ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 15, 16, 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 05, 2014 9:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เป็นหะดิษที่บอกกี่ยวกับสัญญานวันกิยามะฮ

عن أبي هريرة
أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال لا تقوم الساعة حتى تقتتل فئتان عظيمتان يكون بينهما مقتلة عظيمة دعوتهما واحدة وحتى يبعث دجالون كذابون قريب من ثلاثين كلهم يزعم أنه رسول الله وحتى يقبض العلم وتكثر الزلازل ويتقارب الزمان وتظهر الفتن ويكثر الهرج وهو القتل وحتى يكثر فيكم المال فيفيض حتى يهم رب المال من يقبل صدقته وحتى يعرضه عليه فيقول الذي يعرضه عليه لا أرب لي به وحتى يتطاول الناس في البنيان وحتى يمر الرجل بقبر الرجل فيقول يا ليتني مكانه وحتى تطلع الشمس من مغربها فإذا طلعت ورآها الناس يعني آمنوا أجمعون فذلك حين
لا ينفع نفسا إيمانها لم تكن آمنت من قبل أو كسبت في إيمانها خيرا

อบูฮุร็อยเราะฮฺรายงานว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอฺะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “วันกิยามะฮฺจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่า (1)สองกลุ่มใหญ่จะเข้าประหัตประหารกันอย่างมากมายมหาศาล ต่างฝ่ายต่างก็เรียกร้องไปสู่สิ่งเดียวกัน และจนกว่า (2)จะมีดัจญาลจอมโกหกมากมายปรากฏขึ้นประมาณ 30 ตัว แต่ละตัวต่างก็อ้างตนเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ และจนกว่า (3)วิชาความรู้จะถูกเก็บไป (4)จะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้ง (5)เวลาจะสั้นลง (6)จะมีการฟิตนะฮฺดกดื่น (7) อัลฮัรญ์ คือการเข่นฆ่าประหัตประหารกันจะเกิดขึ้นอย่างมากมาย และจนกว่า(8)จะมีทรัพย์สมบัติล้นเหลือในหมู่พวกท่านถึงขั้นที่ว่าเจ้าของทรัพย์วิตกกังวลว่าจะมีใครรับการบริจาคของเขาบ้างไหม จนกระทั่งเมื่อเขาเอาทรัพย์ไปมอบให้ใคร ผู้ที่ถูกมอบจะตอบกลับมาว่า ‘ฉันมิได้ต้องการมันเลย’ และจนกว่า(9) ผู้คนจะแข่งกันสร้างอาคารสูง และจนกว่า (10)ชายคนหนึ่งที่เดินผ่านหลุมศพของอีกคนหนึ่ง จะรำพึงว่า ‘ให้ฉันไปอยู่แทนที่เขาซะก็จะดี’(คืออยากตายให้มันรู้แล้วรอดไป ไม่ต้องผจญกับชีวิตบนโลกอีกต่อไป) และจนกว่า ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางตะวันตก ครั้นเมื่อมันขึ้นมาให้ผู้คนทั้งหลายได้เห็นปรากฏการณ์นั้น พวกเขาทั้งหมดจึงเพิ่งจะอีมานศรัทธา ซึ่งนั่นแหละ คือเวลาที่(อัลลอฮฺทรงตรัสว่า)... การศรัทธาของคนใดคนหนึ่งที่มิได้ศรัทธามาก่อนหน้านั้น หรือมิได้แสวงหาความดีใด ๆ ไว้ในการศรัทธาของเขา มันจะไม่อำนวยประโยชน์อันใดแก่เขาอีกแล้ว (6:158) ….. (บุคอรี : อัลฟิตัน)
3 กรกฎาคม เวลา 19:56 น. · ถูกใจ

1 ดัจญาลจริง ๆ นั้น มีหลายตัวใช่หรือไม่
………….
หะดิษบอกไว้ชัดเจนแล้วว่า
حتى يبعث دجالون كذابون قريب من ثلاثين
จะมีดัจญาลจอมโกหกมากมายปรากฏขึ้นประมาณ 30 ตัว
อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ กล่าวว่า

وَوَقَعَ فِي حَدِيثِ حُذَيْفَةَ عِنْدَ أَحْمَدَ بِسَنَدٍ جَيِّدٍ : سَيَكُونُ فِي أُمَّتِي كَذَّابُونَ دَجَّالُونَ سَبْعَةٌ وَعِشْرُونَ مِنْهُمْ أَرْبَعُ نِسْوَةٍ وَإِنِّي خَاتَمُ النَّبِيِّينَ لَا نَبِيَّ بَعْدِي

และปรากฏในหะดิษหุซัยฟะฮ บันทึกโดย อะหมัด ด้วยสายรายงานที่ดี ว่า ต่อไปจะปรากฏ ดัจญาลจอมโกหกมากมาย ในอุมมะฮของฉัน จำนวน 27 ตัว และสี่ตัวจากพวกเขา เป็นผู้หญิง และฉันคือ คนสุดท้ายของบรรดานบี ไม่มีมีนบีใดๆอีก หลังจากฉัน – ดู ตุหฟะตุลอะหวะซีย์ กิตาบุลฟิตัน อธิบายหะดิษหมายเลข 2218
และ มุสนัดอิหม่ามอะหมัด 5/396
มีรายงานหะดีษจากท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า

قَامَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي النَّاسِ فَأَثْنَى عَلَى اللَّهِ بِمَا هُوَ أَهْلُهُ ثُمَّ ذَكَرَ الدَّجَّالَ فَقَالَ: «إِنِّي أُنْذِرُكُمُوهُ وَمَا مِنْ نَبِيٍّ إِلَّا قَدْ أَنْذَرَهُ قَوْمَهُ، لَقَدْ أَنْذَرَهُ نُوحٌ قَوْمَهُ، وَلَكِنْ سَأَقُولُ لَكُمْ فِيهِ قَوْلًا لَمْ يَقُلْهُ نَبِيٌّ لِقَوْمِهِ، تَعْلَمُونَ أَنَّهُ أَعْوَرُ وَأَنَّ اللَّهَ لَيْسَ بِأَعْوَرَ»

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ลุกขึ้นท่ามกลางผู้คน แล้วกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺด้วยการสรรเสริญที่คู่ควรแก่พระองค์ จากนั้นท่านก็กล่าวถึงดัจญาลว่า “ฉันขอเตือนท่านทั้งหลายให้พึงระวังต่อดัจญาล บรรดานบีทุกท่านต่างก็ได้เตือนกลุ่มชนของเขาให้ระวังจากมัน นบีนูหฺก็ได้เตือนพรรคพวกของท่านไว้แล้ว แต่ฉันจะบอกท่านทั้งหลายในสิ่งที่บรรดานบีเหล่านั้นมิได้บอกกล่าวแก่กลุ่มชนของพวกเขาเลย นั่นก็คือ แท้จริงตาของดัจญาลนั้นบอดข้างโผล่ออกมา แต่พระเนตรของอัลลอฮฺมิได้บอดข้าง” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 6175 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 169)
ข้อความที่ว่า
أَنَّهُ أَعْوَرُ وَأَنَّ اللَّهَ لَيْسَ بِأَعْوَر
คือ แท้จริงตาของดัจญาลนั้นบอดข้างโผล่ออกมา แต่พระเนตรของอัลลอฮฺมิได้บอดข้าง”
...
หะดิษยืนยันเรื่อง พระเนตร ของอัลลอฮ ว่า “แต่พระเนตรของอัลลอฮฺมิได้บอดข้าง
แต่อะชาอิเราะฮกลับกล่าวหาว่า ถ้าเชื่อว่า ทรงมีพระเนตร ก็คือ พระเจ้าวะฮบีย์ ไม่ใช่พระเจ้าของพวกเขา
เลยเขาบอกว่า เขามีพระเจ้าคนละองค์ กับวะฮบีย์ นะอูซุบิลละฮ

ดัจญาล มาจากลูกหลานอาดัมใช่ไหม
( 146) وسئل فضيلة الشيخ : هل الدجال من بني آدم ؟

ฯพณฯ เช็ค(อิบนุอุษัยมีน) ได้ถูกถามว่า “ดัจญาล มาจากลูกหลานอาดัมใช่ไหม ?


فأجاب قائلاً: الدجال من بني آدم . وبعض العلماء يقول : إنه شيطان. وبعضهم يقول : إن أباه إنسيّ وأمه جنية ، وهذه الأقوال ليست صحيحة ، فالذي يظهر أن الدجال من بني آدم ، وأنه يحتاج إلى الأكل والشرب وغير ذلك ، ولهذا يقتله عيسى قتلاً عادياً كما يقتل البشر.

ท่านได้ตอบว่า “ดัจญาล มาจากลูกหลานอาดัม (หมายถึงเป็นมนุษย์) ,ปราชญ์บางส่วน กล่าวว่า มันคือ ชัยฏอน และบางส่วนของพวกเขากล่าวว่า “ พ่อของมันเป็นมนุษย์ และแม่ของมันเป็นญิน และนี้คือบรรดาทัศนะ ที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นที่ปรากฏชัดเจนคือ ดัจญาล มาจากลูกหลานอาดัม และมีมีความจำเป็นต้อง กิน ,ดื่มและอื่นจากนั้น และเพราะเหตุนี้ นบี อีซา ได้ฆ่ามัน เป็นการฆ่า ที่เป็นไปตามปกติ เหมือนกับ สิ่งที่เขาฆ่ามนุษย์
http://www.sahab.net/forums/index.php?showtopic=114475

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 05, 2014 2:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

طالب جاوي
เเล้วการที่ซอฮาบัตท่านหนึ่งตอบรับคำกล่าว ซามีอัลลอฮูลมันฮามีดะ ว่ารอบบานาลากัลฮัมดา ฮัมดัลกาซีรอล ตอยยีบัล มุบารอกัลฟีฮ โดยที่ก่อนหน้านั้นรอซูลไม่ได้กระทำมาก่อน
..............
คุณ ฏอลิบ ยาวี ต้องมาดูความหมายคำว่าสุนนะฮ นะครับ คำว่า สุนนะฮ คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับท่านนบี ไม่ว่า จะเป็นคำพูด การกระทำ และการยอมรับ ของท่านนบี ศอ็ล ฯ ซึ่งสิ่งที่คุณนำมาอ้างนั้น คือ สิ่งที่นบี ศอ็ลฯ ยอมรับ(อิกรอร) แล้วจะเป็นบิดอะฮได้อย่างไร
ท่านริฟาอะฮฺ บิน รอฟิอฺ อัซซุเราะกีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า


كُنَّا يَوْماً نُصَلِّي وَرَاءَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم، فَلَمَّا رَفَعَ رَأْسَهُ مِنَ الركْعَةِ قال ; سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ، قَالَ رَجُلٌ وَراءَهُ: رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ، حَمْدًا كَثِيْرَا طَيِّبًا مُبَارَكًا فيهِ، فَلَمَّا انْصَرَفَ قال:; مَنِ المُتَكّلِّمُ؟ ; قال: أنَا، قال: ; رَأَيْتُ بِضْعَةً وَثَلاثِيْنَ مَلَكًا يَبْتَدِرُونَها، أَيُّهُم يَكْتُبُها أَوَّلُ؟ ; [البخاري برقم 799]

ความว่า "วันหนึ่งขณะที่เรากำลังละหมาดตามหลังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อยู่นั้น เมื่อท่านเงยศีรษะขึ้นจากการรุกูอฺท่านก็กล่าวว่า


سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ

(อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่สรรเสริญพระองค์)

แล้วก็มีชายคนหนึ่งซึ่งละหมาดอยู่ข้างหลังท่านกล่าวขึ้นมาว่า

رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ، حَمْدًا كَثِيْرَا طَيِّبًا مُبَارَكًا فيهِ

(โอ้พระผู้อภิบาลของเรา มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์ เป็นการสรรเสริญที่ดีงามมากมายและเต็มไปด้วยความจำเริญ) เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดท่านก็กล่าวถามว่า ‘เมื่อกี้นี้ใครเป็นคนพูด?’ ชายคนนั้นจึงกล่าวว่า: ฉันเองครับ ท่านนบีจึงกล่าวว่า ‘ฉันเห็นมลาอิกะฮฺสามสิบกว่าท่านยื้อแย่งกัน เพื่อจะเป็นคนแรกที่จดบันทึกคำพูดเหล่านั้น’" (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 799)
...........
สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่หลักฐานที่จะนำมาอ้างว่า มีบิดอะฮที่ดีในศาสนาอิสลาม นะครับ เพราะมันเป็นสุนนะฮ ในการยอมรับของท่านนบี ศอ็ลฯ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 05, 2014 2:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

طالب جاوي
เเล้วการกระทำของซอฮาบะ เช่นซอฮาบะท่านหนึ่งได้ทำการอ่านกุลฮูวัลลอฮทุกครั้งหลังฟาตีฮะเเละตามด้วยซูเราะฮอื่นอีกอันนี้นบีไม่เคยทำเป็นบิดอะไหมคับเเล้วคืออะไร
43 นาที • ที่ถูกแก้ไข • ถูกใจ

…………..
เวลาละหมาด เราจะอ่านซูเราะฮอะไรก็ได้ มันเป็นบิดอะฮได้อย่างไรล่ะครับ
อัลลอฮ ตะอาลาตรัสว่า
فَاقْرَؤُوا مَا تَيَسَّرَ مِنَ الْقُرْآنِ
ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอานตามแต่สะดวกเถิด

إِذَا قُمْتَ إِلَى الصَّلاَةِ فَكَبِّرْ ثُمَّ اقْرَأْ مَا تَيَسَّرَ مَعَكَ مِنَ الْقُرْآنِ ثُمَّ ارْكَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ رَاكِعًا ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَعْتَدِلَ قَائِمًا ثُمَّ اسْجُدْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ سَاجِدًا ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ جَالِسًا ثُمَّ افْعَلْ ذَلِكَ فِي صَلاَتِكَ كُلِّهَا "

ท่านกล่าวว่า เมื่อเจ้ายืนละหมาดก็จงตั๊กบีร หลังจากนั้นก็อ่านอัลกุรอานง่ายๆที่เจ้าสามารถอ่านได้ แล้วรุกัวอ์ จนกระทั่งอยู่ในท่าที่สงบนิ่ง และเงยศีรษะขึ้นมาจนกระทั่งอยู่ในท่ายืนตรง แล้วสุญูดจนกระทั่งอยู่ในท่าสงบนิ่ง และเงยขึ้นมาจนกระทั่งนั่งในท่าสงบนิ่ง โดยทำเช่นนี้ในละหมาดของเจ้าทุกครั้ง -มุสลิม/หมวดที่4/บทที่11/ฮะดีษเลขที่ 0781

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jul 07, 2014 11:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถาม

และมัสยิดซุนนะฮบ้านเราอ่านกุรอ่านนานถือว่าเราได้เดินตามแนวทางของท่านนบีที่ท่านละหมาดยาวนานอัลฮัมดุลิลลาห์ แต่ถ้าเราเกิดง่วงหรือจะล้มในละหมาดควร ละหมาดต่อไปไหม เพราะนบีไม่ให้ละหมาดถ้าอั้นปัสวะ มีอาหารข้างหน้า ง่วง แบบนี้รึเปล่าครับ แต่เราก็จะเอาผลบุญละหมาดทั้งคืนนะคับ

ตอบ

ผมว่า คนเป็นอิหม่ามต้องคำนึงด้วยว่า "คนที่เป็นมะมูมนั้น มีหลายระดับ มีคนแก่ คนสุขภาพไม่ดี แม่ลูกอ่อน เด็กวัยรุ่น เด็กๆ เพราะฉะนั้นไม่ควรอ่านยาวเกินไป อย่างเช่นในกรณีของ มุอาซ (รอฎิยัลลอฮุอันฮุ) ท่านศาสนทูต มุฮัมมัด ได้กล่าวกับเขาว่า

;...فَأَيُّكُمْ أَمَّ النَّاسَ فَلْيُوجِزْ فَإِنَّ مِنْ وَرَائِهِ الْكَبِيرَ وَالضَّعِيفَ وَذَا الْحَاجَةِ ـ رواه مسلم رقم 1072

“ดังนั้นบุคคลใดได้ปฏิบัติหน้าที่นำนมาซ(อิมาม) ให้กับผู้คน เขาจงนำนมาซให้สั้นลง

เนื่องจากบรรดาผู้ที่ตามอยู่หลังเขา(เป็นมะมูม) มีทั้งผู้ที่ชราภาพ อ่อนแอ และผู้ที่มีกิจธุรจำเป็นสำหรับเขา”

....... บางมัสยิด อิหม่ามเอาอัลกุรอ่านเล่มใหญ่มาวางเปิดไว้ข้างหน้า เพื่อจะได้อ่านให้ยาวๆ บางมัสยิดอิหม่ามถืออัลกุรอ่านอ่าน เพื่อจะได้อ่านยาวยาว ให้หรอยอกตัวเอง โดยไม่คำนึงถึง ความแตกต่างระหวางบุคคล และระดับอิหม่าน และความจำเป็นของมะมูมที่อยู่ข้างหลัง

ถาม

แล้วหะดิษนี้ใช้กับละหมาดฟัรดูและสูนัตด้วยไหมคับมีข้องใจนิดๆ

ตอบ

ทั้งฟัรดูและสุนัตครับ เช็คอุษัยมีนได้กล่าวถึงหะดิษต่อไปนี้ ในข้อเขียนของท่านชื่อ หุก่มเกี่ยวกับการละหมาดยามค่ำคืน
ในเดือนเราะมะฎอน (หุกมุกิยามุเราะมะฏอน) คือหะดิษ คำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า:

أَيُّكُمْ أَمَّ النَّاسَ فَليُوْجِزْ فإنَّ مِنْ وَرَائِهِ الكَبِيْرَ والضَّعِيْفَ وَذَا الحَاجَةِ

ความว่า:”ผู้ใดในหมู่ท่านทำหน้าที่นำละหมาด ก็จงทำให้กระชับ เพราะแท้จริงผู้ที่อยู่ด้านหลังเขานั้น มีทั้งผู้สูงวัย ผู้ที่อ่อนแอ และผู้ที่มีเหตุจำเป็น” ในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า:

;فَإذَا صَلَّى وَحْدَهُ فَليُصَلِّ كَيْفَ يَشَاءُ
ความว่า: “เมื่อเขาละหมาดคนเดียว ก็จงละหมาดตามแต่ที่เขาประสงค์เถิด”
จากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

أَتَى رَجُلٌ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : إِنِّي لأَتَأَخَّرُ عَنْ صَلاَةِ الْغَدَاةِ مِنْ أَجْلِ فُلاَنٍ مِمَّا يُطِيلُ بِنَا، قَالَ: فَمَا رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَطُّ أَشَدَّ غَضَبًا فِى مَوْعِظَةٍ مِنْهُ يَوْمَئِذٍ، قَالَ : فَقَالَ; يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّ مِنْكُمْ مُنَفِّرِينَ، فَأَيُّكُمْ مَا صَلَّى بِالنَّاسِ فَلْيَتَجَوَّزْ، فَإِنَّ فِيهِمُ الْمَرِيضَ وَالْكَبِيرَ وَذَا الْحَاجَةِ

ความว่า มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และกล่าวว่า “แท้จริงฉันจะไปละหมาดศุบห์ช้าเพราะสาเหตุจากอิมามคนหนึ่งที่ยืน(ละหมาด)นานกับพวกเรา” อิบนุ มัสอูดเล่าต่อว่า แล้วฉันก็ไม่เคยเห็นท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีอาการโกรธในการตักเตือนมากที่สุดยิ่งไปกว่าวันนั้น ซึ่งท่านกล่าวว่า “โอ้ ผู้คนทั้งหลาย แท้จริงในหมู่พวกท่านมีผู้ที่ทำให้ผู้อื่นเตลิดหนี ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่นำละหมาดแก่คนอื่น เขาก็จงทำให้รวบรัด เพราะในหมู่พวกเขามีคนป่วย คนชรา และผู้ที่มีธุระอยู่ด้วย “ (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6110 และมุสลิม : 466)

มาดูฟัตวาเช็คบินบาซ
وسئل الشيخ عبد العزيز بن باز - :
มีผู้ถามเช็คอับดุลอะซีซ บินบาซ ว่า
هل ينبغي للإمام مراعاة حال الضعفاء من كبار السن ونحوهم في صلاة التراويح ؟
สมควรหรือไม่สำหรับอิหม่าม ที่จะเอาใจใส่ต่อสภาพของบรรดาผู้อ่อนแอ อันเนื่องมาจากอายุมาก และในทำนองเดียวกับพวกเขา ในละหมาดตะรอเวียะ ?
فأجاب :

هذا أمر مطلوب في جميع الصلوات ، في التراويح وفي الفرائض ؛ لقوله صلى الله عليه وسلم : ( أيكم أمَّ الناس فليخفف فإن فيهم الضعيف والصغير وذا الحاجة ) ، فالإمام يراعي المأمومين ويرفق بهم في قيام رمضان وفي العشر الأخيرة ، وليس الناس سواء ، فالناس يختلفون ، فينبغي له أن يراعي أحوالهم ويشجعهم على المجيء وعلى الحضور فإنه متى أطال عليهم شق عليهم ونفَّرهم من الحضور ، فينبغي له أن يراعي ما يشجعهم على الحضور ويرغبهم في الصلاة ولو بالاختصار وعدم التطويل ، فصلاة يخشع فيها الناس ويطمئنون فيها ولو قليلا خير من صلاة يحصل فيها عدم الخشوع ويحصل فيها الملل والكسل .
ตอบ
นี้คือสิ่งที่ต้องการในบรรดาละหมาดทั้งหมด ,ในละหมาดตะรอเวียะ และในบรรดาละหมาดที่เป็นฟัรดู เพราะนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "ใครก็ตามในหมู่พวกท่าน นำละหมาดบรรดาผู้คน เขาจงละหมาดสั้นๆ เพราะแท้จิงในหมู่พวกเขา (มะมูม) มีผู้อ่อนแอ ,มีเด็กเล็กๆ และผู้ที่มีธุระจำเป็น )" ดังนั้นอิหม่ามจะต้องเอาใจใส่ต่อบรรดามะอฺมูม และ เมตตาต่อพวกเขา ในการละหมาดกิยามุเราะมะฎอนและในสิบวันสุดท้าย และ บรรดาผู้คนนั้น ไม่ได้เหมือนกัน เพราะบรรดาผู้คนนั้นมีสภาพแตกต่างกัน จึงสมควรแก่เขา(อิหม่าม)จะต้องเอาใจใส่ ต่อสภาพของพวกเขา และ ให้พวกเขากล้าที่จะมา และมาร่วม(ละหมาดญะมาอะฮ) เพราะ เมื่อเขา(อิหม่าม) ละหมาดนาน ก็จะเกิดความลำบากแก่พวกเขา และทำให้พวกเขาหนีจากการมาร่วมละหมาด ดังนั้น จึงสมควรแก่อิหม่าม จะต้องเอาใจใส่สิ่งที่จะทำให้พวกเขากล้าที่จะมาร่วม(ละหมาดญะมาอะฮ) และ ให้พวกเขาชอบในการละหมาด และแม้ว่าจะด้วยการละหมาดให้สั้นลง และไม่อ่านยาว เพราะละหมาดหนึ่ง ที่ผู้คนมีความคุชัวะ ในมัน และมีความสงบนิ่งในมัน และแม้ว่าจะน้อยก็ตาม ดีกว่าละหมาด ที่ไม่มีการคุชัวะในมันและ(ดีกว่าละหมาด) ที่ทำให้เกิดการอ่อนเพลียและเกียจค้านเกิดขึ้นในมัน
" فتاوى الشيخ عبد العزيز بن باز " ( 11 / 336 ، 337

ดูฟัตวาเพิ่มเติม
http://ar.islamway.net/fatwa/38677/%D8%B5%D9%84%D8%A7%D8%A9-%D8%A7%D9%84%D8%AA%D8%B1%D8%A7%D9%88%D9%8A%D8%AD-%D9%88%D8%A7%D9%84%D8%AA%D8%B7%D9%88%D9%8A%D9%84

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Fri Nov 21, 2014 12:12 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jul 14, 2014 10:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟัตวา
حكم قراءة المعوذتين بعد سورة الإخلاص في الوتر
หุกุม การอ่าน อัลมุเอาวะซะตาน(ซูเราะอัลฟะลัก วะซูเราะฮอันนาส) หลังจากอ่านซูเราะอัลอิคลาศในละหมาดวิตร
س : إنني عندما أوتر أصلي ركعة واحدة ، وأقرأ فيها سورة الإخلاص والفلق والناس ، فهل عملي صحيح ؟
ถาม : แท้จริง ขณะที่ข้าพเจ้าอ่านนมาซวิตร หนึ่งเราะกะอัต และข้าพเจ้า อ่านซูเราะฮ อัลอิคลาศ ,อัลฟะลักและอันนาส ในมัน ,การปฏิบัติของข้าพเจ้าถูกต้องหรือไม่
ج : الأفضل الاقتصار على قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ هذا هو الأفضل في
الركعة الأخيرة ركعة الوتر ، هذا هو المحفوظ عن النبي صلى الله عليه وسلم ، يقرأ فيها بـ : قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ ، أما الزيادة في المعوذتين فالحديث فيها ضعيف
ตอบ : ที่ประเสริฐที่สุด คือ การจำกัดเฉพาะ “กุลฮุวัลลอฮุอะหัด “ นี้คือที่ประเสริฐที่สุด ในรอ็กอัตสุดท้ายของนมาซวิตร นี้คือ รายงานที่ถูกบันทึก จากเราะซูลุลลอฮ สอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้อ่านในมัน ด้วย กุลฮุวัลลอฮุอะหัด” สำหรับการเพิ่ม อัลมุเอาวะซะตาน(หมายถึง ซูเราะอัลฟะลัก วะซูเราะฮอันนาส) นั้น หะดิษ เกี่ยวกับมัน เฎาะอีฟ
الجزء رقم : 10، الصفحة رقم: 159)
http://www.alifta.net/fatawa/fatawaDetails.aspx?BookID=5...

عن أبي بن كعب أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان يوتر بثلاث ركعات كان يقرأ في الأولى بسبح اسم ربك الأعلى وفي الثانية بقل يا أيها الكافرون وفي الثالثة بقل هو الله أحد ويقنت قبل الركوع فإذا فرغ قال عند فراغه سبحان الملك القدوس ثلاث مرات يطيل في آخرهن
تحقيق الألباني :
صحيح ، ابن ماجة ( 1171 )

จากท่านอุบัยฺ บุตรของกะอฺบ์ ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺนมาซวิตรฺสามร็อกอะฮฺ โดยอ่านสูเราะฮฺอัลอะอฺลาในร็อกอะฮฺแรก, อ่านสูเราะฮฺกาฟิรูนในร็อกอะฮฺที่สอง และอ่านสูเราะฮฺอัลอิคลาศในร็อกอะฮฺที่สาม แล้วท่านนบีก็ดุอาอ์กุนูตก่อนรุกูอฺ ครั้งเมื่อนมาซเสร็จ ท่านรสูลก็กล่าว สุบหานัลมะลิกิลกุดดูส สามครั้ง และลากเสียงยาวในครั้งสุดท้าย" (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ, เชคอัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดีษเศาะหี้หฺ

อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ กล่าวว่า
قُلْتُ : وَإِنَّمَا اخْتَارَهُ أَكْثَرُ أَهْلِ الْعِلْمِ ؛ لِأَنَّ حَدِيثَ ابْنِ عَبَّاسٍ وَأُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ بِإِسْقَاطِ الْمُعَوِّذَتَيْنِ أَصَحُّ . وَقَالَ ابْنُ الْجَوْزِيِّ : أَنْكَرَ أَحْمَدُ وَيَحْيَى بْنُ مَعِينٍ زِيَادَةَ الْمُعَوِّذَتَيْنِ كَذَا فِي التَّلْخِيصِ

ข้าพเจ้า กล่าวว่า “และความจริง นักวิชาการส่วนใหญ่ ได้เลือกมัน เพราะหะดิษอิบนุอับบาส และอบีกะอับ ด้วยการตัด “อัลมุเอาวะซะตัยนฺ” นั้น เศาะเฮียะกว่า และอิบนุเญาซีย์ ได้กล่าวว่า “อะหมัด และยะหยา บิน มุอีน คัดค้านการเพิ่ม “อัลมุเอาวะซะตัยนฺ “ และในทำนองเดียวกัน ระบุใน อัตตัลคิส - ดู ตุวะฟะตุลอะหวะซีย์ หะดิษหมายเลข 462 เรื่องละหมาดวิตร

คำแปล
وَاَلَّذِي اِخْتَارَهُ أَكْثَرُ أَهْلِ الْعِلْمِ مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَنْ بَعْدَهُمْ أَنْ يَقْرَأَ بِ ( { سَبِّحْ اِسْمَ رَبِّك الْأَعْلَى } ) وَ ( { قُلْ يَا أَيُّهَا الْكَافِرُونَ } ) وَ ( { قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ } ) يَقْرَأُ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ مِنْ ذَلِكَ بِسُورَةٍ ) وَبِهِ قَالَ الْحَنَفِيَّةُ ، قَالَ اِبْنُ الْهُمَامِ وَذَلِكَ لِأَنَّ أَبَا حَنِيفَةَ رَوَى فِي مُسْنَدِهِ عَنْ حَمَّادٍ عَنْ إِبْرَاهِيمَ عَنْ عَائِشَةَ قَالَتْ : كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُوتِرُ بِثَلَاثٍ يَقْرَأُ فِي الْأُولَى ( { سَبِّحْ اِسْمَ رَبِّك الْأَعْلَى } ) وَفِي الثَّانِيَةِ ( { قُلْ يَا أَيُّهَا الْكَافِرُونَ } ) وَفِي الثَّالِثَةِ ( { قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ } ) اِنْتَهَى
และที่นักวิชาการส่วนใหญ่ จากบรรดาสาวกของนบี ศอ็ลฯ และผู้ที่อยู่ยุคหลังจากพวกเขาเลือกมัน คือ อ่าน
ซับบิฮิส มิรอ็บบิกัลอะลา , กุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูน และ กุลฮุวัลลอฮุอะหัด” อ่านในแต่ละรอ็กอะฮ จากซูเราะฮดังกล่าวนั้น )และ นักวิชาการมัซฮับหะนะฟียะฮ มีทัศนะด้วยดังกล่าวนั้น ,อิบนุอัลฮุมาม กล่าวว่า “และดังกล่าวนั้น เพราะอบูหะนีฟะฮ ได้รายงานในมุสนัดของเขา จาก หัมมาด จาก อิบรอฮีม จากอาอีฉะว่า นางกล่าวว่า
ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺนมาซวิตรฺสามร็อกอะฮฺ โดยอ่านสูเราะฮฺอัลอะอฺลา ในร็อกอะฮฺแรก, อ่านสูเราะฮฺกาฟิรูนในร็อกอะฮฺที่สอง และอ่านสูเราะฮฺอัลอิคลาศ ในร็อกอะฮฺที่สาม
แล้วอัลมุบาเราะกะฟูรีย์ อธิบายต่อว่า
กล่าวว่า
قُلْتُ : وَإِنَّمَا اخْتَارَهُ أَكْثَرُ أَهْلِ الْعِلْمِ ؛ لِأَنَّ حَدِيثَ ابْنِ عَبَّاسٍ وَأُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ بِإِسْقَاطِ الْمُعَوِّذَتَيْنِ أَصَحُّ . وَقَالَ ابْنُ الْجَوْزِيِّ : أَنْكَرَ أَحْمَدُ وَيَحْيَى بْنُ مَعِينٍ زِيَادَةَ الْمُعَوِّذَتَيْنِ كَذَا فِي التَّلْخِيصِ

ข้าพเจ้า กล่าวว่า “และความจริง นักวิชาการส่วนใหญ่ ได้เลือกมัน เพราะหะดิษอิบนุอับบาส และอบีกะอับ ด้วยการตัด “อัลมุเอาวะซะตัยนฺ” นั้น เศาะเฮียะกว่า และอิบนุเญาซีย์ ได้กล่าวว่า “อะหมัด และยะหยา บิน มุอีน คัดค้านการเพิ่ม “อัลมุเอาวะซะตัยนฺ “ และในทำนองเดียวกัน ระบุใน อัตตัลคิส - ดู ตุวะฟะตุลอะหวะซีย์ หะดิษหมายเลข 462 เรื่องละหมาดวิตร
................
จะเห็นได้ว่า การละหมาดวิตร สามเราะกะอัต นั้น เศาะหาบะฮส่วนใหญ่ อ่าน อ่านสูเราะฮฺอัลอะอฺลา ในร็อกอะฮฺแรก, อ่านสูเราะฮฺกาฟิรูนในร็อกอะฮฺที่สอง และอ่านสูเราะฮฺอัลอิคลาศ ในร็อกอะฮฺที่สาม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jul 14, 2014 10:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเจาะจงอ่านกุนูตวิตร ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเราะมะฎอน

อีกประเด็นหนึ่ง คือ การเจาะจงอ่านกุนูตวิตร ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเราะมะฎอน ก็มีคนเอาจริงเอาจังทำกันเหมื่อนกับว่า เป็นวาญิบ

อิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ)กล่าวว่า

وَحَقِيقَةُ الْأَمْرِ أَنَّ قُنُوتَ الْوِتْرِ مِنْ جِنْسِ الدُّعَاءِ السَّائِغِ فِي الصَّلَاةِ مَنْ شَاءَ فَعَلَهُ وَمَنْ شَاءَ تَرَكَهُ . كَمَا يُخَيَّرُ الرَّجُلُ أَنْ يُوتِرَ بِثَلَاثِ أَوْ خَمْسٍ أَوْ سَبْعٍ وَكَمَا يُخَيَّرُ إذَا أَوْتَرَ بِثَلَاثِ إنْ شَاءَ فَصَلَ وَإِنْ شَاءَ وَصَلَ . وَكَذَلِكَ يُخَيَّرُ فِي دُعَاءِ الْقُنُوتِ إنْ شَاءَ فَعَلَهُ وَإِنْ شَاءَ تَرَكَهُ وَإِذَا صَلَّى بِهِمْ قِيَامَ رَمَضَانَ فَإِنْ قَنَتَ فِي جَمِيعِ الشَّهْرِ فَقَدْ أَحْسَنَ وَإِنْ قَنَتَ فِي النِّصْفِ الْأَخِيرِ فَقَدْ أَحْسَنَ وَإِنْ لَمْ يَقْنُتْ بِحَالِ فَقَدْ أَحْسَنَ

ความจริง การอ่านกุนูต วิตรนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากชนิดของดุอา ที่อนุญาตให้ปฏิบัติได้ในละหมาด ใครประสงค์จะทำหรือ ไม่ทำมันก็ได้ ดังเช่น คนหนึ่ง เขาเลือกที่จะ ละหมาดวิตรฺ สาม ,ห้า หรือ เจ็ดรอ็กอะฮ ก็ได้ และดังเช่น เมื่อเขาละหมาดวิตรฺ สามรอ็กอัต หากเขาประสงค์ จะละหมาดสองรอ็กอะฮแล้วสลามและหนึ่งเราะอะอัตแล้วสะลามก็ได้ และหากเขาประสงค์ จะทำสามรอํกอะฮต่อเนื่องแล้วสล่ามก็ได้ และในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาเลือกที่จะอ่านกุนูต หากเขาประสงค์ จะทำ หรือไม่ทำ ก็ได้ และเมื่อเขาละหมาด กิยามุเราะมะฎอน นำพวกเขา(หมายถึงละหมาดนำผู้คน) หากเขาอ่านกุนูตตลอดทั้งเดือน(เราะมะฎอน) ก็เป็นการดี ,หากเขาอ่านกุนูต ในครึ่งสุดท้าย(ของเดือนเราะมะฏอน) ก็เป็นการดี และหาก เขาไม่อ่านกุนูตเลย ก็เป็นการดี - มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 22 หน้า 271

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jul 21, 2014 11:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม

นิวัฒน์ นอมานี

การหย่าต้องมีพยานหรือเปล่า ต้องให้วลีเป็นพยานด้วยมั้ย

ตอบ

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
وَقَدْ ظَنَّ بَعْضُ النَّاسِ : أَنَّ الْإِشْهَادَ هُوَ الطَّلَاقُ وَظَنَّ أَنَّ الطَّلَاقَ الَّذِي لَا يَشْهَدُ عَلَيْهِ لَا يَقَعُ . وَهَذَا خِلَافُ الْإِجْمَاعِ وَخِلَافُ الْكِتَابِ وَالسُّنَّةِ وَلَمْ يَقُلْ أَحَدٌ مِنْ الْعُلَمَاءِ الْمَشْهُورِينَ بِهِ

มนุษย์บางส่วน เข้าใจว่า แท้จริง การเป็นพยานนั้น คือ การหย่า และเข้าใจว่า การหย่า ที่ไม่มีการเป็นพยานบนมันนั้น ไม่มีผล (ไม่ตกการหย่า) และ การเข้าใจแบบนี้ ขัดแย้งกับ อัลอิจญมาอฺ และขัดแย้งกับ อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากบรรดาปราชญ์ที่มีชื่อเสียง กล่าวด้วยมัน - มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 33 หน้า 34 เรื่อง การหย่า

อิบนุอับดิลบัร กล่าวว่า
الإشهاد على الطلاق ليس بواجب فرضا عند جمهور أهل العلم، ولكنه ندب وإرشاد واحتياط للمطلق كالإشهاد على البيع

การเป็นพยาน บน การหย่านั้น ไม่ได้เป็นข้อบังคับที่ เป็นฟัรดู ตามทัศนะของปราชญ์ส่วนใหญ่(ญูมฮูร) แต่ เป็นสิ่งที่ส่งเสริม(นัดบุน) ,เป็นการแนะนำ และเป็นการเผื่อเอาไว้ แก่ผู้ที่ทำการหย่า เช่น เดียวกับพยานในการซื้อขาย
الكافي، ابن عبد البر. ص264

อิหม่ามอัชเชากานีย์ กล่าวว่า
وقد ورد الاجماع على عدم وجوب الإشهاد في الطلاق، واتفقوا على الاستحباب"
และแท้จริง ได้ปรากฏรายงานอัลอิจญมาอฺ บนการ ไม่วาญิบ การเป็นพยานในการหย่า และพวกเขาเห็นฟ้องบน การชอบให้กระทำ (หมายถึงเป็นสุนัต แต่ไม่ใช่วาญิบgreat นัยลุลเอาฏอ็ร เล่ม 6 หน้า 300


อัสสัรเคาะสีย์ ปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์ กล่าวว่า
ثُمَّ الْإِشْهَادُ عَلَى الْفُرْقَةِ مُسْتَحَبٌّ لَا وَاجِبٌ فَكَذَلِكَ عَلَى الرَّجْعَةِ
หลังจากนั้น การเป็นพยาน บนการแยกทางกัน(การหย่า)นั้น เป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำ ไม่ใช่วาญิบ ในทำนองเดียวกัน นั้น บนการคืนดี – อัลมับสูฏ เล่ม 6 หน้า 19 เรื่อง การคืนดี

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jul 23, 2014 3:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอถามท่านผู้รู้หน่อยครับ
เรื่องการจ่ายซากาตฟิตร์
หากชายผู้หนึ่งไม่มีทรัพย์สินเพียงพอหรือไม่มีเลยแต่เขามีลูก(ญ-ช) 2คนที่ต้องเลี้ยงดู
เขาจำเป็นต้องจ่ายซากาตไหมครับ
“””””””””””””””””””””””””
ตอบ

เมื่อไม่มี ก็ไม่ต้องจ่าย เพราะศาสนา ไม่บังคับผู้ใด ในสิ่งที่เกินความสามารถของเขา
พระองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติของแต่ละคนว่า
((لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا]
“อัลลอฮฺจะไม่บังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถที่มีอยู่ของชีวิตนั้น”
สูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ อายัต 286
อิหม่ามนะวาวีย์ได้ระบุคำพูดของ อัชชิรอซีย์ ว่า
وَلَا تَجِبُ إلَّا عَلَى مَنْ فَضَلَ عَنْ قُوتِهِ وَقُوتِ مَنْ تَلْزَمُهُ نَفَقَتُهُ وَقْتَ الْوُجُوبِ مَا يُؤَدِّي فِي الْفِطْرَةِ ، فَإِنْ لَمْ يَفْضُلْ عَنْ نَفَقَتِهِ شَيْءٌ لَمْ تَلْزَمْهُ ; لِأَنَّهُ غَيْرُ قَادِرٍ
และไม่จำเป็น นอกจาก บนผู้ที่อาหารของเขาและอาหารของผู้ที่เขามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู เหลือ ในเวลาที่จำเป็นต้องจ่าย ในซะกาตฟิตเราะฮ เพราะว่าเขาไม่มีความสามารถ – อัลมัจญมัวะ เล่ม ๖ หน้า ๖๓
และท่านอิหม่ามนะวาวีย์ได้กล่าวอีกว่า
قال ابن المنذر : وأجمعوا على أن من لا شيء له فلا فطرة عليه

อิบนุมันซีร กล่าวว่า พวกเขา(นักวิชาการ) มีมติเอกฉันท์ ว่า ผู้ที่ไม่มีสิ่งใดๆเลยสำหรับเขา ก็ไม่มีการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ บนเขาผู้นั้น - อัลมัจญมัวะ เล่ม ๖ หน้า ๖๘
ความจริง อัลกุรอ่านระบุจัดเจนอยู่แล้วว่า ศาสนาจะไม่บังคับในสิ่งที่เกินความสามารถของมนุษย์ แล้วเมื่อเขาไม่มี ก็ไม่ต้องจ่าย
والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jul 23, 2014 3:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

FuSe Desu
การนอนเป็นอิบาดะฮได้ก้ต่อเมื่อเหนียต นอน เพื่อ ที่จะให้ร่างกายมีพลัง เพื่อที่จะตื่นมาให้มีกำลังทำอิบาดะฮ
.........................
จริงเท็จยังไงครับ
...............................
การนอน เป็นอาดะฮ คือ เป็นสิ่งที่เป็นปกติวิสัยของการดำเนินชีวิตปกติของมนุษย์ แต่สิ่งที่เป็นอาดะฮ
หากเจตนาดี ก็กลายเป็นอิบาดะฮ ได้ เช่น นอน เพื่อให้มีกำลังที่จะทำการภักดีต่ออัลลอฮ หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์
กับภรรยา ซึ่งเป็นอาดะฮ เป็นปกติวิสัยที่เป็นไปตามความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่ถ้าเจตนาดี และไม่ทำในสิ่งที่ขัดต่อข้อห้าม ก็เป็นอิบาดะฮได้ ดังหะดิษ

عَنْ أبي ذَرٍّ : أنَّ ناساً مِنْ أصْحَابِ رسولِ اللهِ قالُوا لِلنَّبيِّ :
يا رَسُولَ اللهِ ذَهَبَ أهْلُ الدُّثُورِ بالأجورِ ، يُصلُّونَ كَما نُصَلِّي ، ويَصومُونَ كَمَا نَصُومُ ، ويتَصدَّقُونَ بفُضُولِ أموالِهمْ ، قال : (( أوليسَ قد جعلَ اللهُ لَكُمْ ما تَصَّدَّقُونَ ؟ إنَّ بكُلِّ تَسبيحةٍ صَدقةً ، وكُلِّ تَكبيرةٍ صَدقَةً ، وكُلِّ تَحْمِيدةٍ صَدقةً ، وكُلِّ تَهْليلَةٍ صدقةً ، وأمْرٌ بِالمَعْروفِ صَدقَةٌ ، ونَهْيٌ عَنْ مُنكَرٍ صَدقَةٌ ، وفي بُضْعِ أحَدِكُم صَدقَةٌ )) . قالوا : يا رسولَ الله ، أيأتِي أحدُنا شَهْوَتَهُ ويكونُ لهُ فيها أجْرٌ ؟ قال : (( أرأيتُمْ لَوْ وَضَعَها في حَرَامٍ ، أكانَ عليهِ وِزْرٌ . فكذلك إذا وضَعَها في الحلالِ كانَ لهُ أَجْرٌ )) . رَواهُ مُسلمٌ( ) .

มนุษย์กลุ่มหนึ่งจากสาวกของท่านนบี ได้กล่าวกับท่านนนบีว่า "โอ้ร่อซูลของอัลลอฮฺ คนร่ำรวยได้ไปแล้วซึ่งผลบุญอย่างมากมาย คนรวยเขาละหมาดเราก็ละหมาด เขาถือศีลอดเฉกเช่นที่เราได้ถือศีลอด แต่เขาสามารถบริจาคด้วยส่วนเหลือจากทรัพย์สินของเขา (เขาได้เปรียบในการบริจาคทาน) แต่เราไม่มีً

ท่านร่อซูลได้ตอบว่า "อัลลอฮฺมิได้ให้พวกเราหรือ ส่วนที่ท่านสามารถบริจาคได้ การกล่าวตัสบีหะฮฺ(ซุบฮานัลลอฮฺ)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺครั้งหนึ่ง, การกล่าวตักบีเราะฮฺ(อัลลอฮุอักบัร)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺครั้งหนึ่ง, และการกล่าวตะหฺมีด(อัลฮัมดุลิลลาฮฺ)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺครั้งหนึ่ง, การกล่าวตะหฺลีล(ลาอิลาหะอิลลัลลอฮฺ)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺครั้งหนึ่ง, การใช้ให้ทำความดีถือเป็นเศาะดะเกาะฮฺ และการห้ามทำความชั่วก็เป็นการเศาะดะเกาะฮฺหนึ่งครั้ง และในอวัยวะเพศ(มีเพศสัมพันธ์ระหว่างภรรยาสามีครั้งหนึ่ง)ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺ”

บรรดาเศาะฮาบะฮฺถามว่า “โอ้ร่อซูล ของอัลลอฮฺ คนเราแสวงหาความสุขส่วนตัว(ความใคร่) ก็มีผลบุญด้วยหรือ” ท่านนบีบอกว่า “พวกเจ้าเห็นแล้วไม่ใช่หรือว่าหากเขานำความใคร่(หรือความสุข)ของเขาไปใช้กับสิ่งที่หะรอมเขาจะมีบาปไหม ? เช่นเดียวกันหากเขาได้นำความใคร่ไปใช้ในส่วนที่หะล้าล ก็ย่อมมีผลบุญً
والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Aug 05, 2014 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เขาอ้างว่า อิบนุตัยมียะฮ ส่งเสริมให้ทำบุญเนื่องจากการตาย

Ut'lubul Ilmi
เรามิได้เลียนแบบ พวกกาเฟร ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เองก็กล่าวว่า

وأما الأكل من الطعام ، فان كان قد صنعه الوارث من ماله لم يحرم الأكل منه.

" สำหรับการรับประทานอาหารนั้น หากว่าทายาทได้กระทำ(ปรุง)มันขึ้นมาจากทรัพย์สินของพวกเขา ก็ไม่เป็นสิ่งต้องห้ามที่จะรับประทานจากมัน"

ริซาละฮ์ อิฮฺดาอ์ อัษษะวาบ ลิลนะบีย์(ซ.ล.) และมะอาฮา มะซาอิล ฟีอิหฺดาอ์ อัลกุรุบาต ลิลอัมวาต ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า143 ตีพิมพ์ที่ อัฏวาอ์ อัสสะลัฟ์

……….
ชี้แจง

มาดูคำพูดของอิบนุตัยมียะฮ
وأما صنعة أهل الميت طعاماً يدعون الناس إليه : فهذا غير مشروع وإنما هو بدعة ، بل قد قال جرير بن عبدالله رضي الله عنه : " كنا نعد الاجتماع إلى أهل الميت وصنعتهم الطعام للناس من النياحة"
สำหรับการที่ครอบครัวผู้ตายทำอาหาร เชิญผู้คนมานั้น นี้คือ ไม่มีบัญญัติใช้ และความจริงมันเป็น บิดอะฮ ยิ่งไปกว่านั้น แท้จริง ญะรีร บุตร อับดุลลอฮ (ร.ฎ)กล่าวว่า “พวกเรานับว่า การชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและพวกเขาทำอาหาร ให้ผู้คนกินกันนั้น เป็นสวนหนึ่งจาก นิยาหะฮ – มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 24 หน้า 316 ดู
ส่วนที่ท่านอ้างนั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮ พูดถึงการทำทาน(เศาะดะเกาะฮ)แทนมัยยิตโดยทายาทผู้ตายนะครับ ไม่ใช้ การทำบุญเนื่องจากการตายแล้วเชิญแขกมากินและผู้กินตอบแทนด้วยการ ตะฮลีล และดุอาอุทิศบุญแก่ผู้ตาย
มาดู คำพูดของอิบนุตัยมียะฮครับ

واما ما يصنع للميت ويصل اليه باتفاق العلماء وهو الصدقة ونحوها فاذا تصدق عن الميت بذلك المال لقوم مستحقين لوجه الله تعالي ، ولم يطلب منهم عملا أيضا ، كان نافعا للميت وللحى يتصدق عنه باتفاق العلماء

“สำหรับ สิ่งที่ถูกทำขึ้น ให้กับมัยยิด โดยที่ผลบุญก็ถึงมัยยิด โดยมติของปวงปราชน์ และสิ่งที่ถูกทำให้แก่มัยยิดนั้น คือ การทำทาน และอื่นๆ ดังนั้น เมื่อทรัพย์ดังกล่าวที่ทำทานให้กับมัยยิด กับกลุ่มชนที่มีสิทธิ์จะได้รับ(คือมีสิทธิได้รับทานนั้น)) เพื่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา โดยที่ไม่ได้มีความต้องการการทำงานจากพวกเขา (คือไม่ต้องการการทำงานเป็นการแลกเปลี่ยน) มันก็เป็นผลประโยชน์ให้กับมัยยิด และอนุญาตให้กับคนเป็น ทำการทำทานแทนมัยยิด โดยมติของปวงปราชญ์" ดู ริซาละฮ์ อิฮฺดาอ์ อัษษะวาบ ลิลนะบีย์(ซ.ล.) และมะอาฮา มะซาอิล ฟีอิหฺดาอ์ อัลกุรุบาต ลิลอัมวาต ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า 142 ตีพิมพ์ที่ อัฏวาอ์ อัสสะลัฟ
คำว่า “ผู้มีสิทธิในเศาะดะเกาะฮ”นั้น บรรดาโต๊ะละแบที่เชิญมากินนั้น เป็นผู้มีสิทธิ์ในเศาะดะเกาะฮหรือครับ
มาดูความหมายของคำว่า “เศาะดะเกาะฮ”
عَطَاءً، أَيْ مَا يُعْطَى لِلْفُقَرَاءِ تَقَرُّباً لِلَّهِ وَرَجَاءً لِثَوَابِهِ.
การให้ หมายถึง สิ่งที่ถูกมอบให้แก่คนยากจน เพื่อให้ได้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ และหวังในการตอบแทนของพระองค์ –
............
เพราะฉะนั้น อย่าเอาคำพูดอิบนุตัยมียะฮบางตอนมาอ้างนะครับ มันคนละเรื่อง กับ การทำบุญ เนื่องจากการตาย

อิบนุตัยมียะฮ กล่าวอีกว่า
وإنما المستحب إذا مات الميت أن يُصْنَع لأهله طعام. كما قال / النبي صلى الله عليه وسلم ـ لما جاء نعي جعفر بن أبي طالب (اصنعوا لآل جعفر طعاماً، فقد أتاهم ما يشغلهم).
และที่จริง สิ่งที่ชอบให้กระทำ คือ เมื่อ มัยยิตได้ตายลง ให้มีการทำอาหารให้แก่ครอบครัวของเขา ดังที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวเอาไว้เมื่อข่าวการเสียชีวิตของยะอฺฟัร บุตร อบีฏอลิบ ว่า “พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวยะอฺฟัร แท้จริง สิ่งทีททำให้พวกเขามีความทุกข์ ได้มาประสบกับพวกเขา –
مجموع الفتاوي" (24/316
.................................
อิบนุตัยมียะฮ มีทัศนะสอดคล้องกับท่านอิหมามชาฟิอี เพราะท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮ เมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وَاُحِبُّ لِجِيْرَانِ الْمَيِّتِ اَوْذِيْ قَرَابَتِهِ اَنْ يَعْمَلُوْا لاَهْلِ الْمَيِّتِ فِىْ يَوْمِ يَمُوْتُ وَلَيْلَتِهِ طَعَامًا مَا يُشْبِعُهُمْ وَاِنَّ ذَلِكَ سُنَّةٌ
และข้าพเจ้าชอบให้เพื่อนบ้านมัยยิตและญาติใกล้ชิดของเขา ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ให้พวกเขากินให้อิ่ม ในวันและคืนที่เขาตาย และแท้จริง ดังกล่าวนั้น เป็นสุนนะฮ........ อัลอุม เล่ม 1 หน้า 247
............
ท่าน Ut'lubul Ilmi ครับ ท่านนำคำพูดของอิบนุตัยมียะฮมาอ้าง ผิดประเด็นครับ เพราะท่านอิบนุตัยมียะฮ ไม่ได้สนับสนุน การทำบุญเนื่องจากการตาย 3 วัน 7 วัน ดังที่เป็นประเพณีนิยมของคนในสังคมปัจจุบันครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Aug 07, 2014 8:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำอธิบายหะดิษ เรื่อง บิดอะฮ ของอิบนุเราะญับ

مَنْ أَحْدَثَ فِي دِينِنَا مَا لَيْسَ فِيهِ فَهُوَ رَدٌّ "

ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ได้อยู่ในมัน มันถูกปฏิเสธ (ไม่ถูกรับ)

. وَهَذَا الْحَدِيثُ أَصْلٌ عَظِيمٌ مِنْ أُصُولِ الْإِسْلَامِ ، وَهُوَ كَالْمِيزَانِ لِلْأَعْمَالِ فِي ظَاهِرِهَا كَمَا أَنَّ حَدِيثَ : الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ مِيزَانٌ لِلْأَعْمَالِ فِي بَاطِنِهَا ، فَكَمَا أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ لَا يُرَادُ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ تَعَالَى فَلَيْسَ لِعَامِلِهِ فِيهِ ثَوَابٌ ، فَكَذَلِكَ كُلُّ عَمَلٍ لَا يَكُونُ عَلَيْهِ أَمْرُ اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، فَهُوَ مَرْدُودٌ عَلَى عَامِلِهِ ، وَكُلُّ مَنْ أَحْدَثَ فِي الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ، فَلَيْسَ مِنَ الدِّينِ فِي شَيْءٍ

และหะดิษนี้คือ รากฐานอันสำคัญ จากบรรดารากฐานอิสลาม และมันคือ ตราชู สำหรับ(ชั่ง)บรรดาการงาน ที่แสดงออกมาภายนอก และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น
และในทำนองเดียวกัน ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันก็ถูกตี กลับไปหาผู้กระทำมัน (คือไม่ถูกรับ) และ ทุกคนที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรอซูล ของพระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้น มันก็ไม่ใช่ศาสนาแต่ประการใดเลย - ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176
..........
สรุปจากคำอธิบายของอิบนุเราะญับคือ
หนึ่ง- หะดิษที่ว่า “ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ได้อยู่ในมัน มันถูกปฏิเสธ
เป็นหลักการที่เป็นเครืองวัด การกระทำที่แสดงออกทางกาย ว่า ตรงกับสิ่งที่อัลอฮหรือนบีสั่งหรือไม่
สอง – หะดิษที่ว่า “แท้จริงบรรดาการงานขึ้นอยู่กับการเจตนา
เป็นหลักการที่ใช้วัดการกระทำทางใจ คือ การเนียต หรือเจตนา ว่า เพื่ออัลลอฮหรือไม่
คำที่ท่านอิบนุเราะญับอธิบาย ตรงกับ คำพูดของ อัลฟุฎัยลฺ บิน อะยาฎ

سُئل الفضيل بن عياض عن قوله تعالى : ( لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلا ) فقال : هو أخلص العمل وأصوبه . قالوا : يا أبا علي ما أخلصه وأصوبه ؟ قال : إن العمل إذا كان خالصا ولم يكن صوابا لم يقبل ، وإذا كان صوابا ولم يكن خالصا لم يقبل حتى يكون خالصا وصوابا ، فالخالص أن يكون لله ، والصواب أن يكون على السنة

และมีผู้ถาม ท่านอัล-ฟุฎัยล บุตร อะยาฎ กล่าวเกี่ยวกับคำดำรัสของอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตาอาลาที่ว่า (เพื่อที่จะทดสอบพวกเจ้า ว่าพวกเจ้าคนใด ประกอบการดี – ซูเราะฮฮูด /7 ) ท่านกล่าวว่า มีความบริสุทธิ์ใจและ ทำถูกต้อง พวกเขาถามว่า โอ้อบูอาลี บริสุทธิ์ใจและ ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร ? ท่านตอบว่า การงานนั้น เมื่อปรากฏว่า มีความบริสุทธิ์ใจ และไม่ถูกต้อง มันก็ไม่ถูกต้อง และเมื่อปรากฏว่าถูกต้อง และไม่บริสุทธิ์ใจ มันก็ไม่ถูกรับ จนกว่ามันจะมีความบริสุทธิ์ใจ อีกทั้งมีความถูกต้อง และคำว่าบริสุทธิ์ใจนั้น คือ เป็นไปเพื่ออัลลอฮ และคำว่าถูกต้องนั้น คือ เป็นไปตามสุนนะฮ - ดู ฟัตหุ้ลมะญีด ชัรหุกิตาบุตเตาฮีด และ
كتاب قاعدة في المحبة، الجزء 1، صفحة 40

.............
เพราะฉะนั้น การทำในสิ่งที่ไม่คำสอน และการสอนในสิ่งที่นบีไม่ทำนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง แม้จะมีคนพยายาม จะหาเหตุผลมาอ้างเป็นร้อยๆเล่มเกวียนก็ตาม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Aug 08, 2014 10:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาดูคำอธิบายของ อิบนุเราะญับต่อครับ

مَنْ عَمِلَ عَمَلًا لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ

“ผู้ใดกระทำสิ่งใดโดยที่สิ่งนั้นมิใช่งานของเรามันถูกปฏิเสธ” ศอเฮียะห์ มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 3243
อิบนุเราะญับ อฺบายดังนี้

فَهَذَا الْحَدِيثُ بِمَنْطُوقِهِ يَدُلُّ عَلَى أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُ الشَّارِعِ ، فَهُوَ مَرْدُودٌ ، وَيَدُلُّ بِمَفْهُومِهِ عَلَى أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ عَلَيْهِ أَمْرُهُ فَهُوَ غَيْرُ مَرْدُودٍ ، وَالْمُرَادُ بِأَمْرِهِ هَاهُنَا : دِينُهُ وَشَرْعُهُ ، كَالْمُرَادِ بِقَوْلِهِ فِي الرِّوَايَةِ الْأُخْرَى : مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ فِيهِ فَهُوَ رَدٌّ . فَالْمَعْنَى إِذًا : أَنَّ مَنْ كَانَ عَمَلُهُ خَارِجًا عَنِ الشَّرْعِ لَيْسَ مُتَقَيِّدًا بِالشَّرْعِ ، فَهُوَ مَرْدُودٌ . ٌ .

ดังนั้น หะดิษนี้ ความหมายของมันแสดงบอก ว่า ทุกๆการงาน(อะมั้ล) ที่ไม่อยู่ในกิจการของผู้บัญญัติศาสนาบัญญัติ บนมัน มันถูกปฏิเสธ (ไม่ถูกรับ) และด้วยความเข้าใจของมัน แสดงบอกว่า ทุกๆการงาน(อะมั้ล) ที่กิจการของเขา(ของผู้บัญญัติศาสนบัญญัติอยู่บนมันมัน นั้น จะไม่ถูกปฏิเสธ และความหมายคำว่า “อัมริฮี (กิจาการของมัน) ในที่นี้ หมายถึงศาสนาและศาสนบัญญัติของเขา(ของผู้บัญญัติศาสนบัญญัติ หมายถึง อัลลอฮและรอซูล) เช่นเดียวกับความหมาย ด้วยตำพูดของท่านนบีในรายงานอื่นว่า “ ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ ในกิจการศาสนาของเรานี้ สิ่งที่ไม่ได้มาจากมัน มันถูกปฏิเสธ” เพราะฉะนั้น ความหมาย คือ แท้จริง ผู้ใดปรากฏว่า การงาน(อะมั้ล)ของเขา ออกจาก ศาสนบัญญัติ(ชะรีอัต) โดยที่ไม่ถูกจำกัดด้วยศาสนบัญญัติ มันก็ถูกปฏิเสธ (ไม่ถูกรับ

. وَقَوْلُهُ : " لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا " إِشَارَةٌ إِلَى أَنَّ أَعْمَالَ الْعَامِلِينَ كُلِّهِمْ يَنْبَغِي أَنْ تَكُونَ تَحْتَ أَحْكَامِ الشَّرِيعَةِ ، وَتَكُونُ أَحْكَامُ الشَّرِيعَةِ حَاكِمَةً عَلَيْهَا بِأَمْرِهَا وَنَهْيِهَا ، فَمَنْ كَانَ عَمَلُهُ جَارِيًا تَحْتَ أَحْكَامِ الشَّرْعِ مُوَافِقًا لَهَا ، فَهُوَ مَقْبُولٌ ، وَمَنْ كَانَ خَارِجًا عَنْ ذَلِكَ ، فَهُوَ مَرْدُود

และคำพูดของท่านนบีที่ว่า “ไม่มีกิจการของเราบนมัน” ชี้ให้เห็นว่า แท้จริง บรรดาการงานของผู้ที่ประกอบการงาน(ผู้ประกอบอะมั้ลอิบาดะฮ) นั้น พวกเขาทุกคน สมควรที่จะต้องให้มันอยู่ภายใต้ กฎข้อบังคับแห่งศาสนบัญญัติ ที่เป็นผู้ตัดสิน บนมัน ด้วยคำสั่งใช้ และ คำสั่งห้ามของมัน (ของหุกุมชะรีอัต) ดังนั้น ผู้ใด ปรากฏว่า อะมั้ลของเขา ดำเนินอยู่ภายใต้ กฎข้อบังคับแห่งศาสนบัญญัติ ที่สอดคล้องกับมัน มันก็ถูกรับรอง และผู้ใด ปรากฏว่า มัน(อะมัลของเขา) ออกจากดังกล่าวนั้น มันก็ถูกปฏิเสธ – ญามิอุลอุลูมวัลฮิกัม เล่ม 1 หน้า 177
...................
จากคำอธิบายของอิบนุเราะญับชัดเจนว่า “ผู้ใด ปรากฏว่า อะมั้ลของเขา ดำเนินอยู่ภายใต้ กฎข้อบังคับแห่งศาสนบัญญัติ ที่สอดคล้องกับมัน มันก็ถูกรับรอง และผู้ใด ปรากฏว่า มัน(อะมัลของเขา) ออกจาก กฎข้อบังคับแห่งศาสนบัญญัติ มันก็ถูกปฏิเสธ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีวันที่จะทำบิดอะฮ ให้เป็นอิบาดะฮที่ถูกรับรองได้เพราะมันไม่สอดคล้องกับศาสนบัญญัติ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Aug 15, 2014 9:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่ออะกีดะฮอิหม่ามชาฟิอียคือ อัลลอฮทรงอยู่เหนื่อมัคลูค เหนือฟากฟ้าทั้งเจ็ด

อิหม่ามอัศศอบูนีย์ ได้กล่าวถึงอะกีดะฮของอิหม่ามชาฟิอีว่า

وإنما احتج الشافعي رحمة الله عليه على المخالفين في قولهم بجواز إعتاق الرقبة الكافرة في الكفارة بهذا الخبر؛ لاعتقاده أن الله سبحانه فوق خلقه، وفوق سبع سماواته على عرشه، كما معتقد المسلمين من أهل السنة والجماعة، سلَفِهم وخلفِهم؛ إذ كان رحمه الله لا يرو خبرًا صحيحًا ثم لا يقول به.

และความจริง อัชชาฟิอี (ร.ฮ) ได้อ้างหลักฐาน ตอบโต้บรรดาผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งในทัศนะของพวกเขา (ที่อ้างว่า) อนุญาตให้ปล่อยท่านหญิงที่เป็นกาเฟร ในสภาพที่เป็นกาเฟร ด้วยหะดิษนี้(หมายถึงหะดิษญารียะฮ ที่ตอบนบีว่าอัลลอฮอยู่บนฟ้า) เพราะ อะกีดะฮของเขา(หมายถึงชาฟิอี)เชื่อว่า แท้จริงอัลลอฮ( ซ.บ) ทรงอยู่เหนื่อมัคลูคของพระองค์ และเหนือ บรรดาฟากฟ้าทั้งเจ็ดของพระองค์ ดังที่เป็นหลักความเชื่อของบรรดามุสลิม จากอะฮลุสสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ ยุคสะลัฟและยุคเคาะลัฟ เพราะ ปรากฏว่าเขา(หมายถึงอิหม่ามชาฟิอี) เขาจะไม่รายงานหะดิษที่เศาะเอียะใดๆ แล้วต่อมาเขาไม่นำมากล่าวด้วยมัน
عقيدة السلف وأصحاب الحديث للصابوني ص118 و189]

หมายถึง อิหม่ามชาฟิอีได้อ้างหะดิษญารียะฮ เป็นหลักฐานบรรดาผู้ที่อ้างว่า อนุญาตให้ปล่อยทาสหญิงที่เป็นกาเฟร ในสภาพที่เป็นกาเฟรได้ สำหรับทัศนะของอิหม่ามชาฟิอีนั้น อนุญาตปล่อยทาสหญิงที่เป็นกาเฟรได้ ก็ต่อเมื่อนางรับอิสลาม โดยที่อิหม่ามชาฟิอีได้อ้างหลักฐานจากหะดิษญารียะฮ คือ ท่านนบี ถามทาสหญิงคนนั้นว่า อัลลอฮอยู่ที่ใหน ?นางตอบว่า “อัลลอฮ อยู่บนฟ้า” แล้วนบีรับรองว่านางเป็นมุสลิม แล้วนบีบอกให้ปล่อยนางเป็นอิสระ และอัศศอบูนีย์ ยืนยันว่า "อิหม่ามชาฟิอีนั้น ไม่เคยปรากฏว่า เมื่อท่านรายงานหะดิษเศาะเฮียะ แล้วท่านไม่นำมันมาอ้างเป็นหลักฐาน

มาดูคำพูดอิหม่ามชาฟิอีย์ที่ท่านอ้างหลักฐานด้วยหะดิษนี้

وَأَحَبُّ إلَيَّ أَنْ لَا يُعْتِقَ إلَّا بَالِغَةً مُؤْمِنَةً فَإِنْ كَانَتْ أَعْجَمِيَّةً فَوَصَفَتْ الْإِسْلَامَ أَجْزَأَتْهُ ، أَخْبَرَنَا مَالِكٌ عَنْ هِلَالِ بْنِ أُسَامَةَ عَنْ عَطَاءِ بْنِ يَسَارٍ عَنْ عُمَرَ بْنِ الْحَكَمِ أَنَّهُ قَالَ { أَتَيْت رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقُلْت يَا رَسُولَ اللَّهِ إنَّ جَارِيَةً لِي كَانَتْ تَرْعَى غَنَمًا لِي فَجِئْتهَا وَفَقَدَتْ شَاةً مِنْ الْغَنَمِ فَسَأَلْتهَا عَنْهَا فَقَالَتْ أَكَلَهَا الذِّئْبُ فَأَسِفْت عَلَيْهَا وَكُنْت مِنْ بَنِي آدَمَ فَلَطَمْتُ وَجْهَهَا وَعَلَيَّ رَقَبَةٌ أَفَأَعْتِقُهَا ؟ فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَيْنَ اللَّهُ ؟ فَقَالَتْ فِي السَّمَاءِ فَقَالَ مَنْ أَنَا ؟ فَقَالَتْ أَنْتَ رَسُولُ اللَّهِ قَالَ فَأَعْتِقْهَا

และที่ข้าพเจ้าชอบคือ จะไม่มีการปล่อยทาสให้เป็นอิสระ นอกจาก เป็นหญิงผู้ศรัทธาที่บรรลุศาสนภาวะ แล้วถ้าปรากฏว่านางเป็นหญิงอะญัม(ไม่ใช่อาหรับ) แล้วนางมีคุณลักษณะอิสลาม ก็ใช้ได้,มาลิก ได้บอกแก่เรา จากฮิลาล บิน อุสามะฮ จาก อะฏออฺ บิน ยะสาร จากอุมัร บินหะกัม ว่า “เขากล่าวว่าฉันมีทาสคนหนึ่งที่เคยเลี้ยงแพะของฉันในพื้นที่ระหว่างอุฮุดและอัล-ญะวานิยยะฮฺ วันหนึ่งเขาได้กระทำความผิดบางอย่าง เขาได้ออกโดยเอาแพะไปตัวหนึ่ง ฉันเป็นมนุษย์ธรรมดา แน่นอนว่าต้องมีอารมณ์โกรธ ฉันจึงตบหน้าเขา แล้วท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็มา(เห็น) และสิ่งนี้ทำให้ฉันกังวลใจ ฉันจึงอธิบายกับท่านว่า ‘โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ ฉันควรปล่อยทาสของฉันคนนี้เป็นอิสระไหม?’ ‘พาเขามาหาฉัน’ ท่านเราะสูลุลลอฮฯ กล่าว ฉันจึงรีบพาเขามาหาท่าน แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้ถามนางว่า “อัลลอฮอยู่ที่ไหน?”

นางตอบว่า “อยู่บนฟากฟ้า” แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ถามต่อไปอีกว่า “ฉันคือใคร?” ทาสของฉันตอบว่า “ท่านคือศาสนฑูตของอัลลอฮ” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ปล่อยนางให้เป็นอิสระเถิด แท้จริงนางคือผู้ศรัทธา
-ดู หนังสือ อัลอุม ของอิหม่าชาฟิอีย์ เล่ม 5 บทว่าด้วย باب عتق المؤمنة في الظهار
“”””””””””””””””””””””
อิหม่ามชาฟิอียอมรับในหะดิษญารียะฮ ที่ทาสหญิงตอบคำถามว่า “อัลลอฮ อยู่ใหน ?นางตอบว่าอัลลอฮ อยู่บนฟ้า
และอิหม่ามอัศศอบูนีย์ ปราชญ์มัซฮับชาฟีอีเอง ก็ยืนยันว่าเป็นอะกีดะฮ อิหม่ามชาฟิอีย์ แต่...คนที่สังกัดมัซฮับชาฟิอีบางกลุ่มกลับไม่ยอมรับ กล่าวหาว่า “คนที่เชื่อว่า อัลลอฮ อยู่บนฟ้า คือ อะกีดะฮยิว นะอูซุบิลละฮ

อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ ได้ยืนยัน ว่า อบูหาติม (ฮศ ๒๗๗) ว่า อะกีดะฮอิหม่ามชาฟิอี คือ อัลลอฮทรงอยู่เหนืออะรัช

อิหม่ามอัซซะฮะบีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

قال الحافظ أبو القاسم اللالكائي: وجدت في كتاب أبي حاتم محمد ابن ادريس الحنظلي مما سمع منه يقول: "( مذهبنا واختيارنا: اتباع رسول الله صلى الله عليه وسلم وأصحابه والتابعين، والتمسك بمذاهب أهل الأثر مثل الشافعي وأحمد وإسحاق وأبي عبيد، ولزوم الكتاب والسنة، ونعتقد أن الله عز وجل على عرشه "ليس كمثله شيء وهو السميع البصير

อัลหาฟิซ อบุลกอซิม อัลลาลุกาอีย์ กล่าวว่า " ฉันพบในหนังสือของอบีหาติม มุหัมหมัด บิน อิดรีส อัลหันเซาะลีย์ จากสิ่งที่เขา ได้ยินมา โดย เขา กล่าวว่า (แนวทางของเราและทางเลือกของเรา คือ การเจริญรอยตามรซูลุ้ลลอฮ ,บรรดาสาวกของท่านและบรรดาตาบิอีน และยึดถือตามแนวทางของนักหะดิษ เช่น อิหม่ามชาฟิอีย์ ,อะหมัด,อิสหากและอบีอุบัยดิน และ การยืนหยัดในอัลกิตาบและอัสสุนนะฮ และเราเชื่อว่า แท้จริง อัลลอฮ ผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงเลิศยิ่ง อยู่เหนืออะรัช "ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์คือ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น - สิยะรุอะอฺลาม อัลนุบะลา 13/60

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Aug 24, 2014 8:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ส่วนหะดิษที่มีบางคนนำไปอ้างยืนยันอะกีดะฮตามแนวเคาะลัฟ และการตามมัซฮับ
مثل أمتى مثل المطر ، لا يدرى أوله خير أم أخره

" ประชาชาติของฉัน อุปมาดังสายฝน โดยที่ไม่รู้ว่าฝนช่วงแรก หรือช่วงหลัง ที่ดีกว่ากัน " รายงานโดยอิมามอะหฺมัด เล่ม 3 หน้า 130 และท่านตัรมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 152 ฮะดิษที่ 2869
.....................

ชี้แจง
มาดูคำอธิบายของอิบนุกะษีร
فهذا الحديث بعد الحكم بصحة إسناده ، محمول على أن الدين كما هو محتاج إلى أول الأمة في إبلاغه إلى من بعدهم ، كذلك هو محتاج إلى القائمين به في أواخرها ، وتثبيت الناس على السنة وروايتها وإظهارها ، والفضل للمتقدم

ดังนั้นหะดิษนี้ หลังจาก การตัดสิน ว่าสายรายงานของมันเศาะเฮียะ คือสิ่งที่ถูกถือว่า แท้จริงศาสนานั้น ดังทีมันจำเป็นที่จะต้องอาศัยประชาชาติยุคแรก ในการเผยแพร่มัน มาสู่คนยุคหลังจากพวกเขา และในทำนองเดียวกับ มัน จำเป็นต้องอาศัย บรรดาผู้ที่ยืนหยัดด้วยมัน ในประชาชาติยุคหลัง และ การตั้งมั่น ของมนุษย์ บนอัสสุนนะฮ ,การรายงานมัน และการทำมันให้ปรากฏ และความประเสริฐนั้น ได้แก่คนยุคก่อน – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 7 หน้า 523
.......
อิหม่ามอิบนุกะษีร ได้กล่าวถึงหะดิษข้างต้น จากสายรายงานที่บันทึกโดยอิหม่ามอะหมัด และท่านบอกว่าหะดิษนี้ หลังจากที่หุกุมว่าสายรายงานเศาะเฮียะ ก็หมายถึง ศาสนานั้นต้องอาศัยคนยุคแรกเผยแพร่หรือถ่ายทอดแก่คนยุคหลัง และศาสนาก็ต้องอาศัย การยืนหยัดของคนยุคหลัง ด้วยสิ่งที่คนยุคก่อยถ่ายทอดมา และต้องอาศัยประชาชนที่ตั้งมั่นอยู่บนอัสสุนนะฮ การรายงานและการแสดงมันให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น หะดิษมิได้เป็นหลักฐานยืนยันว่า อะกีดะฮเคาะลัฟมีฐานะเดียวกับอะกีดะฮสะลัฟ อย่างที่มีบางคนอ้าง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Sep 02, 2014 10:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

حنفي بانم
การรวมกลุ่มซิกรุ้ลลอฮ มีในหะดีษซอเหี้ยะห์หลายบทครับ ผมเคยฟังครูเล่าให้ฟัง และ เคยอ่านเจอด้วย จะบอกเป็นข้อๆและกัน ใจความโดยรวมของหะดีษมีอยู่ว่า บรรดามาลาอีกะฮจะมาห้อมล้อมกลุ่มที่ร่วมกันซิกรุ้ลลอฮฺและขออภัยโทษให้
2 อัลลอฮตะอาลาทรงนำเอาบ่าวของพระองคที่ร่วมวงซิกรุ้ลลอฮไปอวดกับบรรดามลาอีกะฮ
3 อัลลอฮจะทรงประทาน อัสสกีนะฮ ความสงบร่มเย็น ให้กับวงซิกรุ้ลลอฮ
4 ที่ไหนก็แล้วแต่ที่มีการร่วมกันอ่านอัลลกุรอ่าน ซิกรุ้ลลอฮ เราะหมะฮความเมตตาะลงที่นั่น
#ผมหวังว่าไม่ใช่เรื่องยากที่คุณ ahlusunnah จะไปเซิทหาในเวปนะครับ หลักฐานมีมากมายครับ
“”””””””””””””””””””””””””
หะดิษนั้นมี แต่ เข้าใจความหมายคำว่าหะดิษหรือเปล่า และหะดิษนั้นหมายถึงอะไร
คำว่า ซิกริลละฮ คือ

كل ما تكلم به اللسان وتصوره القلب مما يقرِّب إلى الله من تعلّم علم وتعليمه وأمر بمعروف ونهي عن منكر فهو من ذكر الله

ทุกสิ่งที่วาจาได้พูดด้วยมัน และหัวใจได้จินตนาการถึงมัน(หมายถึงเข้าใจ) จากสิ่งที่ทำให้ใกล้ชิดอัลลอฮ เช่น การศึกษาหาความรู้, การสอน ,การใช้ให้ทำความดี และห้ามจากการชั่ว มันก็คือส่วนหนึ่งจากการซิกริละฮ
مجموع الفتاوى (10/661)
ส่วนหะดิษที่เอามาอ้างว่าเป็นหลักฐานร่วมกันซิกริลละฮ เป็นหมู่คณะตามที่คุณหะนะฟีย์อ้างว่าครูถ่ายทอดนั้น ครูของท่านได้ทำความเข้าใจดีหรือยัง มาดูข้อเท็จจริงครับ


مَا مِنْ قَوْمٍ يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلَّا حَفَّتْ بِهِمْ الْمَلَائِكَةُ وَغَشِيَتْهُمْ الرَّحْمَةُ وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمْ السَّكِينَةُ وَذَكَرَهُمْ اللَّهُ فِيمَنْ عِنْدَهُ

ไม่มีกลุ่มชนใดที่พวกเขาซิกริลละฮ นอกจาก มลาอิกะฮจะห้อมล้อมพวกเขา ,ความเมตตาแห่งอัลลอฮจะครอบคลุมพวกเขา และความสงบร่มเย็นถูกประทานลงมาบนพวกเขาและอัลลอฮ ทรงกล่าวถึงพวกเขา ใน(หมู่มลาอิกะฮ)ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์ – หะดิษรายงานโดยอัตติรมิซีย
หะดิษนี้เป็นหะดิษที่กล่าวถึ่ง การซิกริลละฮ อย่างกว้างๆคำว่าซิกริลละฮในที่นี้เป็นการกล่าวโดยรวม ซึ่ง มีความหมายหลายความหมาย
ท่านอับดุรเราะหมาน อัสสะอฺดีย์กล่าวว่า

وإذا أطلق ذكر الله شمل كل ما يقرِّب العبدَ إلى الله من عقيدة أو فكر أو عمل قلبي أو عمل بدني أو ثناء على الله أو تعلم علم نافع وتعليمه ونحو ذلك، فكله ذكر لله تعالى.

เมื่อซิกริลละฮถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆ ก็จะถูกให้ครอบคลุมถึงทุกสิ่งที่ทำให้บ่าวใกล้ชิดอัลลอฮ เช่น อะกีดะฮ ,หรือการใครครวญ ,หรือการปฏิบัติทางใจ,หรือ การปฏิบัติทางกาย ,หรือ การสรรเสริญอัลลอฮ ,หรือการเรียนวิชาความรู้ที่มีประโยชน์ ,การสอนวิชาความรู้ เป็นต้น ทั้งหมดนั้น คือ ซิกริลละฮ –อัรริยาฎุลนัฎเราะฮ หน้า 245
การละหมาดตะรอเวียะ การอ่านอัลกุรอ่าน ก็อยู่ในความหมายนี้

อิหม่ามนะวาวีย์เองได้กล่าวว่า

وَفِي هَذَا دَلِيلٌ لِفَضْلِ الِاجْتِمَاعِ عَلَى تِلَاوَةِ الْقُرْآنِ فِي الْمَسْجِدِ وَهُوَ مَذْهَبُنَا وَمَذْهَبُ الْجُمْهُورِ

ในหะดิษนี้ เป็นหลักฐานแสดงบอกถึงคุณค่าของการรวมตัวกัน อ่านอัลกุรอ่านในมัสญิด และมันคือ มัซฮับ(ทัศนะ/แนวทาง)ของเราและแนวทางของนักปราชญ์ส่วนใหญุ – ดูตุหฟะตุลอะวะซีย์ ชัรหุสุนันอัตติรมิซีย์ อธิบายหะดิษหมาย 3378 กิตาบุดดะอวาต
“”””””””””””””””””
หะดิษข้างต้น ไม่ใช่หลักฐานสนับสนุนการซิกริลละฮ ไป เต้นไป อย่างที่ซูฟีย์ปฏิบัติหรอกครับคุณฮานาฟีย


حنفي بانم
อัลกุรอ่านได้บอก อิริยาบทของการซิกรุ้ลลอฮ ไม่ว่าจะเป็นท่ายืน ท่านั่ง ท่านอนตะแคงสีข้าง
“””””””””””””””””””””’
ชี้แจง
ข้างต้น ก็เป็นการเข้าใจอายะฮอัลกุรอ่านเอาเอง โดยไม่ยอมศึกษาว่า อายะฮนั้นหมายถึงอะไร แบบใหน
มาดูอัลกุรอ่านที่คุณอ้าง

الَّذِينَ يَذْكُرُونَ اللّهَ قِيَاماً وَقُعُوداً وَعَلَىَ جُنُوبِهِمْ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَذا بَاطِلاً سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ )) ال عمران {191

คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง และพวกเขาพินิจพิจารณากันในการสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน (โดยกล่าวว่า) โอ้พระเจ้าของพวกเข้าพระองค์ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด
มาดูคำอธิบายของ อิบนุญะรีร

ومعنى الآية: إنّ في خلق السموات والأرض واختلاف الليل والنهار لآيات لأولي الألباب، الذاكرين الله قيامًا وقعودًا وعلى جنوبهم= يعني بذلك: قيامًا في صلاتهم، وقعودًا في تشهدهم وفي غير صلاتهم، وعلى جنوبهم نيامًا كماSmiles
- حدثنا القاسم قال، حدثنا الحسين قال، حدثني حجاج، عن ابن جريج، قوله: " الذين يذكرون الله قيامًا وقعودًا " الآية، قال: هو ذكر الله في الصلاة وفي غير الصلاة، وقراءة القرآن.
และความหมายอายะฮนี้ คือ 190 )

แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการที่กลางวันและกลางคืนตามหลังกันนั้น แน่นอนมีหลายสัญญาณสำหรับผู้มีปัญญา ที่เป็นผู้ระลึกถึงอัลลอฮ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง “ ความหมายดังกล่าวคือ สภาพการยืนในละหมาดของพวกเขา ,การนั่งในการอ่านตะชะฮุดของพวกเขา และในอื่นจากละหมาดของพวกเขา และบนสภาพนอนตะแคง ดังที่ อัลกอซิม ได้เล่าเราว่า อัลหุสัยนฺ ได้เล่าเรา โดยเขากล่าวว่า “หัจญาจญฺ ได้เล่าข้าพเจ้า ว่ารายงานจาก อิบนุญุรัยจญฺ เกี่ยวกับคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า “(คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง)..จนจบอายะฮ เขา(อิบนุญุรัยญฺ กล่าวว่า คือ การซิกริลละฮในละหมาด และในอื่นจากละหมาด และการอ่านอัลกุรอ่าน
- ดูตัฟสีรอัฏฏอบรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮ ที่ ๑๙๑ ซูเราะฮอาลิอิมรอน
- จากรายละเอียดข้างต้น เขาพูดถึง การซิกริลละฮในละหมาด ,นอกละหมาด และการอ่านอัลกุรอ่านด้วย
- การซิกริลละฮเวลานอน ก็นบีสอนดุอาไว้แล้ว ไม่ใช่ให้นอนกล่าว ตะฮลีล” ขณะนอน
- มีโต๊ะครูบางประเภท ต้องขอมาอัฟ ที่ตำหนิ คือ ชอบทำตัวเป็นคนขายน้ำชา เอาศาสนามาชงตามใจชอบชาวบ้าน เพื่อ เรียกคะแนนนิยม จนศาสนาเพี้ยนไปหมด

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 15, 16, 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 16 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.36 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ