؛ فمن عمل بالسنة التي دل عليها الكتاب والسنة؛ يكون له أجرها وأجر من عمل بها إلى يوم القيامة؛ يعني: من أحيا هذه السنة وعلمها للناس وبينها للناس وعملوا بها اقتداءً به؛ فإنه يكون له من الأجر مثل أجورهم،

สำหรับคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

"من سن في الإسلام سنة حسنة؛ فله أجرها وأجر من عمل بها" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/704، 705) من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛

หะดิษนี้ ไม่ได้แสดงบอก ตามสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นพูดกัน เพราะท่านรซูล ไม่ได้กล่าวว่า “ من ابتدع بدعة حسن”(ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี) แต่ตรงกันข้าม ท่านกล่าวว่า “"من سن سنة حسنة" ((ใดทำแบบอย่างที่ดี) และอัสสุนนะฮนั้น ไม่ใช่ บิดอะฮ อัสสุนนะฮคือ สิ่งที่ สิ่งที่สอดคล้องกับ อัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน)และอัสสุนนะฮ สอดคล้องกับหลักฐาน นี่คือ อัสสุนนะฮ ดังนั้นผู้ใด ปฏิบัติตามสุนนะฮ ที่อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ แสดงบอกเอาไว้ เขาก็จะได้รับผลตอบแทน ของตนและของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น จนถึงวันกิยามะฮ หมายถึง ผู้ใดฟื้นฟูสุนนะฮ และเขาปฏิบัติมัน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่มนุษย์ และ อธิบายมันแก่มนุษย์ แล้วพวกเขาปฏิบัติตามนั้น ดังนั้น เขาจะได้ผลการตอบแทน เท่ากับผลการตอบแทนที่พวกเขา(ผู้ปฏิบัติตามเขา)ได้รับ
المنتقى من فتاوى فضيلة الشيخ صالح بن فوزان بن عبد الله الفوزان، 1/173، رقم الفتوى في مصدرها: 96

………………..
น้อง al-farook บอกว่า ให้สนทนากับแบบ มุจญตะฮิด นี้แหละ คือ การสนทนาแบบมุจญตะฮิด ไม่ใช่สนทนาแบบคนตะอัศศุบอุลามาอ และขอเตือนนิดหนึ่ง อย่าใช้อารมณ์และถ้อยคำเสียดสี แสดงออกมา เมื่อเห็นว่า คนอื่นเขาไม่ยอมรับทัศนะของตัวเอง ต้องไม่ลืมว่า เราเป็นพี่น้องกันในอิสลาม ขอให้จำเอาไว้ และอย่าพยายามเอาความบกพร่องที่ตกล่นหรือ ผิดพลาดในการพิมพ์ตัวอักษรมาดิสเครดิตฝ่ายตรงกันข้าม เดียวคนอ่าน จะหาว่า ไม่มีน้ำยา - รักทุกคนครับ
...........................
wassalam

บังอะสัน แห่งมหาลัยชีวิต
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Feb 25, 2006 1:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง al-farook กล่าวว่า
ท่าน อัล-บุคอรีย์รายงานว่า
فكان خبيب هو سن الركعتين لكل امرىء مسلم قتل صبرا
" ดังนั้น ท่านค่อบีบ คือผู้ที่ได้วางแนวทางขึ้นมา กับการกระทำละหมาด 2 ร่อกะอัต ให้กับมุสลิมทุกคนที่ถูกประหาร(ถูกฆ่าแบบหน่วงเหนี่ยว)" ท่าน ชัยค์ ด๊อกเตอร์ มะหฺมูด อับบู๊ด ฮุรมูช ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านว่า " ในเหตุการณ์นี้ ย่อมชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แท้จริง ท่านค่อบีบ นั้น ได้วินิจฉัย ในการกำหนดเวลาเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ โดยที่ไม่เคยมีการสั่งใช้และแบบอย่างการปฏิบัติจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)มาก่อนเลย โดยที่ท่านค่อบีบ ก็ตระหนักดีว่า เขาจะต้องตาย ก่อนที่การปฏิบัติจะถูกนำเสนอให้ท่านนบี(ซ.ล.)รับทราบ แต่พร้อมกันนั้น ท่านค่อบีบ ก็ทราบดีว่า จะไม่ได้เห็นท่านร่อซุลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)อีกแล้ว" ดู หนังสือ อัลบิดอะฮ์ วะ อะษะรุฮา ฟี อิคติลาฟ อัลอุมมะฮ์ หน้า 58
.........................................

อีกแล้วครับท่าน
เอาการอิจญติฮาดของบุคคล มาอ้าง ทำบิดอะฮอีกแล้ว การเป็นคนดี ไม่ได้หมายความว่า การกระทำของเขานั้น คือ ศาสนาที่ต้องปฏิบัติ เหล่าเศาะหาบะฮมีเป็นหมื่นเป็น แสน แล้ว เอาการกระทำพวกเขาบางคน ที่เกิดจากการอิจญติฮาดส่วนตัว มาอ้างเรื่อง ที่ว่า เป็นหลักฐานว่า ถ้าเห็นวาดีแล้วเอามาทำเป็นศาสนาได้ แล้วถ้าศาสนาให้สิทธิกับคนทั่วที่คนเห็นว่าเป็นคนดี ไปทำแบบนี้ ก็แสดงว่า ศาสนานั้น ส่วนหนึ่งมาจากวะหยู และ อีกส่วนหนึ่ง มาจากความคิดเห็นของมนุษย์ ...มาชาอัลลอฮ ไปกันใหญ่ และ ผลพวงจากความคิดแบบนี้ จึง มีบิดอะฮมากมายเกิดขึ้นในเมืองไทย พอบอก ก็แก้ตัวว่า “หนูไม่รู้” ว่ามีจริง
อัลลอฮ (วุบฮานะฮูวะตะอาลา)ตรัสว่า

أَمْ لَهُمْ شُرَكَاء شَرَعُوا لَهُم مِّنَ الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَن بِهِ اللَّهُ

[42.21] หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮ์มิได้ทรงอนุมัติ

มาดูหลักการในเรื่องอิบาดะฮ

أن العبادات مبناها على الشرع والاتباع، لا على الرأي والاستحسان والابتداع

แท้จริง การอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บน บทบัญญัติ และการปฏิบัติตาม ไม่ใช่ความเห็น ไม่ใช่คิดว่าดี และไม่ใช่การอุตริขึ้นมาใหม่

.................
บังอะสัน แห่งมหาลัยชีวิต
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Feb 25, 2006 1:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แก้ไขข้อความ

แล้วถ้าศาสนาให้สิทธิกับคนทั่วไปที่คนเห็นว่าเป็นคนดี ไปทำแบบนี้ ก็แสดงว่า ศาสนานั้น ส่วนหนึ่งมาจากวะหยู และ อีกส่วนหนึ่ง มาจากความคิดเห็นของมนุษย์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 26, 2006 4:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

อีกแล้วครับท่าน จุดดับของสหายแห่งมหาลัยอัลอัซฮัร คือ ตีความความหมายของคำว่า من سن (มันสันนะ) ต้องการตีความให้มีความหมายว่า “ من اخترع بدعة حسنة “ ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี” นี้คือ การตีความที่ผิดไปจากเป้าหมายเดิมของหะดิษ อันที่จริงความหมายของคำว่า “من سن “ ในหะดิษคือ من أحيا ซึ่งแปลว่า “ ฟื้นฟูขึ้นใหม่” คือ เรื่องเดิมมีอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครปฏิบัติ เมื่อมีผู้มาฟื้นฟูขึ้น แล้วมีผู้ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติไว้แล้ว โปรดดูต้นเหตุ(สะบับ)ของหะดิษนี้ ซึ่งปรากฏในหนังสืออธิบายหะดิษมุสลิมของอันนะวาวีย์ ดังนี้
ทันใดนั้นก็มี เศาะหาบะฮบางคนก็ก็บริจากเหรียญทอง-แหรียญเงิน บางคนบริจาคเสื้อผ้า – ข้าสาลี-อินทผาลัม ต่อมามีชาวอันศอรฺคนหนึ่ง นำห่อสิ่งของมาให้ มือของเขาเกือบถือไม่หมด คนอื่นๆต่างก็หลั่งไหลกันมาบริจาค (ผู้รายงานหะดิษบอกว่า) จนกระทั้งฉันเห็นอาหารและเสื้อผ้า กองใหญ่สองกอง และฉันเห็นสีหน้าของท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยิ้มแย้ม แจ่มใสด้วยความดีใจ ท่านจึงกล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ، ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء .

ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาจะได้รับการตอบแทนของเขา และการตอบแทนของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดย่อนไปจากการตอบแทนของพวกเขาแม้แต่น้อย และผู้ผู้ใดทำแบบอย่างที่ชั่วในอิสลาม เขาจะแบกภาระความผิดของเขา และความผิดของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดย่อนไปจากความผิดของพวกเขาแม้แต่น้อย - รายงานโดยมุสลิม จากญะรีร บุตร อับดุลลอฮ

วิจารณ์

อีกแล้วครับท่านผู้อ่าน จุดบอด และการบิดเบือนของอุลามาอ์วะฮาบีย์ที่บังอะสันได้นำเสนอมานั้น กำลังทำการบิดเบือนความหมายของอัลหะดิษของท่านนบี(ซ.ล.) บังอะสันอ้างการบิดเบือนความหมายของอุลามาอ์วะฮาบีย์ โดยที่บังอะสันไม่ได้นำคำอธิบายมาจากอุลามาอ์ของโลกอิสลาม ที่ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ได้ลงมติถึงความมีเกียตริและความประเสริฐของเขา พี่น้องวะฮาบีย์วะฮาบีย์ของเราบางท่าน อ้างคำอธิบายที่บิดเบือนความหมายนี้มาจาก ท่านนุนัจญิด และบังอะสันนำการอธิบายแบบบิดเบือนความหมายมาจาก ท่านเฟาซฺาน ซึ่งเป็นอุลามาอ์เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่อุลามาอ์ของโลกอิสลามทั้งหมด ดังนั้น ตั้งแต่หนึ่งสี่ร้อยปีมาแล้วนั้น ไม่มีอุลามาอ์ของโลกอิสลามท่านใด ที่ให้ความหมายคำว่า سَنَّ หมายถึง أَحْياَ (ฟื้นฟู) ดังนั้นการอธิบายคำว่า سَنَّ หมายถึง أَحْياَ (ฟื้นฟู) จากหะดิษที่เรากำลังพูดกันอยู่นั้น จึงถือว่าเป็นอุตริกรรมประเภทหนึ่ง ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่ 1400กว่าปี


ท่านผู้อ่านครับ โปรดมาพิจารณาและทำความเข้าใจไปพร้อมกับเราดังต่อไปนี้ครับ บังอะสันและอุลามาอ์วะฮาบีย์อ้างว่า การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวหะดิษนี้นั้น เนื่องจากเรื่องซอดะกะฮ์ (บริจาคทาน) ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เป้าหมายหลักเลย เนื่องจากการซอดะเกาะฮ์นั้น เป็นซุนนะฮ์ตามหลักการของศาสนา سنة نبوية (คือซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.)ที่อยู่ในความหมายของศาสนา) แต่ سنة حسنة ในหะดิษนี้ คือซุนนะฮ์ที่อยู่ในเชิงภาษา (คือการริเริ่มแนวทางที่ดี) เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะทราบเลยว่า การบริจาคทาน ไม่ใช่ซุนนะฮ์ในเชิงภาษา และเมื่อไม่ใช่ซุนนะฮ์ในเชิงภาษา เรื่องการบริจาคท่าน ก็ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่ทำให้ท่านนบี(ซ.ล.)ต้องกล่าวหะดิษดังกล่าว

ดังนั้น สาเหตุหลักและสำคัญที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวหะดิษนี้นั้น เพราะคำว่า "เมื่อผู้คนยากไร้ต้องการความช่วยเหลือ ท่านซัยยิดินา อุมัร อัล-ฟารูก (ร.ฏ.) เป็นท่านแรกที่ทำการริเริ่ม ในการกระทำความดีนั้น ด้วยการปูเสื้อคลุมของท่าน แล้วก็ทำการบริจาควางอาหารลงไปในนั้น แล้วซอฮาบะฮ์ท่านอื่นก็ทำการบริจาคอาหารตามท่านอุมัร และซอฮาบะฮ์ท่านอื่นๆก็ทำตามทีละคนทีละคน

ด้วยเหตุการริเริ่มกระทำของท่านอุมัรและบรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำตามนี่แหละ ที่เป็นเหตุให้ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า


من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ริ่เริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน ผลตอบแทนของมัน ก็มีให้แก่เขา และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ริเริ่ม(อุตริ)ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน จากหลักเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)

ดังนั้น คำว่า ซุนนะฮ์ ในหะดิษนี้ ไม่ใช่ความหมายในเชิงศาสนา ที่หมายถึง คำกล่าว การกระทำ การยอมจาก ที่ออกมาจากท่านนบี(ซ.ล.) แต่ คำว่า ซุนนะฮ์นี้ มันอยู่ในความหมายในเชิงภาษา หมายถึง "การริเริ่มทำกับหนทางที่ดี"

แต่ในหะดิษนี้ อยู่ในความดีในเรื่องของ "บริจาคทาน" ซึ่งการบริจาคท่าน เป็นสิ่งที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนา ดังนั้นการริเริ่มกระทำการ บริจาคท่าน ก็คือการ ริเริ่มในการกระทำสิ่งที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนา แต่เราจะเจาะจงหรือแช่แข็งหะดิษโดยจำกัดเพียงแค่เรื่องการริเริ่มกระทำความดีด้วยการบริจาคทานอย่างเดียวนั้นไม่ได้ เนื่องจากหลักการที่ตรงกันว่า

العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب

"การพิจารณานั้น ด้วยความหมายที่ครอบคลุม ไม่ใช่เฉพาะที่สาเหตุ"

ดังนั้น การริเริ่มกระทำสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นความดี และมีรากฐานจากหลักการของศาสนาและไม่ขัดกับหลักการของศาสนา แน่นอนว่า สิ่งนั้น ย่อมเป็นแนวทางที่ดี

ดังนั้น หากบังอะสัน คิดว่า ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ตรงนี้ หมายถึงการบริจาคท่านละก็ คำว่า"ซุนนะฮ์" ในหะดิษนี้ ย่อมเป็นหมายถึงความหมายในเชิงศาสนา แต่ความจริงไม่มีใครกล่าวอย่างนั้น

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 26, 2006 4:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

จุดดับของสหายแห่งมหาลัยอัลอัซฮัร คือ ตีความความหมายของคำว่า من سن (มันสันนะ) ต้องการตีความให้มีความหมายว่า “ من اخترع بدعة حسنة “ ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี” นี้คือ การตีความที่ผิดไปจากเป้าหมายเดิมของหะดิษ

วิจารณ์

ผมว่า มันเป็นจุดบอดของบังอะสันและอุลามาอ์วะฮาบีย์ของบังอะสัน ที่กล่าวอ้างว่า "เราต้องการอธิบายความหมายว่า "“ من اخترع بدعة حسنة “ ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี”
ทั้งที่ความหมายจริงๆที่สรุปจากทัศนะของเรานั้น คือ " من إبتدأ طريقة حسنة" และจุดอ่อนของผู้สนทนาก็คือ การไม่อ่านสิ่งที่เราได้นำเสนอไป ซึ่งแบบนี้ เขาไม่เรียกว่า เป็นการสนทนาในเชิงวิชาการอย่างแท้จริง

ซึ่งประเด็นการให้ความหมายนี้ เราก็ได้กล่าวอธิบายไปแล้ว คือ

ท่านอัสซินดีย์ ได้กล่าวอธิบาย หะดิษดังกล่าวที่รายงานโดยท่าน อิบนุมาญะฮ์ ในหะดิษที่ 304 ว่า

قوله : ( سنة حسنة) أى طريقة مرضية يقتدى بها ، والتمييز بين الحسنة والسيئة بموافقة أصول الشرع وعدمها

" คำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า ( سنة حسنة) (ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์) หมายถึง (การริเริ่มกระทำกับ) หนทางอันพึงพอใจ ที่ถูกเจริญตามด้วยกับมัน และการแยกแยะระว่าง หนทางที่หะสะนะฮ์(ดี) และหนทางที่ซัยยิอะฮ์(เลว) นั้น ด้วยกับการสอดคล้องกับรากฐานต่างๆของศาสนาหรือไม่สอดคล้อง"

หรือเราจะเข้าใจอีกนัยหนึ่งว่า

คำว่า من سن سنة حسنة หมายถึง "ผู้ใด ที่ประดิษฐ์หรือริเริ่มกระทำ กับแนวทางหนึ่ง หรือการงานหนึ่งขึ้นมา ในศาสนา โดยสอดคล้องกับหลักการศาสนา"
และคำว่า ومن سن سنة سيئة หมายถึง "ผู้ใด ริเริ่มกระทำ กับแนวทางหนึ่ง หรือการงานหนึ่งขึ้นมา ในศาสนา โดยขัดกับกับหลักการศาสนา"
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละ ท่านนบี(ซ.ล.) จึงได้กล่าวถึง สิ่งที่บรรดาซอฮะบะฮ์ได้ริเริ่มกระทำขึ้นมาใหม่ นั้น ว่าเป็น"ซุนนะฮ์" เช่นการริเริ่มการเพิ่มอะซานในวันศุกร์ ของท่านซัยยิดินาอุษมาน (ร.ฏ.) ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า

عليكم بسنثى وسنة الخلفاء الراشدين

" พวกท่านจงดำรงไว้ ด้วยซุนนะฮ์ของฉัน และแนวทางของบรรดาค่อลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม"

ดังนั้น สิ่งที่บรรดาซอฮาบะฮ์กระทำขึ้นมาใหม่นั้น ก็คือการริเริ่มกระทำมันมาใหม่ในศาสนานั่นเอง แต่ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น หากมันสอดคล้องกับหลักการของอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และหลักการของศาสนา ก็ย่อมถึอว่าเป็นสิ่งที่ดี และท่านนบี(ซ.ล.) ก็ให้การสรรเสริญและเรียกมันว่า "ซุนนะฮ์" และคำว่าซุนนะฮ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์นี้ บางครั้งก็เรียกว่า "บิดอะฮ์ที่ดี" เสมือนกับที่ท่านอุมัรกล่าวไว้ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ)นี้" (ซึ่งในแง่ของบิดอะฮ์ที่ดีของละหมาดตะรอวิหฺจากคำกล่าวของท่านอุมัรนี้ ผมได้อธิบายไปแล้ว)

ดังนั้น ซุนนะฮ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ก็คือ ซุนนะฮ์ในเชิงเปรียบเทียบ ( سنة قياسية ) คือเปรียบเทียบกับ ซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) คือเมื่อบรรดาซอฮาบะฮ์ ได้วางแนวทางเอาไว้ โดยสอดคล้องกับซุนนะฮ์หรือหลักการศาสนา ก็ถือว่า เป็นซุนนะฮ์ที่เปรียบเทียบเหมือนกับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) นั่นเอง และบรรดาอุลามาอ์หลังจากบรรดาซอฮาบะฮ์ ก็ได้เดินตามแนวทางดังกล่าวเฉกเช่นกับซอฮาบะฮ์ โดยยึดคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า

من سن فى الإسلام سنة حسنة...

"ผู้ใด ที่ได้ริเริ่มกระทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..."

ดังนั้น คำว่า "من" นี้ ให้ความหมายที่ عموم ครอบคลุม โดยไม่จำกัด "การกระทำขึ้นในอิสลาม กับหนทางที่ดี" เพียงแค่อุลามาอ์ยุคสะลัฟเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมเป็นการแช่แข็งกับตัวบทอย่างชัดเจน โดยที่ตัวบทหะดิษที่ชัดเจนนี้นั้นก็มีความหมายปฏิเสธสิ่งดังกล่าว และมันเป็นการวางจำกัดข้อแม้กับตัวบทโดยปราศจากหลักฐาน เนื่องจากการกระทำแนวทางที่ดีนั้น หากมันอยู่ในหลักการหรือภายใต้หลักศาสนาแล้ว ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องอยู่ในกรอบของหลักการศาสนา และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาสนาวางเอาไว้ ไม่ใช่จะทำกันง่ายๆตามใจชอบ ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ใช่ง่ายๆเลย (ซึ่งประเด็นเงื่อนไขนี้ ผมจะนำเสนอภายหลังจากการสนทนาเสร็จสิ้นในประเด็นคำพูดต่างของบรรดาซอฮาบะฮ์ครับ อินชาอัลเลาะอ์)

ฉนั้น คำว่า سَنَّ (ริเริ่มทำขึ้นมา) ได้มีความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ตีความหมายว่า "เป็นฟื้นฟู" นอกจากกลุ่มวะฮาบีย์ปัจจุบันเท่านั้น ที่พยายามตีความหมายเป็นอย่างดังกล่าวให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้ให้ความหมายคำว่า سَنَّ นั้น คือการริ่เริ่มทำขึ้นมาไหม่ الإبتداء และการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ الإختراع อิมามอันนะวาวีย์กล่าวอธิบายว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

فيه : الحث على [color=red]الابتداء
بالخيرات وسن السنن الحسنات ، والتحذير من إختراع الأباطيل والمستقبحات...

ในหะดิษนี้ ได้ส่งเสริมให้ทำการริเริ่มขึ้นมาด้วยการกระทำบรรดาความดีงาม และกระทำขึ้นมา กับบรรดาแนวทางทางที่ดี และเตือนให้ระวัง จากการประดิษฐ์บรรดาสิ่งที่เป็นโมฆะและสิ่งที่น่ารังเกียจ และสาเหตุที่นบี(ซ.ล.)กล่าวในหะดิษนี้ คือในช่วงแรกผู้รายงานกล่าวว่า " ได้มีชายคนหนึ่ง(ที่ยากจนแล้วบรรดาซอฮาบะฮ์ก็บริจาคทำการช่วยเหลือ) ได้นำถุงกระสอบหนึ่งที่มือของเขายกเกือบไม่ไหว แล้วบรรดาผู้คนก็ติดตาม(บริจาคให้อีก)" ดังนั้น ความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ที่ริเริ่ม ด้วยการทำความดีนี้ และสำหรับผู้ที่เปิดประตูของการกระทำความดีงามนี้ และในหะดิษนี้ ได้มาتخصيص ทอนความหมายคำหะดิษท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่กล่าวว่า

كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

"ทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น บิดอะฮ์ และทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"
โดยที่จุดมุ่งหมายของหะดิษนี้ ก็คือ บรรดาสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่ที่เป็นโมฆะและบรรดาบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น (สำหรับบิดะฮ์ที่ดีนั้นไม่ถูกตำหนิ)..."[/color] (ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 4 หน้า 113 ตีพิมพ์ ดารุลหะดิษ ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1415- ค.ศ. 1994)

ท่าน อัลอุบัยย์ ได้กล่าวอธิบาย ใน ซอฮิหฺมุสลิม ว่า

ويدخل فى السنة الحسنة البدع المستحسنة ، كقيام رمضان ، والتحضير فى المنار إثر فراغ الأذان وعند أبواب الجامع وعند دخول الإمام ، والتصبيح عند طلوع الفجر، كل ذلك من الإعانة على العبادة التى يشهد الشرع بإعتبارها . وقد كان على وعمر يوقظان الناس لصلاة الصبح بعد طلوع الفجر

"และย่อมเข้าอยู่ ในซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ โดยบรรดาบิดอะฮ์ที่นับว่าดี(คือบิดอะฮ์ที่สอดคล้องและไม่ขัดแย้งกับหลักการ) เช่น(รูปแบบ)ละหมาดในเดือนรอมะดอน การจัดเตรียมสถานที่ให้แสงสว่างถัดจากการอะซาน และ ณ ที่บรรดาประตูของมัสยิด และขณะที่อิมามเข้ามา และการจุดตะเกียงเมื่อแสงอรุณขึ้น ซึ่งดังกล่าวทั้งหมดนั้น เป็นการช่วยทำให้ทำอิบาดะฮ์ได้สะดวก ซึ่งศาสนาได้สนับสนุน ด้วยการพิจารณายอมรับกับมัน และท่าน อลี และท่านอุมัร ก็ได้ทำาการปลุกผู้คน เพื่อการละหมาด ซุบหฺ หลังจากแสงอรุณขึ้นแล้ว " ดู ( ถ่ายทอดจากหนังสือ อิตกอน อัศศุนอะฮ์ ของท่าน อัลฆุมารีย์ หน้า 18 )

ดังนั้น คำว่า سَنَّ นั้น จึงอยู่ในความหมายที่ว่า "ริเริ่มกระทำขึ้นมา หรือ กระทำขึ้นมาใหม่" ซึ่งหากอยู่บนแนวทางที่ดี ก็ย่อมไม่ลุ่มหลง และหากอยุ่บนแนวทางที่เลว ก็ย่อมลุ่มหลง
หากเราไปดูในหนังสือ ปทานุกรมอาหรับ เราจะไม่พบว่า คำว่า سَنَّ นั้น อยู่ในความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับมีความหมายว่า เริ่มการกระทำ เช่นใน มั๊วะญัม อัลวะซีฏ ให้ความหมายว่า

من سن سنة حسنة : وكل من ابتداء أمرا عمل بها قوم من بعده فهو الذى سنه

"ผู้ใดที่ได้ سن กับแนวทางที่ดี : คือ และทุกๆผู้ที่ได้ ริเริ่มขึ้นมา กับกิจการงานหนึ่ง ที่กลุ่มชนนั้น ได้ปฏิบัติด้วยมัน(คือด้วยกับแนวทางที่ดี) หลักจากเขาเสียชีวิตแล้ว เขาก็คือผู้ที่ริเริ่มทำการงานนั้นขึ้นมา" (ดู มั๊วะญัม อัลวะซีฏ หมวด سن )

หากเราไปดู มั๊วะญัม อัลวะญีซฺ ให้ความหมายว่า

و(سن) :...السنة : وضعها

ซะนะนฺ อัซซุนนะฮ์ คือการ วาง แนวทางขึ้นมา (ดู มั๊วะญัม อัลวะญีซฺ หมวด سن )

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 26, 2006 4:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

นี้คือ เป้าหมายของหะดิษ นี้ คือ บทเรียนจากหะดิษที่เราจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ มันไม่ได้ถูกแช่แข็ง อย่างที่ น้อง al-ashary และ al-farook ได้กล่าวย้ำเอาไว้

วิจารณ์

บังอะสันครับ เป้าหมายของหะดิษนั้น คือเป้าหมายตามทัศนะของเรา ที่เอามาจากการอธิบายของ อุลามาอ์ของโลกอิสลาม ไม่ใช่อุลามาอ์ของแนวทางที่น้องวะฮาบีย์ ดังนั้น อุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลามให้ความคำว่า سَنَّ นั้น หมายถึง أبتدأ (ริเริ่มกระทำขึ้นมา) ไม่ใช่ให้ความหมายบิดเบือน ว่า أحيا (ฟื้นฟู) ตามที่อุลามาอ์วะฮาบีย์ยุคนี้เขาให้ความหมายกัน เพื่อหลีกหนี การตีกซีร หะดิษ "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ตั้งแต่ 1400 กว่า ปี ที่ให้ความหมายคำว่า سَنَّ นั้น หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู)

ดังนั้น การอธิบายคำว่า سَنَّ นั้น หมายถึง أبتدأ (ริเริ่มกระทำขึ้นมา) นั้น

1. เพราะมันเป็นเจตนารมณ์ของท่านนบี(ซ.ล.) ที่อุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลามตั้งแต่ 1400 กว่าปี ได้เข้าใจกัน

2. การให้ความหมายว่า "ริเริ่มกระทำขึ้นมา) นั้น เป็นอธิบายที่ตรงกับหลักภาษาอาหรับ ของคำว่า سَنَّ
ผมแปลกใจอย่างยิ่ง ที่พี่น้องวะฮาบีย์ผู้ร่วมสนทนา ไม่ว่าจะเป็น บังอะสัน หรือคุณอะดีล มักชอบฉวยโอกาศกล่าวหาเราว่า เรานั้น เพียงแค่ "ตีความ" หรือ "เล่นภาษา" แต่ความจริงนั้น เราได้ทำาการอธิบาย تفسير หะดิษตามอุลามาอ์หะดิษผู้ปกป้องซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) ดังนั้น

1. การให้ความหมายคำว่า سَنَّ หมายถึง "การริเริ่มกระทำขึ้นมา" นั้น ย่อมเป็นการอธิบาย تفسير หะดิษตามอุลามาอ์หะดิษผู้ปกป้องซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) แต่ไม่มีอุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลาม อธิบาย تفسير คำว่า سَنَّ ให้อยู่ในความหมาย أحيا (ฟื้นฟู) นอกจากอุลามาอ์วะฮาบีย์เฉพาะกลุ่มเท่านั้น

2. การให้ความหมายคำว่า سَنَّ หมายถึง "การริเริ่มกระทำขึ้นมา" นั้น ไม่ใช่เป็นการตีความ تأويل เนื่องจากการตีความนั้น หมายถึง การผันคำเดิมให้อยู่ในความหมายอื่นที่สอดคล้องกับที่เจ้าของภาษาอาหรับเขาใช้กัน แต่การกล่าวว่า سَنَّ หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู) นั้น ไม่ใช่เป็นการตีความ เนื่องจากเจ้าของภาษาอาหรับ เขาไม่เคยใช้คำว่า سَنَّ หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู)

3. เมื่อคำว่า سَنَّ ไม่ได้ถูกتفسير ว่า أحيا (ฟื้นฟู) ตามทัศนะของอุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลาม และไม่ใช่การเป็นตีความแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า การให้ความหมายคำว่า سَنَّ หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู) นั้น คือการ تحربف บิดเบือน ความหมายของหะดิษ บิดเบือนหลักภาษาอาหรับ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนตั้งแต่ 1400 ร้อยกว่าปี

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 26, 2006 4:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

และอีกประการหนึ่งคือ คำว่า في الاسلام (ในอิสลาม) นี้ก็จักเจนอยู่แล้วว่า สิ่งนั้นมีอยู่ในคำสอนอิสลาม ไม่ใช่นอกอิสลาม ไม่ใช่บิดอะฮ เพราะบิดอะฮ คือ สิ่งที่คิดขึ้นใหม่ ผมใช้คำว่า”บิดอะฮ” โดยไม่แยกว่า “ บิดอะฮหะสะนะ และบิดอะเฎาะลาละฮ “ ก็เนื่อง จาก ทุกบิดอะฮในเรื่องของศาสนา

วิจารณ์

บังอะสันครับ พวกเราบอกไปแล้วไม่ใช่หรือ? หากบังอะสันไม่เชื่อทัศนะแรกเกี่ยวกับการแบ่งแยกบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา ออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งเราได้นำเสนอหลักฐานไปแล้ว ตามหลักวิชาการ แต่ก็ไม่ได้รับการหักล้างเป็นจุดๆเป็นประเด็นๆเลย เมื่อบังอะสันไม่เชื่อ เราก็ ขอเลื่อนไปเป็นการแบ่งแยกบิดอะฮ์ออกเป็นสองประเภท คือบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์ ตามหลักภาษา

และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตามที่สะลัฟและอุลามาอ์ผู้ทรงธรรมได้ให้ทัศนะไว้นั้น ได้กล่าว บิดอะฮ์หะสะนะฮ์คือ สิ่งที่อยู่ในหลักการของอิสลาม สิ่งที่สอดคล้องกับหลักการ และเป็นสิ่งที่ไม่ขัดกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ และสิ่งที่รายงานมาจากซอฮาบะฮ์ ซึ่งเราก็นำเสนอหลักฐานไปมากมายแล้ว เกี่ยวกับหะดิษที่มาตักศีส คำกล่าวต่างๆของซอฮาบะฮ์ ทัศนะสะลัฟ คำกล่าวของปวงปราชน์แห่งโลกอิสลาม แต่บังอะสันก็พยายามย้ำถึงจุดยืนของตนเองเพื่อให้พ้นไปวันๆ ในการปฏิเสธการแบ่งประเภทของบิดอะฮ์ว่ามีทั้ง บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ และ บิดอะฮ์ซัยยิดอะฮ์(บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง) แม้กระทั้งในเชิงภาษาบังอะสันก็ยังไม่ยอมรับ

แต่บังอะสันกลับไป แบ่งแยกบิดอะฮ์เป็น บิดอะฮ์ศาสนา และบิดอะฮ์ดุนยา แล้วแบ่งบิดอะฮ์ดุนยาอีกทอดหนึ่ง เป็นสองประเภทอีก คือบิดอะฮ์ดุนยาที่ดี และบิดอะฮ์ดุนยาที่ไม่ดี ซึ่งความจริงแล้วการแบ่งแยกอย่างนี้ คือ عين البدعة ตัวหรือธาตุแท้ของบิดอะฮ์อย่างแท้จริง!!

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 26, 2006 4:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

และผมจะไม่ยอมรับการอ้างการกระทำของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน มาทำบิดอะฮ เพราะ การกระทำของพวกเขา เป็นสุนนะฮที่ท่านรซูลให้ปฏิบัติตาม

วิจารณ์

ผมก็ไม่ยอมรับเช่นเดียวกับบังอะสันครับ ที่จะไปอ้างว่าเคาะลีฟะฮ์ อัรรอชิดีนนั้น ทำบิดอะฮ์ เนื่องจากการกระทำของโดยสรุปแล้ว เป็นซุนนะฮ์ แต่เราเพียงแค่เรียก ว่า "บิดอะฮ์ที่ดี" โดยตามคำกล่าวของ เคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดีน เท่านั้นเอง และบิดอะฮ์ที่ดีนี้ ก็คือ ซุนนะฮ์นั่นเอง บังอะสันครับ หากการเรียกว่า "บิดอะฮ์หะสะนะฮ์" นั้นผิด แน่นอนว่า ท่านอุมัร และท่านอิบนุอุมัร ก็ย่อมผิดด้วย วัลอิยาซุบิลลาห์!!

อ้างจากบังอะสัน

ท่านมุหัมหมัด ฆอซาลี กล่าวไว้ในหนังสือ ลัยสะมีนัลอิสลาม หน้า 96 ว่า

والحديث من رواية مسلم وهو لا يفيد بتاتا أن الاختراع في الدين جائز

“ และหะดิษ ที่รายงานโดยมุสลิม(มันสันนะ.....) ไม่ได้หมายความว่า อนุญาตให้คิดอุตริสิ่งใดขึ้นมาในศาสนาเลย”

วิจารณ์

จุดหมายของท่าน ชัยค์ มุหัมมัด อัลฆอซาลีย์ (ร.ฮ.) จากหะดิษของท่านมุสลิมนี้ หมายถึง سنة سيئة ที่อุตริขึ้นในศาสนา ที่ขัดและไม่สอดคล้องกับหลักการของศาสนา ซึ่งดังกล่าวนี้ ย่อมไม่เป็นที่อนุญาติอย่างแน่นอน

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 26, 2006 5:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

เช็คศอลิหิอัลฟูซาน ได้โต้ตอบพวกที่เอาหะดิษนี้มาอ้างทำบิดอะฮ ว่า

أما قوله صلى الله عليه وسلم : "من سن في الإسلام سنة حسنة؛ فله أجرها وأجر من عمل بها" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/704، 705) من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛ فهذا لا يدل على ما يقوله هؤلاء؛ لأن الرسول لم يقل من ابتدع بدعة حسنة، وإنما قال: "من سن سنة حسنة"، والسنة غير البدعة، السنة هي ما كان موافقًا للكتاب والسنة، موافقًا للدليل، هذا هو السنة؛ فمن عمل بالسنة التي دل عليها الكتاب والسنة؛ يكون له أجرها وأجر من عمل بها إلى يوم القيامة؛ يعني: من أحيا هذه السنة وعلمها للناس وبينها للناس وعملوا بها اقتداءً به؛ فإنه يكون له من الأجر مثل أجورهم،

สำหรับคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

"من سن في الإسلام سنة حسنة؛ فله أجرها وأجر من عمل بها" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/704، 705) من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛

หะดิษนี้ ไม่ได้แสดงบอก ตามสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นพูดกัน เพราะท่านรซูล ไม่ได้กล่าวว่า “ من ابتدع بدعة حسن”(ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี) แต่ตรงกันข้าม ท่านกล่าวว่า “"من سن سنة حسنة" ((ใดทำแบบอย่างที่ดี) และอัสสุนนะฮนั้น ไม่ใช่ บิดอะฮ อัสสุนนะฮคือ สิ่งที่ สิ่งที่สอดคล้องกับ อัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน)และอัสสุนนะฮ สอดคล้องกับหลักฐาน นี่คือ อัสสุนนะฮ ดังนั้นผู้ใด ปฏิบัติตามสุนนะฮ ที่อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ แสดงบอกเอาไว้ เขาก็จะได้รับผลตอบแทน ของตนและของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น จนถึงวันกิยามะฮ หมายถึง ผู้ใดฟื้นฟูสุนนะฮ และเขาปฏิบัติมัน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่มนุษย์ และ อธิบายมันแก่มนุษย์ แล้วพวกเขาปฏิบัติตามนั้น ดังนั้น เขาจะได้ผลการตอบแทน เท่ากับผลการตอบแทนที่พวกเขา(ผู้ปฏิบัติตามเขา)ได้รับ
المنتقى من فتاوى فضيلة الشيخ صالح بن فوزان بن عبد الله الفوزان، 1/173، رقم الفتوى في مصدرها: 96



วิจารณ์

ท่านซอลิหฺ บิน เฟาซาน นี้ หากเราศึกษาแล้ว เราจะพบว่า เขาคือผู้หนึ่งที่ขึ้นคุฏบะฮ์โดยกล่าวให้ร้ายและวิจารณ์แก่ท่าน อัลหะบีบ อะลี อัลญิฟรีย์ แต่ผมจะทำการวิจารณ์คำกล่าวของ ท่านซอลิหฺ บิน เฟาซาน ทีละประเด็นดังนี้

1. ท่านซอลิหฺ บิน เฟาซาน กล่าวว่า

من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛ فهذا لا يدل على ما يقوله هؤلاء

"หะดิษนี้ ไม่ได้แสดงบอก ตามสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นพูดกัน"

ผม อัล-ฟารูก ขอกล่าวว่า " คำว่า "พวกเขาเหล่านั้น" คือใคร? ตามความหมายของ ท่าน ซอลิหฺ บิน เฟาซาน หรือว่า พวกเขาเหล่านั้น คือบรรดาอุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลาม หากเป็นเช่นนั้นจริง คำกล่าวของ ท่านซอลิหฺ บิน เฟาซาน ย่อมไร้ค่า หากจะไปเทียบกับอุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลาม

2. ท่านซอลิหฺ บิน เฟาซาน กล่าวว่า

لأن الرسول لم يقل من ابتدع بدعة حسنة، وإنما قال: "من سن سنة حسنة"،
"เพราะท่านรซูล ไม่ได้กล่าวว่า “ من ابتدع بدعة حسن”(ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี) แต่ตรงกันข้าม ท่านกล่าวว่า “"من سن سنة حسنة"

ผม อัล-ฟารูก ขอกล่าวว่า " ถูกต้องครับ ที่ท่านร่อซูล(ซ.ล.)ไม่ได้กล่าวว่า من ابتدع بدعة حسنة แต่ท่านร่อซุล(ซ.ล.)กล่าวว่า "من سن سنة حسنة"، ซึ่งมีความหมายตามที่อุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลามได้อธิบายไว้ มันหมายถึง من إبتدأ فى الإسلام طريقة حسنة مرضية يقتدى بها (ผู้ใดที่ริเริ่มกระทำขึ้น ในอิสลาม กับหนทางที่ดี อันได้รับความพึงพอใจ ที่ถูกเจริญรอยตาม")

3. ท่านซอลิหฺ บิน เฟาซาน กล่าวว่า

وإنما قال: "من سن سنة حسنة"، والسنة غير البدعة، السنة هي ما كان موافقًا للكتاب والسنة، موافقًا للدليل، هذا هو السنة

"และอัสสุนนะฮนั้น ไม่ใช่ บิดอะฮ อัสสุนนะฮคือ สิ่งที่ สิ่งที่สอดคล้องกับ อัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน)และอัสสุนนะฮ สอดคล้องกับหลักฐาน นี่คือ อัสสุนนะฮ"

ผม อัล-ฟารูก ขอกล่าวว่า " ผมไม่ทราบว่า ท่าน ซอลิหฺ บิน เฟาซาน นั้น ได้อธิบายหะดิษนี้ทั้งหมดหรือเปล่า? เนื่องจาก คำว่า السنة ในหะดิษนี้ มีอยู่สองคำ คือ سنة حسنة (ซุนนะฮ์ที่ดี) และ سنة سيئة (ซุนนะฮ์ที่เลว คือ บิดอะฮ์ฏ่อลาละฮ์) ซึ่งที่เหมาะสมแล้วนั้น ท่าน ซอลิหฺ บิน เฟาซาน น่าจะกล่าวว่า

وإنما قال: "من سن سنة حسنة"، والسنة الحسنة غير البدعة، السنة الحسنة هي ما كان موافقًا للكتاب والسنة، موافقًا للدليل، هذا هو السنة

ความหมายว่า" และซุนนะฮ์(ในเชิงภาษา)ที่ดี ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ ซุนนะฮ์(ในเชิงภาษา)ที่ดี คือสิ่งที่สอดคล้องกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์ อีกทั้งสอดคล้องกับหลักฐาน ซึ่งนี้ก็คือ ซุนนะฮ์นั่นเอง "

และอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ ก็กล่าวว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ " ก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ โดยสอดคล้องกับ อัลกุรอานและซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ และสิ่งที่รายงานจากซอฮาบะฮ์ " แล้ว ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ กับ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ มันมีความแตกต่างกันอย่างไร? ตามทัศนะของอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ ซึ่งเป็นอุลามาอ์สะลัฟ ดังนั้น เราจะเลือกตามท่านซอลิหฺ บิน เฟาซาน ที่เรียกตนว่า อุลามาอ์สะละฟีย์ หรือจะตามอุลามาอ์ สะลัฟ แท้ๆที่มีคุณธรรม อย่าง อิมามอัช-ชาฟอีย์ (ร.ฏ.)

4. ท่านซอลิหฺ บิน เฟาซาน กล่าวว่า

من أحيا هذه السنة وعلمها للناس

"หมายถึง ผู้ใดฟื้นฟูสุนนะฮ และเขาปฏิบัติมัน"

ผม อัล-ฟารูก ขอกล่าวว่า " ผมได้อธิบายและวิจารณ์ การ تحريف ความหมายของคำว่า سَنَّ หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู) ไปแล้ว อัลหัมดุลิลลาห์ และผมไม่ทราบว่า หะดิษต่อจากนั้น คือ ومن سن في الإسلام سنة سيئة หมายถึง من أحيا السنة السيئة (ผู้ใดที่ทำการฟื้นฟูซุนนะฮ์ที่เลว) ด้วยหรือเปล่า? หรือว่าตรงนี้ ฉันจะให้ความหมายอย่างนี้ แต่ตรงโน้น ฉันจะให้ความหมายอีกอย่างหนึ่ง ทั้งที่มันก็เป็นคำเดียวกัน และอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ในสาเหตุการกล่าวหะดิษ หากเป็นแบบนี้ เขาไม่เรียกว่า เป็นการ تحكّم ดอกหรือครับ?

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 26, 2006 5:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

น้อง al-farook บอกว่า ให้สนทนากับแบบ มุจญตะฮิด นี้แหละ คือ การสนทนาแบบมุจญตะฮิด ไม่ใช่สนทนาแบบคนตะอัศศุบอุลามาอ และขอเตือนนิดหนึ่ง อย่าใช้อารมณ์และถ้อยคำเสียดสี แสดงออกมา เมื่อเห็นว่า คนอื่นเขาไม่ยอมรับทัศนะของตัวเอง ต้องไม่ลืมว่า เราเป็นพี่น้องกันในอิสลาม ขอให้จำเอาไว้ และอย่าพยายามเอาความบกพร่องที่ตกล่นหรือ ผิดพลาดในการพิมพ์ตัวอักษรมาดิสเครดิตฝ่ายตรงกันข้าม เดียวคนอ่าน จะหาว่า ไม่มีน้ำยา

วิจารณ์

บังอะสันครับ แล้วใครล่ะครับ ที่อะอัศศุฟอุลามาอ์ ที่จ้องแต่จะให้ความหมายคำว่า سنّ เป็น أحيا ทั้งที่อุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลามไม่ได้ให้ความหมายอย่างนั้น และสำหรับสิ่งที่บังอะสันนำเสนอโดยขาดตกบกพร่องนั้น ผมไม่ใส่ใจหรอกครับ เนื่องจากคนเราผิดพลาดกันได้ แม้กระทั้งตัวผมเอง แต่หากสิ่งนั้นมันขาดตกบกพร่องไป จนทำให้ถ้อยความอ่านไม่เข้าใจ ผมก็จะแก้ให้ถูกต้อง โดยที่ไม่ได้มีเจตนาเหยียดหยา ดิศเครติดบังอะสันเลย แต่บังอะสันพูดออกมาอย่างนี้ เพราะบังอะสันกลัวดับอายกับข้อผิดพลาดของตนเองหรือเปล่า? หากเป็นอย่างนี้ บังอะสันอย่าได้คิดเลย เพราะคนเรานั้น ย่อมมีสิ่งที่ผิดพลาด หากผู้ใดที่ชี้ข้อตำหนิให้แก่เรา เราต้องขอบคุณเขา แต่หากเขาได้ชี้ข้อตำหนิให้เรารู้ และเรากลับไม่พอใจ ก็แสดงว่า เรามีซิฟัตตะกั๊บบูร ที่ชัยฏอนกำลังเข้าสิงห์อยู่ บังอะสันกำลังสนทนาเพื่อแสวงหาสัจจะธรรม หรือว่า สนทนาเพื่อปกป้องแนวทางของวะฮาบีย์กันแน่ครับ หากบังอะสันสนทนาเพื่อแสวงหาสัจจะธรรม บังอะสันก็ได้สัจจะธรรม หากบังอะสันสนทนาเพื่อปกป้องแนวทางของวะฮาบีย์ บังอะสันก็จะได้ตามที่เจตนาไว้ และหนึ่งในผู้ที่แสวงหาสัจจะธรรมนั้น คือผู้ที่น้อมรับ ข้อบกพร่องของเราที่มีผู้ชี้นำได้แก้ไขให้อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้น เราก็ยังคงกลัวผู้อื่นมากล่าวว่า เรานั้น ไร้น้ำยา

และการเสียดสีฝ่ายพี่น้องวะฮาบีย์ ที่มีต่อเรานั้น คือชอบกล่าวว่า เราสนับมีทัศนะเรื่องบิดอะฮ์ ย่อมรับเรื่องบิดอะฮ์ แต่ความจริงแล้วจะกล่าวว่า เรามีทัศนะเรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ยอมรับเรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ กรุณาอย่าพูด บิดอะฮ์แบบ مطلق แต่สมควรพูดกับเราว่า ในบิดอะฮ์แบบ مقيد ด้วย ลักษณะที่มีคำว่า "ดี" ตามที่ซอฮาบะฮ์ สะละฟุสศอลิหฺ และอุลามาอ์ทัศนะของเราว่าไว้ หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็เท่ากลับกล่าวหาซอฮาบะฮ์ สะละฟุสศอลิหฺ และบรรดาอุลามาอ์ส่วนมากของอิสลาม โดยทางอ้อม วัลอิยาซุบิลลาห์!!!

อ้างจากบังอะสัน

เอาการอิจญติฮาดของบุคคล มาอ้าง ทำบิดอะฮอีกแล้ว การเป็นคนดี ไม่ได้หมายความว่า การกระทำของเขานั้น คือ ศาสนาที่ต้องปฏิบัติ เหล่าเศาะหาบะฮมีเป็นหมื่นเป็น แสน แล้ว เอาการกระทำพวกเขาบางคน ที่เกิดจากการอิจญติฮาดส่วนตัว มาอ้างเรื่อง ที่ว่า เป็นหลักฐานว่า ถ้าเห็นวาดีแล้วเอามาทำเป็นศาสนาได้ แล้วถ้าศาสนาให้สิทธิกับคนทั่วที่คนเห็นว่าเป็นคนดี ไปทำแบบนี้ ก็แสดงว่า ศาสนานั้น ส่วนหนึ่งมาจากวะหยู และ อีกส่วนหนึ่ง มาจากความคิดเห็นของมนุษย์ ...มาชาอัลลอฮ ไปกันใหญ่ และ ผลพวงจากความคิดแบบนี้ จึง มีบิดอะฮมากมายเกิดขึ้นในเมืองไทย พอบอก ก็แก้ตัวว่า “หนูไม่รู้” ว่ามีจริง
อัลลอฮ (วุบฮานะฮูวะตะอาลา)ตรัสว่า

أَمْ لَهُمْ شُرَكَاء شَرَعُوا لَهُم مِّنَ الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَن بِهِ اللَّهُ

[42.21] หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮ์มิได้ทรงอนุมัติ

มาดูหลักการในเรื่องอิบาดะฮ

أن العبادات مبناها على الشرع والاتباع، لا على الرأي والاستحسان والابتداع

แท้จริง การอิบาดะฮนั้น ต้องวางอยู่บน บทบัญญัติ และการปฏิบัติตาม ไม่ใช่ความเห็น ไม่ใช่คิดว่าดี และไม่ใช่การอุตริขึ้นมาใหม่

วิจารณ์

บังอะสันครับ บรรดาซอฮาบะฮ์มีเป็นแสนก็จริง แต่ซอฮาบะฮ์ที่อยู่ในระดับ ผู้วินิจฉัยได้นั้น มีประมาณ 130 คน (เกล็ดความรู้ครับ ผู้อ่านสมควรจำ) แล้วการวินิจฉัยของซอฮาบะฮ์ กับอิบาดะฮ์ที่อัลกุรอานและซุนนะฮ์ไม่ได้บอกไว้นั้น ก็คือสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ยอมรับด้วย ซอฮาบะฮ์บางท่าน กระทำอิบาดะฮ์ขึ้นมาเองโดยอ่านซิกิรในละหมาด และท่านนบี(ซ.ล.)ยังไม่ทันให้การยอมรับเลย บรรดามะลาอิกะฮ์ก็แย่งกันบันทึกความดีเสียแล้ว ท่านบิลาล ได้ทำการกำหนดเวลาละหมาด สองร่อกะอัต เป็นประจำหลังอาบน้ำละหมาด และนบี(ซ.ล.)ยังไม่ให้การยอมรับเลย แต่อัลเลาะฮ์รับรองได้เข้าสวรรค์เสียแล้ว ท่านค่อบีบ ได้ทำการทำละหมาดสองร่อกะอัต ก่อนถูกประหาร ขึ้นมาเอง ท่านอิบนุอุมัร ได้ทำการเพิ่มเติมการอ่านตะชะฮุด ท่านอิบนุ มัสอูด ได้ทำการเพิ่มเติมตะชะฮุดขึ้นมาเอง แล้วแบบนี้ พวกเขาได้ชื่อว่าเป็นพวกที่ตั้งภาคี และกำหนดศาสนาขึ้นมาเองหรือไม่? และเป็นอิบาดะฮ์ที่มมุษย์คิดขึ้นมาเองหรือไม่? มาชาอัลเลาะฮ์.... ดูเหมือนว่าหลักการของบังอะสันจะดี ที่ยกอายะฮ์ที่ถูกประทานแก่พวกกาเฟร มาอ้างพาดพิงกับเรา แต่เหมือนว่า จะโดนกับซอฮาบะฮ์เต็มๆ วัลอิยาซุบิลลาห์ !! หรือว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่เข้าใจ อายะฮ์ดังกล่าวนั้น ถึงต้องเพิ่มในสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ใช้ หรือว่า ซอฮาบะฮ์ อย่างท่าน ค่อบีบ ท่านอิบนุอุมัร ท่านอิบนุมัสอูดได้ทำอิบาดะฮ์ โดย ไม่ได้อยู่ บนหลักศาสนา على الشرع ไม่ได้อยู่บนการเจริญรอยตาม الاتباع แต่พวกเขาทำอิบาดะฮ์ขึ้นมา โดยใช้ความเห็น الرأي และคิดเองว่ามันเป็นสิงที่ดี الاستحسان หรือว่า ทำการอุตริกรรม الابتداع ในสิ่งที่ อัลกุรอานและซุนนะฮ์ไม่ใด้ใช้ ???

และที่สำคัญ พวกเขาไม่เข้าใจคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า "ทุกๆบิดอะฮ์(ในศาสนา) นั้นลุ่มหลง" ดอกหรือ? ถึงได้อุตริทำอิบาดะฮ์ขึ้นมา หรือว่า การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาใหม่ที่อยู่ในหลักการศาสนาทั่วไป คือสิ่งที่ดีและกระทำตามความเข้าใจของซอฮาบะฮ์

แล้วหลักการของบังอะสันที่ยกมานั้น เอาความเห็นมาจากใคร ? และเป็นหลักการของซอฮาบะฮ์หรือไม่? และความเข้าใจของซอฮาบะฮ์จริงๆนั้น มันเป็นอย่างไร? ซึ่งผมก็ได้อธิบายไปแล้ว เกี่ยวกับเรื่อง ซุนนะฮ์ ตักรีรียะฮ์ อัลหัมดุลิลลาห์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Feb 26, 2006 5:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

แล้วถ้าศาสนาให้สิทธิกับคนทั่วที่คนเห็นว่าเป็นคนดี ไปทำแบบนี้ ก็แสดงว่า ศาสนานั้น ส่วนหนึ่งมาจากวะหยู และ อีกส่วนหนึ่ง มาจากความคิดเห็นของมนุษย์ ...มาชาอัลลอฮ ไปกันใหญ่ และ ผลพวงจากความคิดแบบนี้ จึง มีบิดอะฮมากมายเกิดขึ้นในเมืองไทย พอบอก ก็แก้ตัวว่า “หนูไม่รู้” ว่ามีจริง

วิจารณ์

บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตามที่อุลามาอ์สะลัฟ กล่าวไว้นั้น ไม่ใช่ทำกันง่ายๆ ไม่ใช่ว่า ใครเห็นดีแล้วทำได้เลย แบบนี้ถือว่า เข้าใจแบบอัคติ และประเด็นต่างๆที่พี่น้องวะฮาบีย์ยกเมฆมานั้น เราไม่รุ้จรคิงๆ และหากเป็นเช่นนั้น เราก็ขอหุกุ่มว่า มันเป็นบิดอะฮ์ ซึ่งเราจะทำการชี้แจงในเรื่องประเด็นข้อปลีกย่อย และการที่เราไม่นำข้อปลีกย่อยมาชี้แจงนั้น ก็เนื่องจาก เราต้องการคุยเรื่องหลักการของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์เสียก่อน แต่มีพี่น้อง ซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ อย่างเช่นบังคนอยากรู้ กลับมาชี้แจงข้อปลีกย่อยไปบ้าง ก็เนื่องจากการยกเมฆของพี่น้องวะฮาบีย์ และบังอะสันก็ไม่ต้องกลัวหรอกว่าเราจะไม่ทำการสนทนา และเราก็จะนำเสนอบิดอะฮ์ต่างๆของแนวทางวะฮาบีย์มาสนทนาไปพร้อมๆกัน จะได้ยุติธรรม และบิดอะฮ์ของแนวทางวะฮาบีย์นั้น มีน้อยครับ แต่ บิดอะฮ์แต่ละอย่างนั้น อุจฉกรรจ์ และร้ายแรง และการสนทนาข้อปลีกย่อยนั้น เราจะจัดให้


ประเด็นบิดอะฮ์นั้น ย่อมแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ1. บิดอะฮ์(ที่เรียกแบบเฉยๆ)หรือบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง และ 2. บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ หรือบิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ

การสนทนาที่ผ่านมานั้น หากผู้อื่นได้ทำการติดตามอ่าน ท่านก็พบว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ มีขึ้นจริง โดยมีหลักฐานยืนยัน จากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และคำกล่าวของอุลามาอ์สะลัฟ และมันก็เป็นทัศนะของ อุลามาอ์ส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็นนักปราชน์รุ่นก่อน หรือรุ่นหลัง ไม่ว่าจะเป็นนักปราชน์ฟิกห์ นักปราชน์ในด้านหะดิษ หรือนักปราชน์อุซูล

อย่างที่ผมได้เคยเกริ่นไปแล้วว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ปัจจุบันแทบไม่เกิดขึ้นมาอีกแล้ว และไม่ได้ทำกันง่ายๆ เว้นแต่เสียว่า ต้องมีบรรดากฏเกนฑ์ และเงื่อนๆไขต่างๆ อย่างรัดกุม เพื่อจะให้บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นี้ อยู่ในหลักการของศาสนา หรืออยู่ภายใต้การคุ้มครองของศาสนา การทำบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ไม่ใช่ทำกันด้วย ความชอบความอยาก ไม่ใช่ทำกันตามอารมณ์ เนื่องส่วนมากนั้น จะเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ที่นบี(ซ.ล.)ได้เตือนให้เราระวัง

แต่บางบิดอะฮ์ที่พี่น้องวะฮาบีย์ยกเมฆมามาพาดพิงแก่เรานั้น หากมันเกิดขึ้นมาจริง เราก็ขอหุกุ่มว่ามันเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง แต่ประเด็นที่พี่น้องวะฮาบีย์หุกุ่มกับเราว่ามันเป็นบิดอะฮ์นั้น ก็เนื่องจากพี่น้องวะฮาบีย์เขาไม่เข้าใจหลักฐานของเรา หรือเขาถูกปิดกั้นหลักฐานต่างๆเหล่านั้น หรือเป็นบิดอะฮ์ที่ดี ซึ่งก็ส่วนน้อย อย่างไรก็แล้วแต่ การสนทนาข้อปลีกย่อยนั้น พวกเราจะจัดให้

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น จำเป็นต้อง อยู่ในการพิเคราะห์วินิจฉัยของ นักปราชน์ฟิกห์ ที่เป็นนักมุจญฺฮิด ที่มีความรอบรู้ บรรดามาตรฐานต่างๆของศาสนา และบรรดากฏเกนฑ์และหลักการต่างๆของมัน เพื่อที่จะให้บิดอะฮ์ที่ดีนี้ อยู่ภายใต้ตราชั่งของศาสนา โดยไม่ใช่อยู่ภายใต้หลักการของบิดอะฮ์ฏ่อลาละฮ์ ที่ลุ่มหลง

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 31, 32, 33  ถัดไป
หน้า 18 จากทั้งหมด 33

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.29 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ