ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Jun 14, 2019 10:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คำสั่งให้รีบเร่งจัดการศพ
อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
; أَسْرِعُوا بِالْجِنَازَةِ، فَإِنْ تَكُ صَالِحَةً فَخَيْرٌ تُقَدِّمُونَهَا، وَإِنْ يَكُ سِوَى ذَلِكَ فَشَرٌّ تَضَعُونَهُ عَنْ رِقَابِكُمْ
พวกท่านจงรีบเร่งจัดการและนำศพไปฝังเถิด เพราะถ้าผู้ตายเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เขาจะได้มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี แต่ถ้ามิได้เป็นเช่นนั้น พวกท่านก็จะได้วางความชั่วร้ายลงจากบ่าของพวกท่านเสียที (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1315 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 944)
ในหะดีษบทนี้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้รีบเร่งจัดการและฝังศพ ทั้งนี้ เพราะผู้ที่เสียชีวิตนั้น มีทั้งคนดีมีอีหม่าน และคนไม่ดี ซึ่งหากเขาเป็นคนดี การที่เราล่าช้าในการจัดการศพ ก็จะทำให้เขากลับไปหาความโปรดปรานที่อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้ให้แก่เขาในหลุมศพได้ล่าช้า เพราะเขานั้นได้ย้ายถิ่นพำนักจากโลกดุนยา ไปสู่สถานที่ซึ่งประเสริฐและดียิ่งกว่า และก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลง จะมีการแจ้งข่าวดีแก่เขา โดยวิญญาณของเขาจะได้รับแจ้งว่า
أَبْشِرِي بَرَوْحٍ وَرَيْحَانٍ وَرَبٍّ غَيْرِ غَضْبَانَ ;
พึงทราบเถิดว่าเจ้ากำลังจะได้พักผ่อน และได้รับความสุขความสำราญ ทั้งยังจะได้พบกับพระผู้อภิบาลซึ่งไม่ทรงกริ้วโกรธเจ้า
.........
เมื่อมีการตายควรจัดการเรื่องศพก่อน ไม่ใช่จัดการเรื่องเลี้ยงแขกก่อน
อะสัน หมัดอะดั้ม
13/6/63 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Jun 14, 2019 10:17 am ชื่อกระทู้: |
|
|
วาเราะอ (الورع)คืออะไร
คำว่า "วะเราะอฺ" ชาวบ้าน มักจะใช้เรียกคนที่เคร่งศาสนา ถือสันโดษ เพราะฉะนั้นเรามาดูว่า "คำว่า วะเราะอฺ(อัลวะเราะอฺ)หมายความว่าอย่างไร
คำว่า วะเราะอฺ ในทางภาษาหมายถึง
التَّـقْوَى، والتَّحَرُّج، والكَفُّ عن المحارِم.
การยำเกรง(การสำรวมตนจากความชั่ว) การห่างใกลจากความชั่ว และการยับยั้งจากบรรดาสิ่งต้องห้าม -ลิซานุลอัรบฺ 8/388
ในทางศาสนา หมายถึง
هو اجتناب الشبهات؛ خوفًا من الوقوع في المحرمات
คือการห่างใกลจากบรรดาสิ่งคลุมเครือ (ชุบฮาต) เกรงว่า จะตกอยู่ในบรรดาสิ่งต้องห้าม -อัตตะอรีฟาต ของ อับดุลกอฮีร อัลญุรญานีย์ หน้า 252
ชิฮาบุดดีน อัลเการอฟีย์ กล่าวว่า
ترك ما لا بأس به؛ حذرًا مما به البأس
คือการละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นไร(ไม่บาป) เพราะระวัง จากสิ่งไม่ดี (เป็นบาปอัลฟุรูก 4/210
อิบนุลก็อยยิม (ร.ฮ) กล่าวว่า
الزهد ترك ما لا ينفع في الآخرة والورع ترك ما تخاف ضرره في الآخرة
อัซซุฮดฺ (การถือสันโดษ)คือทิ้งสิ่งที่ไมีประโยชน์ในวัอาคีเราะฮ และ วะเราะคือ ทิ้งสิ่งที่ เกรงว่า มันจะทำให้เกิดผลเสียในวันอาคีเราะฮ -อัลฟะวาอิด หน้า 181
มีคนประเภทหนึ่ง ชาวบ้านเรียว่า วะเราะอกูจิง wara' kucing
หรือ วาเราะอฺแมว หมายถึงพวกประเภทสร้างภาพว่าตนเองเคร่งศาสนา ดูสงบเสงี่ยมเจียมเนื้อเจียมตัว แต่พอลับตาคน ก็ทำชั่ว หรือประเภทพวกมือถือสากปากถือศีลอะไรประมาณนั้น
อะสัน หมัดอะดั้ม
13/6/62 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Jul 04, 2019 8:59 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ข้อแตกต่างระหว่างอิบาดะฮกับอาดะฮ
ชัยค์อิบนุอุษัยมีน (ร.ฮ) กล่าวว่า
الفرق بين العادة والعبادة : أن العبادة ما أمر الله به ورسوله تقرباً إلى الله ، وابتغاءً لثوابه ، وأما العادة فهي ما اعتاده الناس فيما بينهم من المطاعم والمشارب والمساكن والملابس والمراكب والمعاملات وما أشبهها
ความแตกต่างระหว่าง อาดะฮ กับ อิบาดะฮ คือ แท้จริง อิบาดะฮ นั้น คือ สิ่งที่อัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ได้สั่งด้วยมัน เพื่อให้แสดงความใกล้ชิด(อิบาดะฮ)ต่ออัลลอฮ และเพื่อแสวงหาการตอบแทนของพระองค์ และสำหรับอาดะฮ นั้น คือ สิ่งที่มนุษย์ได้ ปฏิบัติมันเป็นธรรมเนียม /เป็นปกติวิสัย ในระหว่างพวกเขา เช่น อาหาร .เครื่องดื่ม,ที่อยู่อาศัย ,เครื่องนุ่งห่ม ,ยานพาหนะ ,การปฏิสัมพันธ์ เป็นต้น - ดู ลิกออุลบาบอัลมัฟตูหฺ 2/72
.......
สรุปคือ
1.อิบาดะฮ คือสิ่งที่อัลลอฮและรอซูลสั่ง เพื่อให้นำไปปฏิบัติเพื่อแสดงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ และแสวงหาการตอบแทนหรือผลบุญ เช่น การละหมาด,การดุอา,การถือศีลอด,การทำฮัจญ์ เป็นต้น
2. อาดะฮคือ สิ่งที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในระหว่างมนุษย์ในด้านสังคม เช่น อาหาร เครื่องนุงห่ม ยานพาหนะ เป็นต้น
1.หลักการทั่วไปในเรื่องพิธีกรรมศาสนา(อิบาดะฮ)
إِنَّ الْأَصْلَ فِي الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيفُ ، فَلَا يُشْرَعُ مِنْهَا إِلَّا مَا شَرَعَهُ اللَّهُ
แท้จริงรากฐาน(หลักการ) ในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง (อัตเตากีฟ)ดังนั้นจะไม่ถูกบัญญัติจากมัน นอกจากสิ่งที่อัลลอฮตะอาลาได้บัญญัติมัน ไว้เท่านั้น
2.หลักการทั่วไปในเรื่อง กิจกรรมทางโลก (อาดะฮ)
وَالْعَادَاتُ الْأَصْلُ فِيهَا الْعَفْوُ ، فَلَا يُحْظَرُ مِنْهَا إِلَّا مَا حَرَّمَهُ ،
และบรรดาอาดาตนั้น รากฐาน(หลักการ) ในเรื่องอาดาต นั้น คือ การอนุญาต เขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน นอกจากสิ่งที่ พระองค์ได้ห้ามมันเอาไว้เท่านั้น
........
ใน ศาสนาต้องแยก เรื่อง ศาสนาที่เกี่ยวกับพิธีกรรม กับศาสนาที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมหรือทางโลก ให้เข้าใจ ไม่อย่างนั้น จะเอาข้ออ้างเรื่องทางโลก ไป อ้างหาความชอบธรรมในการอุตริพิธีกรรมทางศาสนา จนบิดอะฮเต็มบ้านเต็มเมือง
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดัม
4/7/62 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|
|
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้ คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
Powered by phpBB
ฉ 2001, 2002 phpBB Group
|