ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - การนำหะดิษเฏาะอีฟมาอ้างอิงในเรื่องคุณค่าของอะมั้ล
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
การนำหะดิษเฏาะอีฟมาอ้างอิงในเรื่องคุณค่าของอะมั้ล

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Apr 04, 2012 12:46 pm    ชื่อกระทู้: การนำหะดิษเฏาะอีฟมาอ้างอิงในเรื่องคุณค่าของอะมั้ล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1.ท่านญะมาลุดดีน อัลกอสีมีย์บอกว่า

إعلم أنَّ هناك جماعة من الأئمة لا يرونَ العمل بالحديث الضعيف مُطلقاً كابن معين والبخاري ومسلم وأبي بكر بن العربي وإبن حزم

โปรดรู้ไว้เถิดว่า แท้จริง ณ ที่นี้ คณะหนึ่งจากบรรดาอิหม่าม(นักวิชาการหะดิษระดับแนวหน้า) พวกเขาไม่เห็นด้วยต่อการนำหะดิษเฎาะอีฟมาปฏิบัติโดยสิ้นเชิง เช่น อิบนุมุอีน, อัลบุคอรี,มุสลิม ,อบีบักร อัลอะเราะบี และอิบนุหัซมิน – ดูเกาะวาอีดอัตตะดิษ หน้า 113
-อินชาอัลลอฮมีต่อ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Apr 04, 2012 2:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. อัลมุหัษดิษ มุหัมหมัดชากีร กล่าวว่า

”والذي أراه أنَّ بيان الضعف في الحديث واجب على كل حال ، ولا فرق بين الأحكام وبين فضائل الأعمال ونحوها في عدم الأخذ بالرواية الضعيفة ، بل لا حُجة لأحد إلا بما صح عن رسول الله من حديث صحيح أو حسن

และที่ข้าพเจ้าเห็นด้วยคือ แท้จริง การอธิบายการเฎาะอีฟในหะดิษเป็นสิ่งจำเป็น ในทุกๆสถานการณ์ และไม่ได้แบ่งแยกระหว่าง เรื่องที่เกี่ยวกับหุกุม และระหว่างเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าของอะมั้ล และในทำนองนั้น ในการที่จะไม่นำรายงานที่เฎาะอีฟ มาเป็นหลักฐาน ในทางกลับกัน ไม่มีการอ้างหลักฐาน สำหรับคนใดคนหนึ่ง นอกจาก ด้วยสิ่งที่เศาะเฮียะ จากรซูลุลลอฮ จากหะดิษเศาะเฮียะ หรือ หะดิษหะซัน – อัลบาอีษอัลหะษีษ หน้า 101

3. อัลลามะฮ อัลกะนาวีย์ กล่าวว่า

ويُحرم التساهل في (الحديث الضعيف) سواءً كان في الأحكام أو القصص أو الترغيب أو الترهيب أو غير ذالك“

ห้ามไม่ให้มักง่ายในเรืองหะดิษเฎาะอีฟ ไม่ว่าในเรื่องบรรดาหุกุม หรือ เรื่องราวต่างๆ หรือ เกี่ยวกับการส่งเสริมความดี หรือ หรือเตือนสิ่งที่ไม่ดี หรืออื่นจากนั้น – อัลอะษารอัลมัรฟูอะฮ ฟิลอัคบารอัลเมาฎูอะฮ หน้า 21

-คำว่าห้ามไม่ให้มักง่ายหมายถึง ให้มีความรอบคอบในเรื่องหะดิษเฎาะอีฟ อย่ามักงายนำมาอ้างหลักฐาน

3. หาฟิซอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า

”تجوز رواية الحديث الضعيف إن كان بهذا الشرطين : ألا يكون فيه حكم ، وأن تشهد له الأصول

อนุญาตให้รายงานหะดิษเฎาะอีฟ หากมันมีสองเงื่อนไขนี้คือ จะต้องไม่เป็นหุกุมในมัน และจะต้องมีรากฐานมาสนับสนุนมัน – อัลอิศอบะฮ ฟีตัมญีซเศาะหาบะฮ เล่ม 5 หน้า 69
0
- หมายถึง ไม่นำหะดิษนั้นมาอ้างอิงด้านหุกุม เช่น วญิบ ,สุนัต หรือ หะรอมเป็นต้น และจะต้องมีหะดิษที่เศาะเฮียะที่เป็นหลักอยู่แล้วมาสนับสนุน กล่าวคือ เรื่องนั้นมีหะดิษเศาะเฮียะอยู่แล้ว

4. อัลลามะฮ ฏอฮีร อัลญะซาอิรีย์ อัดดัมชะกีย์ กล่าวว่า

وقال العلامة طاهر الجزائري الدمشقي ”الظاهر أنه يلزم بيان ضِعف الضعيف الوارد في الفضائل ونحوها كي لا يُعتقد ثبوته في نفس الأمر ، مع أنه رُبما كان غير ثابت في نفس الأمر
ที่ปรากฏชัดเจนคือ จำเป็นจะต้องชี้แจงการเฎาะอีฟของหะดิษ ที่รายงานในเรื่องหะดิษเฎาะอีฟและในทำนองนั้น เพื่อว่า การรับรองมันจะได้ไม่ถูกเชื่อมั่นว่า ตรงกับความเป็นจริง ทั้งๆที่บางที่ ตามความเป็นจริงแล้ว มัน(เป็นหะดิษ)ไม่แน่นอน – เตาญีฮุลนัซริ อิลาอุศูลิลอะษัร เล่ม 2 หน้า 238

- คือ นำหะดิษเฎาะอีฟมาใช้ในคุณค่าอะมั้ลได้ แต่อย่ามันใจว่าเป็นหะดิษที่แน่นอน

5. เช็คดอ็กเตอร์ สะอีด บิน วะฮฟี อัลเกาะฏอนีย กล่าวว่า


الراجح من أقوال أهل العلم بطلان العمل بالحديث الضعيف لا في فضائل الأعمال ولا في غيرها“

ที่มีน้ำหนักจากบรรดาคำพูดของนักวิชาการ คื่อ การปฏิบัติด้วยหะดิษเฎาะอีฟนั้น เป็นโมฆะ ไม่ว่าในเรื่องคุณค่าอะมั้ลหรือ ในเรื่อง อื่นจากมัน – มุกอ็ดดิมะฮหุศนัลมุสลิม หน้า 6

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 29, 2014 1:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




อบูบักร บิน อัลอะเราะบีย์ กล่าวว่า


بعدم جواز العمل بالحديث الضعيف مطلقاً لا في فضائل الأعمال ولا في غيرها


ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามหะดิษเฏาะอีฟ โดยสิ้นเชิง ไม่อนุญาตในเรื่อง ฟะฎออิลุ้ลอะอฺม้าล และไม่อนุญาตในเรื่องอื่นจากนั้น – ตัดรีบุดรอวีย์ เล่ม 1 หน้า 252


ท่านอัลบานีย์ ก็ได้ถือตามทัศนะนี้ – ดู เศาะเฮียะ อัตตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ ในคำนำ เล่ม 1 หน้า 47-68

ตัวอย่างหะดิษเฎาะอีฟ


من صلى بين المغرب والعشاء عشرين ركعة، بنى الله له بيتاً في الجنة “


ผู้ใดละหมาดระหว่าง (ละหมาด)มัฆริบ และ อีชา 20 เราะกาอัต อัลลอฮทรงสร้างบ้านให้แก่เขาในสวรรค์ – บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ด้วยสายสืบที่เฎาะอีฟ


هذا الحديث في فضائل الأعمال، والفضل هنا قوله (بنى الله له بيتاً في الجنة) هذا الفضل لا يجوز إيراده لأن أصل العمل وهو صلاة عشرين ركعة بين المغرب والعشاء لم يثبت بدليل صحيح أو حسن، فلا يجوز حينئذ أن يورد حديث ضعيف في فضله


หะดิษนี้ เกี่ยวกับเรื่อง ?ฟะฎออิลุ้ลอะอฺม้าล?(= ความประเสริฐของอะมั้ลอิบาดะฮ) فضائل الأعمال، ) คำว่า ?ความประเสริฐ ในที่นี้คือ ถ้อยคำที่ว่า ?อัลลอฮทรงสร้างบ้านให้แก่เขาในสวรรค์ ?(بنى الله له بيتاً في الجنة ความประเสริฐในที่นี้ คือ?(بنى الله له بيتاً في الجنة ไม่อนุญาตให้รายงาน เพราะต้นเรื่องของ อะมั้ล (สิ่งที่ปฏิบัติ)คือ من صلى بين المغرب والعشاء عشرين ركعة ? (ผู้ใดละหมาดระหว่าง (ละหมาด)มัฆริบ และ อีชา 20 เราะ) ไม่ปรากฏหลักฐานที่เศาะเฮียะ หรือ หะซัน รับรองไว้ ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้รายงาน หะดิษเฎาะอีฟ ที่ระบุเกี่ยวกับความประเสริฐของมัน

เช่น การอ่านตัลกีน เป็นรูปแบบอิบาดะฮ ที่ มีคนบอกว่า เป็นสุนัต การกระทำที่มีหุกุมว่า เป็นสุนัต ต้องมีหะดิษรับรองไว้

ส่วนคำว่า فضائل الأعمال หมายถึงหะดิษที่กล่าวถึงความประเสริฐ ภาคผลของการกระทำนั้น

ท่านฮาฟิซอิบนุหะญัร ได้อธิบายถึงเงื่อนไขของการอนุญาตการนำหะดิษเฏาะอีฟมาใช้ว่า


1- أن يكون الضعف غير شديد ، فلا يعمل بحديث انفرد به أحدٌ من الكذابين أو المتهمين بالكذب أو من فحش غلطه .


2- أن يندرج تحت أصل معمول به .


3- ألا يعتقد عند العمل به ثبوته ، بل يعتقد الاحتياط .


1. ไม่เฎาะอีฟจนเกินไป ดังนั้น ไม่ปฎิบัติตามหะดิษ ที่คนคนเดียวรายงาน จากบรรดาผู้ที่โกหก หรือถูกกล่าวหาว่าโกหก หรือ มีความผิดพลาดอย่างน่าเกลียดของเขา

2. (หะดิษเฎาะอีฟนั้น)อยู่ภายใต้หะดิษหลักที่ถูกนำมาปฏิบัติอยู่แล้ว

3. ในขณะปฏิบัติ เขาจะไม่เชื่อ ถึงความแน่นอนของหะดิษ แต่ให้เชื่อในลักษณะเผื่อไว้เท่านั้น(หรือป้องกันไว้ก่อน )

หะดิษเฏาะอีฟ เป็นหะดิษที่คาดเดาเอาไว้เท่านั้น ขาดความแน่นอน อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตาอาลากล่าวว่า

وَإِنَّ الظَّنَّ لَا يُغْنِي مِنَ الْحَقِّ شَيْئاً

และแท้จริงการคาดคะเนนั้นจะไม่อำนวยประโยชน์อันใดแก่ความจริงได้

ท่านนบี ศฮลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


“إياكم والظن فإن الظن أكذب الحديث

พวกท่านพึงระวัง การคาดคะเน แท้จริงการคาดคะเนนั้น เป็นคำพูดที่โกหก – มุตตะฟักอะลัญฮิ

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

من حدث عني بحديث يرى أنه كذب فهو أحد الكاذبين

ผู้ใดรายงานจากข้าพเจ้า ด้วยหะดิษ ที่เขาเห็นว่า โกหก ดังนั้น เขาคือ คนหนึ่งในบรรดาผู้ที่โกหก ?รายงานโดย มุสลิม

อิหม่ามอิบนุหิบบาน กล่าวว่า


في هذا الخبر دليل على أن المحدث إذا روى ما لم يصح عن النبي مما تقول عليه وهو يعلم ذلك يكون كأحد الكاذبين ، على أن ظاهر الخبر ما هو أشد ، قال صلى الله عليه وآله : ((من روى عني حديثا وهو يرى أنه كذب …)) ولم يقل : إنه تيقن أنه كذب ، فكل شاك فيما يروي أنه صحيح أو غير صحيح داخل في ظاهر خطاب هذا الخبر


ในหะดิษนี้ แสดงบอกให้รู้ว่า แท้จริง ผู้ที่ รายงานหะดิษนั้น เมื่อเขารายงานสิ่ง ที่ไม่เศาะเฮียะ จากท่านนบี จากสิ่งที่เขาอุปโลกน์ขึ้นมาบนมัน โดยที่เขารู้ ดังกล่าวนั้น เขาก็เป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้ที่โกหก (แสดงให้รู้ว่า) แท้จริง ความหมายที่ปรากฏของหะดิษนั้น คือ สิ่งที่รุนแรงกว่า, ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ผู้ใดรายงานจากข้าพเจ้า ด้วยหะดิษ ที่เขาเห็นว่า โกหก ดังนั้น เขาคือ คนหนึ่งในบรรดาผู้ที่โกหก ) ,ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้กล่าวว่า ?แท้จริง เขาเชื่อมั่นว่ามันโกหก ดังนั้น ทุกๆการสงสัย ในสิ่งที่เขารายงานว่ามัน เศาะเฮียะ หรือ ไม่เศาะเฮียะ ก็เขาอยู่ในความหมายที่ปรากฏของการกล่าวของหะดิษนี้ – อัฎ-ฎุอาฟาอฺ เล่ม 1 หน้า 7-8

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

كفى بالمرء كذبا أن يحدث بكل ما سمع

พอเพียงแล้วที่จะได้ชื่อว่า เป็นคนโกหก คือ การที่เขา รายงานด้วยทุกสิ่งที่ได้ยินมา ? รายงานโดยมุสลิม

และอิบนุหิบบาน ได้กล่าวในหนังสือของท่านเล่มเดียวกัน หน้าที่ 9 ว่า

في هذا الخبر زجر للمرء أن يحدث بكل ما سمع حتى يعلم علم اليقين صحته

ในหะดิษนี้ คือ การสัมทับ(เตื่อนให้ระวัง) แก่บุคคล ว่า อย่ารายงานทุกสิ่งที่เขาได้ยินมา จนกว่าจะรู้อย่างแน่ใจว่า มันถูกต้อง(เศาะเฮียะ)

……………


จึงสรุปว่า หะดิษเศาะเฮียะ ปลอดไปที่สุด โดยประการทั้งปวง

ท่านอัลลามะฮ อะหมัด ชากิร กล่าวว่า


لا فرقَ بين الأحكام وبين فضائل الأعمال ونحوها في عدم الأخذ بالرواية الضعيفة ، بل لا حجةَ لأحدٍ إلا بما صحَّ عن رسول الله صلى الله عليه وسلم من حديث صحيحٍ أو حسنٍ

ไม่มีการแบ่งแยก ระหว่างเรื่องหุกุม (ว่าด้วยกฎข้อบังคับของศาสนา) และ ระหว่าง เรื่อง ความประเสริฐ ของบรรดาการงาน(ฟะฏออิลุ้ลอะอฺม้าล) และในทำนองนั้น ในการที่ไม่อนุญาตให้ยึดเอารายงานที่เฏาะอีฟ แต่ตรงกันข้าม ไม่อนุญาตให้บุคคลใด อ้างอิงหลักฐาน นอกจากด้วย สิ่งที่เศาะเฮียะ จากท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากหะดิษเศาะเฮียะ หรือ หะดิษหะซัน

- อัลบาอิษุลหะษีษ เล่ม 1 หน้า 278

การนำหะดิษเฎาะอีฟมาอ้างนั้น หนีไม่พ้น การคาดเดา หรือ เดาสุ่มเอา การปฎิบัติในสิ่งที่ไม่แน่นอน หรือ คาดคะเนเอาเองนั้น ศาสนาห้าม ดังหลักฐานที่ได้ระบุแล้วคือ


وَإِنَّ الظَّنَّ لَا يُغْنِي مِنَ الْحَقِّ شَيْئاً


และแท้จริงการคาดคะเนนั้นจะไม่อำนวยประโยชน์อันใดแก่ความจริงได้

ท่านนบี ศฮลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


“إياكم والظن فإن الظن أكذب الحديث


พวกท่านพึงระวัง การคาดคะเน แท้จริงการคาดคะเนนั้น เป็นคำพูดที่โกหก ? มุตตะฟักอะลัญฮิ

การห้ามปฏิบัติตาม การคาดเดา ไม่ว่า ในเรื่องของอะกีดะฮ(หลักศรัทธา) หรือ หลักการอิบาดาต นั้น ย่อมไม่แตกต่าง

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


من كذب علي متعمداً فليتبوأ مقعده من النار”


ผู้ใด อุปโลกห์เรื่องเท็จให้แก่ข้าพเจ้า โดยเจตนา ดังนั้น เขาจงเตรียมที่อยู่ของเขา จากนรก

(رواه أحمد وأصحاب السنن الستة وغيرهم)


عن سلمة بن الأكوع قال : سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول ( من تقول عليّ مالم أقل ، فليتبوأ مقعده في النار

รายงานจากสะละมะฮ บุตร อัลอักวะฮฺ กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ได้ยินท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

“ผู้ใดอุปโลกน์คำพูดให้แก่ฉัน สิ่งซึ่งฉันไม่ได้พูดไว้ ดังนั้น เขาจงเตรียมที่อยู่ในนรก * รายงานโดย บุคอรี


ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

( من كذب عليّ متعمدا فليتبوأ مقعده من النار

ผู้ใดกล่าวคำเท็จให้แก่ฉัน โดยเจตนา ดังนั้น เขาจงเตรียมที่อยู่ จากนรก – รายงานโดยบุคอรี และอบูดาวูด

………..

ดังนั้น การเอาหะดิษเฎาะอีฟ มาเป็นหลักฐาน โดยกล่าวว่า ท่านนบีกล่าวว่า…..อย่างนั้น อย่างนี้ .ซึ่งเป็นคาดเดาว่าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ แล้วถ้าท่านนบี ไม่ได้กล่าวไว้ เขาก็อาจจะอยู่ในข่ายความผิดอุปโลกน์สิ่งเท็จแก่ท่านนบีได้

อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


قال العلماء ينبغى لمن أراد رواية حديث أو ذكره أن ينظر فان كان صحيحا أو حسنا قال رسول الله صلى الله عليه وسلم كذا أو فعله أو نحو ذلك من صيغ الجزم وان كان ضعيفا فلا يقل قال أو فعل أو أمر أو نهى وشبه ذلك من صيغ الجزم بل يقول روى عنه كذا أو جاء عنه كذا أو يروى أو يذكر أو يحكى أو يقال أوبلغنا وما أشبهه والله سبحانه أعلم

บรรดานักวิชาการ ได้กล่าวว่า สมควรให้ผู้ที่ต้องการรายงานหะดิษ หรือ ระบุหะดิษ ให้เขาพิจารณา แล้วถ้าหากมันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ หรือเป็น หะดิษฮะซัน (ก็ให้กล่าว) ว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือในทำนองนั้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น และถ้าหากว่ามันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ากล่าวว่า ?ท่านรอซูลกล่าวว่า หรือได้ทำ หรือ ได้สั่งว่า หรือได้ห้ามว่า เป็นต้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น แต่ให้กล่าวว่า ?ได้มีรายงานจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ มาจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ได้มีรายงาน หรือ ได้มีการระบุว่า หรือได้มีการเล่าว่า หรือ มีผู้กล่าวว่า หรือ ได้มีรายงานถึงมายังเรา เป็นต้น ? วัลลอฮุซุบฮานะฮู อะอฺลัม

- เศาะเฮียะมุสลิม เล่ม 1 หน้า 71

……………………………….

สรุปว่า ถ้าเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ายืนยันว่า นบีพูด นบีทำ แต่ให้เลี่ยงไปกล่าว ด้วยถ้อยคำว่า มีรายงานว่า ,มีผูกล่าวว่า เป็นต้น นี้คือ การยึดถือปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มั่นใจ อย่างเห็นได้ชัด

อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


قال العلماء من المحدثين والفقهاء وغيرهم: يجوز ويستحب العمل في الفضائل والترغيب والترهيب بالحديث الضعيف، ما لم يكن موضوعا، وأما الأحكام كالحلال والحرام والبيع والنكاح والطلاق وغير ذلك فلا يعمل فيها إلا بالحديث الصحيح أو الحسن إلا أن يكون في احتياط في شيء من ذلك

บรรดานักวิชาการหะดิษและฟิกฮ และอื่นจากพวกเขากล่าวว่า ?อนุญาตและชอบให้ปฏิบัติ ในเรื่องคุณค่าอะมั้ล ,ตัรฆีบ(ส่งเสริมให้ทำความดี)และตัรฮีบ (เตือนไม่ให้ทำชั่ว) ด้วยหะดิษเฎาะอีฟ ตราบใดที่มันไม่ได้เป็นหะดิษเมาฎัวะ (หะดิษปลอม) และสำหรับเรื่อง กฎข้อบังคับต่างๆ เช่น การอนุมัติ,การห้าม ,การซื้อขาย,การสมรส ,การหย่าร้าง และอื่นจากนั้น จะปฏิบัติด้วยมัน(หะดิษเฏาะอีฟ)ไม่ได้ นอกจากด้วยหะดิษ เศาะเฮียะ หรือหะดิษหะซันเท่านั้น ยกเว้น ในกรณีเผื่อไว้เพื่อป้องกันความผิดพลาด ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากดังกล่าวนั้น ? อัลอัซกัร หน้า 7-8

ท่านอัสสะคอวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


وقد سمعت شيخنا رحمه الله ?يعني الحافظ ابن حجر العسقلاني- يقول، وكتب لي بخطِّه: إنَّ شرائط العمل بالضَّعيف ثلاثة:

الأوَّل: متَّفق عليه أن يكون الضَّعف غير شديد، فيخرج من انفرد من الكذَّابين والمتَّهمين بالكذب ومن فحش غلطه.

الثَّاني: أن يكون مندرجاً تحت أصل عام، فيخرج ما يخترع، بحيث لا يكون له أصل أصلاً.

الثَّالث: أن لا يعتقد عند العمل به ثبوته؛ لئلاَّ يُنسَبَ إلى النَّبيِّ , ما لم يقله


ข้าพเจ้าได้ยินอาจารย์ของข้าพเจ้า (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ? หมายถึง อัลฮาฟิซอิบนะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้กล่าว และบันทึกด้วยลายมือของท่านให้แก่ข้าพเจ้า ว่า ?แท้จริงเงื่อนไขของการปฏิบัติด้วยหะดิษเฏาะอีฟ นั้น มี 3 ประการคือ

1. เป็นหะดิษที่ได้รับการเห็นฟ้องกันว่า ไม่เป็นเฏาะอีฟที่รุนแรง ดังนั้น ผู้ที่รายงานเพียงคนเดียว จากผู้ที่ชอบโกหก และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า โกหก และผู้ที่การผิดพลาดของเขา(ในการรายงานหะดิษ)น่าเกลียดมาก ไม่เข้าอยู่ในเงื่อนไขนี้

2. เป็นหะดิษที่อยู่ภายใต้ รากฐานทั่วไป(ที่มีอยู่แล้ว) ดังนั้น สิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาทีหลัง โดยที่มันไม่มีรากฐาน มาแต่เดิม จึงไม่เข้า อยู่ในเงื่อนไขข้อนี้

3. ในขณะที่นำมันมาปฏิบัติ ก็อย่าได้เชื่อว่า มันมีความแน่นอน เพื่อจะได้ไม่อ้างอิงถึงท่านนบี ในสิ่งที่ท่านไม่ได้พูด

- ดู อัลเกาลุ้ลบะเดียะ หน้า 258

………………………

นี่ก็เห็นได้ชัดว่า เมื่ออ้างอิงหะดิษเฏาะอีฟ ก็อย่าได้มั่นใจ นบีเป็นผู้กล่าว เพราะเกรงว่า จะกลายเป็นคนที่กล่าวเรื่องเท็จให้แก่นบี แล้วเราจะเอาหะดิษมาอ้างทำไม มันเสี่ยงอย่างเห็นได้ชัด แปลกจริงๆ

………………….

สรุปว่า ถ้าเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ายืนยันว่า นบีพูด นบีทำ แต่ให้เลี่ยงไปกล่าว ด้วยถ้อยคำว่า มีรายงานว่า ,มีผูกล่าวว่า เป็นต้น นี้คือ การยึดถือปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มั่นใจ อย่างเห็นได้ชัด

หลักฐานจากอัลกุรอ่าน เรียกว่า ดาลีลุลกอฏอีย์ คือหลักฐานเด็ดขาด

หลักฐานจากอัลหะดิษ เรียกว่า ดาลีลุลซอ็นนัย์ คือหลักฐานอนุมาน คือ การให้น้ำหนักไปในทางมั่นใจ

เมื่อหะดิษนั้น ผ่านการกลั่นกลอง สายรายงาน แคณสมบัติผู้รายงาน จึงจัดไว้ให้เป็นหมาดหมู่ คือ

1. เศาะเฮียะ หมายถึงอยู่ในระดับที่ถูกต้อง

2. หะซัน หมายถึงอยู่ในระดับที่ดี

3. เฏาะอีฟ หมายถึง อยู่ในระดับที่อ่อนหลักฐาน

หลักฐานซอ็นนีย์ ที่อยู่ในระดับ เศาะเฮียะ และหะซัน ใคร บอกว่ายังฟันธงไม่ได้ ผมอยากจะถามว่า “แล้วหะดิษเฏาะอีฟ” จะเหลืออะไรล่ะครับ

ถ้าคุณศึกษาแบบใช้ปัญญาพิจารณา คุณลองถามตัวเองหน่อยเป็นไรว่า ” ขนาดตอนรายงาน ก็ไม่กล้าที่จะกล่าวว่า “ท่านนบี พูด แล้วคุณนำมันมาปฏิบัติได้อย่างไร เช่นคำพูดของอิหม่ามนะวาวีย์ ดังที่เคยอ้างมาแล้ว

อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


قال العلماء ينبغى لمن أراد رواية حديث أو ذكره أن ينظر فان كان صحيحا أو حسنا قال رسول الله صلى الله عليه وسلم كذا أو فعله أو نحو ذلك من صيغ الجزم وان كان ضعيفا فلا يقل قال أو فعل أو أمر أو نهى وشبه ذلك من صيغ الجزم بل يقول روى عنه كذا أو جاء عنه كذا أو يروى أو يذكر أو يحكى أو يقال أوبلغنا وما أشبهه والله سبحانه أعلم



บรรดานักวิชาการ ได้กล่าวว่า สมควรให้ผู้ที่ต้องการรายงานหะดิษ หรือ ระบุหะดิษ ให้เขาพิจารณา แล้วถ้าหากมันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ หรือเป็น หะดิษฮะซัน (ก็ให้กล่าว) ว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือในทำนองนั้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น และถ้าหากว่ามันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ากล่าวว่า ?ท่านรอซูลกล่าวว่า หรือได้ทำ หรือ ได้สั่งว่า หรือได้ห้ามว่า เป็นต้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น แต่ให้กล่าวว่า ?ได้มีรายงานจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ มาจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ได้มีรายงาน หรือ ได้มีการระบุว่า หรือได้มีการเล่าว่า หรือ มีผู้กล่าวว่า หรือ ได้มีรายงานถึงมายังเรา เป็นต้น ? วัลลอฮุซุบฮานะฮู อะอฺลัม

- เศาะเฮียะมุสลิม เล่ม 1 หน้า 71

ท่านอัลบานีย์จึงกล่าวว่า



قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: “اتقوا الحديث عني إلا ما علمتم” فإذا نهي عن رواية الحديث الضعيف فبالأحرى العمل به،


ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะยฮิวะสัลลัม ดกล่าวว่า “พวกท่านพึงระวังหะดิษที่รายงานจากฉัน เว้นแต่สิ่งที่พวกท่านรู้” แล้ว เมื่อท่านได้ห้ามรายงานหะดิษเฏาะอีฟ การนำมัน(หะดิษเฎาะอีฟ)มาปฏิบัติ ย่อม(ไม่สมควร)ยิ่งไปกว่านั้นอีก

- สิฟะติเศาะลาตินนบี ฯ หน้า 7

ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์เอง กล่าวว่า


إذا صح الحديث فهو مذهبي، وإذا صح الحديث فاضربوا بقولي عرض الحائط


เมื่อหะดิษเศาะเฮียะ มันคือ แนวทางของฉัน และเมื่อหะดิษเศาะเฮียะ ดังนั้นจงขว้างคำพูดของข้าพเจ้า ไปที่ผนังกำแพง – สิยะรุ้ลอะอ์ลามุ้ลนุบะลาอ เล่ม 10 หน้า 47

และอิหม่ามชาฟิอีย์ กล่าวอีกว่า


إذا صح الحديث عن النبي صلى الله عليه وسلم وقلت أنا قولا فأنا راجع عن قولي وقائل بذلك


เมื่อหะดิษเศาะเฮีย จากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยที่ข้าพเจ้าเองได้กล่าว(ขัดแย้งกับหะดิษ) ดังนั้นข้าพเจ้า ขอคืนคำ และปฏิบัติตามหะดิษนั้น

สิยะรุ้ลอะอ์ลามุ้ลนุบะลาอ เล่ม 9 หน้า 107

แต่คนที่อ้างว่า ตามมัซฮับชาฟิอีย์ กลับปกป้องหะดิษเฎาะอีฟ แบบหัวชนฝา

ท่านมุหัมหมัด บุตร สิรีน กล่าวว่า


إنَّ هذا العلمَ دينٌ، فانظُروا عمن تأخذون دينكم


แท้จริง นี้คือ ความรู้ ศาสนา ดังนั้น พวกท่านจงพิจารณา จากผู้ที่พวกท่าน เอาศาสนาของพวกท่าน – คำนำเศาะเฮียะมุสลิม เล่ม 1 หน้า 13


العلم المقصود هو: حديث النبي صلى الله عليه وسلم ، فلا يؤخذ إلا عن الثقات الأثبات، أهل الصدق و الأمانة

คำว่า “ความรู้ในที่นี้ หมายถึง หะดิษของท่านนบี สอ็ลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้น จงอย่าเอา เว้นแต่ จากรายงานที่เชื่อถือได้ แน่นอน คือ ผู้ที่มีสัจจะ และมี่ความซื่อสัตย์


عن أبي قتادة رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم ;إياكم و كثرة الحديث عني، مَنْ قال عليَّ فلايقولَنَّ إلاَّحقاً أو صدقاً،فمن قال عليَّ مالم أقل فليتبوَّأْ مقعدَه من النار


จากอบีเกาะตาดะฮ (ร.ฏ) กล่าวว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ สอ็ลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า” พวกท่านพึงระวัง การรายงานหะดิษจากฉันจำนวนมาก ,ผู้ใดกล่าวพาดพิงถึงฉัน เขาก็จงอย่ากล่าว นอกจาก ความถูกต้องหรือ ความจริง ดังนั้น ผู้ใดกล่าวอ้างให้แก่ฉัน สิ่งซี่งฉันไม่ได้กล่าว เขาจงเตรียมที่อยู่ในนรก

رواه أحمد (5/297) وغيره

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.10 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ