ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Nov 17, 2014 10:45 pm ชื่อกระทู้: จริงหรือ ที่ท่านอิบนุกะษีรมีอะกีดะฮ์ตามมัซฮับอะชาอิเราะฮ์ |
|
|
นายอารีฟีนอธิบายว่า
ตรงนี้ เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ท่านอิบนุกะษีร ทำการมอบหมายอายะฮ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา โดยผ่านมันไปเสมือนที่มันได้มีมา โดยไม่มีรูปแบบวิธีการ ไม่พรรณาจนไม่มีคุณลักษณะให้กับพระองค์เลย หรือไม่ทำการตัชบีฮ์ และท่านอิบนุกะษีร ก็ทำการปฏิเสธความหมายแบบผิวเผินที่ได้ยินแล้วเข้าใจเลย กล่าวคือ ปฏิเสธความหมายในเชิงภาษาที่มนุษย์เข้าใจกัน ซึ่งแตกต่างกับวะฮาบีย์ ที่ยืนยันในความหมายของซีฟัตอัลเลาะฮ์ในเชิงภาษาโดยอธิบายแบบความหมายผิวเผินที่มนุษย์เข้าใจกัน แล้วบอกว่านั่นแหละคือจุดมุ่งหมายของมัน แบบวะฮาบีย์เชื่อว่าซีฟัตของอัลเลาะฮ์ทรงมีรูปแบบวิธีการ แต่พวกเขาไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร??
ดังนั้น ท่านอิบนุกะษีรจึงไม่มีอะกีดะฮ์เหมือนกับวะฮาบีย์
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=162.0
(คัดลอกมาเมื่อวันพุธที่ 4 เมษายน 2555) เวลา 9.37 น)
………..
ขอชี้แจงการกล่าวหาของนายอารีฟีน ดังนี้
จุดประสงค์จริงของอิหม่ามอิบนุกะษีร ที่บอกว่า
إمرارها كما جاءت من غير تكييف ولا تشبيه ولا تعطيل
ปล่อยมันให้เป็นไปตามที่มันได้มีมา โดยไม่มีรูปแบบวิธีการ ไม่ยืนยันการคล้ายคลึง และพรรณาจนไม่มีคุณลักษณะ(ซีฟัต)
คำว่า إمرارها كما جاءت หมายถึง ปล่อยมันให้เป็นไปตามที่ได้มีมา หมายถึงยอมรับตามที่ปรากฏในอัลกุรอ่านโดยไม่อธิบายรูปแบบวิธีการ ไม่ยืนยันการคล้ายคลึง และพรรณาจนไม่มีคุณลักษณะ(ซีฟัต)
ดังที่อัลหาฟิซ อบีบักร อัลเคาะฏิบ (ฮ.ศ.463) กล่าวว่า
إِثباتها وإِجراؤها عَلَى ظاهرها ، ونفي الكيفية عنها
คือ การยืนยันมันและปล่อยมันตามที่มันปรากฏ และปฏิเสธ การอธิบายรูปแบบวิธีการจากมัน – อะลามุลนุบะลาอ เล่ม 18 หน้า 284 – ดูเพิ่มเติมจาก
http://www.saaid.net/Minute/65.htm
คำว่า
والظاهر المتبادر إلى أذهان المشبهين منفي عن الله
และความหมายแบบผิวเผินที่เข้ามาอยู่ในสมองความเข้าใจของบรรดาพวกมุชับบิฮะฮ์(คือพวกที่ยืนยันการคล้ายคลึงคุณลักษณะระหว่างอัลเลาะฮ์และมัคโลคไม่ว่าจะแง่ใดแง่หนึ่ง)นั้น ถูกปฏิเสธจากอัลเลาะฮ์
......
ความหมายคำพูด ข้างต้นคือ
ความหมายตามที่ปรากฏตามตัวบท ที่ทำให้เกิดจินตนาการของผู้ที่เข้าใจว่าทรงคล้ายคลึงกับมัคโลคนั้น จะถูกปฏิเสธจากอัลลอฮ
ย่อมแน่นอนอยู่แล้ว เพราะอัลลอฮได้ปฏิเสธไว้แล้วว่า “ทรงไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์” ซึ่งนายอารีฟีนพยายามที่จะยัดเยียด คำว่า “المشبهين (พวกที่เชื่อว่าอัลลอฮคล้ายคลึงกับมัคลูค) มาป้ายสี พี่น้องมุสลิมที่เขาตั้งฉายาว่า “วะฮาบีย”
วัลอิยาซุบิลละฮ
--------------------------------------------------------------------------------
يد الله فوق أيديهم
ท่านอิบนุกะษีรได้อธิบายว่า
أي هو حاضر معهم ويعلم ضمائرهم وظواهرهم
"หมายถึง พระองค์ทรงอยู่พร้อมกับพวกเขา และรอบรู้ถึงบรรดาจิตใจและภายนอกของพวกเขา"
คือท่านอิบนุกะษีร ทำการตีความว่า يد الله ณ ที่นี้ หมายถึง "พระองค์ทรงอยู่พร้อมและรอบรู้ถึงจิตใจของพวกเขาอย่างดียิ่ง
http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=162.0
คัดลอกเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 เวลา 1.30 น
..................
ข้างต้นเป็นข้อความของ อ.อารีฟีน ที่อ้างว่า เป็นหลักฐานว่าอิบนุกะษีรเป็นอะชาอีเราะฮ
ผมขอชี้แจงความจริงดังนี้
มาดูคำอธิบายของอิบนุกะษีร
يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) أَيْ : هُوَ حَاضِرٌ مَعَهُمْ يَسْمَعُ أَقْوَالَهُمْ وَيَرَى مَكَانَهُمْ ، وَيَعْلَمُ ضَمَائِرَهُمْ وَظَوَاهِرَهُمْ ، فَهُوَ تَعَالَى هُوَ الْمُبَايِعُ بِوَاسِطَةِ رَسُولِهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) أَيْ : هُوَ حَاضِرٌ مَعَهُمْ يَسْمَعُ أَقْوَالَهُمْ وَيَرَى مَكَانَهُمْ ، وَيَعْلَمُ ضَمَائِرَهُمْ وَظَوَاهِرَهُمْ ، فَهُوَ تَعَالَى هُوَ الْمُبَايِعُ بِوَاسِطَةِ رَسُولِهِ
(มือของอัลลอฮอยู่เหนือมือของพวกเขา) หมายถึง พระองค์คือ ผู้ทรงอยู่พร้อมกับพวกเขา ทรงได้ยิน บรรดาคำพูดของพวกเขา และทรงเห็นสถานที่ของพวกเขา และทรงรู้ยิ่ง ต่อการบิดบังซ่อนเร้นและการเปิดเผยของพวกเขา แล้วพระองค์ผู้ทรงสูงส่ง คือ ผู้ทำการสัตยาบันโดยผ่านการเป็นคนกลางของรอซูลของพระองค์ ศอ็ลฯ
.................................
นี้คำอธิบายของอิบนุกะษีร ท่านไม่ได้เปลี่ยนความหมายคำว่า “يد الله “ หรือปฏิเสธความหมายคำนี้ ท่านเพียงอธิบายถึงการมุบายะฮอะ(การให้สัตยาบัน ของเหล่าเศาะหาบะฮในสงครามหุดัยบียะฮ ต่อท่านรอซูล ดังอายะฮที่อัลลอฮตรัสว่า
إِنَّ الَّذِينَ يُبَايِعُونَكَ إِنَّمَا يُبَايِعُونَ اللَّهَ
แท้จริงบรรดาผู้ที่ให้สัตยาบันต่อเจ้า (มุหัมมัด) ความจริง พวกเขาให้สัตยาบันต่ออัลลอฮ
การตีความ มีความหมายสองลักษณะ คือ การอรรถาธิบาย (التفسير )และ การเปลี่ยนความหมายไปเป็นอย่างอื่น (التحريف ) ท่านอิบนุกะษีร ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความหมายคำว่า "يد الله ไปเป็นความหมายอื่น แต่อย่างใด ท่านเพียงแต่อธิบายความหมายโดยรวมเท่านั้น ไม่ได้เน้นที่คำว่า "มืออัลลอฮ"
มาดูว่าอิบนุกะษีร เป็นอะชาอิเราะฮจริงหรือไม่ มาดูท่านอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮต่อไปนี้
وَمَا قَدَرُوا اللَّهَ حَقَّ قَدْرِهِ وَالْأَرْضُ جَمِيعًا قَبْضَتُهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ وَالسَّماوَاتُ مَطْوِيَّاتٌ بِيَمِينِهِ سُبْحَانَهُ وَتَعَالَى عَمَّا يُشْرِكُونَ ( 67
และพวกเขามิได้ให้ความยิ่งใหญ่แด่อัลลอฮฺอันพึงมีต่อพระองค์อย่างแท้จริง และแผ่นดินนี้ทั้งหมดเป็นเพียงกำพระหัตถ์หนึ่งของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ และชั้นฟ้าทั้งหลายจะม้วนกลิ้งด้วยพระหัตถ์ขวาของพระองค์มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ และพระองค์ทรงสูงส่งเหนือจากสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคี – อัซซุมัร/67
ท่านอิหม่าม อิบนุกะษีร กล่าวถึง อายะฮข้างต้นว่า
وَقَدْ وَرَدَتْ أَحَادِيثُ كَثِيرَةٌ مُتَعَلِّقَةٌ بِهَذِهِ الْآيَةِ الْكَرِيمَةِ ، وَالطَّرِيقُ فِيهَا وَفِي أَمْثَالِهَا مَذْهَبُ السَّلَفِ ، وَهُوَ إِمْرَارُهَا كَمَا جَاءَتْ مِنْ غَيْرِ تَكْيِيفٍ وَلَا تَحْرِيفٍ .
และแท้จริง ได้มีบรรดาหะดิษมากมาย เกี่ยวกับอายะฮอันทรงเกียรตินี้ และแนวทางในมัน(ในอายะฮนี้)และในที่คล้ายคลึง กับมัน คือ มัซฮับสะลัฟ คือ ปล่อยมันดังเช่นที่มันได้มีมา โดยไม่มีการอธิบายรูปแบบวิธีการ และไม่เปลี่ยนแปลง
............
แล้วท่านอิบนุกะษีร ยกตัวอย่างหะดิษเกี่ยวกับอายะฮข้างต้นเช่น หะดิษรายงานโดยบุคอรี
، عَنْ أَبِي سَلَمَةَ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ : أَنْ أَبَا هُرَيْرَةَ - رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ - قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَقُولُ : يَقْبِضُ اللَّهُ الْأَرْضَ ، وَيَطْوِي السَّمَاءَ بِيَمِينِهِ ، ثُمَّ يَقُولُ : أَنَا الْمَلِكُ ، أَيْنَ مُلُوكُ الْأَرْضِ "
. รายงานจากสะละมะฮ บิน อับดุรเราะหมาน ว่า “อบูฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า “ ข้าพเจ้าได้ยินรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ อัลลอฮทรงกำแผ่นดิน และทรงม้วนฟากฟ้าด้วยมือขวาของพระองค์ หลังจากนั้น พระองค์ตรัสว่า "“ข้าคือ ราชา บรรดาราชาแห่งแผ่นดินอยู่ใหน ? – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 7 หน้า 114
.............
ทำไมอิหม่ามอิบนุกะษีร ไม่ตีความ คำว่า “ม้วนฟากฟ้าด้วยมือขวาของพระองค์” ละครับ หากท่านเป็นอะชาอีเราะฮจริง เพราะอาชาอีเราะฮ ไม่ยอมรับความหมายเดิมที่ปรากฏ “คำว่ามือของอัลลอฮมิใช่หรือ”
_________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Nov 17, 2014 10:46 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตัวอย่างที่ 2
قُلْ إِنَّ الْفَضْلَ بِيَدِ اللَّهِ يُؤْتِيهِ مَنْ يَشَاءُ
ท่านอิบนุกะษีร ทำการ(ตะวีล) ตีความว่า
أي: الأمورُ كله اتحت تصرفه وهو المعطي المانع، يَمُنّ على من يشاء بالإيمان والعلم
"หมายถึง บรรดาประการต่าง ๆ ทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้ อำนาจการจัดการของพระองค์ ซึ่งพระองค์เป็นผู้ให้และเป็นผู้หักห้าม โดยที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานกับบุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์ ด้วยกับอีหม่านและความรู้...." ดู ตัฟซีร อิบนุกะษีร ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอนอายะฮ์ 75
จากตรงนี้เราจะทราบได้เลยว่า ท่านอิบนุกะษีร ได้ทำการ ตีความคำว่า بِيَدِ اللَّهِ ให้เป็นความหมาย تصرفه "อำนาจจัดการของพระองค์"
http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=162.0
........
ชี้แจง
ข้างต้น เป็นการแอบอ้างว่าอิมหม่ามอิบนุกะษีร ตีความ คำว่า “بِيَدِ اللَّهِ “ เป็น تصرفه
มาดูรายละเอียดของอายะฮนี้
وَلا تُؤْمِنُوا إِلا لِمَنْ تَبِعَ دِينَكُمْ قُلْ إِنَّ الْهُدَى هُدَى اللَّهِ أَنْ يُؤْتَى أَحَدٌ مِثْلَ مَا أُوتِيتُمْ أَوْ يُحَاجُّوكُمْ عِنْدَ رَبِّكُمْ قُلْ إِنَّ الْفَضْلَ بِيَدِ اللَّهِ يُؤْتِيهِ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ وَاسِعٌ عَلِيمٌ
และพวกท่านจงอย่าเชื่อนอกจากแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามศาสนาของพวกท่านเท่านั้น จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า คำแนะนำนั้นคือคำแนะนำของอัลลอฮ์เท่านั้น (คือจงอย่าเชื่อว่า) จะมีผู้ใดได้รับ เยี่ยงที่พวกท่านจะได้รับ หรือ (อย่าเชื่อว่า) เขาเหล่านั้น จะโต้แย้งพวกท่าน ณ พระเจ้าของพวกทานเลย จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงความโปรดปรานนั้นอยู่ ณ พระหัตถ์ของอัลลอฮ์ซึ่งพระองค์ก็จะทรงประทานมันให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงไพศาลผู้ทรงรอบรู้
...........
นี้ไม่ใช่การตีความ แต่เป็นการอธิบายความหมาย โดยไม่ได้ปฏิเสธความหมายคำว่า “พระหัตถของอัลลอฮ” ตัวอย่างเช่น เราพูดว่า “ นายกรัฐมนตรี มีอำนาจอยู่ในมือ” คำนี้เป็นสำนวนเชิงอุปมา แต่ผู้ที่พูดคำนี้ ไม่ได้ปฏิเสธ การมีมือของนายกรัฐมนตรี
และท่านอิบนุกะษีร อรรถาธิบายว่า
أَيِ الْأُمُورَ كُلَّهَا تَحْتَ تَصْرِيفِهِ ، وَهُوَ الْمُعْطِي الْمَانِعُ ، يَمُنُّ عَلَى مَنْ يَشَاءُ بِالْإِيمَانِ وَالْعِلْمِ وَالتَّصَوُّرِ التَّامِّ ، وَيَضِلُّ مَنْ يَشَاءُ
หมายถึง บรรดาประการต่าง ๆ ทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้ การจัดการของพระองค์ ซึ่งพระองค์เป็นผู้ให้และเป็นผู้หักห้าม โดยที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานกับบุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์ ด้วยกับอีหม่านและความรู้ และ การทำให้เป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ และทรงประทานความโปรดปรานแก่ผู้ที่ทรงประสงค์....
.
ท่านอิบนุกะษีร ได้อธิบาย ความหมายของอายะฮที่ว่า إِنَّ الْفَضْلَ بِيَدِ اللَّهِ ว่า
أَيِ الْأُمُورَ كُلَّهَا تَحْتَ تَصْرِيفِهِ
หมายถึง บรรดาประการต่าง ๆ ทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้ การจัดการของพระองค์...
แล้ว อารีฟีน บอกว่า “ตีความคำว่า بِيَدِ اللَّهِ ให้เป็นความหมาย تصرفه "อำนาจจัดการของพระองค์"
ความจริงอารีฟีน ต้องกลับไปดูจุดยืน ของอิหม่ามอิบนิกะษีร เรื่อง มืออัลลอฮ ท่านได้ยึดแนวทางสะลัฟ ซึ่งผมเคยกล่าวมาแล้ว และขอย้ำอีกครั้งคือ
وقد وردت أحاديث كثيرة متعلقة بهذه الاَية الكريمة والطريق فيها وفي أمثالها مذهب السلف وهو إمراراها كما جاءت من غير تكييف ولا تحريف
“และแท้จริงได้มีหะดีษมากมายที่เกี่ยวข้องกับอายะฮฺอันประเสริฐนี้ และแนวทาง (การศรัทธา) เกี่ยวกับมันและอายะฮฺที่คล้ายคลึงกันนั้น คือแนวทางสะลัฟ นั่นคือ ทำให้มันผ่านไปดั่งที่มีมา โดยปราศจากอธิบายรูปแบบวิธีการ (ตักฟีฟ) และการเปลี่ยนแปลง (ตะหรีฟ)
ตัวอย่างที่ 3
وقالت اليهود يد الله مغلولة
ท่านอิบนุกะษีรได้อธิบายว่า
عن ابن عباس رضي الله عنهما قال لا يعنون بذلك أن يد الله موثقة ، ولكن يقولون بخيل أمسك ما عنده بخلا ، تعالى الله عن قولهم علوا كبيرا
"จากท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้หมายถึงดังกล่าวว่า แท้จริง มือขออัลเลาะฮ์ถูกล่ำตรวน แต่พวกเขากล่าวว่า พระองค์ทรงตระหนี่ ที่ระงับสิ่งที่มีอยู่ ณ ที่พระองค์ เพราะความตระหนี่ ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์จากคำกล่าวของพวกเขาอย่างยิ่งใหญ่นัก" ดู ตัฟซีร อิบนุ กะษีร ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ 64
อายะฮ์นี้ ท่านอิบนุอับบาสและท่านอิบนุกะษีร ได้ตีความ(ตะวีล)คำว่า يد الله ตรงนี้ หมายถึง อัลเลาะฮ์ทรงเผื่อแผ่ ไม่ใช่ตระหนี่อย่างที่พวกยะฮูดีกล่าวอ้าง
http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=162.0
ข้างต้น เป็นการอ้างของอาจารย์อารีฟีน
ขอชี้แจงดังนี้
อิบนุกะษีร อธิบายว่า
يخبر تعالى عن اليهود - عليهم لعائن الله المتتابعة إلى يوم القيامة - بأنهم وصفوا الله عز وجل وتعالى عن قولهم علوا كبيرا ، بأنه بخيل . كما وصفوه بأنه فقير وهم أغنياء ، وعبروا عن البخل بقولهم : ( يد الله مغلولة
อัลลอฮตะอาลา ได้บอกเกี่ยวกับพวกยิว บรรดาการสาปแช่งจงประสบแก่พวกเขา ติดต่อกันจนถึงวันกิยามะฮ - ว่าพวกเขาได้ อธิบายลักษณะ อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง ว่า ทรงตระหนี่ ทั้งๆที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากคำกล่าวหาของพวกเขา อย่างทรงสูงส่ง ยิ่งใหญ่ นัก ดังสิ่งที่พวกเขาอธิบายลักษณะของพระองค์ว่า ทรงยากจน โดยที่พวกเขาร่ำรวย และพวกเขา อธิบายเกี่ยวกับ คำว่า “ตระหนี่” ด้วยคำพูดของพวกเขาว่า (พระหัตถ์ของอัลลอฮ์นั้นถูกล่ามตรวน) - ดู ตัฟซีร อิบนุ กะษีร ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ 64
คำว่า “พระหัตถ์ของอัลลอฮ์นั้นถูกล่ามตรวน” เป็นสำนวนเปรียบเทียบในการกล่าวหาว่า อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงตระหนี่ เพราะเมื่อมือถูกล่ามตรวนเสียแล้วก็ไม่สามารถจะหยิบอะไรให้แก่ใครได้ ไม่ทราบว่า ตรงใหนที่อิบนุกะษีร ตีความ “คำว่า มืออัลลอฮ” ตามที่ นายอารีฟีน อ้าง
อิบนุกะษีร ได้กล่าวว่า
وَالْآيَاتُ فِي هَذَا كَثِيرَةٌ ، وَقَدْ قَالَ الْإِمَامُ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ :
حَدَّثَنَا عَبْدُ الرَّزَّاقِ ، حَدَّثَنَا مَعْمَرٌ ، عَنْ هَمَّامِ بْنِ مُنَبِّهٍ قَالَ : هَذَا مَا حَدَّثَنَا أَبُو هُرَيْرَةَ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : " إِنَّ يَمِينَ اللَّهِ مَلْأَى لَا يَغِيضُهَا نَفَقَةٌ ، سَحَّاءُ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ ، أَرَأَيْتُمْ مَا أَنْفَقَ مُنْذُ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ ، فَإِنَّهُ لَمْ يَغِضْ مَا فِي يَمِينِهِ " قَالَ : " وَعَرْشُهُ عَلَى الْمَاءِ ، وَفِي يَدِهِ الْأُخْرَى الْقَبْضُ ، يَرْفَعُ وَيَخْفِضُ " : قَالَ : قَالَ اللَّهُ تَعَالَى : " أَنْفِقْ أُنْفِقْ عَلَيْكَ " أَخْرَجَاهُ فِي ِ .
และบรรดาอายะฮในกรณีนี้ มีมากมาย และแท้จริง อิหม่าม อะหมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า “อับดุรรอซซาก ได้เล่าเรา ,มะอฺมัร ได้เล่าเรา จากฮัมมาม บิน มุนับบิฮ กล่าวว่า “ นี้คือ สิ่งที่อบูฮุรัยเราะฮ ได้เล่าเรา เขากล่าวว่า “รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “มือขวาของอัลลอฮ เต็มเปี่ยม การใช้จ่าย ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ได้ทำให้มันเหือดแห้ง ,พวกท่านเห็นไหม สิ่งที่ทรงใช้จ่าย ตั้งแต่สร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน สิ่งที่อยู่ในมือขวาของพระองค์ ก็ไม่ได้เหือดแห้ง ท่านรซูลลุลลอฮ กล่าวว่า “บัลลังค์ของพระองค์ อยู่บนน้ำ และในมือของพระองค์อีกข้าง กำไว้ แล้วทรง ยกขึ้นและยกลง , ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า “ ท่านจงใช้จ่าย และพระองค์ก็จะจ่ายแก่ท่าน “ บุคอรีและมุสลิมได้บันทึกมันในอัศเศาะเฮียะทั้งสอง -ดู ตัฟซีร อิบนุ กะษีร ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ 64
…………….
อิบนุกะษีร ได้ยกตัวอย่างหะดิษ ที่มีข้อความว่า “يَمِينَ اللَّهِ มือขวาของอัลลอฮ เป็นการตอกย้ำชัดเจนว่า “ท่านไม่ได้ปฏิเสธ ความหมายที่ปรากฏมาแต่เดิม และท่านไม่ได้ตีความ โดยเปลี่ยนความหมายเดิมแต่อย่างใด _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Nov 17, 2014 10:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตัวอย่างที่ 5
والسماء بنيناها بأيد
ท่านอิบนุกะษีร ตีความว่า
أي بقوة
"หมายถึง ด้วยพลังอำนาจ" ดู ตัฟซีร ซูเราะฮ์ อัซซาริยาต อายะฮ์ที่ 47
http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=162.0
ขอชี้แจงดังนี้
ขอบอก อ. อารีฟีนว่า คำว่า “ อัยดิน” คำนี้ ไม่ใช่แปลมือ มาดูคำอธิบาย
وقال اللهُ تعالى (والسَّمَاء بَنَيْنَاهَا بَأَيْد). قلتُ: قوله تعالى: (بأَيْد) أي بقُوَّةٍ وهو مَصْدَر آدَ يئِيدُ أَيْداً إذا قَوِيَ وليس جَمْعاً لِيدٍ
และอัลลอฮตะอาลา ตรัสว่า (และชั้นฟ้า เราได้สร้างมันด้วยพลังอำนาจ) ข้าพเจ้า ขอกล่าวว่า “คำตรัสของอัลลอฮที่ว่า (บิอัยดิน) หมายถึง ด้วยพลังอำนาจ และมันเป็นคำที่มาจาก รากศัพท์ คำว่า อาดา- ยะอีดู – อัยดัน เมื่อ เขามีพลังอำนาจ และมันไม่ใช่ เป็นคำพหุพจน์ของคำว่า “ยะดิน” (ที่แปลว่ามือ) – ดู มุคตาจญเศาะฮาหฺ บทว่าด้วยอักษร ยา
แต่ที่แปลว่า มือ มาดูอายะฮนี้
قَالَ يَا إِبْلِيسُ مَا مَنَعَكَ أَنْ تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ أَسْتَكْبَرْتَ أَمْ كُنْتَ مِنَ الْعَالِينَ
พระองค์ตรัสว่า “อิบลีสเอ๋ย อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยมือทั้งสองของข้า ? เจ้าเย่อหยิ่งจองหองนักหรือ หรือว่าเจ้าอยู่ในหมู่ผู้สูงส่ง – ศอด/47
…………
เมื่อไปดูในตัฟสีรอิบนุกะษีร ปรากฏว่า ท่านไม่ได้ตีความ คำว่า “خَلَقْتُ بِيَدَيّ แต่อย่างใด หากท่านไม่ยอมรับ ท่านคงตีความไปแล้ว แสดงว่า “ อิบนุกะษีรไม่ได้เป็นอะชาอีเราะฮ แต่..ถูกแอบอ้าง
ท่านชัยคุลอิสลาม อัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย์ ได้กล่าวรายงานไว้ในหนังสือ อัดดุร๊อร อัลกามินะฮ์ เกี่ยวกับการโต้แย้งกันระหว่างหลานของท่านอิบนุมุก๊อยยิมและท่านอิบนุกะษีร ในเรื่องการสอนผู้คนทั้งหลาย ว่า
ومن نوادره أنه وقع بينه وبين عماد الدين ابن كثير منازعة في تدريس الناس فقال له ابن كثير أنت تكرهني لأنني أشعري فقال له لو كان من رأسك إلى قدمك شعر ما صدقك الناس في قولك إنك أشعري وشيخك ابن تيمية
"ส่วนหนึ่งจากเกล็ดประวัติของเขา คือ แท้จริง ได้เกิดการโต้แย้งกันเกี่ยวกับการสอนผู้คนทั้งหลายระหว่างเขาและท่านอิมาดุ ดีน อิบนุกะษีร ซึ่งท่านอิบนุกะษีรได้กล่าวกับเขาว่า ท่านรังเกียจฉันหรือ ที่ฉันนั้นเป็น(ผู้มีอะกีดะฮ์)อัชอะรีย์ ดังนั้น เขาจึงกล่าวกับท่านอิบนุกะษีร่า หากแม้นว่าจากศีรษะของท่านจรดเท้านั้นมีเส้นผมแล้วไซร้ บรรดาผู้คนก็ไม่เชื่อในคำพูดของท่านหรอกว่า แท้จริงท่านคือ(ผู้มีอะกีดะฮ์)อัลอัชอารีย์ โดยที่อาจารย์ของท่านคือ อิบนุตัยมียะฮ์" ดู เล่ม 1 หน้า 65
http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=162.0
………….
โต๊ะครูอะชาอีเราะฮแห่งเว็บซุนนะฮสะติวเด้น ไปเอาคำพูดของอิบนุหะญัร ที่บอกว่า “อิบนุกะษีร สารภาพว่า เป็นอะชาอีเราะฮ” แล้วเอามาเป็นหลักฐานว่า “อิบนุกะษีร” เป็นอาชาอีเราะฮ ดีใจกันถ้วนหน้าว่าเป็นหลักฐานเด็ด ที่นี้มาดูว่า ความจริงเป็นอย่างไร
1. คำว่า “إنك أشعري وشيخك ابن تيمية แท้จริงท่านคือ(ผู้มีอะกีดะฮ์)อัลอัชอารีย์ โดยที่อาจารย์ของท่านคือ อิบนุตัยมียะฮ์
เรืองนี้หากไม่มีการเพิ่มเติมข้อเท็จจริง ก็เป็นไปได้ว่า อัชอะรีย์ในที่นี้คือ แนวคิดด้านอะกีดะฮของอิหม่ามอัชอะรีย์ ช่วงหลัง เป็นช่วงที่ท่านกลับตัวจากอะกีดะฮตามแนวมุอฺตะสีละฮ มาสู่แนวอะกีดะฮสะลัฟ ไม่ใช่อัชอะรียะฮ หรืออะชาอีเราะฮ ที่ยังคงยึดแนวคิดแบบมุอฺตะสิละฮ โดยการเอาปัญญานิยม หรือ เหตุผลทางปัญญา มาอธิบายอัลุรอ่าน
2. อิบนุตัยมียะฮ ซึ่งเป็นอาจารย์ของอิบนุกะษีร มีอะกีดะฮตามแนวสะลัฟ และอิบนุกะษีร ก็มีแนวทางสะลัฟเช่นกัน
ฮานีย์มุหัมหมัด ผู้ตรวจทาน หนังสืออัรรอซีย์ได้กล่าวไว้ในคำนำ หนังสือ علم الكلام للرازي เล่ม 1 หน้า 33 ว่า
ابن كثير والذهبي كانا على طريقة ابن تيميه في العقائد وإن كان ابن كثير أقل من الذهبي والذهبي أقل من شيخه ، إلا أنهم يجمعهم طريقة واحدة في العقائد
อิบนุกะษีรและอัซซะฮะบีย์ ทั้งสอน อยู่บนแนวทางของอิบนุตัยมียะฮ ในเรื่อง อะกีดะฮ และ หากปรากฏว่าอิบนุกะษีร น้อยกว่า อัซซะฮะบีย์ และอัซซะฮะบีย์ น้อยกว่า อาจารย์ของเขา นอกจากว่า แท้จริงพวกเขา ได้ถูกรวมอยู่ในแนวทางเดียวกันในเรื่องอะกีดะฮ” –
3. อิบนุกะษีร ได้กล่าวถึง อบูหะซัน อัลอัชอะรีย์กลับตัวจากอะกีดะฮ มุอตะซิละฮ ในบั้นปลายของชีวิต และยืนยันว่าอบูหะซัน กลับมาอยู่ในแนวสะลัฟดังนี้
อัซซุบัยดีย์ กล่าวว่า
فلو كان ابن كثير أشعرياً فهو إذاً على العقيدة التي يعتقد أن الأشعري إستقر عليها آخر عمره.
แล้วถ้า อิบนุกะษีร เป็นอัชอะรีย์ เพราะฉะนั้น เขาก็อยู่บนอะกีดะฮ ที่ เขาเชื่อว่า แท้จริง(อบูหะซัน)อัลอัชอะรีย์ ได้ดำรงอยู่บนมันในบั้นปลายชีวิตของเขา - "– อิตติหาดอัสสาดะฮอัลมุตตะกีน ของ อัซซุบัยดีย เล่ม 2 หน้า 4
4. อิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
ذكروا للشيخ أبي الحسن الأشعري ثلاثة أحوال:
أولها: حال الاعتزال التي رجع عنها لا محالة.
الحال الثاني: إثبات الصفات العقلية السبع وهي: الحياة والعلم والقدرة والإرادة والسمع والبصر والكلام. وتأويل الخبرية كالوجه واليدين والقدم والساق ونحو ذلك.الحال الثالث: إثبات ذلك كله من غير تكييف ولا تشبيه جرياً على منوال السلف، وهي طريقته في (الإبانة) التي صنفها آخراً"
“พวกเขาระบุว่า อบูหะซันอัลอัชอะรีย์ มี 3 สถานภาพ
1. สภาพของการเป็นมุอตะซิละฮ ที่เขาได้กลับออกจากมันอย่างแน่นอนแล้ว
2. การรับรองบรรดาสิฟัตอักลียะฮ คือ อัลหัยยาต, อัลอิลมุ,อัลกุดเราะตุ, อัลอิรอดะตุ, อัสสัมอุ ,อัลบะเศาะรุ และอัลกะลาม และตีความ(ตะอฺวีล) สิฟัตเคาะบะรียะฮ เช่น ใบหน้า ,สองมือ, เท้า, หน้าแข้ง เป็นต้น
3. รับรองคุณลักษณะดังกล่าวนั้นทั้งหมด โดยไม่อธิบายรูปแบบวิธีการ และไม่เปรียบเทียบว่าคล้ายคลึง(กับมัคลูค) โดยการดำเนินตามรูปแบบสะลัฟ และมันคือแนวทางของเขา (ของอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์) ในหนังสืออัลอิบานะฮ ที่เขาได้เรียบเรียงมัน อีกเล่มหนึ่ง – เฏาะบะกอตอัชชาฟิอียีน เล่ม 1 หน้า 210 และ อิตติหาดอัสสาดะฮอัลมุตตะกีน ของ อัซซุบัยดีย เล่ม 2 หน้า 4
-----------
จะเห็นได้ว่า “อิหม่ามอบูหะซัน ได้กลับตัวมายึดอะกีดะฮตามแนวสะลัฟ ส่วนกลุ่มอะชาอีเราะฮ ยังคงยึดแนวทางของอบูหะซัน ในช่วงที่สอง คือ การตีความสิฟัตเคาะบะรียะฮ เช่น คำว่า ใบหน้า (الوجه ) ,สองมือ (اليدين ) เป็นต้น
4. อิบนุกะษีร รักและปกป้องอาจารย์ของท่านอย่างแข็งขัน ด้วยความรักและผูกพันระหว่างคนทั้งสอง
หาฟิซอิบนุหะญัรกล่าวว่า
وأخذ عن ابن تيمية ففتن بحبه، وامتحن بسببه
‘เขาได้ศึกษาอยู่กับอิบนุ ตัยมียะฮฺ ดังนั้น เขาจึงต้องถูกทดสอบจากความรักที่มีต่ออิบนุ ตัยมียะฮฺ และเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นกับอิบนุ ตัยมียะฮฺ – ดู อัรดุรกามินะฮ และ เฏาะบะกอตอัลมุฟัสสิรีน เล่ม 1 หน้า 112
............
_________________
_________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Mon Sep 12, 2016 11:37 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Nov 17, 2014 10:49 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อาจารย์อารีฟีน กล่าวว่า
เมื่อมีคนถามว่า อัลเลาะฮ์อยู่ใหน ? เราสามารถตอบด้วยอายะฮ์อัลกุรอานความว่า :
وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2836.0
วิภาษข้ออ้างข้างต้น
อาจารย์ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้หะดิษญารียะฮ และนำเสนออายะฮ ข้างล่าง
وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ
และเมื่อมวลบ่าวของข้าได้ถามถึงข้า (เข้าก็จงตอบไปเถิดว่า) แท้จริงข้าเป็นผู้ใกล้ชิด (กับพวกเจ้า) ข้าคอยสนองตอบคำวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาได้วอนขอต่อข้า .....
...........
อายะฮข้างต้น ไม่ได้ระบุคำถามว่าอัลลอฮอยู่ใหน แทนที่จะเอาหะดิษเศาะเฮียะ คือ หะดิษญารียะฮที่รายงานโดย อิหม่ามมุสลิม แต่กลับ หะดิษเฎาะอีฟมาอธิบาย ดังนี้
ท่านอิบนุญะรีร รายงานว่า
حَدَّثَنَا الْحَسَن بْن يَحْيَى , قَالَ : أَخْبَرَنَا عَبْد الرَّزَّاق , قَالَ : أَخْبَرَنَا جَعْفَر بْن سُلَيْمَان عَنْ عَوْف , عَنْ الْحَسَن , قَالَ : سَأَلَ أَصْحَاب النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : أَيْنَ رَبّنَا ؟ فَأَنْزَلَ اللَّه تَعَالَى ذِكْره : { وَإِذَا سَأَلَك عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيب أُجِيب دَعْوَة الدَّاعِ إذَا دَعَانِ . .. } الْآيَة
ได้บอกเล่าให้เราทราบโดย อัลฮะซัน บิน ยะห์ยา เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุลร็อซซาก เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยญะฟัร บิน สุลัยมาน จากเอาฟ์ จาก อัลฮะซัน เขากล่าวว่า "บรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ผู้อภิบาลของเราอยู่ใหน? ดังนั้น อัลเลาะฮ์ตะอาลา ทรง(ตอบโดย)ประทานอายะฮ์อัลกุรอานความว่า "และเมื่อมวลบ่าวของข้าได้ถามถึงข้า (เข้าก็จงตอบไปเถิดว่า) แท้จริงข้าเป็นผู้ใกล้ชิด (กับพวกเจ้า) ข้าคอยสนองตอบคำวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาได้วอนขอต่อข้า" ตัฟซีรอัฏฏ๊อบรีย์ อายะฮ์ที่ 186 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์
……..
หะดิษนี้ อาจารย์วิจารณ์เองว่าเป็นหะดิษที่สายรายงานขาดตอน คือ เป็นหะดิษมุรซัล ดังที่ อาจารย์อาริฟีนระบุว่า
ท่านอิบนุญะรีร รายงานว่า
حَدَّثَنَا الْحَسَن بْن يَحْيَى , قَالَ : أَخْبَرَنَا عَبْد الرَّزَّاق , قَالَ : أَخْبَرَنَا جَعْفَر بْن سُلَيْمَان عَنْ عَوْف , عَنْ الْحَسَن , قَالَ : سَأَلَ أَصْحَاب النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : أَيْنَ رَبّنَا ؟ فَأَنْزَلَ اللَّه تَعَالَى ذِكْره : { وَإِذَا سَأَلَك عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيب أُجِيب دَعْوَة الدَّاعِ إذَا دَعَانِ . .. } الْآيَة
ได้บอกเล่าให้เราทราบโดย อัลฮะซัน บิน ยะห์ยา เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุลร็อซซาก เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยญะฟัร บิน สุลัยมาน จากเอาฟ์ จาก อัลฮะซัน เขากล่าวว่า "บรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ผู้อภิบาลของเราอยู่ใหน? ดังนั้น อัลเลาะฮ์ตะอาลา ทรง(ตอบโดย)ประทานอายะฮ์อัลกุรอานความว่า "และเมื่อมวลบ่าวของข้าได้ถามถึงข้า (เข้าก็จงตอบไปเถิดว่า) แท้จริงข้าเป็นผู้ใกล้ชิด (กับพวกเจ้า) ข้าคอยสนองตอบคำวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาได้วอนขอต่อข้า" ตัฟซีรอัฏฏ๊อบรีย์ อายะฮ์ที่ 186 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์
ฮะดิษนี้แม้จะเป็นฮะดิษมุรซัล (ฮะดิษที่รายงานโดยตาบิอีนถึงท่านนบี) แต่เป็นฮะดิษมุรซัลที่ซอฮิห์ ซึ่งนำมาเป็นหลักฐานได้ตามทัศนะของ อิมามอบูหะนีฟะฮ์ , อิมามมาลิก , และอิมามอะห์มัด , นอกจากอิมามอัชชาฟิอีย์ แต่ทว่าฮะดิษนี้ได้มีตัวบทฮะดิษและสายรายงานมาสนับสนุนโดยท่านอิบนุกะษีร
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2836.0
...........
ขอกล่าวว่า แปลกมา ที่อ้างหะดิษมาลอยๆ ซึ่งหะดิษที่ท่านอบนุกะษีรอ้าง ท่านก็ไม่ได้ ระบุสถานหะดิษไว้เลย แล้วมิหนำซ้ำ ให้น้ำหนักเองว่า “มุรซัลเศาะเฮียะ” มาชาอัลลอฮ
แล้วทำไม่นำหะดิษเศาะเฮียะ ที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีรับรองกลับไม่ยอมรับและไม่นำมาอ้าง นั้นคือ หะดิษที่ท่านหญิงคนหนึ่งตอบนบีว่า “อัลลอฮ อยู่บนฟ้า
มาดูคำพูดอิหม่ามชาฟิอีย์ที่ท่านอ้างหลักฐานด้วยหะดิษนี้
وَأَحَبُّ إلَيَّ أَنْ لَا يُعْتِقَ إلَّا بَالِغَةً مُؤْمِنَةً فَإِنْ كَانَتْ أَعْجَمِيَّةً فَوَصَفَتْ الْإِسْلَامَ أَجْزَأَتْهُ ، أَخْبَرَنَا مَالِكٌ عَنْ هِلَالِ بْنِ أُسَامَةَ عَنْ عَطَاءِ بْنِ يَسَارٍ عَنْ عُمَرَ بْنِ الْحَكَمِ أَنَّهُ قَالَ { أَتَيْت رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقُلْت يَا رَسُولَ اللَّهِ إنَّ جَارِيَةً لِي كَانَتْ تَرْعَى غَنَمًا لِي فَجِئْتهَا وَفَقَدَتْ شَاةً مِنْ الْغَنَمِ فَسَأَلْتهَا عَنْهَا فَقَالَتْ أَكَلَهَا الذِّئْبُ فَأَسِفْت عَلَيْهَا وَكُنْت مِنْ بَنِي آدَمَ فَلَطَمْتُ وَجْهَهَا وَعَلَيَّ رَقَبَةٌ أَفَأَعْتِقُهَا ؟ فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَيْنَ اللَّهُ ؟ فَقَالَتْ فِي السَّمَاءِ فَقَالَ مَنْ أَنَا ؟ فَقَالَتْ أَنْتَ رَسُولُ اللَّهِ قَالَ فَأَعْتِقْهَا
และที่ข้าพเจ้าชอบคือ จะไม่มีการปล่อยทาสให้เป็นอิสระ นอกจาก เป็นหญิงผู้ศรัทธาที่บรรลุศาสนภาวะ แล้วถ้าปรากฏว่านางเป็นหญิงอะญัม(ไม่ใช่อาหรับ) แล้วนางมีคุณลักษณะอิสลาม ก็ใช้ได้,มาลิก ได้บอกแก่เรา จากฮิลาล บิน อุสามะฮ จาก อะฏออฺ บิน ยะสาร จากอุมัร บินหะกัม ว่า “เขากล่าวว่าฉันมีทาสคนหนึ่งที่เคยเลี้ยงแพะของฉันในพื้นที่ระหว่างอุฮุดและอัล-ญะวานิยยะฮฺ วันหนึ่งเขาได้กระทำความผิดบางอย่าง เขาได้ออกโดยเอาแพะไปตัวหนึ่ง ฉันเป็นมนุษย์ธรรมดา แน่นอนว่าต้องมีอารมณ์โกรธ ฉันจึงตบหน้าเขา แล้วท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็มา(เห็น) และสิ่งนี้ทำให้ฉันกังวลใจ ฉันจึงอธิบายกับท่านว่า ‘โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ ฉันควรปล่อยทาสของฉันคนนี้เป็นอิสระไหม?’ ‘พาเขามาหาฉัน’ ท่านเราะสูลุลลอฮฯ กล่าว ฉันจึงรีบพาเขามาหาท่าน แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้ถามนางว่า “อัลลอฮอยู่ที่ไหน?”
นางตอบว่า “อยู่บนฟากฟ้า” แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ถามต่อไปอีกว่า “ฉันคือใคร?” ทาสของฉันตอบว่า “ท่านคือศาสนฑูตของอัลลอฮ” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ปล่อยนางให้เป็นอิสระเถิด แท้จริงนางคือผู้ศรัทธา
-ดู หนังสือ อัลอุม ของอิหม่าชาฟิอีย์ เล่ม 5 บทว่าด้วย باب عتق المؤمنة في الظهار
……………
อิหม่ามชาฟิอีย์รับรองแต่ คนอ้างตามชาฟิอีย์ไม่รับรอง ...มาชาอัลลอฮ
อะชาอีเราะฮ แอบอ้างว่าอิหม่ามบุคอรีตีความ อัลวัจญ หมายถึงอำนาจปกครอง
อาจารย์อารีฟีนกล่าวว่า
ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ
"ทุกสิ่งพินาศสิ้นจากนอกจาก วัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของอัลเลาะฮ์" (ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า) หมายถึง "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์" (หลังจากท่านอัลบุคอรีย์ได้ทำการเล่ารายงานทัศนะปราชญ์ท่านอื่นๆ ความว่า) และถูกกล่าวว่า นอกจากสิ่งที่ถูกมีเจตนาเพื่อ วัจญ์ฮฺ ของอัลเลาะฮ์ และท่านมุญาฮิดก็ได้กล่าวไว้" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 8/364
พี่น้องชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อาจจะตั้งคำถามว่า وَجْهُ اللهِ หมายถึงอะไร? คำตอบคือ สิ่งที่คุณอะสันได้ปกปิดมันเอาไว้และไม่ยอมอ้างอิง เพราะมันไปขัดกับสิ่งที่คุณอะสันต้องการ
ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวต่อไปว่า
وَقَالَ اِبْن التِّين قَالَ أَبُو عُبَيْدَة : إِلَّا وَجْهه أَيْ جَلَاله
"ท่านอิบนุอัตตีนได้กล่าวว่า ท่านอะบูอุบัยดะฮ์กล่าวว่า : นอกจากวัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของพระองค์นั้น หมายถึง นอกจากความยิ่งใหญ่ของพระองค์" ฟัตหุลบารีย์
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,6552.0.html
มาดูข้อเท็จจริงดังนี้
ในการให้ความหมายคำว่า “นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์
อารีฟีน ว่าเล็บว่า " (ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า)
ความจริงไม่ใช่คำพูดของท่านอิหม่ามบุคอรี แต่ท่านได้ รายงานคำพูดคนอื่นอีกที่
ส่วนคำพูดของอิม่ามบุคอรีจริงๆคือ ประโยคที่ว่า إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ
ซึ่งมีความหมายว่า “เว้นแต่ สิ่งที่ถูกให้มีจุดประสงค์ เพื่อพระพักต์ของพระองค์ด้วยมัน
เพราะท่าน อิบนุกะษีร ได้ยืนยันว่า
وَقَالَ مُجَاهِدٌ وَالثَّوْرِيُّ فِي قَوْلِهِ : ( كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ ) أَيْ : إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُهُ وَحَكَاهُ الْبُخَارِيُّ فِي صَحِيحِهِ كَالْمُقَرِّرِ لَهُ
และมุญาฮิด และอัษเษารีย์ กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า(ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์) หมายถึง เว้นแต่ สิ่งที่ถูกให้มีจุดประสงค์ เพื่อพระพักต์ของพระองค์ด้วยมัน และ อัลบุคอรีย์ได้รายงานมันในเศาะเฮียะของเขา เสมือนหนึ่งว่า เป็นผู้ยอมรับมัน – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 6 หน้า 262
ส่วนคำว่า “إِلَّا مُلْكَهُ
หมายถึง นอกจากอำนาจปกครองของพระองค์
คำข้างต้นเป็นคำพูดของ มุอฺมัร ดังที่หาฟิซอิบนุหะญัรกล่าวว่า
قوله : إلا وجهه : إلا ملكه . في رواية النسفي وقال معمر فذكره
คำตรัสของพระองค์ที่ว่า “ นอกจากพระพักต์ของพระองค์” หมายถึง นอกจากอำนาจปกครองของพระองค์ ในรายงานหนึ่งของ อัลนุสฟีย์ ระบุว่า "และ มุอฺมัรได้ กล่าว" แล้วเขา(นุสฟีย)ได้ระบุมัน -
ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 8 หน้า 505
อิหม่ามบุคอรีนั้น ให้การรับ รอง สิฟัตวัจญฺ ในการอรรถาธิบาย อายะฮที่ว่า (كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ) ใน กิตาบุตเตาฮีด ดังนี้
بَاب قَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ
แล้วท่านได้อ้างหะดิษที่ว่า
حَدَّثَنَا قُتَيْبَةُ بْنُ سَعِيدٍ حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ زَيْدٍ عَنْ عَمْرٍو عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ لَمَّا نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ قُلْ هُوَ الْقَادِرُ عَلَى أَنْ يَبْعَثَ عَلَيْكُمْ عَذَابًا مِنْ فَوْقِكُمْ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَعُوذُ بِوَجْهِكَ فَقَالَ أَوْ مِنْ تَحْتِ أَرْجُلِكُمْ فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَعُوذُ بِوَجْهِكَ قَالَ أَوْ يَلْبِسَكُمْ شِيَعًا فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ هَذَا أَيْسَرُ
กุตัยบะฮ บินสะอีด ได้เล่าเราว่า หัมมาด บินเซด จากอัมริน จาก ญาบีร บิน อับดุลลอฮ ได้กล่าวขณะที่อายะฮนี้ลงมา( จงกล่าวเถิด พระองค์คือ ผู้ทรงสามารถส่งการลงโทษจาก จากเบื้องบนของพวกเจ้า ) ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน) แล้วเขากล่าว(ถึงอายะฮดังกล่าวต่อไปว่า) หรือจากใต้เท้าของพวกเจ้า ) แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน) เขากล่าว(อายะฮดังกล่าวต่อไปว่า) “หรือ ให้พวกท่านปนเปกันโดยมีหลายพวกเจ้า”แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ นี้ มันเบาที่สุด” – เศาะเฮียะอัลบุคอรีย์ หะดิษหมายเลข 6971 ว่าด้วยเรื่อง อรรถาธิบายอัลกุรอ่าน
………………
เพราะฉะนั้น การตีความ คำว่า “ وجهه เป็น ملكه (อำนาจการปกครองของพระองค์) ย่อมจะไม่ใช่การตีความของอิหม่ามบุคอรีแน่นอน
ส่วนที่อารีฟีนอ้าง ข้อความที่ว่า
ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวต่อไปว่า
وَقَالَ اِبْن التِّين قَالَ أَبُو عُبَيْدَة : إِلَّا وَجْهه أَيْ جَلَاله
"ท่านอิบนุอัตตีนได้กล่าวว่า ท่านอะบูอุบัยดะฮ์กล่าวว่า : นอกจากวัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของพระองค์นั้น หมายถึง นอกจากความยิ่งใหญ่ของพระองค์" ฟัตหุลบารีย์
……….
ขอกล่าวว่า คำพูดข้างต้นไม่ใช่ประเด็น เพราะประเด็นที่ผมพูด คือ การอ้างว่าอิหม่ามบุคอรีตีความ
และถ้าสังเกตคำที่ อารีฟีนอ้าง จะเห็นได้ว่า เขาได้ตัดตอนประโยคในในข้อความของบุคอรี
เพราะข้อความเต็มๆ คือ
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمْ الْأَنْبَاءُ الْحُجَجُ
และทุกสิ่งทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์) หมายถึง เว้นแต่ อำนาจการปกครองของพระองค์ และมีผู้กล่าวว่า นอกจากสิ่งที่ เพื่อพระพักต์ของพระองค์ด้วยมัน และ มุญาฮิด กล่าว(เกี่ยวกับอายะฮที่ว่า) ดังนั้น ข้อแก้ตัวได้ทำให้พวกเขามืดมน หมายถึง ข้ออ้าง
…….
อ.อสรีฟีนตัดตอนข้อความ เพื่อตบตาให้เข้าใจว่า ประโยคข้างหน้า คำว่า “มุญาฮิด”คือ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ เป็นคำพูดหรือทัศนะของมุญาฮีด
มาดูข้อความของอ.อารีฟีนอีกที่
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ
"ทุกสิ่งพินาศสิ้นจากนอกจาก วัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของอัลเลาะฮ์" (ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า) หมายถึง "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์" (หลังจากท่านอัลบุคอรีย์ได้ทำการเล่ารายงานทัศนะปราชญ์ท่านอื่นๆ ความว่า) และถูกกล่าวว่า นอกจากสิ่งที่ถูกมีเจตนาเพื่อ วัจญ์ฮฺ ของอัลเลาะฮ์ และท่านมุญาฮิดก็ได้กล่าวไว้" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 8/364
……..
ความจริง มุญาฮิดไม่ได้เกี่ยวกับประโยคก่อน แต่จะเกี่ยวกับประโยคหลังคือ
وَقَالَ مُجَاهِدٌ فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمْ الْأَنْبَاءُ الْحُجَجُ
........
และหลักฐานยืนยันว่า ประโยคก่อนหน้านั้น ไม่เกี่ยวกับมุญาฮีดคือ
عن ابن أبي نجيح ، عن مجاهد ، في قوله " فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمُ الأَنْبَاءُ سورة القصص آية 66 ، قال : الحجج
รายงานจาก อิบนุ อบีนะเญียะหฺ จากมุญาฮิด ในคำตรัสของอัลลอฮ ที่ว่า ดังนั้น ข้อแก้ตัวได้ทำให้พวกเขามืดมน – ซูเราะฮอัลเกาะศอศ อายะฮ ที่ 66 เขา(มุญาฮีด) กล่าวว่า หมายถึงบรรดาข้ออ้าง
- ดู ตะลีกุตตะลีก ของ อิบนุหะญัร กิตาบุคคัฟสีร ซูเราะเกาะศอศ
..............
ผมจึงถึง...บางอ้อว่า ทำไมเช็คอัลบานีย์จึงคัดค้านว่า ไม่ใช่คำตีความของบุคอรี แต่ อะชาอีเราะแอบอ้าง จึงเห็นได้จัดเจนแล้ว ว่า เพราะการตัดตอนข้อความตบแต่งให้คนเชื่อว่า “บุคอรีตีความนั้นเอง – นะอูซุบิลละฮ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Nov 17, 2014 10:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า
وَلَا رَيْبَ أَنَّ الْمَنْقُولَ الْمُتَوَاتِرَ عَنْ أَحْمَد يُنَاقِضُ هَذِهِ الرِّوَايَةَ وَيُبَيِّنُ أَنَّهُ لَا يَقُولُ : إنَّ الرَّبَّ يَجِيءُ وَيَأْتِي وَيَنْزِلُ أَمْرُهُ بَلْ هُوَ يُنْكِرُ عَلَى مَنْ يَقُولُ ذَلِكَ
และไม่ต้องสงสัย ว่า สิ่งที่ถูกรายงานต่อเนื่องหลายกระแสจากอิหม่ามอะหมัดนั้น ค้านกับรายงานนี้ (หมายถึงรายงานที่อะชาอีเราะเอามาแอบอ้างว่า อิหม่ามอะหมัดตีความ – ผู้แปล) และแสดงให้เห็นเห็นชัดเจนว่าแท้จริงเขา(อะหมัด)ไม่ได้กล่าวว่า พระเจ้าเสด็จมา, เสด็จมาถึง และเสด็จลงมา คือ(หมายถึง) คำบัญชาของพระองค์ ในทางกลับกัน เขา(อิหม่ามอะหมัด)ได้ห้ามผู้ที่กล่าวดังกล่าว– มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 5 หน้า 401
..............
จากคำยืนยันข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การอ้างว่า อิหม่ามอะหมัดตีความนั้น ขัดกับข้อเท็จจริงเพราะอิหม่ามอะหมัดคัดค้านการตีความ
ท่านอิหม่ามอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ ปราชญ์สะลัฟ ได้ทำการนำเสนอการตีความของสะลัฟบางส่วนว่า
وقال آخرون: معنى قوله:" هل ينظرون إلا أن يأتيهم الله"، يعني به: هل ينظرون إلا أن يأتيهم أمرُ الله
“และเหล่าปราชญ์(สะลัฟ)อื่นๆ อีกได้กล่าวว่า ความหมายคำตรัสของอัลลอฮ์ตะอาลาที่ว่า “พวกเขาจะไม่รอคอยนอกการทรงมาของอัลเลาะฮ์ยังพวกเขา” หมายถึง “พวกเขาจะไม่รอคอยอะไรนอกจากการมาของคำบัญชาของอัลเลาะฮ์ยังพวกเขา” ตัฟซีร อัฏเฏาะบะรีย์ 4 /265
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,10385.0.html
……………………
โต๊ะครูสะติวเด้น พยายามใส่ในวงเล็บว่า “สะลัฟ” ซึ่งไม่ทราบว่าสะลัฟคนใหน และต้องการที่จะสื่อให้เห็นว่าอิบนุญะรีรยอมรับทัศนะข้างต้น ทั้งๆที่ท่านอิบนุญะรีรเองอธิบายว่า
هَلْ يَنْظُرُ الْمُكَذِّبُونَ بِمُحَمَّدٍ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَا جَاءَ بِهِ ، إِلَّا أَنْ يَأْتِيَهُمُ اللَّهُ فِي ظُلَلٍ مِنَ الْغَمَامِ وَالْمَلَائِكَةُ
บรรดาผู้ที่ปฏิเสธต่อมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และสิ่งที่เขา(มุหัมหมัด)ได้นำมันมา (ว่าเป็นเท็จ) จะไม่รอคอย นอกจากการที่อัลลอฮ์และมลาอิกะอ์จะมายังพวกเขา ในร่มเงาจากเมฆ – ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบายอายะฮที่ 210 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ
..................
ข้างต้น คือ คำอธิบายของอิบนุญะรีร ส่วนที่โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้น มาอ้าง เป็นเพียงท่านอิบนุญะรีรยกตัวอย่างการเห็นต่างในเรื่องการอ่าน ที่คำว่า “มลาอิกะฮ” แล้วท่านอิบนุญะรีร มาสรุปว่า
وَأَمَّا الَّذِي هُوَ أَوْلَى الْقِرَاءَتَيْنِ فِي : " وَالْمَلَائِكَةُ" ، فَالصَّوَابُ بِالرَّفْعِ ، عَطْفًا بِهَا عَلَى اسْمِ اللَّهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى ، عَلَى مَعْنَى : هَلْ يَنْظُرُونَ إِلَّا أَنْ يَأْتِيَهُمُ اللَّهُ فِي ظُلَلٍ مِنَ الْغَمَامِ ، وَإِلَّا أَنْ تَأْتِيَهُمُ الْمَلَائِكَةُ ، عَلَى مَا رُوِيَ عَنْ أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ ؛ لِأَنَّ اللَّهَ جَلَّ ثَنَاؤُهُ قَدْ أَخْبَرَ فِي غَيْرِ مَوْضِعٍ مِنْ كِتَابِهِ أَنَّ الْمَلَائِكَةَ تَأْتِيهِمْ ، فَقَالَ جَلَّ ثَنَاؤُهُ : ( وَجَاءَ رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفًّا صَفًّا
และสำหรับ ที่ดีกว่า ของการอ่านทั้งสอง ในคำว่า “มลาอิกะฮ” นั้น ที่ถูกต้อง อ่านรอฟอุ (ด้วยสระฏอมมะฮ) โดยการเชื่อม พระนามของอัลลอฮผู้ทรงบริสุทธิ์ ผู้ทรงสูงส่งด้วยมัน (ด้วยคำว่ามลาอิกะฮ) บนความหมายที่ว่า “พวกเขาจะไม่รอคอยนอก การที่อัลเลาะฮ์ทรงมายังพวกเขา ในร่มเงาจากเมฆ และนอกจาก การที่มลาอิกะฮ จะมายังพวกเขา ,ตามสิ่ง(หะดิษ)ที่ได้มีการรายงานจากอุบัย บิน กะอับ เพราะว่า แท้จริง อัลลอฮ ผู้ซึ่งการสรรเสริญพระองค์สูงส่งยิ่ง ได้ทรงบอกไว้ในหลายแห่งจากคัมภีร์ของพระองค์ ว่า “แท้จริงมลาอิกะฮได้มายังพวกเขาด้วย เพราะพระองค์ ผู้ซึ่งการสรรเสริญพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า (และพระเจ้าของเจ้าเสด็จมาพร้อมทั้งมะลาอิกะฮฺด้วยเป็นแถว ๆ) ดู ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบายอายะฮที่ 210 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ
………………
เพราะฉะนั้น การอ้างข้างต้นเป็นเพียงการตบตา ผู้ที่ไม่รู้ที่มาของประโยคที่นำมาอ้างเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วอิบนุญะรีรไม่ได้ตีความอายะฮข้างต้น แต่อย่างใด และไม่มีข้อความใดที่บ่งบอกว่าท่านเห็นด้วยกับการตีความอายะฮข้างต้น _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Nov 17, 2014 10:51 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตัวอย่างที่หนึ่งที่แสดงบอกว่า อิบนุกะษีรไม่เหมื่ออะกีดะฮ อะชาอีเราะฮสะติวเด้นนียะฮคือบะชิร บิน มัรวาน ได้กล่าวบทลำนำ ของ อบูมาลิก ฆอ็ยยาษ บิน เฆาษ์ ชาวอาหรับคริสเตียน ที่ว่า
قَدِ اسْتَوَى بِشْرٌ عَلَى الْعِرَاقِ * مِنْ غَيْرِ سيف ودم مهراق
บะชีร ได้ครอบครองอิรัก โดยไม่ใช้ดาบและ ไม่นองเลือด
อิหม่ามอิบนุกะษีร กล่าวว่า
وهذا البيت تستدل به الجهمية على أن الاستواء على العرش بمعنى الاستيلاء، وهذا من تحريف الكَلِم عن مواضعه، وليس في بيت هذا النصراني حجة ولا دليل على ذلك، ولا أراد الله عز وجل باستوائه على عرشه استيلاءه عليه، تعالى الله عن قول الجهمية علواً كبيراً.
นี่คือ บทกวี ที่พวกยะฮมียะฮอ้างเป็นหลักฐาน ว่า “อิสติวาอฺ อะลัลอัรชิ มีความหมายว่า “ครอบครอง และนี้คือ ส่วนหนึ่งจากการบิดเบือนคำพูดจากที่ของมัน และในบทกวี ของชาวคริสเตียนคนนี้ ไม่ใช่เหตุผลและไม่ใช่หลักฐานแสดงบอกดังกล่าว และ การสถิตของพระองค์ เหนืออะรัช อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิง ไม่ได้หมายถึง การครอบครองของพระองค์เหนือมัน ,อัลลอฮทรงบริสุทธฺ์จากคำพูดของพวกญะมียะฮ เป็นความสูงส่งอันยิ่งใหญ่ – ดู อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ เล่ม 9 หน้า 290 ............แสดงให้เห็นว่าอิบนุกะษีรไม่ได้ตีความคำว่าอิสตะวาเป็นอิสเตาลาอย่างอะชาอีเราะในปัจจุบัน
การยืนยันบรรดาดาสิฟาตอัลลอฮ ตามที่ระบุในอัลกุรอ่านและหะดิษนั้น ไม่ผิดและไม่ใช่การนำ คุณลักษณะของอัลลอฮไปเปรียบกับมัคลูค ดังที่อิบนุกะษีร (ร.ฮ) กล่าวว่า
خلق بيده الكريمة آدم أبا البشر، وصور جثته ونفخ فيه من روحه وأسجد له ملائكته
พระองค์ทรงสร้างอาดัม บิดาแห่งมนุษย์ ด้วยมือของพระองค์ , ทรงทำร่างกายของเขาให้เป็นรูปร่าง ,ทรงเป่าวิญญาณของพระองค์ ในมัน (ในร่างอาดัม) และทรงให้บรรดามลาอิกะฮของพระองค์ สุญูดแก่เขา – ดู อัลบิดะยะฮ วัลนิฮายะฮ 1/5
...........
อิบนุกะษีร ปราชญตัฟสีรอันลือชื่อ ได้อธิบายว่า อัลลอฮสร้างอาดัมด้วยมือของพระองค์ แสดงให้เห็นว่า การยืนยันตามสิ่งทีอัลลอฮบอกเอาไว้นั้น ไม่ใช่เป็นการตัชบีฮ หรือ เปรียบเทียบอัลลอฮ ว่าเหมือนมัคลูค อิบนุกะษีร ย่อมเข้าใจดีในเรื่อง อายะฮมุตะชาบิฮาต
ซึ่งท่านอิบนุ กะษีร ยืนยันว่า
{فإن الله لا يشبهه شئ من خلقه و {لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ}
بل الأمر كما قال الأئمة منهم نعيم بن حماد الخزاعي شيخ البخاري قال: من شبه الله بخلقه كفر ومن جحد ما وصف الله به نفسه فقد كفر وليس فيما وصف الله به نفسه ولا رسوله تشبيه فمن أثبت لله تعالى ما وردت به الآيات الصريحة والأخبار الصحيحة على الوجه الذي يليق بجلال الله ونفى عن الله تعالى النقائص فقد سلك سبيل الهدى
คำแปล
...(โดยแท้จริงนั้น อัลลอฮ จะไม่ถูกนำมา เปรียบกับสิ่งใด จาก สิ่งถูกสร้างของพระองค์ และจะไม่มีสิ่งใด เสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์นั้น คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็นเสมอ แต่ทว่า เรื่องนั้นคือ ตามที่ บรรดาปราชญ์แห่ง ประชาชาตินี้ได้กล่าวเอาไว้ หนึ่งในพวกเขาก็คือ ท่าน นุอัยมฺ บิน ฮัมมาด อัลคุซาอีย์ชัยคุ้ลบุคคอรี ท่านกล่าวว่า ผู้ใดที่นำเอาอัลลอฮมาเปรียบกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ เขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา(กุฟุร) และผู้ใดที่ปฎิเสธ ในสิ่งที่ อัลลอฮได้ให้คุณลักษณะ กับพระองค์เอง โดยแท้จริง เขา ได้ปฏิเสธศรัทธา(หมายถึงเป็นกาเฟร) และในสิ่งใดที่พระองค์ได้ให้คุณลักษณะของพระองค์เอาไว้ ด้วยมันหรือ รอซูลของพระองค์ (ได้ให้คุณลักษณะแก่พระองต์)ไม่ถือว่า เป็นการเปรียบเทียบ(ตัชบีฮ) ผู้ใดที่ยืนยันต่ออัลลอฮ ในสิ่งที่ปรากฏอยู่ในโองการที่ชัดเจน หะดีษที่ซอเหี๊ยะ ตามความเหมาะสม และปฎิเสธในสิ่งที่จะทำให้เกิด ความบกพร่อง แท้จริงเขาผู้นั้นกำลังดำเนินตามแนวทางที่ถูกต้อง)" ดูตัฟซีรอิบนุกะษีร ซูเราะฮ์อัลอะร๊อฟอายะฮ์ที่54
_________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Wed Dec 09, 2015 9:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Nov 17, 2014 10:53 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
คำพูดอิบนุกะษีร เกี่ยวกับอิบนุตัยมียะฮ
อิบนุกะษีร (ร.ฮ) ได้กล่าวเกี่ยวกับอาจารย์ของท่าน อิบนุตัยมียะฮว่า
وَكَانَ الْحَامِلَ عَلَى هَذِهِ الِاجْتِمَاعَاتِ كِتَابٌ وَرَدَ مِنَ السُّلْطَانِ فِي ذَلِكَ ، كَانَ الْبَاعِثَ عَلَى إِرْسَالِهِ قَاضِي الْمَالِكِيَّةِ ابْنُ مَخْلُوفٍ ، وَالشَّيْخُ نَصْرٌ الْمَنْبِجِيُّ شَيْخُ الْجَاشْنَكِيرِ ، وَغَيْرُهُمَا مِنْ أَعْدَائِهِ ، وَذَلِكَ أَنَّ الشَّيْخَ تَقِيَّ الدِّينِ ابْنَ تَيْمِيَّةَ كَانَ يَتَكَلَّمُ فِي الْمَنْبِجِيِّ ، وَيَنْسِبُهُ إِلَى اعْتِقَادِ ابْنِ عَرَبِيٍّ ، وَكَانَ لِلشَّيْخِ تَقِيِّ الدِّينِ مِنَ الْفُقَهَاءِ جَمَاعَةٌ يَحْسُدُونَهُ لِتَقَدُّمِهِ عِنْدَ الدَّوْلَةِ ، وَانْفِرَادِهِ بِالْأَمْرِ بِالْمَعْرُوفِ وَالنَّهْيِ عَنِ الْمُنْكَرِ ، وَطَاعَةِ النَّاسِ لَهُ ، وَمَحَبَّتِهِمْ لَهُ ، وَكَثْرَةِ أَتْبَاعِهِ ، وَقِيَامِهِ فِي الْحَقِّ ، وَعِلْمِهِ وَعَمَلِهِ
ซึ่งสาเหตุของการเสวนาถกเถียงกันหลายต่อหลายครั้งนี้ ก็มาจากคำสั่งของสุลต่านผู้ปกครอง โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังคืออิบนุมัคลูฟกอฎีย์มัซฮับมาลิกีย์ และเชคนัศร์อัลมันบะญีย์ เชคแห่งญาชันกีร รวมไปถึงท่านอื่นๆซึ่งเป็นอริกับอิบนุตัยมิยะฮฺ อันเนื่องมาจากเชคตะกิยุดดีน บิน ตัยมิยะฮฺ ได้กล่าววิจารณ์อัลมันบะญีย์ และกล่าวว่าท่านมีอะกีดะฮฺเช่นเดียวกับอิบนุอะเราะบีย์ เชคตะกิยุดดีน (อิบนุตัยมิยะฮฺ) นั้น มีปราชญ์ฟิกฮฺกลุ่มหนึ่งอิจฉาท่าน ด้วยความที่ท่านใกล้ชิดกับผู้ปกครอง และมีความโดดเด่นในการเชิญชวนผู้คนให้กระทำความดี และห้ามปรามพวกเขาจากความชั่ว และด้วยความที่ผู้คนเคารพรักท่าน มีผู้ชื่นชอบติดตามมากมาย และการต่อสู้ของท่านในหนทางแห่งสัจธรรม ตลอดจนความรู้และอะมั้ลของท่าน
- อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ 18/54
อิบนุกะษีร เล่าต่อไปว่า
ثُمَّ وَقَعَ بِدِمَشْقَ خَبْطٌ كَثِيرٌ وَتَشْوِيشٌ بِسَبَبِ غَيْبَةِ نَائِبِ السَّلْطَنَةِ فِي الصَّيْدِ ، وَطَلَبَ الْقَاضِي جَمَاعَةً مِنْ أَصْحَابِ الشَّيْخِ وَعَزَّرَ بَعْضَهُمْ ، ثُمَّ اتَّفَقَ أَنَّ الشَّيْخَ جَمَالَ الدِّينِ الْمِزِّيَّ الْحَافِظَ قَرَأَ فَصْلًا فِي الرَّدِّ عَلَى الْجَهْمِيَّةِ مِنْ كِتَابِ " خَلْقِ أَفْعَالِ الْعِبَادِ " لِلْبُخَارِيِّ - تَحْتَ قُبَّةِ النَّسْرِ ، بَعْدَ قِرَاءَةِ مِيعَادِ " الْبُخَارِيِّ " بِسَبَبِ الِاسْتِسْقَاءِ ، فَغَضِبَ بَعْضُ الْفُقَهَاءِ الْحَاضِرِينَ ، وَشَكَاهُ إِلَى الْقَاضِي الشَّافِعِيِّ ابْنِ صَصْرَى ، وَكَانَ عَدُوَّ الشَّيْخِ ، فَسَجَنَ الْمِزِّيَّ
หลังจากนั้นก็เกิดความวุ่นวายเป็นอย่างมากในเมืองดิมัชก์ (ดามัสกัส) อันเนื่องจากผู้ปกครองเมืองไม่อยู่ กอฎีย์ก็เรียกตัวผู้ที่นิยมเชค (อิบนุตัยมิยะฮฺ) กลุ่มหนึ่งไป แล้วก็ลงโทษบางคนจากพวกเขา ในเวลาเดียวกันนั้นท่านอัลหาฟิซเชคญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ ก็ได้ทำการสอนบทว่าด้วยการโต้พวกญะฮฺมิยะฮฺ จากหนังสืออัฟอาลุลอิบาดของบุคอรีย์ใต้โดมอันนัสร์ หลังจากที่ได้มีการอ่านเศาะฮีห์บุคอรีเพื่อขอฝน ทำให้ปราชญ์ฟิกฮฺบางคนที่อยู่ในเหตุการณ์เกิดความไม่พอใจขึ้น และนำเรื่องไปร้องเรียนต่ออิบนุเศาะเศาะรีย์กอฎีย์ชาฟิอีย์ ซึ่งเป็นอริกับเชค ท่านจึงสั่งให้ขังอัลมิซซีย์ - - อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ 18/54
อิบนุกะษีรได้เล่าต่อไปว่า
فَبَلَغَ ذَلِكَ الشَّيْخَ تَقِيَّ الدِّينِ ، فَتَأَلَّمَ لِذَلِكَ ، وَذَهَبَ إِلَى السِّجْنِ فَأَخْرَجَهُ مِنْهُ بِنَفْسِهِ ، وَرَاحَ إِلَى الْقَصْرِ فَوَجَدَ الْقَاضِيَ هُنَاكَ ، فَتَقَاوَلَا بِسَبَبِ . الشَّيْخِ جَمَالِ الدِّينِ الْمِزِّيِّ ، فَحَلَفَ ابْنُ صَصْرَى وَلَا بُدَّ أَنْ يُعِيدَهُ إِلَى السِّجْنِ ، وَإِلَّا عَزَلَ نَفْسَهُ ، فَأَمَرَ النَّائِبُ بِإِعَادَتِهِ تَطْيِيبًا لِقَلْبِ الْقَاضِي ، فَحَبَسَهُ عِنْدَهُ فِي الْقُوصِيَّةِ أَيَّامًا ثُمَّ أَطْلَقَهُ
เมื่อเชคตะกิยุดดีนทราบข่าวก็เสียใจ ท่านจึงมุ่งหน้าไปยังที่คุมขัง แล้วนำตัวอัลมิซซีย์ออกมาด้วยตัวเอง แล้วจึงมุ่งหน้าไปที่วัง ก็พบว่ากอฎีย์ท่านนั้นอยู่ที่นั่นด้วย ทั้งสองท่านจึงโต้เถียงกันเรื่องเชคญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ แล้วอิบนุเศาะเศาะรีย์ก็สาบานว่าจะต้องนำตัวอัลมิซซีย์กลับไปขังคุกให้ได้ มิเช่นนั้นจะปลดระวางตัวเอง ผู้ช่วยผู้ปกครองเมืองจึงมีคำสั่งให้นำตัวอัลมิซซีย์กลับไปคุมขังตามเดิม เพื่อเห็นแก่กอฎีย์ จึงคุมขังอัลมิซซีย์ไว้ที่อัลกูศิยะฮฺอยู่หลายวันแล้วก็ปล่อยตัวไป-
อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ 18 /54
............
เมื่อผู้ปกครองเมือง ดามัสกัสไม่อยู่ ผู้พิพากษาจอมอคติ ก็จับ ผู้รู้ที่นิยมชมชอบอิบนุตัยมียะฮ ขังคุก เมื่ออิบนุตัยมียะฮรู้ข่าว ก็ไปนำตัวออกมา ได้โต้เถียงกับ ผู้พิพากษา เรื่องที่นำ นำเช็คญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ คนของอิบนุตัยมียะฮไปขัง และต่อมาปรากฏว่า เช็คญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ ถูกนำไปขังคุกอีก เพราะ ผู้ปกครองเมืองเกรงใจ ผู้พิพากษา ...นี้คือ ควาอคติที่มีต่ออะกีดะฮที่อิบนุตัยมียะฮสอน ใครนิยมชมชอบก็หาเรื่องขังคุก เพราะเหตุนี้ท่านอิบนุตัยมียะฮเองก็ถูกใส่ร้าย เข้าๆออกคุกเป็นว่าเล่น
อิบนุกะษีร ได้เล่าต่อไปว่า
وَلَمَّا قَدِمَ نَائِبُ السَّلْطَنَةِ ذَكَرَ لَهُ الشَّيْخُ تَقِيُّ الدِّينِ مَا جَرَى فِي حَقِّهِ وَحَقِّ أَصْحَابِهِ فِي غَيْبَتِهِ ، فَتَأَلَّمَ النَّائِبُ لِذَلِكَ ، وَنَادَى فِي الْبَلَدِ أَنْ لَا يَتَكَلَّمَ أَحَدٌ فِي الْعَقَائِدِ ، وَمَنْ تَكَلَّمَ فِي ذَلِكَ حَلَّ مَالُهُ وَدَمُهُ ، وَنُهِبَتْ دَارُهُ وَحَانُوتُهُ ، فَسَكَنَتِ الْأُمُورُ
เมื่อแทนผู้ปกครองเมืองกลับมา เชคตะกิยุดดีน ก็เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวท่านและมิตรสหายของท่าน ขณะที่ผู้ปกครองไม่อยู่ ผู้แทนผู้ปกครองเมือง ได้ยินแล้วก็รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงให้ป่าวประกาศไปทั่วเมืองว่า ห้ามให้ผู้ใดพูดเรื่องอะกีดะฮฺอีก ถ้าผู้ใดพูดจะมีโทษถึงชีวิต และจะถูกยึดทรัพย์ยึดเรือนยึดร้าน เหตุการณ์จึงสงบลง -อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ 18 /54
……….
เรื่องสงบลง เพราะผู้ปกครองประกาศห้ามพูดเรื่องอะกีดะฮ ใครพูด โทษถึงประหารชีวิต นะอูซุบิลละฮ พวกมาเฟียศาสนามีอิทธิพลมากจริงๆ
คำพูดอิบนุกะษีร เกี่ยวกับอิบนุตัยมียะฮ
อิบนุกะษีร (ร.ฮ) ได้กล่าวเกี่ยวกับอาจารย์ของท่าน อิบนุตัยมียะฮว่า
وَكَانَ الْحَامِلَ عَلَى هَذِهِ الِاجْتِمَاعَاتِ كِتَابٌ وَرَدَ مِنَ السُّلْطَانِ فِي ذَلِكَ ، كَانَ الْبَاعِثَ عَلَى إِرْسَالِهِ قَاضِي الْمَالِكِيَّةِ ابْنُ مَخْلُوفٍ ، وَالشَّيْخُ نَصْرٌ الْمَنْبِجِيُّ شَيْخُ الْجَاشْنَكِيرِ ، وَغَيْرُهُمَا مِنْ أَعْدَائِهِ ، وَذَلِكَ أَنَّ الشَّيْخَ تَقِيَّ الدِّينِ ابْنَ تَيْمِيَّةَ كَانَ يَتَكَلَّمُ فِي الْمَنْبِجِيِّ ، وَيَنْسِبُهُ إِلَى اعْتِقَادِ ابْنِ عَرَبِيٍّ ، وَكَانَ لِلشَّيْخِ تَقِيِّ الدِّينِ مِنَ الْفُقَهَاءِ جَمَاعَةٌ يَحْسُدُونَهُ لِتَقَدُّمِهِ عِنْدَ الدَّوْلَةِ ، وَانْفِرَادِهِ بِالْأَمْرِ بِالْمَعْرُوفِ وَالنَّهْيِ عَنِ الْمُنْكَرِ ، وَطَاعَةِ النَّاسِ لَهُ ، وَمَحَبَّتِهِمْ لَهُ ، وَكَثْرَةِ أَتْبَاعِهِ ، وَقِيَامِهِ فِي الْحَقِّ ، وَعِلْمِهِ وَعَمَلِهِ
ซึ่งสาเหตุของการเสวนาถกเถียงกันหลายต่อหลายครั้งนี้ ก็มาจากคำสั่งของสุลต่านผู้ปกครอง โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังคืออิบนุมัคลูฟกอฎีย์มัซฮับมาลิกีย์ และเชคนัศร์อัลมันบะญีย์ เชคแห่งญาชันกีร รวมไปถึงท่านอื่นๆซึ่งเป็นอริกับอิบนุตัยมิยะฮฺ อันเนื่องมาจากเชคตะกิยุดดีน บิน ตัยมิยะฮฺ ได้กล่าววิจารณ์อัลมันบะญีย์ และกล่าวว่าท่านมีอะกีดะฮฺเช่นเดียวกับอิบนุอะเราะบีย์ เชคตะกิยุดดีน (อิบนุตัยมิยะฮฺ) นั้น มีปราชญ์ฟิกฮฺกลุ่มหนึ่งอิจฉาท่าน ด้วยความที่ท่านใกล้ชิดกับผู้ปกครอง และมีความโดดเด่นในการเชิญชวนผู้คนให้กระทำความดี และห้ามปรามพวกเขาจากความชั่ว และด้วยความที่ผู้คนเคารพรักท่าน มีผู้ชื่นชอบติดตามมากมาย และการต่อสู้ของท่านในหนทางแห่งสัจธรรม ตลอดจนความรู้และอะมั้ลของท่าน
- อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ 18/54
อิบนุกะษีร เล่าต่อไปว่า
ثُمَّ وَقَعَ بِدِمَشْقَ خَبْطٌ كَثِيرٌ وَتَشْوِيشٌ بِسَبَبِ غَيْبَةِ نَائِبِ السَّلْطَنَةِ فِي الصَّيْدِ ، وَطَلَبَ الْقَاضِي جَمَاعَةً مِنْ أَصْحَابِ الشَّيْخِ وَعَزَّرَ بَعْضَهُمْ ، ثُمَّ اتَّفَقَ أَنَّ الشَّيْخَ جَمَالَ الدِّينِ الْمِزِّيَّ الْحَافِظَ قَرَأَ فَصْلًا فِي الرَّدِّ عَلَى الْجَهْمِيَّةِ مِنْ كِتَابِ " خَلْقِ أَفْعَالِ الْعِبَادِ " لِلْبُخَارِيِّ - تَحْتَ قُبَّةِ النَّسْرِ ، بَعْدَ قِرَاءَةِ مِيعَادِ " الْبُخَارِيِّ " بِسَبَبِ الِاسْتِسْقَاءِ ، فَغَضِبَ بَعْضُ الْفُقَهَاءِ الْحَاضِرِينَ ، وَشَكَاهُ إِلَى الْقَاضِي الشَّافِعِيِّ ابْنِ صَصْرَى ، وَكَانَ عَدُوَّ الشَّيْخِ ، فَسَجَنَ الْمِزِّيَّ
หลังจากนั้นก็เกิดความวุ่นวายเป็นอย่างมากในเมืองดิมัชก์ (ดามัสกัส) อันเนื่องจากผู้ปกครองเมืองไม่อยู่ กอฎีย์ก็เรียกตัวผู้ที่นิยมเชค (อิบนุตัยมิยะฮฺ) กลุ่มหนึ่งไป แล้วก็ลงโทษบางคนจากพวกเขา ในเวลาเดียวกันนั้นท่านอัลหาฟิซเชคญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ ก็ได้ทำการสอนบทว่าด้วยการโต้พวกญะฮฺมิยะฮฺ จากหนังสืออัฟอาลุลอิบาดของบุคอรีย์ใต้โดมอันนัสร์ หลังจากที่ได้มีการอ่านเศาะฮีห์บุคอรีเพื่อขอฝน ทำให้ปราชญ์ฟิกฮฺบางคนที่อยู่ในเหตุการณ์เกิดความไม่พอใจขึ้น และนำเรื่องไปร้องเรียนต่ออิบนุเศาะเศาะรีย์กอฎีย์ชาฟิอีย์ ซึ่งเป็นอริกับเชค ท่านจึงสั่งให้ขังอัลมิซซีย์ - - อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ 18/54
_________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Nov 21, 2014 11:22 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อิหม่ามอัชชันกิฏีย์ กล่าวว่า
قَوْلُهُ تَعَالَى فِي هَذِهِ الْآيَةِ الْكَرِيمَةِ : بَنَيْنَاهَا بِأَيْدٍ ، لَيْسَ مِنْ آيَاتِ الصِّفَاتِ الْمَعْرُوفَةِ بِهَذَا الِاسْمِ ، لِأَنَّ قَوْلَهُ : بِأَيْدٍ لَيْسَ جَمْعَ يَدٍ : وَإِنَّمَا الْأَيْدُ الْقُوَّةُ
คำตรัสของพระองค์ผู้ทรงสูงส่ง ในอายะฮ อันทรงเกียรตินี้ คือ
بَنَيْنَاهَا بِأَيْدٍ
ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากอายาตสิฟาต ที่เป็นที่รู้กัน ด้วยคำนามนี้ เพราะ คำว่า “บิอัยดิน” ไม่ใช่เป็นพหูพจน์ของ ยะดิน (มือ) ความจริง คำว่า “อัลอัยดุ หมายถึง พลัง – ดู ตัฟสีร อัฎวาอุลบะยาน อธิบายซูเราะฮอัซซาริยาต อายะฮที่ ๔๗
เพราะฉะนั้น มุญาฮิด เกาะตาดะฮ และอัษเษารีย์ ไม่ได้ตีความ แต่ เขาอธิบายความหมายคำศัพท์เท่านั้นเอง _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|