ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Dec 18, 2014 1:47 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ฟัตวา เช็คบินบาซ
وقد سئل الشيخ ابن باز رحمه لله عن إهداء ثواب قراءة القرآن والصدقة للأم ، سواء كانت حية أم ميتة ، فأجاب :
และมีผู้ถามเช็คอิบนุบาซ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) เกี่ยวกับการอุทิศผลบุญการอ่านอัลกุรอ่านและการทำทานให้แก่มารดา ไม่ว่าขณะที่นางมีชีวิต หรือเสียชีวิตแล้ว
ท่านอิบนุบาซตอบว่า
"
أما قراءة القرآن فقد اختلف العلماء في وصول ثوابها إلى الميت على قولين لأهل العلم ، والأرجح أنها لا تصل لعدم الدليل ؛ لأن الرسول صلى الله عليه وسلم لم يفعلها لأمواته من المسلمين كبناته اللاتي مُتْن في حياته عليه الصلاة والسلام ، ولم يفعلها الصحابة رضي الله عنهم وأرضاهم فيما علمنا ، فالأولى للمؤمن أن يترك ذلك ولا يقرأ للموتى ولا للأحياء ولا يصلي لهم ، وهكذا التطوع بالصوم عنهم ؛ لأن ذلك كله لا دليل عليه ، والأصل في العبادات التوقيف إلا ما ثبت عن الله سبحانه أو عن رسوله صلى الله عليه وسلم شرعيته . أما الصدقة فتنفع الحي والميت بإجماع المسلمين ، وهكذا الدعاء ينفع الحي والميت بإجماع المسلمين
สำหรับการอ่านอัลกุรอ่านนั้น บรรดานักวิชาการเห็นต่างกัน เกี่ยวกับการที่ผลบุญของมันถึงผู้ตาย
บนสองทัศนะ และที่มีน้ำหนักที่สุด แท้จริง มันไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีหลักฐาน ,เพราะนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่กระทำมัน แก่บรรดาผู้ตายของท่าน จากบรรดามุสลิม เช่น บรรดาบุตรสาวของท่าน ที่เสียชีวิต ในขณะที่ท่าน มีชีวิตอยู่ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ(ร.ฎ)ไม่ได้ทำมัน ตามที่เรารู้มา ดังนั้น ที่ดีที่สุด แก่ผู้ศรัทธา ให้ทิ้งดังกล่าวนั้น และเขาจะไม่อ่านให้แก่ผู้ตาย และไม่อ่านให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และไม่ละหมาด(อุทิศบุญ)ให้แก่พวกเขา และ เช่นเดียวกันนี้ การอาสาถือศีลอดแทนพวกเขา เพราะดังกล่าวนั้น ทั้งหมด ไม่มีหลักฐาน บนมัน และหลักการ/รากฐาน ในเรื่องอิบาดาตนั้น หยุดอยู่ที่คำสั่งใช้ (อัตตเตากีฟ) ยกเว้น สิ่งที่ปรากฏยืนยันจากอัลลอฮ(ซ.บ)หรือ จากรอซูลของพระองค์ ได้บัญญัติมัน สำหรับการทำทาน(เศาะดะเกาะฮ) นั้น คนเป็นและคนตายได้ประโยชน์ด้วยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิม และในทำนองเดียวกันนี้ การดุอา คนเป็นและคนตายได้ประโยชน์ด้วยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิมเช่นกัน..
ดู มัจญมัวะฟะตาวาวะมะกอลาตเช็คบินบาซ เล่ม 4 หน้า 348
สรุปจากฟัตวา
หนึ่ง - ทัศนะเกี่ยวกับการอ่านกุรอ่านอุทิศบุญให้ผู้ตาย มี 2 ทัศนะ และทัศนะที่มีน้ำหนัก คือ ไม่ถึงผู้ตาย
สอง เหตุผลที่บอกว่าไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีหลักฐานจากแบบอย่างนบี ศอ็ลฯ และเศาะหาบะฮ
สาม การทำทาน,การดุอา และอื่นๆที่มีหลักฐาน นั้นมีประโยชน์ต่อคนเป็นและคนตาย
ทั้งหมดนี้ ผมไม่ได้ตั้งตนเป็นมุจญตะฮีด แต่เพราะไม่มีหลักฐาน ไม่เช่นนั้นใครๆก็อ้างได้ว่าถึงผู้ตาย ต่อไปก็จะบอกว่าละหมาดตะรอเวียะก็ถึงผู้ตาย มีอะไรติดตามมามากมาย จนแยกไม่ออกว่าอะไรคือสุนนะฮ อะไรคือความเห็น _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Dec 18, 2014 2:22 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อิหม่ามเชากานีย์ได้กล่าวถึงอายะฮที่ว่า
وَأَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إلَّا مَا سَعَى
แท้จริงมนุษย์จะไม่ได้รับการตอบแทนยกเว้นสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้เท่านั้น
وَقَدْ ثَبَتَ أَنَّ وَلَدَ الْإِنْسَانِ مِنْ سَعْيِهِ فَلَا حَاجَةَ إلَى دَعْوَى التَّخْصِيصِ وَأَمَّا مِنْ غَيْرِ الْوَلَدِ فَالظَّاهِرُ مِنْ الْعُمُومَاتِ الْقُرْآنِيَّةِ أَنَّهُ لَا يَصِلُ ثَوَابُهُ إلَى الْمَيِّتِ فَيُوقَفُ عَلَيْهَا حَتَّى يَأْتِيَ دَلِيلٌ يَقْتَضِي تَخْصِيصَهَا
และได้มีหะดิษยืนยันว่าบุตรของคนนั้น เป็นส่วนหนึ่งจาก การพากเพียรของเขา ดังนั้นจึงไม่จำเป็นจะต้องอ้างการเจาะจง(การยกเว้นของอายะฮ) และสำหรับ อื่นจากบุตรนั้น ความหมายที่ปรากฏจากบรรดาความหมายกว้างๆของอัลกุรอ่าน คือ ผลบุญของเขา จะไม่ถึงผู้ตาย และมันถูกหยุดอยู่บนสิ่งนั้น จนกว่าจะมีหลักฐาน ใดๆ มาตัดสินการจำกัดเฉพาะ (หรือมาเป็นข้อยกเว้น)ของมัน - ดูนัยลุลเอาฏอร 4/112
...
ในทัศนะอิหม่ามเชากานีย์ คือ ผลบุญของผู้ที่อื่นจากบุตรผู้ตาย จะไม่ถึงผู้ตาย ตามความหมายกว้างๆของอายะฮอัลกุรอ่าน และหุกุมนี้จะหยุดอยู่บนมัน จนกว่าจะมีหลักฐานมายกเว้น หรือเจาะจง ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ถึงผู้ตาย _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|