asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Nov 13, 2018 10:00 am ชื่อกระทู้: การชี้ถูกชี้ผิดในเรื่องศาสนาทำได้ไหม |
|
|
หลักความเชื่อและหลักปฏิบัติในเรื่องศาสนาจะชี้ถูกชี้ผิดได้ไหม
อิสลามมีบัญญัติให้มุสลิมได้ศึกษา เพื่อที่จะให้ได้เข้าใจในศาสานา แล้วนำมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสอนศาสนาเพื่ออัลลอฮ
มีรายงานจากท่านมุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ يُرِدْ اللَّهُ بِهِ خَيْرًا يُفَقِّهْهُ فِي الدِّينِ» [متفق عليه]
"ผู้ใดอัลลอฮฺทรงประสงค์ให้เขาได้รับความดีงาม พระองค์จะให้เขามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสนา" - (มุตตะฟักกุน อะลัยฮิ)
ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ)กล่าวว่า
" كُلُّ مَنْ أَرَادَ اللَّهُ بِهِ خَيْرًا لَا بُدَّ أَنْ يُفَقِّهَهُ فِي الدِّينِ ، فَمَنْ لَمْ يُفَقِّهْهُ فِي الدِّين ِ، لَمْ يُرِدْ اللَّهُ بِهِ خَيْرًا ، وَالدِّينُ : مَا بَعَثَ اللَّهُ بِهِ رَسُولَهُ ؛ وَهُوَ مَا يَجِبُ عَلَى الْمَرْءِ التَّصْدِيقُ بِهِ وَالْعَمَلُ بِهِ ، وَعَلَى كُلِّ أَحَدٍ أَنْ يُصَدِّقَ مُحَمَّدًا صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِيمَا أَخْبَرَ بِهِ ، وَيُطِيعَهُ فِيمَا أَمَرَ ، تَصْدِيقًا عَامًّا ، وَطَاعَةً عَامَّةً ".
ทุกๆผู้ที่อัลลอฮพระสงค์ให้เขาได้รับความดีงาม จำเป็นที่พระองค์ให้เขาเข้าใจในศาสนา ดังนั้น ผู้ใดพระองค์ไม่ให้เขาเข้าใจในศาสนา พระองค์ก็ไม่ประสงค์ให้เขาได้รับความดีงาม และศาสนาคือ สิ่งที่อัลลอฮได้ส่งรอซูลของพระองค์ด้วยมัน และมันคือสิ่งที่วาญิบเหรือบุคคลจะต้องเชื่อ ด้วยมันและปฏิบัติด้วยมัน และจำเป็นเหนือทุกคน จะต้องเชื่อมุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในสิ่งที่เขาได้บอกด้วยมัน,เชื่อฟังเขา(มุหัมหมัด) ในสิ่งที่เขาได้สั่ง โดยการเชื่อโดยรวมและการเชื่อฟังโดยรวม - มัจญมัวะอัลฟะตาว่า 28/80
.........
มุสลิมต้องศึกษา ให้รู้ว่า อะไรที่ท่านรซูลุลลอฮ ศ็อลฯบอกไว้ และสั่งไว้ ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งใช้หรือคำสั่งห้าม เพื่อที่จะได้นำมาเป็นหลักความเชื่อและเป็นหลักปฏิบัติ ด้วยความมั่นใจ ไม่ใช่แบบคลุมเครือว่า ที่ตนเองเชื่อและปฏิบัตือยู่ ถูกหรือเปล่า ไม่กล้าฟันธง แบบนี้เท่ากับนับถือศาสนาที่อยู่บนความคลุมเครือ
อิบนุลกอ็ยยิม(ร.ฮ) ได้ระบุว่า
قَالَ الْفُضَيْلُ بْنُ عِيَاضٍ : الْعَمَلُ الْحَسَنُ هُوَ أَخْلَصُهُ وَأَصْوَبُهُ ، قَالُوا : يَا أَبَا عَلِيٍّ مَا أَخْلَصُهُ وَأَصْوَبُهُ ؟ قَالَ : إِنَّ الْعَمَلَ إِذَا كَانَ خَالِصًا وَلَمْ يَكُنْ صَوَابًا لَمْ يُقْبَلْ ، وَإِذَا كَانَ صَوَابًا ، وَلَمْ يَكُنْ خَالِصًا لَمْ يُقْبَلْ ، حَتَّى يَكُونَ خَالِصًا صَوَابًا ، وَالْخَالِصُ : مَا كَانَ لِلَّهِ ، وَالصَّوَابُ : مَا كَانَ عَلَى السُّنَّةِ ، وَهَذَا هُوَ الْمَذْكُورُ فِي قَوْلِهِ تَعَالَى فَمَنْ كَانَ يَرْجُو لِقَاءَ رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًا صَالِحًا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدًا
อัลฟุฎัยลุ บิน อิยาฎ กล่าว เกี่ยวกับ "อะมั้ลที่ดี"ว่า คือ ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องของมัน ,พวกเขากล่าวว่า "โอ้อบูอาลี อะไรคือ ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องของมัน? เขากล่าวตอบว่า การงาน(อะมั้ล)นั้น เมื่อมีความบริสุทธิ์ใจ โดยปรากฏว่าไม่ถูกต้อง มันก็ไม่ถูกรับ และเมื่อปรากฏว่า ถูกต้อง โดยที่ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ มันก็ไม่ถูกรับ จนกว่ามันจะบริสุทธิ์ใจและและถูกต้อง และบริสุทธิ์ใจนั้น คือ สิ่งที่กระทำเพื่ออัลลอฮ และความถูกต้องนั้นคือ สิ่งที่ตรงตามสุนนะฮ นี้คือ สิ่งที่ถูกระบุไว้ในคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า ผู้ใดหวังที่จะพบกับพระผู้อภิบาลของเขา เขาจงประกอบการงานที่ดี และจงอย่านำคนใดมาหุ้นส่วน กับการเคารพภักดี ต่อพระผู้อภิบาลของเขา - ดูมะดาริญุสสาลิกีน ของอิบนุกอ็ยยิม เล่ม 1 หน้า 105
......
ปราชญ์ยุคสะลัฟ ,อัลฟุฎอ็ยลฺ บิน อิยาฎ (ฮ.ศ 107-187) ได้อธิบายถึงลักษณะการงานที่ดี ประกอบด้วยความอิคลาศ และความถูกต้อง คำว่าอิคลาศ คือ ปฏิบัติเพื่ออัลลอฮ และคำว่าถูกต้องคือ การปฏิบัติตามสุนนะฮ เพราะฉะนั้น เราเรียนเพื่อให้สามรถแยกถูกแยกผิดได้ โดยใช้อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮเป็นบรรทัดฐาน ถ้ายึดทั้งสองแล้ว บอกว่า ไม่แน่ใจและไม่กล้าฟันธง แล้วสองประการที่ท่านนบี ศ็อลฯบอกว่า ถ้ายึดแล้วไม่หลงทาง จะมีความหมายอะไรหรือ
อะสัน หมัดอะดั้ม
12/11/61 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|