ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sat Jan 28, 2006 6:49 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างอิงจากบังอะสัน
อบีชามะฮกล่าวว่า
37وأما قول عمر رضي الله عنه: "نعمت البدعة هذه"[رواه البخاري في "صحيحه" (2/252) من حديث
عبد الرحمن بن عبد القاري]؛ فالمراد بذلك البدعة اللغوية لا البدعة الشرعية؛ لأن عمر قال ذلك بمناسبة جمعه الناس على إمام واحد في صلاة التراويح، وصلاة التراويح جماعة قد شرعها الرسول صلى الله عليه وسلم ؛ حيث صلاها بأصحابه ليالي، ثم تخلف عنهم خشية أن تفرض عليهم[انظر: "صحيح البخاري" (2/252)
สำหรับคำพูดของท่านอุมัร(รฎ)ว่า "นี้คือ บิดอะฮที่ดีนั้น หมายถึง บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา เพราะท่านอุมัรกล่าวเช่นนั้น เพื่อความเหมะสม โดยให้ผู้คนมาร่วมละหมาดตะรอเวียะภายใต้อิหม่ามคนเดียวกัน โดยที่ละหมาดตะรอเวียะญะมาอะฮนั้น ท่านรซูลุลลอฮ ได้มีบัญญัติมันแล้ว โดยท่านได้ละหมาดกับเหล่าสาวกของท่าน หลายคืน ต่อมาท่านได้ทิ้งพวกเขาให้รอ(โดยไม่ออกมาร่วมละหมาด)เพราะเกรงว่า มันจะถูกบัญญัติให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขา - ดู
"الباعث على إنكار البدع والحوادث" لأبي شامة (ص 93 ـ 95)].
คือ เนื่องจากสมัยนบี ศอลฯ เป็นช่วงที่มีการประทานวะหยู แต่ ต่อมาท่านก็ได้สนับสุนการกระทำละหมาดญะมาอะฮตะรอเวียะห
ตอบ
บังอะสันชอบหมกเม็ดอีกแล้วครับ ผมเบื่อจังเลยครับ ไม่รู้ว่าบังอะสันจะกลัวอะไรนักหนา ที่ไม่ยอมกล่าวคำพูดของอุลามาอ์มาให้หมด คือพูดง่ายก็คือ ฉันจะยกแต่ท่อนที่เอาจะเอาว่างั้นเถอะ
หาเรากลับไปดู หนังสือ อัลบาอิษ อะลาอิงการ อัลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ หน้า 93 ของท่าน อิมาม อบี ชามะฮ์ หลังจากที่ท่านได้กล่าว เกี่ยวกับเรื่องละหมาดตะรอวิหฺ ตามที่บังอะสันได้อ้างอิงนำเสนอมา แล้วต่อจากนั้น ท่านอิมาม อบีชามะฮ์กล่าวว่า
فالبدع الحسنة : متفق على جواز فعلها ، والإستحباب لها ، ورجاء الثوب امن حسنت نيته فيها ، وهى كل مبتدع موافق لقواعد الشريعة غير مخالف لشيىء منها ولا يلزم من فعله محذور شرعى .
ความว่า "ดังนั้น บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ และหวังผลบุญ และมีการหวังผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี โดยที่บิดอะฮ์นั้น ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่างๆของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)
ท่านอบู ชามะฮ์ ได้ให้คำนิยามของบิดอะฮ์ที่ดี จากคำพูดของท่านที่ว่า "จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้" ซึ่งหมายถึงผู้ที่คำพูดของเขานั้น ถูกตอบรับในเรื่องการอิจญฺมาอ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่ถูกตอบรับด้วยกับคำพูดของเขา ก็ถูกคัดออกไป เช่นคำกล่าวของอิบนุตัยมียะฮ์ และผู้ที่มีแนวทางเดียวกับเขา ดังนั้น จึงไม่อนุญาติกับผู้ที่คัดค้านคำกล่าวนี้ เนื่องจากมันเป็นการแหวกมติของประชาชาติอิสลาม และการแหวกมติของประชาชาติอิสลามนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sat Jan 28, 2006 6:51 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างอิงจากบังอะสัน
อัลหาฟิซอิบนุหะญัรอัลอัสกอลานีย์กล่าวว่า
ما أحدث وليس له أصل في الشرع يسمّى في عرف الشرع بدعة، وما كان له أصل يدلّ عليه الشرع فليس ببدعة
คำว่า สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีที่มาในบทบัญญัติ(ในศาสนา) เรียกตามนิยามในทางศาสนาว่า บิดอะฮ และสิ่งใดที่ปรากฏที่มาซึ่งมีบทบัญญัติได้แสดงบอกเอาไว้ นั้น ไม่ใช่บิดอะฮ - ดู فتح الباري ج5: ص156 و ج17: ص9
อัลหาฟิซอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีกล่าวว่า
البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة
บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และในทางศาสนา ใช้เรียก สิ่งที่ตรงกันข้ามกับอัสสุนนะฮ ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ (คือไม่ใช่หะสะนะฮ) - ดูฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 5 หน้า 156 เล่ม 17 หน้า 9
ตอบ
บังอะสันครับ ทำไมถึงหมกเม็ด ไม่ยอมกล่าวคำพูดของท่านอิบนุหะญัรให้หมดละครับ หรือว่าบังอะสันยกอ้างโดยถูกหมกเม็ดมาอีกทีหนึ่ง จึงไม่รู้ว่าทัศนะของท่าน อิบนุหะญัร ที่แน่แฟ้นนั้น เป็นอย่างไร?
ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าว วิจารณ์คำกล่าวท่านอุมัร(ร.ฏ.) ที่ว่า نعمت البدعة هذه ดังนี้
البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح .
ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และในทางศาสนา ใช้เรียก สิ่งที่ตรงกันข้ามกับอัสสุนนะฮ ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และ(คำกล่าว)ที่ประณีตแน่แฟ้นนั้น คือ แท้จริง บิดอะฮ์นั้น หากมันมีมา จากสิ่งที่อยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดี ในหลักศาสนา มัน(บิดอะฮ์)ก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และหากว่ามันมีมา จากสิ่งที่อยู่ภายใต้สิ่งที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือ(บิดอะฮ์)ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(จากบิดอะฮ์ทั้งสอง) มันก็มาจาก ประเภทที่มุบาห์" ( ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253)
หากเราได้ศึกษาคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัร(ร.ฏ.) นั้น เราจะพบว่า ท่านอิบนุหะญัร ได้มีทัศนะ ถึง 2 แง่ด้วยกัน คือปฏิเสธเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ และยอมรับเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ แต่เราขอกล่าวว่า ท่านอิบนุหะญัรนั้น โน้มเอียงไปยังทัศนะที่กล่าวว่า มีบิดอะฮ์ที่หะสะนะฮ์ด้วย เนื่องจากท่านอิบนุญัรกล่าว ว่า
والتحقيق
"คำกล่าวที่ประณีต แน่นแฟ้นนั้น.......
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sat Jan 28, 2006 6:57 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ความหมายของ "บิดะฮ์" ในอัลกุรอาน
คำที่มาจากหมวดเดิมของ คำว่า ( بَدَعَ ) ที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานนั้น มีอยู่ 4 สถานที่ด้วยกัน
1. และ 2. อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
بديع السموات والأرض
ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117 และ อัล-อันอาม 59)
3. อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
قل ما كنت بدعا من الرسل
ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)
4. อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
وجعلنا فى قلوب الذين اتبعوا رأفة ورحمة ورهبانية ابتدعوها ما كتبنا عليهم إلا ابتغاء رضوان الله فما رعوها حق رعايتها
ความว่า "และเราได้บันดาลให้สถิตอยู่ในหัวใจของบรรดาผู้ประพฤติตามเขา(คือตามนบีอีซา อะลัยฮิสลาม) ความอาลัย ความเมตตา และความเป็นนักบวช ซึ่งพวกเขาได้ริเริ่มสิ่งนั้นขึ้น โดยที่เราไม่ได้บัญญัติสิ่งนั้นให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาเลย(พวกเขากระทำเช่นนั้น มิได้มุ่งหวังสิ่งใด) นอกจากเพื่อแสวงหาความโปรดการุนของอัลเลาะฮ์เท่านั้น แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" (อัล-หะดีด 27)
ดังนั้น จากอัลกุรอานได้กล่าวไว้ในสถาน ที่ 1 และ 2 นั้น ท่านอิบนุ มังซูร (إبن منظور ) กล่าวว่า " คำว่า ( البديع ) นี้เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาพระนามของอัลเลาะฮ์ เนื่องจากพระองค์ได้ทรงทำการประดิษฐ์สรรพสิ่งต่างๆ และก็ทรงทำการสรรสร้างมันขึ้นมา โดยที่พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ประดิษฐ์เป็นองค์แรก ก่อนที่จะมีทุกๆสิ่ง และพระองค์ทรงเป็นผู้ประดิษฐ์สร้างบรรดามัคโลค คือเป็นผู้ริเริ่มในการประดิษฐ์ เสมือนที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า
بديع السموات والأرض
ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117 และ อัล-อันอาม 59) หมายถึง พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์และทรงสรรสร้างกับมัน" (ดู หนังสือ ลิซาน อัลอะหรับ เล่ม 9 หน้า 351)
และในอัลกุรอานสถานที่ 3 นี้ ท่าน อัลค่อลีล กล่าวว่า " คำว่า (البدع) หมายถึง สิ่งซึ่งมีขึ้นมาเป็นอันดับแรกของทุกๆสิ่ง เฉกเช่น อัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า
قل ما كنت بدعا من الرسل
ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9) หมายถึง ฉันไม่ได้เป็นร่อซูลที่ถูกสิ่งมาเป็นคนแรก " ดู หนังสือ อัล-อัยน์ เล่ม 2 หน้า 54 - 55)
ดังนั้น ความหมายคำว่า "บิดอะฮ์" ในอัลกุรอานที่ได้กล่าวไว้ใน 3 สถานที่นี้ มีความหมายเดียวกัน คือ อยู่ในความหมายบิดอะฮ์ที่อยู่ในเชิงภาษา ( البدعة اللغوية )
แต่สำหรับ อายะฮ์ที่ได้กล่าวไว้ใน สถานที่ 4 คือ บิดอะฮ์เกี่ยวกับเรื่องศาสนา ( البدعة الشرعية ) คือคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า
ورهبانية ابتدعوها ما كتبنا عليهم إلا ابتغاء رضوان الله فما رعوها حق رعايتها
และความเป็นนักบวช ซึ่งพวกเขาได้ริเริ่มสิ่งนั้นขึ้น โดยที่เราไม่ได้บัญญัติสิ่งนั้นให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาเลย(พวกเขากระทำเช่นนั้น มิได้มุ่งหวังสิ่งใด) นอกจากเพื่อแสวงหาความโปรดการุนของอัลเลาะฮ์เท่านั้น แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" (อัล-หะดีด 27)
ท่าน มุหัดดิษ อัลลามะฮ์ ซัยยิด อับดุลเลาะฮ์ บิน อัศศิดดีก อัล-ฆุมารีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ อิดกอน อัศศุนอะฮ์ ของท่านว่า
"ท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัล-เอาสัฏ จาก อบี อุมามะฮ์ (ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า "แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติการถือศีลอดบนพวกท่าน โดยที่ไม่ได้บัญญัติให้ทำการละหมาด(ตะรอวิหฺ)บนพวกท่าน เพราะแท้จริงการละหมาด(ตะรอวิหฺ)นั้น คือสิ่งที่พวกท่านริเริ่มทำมันขึ้นมา ดังนั้นพวกท่านจงดำรงค์มันเอาไว้ เนื่องจาก บุคคลบางส่วนจาก บนีอิสรออีล ได้อุตริบิดอะฮ์หนึ่งขึ้นมา แล้วอัลเลาะฮ์ก็ทรงตำหนิพวกเขาด้วยสาเหตุที่พวกเขาละทิ้งนั้น แล้วท่านอบี อุมามะฮ์ (ร.ฏ.) ได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า
وجعلنا فى قلوب الذين اتبعوا رأفة ورحمة ورهبانية ابتدعوها ما كتبنا عليهم إلا ابتغاء رضوان الله فما رعوها حق رعايتها
ความว่า "และเราได้บันดาลให้สถิตอยู่ในหัวใจของบรรดาผู้ประพฤติตามเขา(คือตามนบีอีซา อะลัยฮิสลาม) ความอาลัย ความเมตตา และความเป็นนักบวช ซึ่งพวกเขาได้ริเริ่มสิ่งนั้นขึ้น โดยที่เราไม่ได้บัญญัติสิ่งนั้นให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาเลย(พวกเขากระทำเช่นนั้น มิได้มุ่งหวังสิ่งใด) นอกจากเพื่อแสวงหาความโปรดการุนของอัลเลาะฮ์เท่านั้น แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" (อัล-หะดีด 27)
ในสายรายงานนี้ มี อบู ซะกะรียา บิน อบีมัรยัม ท่านอิบนุหิบาน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัษษิก๊อต (บรรดานักรายงานที่เชื่อถือได้) และท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า "เขาไม่แข็งแรง(ฏออีฟ) " และท่านอัดดารุกุฏนีย์กล่าวว่า "เขานั้น รับการพิจารณาได้" แต่สิ่งที่ ท่านอบู อุมามะฮ์ ได้ทำการวินิจฉัยนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะอายะฮ์นี้ ไม่ได้ทำการตำหนิพวกนบีอิสรออีลที่อุตริเรื่องการเป็นนักบวช เนื่องจากพวกเขามีเจตนาเพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) แต่อายะฮ์นี้ ได้ทำการตำหนิพวกเขา เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รักษาสิ่งนั้นอย่างจริงจัง ดังนั้นอายะฮ์นี้ไม่ได้ทำการตำหนิเรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (ตามที่ ท่าน อัรรอซีย์ และอัลอุลูซีย์ได้กล่าวไว้) แต่ท่านอิบนุกะษีร(ร่อหิมะฮุลลอฮ์)ไม่ตระหนักถึงใจความของอายะฮ์ แล้วก็อธิบายอายะฮ์นี้ว่าได้ตำหนิบิดอะฮ์ทั้งหมด ซึ่งเป็นการอธิบายที่ผิดพลาด " (ดู หนังสือ อิดกอน อัศศุนอะฮ์ หน้า 23)
ดังนั้น การที่อัลกุรอานได้ตำหนิพวกเขา ก็เนื่องจากสาเหตุที่พวกเขาไม่รักษาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ที่พวกเขาได้อุตริมันขึ้นมา "แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" และการตำหนินี้ ไม่ได้มุ่งเน้นไปยังพวกเขาทั้งหมด เนื่องจากในหมู่พวกเขานั้น ก็ยังมีผู้รักษาหลักการดังกล่าว เหมือนกับที่ท่านอิบนุซัยด์ได้กล่าวไว้ และไม่ได้มุ่งเน้นไปยังบรรดาผู้ริเริ่มทำมันขึ้นมา ดังที่ท่าน อัฏเฏาะหฺห๊ากได้กล่าวไว้(ดู ตัฟซีร อัล-บะหฺรุลมุฮีด เล่ม 8 หน้า 228 - 229) แต่การตำหนินี้มุ่งเน้นไปยังคนรุ่นหลังจากพวกเขา เหมือนกับ ท่าน อะฏออ์ ได้กล่าวไว้ (ดู ตัฟซีร อัลกะบีร เล่ม 8 หน้า 104)
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Konyakroo มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006 ตอบ: 244
|
ตอบ: Sat Jan 28, 2006 2:09 pm ชื่อกระทู้: มัสหับ |
|
|
คุณอัชอารี /มูฮำมัดยินดีครับ
และทุกคนๆครับ
อัชอารีครับผมต้องขอมาอัฟด้วยเรื่องอีเมล์นะครับว่างๆแล้วผมจะให้ข้อมูลทีหลังนะครับ
จุๆน้องสุรอยา คะ ผมขอโทษด้วยนะ ที่หยิกแกมหยอกคุณ (ล้อเล่นนะ)
จริงๆแล้ว ผมยังเปิดโอกาส ด้วยความใจกว้างเลยของพวกเรานะครับผมเกรงว่าคำถามและการสนทนาจะไม่ต้องเนื่องนะครับเลยอยากให้เพลาๆกันบ้าง คุณมูฮำมัดเขารับมุกไม่ทัน โดยแค่มุกของบังฮะซันแก ก็เฮกันไม่ไหวเเล้วครับ ยิ่งบังก็ส่งภาพมาให้ดูด้วยผมยิ่งได้จิตนาการเลย..ซิฮิฮิฮา
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jan 28, 2006 10:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้องอัล-อัซฮารีกล่าวว่า
อ้างอิงจากบังอะสัน
อิหม่ามมาลิก บุตร อะนัสกล่าวว่า
من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة فقد زعم أن محمدا صلى الله عليه وسلم خان الرسالة، لأن الله يقول: (اليَومَ أكْمَلْتُ لَكُم دِينَكُمْ) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم ديناผู้ใดอุตริบิดอะฮขึ้นมาในอิสลาม โดยเห็นว่ามันดี (เห็นว่าเป็นบิดอะฮหะสะนะฮ) แน่นอนเขาเข้าใจผิดว่า แท้จริงมุหัมหมัด ศอลฯ นั้น ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นแห่งพระเจ้า เพราะว่าอัลลอฮทรงกล่าวว่า (วันนี้เราได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว) แล้ว สิ่งใดในวันนั้นไม่เป็นศาสนา ดังนั้นในปัจจุบันนี้ก็ไม่เป็นศาสนา - โปรดดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1/49الاعتصام (1/49).
ตอบ
ผมไม่ทราบว่า ท่านอัช-ชาฏิบีย์ ได้ถ่ายทอดคำกล่าวของอิมามมาลิกนี้ มาจากหนังสือเล่มใหน ? แต่แน่ๆนั้น ในบรรดาหนังสือหะดิษ ทั้งหลาย ไม่มีกล่าวไว้
และหากว่าเป็นคำกล่าวของท่านอิมามมาลิกจริง ดังนั้น บิดอะฮ์ในที่นี้ หมายถึงบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานและที่มาจากศาสนา แล้วคนทำนั้นเห็นว่ามันดี ก็ถือว่าเป็นการอุตริและเพิ่มเติมศาสนา
........................................
ตอบ
นี้ไง หากไม่ตรงกับทัศนะตนเอง น้องบ่าวเราก็เบี่ยงเบนไปตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าจริง หมายถึงบิดอะฮที่ไม่มีรากฐานจากศาสนา น้องบ่าวอัซฮารี ครับ เมื่อ มันมีรากฐานมาจากศาสนา เช่น ละหมาดตะรอเวียะตามคำพูดของท่านอุมัรนั้น อันนี้เขาไม่เรียก บิดอะฮหะสะนะฮ ( ตามที่น้องยกตัวอย่างที่ผ่านมาว่าเป็นบิดอะฮหะสะนะอ) เพราะนั้นมันเป็นสุนนะฮที่ท่านนบี ศอลฯเคยทำมา และเป็นสุนนะฮ คุลาฟาอุรรอชิดีน ดังที่ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า
عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي ، تمسكوا بها وعضوا عليها بالنواجذ ، وإياكم ومحدثات الأمور ، فإن كل محدثة بدعة ، وكل بدعة ضلالة ) أخرجه أحمد 4/126 ، والترمذي برقم 2676
พวกท่านจงยึดมั่นในสุนนะฮ(แบบอย่าง)ของฉัน และบรรดาเคาะลิฟะฮผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง ผู้ได้รับทางนำหลังจากฉัน จงยึดถือมัน และจงกัดกรามต่อมัน(หนักแน่นอดทน) และพึงระวังสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่ในศาสนา และแท้จริงทุกสิ่งอุตริขึนใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮ นั้น เป็นการหลงผิด" - บันทึกโดยอะหมัด และ อัตติรมิซีย์
......................................
น้องอัล-อัซฮารีกล่าวว่า
เพราะบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือสิ่งที่ทำขึ้นมาโดยที่รากฐานที่มาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ จึงไม่ใช่เป็นเพิ่มเติม ตัดทอน หรือตามอารมณ์ และวางศาสนาขึ้นมาเอง
............................
ตอบ
น้องไม่เข้าใจความหมายคำว่า บิดอะฮ เพราะหากสิ่งนั้นรากฐานที่มาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ จึงไม่ใช่เป็นเพิ่มเติม ตัดทอน หรือตามอารมณ์ และวางศาสนาขึ้นมาเอง แบบนี้เขาไม่เรียก ว่า บิดอะอเพราะบิดอะฮในศาสนา คือ
น้อง al-azhary กล่าวว่า
อ้างอิงจากบังอะสัน
เลยขอนำเสนอเรื่อง บิดอะฮ เพื่อให้น้องบ่าวได้นำไปทบทวนดู ดังนี้
البدعة: ما أحدث ممّا لا أصل له في الشريعة يدلّ عليه. أمّا ما كان له اصل من الشرع يدلّ عليه فليس ببدعة شرعاً، وإن كان بدعة لغة
บิดอะฮ คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่ จากสิ่งที่ไม่มีที่มาในศาสนบัญญัติ ได้แสดงบอกไว้ สำหรับสิ่งที่มีที่มาจากบทบัญญัติได้แสดงบอกเอาไว้นั้น ก็ไม่เรียกว่าเป็นบิดอะฮในทางศาสนา ถึงแม้จะเป็นบิดอะฮในทางภาษาก็ตาม
- โปรดดู جامع العلوم الحكم: ص160 ط الهند
น้องอัลอัซฮารี ตอบว่า
คำนิยามนี้ ไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เนื่องจากบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือสิ่งที่มีรากฐานที่มาจากหลักการของศาสนา
..
ตอบ
ก็บังบอกแล้วไงว่า ถ้ามีรากฐานมาจากหลักการของศาสนา อันหมายถึง อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ อย่างนี้ เขาไม่เรียกว่าบิดอะฮ ในศาสนา น้องบอกว่า นิยามนี้ ไม่ได้ปฏิเสธ บิดอะฮหะสะนะฮ ก็น้องเหมาเอาเองทั้งนั้น นิยามนี้มันชัดเจนอยู่แล้ว น้องบ่าวอย่าดิ้นซิครับ
...................................................................................................................................
อิหม่ามอัชชาฏิบีย์กล่าวว่า
البدعة: طريقة في الدين مخترعة، تضاهي الشرعية، يقصد بالسلوك عليها ما يقصد بالطريقة الشرعية
บิดอะฮคือ แนวทางในเรื่อง ศาสนา ซึ่งถูกอุตริขึ้นมาใหม่ เลียนแบบศาสนบัญญัติ โดยมีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ เหมือนกับจุดมุ่งหมายตามแนวทางศาสนบัญญัติ ดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 37
น้องอัล-อัซฮารีตอบ
คำนิยามของ ท่านอิมาม อัช-ชาฏิบีย์นี้ อุลามาอ์ส่วนมากไม่ให้การยอมรับ เนื่องจากอุลามาอ์ส่วนมาก ทำการแบ่งบิดอะฮ์เป็นหะสะนะฮ์ และก่อบีฮะฮ์ (น่ารังเกียจ) นอกจากอุลามาอ์ที่แวกแนวออกไป ที่ไม่ทำการแบ่งบิดอะฮ์ ตามนัยนี้ คือ อิบนุตัยมียะฮ์ ที่เอนเองไปยังการปฏิเสธเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ และท่านอิมาม อัช-ชาฏิบีย์ (ร.ห.) ที่ปฏิเสธอย่างชัดเจน ซึ่งทั้งสองท่านนี้ ก็ไม่ใช่สะลัฟ
...............................................
ตอบ
นี่แหละครับท่านผู้ชม หากไม่ตรงกับทัศนะตัวเอง ก็อ้างข้างๆคูๆว่า อุลามาอส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ นี้แหละครับ ผลของการอ้างทัศนะอุลามาอ โดยไม่สนใจหะดิษที่บอกไว้ชัดเจนว่า كل بدعة ضلالة ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด
...........................................
ข้อความของน้องอัล-อัซฮารี
อ้างอิงจากบังอะสัน
อัศศอนอานีย์ กล่าวไว้ว่า
وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة
สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า เนียะมุนบิดอะฮนั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10
น้องอัลอัซฮารีตอบว่า
บังอะสันจะยกอ้างอิงอะไรมานั้น ผมแนะนำว่า ให้คิดให้ถี่ถ้วนก่อน ไม่ใช่เจอสิ่งที่ตนเองจะเอาแล้วยกอ้างอิงมาหมด โดยที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังเสียมารยาทตำหนิท่านอุมัรอยู่
ท่านอัศศอนอานีย์กล่าวว่า "สำหรับคำกล่าวของท่านอุมัร ที่ว่า "(มัน)เป็นบิดอะฮ์ที่ดี" ดังนั้น ในบิดอะฮ์ ย่อมไม่มีสิ่งที่ถูกสรรเสริญ แต่ทุกบิดอะฮ์นั้น หลงผิด" ดู ซุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 344
จากคำกล่าวของท่านอัศศอลอานีย์นี้ ถือว่า เป็นการตำหนิท่านอุมัร พูดเหมือนกับจะบอกว่า ท่านอุมัรบอกว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ดี แต่ท่านอัศศอนอานีย์กล่าววิจารร์คำพูดของท่านอุมัรว่า บิดอะฮ์นั้นไม่มีอะไรดี แต่ล้วนเป็นสิ่งที่ลุ่มหลง คือการกระทำของท่านอุมัรที่รวมผู้คนให้ละหมาดตะรอวิหฺ โดยตามอิมาม เพียงคนเดียว (คือท่านอุบัย) นั้น เป็นบิดอะฮ์(ที่ดี ตามทัศนะของท่านอุมัร) แต่ท่านอัศศอนอานีย์กลับกล่าวว่า ในบิดอะฮ์นั้นไม่มีสิ่งใดดี แต่มันกลับหลง!!!
........................................
ตอบ
นี่พอตัวเองจนมุม ก็ไปตำหนิและกล่าวหา ท่านอัศศอ็นอานีอีก ว่า ไปตำหนิท่านอุมัร มาชาอัลลอฮ น้องแกล้งไม่เข้าใจ หรือ เข้าใจแต่ปฏิเสธกันแน่ ท่านอุมัร ไม่ได้เป็นคนแรกที่จัดให้คนละหมาดตะรอเวียะ โดยตามอิหม่ามคนเดียว ท่านนบี ศอฯก็เคยนมาซตะรอเวียะนำบรรดาเศาะหาบะฮ และท่านได้ส่งเสริมอีกด้วย ส่วนบิดอะฮที่ท่านอุมัรกล่าวถึงนั้น เป็นบิดอะฮในทางภาษา
,มาดูหะดิษอบีซัรริน ร.ฎ อีกครั้ง
: " صمنا مع رسول الله صلى الله عليه وسلم رمضان، فلم يقم بنا شيئا من الشهر حتى بقي سبع فقام بنا حتى ذهب ثلث الليل، فلما كانت السادسة لم يقم بنا، فلما كانت الخامسة قام بنا حتى ذهب شطر الليل، فقلت : يا رسول الله ! لو نفلتنا قيام هذه الليلة، فقال : " إن الرجل إذا صلى مع الإمام حتى ينصرف حسب له قيام ليلة " فلما كانت الرابعة لم يقم، فلما كانت الثالثة جمع أهله ونساءه والناس، فقام بنا حتى خشينا أن يفوتنا الفلاح، قال : قلت : وما الفلاح ؟ قال : السحور، ثم لم يقم بنا بقية الشهر " حديث صحيح، أخرجه أصحاب السنن.
พวกเราได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน พร้อมกับท่านรซูลุลอฮ ศอลฯ แล้วท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเราเลยสักคืน จากเดือน นั้น จนกระทั้ง เหลือเจ็ดคืน แล้วท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปหนึ่งในสามของกลางคืน แล้วปรากฏว่าเมือเหลืออีกหกวัน ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลือห้าวัน ท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปครึ่งคืน แล้วข้าพเจ้ากล่าวว่าโอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ ถ้าพวกเราอาสาจะลุกขึ้นละหมาดในคืนเหล่านี้(จะดีไหม)
แล้วท่านได้กล่าวตอบว่า แท้จริงคนใดเมื่อเขาได้ละหมาดพร้อมกับอิหม่าม จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการตอบแทนเท่ากับละหมาดทั้งคืน แล้วเมื่อเหลืออีกสี่คืน ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลืออีกสามคืน ท่านได้ชุมนุมครอบครัวของท่าน บรรดาภรรยาของท่านและบรรดาผู้คน แล้วท่านได้นำละหมาด พวกเรา จนกระทั้งพวกเราเกรงว่าจะชวดอัล-ฟัลลาห เขา(อบูซัร)กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า อัล-ฟัลลาหนั้นคือ อะไร ท่านได้ตอบว่า คือ การรับประทานสะหูร แล้วคืนที่เหลือในเดือนนั้น ท่านก็ไม่ได้ละหมาดนำพวกเรา หะดิษเศาะเหียะ รายงานโดยเจ้าของสุนัน
...........................
แล้วเมื่อมีหลักฐานอย่างนี้ ท่านอุมัรจะหมายถึงบิดอะฮในทางศาสนาได้อย่างไร น้องอย่าป้ายขี้ให้ท่านอุมัรซิครับ
................
ข้อความของอัล-อัซฮารี
فالبدع الحسنة : متفق على جواز فعلها ، والإستحباب لها ، ورجاء الثوب امن حسنت نيته فيها ، وهى كل مبتدع موافق لقواعد الشريعة غير مخالف لشيىء منها ولا يلزم من فعله محذور شرعى .
ความว่า "ดังนั้น บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ และหวังผลบุญ และมีการหวังผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี โดยที่บิดอะฮ์นั้น ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่างๆของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)
......................
ตอบ
แล้วหากทำแล้วที่ว่า ได้บุญ แล้ว คุณจะไปเอาบุญที่ใคร คำว่า สิ่งประดิษฐขึ้นใหม่ ที่สอดคล้องกับหลักศาสนา อันนี้ ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะถ้ามีในคำสอนศาสนา ก็ไม่เรียกว่าบิดอะฮ คำว่า ศาสนาที่ผมหมายถึง คือ คำสอนที่มาจากเจ้าของศาสนา และอัสสุนนะฮที่ทำหน้าที่อธิบายเจตนารมณ์ของศาสนา แต่...ศาสนาแบบพวกคุณ คือ ศาสนา ของมนุษย์
.....................................
ตอนนี้ไม่ค่อยว่าง เพราะติดประชุมทางการ อินชาอัลลอฮ จะทยอยตอบ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jan 28, 2006 11:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า
((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد)).
ผู้ใดประกอบการงานใดที่ไม่มีคำสั่งของเราบนมัน นั้นมันถูกปฏิเสธ รายงานโดยมุสลิม
มาดูคำอธิบาย
قال ابن رجب: فهذا الحديث يدل بمنطوقه على أن كل عمل ليس عليه أمر الشارع فهو مردود، ويدل بمفهومه على أن كل عمل عليه أمره فهو غير مردود))
อิบนุเราะญับกล่าวว่า ดังนั้นหะดิษนี้ คำพูดของมันแสดงให้เห็นว่า แท้จริงทุกการงาน ที่ไม่มีคำสั่งของศาสนา นั้น ถูกปฏิเสธ และความหมายของมันก็แสดงให้รู้ว่า ทุกการงานที่มีคำสั่งของศาสนา นั้น จะไม่ถูกปฏิเสธ - ดู
[الجامع 1/177].
อัล-บานีย์กล่าวว่า
وهذا الحديث قاعدة عظيمة من قواعد الإسلام، وهو من جوامع كلمه فإنه صريح في رد وإبطال كل البدع والمحدثات
และหะดิษนี้ เป็นหลักการอันสำคัญ จากบรรดาหลักการของอิสลาม มันเป็นส่วนหนึ่งจากบทสรุปของถ้อยคำของมัน แล้วแท้จริงมันชัดเจน ในการคัดค้านและล้มล้าง ทุกบิดอะฮและบรรดาสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่(ในศาสนา) -
. [الإرواء رقم 88].
อิบนุเราะญับกล่าวอีกว่า
فكل من أحدث شيئاً ونسبه إلى الدين ولم يكن له أصل من الدين يرجع إليه فهو ضلالة، والدين برئ منه، وسواء في ذلك مسائل الاعتقادات أو الأعمال أو الأقوال الظاهرة والباطنة.
แล้วทุกคนที่อุตริสิ่งใดขึ้นมา แล้วนำไปอ้างว่าเป็นศาสนา ทั้งๆที่ไม่ได้มีที่มาในศาสนา ที่จะกลับไปหามัน มันคือ การหลงผิด โดยที่ ศาสนา นั้น เป็นอิสระจากเขา ในเรื่องดังกล่าวนั้น ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ อะกีดะฮ หรือ การปฏิบัติ หรือ คำพูด ที่แสดงออกมาโดยภายนอก และภายในใจก็ตาม
[الجامع 2/128].
..............................................
ขอย้ำ นะน้อง บิดอะฮในศาสนา ไม่มีคำว่า หะสะนะฮ อย่างเด็ดขาด
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sat Jan 28, 2006 11:22 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างอิงจากบังอะสัน
นี่พอตัวเองจนมุม ก็ไปตำหนิและกล่าวหา ท่านอัศศอ็นอานีอีก ว่า ไปตำหนิท่านอุมัร มาชาอัลลอฮ น้องแกล้งไม่เข้าใจ หรือ เข้าใจแต่ปฏิเสธกันแน่ ท่านอุมัร ไม่ได้เป็นคนแรกที่จัดให้คนละหมาดตะรอเวียะ โดยตามอิหม่ามคนเดียว
และกล่าวอีกว่า
แล้วเมื่อมีหลักฐานอย่างนี้ ท่านอุมัรจะหมายถึงบิดอะฮในทางศาสนาได้อย่างไร น้องอย่าป้ายขี้ให้ท่านอุมัรซิครับ
ตอบ
ดูซิครับ บังอะสันฟังไม่ได้ศัพท์ และไม่เข้าใจแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ บังอะสันเอาคำนิยามของตนมาเป็นบรรทัดฐาน เข้าใจในสิ่งที่ผมได้กล่าวไป คือคำนิยามของ"บิดอะฮ์" ตามหลักศาสนา นั้น คือทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง (สรุปประมาณนั้นนะ) แล้วเอาคำนิยามนี้ ผมเปลี่ยนความหมายของท่านอุมัรว่า"มันคือบิดอะฮ์ในเชิงภาษา" เพราะต้องการจะเอาคำว่า"บิดอะฮ์ที่ดี" ของท่านอุมัรนั้น ออกไปจากคำตอบนิยามที่ตนเองจะเอา แล้วก็บอกว่า มันเป็นคำนิยามในเชิงภาษา คือการตีความว่า คำกล่าวของท่านอุมัรนี้ มันอยู่ในเชิงภาษา ก็ไม่ได้มาปฏิเสธเรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นี่ครับ และเมื่อบังอะสันเอาคำนิยามของตนเข้ามาอธิบาย จึงมากล่าวหาว่า ผมป้ายสี(บังอะสันบอกว่าขี้ ผมละอายที่จะพูดอย่างนั้น)ท่านอุมัร!!!
แต่คำนิยามตามหลักศาสนา ของอุลามาอ์ส่วนมากนั้น ดังนี้ "บิดอะฮ์ คือสิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่ หากมันขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์นั้น ลุ่มหลง และหากไม่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์นั้น เป็นบิดอะฮ์ที่ดี" ดังเช่นอิมามชาฟิอีย์ ได้ให้คำนิยามทางศาสนา (ไม่ใช่ทางภาษา) โดยอ้างคำกล่าวของท่านอุมัรมาสนับสนับสนุน ความหมายในเชิงศาสนา ว่า
อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)
สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท
(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง
(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ
ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
ดังนั้น คำกล่าวของท่านอุมัร คำกล่าวว่า "บิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ)อันนี้" ซึ่งอะไรคือ บิดอะฮ์เกี่ยวกับตะรอวิหฺครับ กลุ่มวะฮาบีย์อ้างว่า บิดอะฮ์ที่ท่านอุมัรหมายถึง คำการทำละหมาดตะรอวิหฺ ที่เป็นภาพเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากว่าเป็นอย่างนี้แล้ว ทำไมท่านอุมัรถึงกล่าวว่ามันเป็น"บิดอะฮ์" ทำไมไม่กล่าวว่ามันเป็น"ซุนนะฮ์" หากอธิบายว่า นบีเคยทำมาแล้ว แต่ท่านอุมัรก็ยังกล่าวว่า"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี" เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ต้องมาเข้าใจคำจุดหมายของท่านอุมัรว่า อะไรใหนของตะรอวิหฺที่เป็น"บิดอะฮ์ที่ดี" ซึ่งความจริงแล้ว บิดอะฮ์ที่ดีนั้น ไม่ใช่ตัวการทำละหมาดตะรอวิหฺ เพราะนบี(ซ.ล.)เคยทำมาแล้ว แต่จุดมุ่งหมายของท่านอุมัรก็คือ "การเรียกผู้คนมารวมกันทำละหมาดตะรอวิหฺ โดยมีอิมามที่เฉพาะเจาะจง คือท่านอุบัย โดยไม่เอาคนอื่นมาเป็นอิมามนำ แล้วก็ละหมาดกัน 20 ร่อกะอัต" นี้ต่างหากล่ะครับ คือจุดมุ่งหมายคำว่า"บิดอะฮ์ที่ดี" ของท่านอุมัร ดังนั้น นบีเคยไปเรียกบรรดาซอฮาบะฮ์ให้มาละหมาดตะริวิหฺแบบญะมาอะฮ์หรือ?? นบีเคยละหมาดตะรอวิหฺเป็นอิมามนำ 20 ร่อกะอัตหรือ? แล้วการที่ท่านอุมัรไปเรียกคนมาละหมาดตะรอวิหฺแบบญะมาอะฮ์โดยมีอิมามที่เฉพาะคนเดียวและทำ 20 ร่อกะอัตนี้ เป็นบิดอะฮ์ในทางภาษาหรือศาสนาครับ และท่านอุมัรหมายถึงบิดอะฮ์ทางภาษาหรือครับ? หรือการกระทำของท่านอุมัร มันเป็นเรื่องศาสนาของมนุษย์????และความหมายที่บิดอะฮ์เกี่ยวละหมาดตะรอวิหฺของท่านอุมัรนั้น ท่านอัศศอนอะนีย์ เองนี่แหละครับ ที่อธิบายเอาไว้ดูซุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 344 แล้วก็ทำการวิจารณ์คำกล่าวของท่านอุมัร (ร.ฏ.)
ส่วนหลักฐาน หะดิษ ที่บังอะสันนำมากล่าวสนับสนุน คำนิยามของ ท่าน อัชชาฏิบีย์ และอิบนุหาญิบ และอิบนุตัยมียะฮ์ (ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่สะลัฟ) ผมก็จะนำวิจารณ์อธิบายแบบรายละเอียด ในช่วง การนำเสนอหลักฐานจากซุนนะฮ์ ตอนนี้บังอะสันยกหลักเดิมๆได้อยู่นะ แล้วผมจะนำมายกเพิ่มให้อีก แต่ที่ผมเข้ามา ก็เพื่อสนทนา ในเชิงคำนิยามก่อน และเพิ่มมาอีกก็คือ อัล-อัลกุรอานก็ยืนยันในเรื่องการมีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์)ที่ดี
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jan 28, 2006 11:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
[B]น้องอัล-อัซฮารีอ้างว่า
แต่สำหรับ อายะฮ์ที่ได้กล่าวไว้ใน สถานที่ 4 คือ บิดอะฮ์เกี่ยวกับเรื่องศาสนา ( البدعة الشرعية ) คือคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า
ورهبانية ابتدعوها ما كتبنا عليهم إلا ابتغاء رضوان الله فما رعوها حق رعايتها
และความเป็นนักบวช ซึ่งพวกเขาได้ริเริ่มสิ่งนั้นขึ้น โดยที่เราไม่ได้บัญญัติสิ่งนั้นให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาเลย(พวกเขากระทำเช่นนั้น มิได้มุ่งหวังสิ่งใด) นอกจากเพื่อแสวงหาความโปรดการุนของอัลเลาะฮ์เท่านั้น แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" (อัล-หะดีด 27
................
ตอบ
ตายละ.. อ้างการกระทำของพวกนะศอรอ ในยุคนบีอีซา (อ.)มาสนับสนุน การทำบิดอะฮ .เลยหรือ เอ.. ทำไมท่านนบี ศอลฯ ท่านไม่พบอายะฮนี้หรือไร จึงไม่กล่าวว่า " บิดอะฮนั้น มีทั้งที่ดีและที่หลงผิด"
ฮะฮา..[/B
................
อินชาอัลลอฮ หากมีเวลาจะมาอธิบายตรงนี้เพิ่มเติมครับ
คำจำกัดความ: |
|
ขนาดไฟล์: |
3.07 กิโลไบต์ |
เข้าชม: |
9386 ครั้ง |
|
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sun Jan 29, 2006 12:10 am ชื่อกระทู้: |
|
|
แล้วบังอะสันรู้หรือเปล่าล่ะว่า การกระทำของนะซอรอ ในนาม "อัรรอฮ์บาน" นั้น มันคืออะไรบ้าง และมีความหมายกี่อย่าง และอะไรบ้างที่อิสลามปฏิเสธ และอะไรบ้างที่อิสลามยังคงยอมรับอยู่ ในประเด็นอัลกุรอานนี้ ผมนำเสนอเพียงเพื่อต้องบอกให้รู้ว่า อัลกุรอาน ก็ยังกล่าวถึงเรืองบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เท่านั้นเอง
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sun Jan 29, 2006 12:12 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างอิงจากบังอะสัน
ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า
((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد)).
ผู้ใดประกอบการงานใดที่ไม่มีคำสั่งของเราบนมัน นั้นมันถูกปฏิเสธ รายงานโดยมุสลิม
มาดูคำอธิบาย
قال ابن رجب: فهذا الحديث يدل بمنطوقه على أن كل عمل ليس عليه أمر الشارع فهو مردود، ويدل بمفهومه على أن كل عمل عليه أمره فهو غير مردود))
อิบนุเราะญับกล่าวว่า ดังนั้นหะดิษนี้ คำพูดของมันแสดงให้เห็นว่า แท้จริงทุกการงาน ที่ไม่มีคำสั่งของศาสนา นั้น ถูกปฏิเสธ และความหมายของมันก็แสดงให้รู้ว่า ทุกการงานที่มีคำสั่งของศาสนา นั้น จะไม่ถูกปฏิเสธ - ดู
ตอบ
การวิจารณ์เกี่ยวหะดิษนี้ ผมก็เคยบอกไปแล้วว่า จะนำมาอธิบายทีหลัง ไปจุดๆเป็นประเด็นๆ อย่างมีระเบียบเรียบร้อย แต่ผมขอเกริ่นสักหน่อย เพื่อเป็นการทัดทานความเข้าใจ(ไม่ใช่ทัดทานหะดิษ) ของวะฮาบีย์ หากบังอะสันเอาคำกล่าวของท่านอิบนุรอญับซึ่งไม่ใช่สะลัฟมาอ้าง ผมก็จะนำคำกล่าวของท่านอิบนุหะญัร อัลอัศก่อลานีย์ อิมีรุลมุอฺมินีนในวิชาหะดิษมา อ้างได้เช่นกัน
والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح .
ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และในทางศาสนา ใช้เรียก สิ่งที่ตรงกันข้ามกับอัสสุนนะฮ ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และ(คำกล่าว)ที่ประณีตแน่แฟ้นนั้น คือ แท้จริง บิดอะฮ์นั้น หากมันมีมา จากสิ่งที่อยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดี ในหลักศาสนา มัน(บิดอะฮ์)ก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และหากว่ามันมีมา จากสิ่งที่อยู่ภายใต้สิ่งที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือ(บิดอะฮ์)ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(จากบิดอะฮ์ทั้งสอง) มันก็มาจาก ประเภทที่มุบาห์" ( ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253)
บังอะสันบอกว่า บิดอะฮ์หะซะนะฮ์ ไม่มีเด็ดขาด แต่บรรดานักปราชน์ของอิสลาม ว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ หรือบิดอะอ์ที่ดีนั้น มีครับ หนึ่งในนั้น คืออิมาม อัช-ชาฟิอีย์ ซึ่งเป็นอุลามาอ์สะลัฟ
ดังนั้น คำว่า أمر الشارع นี้ เป็นคำอธิบายของ ท่านอิบนุหะญิบ ที่ไม่ใช่สะลัฟ จึงทำให้บังอะสันแปลว่า"คำสั่งของศาสนา" และบังอะสันก็แปลบิดเบือนเข้าข้างตนเองอีกตามเคยครับ แต่บังอะสันไม่ยอมเอาหะดิษมาอธิบายหะดิษ ซึ่งคำว่า أمرنا ใน ณ ที่นี้นั้น หมายถึง ديننا "ศาสนาของเรา" ซึ่งเป็นคำที่มีรายงานมาอีกสายรายงานหนึ่ง ซึ่งความหมายจริงๆนั้น คือดังนี้ครับ
"หะดิษนี้ โดยนัยคำพูดของมันนั้น บ่งชี้ว่า แท้จริง ทุกๆการปฏิบัติ ที่ศาสนาของเรา ไม่ได้อยู่บน(พื้นฐาน)ของมันนั้น ก็ถูกปฏิเสธ และบ่งชี้ โดยนัยของความเข้าใจของหะดิษนี้ คือ แท้จริง ทุกๆการปฏิบัติ ที่ศาสนาของเรา ได้อยู่บน(พื้นฐาน)ของมันนั้น ก็จะไม่ถูกปฏิเสธ"
และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่ โดยมีรากฐานอยู่บนหลักการศาสนา ย่อมไม่ถูกปฏิเสธ และการจะกระทำบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ไม่ใช่จะทำการง่ายๆ ตามอำเพอใจ เนื่องจากต้องการ เงื่อนไข กฏเกนฑ์ตามหลักการศาสนา อย่างรัดกุมเลยทีเดียว ซึ่งผมบอกแล้วว่า "จะนำมาเสนอ" สงสัยผมว่า ประเด็นเงื่อนไขกฏเกนฑ์บนพื้นฐานตามหลักศาสนานี้ ผมคงจะต้องนำมากล่าวก่อนแล้วเสียแล้ว เพราะเกรงว่าบังอะสันจะพูดแบบมักมากและมักง่าย ว่า "ศาสนาของคนส่วนมาก มาจากมนุษย์" ที่ผมพูดว่าส่วนมากนั้น เพราะหลักการแบ่งบิดอะฮ์นั้น คือทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก
ดังนั้น การจะอ้างหะดิษเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น เราจะต้องรวบรวมหะดิษมาทั้งหมด ไม่ใช่เลือกเอาเพียงบางส่วน อย่าที่บังอะสันชอบกระทำเป็นนิจสิน และประเด็นเรื่องการนำเสนอเกี่ยวกับบรรดาหะดิษนี้ ผมจะนำเสนอแบบรายละเอียดต่อไปครับ อินชาอัลเลาะฮ์ แต่ผมนำเสนอเกี่ยวกับอัลกุรอานได้ยืนยันในเรื่องการมีบิดอะฮ์ที่ดี แต่ยังไม่มีใครมาวิจารณ์เลย ผมจึงเลื่อนการสนทนาไปพิจารณาหะดิษยังไม่ได้ครับ เมื่อพิจารณาหะดิษแล้ว ก็ถึงคราวนำเสนอคำพูดของบรรดาซอฮาบะฮ์ ไออาเอฟ จะได้รู้เรื่องเสียที
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sun Jan 29, 2006 12:16 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างอิงจากบังอะสัน
อิบนุเราะญับกล่าวอีกว่า
فكل من أحدث شيئاً ونسبه إلى الدين ولم يكن له أصل من الدين يرجع إليه فهو ضلالة، والدين برئ منه، وسواء في ذلك مسائل الاعتقادات أو الأعمال أو الأقوال الظاهرة والباطنة.
แล้วทุกคนที่อุตริสิ่งใดขึ้นมา แล้วนำไปอ้างว่าเป็นศาสนา ทั้งๆที่ไม่ได้มีที่มาในศาสนา ที่จะกลับไปหามัน มันคือ การหลงผิด โดยที่ ศาสนา นั้น เป็นอิสระจากเขา ในเรื่องดังกล่าวนั้น ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ อะกีดะฮ หรือ การปฏิบัติ หรือ คำพูด ที่แสดงออกมาโดยภายนอก และภายในใจก็ตาม
ตอบ
บังอะสันไม่รู้ตัวว่า กำลังอ้างหลักฐานคำพูดของ ท่านอิบนุหาญิบ โดยที่บังอะสันกำลัง หุกุ่มแนวทางของตนเองอยู่ และคำกล่าวของ ท่านอิบนุหาญิบนั้น ก็ไม่ได้ปฏิเสธบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เพราะว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือ สิ่งที่มีรากฐานที่มา จากศาสนา แต่หากบังอะสันไปบอกว่า ละหมาดมี 6 เวลา หรือ ละหมาดมัฆริบ มี 4 ร่อกะอัตล่ะก็ เป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงแน่นอนครับ
และบังอะสันอย่าลืมนะครับ บิดอะฮ์นั้น มันมีทั้งเรื่อง เอี๊ยะติก๊อตด้วย ผมมีหลักฐานตัวอย่างมากมายที่จะมายืนยันว่า วะฮาบีย์มีหลักการศรัทธาที่บิดอะฮ์ฏ่อลาละฮ์ แต่ผมยังไม่อยากยกนำมาเสนอ เพราะอย่างคุยเป็นขั้นเป็นตอน ท่านอิบนุหาญิบว่า "บรรดาคำพูดที่ออกมาโดยภายนอกผิวเผิน" นั้นเป็นบิดอะฮ์ฏ่อลาละฮ์ที่ลุ่มหลง!!! ซึ่งมันเป็กหลักการของวะฮาบีย์นี่แหละครับ ที่พรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์แบบคำพูดความหมายภายนอกแบบผิวเผิน ส่วนคำพูดแบบภายในนั้น บางกลุ่มของชีอะฮ์ก็รับไป บังอะสันจะยกหลักฐานอะไรก็สมควรยั้งคิดบ้าง อย่าไปยกหลักฐานที่มาประจานความบิดอะฮ์ของตัวเอง และยกหลักฐานแบบไม่มีอะมานะฮ์หมกเม็ด
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sun Jan 29, 2006 12:29 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างอิงจากบังอะสัน
อัล-บานีย์กล่าวว่า
وهذا الحديث قاعدة عظيمة من قواعد الإسلام، وهو من جوامع كلمه فإنه صريح في رد وإبطال كل البدع والمحدثات
และหะดิษนี้ เป็นหลักการอันสำคัญ จากบรรดาหลักการของอิสลาม มันเป็นส่วนหนึ่งจากบทสรุปของถ้อยคำของมัน แล้วแท้จริงมันชัดเจน ในการคัดค้านและล้มล้าง ทุกบิดอะฮและบรรดาสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่(ในศาสนา) -
ตอบ
ไร้ความหมายครับ ที่อ้างอิงคำพูดความเข้าใจของอัลบานีย์ ที่ไม่ใช่สะลัฟ และอัลบานีย์ ปฏิเสธทุกบิดอะฮ์จริงหรือเปล่า บิดอะฮ์ดุนยา นั้นปฏิเสธด้วยหรือเปล่า? และการแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นบิดอะฮ์ ดุนยา และบิดอะฮ์ศาสนา นั้น สะลัฟ ท่านใด เป็นคนแบ่ง ออกมาอย่างชัดเจนล่ะครับ ??? ดุนยากับศาสนานั้น แยกกันด้วยหรือ? อุดมการร์อิสลามก็คือ "ไม่มีการแยกศาสนากับการเมือง" การเมืองเป็นเรื่องดุนยาหรือเปล่า?? แต่วะฮาบีย์ กลับมาแยก ดุนยา กับ ศาสนา ดุนยาไม่ได้ถูกศาสนาควบคุมหรอกหรือครับ เห็นไปแยกออกจากกัน??? ( คำเตือน บังอะสันไปนอนได้แล้ว นี่มันเวลา 12:32 เดี๋ยวเมียบ่นอีกนะครับ)
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Sun Jan 29, 2006 12:42 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ถึงคุณ คนอยากรู้ครับ
เรื่องส่งอีเมล์ นั้น ผมไมอยากรบกวนเลยครับ ตามสบายก็แล้วกัน ผมเพียงแค่อยากจะบอกว่า ที่ผมไม่ตอบอีเมล์ไปนั้น เพราะคุณไม่ได้ส่งระบุอีเมล์มา เท่านั้นแหละครับ ยังไงก็ เชิญคุณเข้ามาสนทนาตอนผมไม่อยู่ด้วย มันจะได้ไม่เงียบเหงา และบังมุหัมมัด ก็จะเข้ามาสนทนาเสริมนะครับ
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
รอยยา มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/02/2004 ตอบ: 78
|
ตอบ: Mon Jan 30, 2006 12:25 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อ่านคำชี้แจงของคุณ อัลอัซฮารีย์ ก็อดไม่ได้ที่จะเข้ามาสอบถาม
สิ่งที่คุณพยายามจะชี้แจงคือมี บิดอะห์ฮาซานะฮฺในศาสนา โดยนำคำพูดของท่านอุมัรมายืนยันว่า
ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
แล้วคุณ อัล-ฮซฮารี ก็พยามชี้ประเด็นให้เห็นว่า นี่ไงคือบิดอะหฮ์ฮาซานะฮ์
แต่สิ่งที่สงสัยคือข้อความในวงเล็บทั้งประโยคแรกและประโยคที่สอง
ในวงเล็บประโยคแรกคือ การรวม
ในวงเล็บประโยคที่สองคือ ตะรอวิหฺ
อันไหนเป็นบิดอะฮฺที่คุณต้องการอ้างกันแน่
เพราะอ่านคำจำกัดความ บิดอะฮฺ และที่มาของฮาดีสนี้ที่คุณนำมาอ้างตั้งแต่ต้นไม่ตรงกันคือ
บิดอะฮฺคือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่
แต่การรวมละหมาดไม่ใช่ของใหม่ และไม่ใช่บิดอะฮฺ เพราะศอฮาบะฮฺก็เคยร่วมละหมาดกับนบีมาแล้ว
หรือการละหมาดตะรอวิหฺก็ไม่ใช่ของใหม่และไม่ใช่บิดอะฮฺ เพราะนบีและศอฮาบะฮฺก็ละหมาดกันมาก่อนแล้ว
หรือการตั้งอิหม่ามขึ้นมานำก็ไม่ใช่ของใหม่ และไม่ใช่บิดอะฮฺ เพราะท่านนบีก็เป็นอิหม่ามนำมาแล้ว
สิ่งเหล่านี้ถูกเรียกว่าซุนนะฮฺของท่านนบี แล้วทำไมถึงนำไปอ้างว่าเป็นบิดอะฮฺฮาซานะฮฺ
เพราะฉะนั้นประเด็นข้างต้นนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่ท่านอุมัรต้องการสื่อให้รู้ว่ามันคือบิดอะฮฺแน่นอน
เป็นไปได้ไหมที่ท่านอุมัรไม่เข้าใจ หรือต้องการค้านคำของนบี หรือคุณ อัล-อัซฮารี อ้างมั่ว
นอกจากนั้นแล้วท่านอุมัรก็ไม่ได้ทำหรือใช้ให้ผู้อื่นทำผิดแบบ-ผิดวิธีไปจากนบีด้วย
แล้วตรงไหนเล่าเป็นบิดอะฮ์ฮาซานะห์ นอกจากการที่ท่านฟื้นฟูซุนนะฮฺของท่านนบีนั่นเอง
แต่การที่ท่านอุมัรพูดว่า เป็นบิดอะฮฺที่ดี ท่านต้องการสื่อประเด็นไหน
หรือว่าจำนวนรอกอะฮฺ ที่ท่านกล่าวว่า อุมัรทำ 20 รอกอะฮฺ แล้วอ้างว่านี่คือบิดอะฮฺฮาซานะฮฺ
หากเป็นเช่นนั้นขอให้คุณ อัล-อัซฮารี นำเสนอหลักฐานที่ซอเฮียะฮฺด้วยว่า ท่านอุมัรทำ 20 รอกอะฮฺจริง
ที่ถามมานี้เพื่อต้องการทราบแน่ๆว่า ประเด็นไหนที่ท่านต้องการใช้อ้างเรื่องบิดอะฮฺฮาซานะฮฺ
หลังจากนบีเสียชีวิตไปแล้วต่างคนก็ต่างทำ
ท่านอุมัรเป็นคนแรกไม่ใช่หรือที่มาฟื้นฟูซุนนะฮฺของนบีในเรื่องนี้
ท่านอุมัรเป็นคนแรกไม่ใช่หรือ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Mon Jan 30, 2006 3:08 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ตอบ
คุณรอยยาเป็นกุลสตรี ใฉนเลย เวลามาถามผม ถึงมีคำว่า "หรือคุณ อัล-อัซฮารี อ้างมั่ว"
สิ่งที่ท่านอุมัรหมายถึง ก็คือละหมาดตะรอวิห์ ที่ท่านอุมัรได้เรียกผู้คนทั้งหลายมารวมละหมาดโดยตามอิมามที่มีนามว่าท่านอุบัย์เพียงคนเดียวตลอดทั้งเดือนรอมาดอนโดยละหมาด 20 ร่อกะอัต (และ 20 รอกะอัตนี้เป็นความเห็นที่มีอยู่ใน สี่ มัซฮับ แม้กระทั้งอิบนุตัยมียะฮ์ก็กล่าวยืนยันไว้เช่นนั้น ส่วนหลักฐานค่อยว่ากัน - ไม่มีเวลาพิมพ์) ครับ
ผมมีอยู่ สอง ประเด็นที่ จะให้คุณสมควรตั้งคำถามตนเอง
คุณกล่าวว่า "ท่านอุมัรเป็นคนแรกไม่ใช่หรือที่มาฟื้นฟูซุนนะฮฺของนบีในเรื่องนี้"
แต่คุณน่าจะถามตนเองว่า"หรือว่าท่านอุมัรเป็นคนแรกที่มาฟื้นฟูซุนนะฮฺของนบีในเรื่องละหมาด 20 รอกะอัต"??? และนบีเคยทำ 20 รอกะอัต หรือเปล่า?
คุณกล่าวว่า"แล้วตรงไหนเล่าเป็นบิดอะฮ์ฮาซานะห์ นอกจากการที่ท่านฟื้นฟูซุนนะฮฺของท่านนบีนั่นเอง"
แต่คุณน่าจะถามว่าตนเองว่า"หากมันเป็นการฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่านนบี 20 รอกะอัต และให้ตามอิมามคนเดียวทั้งเดือนรอมาดอน แล้วทำไมท่านอุมัรถึงต้องเรียกว่ามัน "เป็นบิดอะอ์ที่ดี" ??
_________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|